แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอทำความเข้าใจติดต่อกันไปจากคำบรรยายในวันที่แล้วมา เราได้พูดกันถึงเรื่อง dhammic life คือชีวิตที่ไม่ประกอบอยู่ด้วยความรู้สึกว่าอัตตา non dhammic life ชีวิตที่ประกอบอยู่ด้วยอัตตา ข้อนี้หมายความว่าเราจะพูดกันถึงเรื่องธาตุ, ธาตุ (element) เป็นคำสอนเรื่องไม่มีคน the teaching of no man, teaching of no man ท่านอย่าเพิ่งประหลาดใจหรือปฏิเสธ ขอให้ฟังให้ดีว่า คำสอนเรื่องไม่มีคนน่ะเป็นอย่างไร หรือเราจะใช้คำให้กว้าง ลึกไปกว่านั้นก็จะพูดว่า the teaching of no sentient beings คือไม่มีสัตว์ ไม่มีคน คำพูดจะบอกความไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล มีแต่ธาตุ, มีแต่ธาตุ
ถ้าท่านคิดว่าเป็นเรื่องแปลกหรือไม่น่าเชื่อและก็ไม่สนใจฟัง ท่านก็จะไม่เข้าใจเรื่องนี้ คือจะบอกให้ทราบว่ามันมีแต่ธาตุตามธรรมชาติ ดังนั้นมันจึงไม่มีอัตตา ไม่มีอาตมัน ไม่มีอัตตา ฉะนั้นมันก็เป็นอนัตตา, อนัตตา ถ้าเราเห็นโดยความเป็นธาตุไปทั้งหมดแล้วมันก็คือเห็นอนัตตาอย่างสมบูรณ์ เพื่อเข้าใจเรื่องนี้เราก็จะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำพูดคำนี้ คือคำว่า ธาตุ, ธาตุ, ธา-ตุ หรือ element กันเสียก่อน คำว่า ธาตุ ในภาษาไทย ธา-ตุ ในภาษาบาลี มันเป็นคำที่มีรากศัพท์รากเดียวกันกับคำว่า ธัมมะ, ธัมมะ หรือ ธรรม ธาตุ ธรรม สองคำนี้รากศัพท์เดียวกัน คือรากศัพท์ที่แปลว่า ทรงไว้, ทรงไว้ ยกขึ้นไว้ หรือ cherish (นาทีที่ 7:40) cherish ขึ้นไว้ คำว่า ธาตุ กับคำว่า ธรรม มีรากศัพท์เดียวกันแปลว่า ทรงไว้ ยกไว้ cherish ขึ้นไว้ คือไม่ให้สูญหายไป แต่มีความแตกต่างกันบ้าง เมื่อพูดถึง ธาตุ มันก็มีความหมายว่า ทรงตัวเอง, ทรงตัวเองล้วนๆ อย่างเดียวมากกว่า ถ้าพูดถึง ธรรมะ มันก็ทรงตัวเองด้วยและก็ทรงผู้ที่มีธรรมะ คือทรงทั้งสองฝ่าย จะต่างกันบ้างนิดหน่อยก็ตรงนี้ แต่ความหมายมันเหมือนกันตรงกันคือว่า ทรงไว้, ทรงไว้
คำว่า ธาตุ หรือ ธา-ตุ นี่มันมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์หรือเป็นคำทางวิทยาศาสตร์ แต่คำว่า ธรรมะ นี่มีลักษณะเป็นคำทางศีลธรรม มีความหมายใช้สะดวกไปในทางศีลธรรม คำว่า ธาตุ ก็เป็นวิทยาศาสตร์ คำว่า ธรรม นี่เป็นศีลธรรม ดังนั้นเมื่อเราจะศึกษาคำว่า ธาตุ เราจะต้องศึกษาในแง่ของวิทยาศาสตร์ เมื่อจะศึกษาคำว่า ธรรมะ เราจะต้องศึกษาในแง่ของศีลธรรม เมื่อเราศึกษาในทางศัพทศาสตร์ (นาทีที่ 11:17) เรื่องคำพูด อักษรศาสตร์นี่ คำว่า ธาตุ หรือคำว่า ธรรม มันก็แปลตรงกันว่า สิ่งที่ทรงไว้, ทรงไว้ แต่ถ้าเราจะพูดในเรื่องของธรรมชาติทั่วๆ ไป เราก็พูดว่า ธาตุคือสิ่งสุดท้ายที่เราจะแบ่งแยกออกไปได้ เราจะแบ่งแยกสิ่งต่างๆ ออกไป, ออกไป, ออกไป ในที่สุดมันก็จบลงที่คำว่า ธาตุ แล้วก็ไม่แบ่งอีก จุดสิ้นสุดของการที่จะแบ่งแยกสำหรับการศึกษา สิ่งสุดท้ายที่เราจะแบ่งแยกได้ นี่ความหมายก็ร่วมกันอยู่ แม้ว่าธาตุบางอย่างมันประกอบอยู่ด้วยธาตุหลายธาตุ เราแบ่งแยกธาตุทีแรกออกไปพบหลายๆ ธาตุเป็นส่วนประกอบ แบ่งออกไปอีกเท่าไรมันก็ไปจบลงที่สิ่งที่เรียกว่า ธาตุ ธาตุตามธรรมชาติ ไม่ต้องแบ่งอีกแล้ว
ทีนี้เราจะมาดูกันที่ประเภทหรือชนิดของธาตุ เราจะพบคำ ๒ คำ คือว่า สังขตธาตุ และ อสังขตธาตุ สังขตธาตุตามตัวหนังสือก็แปลว่า ธาตุที่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งหรือว่าถูกปรุงแต่งด้วยเหตุปัจจัย สิ่งใดมีลักษณะอย่างนี้เรียกว่า สังขตธาตุ ดังนั้นสังขตธาตุมันจึงมีลักษณะเปลี่ยน เปลี่ยนเรื่อย คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เปลี่ยนเรื่อย ส่วนอสังขตธา-ตุก็คือตรงกันข้าม ไม่มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง ดังนั้นจึงไม่เปลี่ยน จึงไม่มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นความคงอยู่อย่างเดียว อย่างตายตัว ไม่มีการเปลี่ยน เพราะไม่มีปัจจัย เพราะไม่ต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เราจะเข้าใจอสังขตธา-ตุได้โดยการศึกษาว่า ตรงกันข้าม ตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวงต่อสิ่งที่เรียกว่า สังขตธา-ตุ เป็นสิ่งที่เข้าใจยาก แต่เข้าใจได้โดยทำความเข้าใจว่า มันตรงกันข้าม ตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวงจากสิ่งที่เรียกว่า สังขตธา-ตุ หรือว่าเราจะยืมคำทางจิตวิทยามาใช้ก็จะช่วยได้มากเหมือนกัน คือคำว่า phenomena ได้แก่ สิ่งที่มีปรากฏการณ์ มีการเป็นไป มีการ เปลี่ยนแปลง คือทุกสิ่ง แล้วก็มีสิ่งที่มันตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง คือ noumenon, noumenon มีลักษณะเป็นเอกวจนะ นี่ก็พอจะช่วยให้เข้าใจคำว่า สังขต และ อสังขต ได้ไม่น้อย จะเข้าใจได้ง่ายอีกทางหนึ่งก็ สังขตธา-ตุนั้นมีลักษณะเป็น สังขาระ หรือ สังขาร คือมีการปรุงแต่ง, ปรุงแต่ง, ปรุงแต่ง ส่วน อสังขต มีลักษณะเป็น วิสังขาร ไม่มีการปรุงแต่ง ท่านจงพยายามทำความเข้าใจคำว่า ปรุงแต่ง condition ก็ดี concoction ก็ดี แล้วแต่ที่จะเข้าใจคำว่า ปรุงแต่ง, ปรุงแต่ง สังขต มีแต่การปรุงแต่ง อสังขต ปราศจากการปรุงแต่งโดยประการทั้งปวง
มีคำพูดอยู่ ๓ คำที่จะช่วยให้เข้าใจ อสังขต มันค่อนข้างจะฟังยาก แต่ถ้าตั้งใจฟังให้ดีก็พอจะเข้าใจได้ คำแรกก็คือ นิพพานธา-ตุ, นิพพานธาตุ นิพพานธา-ตุ เป็นที่ดับแห่งสังขารทั้งปวง นิพพานะ แปลว่า ดับ, ดับ นิพพานธา-ตุ ธาตุเป็นที่ดับแห่งสังขารทั้งปวง เรียกชื่อว่านิพพาน
คำที่สอง สุญญตธา-ตุ ธาตุแห่งความว่าง ความว่างในที่นี้คือไม่มีการปรุงแต่ง มันไม่มีสิ่งที่จะปรุงแต่งหรือถูกปรุงแต่งหรือการปรุงแต่ง มันจึงว่าง และเรียกว่า สุญญตะ คือความว่าง สุญญตธา-ตุ ธาตุแห่งความว่าง นี่ก็เป็นลักษณะแห่ง อสังขต
คำที่สาม สัจธา-ตุ ธาตุแห่งความจริง ในที่นี้หมายถึง กฎ, กฎ (law) กฎ ธาตุแห่งความเป็นกฎ ธาตุนี้ก็มีอะไรปรุงแต่งไม่ได้ ถ้ามีปรุงแต่งมันไม่เป็นกฎ มันไม่ตายตัวเป็นกฎ มันมีความเป็นอิสระตายตัวในตัวมันเอง ปรุงแต่ไม่ได้ มันจึงลักษณะเป็นสัจจะ คือจริงแท้, จริงแท้ จนอยู่ในลักษณะที่เป็นกฎ
เมื่อเอามาเปรียบกันก็เข้าใจได้ง่ายว่า สังขตธา-ตุ ธาตุแห่งความเปลี่ยน มันมีตัวมันเองเป็นความเปลี่ยน มีความเปลี่ยนเป็นตัวมันเอง ส่วนอสังขตธา-ตุไม่มีความเปลี่ยน ความไม่เปลี่ยนน่ะเป็นตัวมันเอง มันจึงต่างกันอย่างตรงกันข้าม พอเอามาจับคู่กันมันก็เข้าใจได้ง่ายขึ้น ถ้าจะเปรียบเทียบกันโดยปริมาณโดยจำนวนนี่ สังขตธา-ตุมีมากจนนับไม่ไหว จนเราไม่มีตัวเลขจะนับ ส่วนอสังขตธา-ตุมีเดี่ยวๆ ที่เดียวเท่านั้นแหละ มีลักษณะเดี่ยว เช่น phenomena มีมากจนนับไม่ไหว แต่ noumenon มีอย่างเดียว มีสิ่งเดียว มีอย่างเดียว
ทีนี้ดูอีกทีหนึ่งว่าในภาษาพูดตามธรรมดาของคนธรรมดาพูดกันอยู่นี่ จะพูดไปในแง่ว่ามีสิ่งที่เรียกว่า ธาตุ และก็มีสิ่งที่ไม่เรียกว่า ธาตุ มีสิ่งที่เราไม่เรียกว่าธาตุก็มี แต่ถ้าพูดตามภาษาธรรมะที่เรากำลังกล่าวนี้ ไม่มีอะไรที่มิใช่ธาตุ, ไม่มีอะไรที่มิใช่ธาตุ ที่รู้จักกันในภาษาวิทยาศาสตร์ว่าธาตุและมิใช่ธาตุน่ะ ในภาษาปรมัตถธรรมของพุทธศาสนา คำว่า ธาตุ หมายถึงทุกสิ่งๆ ไม่ยกเว้นอะไร ตัวอย่างเช่นทางวิทยาศาสตร์จะไม่กล่าวว่า เรื่องจิตใจ จิตใจน่ะเป็นธาตุ แต่ทางธรรมะในพระพุทธศาสนาเป็นธาตุทั้งนั้นแหละ จะเป็นเรื่องทางฟิสิกส์ เป็นเรื่องทาง mental หรือแม้แต่เป็นเรื่องทาง spiritual ก็ยังเป็นธาตุ spirituality ก็ยังเป็นธาตุ รวมอยู่ในคำว่า ธาตุ นี่ในภาษาธรรมะมันมีความหมายอย่างนี้
ทีนี้มีทางที่จะดูไกลออกไปว่า ธาตุนี้เป็นธาตุเดียวก็มี และธาตุมีลักษณะผสมกันหลายธาตุ เป็นธาตุผสม คือมีผสมกันอยู่หลายธาตุ เรียกว่าธาตุ ก็ยังคงเรียกว่าธาตุ อย่างภาษาวัตถุก็มีธาตุเป็นธาตุๆ ไป แม้จะเอามาหลายธาตุมาผสมกันเป็นอัลลอยด์ มันอาจจะไม่เรียกว่าธาตุเสียแล้วก็ได้ แต่ในทางภาษาธรรม มันจะเป็นธาตุเดี่ยวหรือมันจะเป็นธาตุที่ผสมกันอยู่หลายธาตุมันก็เรียกว่าธาตุทั้งนั้นแหละ เหมือนอย่างว่าน้ำ, น้ำ ที่ประกอบอยู่ด้วยออกซิเจนและไฮโดรเจน มองในแง่ของธรรมะ ออกซิเจนก็เป็นธา-ตุ ไฮโดรเจนก็เป็นธา-ตุ ประกอบกันขึ้นเป็นน้ำแล้วก็เรียกว่า ธา-ตุ อยู่นั่นเอง ดังนั้นมันจึงมีธาตุล้วนๆ และธาตุที่ผสมกันอยู่ เราอย่าให้คำพูดมาเป็นอุปสรรคแก่การเข้าใจ ในที่นี้ในทางพุทธศาสนานี้จะเรียกว่า ธาตุ หรือ ธา-ตุทั้งหมด ไม่ว่ามันจะเป็นธาตุเดี่ยวๆ หรือมันจะเป็นธาตุที่ผสมกันอยู่หลายธาตุ
ทีนี้เรามาดูกันอย่างละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า สังขตธา-ตุ เพราะมันเกี่ยวข้องกันอยู่กับเราอย่างยิ่ง มาดูกันโดยละเอียดในเรื่องของสังขตธา-ตุ
ในอัตภาพของเราแต่ละคนๆ นี้ มันมีการประกอบอยู่ด้วยสิ่งที่เรียกว่า รูป รูปคือร่างกาย (body) ทางฟิสิกส์นี่ รูป แล้วก็มีสิ่งที่เรียกว่า จิตตะ, จิตตะ แล้วก็มีสิ่งที่สร้างหรือประกอบให้จิตตะเกิดขึ้นมา รวมทั้งความรู้สึกของจิตตะด้วย นี้เรียกว่าเนื่องอยู่กับจิตตะเรียกว่า เจตสิก เจตสิก แปลว่า เนื่องกันอยู่กับจิต เรามีร่างกาย เรามีจิต แล้วมีสิ่งที่เป็นคุณสมบัตินานาชนิดของสิ่งที่เรียกว่าจิต สามอย่างนี้ทำความเข้าใจให้ดี รูปส่วนที่เป็นร่างกายเป็นวัตถุ นี่ก็เป็นธาตุ เป็นธา-ตุ และจิตก็เป็นธา-ตุ เป็นธาตุที่ทำความรู้สึกคิดนึกได้ แล้วสิ่งที่จิตจะรู้สึกคิดนึกได้หรือพลอยเกิดกับจิต เนื่องอยู่กับจิต เรียกว่า เจตสิก ก็เป็นธา-ตุ เราก็มี ๓ ธาตุ รูปธา-ตุ จิตธา-ตุ เจตสิกธา-ตุ นี่เป็นคำพูดที่ไม่ค่อยมีใครพูด แต่มันเป็นความจริงของธรรมชาติ เราก็พูดได้อย่างนี้ว่าเรามีอยู่ ๓ ธาตุ ซึ่งให้ชีวิต อัตภาพนี้
ทีนี้ก็มีธาตุพิเศษเป็นอสังขตธา-ตุ คือนิพพานธา-ตุ นิพพานธา-ตุก็เป็นที่ดับแห่งสังขตธา-ตุเหล่านี้ รูปก็ดี จิตก็ดี เจตสิกก็ดี เมื่อมาถึงเข้ากับนิพพานธา-ตุมันก็มีการดับ แล้วก็ดับอย่างที่ไม่เกิดอีกด้วย ดับ ก็หมดเหตุหมดปัจจัย มันเลยอยู่กันเป็นคนละพวก รูป จิต เจตสิก มันก็เป็นสังขตธา-ตุ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป, เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แต่พอไปถึงเข้ากับ นิพพานธา-ตุ มันก็ดับ ก็มันสิ้นสุดลง, สิ้นสุดลง ไม่อาจจะโผล่ขึ้นมาอีก เข้าใจว่า จงเข้าใจว่ามันเกี่ยวข้องกันอยู่อย่างนี้ เราจะต้องมองเห็นความจริงข้อหนึ่งว่า เมื่อมันจะเปลี่ยนเป็นธาตุอีกธาตุหนึ่ง เมื่อธาตุหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นอีกธาตุหนึ่ง มันต้องมีการดับธาตุทีแรกหรือธาตุเก่านั้นเสียก่อน แล้วมันจึงจะโผล่ธาตุใหม่ขึ้นมาได้ นี่มันเป็น ไม่ใช่นิพพานธา-ตุ แต่จะเรียกว่า นิโรธธา-ตุ คือว่าดับชั่วคราว ดับเพื่อเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น, ดับเพื่อเปลี่ยนเป็นอย่างอื่น นี้ก็มีอยู่ธาตุหนึ่งด้วยเหมือนกัน ถ้าไม่มี ไม่มีธาตุนี้มันก็จะไม่มีวิวัฒนาการใดๆ วิวัฒนาการในโลกในสากลจักรวาลนี้ มันมีหน้าที่ได้ มันทำหน้าที่ได้โดยที่มันมีทั้งสังขตธา-ตุ และอสังขตธา-ตุ มันดับจากความเป็นธาตุอย่างหนึ่งไปสู่ความเป็นธาตุอย่างอื่นเรื่อยไปๆ จนกว่าจะถึงว่า การดับสุดท้าย ไม่มีการเกิดอีก
ท่านอาจจะรู้สึกว่ามากไปเสียแล้ว เกินจำเป็นที่จะต้องรู้เสียแล้ว ท่านอาจจะคิดอย่างนั้นก็ได้ แต่จะขอร้องว่าอย่าคิดอย่างนั้น เพราะสิ่งที่เรียกว่า รูปธา-ตุก็ดี จิตธา-ตุก็ดี เจตสิกธา-ตุก็ดี มันเกิดดับ, เกิดดับ, เกิดดับ, เกิดดับ อยู่ในชีวิตของแต่ละคนๆ อย่างเร็วมาก, อย่างเร็วมาก เราจะต้องรวมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับตัวอัตภาพ ก็อยู่ในภายในอัตภาพ นี่ธาตุแต่ละธาตุนี่เกิดดับ, เกิดดับ, เกิดดับ, เกิดดับ, เกิดดับ นับไม่ไหว ที่อยู่ในอัตภาพนี้ อย่า อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องไม่เกี่ยวข้องกัน
ทีนี้ก็มาดูต่อไปถึงเรื่องเกี่ยวกับจิตใจ เมื่อจิตใจของท่านพอใจ พอใจอยู่ในเรื่องกาม เรื่องเซ็กส์ เรื่องกามนี่ เมื่อนั้นสิ่งที่เรียกว่า กามธา-ตุ กำลังครอบงำจิตใจของท่าน กำลังครอบงำชีวิตของท่าน ชีวิตของท่านกำลังอยู่ภายใต้อำนาจของ กามธา-ตุ แม้ความรู้สึกทางกามนี้ก็ยังเรียกว่าธา-ตุ เรียกว่าธาตุ เรียกว่า element สังเกตดูให้ดี ทีนี้บางเวลาท่านเบื่อ เบื่อกามธา-ตุ หลีกออกไปหาที่บางแห่งที่ไม่มีความรู้สึกเกี่ยวกับกาม แต่ท่านก็ต้องไปเกี่ยวข้องหรือพอใจกับสิ่งที่เป็นรูปะ มีลักษณะเป็นรูป เป็น physical อย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ไม่เกี่ยวกับกาม เช่น ไปดู ไปพักผ่อน ไปตากอากาศ ไปริมทะเล ให้บรรยากาศริมทะเลครอบงำจิตใจ อย่างนี้ก็เรียกว่า รูปธา-ตุ สิ่งที่ไม่ใช่กามกำลังเป็นที่พอใจแก่ท่าน ยกความหมายที่เป็นกามออกไปเสีย เหลือแต่สิ่งที่เป็นรูปล้วนๆ ความพอใจในรูปล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับกาม ก็เรียกว่า รูปธา-ตุ เดี๋ยวนี้รูปธา-ตุกำลังครอบงำชีวิตของท่าน ชีวิตของท่านกำลังอยู่ด้วยรูปธา-ตุ บางเวลาท่านคิดว่ารูปธา-ตุนี้ก็ยังยุ่งๆ อยากจะไม่มีอะไรเลย, อยากจะไม่มีอะไรเลย อยากจะไม่คิดนึกไม่รู้สึกอะไรเลย นี่ท่านอาจจะทำได้โดยทำสมาธิชนิดที่เอาความไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์ หรือจะพูดตรงๆ ตัวว่า ท่านจะไม่ยอมให้จิตรู้สึกอารมณ์ใดๆ ให้จิตรู้สึกแต่ความไม่มีอะไร นี่ก็สบายยิ่งขึ้นไปอีก บางเวลาก็ต้องการอย่างนี้แต่ว่าก็ทำยาก แม้ความรู้สึกที่ว่า ไม่มีอะไร, ไม่มีอะไร ไม่มีรูปอะไร นี่ก็เป็นธาตุชนิดหนึ่งเรียกว่า อรูปธาตุ บางเวลาจิตของท่านก็ชอบ แต่มันก็ยากที่จะทำได้ ถ้าทำได้ก็เป็นการดี เป็น relaxation สูงสุด คือจิตอยู่กับความไม่มีอะไร ความรู้สึกอย่างนี้เรียกว่า อรูปธาตุ บางทีอรูปธาตุก็ครอบงำจิตใจของเรา, ครอบงำจิตใจของเรา เราก็ได้มีความรู้สึกที่สูงขึ้นไป ไม่มีสิ่งรบกวนใดๆ แต่ยังไม่ใช่นิพพาน นี่อรูปธาตุ บางเวลาชีวิตของเราพอใจในอรูปธาตุ สิ่งนั้นก็ยังเรียกว่า ธาตุ, ธาตุ อยู่นั่นแหละ
เราจงมองดูชีวิต ชีวิตประจำวันของเรา คนธรรมดา, คนธรรมดา ก็มีแต่เรื่องกามธา-ตุ, กามธา-ตุ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีลักษณะเป็นกามธา-ตุหมด จนเรารู้สึกเบื่อ บางเวลารู้สึกเบื่อรู้สึกระอา แล้วก็อยากจะสลัดกามธา-ตุเหล่านี้ไปอยู่กับสิ่งที่ไม่มีกาม ไม่เป็นกาม อาจจะไปอยู่กับตุ๊กตาหรือไปอยู่กับต้นไม้หรือไปอยู่กับวัตถุอะไรๆ ที่มันมิใช่กาม ที่ทำความพอใจให้แก่เราได้เหมือนกัน นี่อย่างนี้เราต้องฝืน และเราต้องบังคับ และเราต้องจัด และเราต้องทำ กระทำ ให้มันพ้นจากอำนาจของกามธา-ตุ บางเวลา บางเวลา เราก็โอ๊ย, อย่างนี้ก็ยังยุ่งๆ ไม่ ไม่ ไปนอนหลับเสียยังดีกว่า ไปนอนหลับเสียยังจะดีกว่า มันไม่มีอะไรรบกวนเลย นี่สิ่งที่เรียกว่า กามะ ก็ไม่รบกวน สิ่งที่เรียกว่า รูปะ ก็ไม่รบกวน นี่เราจะเลื่อนขึ้นมาอยู่ในชั้นอรูปะ ถ้าเราทำได้ ทำได้ตามที่เราต้องการมันก็ดีมากสิ เรื่องกามมันยุ่ง แล้วเรามาอยู่ที่เรื่องรูป มันยุ่งน้อยกว่าหรือเกือบจะไม่ยุ่ง ถ้าไปอยู่กับเรื่องของอรูปธา-ตุมันไม่ยุ่งเลย มันไม่ยุ่งยาก, มันไม่ยุ่งยาก นี่มันมีอยู่เป็น ๓ ชั้นหรือ ๓ ธา-ตุที่เกี่ยวกับชีวิตจิตใจของคนเรา เราจงรู้จักมันทั้ง ๓ ธา-ตุเถิดจะแก้ปัญหาได้มาก คนธรรมดา เรียกว่าคนธรรมดาในโลกนี้ก็อยู่ภายใต้อำนาจของกามธา-ตุ หลงใหลในกามธา-ตุ แล้วก็มีปัญหายุ่งยากนานาประการเกี่ยวกับกามธา-ตุ กามธา-ตุนี่ทำให้เขาได้มาแต่งงานเป็นสามี-ภรรยากัน นี่มีเรื่องยุ่งยากเท่าไรก็ดูเอาเอง และก็กามธา-ตุนี่ทำให้เขาหย่ากันถ้าไม่เป็นไปตามที่พอใจในเรื่องกามธา-ตุนี่ ทำให้เขาต้องหย่ากันอีก กามธา-ตุให้แต่งงานกันก็ได้ ให้หย่ากันก็ได้ ให้ยุ่งยากลำบากนานาประการก็ได้ และเขาก็เบื่อ คือไม่เอา เขาก็จะไปหาเรื่องที่ไม่ใช่กามธา-ตุ เขาก็ไปบวช ไปบวชเป็นชี เป็นพระ เป็นอะไรก็ได้ อย่างต่ำๆ ง่ายๆ ก็ได้ นี่ก็เรียกว่าไปหาสิ่งที่เป็นเพียงรูปธา-ตุ ไม่มีกามธา-ตุ ถ้าเขาเก่งกว่านั้นเขาก็ทำสูงขึ้นไปจนถึงอรูปธา-ตุ ไปอยู่กับพระเป็นเจ้าเสียเลยก็ได้ นี่เป็นอรูปธา-ตุ นี่สิ่งที่เรียกว่า ธา-ตุ ๓ อย่างนี้ มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับชีวิตของคนเราตลอดชีวิต ฉะนั้นจงเข้าใจมันให้ดีๆ ศึกษามันให้ดีๆ ควบคุมให้ได้ ชีวิตนี้จึงจะเรียกว่าสงบเย็น มิฉะนั้นจะเป็นไฟ จะลุกเป็นไฟด้วยเรื่องกามธา-ตุ รูปธา-ตุ
อยากจะแนะว่า ท่านลองเล่นกีฬา กีฬาอย่างที่เขาเล่นกันน่ะ กีฬา บางเวลาก็ปล่อยให้จิตใจเป็นกามธา-ตุ สนุกไปกับกามธา-ตุ บางเวลาไม่ยอม เลิกกามธา-ตุมาอยู่กับรูปธา-ตุ ความรู้สึกในสิ่งที่เป็นรูปล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับกาม แต่บางเวลาเอ้า, ไม่รู้สึกอะไรเลย, ไม่รู้สึกอะไรเลย ทั้งกามธา-ตุ ทั้งรูปธา-ตุ นี่เป็นสิ่งที่ว่าทำยาก แต่ว่าก็ไม่เหลือวิสัย และก็ท่านลองเอามาทำเป็นอย่างเหมือนกับเล่นกีฬา ชั่วโมงนี้อยู่กับกามธา-ตุ ชั่วโมงนี้อยู่กับรูปธา-ตุ ชั่วโมงนี้อยู่กับอรูปธา-ตุ มันก็ยิ่งกว่าสนุก, ยิ่งกว่าสนุก ก็เป็นกีฬาที่จะช่วยให้เราชนะจิตใจ มีความชนะเหนือจิตใจ เราจะจัดรูปชีวิตของเราให้เป็นอย่างไรก็ได้ นี่ลองเล่นกีฬาแบบนี้ดูบ้าง
เราอย่าเข้าใจผิดในเรื่องนี้ เช่น จะไปแก้ความยุ่งยากของกามธา-ตุ ออกจากบ้านไปดูหนังไปดูละคร ไปกินเหล้าเมายา ไปหาอะไรให้ยุ่งยากออกไปอีก อย่างนี้ไม่ใช่เป็นการแก้และก็ไม่ใช่เป็นการพักผ่อน ไปดูหนังอย่างนี้เขาคิดว่าเป็นการพักผ่อน ที่จริงมันก็ไปหากามธา-ตุอย่างอื่นหรือหารูปธา-ตุที่ยุ่งยาก ไม่ใช่พักผ่อน เราจงจัดชีวิตนี้ให้ดีให้มันเป็นระเบียบ ควบคุมกามธา-ตุให้ได้ ไปอยู่ในรูปธา-ตุที่ถูกต้อง หรือไปถึงอรูปธา-ตุก็ยิ่งดี เมื่อเราเกี่ยวข้องกับกามธา-ตุ, กามธา-ตุ จนเหนื่อยจนเบื่อ แล้วเราก็ไปนอนหลับเสีย, นอนหลับเสีย ก็พ้นจากกามธา-ตุ และนอนหลับนี่ก็ไม่ใช่รูปธา-ตุ แต่ถ้าเรายินดีในความนอนหลับนั้นมันก็เป็นอรูปธา-ตุได้, เป็นอรูปธา-ตุได้ พอใจในความสุขที่เกิดจากการนอน นี่เราจัดชีวิตประจำวันให้มีความถูกต้องในเรื่องของธาตุทั้ง ๓ นี้ เราก็จะได้รับประโยชน์หรือเป็นที่พอใจได้มากกว่าที่เราไม่รู้เรื่องนี้, ไม่รู้เรื่องนี้ ฉะนั้นขอให้เราจัดชีวิตที่มันเกี่ยวกันอยู่กับกามธาตุ รูปธาตุ อรูปธาตุ นี้ให้ดีๆ จะไม่เสียทีที่ศึกษาธรรมะ รู้เรื่องนี้ดีแล้วก็ไปจัดการเป็นอยู่ในชีวิตประจำวันให้เป็นประโยชน์มากที่สุดได้
เราจะต้องรู้ต่อไปอีกว่า แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าความสุขก็เป็นธา-ตุ ความทุกข์ก็เป็นธา-ตุ ไม่สุขไม่ทุกข์ก็เป็นธา-ตุ เมื่อใดสุขธา-ตุเข้าไปในจิตใจ ไปครอบงำจิตใจ เราก็รู้สึกเป็นสุข เมื่อใดทุกขธา-ตุเกิดขึ้นในใจ เราก็เป็นทุกข์ เมื่อใดอทุกขมสุข ธา-ตุคือไม่แน่ว่าสุขหรือทุกข์เกิดขึ้นในใจ เราก็ไม่รู้สึกว่าเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ แต่มีเวทนาอย่างหนึ่งรบกวน รบกวนอยู่ มีเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่งรบกวนอยู่ นี่มันอาจจะแปลกสำหรับท่านทั้งหลายที่ใช้ความหมายของคำว่า ธา-ตุ อยู่ในขอบเขตที่จำกัด แต่ถ้าพูดถึงหลักธรรมในพระพุทธศาสนา แม้แต่ความสุข ความทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์ มันก็เป็นธา-ตุชนิดหนึ่ง มันเป็นตัวมันเองชนิดหนึ่ง มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งเกิดขึ้นในจิตใจ ธาตุไหนแล้วมันก็จะรู้สึกตามความหมายของธาตุนั้น รู้สึกเป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง นี่ก็ควรจะรู้ไว้
ทางวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ที่เราศึกษาเล่าเรียนกันอยู่เดี๋ยวนี้เขาคงไม่ยอมเรียก ความสุข ความทุกข์ ว่าธา-ตุ นั่นเพราะว่าวิทยาศาสตร์นั้นเรียนแต่เรื่องทางวัตถุ, วัตถุ, วัตถุ อย่างเดียว แต่ถ้าวิทยาศาสตร์อย่างพุทธศาสนาหรือพุทธศาสนาในฐานะวิทยาศาสตร์แล้วก็เอาเรื่องของทางจิตใจมาศึกษา พิสูจน์ อย่างเดียวกับเรื่องทางวัตถุ มันจึงให้ความหมายหรือพบความหมายที่ว่าแม้แต่ความสุขก็เป็นธา-ตุ ความทุกข์ก็เป็นธา-ตุ อทุกขมสุขก็เป็นธา-ตุ ท่านจงขยายขอบเขตของคำว่า วิทยาศาสตร์ให้กว้างออกไปจนเป็นเรื่องทางฝ่ายจิตใจหรือฝ่ายนามธรรมด้วย แล้วท่านก็จะรู้จัก ธา-ตุ, ธา-ตุ ดียิ่งขึ้นไปอีก
ทีนี้ก็มาดูละเอียดออกไปถึงสิ่งที่เรียกว่า ดีหรือชั่ว หรือ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกเป็นบาลีว่า กุสะละ (นาทีที่ 1:27:01) กุศล กุสะละ นี่คือ ดี อกุสะละ นี่คือไม่ดี อัพยากต คือไม่อาจจะบัญญัติ ไม่อาจจะ classify ได้ว่าดีหรือไม่ดี แม้นี่ก็เป็นธาตุ แม้นี้ก็เป็นธาตุ ท่านอย่าเพิ่งประหลาดใจ ความชั่ว ความดี หรือไม่พูดได้ว่าดีหรือชั่ว นี่อย่าเพิ่งประหลาดใจว่ามันจะไม่เป็นธาตุชนิดหนึ่ง ตามทางธรรม หรือถ้าว่ามันเกิดขึ้นแล้วมันก็ทำหน้าที่ตามความหมายของมัน มันจะทำหน้าที่ตามความหมายของมัน
เราพิจารณากันได้ง่ายๆ good, good ไม่รู้จะหมายความว่าอะไร แต่ว่าตรงกับคำว่า กุสะละ, กุสะละ ในภาษาบาลี ภาษาบาลี กุสะละ ก็แปลว่า ตัดสิ่งที่เป็นข้าศึก อกุสะละ คือไม่ตัดสิ่งที่เป็นข้าศึก หรือ อัพยากต น่ะยังพูดไม่ได้ว่าตัดหรือไม่ตัด สิ่งที่เป็นข้าศึกนี่หมายถึงทุกอย่างที่ไม่พึงปรารถนา (bad temperament) ความรู้สึกที่น่ารังเกียจในชีวิตประจำวัน ถ้าเป็นกุศลมันก็ตัดตั้งแต่สิ่งต่ำๆ นี้ขึ้นไป ตัดขึ้นไปจนตัดบาป หมดบาป ตัดบาปให้หมด นี่คำว่า ดี, ดี ในภาษาธรรมะเรียกว่า กุสะละ แปลว่าตัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ถ้ามันไม่ตัด แล้วมันไปส่งเสริมสิ่งไม่พึงประสงค์ก็เรียกว่า อกุสะละ ไม่ตัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ ถ้ายังมองไม่ออกว่ามันตัดหรือไม่ตัด อย่างนี้ก็เป็นว่า อัพยากต คือไม่ได้ classify แม้กุศล อกุศล หรืออัพยากต ก็สักว่าเป็นธาตุ, เป็นธาตุ ธา-ตุน่ะ เพราะเรามองกันในด้านจิตใจ ไม่ได้มองแต่ในด้านวัตถุอย่างเดียว จึงขอให้ท่านทั้งหลายสนใจคำว่า ธา-ตุ, ธา-ตุ นี่กินความไปถึงเรื่องทางจิตใจและเหนือนั้นขึ้นไปอีกก็ได้ จึงเห็นว่าความดีก็เป็นธาตุ ความชั่วก็เป็นธาตุ ไม่บัญญัติว่าดีว่าชั่วมันก็ยังเป็นธาตุ เป็นธา-ตุ, ธา-ตุอยู่นั่นแหละ จงเข้าใจความหมายของคำว่า ธา-ตุ น่ะ มันมีขอบเขตอย่างนี้
ทีนี้ก็จะมาถึง ธาตุ ธา-ตุที่น่าหัว คือธา-ตุแห่งความเป็นชาย และธา-ตุแห่งความเป็นหญิง นี่จะต้องฟังให้ดีๆ ไม่เช่นนั้นจะไม่เข้าใจ แต่รู้จักชื่อของมันไว้ก่อนว่า ธาตุแห่งความเป็นชาย และธาตุแห่งความเป็นหญิง เมื่อท่านมีร่างกายเป็นผู้ชายหรือมีร่างกายเป็นผู้หญิง ท่านไปจดทะเบียนสำมะโนครัวว่าเป็นชายหรือเป็นหญิง ท่านก็จะคิดว่าเราก็เป็นชายหรือเราเป็นหญิงตลอดเวลา, ตลอดเวลา ข้อนี้ไม่ถูกตามหลักธรรมะของคำว่าธาตุ ว่าธา-ตุ
ข้อแรกจะต้องรู้ว่า จิต จิตน่ะมันเป็นธาตุชนิดหนึ่ง เป็นกลาง เป็นกลางที่สุด คือจะเปลี่ยนเป็นอะไรก็ได้ เป็นกลางที่สุด เมื่อใดธาตุแห่งความเป็นชายครอบงำจิตที่เป็นกลาง จิตนั้นจะมีความรู้สึกเป็นชาย เมื่อใดธาตุแห่งความเป็นหญิงครอบงำ จิตนั้นจะมีความรู้สึกแห่งความเป็นหญิง และข้อนี้มิได้มีอยู่ตลอดเวลา ตามธรรมดาจิตจะมีลักษณะเป็นกลาง คือไม่เป็นอะไร หรือเรียกตามภาษาธรรมะว่า จิตประภัสสร, จิตประภัสสร ไม่เป็นอะไร แต่พอธาตุผู้ชายเข้าไปครอบงำละก็ กลายเป็นผู้ชาย ธาตุผู้หญิงครอบงำก็กลายเป็นผู้หญิง นี่หลักการมีอยู่อย่างนี้และก็จะพิจารณากันต่อไป ในข้อแรกขอให้รู้ก่อนว่าจิตไม่เป็นหญิงไม่เป็นชาย แต่ถ้าว่าธาตุแห่งความเป็นชายครอบงำก็เป็นชายขึ้นมา ธาตุแห่งความเป็นหญิงครอบงำก็เป็นหญิงขึ้นมา การที่ร่างกายของคนพวกหนึ่งเป็นร่างกายผู้หญิง มีอวัยวะเพศ มีลักษณะของความเป็นผู้หญิง หรือว่าภายในร่างกายของเขามีต่อม (gland) นานาชนิดที่จะทำหน้าที่อย่างความเป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชายก็ตาม รูปลักษณะของร่างกายก็ดี ต่อม (gland) ในภายในก็ดี มันเป็นเรื่องของธรรมชาติ, เป็นเรื่องของธรรมชาติ สร้างมาให้สามารถทำหน้าที่เมื่อจิตนั้นเกิดมีความเป็นหญิงหรือความเป็นชายขึ้นมา เมื่อธาตุแห่งความเป็นผู้หญิงครอบงำจิต จิตเป็นผู้หญิงแล้ว ก็ได้รับการส่งเสริมจากร่างกาย จากต่อม (gland) ทั้งหมดในร่างกายเพื่อทำหน้าที่ของผู้หญิง เขาก็เป็นผู้หญิง เป็นผู้ชายก็อย่างเดียวกันแหละ ต่อม (gland) ของความเป็นชายนั้นก็จะทำหน้าที่ จะส่งเสริม เมื่อจิตถูกครอบงำด้วยธาตุแห่งความเป็นชาย นี่รู้ว่าจิตแท้ๆ ไม่เป็นหญิงไม่เป็นชาย แล้วก็ต่อเมื่อธาตุความเป็นหญิงหรือเป็นชายครอบงำแล้ว มันก็จึงจะเป็นหญิงเป็นชาย และร่างกายหรือต่อม (gland) ต่างๆ ก็ช่วยส่งเสริมให้สำเร็จประโยชน์ในความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย
คำว่า ธา-ตุ ที่ใช้กับความเป็นหญิงเป็นชายนี้มีความหมายพิเศษจนต้องใช้คำอื่น ไม่ใช้คำว่า ธา-ตุ แต่จะใช้คำเช่นคำว่า อินฺทฺริย, อินฺทฺริย (นาทีที่ 1:43:50) มันอาจจะแปลกหูท่านทั้งหลาย อินฺทฺริย อินทรีย์ ในภาษาไทยเราเรียกกันง่ายๆ ว่า อินทรีย์, อินทรีย์ แต่ภาษาบาลี อินฺทฺริย มันมีความหมายถึงความเป็นใหญ่ ความมีอำนาจสูงสุด เป็น sovereignty เป็น almighty นี่มันมีอำนาจสูงสุด นั่นเรียกว่า อินทรีย์ และก็มีชื่อเรียกว่า ปุริสอินทรีย์, ปุริสอินทรีย์ หรือ ปุริสินทรีย์ หรือ อิตถีอินทรีย์, อิตถีอินทรีย์ อิตถินทรีย์ ชื่อมันยุ่งยาก แต่มันก็ไม่ยากเกินกว่าที่จะเข้าใจ ปุริสินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้ชาย อิตถินทรีย์ ความเป็นใหญ่ในการที่จะเป็นผู้หญิง เมื่อใดปุริสินทรีย์ครอบงำจิต จิตก็มีความเป็นผู้ชาย เมื่อใดอิตถินทรีย์ครอบงำจิต จิตก็มีความเป็นผู้หญิง คำว่า ธา-ตุ มาเปลี่ยนเรียกว่า อินทรีย์ คือความสูงสุด อำนาจสูงสุดที่จะให้เป็นอย่างไร, เป็นอย่างไร นี่ธาตุแห่งความเป็นผู้หญิง ธาตุแห่งความเป็นผู้ชาย ครอบงำจิตเมื่อใดจิตก็มีความเป็นผู้หญิงหรือความเป็นผู้ชายตลอดเวลาเหล่านั้น แต่ไม่ใช่ตลอดเวลาไปทั้งหมด เวลาที่จิตไม่เป็นหญิงไม่เป็นชายก็มี ท่านดูเอาเอง
ร่างกายของเราก็มี symbol เครื่องแสดงว่าเป็นหญิงหรือเป็นชายอยู่ตลอดเวลา ต่อม (gland) สำหรับทำหน้าที่หญิงหรือหน้าที่ชายก็มีอยู่ตลอดเวลา แต่เราก็มิได้มีความเป็นหญิงหรือความเป็นชายตลอดเวลา เพราะว่าจิตที่ถูกครอบงำด้วยอินทรีย์อย่างอื่นแล้วมันก็เป็นอย่างอื่น เช่นว่าประกอบกิจกรรมทางเพศจนเหนื่อยอ่อน, จนเหนื่อยอ่อน แล้วมันก็หยุดไปเอง เพราะฉะนั้นมันไม่มีความเป็นหญิงเป็นชาย หรือว่าเมื่อไปนอนหลับเสียมันก็ไม่มีความเป็นหญิงเป็นชาย ท่านจงสังเกตดูข้อนี้ ดูความที่บางเวลาเราไม่มีความรู้สึกเป็นหญิงหรือเป็นชาย เพราะว่าธาตุความเป็นผู้หญิง ธาตุความเป็นผู้ชายไม่ได้ครอบงำ ถ้าเราควบคุมได้เราก็จะสบายมาก เราจะควบคุมธาตุหรือควบคุมอินทรีย์เหล่านี้ได้เราก็จะสบายมาก ธาตุก็มีหลายอย่าง อินทรีย์ก็มีหลายอย่าง ถ้าเราควบคุมได้มันก็เป็นไปแต่ในทางที่ควรจะเป็น เราก็ไม่มีความทุกข์ ฉะนั้นขอให้เราควบคุมธาตุแห่งความเป็นหญิง หรือธา-ตุน่ะ ธา-ตุแห่งความเป็นหญิง ธา-ตุแห่งความเป็นชาย อินฺทฺริยแห่งความเป็นหญิง หรืออินฺทฺริยแห่งความเป็นชาย อำนาจสูงสุดที่จะเป็นหญิงหรือเป็นชาย เราควบคุมให้ได้ เราก็จะไม่มีปัญหาอันเกี่ยวกับความเป็นหญิงหรือความเป็นชาย
เดี๋ยวนี้ ท่านทั้งหลายกำลังตั้งใจฟังอาตมาพูด, ท่านทั้งหลายกำลังตั้งใจฟังอาตมาพูด ไม่มีความเป็นหญิงไม่มีความเป็นชายในเวลานี้ เพราะว่ามันมีอินทรีย์อย่างอื่นหรือธาตุอย่างอื่นมาครอบงำจิตอยู่ ธาตุแห่งความเป็นหญิงเป็นชายระงับไป จึงไม่มีความเป็นหญิงหรือเป็นชายนั่งฟังอาตมาพูด มันมี intention ที่เป็นอินทรีย์อย่างอื่นครอบงำอยู่ เช่น มีความตั้งใจอยากจะมีความรู้, อยากจะมีความรู้ ตั้งใจจะมีความรู้ หรือว่ามีศรัทธาในการที่จะฟังว่ามันจะได้รับประโยชน์ อันนี้มันก็เป็นธา-ตุเหมือนกัน ความเชื่อก็เป็นธา-ตุ ความตั้งใจก็เป็นธา-ตุ แล้วก็เป็นอินทรีย์ด้วยเหมือนกัน ยิ่งความเชื่อแล้วเป็นอินทรีย์อย่างใหญ่หลวง มีอำนาจไม่แพ้อินทรีย์แห่งความเป็นหญิงเป็นชาย เดี๋ยวนี้อินทรีย์แห่งศรัทธาหรือความอยากจะรู้นี่มันมีมาก มันก็ครอบงำจิตของท่านอยู่ ท่านก็ไม่มีความเป็นหญิงเป็นชาย ทั้งที่ร่างกายเป็นหญิงเป็นชาย ต่อม (gland) เพื่อความเป็นหญิงเป็นชายก็ยังอยู่ แต่มันไม่มีความเป็นหญิงเป็นชาย เพราะว่าธา-ตุหรืออินฺทฺริยแห่งความเป็นหญิงเป็นชายมันไม่ได้ครอบงำจิต จิตมันถูกครอบงำอยู่ด้วยธา-ตุหรืออินทรีย์อย่างอื่น นี่ท่านจงรู้ความลับของชีวิตจิตใจว่ามันมีอยู่อย่างนี้ ว่ามันแล้วแต่ธา-ตุอันไหนครอบงำหรืออินฺทฺริยอันไหนครอบงำ ถ้าท่านสามารถควบคุมมันได้, ควบคุมมันได้ ก็จะวิเศษที่สุด ประเสริฐที่สุด
ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทและในการฝึกจิตด้วยอานาปานสติแล้ว ท่านจะสามารถควบคุมธา-ตุ ควบคุมอินฺทฺริย ควบคุมอะไรอย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ได้ทั้งหมดเลย, ได้ทั้งหมดเลย จะได้ ชีวิตนี้จะได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่สูงสุด ที่ชีวิตนี้ควรจะได้รับ โดยการที่สามารถควบคุมธา-ตุ ควบคุมอินฺทฺริย ให้เป็นไปแต่ในลักษณะที่ถูกต้อง ขอให้ท่านพยายามให้ประสบความสำเร็จในความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทและปฏิบัติอานาปานสติ แล้วปัญหาเรื่องธา-ตุ เรื่องอินฺทฺริย เหล่านี้จะหมดปัญหาแก่ท่านทั้งปวง
คำอธิบายมีสั้นๆ นิดเดียวว่า เมื่อท่านทั้งหลายเห็นสิ่งทั้งปวงโดยความเป็นธา-ตุ เป็นธา-ตุอยู่แล้ว concept ว่าอัตตา, ว่าอัตตา ว่าอาตมัน (self) ไม่เกิด ปัญหาจึงหมด คำอธิบายมีเท่านี้
ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดทนมาเป็นเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว มันสมควรแก่การบรรยายแล้ว ขอให้นำไปใคร่ครวญพินิจพิจารณาให้เข้าใจให้เต็ม ให้ถูกต้องสมควรอย่างที่พูดมาแล้ว แล้ววันหลังเราก็จะได้พูดต่อ เรื่องที่ต่อไปอีก ขอบคุณในการเป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยาย ขอปิดประชุม
ข้อสงสัยอื่นๆ ไว้วันหลัง วันนี้หมดเวลาแล้ว