แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
สันติกโรภิกขุ : ท่านอาจารย์ครับ ท่านคิดว่าอย่างไรสำหรับเพื่อนหรือคนร่วมครอบครัวที่มีปัญหาทางจิตใจหนักขนาดที่ เขาต้องไปหาจิตแพทย์ เราควรจะแนะนำให้เขารู้จักพุทธศาสนาหรือรู้จักการฝึกกรรมฐานหรือไม่ ถ้าควร เราควรจะช่วยเขาอย่างไรเมื่อเขาไม่ได้อยู่ในประเทศหรือเมืองพุทธ เราควรจะช่วยเขาอย่างไรดี ควรให้หนังสือเกี่ยวกับพุทธศาสนาและกรรมฐาน หรือควรจะบอกความรู้ที่เราได้มาจากมาฝึกอบรมที่นี่ หรือควรให้เขามาเอง หรืออย่างไรดี
พุทธทาสภิกขุ : จะต้องทราบกันเสียก่อนว่า ความรู้ทางธรรมะนั้นต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า ทุกคนจะต้องศึกษาไว้เป็นการล่วงหน้าจึงจะป้องกันผลร้ายเหล่านี้ได้ เมื่อเป็นแล้ว มีปัญหาแล้วจะมาแก้ปัญหากันทันทีนี่มันก็ยาก แต่ก็ต้องทำไปตาม ตามเรื่องด้วยเหมือนกัน เท่าที่จะทำได้ บอกเขาอย่างนี้ดีกว่า
คนที่ถึงกับเป็นประสาทหรือเป็นโรคจิตแล้วเขาฟังธรรมะไม่รู้เรื่อง จะฟังธรรมะไม่รู้เรื่องนะ ปัญหามันอยู่ที่นี่ ผู้ที่จะช่วยเขาได้ต้องเก่งมาก ต้องรู้มาก ต้องเก่งมาก ต้องสามารถมากจึงจะช่วยเขาได้ เราต้องพูดจนเขาเข้าใจหรือยอมรับว่าการที่เขาเป็นอย่างนั้น ถึงขนาดนั้น เพราะว่าเขาไม่รู้ธรรมะเสียเลย ให้เขาเกิดความสนใจที่จะรู้ธรรมะขึ้นมาบ้างจึงจะค่อยพูดกันรู้เรื่อง เราต้องพูดกันจนเขาเข้าใจ มองเห็นว่าธรรมะแก้ปัญหานี้ได้หรือแก้โรคที่เขากำลังเป็นอยู่นี้ได้ ถ้าเขาจะยอมฟังและค่อยๆ คิดตามมา, คิดตามมา เราก็พอจะพูดให้เขารวบรวมสติ กำหนดสติ กำจัดความฟุ้งซ่านหรือความเครียดออกไปได้ในเบื้องต้น เขาพอใจแล้วก็ค่อยๆ ทำต่อไป
หนังสือเห็นจะช่วยไม่ได้ สู้การพูดจา พูดจาชักจูง แนะนำการกระทำสมาธิง่ายๆ, ง่ายๆ ชักจูงในเบื้องต้นทีละน้อย, ทีละน้อย จนกว่าจิตใจของเขาจะเข้ารูปเข้ารอยเป็นสมาธิขึ้นมาบ้างและก็ทำต่อไป หนังสือจะช่วยได้บ้างก็เมื่อยังไม่ทันจะเป็นหรือจะ จะเริ่มเป็น หนังสือจะช่วยได้บ้าง ปรากฏว่ายังไม่เคยมีผู้ใดได้ทำหนังสือเฉพาะที่เหมาะสำหรับคนที่ได้ป่วยด้วยโรคนี้ เราศึกษาผู้ป่วยนั่นแหละให้มาก ศึกษาผู้ป่วยให้มากจนรู้ว่ามันมีเรื่องราวอย่างไร มีเหตุมาทางไหน แล้วค่อยๆ แก้ไขไป บางทีเราก็ทำเราเองให้เป็นคนป่วยเหมือนเขา แกล้งทำก็ได้ และเป็นเพื่อนกับเขา แล้วพูดจากันอย่างนี้ ดูจะมีผล
มีความเห็นเพียงเท่านี้
สันติกโรภิกขุ : ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ทำชั่วได้ดีมีถมไป, ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่ทำชั่วได้ดีมีถมไป อาจารย์จะแนะนำอย่างไร
พุทธทาสภิกขุ : ถามว่าอย่างไร
สันติกโรภิกขุ : คือเขาเห็นว่าพุทธศาสนาสอน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แต่เขาก็เห็นว่า หลายคนเขาทำชั่วแต่ได้ดี อาจารย์จะแนะนำคนนี้ว่าควรจะทำความเข้าใจอย่างไร
พุทธทาสภิกขุ : เรื่องทำชั่ว ทำดี นี่เป็นเรื่องเบื้องต้น เป็นเรื่องแรกศึกษา และบางทีเป็นเรื่องปัญญาอ่อนด้วยซ้ำไป ถ้าเป็นพุทธศาสนาแท้จริง จะต้องทำชนิดที่เหนือดีเหนือชั่ว, เหนือดีเหนือชั่ว นั่นไปถึงระดับ The Mark (นาทีที่14:12) ของพุทธศาสนา ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นี่ขอให้รู้ว่าเขาสอนกันอยู่ก่อนพุทธศาสนา ก่อนพุทธศาสนาเกิดในอินเดียเขาก็สอนกันอย่างนี้อยู่แล้ว ปัญหามันอยู่ที่ว่าเขาไม่มองให้ชัดว่าดี-ชั่วอย่างไร เขาเอาดีหรือชั่วทางจิตใจไปปนกับดีหรือชั่วทางวัตถุ ทำดีทางจิตใจ ยังไม่ได้ผลดีทางวัตถุ ก็เรียกว่า ทำดี-ได้ชั่ว บางทีคนทำดีทางวัตถุทางภายนอก แต่มันฟลุ๊คหรือมันเผอิญได้โชคดีอะไรแสดง คนก็เข้าใจว่าได้ดีเพราะทำชั่ว นั้นมันเป็นเรื่องเข้าใจผิด เป็นเรื่องสับสนกัน อย่าไปหมายมั่นคำว่า ดี หรือคำว่า ชั่ว มากมายนัก เราจงหมายมั่นคำว่า อย่างไรดับทุกข์ได้, อย่างไรดับทุกข์ได้, อย่างไรดับทุกข์ได้ อย่างนั้นมากกว่า
เรื่องเหตุของ ดี ความดี ความชั่วนั้น อย่าไปหวังเรื่องในชาติก่อน, ชาติก่อน ให้มากนัก หวังอิทัปปัจจยตาในชาตินี้ กฎอิทัปปัจจยตาในชาตินี้ ที่นี่ เดี๋ยวนี้ ให้มาก จะเป็นผลดีผลจริงแน่นอน ไม่เกิดสับสนอย่างที่กล่าวมาแล้ว
สันติกโรภิกขุ : พุทธศาสนาจะทำอย่างไรเกี่ยวกับปัญหาที่เรียกว่า การเสพติด แม้จะเป็นเสพติดในเหล้า ในยาเสพติด ในอาหาร หรือในเรื่องอื่นๆ เช่น การพนัน จะทำอย่างไรกับเรื่องเสพติด
พุทธทาสภิกขุ : เรื่องสิ่งเสพติดนี้เป็นข้อห้ามมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธศาสนา ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด เป็นศีลธรรม เป็นจริยธรรมที่เขาห้ามกันมาก่อนแล้วในฐานะเป็นศีลธรรมพื้นฐานทั่วๆ ไป พุทธศาสนาเกิดขึ้นก็ยอมรับข้อนี้ ซึ่งก็เป็นอันว่าเป็นเรื่องเบื้องต้น เป็นเรื่องช่วยประกอบให้มีการปฏิบัติพุทธศาสนาที่สูงขึ้นไป, สูงขึ้นไป และถือเป็นจริยธรรมต่ำๆ สากลทั่วไปก็แล้วกัน ปัญหานี้เพิ่งยาก ยุ่งยาก เพิ่งลำบากยุ่งยากในสมัยหลัง ในสมัยที่มนุษย์ได้ประดิษฐ์น้ำเมาหรือการเล่นการพนันให้มันยั่วยวน มันเป็น effective มากขึ้นทีหลัง ปัญหาจึงค่อยเกิดมากขึ้นอย่างเดี๋ยวนี้
สันติกโรภิกขุ : ทีหลังหมายถึงไหน
พุทธทาสภิกขุ : ยุคหลังๆ ยุคปัจจุบัน ยุคหลังๆ
สันติกโรภิกขุ : คือไม่กี่ร้อยปีเอง
พุทธทาสภิกขุ : ก็ใช้คำว่า ยุคหลัง, ยุคหลัง ยุคเจริญทางวัตถุ
สันติกโรภิกขุ : ครับ
สันติกโรภิกขุ : เมื่อวานผมพูดเรื่องความรับผิดชอบ และพูดทำนองว่า บางทีไปเที่ยวต่างประเทศมันคือไม่รับผิดชอบ เขาก็เลยถามว่า ท่านอาจารย์คิดอย่างไร การเที่ยวรอบโลกเป็นการหนี เป็นการหนีความรับผิดชอบที่เรามีต่อสังคมของเรา เป็นการไม่รับผิดชอบหรืออย่างไร
พุทธทาสภิกขุ : มันหลายความหมายนะ การไปเที่ยวรอบโลกมันมีความหมายหลายความหมาย คือไปเพื่อศึกษาก็ได้ ไปเพื่อช่วย ช่วยผู้อื่นก็ได้ และไปเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนานก็ได้ ถ้าเราไปเพื่อเป็นประโยชน์โดยแท้จริงแก่เราเองหรือแก่ผู้อื่นก็เรียกว่า ถูกต้อง ไม่ได้ทิ้ง ไม่ได้หนี ไม่ได้เอาเปรียบ แต่ถ้าไปเพื่อความเพลิดเพลิน ดูมันจะไม่คุ้มค่า มีลักษณะเป็นการเอาเปรียบ เป็นการหนี หรือว่าเป็นการไม่รับผิดชอบ ถ้าเราไปเพื่อช่วยเพื่อนมนุษย์รอบโลก มันยิ่งเป็นการรับผิดชอบที่ใหญ่หลวงนัก เป็นการรับผิดชอบที่มากมายทีเดียว
เดี๋ยวนี้มันมีสิ่งช่วยประหยัดให้เราไม่ต้องไป คือมันมีหนังสือข่าวหรือมันมีการติดต่อ โลกมันเล็กลง เราก็สามารถจะรู้เรื่องเกี่ยวกับโลกได้โดยไม่ต้องไป เราใช้ประโยชน์จากส่วนนี้เสียก่อนที่โดยไม่ต้องไป ให้รู้จักโลกโดยที่ไม่ต้องไปให้เต็มที่ก่อน ถ้ามันยังไม่พอ เหลือจากนั้นจึงค่อยไป อย่างนี้จะเป็นการประหยัดมาก
ขอแนะนำโลกอีกอย่างหนึ่ง ก็เรียกว่า โลกอื่น, โลกอื่น ปรโลก โลกอื่นด้วยเหมือนกัน โลกนี้ไม่ต้องไปไหน ไม่ต้องตายแล้ว ไม่ต้องรอต่อตายแล้ว แต่ว่ามันเที่ยวไปข้างใน, เที่ยวไปข้างใน ในจิตในใจ ในความรู้สึกของตัวเอง นี่เพราะความแปลกความประหลาดจากที่แล้วๆ มา คือมีลักษณะเป็นอย่างอื่น เราไปเที่ยวโลกอื่นซึ่งมีอยู่ในตัวเราเองให้มากๆ ให้รู้จักมากๆ นี่อย่างนี้อาจจะมีประโยชน์มากกว่าไปเที่ยวโลกอื่นในทางวัตถุ ปฏิบัติอานาปานสติหมวดที่ ๓ จิตตานุปัสสนา ให้มากๆ จะไปเที่ยวโลกอื่นในภายในได้มากๆ มากมายมหาศาลทีเดียว
สันติกโรภิกขุ : พุทธศาสนาชี้แจงให้เห็นว่า ไม่มีตัวตนในทั้งปวง ไม่มีจุดศูนย์กลางที่ตายตัว ไม่มีอะไรที่ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ธาตุแห่งวิญญาณหรือวิญญาณธาตุที่มีอยู่ในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย อันนี้เป็นจุดศูนย์กลางที่ไม่เปลี่ยนแปลงมิใช่หรือ แม้แต่เราอาจจะไม่เรียกมันว่า เป็นตัวตน เป็น ego เช่นเราเรียกว่า ตัว ego เป็นตัวตน เมื่อมันบริสุทธิ์ เมื่อวิญญาณธาตุนั้นบริสุทธิ์ เช่นที่มีในพระนิพพาน อันนั้นไม่ใช่สปิริตที่เป็นแกนแห่งสิ่งที่มีชีวิตมิใช่หรือ เพราะฉะนั้นแม้แต่สิ่งทั้งหลายไม่มีตัวตน ตัวตนนี้ก็เป็นมายา แต่สปิริต สปิริตก็ไม่ใช่มายา เรามีสปิริต สปิริตนี้่เป็นของแท้จริง
เขาใช้คำว่า สปิริต ในความหมายไหน อาจารย์ลองเดาเอาเอง
พุทธทาสภิกขุ : เรื่องนี้ลำบากยุ่งยากที่สุด แต่มันเกี่ยวกับภาษาต่างหาก ภาษาที่พูดกันอยู่น่ะ ตัวตน, ตัวตน มันเป็นสิ่งหนึ่งที่ต่างออกไปจากธรรมชาติ ถ้าเราจะใช้คำว่า soul, soul นี้มันจะง่ายกว่า คือมันเป็นตัวมีชีวิต ตัวความมีชีวิตในด้านฝ่ายวิญญาณ คือฝ่ายนามธรรม ฝ่ายจิตมีตัวตน ฝ่ายจิต มีตัวตนฝ่ายจิตเรียกว่า soul เรียกว่า soul นี่ตามความเห็นของอาตมา เข้าใจว่ายังไม่ถึงความหมายของคำว่า self, self คืออัตตาน่ะ เป็น soul, เป็น soul นี่มันยังเป็นเพียงวิญญาณธาตุ วิญญาณธาตุตามธรรมชาติ แต่แล้วมันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าอัตตา ไม่ยึดถือก็แล้วไป พอยึดถือเข้ามันก็เกิดอัตตา, อัตตา ขึ้นมา ปัญหามันเพิ่งจะเกิดเมื่อถูกยึดถือว่าเป็นอัตตา เราจะต้องเข้าใจให้ดีให้ถูกต้องอย่างยิ่งว่าอัตตานั้นคืออะไร ในชั้นนี้เข้าใจกันเสียก่อนว่า soul ที่ไม่ถูกยึดถือ ก็ยังไม่เป็น self พูดข้อนี้กันก่อน
สันติกโรภิกขุ : ครับ ขอให้พูดไม่ยาวไป ผมจำไม่ได้
พุทธทาสภิกขุ : ว่า
สันติกโรภิกขุ : เดี๋ยว ตัวนี้จำได้
พุทธทาสภิกขุ : soul, soul คือชีวิตในฝ่ายจิต (mentality) เรียกว่า soul ยังไม่มีปัญหา ต่อเมื่อได้ไปหลงไปยึดมั่นเอา soul มาเป็น self นี่ก็จะเกิดสิ่งใหม่, สิ่งใหม่ สิ่งหลอกลวง นี้จึงจะมีปัญหา ทางฝ่ายธรรมะ ภาษาบาลี มันยังเป็นเพียงชีวิต หรือชีวิตินทรีย์, ชีวิตินทรีย์ ความมีชีวิตในส่วนจิตนี้ยังไม่มีปัญหา ต่อเมื่อได้ยึดเอาสิ่งที่เรียกว่าชีวิตมาเป็นอัตตา, อัตตา นี่มันจึงจะเป็นปัญหา ฉะนั้นปัญหามันอยู่ที่ความหลงว่าเป็นอัตตา นี่เราจะต้องเข้าใจกันในข้อนี้
ปัญหาที่กำลังมีอยู่โดยแท้จริงก็คือ ไม่มีใครรู้จักหรืออธิบายได้ว่า อัตตา, อัตตา นั้นคืออะไรโดยแท้จริง พูดไปตามความเห็นทั้งนั้น ถึงแม้คำว่า self ในภาษาอังกฤษก็ดี ใครอธิบายได้แน่ว่า self, self คืออะไร, คืออะไร นี่เพราะว่า self หรืออัตตานั้นมันมิได้มีตัวจริง ใครเข้าใจว่าอะไรเป็น self เป็นอัตตา มันก็พูดไปอย่างนั้น บอกไปอย่างนั้น แม้ในภาษาบาลีหรือภาษาสันสฤตก็มีความหมายที่กล่าวกันไว้หลายๆ อย่าง ไม่แน่นอน อย่างนั้นอย่างนี้เรียกว่า อัตตา อย่างโน้นอย่างนี้เรียกว่า อัตตา แต่ว่าในที่สุดพุทธศาสนามาถือว่าเป็นความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นอัตตา ศาสนาอื่นเขาเอาเป็นตัวจริง, ตัวจริง, ตัวจริง เป็นอัตตาตัวจริง เพราะฉะนั้นก็เลยต้องแยกกัน เราไม่มีอัตตา สิ่งที่มีตามความรู้สึกว่าตัวกูตามธรรมชาตินั้น เราไม่ถือว่าเป็นอัตตา เราถือว่าเป็นความเข้าใจผิด ความโง่ ความหลง เป็นความยึดมั่นว่าตัวตน อหังการ มมังการ ความโง่ออกมาว่าตัวกูว่าของกูนั้นไม่ใช่ตัวตน แต่บางพวกเขาถือ บางลัทธิเขาถือเป็นตัวตนโดยแท้จริง พุทธศาสนาไม่ถือตัวตนที่นั่น นั่นแหละปัญหามันจึงอยู่ที่ว่า ตัวตน หรืออัตตา, อัตตานั้นมันคืออะไร ถ้าท่านพยายามอธิบายคำว่า self, self ได้ถูกต้องเป็นที่พอใจก็ได้เหมือนกันแหละ จะมาสลับกับคำว่า อัตตา ของพวกที่เขาพอใจว่าเป็นอัตตา แต่พุทธศาสนาแม้จะมีคำพูดว่า อัตตา และประชาชนคนทั้งหลายก็มีความรู้สึกคิดนึกว่า อัตตาคือตัวตนหรือตัวกู ก็ยังปฏิเสธว่ามันมิใช่อัตตา มันไม่ควรจะเรียกว่าอัตตาหรือว่าตัวตนอยู่นั่นเอง พูดข้อนี้ก่อน
สำหรับคำว่า อัตตา หรือ อาตมา ในภาษาสันกฤต อัตตา ภาษาบาลีนี่ ดูที่ตัวหนังสือ ที่คำพูด ที่ศัพท์คำนั้นแล้วมันเห็นเพียงความหมายว่า อยู่ มีอยู่ อยู่ ไอ้ตัวที่มีอยู่อย่างแท้จริง, มีอยู่อย่างแท้จริง นั่นแหละคือสิ่งที่เรียกว่า อัตตา และก็เถียงกันไม่รู้จักยุติว่า อัตตามาจาก root ของคำว่าอะไร บางคนว่ามาจาก อัสสะ, อัสสะ แปลว่าอะไร (นาทีที่ 47:16) อัสสะ แปลว่า อยู่ก็ได้ แปลว่ากินก็ได้ เลยมีการบัญญัติว่า กินสิ่งทั้งปวงนั้นคืออัตตา อย่างนี้ก็มี ยุ่งเปล่าๆ อัตตานี่คือความรู้สึกที่รู้สึกว่ามีอยู่ มีอยู่อย่างแท้จริง มีตัวอะไรตัวหนึ่งที่มีการอยู่อย่างแท้จริง และตัวนั้นแหละคืออัตตา จริงๆ ก็ยังเข้าใจยาก ก็เกิดความคิดขึ้นมา ขยายความออกไปว่า ตัวที่อยู่สำหรับจะเห็นทางตา จะได้ยินทางหู จะได้กลิ่นทางจมูก จะได้รสทางลิ้น จะได้สัมผัสทางผิวหนัง ไอ้ตัวที่อยู่เพื่อสิ่งเหล่านี้นี่แหละคืออัตตา รวมใจความว่าที่จะรู้สึกได้ จะคิดนึกได้นั่นแหละ ตัวนั้นแหละคือตัวอัตตา ความคิดว่าสิ่งที่มันคิดได้, คิดได้ นี้คืออัตตา อย่างนี้ก็คิดกันมาแล้วยึดถือกันมาแล้วตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ๒,๐๐๐ กว่าปี หรือก่อนนั้นไปอีก
ความคิดของคนสมัยนี้ เช่น เดส์การ์ตส์ (Descartes) (นาทีที่ 48:35) ว่า Cogito ergo sum อะไรนี่ว่า ฉันคิด เพราะฉะนั้นฉันจึงมี ก็แสดงว่า เขาถือว่าไอ้ที่คิดนั่นแหละคือตัวอัตตา ใครยอมรับก็เชื่อไป ใครไม่ยอมรับก็ไม่เชื่อ เพราะว่าแม้ไม่เป็นอัตตามันก็คิดได้นี่ มันไม่ต้องเป็นอัตตา ไม่ต้องเป็นตัวตนแท้จริงมันก็คิดได้ การที่จะถือว่าคิดได้แล้วเป็นอัตตา มันก็เลยไม่มีความหมาย เอ้า, ในที่สุดรวมความว่า สิ่งที่มันรู้สึกหรือคิดได้ว่า มีอยู่, มีอยู่ เป็นตัวประธาน ประธานแห่งการมีอยู่ นั่นแหละคืออัตตา เป็นอะไรก็ไม่รู้แน่ ใครอยากจะคิดว่าอย่างไรก็คิดไปอย่างนั้น แล้วก็เชื่ออย่างนั้นก็แล้วกัน ทางพุทธบริษัทคิดว่า สิ่งที่คิดได้ไม่ต้องเป็นอัตตา ไม่จำเป็นต้องเป็นอัตตา จิตที่ไม่ใช่อัตตามันก็คิดได้ แต่พวกฮินดูเขาไม่ยอม ของเขาต้องมีอัตตาแท้จริงจึงจะคิดได้ เลยแตกแยกกันในทางความคิด แต่แล้วก็ยุติต้องกันในข้อหนึ่งว่า อัตตาแล้วเป็นปัญหาทั้งนั้น อัตตาชนิดไหนก็เป็นตัวปัญหายุ่งยากทั้งนั้น นี่คือตัวอัตตา เป็นปัญหาที่คาราคาซัง คาราคาซังยุติไม่ได้มาเป็นพันๆ ปีแล้ว ฉะนั้นท่านจงรู้จักอัตตาในลักษณะอย่างนี้ แล้วอย่าลืมว่าแม้ไม่ใช่อัตตามันก็คิดได้, มันก็คิดได้ ไม่ต้องเรียกว่าอัตตามันก็คิดได้ เอาละยุติได้เพียงเท่านี้ว่าอัตตาคืออะไร
เพื่อจะเข้าใจหรือรู้จักความแตกต่างอันนี้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เราก็จะไปดูกันที่สิ่งที่เรียกว่า final goal วัตถุประสงค์อันสุดท้ายน่ะ พวกที่ถือว่ามีอัตตา, มีอัตตา เขาก็ต้องการให้อัตตาเล็กๆ นี่ไปรวมกันกับอัตตาใหญ่ ปรมาตมัน เป็นนิรันดร, นิรันดร เป็น eternity หรือว่าให้เราเข้าไปรวมกับพระเจ้า พระเป็นเจ้าที่เป็นนิรันดรนั่น นั่นพวกที่ถือว่ามีอัตตา ขอให้ไปรวมกันกับบรมอัตตา ไปทางนั้น ทีนี้พวกที่ไม่ถือว่ามีอัตตา เช่น พุทธศาสนานี่เราไม่มีอัตตา, เราไม่มีอัตตา เราก็เลยมี final goal เป็นว่างจากอัตตา ภาวะไม่มีอัตตานั้นก็เป็นนิรันดร ว่างจากอัตตานั่นแหละคือนิรันดร และต้องการจะอยู่กับความไม่มีอัตตาที่เรียกว่าว่างจากอัตตา ว่างจากความทุกข์ ว่างจากปัญหา นี้ก็เป็นนิรันดร ต่างฝ่ายต่างมี eternity ของตน แต่มันต่างกันลิบ อันโน้นมีอัตตาตัวตนถาวร อันนี้ไม่มีอัตตา เป็นนิรันดร ลองใคร่ครวญดูเถิดว่า อัตตา, อัตตานี้มันคืออะไร เมื่อหมู่มนุษย์ในโลกนี้กำลังถือกันอยู่เป็นสองฝ่ายอย่างนี้ อัตตานั้นมันคืออะไร
มาดู, มาดู eternality ที่นี่ เดี๋ยวนี้, ที่นี่ เดี๋ยวนี้ เมื่อใดใครก็ตามว่างจากความคิดว่าอัตตา ไม่มีความคิดว่าอัตตา ว่างจากอัตตา นั่นน่ะเขาถึง eternity eternity ของ eternity ที่นี่และเดี๋ยวนี้ พอเขากลับมีความคิดว่า อัตตาขึ้นมาอีก เขาก็สูญเสีย eternity ข้อนี้เป็นสิ่งที่ต้องสังเกต มี eternity รออยู่ เมื่อใดว่าง จิตว่าง จิตสะอาด จิตบริสุทธิ์ ว่างจากอวิชชา อุปาทาน ความโง่ทั้งหลายแล้ว มันก็ถึง eternity ที่นี่ เดี๋ยวนี้ นี่เราพยายามที่จะถึง eternity ข้อนี้กันน่ะ มีหวังหรือเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ง่ายกว่า ที่นี่และเดี๋ยวนี้ จิตไม่มีความรู้สึกยึดถือว่าอัตตาหรืออัตตนียา คือตัวตนหรือของตน จิตนั้นก็ถึง eternity ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ทีนี้ให้มันถึงตลอดไปเลย ไปตลอดไปเลยก็เป็นนิพพาน ตลอดกาลไปเลย ไปถึงที่สุดในพุทธศาสนา ถึงความว่างจากอัตตา เป็นนิรันดร อัตตา, อัตตาคืออะไร ใคร่ครวญดู
พุทธบริษัทมองเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น, มองเห็นชัดด้วยตนเอง ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น ว่าเมื่อใดจิต จิตน่ะ ว่างจากอัตตา ว่างจาก concept ว่าอัตตา นั้นก็คือว่างจากอัตตา เมื่อนั้นจิตเป็นอิสระ จิตเบา จิตสบาย จิตไม่มีความทุกข์ จิตไม่มีปัญหา เมื่อใดจิตมี concept ว่าอัตตา อัตตาก็มา เมื่อนั้นจิตจะมีลักษณะแบกของหนัก เหมือนกับถือของหนัก หรือว่าถูกเผาด้วยไฟ หรือว่าถูกแทงด้วยของแหลมๆ หรือว่าคลุมไว้ด้วยของที่คลุมที่ปกปิด มันต่างกันอย่างนี้ มองเห็นโดยไม่ต้องเชื่อใครนี่ เชื่อความรู้สึกในใจ ว่าพอมีอัตตาก็แบกของหนัก มันก็เป็นความทุกข์นานาประการ พอว่างจากอัตตาก็ฟรี ก็เป็นอิสระ พอเกิดถามปัญหากันขึ้นมาว่า โอ้, จะหมดความทุกข์โดยวิธีใด จะดับทุกข์โดยวิธีใดโว้ย พวกพุทธบริษัทก็ตอบว่า ว่างจากอัตตา มันเป็นดับทุกข์สิ้นเชิง พวกฝ่ายฮินดูเป็นต้น เขาก็ว่าอัตตาไปอยู่เสียกับพระเป็นเจ้า อัตตาไปอยู่กันเสียกับปรมาตมันนั่นแหละจึงจะหมดความทุกข์ มันต่างกันอยู่อย่างนี้ ท่านทั้งหลายมีอิสระเสรีที่จะเลือกเอา จะเลือกเอาว่าจะดับทุกข์สิ้นเชิงโดยวิธีไหน โดยวิธีไม่มีอัตตาโดยประการทั้งปวงหรือว่าไปมีอัตตานิรันดรอยู่กับพระเป็นเจ้า ท่านเลือกเอาเถิด ท่านเข้าใจความหมายของคำว่า อัตตา ได้โดยข้อนี้แหละ
ทุกคนอาจจะสังเกตเห็นได้ด้วยตนเอง ว่าพอมีความยึดถือว่าอัตตา, อัตตา ขึ้นมาในใจ มันก็มีความหนัก มีความทุกข์ มีความร้อน ถ้าไม่มีความรู้สึกว่าอัตตา มันก็ไม่มีความรู้สึกหนัก รู้สึกเป็นทุกข์ หรือรู้สึกร้อน ข้อนี้มันก็ได้ใจความสำคัญว่า อัตตาคือผู้กิน, อัตตาคือผู้กิน อัตตาก็กินจิตใจของผู้มีอัตตา จิตใจของผู้ใดมีอัตตา อัตตามันก็กินจิตใจของผู้นั้นให้เจ็บปวด ให้เดือนร้อน ให้เป็นทุกข์ นี่ก็มีความหมายอย่างหนึ่งเหมือนกันที่เขาแปลคำว่า อัตตา แปลว่าผู้กินน่ะ เรามี มีอัตตาอย่างไรมันก็กินจิตใจของคนนั้นให้เป็นทุกข์ ไม่มีอัตตาจิตใจก็ฟรี ก็ไม่มีความทุกข์ ท่านเลือกเอาเองว่าจะเอาอัตตาหรือเอาไม่มีอัตตา ฝ่ายที่ถือว่ามีอัตตาเขายังมีทางออกอีกอย่างหนึ่ง คือเขาแยกเป็น ๒ อัตตา คืออัตตาที่เป็นกิเลส นี่ต้องทำลายให้หมด หมดอัตตาที่เป็นกิเลสก็ไปมีอัตตาแท้จริงที่ไปอยู่เป็นปรมาตมัน เขามี ๒ ชนิด ฉะนั้นเขาจึงพยายามทำลายกิเลส ละอัตตา อัตตาที่เป็นกิเลส เขาพูดกันอย่างนั้น อัตตาปลอมน่ะ เขาละแล้วก็ไปอยู่กับอัตตาจริง แต่พุทธบริษัทเราไม่เอาทั้งนั้น ขึ้นชื่อว่าอัตตาแล้วไม่เอาทั้งนั้น อัตตามันเป็นของหลอกลวง เกิดมาจากอวิชชา เลยไม่เอา ไม่มีอัตตาจริง อัตตาปลอมอะไร นี่ต่างกันอยู่อย่างนี้ ท่านใคร่ครวญข้อความทั้งหมดนี้ดูแล้วท่านจะเข้าใจว่า เข้าใจได้ว่าอัตตา, อัตตา นี้คืออะไร ความยากลำบากอยู่ที่ภาษาพูด ภาษาพูดทำความยากลำบากให้แก่การเข้าใจ เมื่อเราเข้าใจเรื่องทั้งหมดแล้ว เราก็พอจะสรุปความได้ว่าอัตตานี้คืออะไร
สรุปความว่า อัตตา concept ว่าอัตตา มีขึ้นมาจากความไม่รู้ ความไม่รู้คืออวิชชา, อวิชชา ปราศจากความรู้โดยประการทั้งปวง ถ้าปราศจากความรู้โดยประการทั้งปวง ความคิดผิดๆ ก็เกิดขึ้นว่าอัตตา, อัตตา ตัวตน, ตัวตน นี่อัตตามาจากอวิชชา เปรียบเสมือนยังหลับ หลับอยู่ด้วยอวิชชาก็มีอัตตาเรื่อยไป พอตื่นจากหลับ, ตื่นจากหลับ ไม่มีอวิชชา อัตตาก็ไม่มี พุทธะ, พุทธะ แปลว่า ตื่นจากหลับ คำว่า พุทธะ, พุทธะ นี่แปลว่า ตื่นนอน ตื่นจากหลับ ไม่มีอวิชชาก็เห็นความจริงว่า ไม่มีอัตตา นี่ความต่างมันอยู่กันที่ตรงนี้ ถ้ามีอวิชชาก็มีอัตตา ไม่มีอวิชชาก็ไม่มีอัตตา ท่านเลือกเอาเอง
ทีนี้ก็มาถึงปัญหา ปัญหาที่ยากลำบากที่สุด คือปัญหาที่ว่าพอเราเกิดมาจากท้องมารดา เราไม่มีปัญญา เราไม่มีวิชชา เราเกิดมาจากท้องมารดาโดยไม่มีวิชชา ก็มีอวิชชา ฉะนั้นพอเกิดออกมาจากท้องมารดาก็พร้อมที่จะหลับหรือจะโง่ คือพร้อมที่จะมีอัตตาตามธรรมชาติหรือตามสัญชาตญาณ เราเกิดมาจากท้องมารดาไม่มีปัญญาหรือวิชชามาจากในท้อง พอเราออกมาจากท้องมารดา เราก็เริ่มโง่, เริ่มโง่ ฟังดูให้ดี เริ่มโง่ เริ่มมีอวิชชา เช่นว่า ว่าเรามีตาเห็นรูป เราไม่รู้ว่าระบบประสาททางตามันเห็นรูป เราก็รู้สึกว่า กูเห็นรูป ระบบประสาทหูได้ยินเสียงทางคลื่นเสียงตามธรรมชาติ ไอ้จิตโง่ อวิชชามันก็ กู, กูได้ยินเสียง จมูก ระบบประสาท ระบบประสาทที่จมูกได้รับกลิ่น แก๊ส ปริมาณของแก๊ส มันก็ไม่คิดว่าระบบประสาทได้กลิ่น มันคิดว่า กูได้กลิ่น ประสาทที่ลิ้นรู้รส มันก็ว่า กูได้รส อะไรมาถูกผิวหนัง ก็ว่ากูได้รับการสัมผัสทางผิวหนัง จิตมันคิดได้มันก็ว่า กูคิด นี่ความโง่ของเรา.... (นาที 1:21:12 เสียงหาย)
ครั้นเมื่อมีสัญญาขันธ (นาทีที่ 1:21:39) แล้วก็มีขันธ์ต่อไปคือ สังขารขันธ์ ได้แก่ ความคิด, ความคิด รวมความคิดทั้งหมด จะเป็น idea หรือเป็น opinion หรืออะไรก็ตาม เป็นความคิด จะเกิดขึ้นตามสัญญานั้นๆ มันมีสัญญาอย่างไรมันจะเกิดความคิดไปตามสัญญานั้นๆ เพราะฉะนั้นความคิดมันจึงเกิด ดีหรือชั่ว ผิดหรือถูกได้ ตามอำนาจของสัญญานั้นๆ ความคิดนี้เราเรียกว่า สังขารขันธ์ ความคิด, ความคิดมันก็เป็นไปตามอำนาจของ perception เป็นสิ่งที่เราจะต้องเข้าใจให้ดี เป็นจุดที่สำคัญที่สุด ความคิดมันเป็นไปตาม perception ถ้าเราควบคุมเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ไม่ได้ ความคิดมันก็จะไม่ถูกเรื่อง นี่จะต้องรู้ว่าความคิดหรือสังขารขันธ์มันเป็นไปตามอำนาจของสัญญาขันธ์
เราเรียกว่า สังขารขันธ มันจะแปลว่า ขันธแห่งการปรุงแต่ง, แห่งการปรุงแต่ง เพราะการปรุงแต่งนั้นคือความคิด เพราะความคิดนั่นแหละคือการปรุงแต่ง สังขารขันธ์ก็คือขันธ์แห่งผู้ปรุงแต่ง แห่งการปรุงแต่ง ซึ่งคงจะแปลยากเหมือนกันนะ แต่ถ้าจะเอาตามความจริงแล้วก็เรียกว่า ขันธแห่งการปรุงแต่ง เป็นความคิดแล้วก็ปรุงแต่งต่อไปๆ เป็นความคิด, ความคิด, ความคิด, ความคิด จนปรุงแต่งเป็นการกระทำ, เป็นการกระทำ เป็น action เป็น commitment อะไรก็ตาม สังขารขันธ์ตัวนี้เป็นผู้สร้าง เป็นผู้ปรุงแต่ง เป็นผู้ก่อเรื่องราว เป็นผู้ทำให้วิจิตร เป็นทำให้เลว อะไรแล้วแต่ สังขารขันธ์น่ะแปลยาก ขอแปลตามตัวหนังสือว่า ขันธ์แห่งการปรุงแต่ง คำนี้มีความหมายกว้าง คือว่าหมายถึงผู้ปรุงแต่งก็ได้ สิ่งที่ถูกปรุงแต่งก็ได้ การกระทำที่เป็นการปรุงแต่งก็ได้ ทั้ง ๓ ความหมายแหละ ผู้ปรุงแต่ง ถูกปรุงแต่ง การปรุงแต่ง มันจึงคลุมหมด ครอบงำไปหมดเลย คำว่า สังขาระ ถ้าไม่มีสังขาระ มันก็ไม่มีปัญหา นี่ปัญหาทั้งหลายมันมาจากเพราะมันมีสังขาระ นั่นคือมันมีการปรุงแต่ง แม้จะปรุงแต่งไปในทาง positive มันก็ยังยุ่ง negative ก็ยุ่ง positive ก็ยุ่ง เพราะมันเป็นการปรุงแต่ง มันไม่ใช่อิสรภาพหรือเสรีภาพ ถ้าหยุดสังขารเสีย จะเป็นเสรีภาพ เป็นความสงบสุขที่สุด ท่านเหลือบมองไปทั่วจักรวาล ทั่วทั้งจักรวาล มันมีสิ่งที่เป็นผู้ปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่ง มันมีการปรุงแต่ง ทุกอย่าง, ทุกอย่าง, ทุกอย่าง ในสากลจักรวาล จักรวาลก็คือจักรวาลแห่งการปรุงแต่งหรือสังขารขันธ์ จำมันไว้เพียง ๓ คำก็พอกระมัง concocter, concocted, concocting จะรู้จักทั่วไปหมด ไม่ยกเว้นอะไร แต่คำนี้เอามาใช้ในความหมายแคบๆ แม้แต่ในประเทศไทยนี่ คำว่า สังขาร, สังขาร เอามาใช้หมายถึงร่างกาย หมายถึงร่างกายเท่านั้นเอง นิดเดียว มันถูกนิดเดียว ก็ยังมี มันมีการใช้ความหมายผิดๆ อย่างนี้ก็มี ที่อื่นก็มี ถ้าพูดว่า สังขารดับ, สังขารดับ ก็คือความตาย นี่มันถูกนิดเดียว ถ้าสังขารดับมันเป็นนิพพาน สังขารดับคือความตายนี่มันถูกนิดเดียว เอ้า, เรารู้ เรารู้จักขันธ์ทั้ง ๕ ขันธแล้ว รูปขันธ เวทนาขันธ สัญญาขันธ สังขารขันธ วิญญาณขันธ แล้ว ขอให้จำคำ ๕ คำนี้ไว้ให้ดี คือมันเป็นทั้งหมดของทั้งหมด เป็นทุกเรื่องของทั้งหมด มันมารวมอยู่ที่ขันธ์ ๕ นี้
ทีนี้มาจำกัดความให้เข้าใจง่ายๆ จำไว้ง่ายๆ ปฏิบัติได้ง่ายๆ ขันธมีอยู่ ๕ ถ้าเราเรียงตามลำดับที่มันเป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ จะเรียงว่า รูปขันธ วิญญาณขันธ แล้วก็เวทนาขันธ สัญญาขันธ สังขารขันธ นี่ตามที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ แต่เพื่อการศึกษาในคัมภีร์ไม่เรียงอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เรามาเรียงเอาที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติกันก่อน มันดีกว่า มันง่ายกว่า มันสะดวกกว่า เรียงลำดับตามที่ธรรมชาติเป็นอยู่จริงนั้นเรียงอีกอย่างหนึ่ง เรียงที่ตามในคัมภีร์กล่าวไว้สำหรับสอนในห้องเรียนในโรงเรียน เรียงไว้อีกอย่างหนึ่ง คือมันเรียงเป็น รูปขันธ เวทนาขันธ สัญญาขันธ สังขารขันธ วิญญาณขันธ มาอยู่ท้ายสุด แต่ถ้ที่เป็นอยู่จริงมันเป็น รูปขันธ วิญญาณขันธ เวทนาขันธ สัญญาขันธ สังขารขันธ ทำไมเอาวิญญาณขันธไปไว้เป็นสุดท้าย เป็นที่ ๕ นั้นมันก็มีเหตุผล เพราะเหตุว่าวิญญาณขันธนี้ทำหน้าที่หลายครั้งทำหน้าที่หลายหน ไม่ได้ทำหน้าที่แต่ตอนต้น และท่านมีความหมายอย่างอื่นอีกซึ่งเราไม่รู้ของท่านว่า วิญญาณะ หมายถึงอะไรบ้าง มันมีความลึกลับอยู่ที่นั่น เลยไปไว้เป็นขันธ์ที่ ๕ เป็นขันธ์สุดท้ายสำหรับการศึกษา, สำหรับการศึกษา
เดี๋ยวนี้เรามาศึกษากันง่ายๆ ดูกันให้เห็นชัดๆ ในเรื่องขันธ์ ๕ ว่า ชีวิต ชีวิตนี้แบ่งเป็น ๕ sections, ๕ sections แบ่งเป็น ๕ sections
section ที่ ๑ section สำหรับ touching หรือ depending ของอายตนะ section นี้เราเรียกว่า รูปขันธ section of touching รูปขันธ ที่เขาหมายถึง section of knowing คือวิญญาณขันธ เพียง know, know อย่าง อย่างรู้จัก make known (นาทีที่ 1:40:48) รู้จักเท่านั้น ไม่ใช่ know โดย wisdom ไม่ใช่ อย่าเอามา section of knowing ว่าอะไรเป็นอะไร, อะไรเป็นอะไร นี่คือ section of วิญญาณขันธ section ที่ ๓ section of feeling, feeling เวทนาขันธ มาถึง section ที่ ๔ section of classification นี่สัญญาขันธ อันที่ ๕ section of concoction, condition, concoction อะไรก็ตาม เรียกว่า สังขารขันธ ท่านจงดูที่หน้าที่, หน้าที่, หน้าที่ของมัน หน้าที่สำหรับ touching หรือ communication หน้าที่สำหรับรู้จัก, รู้จัก วิญญาณขันธ หน้าที่สำหรับรู้สึก, รู้สึก ภาษาไทยจำง่าย รู้จักแล้วก็รู้สึกคือเวทนาขันธ และก็หน้าที่สำหรับสำคัญ, สำคัญ มั่นหมายว่าเป็นอะไร classification นี่คือสัญญาขันธ แล้วก็มีความคิด, ความคิด ก็คือสิ่งที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ สังขาระ แปลว่าการกระทำที่ทำให้เกิดสิ่งใหม่ออกมา นี่หน้าที่สำหรับปรุงแต่ง, หน้าที่สำหรับปรุงแต่ง จำง่าย ๆ ว่า หน้าที่สำหรับ touching หน้าที่สำหรับ knowing หน้าที่สำหรับ feeling หน้าที่สำหรับ percept หน้าที่สำหรับ concept
อยากจะอวด อวดภาษาไทยสักหน่อย ง่ายมากสำหรับภาษาไทย หน้าที่สำหรับเนื่อง สำหรับติดต่อ หน้าที่สำหรับติดต่อ หน้าที่สำหรับรู้จัก หน้าที่สำหรับรู้สึก หน้าที่สำหรับรู้จักจัดแจง และก็หน้าที่สำหรับคิดปรุงแต่งให้เป็นเรื่องเป็นราว ภาษาไทยใช้คำง่ายๆ แต่เขาก็ไม่ได้สอนกันอย่างนี้นะ นี่เลือกเอามาให้ฟังง่าย ให้เข้าใจง่าย ติดต่อ, รู้จัก, รู้สึก, รู้จัดสรร รู้จัดลำดับ รู้จัดน่ะ แล้วก็รู้คิด
เอ้า, ทีนี้ก็มาถึงตอนที่สำคัญที่สุดคือขันธ์ทั้ง ๕, ขันธ์ทั้ง ๕ นี่มาจากอายตนะหรือการกระทำของอายตนะ อายตนะมันมาจากธา-ตุ, ธา-ตุ (นาทีที่ 1:47:00) ทั้งหลาย ธา-ตุทั้งหลายประกอบกันเป็นอายตนะ อายตนะทำหน้าที่ต่างๆ ก็เป็นขันธ์ ๕ แล้วอัตตาหรือ self มันอยู่ที่ตรงไหน อัตตาอยู่ที่ตรงไหน self มันอยู่ที่ตรงไหน นี่คือข้อที่ทำให้รู้จักอนัตตา, อนัตตา not self ชีวิตของเราทั้งหมด not self อนัตตา
ท่านจงถามตัวเองดูว่า ตัวกูของกูมันอยู่ที่ไหนในเมื่อมันมีแต่ขันธ์ ๕ แต่ว่าความรู้ก่อนพุทธกาล ในอินเดียก่อนพุทธกาล เขาเอาขันธ์ ๕ เป็นตัวตน รูปขันธ์คือตัวกูที่จะทำสัมผัส วิญญาณขันธ์คือตัวกูที่จะรู้จัก, รู้จัก เวทนาขันธ์คือตัวกู ที่จะรู้สึก, รู้สึก สัญญาขันธ์ ตัวกูที่จะ classify สิ่งต่างๆ สังขารขันธ์คือตัวกูที่จะคิด ก่อนพุทธกาลเขาเอาขันธ์ทั้ง ๕ แต่ละขันธ์ๆ น่ะเป็นตัวตน เป็นอัตตา พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ตรัสรู้ รู้ว่าไม่ ทั้ง ๕ ขันธ์ ทั้ง ๕ มิใช่อัตตา มีเท่านี้แหละ พุทธศาสนาแท้ พุทธศาสนาอย่างเดียว พุทธศาสนาจริงๆ คือการสอนให้รู้ว่าขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอนัตตา แต่แล้ววิธีสอนมันมีหลายวิธี สอนสำหรับคนโง่ สำหรับคนปัญญาอ่อน สำหรับคนฉลาด มันจึงมีหลายวิธี เมื่อเอาวิธีที่จะให้รู้นั้นมาเป็นเครื่องแบ่ง มันก็แบ่งเป็นเถรวาทะบ้าง มหายานะบ้าง เป็นวัชรยาน เป็นอะไรยาน, ยาน, ยาน หลายๆ นั่นบ้าง แต่ว่าทั้งหมดนั่นมันเพียงแต่รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา
สรุปความว่า เมื่อท่านรู้ว่าชีวิตคือขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ไม่มีอัตตา นั่นก็แปลว่าท่านรู้ศาสนาทุกนิกาย, ทุกนิกาย เถรวาท มหายาน วัชรยาน อะไรก็ตามจะรู้หมด โดยสรุปก็รู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา ไม่ต้องไปซื้อหนังสือมาเป็นตู้ๆ แล้วอ่านก็ไม่ไหว ก็ไม่รู้ว่าพุทธศาสนาคืออะไร พุทธศาสนาคือสิ่งที่บอกว่าขันธ์ทั้ง ๕ หรือตัวชีวิต ๕ sections นี้ล้วนแต่เป็นอนัตตา ถ้าเข้าใจผิดนะ เอาขันธ์ทั้ง ๕ หรือแม้แต่ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งก็ตามมาเป็นอนัตตา (นาทีที่ 1:54:25) จะเกิดความผิดหมดในความคิด แล้วจะเกิดความทุกข์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าเห็นทุกอย่างเป็นอนัตตา ไม่อาจจะเกิดความคิดผิด ทำผิด เห็นผิด แล้วก็ไม่มีความทุกข์, ไม่มีความทุกข์ เพราะเห็นอนัตตา ความรู้นี้ไม่มีสอนในมหาวิทยาลัยทั่วทั้งโลก แต่มีสอนกันในป่า, สอนกันในป่า อย่าคิดว่าเป็นเรื่องของคนป่าแม้จะสอนกันในป่า เป็นเรื่องดับทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิงและเรียกว่า พุทธศาสนา ถ้าท่านเห็นขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอนัตตาแล้ว positiveness หรือ negativeness จะไม่มีอิทธิพลเหนือชีวิตของท่าน ชีวิตของท่านจะฟรี เป็นอิสระ และไม่มีความทุกข์เลย
ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดทนมา ๒ ชั่วโมง ๑๕ นาทีแล้ว มากไปหน่อยวันนี้ ขอขอบ พระคุณ เป็นผู้ฟังที่ดี ท่านจงพยายามทำความเข้าใจเรื่องนี้ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาว่าขันธ์ทั้ง ๕ เป็นอนัตตา หมด พุทธศาสนามีพูดเท่านี้
หยุดการบรรยาย และปิดประชุม walking without the walker to the center ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา มันก็ walking without the walker กลับไปที่เซนเตอร์