แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
We have a number of questions this morning. Are we ask the question in English and then translate them in the back of my ability into Thai? Is it possible to practice Anapanasati with our first understanding dependent origination and the 5 Khandas. I think wisdom is developed from meditation not from book. I do not like to read books and listen to Dharma talk. I don’t understand may be is it better for me to start practicing Anapanasati.
คำถามก็มีว่าเป็นไปได้ไหมครับที่จะปฏิบัติอานาปาสติโดยไม่ต้องรู้จักหรือเข้าใจปฏิจจสมุปบาท หรือขันธ์ทั้ง๕ ข้าพเจ้าคิดว่าสติปัญญามันจะพัฒนาขึ้นโดยฝึกกรรมฐาน ไม่ได้เกิดจากอ่านหนังสือ ข้าพเจ้าไม่ชอบที่จะอ่านหนังสือ ไม่ชอบที่จะฟังการบรรยายธรรมะ ข้าพเจ้าก็ไม่เข้าใจ บางทีข้าพเจ้าไม่ควรจะปฏิบัติอานาปนสติกระมัง
ถ้าถามอย่างนั้นก็จะถามกลับไปว่า คุณจะปฏิบัติอานาปานสติไปทำไมให้เสียเวลา เราต้องรู้ว่าเราปฏิบัติอานาปานสติทำไม ปฏิบัติอานาปานสติเพื่อจะดับความทุกข์หรือกำจัดปัญหาทุก ๆ ชนิดของชีวิต อานาปานสติปฏิบัติแล้วจะสามารถขจัดปัญหาทุกชนิดของชีวิต ปฏิจจสมุปบาทนั้นทำให้รู้จักชีวิต รู้จักปัญหาของชีวิต รู้จักความทุกข์ ได้วิธีที่จะดับทุกข์เท่าที่ควรจะทราบในเบื้องต้นเสียก่อน อย่างนั้นเราจึงทราบเรื่องนี้ก่อนว่าจะดับทุกข์อย่างไรโดยหลักการ แล้วก็ปฏิบัติตามหลักการอันนั้น นั่นก็คืออานาปานสติ นี่จึงเป็นความถูกต้องตามธรรมชาติที่จะต้องรู้ปฏิจจสมุปบาทแล้วก็ปฏิบัติอานาปานสติ
If you ask the question that way then we will respond with another question. If that is how you feel then why practicing Anapanasati. If that how you feel why you’re wasting your time practicing Anapanasati. What is practicing Anapanasati, one ought to know why one is practicing it. If we speak about wisdom we have to have some understanding of what wisdom is. Otherwise we don’t really know what we’re doing. We don’t really, we’re not really meditating. The reason we practice Anapanasati is in order to have a life free of Dukkha, a life which is free of all problems. We study practice Paticca-samuppada or dependent origination because it help us to understand in the beginning what Dukkha is, what our problems are and how they happen. This is just first start. It is not the end but the more we understand what our problem is, the more we understand how to meditate in order to solve the problem. So, the understanding about what our problem are, what Dukkha is and there is a way of practice for dealing with those problems and eliminate in Dukkha and so these two go together.
หรือจะกล่าวให้สั้น ๆ กว่านั้นก็ว่า ปฏิจจสมุปบาทนี่ทำให้รู้จักตัวเอง รู้จักปัญหาของตัวเอง แล้วก็จะรู้วิธีการคือหลักการที่จะแก้ไขอย่างไร แต่มันยังทำไม่ได้ มันจึงต้องปฏิบัติอานาปานสติอีกทีหนึ่ง แล้วก็ช่วยให้ทำได้ ปฏิจจสมุปบาทจึงเป็นเหมือนกับแผนที่ แผนที่ที่เราจะรู้ว่าจะเดินไปทางไหน แล้วเราก็เดินไปทางนั้นด้วยอานาปานสติให้ถึงที่สุดปลายทาง
To put it a little more briefly, dependent origination have us to understand ourselves, to understand our own life. And then it shows us what we need to do in order to solve the problem about life. But at this point, we still unable to solve that problem. So we must also practice Anapanasati until we have the ability to solve the problem. So we could say that understanding dependent origination is like a map which shows us where to go, where to walk and then Anapanasati is walking according to the direction of the map. These two must go together. You can’t have one without the other. Your answers were OK but let’s ask Archan Bhuddhadasa about what love is.
เดือนนี้มีหลายคนสนใจเรื่องความรักแล้วเขาไม่พอใจในการตอบของธรรมะทีน่ากับผม ก็เลยเขาก็ถามท่านอาจารย์ว่า “ความรักคืออะไร”
คำว่า “ความรัก” มี ๒ ความหมาย รักด้วยความไม่รู้ ด้วยความโง่ ด้วยอวิชชา อันนี้ความหมายหนึ่ง และก็รักด้วยสติปัญญา ด้วยความรู้ที่ถูกต้องว่ารักทำไม นี่อีกความหมายหนึ่ง
There are two kinds of love. One kind of love is to love with our understanding, to love ignorantly without knowing why one love. The other kind of love is to love with mindfulness of wisdom, to understand deeply what it is to love and why one love.
ความรักอย่างแรกเป็นไปตามธรรมชาติหรือตามสัญชาติญาณ มันจำเป็นที่จะต้องผ่านตามธรรมชาติของความรัก นี่มันก็สอนให้รู้ว่าเป็นอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร ควรจะปฏิบัติให้ถูกต้องอย่างไร ถ้าปฏิบัติผิดมันจะเสียหายอย่างไร มันก็มีประโยชน์อยู่เหมือนกัน แล้วความรักชนิดนี้มันก็เป็นเรื่องช่วยให้มีการสืบพันธ์อยู่ในโลกนี้ อย่าให้มนุษย์สูญหายไป มันก็เป็นประโยชน์อยู่เหมือนกัน ส่วนความรักด้วยสติปัญญานั้นมันสูงขึ้นไป คือมันจะช่วยแก้ปัญหาทางสังคมได้หมด ช่วยแก้ปัญหายุ่งยากในทางสังคมได้หมด และก็สูงขึ้นไปจนถึงกับอยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งใด ๆ ที่จะมาให้ มาทำให้เรารัก แล้วก็มีจิตใจฟรี-ฟรี เป็นอิสระ ใครอยู่ภายใต้ความรักยังไม่เป็นอิสระ ขอให้ทุกคนเป็นอิสระ ผ่านพ้นไป ชนะผ่านพ้นไปทั้ง ๒ ชนิดของความรัก
The first kind of love happens naturally, instinctually and it’s necessary that we had through an experience this ordinary kind of love. So that we understand what it’s good for, what its difficulties are, how to love properly and so on. It’s necessary that we learn to this instinctually love, a number of things. This kind of love is necessary for re-production until this ordinary kind of love that is busy (11.50) carry continues itself.
ความรักเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามกฎแห่งอิทัปปัจจยตา ถ้าเราปฏิบัติอานาปานสติสำเร็จ เราก็ทำให้ปัญหาเกี่ยวกับความรักทั้ง ๒ ระดับ-ทั้ง ๒ ระดับให้หมดไป ชีวิตก็เป็นอิสระหรือ enlighten มากกว่าที่แล้วมา
Not this ordinary kind of love can also help us to solve social problem, with this kind of love, it is develop someone higher level. It can enable us to solve social problem so that we can live among with each other in peace and then love can be developed higher and higher console a kind of love which is beyond love. A love which is be under power of positive and negative. This is the kind of love which is free. The ordinary love is not free. It’s under the power of love when it still under the power of love so there is no real freedom. But the other kind of love is free. It’s beyond the power of love. Both kind of love happen naturally according to the law of อิทัปปัจจยตา. The love conditionality which means that both kinds of love arise Dukkha and conditioned. One should understand both kinds of love, not just one.
สรุปความว่า ความรักเป็นสิ่งที่เราจะต้องชนะ ไม่ยอม ไม่แพ้ ไม่หลง เป็นสิ่งที่เราต้องชนะด้วยจิตใจเกิดแก่มี ปัญญา มีความสามารถให้สูงขึ้นไป-สูงขึ้นไป
In short, love is something which we must conguer. We should not let love…..but we should be able to conquer it so that love is not has any power over our heart or mind. Here we have a series of question or we see how they go. You have spoken a range about using the love nature to explain in just the five Buddhist philosophies and practices. Yet even within this impermanent that how life the love nature usually all of living being are giving individual and collective mechanism for violence self defend when attack. How this aspect of the law of nature relate to the Baddha Anapanasati and human self-defensing.
ท่านอาจารย์ก็บรรยายยืดยาวเกี่ยวกับการใช้กฎแห่งธรรมชาติเพื่ออธิบายปรัชญาพุทธ และวิธีปฏิบัติแบบพุทธ แต่อย่างไรก็ตาม แม้แต่ภายในกระแสแห่งความไม่เที่ยงอย่างนั้นซึ่งช่วยให้เราเห็นกฎแห่งธรรมชาติ สิ่งที่มีชีวิตเกือบทุกอย่างทุกสิ่งมันก็มีกลไกทั้งส่วนตัวและทั้งส่วนรวมเพื่อป้องกันตัวโดยโดยใช้ศาสตรา โดยใช้อาวุธ หรือโดย ใช้ความรุนแรงเมื่อเกิดภัยขึ้นมา แง่นี้แห่งกฎของธรรมชาติจะเกี่ยวข้องกับอานาปานสติของชาวพุทธอย่างไร แล้วมันจะเกี่ยวข้องกับความจำเป็นที่มนุษย์จะต้องป้องกันตัวเอง
พยายามศึกษามาแล้วข้างต้นว่าธรรมะ หลักธรรมะสูงสุดในพุทธศาสนาก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องที่บอกให้เรารู้จักตัวเอง รู้จักชีวิตตามธรรมชาตินั้นว่ามันเป็นอยู่อย่างไร สรุปความว่ามันเป็นอยู่ในลักษณะที่มีความทุกข์ มีปัญหายุ่งยากหาความสงบไม่ได้ นี่แหละจึงเรียนรู้ต่อไปถึงการที่จะทำให้ไม่เป็นเช่นนั้น คือต้องการจะเอาชนะให้ได้ และก็เห็นวิธีชนะอยู่ว่าเป็นอย่างนั้น-อย่างนั้น-อย่างนั้น ก็ปฏิบัติ-ปฏิบัติเพื่อเอาชนะความทุกข์ให้ได้ วิธีปฏิบัติเอาชนะความทุกข์ให้ได้นั่นคือหลักของอานาปานสติ สรุปความว่าเรื่องอิทัปปัจจยตา- ปฏิจจสมุปบาทนี้ทำให้รู้จักตัวเอง รู้จักปัญหาของตัวเอง รู้จักทางออกของตัวเอง ให้รู้จักภายนอกกูของตัวเอง เป็นอยู่อย่างนี้มันยังไปไม่ถึงก็เลยปฏิบัติอานาปานสติ และมันก็ไปถึง-ไปถึง ก็นับว่าเขาก็ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่ถูกต้องที่สุดที่ชีวิตควรจะได้รับ เรื่องมันก็จบกัน ได้รับสิ่งที่ถูกต้องที่สุด มีเหตุผลที่สุด ดีที่สุดที่ชีวิตจะพึงได้รับ เรื่องมันก็จบ
As we said earlier, the love nature that is dependent origination help us to know ourselves and know that what the problem of Dukkha is. And then it show us what we must do to end Dukkha. It shows us how Dukkha end but still we can treat this end of Dukkha and so we must practice Anapanasati. Anapanasati is the way to develop ourselves so that we can reach the end of Dukkha. When we have reach this end of Dukkha, then our problem have finished. There’s no more problem left to worry about and then we have received the best thing that human being can get from life. So in short, the law of อิทัปปัจจยตา conditionality or dependent origination, Paticca-samuppada, show us what’s wrong and what to do about it. And then Anapanasati is the way to do what need to be done until we are successful.
การที่เราต้องเป็นไปตามอำนาจของ positveness-negativeness อยู่ตลอดเวลานี่เรียกว่าเป็นปัญหา คือทำให้ชีวิตนี้มีปัญหา มีความทุกข์ทรมาน มีความที่เรียกว่าความทุกข์ ถ้าเรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เราก็จะรู้วิธีที่จะอยู่เหนืออิทธิพลของ Positive หรือ Negative เราก็สบาย เราก็หลุดพ้นจากปัญหาทุก ๆ ชนิดในโลก-ทุก ๆ ชนิดในโลก ขอให้สนใจจนรู้จักเรื่องนี้ รู้จักว่าเรากำลังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ Positive หรือ Negative เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้-เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวร้องไห้ มันจะอยู่เหนือปัญหาเหล่านั้น เราจะต้องรู้เรื่องบอกให้เราทราบว่าจะอยู่ได้อย่างไร จะอยู่เหนือปัญหานั้นได้อย่างไร นั่นละคือเรื่องปฏิจจสมุปบาท-อิทัปปัจจยตา แล้วเราก็ปฏิบัติให้ได้อย่างนั้น-ปฏิบัติให้ได้อย่างนั้น นั่นน่ะคือเรื่องอานาปนสติ จึงเป็นของที่คู่กันเหมือนกับว่าแผนที่กับการเดินทางต้องเป็นของคู่กัน
Because our mind, because our life are under the power of positiveness and negativeness, we’re always spending around an acting according to this power of positiveness and negativeness. So there is no real freedom in our life and this is Dukkha. This lack of freedom always being the………… of positive and negative. It’s Dukkha. Dependent origination helps us to understanding and then shows us the way to get free to liberate ourselves from this bondling to the positive and the negative and then we practice Anapanasati in order to get free. So in short, with this is about conquering the positive and the negative, conquering all problems instead of letting them conquer us and didn’t flavor. Paticca-samuppada is like a map and Anapanasati is like the travelling. To travel, you need a map but a map without travelling is meaningless. So these go together, the map and the travelling are inceptable.
อาจารย์ครับ ปัญหาที่เขา ขออภัย ปัญหาที่เขาถามถึงก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับตามที่เขาเห็นในธรรมชาติ ก็มีสัตว์หลาย ๆ ชนิด มันจะป้องกันตัวเองโดยกัดกันบ้าง โดยใช้อาวุธบ้างแล้วแต่เป็นสัตว์ชนิดไหน ใช้ความรุนแรงเพื่อป้องกันตัว แล้วเพื่อหาประโยชน์ของตัว อันนี้เขาเห็นว่าเป็นแง่หนึ่งของกฎของธรรมชาติ แล้วเขาอยากจะทราบว่าอันนี้มันเกี่ยวกับอานาปานสติอย่างไร ความรุนแรงที่สัตว์หลาย ๆ ชนิดใช้กันอยู่เรื่อย
การแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องมี ถ้ามีด้วยการใช้ความรุนแรงมันก็ยุ่งมากเป็นทุกข์มาก ใช้โดยวิธีที่ไม่รุนแรงจะไม่เกิดความทุกข์เพิ่มเติมขึ้นมา ปัญหามันเป็นเรื่องมีถึง ๒ อย่างคือเรื่องทางวัตถุ ทางภายนอกของสัตว์เดรัจฉานนั้นก็เป็นเรื่องทางวัตถุหรือทางเรื่องทางภายนอก แต่สำหรับมนุษย์นี้ยังมีปัญหาอีกชนิดหนึ่งเป็นเรื่องภายใน ลึกซึ้งละเอียดลึกซึ้งมาก มันก็ต้องมีวิธีแก้ที่ลึกซึ้งที่ละเอียดสำหรับแก้ปัญหาในภายใน แต่ว่าทั้ง ๒ อย่างนี้ ต้องไม่ใช้ความรุนแรงให้เสียเวลา ใช้ความประณีตละเอียดสุขุม แล้วก็แก้ได้สำเร็จดีกว่าทั้งปัญหาภายนอกและปัญหาภายใน
Because there are problems in life, we must solve them. But to solve them with violence just increases the Dukkha. To have a problem in the first place, it’s Dukkha and to solve to violence just make more Dukkha. So we should learn to solve our problem without violence then we will not add to the Dukkha of having problem. And you should understand that problems are 2 kinds. There are material problem and mental-spiritual problem. For example, the animals have their material problems which is finding food and they must solve this problem in the best of their ability but human beings have another kind of problem which is deeper more struggling profound. It is a problem in the mind, a problem of understanding. Neither of this kind of problem should be solved with violence. If we solve with external and inner problem violently, we just create more problems. So we should solve them with a way that is more settle we find so that we don’t create more Dukkha. We should never use violence to solve problem.
แล้วเขาก็ถามต่อไปว่าเราชาวพุทธจะทำอย่างไรเมื่อมีคนจะฆ่า จะมีอาวุธมาฆ่าเรา หรือถ้าเราเป็นผู้หญิงเขาจะมาข่มขืนเรา หรือจะถามปรัชญาอย่างรุนแรงอย่างนี้ เราจะทำอย่างไรตามหลักพุทธศาสนา
มันก็แยกเป็นปัญหาอย่างภายนอกหรือว่าตื้น ๆ เป็นพวกหนึ่ง และปัญหาที่ละเอียดลึกซึ้งสุขุมแยบคายนั้นเป็นอีกพวกหนึ่ง ปัญหาที่เขาจะฆ่าเราหรือจะข่มขืนเรานั้นมันเป็นปัญหาภายนอกประเภทหนึ่ง-ประเภทหนึ่ง ก็หาวิชาความรู้สำหรับที่จะไม่กระทบกับปัญหาเหล่านั้น ถ้าเราเป็นอยู่อย่างถูกต้องด้วยสติปัญญาสามารถความฉลาดของธรรมะ เราจะไม่ต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านั้น แต่แม้จะต้องเผชิญกับปัญหาเหล่านั้นก็มีสติปัญญาที่จะแก้ไขป้องกันไม่ให้ปัญหาเหล่านั้นทำอันตรายเราได้ จัดไว้เป็นเรื่องภายนอกหรือจัดว่าเบื้องต้น ปัญหาที่ลึกซึ้งกว่านั้น
ขอแปลก่อนครับ
The question was what do you do when personally face with murder rape, robbery and etc. He himself is not in personally face with murder and rape so I ask the question in more general term. It wants to give problem of Dukkha, more selfish, more superficial shallow kind of problem which is external and then there’re more super profound problem which is internal. There’s someone who try to kill us or rape us or something in ………..first time. The more superficial shallow material kind of problem, we should find the kind of knowledge in skill which will prevent such thing happening to us. If we are intelligent, we would live in a correct way. So these things will not in conquer us but even so, even if they do happen to us, then we will find an appropriate way so that there are no dangers to us. If we have mindfulness of wisdom, we are mindful of intelligent then we can find the kinds of knowledge skill necessary to prevent these external problem from being of any real danger to us. But then there is the inner of problem the more we find the settle one.
ส่วนปัญหาอีกระดับหนึ่งเป็นปัญหาภายใน เป็นเรื่องทางจิตใจ เราถูกฆ่าอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่จะฆ่า ถูกฆ่า ตายแล้วเกิดอีก-ตายแล้วเกิดอีก-ตายแล้วเกิดอีกอยู่ตลอดเวลา แล้วเราก็ถูกข่มขืนอยู่ตลอดเวลา-ตลอดเวลา โจรผู้ร้ายนั้นคือสิ่งที่เรียกว่า “กิเลส” เป็นโจรผู้ร้ายฆ่าเราอยู่ตลอดเวลา ข่มขืนเราอยู่ตลอดเวลา อันนี้เป็นปัญหาที่สำคัญกว่า เราจะต้องจัดการให้ได้ นี่จึงเป็นเรื่องฝ่ายภายใน ฝ่ายภายนอกนั้นเป็นเรื่องไม่ยาก เป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ใช้ความรู้สติปัญญาอย่างโลกธรรมดาก็แก้ไขไปได้ แต่ถ้าเป็นเรื่องชนิดภายในแล้วต้องอาศัยธรรมะที่ลึกซึ้งทั้งนั้นแหละและปฏิบัติอย่างลึกซึ้งด้วย
When we speak up the inner problem then we can say that we are being murdered all the time. We are being considering murdered and we are being raped violently all the time. The criminal which are murdering us and raping us all the time are the ……. and ignorant to …….. This violence are murdering us and raping us all the time. This is the problem which is truly important. This is the problem that we need to solve. Violence the material external problem these are not so difficult to solve. They can be dealt with using ordinary ……knowledge which is quite easy to find if one look. That’s not a serious problem. The serious problem is the spiritual murder and rape which is going on constantly in each of us. This is what we must protect ………..
Once someone had achieved enlighten, what do you usually do of the rest of their life? I guess if one in peace there life, it would be the body life.
ถามว่าหลังจากบุคคลผู้หนึ่งตรัสรู้-ตรัสรู้แล้วเรียบร้อย ปกติเขาจะใช้ชีวิตไปอย่างไร และจะไม่ใช่ชีวิตของเขา ก็เป็นชีวิตของร่างกายหรือของอะไร จะเอาไปใช้เพื่ออย่างไร
นั่นมันเท่ากับถามว่าปฏิบัติเสร็จหมดทุกอย่างเป็นพระอรหันต์แล้วจะใช้ชีวิตอย่างไร-ใช้ชีวิตอย่างไร เราก็ดูจากเรื่องที่แล้วมาในประวัติศาสตร์ของพุทธศาสนา พระอรหันต์บางองค์ก็ท่องเที่ยวไปเพื่อประโยชน์แก่มนุษย์ทั้งปวง ตามพระพุทธประสงค์เพื่อจะแจกธรรมะ-แจกธรรมะให้มัแพร่หลายไปทั่วโลก แต่ว่าบางองค์ไม่ได้ทำอย่างนั้นก็มี หาความสงบสุขส่วนตัวของท่าน แต่ละผลมันกลับมีแก่ผู้ได้เห็น ผู้ใดได้เห็นความเป็นอยู่ของพระอรหันต์เขาก็ชอบใจ-ชอบใจที่จะทำอย่างนั้นบ้าง มันก็เป็นการเผยแผ่ธรรมะโดยไม่ต้องพูดแม้แต่สักคำเดียวอย่างนี้ก็มี หรือว่าถ้าพระอรหันต์องค์ใดสมัครจะมาช่วยเรื่องที่ควรช่วยแม้ในโลกนี้แม้แต่ประโยชน์ทางสังคมเท่าที่ควรช่วยนะ เท่าที่ควรจะช่วยหรือช่วยได้ มันก็ทำได้ ฉะนั้นคงไม่มีปัญหาอะไรที่ว่าปฏิบัติชนะกิเลสแล้วเราจะทำอะไร เราจะช่วยเพื่อนมนุษย์ให้พ้นจากกิเลสก็ได้ เราจะมีความสุขส่วนตัวให้เขาดู ให้เขาพอใจ เขาอยากจะเอาอย่างก็ได้ หรือเราจะช่วยประโยชน์พัฒนาทางสังคมที่เหมาะสมที่ภิกษุจะช่วย หรือคนบรรลุธรรมะแล้วควรจะช่วยมันก็ได้เหมือนกัน มีทางเลือกถึง ๓ ชั้นอย่างนี้
This question is the same as that thing. What does the Arahan (อรหันต์) who has end of Dukkha, who has put out of the defilement and delusion? What does the Arahan do with life? The answer to this can be quite simple. We can basis on the director of Buddha history. Certainly, the Arahan after conquering the defilement, they spend their life traveling around, sharing the Dharma with people, teaching and spreading the Dharma in order to help other people making end of the defilement. Others Arahan didn’t go around teaching but they live the quiet life of peace and happiness. Although they didn’t teach much at all, just their way of living, their peace, the peace and happiness of the life free of defilement. What is example to other? And so other they may not open their mouth when other people will see them. Just seen them and their happiness will encourage other people to get interest in Dharma and living in practicing in order to have that peace and happiness. And then some Arahan would even get somewhat would help someone much with social problem to the degree that is appropriate for an Arahan to help with social problem. And also to the degree of possible to help. They would use their understanding of Dharma to help address the problem to society. So it’s not really a problem to ask what does the reason in life being done with their life. It’s quite simple. One want help people and there are these 3 ways to choose from. One is to wander spreading the Dharma, carries out the Bhadha wish so that people can be clear the defilement and Dukkha. The second, it’s to live a quite simple life for peace and happiness as an example to others. And third, to the degree that it’s proper for a……or monk or nun one help to solve the problem of society. (นาทีที่ 36:40 - 40:00)
แต่พระพุทธประสงค์ที่แท้จริงนั้น ท่านกลับประสงค์ให้เราช่วยกันรู้ ทำให้-ทำให้ทุก ๆ คนรู้ในการที่จะสร้างสันติภาพของโลกอันแท้จริง ช่วยกันเผยแผ่ธรรมะให้ทุกคนรู้ในการช่วยกันสร้างสันติภาพของโลกอันแท้จริง นั่นก็คือพระพุทธประสงค์
But the genuine wish for intention of the Bhudda was to work together to help for everyone to help each other to conquer the defilement so that they can be genuine in peace in this world. The genuine intention, the true intention of the Bhudda is to dedicate one life to bring in genuine peace into the world.
Next question, one may accept that one is not self and only a combination of the 5 Khanda(ขันธ์) but the same fact that also concern other people but is it natural that you are more interested in the 5 Khanda in your own body than in someone else’s. Is it really logical to get lot of yourself by the 5 Khanda? Is it by the explanation by the 5 Khanda? Is it not for me?
ถามว่าเราอาจจะยอมรับว่าตัวเรามิใช่ตัวตน เป็นแต่การประชุมระหว่างขันธ์ทั้ง ๕ แต่นี่เป็นความเป็นจริงที่เกี่ยวเนื่องกับผู้อื่นด้วย แต่มันไปตามธรรมชาติที่เราจะสนใจในขันธ์ ๕ ของร่างกายเรามากกว่าขันธ์ ๕ ของผู้อื่น มันจะมีเหตุผลอย่างไรที่แท้จริงที่จะนำออกซึ่งตัวตนโดยวิธีอธิบายแห่งขันธ์ ๕
เรื่องขันธ์ ๕ นั้นเป็นเรื่องบอกให้ทราบถึงตัวชีวิตของเราทั้งในแง่วัตถุ ทั้งในแง่จิตใจ ในแง่สติปัญญา คือทั้ง critical, mental, spiritual ให้เรารู้จักตัวเองดีในทุก ๆ แง่อย่างนี้ พร้อมกันนั้นก็ให้เห็นชัดลงไปว่ามันเป็นไปตามกฎอิทัปปตัจยตาที่สร้างมันขึ้นมา ไม่มีส่วนที่เรา จิตจะบังคับเอาตามชอบใจมาเป็นของเรา ตามความประสงค์ของเรา อย่างนั้นอย่างนี้ไม่ได้ นี่เรียกว่ามันเป็นอนัตตา จิตหรือเรานี่จะต้องประพฤติกระทำต่อสิ่งเหล่านี้ให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของอนัตตา มิฉะนั้นปัญหาจะเกิดขึ้นเป็นความทุกข์ เป็นความยุ่งยากลำบากนานาประการ ถ้าเรารู้ความจริงเรื่องขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอนัตตา ก็จัดการไปตามที่มันเป็นอนัตตาก็จะดับทุกข์ทั้งปวงได้ และชีวิตนี้ก็จะไม่มีปัญหาโดยแท้จริง ถ้าเราปฏิบัติไขว้กันอยู่เป็นอัตตาในสิ่งที่เป็นอนัตตา มันไม่มีทางจะสำเร็จประโยชน์ แล้วมันจะเพิ่มความทุกข์มากกว่าเดิมไปเสียอีก จึงต้องรู้ความลับของธรรมชาติที่ว่าชีวิตนี้เป็นอนัตตา เอาความรู้เรื่องอนัตตามาแก้ปัญหาของอนัตตา จึงจะแก้ได้โดยถูกต้องและแท้จริง ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่เราจะต้องมีความรู้เรื่องขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
The 5 Khanda (ขันธ์) is the way to understand oneself on the principle, mental and spiritual level. To understanding the 5 Khanda, we can understand all three of these levels and how they interact or are integrated. Further in understanding the 5 Khanda, we understand that these Khandas are co-dependently originated. They happen accordingly to the law of อิทัปปัจจยตา of conditionality. There are conditions according to the law of conditionality which mean that they can’t be controlled by us that is by the mind. We or the mind can’t control this Khanda to make them how we want them to be. Therefore all of the Khanda are not self because there’s not controllable by anything or anyone. Understanding not self then one no longer need to attach to any of the Khanda or any of life as self and there is no more Dukkha. So we use the understanding of not self to solve the problem of the life which is not self. Life will always been อนัตตา or not self. But not knowing this, we create problem for life. And so we use the understanding of the 5 Khanda to understand that life is not self so that this life, this selfish life no longer need any problem. So, this is what the 5 Khanda are for. If we investigate it wisely, it is not something we believe but it’s something so that we can remove all Dukkha from life. If one continue to live according to อัตตา or self. If one hangs on to self, the life will go a strange and get lost and there will be even more with Dukkha, more problem than we start that way. Life is imperfect when it begins. And to self, we make it even work but to understanding อนัตตา, we can create above problem. (นาทีที่ 44:57-48:15)
ในกรณีอย่างนี้เราสามารถที่จะเอากฎของ Biology มาใช้ได้คือว่า The fittest, the survivor-The fittest, the survivor เรารู้จักขันธ์ ๕ เพื่อจะรู้จักทำให้มันเป็นขันธ์ ๕ ที่ The fittest-เหมาะสมที่จะอยู่ในโลกนี้ เหมาะสมที่จะอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ เราจึงรู้เรื่องขันธ์ ๕ อย่างเหมาะสมที่จะอยู่ในโลกนี้อย่างไม่มีความทุกข์ แล้วเราก็อยู่ได้เช่นนั้นจริง ก็หมดปัญหา ไม่มีความทุกข์ใด ๆ สามารถที่จะเกิดขึ้นแก่ชีวิตนี้ได้
We are able to use the biology or evolutionary principle of the fittest, survive. The fittest, survive, we can use this here. We can use this principle in order to improve and develop the 5 Khanda so that they are truly fit. So they are most fit which mean they are appropriate, ready proper and fit for living in this world without Dukkha. When the Khanda are the most fit then there is survivor. So we can use the understanding of the 5 Khanda in order to be the most fit and then we will survive.
In your last talk, you said that desire create the desirer. If there is not right mindfulness, question is this mean that they already attachment or it catch attachment a later development. The question is it so clear but I stand for it to see what happen.
ในการบรรยายครั้งที่แล้วมา ท่านอาจารย์ก็บอกว่าความอยากก่อให้เกิดผู้อยาก ถ้าไม่มีสติ-ถ้าไม่มีสติอันถูกต้อง คำถามก็ถามว่าอันนี้หมายความว่าอย่างไร หมายความว่ามันมีความยึดมั่นถือมั่นมาก่อน หรือความยึดมั่นถือมั่นเพิ่งเกิดทีหลัง แต่ก่อนหรือหลังอะไรก็เขาไม่ได้ระบุ
ความหิวทำให้เกิดผู้หิว ถ้าเช่นนั้นก็ดูเองว่าอะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลัง ความหิว-หิวอาหารหรือหิวอะไรก็ตาม มันมีความหิว แล้วก็ทำให้เกิดผู้หิว-ผู้หิว ก็ดูอะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลัง ความอยากทำให้เกิดเป็นผู้อยาก แล้วก็ยึดมั่นถือมั่นไปตามความอยาก แล้วก็ทำไปตามความอยาก ก็ดูว่าอะไรเกิดก่อน อะไรเกิดหลัง ทีนี้เราต้องการจะไม่ให้เกิดปัญหาทีแรก คือไม่ให้เกิดความอยาก ไม่ให้เกิดความหิว ไม่เกิดความอยาก ไม่เกิดความหิว มันก็ไม่มีผู้อยากและผู้หิว ปัญหามันก็ไม่มี มันมีสติปัญญาอย่างลึกซึ้ง-อย่างลึกซึ้งที่สุดที่จะทำให้เกิด ไม่ให้-ไม่ให้เกิดความอยากหรือความหิว แล้วเราก็จะได้ไม่เป็นทุกข์ คือไม่ให้เกิดกิเลสนั่นแหละ ไม่ให้เกิดกิเลส ถ้าเกิดกิเลสมันก็เกิดผู้อยาก หรือผู้หิวหรือผู้ดิ้นรน ผู้ต่อสู้ นี่เราทำไม่ให้เกิดกิเลส มันก็ไม่มีผู้อยากหรือผู้หิว ก็สบายดี ปัญหามันก็ไม่มี
You can see this for yourself quite easily. When there is hunger then there is a hungry one or one who hungry. Which come first, the hunger or the one who is hungry? If you watch carefully instead of just thinking about it for the first you will see the desire happen and then the desirer. Which one come first you can or to be able to see for yourself . But what matter is to not let any of this problem happen. To not let the problem of hunger and the hungry one, desire and the desirer, to happen in the first place, do you the most profound mindfulness intelligent and wisdom so that this problem solve happen to begin with and then there is no hunger and no one who is hungry. There is no desire and no desirer and so there’s no Dukkha. There’s no problem. We live without any problem, without any Dukkha. In short, what these mean is to use mindfulness and wisdom to profound ………… from happening. If we prevent ………there’s no desire and there’s no hunger in solve what the problem.
ปัญหามันมีอยู่ว่าที่เราจะสามารถเปลี่ยน sublimate คือเปลี่ยนกำลังหรือ impulse ของความหิวให้กลายเป็นกำลังของสติปัญญาได้หรือไม่ ถ้าเราเปลี่ยนกำลังของความหิวให้เป็นกำลังของสติปัญญาได้ ปัญหามันก็หมด รู้จักความหิว รู้จักกำจัดความหิว คือเปลี่ยนให้เป็นเรื่องของความรู้ แก้ไขความหิวและไม่ทำให้เกิดความหิวต่อไป มีแต่สติปัญญา-สติปัญญา-สติปัญญาอยู่ตลอดเวลา นี่ความหิวก็หมดไป มีอยู่แต่สติปัญญาแทน ชีวิตนี้ก็หมดปัญหา
The real question is here. Are we able to sublimate or transform the hunger? Can we transform this hunger into a matter of wisdom? Can we transform it into the hunger for wisdom, the hunger to understand? If we can sublimate or transform desire and hunger into the direction of understanding, the truth then the problem will end itself. They won’t be any more Dukkha. They won’t be any more desire or hunger.
ความหิวน่ะมันกัด-กัดเจ้าของ ความหิวมันกัดเจ้าของ แต่สติปัญญามันไม่กัดเจ้าของ เราเปลี่ยนความหิวให้กลายเป็นเรื่องของสติปัญญาไปเสียในทุก ๆ กรณี แล้วชีวิตนี้ก็จะไม่มีความทุกข์หรือไม่มีปัญหา
Hunger bites his owner but mindfulness in wisdom doesn’t bite his owner. So we should transform our hunger into a matter of mindfulness and wisdom so that it won’t bite us anymore. And then, our life doesn’t have any more problems.
เขาก็ถามต่อไปว่าการยึดความยึดมั่นถือมั่นจะมีความหมายตลอดเวลาว่าเรายึดมั่นในสิ่งที่อยากด้วย แล้วยึดมั่นในผู้อยากด้วย นี่แหละคือ concept แห่งตัวตน หรือเป็นไปได้ไหมที่จะมีความยึดมั่นถือมั่นชนิดหนึ่งซึ่งไม่มีตัวตน แล้วความยึดมั่นถือมั่นนั้นจะมีความทุกข์ไหม
ถ้ามันไม่สูงขึ้นมาถึงความยึดมั่นว่ามีตัวตน-ว่ามีตัวตนแล้วปัญหาไม่เกิด คือจะไม่มีตัวผู้ที่เป็นทุกข์ ไม่มีตัวผู้ที่จะเป็นปัญหา ความยึดมั่นต้องดำเนินขึ้นมาจนถึงขนาดที่ว่ามีตัวตนที่เรียกในบาลีว่า “อัตตวาทุปาทาน” คือความยึดมั่นถือมั่นที่ทำให้เกิดเป็นคำพูดออกมาว่า “เรา” หรือ “ฉัน” ความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้นที่ทำให้เกิดเป็นคำพูดออกมาว่า “ฉัน” หรือ “เรา” ถ้าไม่มาถึงขั้นนี้มันยังไม่เป็นความทุกข์ แต่มันก็เป็นความยุ่งยากลำบากอยู่ในระดับหนึ่งเหมือนกัน เช่นว่ายึดมั่นในความอร่อย ในความสวยงาม มันก็ยุ่งยากลำบาก มันเป็นปัญหาไปตามธรรมชาติ จนกว่าจะยึดมั่นเป็นตัวเรา เป็นเจ้าของเรื่องทั้งหมดนั้นแหละ ความทุกข์จึงจะเต็มที่ ความทุกข์จึงจะสมบูรณ์ ฉะนั้นจึงขอให้เข้าใจว่ามีความทุกข์เพราะความยึดมั่นว่ามีตัวเรา เมื่อยึดมั่นว่ามีตัวเราแล้วไอ้ความยึดมั่นว่าของเรา-ของเราก็มีโดยอัติโนมัติ ยึดมั่นว่าเรา ว่าของเราจึงมาด้วยกัน ถ้าความยึดมั่นสูงขึ้นมาถึงมีตัวเรามีของเราแล้วมันก็ต้องเป็นทุกข์ เราป้องกันไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดชนิดนี้ เป็นแต่เป็น mechanism ธรรมชาติ ธรรมดา เกิดความรู้สึกอย่างนั้น อย่างนี้อย่างนั้น เป็นเพียงธรรมชาติธรรมดา ขจัดความรู้สึกเหล่านี้ออกไปเสียได้อย่างนั้นมันก็หมดปัญหา มีความรู้สำหรับจะมีชีวิตอยู่กับสิ่งที่มิใช่ตัวตน ฟังดูให้ดี ๆ เรามีชีวิตสำหรับจะเป็นอยู่กับสิ่งที่มิใช่ตัวตน นั่นแหละหัวใจของความรู้ที่เรียกว่าพุทธธรรม-พุทธธรรม ธรรมะของพุทธศาสนาทำให้เราสามารถมีชีวิตอยู่กับสิ่งที่มิใช่เป็นตัวตน และไม่เกิดปัญหาใด ๆ ขึ้นมาแก่จิตใจ ไม่เกิดปัญหาใด ๆ แก่จิตใจมันก็พอแล้ว มันก็พอแล้ว
If we hold on to something or if you want to call it attachment but it hasn’t reach the level of attachment to “self” then it’s not a problem. But when we use the word attachment, we always speaking of attachment to self. Or what it called in bhali อัตตวาทุปาทาน, the Upatana or attachment that make us say me, myself, the kind of attachment that leads to us to talking about self to the concept of self. Once there is attachment to self, then there is a problem. Then Dukkha is full scale and complete. Before that, if there’s no attachment to self, there isn’t release Dukkha but still there the natural difficulty and hassle of life of the เวทนา and how do you find the thing and so on. But the essential thing is to have the wisdom to prevent the attachment to self. To that way we live become a problem and Dukkha. So I pass it to live without the attachment to self. Another way we can speak up this is how can life live with thing that are not self. How can life live with thing that are not self. If we understand this then we won’t have any problem with life.
มีความรู้สึกว่าตัวตนนี้มันเป็นผลตามธรรมดาของ instinct หรือสัญชาตญาณ เดี๋ยวนี้เรามีความรู้มากพอ-มากพอที่จะควบคุมความรู้สึกของสัญชาตญาณ หรือถึงกับ sublimate ไอ้ความรู้สึกอย่างสัญชาตญาณมาเป็นความรู้ใหม่ว่าเราต้องอยู่กับสิ่งที่มิใช่ตน สัญชาติญาณแห่งความมีตัวตนมันก็เปลี่ยนแปลงพอที่จะให้อยู่กันได้ ให้กับความถูกต้องของธรรมชาติที่มิใช่ตัวตน เป็น reconciliation ระหว่างสัญชาตญาณกับสติปัญญาที่ถูกต้อง มันเป็นสิ่งที่ทำได้โดยสัญชาติญาณชนิดถือว่ามีตัวตนนั่นแหละ มันกลายเป็นว่ามีตัวตนที่ยึดถือไม่ได้ มีตัวตนที่ยึดถือไม่ได้ แล้วมันก็ไม่ยึดถือ นี่มันก็เป็นมาทางสติปัญญาที่จะดับทุกข์ได้ นี่มันมีความลึกซึ้งหรือลำบากหรือมากที่จะต้องปรับปรุงความรู้สึกที่เป็นสัญชาติญาณให้กลายมาเป็น......ญาณ (01:05:01) เรียกว่ามาถูกต้อง-ถูกต้อง ซึ่งมันก็ละเอียดประณีตสักหน่อยหรือมากก็ได้
To take life as being self as instinctual, it’s the kind of instinctual understanding that we feel life as being self. Even though instinctual that lead to the problem that we’ve been pausing about, so we must learn to transform this instinctual understanding into wisdom, into genuine intelligence. We can transform or even sublimate the instinct of self so that it leads to the develop wisdom of not self. Then we can bring about reconciliation between the instinct and wisdom. They need not the end conflict. We can take that instinct of self and for self preservation and develop that. So, it’s no longer just instinctual but it will recall a developed knowledge so that we achieve the highest benefit for oneself which is to be free of all Dukkha, which we can with only happen to seeing that. This self is not self, is not really self. We can sublimate it or transform it in this way. We won’t have any problem. Live with instinctual kind of understanding.
มันเหมือนกับว่าสัญชาตญาณมันมีตัวตนสำหรับจะยึดถือ นี่มาทำความเข้าใจกันเสียใหม่ Compromise กันใหม่ จะมีตัวตนสำหรับจะไม่ยึดถือ-มีตัวตนสำหรับจะไม่ยึดถือ คือไม่เอาตามสัญชาติญาณ สัญชาติญาณก็เปลี่ยนได้เป็นสติปัญญา-เป็นสติปัญญา Instinct ก็จะเปลี่ยนเป็น Wisdom ได้ด้วยเหตุนี้ มีสติปัญญาแล้วมันก็ไม่ต้องยึดถือแม้ว่าตัวตนนั้นจะยึดถืออยู่โดยสัญชาติญาณ เราควบคุมสติปัญญาของเราให้มี-ให้มีอยู่ตลอดเวลา ควบคุมสัญชาติญาณอยู่ด้วยตลอดเวลา จนกว่าจะเคยชินเป็นนิสัย ไม่เกิดตัวตนอีกต่อไป
It’s like the instinct have itself in order to attach to it. So we must improve or develop the instinct. So they don’t need itself to attach to until there is no self or the instinct to attach to. In this way, the instinct can be developed or transformed into wisdom so that we don’t have any more trouble with life. What we though with self, it seem to be not self and then there’s nothing to attach to. And not attaching to anything, there’s no difficult thing or hassle in life.
เขาก็ยกตัวอย่าง For instance, enlighten people ……… to keep staying alive because of their commitment to help other to overcome suffering. With this example of self attachment or otherwise what keep the commitment from fading away. (นาทีที่ 01:08:05 – 01:09:42)
เขาก็ถามถึงพระอรหันต์ก็ได้ถูกกล่าวว่ายังมีชีวิตอยู่เพราะพระอรหันต์ตั้งใจที่จะช่วยผู้อื่นให้รู้จักความทุกข์ อันนี้จะเป็นตัวอย่างแห่งความยึดมั่นถือมั่นที่ปราศจากตัวตน หรืออย่างไรจึงความตั้งใจที่จะช่วยผู้อื่นจะไม่สิ้นหายไป
คนธรรมดามีตัวตน-ตัวตนของความยึดมั่นถือมั่น พระอรหันต์ไม่มีความรู้สึกอย่างนั้น มีแต่สติปัญญารู้สึกว่ามิใช่ตัวตน ความรู้สึกว่ามิใช่ตัวตนน่ะมันก็ไม่ได้ลบล้างไอ้ความเมตตากรุณาอะไรไปเสียหมด จึงรู้สึกว่าผู้ที่ไม่มีความรู้เรื่องตัวตน ยึดเป็นตัวตนยังมีความทุกข์อยู่ พระอรหันต์จึงพร้อมที่จะช่วยด้วยความรู้สึกที่ว่าไม่มีตัวตน ไม่ใช่ตัวตนของตนเอง ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีตัวตนของตนเองเสียก่อนจึงจะสามารถช่วยผู้อื่นที่มีตัวตนนั้นให้เลิกละจากความมีตัวตน ฉะนั้นผู้ไม่มีความรู้สึกว่าตัวตนแต่เต็มอยู่ด้วยสติปัญญาก็ช่วยผู้ที่มีความรู้สึกว่าตัวตนที่เต็มอยู่ด้วยความทุกข์ได้ ได้ดี ไม่มีปัญหาอะไร
The Arahan or to solve the problem in life being, who has sent it all self doesn’t has any self to attach to. The Arahan, there is no self to attach to so the Arahan has no Dukkha, has no problem. Empty of void of self, the Arahan’s just called it wisdom but this doesn’t erase or otherness kindness, frankliness and compassion. Just because of no self doesn’t mean that there is no compassion. And so when seeing the people still suffer because of attaching to self, the Arahan would do what can be done to help them to have a self which is no longer attach to itself. The Arahan will help others to see for themselves that there’s nothing were attaching to self until those people have no more self to attach to, in other themselves free of Dukkha. So the Arahan in being void of self and free of all trouble, It’s full of wisdom.
ถ้ามีความยึดมั่นถือมั่นอยู่ว่าตัวตนของตน มันก็มีความรักที่แท้จริงไม่ได้ มันมีแต่ความเห็นแก่ตน ความเห็นแก่ตัวไม่ใช่ความรักอันแท้จริง ผู้ที่ยังมีตัวตนอยู่จะมีความรักที่แท้จริงไม่ได้ มันเป็นความเห็นแก่ตน มันจะแสวงหาประโยชน์ นี่เป็นความรักที่แสวงหาประโยชน์ของตนเพราะความเห็นแก่ตน ต่อเมื่อไม่มีความเห็นแก่ตนมันจึงจะเป็นความรักที่บริสุทธิ์ที่จะช่วยเขาให้หลุดพ้นจากความทุกข์หรือปัญหาได้จริง พระอรหันต์จึงเป็นผู้ที่ไม่มีความเห็นแก่ตนแล้วจึงมีความรักบริสุทธิ์ ก็สามารถจะช่วยผู้อื่นให้หลุดพ้นจากความทุกข์ได้ อย่าเอาความรักที่แตกต่างกัน ๒ อย่างนี้ไปปนกันเสีย อันหนึ่งมันเป็นความเห็นแก่ตัวทั้งนั้นแหละ อันหนึ่งเป็นความรักที่บริสุทธิ์
If there is still attachment, one cannot really love another. If there is still attachment then any love will be selfish. If one still has self then love will be tensed by itself or selfishness. And one will always be try to use love for one personal benefit. This is unavoidable. But when there is no more attachment, we want it free of self, then love is pure. And love will not be used to twist it by ego or by selfishness. There is two very different kinds of love. The love with itself, with attachment which we always selfish. It cannot be avoiding. And then there is the love which is pure which involve no attachment and no self. So to really love someone, to really love, to really help, what must be free of attachment and self. If one is still attaching, how can one help others to not attach. If one is still attaching then our help will always be next stop with our own personal benefit and advantage. But when one has done free of all self then one can truly help because there is pure love. Be very careful not to make self genuine love with selfish love, the love of attachment.
อันนี้มันยืดยาวมากก็คงจะต้องสรุปบ้าง This question is very long which mean it’s hard to translate so I may summarize a little bit. By mean to Anapanasati, while walking among the coconut tree and by regarding my physical body, I have had the strong direct experience of the impermanent and changeability of all things in the world. During this experiences, I would aware this body would not my body. The experience would not mine. Just in shortly, I was aware ourselves that is the vehicle of experience. By this I mean “I” would have an experience. The self was the same self that usually enhance the body. That’s not my body with the same memory and same personalize identity. My question is this although I understand not mine, I am confuse by not self. So far, in this cause the thing between not me and not mine has not relevant me. There is generally mentioned that the same kind if we usually experience one without the other.
เขาก็บอกว่าด้วยปฏิบัติอานาปานสติ เมื่อเดินจงกรมอยู่ในระหว่างต้นมะพร้าว แล้วเขาพิจารณาร่างกายของเขา เขาก็มีความรู้สึกหรือมี experience ที่เข้มข้น ที่ตรงเกี่ยวกับความไม่เที่ยง และความที่ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมันเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในเมื่อมี experience นี้ เขาก็รู้สึกว่าร่างกายนี้ก็ไม่ใช่ร่างกายของเรา experience หรือความรู้สึกนี้ก็ไม่ใช่ experience ของเรา แต่ที่แม้กระนั้น สิ่งที่แน่นอนก็คือเขายังรู้สึกว่ามีตัวตนซึ่งเป็นยานพาหนะ เป็นยานพาหนะสำหรับ experience หรือความรู้สึกนี้ ซึ่งหมายความว่าเราเป็นผู้ที่กำลังรู้สึกอยู่ ตัวตนนี้หรือตัวนี้ก็เป็นตัวตนอันเดิมที่ปกติก็อยู่ในร่างกายอันนี้ซึ่งไม่ใช่ร่างกายของเรา เรามีความจำ มีบุคลิกภาพ มีอะไรเหมือนกันก็เลยถามว่า แม้แต่ข้าพเจ้าเข้าใจเรื่องไม่ใช่ของเราก็ยังงงในเรื่องไม่ใช่ตัวตน ในการสอนยังไม่ได้แยกระหว่างเรื่องไม่ใช่เรากับไม่ใช่ของเรา เพราะว่าปกติก็พูด ๒ อย่างรวมกัน จะถามว่าเป็นไปได้ไหมที่เราจะประสบอย่างหนึ่งโดยไม่ประสบอย่างที่สองคือ ที่เราอาจจะเข้าใจในเรื่องไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา แต่ยังไม่เข้าใจเรื่อง หรือยังไม่มี experience ในเรื่องไม่ใช่ตัวเรา
ถ้าอย่างนั้นจะต้องพิจารณากันเป็นชั้น ๆ เป็นลำดับมา ครั้งแรกที่สุดเรามีตัวตนเต็มที่-มีตัวตนเต็มที่อย่างที่คนธรรมดาเขาเป็น นี่เรียกว่าไม่รู้ถึงที่สุด อวิชชาถึงที่สุด กระทำทุกสิ่งไปตามอำนาจของอวิชชา ต่อมาเรารู้สึกว่าไอ้ตัวตนของอวิชชานั้นไม่ไหว มากเกินไป-มากเกินไปสำหรับจะมีความทุกข์ เราก็เปลี่ยนเป็นตัวตนของวิชชา ขั้นที่สองนี้มีตัวตน-ตัวตนแต่ว่าของวิชชา ของสติปัญญา ของความรู้ จึงสามารถดำเนินไปในทางที่มีความทุกข์น้อย นี่เป็นขั้นที่สอง นี่เรียกว่าจะต้องผ่านอันนี้คือมีตัวตนที่ถูกต้อง คือตัวตนของสติปัญญา ของธรรมชาติ ธรรมดา มีตัวตน รู้ว่าตัวตนนี้ไม่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมดา แล้วก็มีตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน
ซ้ำอีกทีว่ามีตัวตนของความโง่ แล้วก็มีตัวตนของสติปัญญาครึ่งหนึ่ง คือมีตัวตนของสติปัญญาครึ่งหนึ่ง ทีนี้ก็มามีตัวตนถึงที่สุดว่าไม่ควรจะเรียกว่าตัวตน ไม่ควรจะถือว่าตัวตนคือสติปัญญาสูงสุด นี่จึงจะเรียกว่าไม่มีตัวตน ถ้าจะให้มีตัวตนก็จะต้องพูดว่าตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน ย้ำอีกทีว่าตัวตนของความโง่ ตัวตนของสติปัญญา และก็ตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน ขอให้ความรู้ของเราเดินมาตามลำดับ-เดินมาตามลำดับ แล้วก็จะหมดปัญหา จะไม่มีปัญหาอย่างที่ถาม มีตัวตน (ขอแปลก่อนครับ) มีตัวตนโง่ มีตัวตนฉลาดครึ่งหนึ่ง มีตัวตนฉลาดโดยสมบูรณ์
At first, we are still stupid. There are great deals of ignorant or อวิชชา and so life is full of self, nothing by attachment, self, selfishness and Dukkha. But then we learn from that attachment in that Dukkha and we become more intelligent until we reach a level that is we seen the hassle in trouble of a life full of self. We’ve seen that Dukkha more than attachment. And then we reach the level that we can be called the self of wisdom. At first, there is just the self of ignorant or the stupid self then we come to a level of whether the wisdom to live life correctly and this can be called the wise self. And then to living correctly further and further, we come to the stage where one see that nothing is worth clinging to itself. There’s nothing worth taking or to be self or regarding itself. This can be called the level of the self which is not self.
So we repeat this again. At first, there is the totally ignorant self. The selfish is called of Dukkha because of the attaching to everything. Then there is the self which is have wise. It has the wisdom to start living correctly in order to really develop but there is still this feeling this sense of being self. But then in the end, there is the self which is not self. We still want to call it the self. We need to be clear that it is not really self. It is really not self. And this is then you can say the self of perfect wisdom, that self which is not self. So there’s the self that’s full of Dukkha and ignorant, the self that have wise. It doesn’t suffer so much then there is the self which is not self, the self of pure wisdom and no Dukkha.
บางทีเราจะต้องพูดว่าทีแรกเรามีตัวตน-ตัวตนเต็มที่ ต่อมาเรามีตัวตนครึ่งเดียว ต่อมาเราไม่มีตัวตนเลย จะต้องพูดอย่างนี้จึงจะเข้าใจนะ
But to put it even more simply, at first there is the self which is totally self, 100% self. And then later we only had half of self and then no self at all. When there is no self at all, we don’t have to ask question like this. Then, same person ask further, can you explain your own experience of not me or is it an influence you to do from your experience of not mine?
ขอให้ท่านช่วยอธิบายความรู้สึกของท่านเกี่ยวกับเรื่องมิใช่ตน หรือมิใช่ตัวตน หรือมันเป็นแต่สิ่งที่ท่านคาดคะเนจากประสบการณ์ในเรื่องมิใช่ของเรา
หลังจากปฏิบัติอานาปานสติมาแล้วตามสมควร เราก็รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามสมควร แล้วก็มองเห็นความจริงของสิ่งนี้ว่าถ้าเรามีความรู้สึกคิดนึกไปว่ามีตัวตนเมื่อไร มันก็กัดเราเมื่อนั้น คือเป็นทุกข์ เรามีความรู้สึกว่ามีตัวตนเมื่อไรเราก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น เราก็ไม่อยากจะเป็นเช่นนั้น เราก็มีสติ สติ-Mindfulness สมบูรณ์ที่จะทำให้เราไม่คิดเช่นนั้น คือไม่โง่ไปอย่างนั้น ไม่หลงไปอย่างนั้น เราก็พอใจที่ว่าจะมีชีวิตที่ไม่มีความทุกข์หรือไม่ถูกกัด แม้ว่าบางทีเราจะเผลอไปบ้าง เผลอไปบ้างแต่เราก็ฉลาดขึ้นกว่าเดิม หมายความว่าเราถูกกัดทุกที เราก็ฉลาดกว่าเดิมทุกที-ฉลาดกว่าเดิมทุกที นี่คือความต่อสู้-ต่อสู้มาตลอดเวลาในการที่จะมีชีวิตชนิดที่ไม่มีตัวตน
ที่อาจารย์ใช้คำว่าเราหมายถึง ตัวอาจารย์เองหรือหมายถึงจิต
จิต-จิตที่ยังโง่อยู่
After we have practiced Anapanasati well enough, we have the experience that all things are impermanent. Have the inherent quality of Dukkha and there are not self. We see that every time there is the experience or feeling of self that Dukkha bites us. Seeing this, we live carefully, mindfully, not giving any opportunity for this feeling or experience of self to happen so that it can’t bite them. But even if sometime we are we slept a little careless or make a mistake, we still smarter as we were before. And so there is less Dukkha to bite this self which is not self.
ขอให้ระลึกถึงข้อที่เคยพูดมาแล้วว่าเราเผลอ-เผลอมีตัวตนเมื่อไร มันก็จะเกิดอาการที่เรียกว่าชีวิตนี้กัดเจ้าของ เป็นความรักกัด เป็นความโกรธกัด เป็นความเกลียดกัด เป็นความกลัวกัด เป็นความตื่นเต้นกัด วิตกกังวลกัด อาลัยอาวรณ์กัด อิจฉาริษยากัด ความหวงกัด ความหึงกัด ทุกทีไปที่มีตัวตน-ที่มีตัวตนจะเกิดสิ่งร้ายกาจอย่างนี้กัดทุกทีไป มีความเกลียด กลัว หรือความไม่อยากจะเป็นอย่างนั้น มันก็มีสติสัมปัชชัญญะพอที่จะไม่ให้มันเกิดเป็นตัวตนขึ้นมา ในเมื่อได้รับอารมณ์บวกหรือว่าอารมณ์ลบก็ตาม มันมีวิธีหรือมีเทคนิคในการที่จะป้องกันไม่ให้เกิดตัวตนกันอย่างนี้
Whenever we are careless and think or experience self, then life bite. Then life is changed into the situation of biting and life bites his owner. So remember this different symptom of life biting its owner that we mentioned earlier. Sometime love bites. Sometime anger bites. Sometime hate bites. Sometime fear bites. Sometime worry bites. Sometime worry about the future or longing after the past bites, jealously bites, envy bites, concessiveness bites. When some negative experience happen, we don’t want it to happen. We want to get rid of it and that’s a virgin bite. Positive experience happen, we want it. We desire it in that one thing in desire bites. If we understand this, then there is a technique. There is a principle and the technique or mapping to not let the self for life when we make contact with positive and negative experiences. And then the positive and negative experiences don’t bite and life doesn’t bite its owner. This is the way to do this if we are careful.
I breathed the mind, did meditation go from a status wave range to our wave range. In this stage the subconscious might become more dominate. The Anapanasati explore to subconscious mind anyway. The first past is the question I cannot translate properly but it really irrelevant to the question at the end so just translate the question
เขาพูดถึงเรื่องอะไรที่ผมแปลไม่ได้แต่มันไม่สำคัญ ผมจะแปลแต่คำถามตรง ๆ อานาปานสติเป็นวิธีที่จะศึกษาจิตใต้สำนึกได้ไหม หรือ subconscious mind
ถ้าเราประสบความสำเร็จการปฏิบัติอานาปานสติ มีความรู้ในเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ที่เรียกว่า Well worth ในความรู้ของอานาปานสติ แล้วสิ่งนั้นจะเหลืออยู่เป็น subconscious ตลอดเวลาตามมากตามน้อย แล้วมันก็พร้อมที่จะออกมาช่วยในเมื่อเกิดปัญหาใด ๆ หรือป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาใด ๆ เป็น subconsciousness ฝ่ายกุศล-ฝ่ายกุศล ฝ่ายบารมี ฝ่ายที่จะช่วยดับทุกข์ ไม่ใช่ฝ่ายกิเลส (สิ่งนี้คือความรู้ที่มาจากการปฏิบัติอานาปานสติ) คือความรู้ที่เกิดมาจากการปฏิบัติอานาปานสติแล้ว ๆ เล่า ๆ จนชำนาญ (นี้จะเหลือเป็น subconscious) จะเหลือเป็น Subconscious อยู่
If we have practiced Anapanasati correctly, deeply and successfully until reaching the level where we are well worth or expert in Anapanasati then the understanding that has been developed through this expert practice of Anapanasati will remain as nearly subconscious understanding or experience so that whenever a situation arisen in life, that understanding or that is come from the practice Anapanasati will be available for dealing with the problem.
ที่เขาถาม เราจะใช้อานาปานสติเพื่อศึกษาเรื่อง Subconscious เพื่อเข้าใจ เพราะว่าทฤษฎีฝรั่งพูดถึงเรื่องนี้มาก เขาก็อยากจะรู้-เขาก็อยากจะรู้ว่าเราจะใช้อานาปานสติเพื่อเข้าใจเรื่อง Subconscious ได้ไหม
นี่ไงเราก็ฝึกและศึกษาอานาปานสติจนความรู้นี้ ความรู้ว่าอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา เป็นต้นนี้ กลายเป็น Subconscious เป็นฝ่ายกุศล ต้องรู้ว่า Subconscious มีทั้ง ๒ ฝ่าย ฝ่ายที่เป็นประโยชน์และฝ่ายที่ไม่เป็นประโยชน์ เดี๋ยวนี้หมายถึงฝ่ายที่จะช่วยดับทุกข์ คือพร้อมเสมอที่จะมองเห็นอนิจจัง-ทุกขัง-อนัตตา (หมายความว่าแล้วก็ฝ่ายที่อกุศล Subconscious ที่ไม่เป็นประโยชน์) ก็ถูกระงับไป หมายความว่าคอยป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นโดยสติ (ก็คล้ายกับว่าเราไม่ได้ศึกษาโดยตรง แต่ในที่สุดเราได้ Subconscious ที่เป็นประโยชน์) เราได้ เมื่อเราศึกษาเต็มที่ มีความรู้อย่างใดเต็มที่อยู่เป็นประจำ มันก็กลายเป็น Subconscious ขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ (แต่ที่เขาถาม เราจะมีความรู้ใน Subconscious มันเองได้ไหมหรือไม่ได้) ก็คือปฏิบัติอานาปานสติ ความรู้เรื่องอานาปานสติก็เป็นรากฐานของ Subconscious อันใหม่ที่จะเกิดขึ้นในจิตใจ (ครับ อันนั้นไม่ตรงกับคำถามครับ) เขาถามว่าอย่างไร (จะรู้จัก Subconscious ไม่ใช่เปลี่ยน Subconscious แต่จะรู้จักมัน) ก่อนนี้เรามีแต่ Subconscious ที่จะทำให้เป็นทุกข์ เผลอไม่ได้ พอเผลอจะเป็น นิจจัง-ทุกขัง-อัตตา เสมอไป อย่างนี้ Subconscious ที่เป็นอันตรายได้เปลี่ยนมาเป็น Subconscious ที่มีประโยชน์
OK, I try to keep answer asking the question because I usual western fascination with the subconscious doesn’t interest ท่านอาจารย์ in seeing the radical way that they’d rather go way that western psychologist like he talk about it. Instead he reply like this. You should know that the subconscious had to abstract the wholesome and the unwholesome or the beneficial and the harmful. This one can experience how the subconscious can help us and harm us. To really practicing Anapanasati, then one will have the deep experience of impermanent of Dukkhadist and not self. And this understanding will then be subconscious so that whenever we need in life, we will know it as impermanent, having be inherently Dukkha and not self. In this way, the subconscious understanding or experience will be solely beneficial and all the harmful of wholesome aspect of the subconscious will be calm away. They would disappear. So they will remain only a subconscious which is able to understand the impermanent, Dukkhadist and not self. So it will be a beneficial subconscious. So, his reply is solely in practical term rather than talking about the theoretical concept.
Subconscious ฝ่ายที่ไม่ถูกต้องเป็น unwholesome-unwholesome นั้น มันก็เป็นไปในทางร้ายที่จะสร้างความทุกข์ขึ้นเสมอไป ส่วน Subconscious ที่ถูกต้องเป็น wholesome นั้น มันก็จะช่วยให้มีความเต็มของสิ่งที่เราต้องการ Subconscious ฝ่ายถูกต้องนี้เราจะเรียกว่า “บารมี” บารมี-บารมี แปลว่าสิ่งที่จะช่วยทำความเป็นมนุษย์ให้เต็มเปี่ยมได้ด้วยความถูกต้อง ส่วน Subconscious unwholesome นั้นเราเรียกว่า “อนุสัย” อนุสัย-ความเคยชินของกิเลสที่คอยแต่จะกัดเราให้เป็นความทุกข์เสมอไป นี่ Subconscious เป็น ๒ ประเภทเสียอย่างนี้ก็จะง่ายแก่การศึกษา “อนุสัย” กับ “บารมี”
The unwholesome or harmful as a subconscious every time it activate or function will do something harmful and dangerous to life. It leads to life experiencing Dukkha and straights all kind to problem. But the aspect of the subconscious which is correct, which is wholesome in beneficial lead to feeling with life correctly and brings about a perfection of everything we need in life. Now, what we desire, what we need, this correct or beneficial aspect of the subconscious is called bharame.(บารมี) Bharame which mean that which lead to perfection. They often translate it as perfection but they mean that which bring perfection. The unwholesome harmful as the subconscious is called the Anusaya(อนุสัย) or the defile tendency. คอลเลคชั่นของความชั่วร้าย You can call it a collection of evil and harmfulness, a collection of harmfulness. The other is collection of that which is useful in helping beneficial. We understand that subconscious in this way. It will make it easier for us to study and practice. There is the Bharame aspect which lead to perfection of what we need and the defile collection of unwholesome tendency which just help to make more problem.
คนทั่วไปมีแต่ Subconscious ฝ่าย unwholesome หรืออนุสัยคนธรรมดาสามัญทั่วไป (100% หรือ) 100% ก็ได้ พูดว่า 100% ก็ได้ ถ้าเป็นปุถุชน 100%
Ordinary people have a subconscious which is just this undefiled tendency. This defile tendency, I ask if he meant it this 100% that ordinary people have sub-consciousness this which are 100% the Anusaya and he said that while he’s the 100% ordinary then he has 100% defile anusaya subconsciousness. If there’s totally verbally then that all subconscious will be.
เขาพร้อมที่จะรัก จะโกรธ จะเกลียด จะกลัวแม้แต่ในความฝัน
They always ready to love, get angry, hate, fear, be envy, jealous, worry even in their dream.
ที่พูดถึงความฝันมีหลายคนถามถึงความฝัน เราควรจะปฏิบัติอย่างไรเกี่ยวกับความฝัน
เป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องพูดกันเฉพาะเรื่องความฝันเป็นเรื่องที่ใหญ่ยืดยาวมาก มันหลายชนิดเหลือเกิน (หมายความว่าไม่มีเวลาพอ) ไม่มีเวลาพอ
มีอีกคำถามหนึ่ง Why do people who understand Dukkha or Dukkhata and Dukkha and Atta (อัตตา) and dependent origination know that they should apply themselves and know that they should apply themselves to the 4 noble truths and to the all 8 fold or 10 fold paths and yet they don’t. In other word, how this one explain of human tendency of rationality in term of Dukkha and dependent origination?
เขาก็ถามว่าทำไมคนเราแม้จะเข้าใจเรื่องความทุกข์ เรื่องอัตตา เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วรู้จักว่าควรจะปฏิบัติในเรื่องอริยสัจ ๔ และมรรคมีองค์ ๘ และสัมมาสติ ทำไมรู้สิ่งเหล่านี้แล้วไม่ปฏิบัติไม่ทำตามนั้น หมายความว่าเราจะอธิบายอย่างไร นิสัยของมนุษย์ซึ่งปราศจากเหตุผลอย่างนี้ เกี่ยวกับเรื่องความทุกข์แล้ว และปฏิจจสมุปบาท
เหมือนกับว่าเขามีแผนที่-แผนที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุดแล้วเขาก็ไม่เดิน-ไม่ได้เดิน ยังไม่ได้เดินเพราะเหตุอะไรก็ไม่รู้ ถ้าอย่างนี้ก็จะต้องพูดว่าเพราะเหตุว่ามีเหยื่อในโลกมันล่อเอาไว้-เหยื่อในโลกมันล่อเอาไว้ มันอยู่กับความสุข สนุกสนาน มันก็เป็นเรื่องกิเลสดึงเอาไว้ เขาก็ยังไม่เดิน ถ้าว่าเขาเดินเมื่อไรคือปฏิบัติอานาปานสติให้ถูกต้องเมื่อไร เขาก็ออกมาได้ เขาก็เดินไปเท่านั้น
It like they got a map. They got the best map in the world but they refuse to travel. They refuse to walk according to the map. Why this is so is they don’t know. This is hard to explain. It seems that they is still bait in the world which is trigging them. The all kind of bait that keep them attach to the world; one thing to have fun, one thing to be entertained, one thing to be loved, one thing to own thing, one thing pleasure. The deliciousness, the pleasure, the loveliness, the creativity, the excitement of the world, it’s the kind of bait which keep them stuck in the world and so they have no interest in walking according to a map. But once they see how this bait just make them stupid and keep them following in Dukkha then they begin to practice Anapanasati. And if they practice seriously and correctly, they can overcome a learning quality of all that faith.
เขาได้ยินแต่ชื่อ ได้ยินแต่ชื่อของความทุกข์-ได้ยินแต่ชื่อของความทุกข์ เขายังไม่รู้จักตัวความทุกข์ถึงที่สุด เขาจึงไม่กลัวความทุกข์-ไม่เกลียดความทุกข์ ไม่กลัวความทุกข์-ไม่เกลียดความทุกข์โดยแท้จริง ดังนั้นเขาก็ยังไม่ปฏิบัติ ยังไม่อยากปฏิบัติ ยังไม่ลงมือปฏิบัติจนกว่าเมื่อไรเขากลัวความทุกข์อย่างยิ่ง เกลียดความทุกข์อย่างยิ่งแล้วเขาก็จะลงมือปฏิบัติ ความรู้ของเขาก็มีประโยชน์ ความรู้ของเขาจะได้รับการปฏิบัติและมีประโยชน์
All they know it’s the name of Dukkha. They know the name of Dukkha. They can say the word, the sound but they don’t know Dukkha itself. They don’t really know the reality of Dukkha and so they don’t despite and feel Dukkha. And if they don’t despite and feel Dukkha, they don’t going to put any other practice in order to get free of Dukkha. But once one knows Dukkha itself, the reality of Dukkha then one will dispiting. One will be disguising by it and one will be terribly afraid of it. And then one will practice. There is seriously to get free of Dukkha. One should really hate it and fear it. You won’t mess around and play any more game with it. (นาทีที่ 01:50:33 – 01:51:40)
ขอให้สังเกตให้ดีว่าไอ้ความทุกข์-ความทุกข์เนี่ย มันมีทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ เราอาจจะเกลียดความทุกข์ กลัวความทุกข์ในแง่ลบได้โดยง่าย แต่ความทุกข์ในแง่บวกคือในแง่ที่หลอกลวง-หลอกลวงไม่ตรงตามความจริง เราหลงไป เราโง่ไป ไปหลงไอ้ความทุกข์ในแง่บวก โดยเฉพาะอย่างยิ่งของกามารมณ์นี้ อย่างนี้มันก็ไม่-ไม่เกลียดกลัวความทุกข์ ยังไม่เกลียดกลัวความทุกข์ บางทีจะสมัครใจเป็นทุกข์-สมัครใจเป็นทุกข์เพื่อจะได้กินเหยื่อนั้น เหมือนปลามันเห็นแต่จะกินเหยื่อ มันก็ไม่เห็นเบ็ด มันก็ได้เป็นทุกข์ นี่เรียกว่าไอ้ความทุกข์ในแง่บวก ในลักษณะที่เป็นบวกมันก็มีอยู่ทั่ว ๆ ไป ขอให้รู้จักความทุกข์ทั้งในแง่ลบและแง่บวก และอยู่เหนือเสียทั้ง ๒ อย่าง ก็หมดปัญหา
You need to recognize that Dukkha comes in both forms. There are the positive form to Dukkha and the negative form to Dukkha. You probably only pay much attention to the negative kinds of Dukkha. It’s easy to hate and fear the negative forms of Dukkha but most people don’t give any attention to the positive forms. People are still fascinating. They still want to have fun with thing, with the positive form to Dukkha. They even volunteer, people are totally willing to experience the Dukkha of positive thing because there’s so fascinate and upset with these things. The primary example of this, it’s sex. Sex is so very positive for people and so they’re willing to experience the Dukkha of sex because of this positiveness. But once we see that even in the positiveness, there is Dukkha. There is in trapment………… There is stupidity. Then one begins to despite and fear even the positive kind of Dukkha. And then one can begin to get free of those things and no longer be in fuctuate it and upset with them. So remember that it’s not just the negative Dukkha life, physical pain, illness or not get it what you want and so on. But the positive Dukkha of being upset with good health, with the Dukkha getting what you want and the Dukkha sex.
เมื่อปลาติดติดเบ็ด มันก็เจ็บปวด มันก็รู้จักไอ้ความทุกข์นั้นได้โดยง่าย แต่ว่าเราติดเบ็ดมันไม่เป็นอย่างนั้น ไอ้เบ็ดน่ะมันกลายเป็น amusing หรือเป็น entertainment ไปเสีย เราก็เพลิน เพลินในการติดเบ็ด เพลิน-เพลินในการติดเบ็ด เราจึงไม่เกลียดไม่กลัวต่อความทุกข์ ขอให้สังเกตดูให้ดี ๆ ข้อนี้ว่าไอ้เบ็ดของปลามันเจ็บปวด แต่เบ็ดที่คนติด ๆอยู่นี้ มันกลายเป็นความสนุกสนานเพลิดเพลินเป็นที่พอใจ เป็นที่ไม่รู้จักเบื่อ เพราะว่าเรามันเป็นทาสติดบ่วงของไอ้กิเลสตัณหา มันเป็นทาสของตัณหาหรืออุปาทานเสียแล้ว
When a fish is caught on a hook, it knows that the hook is painful. It knows the Dukkha of being caught on a hook. But we’re not as intelligent as a fish. This hook that we caught on with angering and suffering from this hook but we think it’s fun. We think it’s entertaining, exciting, beautiful, wonderful and so we don’t hate or fear the hook. In fact, we seek it out and we pay lots of money to get hook. The fish isn’t like that. It knows that the hook is Dukkha. It hates and fears the hook but we’re not like that. We have no hate or fear for the hook and so we continue to angler and angling from the hook.
ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย ตั้งใจฟังมาด้วยดีเป็นเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว เป็นการสมควรที่จะปิดการประชุม ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย เป็นผู้ฟังที่ดี และมาที่นี่มาช่วยกันทำให้สถานที่นี้เป็นสถานที่มีประโยชน์ ขอขอบคุณ ขอปิดประชุม
So last of all, thank you. Time is up for this morning. We’d like to thank you for coming here with your interest in Dharma and to wish keeps this place value. สวนโมกข์ is only a value and I’d like it’s only a value here when people come to study and investigate the Dharma. So we thank you for making this place and our life worthwhile. That’s all for this morning