แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เมื่อวานนี้เราได้พูดกันถึงเรื่องสิ่งที่เป็น Introduction สำหรับสิ่งที่เรียกว่าธรรมมะในความหมายทั่ว ๆ ไป ส่วนในวันนี้เราจะได้พูด Introduction ของธรรมะที่เป็นหัวใจแห่งพุทธศาสนาโดยเฉพาะ
ก็ได้พูดกันถึงข้อที่ว่าธรรมะ-ธรรมะ หมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร-ไม่ยกเว้นอะไร เดี๋ยวนี้เราจะพูดถึงหัวใจของธรรมะที่มีชื่อว่า “อิทัปปัจจัจยตา ปฏิจจสมุปปาโธ” หรือเรียกสั้น ๆ ว่าปฏิจจสมุปบาท ซึ่งมันก็ครอบงำทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรเหมือนกันในบรรดาที่เป็นสังขารหรือสังขตะ คือ Compounded thing
ถ้าเรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันก็คือรู้เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสรู้ ตรัสรู้ก็คือตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
เพื่อเข้าใจง่าย เราจะต้องรู้จักสิ่งทั้งปวงทั้งหลายทั้งปวงนั้นเป็น ๒ ประเภทด้วยกัน คือสิ่งที่เป็นสังขตะ นี่พูดถึงบาลีฟังยาก ก็ว่ามีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง หรือเป็น compounded เป็น conditioned นี้อีกพวกหนึ่ง และอีกพวกหนึ่งไม่เป็นอย่างนั้น คือไม่เป็นอย่างนั้นโดยประการทั้งปวง รู้จักแบ่งสิ่งทั้งปวงออกเป็น ๒ ชนิดอย่างนี้แล้วจะเข้าใจได้ง่าย
สิ่งที่เรียกว่าปัญหา ๆ หรือความทุกข์นี่ มันมีอยู่แต่ในฝ่ายที่เป็นสังขตะ ไม่มีในฝ่ายที่เป็นอสังขตะ เรื่องปฏิจจสมุปบาทมันก็มีแต่ในส่วนที่เป็นสังขตะ เราตั้งใจที่จะรู้จักส่วนนี้ให้ดีที่สุดเสียก่อน
อุปมาที่ทำให้เข้าใจได้ง่ายที่ใช้กันมาแต่กาลก่อนโน้นในส่วนที่เป็นฝ่าย compounded thing นี่ก็เรียกว่าวัฎฎะ-วัฏฏะสังสาระ คือการที่หมุนอยู่เสมอ-หมุนอยู่เสมอ หมุนเวียนอยู่เสมอเลยเรียกว่า “วัฏฏะ” มันเป็นความเป็นไปของพวกสังขตะ สังขตะคือโลกที่เรารู้จักนี่มันมีการหมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา จนใช้อุปมาว่า World pool-สังสาระ ความหมุนเวียนแห่งทะเลวน-ทะเลวน
ข้อนี้มันหมายความว่าเมื่อเราพลัดตกลงไปในสังสาระ (World pool) นั้นแล้ว เราออกมาไม่ได้-เราออกมาไม่ได้ แล้วเราก็จมน้ำตายแล้วตายอีก-จมน้ำตายแล้วตายอีก-จมน้ำตายแล้วตายอีก นี่คือความหมายของคำว่าวัฎฎะสังสาระที่เปรียบเป็นอุปมาเหมือนกับน้ำวน ทะเลวน ตกลงไปแล้ว ตายแล้วตายอีก-ตายแล้วตายอีกอยู่เป็นประจำ
ที่เราเห็นได้ง่าย ๆ ก็คือเราตกอยู่ใน World pool ของ Positiveness and Negativeness ซ้ำ ๆ ซาก ๆ- ซ้ำ ๆ ซาก ๆ-ซ้ำ ๆ ซาก ๆ อยู่จนตลอดชีวิต
ถ้าพูดให้ชัดให้เห็นง่าย ๆ ถ้าเป็นเด็ก ๆ ก็เข้าใจคือ World pool ของดีใจ เสียใจ gladness and sadness
คำพูดที่เป็น tradition ที่เข้าใจกันง่าย ๆ ก็ว่า World pool ของการเกิดแล้วการตาย แล้วการเกิดอีกแล้วการตายอีก-แล้วการเกิดอีกแล้วการตายอีก อย่างนี้ก็มี
แต่ที่ละเอียดลึกซึ้งจริง จริงอย่างละเอียด จริงอย่างลึกซึ้งนั่นก็คือ หมุนเวียนของสิ่ง ๓ อย่าง-ของสิ่ง ๓ อย่าง คือความอยาก หรือความต้องการนั้นอย่างหนึ่ง แล้วการกระทำ-กระทำ-กระทำตามที่อยากต้องการ แล้วก็เกิดผลขึ้นมาเป็น fruit เป็น reaction ขึ้นมา แล้วมันก็อยากอีก มันอยากต่อไปอีก แล้วก็ทำอีก แล้วก็อยาก แล้วก็ได้ผล แล้วก็อยากอีก แล้วก็ทำอีก แล้วก็ได้ผล แล้วก็อยากอีก แล้วก็ทำอีก แล้วก็ได้ผล นี่เป็นสาม ๓ ส่วนอยู่อย่างนี้ นี่เป็นวัฎฎะที่ละเอียดลึกซึ้งและเลวร้ายที่สุด ต้องทำความเข้าใจกับมัน
มันมีลักษณะเป็น ๓-๓ factors ในวันหนึ่ง ๆ แต่ละวัน-ละวันเราต้องการอะไร แล้วก็ทำเพื่อให้ได้สิ่งนั้น แล้วเราก็ได้มา แล้วก็ต้องทำต่อไปอีก แล้วก็ทำแล้วก็ได้มา ในวันแต่ละวัน-ละวัน-ละวันนี่มีกี่รอบ คงจะนับไม่ไหว-จะนับไม่ไหว แต่ละวันนี่มีกี่รอบ นี่คือ World pool ของสังสาระที่แท้จริงในแต่ละวัน-แต่ละวันของมนุษย์คนหนึ่ง ๆ
อาการที่เป็นอย่างนี้แหละ เราเรียกว่าอาการของปฏิจจสมุปาทะ คือ ปฏิจจสมุปบาท-Dependent origination ต้องดูให้รู้จัก-ให้รู้จักมันเหมือนกับที่เรารู้จักสิ่งต่าง ๆ ในบ้านในเรือนนี่ รู้จักมันให้ดีที่สุด นี่ต้องศึกษา ปฏิจจสมุปบาทในสิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของเราแต่ละคน-ละคน
ในแต่ละวัน-แต่ละวันเรามีปัญหาเกี่ยวกับข้อนี้ เดี๋ยวเรื่องสุขภาพอนามัยบ้าง เรื่องครอบครัวบ้าง เรื่องเศรษฐกิจบ้าง เรื่องการงานบ้าง เรื่องความได้ความเสียความแพ้ความชนะในแต่ละวัน-แต่ละวัน-แต่ละวันนี่ เรียกว่า World pool หรือวัฎฎะที่จิตของเราถูกกักขังอยู่ ถูกกักขังอยู่เหมือนกับติดคุกติดตารางออกไปไม่ได้ ก็ต้องอยู่ในวัฎฎะนี้ตลอดเวลา นี่เรียกว่าเราตกอยู่ในอำนาจของปฏิจจสมุปบาท เราต้องเข้าใจกันให้ดีเป็นพิเศษ
ถ้าจิตของเราออกไปได้จากไอ้วัฎฎะนี้ จาก World pool อันนี้เราเรียกว่าวิมุติ คือ Salvation-Salvation ที่เป็นจุดหมายปลายทางของจิตของชีวิต ถ้าเราไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทดี เราออกไม่ได้ เราจะติดอยู่ที่นี่เหมือนติดคุกติดตารางตลอดไป นี่คือความสำคัญของเรื่องปฏิจจสมุปบาท
Salvation ในลัทธิศาสนาอื่นอาจจะอธิบายเป็นอย่างอื่น รูปแบบ (Metaphor) เป็นอย่างอื่น แต่ว่าในพุทธศาสนานี้มีอย่างนี้-มีอย่างนี้ ติดอยู่ในวัฎฎะ คือหมุนอยู่ในวงกลมของปฏิจจสมุปบาทจนกว่าจะออกไปได้
ในพุทธศาสนาเมื่ออกไปจากกรงขังเหล่านี้ได้ก็เรียกว่าบรรลุ “นิพพาน” หรือว่าในคริสเตียนนิตี้อาจจะพูดว่าไปอยู่ในโลกพระเจ้า หรือในฮินดูลิสซึ่ม อาจจะบอกว่าไปอยู่กับอัตตานิรันดร (Eternal Self) ก็ได้แล้วแต่จะเรียก แต่ความหมายก็คือหลุดออกไปได้จากวัฎฎะอันนี้ คือวัฎฎะแห่งปฏิจจสมุปบาทนี่
ถ้าจะพูดให้ลูกเด็ก ๆ ของเราเข้าใจก็พูดว่า เราออกไปจากเสียวงกลมที่ทำให้เราต้องหัวเราะร้องไห้-หัวเราะร้องไห้-หัวเราะร้องไห้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่จะพูดให้ลูกเด็ก ๆ ของเราเข้าใจ เราก็จะต้องพูดอย่างนี้
ถ้าจะพูดเป็นเรื่องของธรรมดา ๆ หรือจะเป็นวิทยาศาสตร์บ้างก็คือว่า หลุดพ้นออกไปเสียได้จากสิ่งที่เป็นปัญหา ปัญหาทางทฤษฎีเป็น Question ปัญหาทางปฏิบัติ เป็น Problem ปัญหาทุกอย่าง ปัญหาทุกชนิดออกไปเสียได้จากปัญหา-จากปัญหา นี่คือ Salvation สำหรับทั่วไป ๆ
ดูให้ดี เราถูกขังอยู่ในกรงของปัญหา ของ problem-ปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ตลอดเวลาหรือเปล่า ทำไมท่านต้องไปที่นั่น ต้องมาที่นี่ ต้องศึกษาอย่างนั้น ต้องทำอย่างนี้ ก็เพราะมันมีปัญหา-เพราะมันมีปัญหา ต้องการจะออกจากปัญหาจึงดิ้นรน ค้นคว้า แสวงหาเพื่อจะออกจากคุกตารางแห่งปัญหา หรือคุกตารางแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นเอง
เมื่อตกอยู่ในกรงขังของปฏิจจสมุปบาท ชีวิตนั้นจะมีความเห็นแก่ตัว (Selfishness) ชีวิตนั้นจะมีความเห็นแก่ตัวเพราะเขาถูกหลอกให้ติดอยู่ในกรงขังของปฏิจจสมุปบาท มันจะเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว
เดี๋ยวนี้โลกทั้งโลก โลกของเราทั้งโลก มันตกอยู่ใต้กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือใน World pool สังสาระ of ปฏิจจสมุปบาท โลกนี้จึงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว เต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวทั่วทั้งโลก
ผลที่ตามมาก็คือวิกฤติการณ์ วิกฤติการณ์ (Crisis) ทั้งหลาย หาความสงบสุขไม่ได้ทั่วไปทั้งโลก ทั่วไปทั้งโลกมีแต่ความเห็นแก่ตัว
เราพูดได้-พูดได้โดยไม่กลัวใครค้าน พูดได้ว่าทุกชีวิตมันเห็นแก่ตัว ประเทศมหาอำนาจ ประเทศใหญ่ ๆมหาอำนาจก็เห็นแก่ตัว ประเทศเล็ก ๆ ด้อยพัฒนาก็เห็นแก่ตัว คนมั่งมีก็เห็นแก่ตัว คนยากจนก็เห็นแก่ตัว นายจ้างก็เห็นแก่ตัว ลูกจ้างก็เห็นแก่ตัว คนขายก็เห็นแก่ตัว คนซื้อก็เห็นแก่ตัว ในที่ทุกแห่งเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัวเพราะมันถูกขังอยู่ในกฎของความไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือปฏิจจสมุปบาทมันครอบงำทำให้เห็นแก่ตัว
เรื่องการเมือง-เรื่องการเมืองก็เป็นเรื่องความเห็นแก่ตัวของผู้เห็นแก่ตัว เรื่องเศรษฐกิจก็เป็นเรื่องเห็นแก่ตัวของผู้เห็นแก่ตัว เรื่องสังคมก็สังคมกันด้วยความเห็นแก่ตัว ด้วยความเห็นแก่ตัวมันจึงเป็นสังคมที่เป็นไปเพื่อ ๆวิกฤติ ไม่ใช่เพื่อสันติภาพ นี่มองดูกันอย่างนี้ก่อนว่ามันเป็นปัญหาของโลกทั้งหมด มันเป็นปัญหาของคนทุกคน ๆ
พรรคการเมืองทุกพรรค ตกอยู่ใน world pool-สังสาระของความเห็นแก่ตัว ดังนั้นพรรคการเมืองจึงไม่ช่วยให้โลกนี้มีสันติภาพได้ ในเมื่อตัวเองเป็นผู้ไม่มีสันติภาพเสียเองอยู่ตลอดเวลา เพราะว่าไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ควบคุมปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ ความเห็นแก่ตัวมันก็ควบคุมคนนั้น มาบังคับคนนั้นให้เป็นไปอย่างที่ไม่ อย่างที่เห็นแก่ตัว-เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ความถูกต้อง นี่คือปัญหาทั้งโลก
ไอ้กลโกง-กลโกงสำหรับเอาเปรียบ ไอ้ cunning, cunning มันมาจากเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวมันมาจากไม่รู้เรื่อง Dependent origination ถ้าเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทดี จะไม่เกิดความเห็นแก่ตัว และกลโกงที่จะทำให้โลกมีวิกฤติมันก็ไม่มี มันก็มีสันติภาพกันทั้งโลก
ถ้ามนุษย์รู้จักปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ มันจะไม่เกิดความยึดมั่นถือมั่น (Attach) ในสิ่งที่เรียกว่าตัว และมันก็ไม่เห็นแก่ตัว มันก็มีแต่ความถูกต้อง ๆ ซื่อตรงบริสุทธ์ ปัญหามันก็ไม่มี ดังนั้นเราจึงสรุปความสั้น ๆ ว่าปัญหายุ่งยาก (Crisis) ทั้งหลายมีในโลกนี้ก็เพราะเขามีความเห็นแก่ตัว เพราะเขาไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้เราก็จะมาดูกันถึงตัวสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทนี้โดยเฉพาะ ให้รู้จักตัวปฏิจจสมุปบาทโดยเฉพาะ
ท่านเข้าใจได้ตามคำที่ใช้เรียกว่า depend เมื่อ depend กับสิ่งนี้แล้วก็จะเกิดของใหม่คือสิ่งนี้ แล้ว depend กับสิ่งนี้ก็จะเกิดของใหม่คือสิ่งนี้ on and on and on depending นี่คืออาการที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท
ปัญหาของแต่ละคน ๆ มันเป็นอย่างนี้ คือปัญหาทางสุขภาพอนามัยก็ดี ปัญหาทางเศรษฐกิจก็ดี ปัญหาทางครอบครัวก็ดี ปัญหาทางสังคมก็ดี มันมีลักษณะเป็น pending on, pending on แล้วก็มีติดต่อกันไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าเราควบคุมไม่ได้นั่นแหละคือปัญหา ทำให้เราเกิดความทุกข์ มีความทุกข์เพราะเราควบคุมกระแส-กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไม่ได้
ท่านก็ดูเอง เห็นได้เองว่าปฏิจจสมุปาทะมันอยู่ที่ไหน-มันอยู่ที่ไหน ก็มันอยู่ที่คนแต่ละคน-แต่ละคน ในชีวิตประจำวันของแต่ละคน ๆ มันมีอาการอย่างนี้ตลอดเวลา ตลอดวัน ตลอดคืน ของแต่ละคน ๆ เพราะฉะนั้นดูตัวปฏิจจสมุปบาทก็ต้องดูที่ตัวชีวิต-ดูที่ตัวชีวิต ตัวชีวิตนั่นแหละมันเป็นตัวปฏิจจสมุปบาท
เราดูข้างใน เมื่อย้อนไปดูข้างในตัวเรา คือร่างกายนี้ อัตภาพนี้ one person นี้มันก็มีกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทเหลือประมาณ มันมีอะตอม มันมีโมเลกุลแล้วมันก็มี element ต่าง ๆ ประกอบกันขึ้นเป็นส่วนนั้นส่วนนี้ของร่างกาย แล้วประกอบกันอยู่เป็นร่างกายก็อาศัยกันและกัน-อาศัยกันและกัน-อาศัยกันและกัน ชีวิตนี้มันจึงอยู่ได้-มันจึงอยู่ได้เพราะการอาศัยซึ่งกันและกัน นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทในภายใน-ในภายใน ในตัวเรา
ดูข้างใน-ดูข้างในก็จะเห็นว่าเต็มไปด้วย dependent origination เต็มไปด้วย dependent origination มากอัดแน่นเหลือประมาณ นี่ดูข้างในก็จะเห็นปฏิจจสมุปบาท
ที่นี้ก็ดูข้างนอก เพราะข้างนอกแต่ละคนมันก็ต้องเกี่ยวข้องกับทุกสิ่ง เกี่ยวข้องกับวัตถุก็มี เกี่ยวข้องกับบุคคลก็มี เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ก็มี เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ที่มันเป็นธรรมดาในโลกที่ต้องมีในโลก มันก็เต็มไปด้วยการเกี่ยวข้อง ๆ แล้วก็ปรุงแต่ง ๆ ให้เกิดสิ่งใหม่-สิ่งใหม่-สิ่งใหม่ เกี่ยวพันกัน-เกี่ยวพันกันทุกคนทุกชีวิตในโลกนี่ dependent มันเกี่ยวพันกันทุกคนทุกชีวิตในโลก แล้วก็เกิดปัญหาใหม่ ๆ ขึ้นมาไม่รู้จักสิ้นสุด นี่ที่เป็นภายนอก dependent origination ที่เป็นภายนอก ภายนอกจากตัวเรา
เมื่อมันเกิดปัญหา ๆ อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้ว มันก็เนื่องกันกับปัญหาอื่นต่อไป-ต่อไป-ต่อไปที่เรียกว่า dependent, dependent, depend on and on ปัญหาทั้งหมดมันจึงเนื่องกันถึงกันหมดเป็นปัญหาของโลกทั้งโลกซึ่งเรายังแก้ไขไม่ได้
เดี๋ยวนี้เรามีการศึกษา การศึกษาเจริญ มีเทคโนโลยีเจริญ มีอะไร ๆ ก็เจริญ ๆ เราเรียกมันว่าเจริญ แต่มันไม่แก้ปัญหาเหล่านี้ได้ มันกลับเพิ่มให้ปัญหาเหล่านี้มากขึ้นเพราะว่ายิ่งเจริญก็ยิ่งเห็นแก่ตัว-ยิ่งเจริญก็ยิ่งเห็นแก่ตัว แม้เรามีศาสนา-เรามีศาสนาอย่างที่เรามี มันก็ยังแก้ปัญหานี้ไม่ได้เพราะคนไม่ปฎิบัติศาสนา เพราะคนไม่รู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ศาสนาก็ยังช่วยแก้ปัญหาไม่ได้ การศึกษาอย่างทั่วไปก็แก้ไม่ได้ การศึกษาอย่างทางวิทยาศาสตร์ก็ยังแก้ไม่ได้ การศึกษาอย่างศาสนาก็ยังแก้ไม่ได้เพราะมันไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท
เดี๋ยวนี้เรามีความรู้เรื่อง philosophy เต็มไปทั้งโลก-เต็มไปทั้งโลก เต็มเหลือที่จะเต็ม ความรู้ทาง philosophy มันก็แก้ปัญหานี้ไม่ได้เพราะมันไม่รู้เรื่องความจริงที่เป็นต้นเหตุ-เป็นต้นเหตุที่แท้จริงคือความรู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท มันจึงแก้ปัญหาไม่ได้ มีความรู้ทาง philosophy เท่าไร เจริญทางวัตถุเท่าไร มันก็แก้ปัญหาไม่ได้
ทำไมปัญหาจึงเพิ่มขึ้นในโลกนี้ ปัญหาทางอะไร มลภาวะ (Pollution) ก็มากขึ้น ปัญหาทางอุบัติเหตุ (accident) ทั้งหลายมันก็มากขึ้น ปัญหาทางยาเสพติด ๆ มันก็ยังมากขึ้น ปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอย่างโรคที่กำลังกลัวกันทั้งโลก เช่น โรคเอดส์ มันก็มา ทำไมปัญหาถึงมามากมายอย่างนี้ เพราะไม่รู้จักต้นเหตุแห่งปัญหา คือ ปฏิจจสมุปบาท
มูลเหตุหรือต้นเหตุอันแท้จริง มันอยู่ที่ความไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันจึงโง่ มันจึงทำให้ปรุงแต่ง ๆ ๆไปในทางเป็นปัญหา มีกิเลส มีความเห็นแก่ตัวชักนำไป-ชักนำไป ไอ้โลกนี้ก็ตกลึกลงไปในปัญหาทุกที วิกฤตการณ์ ๆ ความเลวร้ายมากขึ้นในโลก-มากขึ้นในโลกเพราะไม่รู้จักต้นเหตุอันแท้จริง คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท และไม่ได้ประพฤติให้ถูกต้อง
มันน่าสงสาร-น่าสงสารถึงกับว่าถ้าจะมีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทบ้าง รู้จักกฎเกณฑ์อันนี้บ้างมันก็เอาไปใช้เป็น cunning, cunning ถ้าเราหาประโยชน์สำหรับจะหลอกลวงผู้อื่น สำหรับจะเอาเปรียบผู้อื่นไปเสียอีก มันเป็นcunning ปฏิจจสมุปบาทไปเสีย มันเลยยิ่งร้ายกว่าเดิม
เรามันหลอกลวงตัวเองที่จะเอาแต่ประโยชน์-จะเอาแต่ประโยชน์ เห็นอยู่ว่าอย่างนี้ถูกต้อง เราก็ไม่เอาถ้าเราไม่ได้ประโยชน์ อย่างนี้ไม่ถูกต้องแต่เราได้ประโยชน์เราก็เอา ในโลกมันเป็นเสียอย่างนี้ เพราะฉะนั้นในโลกนี้มันจึงเต็มไปด้วยเรื่องกลโกง เรื่องหลอกลวง เรื่องเอาเปรียบ จึงทำให้วิกฤตการณ์เต็มไปทั้งโลก-เต็มไปทั้งโลก
เราไม่ซื่อตรง-ไม่ซื่อตรง ไม่ faithful ต่อความถูกต้อง ต่อความจริง ต่อความถูกต้อง เราซื่อตรงต่อประโยชน์ของเราเท่านั้น เราซื่อตรงต่อจะได้ประโยชน์ของเราเท่านั้น เรากลับซื่อตรง ไม่ซื่อตรงต่อความจริง ความถูกต้อง ไม่ซื่อตรงต่อพระเจ้า ไม่ซื่อตรงต่อศาสนา เราซื่อตรงแต่ต่อประโยชน์ของเราเท่านั้น มันเป็นเสียอย่างนี้ นี่เพราะเราไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทว่านี่เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤตการณ์กันทั้งโลกคือความเห็นแก่ตัว บูชาประโยชน์ของตัว ไม่บูชาความจริงหรือความถูกต้อง คือ ปฏิจจสมุปบาท
เมื่อเราไม่ซื่อตรงต่อความถูกต้อง เราก็ไม่พบต้นเหตุอันแท้จริง-ไม่พบต้นเหตุอันแท้จริง เราก็ไม่ได้แก้ปัญหาที่ต้นเหตุอันแท้จริง เราก็เลยแก้ที่ปลายเหตุที่ประโยชน์ของเรา ที่การได้ของเรา มันจึงไม่ตรงกับความจริง มันจึงแก้ปัญหาอะไรไม่ได้เพราะไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ เพราะไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท จึงไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ
มีคำกล่าวที่ควรจะสนใจว่า เมื่อแก้ปัญหาที่ปลายเหตุมันแก้ไม่ได้ มันไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุ จะเป็นคำกล่าวของยุโรป หรือของเอเชีย หรือของตะวันออกกลางมาแต่โบราณกาลนานไกลแล้วไม่ทราบ-ไม่ทราบได้ แต่กล่าวตรงกันว่า ถ้าแก้ที่ต้นเหตุนี่ จะสำเร็จประโยชน์ มันเป็นลูกสิงห์โต (Lion) ถ้ามันแก้ที่ปลายเหตุมันโง่ มันแก้ไม่ได้ มันเป็นลูกหมา หมานี่มันโง่กว่า ถ้าคุณเอาไม้ไปแหย่หมา-เอาไม้ไปแหย่หมา หมาก็จะกัด กัดอยู่ที่ปลายไม้นั่นแหละ ที่ปลายไม้ที่คนแหย่ แต่ถ้าคนไปแหย่สิงห์โต มันจะกระโจนเข้าไปที่คนถือไม้ มันไม่มัวกัดอยู่ที่ปลายไม้เหมือนกับลูกหมา ถ้าเป็นลูกหมามันก็แก้ที่ปลายเหตุ เป็นลูกสิงห์โตมันก็แก้ที่ต้นเหตุ นี่มันต่างกันลิบอย่างนี้เพราะว่ามันไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทที่เป็นต้นเหตุของสิ่งทั้งปวง
ถ้าเรายังไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เราก็ไม่อาจที่จะแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เราก็มัวแก้ปัญหาแต่ที่ปลายเหตุ-ปลายเหตุเรื่อยไป มันก็ไม่สำเร็จประโยชน์ ไม่สำเร็จประโยชน์แล้วมันยังจะเพิ่มปัญหา-เพิ่มปัญหา เพราะมันเพิ่มความเห็นแก่ตัว นี่คือความสำคัญ-ความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท หรือความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาททำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ที่ต้นเหตุแท้จริง
นี่คือความสำคัญ-ความสำคัญ ความมีค่าสูงสุดของเรื่องปฏิจจสมุปบาท คือทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ถึงต้นเหตุสุด แล้วก็หมดปัญหาด้วยประการทั้งปวง ขอให้ท่านสนใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้สมกันกับที่มันมีความสำคัญ-มันมีความสำคัญ
ในวงพุทธบริษัทนี้ให้ความสำคัญมากเป็นพิเศษในเรื่องนี้ และเราถือกันว่าความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละทำให้บุคคลเป็นพระพุทธเจ้า ทำให้คนชื่อสิทธัตถะธรรมดานี่กลายเป็นพระพุทธเจ้า ก็เพราะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วเอามาแก้ปัญหาของมนุษย์ทั้งโลกได้ นี่คุณค่าหรือความสำคัญของเรื่องปฏิจจสมุปบาท
สิ่งที่เรียกว่า Enlightnment, enlighten, enlightenment คือมัน realize ต่อปฏิจจสมุปบาท พอรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันจึงมี realization จนเป็นพระพุทธเจ้า ถ้าไม่รู้เรื่องนี้ก็ยังไม่-ไม่สามารถที่จะเป็นพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าขวนขวาย ๆ ๆ ศึกษาทุกอย่าง ๆ จนในที่สุดมารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นพระพุทธเจ้า จึงจบการศึกษา
เมื่อเรามีความสบายใจ เราร้องเพลง ๆ ตามพอใจของเรา เมื่อพระพุทธเจ้ามีความพอใจสบายใจเป็นเวลาที่ว่าง ท่านก็เกิดอาการ recited, recitation (01.10.14) เรื่องปฏิจจสมุปบาท นี่ต่างกันอย่างนี้ ต่างกันถึงขนาดนี้
ทีนี้เมื่อท่านตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านยังยืนยัน ๆ (emphasize) มาอีกว่าผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรมะ-เห็นธรรมะ เห็น The heart of Dharma หัวใจของธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นฉัน เห็นแต่ร่างกายเป็นคน ๆ นี้ ไม่ใช่เห็นฉัน ต่อเมื่อเห็นธรรมะคือเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นถึงจะเห็นฉัน ฉันอันแท้จริงที่คนเขียนเรียกว่าฉัน คือเห็นปฏิจจสมุปบาท
ท่านทั้งหลายมาที่นี่เพื่อศึกษาธรรมะ เราก็พยายามช่วยเหลือท่านได้ศึกษาธรรมะ ถึงแก่นหัวใจของธรรมะ จึงพยายามให้ท่านทั้งหลายศึกษารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วท่านก็เห็นธรรมะ แล้วท่านก็จะเห็นพระพุทธเจ้าด้วย ความหมายคุณค่าสำคัญมันอยู่ที่นี่แห่งนี้
เราขอร้อง ขอร้องให้ท่านทั้งหลายสนใจและศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปปาทะจนมีความรู้สามารถที่จะใช้ประโยชน์ได้ คือท่านสามารถควบคุมกระแส ๆ (stream) กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้แล้ว ท่านจะไม่พบกับปัญหา ท่านจะไม่พบกับความทุกข์ ท่านจะอยู่เหนือปัญหา ท่านจะอยู่เหนือความทุกข์ ถ้าท่านมีความรู้เรื่อง ปฏิจจสมุปบาท
ถ้าจะพูดให้สั้นก็ว่าท่านจะรู้ธรรมะที่เป็นหัวใจของธรรมะ แล้วท่านจะรู้จักพระพุทธเจ้าที่แท้จริงที่จะสอนให้ท่านดับทุกข์ได้ด้วยเรื่องปฏิจจสมุปปาทะนั่นเอง
ใจความสำคัญมันอยู่ที่ตรงนี้คือ ถ้าท่านเห็นปฏิจจสมุปปาทะหรืออิทัปปัจจัจยตาก็ตาม ท่านจะเห็นธรรมชาติ เห็นกฎของธรรมชาติจนไม่เห็นว่ามีตัวตน ไม่มี self ไม่มี soul หรืออะไรที่เป็นตัวตน ท่านก็ไม่มี attachment ว่าตัวตน ท่านก็ไม่เป็นทุกข์ก็เท่านั้น แล้วก็ท่านจะไม่เห็นแก่ตัว แล้วก็ทำให้ผู้อื่นเป็นทุกข์ ตัวเองก็ไม่เป็นทุกข์ ผู้อื่นก็ไม่เป็นทุกข์เพราะมีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ประโยชน์มันมีอยู่อย่างใหญ่หลวงอย่างนี้ถ้าช่วยกันทำให้เห็นปฏิจจสมุปบาททั้งโลก โลกนี้ก็เป็นโลกของพระเจ้า หรือเป็นโลกพิเศษที่ไม่มีความทุกข์เลย
ถูกแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องยาก แม้พระพุทธเจ้าก็ตรัสว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องยาก แต่มันก็ไม่เหลือวิสัย-ไม่เหลือวิสัยเรายังอาจจะเข้าใจได้ เรายังสามารถจะเข้าใจได้ เรื่องนี้มันฝืนความรู้สึกของ instinct ที่มีอยู่ในชีวิต เพราะ instinct มันจะจูงไปหา self หรือ soul เสมอ แต่แล้วเรื่องปฏิจจสมุปบาทมันก็จะดึง instinct ให้มันเป็นไปในทางที่ถูกต้องคือไม่มีตน ไม่มีตัวตน instinct มันก็กลายเป็นความฉลาด ความรู้ที่ฉลาด เป็น intuition wisdom อะไรต่อไป นี่มันไม่ยากเกิน และมันก็ไม่ขัดขวางกับ instinct แต่มันจะช่วย instinct ที่เดินไปอย่างถูกต้อง ๆ ไปจนถึงจุดสูงสุด ถึงจุดหมายปลายทางของชีวิตได้ ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายสนใจศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างเต็มที่ ๆ ถึงที่สุดเลย
สรุปใจความให้สั้นที่สุดก็คือว่า ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทมันทำให้เราเห็นได้ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามธรรมชาตินี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรเรียกว่าตัวตน แต่ถ้าท่านอยากจะเรียกว่าตัวตนก็ได้ตามใจท่าน แต่ท่านต้องบังคับมันให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามกระแสของปฏิจจสมุปบาท ถ้าท่านอยากมีตัวตน ท่านต้องมีตัวตนที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกระแสของปฏิจจสมุปบาท แต่โดยที่แท้แล้ว ปฏิจจสมุปบาทจะสอนให้ท่านมีความรู้ความเข้าใจว่าสิ่งทั้งปวงเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ควรจะเรียกว่าตัวตน มันมีความจริงอยู่อย่างนี้ มันทำให้ไขว้กันอยู่อย่างนี้ เราจะไม่มีความรู้สึกว่าตัวตนได้เพราะเห็นปฏิจจสมุปบาท แต่เราละตัวตนไม่ได้ เราก็จงรักษาตัวตนให้มันเป็นไปอย่างถูกต้องตามกระแสของปฏิจจสมุปบาทเพื่อไม่ให้เกิดความทุกข์
เอาละเราจะตั้งต้นศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทกันอย่างง่าย ๆ อย่างที่ว่าลูกเด็ก ๆ ของเราก็พอจะเข้าใจได้ ท่านทั้งหลายตั้งใจฟังให้ดี
เรามีตา สำหรับเห็น มีหูสำหรับฟัง มีจมูกสำหรับดมกลิ่น มีลิ้นสำหรับรู้รส มีผิวหนังสำหรับสัมผัส และสิ่งที่จะเข้ามาสัมผัส และเรามีจิตสำหรับคิดนึกอะไรได้ เรามี ๖ อย่างที่จะต้องรู้จักให้ดีว่าเรามี ๖ อย่างอย่างนี้จริง ๆ
ที่นี้ก็จะยกตัวเรื่องตา เป็นบทเรียนเพื่อว่า มีตาเราก็ห็นรูปเป็นตามธรรมดา ตาก็ต้องเห็นรูป มีรูปให้ตาเห็น ตามันก็เห็นรูป ผู้ที่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทจะรู้สึกว่าโอ้ระบบประสาททางตามันทำงาน มันทำหน้าที่ ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาท จะรู้สึกว่าระบบประสาททางตามันทำหน้าที่ มีการเห็นรูป แต่ผู้ไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทมันจะพูดว่ากูเห็นรูป กูเท่านั้น-กูเท่านั้นเห็นรูป ไม่รู้เรื่องระบบประสาททางตาเลย นี่มันต่างกันอย่างนี้
ที่นี้ท่านก็เปรียบเทียบดู เปรียบเทียบดูเองว่า ถ้ามันมีความรู้สึกว่าระบบประสาทตาทำหน้าที่อย่างหนึ่ง กับอีกอย่างหนึ่งรู้สึกว่ากูเห็นรูป-กูเห็นรูปอีกอย่างหนึ่ง สองอย่างนี้มันจะมี effect หรือมี reaction ต่างกันอย่างไร ต่างกันกี่มากน้อย-ต่างกันกี่มากน้อย นี่มันเรียกว่าต่างกันลิบลับคนละทิศคนละทางเลย ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทกับผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทมันเดิน ๆ กันคนละทางอย่างนี้
ถ้ารู้สึกว่าระบบประสาททำหน้าที่ มันไม่อาจจะเกิด selfishness ท่านก็พอจะเข้าใจได้ มันเพียงตาทำหน้าที่มันไม่เกิด selfishness แต่ถ้ามันกูห็นรูป-กูเห็นรูปนี่มันจะเกิด selfishness นี่มันกลายเป็นต่างกันว่าเกิด selfishness กับไม่เกิด selfishness สำหรับผู้รู้และผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
ถ้ามันเป็นเรื่องของ self เกิด self ขึ้นมา เกิดกูจะเห็นขึ้น กูเห็นขึ้นมา มันก็เกิดการอยากได้ อยากเอา อยากมี อยากเป็น อยากสะสม อยากอะไร ปัญหาทาง positive หรือ negative มันก็เกิดขึ้น และก็ทำความทุกข์ยากหรือปัญหาให้เกิดขึ้น นี่เพราะเห็นเป็นกูเห็น แต่ถ้าระบบประสาททำหน้าที่ตามหน้าที่ เราก็รู้ต่อไปว่ามันจะทำหน้าที่อย่างไร มันไม่ต้องเกิด I เห็น ไม่ต้องเกิดกูเห็น มันไม่เกิดความเห็นแก่ตัว
ทีนี้ทางฝ่ายที่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันก็รู้ว่าเมื่อตาข้างในเห็นรูปข้างนอก มันก็เกิด Eye consciousness ขึ้นที่นั่นและเดี๋ยวนั้น มันเพิ่งเกิดที่นั้นเดี๋ยวนั้น ไอ้ consciousness มันเพิ่งเกิดขึ้นที่นั่นเดี๋ยวนั้น ไม่มี perpetual consciousness มันรู้ว่า consciousness ที่เกิดขึ้นเพราะ depending between the tool ที่เรียกว่าไปตามธรรมชาติ แล้วก็มันก็เกิดหน้าที่ของตา ของรูป ของ consciousness ก็เรียกว่า contact ตามธรรมชาติ contact ตามธรรมชาติ ไม่ใช่ I ไม่ใช่กู contact นี่ตอนหนึ่งที่จะเป็นปฏิจจสมุปบาทที่จะต้องเข้าใจ
พวกที่ไม่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เขาก็เห็นไปในทางที่ว่า consciousness นั่นน่ะเป็น perpetual self เป็นอัตตาถาวร มีอยู่ตัวเดียวตลอดกาล เกิดแล้วกี่ครั้ง ๆ ก็ไอ้ตัวนั้นตัวเดียว มันมี perpetual self คือทำหน้าที่ของ consciousness หรือ consciousness เป็น perpetual self ส่วนพุทธศาสนานี่ไม่ใช่ ๆ มันเป็นเพียงปฏิกริยาของ ปฏิจจสมุปบาท มันเกิดขึ้นมาจากการ depending ระหว่างตากับรูป เป็นต้น แล้วมันก็เกิด consciousness ขึ้นมา เป็นของชั่วขณะ-ชั่วขณะ ไม่ใช่ ๆ ถาวร
ผู้ที่เห็นตามความเป็นจริงก็จะเห็นต่อไปว่า ตาแล้วก็รูป แล้วก็ consciousness คือวิญญาณทางตา บาลีใช้คำว่าสังคติ (communicate) สังคติ สามอันนี้สังคติกัน มันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่าผัสสะ หรือ contact มันก็เป็นปฏิกริยาของธรรมชาติ ไม่ใช่มีตัวมีตน มีอะไรที่ไหน เป็นไปตามกฏของอิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท (contact, contact) คือสัมผัสอารมณ์ต่าง ๆ ที่เข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจเป็นเพียง contact ชั่วขณะ (temporary) ตามธรรมชาติเท่านั้นเอง
ทีนี้เมื่อมี contact หรือผัสสะแล้ว มันก็ต้องมี reaction ของมันคือ feeling หรือเวทนา เวทนาเกิดเป็นผลจาก contact ไม่ใช่เวทนาเป็นตัวตน มันเป็นตัวเป็นตน เป็น self เป็น soul แล้วจะเกิดเวทนา รู้สึกเวทนา ไม่ใช่ ๆ มันมาจากปฏิกริยามาตามลำดับจนเกิด contact แล้ว contact ก็เป็นปฎิกริยาออกมาเป็นเวทนา เป็น feeling ดังนั้น feeling ก็ไม่ใช่ self ไม่ใช่ soul
คนที่ไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็มีความโง่ตรงนี้อีกทีหนึ่ง เช่นเดียวกับว่า consciousness เป็นตัวตน พอมาเป็นเวทนา เวทนาเป็นตัวตน-เวทนาเป็นตัวตนที่รู้สึกเวทนา นั่นเรียกว่าไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท ถ้ารู้ว่าเวทนาเป็นเพียง reaction ของ contact นี่ก็เรียกว่ารู้ตามที่เป็นจริง มีเวทนาเกิดขึ้นของมัน ไม่ให้ความสำคัญพิเศษ ๆ อะไร เป็นธรรมดา ๆ เป็นการปรุงแต่งตามธรรมดาของธรรมชาติ รู้จักเวทนาอย่างนี้แล้วก็ไม่หลงเวทนาไม่ว่าจะเป็นบวก ไม่ว่าจะเป็นลบ ก็ไม่หลงยินดี ไม่หลงยินร้าย นี่ผู้รู้ปฏิจจสมุปบาทไม่หลงในเวทนา
เมื่อเกิดเวทนาแล้วคนโง่ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทก็ไปหลงในเวทนา ถ้าเวทนาเป็นบวกมันก็ต้องการไปทางอย่างหนึ่ง คือมันต้องการอยากจะมี และอยากจะถนอม เกิด possess หรือ cherish 01.45.29 ตามแบบของความโง่ในทางบวก ถ้าเป็นในทางลบมันก็จะฆ่าเสีย มันจะทำลายเสียไปตามแบบของความโง่ แต่ถ้ารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็รู้โอ้ มันเช่นนี้เอง-มันเช่นนี้เอง เราจะไม่ไปอยาก หลงอยากตามความหมายที่เวทนาเป็นบวกหรือเป็นลบ นี่คือเวทนาไม่ให้เกิดตัณหา แต่ถ้าไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เวทนาก็ให้เกิดตัณหา ตัณหาที่จะเอา จะได้ จะมี หรือที่จะถนอม ที่จะรักษา หรือที่ว่าจะทำลายเสีย อย่างนี้เป็นต้น ก็เรียกว่าเป็นตัณหา เราจะไม่มีตัณหาหรือความอยากที่โง่ ๆ ความต้องการที่โง่ ๆ อย่างนั้นไม่มี แต่ถ้าไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทมันจะมี-มันจะมีความอยากที่โง่ในความเป็นบวกเป็นลบของเวทนา นี่ต่างกันระหว่างผู้รู้ปฏิจจสมุปบาท กับผู้ไม่รู้ปฏิจจสมุปบาท
ในที่สุดคนโง่นั้นก็ตกเป็นทาสของเวทนา enslave by เวทนา (1.48.20) ท่านทั้งหลายตกอยู่ในลักษณะอย่างนี้หรือเปล่า ท่านทั้งหลายเป็นทาสของเวทนาหรือเปล่า ตอนนี้สำคัญมากถ้าตกเป็นทาสของเวทนาแล้วจะมีแต่ความสุข
ทุกคนในโลกต้องต่อสู้ struggle, struggle, struggle ตลอดเวลาทั้งวันทั้งคืน นั่นเพราะว่าเขาเป็นทาสของเวทนา
คือเวทนาทำให้เขาเกิดความรู้สึกว่า self ว่าตัวตน ว่า self-self ผู้ได้เวทนาที่เป็นบวก ได้เวทนาที่เป็นลบ มี self เกิดขึ้นมา มีอัตตา หรือ self หรือ soul เกิดที่ตรงนี้ เกิดที่โง่ต่อเวทนา แล้วก็ enslave by (01.49.55) เวทนาแล้วก็ทำให้เกิดตัวตน ๆ ตัวตน-อัตตา นี่ปัญหาอยู่ที่ตรงนี้ ถ้ามีอัตตาเกิดขึ้นมาแล้วก็จะต้องเป็นไปในทางความทุกข์ ถ้าเป็นธรรมชาติ เป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวอัตตาแล้วก็จะไม่เกิดความทุกข์ จะปฏิบัติใด ๆ ก็ไม่เกิดความทุกข์
เวทนาทำให้เกิดตัณหาคือความอยากอย่างโง่ ความอยากที่โง่เขลา มันก็เรียกว่าตัวตนขึ้นมา-ตัวตนขึ้นมา รู้สึกอย่างไรก็เป็นตัวตนอย่างนั้น เป็นตัวตนบวกเป็นตัวตนลบก็ตาม อย่างนี้เรียกว่าอุปาทานะ อุปาทานะ (attachment) ได้เกิดขึ้นแล้วตามอำนาจของตัณหา คนไม่รู้ปฏิจจสมุปบาทก็จะต้องเกิดตัวตนอย่างนี้ ที่มีตัวตนขึ้นมาจากความโง่ เป็นตัวตนของความโง่แล้วก็เต็มไปด้วยตัณหา
เมื่อมีอุปาทานะ นี่ก็หมายความว่ามันมีความโง่ถึงที่สุด ความโง่เป็นผู้สร้าง concept ว่าอัตตา ว่าตัวตน ตอนนี้เรียกว่าอัตตา หรือตัวตนมันเกิดขึ้นมาแล้วด้วยความโง่ มันคือ ...01.53.01 จากอวิชชาคือความโง่ นี่เป็นจุดตั้งตนของไอ้ความมี ความเป็น แต่ในท้องมารดาหรือจะนอกท้องมารดา เหมือนกันแหละ เดี๋ยวนี้เราเกิดมาแล้ว เราก็จะเกิดอีกทุกคราวที่เรามีเวทนา มีตัณหา มีอุปาทาน เราคิดอย่างไรเราจะเกิดอย่างนั้น เราคิดดีเกิดเป็นคนดี คิดชั่วเกิดเป็นคนชั่ว คิดอย่างสัตว์เดรัจฉานก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ถ้าเราเกิด ๆ ๆ ๆ ไปตามเวทนา ตามตัณหา ตามอุปาทาน มันปรุง นี่เรียกว่าความเกิดที่เป็นปัญหา ถ้าเรารู้เรื่องนี้ดีเราจะไม่รู้สึกอย่างนี้ เราจะไม่เกิดความรู้สึกอย่างนี้ เราจะมีแต่สติปัญญาว่าเราจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร-จัดการกับเรื่องนี้อย่างไร จัดการกับเรื่องนี้อย่างไรโดยไม่ต้องมีตัวตน ไม่มี self ไม่มี selfishness แล้วก็ไม่มีปัญหา
ความเกิดแห่งตัวตน Illusive, delusive self มันเกิดขึ้นแล้ว นี่เรียกว่าภพ ภว-ภว (existent) .55.41 พอมันแก่เต็มที่มันถึงขนาดสูงสุดเต็มที่ก็เกิดเป็นตัวกู เป็นแบบหนึ่ง-แบบหนึ่ง-แบบหนึ่ง ตัวกูแบบหนึ่ง-ตัวกูแบบหนึ่ง ซึ่งก็เรียกว่าชาติ ชาติคือ born มันมีชาติคือ born นี่วันหนึ่งไม่รู้กี่สิบครั้งกี่ร้อยครั้ง born นี่วันหนึ่งไม่รู้จะกี่สิบครั้งร้อยครั้ง คนธรรมดาเข้าใจไม่ได้ คนที่รู้ปฏิจจสมุปบาทเข้าใจไม่ได้ ถ้าเข้าใจได้ถ้ารู้ว่าเรา born-born ชาติ-ชาติ นี้อยู่ตลอดเวลา แต่ละวัน-แต่ละวันตลอดชีวิต มัน born เรื่อย เดี๋ยว born อย่างนั้น เดี๋ยว born อย่างนี้ เดี๋ยว born อย่างโน้น ไม่ต้องตาย ไม่ต้องเข้าโลง มันก็ born อยู่ที่นี่ นี่ปฏิจจสมุปบาทมาถึงขั้นที่เรียกว่าชาติ-ชาติ เกิดตัวกู-เกิดตัวกู อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น นับไม่ไหว born ตลอดวัน ตลอดคืน ตลอดชีวิต
จงรู้จักเกิด เกิดหรือ born อย่างนี้อยู่ตลอดเวลา-ตลอดเวลา ที่ยังไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท เมื่อมีตัวตนเป็นตัวตน born ขึ้นมาแล้ว อะไร ๆ มันเนื่องกับตนมันก็พลอยมีปัญหา ถ้าเรามีตัวตัวตน เราต้องมีของตนที่ concern อยู่กับอัตตา นั่นแหละเรียกว่าอัตตนียา มีตัวตน มีของตน ปัญหาก็เพิ่มขึ้น ๒ เท่า ๓ เท่า มันก็ลำบากด้วยตัวตน และด้วยของ ๆ ตน นี่คือความทุกข์
เรายังจะต้องรู้เรื่องการควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทให้อยู่ในการควบคุมของเราแล้วไม่มีความทุกข์ ซึ่งก็มีเรื่องยืดยาวอีกเรื่องหนึ่ง แต่นี่เวลาก็สมควรแล้ว หมดแล้ว ขอเก็บไว้พูดในวันหลัง วันนี้จึงยุติเพียงว่า เกิดความทุกข์เพราะไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย ผู้ตั้งใจฟังที่ดีตลอดเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว และขอยุติการประชุมในวันนี้ ไว้พูดต่อในวันหลัง
อย่าลืมเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน เดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดินให้กลับไปเซ็นเตอร์
Doing without the doer เป็นบทเรียน-เป็นบทเรียนตลอดเวลา เป็น lesson, lesson เป็นบทเรียนตลอดเวลา
ขอบคุณ ขอบคุณ ขอบคุณ