แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
แต่เท่าที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแนวขันธ์ ๕ ก็พอ เท่าก็เกี่ยวกับปฏิบัติเรื่องขันธ์ ๕ เสียอย่างเดียวก็พอ ขี้เกียจพูดอย่างนั้น ปราชญ์พูดกันหมดปัจจุบันก็ใช้คำว่าธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวง เป็นอนัตตา บทสวดที่สำคัญที่สุดที่สวดอยู่ทุกวัน สัพเพ สังขารา อนิจจา สัพเพ สังขารา ทุกขา แล้วพอบทที่สาม สัพเพ ธรรมา อนัตตา นั่นคือบทหัวใจอยู่ที่นั่นมี สัพเพ ธรรมา อนัตตา สามพยางค์เท่านั้นนะ ถ้าพูดอย่างบาลี สามคำพูด คำพูดสามคำ ธรรม ทั้งปวง อนัตตา สามคำเท่านั้น คือหัวใจพุทธศาสนา ยิ่งในเมืองไทยตีกันวุ่นไม่รู้ว่าอะไรเป็นหัวใจ ปฏิบัติอย่างนั้น ปฏิบัติอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างโน้น สำนักนี้มีหลักคำสอนอย่างนี้ สำนักโน้นมีอย่างนี้ ถ้ามันถูกต้องมันเหลืออันเดียวคือว่า ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา สอนให้แคบเข้ามาให้ชัดเข้ามาว่ารูปเด็กๆ อัตภาพนี้ที่แจกได้ออกเป็น ๕ ส่วนคือ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา หนึ่งคือคำสอนว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา เป็นคำสอนที่สอนมากที่สุด เป็นตัวพุทธศาสนา ถ้าเราจะเผยแพร่พุทธศาสนา เรื่องนี้เท่านั้นนะ แต่จะขยายความให้เป็นอย่างอื่นก็ได้ ให้มันอธิบายอย่างอื่นก็ได้ แต่มันต้องแวดล้อมอยู่ที่คำว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หรือขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ฉะนั้นในหนังสือที่จะทำหรือทำแล้ว หรือจะทำต่อไปก็ให้มันมีใจความอยู่ที่ตรงนี้นะ มีความสำคัญอยู่ตรงที่ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา จะแจงเป็นรูปบทกี่คำ กี่ร้อยคำก็เถอะ ความหมายมันอันเดียวก็เพื่อจะบอกให้รู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ฉะนั้นถ้าจะรวบรวมคำมาทำอรรถานุกรมแล้วก็ให้เล็งถึงหัวใจนี้ไว้ก่อน แล้วก็เอาคำทุกคำที่มันเกี่ยวกับหัวใจนี้มาทำ แล้วการจะทำนั้นจะเป็นพุทธศาสนามากที่สุด จะมีค่ามากที่สุด ถ้ามันเป็นเรื่องที่ทำให้รู้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา หรือขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา เราควรจะอธิบายคำว่าขันธ์ ๕ นี่กันให้ละเอียดชัดเจนที่สุด หรือดูกันว่าธรรม คำว่าธรรมคำเดียวเป็นอนัตตาทำให้ละเอียดชัดเจนที่สุด แต่ข้อนี้มันยุ่งยากที่สุดเหมือนกัน เพราะว่าคำว่าธรรมคำเดียวหมายหมดทุกสิ่ง หมายหมดทุกสิ่งหมายถึงดี ทั้งชั่ว ทั้งปฏิบัติ ทั้งเล่าเรียนได้ทุกอย่างมันไม่มีอะไร ที่ไม่เรียกว่าธรรม ถ้าคำว่าธรรมในอรรถานุกรมที่ทำมาแล้วและไม่ได้อธิบายสมบูรณ์อย่างนี้ก็ยังว่ายังไม่สมบูรณ์ คำว่าธรรมนั้นยังไม่สมบูรณ์ ถ้าคำว่าธรรมช่วยให้เข้าใจหมดทุกอย่าง ไม่ยกเว้นอะไร ทุกอย่างสมบูรณ์ คำว่า ธาตุ ธา-ตุ ธาตุนี้ก็อีกคำมันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุ มันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุ มันไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธรรม คล้ายๆกับเป็นคำเดียวกันเสีย รากศัพท์ของภาษาบาลีเป็นคำเดียวกัน คำว่าธรรมะ กับคำว่า ธา-ตุ มาจาก ธรธาตุ คำนั้นแปลว่า สูงไว้ๆ คำว่าธรรมก็มาจากธาตุนี้ คำว่าว่าธาตุ ธา-ตุก็มาจากคำนี้ จริงๆมีความหมายสิ่งทั้งปวงทุกๆสิ่งเป็นธรรม รูปธรรม นามธรรม สังขตธรรม อสังขตธรรม กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ธาตุนี้ก็เหมือนกัน สังกตธาตุ อสังกตธาตุ ทำได้หมดแหละ ไม่ว่าส่วนไหน สิ่งที่มีปัจจัย เหตุปัจจัยปรุงแต่ง กำลังเป็นไปตามปัจจัยอย่างเนืองนิตย์ นี่เขาเรียกว่าสังขตธาตุ อีกส่วนหนึ่งตรงกันข้ามหมดไม่มีปัจจัย ไม่เป็นไปตามปัจจัยก็เรียกว่า อสังขตธาตุ เอาสองธาตุนี้มารวมกันก็คือทุกสิ่ง หัวใจพุทธศาสนาคือทุกสิ่งเป็นอนัตตา จะเรียกว่าธรรมก็ได้ จะเรียกว่าธาตุก็ได้ หมายถึงทุกสิ่งนี้เป็นอนัตตา จึงสอนเรื่องอนัตตาเป็นหลักใหญ่ เป็นหัวใจพุทธศาสนา ศาสนาอื่นไม่สอนอย่างนี้ หรือสอนยิ่งกว่านี้นิดๆหน่อยๆนี่ไม่ถึงขนาดไม่กวาดหมดทั้งสังขตะและอสังขตะ ศาสนาฮินดูเก็บเอาส่วนที่เป็นอสังขตะว่าเป็นตัวคนอันถาวร ในพุทธศาสนาตัดทิ้งหมด ทั้งสังขตะ และอสังขตะนี้มันเป็นอนัตตา อนัตตา ไม่ใช่อัตตา นี่คือหัวใจพุทธศาสนามีสามพยางค์ สามคำก็คือ ธรรม ทั้งปวง เป็นอนัตตา ถ้าว่าคำอธิบายใดๆตอนไหนในหนังสืออรรถานุกรมมันผิดกับหลักนี้แล้วก็ถือว่าผิดไม่มีทางถูก ถ้ามันขึ้นอยู่ด้วยหลักนี้ได้ละก็ถูกยืนยันได้ นี่ก็สำรวจดูให้ดีดี แม้ว่าเขียนไว้ถูกแต่ก็อธิบายผิดก็ได้ เช่นไปอธิบายในสิ่งที่เป็นอัตตาเข้า หัวข้อนี้มีที่ทางผิดได้ง่ายนะ นี่จะพูดเป็นเรื่อง เรื่องต่อไปเป็นเรื่องเรื่องถัดไป คือสิ่งที่จะทำให้เกิดความเข้าใจผิดหรือสับสนเกี่ยวกับอนัตตา ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ที่เป็นยืนยงตายตัวเป็นแม่บทอย่างหนึ่ง ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แม่บทอย่างหนึ่ง แต่ทีนี้มันมีข้อยกเว้น ข้อยกเว้น ต้องเรียกว่าข้อยกเว้นเป็นเอคเชพชั่นสำหรับการพูดจาของคนโง่ สำหรับคนโง่ เพื่อคนโง่ พระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสถึงไอ้สิ่งที่เรียกว่าอัตตา อัตตา ก็คงจะได้ยินอยู่แล้ว ไม่ต้องพูดล่ะมั่ง เป็นวงเวียนนึกได้ไหมว่าอะไร ที่พระพุทธเจ้ายกเว้นมาพูดเป็นมีอัตตาขึ้นมานะ อย่างเช่นท่านพูดว่าอะไร ท่านตรัสว่าอะไร ยังเช่นคำนี่พระพุทธเจ้ายังตรัสว่าอัตตาหิ อัตโนนาโถ เมื่อตะกี้พูดว่าถูกอย่างเป็นอนัตตา แล้วทำไมมาพูด อัตตาหิ อัตโนนาโถล่ะ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน เป็นจิตตน เป็นของตน ทำไมมีตนขึ้นมา ก็ตอบเขาสั้นๆว่าอัตตาที่เป็นที่พึ่งแก่ตนนี้ก็เป็นอนัตตา อัตตาที่จะทำที่พึ่งให้แก่ตน อัตตาที่เป็นตัวทุกข์ก็ดี ตัวที่จะทำให้หมดทุกข์ก็ดี ตัวที่พึ่งก็ดี ก็เป็นอนัตตา เมื่ออัตตาที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า จงทำตนให้เป็นที่พึ่งแก่ตน ใครที่ไหนจะมาช่วยตนได้ถ้าตนไม่ช่วยตน นี่ข้อปลีกย่อยที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้สำหรับพูดกับคนโง่ หรือสำหรับพูดกับชาวบ้าน ข้อนี้พระพุทธเจ้าก็ตรัสตรงๆว่า ฉันก็พูดอย่างที่แกพูด เป็นโตวี(นาทีที่9.49) เป็นโลกียะ โวหาร ที่พวกแกพูดก็อยู่ฉัน ว่าของฉัน ฉันก็พูดคำนี้ เพื่อบางที่พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าตถาคตเป็นอย่างนั้น ตถาคตเป็นอย่างนี้ มาบิณฑบาต มาขออาหาร อย่างนี้มันก็มี แม้แต่กระทั่งคำว่าตถาคตก็ยังมีความหมายสำหรับคนธรรมดาว่าตัวตน แต่ถ้าจริงคำว่าตถาคตมันหมายความว่าไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ตถาคต ผู้ถึงแล้วซึ่งตถา ผู้ถึงซึ่งตถตา และมีอตัมมยตานั้นนะไม่ใช่ตน พระพุทธเจ้าก็ใช้คำว่าตถาคต ตถาคตมาบิณฑบาต สมัยก่อนอนัตตามาบิณฑบาต แต่เวลาพูดกับชาวบ้านท่านไม่ได้พูดว่าตถาคตมาบิณฑบาตนะ พูดว่าอรหตา อาตมา แต่ถ้าว่าเค้าใช้คำว่าตถคตเค้าใช้ในเรื่องอนัตตาไม่ใช่ตัวตน แต่เมื่อพระพุทธเจ้ามาพูดกับชาวบ้านท่านพูด ท่านพูดชาวบ้าน ภาษาชาวบ้าน ชาวบ้านพูดอย่างไรก็พูดอย่างนั้น ไม่ว่าฉัน ว่าแก ท่านก็ได้ตรัสว่าฉันพูดคำเดียวกับที่แกพูด แต่ฉันไม่มีความหมายที่ในใจอย่างนั้น เมื่อพูดว่าฉันก็คืออนัตตา เมื่อพูดว่าอัตตาก็ยังเป็นอนัตตา แล้วในอินเดียมันไม่มีทางที่จะปนกันกับธรรมของชาวฮินดูที่มีอัตตากับพุทธศาสนาที่ไม่มีอัตตามันมีทางที่จะปนกัน แต่ประชาชนมันพูดรวมกัน ประชาชนมันพูดใช้คำที่บางทีก็เป็นฮินดูบางทีก็เป็นพุทธ ดังนั้นคำในฝ่ายโน้น ฝ่ายที่มีตัวตนมันจึงมาปนอยู่ในพุทธศาสนาซึ่งสอนว่าไม่มีตัวตน เช่นคำว่า ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน เป็นต้น รักตน ให้ถนอมตน ให้ฝึกตน ให้ฝึกตนก็ดี เน้นมากที่สุดเขาพยายามเน้นให้ฝึกตน แต่ก็ไม่ใช่สอนคำว่าทุกๆสิ่งเป็นอนัตตา ที่เราพูดว่าตน ตน มันก็คืออนัตตา พูดว่าอัตตา นั่นก็คืออนัตตา ดังนั้นจึงมีคำพูดอีกคำหนึ่งซึ่งสำคัญมาก และเขียนไว้สั้นๆว่าอัตตาซึ่งมิใช่อัตตา อัตตาซึ่งมิใช่อัตตาเพียงเท่านี้แหละจะไม่มากกว่านี้ ท่านก็รู้เอาเองแหละ อัตตาบางคำที่เราพูดกันอยู่ว่าอัตตามันก็ไม่ใช่อัตตา โดยเฉพาะที่ว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน อัตตานั้นก็มีใช่อัตตา อัตตานั้น นั้นจึงพูดแต่ปากว่าอัตตา แต่ใจอย่าเป็น ใจอย่าเป็นอัตตา ให้มันพูดแต่ปาก เราเป็นตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน เราเป็นตัวเราซึ่งมิใช่ตัวเรา อธิบายไปอย่างนี้ ข้าพเจ้าเป็นข้าพเจ้าซึ่งมิใช่ข้าพเจ้า หรือมิใช่ข้าพเจ้าที่แท้จริง ข้าพเจ้าแต่ปากพูด ถ้าจะต้องพูดกันให้เป็นหลักฐานก็ให้จำไว้สองประโยคก็ได้ ประโยคที่แรกฝ่ายอัตตาที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าอัตตาหิ อัตโนนาโถ คงจะจำกันได้บ้างแล้ว อัตตาหิ อัตโนนาโถ เมื่อพระพุทธเจ้าพูดด้วยสำนวน ตนเป็นที่พึ่งของตน ที่นี่ฝ่ายตรงกันข้าม ฝ่ายตรงกันข้ามก็มีประโยคสั้นๆ เท่าๆกันเลยว่า อัตตาหิ อัตโนนัตถิ กุโต ปัตตา กุโต ธนัง จะเอาแต่ตอนต้นก็ได้ อัตตาหิ อัตโนนัตถิ ตนของตนไม่มี นี่คือฝ่ายอนัตตา เมื่อพูดฝ่ายอัตตา อัตตาหิ อัตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน นี่ฝ่ายนี้ พูดมั่วๆตามภาษาชาวบ้านที่เราพูดกับชาวบ้าน แต่พอมาฝ่ายนี้ท่านกล่าวว่า อัตตาหิ อัตโนนัตถิ อัตตาของตนไม่มี อัตตาของตนไม่มี นี่คือข้อที่ศาสนาอื่นเขาจะหาว่าพระพุทธเจ้าตรัสตลบตะแลง จะหาว่าพระพุทธเจ้าเป็นคนพูดตลบตะแลง เดี๋ยวนี่พูดว่ามีอัตตาเป็นที่พึ่ง เดี๋ยวนี่พูดว่าอัตตาไม่มี นี่รู้ไว้ให้ดี ถ้าเราเป็นพุทธบริษัท เราก็จะรู้ว่า เราจะตอบเขาว่า เมื่อพูดกับคนโง่ พูดกับคนที่มีอัตตา จะต้องพูดกับชาวบ้านระดับเดินถนนที่มันมีอัตตาก็พูดว่าอัตตาหิ อัตโนนาโถ คำพูดเดี๋ยวนี้คล้ายกันมากนะ สังเกตดู ว่า อัตตาหิ อัตโนนาโถ ฝ่ายนี้ อัตตาหิ อัตโนนัตถิ เปลี่ยนแต่คำท้ายเท่านั้นแหละ คำต้นเหมือนกัน อัตตาหิ อัตโน คำท้ายก็ นาโถ หรือว่า นัตถิ เท่านั้นแหละ อัตตาหิ อัตโนนาโถ นี่พูดอย่างมีอัตตานะ อัตตาหิ อัตโนนัตถิ ต่างกันอยู่แต่คำท้าย จะเห็นได้ว่า นาโถ ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า นัตถิ คำศัพท์คู่นี้จำไว้ให้ดี ให้มันอยู่เป็นคู่กันไว้เสมอไป และอธิบายให้มันถูกต้อง เพื่อที่จะอธิบายกับชาวต่างศาสนาหรือแม้จะในชาวพุทธก็ได้ ชาวพุทธศาสนาก็คือเป็นอัตตาก็มี ยุ่งอยู่พักหนึ่ง (นาทีที่ 17.09***ฟังไม่ออก) ที่วัดเทพศิรินทร์สมเด็จท่านสอนเรื่องอนัตตา กับท่านมหาเปรมที่มีคนนับถือมากมายมหาศาลอยู่ในวัดเดียวกันกับสมเด็จท่านทรงมีอัตตา มีอัตตา มันจะไม่ค่อยดีที่นะ ที่เอาคนมาพูด เอาชื่อคน แต่ว่าความจริงมันมีอยู่อย่างนั้นนะ และท่านมหาเปรมก็ตายไปแล้ว ท่านมหาเปรมก็เอาหนังสือมาเล่มใหญ่ เพื่อยืนยันว่ามีอัตตา ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา สิ่งที่นอกเหนือไปจากขันธ์ ๕ ก็เป็นอนัตตา เจ้าคุณสุพจน์วัดเบญจมฯ เมื่อมีชีวิตอยู่ก็สอนเรื่องมีอัตตา แต่ว่าพูดอย่างนี้มันคล้ายนินทาคนอื่น มันไม่ดี ออกชื่อเขา แต่จะบอกให้รู้ว่าเป็นภายใน ในกรุงเทพฯนี่แหละ มีสอนเรื่องอัตตา อัตตา มีแม่ชีอยู่คนหนึ่งที่เรียกได้ว่าพูดเก่งที่สุด พูดในรายการเรียกได้ว่าพูดเก่งที่สุด เขาชื่อสัมฤทธิ์ นามสกุลสังข์สุวรรณ เป็นคนทางตะวันออกแถบจันทบุรี หรือตราดอะไรก็ไม่ทราบ แม่ชีคนนี้เขาสอนเรื่องอัตตา จนถูกล้อว่ามีขันธ์ที่ ๖ คืออัตตา มีขันธ์ ๕ แล้วยังมีขันธ์ที่ ๖ เป็นอัตตา อุตส่าห์มาที่นี่ มาพยายามขอร้องให้พูด ให้สอนเรื่องนี้ เขาจะมาช่วยทำงานทุกอย่างในการออกหนังสือพุทธศาสนาที่ออกอยู่ แต่ขอให้สอนเรื่องนี้ เรื่องมีอัตตา ถูกเรียกว่าพวกขันธ์ ๖ ในที่สุด ก็นั่นแหละมันก็มีคนเชื่อบ้าง ลูกศิษย์ก็มีบ้าง แต่มันก็ไม่สำเร็จ เมื่อต่อมาก็ปรากฏว่า เป็นบ้าแล้วก็ตายแล้ว พี่ชายของเขาเคยมาติดตามตัวที่นี่ สำนักอยู่ที่โพธาราม สำนักวิปัสสนาของเขา เขาก็เป็นหัวหน้าคณะ สอนเรื่องมีอัตตา อัตตา มีขันธ์ ๖ ในเมืองไทยก็เรียกว่ามี ยังมีพวกที่สอนเรื่องมีอัตตาก็มี ทั้งที่เป็นพระ มันก็น่าประหลาด น่าประหลาด แล้วก็น่าบูชาสมเด็จพระเทพฯท่านอยู่ร่วมวัดเดียวกันได้กับคนที่มีอัตตา ท่านไม่ต่อต้าน ท่านไม่ตำหนิ ท่านไม่ค้าน ไม่ว่า จะสอนเรื่องอัตตาก็สอนไปเถอะ กุฏิมหาเปรมก็ไม่อยู่ต้องมาอยู่กุฏิสมเด็จ แต่ก็อยู่วัดเดียวกัน สอนกันตรงกันข้าม น่าบูชาจริงๆ ท่านก็มีอัตตาจริงเหมือนกันท่านไม่ถือ อยู่วัดเดียวกันสอนคนละอย่างท่านก็ไม่ถือ นั่นท่านเป็นอนัตตาจริงเห็นไหม ถ้าท่านมีอัตตาท่านก็ไม่ยอม ท่านก็ไล่ออกจากวัดสิ ไม่ต้อง ไม่ต้อง ก็สอนไปเลย สอนไปคู่กัน คนหนึ่งสอนอัตตา คนหนึ่งสอนอนัตตา จนตายจากกันไป ไม่ต้องกระทบกันเลย ไม่กระทบกันเลย ขอให้มันเป็นอย่างนั้น อย่าทะเลาะกันด้วยเรื่องมีอัตตา หรืออนัตตา มันก็ยังมีบางคนอีกล่ะ ที่มันเป็นลูกศิษย์ของคนเหล่านี้ก็มี แต่มันไม่ดัง ไม่ปรากฏ เดี๋ยวเงียบไปแล้วไม่ต้องพูดถึงก็ได้ ที่จริงก็ไม่ค่อยอยากจะพูดระบุชื่อคนนั้นคนนี้ เพราะมันไม่ดี แต่ว่ามันก็ต้องพูดกันให้รู้กันไว้บ้างในภายใน แม้ในเมืองไทยก็ยังมีการสอนกันว่ามีอัตตา ถ้าจะสอนให้ถูกต้องก็รักษาให้ได้ว่ามันไม่มี ไม่มีทาง ที่พูดผิดก็เอาไว้พูดกับคนโง่ คนเดินถนนมันต้องพูดว่ามันมีอัตตา แล้วค่อยๆสอนอีกทีอัตตา อัตตา ที่เป็นที่พึ่งแก่แก อัตตานั้นก็เป็นอนัตตา มันก็หมดกัน คุณมีอัตตาก็ได้ แต่มีอัตตาชนิดที่ไม่ใช่อัตตา นี่พวกฝรั่งเข้าใจ เราพูดประโยคนี้ทุกครั้งที่พูดกับฝรั่งที่ไหน มีอัตตาซึ่งไม่ใช่อัตตา เขาเข้าใจ ลองสังเกตดู เขาเข้าใจ เจ้าของบ้านควรจะเข้าใจเรื่องนี้นะ อย่าพูดผิดๆกับชาวต่างประเทศ แล้วก็อย่าพูดผิดๆจนทะเลาะกันเองในหมู่พุทธบริษัทด้วยกัน พุทธบริษัทยังทะเลาะในระหว่างพุทธบริษัทด้วยกันเพราะเรื่องนี้คงจะได้มีอัตตาซะจริงๆ หนังสือบางเล่มของเจ้าคุณสุพจน์ อธิบายว่าเท่ากับว่าเกิดอัตตาตัวขาวๆมันก็ตัวด้วงตัวเล็กๆสีขาว เขาเขียนไว้ถึงเป็นอย่างนี้ ระวังในหนังสืออรรถานุกรมอย่าให้มีผิดพลาด ในเรื่องสำคัญเรื่องหัวใจ คือเรื่องอัตตา กับเรื่องอนัตตา ประโยคสองประโยคนั้นนะ อัตตาหิ อัตโนนาโถ อัตตาหิ อัตโนนัตถิ เปลี่ยนคำท้าย เปลี่ยนแต่คำท้าย จำไว้ให้ดีดี อย่าเผลอไปต้องไปโต้กับพวกไหนเรื่องอัตตา อนัตตา แต่ว่าอย่าให้ไอ้สองประโยคนี้มันค้านกัน ดูมันค้านกัน แต่ความจริงมันไม่ได้ค้านกัน นี่พูดอย่างคนพวกเด็ก อย่างคนเป็นเด็ก อย่างคนโง่ก็พูดว่ามี มีอัตตา คุณจะเอาอัตตาเป็นที่พึ่งก็ทำไป ฝึกไป ทำไป ฝึกไป เดี๋ยวมันก็ไม่มีอัตตา ในที่สุดมันก็ไม่มีอัตตา ไม่ต้องการที่พึ่ง นี่บอกปฏิเสธทีเดียวตลอดก็บอกว่าไม่มี นั้นมันก็ต่อไปอีกขั้นหนึ่งก็ว่า เมื่ออัตตา อัตตา ตัวตนไม่มีแล้ว ของของตนมันจะมีมาแต่ไหน ต้องพูดอย่างนี้ เมื่อตัวอัตตาเองที่เป็นประธานมันก็ไม่มีเสียแล้ว ไอ้ของของตนมันจะมีมาแล้วไหน ถึงว่าตัวตนก็ไม่มี ของของตนก็ไม่มี ตนนะคือคำว่าอัตตา ไอ้ของตนคือคำว่าอัตตนียา อัตตนียา อันนี้แปลว่า เนื่องอยู่กับตนๆ ภาษาบาลีแปลว่าเนื่องอยู่กับตน ภาษาไทยก็แปลว่าของตน อัตตาคือตัวตน อัตตนียาคือของตน เมื่อตน ตนไม่มีแล้วของตนมันจะมีมาแต่ไหนเล่า พูดว่าอย่างนี้ ที่นี้มันมีตนแล้วมันก็มีของตน มันก็ยึดถือ ยึดถือตน แล้วก็ของตนอีกทีหนึ่ง ยึดถือว่าขันธ์ ๕ นี่ของตนอีกทีหนึ่ง สุขทุกข์ก็ให้เป็นของตนเสียให้หมด กระทั่งเอาพระนิพพานเป็นของตน มันบ้าเลย มันบ้าถึงที่สุด เอาพระนิพพานเป็นของตน ถ้าจะเอาหลักที่เป็นปฏิปทา ๔ ตรงๆมันก็มี มีคำไม่กี่คำหรอก ที่ต้องจดจำให้แม่นที่สุด ให้แม่นที่สุด เป็นหลักแม่นที่สุด แข็งโป๊กที่สุดว่า พระพุทธเจ้าตรัส มันเอามาแทนกันคำว่าอัตตา กับอนัตตา เอามาแทนกันเสีย ทีแรกก็ขึ้นว่าธรรม ธรรมะทีตา ธรรมะสรณา อนัญญะสรณา ธรรมะทีตา ธรรมะสวนา อนัญญะสรณา นี่แปลว่า จงมีธรรมเป็นประทีป มีธรรมเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย ธรรมะทีตา มีธรรมะเป็นประทีป หรือที่พึ่ง ธรรมะสรณา มีธรรมะเป็นสรณะ อนัญญะสรณา อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย อ้าวทีนี่ก็มาถึงบทที่จะตามมาที่จะเป็นคู่ คู่อะไร คู่ขัดแย้งล่ะนะ อัตตะทีตา อัตตะสรณา อนัญญะ สรณา มีตนเป็นประทีป เป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณา อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย แต่คำว่า ตน ตน คำนี้ล่ะ มันไม่ใช่ตัวตน แม้จะมีว่าตน มีตัวเอง มีตัวเอง ดูดีเขียนไว้คู่กันไป เขียนบรรทัดคู่กันไป บรรทัดบนว่า
ธรรมะทีตา ธรรมะสรณา อนัญญะสรณา บรรทัดล่างเขียนให้ตรงกันว่า
อัตตะทีตา อัตตะสรณา อนัญญะ สรณา อย่างนี้ง่ายดีเขียนให้ตรงกันเลย บรรทัดสองบรรทัด เพื่อให้คำมันตรงกัน เอาใหม่นะ
ธรรมะทีตา ธรรมะสรณา อนัญญะสรณะ สามคำ สามคำใช่ไหม ธรรมะทีตา ธรรมะสรณา อนัญญะสรณา สามคำ
แล้วก็ไอ้คู่ที่สองก็ อัตตะทีตา ตรงกับคำว่า ธรรมะทีตา แล้วก็อัตตะสรณา แล้วก็อนัญญะสรณา นี่ก็มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะอย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย นี่พระพุทธเจ้าท่านทรงพูดตลบตะแลงไหม บรรทัดบนว่ามีธรรมะเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง บรรทัดล่างก็มีตน มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง ถ้าเข้าใจผิด หรือเข้าใจอย่างไอ้คนที่มันจะเป็นฝ่ายค้านมันก็ว่าโอ๊ยนี่พูดอะไรกันตลบตะแลง ตรงกันข้ามอย่างนี้ใครจะปฏิบัติไหว มีธรรมะ ธรรมะ ความจริงเป็นที่พึ่ง แล้วก็มีตนเป็นที่พึ่ง มันหมายความแต่เพียงว่าการที่ธรรมะจะเป็นที่พึ่งนี่มันต้องตนเองทำ ตนเองทำให้ธรรมะเป็นที่พึ่ง นั้นความหมายที่สองมันจึงว่าพึ่งตนเอง ให้มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ไม่มีใครมาช่วยได้หรอก ที่จะให้มีธรรมะเป็นที่พึ่ง ตนเองต้องทำด้วยตัวเอง นั้นอัตตา อัตตา ในประโยคที่สองมันจะต้องแปลว่าโดยตนเอง ไม่ใช่ตนเอง มันโดยตนเอง มีธรรมะเป็นที่พึ่งโดยตนเองทำให้ธรรมะเป็นที่พึ่งขึ้นมา แล้วก็ต่อท้าย ต่อท้ายด้วยคำสรุปความว่า ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา ต่อท้ายสองประโยคที่เขียนไปแล้ว ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฎฐานา แปลว่า นั่นคือ หรือกล่าวคือ สติปัฎฐานทั้ง ๔ ธรรมะคือสติปัฎฐานทั้ง ๕ เป็นที่พึ่ง เมื่อตนเอง ตัวเองทำให้สติปัฎฐาน ๔ เป็นที่พึ่ง นี่ก็เรียกว่าภาษามันตลบ หรือภาษามันกำกวม ความจริง เป็นความจริงอยู่เสมอ แต่ภาษามันทำเสีย ทบทวนสั้นๆอีกทีหนึ่งชัดๆว่า มีธรรมเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ แล้วก็มีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย การที่จะทำเช่นนี้ได้ก็คือการปฏิบัติสติปัฎฐาน ๔ สติปัฎฐาน ๔ ก็คือหัวใจของอานาปานสติ เมื่อปฏิบัติสติปัฎฐาน ๔ อยู่ด้วยตน ตนก็กลายเป็นที่พึ่ง เป็นที่พึ่งของตน จะเป็นที่พึ่งตนโดยตรงไม่ได้ แต่ว่าตนนะ ตนจะต้องไปทำที่พึ่งให้แก่ตน คือให้มีธรรมะขึ้นมา นึกซะว่าตน ตน ในความหมายหนึ่งก็คือตัวตน ตัวตน ตัวตน ตนในอีกความหมายหนึ่งก็แปลว่า เอง เอง ตนแปลว่าเอง อย่าแปลว่าตัวตน ถ้าแปลว่าตัวตน เป็นอัตตา เป็นตัวตนมันก็ผิด เพราะว่าอัตตา แปลว่า เอง เอง คือทำเอง ทำเอง อัตตาอย่างนี้ถูก ก็หมายความแต่เพียงว่าโดยตนเอง อัตตาหิ อัตโนนาโถ เป็นที่พึ่งแก่ตน ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน หมายความว่าโดยตนเอง โดยทำเอง นี่ถ้าท่านเข้าใจถูกต้อง เผื่อบางทีมันจะถูกถามโดยเฉพาะฝ่ายค้าน
(ซ้ำ) นั้นคำว่าตน ตน ในความหมายหนึ่งก็คือตัวตน ตัวตน ตัวตน แต่โดยในอีกความหมายหนึ่งก็แปลว่าเอง เอง ตนแปลว่าเอง อย่าแปลว่าตัวตน ถ้าแปลว่าตัวตนเป็นอัตตา เป็นตัวตนมันก็ผิด ถ้าอัตตาแปลว่าเอง เอง คือทำเอง ทำเอง ก็หมายความแต่เพียงว่าโดยตนเอง อัตตาหิ อัตโนนาโถ เป็นที่พึ่งแก่ตน ตนเป็นที่พึ่งแก่ตน หมายความว่าโดยตนเอง หรือทำเอง นี่ถ้าท่านเข้าใจถูกต้อง เผื่อบางทีมันจะถูกถามโดยเฉพาะฝ่ายค้าน
ฝ่ายอภิธรรมนะจะต้องเป็นฝ่ายค้านเสมอ ที่เขา ที่ที่เราพูด เราทำหรือออกไป ก็มีพวกอภิธรรมเป็นฝ่ายค้าน เรารู้ให้ครบถ้วนถูกต้อง เขาจะค้านไม่ได้ เขาจะค้านไม่ได้ หรือเขาจะพิสูจน์ให้เราผิดนะทำไม่ได้ เป็นไปไม่ได้ ถ้าเรารู้ไว้ให้มันถูกต้อง แล้วก็รู้ว่าพระพุทธเจ้าพูดไว้เป็นสองอย่างเสมอ ตน กับมีตนไม่มีก็มี อนัตตาก็มี อัตตาก็มี แต่ถ้าเอาคำอัตตาแล้วเข้าใจว่าเอง แปลว่าเอง อย่าแปลว่าตน ตัวเองทำเอง ทำเอง ทำเอง ถ้าแปลอัตตาว่าตัวตนนี่ มันอีกความหมายหนึ่งว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นคน เป็นหมา อัตตาแปลว่าเอง โดยตนเอง ทำเองนี่ก็อีกความหมายหนึ่ง ไม่ได้ค้านกันหรอก เดี๋ยวสอนให้พึ่งธรรม เดี๋ยวสอนให้พึ่งตนนี่มันไม่ค้านกัน แต่ถ้าเข้าใจผิด โอ๊ยนี่พูดสับปลับตลบตะแลงค้านอยู่ในตัวเอง ใช้ไม่ได้ นี่เรื่องที่จะต้องรู้ ต้องรู้ ต้องรักษา เอาไว้ให้ถูกต้องผิดไม่ได้ ในการที่จะพูด จะเขียน หรือจะทำอะไรต่อไป ให้มันรู้หลักอันนี้ไว้แล้วมันก็ไม่ ไม่พลาด ไม่เสียที ค้านไม่ได้ ก็ไม่มีใครค้านได้ ถ้ามีเดี๋ยวนี้พูดว่าตน เดี๋ยวนี้พูดว่าไม่ใช่ตน ตนคำหลังหมายความว่าตนเอง มันก็เนื่องไปถึงพระพุทธภาษิตต่อไปว่า เอาแต่สั้นๆก็เขียนว่า อักฃาตาโร ตะถาคะตา แปลว่า ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง ตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกทาง มันมีถ้อยคำอยู่ข้างหน้า ข้างหน้านั้นอีกทีหนึ่งว่า ท่านต้องทำเอง ท่านต้องทำเอง ปฏิบัติเอง เดินเอง เดินเอง ตถาคตทั้งหลายเป็นแต่ผู้บอกทาง ก็คือพระพุทธเจ้าจะเป็นแต่ผู้บอกทาง ช่วยทำให้ไม่ได้ ช่วยทำให้ไม่ได้ แต่เป็นผู้แนะให้ทำ บอกทางให้ทำ ก็คือช่วยตน ช่วยตน ช่วยตน ช่วยตน ช่วยตน มีตถาคตเป็นผู้บอกทาง ให้ท่านทั้งหลายช่วยตน ช่วยตน ถ้าจะเขียนให้เต็มก็ได้แต่มันก็ยืดยาวไปนะ ถ้าเขียนสั้นๆ เขียนเท่านี้ ถ้าเขียนให้เต็ม ก็ต้องเขียนเติมเข้าไปอีกว่า เติมเข้าไปข้างหน้าว่า ตุมเหหิ กิจจัง อาตัปปัง กิจคือหน้าที่ ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตุมเหหิ อันท่านทั้งหลาย อาตัปปัง ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ต้องประกอบเอง อาตัปปะนี่แปลว่าทำเอง คือกระทำนั่นแหละ ขีด ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกทาง บอกหนทาง อันนี้บทแรกต้อง บทแรกต้องจำเป็นพิเศษอีกทีหนึ่งว่า พวกอภิธรรม ศาลาวัด หรือพวกนักศึกษาชั้นมหาลัยที่เขียนด่าอาตมาอยู่ว่าชอบพูดอะไรเอาเอง โดยเฉพาะธรรมะ แปลว่าหน้าที่ ธรรมะแปลว่าหน้าที่ คำนี้ กิจจะ กิจจะ นั้นแปลว่า กิจ นั่นคือหน้าที่สิ่งนั้นหมายถึงธรรมะ กิจจัง ตุมเหหิ อาตัปปัง ตุมเหหิ กิจจัง อาตัปปัง กิจจะคำนี้หมายถึงธรรมะ ธรรมะแปลว่าหน้าที่ คือกิจ กิจ กิจนี่คือหน้าที่ ท่านทั้งหลายต้องทำเอง ธรรมะท่านทั้งหลายต้องทำเอง นั่นการที่แปลธรรมะว่าหน้าที่ก็คือมีหลักอย่างนี้ พระพุทธภาษิตอย่างนี้ ธรรมะแปลว่าหน้าที่ หน้าที่คือสิ่งที่จะช่วยให้รอด เดี๋ยวนี้ก็มีคนเอาไปพวกมากเชียวนะ ธรรมะคือหน้าที่ ทำหน้าที่คือปฏิบัติธรรมะ ถ้าเขาแย้งไม่ยากก็มีที่อ้าง เป็นพุทธภาษิตก็อ้างบทนี้ ตุมเหหิ กิจจัง อาตัปปัง กิจคือหน้าที่ท่านทั้งหลายต้องทำเอง อักฃาตาโร ตะถาคะตา ตถาคตเป็นแต่ผู้บอกคือชี้ทาง ชี้ทางให้ทำกิจ ทำอย่างไร ทำอย่างไร ตถาคตก็เป็นแต่เพียงผู้บอกหรือผู้ชี้ทาง แต่การเดินปฏิปทาหรือปฏิบัตินะ เดินนั่นนะ ทำเอง คำว่าปฏิปทาหรือคำว่าปฏิบัตินั่นแปลว่าเดิน ถ้าเป็นภาษาชาวบ้านแปลว่าเดิน ภาษาธรรมะแปลว่าปฏิบัติ ที่สุดแปลว่าเดิน เอาภาษาชาวบ้านมาใช้เป็นภาษาธรรมะ เอาภาษาเดินมาใช้เป็นคำปฏิบัติศาสนา คำว่าธรรมะแปลว่าหน้าที่ ถ้าจะพูดให้ตรงตามเรื่องตามราวที่มีอยู่จริง ธรรมะเป็นหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ แล้วก็ต้องปฏิบัติเอง พระพุทธเจ้าท่านเป็นแต่ผู้บอกทาง แนะทาง จะเป็นยังไง เพราะว่าเรื่องต่อไป พระพุทธเจ้าเป็นแต่ผู้บอกทาง คุณต้องเดินเอง กิจจะ แปลว่าหน้าที่ สิ่งนั้นคือธรรมะ ธรรมะแปลว่าหน้าที่
ที่นี่ก็จะพูดเรื่องต่อไป เรื่องเด็กดื้อ เด็กดื้อ คุณเป็นเด็กดื้อไหม จะพิสูจน์ให้เดี๋ยวนี้ว่าคุณเป็นเด็กดื้อ พูดหยกๆอยู่แล้วว่าพึ่งตัวเอง พึ่งตัวเอง ต้องมาอยู่กับตัวเอง พึ่งพระพุทธเจ้า หาไม่พบหรอกในพระบาลีในไตรปิฎกไม่มีพบ หาไม่พบ จงพึ่งพระพุทธเจ้า ไม่มี มันไม่มี นี่แปลว่าพึ่งธรรมะ หรือพึ่งตนเอง ใครไปหาพบ เอา ฆ่าให้ตายก็ได้ ยอม มันไม่มีนี่ ไม่มีที่ว่าพระพุทธเจ้าสอนให้จงพึ่งพระพุทธ จงพึ่งพระธรรม จงพึ่งพระสงฆ์ นี่มันไม่มี คือเด็กดื้อมันฝืนเอาเอง กูจะพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ กูจะไม่พึ่งธรรมะ ก็จะไม่พึ่งตัวเอง นี่ล่ะเด็กดื้อ นี่ใครสวด พุทธัง สรณัง คะฉามิ ไอ้เด็กดื้อนั่นนะ มันจะพึ่งพระพุทธ ไม่พึ่งตัวเอง ธัมมัง สรณัง คะฉามิ ก็ไอ้เด็กดื้อ ไม่พึ่งตัวเอง ไม่พึ่งธรรมะ สังฆัง สรณัง คะฉามิ ก็ไอ้เด็กดื้อ แต่ถ้าไปพูดอย่างนี้ที่กรุงเทพฯ คงด่ากันทั้งเมือง ผู้พูดจะต้องถูกด่าทั้งเมือง แต่มันก็เป็นเด็กดื้อกันจริงๆซะด้วยนะ แล้วมีคำแต่งขึ้นมาชั้นหลัง ไม่ใช่ของเดิม อะไร นัตถิ เมสรณัง อัญญัง พุทโธ เม สรณัง วรัง นัตถิ เม สรณัง อัญญัง ธัมโม เม สรณัง วรัง นัตถิ เม อัญญัง สรณัง สังโฆ เมโธณัง วรัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งของข้าพเจ้า ในเมื่อพระพุทธเจ้าสอนแค่ว่าให้พึ่งธรรมะ ให้พึ่งตัวเอง ไม่ให้มาพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ นี่ไงเด็กดื้อ เป็นกันหมด ทั้งเมืองไทย ทั้งพม่า ทั้งลังกาก็พูดต่อว่าพึ่งพระพุทธเจ้านะ แล้วก็สวดบทนี้นะ ทำวัตรเย็น นัตถิ เม สรณังอัญญัง นี่คือเด็กดื้อ ดื้อ พระพุทธเจ้าที่สอนให้จงพึ่งธรรมะ จงพึ่งตนเอง จะพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ นี่น่าสงสารที่เกิดกับภาษา เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี มันมีเรื่องต่อไปนิดนึงว่า ทำไมคำพูดนี้เกิดขึ้น ทำไมคำพูดว่าพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ เกิดขึ้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ตรัส แต่คนที่มัน มันฟังธรรม มาแล้ว มาแล้วมันพอใจ มันว่าออกมาเอง พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนนี่ ว่าแต่นี้ต่อไปจนตลอดชีวิต ข้าพเจ้าขอพึ่งพระพุทธ พร้อมทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งจนตลอดชีวิต ตอนท้ายของเรื่องน่ะ เมื่อคนนั้นมันฟังธรรมะแล้ว เห็นชัดประจักษ์ชัดแล้วจึงปฏิญญาว่าต่อไปนี้ข้าพเจ้าของพึ่งพระพุทธ พร้อมทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ เอาพระธรรม พระสงฆ์ ไปผนวกกับพระพุทธ สะพุท สะธังมัง สะสังฆัง นี่ พึ่งพระพุทธ พร้อมทั้งพระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พี่งของข้าพเจ้าจนตลอดชีวิต คนที่ฟังธรรมะมันว่าออกมา มันระบายความรู้สึกมันออกไป พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอน พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้บังคับ ท่านไม่ได้ชี้แนะว่า จงพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ แต่คนที่มันฟังธรรมแล้วมันพอใจ มันเห็นแจ้ง มันยอมรับ มันว่าออกมาเอง มันก็กลายเป็นธรรมเนียม เป็นธรรมเนียม ไปว่า ให้พูดว่าอย่างนั้น แล้วมันก็จะน่าหัว น่าสงสาร จับเด็กๆมาให้ว่าคำนี้ ทั้งที่เด็กๆมันไม่รู้ว่าอะไรนี่นะ ที่ไหนเหมือนกันแหละ ให้เด็กๆเป็นพุทธมามกะ จับเด็กๆมาให้มันร้องว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ทั้งที่มันไม่รู้ว่า พุทธัง คืออะไร นี่มันร้อง ธัมมัง สะระณัง สังฆัง เด็กมันไม่รู้ว่าอะไรคืออะไร นี่มันเกิดเป็นธรรมเนียมขึ้นมาอย่างนี้ น่าสงสาร ที่จะพูดว่าพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ เป็นต้นนี่ มันต้องของผู้ที่รู้จัก พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์แล้ว ฉะนั้นข้อความตอนนี้มันจะไปอยู่ตอนท้ายพระสูตร ตอนจบพระสูตร พอพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องนี้เสร็จ จบไปแล้ว ผู้นั้นนะ ก็จะร้องออกมาเอง โดยที่พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเรื่องนี้ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิตข้าพเจ้าขอถือซึ่งพระพุทธ พร้อมทั้งพระธรรม พร้อมทั้งพระสงฆ์ เป็นสรณะ แม้พระพุทธเจ้าเดี๋ยวนี้เป็นผู้บอก แล้วพระธรรมก็คือสิ่งที่ท่านบอกอยู่เดี๋ยวนี้ แล้วพระสงฆ์ก็คือคนทั้งหลายที่ได้ยินได้ฟังและปฏิบัติอยู่แล้วก่อนข้าพเจ้า นั่นก็คือพระสงฆ์ ข้าพเจ้าจึงยินดีมอบทั้งหมดพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ แต่เขามองว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนให้พึ่งตนเอง ให้พึ่งธรรมะ แล้วเราก็เป็นเด็กดื้อกัน เป็นเด็กดื้อกันทั้งนั้น เมื่อได้ร้องว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ อย่าลืมข้อนี้ ปากมันพูดว่า พุทธัง สะระณัง ธัมมัง สะระณัง สังฆัง สะระณัง แต่หัวใจอย่าลืมว่าพระพุทธเจ้าท่านสอนว่าจงพึ่งตัวเอง จงพึ่งธรรมะ จงพึ่งตัวเอง ธรรมะคือความจริง หรือความจริงที่ดับทุกข์ได้คือธรรมะ แล้วทำด้วยตนเอง เขาเรียกว่าพึ่งตนเอง พึ่งธรรมะ หรือพึ่งตนเอง เมื่อพูดพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ กันโดยอ้อม โดยอ้อม พึ่งตนเอง พึ่งธรรมะเสร็จแล้ว มันจะมองว่าเออนี่ก็พึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ก็ได้ ที่บอกนี่ก็เพื่อจะให้รู้ว่าเมื่อเราว่าอยู่ทุกวันว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ จะเป็นเมื่อสวดมนต์ก็ดี จะเมื่อรับศีลก็ดี ขอให้นึกถึงข้อนี้ ว่าพระพุทธเจ้าท่านให้พึ่งธรรมะ และพึ่งตนเอง เดี๋ยวนี้ข้าพเจ้าพูดตามความสมัครใจของข้าพเจ้า ฉันพูดตามความสมัครใจหรือความรู้สึกของฉันว่าฉันจะพึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ ถ้าเกิดจะจับเด็กๆมาให้ว่าอย่างนี้ก็ให้อธิบายซักหน่อยว่า พระพุทธเจ้าคืออะไร พระพุทธเจ้าคือผู้ที่ไม่มีความทุกข์เลยนะลูกเอ๋ยว่างั้น เพราะว่าท่านรู้เรื่องนี้เอง พระพุทธเจ้า และพระธรรมคือคำสั่งสอนเรื่องนี้นะลูกเอ๋ย พระสงฆ์ก็คือคนที่เขาฟังธรรมแล้วก็ปฏิบัติได้ดีนะลูกเอ๋ย ก็ขอให้พึ่งพระพุทธ พึ่งพระธรรม พึ่งพระสงฆ์ ในความหมายอย่างนี้ เด็กๆมันก็จะไม่เป็นนกแก้วนกขุนทอง จะว่าด้วยเขารู้สึกที่พอใจในพระพุทธ ในพระธรรม ในพระสงฆ์ เดี๋ยวนี้ทั้งหมด เกือบจะทั้งหมด มันว่า พุทธัง สะระณัง โดยที่ไม่รู้ว่าพระพุทธเจ้าคืออะไร แล้วก็มีลักษณะเป็นเด็กดื้อ ไม่พึ่งธรรมะ ไม่พึ่งตนเอง เหมือนที่พระพุทธเจ้าท่านสอน ระวังว่าตัวเราอย่าไปรวมอยู่ในเด็กดื้อ ใครจะดื้อกันทั้งบ้านทั้งเมืองก็ช่างหัวมัน เราไม่ดื้อ เราจะพึ่ง เราจะเชื่อพระพุทธเจ้า พึ่งธรรมะ หรือพึ่งตนเอง นี่มันก็เป็นประเด็นหนึ่งเรื่องหนึ่งที่จะต้องจดจำ เข้าใจ และบันทึก ไว้อีกเรื่องหนึ่ง เป็น เรื่องๆๆๆๆ จะมากเรื่องก็ตาม จะพูดกันแต่เรื่องที่ว่า ผู้ที่จะทำอรรถานุกรมจะต้องรู้เรื่องอะไรบ้าง ไม่เช่นนั้นมันจะน่าสงสาร จะย้อนกลับมาน่าสงสาร มีที่ได้อธิบายไปแล้ว ในส่วนที่พิมพ์ออกไปแล้ว ก็ต้องอธิบายเข้าได้ อย่าให้เขาค้านแล้วจนแหง่อยู่ พูดไม่ถูก นับตั้งแต่ว่าหัวใจพระพุทธศาสนาคืออะไร ตอบครอบจักรวาลไป ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ตอบให้แคบเข้ามาก็ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา หัวใจพุทธศาสนา อย่างที่จะปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรมันอีกเรื่องหนึ่ง ถอยหลังเข้ามาเป็นขั้น ขั้น ขั้น ขั้น ก็พูดได้อีกหลายอย่าง ไม่ใช่พูดอย่างเดียว ธรรมทั้งปวง สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา เป็นใจความสำคัญเป็นศูนย์กลาง เป็นใจกลางแน่น เปลี่ยนไม่ได้ แต่ปลีกย่อยที่จะเอามาอธิบายเป็นเรื่องนั้น เรื่องนี้ เรื่องโน้น ยังมีอีกมาก ยังมีอีกมาก แต่มันก็ไปรวมอยู่ที่ ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ถ้าเราพูดในแง่ทั่วไปก็ต้องพูดอย่างนี้ หรือจะพูดเฉพาะแง่ เฉพาะแง่ ในเรื่องปริยัติ ในเรื่องปฏิบัติ ในเรื่องปฏิเวธ ก็พูดได้อีกต่อไป เฉพาะในส่วนนั้น อย่างเช่นพูดว่าปฏิบัติ ก็อย่ายึดมั่นถือมั่นสิ่งใดว่าอัตตา อย่ายึดมั่น บวก ลบ เมื่อพูดอย่างวิทยาศาสตร์ก็พูดว่าอย่ายึดมั่น บวก ลบ ก็พูดอย่างนี้ พวกศาลาวัด พวกอภิธรรม เขาก็ด่าว่านี่เอาคำอะไรก็ไม่รู้ คำที่พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัส มันเป็นคำวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ การบวก ลบ แต่ความจริงมันคืออย่างนั้น อย่ายึดมั่นกุศล อย่ายึดมั่นอกุศล ให้มันว่างไปเสียทั้งกุศล ทั้งอกุศล คือไม่ยึดมั่นบวก ลบ เดี๋ยวนี้เขาเรียนวิทยาศาสตร์กันทั้งโลก ขอโอกาสใช้คำพูดอย่างวิทยาศาสตร์กันบ้าง พวกศาลาวัดจะพูดว่าไม่ยึดมั่นกุศล ไม่ยึดมั่นอกุศล เราก็จะพูดว่าไม่ยึดมั่นบวก ไม่ยึดมั่นลบ พวกอภิธรรมก็ยึดมั่นกุศล พวกอภิธรรมนั่น เขาสอนยึดมั่นกุศล ยึดมั่นมหากุศล ถ้าคุณไปเรียนอภิธรรม คุณก็จะได้รับการชักจูงให้ประสงค์มหากุศล มหากุศล พระนิพพานเป็นมหากุศล ทั้งที่พระนิพพานไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล เหนือกุศล เหนืออกุศล เราไม่อยากจะทะเลาะกัน
เอาก็จะเป็นเรื่องต่อไปว่าจะไม่กล่าวคำขัดแย้ง ประเด็นต่อไปที่จะพูด ที่จะจัดการปฏิบัติ เราจะไม่กล่าวคำขัดแย้ง นี่ประเด็นหัวข้อ ประเด็นว่าเท่านี้แหละ เราจะไม่กล่าวคำขัดแย้งเท่านี้แหละ ไม่ต้องพูดมาก ทีนี้ก็จะอธิบาย อธิบาย พระพุทธเจ้าท่านตรัสประกาศตัวท่านเองว่า ตถาคตจะไม่กล่าวคำขัดแย้งกับผู้ใดๆในโลก ในมนุษย์โลก เทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ คือทุกโลก ตถาคตจะไม่กล่าวคำขัดแย้งกับผู้ใดในทุกๆโลก จะแปลเป็นไทยอย่างนี้ก็ได้ ไม่กล่าวคำขัดแย้งกับใครๆในโลก พูดง่ายๆก็ว่าพระพุทธเจ้าท่านจะไม่มีคำพูดว่า แกผิด แกผิด ฉันถูก คำพูดที่ทำให้ไอ้ความคิดที่พูดออกว่าแกผิด ฉันถูก เรียกว่า ความคิดที่ทำให้พูดออกมาว่า มึงผิด กูถูก กูถูก ข้างเดียว มึงผิดทั้งหมด เรียกว่าๆ สัจจาภินิเวส แปลกใช่ไหม เพิ่งเคยได้ยินใช่ไหม คำนี้เอาไปใส่ในอัตถานุกรมดีไหม สัจจาภินิเวส ความรู้สึกขัดแย้งว่ามึงผิดกูถูกฝ่ายเดียว มึงผิดฝ่ายเดียวนี่ เรียกว่า สัจจาภินิเวส ซึ่งเป็นเหตุให้กล่าวคำขัดแย้ง ขัดแย้ง อธิบายให้ละเอียดก็คือว่า พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ตรัสรู้เกิดขึ้นมาในโลกก็สอน พวกอื่นเขาสอนกันอยู่แล้วในอินเดีย ทั่วไปพวกอื่นก็สอนกันอยู่แล้ว พอพระพุทธเจ้าจะสอนอันที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เองบ้าง ท่านจะไม่มีคำกล่าวว่านั่นผิด นี่ถูก ไม่มี ไม่มี ถ้ามันมีก็ลูกศิษย์มันว่าเอาเอง ลูกศิษย์พระพุทธเจ้ามันว่าเอาเอง ที่พระพุทธเจ้าไม่ได้ว่า มันว่าคนอื่นผิด มันถูก เดี๋ยวนี้สำนัก สำนักทั้งหลายมันก็กูถูก มึงผิดทั้งนั้น ไม่ว่าสำนักไหน อย่าออกชื่อ ในกรุงเทพฯ หลายๆสำนัก มันจะมีคำพูดว่านี่ถูก นั่นผิด สำนักนั้นผิดสอนผิดๆ สำนัก นี่ก็มีสำนักนี้สำนักเดียวเท่านั้นแหละสอนถูก ความคิดที่ทำให้พูดออกมาว่าอย่างนั้นเรียกว่า เรียกว่าอะไรคุณดวงเดือน ( คุณดวงเดือน : สัจจาภินิเวส) จำไว้ๆ คำนี้ๆ สัจจาภินิเวส ฝังมั่นลงไปในความคิดของตัว ของตัว ฝังมั่นลงไปแล้วว่าคนอื่นผิด ฉันถูก ถ้ามีอย่างนี้แล้วก็ต้องไม่ใช่พุทธบริษัท เมื่อคนอื่นเขาสอนว่า อัตตา อัตตา ฉันก็ไม่ว่าแปลผิด เพียงแต่บอกว่ามันอนัตตา เมื่อแกสอนกันอยู่ว่านรกอยู่ใต้ดิน ใต้บาดาล สวรรค์อยู่บนฟ้าฉันก็ไม่ว่าแกผิด ฉันจะไม่พูดว่าแกพูดผิด แต่ฉันจะพูดว่า ฉันเห็นแล้วว่า นรก นะ มันอยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สวรรค์มันก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำผิดเมื่อใดเป็นนรก ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำถูกต้องเมื่อใด สวรรค์ ก็อยู่ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉันก็ไม่พูดว่านรกอยู่ใต้ดิน สวรรค์อยู่บนฟ้าอย่างที่เขาพูดกันมาแต่ดึกดำบรรพ์ นี่แสดงว่าพระพุทธเจ้าจะไม่พูดคำที่ค้านกับผู้ใด จะพูดกันอย่างไร จะพูดกันอยู่อย่างไรก็ไม่ ไม่ไปบอกว่าผิดนะเว้ย เปลี่ยนเว้ย เปลี่ยนเว้ย ไม่มีหรอก ไม่มี แต่ท่านจะใช้คำว่า ในธรรมะนี้ ในลัทธินี้ ในเดียรถีย์นี้พูดว่าอย่างนี้ เมื่อในลัทธิอื่น ในเดียรถีย์อื่นพูดว่าอัตตา ในลัทธินี้ ในเดียรถีย์นี้พูดว่าอนัตตา ในเมื่อลัทธิอื่น เดียรถีย์อื่นพูดว่าดับทุกข์อย่างนี้ ดับทุกข์อย่างนี้ ในลัทธินี้ดับทุกข์อย่างนี้ อย่างนี้ ไม่ต้องค้านกัน ให้เลือกเอาตามชอบใจ ใครอยากจะเอาวิธีไหนก็เลือกตามชอบใจ นั้นคำว่าค้านกันจนกระทบกัน จนทะเลาะกัน เหมือนในรัฐสภามันไม่มี มันไม่มี จะไปค้านไปทะเลาะกัน มันก็ไม่เป็นสัตบุรุษ ไม่เป็นสัตบุรุษในพระพุทธศาสนา ทั้งที่เขาพูดกันอยู่ตรงกันข้ามเราโดยประการทั้งปวง อย่าไปเอ่ยปากออกมาว่า ผิด ผิด ผิด ของแกผิดของฉันถูกอย่าพูดอย่างนี้ ผิดแต่ว่าในหมู่พวกเรานี้ มีความเห็นอย่างนี้ มีความคิดอย่างนี้ ปฏิบัติอย่างนี้ ก็คือว่าเราถือความถูกต้องอย่างนี้แหละ แต่ว่าไม่ว่าใครผิด สำนักที่มันตั้งขึ้นใหม่ๆมันมีแต่พูดว่าพวกอื่นผิดนี่ แม้แต่เรื่องกินเนื้อ กินปลา มันก็พูดว่าผู้อื่นผิด มันก็ไม่ ไม่ ไม่ ไม่พูดคำอย่างนี้ ท่านผิด ฉันถูก คำพูดของท่านผิดหมดแล้ว ฉันค้านหงายหลังไปหมดแล้ว จะไม่พูดอย่างนี้ อย่าไปพูดว่าฉันพิสูจน์เห็นได้ว่าคำพูดของท่านผิด จะไม่พูดคำนี้ อย่าไปพูดคำนี้ พิสูจน์ให้เห็นว่าท่านผิด อย่าไปพูด ถ้ามีความขัดแย้งเมื่อไหร่มันก็ไม่ธรรมะเมื่อนั้น ถ้ามีธรรมะ ไม่มีขัดแย้ง ใครจะพูดอย่างไรก็พูดไป ใครจะเชื่ออย่างไรก็เชื่อไป เลือกเอาตามพอใจ นั่นแหละ ธรรมะไม่ขัดแย้งแก่กันและกัน ของเราถือศาสนาต่างกัน คนละศาสนา แต่อย่าบังอาจไปพูดว่าผิด คุณผิด คุณผิด อาตมาก็พยายามที่จะประสานให้มันกลมกลืนกันไปได้ทุกศาสนา แม้แต่ศาสนาคริสต์ ศาสนายิว พยายามชี้ให้เห็นว่ามันมีส่วนถูกต้อง กลมกลืนกันอย่างนั้น อย่างนั้น แต่ก็มีคนด่าอาตมาขบถพุทธเจ้า ขบถพระพุทธศาสนา ไปยกย่องศาสนาอื่นมาเท่าเทียมกันอย่างนี้เป็นต้น เราไม่ได้มีเจตนาอย่างนั้น ไม่ได้เจตนาจะประสานให้เข้ากันในส่วนที่มันประสานให้เข้ากันได้ ศาสนายิวก่อนคริสต์หลายพันปีก่อนคริสต์ ศาสนายิวดูนะสอนเหมือนพุทธศาสนา อย่าไปกินผลไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว กินแล้วจะตาย รู้ดีรู้ชั่วมันยึดดียึดชั่ว แล้วมันก็เป็นทุกข์ขึ้นมา สอนเหมือนพุทธศาสนา อย่าหลงรักดี ชั่ว คือดีใจเสียใจ อย่าไปนั่นกับมัน พูดให้พ้น ให้พ้น หลุดพ้นจากไอ้สิ่งที่ผูก สิ่งใดผูกพันก็จะต้องพ้นจากสิ่งนั้น สิ่งนั้นก็คือความดี ความชั่ว ความผิด ความถูก เขาเรียกว่าของคู่
หัวข้อต่อไป อย่าหลงของคู่ ที่กล่าวไปแล้วก็ไม่รู้นะ ว่าเป็นข้อ ข้อ ข้อๆกันไป ข้อต่อไปก็ขอให้ใช้หัวข้อว่า อย่าหลงของคู่ เขียนต่อท้ายหน่อย นี่คือความถูกต้องของพระศาสนา ทุกศาสนา จะเป็นศาสนาไหนก็ตาม เขาสอนว่าอย่าหลงของคู่ ถือว่าถูกต้อง ถูกต้อง พุทธศาสนาไม่หลงกุศล ไม่หลงอกุศล ไม่หลงบาป ไม่หลงบุญ ไม่หลงดี ไม่หลงชั่ว นี่พระพุทธศาสนาไม่หลงของคู่ ที่นี่ถ้าศาสนาไหนก็ตาม มันสอนอย่างนี้ แล้วก็ยอมรับเถอะว่ามันสอนเหมือนพุทธศาสนา ถ้าพูดตามประวัติศาสตร์ยิวโบราณ มันตั้งหกพันปีนั่น ถ้าคิดตามประวัติศาสตร์คำนวณกันเดี๋ยวนี้ พวกยิวนั่นตั้งหกพันปี พุทธศาสนานี่มันสองพ้นกว่าปีเท่านั้น คำสอนมันยังตรงกันได้ ไบเบิล คัมภีร์ไบเบิลตอนต้นๆที่เรียกว่า Old Testament ไม่เกี่ยวกับพระเยซูนะ คำสอนนี้ไม่เกี่ยวกับพระเยซู พระเยซูสอนทีหลัง Old Testament ของพวกยิวโบราณ พอพระเจ้าสร้างโลกขึ้นมาเสร็จแล้ว เป็นผัวเมียคู่แรกหญิงชาย ท่านก็สั่งว่าแกอย่ากินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว ประโยคมันมีว่าอย่างนี้ อย่าไปกินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว นี่คำสั่ง ถ้ากินแล้วจะตาย คืออย่าไปยึดมั่นเป็นดีเป็นชั่วมันจะเกิดปัญหา นี่ยิวโบราณหลายพันปีสอน เขาก็ไม่ผิด เขาก็สอนถูก แต่ถ้ามันยึดมั่นถือมั่นด้วยสัจจาภินิเวส มันก็ผิดทั้งนั้น นอกจากกูคนเดียวถูก ไม่ไหว เล่าจื้อราวๆสามพันปี เล่าจื้อก็สอนว่าอย่าไปยึดดีชั่ว อิมว่าดี เอี๊ยงว่าชั่วหรือลบ อิมเอี๊ยง อิมเอี๊ยง สองคำ บวกลบ บวกลบ เล่าจื้อก็สอนมาแล้ว แม้แต่ศาสนาฮินดู ฮินดูในอินเดียก่อนพุทธกาลบ้าง หรือพร้อมๆกันบ้างก็สอนว่าอย่าติดบุญติดบาป แล้วอาตมันจะหลุดพ้นไปรวมกับปรมาตมัน เดี๋ยวนี้อาตมันตัวน้อยๆ แต่ละตัวๆนี่มันติดบุญติดบาปอยู่ที่ในโลกนี้มันติดโลกอยู่ในบุญบาปนี่ ถ้ามันเลิกบุญ เลิกบาปมันจะหลุดพ้นไปรวมกับปรมาตมันนิรันดร์นั่นหัวใจคริสต์ หัวใจฮินดู เขาว่าอย่างนั้น มันก็มีความสำคัญว่าอย่าติดบุญติดบาปเหมือนกัน ถ้าติดบุญติดบาปมันไม่หลุดพ้นได้ มันไม่หลุดได้ อย่าติดบุญติดบาป พุทธเจ้าเกิดขึ้นท่านก็ไม่ ไม่ ไม่ไปค้าน ก็สอนว่าอย่าไปติดดี ติดชั่ว ติดกุศล ติดอกุศล ให้ว่าธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ทุกสิ่งเป็นอนัตตา ไม่ติดอยู่กับอะไร นั่นเป็นความหลุดพ้น เป็นความว่าง เป็นนิพพาน ถ้าเราพูดอย่างหวังดี อย่างเพื่อนฝูงกันก็ว่าทุกๆศาสนาถ้ามันสอนอย่างไม่หลงดีหลงชั่วแล้วก็เรียกว่า ถูกด้วยกัน ถูกด้วยกัน ข้อนี้มีใจความสำคัญอยู่ที่ถ้าไม่เข้าใจแล้วมันจะขัดแย้งอยู่ในตัวเอง คำพูดนะมันพูดบอกรู้ดีรู้ชั่ว แต่ความจริงมันไม่ใช่อย่างนั้น มันไม่ใช่เพียงว่ารู้ดีรู้ชั่ว มันจัด ให้เป็นดีเป็นชั่ว ที่เรียกว่า classify ในภาษาฝรั่งว่าดีว่าชั่ว ถ้ารู้ดีรู้ชั่วมันดีสิ จะได้ปฏิบัติถูก แต่ถ้าไป classify นี้เป็นดีเป็นชั่วเป็นคู่ตรงกันข้ามแล้วมันจะเกิดปัญหา มันจะตีกัน พูดสั้นๆอีกทีก็ต้องพูดว่าปัญหามันเพิ่งเกิดเมื่อมนุษย์ มนุษย์ มนุษย์หลงบัญญัติว่าดีว่าชั่ว หรือมนุษย์ไป classify ไปประกาศว่าเป็นดีเป็นชั่ว ปัญหาทั้งหลายเพิ่งเกิดเมื่อมนุษย์ไปเกิดยึดดียึดชั่ว ไป classify มันเข้า เหมือนกับที่พระเจ้าสั่งอดัม กับอีฟ ว่าอย่าไปกินผลไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่วนะ แกอย่าไป classify อะไรว่าดีว่าชั่ว ให้มันเป็นอย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่างนั้น ใครว่าดีมันก็ว่าดี เมาดี หลงดี ว่าชั่วมันก็เกลียด กลัว ไม่มีความสุขสงบ มันจะเกลียดจะกลัว เรื่องบันทึกต่อมาหลังจากที่พระเจ้าสอนอย่างนี้แล้ว ผัวเมียคู่นี้ มันไม่เชื่อ มันกิน มันกินผลไม้นั้น แล้วมันจะแก้ตัวว่างูหลอกให้กิน งูสัตว์เลวร้าย สัตว์บาปที่ถูกมันหลอกให้กิน เขาก็แก้ตัวกับพระเจ้าว่างูมันหลอกให้กิน แต่เขาก็ได้กินเข้าไปแล้ว อันนี้คือรู้ดีรู้ชั่ว เรื่องมันก็อธิบายไว้ชัด ผัวเมียคู่นี้มันก็อยู่ในสวนเอเดน สวนแรกที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาเรียกสวนเอเดน เอเดน ผัวเมียคู่นี้มันก็อยู่ในสวนนี้ พอพระเจ้าตระโกนเรียกมันก็ออกมาหาพระเจ้าทันที ผัวเมียคู่นี้พอพระเจ้ามาเยี่ยม เรียกมันก็มาทันที นี่พอต่อไปนี้ หลังจากที่มันกินผลไม้นี้เข้าไปแล้ว งูหลอกให้กินนี่ พระเจ้าก็มาสิ มาตามเคยสิ มาเรียก มา อดัม มา มา มันไม่มา พระเจ้าว่าทำไมไม่มา มันบอกว่าไม่ได้นุ่งผ้า ว่าอย่างนั้น ไม่ได้นุ่งผ้า เมื่อก่อนนั้นมันไม่มีความหมายอะไร นุ่งผ้า หรือไม่นุ่งผ้า มันไม่มีความหมายอะไร มันก็มาหาพระเจ้าได้อย่างเปลือยๆอย่างนั้น แต่พอมาถึงตอนนี้ มันกินเข้าไปแล้วมัน โอว อย่างนี้ไม่ไหวนี่ ไม่นุ่งผ้านี่ เลว มันก็ไม่มา พระเจ้าว่า ทำไมไม่มา บอกว่าไม่ได้นุ่งผ้า พระเจ้ารู้ทันทีว่าไอ้หมอนี่มันกินเข้าไปแล้ว มันดื้อ กูกินเข้าไปแล้ว มันดื้อ กูกินเข้าไปแล้ว มันก็ไม่ออกมา มันรู้ว่าไม่ได้นุ่งผ้า นั่นมันรู้ดีรู้ชั่วคืออย่างนั้น พระเจ้าก็เลย อ้าว เอาใบไม้ไปนุ่ง เอาใบไม้นุ่ง นุ่งใบไม้เข้าไปก่อน แล้วต่อไปค่อยหาอะไรนุ่งดีกว่านั้น นี่ปัญหาเพิ่งเกิดกับมนุษย์เมื่อมนุษย์เริ่มรู้จักดี รู้จักชั่ว เอากันให้ใกล้ตัวที่สุด เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ดีกว่านะ ไม่ต้องหลายหมื่นปีไกลไปอย่างโน้นหรอก เด็กออกมาจากท้องแม้ ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหายุ่งยากลำบาก ยุ่งยากอะไร เด็กจะเริ่มมีปัญหาเมื่อทารกคนนั้นเริ่มรู้สึกว่าอะไรดีอะไรชั่ว จริงไม่จริง ไปคิดดู ตลอดเวลาที่เด็กยังไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรชั่ว ไม่มีปัญหา แม้อดัมกับอีฟ ยังไม่รู้อะไรดีอะไรชั่ว มันก็นุ่งผ้าก็ได้ ไม่นุ่งก็ได้ ไม่ต่างกัน ไม่รู้สึกเลย แต่พอมันกินผลไม้นั้นแล้วมันรู้สึกว่าอย่างนี้ดี อย่างนี้ชั่ว นุ่งผ้าดี ไม่นุ่งผ้ามันชั่ว มันก็ เป็นปัญหา เป็นปัญหา เป็นปัญหายุ่งยากเพิ่มขึ้น เพิ่มขึ้น นั่นแหละคือตาย นั่นแหละคือตาย เด็กออกมาจากท้องแม่ไม่มีความคิดว่าดีว่าชั่ว เช่นเดียวกับมันอยู่ในท้องแม่มันไม่มีสัมผัสทางอายตนะอะไร ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ได้ทำงาน ความหมายว่าดีว่าชั่วมันไม่เกิด เกิดขึ้นไม่ได้ พอมันคลอดมาจากท้องแม่แล้วเวลาสมควรแล้ว ไอ้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเริ่มทำงาน ระบบประสาทมันเริ่มทำงาน มันก็มีอาการที่ว่า ถูกกับระบบประสาทก็คือดี คือสว่าง ไม่ถูกกับระบบประสาทคือชั่ว เด็กก็เริ่มรู้สึกเป็นดีเป็นชั่วเป็นบวกเป็นลบ ปัญหาก็ตั้งต้น อยากดี อยากดี อยากได้ อยากกิน อยากอะไรให้มากแล้วก็ คราวนี้ก็กลัว เกลียด กลัว เกลียด กลัว มากขึ้น ปัญหามันก็ตั้งต้นเมื่อ เด็กทารก เริ่มมีความรู้เรื่องดีชั่วเป็นครั้งแรก นี่ความจริงปัจจุบันเป็นอย่างนี้ ท่านจึงว่าแสนปีล้านปีมาแล้วพระเจ้ากับอดัมกับอีฟ ก็อย่างนี้แหละ อย่างนี้แหละ เมื่อแกยังไม่กินผลไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว แกก็ไม่มีปัญหา แต่พอแกกินผลไม้นี้แล้ว แกก็มีปัญหานั่นแหละคือตาย ตาย ตาย เต็มไปด้วยความทุกข์ ทั้งบวกทั้งลบ นั่นพวกคริสเตียนเขาเรียกว่าความผิดอันนี้ว่า Original Sin Sin บาป original ดั้งเดิมนี่ถูกต้องที่สุด ถูกต้องที่สุด พุทธศาสนาเราก็รับเอาหลักการอันนี้ ไม่ว่าบาปจุดตั้งแรกตั้งต้นมันก็คือรู้ดีรู้ชั่ว มันก็ติดมาถึงลูกถึงหลาน กี่หมื่นแสนล้านปีมาแล้วมันก็มีบาป บาปเดิมติดมาจนถึงบัดนี้ หลงดี หลงชั่วกันมากขึ้น มากขึ้น แล้วก็จะหลงดีกันมากขึ้น มากขึ้น ที่นี้มันจะรบราฆ่าฟันกันเพราะว่ามันบ้าดี สรุปความแล้วก็ว่าปัญหาตั้งต้นเมื่อคนมันเริ่มรู้ดีรู้ชั่ว รู้จักแยกเป็นดีเป็นชั่ว ไม่ใช่รู้อย่างถูกต้อง มันไม่ใช่ conscious รู้ดีรู้ชั่วอย่างนั้นมันมีประโยชน์ แต่รู้ดีรู้ชั่วสำหรับโง่เพื่อจะหลง หลงดีบ้าดี หลงชั่วบ้าชั่ว น่ะมันไม่ไหว จึงพูดว่า ไม่หลงดีหลงชั่ว คือไม่หลงของเป็นคู่ๆ ไปคิดเอาเองสิ คิดเอาเองก็ได้ แล้วก็ดูสิ ชัดเจนกว่าว่าของคู่ๆๆๆ นั้นคืออะไรบ้าง หัวข้อของเราว่าอย่างหลงของเป็นคู่ใช่ไหม มันมีกี่คู่ท่านว่า หลายร้อยคู่พันคู่ หมื่นคู่ ดีชั่ว บุญบาป สุขทุกข์ ได้เสีย แพ้ชนะ กำไรขาดทุน ได้เปรียบเสียเปรียบ ไม่รู้ที่เป็นคู่ๆๆๆ ทุกคู่อย่างไปบ้า อย่าไปหลงกับมัน แม้แต่ว่าหญิงหรือชาย นี่ก็คู่ อย่าไปหลงความเป็นหญิง อย่าไปหลงความเป็นชาย อย่าไปหลงเกิด อย่าไปหลงตาย เกิด ตาย นี่ก็เป็นคู่ อย่าไปเอากับมัน ไอ้เกิดตายนี่ เอาว่างดีกว่า อย่าหลงของเป็นคู่ ใช้คำวิทยาศาสตร์ ก็ว่า อย่าไปหลงความเป็นบวกอย่าไปหลงความเป็นลบ เดี๋ยวนี้มันให้พร ให้พรกัน แต่ว่าให้เป็น positive ให้เป็น positive มันสาปแช่งกันไม่รู้หรอนั่น มันบ้าดี หลงดี มันสาปแช่งมันไม่ใช่ให้พร อะไร อะไร ก็จะให้ positive ลงท้ายจดหมายก็จบ positive มีความเป็น positive อย่าไปหลง positive อย่าไปหลง negative แล้วท่านก็จะอยู่เหนือโลก เหนือสิ่งทั้งปวง ที่เป็นคู่ๆๆๆ กี่ร้อย กี่พันคู่ หมื่นคู่ แสนคู่ มันอยู่ในโลกๆ เหนือโลกมันไม่มี ถ้าเป็นโลกุตระมันไม่มีความเป็นคู่ จะพ้นโลก จะเหนือโลก จะต้อง เหนือความเป็นคู่ ที่มันหลอกที่สุด ก็คือดีใจ เสียใจ ทุกคนชอบดีใจๆๆๆ ไว้ ดีใจมันวิเศษ แล้วก็ เกลียดเสียใจๆ แต่ที่จริงมันก็ไม่ไหว ทั้งดีใจทั้งเสียใจ มันไม่ใช่ความพักผ่อน ดีใจก็กระหืดกระหอบ ไปตามแบบดีใจ ไม่ใช่ความพักผ่อน เสียใจยิ่งแล้วใหญ่ นี่อย่าบวกอย่าลบ อย่ามีความเป็นอยู่ด้วยความรู้สึกดีใจเสียใจในชีวิตประจำวัน ฉันจะอยู่เหนือนั่นเสมอไป มีสติในข้อนี้ สติสมบูรณ์อย่างยิ่งในข้อนี้ ฉันจะไม่ไปมัวดีใจหรือเสียใจกับมัน มีสติอานาปานสติก็เหมือนกัน หายใจทุกครั้งไม่ถูกครอบงำด้วยความดีใจและเสียใจ ข้อนี้ยุตินะ ว่าไม่หลงบวก หลงลบ
ที่นี้ก็มาข้อถัดไป หัวข้อว่า การปรุงแต่งเป็นทุกข์ สังขารา ปรมา ทุกขา บาลีว่า สังขารา ปรมา ทุกขา สังขาร แปลว่าการปรุงแต่ง ปรมา ทุกขา แปลว่า เป็นทุกข์อย่างยิ่ง หัวข้อมีเท่านี้ การปรุงแต่งเป็นทุกข์ ถ้าไม่มีการปรุงแต่งก็ไม่มีความทุกข์ ถ้ามีการปรุงแต่งมันจะแยกตัวเป็นดีเป็นชั่ว เป็นบวกเป็นลบ แล้วก็เป็นทุกข์ไปตามนั้น สังขาร นี่ เราอธิบายมีแล้วหรือยังในนั้น มีแล้ว ปรุงแต่ง ปรุงแต่งนะ อย่าว่า อย่าให้ความหมายเดียวนะ มีสามความหมาย สังขาระ คำนี้ สามความหมาย ตัวผู้ปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร ที่ถูกปรุงแต่งสิ่งที่ถูกปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร กิริยาอาการที่ปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร ผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่ง อาการปรุงแต่ง ทั้งสามนี้เรียกว่าสังขาร ที่นี้ที่ชาวบ้านทั่วๆไปพูดกันอยู่ทั่วๆไปว่า สังขาร คือร่างกาย สังขารคือร่างกาย ดับสังขารคือตายนั่น มันถูกนิดเดียว ถูกแล้วร่างกายคือสิ่งที่ถูกปรุงแต่ง ถูกเท่านั้น ถูกนิดเดียว ดับสังขารคือตาย สิ้นสังขารคือตาย เด็กๆนักเรียนในโรงเรียนก็เรียน เรียนภาษาไทยเรียนแค่นี้ เรียนสังขารคือร่างกาย ดับสังขารก็คือตาย แต่ถ้าผู้รู้ธรรมะมันมีถึงสามความหมาย มันกว้างไม่มีอะไรเหลือ สิ่งที่ปรุงแต่งสิ่งอื่น แล้วก็สิ่งที่ถูกปรุงแต่งโดยสิ่งอื่น แล้วอาการที่ปรุงแต่งนั่นก็เรียกว่าสังขาร ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้ว ใช้คำว่าอะไรดี อยากจะใช้คำว่ามันยุ่ง มันยุ่ง ถ้าเป็นสังขารแล้วมันยุ่ง เป็นสุขก็ยุ่ง เป็นทุกข์ก็ยุ่ง อะไรก็ยุ่งไปทั้งนั้นแหละ สังขารแล้วก็ยุ่ง มีความสำคัญ หรือจะเรียกว่าความลับก็ได้ ที่อาตมาเรียกว่าความลับก็คือว่าพวกคริสเตียนเขาคงไม่อยากให้เราพูด หรือไม่อยากให้เอาความข้อนี้ในคัมภีร์ไบเบิลมาพูด คือข้อความที่ว่าเดี๋ยวก่อนสิ พอพระเจ้าสร้างโลกขึ้นมาเสร็จแล้ว สร้างโลก สร้างทุกคน สร้างอะไรขึ้นมาเสร็จแล้ว พระเจ้าก็ฉุกคิด โอว ผิดหมดแล้ว ผิดหมดแล้วพระเจ้ารู้สึกอย่างนี้ผิดหมดแล้วที่สร้างโลกขึ้นมา นี่พระเจ้า ไปอ่านดูสิ อ่านดูเองในคัมภีร์ไบเบิลตอนต้นๆ พระเจ้ารู้สึกว่า โอว นี่ผิดแล้วที่สร้างโลกขึ้นมาอย่างนี้ ผิดหมดแล้ว ไม่สร้างดีกว่า สร้างขึ้นมาก็คือสังขาร สังขารมันก็ยุ่ง ถ้าไม่สร้างก็ไม่มีเรื่องยุ่ง พระเจ้าเป็นคนก่อเรื่องยุ่งขึ้นมา สร้างเรื่องยุ่งขึ้นมาคือการสร้างโลก นั้นเวทนาทั้งหลาย สุข ทุกข์ อทุกขมสุขในโลกทุกวันนี้ เพราะสังขารมันสร้างขึ้นมา ถ้าอย่าให้สังขารมันก็ไม่มีเวทนา ไม่มีการปรุงแต่งมันก็ไม่มีเวทนา ไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีอะไรหมด มันก็ไม่ยุ่งๆ ฉะนั้นสังขารเป็นปัญหา เป็นเหตุให้ยุ่ง การปรุงแต่งความคิดชนิดไหนยุ่งทั้งนั้นแหละ แม้แต่ในทางดีก็ยุ่งอย่างดี ไปทางชั่วก็ยุ่งอย่างชั่ว กุศลก็ยุ่งแบบกุศล อกุศลก็ยุ่งแบบอกุศล เราไม่เห็นด้วยกับพวกอภิธรรมเพราะต้องการมหากุศล มหากุศล กุศลอย่างยิ่งเราไม่ต้องการ ยิ่งมหากุศลก็ยุ่งแบบมหากุศล นี่จะไม่เอาปรุงแต่ง ไม่เอาเรื่องปรุงแต่ง จึงพูดว่า ตามที่พระเจ้าตรัสนะ สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง คำพูดนี้สูงสุด สูงสุด พระก็สวดอยู่เสมอ บอกให้อยู่เสมอ แต่มันก็เหมือนกับเป่าปี่ให้แรดฟัง ถ้าคุณไปงานศพที่วัด หรือที่ป่าช้าก็ตาม มันจะมีสวด อนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน อุปปะชิตะวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข ดับสังขารจะได้เป็นสุขอย่างยิ่ง ไม่ใช่ตาย คำนี้บอกว่าหยุดปรุงแต่งจะได้เป็นสุขอย่างยิ่ง แต่พวกแรดทั้งหลายมันฟังไม่ถูก มันไม่สนใจด้วย แล้วมันไปว่าเอาเอง ว่า ตาย นะคือเป็นสุขที่สุด บ้าเลย หยุดสังขารเสียได้เป็นสุขที่สุด วูปะสะโม สุโข มันว่า ตาย ตายนะ เข้าโลง คือสุขที่สุด แต่ถ้าบาลีนี้ไม่ได้บอกอย่างนั้น เตสัง วูปะสะโม สุโข ให้ระงับเสีย หยุดเสีย ซึ่งสังขารนะเป็นสุขที่สุด อย่ามีการปรุงแต่งเลย อย่ามีการ เวียนว่ายๆๆๆ อีกเลยนั่นนะเป็นสุขที่สุด คนฟังเป็นแรดฟังไม่รู้เรื่อง อีกพวกหนึ่งเป็นแรดที่ตีความหมายผิดๆ ตีความหมายว่าตายนะเป็นสุข เรื่องตายก็ยุ่ง เรื่องเกิดก็ยุ่ง ไม่เอา ตายและเกิดทั้งสองอย่างเป็นสังขาร สังขารนี่มันยุ่ง หยุดสังขารเสียนี่เป็นความสงบ หรือเป็นนิพพาน นี่คำว่าสังขารมันมีความหมายอย่างนี้ แม้ในโรงเรียนชั้นประถม ชั้นมัธยมมันก็ไม่ค่อยสอนคำว่าสังขารในลักษณะอย่างนี้ สังขารคือร่างกายไปหมด สรุปความว่าสังขารการปรุงแต่งยุ่งที่สุด หรือเป็นทุกข์ที่สุด อย่าเอากับมันเลย รู้จักความหมายของคำว่าสังขาร สังขารให้ ดีๆ และหยุดการปรุงแต่งเสียโดยประการทั้งปวง เมื่อตายเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส อะไรก็ตาม อย่าให้มีการปรุงแต่งให้เป็นดีและเป็นชั่ว ให้เป็นสุขหรือเป็นทุกข์ แล้วมันก็จะไม่มีปัญหา พอปรุงแต่งเป็นสุขเป็นทุกข์ เป็นดีเป็นชั่ว เป็นอะไรขึ้นมาแล้วมันก็มีปัญหา มันจะบ้าดีบ้าชั่ว หลงดีหลงชั่ว อย่างที่ว่า รักแง่นี้เกลียดแง่นั้น มันก็สังขาร สรุปความสั้นๆว่า ขึ้นชื่อว่าสังขารแล้วก็จะต้องยุ่ง เป็นทุกข์ วิสังขารตรงกันข้าม วิสังขาร แปลว่า ปราศจากสังขาร ก็ไม่มีปัญหา ไม่ยุ่ง ไม่มีความทุกข์ พูดภาษาธรรมดาอย่าไปสร้างมันขึ้นมา ถ้าสร้างมันขึ้นมามันจะยุ่ง เหมือนกับที่พระเจ้าเขาสร้างโลกเสร็จ สร้างโลกเสร็จ โอว ผิดแล้วๆ ไม่สร้างดีกว่า คำนี้มันมีอยู่ในคัมภีร์ไบเบิลอย่างนี้ แล้วพวกคริสเตียนเขาจะไม่เอามาพูดมันเลย มันเป็นปมด้อยของพระเจ้า มันเป็นปมด้อยของคริสเตียน เป็นปมด้อยของพระเจ้าคือสร้าง พระเจ้าสร้างเสร็จแล้วเกิดวิกฤตขึ้นมาเอง ไม่สร้างดีกว่า ถูกกว่า ทำยังไงได้มันสร้างเสียแล้ว เหมือนกับเราเกิดมานี่ อย่ามีตัวกู อย่าสร้างตัวกูขึ้นมา มันก็ไม่มีปัญหา แต่นี่มันสร้างเสียแล้วนี่ มันเป็นตัวกู ของกู เสียแล้ว ก็เด็กพอมีอายุพอรู้เรื่องดีชั่ว มันก็มีตัวกูเสียแล้ว มันสร้างเสียแล้ว พวกเราทุกคนที่นี่ก็เหมือนกันมันสร้างเสียแล้ว ตัวกูที่ถูกสร้างขึ้นมาเสียแล้ว มันผิดแล้ว อาตมายังจำได้นึกได้ว่า ที่คนแก่ๆ คนแก่ผู้รู้ธรรมะอย่างดีสมัยพุทธศาสนาที่เขารู้ทุกต้อง คนแก่ๆ อาตมายังเคยได้ยิน ได้ทัน ได้ยิน ได้ฟัง คนแก่เหล่านี้เขาจะพูดว่า อย่าปรุงๆ พูดกันอย่างนี้ เขาพูดกันอย่างนี้ อย่าปรุงๆ คือ อย่าสร้างๆ อย่าปรุง ถ้าไม่ปรุงมันก็ไม่มีเรื่อง ไม่มีดีไม่มีชั่ว ไม่มีบุญบาป ไม่มีทุกข์สุข ฉลาดที่สุด ถูกต้องที่สุด แต่ก็ยังสงสัยอยู่ว่าคนแก่นะมันรู้จริงหรือไม่เท่านั้นนะ หรือมันจะพูดแต่ปาก อย่าปรุงๆๆ ก็ติด เป็นธรรมเนียมๆ ว่าถ้าปรุงก็เป็นทุกข์ มีพระองค์หนึ่งจะบ้าหรือดี จะดีหรือบอๆก็ไม่รู้ พอมาที่สวนโมกข์ก็สั่นหัวขอกลับที่นี่มีความปรุงมากนัก ที่สวนโมกข์นี่มีความปรุงมากนัก สร้างนั่น สร้างนี่ ทำนั่น ทำนี่ อย่างนี้ๆ คือการปรุงมากนัก กลับ เกลียด ถ้าพระองค์นี้มีความรู้ถูกต้องก็นับว่าดีมาก แต่ถ้าเป็นพระบ้าๆบอๆยืมคำโบราณมาพูดมันก็ไม่มีอะไร ท่านก็ยึดมั่นถือมั่นเท่านั้น นั้นเขาจะถือหลักอันนี้ ไปที่ไหนก็ที่กรุงเทพฯ เข้าไปในบ้านใครเต็มไปด้วยสมบัติพัสถานเขาก็เลยปรุงมากนัก ไม่ถูกนะ ปรุงมากนัก อยู่ที่เนื้อที่ตัวที่ การกิน การแต่งเนื้อแต่งตัว ปรุงมากนักๆ ผิดไหม ผิด เดี๋ยวนี้เสื้อผ้าก็ปรุงกันด้วย แวววาวๆมากขึ้น หลายๆปีมาแล้วไม่เคยเห็น ไอ้คนที่มาที่นี่ เสื้อผ้าที่แวววาวนี่ไม่เคยเห็นก่อนนี้ เดี๋ยวนี้ แทบจะทุกคน ตุ้มหูชนิดที่ไม่เคยเห็น เสื้อผ้าชนิดที่ไม่เคยเห็น มันก็มีมากนัก นี่ ปรุง ยุ่ง ประเด็นนี้ข้อความนี้ ไม่ปรุง ไม่ยุ่ง ก็คือทุกข์ ไม่ปรุงก็ไม่เป็นทุกข์ ปรุงก็เป็นทุกข์ พระเจ้ายังเสียใจทีหลังว่าผิดนะ สร้างโลกขึ้นมานี่ผิดแล้ว แต่ว่าพวกคริสเตียนเขาจะไม่พูดคำนี้ มันจะเป็นปมด้อยฝ่ายทางกูฝ่ายโลกนั่นเอง พุทธศาสนาสอนไม่สร้าง ไม่ปรุง ก็จำไว้เผื่อจะต้องพูดกันปะทะกันก็พูดว่าพวกเราไม่ปรุงก็แล้วกัน อย่าไปเป็นสัจจาภินิเวส ว่าไอ้ปรุงมันผิด หรือบ้า อย่าไปพูดๆ มันจะเกิดความขัดแย้ง แต่ในเมื่อได้สร้าง ได้ปรุงขึ้นมาแล้ว ก็แก้ไขมันเสียให้ถูก ถ้ามันผิดก็แก้ไขมันเสียให้ถูก ก็หมดปัญหานี้ไป นี่เกือบสามชั่วโมงแล้ว อีกนิดเดียวนะ อย่ามากกว่านั้น โรงเรียนธรรมเนียมเขาว่าแสดงปาฏกถาหรือพูดจาสั่งสอนควรจะสี่สิบห้านาทีพอ นี่บ้าแล้วพูดสามชั่วโมงแล้ว แล้วมันยังมีอีก ข้อแต่ละข้อ แต่ละประเด็นที่จะต้องรู้จะต้องพูดให้ถูกต้องยังมีอีก วันนี้ก็คงได้ไปหลายประเด็น ประเด็นแรกให้รู้หัวใจของพุทธศาสนา ที่สอนอย่าไปหลงของคู่ เป็นข้อๆ พยายามไปเขียนใหม่ไปย่นใหม่ให้เหลือคำพูด สั้นที่สุดๆ ในข้ออันนั้นสำคัญมาก สัจจาภินิเวส อย่าไปกล่าวคำขัดแย้ง ขัดแย้งที่ไหนมีอุปทวะที่นั่น ภาษาบาลีเรียกว่าอุปทวะ เป็นผลของการขัดแย้ง คำว่า อุปทวะ ก็แปลออกมาเป็นภาษาไทยก็ว่า อุบาทว์ๆ มีความขัดแย้งที่ไหน มีอุปทวะที่นั่น อย่าสร้างความขัดแย้งกับพวกใดหรือบุคคลใด สิ่งที่เรียกว่าอุปทวะก็ไม่มี ยังไม่มีคำพูดว่าคุณผิด ฉันถูก คุณผิด ฉันถูก อย่ามี คือฉันมีความเห็นอย่างนี้ ฉันดับทุกข์อย่างนี้ ฉันมีหลักเกณฑ์อย่างนี้ คุณจะชอบหรือไม่ชอบก็ตามใจคุณ แต่ฉันจะไม่พูดว่าคุณผิด เพราะคุณจะต้องมีความถูกต้องอย่างของคุณเสมอไป แม้แต่หมามันก็มีความถูกต้องตามแบบของหมา อย่าไปว่ามันผิดเลย เอาไว้นะ คำนี้ใสนะ ในที่จะทำต่อ สัจจาภินิเวส คำนี้ใส่ไว้ในอรรถานุกรม ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้พูดว่ามึงผิด กูถูก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้ตวาดผู้อื่นว่า ผิดๆ เดี๋ยวนี้ไม่มีกิเลสที่เป็นเหตุให้พูดว่ากูถูก มึงผิด เอาแล้ว สามชั่วโมงแล้วไม่มีแรงจะพูดแล้ว เอาไว้พูดต่อวันมาอีกก็ได้ หัวค่ำก็ได้ ตอนตีห้านี่ดีที่สุด ถ้าไม่ใช่ตีห้าพูดไม่ได้ยาวอย่างนี้หรอก มันไม่มีแรง ไม่เป็นไร ตอนบ่ายก็ได้ หัวค่ำก็ได้ ถ้าสะดวก แต่ตอนกลางวันมักจะ ตอนกลางวันมีแขกมาแทรกแซงเราพูด มันไม่ค่อยตั้งใจเดี๋ยวแขกคนโน้นมาเดี๋ยวแขกคนนี้มา แต่ถ้าไม่มาก็ไปเตรียมเขียน ไปเตรียมสอดส่อง พิจารณา ให้มันชัดขึ้นมาเป็นข้อๆ สำหรับจะทำงานต่อไป
โยม : ตีห้าครั้งนึง น่าจะเว้นซักหน่อย
ท่านพุทธทาส : ไม่ต้องเว้นๆ ตีห้าวันละครั้งนี่มันยังน้อยเกินไป ตอนหัวค่ำบ้างก็ได้ ตอนบ่ายตอนเย็นไม่ค่อยสะดวก มีแขกเรื่อยๆ
โยม : ตีห้าตอนเช้าทุกวันดีกว่านะค่ะ เพื่อที่จะได้ไปย่อยของที่ฟัง
ท่านพุทธทาส : นั่นแหละ ไปย่อยให้เป็นของที่เด็ดขาด บันทึกลงไปเป็นเรื่องเด็ดขาด เป็นคำพูดเด็ดขาด กระทั่งไปใคร่ครวญว่าควรจะเอาคำไหนมาใส่ในอรรถานุกรมตอนที่จะทำต่อไปข้างหน้า
ที่พูดนี่ก็หมายความว่าให้เข้าใจหลักเกณฑ์ถูกต้องเข้าไว้ เผื่อว่าจะมีใครคัดค้านที่เราพูดออกไป ที่เราเขียนออกไป จะมีใครคัดค้าน จะได้โต้ตอบเขาให้มันถูกต้อง หรือว่าเราจะพูดออกไปอีก มันก็จะมีแต่ความถูกต้อง เราไม่ค่อยได้พูดกันถึงเรื่องนี้ เราพูดขนบประเพณีรีตองกันไปหมด ข้อแรกว่า รู้จักใช้โลกเวลาห้า น. ลองดู ลองดู ชีวิตจะยืนขึ้นไปอีกเป็นหลายร้อยปี ถ้าเอาโลกเวลาห้า น. ไปนอนหลับๆ เสีย ชีวิตก็สั้นนิดเดียว พูดได้ถึงเวลาฉันอาหารๆ เรื่องเทคนิคของอานาปานสติโดยเฉพาะไว้พูดวันหลัง พูด หลักทั่วไปๆ ที่เด็ดขาดที่สำคัญนี่ ให้หมดๆ เสียก่อน
ท่านพุทธทาส : ทวี ไอ้คำพูดนี่ ไม่บันทึกเสียงแจกนะ ไม่เอานะ ไม่บันทึกเสียงแจก ไอ้คำพูดนี้ ไม่ให้เอาไปอัดแจกคน
พระเจ้า ก็ธรรมะคือพระพุทธเจ้า ถ้าอิ่มไปด้วยธรรมะก็อิ่มไปด้วยพระพุทธเจ้า ไม่มีความอิ่มอันไหนจะดียิ่งไปกว่าความอิ่มอันนี้ ไม่มีอะไรที่จะทำให้เกิดปัญหา มันหมดปัญหา ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ ไม่เกิดทุกข์ พระพุทธเจ้าที่เป็นพระองค์ธรรม คืออย่างนี้ ถ้าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม พระพุทธเจ้าองค์นี้เรียกว่าพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม เป็นตัวธรรม ธรรมเป็นตัวพระพุทธเจ้า ก็มีพระพุทธเจ้าที่คนเข้าใจไม่ถูก หรือหลงกันนัก คือพระพุทธเจ้าพระองค์คน คนที่มีร่างกาย เนื้อหนังอย่างคนนี้ เกิดเมื่อสองพันกว่าปี เป็นลูกพระเจ้าสุทโธทนะ พระนางสิริมหามายา เราอ่านกันตามพุทธประวัตินั้นพระพุทธเจ้าพระองค์คน เดี๋ยวนี้แล้วมันติดอยู่กันแต่พระพุทธเจ้าพระองค์คน ไม่ออกไปถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม เราจงศึกษาธรรมปฏิบัติธรรม จนเรามีธรรม ดื่มธรรม อิ่มธรรม นั่นนะ เราก็มีพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมที่จะช่วยได้จริง พูดกันง่ายๆ พระพุทธเจ้าพระองค์คนเมื่อสองพันกว่าปีตายแล้ว เผาแล้ว เหลือแต่กระดูกแล้ว จะมาช่วยอะไร พระพุทธเจ้า พระองค์ธรรมๆ นี่ มันอยู่ในเรา มันอยู่ในจิตใจ มันอยู่ในชีวิตจิตใจ แล้วก็ช่วยได้จริง ขอให้รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมที่สามารถน้อมนำมาอยู่ในชีวิตจิตใจ แล้วก็ช่วยได้จริง พระพุทธเจ้าพระองค์คนนั้นก็มีประโยชน์คือว่าได้สอนให้เรารู้จัก พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระพุทธเจ้าพระองค์คนท่านรู้จักพระองค์ธรรมก่อน ก่อน แล้วท่านก็ สอนไว้ๆๆ เป็นคำสอนสืบมาถึงเรา ให้เราสามารถรู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม เราขอบพระคุณพระพุทธเจ้าพระองค์คน ที่ช่วยให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระพุทธเจ้าพระองค์คนนี้ชั่วขณะๆ ตายแล้ว เผาแล้ว ขออภัยพูดคำเป็นธรรมดาไปหน่อย แต่ไม่ใช่ดูถูก จ้วงจาบพระพุทธเจ้าว่าตายแล้ว เผาแล้ว แต่พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมนี่เป็นนิรันดร ไม่มีเกิด ไม่มีตาย อยู่นิรันดรๆ ใครเห็นก็เห็น ใครไม่เห็นก็ไม่เห็น เราอาศัยความรู้ ความแนะนำช่วยเหลือของพระพุทธเจ้าพระองค์คน แล้วเราก็เข้าถึงพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระองค์ธรรมจะมีอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งเดี๋ยวนี้ พระพุทธเจ้าพระองค์คนนั้นจะเหลือแต่กระดูก เหลือแต่สิ่งที่เขาทำขึ้นมาแทนสมมุติ เช่น พระพุทธรูป เป็นต้น นี่เป็นพระองค์แทนๆ แต่ว่าจะมีอะไรมาแทนพระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้ไม่มีดีเท่ากับธรรมะ พระสารีริกธาตุก็พระสารีริกธาตุ พระพุทธรูปก็พระพุทธรูป แต่ที่จะแทนองค์พระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้จริงก็คือ ธรรมะที่มีอยู่ในหัวใจเรา ท่านจงปฏิบัติอานาปาสติ ให้สำเร็จ แล้วท่านจะมีธรรมะๆ คือพระพุทธเจ้าพระองค์จริง มาอยู่ในหัวใจของท่าน แล้วคุณสมบัติอันนั้นจะคุ้มครองๆ ไม่ให้เกิดความทุกข์โดยประการทั้งปวง ประสบความสำเร็จสูงสุด ตามความมุ่งหมายของสิ่งที่เรียกว่าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นพระองค์คนก็จะช่วยในข้อนี้ดับทุกข์ พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมเราก็มี ความมุ่งหมาย มีเจตนารมณ์ให้เป็นการช่วยให้ดับทุกข์ๆๆ มันจึงเลื่อนจากพระพุทธเจ้าพระองค์แทนมาสู่พระองค์คน เลื่อนจากพระองค์คนไปสู่พระองค์ธรรม คือพระองค์จริง อย่าได้ติดอยู่เพียงแค่พระพุทธรูปหรือพระบรมธาตุ หรือแม้แต่พระพุทธเจ้าพระองค์คนที่นิพพานไปแล้ว มาถึงพระเจ้าพระองค์จริงที่เป็นนิรันดร ที่สามารถที่จะเข้ามามีอยู่ในจิตใจของเราได้ทันทีที่เรามีธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ มีธรรมะ แล้วพระพุทธเจ้าพระองค์จริงก็จะเสด็จมาประดิษฐานอยู่ในเรา ร่างกายเราก็เป็นโบสถ์แท้จริงสำหรับพระพุทธเจ้าประทับอยู่ พระพุทธเจ้าพระองค์คนไม่รู้จักโบสถ์ ฟังถูกไหม ในสมัยพุทธกาลไม่มีโบสถ์ พระพุทธเจ้าของเราไม่รู้จักโบสถ์ เพราะโบสถ์มันเพิ่งสร้างขึ้นทีหลัง เมื่อมีพระพุทธรูปเมื่อมีอะไรแล้ว พระพุทธเจ้าพระองค์คน พระพุทธเจ้าสิทธัตถะโคตรมะ ไม่รู้จักโบสถ์ไม่มีโบสถ์ ในครั้งพุทธกาลไม่มีโบสถ์ ถ้าจะทำสังฆกรรมก็ทำกลางแจ้ง กลางลานอะไรนี่ มีวินัยบัญญัติไว้ว่าถ้าฝนตกหรือพายุมาเลิกๆๆได้ไม่เป็นไร เพราะมันไม่มีอาคารมันไม่มีโบสถ์ ถ้าทำสังฆกรรมก็ทำตามธรรมชาติ หรือถ้าว่าวิหารมันใหญ่โตพอที่จะประชุมในวิหารที่อยู่ที่อาศัยได้ก็ทำในนั้นได้อย่างนี้ก็มี บางสูตรกล่าวถึงทำสังฆกรรมในวิหารที่อยู่อาศัย โบสถ์อย่างที่เรามีกันเดี๋ยวนี้ร้อยๆล้าน ไม่มีหรอก นี่ พระพุทธเจ้าไม่รู้จัก จะมาทำร่างกายของเรานี้ให้เป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์จริงคือพระองค์ธรรมมาอยู่ในโบสถ์คือร่างกายของเรา ทำกาย วาจา ใจของเราให้เป็นเสมือนหนึ่งโบสถ์บริสุทธิ์ให้มันถูกต้อง แล้วพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมก็จะเสด็จมาอยู่ในโบสถ์นี้เอง ไม่ต้องเชื้อเชิญท่านลงมาเอง พระพุทธเจ้ากับเราเป็นอย่างนี้ๆ เราจงมีพระพุทธเจ้าอย่างนี้ เราจงทำ ไอ้สิ่งที่เรียกว่าเรา ให้เลิกความเป็นเรา กลายเป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาประทับอยู่เถิด จะมีอะไรดีกว่านี้ มีขันธ์ห้าที่บริสุทธิ์สะอาด ปราศจากกิเลส เป็นโบสถ์ให้พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมมาประทับอยู่ และขอสรุปความว่าพระพุทธเจ้าพระองค์จริงกับเรามีโอกาสที่จะพบปะกัน แล้วก็ไล่เราออกไปเสียจากร่างกายเบญจขันธ์อัตภาพนี้ ยกร่างกายเบญจขันธ์อัตภาพนี้ให้เป็นโบสถ์สำหรับพระพุทธเจ้าพระองค์จริงประทับอยู่โดยตลอดไป เรื่องจบแล้ว พระพุทธเจ้ากับเราจะจำไป พระพุทธเจ้ากับเรา เรากับพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้ากับเรามีข้อเท็จจริงอย่างนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงประสบความสำเร็จในการทำชีวิตร่างกายนี้ให้เป็นเหมือนโบสถ์เป็นที่ประทับของพระพุทธเจ้าพระองค์จริงคือพระองค์ธรรม แล้วท่านทั้งหลายก็มีธรรม ดื่มธรรม อิ่มธรรม เจริญอยู่ด้วยธรรม เป็นสุขทุกทิพาราตรีกาลเทอญ. ขอยุติการบรรยาย