แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ตั้งใจว่าจะพูดเรื่องที่สำคัญ เป็นเรื่องเป็นเรื่องตายก็ยังได้ เรื่องที่สำคัญที่ต้องรู้ โดยหลักพื้นฐานแม่นยำผิดพลาดไม่ได้เป็นเรื่องอะไรบ้าง ในครั้งแรกมันน่าจะเรื่อง ๕ น. ในโลกเวลา ๕ น. เป็นอย่างไรบ้างมันคักคึกเท่ากับไก่ไหมเวลาตื่นมาเวลา ๕ น. มีความแคล่วคล่องว่องไวคักคึกเหมือนกับไก่ไหม หรือว่างัวเงียๆหรือว่าง่วงไหม ต้องไปล้างหน้ากันไป พอตื่นขึ้นจับดินสอเรียนหนังสือทันทีได้ไหมหรือว่ายังต้องไปล้างหน้ายังต้องไปทำอะไรกันเสีย หรือว่าต้องพักกันก่อนก็ได้จึงจะมาถือหนังสือได้ นี่โลกเวลา ๕ น.
ไก่มันขันตั้งแต่ตี ๒ เริ่มขันตั้งแต่ตี ๒ ขันครั้งแรกราวๆตี ๒ แล้วมันก็ขันต่อมาเรื่อยๆ นี่เวลา ๕ น.ของไก่นี่มันเวลาทำงานแล้ว ลองหัดฝึกเรื่องนิสัยอะไรนี่ให้เหมือนไก่ นี่activeตั้งแต่เวลา ๕ น. ไม่ล้างหน้าๆทำอะไรบ้างลองดูซิ นี่อาตมาล้างหน้าไม่ถึงสองสามหน มันไม่ล้างหน้าเพราะพอลุกขึ้นมันจับปากกาแล้วมันเขียนเลยลืมล้างหน้า ปีหนึ่งจะล้างหน้าสักสองสามหนก็ยังยาก มัน active ตั้งแต่เมื่อนอน เมื่อยังนอนอยู่ พอลุกขึ้นจับปากกาเขียนได้ทันที ขอให้ถือว่าเป็นเวลาที่มันเหมาะสมที่สุด active ที่สุด พร้อมที่สุด ฉลาดที่สุด ก็จะทำงานได้มาก ทำงานได้มาก และก็บางทีจะดีที่สุดด้วย
ไอ้ที่เขียนกลอนบทที่เรียกว่า ถ้าว่าดีจะเรียกว่าดี บทไหนที่เรียกว่าดีโดยมากมันเขียนเวลา ๕ น. หรือแม้แต่ความคิดข้อหนึ่งข้อใด ประเด็นใดประเด็นหนึ่ง มันเกิดแหลมคมเมื่อเวลาอย่างนี้ แล้วก็รีบเขียน รีบเขียนไว้เดี๋ยวมันลืม ถ้าไม่รีบเขียนไว้ก็ลืมหมด พอสว่างจ้าหายหมดไม่รู้มันหายไปไหนหมด ขอให้ใช้เวลาบนโลกเวลา ๕ น.นี่มีค่าที่สุด มากที่สุด แล้วก็จักทำงานได้มากกว่าธรรมดามากที่สุด
ถ้าว่าพระพุทธเจ้าท่านเป็นหลัก ท่านก็ตรัสรู้เวลา ๕น.หรือพอจะสว่างไม่ใช่สว่างจ้า ไม่ใช่สว่างจ้าจึงจะตรัสรู้ ตรัสรู้ตั้งแต่ยังไม่ทันมีแสงสว่าง ก็ตั้งแต่เริ่มจะอรุณ จะอรุณเป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นเวลาที่ระบบประสาทพร้อมที่สุดเพราะมันพักผ่อนมาเต็มที่แล้ว และอะไรมันก็มากพอๆ มันปรุงออกมามากพอ อย่างนั้นพอสายเสียแล้วมันก็ฟุ้งซ่านไปหมดแล้ว มันต้องฝึกต้องหัด หรือต้องฝึกมันถึงจะทำกะมันได้ ถ้าปล่อยมันตามสบายมันมักจะนอนสบาย มันกำลังนอนสบาย อากาศก็ให้นอนสบาย ก็ขอสรุปความว่า ใช้โลกเวลา ๕ น.ให้เป็นประโยชน์มากที่สุดๆ เราละอายแมวไหม มันไม่ต้องล้างหน้าก็ทำงานได้ทันที แมวไม่ต้องล้างหน้าก็ทำงานได้ทันทีดูตาของมันซิ ตื่นเวลา ๕ น.ความคิดอะไรที่มันเกิดขึ้นหรือจะเกิดขึ้น พยายามทำให้มันเป็นตัวหนังสือเสีย เปลี่ยนความคิดให้เป็นตัวหนังสือเสียก็จะอยู่เป็นประโยชน์ไปอีกนาน
สมุดบันทึกเล่มเล็กมีอยู่เล่มสำหรับบันทึกไอ้ความคิดชนิดนี้ เป็นหัวข้อสั้นๆสั้นๆ เรื่องของจิตนี้มันประหลาดอยู่ ไอ้ที่มันออกมาเองนะมันคล้ายกับข้างในมันปรุงของมันอยู่เรื่อย มันปรุงปรุงแต่งสังขารของมันอยู่เรื่อย พอปะเหมาะมันก็สำเร็จรูปออกมาเป็นความคิดสมบูรณ์เด็ดขาดเลย ในเรื่องธรรมะที่ลึกๆเลยรีบเขียน มันน้อยคนที่จะยินดีใช้โลกเวลา ๕ น. เอาเป็นเวลาหลับสบายหรือว่ากำลังหลับสบายที่สุด แต่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลา ๕ น.ลองคิดดูตามกันเป็นอย่างไร ถ้าถือตามบาลีก็นั่งมาตั้งแต่หัวค่ำแล้วมันก็ตรัสรู้เวลา ๕ น. มันก็หมายความว่าก็คืนนั้นมันไม่ได้นอนเลย ไม่ได้นอนเลยความคิด ประมวลกันรวมตัวกันอะไรกันจนในที่สุดสรุปไปได้ว่าอย่างนั้น ตรัสรู้
และต่อมาตามที่เราเชื่อถือกันได้ ตามไอ้บทที่ท่านร้อยกรองกันที่หลัง ไม่ใช่พระพุทธเจ้าตรัสเอง ๕ น. ตื่น ๕ น.ไปเถอะ “ พลับเพลา พลับเพ วิโรธนัง” (นาทีที่ ๑๑:๕๐.๙)เวลานี้เวลา ๕ น.นี้เป็นเวลาที่พระเจ้าส่งจิตเที่ยวไปทั่ว เที่ยวไปทั่ว วันนี้ควรจะไปตรวจใครหรือควรไปทำงานที่ไหน พลับเพลาพลับพะแปลว่าควรหรือไม่ควร วิโรธนังแปลว่าตรวจ ตรวจโลกว่าใครควรใครไม่ควร ควรที่จะรู้ควรที่จะตรัสรู้นี่ รู้คือรู้ธรรมะหรือยัง นี่ล่ะพลับเพลาพลับพะ วิโรธนะ ตรวจดูว่าใครตรงไหนที่ไหนตรงไหนมันควร ตรงไหนยังไม่ควรก็รอไว้ก่อน ตรงไหนควรก็จดไว้ โสต บุพรรณเหวิโรธนา (นาทีที่ ๑๒:๔๔.๑)บุพรรณเหคือสภาพพอรุ่งสางก็ไปที่นั่น ไปบิณฑบาตไปในรูปบิณฑบาตหาอาหาร แต่ว่าไปโปรดสัตว์ให้มันรู้ มุ่งไปที่นั่นที่บ้านคนนั้น ไปพบปะคนนั้นแล้วก็พูดจาสนทนาหรือก็ทุกอย่างทุกประการ บางทีก็ฉันท์ที่บ้านนั้น คนๆนั้นได้รับประโยชน์สูงสุดคือบรรลุธรรมะ แม้เป็นคนที่ยังไม่ค่อยจะเชื่อ ไม่ค่อยจะยอม ไม่ค่อยจะรับ แต่ว่ามันมีความฉลาดถึงขนาดท่านก็ไปโปรดจนกำเนิด
ถ้าธรรมดาตี ๕ ก็เที่ยวไปทั่วๆ พรุ่งนี้จะไปที่ไหน พอรู้เรื่องหรือเห็นหรือได้ยินหรือได้ฟัง ว่าที่ไหนคนไหนเป็นอย่างไรหรืออะไรเป็นอย่างไร พระพุทธเจ้าไม่ได้หลับสบายเวลาตี ๕ จะว่าเที่ยวไปทั่วโลกก็ว่าได้ จะไปโปรดใครที่ไหนรุ่งขึ้น บางทีมีเรื่องที่บ้านใดบ้านหนึ่งมากมายเที่ยงๆจนสายหรือจนเที่ยง ท่านก็ไปตรวจความสำเร็จ มันมีเรื่องอย่างนี้จะเชื่อหรือไม่เชื่อก็สุดแท้ เรื่องที่มันจะต้องถือว่าพิเศษ เดินผ่านไปที่มันไถนาอยุ่ ไอ้แม่พล้าคนนี้มันเป็นชาวนาเป็นเจ้าความคิดเป็นชาวนามันก็ไถนา ก็ต้องหาเรื่องไปโปรดมันจนได้ไปหาเรื่องให้เขาด่า ไปหาเรื่องให้เขาวิพากษ์วิจารณ์ แล้วก็แก้ไขตรวจสอบ ไปยืนคุยกับมันที่หัวคันนาจนเป็นมันพระอรหันต์ทั้งนั้น คนที่กำลังไถนาอยู่นั่นเป็นพระอรหันต์ เรื่อง กะอติกะติสูตร (นาทีที่ ๑๕:๔๓)ไปหาอ่านดู เรื่องชั้นพิเศษไปยืนทะเลาะกับมันที่หัวคันนา มันกำลังไถนาอยู่นั่นจนได้เป็นพระอรหันต์ มีเรื่องทำนองปาฏิหาริย์รวมอยู่ด้วย
เมื่อพวกเรากำลังนอนหลับสบาย พระพุทธเจ้าเที่ยวไปทั่วโลก วันนี้จะไปที่ไหน ใช้โลกเวลา ๕ น.นี่ล่ะเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุด ใช้มีประโยชน์ที่สุด เป็นพระเณรบวชใหม่เขาก็ให้ลุกตั้งแต่ตี ๕ พวกที่มันพึ่งบวช พึ่งบวชนี่ยังโง่เกินไปก็จะให้มันปัจเวกๆ (นาทีที่ ๑๖:๔๗.๙)แต่บวชปัจเวกเป็นหัวใจพุทธศาสนา ยถาปัจเวสังขาโย อจประยาเดโช (นาทีที่ ๑๖:๕๙)นั่นละหัวใจพุทธศาสนา ยถาปัจวานังวัชเมโรสัง(นาทีที่ ๑๗:๐๖.๙) สิ่งนั้นจัดว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ ดูคนซิดูจีวรคนใช้จีวรซึ่งจริงอยู่ ว่างเปล่าจากตัวตนนั่นละเป็นหัวใจพุทธศาสนา ใจคนเราเหล่านี้ก็ท่องๆสักแต่ว่าท่องเป็นนกแก้วนกขุนทอง ถ้ามันเอาไปพินิตพิจารณา มันก็จะได้ประโยชน์เป็นหัวใจพุทธศาสนา อย่างน้อยก็ต้องให้มันครองจีวร ไม่ใช่เรื่องในวินัยในบาลี แต่เรื่องแบบธรรมเนียมประเพณีพระบวชใหม่ ตี ๕ ต้องลุกขึ้นครองจีวร ให้จิตใจปกติพร้อมเสมอที่จะคิดจะนึกจะศึกษา ไอ้คนที่โง่จนทำอะไรไม่เป็นมันก็ได้แต่ท่อง ได้แต่ท่องนั่นละ ท่องนี่ๆกันไป นี่ถ้าวัดกันแบบโบราณแบบที่ยังถือขนบธรรมเนียมประเพณีดีอยู่แล้ว เวลา ๕ น.จะได้ยินเสียงขลุมไปทั่ว เด็กก็ท่อง เณรก็ท่อง พระก็ท่อง ท่องสิ่งที่ต้องจำต้องย้ำ ถ้าวัดไหนไม่สนใจก็ยังเงียบกริบ ยังนอนอยู่ๆ
มันเหมือนกับชีวิตใหม่ ปรับปรุงชีวิตใหม่ ชีวิตที่ตั้งต้นวันใหม่เหมาะสมที่สุดที่จะคิดหรือที่จะรู้ แต่ว่ามันก็ต้องหัดกันเป็นนิสัยเหมือนกัน ที่จะให้เป็นเองก็คงจะยากสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าครองชีวิตแบบนักบวชไม่ใช่คนมีบ้านเรือน ไม่ใช่คนครองเรือนชีวิตแบบนักบวชก็เรื่องใช้โลกเวลา ๕ น.เป็นประโยชน์ที่สุด แล้วก็ยิ่งขึ้นๆ ไอ้ชาวบ้านที่มันพูดว่าไม่มีเวลาทำสมาธิ มันมีถมไปก็เวลา ๕ น.ก็ลุกขึ้นทำไปซิ หรือว่าก่อนนั้นก็ได้ ตี๔ น. ก็ได้ เด็กๆก็ยังไม่ทันตื่นอะไรก็ยังไม่ทันจะวุ่นวายทำสมาธิชั่วโมงสองชั่วโมงก็ยังได้ ก็บ่นว่าไม่มีเวลา คือมันไม่จริงๆ เมื่อไม่ได้มีโอกาสที่จะได้อยู่วัดหรือว่าบวชอยู่ที่วัด ก็ใช้เวลาที่บ้านเจียดออกมา โลกเวลา ๕ น.เป็นสิ่งดี
อาตมาพูดกับฝรั่งทุกคราวที่พูด ทุกวันที่พูด จะเอาแน่นเรื่องโลกเวลา ๕ น. บางคนก็เห็นด้วยๆ พยายามเปิดฉากใหม่โลกเวลา ๕ น. ให้มันเป็นประโยชน์ที่สุด ดอกไม้ทั้งหลายตามธรรมชาติในป่านี่ก็เริ่มแย้มบานเวลา ๕ น. เวลาอย่างนี้ พอได้แสงแดดก็บานเต็มที่ แต่มันเริ่มแย้มเวลา ๕ น. ธรรมชาติแท้ๆยังเป็นอย่างนี้ ไปปรับปรุงให้โลกเวลา ๕ น.ถูกใช้เป็นประโยชน์ ก็เรียกว่าเพิ่มเวลาให้มันอีก ถ้าไม่เคยใช้ก็มาใช้ก็เพิ่มเวลาให้มัน การศึกษามันก็จะมากออกไป มากออกไป
ไอ้ธรรมะนี่มันก็เหมือนกับเรื่องอื่นๆเหมือนกันล่ะ ไอ้เรื่องบ้านเรื่องเรือนเรื่องความคิดเรื่องบ้านเรือน ถ้าเรื่องไหนเข้มข้นมากมันก็ถึงจะเอามาฝันเอามาฝัน ไอ้ธรรมะนี่ก็เหมือนกันนะ ไม่ใช่เป็นของที่ยากที่จะโผล่ ถ้าว่าสนใจกับมันเต็มที่ มันก็มาฝันเป็นตุเป็นตะรู้นั่นรู้นี่ ขยายความนั่นนี่ออกไปได้เองในความฝัน นั่นละถึงขนาด ถ้าอย่างนั้นเรียกว่าถึงขนาด แล้วก็ถ้าไม่เขียนเป็นบันทึกก็จะหายหมด จะหายไม่มีเหลือแม้แต่สักตัวเดียว ก็ถือโอกาสโลกเวลา ๕ น. ไม่ต้องไปล้างหน้า หรือว่าไม่ต้องไปห้องส้วมก่อนก็ได้ พอตื่นขึ้นมาก็เอาปากกาเขียนเลย กระดาษมีอยู่พร้อมแล้ว ยังไม่ได้ไปล้างหน้า ยังไม่ได้ไปห้องส้วม ทำอย่างนี้ได้เปรียบ ลองดูทำอย่างนี้ได้เปรียบคนอื่น มันเขียนหนังสือ มันลืมไปล้างหน้าๆ ไม่ได้ล้างหน้า
ถ้าพวกที่เขารักสวยรักงาม เขาก็ต้องนึกอย่างนั้นก่อน ส่วนพวกที่สนใจธรรมะ มันจะคิดถึงบันทึกที่ให้ไอ้สิ่งที่ลึกๆที่คิดได้ที่กำลังจะหายไปเสียก่อน เอาละเป็นอันว่านี่ก็เป็นเรื่องหนึ่งๆเหมือนกัน ไม่ใช่ว่าเรื่องเล็ก เป็นเรื่องที่จะเก็บธรรมะ ชั้นที่เป็นขุมทรัพย์ เป็นทรัพย์ ชนิดที่เรียกว่าเป็นขุมทรัพย์ได้มากสะสมไว้ได้มาก แม้ในสมุดบันทึกเล่มเล็กๆ อย่าไปเขียนใส่เศษกระดาษหรือไปปนเปไว้กับเรื่องอื่นๆ มันจะเก็บยาก สมุดเล่มเล็กๆเล่มเดียวก็พอ เป็นข้อๆรวมอยู่ในนั้น
แม้จะใช้บันทึกเวลาอื่นก็ได้นะ ถ้ามันเป็นเรื่องระดับเดียวกันนะ ใช้เวลาอื่น เวลากลางวัน เวลาบ่าย เวลาไปคิดได้อะไรที่ไหนก็รีบๆ รีบหยิบ หยิบมาเขียน เรื่องนี้ถ้าไม่เขียนมันลืมๆ คิดได้เวลาไปบิณฑบาทกำลังเดินอยู่บิณฑบาทไปชั่วโมงหนึ่งกว่าอะไรนั่นนะ คิดได้นะพอกลับมาถึงวัดจะเขียน อ้าวไม่รู้หายไปไหนหมด จะนึกก็นึกไม่ออก มันเป็นถึงขนาดนั้น พอนึกได้ พอใจที่สุดถูกต้องที่สุด ความคิดข้อนี้ หรือความจริงข้อนี้ เขียนใจความเอาไว้ สองสามคำก็พอ พอกันลืม มาถึงวัดแล้วจะไปเขียนกับกระดาษ เขียนให้ชัดเจนในกระดาษ ปีๆหนึ่งก็แยะ ความคิดชนิดนี้ปีๆหนึ่งก็เกิดแยะเหมือนกัน
เวลาที่เดินนั่นมีบาลี มีคำศัพท์สรรเสริญไว้มากที่สุด เพราะอะไรมันแหลมคมเวลาเดิน เวลานอนมันมัวซัว เวลานั่งมันก็ยังไม่คมไม่แหลมไม่ไวเท่ากับเวลาเดิน สมาธิหรือวิปัสสนา ทีทำออกมาได้ในเวลาเดินนี่จะดีที่สุด จะสูงสุด จึงมีการเดินที่เรียกว่าการเดินจงกรม ก็คือการเดินนี่ล่ะ ถ้าเรียกบาลีมันจะเป็นจงกรม เดินไปเดินมา ถ้าคิดอะไรออกได้เวลานั้นละมันจะแหลมคมกว่าเวลาที่นอนคิดหรือไปนั่งคิด ถ้าอยากจะคิดอะไรบ้างก็ใช้วิธีเดินๆ เดินที่ระเบียง เดินที่นั่น บ้านเรือนที่ทำระเบียงไว้เดินนี่ดีมาก จะได้เดินจงกรม หรือศึกษาธรรมะ
ความคิดที่คิดออกหรือวิปัสสนาที่มองเห็นแม่น ธรรมดานะไม่ใช่ชั้นวิเศษ นี่นะดีที่สุด มีความถูกต้องที่สุด ไม่ค่อยจะต้องแก้ไข นี่ไปสังเกตดูเอง ความคิดที่มันคิดออกเวลานอน คือนอนคิดอยู่ คิดว่าถูกที่สุดคิดว่าถูกต้องที่สุดพอใจที่สุดแล้ว พอเอามาเดินคิดเท่านั้นล่ะ ถูกแก้ไขทันทีมีข้อบกพร่อง เรียกว่าความคิดที่เกิดตอนเวลาจะหลับ มันจะมัวซัว มันจะหลับสะลึมสะลือ ก็พอใจๆไม่ต้องคิดให้พอใจลึกซึ้งมากนึกขึ้นมานั่น แต่พอเอาความคิดนั้นมาคิดใหม่เมื่อเวลาเดินแก้ไขเกือบหมด ขอให้ชอบเดิน ถ้าจะคิดอะไรบ้างก็เดิน ไม่มีที่เดินก็เดินวนไปวนมาอยู่ในห้องนั่นละ ที่เฉลียงบ้านนั่นละ ที่เฉลียงยาวๆนั่นละเดินเถอะ “วิเศษ” ก็เหมาะที่จะใช้เวลา ๕ น. โลกเวลา ๕ น.นี่ เรียกสั้นๆว่าอย่างนี้
เราจะใช้โลกเวลา ๕ น. ให้สำเร็จอีกเรื่องหนึ่งในชีวิต เด็กๆคงจะทำยากเพราะมันที่กินที่นอน และคนแก่ทำง่ายที่สุด ถ้าคิดตอนจะนอน ตอนหัวค่ำตอนจะนอนมันทำให้หลับยาก จะลำบาก จะเป็นคนหลับยาก เก็บไว้ตอน ๕ น.ดีกว่า คือหลับเต็มที่แล้ว ส่งเสริมความคิดจิตใจแจ่มใส ส่งเสริมความคิดไป ต่อไปนี้เราจะทำงานให้มันลึกซึ้งขึ้น ก็ขอให้รู้จักใช้โลกเวลา ๕ น. ใช้โลกเวลา ๕ น.ให้มากขึ้น จะได้ประโยชน์อีกหลายเท่าตัวๆ ขนาดที่ว่าพอลุกขึ้นก็เขียนได้ทันทีไม่ต้องไปล้างหน้าคือการเป็นอย่างนั้น ไม่ได้ฝึกแต่งกลอน กลอนธรรมะที่ลึกซึ้ง นี่ละใช้เวลาอย่างนี้ดีที่สุด หนักเข้ามันจะฝันให้เอง มันจะฝันให้เสร็จเลย พอลุกขึ้นก็เขียนได้ตามความฝัน
นี่เรื่องนะ เขียนหัวข้อสั้นๆว่า “ การใช้โลกเวลา ๕ น.” ซึ่งไม่ค่อยมีใครเขาใช้กันมาก ได้ยินว่าพวกเจ้านายเขาก็ตื่นกันเวลา ๓โมงเช้า ๔ โมงเช้า ก็ตื่นนอนกัน สามสี่โมงเช้า คนชื่อนายพระ เป็นคนบ้านนี้ บ้านเขาอยู่ตรงหน้าพระธาตุ เขาเป็นมหาดเล็กของในหลวงรัชกาลที่ ๖ ตี๑ แล้วยังว่าหัวค่ำอยู่เลย เล่นละครเล่นอะไรกันนะ ตีหนึ่งแล้วก็ยังว่าหัวค่ำๆ พอไป ตี๓ ตี๔ นี่ดึกแล้วๆนอนเถอะ นอนกันถึงเวลา ๔ โมงเช้า นี่มันคนละโลกกับเรา
ทีนี้อีกเรื่องหนึ่งต่อมา นี่ก็พูดตามที่แนะฝรั่งที่สอนฝรั่ง บอกฝรั่ง แต่เราจำกัดสั้นว่า เดินโดยไม่ต้องมีผู้เดิน เมื่อพูดว่าใช้อิริยาบถเดียวว่าเดิน แต่จริงๆแล้วใช้ทุกอิริยาบถที่ทำๆ ไม่ว่าทำอะไรทุกอิริยาบถแล้ว สรุปความว่าทำโดยไม่ต้องมีผู้ทำ ทำโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ คิดซิเดินจากเซ็นเตอร์มาที่นี่ เดินจากเซ็นเตอร์มาที่นี่ ๒ กิโล ระยะก็ยาวมากเวลาก็นานพอที่จะฝึกบทเรียนนี้ ไอ้บทเรียนนี้คือบทเรียนที่ว่า “เดินโดยไม่ต้องมีผู้เดิน” นั่นละคุณคือหัวใจของพระพุทธศาสนา
คุณฝึกการเดินมาที่นี่ โดยไม่มีความรู้สึกว่าตัวกูคือเดิน มีแต่อิริยาบถของนามรูปไปกับใจล้วนๆ ไม่ต้องมีตัวกูผู้ใดเดิน Walking without the real walker Walking without the real walker นี่พูดเป็นประโยคแม่บท ถ้าจะไปนั่งไปนอนไปเดินไปกินไปอาบไปถ่ายไปอะไรก็ตามทุกอิริยาบถจำบทเรียนก็เหมือนกันหมด Eating without the real eater ก็ตามเรื่อง แต่ให้ใช้คำว่า “ไม่มีตัวผู้กระทำ” ที่จริงไอ้ความหมายของบทเรียนนี้สำคัญมาก บทเรียนนี้สำคัญมากแต่เขาใช้กันผิดๆ มีประธานเดินจงกรมยุบหนอพองหนอเดินจงกรม ย่างหนอเหยียบหนอ ยกหนอเหยียบหนอ ความมุ่งหมายที่จะใช้จริงก็คืออันนี้ แต่เขาทำไม่ถูกเรื่อง มันกลายเป็นแบบท่องอะไร แบบหลอกตัวเองหลอนตัวเอง แล้วใช้คำว่า หนอๆ ผิดๆ ตรงกันข้ามเลย มันกลายเป็นยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ มันกลายเป็นจริงจังไปเสียว่า เหยียบจริงๆ ย่างจริงๆ ยกจริงๆ นี่มันผิดข้อนั้น เดินหนอ นี่ว่ามันเป็นการเดิน การเดินมีผู้เดินจริงๆ เดินหนอ ไอ้ความจริงแท้ๆจริงของมัน มันมีอยู่ว่า “ สักแต่ว่าอิริยาบถเดินเท่านั้นหนอ” ประโยคมันจะยาวว่า สักว่าอิริยาบถเดินของนามรูปเท่านั้นหนอ ทีนี้อาจารย์มันก็สอนตามๆกันมาสืบๆกันมาอย่างที่มันก็เป็นระบาดกันไปทั้งนั้นว่า เดินหนอ เดินหนอ เดินหนอ มันก็ยิ่งหนักเข้าไป เป็น กูเดิน กูเดิน กูเดิน กูเดิน อยู่อย่างนี้ นี่มันผิดลึก
มันสักว่าการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติเรียกอิริยาบถเดินของนามรูปนี้เท่านั้นหนอ แต่ถ้าว่าอย่างนั้นมันยาวนักๆ ก็ไม่ไหวเหมือนกันก็น่าเห็นใจ ถ้าอาจารย์คนแรกท่านที่ถูกต้องหรือที่ฉลาด ท่านก็สรุปให้ว่า เดินหนอๆๆ แต่ลูกศิษย์มาตีความหมายผิดว่า กูเดินหนอๆ ก็กลายเป็นตรงกันข้าม นั่งหนอ กินหนอ นอนหนอ อะไรหนอๆกลายเป็นกูทำไปซะจริงๆ ผิดตรงกันข้ามเลย ไม่ได้ผล สักว่าอิริยาบถที่เรียกว่าอย่างนั้น กินเดินนั่งนอนอาบถ่ายไปแล้วแต่อิริยาบถนั้นเท่านั้นหนอ ของนามรูปเท่านั้นหนอ ก็คือไม่ใช่ของกูตัวกูไม่มีจะของกูอย่างไรได้ ของนามรูปล้วนๆเท่านั้นหนอ
ทีนี้เขาเดินคุยกันมาอย่างสนุกสนานกับเพื่อนฝูงคุยกันมา แล้วก็ว่าเข้าใจผิดว่า เดิน เดิน เดิน เดินจริงๆ เดินหนอๆๆ มันกลายเป็นเพิ่มตัวตนเท่านั้นเอง ไม่ได้ถอนตัวตน ทีนี้ถ้ามันเดินมาอย่างเงียบกริบ กำหนดเคลื่อนไหวของการเดินอะไรต่างๆ สักว่าอิริยาบถเคลื่อนไหวของนามรูปหรือว่าร่างกายกับใจไม่ใช่ตัวตน เรียกว่าอิริยาบถเดินๆเท่านั้นหนอ
ทีนี้อิริยาบถอื่นก็เหมือนกันละ จะนั่งก็ตาม จะยืนก็ตาม นอนก็ตาม ถ้ามีสติระลึกได้อย่างนี้ทุกๆอิริยาบถ อันนี้คือสติสูงสุดไม่แพ้อานาปานสติ คือมันจะเป็นอานาปานสติอยู่โดยไม่รู้สึกสึกตัว คือโดยอัตโนมัติเหมือนกับว่าเราต้องหายใจอยู่ตลอดเวลา เมื่อนั่งเมื่อยืนเมื่อเดินเมื่อนอน มันกำหนดแต่ว่าสักแต่ว่าอิริยาบถที่นั้นของนามรูปนี้เท่านั้นหนอ มันก็เหมือนกับฝึกสติอยู่ตลอดเวลา มันเลยมาถึงเพียงแต่ว่า จะอาบน้ำ รับประทาน จะถ่ายอุจจาระปัสสาวะ นั่งอยู่ถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่ก็สักว่าอิริยาบถชื่อนี้เท่านั้นหนอ เรื่องกินเรื่องอาบเรื่องถ่าย มันเลยปฏิบัติสติสูงสุดไปทุกๆนาทีของชีวิตในบ้านในเรือนนั่นละ เพราะว่าเราต้องเปลี่ยนอิริยาบถอยู่ตลอดเวลาและทุกอิริยาบถถูกจับมากระทำให้เป็นอารมณ์ของสติ ของการเจริญสติ
บทที่กำหนดให้สำหรับภิกษุสามเณรก็ดีมาก เวลาฉันท์อาหารก็ปัจเวก ( นาทีที่ ๔๐:๑๔.๘)ต้องพิจารณาตั้งแต่ว่าหยิบข้าวในบาตรปั้นเป็นคำ ยกขึ้นใส่ปากเคี้ยวกลืน มันก็สักว่าอย่างนั้นๆ อย่างนั้นๆเท่านั้นหนอ นี่ก็เรียกว่าผู้นั้นปฏิบัติสูงสุดที่เรียกว่า ปัจเวกๆ เห็นแจ้งโดยประจักษ์ ปัจเวกแปลว่าเห็นประจักษ์ เห็นแจ้งโดยประจักษ์ ปัจจะนั่นคือปฏิ แปลงรูปมาจากปัจจุ แปลว่าประจักษ์ (นาที่ที่ ๔๐:๕๐.๖)เวกนี่แปลว่าเห็น อิกขะๆนี่แปลว่าเห็นปัจจเวก เห็นอยู่โดยประจักษ์ว่าปัจเวก เป็นเรื่องใหญ่ๆ ๔ เรื่อง เช่นเรื่องอาหารการกิน เรื่องจีวรเครื่องนุ่งห่ม เสนาสนะที่อยู่อาศัยเครื่องใช้ไม้สอย แล้วก็เรื่องเภสัชเรื่องบำบัดโรค นี่เรื่อง๔เรื่อง ทำด้วยสติสัมปชัญญะให้อยู่ตลอดเวลา มันเท่ากับปฏิบัติธรรมะอยู่ตลอดเวลาไม่มีหยุดระยะว่างเว้นแม้สักหนึ่งนาที คงจะไม่เชื่อ ต้องมีสติติดต่อกันทุกอิริยาบถไม่ว่างเว้นแม้สักหนึ่งนาที และนี่ละคือปฏิบัติธรรมะแท้จริงๆแท้จริงๆอย่างมหาศาล ไม่มีโอกาสที่จะเกิดความโลภความโกรธความหลง นั่นเพราะมันคอยกำหนดอยู่ตลอดว่าอะไรๆ อิริยาบถอะไร
มันเป็นบทเรียนของพระธรรมไปหมด ไม่ว่าอิริยาบถไหน ถ้าคิดก็รู้ว่าคิด คิดเท่านั้นไม่ใช่ตัวกู เป็นการปรุงแต่งของนามรูปเรียกว่าคิด แล้วก็รู้ว่าคิดก็ควบคุมความคิด มันก็ไม่คิดผิดไม่คิดชั่ว กระทำหรือว่าพูดก็เหมือนกัน เมื่อคิดเมื่อทำเมื่อพูดมีสติอย่างนี้เรียกว่าปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง เดี๋ยวนี้มันเข้าใจผิดว่าต้องไปที่นั้นต้องไปที่ที่สงัด ต้องไปที่ห้องกรรมฐานแล้วก็ไปทำกันที่นั่น ทีนี้เป็นห้องกรรมฐานตลอดเวลาไม่ว่านั่งอยู่ตรงไหน นอนอยู่ตรงไหน ยืนอยู่ตรงไหน เดินอยู่ตรงไหน แม้แต่เวลายื่นเอาข้าวเข้าปากก็เป็นเวลาทำกรรมฐานด้วย นั่งอยู่บนโถส้วมในห้องน้ำนี่ก็ทำกรรมฐานด้วย นี่อิริยาบถนี้ต้องทำให้ถูกต้องให้ดีที่สุดไม่มีโทษเลย และจะพลอยเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตถาตาเสร็จทั้งที่นั่งอยู่บนโถส้วมนั่นเอง ไม่ต้องไปที่ๆ ที่สมมติกันไว้ว่าต้องไปที่นั่น ต้องไปทำพิธีกันที่นั่นในโบสถ์วัดที่ไหน
ทำตัวเองอัตภาพร่างกายให้มันเป็นที่ทำกรรมฐาน อัตภาพร่างกายนี้อยู่ที่ไหนที่นั่นเป็นที่ทำกรรมฐาน ถึงตรงนี้ก็นึกขึ้นมาได้นิดหนึ่ง ก็ขอแทรกบอกเสียด้วยเลยว่า “ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์” ประโยคนี้เขียนสั้นๆเท่านี้พอ ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์ หรือจะเป็นคำตรัสของพระเยซูเสียด้วย ไอ้คำนี้แต่มันไม่ได้ตรงอย่างนี้ ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์ที่อยู่ของพระเป็นเจ้า แต่เราจะทำร่างกายนี้ให้เป็นที่ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ รู้ธรรมะ ตรัสรู้ธรรมะ มันมีฝรั่งคนหนึ่งในพวกที่มาเข้ารีทรีต ก็ดุษฎีเขาเข้ามาบอกว่าฝรั่งคนนี้เขาร้องทุกข์ เขาอุทธรณ์ว่าเขาทำไม่ได้ เพราะพ่อของเขาแม่ของเขาสอนให้ไปโบสถ์ๆทุกวันๆ เขาต้องไปโบสถ์ เขายึดมั่นในคำที่ว่าเขาต้องไปโบสถ์ นี่ให้เขาทำที่บ้านไม่ได้ เขาต้องมีพระเจ้า แล้วก็ต้องมีเวลาอ้อนวอนพระเจ้าๆ เขาจะต้องไปโบสถ์ เขาจะต้องอ้อนวอนพระเจ้าแล้วเขาจึงจะมีศาสนา เดี๋ยวนี้มาสอนว่า ว่างจากตัวตนๆไม่ต้องไปโบสถ์ไม่ต้องไปอะไร
อาตมาก็เลยพูดสำหรับคนนั้นๆว่า เรามีพระเจ้าสูงสุดคือความรู้แจ้งในความจริงของสิ่งทั้งปวงที่เรียกว่า กฏอิทัปปัจยตาเฉียบขาดอันสูงสุดเลยเชียวคือพระเจ้า มันก็ไปอยู่ในใจของเรา แล้วเราก็ทำไอ้ร่างกายทั้งหมดนี่ให้เป็นโบสถ์ พระเจ้าก็อยู่ในโบสถ์เราก็อยู่ในโบสถ์ และการที่เราพยายามจะทำให้ถูกต้องตามกฏอิทัปปัจยตานั่นละคืออ้อนวอนของเรา แทรกๆอ้อนวอนนั่นละคือพยายามทำคือทำๆให้ถูกต้องตามกฏอิทัปปัจยตา นั่นยิ่งกว่าคุณจะไปโบสถ์ คุณอยู่ในโบสถ์พระเจ้าก็อยู่ในโบสถ์คุณก็อยู่ในโบสถ์ โดยทำร่างกายนี้ให้มันเป็นโบสถ์เสีย
ร่างกายนี้มีแต่ความถูกต้อง มีแต่ความคิดนึกมีแต่ความเห็นแจ้ง ร่างกายนี้มันก็กลายเป็นโบสถ์ แล้วเราก็จะไปที่ไหนเราก็อยู่ในโบสถ์ พระเจ้าก็อยู่ในโบสถ์เราก็อยู่ในโบสถ์ เราไม่ต้องมีภาระเดินไปโบสถ์ทุกเช้าทุกเย็นไปอ้อนวอนไปคุกเข่าหน้าสัญลักษณ์เครื่องหมายอะไรทำนองนั้น พุทธบริษัทก็เหมือนกันถ้าเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริงทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์ แล้วพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก็มาอยู่กับเราหมดเลย อยู่ในโบสถ์ด้วยกันนี่คือในร่างกายนี่ ประโยคนี้ต้องเขียนไว้สั้นๆว่า “ ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์” ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์ ๗ พยางค์เท่านั้นนะอย่าเขียนให้มากกว่านั้นนะเดี๋ยวฟุ้งซ่านไปหมด
ทำร่างกายนี้ให้เป็นโบสถ์ มีสติเมื่อไรเป็นโบสถ์เมื่อนั้น ถ้ามีสติทั้งวันก็เป็นโบสถ์ทั้งวัน ถ้าเผลอไปก็จะเป็นแบบขาดๆตอนๆ ถ้ามีสติสมบูรณ์ทั้ง ๒๔ชั่วโมงก็เป็นโบสถ์ไปทั้ง ๒๔ ชั่วโมง แล้วจะเอาเวลาไหนมาทะเลาะมาด่ากัน เป็นแม่ชีเขาก็ยังด่ากันแล้วก็ไม่ได้ทำให้มันเป็นโบสถ์ มันใช้ได้ทุกศาสนาไม่ว่าศาสนาไหนที่มันมีโบสถ์แล้วก็ต้องไปโบสถ์ แล้วก็ต้องอ้อนวอนในโบสถ์ไปทำพิธีในโบสถ์ ไปสวดมนต์ในโบสถ์ ทำที่อื่นไม่ได้ เราไม่ต้องไปโบสถ์ เราอยู่ในโบสถ์ เราทำอะไรถูกต้องอยู่ในโบสถ์ และเมื่อเราหนอๆตามแบบของเรา ไอ้หนอนี่ไม่ได้มีในบาลีหรอก ค้นไม่พบในพระบาลีในพระพุทธวัจนะพุทธภาษิตไม่มี
นั่นเข้าประดิษฐ์กันขึ้นที่พม่า อาจารย์ที่พม่าที่หัวแหลมเขียนไว้ประดิษฐ์ไอ้บทนี้ขึ้นมา แต่ลูกศิษย์มันใช้ผิดนี่ จะทำอย่างไรละ อาจารย์บัญญัติถูกที่แรกก็สอนกันถูกๆ ต่อมาสอนกันลุ้นๆห้วนๆ เหลือแต่หนอ หนอ หนอ หนอ ย่ำหนอ ย่ำลงไปซะเป็นตัวตนมากขึ้นมันผิดหมด มันต้องเป็นหนอที่ถูกต้องถอนตัวตน ถอนตัวตนๆ เคยอธิบายเรื่องนี้ไว้โดยละเอียดในการบรรยายครั้งหนึ่งเรียกว่า วิปัสสนาสำหรับยุคปรมาณู ไปอ่านดูสำหรับหนังสือเล่มเล็กๆนะ วิปัสสนาสำหรับยุคปรมาณู ไม่มีอะไรหรอก มีเพียงแต่ว่าหนอให้มันถูกต้อง หนอให้มันถูกต้อง คือหนอไปในทางว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตนๆ ทีนี้มันหนอไปในทางมีตัวตนนี่ เดินหนอ กินหนอ นั่งหนอ นอนหนอมันย้ำลงไปว่ามีตัวตนทำอย่างนั้น นี่ฉิบหายหมด เราก็ไม่รู้สึกหรอก มันตรงกันข้าม มันกลับตรงกันข้ามไปมีตัวตน หนอนี่ไล่ตัวตนๆสักว่าอิริยาบถนี้เท่านั้นหนอ ไม่มีตัวกูของกูผู้ทำอย่างนี้
อ้าวนอน อิริยาบถนอนเท่านั้นหนอ ไม่มีตัวกูนอน ลุกขึ้นนั่งอิริยาบถนั่งของนามรูปเท่านั้นหนอไม่มีตัวกูผู้นั่งนี่ใช้ได้ อย่างนี้ใช้ได้ มันจะต้องทำอย่างละเอียดระมัดระวังไปทุกอิริยาบถ เพราะอิริยาบถมันเปลี่ยนเรื่อยนี่ นั่งแล้วก็นอนแล้วก็ยืนแล้วก็เดินแล้วก็ต้องกินน้ำต้องอาบน้ำต้องถ่ายอุจจาระต้องมันทุกอิริยาบถไปละ สติมาทันทุกอิริยาบถไปว่า สักว่าอิริยาบถชื่อนี้ของนามรูปนี้เท่านั้นหนอ ไม่มีตัวกูๆในอิริยาบถใด ถ้าทำได้อย่างนี้ นี่คือหัวใจพระพุทธศาสนาสูงสุดมาปฏิบัติอยู่ ใครก็ได้ พระก็ได้ ฆราวาสก็ได้ ปฏิบัติอย่างนี้แล้วเสมอกันหมด หัวใจพระพุทธศาสนา
เอาทีนี้ก็เลือกมาเป็นเรื่องที่สำคัญถัดมา ก็จะตั้งปัญหาถามว่า “อะไรเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา” อะไรเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เท่าที่แต่ละคนละคน เท่าที่เดี๋ยวนี้แต่ละคนๆนี่ เมื่อถูกถามว่าอะไรเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คุณจะตอบว่าอย่างไร นี่ลองๆดูหรือไปเขียนก็ได้ ไปเขียนเพื่อตอบคำถามเมื่อถูกถามว่า อะไรเป็นหัวใจของพุทธศาสนา เดี๋ยวมันจะฟุ้งซ่านไม่รู้จักจบ อะไรๆก็เป็นหัวใจไปหมด ถ้ามันรู้จริงๆ เห็นจริงๆ ถูกต้องจริง ประจักษ์จริง มันจะมีคำตอบเพียงสี่ห้าพยางค์เท่านั้น
“เห็นอนัตตา เห็นอนัตตาในเบญจขันธ์” เท่านี้พอ อนัตตาคือไม่ใช่ตนเห็นอยู่ในเบญจขันธ์ เมื่อพูดว่าเบญจขันธ์คือทั้งหมดของชีวิต ถ้าเราจะรวมให้มันสั้นเข้ามาเหลือพยางค์เดียวคือ ชีวิตนี้หรืออัตภาพนี้ อัตภาพนี้ก็ได้ หรือชีวิตนี้ก็ได้ แล้วมันแยกออกเป็น ๕ ขันธ์ ใช้อนัตตาก็คือ ๕ ขันธ์ก็คือของร่างกายนี้ของอัตภาพนี้เท่านั้นละ มันหมดเท่านั้น มันไม่ได้มีอะไรมากมายไปกว่านี้
เดี๋ยวนี้มันมีเรื่องที่ทำให้เขวให้ยุ่ง ทีนี้ทุกคนก็คงจะได้ยินได้ฟังหรือได้ท่องได้ว่า การไม่ทำบาปทั้งปวง การทำกุศลทั้งปวงให้ถึงพร้อมทำจิตให้บริสุทธิ์ นี้คือคำสั่งสอนของพุทธะทั้งหลายๆ นี่มันไม่ใช่หรอกที่มาอยู่เมืองไทยนี่หัวใจของพุทธศาสนาขอยืนยันว่าทุกศาสนามันก็สอนอย่างนี้นะซิ ฮินดูหรืออะไรก็ตามมันก็สอนให้ทำบาปมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิด จะให้ทำกุศลทำจิตให้บริสุทธิ์เหมือนกันละ เพียงแต่คำว่าจิตบริสุทธิ์มันคนละอย่าง ความหมายมันคนละอย่าง จิตบริสุทธิ์ตามแบบฮินดูนี่ไปอย่าง จิตบริสุทธิ์ตามแบบคริสต์ก็ไปอย่าง จิตบริสุทธิ์ตามแบบเต๋าแบบอะไรก็ไปอย่าง แต่ว่าถ้าทางพุทธศาสนาละว่าอย่างไร
ถ้าทำจิตให้บริสุทธิ์ ปะริโยทะปะนัง (นาทีที่ ๕๕:๑๓.๐)ทำให้ขาวรอบนั่นคือว่า ไม่มีอัตตาในขันธ์ ๕หรือไม่มีอัตตาในชีวิตนั่นละคือจิตที่บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ตามแบบฮินดูเขาก็อธิบายไปตามแบบเขา แบบคริสต์แบบยิวหรือแบบอะไร เขาก็อธิบายไปตามแบบเขาแต่บางทีมันก็คล้ายๆกันก็มี แต่ไม่ตรงกันอีก เพราะเรามันยืนยันเพ้งว่าไม่มีอัตตาในอัตภาพนี้ในเบญจขันธ์นี้ ฝรั่งน่าสงสารๆเพราะเขาไม่รู้ เขาก็ต้องทำอย่างที่เขาคิด เข้ามาศึกษาพุทธศาสนาในประเทศลังกา พุทธศาสนาในประเทศไทย พุทธศาสนาในประเทศพม่ากับในจีนแม้กระทั่งในทิเบตพุทธศาสนาในประเทศนั้น ในประเทศนั้นๆ
อาตมาก็เคยบ้ากับเขาพักหนึ่งอยู่เหมือนกัน Buddhism in Burma Buddhism in นั่นนี่หลายเล่มเหมือนกัน พุทธศาสนาในประเทศนั้นๆ มันมีที่ต่างกัน แล้วไปศึกษาจากทุกประเทศแล้วก็จะรู้พุทธศาสนาถูกต้อง มันโง่กว่าเราเยอะเลยเสียเวลา ถ้าพุทธศาสนาในประเทศไหนมันจะถูกปนเข้าไปกับวัฒนธรรมหรืออะไรของประเทศนั้นเข้าไปด้วย แต่ถ้าพิจารณาตัวจริงๆนี่มีอยู่แล้ว แล้วก็บวกเข้าไปกับวัฒนธรรมความเชื่อหรือลัทธิของประเทศนั้นเข้าไปด้วย และมันจะบวกความคิดความเห็นว่าปฏิบัติอย่างไรๆเข้าไปด้วย อย่างน้อยก็เป็น ๓ เรื่องด้วยกัน หัวใจพุทธศาสนาคือวัฒนธรรมประเพณีของประเทศนั้นเข้าไปด้วยอีกเรื่องหนึ่ง และวิธีปฏิบัติอย่างไรจะให้เหมาะกับไอ้คนที่นั่นมันก็อีกเรื่องหนึ่ง อย่างนั้นมันก็กลายเป็น ๓ เรื่อง แต่หัวใจมันมีเรื่องเดียวก็คือนี่ “ ไม่มีตัวตน ในขันธ์ทั้ง ๕ ” สูตรยาวๆของพวกมหาญาณเขาจัดแต่งขึ้นมายาวเฟื้อย เรื่องสัจธรรมปุกะริมสูตร ยาวพอๆกับมหาเถนะสูตร(นาทีที่ ๕๗:๕๑.๓) ฟุ้งซ่านไปไหนก็ไป พอจะจบเรื่องก็นี่ละ ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตานี่จบเรื่อง ก็จะเป็นไปอย่างถูกต้อง แต่มันจะไปอะไรก็ไปไอ้อย่างที่ว่านี่เป็นสูตรยาวๆหลายๆสูตร สิบสี่หรือสิบห้าสูตรยาวเท่าๆกับมหาปฏิปัฏฐานสูตร(นาทีที่ ๕๘:๒๔.๐) แล้วเรื่องมีนิดเดียวเฉพาะตอนจบ ตอนจบมันจะลงว่า ว่างไม่ใช่ตนคือว่าง ในรูปในเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณ ข้อนี้ไม่ทิ้งยังเหมือนกันหมดเรื่องขันธ์ ๕ นั่นละเหมือนกันหมดแล้วก็เป็นอนัตตา
ถ้าเป็นทิเบตแล้วก็ยิ่งแล้วใหญ่เลย พุทธศาสนาที่แท้จริงขันธ์ ๕ เป็นอนัตตานี้ก็ยังยืนอยู่ แต่มันถูกฝังถูกกลบไปด้วยลัทธิของทิเบตเก่าแต่โบราณ เชื่อผีเชื่อสางเชื่อไอ้ภูตผีปีศาจไอ้ผีสางนี่ซึ่งเป็นความเชื่อเก่าแก่ของเขามาแต่โบราณ เขาเรียกสั้นๆว่า บอนๆปักๆ แปลว่าลัทธิหรือศาสนา ไอ้คำว่าบอนปัก(นาทีที่ ๕๙:๑๔.๐) ศาสนาบอนลัทธิบอนเอามารวมกันเข้ากับพุทธศาสนา มันก็วิธีปฏิบัติอย่างไรๆ วิธีปฏิบัติอย่างไรจึงจะรู้ไอ้อย่างนี้ได้ง่ายมันก็อีกส่วนหนึ่ง มันก็เป็น ๓ส่วนใหญ่ๆ และไอ้ส่วนใหญ่ๆมันก็เรื่องมากนักมันก็เลยเป็นพุทธศาสนาในทิเบตที่ลึกลับที่สุด ซึ่งพวกฝรั่งก็หลงกันมาก นี่คุณรักต้องขออภัยต้องออกชื่อแกหน่อยแกก็กำลังสนใจเรื่องนี้เสียเวลาไปหลาย ศึกษาพุทธศาสนาอย่างทิเบตอย่างวัชรญาณก็ไปศึกษาส่วนที่มันแปลกออกไปจากหัวใจพุทธศาสนา
ในเมืองจีนหัวใจแท้ๆก็ขันธ์๕ อนัตตา ว่าง แล้วมันก็พวกจีนเคยถือมาก่อนแต่โน้นอย่างไรมันก็ต้องเอามารวมกันไปด้วย ความรู้เรื่องขงจื้อ เล่าจื้ออะไรนี่ก็ถูกเอามารวมเข้าไปด้วยเป็นเรื่องที่สอง นี่ปฏิบัติอย่างไร ปฏิบัติอย่างไรจะดีที่สุด เขาก็ค้น ค้นๆจึงพบวิธีปฏิบัติลัดสั้นอย่างกระโดดถึงเลยคือ “เซน” เซนวิธีปฏิบัติอย่างกระโจนพรวดเดียวถึงเลยก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งก็เลยเป็น ๓เรื่อง พุทธศาสนาแท้แก่นแท้อันหนึ่ง แล้วก็วัฒนธรรมความรู้พื้นฐานของชาวจีนนี่ก็อีกเรื่องหนึ่งบวกเข้าไปด้วย และวิธีปฏิบัติตามลัทธินั้นๆตามแบบเซนแบบมิใช่เซนหลายๆอย่างด้วย ก็เป็นพุทธศาสนาที่มากมายมหาศาลเป็นพุทธศาสนาอย่างจีน อย่างพม่า อย่างลังกา อย่างไทยก็เหมือนกันละ พุทธศาสนาแท้ๆก็มีความเชื่อตามวัฒนธรรมไทยแต่เดิมๆก่อนมานั้นก็มี แล้วก็มีแบบขึ้นมาอย่างนั้นอย่างนี้ปฏิบัติแบบอย่างนั้น สำนักนั้นปฏิบัติอย่างนี้ทั้งนั้นก็มี ก็เลยเป็น ๓เรื่องอีกเหมือนกัน
อย่าไปเสียเวลากับพุทธศาสนาในประเทศนั้น พุทธศาสนาในประเทศนี้ เอาเฉพาะพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพอแล้ว ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ถ้าให้ดีกว่านั้นกว้างไกลกว่านั้นก็เปลี่ยนคำว่าขันธ์ ๕ เป็น ธรรมทั้งปวงๆ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา นี่มันจะหมดจะขันธ์ ๕ หรือไม่ใช่ขันธ์ ๕ จะตรงกันข้ามจากขันธ์ ๕ ก็ยังเป็นอนัตตา แต่ถ้าจำกัดเอาเฉพาะที่จะปฏิบัติๆ ปฏิบัติโดยลัดก็ตัดเอาขันธ์ ๕ ก็พอ พอขันธ์ ๕เป็นอนัตตาแล้วก็หมดเรื่องเหมือนกัน แต่ถ้าจะพูดให้ฉลาดขึ้นไปอีกก็ต้องเอาทั้งขันธ์๕ และมิใช่ขันธ์๕ ขันธ์ ๕ นี้เป็นสังขตะ สังขตะธรรม และเรื่องที่ไม่ใช่ขันธ์๕ เรียกอสังขตะธรรม ก็เป็นอนัตตาด้วยเหมือนกัน
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าท่านจึงตรัสว่า “ ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ” นี่หัวใจแท้หัวใจเป็นเพชรเม็ดเดียว ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา แต่ว่าจะมาสอนเรื่องนี้ทันทีเดี๋ยวนี้ทันทีเป็นจุดตั้งต้นนั้นไม่ได้ โดยเฉพาะเด็กๆนะมันจำไม่ไหวหรอก ว่าทั้งสังขตะและอสังขตะเป็นอนัตตา อย่างนี้มันเข้าใจไม่ได้ สังขารก็เป็นอนัตตา วิสังขารก็เป็นอนัตตา ทั้งสังขารและวิสังขารเป็นอนัตตา อย่างนี้มันรับไม่ไหว เอาแต่ฝ่ายสังขารหรือสังขตะกันก่อน คือชีวิตนี้ๆแบ่งออกเป็น ๕กอง เป็นขันธ์ ๕ แล้วถ้าปล่อยวางขันธ์ ๕ ได้หมดมันก็ๆไม่มีปัญหาเหมือนกัน พวกอสังขตะมันก็ถูกปล่อยไปโดยอัตโนมัติ เพราะว่าความทุกข์หรือปัญหาทั้งหลายทั้งปวงมันรวมอยู่ที่ขันธ์ ๕ ถ้าปัญหาเรื่องขันธ์ ๕หมด มันก็เท่ากับหมด
แต่พวกฮินดูเขาก็ยืนยันว่าพระพุทธเจ้าสอนว่าขันธ์ ๕เป็นอนัตตา ถ้าอย่างนั้นไอ้ที่มิใช่ขันธ์ ๕ ที่มันมิใช่ขันธ์ ๕ มันก็ต้องเป็นอัตตา และนั่นละคืออัตตาของฮินดู คือเรื่องที่พระพุทธเจ้ามิได้กล่าวว่าเป็นอนัตตาไว้ เขาขอสงวนไว้เป็นอัตตาอันแท้จริงของฮินดู ทีนี้เราก็มาอย่างทันกันเลยว่าทั้งขันธ์ ๕และมิใช่ขันธ์ ๕ คือทั้งสังขตะและอสังขตะเป็นอนัตตา มันก็หมายความว่าทั้งปวงละคือทุกสิ่งๆทั้งปวง แต่ถ้าจะที่เกี่ยวกับการปฏิบัติแล้ว แค่เอาขันธ์ ๕ ก็พอ ถ้าที่เกี่ยวกับปฏิบัติเลิกขันธ์ ๕เสียอย่างเดียวก็พอ ถ้าจะพูดอย่างนักปราชญ์พูดกันหมดจักรวาลก็ใช้คำว่า ธรรมทั้งปวงๆเป็นอนัตตา