แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอทบทวนว่าเรากำลังพูดกันถึงเรื่อง Introduction to the Heart of the Dharma เมื่อวานยังไม่จบ วันนี้ก็จะได้พูดต่อ
ขอกล่าวซ้ำถึงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เพื่อท่านทั้งหลายเข้าใจอย่างชัดแจ้ง ๆ อีกทีหนึ่ง แต่ขอทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่มันใช้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต (Inanimate) นี่ก็ได้ ไปใช้กับสิ่งที่มีชีวิต (Animate) นี่ก็ได้ แล้วเรากำลังพูดกันถึงเรื่องที่ใช้กับสิ่งมีชีวิต คือเราเอง
และเราก็ควรทราบว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน เรื่องเดียวกันแท้ ๆ แยกออกไปได้เป็น ๒ ฝ่าย ไปใช้กับสิ่งที่มีชีวิตและกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต
แม้ที่สุดแต่เราจะประกอบกสิกรรมทำไร่ทำนา หรือจะเป็นเรื่องอุตสาหกรรมที่ต้องใช้เครื่องจักร มันก็ต้องรู้จักความที่มันเป็นปฏิจจสมุปบาท รู้จักดิน รู้จักน้ำ รู้จักแสงสว่าง รู้จักหิน เนื่องกัน-เนื่องกันแล้วก็จะทำกสิกรรมได้ดี เรื่องเครื่องจักร รู้ความที่มันเนื่องกันตามลำดับจะเป็นเครื่องจักรที่สมบูรณ์ แล้วก็รู้ได้ดี กระทั่งรู้ว่าทั้งหมด ทั้ง Cosmos นี่ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ดวงดาว นี่ก็ทำหน้าที่กันอย่างเป็นปฏิจจสมุปบาท ทั้งหมดนี้เรียกว่าเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต แต่ถ้ารู้ก็ทำได้ดี-ทำได้ดี เทคโนโลยีก็ต้องเป็นไปตามกฏของปฏิจจสมุปบาท
แต่สิ่งที่ไม่มีชีวิต มันไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการเป็นทุกข์ นี่เรามาพูดกับสิ่งที่มีชีวิต มันมีปัญหา ที่มันมีความรู้สึกได้ มันเป็น Sentient being มันรู้สึกเป็นทุกข์ได้ เราจึงมาเน้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวกับสิ่งที่มีชีวิต นี่เป็นส่วนสำคัญ
ขอทบทวนปฏิจจสมุปบาทสำหรับคนเรา มนุษย์เราอีกทีหนึ่ง ขอให้ตั้งใจสังเกต-สังเกตให้เข้าใจให้ดี ๆ
ข้อแรก เรามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่าง ไว้สำหรับติดต่อกับของภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ เรามีอายตนะภายในสำหรับติดต่อกับอายตนะภายนอก นี่เป็นของธรรมดาที่สุดที่เราจะต้องรู้จัก-รู้จักให้ชัดเจน
อายตนะภายใน เช่นตา เป็นต้น Dependent …..(10.20) กับอายตนะภายนอกเช่นรูป เป็นต้น มันก็เกิดวิญญาณทางตา (Eye consciousness) ทั้ง ๖ อย่าง เกิดได้ทั้ง ๖ อย่าง เป็นวิญญาณทั้ง ๖ อย่าง
ทีนี้เมื่อทั้ง ๓ อย่างนี่ คืออายตนะภายในคือตา เห็นอายตนะภายนอกคือรูป Eye consciousness ๓ อย่างนี่มันมาถึงกันเข้า ทำงานด้วยกันร่วมกัน เราเรียกว่า “ผัสสะ” หรือ “Contact”
ท่านต้องสังเกตดูให้เห็นว่ามันเป็น Contact ของของ ๓ สิ่ง ไม่ใช่ของ ๒ สิ่ง ต้องครบทั้ง ๓ สิ่ง นั่นจึงจะเป็น Contact
เรามี Contact อยู่ตลอดเวลาในแต่ละวัน-ในแต่ละวัน ประเดี๋ยวทางตา ประเดี๋ยวทางหู ประเดี๋ยวทางจมูก แต่เราไม่สังเกต รู้สึกคล้าย ๆ ว่ามันไม่มี ที่จริงมันมี มีอย่างเป็นจริงเป็นจังนี่ตลอดวันเลย สิ่งที่เรียกว่า Contact คืออายตนะภายในสัมผัสกับอายตนะภายนอกโดยวิญญาณเป็นผู้รู้สึก
ในขณะแห่ง Contact ที่เป็นขณะที่สำคัญที่สุด มันเป็นเหมือนกับทางแยกที่ออกไป ๒ ทาง ทางนี้จะไปสู่ความทุกข์ ทางนี้จะไม่ไปสู่ความทุกข์ คือว่าถ้า Contact มันโง่ คือในขณะนั้นไม่มีวิชชา ไม่มีปัญญา ไม่มีสติสัมปชัญญะ เป็น Contact ที่โง่ มันก็ไปทางหนึ่งไปหาความทุกข์ ถ้าในขณะ Contact มันมีปัญญา มันมีวิชชา มีสติ มีสัมปชัญญะ มีอะไรครบถ้วน มันไม่ไปสู่ทางที่เป็นทุกข์ มันไปสู่ทางที่ไม่เกิดทุกข์-ไม่เกิดทุกข์ เป็นทางแยก ๒ แพร่ง สำคัญที่สุด ท่านทั้งหลายจะต้องรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Contact นี่ให้ดี ๆ ที่สุด
ตรงนี้จะต้อง ทราบไหมว่าคนบางพวกหรือในบางลัทธิศาสนา เขาเห็นว่า คิดว่าไอ้ Contact นี่เป็นตัวเป็นตน เป็น Self เป็น Soul เป็นอะไร แต่ทางพุทธศาสนาเราไม่คิดอย่างนั้น มันเป็นธรรมชาติ เป็น Natural mechanism มันไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ Self ไม่ใช่ Soul ไม่ใช่อัตตา รู้จัก Contact ไว้ให้ชัด ๆ อย่างนี้
ถ้าในขณะนั้น อวิชชา-ความปราศจากความรู้ เข้ามาครอบงำ Contact มันก็เป็น Contact โง่ (Ignorant contact) แต่ถ้าสติหรือปัญญามาครอบงำ Contact ก็เป็น Contact ฉลาด เป็น Enlighten contact มันเป็น ๒ Contacts อยู่ มันเป็นทางแยกที่จะแยกเดินกันตรงนี้
ต่อไปก็คือ เมื่อมี Contact มันก็มีผลออกมาเป็นเวทนา เป็น Feeling ถ้า Contact มันโง่ มันก็ไปหลงใหล เกิด ๆ ๆ ความหลงใหลในเวทนานั้น เป็นเวทนาบวกหรือเวทนาลบ น่ารัก ไม่น่ารัก เป็นเรื่องที่เป็นเรื่องหลอกให้หลงไปในเวทนานั้น แต่ถ้ามันเป็น Enlighten contact มันไม่หลงในเวทนาใด ๆ มันไม่หลงในความเป็นบวกหรือในความเป็นลบของเวทนานั้น นี่ Contact โง่ มันเกิดเวทนาโง่ Contact ฉลาด มันเกิดเวทนาฉลาด เรื่องมันมีเท่านี้ Feeling ฉลาด Feeling โง่
เมื่อเวทนาโง่ มันก็มามัวหลงในเรื่องความเป็นบวก ในความเป็นลบ หลงดีใจ หลงเสียใจ จนเกิดกิเลสหลาย ๆ ชนิด ถ้าเวทนามันโง่ ถ้าเวทนาไม่โง่ มันไม่มีความหลงในความเป็นบวกเป็นลบ มันก็มีความรู้เกิดขึ้นมาว่าเราจะต้องจัดการกับเวทนานี้อย่างไร จะเป็นบวกก็ตาม จะเป็นลบก็ตาม เราจะจัดการกับมันอย่างไร เราไม่ต้องมาหลงในเวทนาบวกหรือเวทนาลบ ความรู้สึก Optimistic-Pessimistic อันนี้มันก็ไม่มี นี่ผลมันต่างกันอย่างนี้ ถ้าเวทนาโง่ มันก็หลงอยู่ในเวทนา ถ้าเวทนาฉลาด มันก็รู้ว่าจะทำอย่างไร กูไม่หลงกะมึงนี่
เมื่อเวทนาเกิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาแล้ว มันก็เกิดความต้องการ-ความต้องการอย่างที่ ตามต้องการของเวทนานั้น คือ In accordance with the vadhana (23.50) ถ้าเวทนามันโง่ ก็ไปหลงเรื่องบวกเรื่องลบ ก็ต้องการจะเป็นไปตามที่ตัวต้องการ เป็นเรื่องบวก หรือเป็นเรื่องจะทำลายเรื่องลบก็แล้วแต่ มันมีความคิดไปได้ อยากไปในทางที่จะเอา จะได้ จะมี จะอะไรนี่ ถ้าหากว่าเป็นเวทนาที่ฉลาด มันไม่หลงบวก มันไม่หลงลบ มันมีความรู้ ความคิดแต่ว่าจะแก้ปัญหานี้ นี่มันกำลังมีปัญหาอย่างไร-นี่มันกำลังมีปัญหาอย่างไร จะทำให้เกิดความเสียหายอย่างไร มันก็สามารถที่จะแก้ปัญหา มันจึงมีความอยาก อยากที่จะแก้ปัญหาเหล่านั้นให้ลุล่วงไป นี่มันฝ่ายไม่โง่นะ ถ้าฝ่ายโง่มันก็หลงไปตามบวกตามลบ ต้องตามไปตามบวกตามลบนะ ฝ่ายที่มันจะเกิดทุกข์
เมื่อเวทนาหรือ Feeling มันโง่ ไอ้ความต้องการ-ความต้องการ หรือ Wanting มันก็โง่ ความต้องการหรือตัณหาอย่างนี้ เราเรียกว่า ตัณหา Desire or Craving แต่ถ้าเวทนา ความต้องการมันก็ไม่โง่ มันก็ต้องการไปในทางที่ถูกที่ควรจะต้องการ เราจะไปเรียกเสียด้วยคำอื่น เช่นคำว่า Aspiration-Aspiration ถ้า Craving, Desire มันกัด มันเป็นทุกข์ ถ้าเป็น Aspiration นี่มันจะก้าวหน้า-ก้าวหน้าไปหาผลสำเร็จโดยที่ไม่ต้องเป็นทุกข์
ทีนี้ในกรณีของฝ่ายผิดหรือฝ่ายโง่ มันก็เกิดความอยากหรือตัณหาที่โง่ เมื่อความอยากรุนแรง ความอยาก อยากตามความโง่รุนแรง-รุนแรง-รุนแรง มันได้เกิด Concept อันหนึ่งขึ้นมาว่า “กู” ฉันเนี่ย กูนี่ ผู้อยาก-ผู้อยาก ความอยากทำให้เกิดผู้อยาก ความคิดว่ามีผู้อยาก นี่เรียกว่าอุปาทานะ-อุปาทานะ มีตัวตน ก็เป็นเพียง Concept เท่านั้นว่า Self ว่า Soul ว่า Ego อะไรก็แล้วแต่ นี่ถ้ามันผิดมันก็มาทางนี้ ถ้าถูกมันก็ไปในทางที่ไม่ต้องมีตัวตน เป็นสติปัญญา เดินไปตามทางที่ไม่ต้องเกิดอุปาทานว่าตัวกู ในกรณีที่โง่ ต้องเกิดอุปาทานว่าตัวตนหรือตัวกู ในกรณีที่ไม่โง่ ไม่เกิดอุปาทานว่าตัวตน
ท่านต้องทราบหรือมองให้เห็นว่า สิ่งนี้ อาการอย่างนี้ เกิด Concept ว่าตัวตนอย่างนี้ มีอยู่ในชีวิตประจำวันของเราซ้ำแล้วซ้ำอีกไม่รู้กี่สิบครั้ง กี่ร้อยครั้ง แต่ละวัน-ละวัน มันเกิดตัณหาหรืออุปาทานว่าตัวตน-ตัวตนอย่างมากมาย ขอให้เห็นอันนี้-เห็นอันนี้ จะเห็นหัวใจของปฏิจจสมุปบาท ถ้าไม่เห็นก็ไม่เห็น ถ้าเห็นจะมีประโยชน์มาก จะเห็นว่าไอ้อัตตา-อัตตา ไอ้ Self นี้มันเป็นของ Concept เท่านั้นเอง มันไม่ใช่ตัวจริง จงศึกษาในตอนนี้แหละให้มาก ถ้ามันเกิดขึ้นมาแล้วก็จะต้องเป็นทุกข์ อย่าให้ความอยากสร้างผู้อยาก อย่าให้ตัณหามันสร้างอุปาทานว่าตัวตน
พวกอื่นหรือลัทธิอื่นคิดว่าไอ้ตัวตน-ตัวตน อัตตา-ตัวตนนั้นมีอยู่ตลอดเวลา เป็นตัวเดียวกันตลอดเวลา แต่ในพุทธศาสนาเราเห็นว่าไม่ใช่ของจริงตลอดเวลา เป็นของชั่วคราว เป็น Concept ชั่วคราว แต่มีความหมายเป็นตัวตน-มีความหมายเป็นตัวตน สิ่งที่เรียกว่าตัวตนนั้นจึงเป็นมายา เป็น Delusive เราเห็นชัดอย่างนี้ เราอย่าไปหลงตามพวกอื่นที่ว่าอัตตา-อัตตา ตัวตนเป็นของถาวร เป็นของจริงจัง
สรุปความว่า Ignorant-Ignorant มันสร้าง Desire แล้ว Desire มันสร้าง Desirer หรือ Self-หรือ Self นี่ดูให้เห็นชัดตรงนี้ว่า Ignorant มันสร้าง Desire, Desire มันสร้าง Desirer คืออัตตาหรือ Self
ความโง่ที่สร้าง Self ขึ้นมาที่เราเรียกว่าอุปาทานะ หรือ Attachment เป็นสิ่งที่เกิดอยู่อย่างมากแต่ละวัน-แต่ละวัน แต่เราไม่เห็นเราไม่รู้จัก คล้าย ๆ กับว่าไม่มี ถ้าเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เราจะรู้จักไอ้สิ่งนี้-ไอ้สิ่งนี้นะว่ามันเกิดอยู่ตลอดเวลา มีปัญหาทางบวกทางลบอยู่ตลอดเวลา ก็เพราะไอ้สิ่งนี้ คือตัวตนที่เป็นมายานี่
เมื่อ Attachment ว่าตัวตนตั้งต้น-ตัวตนตั้งต้นหรือเกิดมีขึ้นมาแล้ว เมื่อ Attachment มีขึ้นมาแล้ว เราก็เรียกว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวตนนั้นมันตั้งต้นมี-ตั้งต้นมี (Existent) ของตัวตนหรือของชาติก็ตาม มันตั้งต้นมี ความตั้งต้นมีนี่เราเรียกว่า “ภว-ภว” (Existent) แต่มันเป็นขณะตั้งต้น หรือเริ่มต้นเท่านั้นเอง “ภว” เริ่มมี
41.38
ในทางวัตถุ เมื่อ Embryo-Embryo ตั้งต้นมีในครรภ์ของมารดา เราก็เรียกว่ามี Existent ตั้งต้นของชีวิตในความหมายธรรมดาทางฟิสิกส์ แต่ทางฝ่ายวิญญาณนี่ก็คือเมื่อ Attachment มีสมบูรณ์- มีสมบูรณ์ แล้วก็เป็นจุดตั้งต้นของ Existent ฝ่ายวิญญาณ นี่เราจงเข้าใจว่ามันเหมือนกัน นี่เป็นจุดตั้งต้นของ Existent-Existent มันตั้งต้นที่จะมีปัญหา คือมีตัวตน แล้วก็มีปัญหา ความมีอยู่แห่งตัวตน ตั้งต้นที่ตรงนี้-ที่ตรงนี้ แต่เราไม่รู้-เราไม่รู้ ไม่รู้ เราไม่ได้คิดว่ามี เราก็ไม่ได้สนใจ เราก็ไม่ได้ควบคุมมัน มันก็มีจุดตั้งต้น แล้วมันก็แก่ ๆ ไอ้ Pregnancy นั้นมันก็ แก่ ๆ แก่ ๆ ไม่เท่าไหร่มันก็คลอดเป็น “ชาติ” “ภว” มีแล้วก็มี “ชาติ” มี Birth ออกมา ตอนนี้ ไอ้ Self มันสมบูรณ์-มันสมบูรณ์ มันเหมือนกับมันคลอดออกมาจากท้องแม่มันแล้ว มันก็แสดงบทบาท “ภว” ให้เกิด “ชาติ” Existent ให้เกิด Birth
เรามองเห็นได้ไม่ยาก แต่เราก็ไม่เคยมอง การเกิดทางฟิสิกส์จากท้องมารดามันหนเดียวเท่านั้น ครั้งเดียวเท่านั้น เกิดจากท้องมารดา แต่พอมาเป็นการเกิดทาง Mental ทาง Spiritual นี้มันวันเดียวไม่รู้กี่สิบครั้งกี่ร้อยครั้ง วันเดียวนี่นับไม่ไหวเสียแล้ว ที่ตลอดอายุชีวิตมันก็มากมายเสียเหลือเกิน เกิดทางฟิสิกส์เกิดครั้งเดียว แต่เกิดทาง Spiritual นี้เกิดไม่รู้กี่ร้อยกี่พันครั้งในแต่ละวัน-แต่ละวัน อัตตา เกิดไม่รู้กี่ร้อยครั้งพันครั้งในแต่ละวัน-ละวัน
คำกล่าวในพุทธศาสนาที่ว่า ความเกิดเป็นทุกข์-ความเกิดเป็นทุกข์นี่ หมายถึงความเกิดอย่างที่เป็น Mental หรือเป็น Spiritual ไม่ใช่ความเกิดจากท้องแม่ซึ่งมีหนเดียวแล้วก็หมดปัญหา แต่ที่เกิดอยู่ทุกวัน วันละหลาย ๆ ร้อยครั้งพันครั้งนี่เป็นปัญหา ที่เกิดทาง Spiritual นี่ ที่เรียกว่า “ความเกิดเป็นทุกข์-ความเกิดเป็นทุกข์” ก็คือความเกิดทางจิตใจ
ความหมายที่แท้จริงของคำว่า “เกิด” เกิดนั่นหมายความว่ามันทำหน้าที่-มันทำหน้าที่ (In function) เมื่อใดมันทำหน้าที่ก็เรียกว่ามัน “เกิด” พอมันหยุดทำหน้าที่ก็เรียกว่ามัน “ดับ” นี่อย่างตาทำหน้าที่ก็เรียกตาเกิด หูทำหน้าที่ก็หูเกิด จมูกทำหน้าที่จมูกเกิด เกิดมีได้อย่างนี้คือเมื่อมันทำหน้าที่ พอมันไม่ทำหน้าที่ก็คือดับ เดี๋ยวมันก็เกิดอีก ฉะนั้นคำว่า “เกิด” ในความหมายที่แท้จริงคือเมื่อมันทำหน้าที่
ท่านอาจจะนึกว่าขบขัน คิดว่าน่าหัวเราะหรือว่าเป็น Nonsense ไปเลย เมื่อเราจะพูดว่า เมื่อ มือทำงานจับฉวย ระหว่างมือทำงานนี่เราเรียกว่ามือเกิด-มือเกิด เมื่อมือไม่ได้ทำงานน่ะมือดับ และเมื่อเท้านี่เดิน เท้านี่มันเดิน-เท้านี่มันเดิน ก็เรียกเท้าเกิด-เท้าเกิด เมื่อมันไม่ได้เดินก็เรียกเท้าดับ นี่มันเป็น ...มาก (51.03)... เสียอย่างนี้ ความหมายของคำ ๆ นี้ คำว่า เกิด-ดับ เกิด-ดับในทาง Spiritual มันมีความหมายอย่างนี้
ถ้าไม่เกิด ถ้าไม่มีอะไรเกิดก็คือไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ไม่มีปัญหา ถ้าไม่มีอะไรเกิด พอมีอะไรเกิดมันก็มีปัญหาและมีความทุกข์ นี่ต้องเข้าใจถึงขนาดนี้ คำพูดที่ว่า “ถ้ามีการเกิดก็เป็นความทุกข์” ความหมายมันลึกขนาดนี้ ลึกอย่างนี้
เดี๋ยวนี้ไอ้ Concept ที่ว่า อัตตา หรือ Self มันเกิด มันเกิดแล้วก็ทำหน้าที่เพราะมันเกิดมาจาก Ignorant มันก็ทำหน้าที่เป็น Ignorant มันก็คือคิดว่าเป็นตัวตน-เป็นตัวตน-เป็นตัวตน และอะไรเข้ามาเกี่ยวข้องอยู่กับสิ่งนั้นมันก็เป็นของตน อัตตา-ตัวตนแห่งความโง่ มันก็เอาความเกิดจากท้องแม่- ความเกิดจากท้องแม่ตามธรรมชาติมาเป็นตัวตน-เป็นตัวตน หรือเป็นของตน มันก็เอาความแก่ แก่ชราตามธรรมดามาเป็นของตน ความเจ็บไข้ตามธรรมดามาเป็นของตน เอาความตาย-ตายตามธรรมดาเนี่ยว่าเป็นของตน นี่เป็นข้อแรก เป็นเรื่องใหญ่ อัตตามันโง่ มันสำคัญว่าตัวตน แล้วก็เอาสิ่งที่มาเกี่ยวเนื่องกับตนว่าเป็นของตน เรียกว่า Self หรือ Of self อัตตา (Self) อัตตนียา (Of self) นี่หล่ะคือตัวปัญหา มันมีตัวตนมากมาย มีของตนมากมาย มีความหมายเป็น Positive เป็น Negative เป็นอะไรยุ่งยากมากมาย ชีวิตจึงเต็มไปด้วยปัญหา ชีวิตจึงเต็มไปด้วยความทุกข์
มีตัวตนเป็นจุดศูนย์กลาง เป็น Center-ศูนย์กลาง สำหรับเป็นทุกข์ แล้วก็มีของตน-ของตน (Of self) เข้ามาประกอบอีกมากมาย-มากมายมหาศาล เช่น เรามีครอบครัวเป็นของตน เรามีทรัพย์สมบัติเป็นของตน เรามีเกียรติยศชื่อเสียงเป็นของตน เรามีปัญหาทางการเมือง ทางเศรษฐกิจ ทางสังคมเป็นของตน ปัญหาทั้งหมดมันก็มารวมอยู่ที่ตัวตนในฐานะเป็นของตน มีของตน มีตัวตนเป็นจุดศูนย์กลาง และมีของตนทั้งโลกทั้งจักรวาลมารวมอยู่นี่ Burden-Burden ไอ้ชีวิตนี้มันก็เป็นของหนัก และเป็นทุกข์
ที่นี้ท่านก็ลองคิดดูทีว่า ถ้ามันไม่มีตัวตน ไม่มีของตน ไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตนียา ไม่มี Concept ว่าตัวตน ว่าของตน แล้วความทุกข์มันจะเกิดได้อย่างไร ปัญหาต่าง ๆ มันจะมีได้อย่างไร ถ้ามันไม่มีตัวตนและไม่มีของตน มันไม่มีปัญหา มันไม่มีความทุกข์ มันไม่มีอะไรได้ เป็นเพราะ Concept ว่ามีตัวตน ว่าของตน มันก็มีปัญหา มีความทุกข์เข้ามามากมายมหาศาล นี่คือความจริงของชีวิตที่เป็นไปตามปฏิจจสมุปบาทแห่งความโง่ ฝ่ายความโง่ ฝ่ายความผิด ฝ่ายความหลง
ความที่ไม่ได้ตามที่ต้องการ ความไม่ได้ตามที่ต้องการนั้นเป็นตัวทุกข์ ถ้าได้ตามต้องการมันก็ไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้าไปยึดมั่นถือมั่นเข้าอีกมันก็กลับเป็นทุกข์ขึ้นมาอีก ฉะนั้นความที่เป็นทุกข์แท้จริง มันอยู่ที่ความยึดมั่นถือมั่น พอไปยึดมั่นถือมั่นอะไร สิ่งนั้นกลายเป็นของหนัก กลายเป็นความทุกข์ ใจความสำคัญมันจึงอยู่ที่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นของตน นี่คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท
ในทางปฏิบัติเราจะเห็นได้ทันทีว่า มันแยกกันตรง Contact ทีแรกมันก็มาด้วยกันตามธรรมชาติ อายตนะทำงานมา พอเป็น Contact ตรงนี้มันจะแยกกันว่าเป็น Contact โง่ หรือ Contact ฉลาด ถ้า Contact โง่ ปฏิจจสมุปบาทก็ไปหาความทุกข์ ถ้า Contact ฉลาด มันก็หยุดความทุกข์ หยุดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท หยุดกระแสแห่งความทุกข์ มีแต่สติปัญญา สติปัญญาทำหน้าที่ไป-ทำหน้าที่ไป สำเร็จประโยชน์ ได้รับประโยชน์โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ นี่เรื่องปฏิจจสมุปบาทเกี่ยวกับชีวิตของคนเรา มันมีอยู่อย่างนี้ และมันแยกทางกันเดินตรงที่ Contact ท่านจงเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีแล้วก็ควบคุม Moment of contact เอาไว้ให้ดีที่สุด
ท่านจะเห็นได้ทันทีว่าการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็คือการศึกษาเรื่องชีวิต-ชีวิต-ชีวิต ตัวชีวิตนั่นเอง ท่านดูเถิด จะเห็นว่าการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทมันเป็นการศึกษาเรื่องตัวชีวิตโดยตรง ควบคุมไว้ให้ถูกต้อง อย่าให้มันเกิดความทุกข์ขึ้นมา
หัวใจของธรรมะหรือพุทธศาสนาก็คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ก็ไม่ปรากฏว่ามีคำสอนใน Christianity ไม่มีคำสอนใน Hinduism ไม่มีเรื่องปฏิจจสมุปบาท แต่ในพุทธศาสนามีเรื่องปฏิจจสมุปบาท โดยเฉพาะ-โดยเฉพาะและเรื่องเดียว เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่จะต้องศึกษา แล้วก็กำจัดความทุกข์ออกไปเสียตามวิธีของพุทธศาสนา
ทีนี้ควรจะทราบต่อไปอีกว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้มันก็ยืดยาว-ยืดยาวตั้ง ๑๒ หัวข้อ ถ้าจะให้มันสั้นเข้า ให้มันน้อยเข้า ท่านก็กล่าวเรื่องนี้ไว้ในอีกรูปหนึ่งอีกแบบหนึ่ง เรียกว่าเรื่อง “ขันธ์ทั้ง ๕” (Five Aggregates) นี่มันก็เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาท หากแต่กล่าวไว้ในลักษณะที่สั้นกว่า น้อยกว่า หรือจะควบคุมได้ง่ายกว่า ปฏิบัติได้ง่ายกว่า ดังนั้นเราควรจะรู้จักเรื่องขันธ์ ๕ หรือปฏิจจสมุปบาทอย่างย่อที่สุดนี้ตามสมควร
เรื่องขันธ์ ๕ นั้นแบ่งชีวิต สิ่งที่เรียกว่าชีวิตออกเป็น ๕ ส่วน สำหรับการศึกษาทางฝ่ายฟิสิกส์มีอยู่ส่วนหนึ่งเรียกว่า “รูปะ” ทางฝ่าย Mental หรือทาง Spiritual แบ่งออกเป็น ๔ ส่วน เรียกว่า “นามะ” Rupa and Nama, รูปะ มี ๑, นามะ มี ๔ รวมกันเป็น ๕ เรียกว่า “ขันธ์ ๕”
Rupa-Khandha (รูปะขันด๊ะ) ฝ่ายรูป เราก็เอาทั้งระบบฝ่ายร่างกาย-ฝ่ายร่างกาย หรือเนื่องด้วยร่างกายหรือแม้ระบบประสาทส่วนที่เนื่องอยู่กับร่างกายมารวมกัน นี่เราก็เรียกว่า “รูป” จะเล็งไปให้ละเอียดว่าเป็น ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ ธาตุอากาศ แล้วก็มาเป็น กลุ่มแห่งร่างกาย มีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย รวมอยู่ด้วยเป็นฝ่ายรูปกาย เรียกว่า “กาย-กาย” นี่ก็เรียกว่า “กายะ” ก็แล้วกัน นี่ฝ่ายกาย
เมื่อฝ่ายรูป-ฝ่ายรูป Form aggregate ทำหน้าที่ มันก็เกิดฝ่าย “นาม” เมื่ออายตนะ ตา หู ทำหน้าที่ มันก็เกิดฝ่ายนาม สิ่งแรกก็คือเกิด “เวทนา” อายตนะทำหน้าที่มันก็เกิดเวทนา หรือ Feeling เมื่อเกิด Feeling แล้วก็เกิด “สัญญา” ให้ความหมาย ?????? (1.15.28) Feeling อันนี้เรียกว่าสัญญา มีเวทนาแล้วก็มีสัญญาลงไปที่เวทนา แล้วก็มี “สังขาร” สังขารคือ Concept ทั้งหลายที่เกิดมาจากสัญญา แล้วก็มีไอ้สิ่งที่เรียกว่า “วิญญาณ” วิญญาณที่ทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา นี่จึงได้ว่า “เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ” ๔ อย่างนี้เป็นฝ่ายนาม ฝ่ายนามมีอยู่ ๔ อย่าง ปรากฎในเมื่อฝ่ายรูปมันทำหน้าที่-มันทำหน้าที่ มีผลออกมาเป็นฝ่ายนาม รวมกันแล้วก็เป็น ๕ อย่าง เป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ
มันแปลกอยู่ที่ว่าไอ้ Consciousness-วิญญาณขันธ์ นี่ เราเอามาไว้สุดท้าย เพราะมันทำหน้าที่หลายหน มันวิญญาณะนี่มัน ??? (1.18.52) ที่ รูปะ ก็ได้ และพอเวทนาเกิดขึ้น มันก็ ???ที่เวทนา ที่สัญญา และที่สังขาร มันทำหน้าที่หลายหน เลยเอาไปไว้สุดท้ายหรือสำคัญมาก ขอให้ท่านจำคำ ๕ คำ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี่คือ Condense เรื่องปฏิจจสมุปบาทให้มันน้อยเข้าเพียง ๕ อย่าง แล้วมันก็อาศัยกัน-มันก็อาศัยกันเหมือนกัน เพราะมีรูปขันธ์ก็มีเวทนาขันธ์ มีสัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทีนี้มันง่ายขึ้นเพราะมันเหลือเพียง ๕ อย่าง
ชาวอินเดียก่อนพุทธกาล ก่อนเกิดพุทธศาสนา ชาวอินเดียนั้นเขาก็รู้เรื่องขันธ์ ๕ ขันธ์ทั้ง ๕ เหมือนกันนะ เขารู้แต่เขารู้ไปในทางเป็นวิชาแพทย์ วิชาจิตวิทยา อะไรไปเสีย และในที่สุดก็ไปรู้-ไปรู้ผิด เข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวตน รูปขันธ์ก็เป็นตัวตนตามแบบรูปขันธ์ เวทนาก็เป็นตัวตน สัญญาก็เป็นตัวตน สังขารก็เป็นตัวตน วิญญาณก็เป็นตัวตน เขารู้ขันธ์ทั้ง ๕ ในฐานะเป็นตัวตน พอพระพุทธเจ้าก็จะต้อง อย่า ไม่ ๆ ๆ ไอ้ขันธ์ทั้ง ๕ นี่ไม่ใช่ตัวตน เป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฏแห่งอิทัปปัจจยตานั่นหล่ะ เพราะฉะนั้นพุทธศาสนาจึงเกิดขึ้นปฏิเสธชาวอินเดีย ก่อนโน้นเขารู้ขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวตน รู้ผิด มารู้เสียใหม่ว่าขันธ์ ๕ มิใช่ตัวตน พอไม่มีเป็นตัวตน มันก็ไม่มีปัญหา มันก็ไม่มีความทุกข์ตามวิถีของปฏิจจสมุปบาท
พุทธศาสนาฝ่ายมหายาน-มหายานะ เขาพูดเรื่องขันธ์ ๕ มากกว่าที่จะพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท พูดเหมือนกัน แต่ว่าส่วนใหญ่จะพูดเรื่องขันธ์ ๕ พระสูตร สูตรที่สำคัญ-สำคัญ-สำคัญของมหายานสิบกว่าสูตรนั้น มันจะจบลงด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ทั้งนั้นนะ พูดเรื่องสวรรค์ พูดเรื่องสุขาวดี พูดเรื่องโพธิสัตว์พูดเรื่องยืดยาวมากมาย แต่ในที่สุดมาจบลงที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ฝ่ายมหายานะ Bhuddisim นี่ชอบพูดเรื่องขันธ์ ๕ มากกว่าที่จะพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็พูดเหมือนกันแต่พูดน้อยมาก นี่เรื่องขันธ์ ๕ มันง่ายหรือมันธรรมดาหน่อยสำหรับคนทั่วไป คนที่ปัญญาอ่อนก็พอจะเข้าใจได้ เราก็ควรจะรู้ไว้ว่าจะแยกเป็นขันธ์ทั้ง ๕ หรือจะแยกเป็นปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อาการ มันควรจะรู้ไว้ในคราวเดียวกันว่ามัน Condense ปฏิจจสมุปบาท ลงมาเป็นขันธ์ ๕ ศึกษาง่าย ๆ ระวังง่าย ๆ ควบคุมง่าย ๆ อย่างนี้
จะพูดอย่างขันธ์ ๕ หรือจะพูดอย่างปฏิจจสมุปบาท ใจความสำคัญก็รวมกันอยู่ที่ว่า มันมิใช่ตน ไม่ใช่ตน รูปมิใช่ตน เวทนามิใช่ตน สัญญามิใช่ตน สังขารมิใช่ตน วิญญาณมิใช่ตน นี่หล่ะขันธ์ ๕ พอมาถึงปฏิจจสมุปบาท อายตนะมิใช่ตน วิญญาณมิใช่ตน ผัสสะมิใช่ตน เวทนามิใช่ตน ตัณหามิใช่ตน อุปาทานมิใช่ตน มิใช่ตนหมดเหมือนกัน รวมเรื่องเดียวกันว่า มันมิใช่ตน แต่ถ้ามีความไม่รู้ มีอวิชชา มันก็เห็นเป็นตนไปหมด-ตนไปหมด จึงสรุปความว่าพุทธศาสนาก็คือสอนเรื่อง มิใช่ตน หรือไม่มีสิ่งที่ควรเรียกว่าตัวตน มีแต่ธาตุตามธรรมชาติ เป็นไปตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ นี่คือพุทธศาสนา สอนเรื่องมิใช่ตน บางทีเราเรียกให้มันรุนแรงไปให้มัน Wonderful ศาสนา The teaching of no man-teaching of no man ไม่มีคน ไม่มีสัตว์ ไม่มีคน มีแต่สิ่งที่มิใช่ตน
มันมิได้มีตัวตนที่แท้จริง มันมีแต่ Concept ด้วยอวิชชาว่าตัวตน We are we which is not the real we. We are we which is not the real we. ท่านก็เห็นเป็นเรื่อง Joke ท่านก็หัวเราะ ฮ่า ๆ ท่านก็หัวเราะเยาะ แต่ที่จริงเป็นอย่างนั้น We are we which is not the real we. มันเป็นเพียงขันธ์ ๕ เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ท่านอย่าหัวเราะเมื่อได้ยินคำว่า “เรา” มิใช่เรา-มิใช่เรา มิได้เป็นเราที่แท้จริง เป็นเพียงเรื่องของขันธ์ ๕ เป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้ปัญหามันก็มีอยู่ว่าเราจะทำอย่างไรจึงจะมีความรู้ว่า มันมิได้มีตัวตน-มันมิได้มีตัวตน มันมีแต่ Concept เท่านั้นหล่ะว่าตัวตน มันไม่ได้มีตัวตนที่แท้จริง นี่เพราะว่าเราขาดปัญญา (Intuitive wisdom) เราขาดปัญญา แล้วเราก็ขาดสิ่งที่จะนำปัญญามาสัมผัสสิ่งเหล่านี้ คือ สติ (Mindfulness) เราขาดทั้ง Mindfulness เราขาดทั้ง Intuitive wisdom เราจึงไม่สามารถจะรู้สึกว่าไม่มีตัวตน และจะปฏิบัติไปอย่างไม่มีตัวตน นี่คือตัวปัญหา
ทำไมเราจึงมี Concept ว่าตัวฉัน-ว่าของฉัน ตัวฉัน-ของฉัน ตัวฉัน-ของฉัน อยู่ตลอดวันตลอดคืนเป็นอัตโนมัติ มีอะไรเข้ามาก็เป็นตัวฉัน-เป็นของฉัน เป็นตัวฉัน-เป็นของฉัน เป็นอัตโนมัติ นี่เพราะเราขาดปัญญาและสติ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษาเพิ่มเติมปัญญาและสติ ที่จริงปัญญาและสติก็มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่มันมีน้อย น้อยนัก ไม่พอ-ไม่พอที่จะมารู้เรื่องอนัตตา เราต้องเพิ่มเติมการศึกษาเรื่องปัญญาและสติ เราจึงจะมีความรู้สึกที่ถูกต้องอยู่ตลอดเวลาว่าไม่มีตัวตน ไม่มีของตน มีแต่สิ่งต่าง ๆ เป็นไปตามธรรมชาติ และต้องเข้าใจให้ดี อย่าให้มันเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา
มันมีอุปมา-อุปมานิยายทางศาสนา เรียกว่า Parable หรืออะไรนี่อยู่เรื่องหนึ่งที่อยากจะให้ท่านทั้งหลายได้ยินนะ เรื่องนั้นมีเล่าว่าลิงที่ฉลาด-ที่ฉลาด ที่ขนาดเป็นโพธิสัตว์ ลิงตัวนี้ถูกจับมาเลี้ยงไว้ที่ในเมืองโดยพระราชาชอบเลี้ยง และต่อมาพระราชาเขาก็เบื่อ เขาก็ปล่อยลิงกลับไป ปล่อยลิงกลับไปในป่า พอลิงตัวนี้กลับไปในป่า ไอ้ลิงทั้งหมดลิงทั้งหลายก็มาถามว่า ไปอยู่ในเมืองมีอะไรบ้าง มีอะไรดี มีอะไรน่ารู้ มีอะไรน่าสนใจ ลิงตัวนั้นก็บอกว่าไม่มีอะไรนะ ไม่มีอะไรในเมืองมนุษย์ มีแต่คำพูดว่าเงินของกู ทองของกู ผัวของกู เมียของกู ลูกของกู ครอบครัวของกู ของกู-ของกู-ของกู ที่นี้ลิงทั้งหลาย-ลิงทั้งหลาย โอ้ สกปรก-สกปรก-สกปรก วิ่งไปที่ลำธารแล้วก็ไปล้างหู-ไปล้างหูเพราะหูสกปรก ได้ยินของสกปรก นี่คือนิทาน Parable ทางศาสนาในพุทธศาสนา ก็มีอยู่ในพระคัมภีร์เรื่องลิงล้างหู
ความจริงก็มีอยู่ว่า เราต้องมีปัญญาเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เราต้องมีสติเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เราต้องมีสัมปชัญญะเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ เราต้องมีสมาธิเพิ่มขึ้นให้เพียงพอ สิ่งเหล่านี้ที่จริงก็มีอยู่ตามธรรมชาติ แต่น้อยมาก-น้อยมาก เพียงมีชีวิตอยู่ได้เท่านั้น มันน้อยมาก ก็ต้องเพิ่ม ๆ ๆ ๆ ๆ ให้มีปัญญา มีสติสัมปชัญญะ สมาธิ ดังนั้นเราจึงขอร้องให้ท่านทั้งหลายฝึกอานาปานสติที่เซ็นเตอร์ ขอให้ฝึกอานาปานสติครบทั้ง System อันนี้ แล้วก็ท่านจะเพิ่ม-เพิ่มปัญญา เพิ่มสติ เพิ่มสัมปชัญญะ เพิ่มสมาธิ แล้วก็จะมีสติ มีปัญญาพอที่จะไม่หลงไปว่าเป็นอัตตาหรือเป็นอัตตนียา มีสติสมบูรณ์อยู่ตลอดเวลา ไม่หลงเป็นอัตตา ไม่หลงเป็นอัตตนียา ก็ไม่เกิดความทุกข์ ไม่เกิดปัญหา
เราศึกษาอานาปานสติโดยแยกออกเป็น ๔ เรื่อง ให้รู้ความลับหรือความจริง-ความลับหรือความจริงที่ลึกลับของระบบกาย-ระบบกายทั้งหมด แล้วก็ระบบ Feeling-เวทนาที่จะเกิดกับกายทั้งหมด แล้วก็ระบบ จิตตะ-จิตตะ-The mind ทั้งหมด แล้วก็ระบบของธรรมชาติ ตามธรรมชาติที่หลอกลวงให้เราเกิด Attachment ทุกสิ่งที่หลอกให้เราเกิด Attachment ทั้งหมด เรียกว่าธรรมะ รู้เรื่องกายา รู้เรื่องเวทนา รู้เรื่องจิตตะ รู้เรื่องธรรมมา เป็น ๔ เรื่องด้วยกัน นี่เรียกว่าระบบอานาปานสติที่ท่านจะต้องศึกษาให้ดี ฝึกฝนให้ดี ท่านอาจารย์ผู้สอนก็จะสอนให้ท่านเข้าใจเรื่องนี้ แล้วปฏิบัติเรื่องนี้ ขอให้สนใจเป็นพิเศษ ศึกษาให้เข้าใจและปฏิบัติให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำให้ดีได้
หมวดแรก “กาย” คือ “กายะ” หรือ Body มีอยู่ ๒ กาย Flesh body คือ ร่างกาย เนื้อหนัง Flesh body แล้วก็มี Breath body หรือถ้าเรียกตามภาษาเดิมของเก่าก็ Prana body-Prana body นี่คือลมหายใจ กาย-ลมหายใจ กายร่างกายเนื้อหนังนี่ มันเนื่องกันอยู่ เราควบคุมไอ้กายเนื้อหนังได้ทางการควบคุมลมหายใจ เราทำลมหายใจให้สงบระงับ กายเนื้อหนังก็สงบระงับ เราก็มีความสุข นี่ความลับเกี่ยวกับเรื่องกาย
เราฝึกลมหายใจให้ระงับ ให้สงบระงับ ให้ Calm ให้ Peaceful ไอ้ Flesh body มันก็ปล่อย Calm, peaceful ไปด้วย นี่ต้องฝึกกันสักหน่อย ต้องอดทนสักหน่อย มันเป็นบทเรียนอันสำคัญ เป็นบทเรียนอันแรก
หมวดที่ ๒ คือ “Feeling” อย่างที่เราพูดกันแล้วในปฏิจจสมุปบาท ไอ้ Feeling นี่มันปรุงแต่ง Concept Concept ทุกชนิดมันถูกปรุงแต่งโดย Feeling นี่เราก็ควบคุม Feeling อย่าให้มันปรุงแต่ง หรือให้มันปรุงแต่งแต่ในทางที่ถูกต้อง ดังนั้นเราจะต้องศึกษาเรื่อง Feeling หรือเวทนานี้ ให้อยู่ในอำนาจของเรา รู้ความลับของมัน รู้ความจริงของมัน ควบคุมมันให้ได้ อย่าให้มันปรุงแต่ง ไอ้ Concept ที่เป็นความทุกข์ทั้งหลาย
ทีนี้หมวดที่ ๓ คือ “จิตตะ-จิตตะ” เราเรียกรวม ๆ กันว่า The mind บางทีก็เราเรียกว่า Consciousness ก็ได้ แต่จะเรียกว่า The mind จะง่ายกว่า เรารู้เรื่องจิตตะว่ามันเป็นอย่างไร มันเป็นได้กี่อย่าง-มันเป็นได้กี่อย่าง เราเลือกเอาอย่างที่ดีที่สุดที่จะเป็น แล้วก็ฝึกฝนบังคับจิตให้ได้อย่างนั้น ฝึกบังคับให้มันยินดีปรีดาปราโมทย์ พอใจในชีวิตนี้ นี่ให้มันพอใจก็ได้ ให้มันหยุด Stable, Stableness มากที่สุดเป็นสมาธิก็ได้ หรือบังคับจิตให้ปล่อย-ปล่อย ปล่อย Attachment ไม่มี Attachment ละ เลิกละ Attachment อย่างนี้ก็ได้ นี่เรื่องจิต ถ้าเราชนะจิต เรารู้ความลับของจิต ความจริงของจิต เราก็บังคับจิตได้ตามที่เราต้องการ นี่บทเรียนที่ ๓ คือจิต-คือจิต
หมวดสุดท้ายที่ ๔ ก็คือ “ธรรมชาติ” ที่หลอกลวงให้เรายึดมั่นถือมั่น ธรรมชาติทุกอย่าง-ทุกอย่าง ถ้าเราไม่รู้จัก ไม่เข้าใจ เราจะยึดมั่นในแง่บวกบ้าง ในแง่ลบบ้าง ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบบ้าง เราจะยึดมั่นในธรรมชาติเหล่านั้นแล้วเกิดความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตน เดี๋ยวนี้มาศึกษาให้รู้จักให้ดี ธรรมชาติทั้งหลายตามธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ตามกฏเกณฑ์ของธรรมชาติ ไม่มีความหมายแห่งตัวตน เราควรศึกษาข้อนี่ให้มากที่สุดจนเราไม่ยึดมั่นถือมั่นในธรรมชาติที่หลอกลวงอีกต่อไป นี่เรียกว่าหมวดที่ ๔
เราไม่อาจจะฝึกบทเรียนทั้งหมดนี้ได้ภายใน ๑๐ วัน แต่เราก็ต้องพยายามต่อไป-พยายามต่อไป ภายใน ๑๐ วันเราอาจจะรู้เรื่อง อาจจะเข้าใจ-อาจจะเข้าใจ รู้วิธีที่จะปฏิบัติและจะปฏิบัตินานเท่าไหร่ก็แล้วแต่ว่าฉลาดมากฉลาดน้อย แต่ถึงอย่างไรก็ดี ขอให้ท่านเข้าใจ-เข้าใจ-เข้าใจเรื่องอานาปานสติ แล้วปฏิบัติให้ได้ แล้วท่านก็จะมีสติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ พอที่จะควบคุมขันธ์ ๕ ควบคุมปฏิจจสมุปบาทไม่ให้เกิดความรู้สึกเป็นตัวตน เรื่องมันก็จบ ไม่มีตัวตน เรื่องก็จบ
สรุปความในที่สุดว่า เราศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท-ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท รู้เรื่องความจริงของชีวิตหรือของสิ่งทั้งปวง แล้วเราก็ปฏิบัติอานาปานสติ-ปฏิบัติอานาปานสติเพื่อควบคุมปฏิจจสมุปบาทให้เป็นไปอย่างไม่เกิดทุกข์ มี ๒ เรื่อง ศึกษาปฏิจจสมุปบาทแล้วก็ปฏิบัติอานาปานสติเพื่อควบคุมปฏิจจสมุปบาท แล้วปัญหาก็ไม่มี เราก็อยู่เหนือความทุกข์เหนือปัญหาโดยประการทั้งปวง นี่ล่ะ The heart of Dharma มีเท่านี้
ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย-ขอบพระคุณท่านทั้งหลายเป็นผู้ฟังที่ดี เกิดความอดทนเป็นเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทและอานาปานสติให้สำเร็จ-ให้สำเร็จ แล้วจะได้รับประโยชน์ถึงที่สุดในการมาศึกษาธรรมะ ขอให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในเรื่องปฏิจจสมุปบาทและเรื่องอานาปานสติ วันนี้ก็มีการพูดเพียงเท่านี้ แล้วก็ขอปิดประชุม
ขอแถมพก -แถมพกผนวกอีกนิดหนึ่งว่า ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบคุณขอบใจข้าพเจ้า ข้าพเจ้าขอบใจท่านทั้งหลายที่มาช่วยทำให้ข้าพเจ้าเป็นคนมีประโยชน์ ทำข้าพเจ้าให้เป็นมนุษย์ที่มีประโยชน์ ข้าพเจ้าขอขอบคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบคุณข้าพเจ้า
อย่าลืมบทเรียน Walking without the walker กลับไปที่เซ็นเตอร์ตามเดิม
Cool which is not cold.