แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอให้เราได้คุยเรื่องอิทัปปัจจยตาต่อจากวันที่แล้วมา หลักพระพุทธศาสนามีความสำคัญอยู่ข้อหนึ่ง คือข้อที่ว่า ยะถาภูตัง สัมมาปัญญา ยะปัสสติ เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง เมื่อเห็นตามที่เป็นจริง มันก็คือเห็นอิทัปปัจจยตานั้นเอง สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเกิดขึ้นและเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตาอยู่ตลอดเวลา นี่คือตามที่เป็นจริง เราเห็นสิ่งทั้งปวงด้วยปัญญาอันชอบตามที่เป็นจริง ว่ามันเป็นอิทัปปัจจยตา คืออาศัยสิ่ง ปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดขึ้น อาศัยปัจจัยสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเกิดขึ้น ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ดังที่ได้กล่าวแล้วว่าเราแบ่งเป็น ๒ ส่วน คืออิทัปปัจจยตาของทั้งหมดทั้งจักรวาล แล้วก็ อิทัปปัจจยตาของสิ่งที่มีชีวิตเรียกใหม่ว่า ปฏิจจสมุปบาท มันมีอยู่ ๒ อิทัปปัจจยตา สำหรับสิ่งที่มีชีวิตโดยเฉพาะมีปัญหา คือมันรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ มันเป็นปัญหา มันทนอยู่ไม่ได้ มันต้องแก้ไข เพราะฉะนั้นอิทัปปัจจยตา สำหรับสิ่งที่มีชีวิตรู้สึกเป็นทุกข์ได้นั้น มันจึงจำเป็นก่อนสำหรับพวกเรา แต่ถึงอย่างนั้น เราก็ควรจะรู้จักอิทัปปัจจยตาทั้งหมด คือของ ทั้งสิ่งที่มีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต รู้ทั้งหมดเป็นการดี ทั้งนี้เพราะมันเป็นสิ่งที่เนื่องกันคือ อิทัปปัจจยตาของสิ่งที่ไม่มีชีวิตนั้น มันเนื่องมาถึงสิ่งที่มีชีวิต ทำให้เกิดอิทัปปัจจยตาของสิ่งที่มีชีวิต และเป็นปัญหา แล้วก็เป็นความทุกข์ ดังนั้นเรารู้จักอิทัปปัจจยตาเสียทั้งหมด ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต ดังนั้นเราก็ตั้งตนมาจากอิทัปปัจจยตาของสากลจักรวาลมาแต่ดังเดิม สากลจักรวาลเป็น ตั้งขึ้นมาด้วยอิทัปปัจจยตา เป็นมาตามอิทัปปัจจยตา ตั้งแต่ไหนแต่ไรมา เป็นอิทัปปัจจยตาทั้งสากลจักรวาล มีอะไรอันหนึ่งซึ่งเราไม่รู้จักและไม่ได้เรียกชื่อ เป็นอิทัปปัจจยตาของสากลจักรวาล ให้เรียกตามไอ้ความหมายของมัน ก็เป็นเหตุให้เกิดจักรวาล แล้วเป็นเหตุให้เกิดดวงอาทิตย์ เป็นเหตุให้เกิดดาว ดวงดาวทั้งหลาย ดวงอาทิตย์ เป็นเหตุให้เกิดโลก โลกก็เป็นเหตุให้เกิดสิ่งต่าง ๆ ในโลก กระทั่งเกิดเป็นมนุษย์ เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ เป็นทุกอย่างที่มีอยู่ในโลก มันเป็นอิทัปปัจจยตามาตามลำดับ นับตั้งแต่สิ่งตั้งต้นซึ่งเราไม่รู้ เรียกมันว่าสิ่งที่เรายังไม่รู้ก็แล้วกัน อวิชชา หรืออะไรทำนองนั้น นั้นก็มีอิทัปปัจจยตามาตามลำดับ มาตามลำดับ จนเกิดจักรวาล แล้วเกิดดวงดาวทั้งหลาย มีดวงอาทิตย์ มีดาว มีดวงอาทิตย์อีกมากมาย มีดวงดาวชนิดที่เป็นโลก แล้วเป็นโลกอีกมากมาย เป็นโลก แล้วก็เกิดเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ จนกระทั่งมาเป็นเราที่นั่งอยู่ที่นี่ นี่ตั้งต้น อิทัปปัจจยตามาจากจุดเดิมแท้ ๆ ของสากลจักรวาล ไม่มีชีวิตแล้วก็เนื่องมาจนถึงสิ่งที่มีชีวิต มองให้เห็นเป็นสายมาตามลำดับ เมื่อเป็นดังนี้ ก็ไม่มีอะไรแปลก ขอช่วยจำคำนี้ว่า ไม่มีอะไรแปลก ไม่มีอะไรแปลก ดวงอาทิตย์ก็ปรากฏการณ์ของอิทัปปัจจยตา ดวงดาวทั้งหลายก็ปรากฏการณ์ของอิทัปปัจจยตา บริวารของดวงดาว ของดวงอาทิตย์ เช่น โลก เป็นต้น ก็อิทัปปัจจยตา ทุกอย่างในโลก ในโลก ทั้งภายนอกภายใน ทั้งที่มองเห็น ทั้งที่มองไม่เห็นก็อิทัปปัจจยตา เลยไม่มีอะไรแปลก ช่วยจำคำนี้ไว้ว่าถ้าเห็นอิทัปปัจจยตา แล้วจะไม่มีอะไรเป็นของแปลก ท่านจงใคร่ครวญดูให้ดี ๆ ให้เห็นชัดว่า ของแปลกนั้นคือของที่ยังไม่เคยเห็น ยังไม่รู้จัก ยังไม่เคยเห็น มันจึงเป็นของแปลก ถ้าเคยเห็นเสียแล้วมันก็เป็นของธรรมดา คือไม่แปลก อย่างดวงอาทิตย์ ถ้าเราเห็นด้วยอิทัปปัจจยตา เห็นโดยปัญญา โดยอิทัปปัจจยตา ก็ไม่เป็นของแปลก อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ว่าแปลกเหลือประมาณ แปลกอย่างนั้นอย่างนี้ ดูกันตลอดปี ก็ไม่สิ้นสุด เมื่อเห็นอิทัปปัจจยตา เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นมาและเปลี่ยนแปลงมา เปลี่ยนแปลงมา เปลี่ยนแปลงมาตามลำดับ ดวงอาทิตย์ก็ไม่ใช่ของแปลก ดวงดาวทั้งหลาย โลกทั้งหลาย กี่โลก กี่ร้อย กี่หมื่น กี่พันโลก ก็ไม่ใช่ของแปลก ถ้ามองเห็นอิทัปปัจจยตาของสิ่งเหล่านั้น
ถ้านักวิทยาศาสตร์เห็นอิทัปปัจจยตาของสสารและพลังงานโดยถูกต้องครบถ้วนสิ้นเชิง ก็จะไม่มีอะไรเป็นของแปลก คำว่าแปลกจะไม่มีพูดในโลกอีกต่อไป อิทัปปัจจยตาทำหน้าที่เรื่อย แล้วก็เกิดขึ้นมาใหม่เรื่อย ใหม่เรื่อย ถ้าไม่เคยเห็น ก็เห็นเป็นของแปลก ถ้าเคยเห็น หรือเห็นทั้งหมด เห็นอยู่ตลอดไปก็ไม่มีอะไรแปลก ในจักรวาลนี้ไม่มีอะไรแปลก ดูในโลกนี้กันดีกว่า มันใกล้ดี มันง่ายดี ในโลกเรานี้มีอะไรแปลก ในโลกเรานี้มีอะไรแปลก มีแผ่นดิน มีต้นไม้ มีสัตว์ มีคน มีอะไรทุกอย่าง กำลังเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา ในลักษณะที่เรียกว่า ปรุงแต่ง ปรุงแต่ง สังขาระ สังขาระแปลว่าปรุงแต่ง ปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าไม่เคยเห็นก็เป็นของแปลก ถ้าเห็นอิทัปปัจยตาแล้วไม่มีอะไรแปลก จะไม่มีอะไรแปลก เรารู้สึกกันว่าดอกไม้สวยงาม แปลก ดอกไม้แปลกประหลาด มันมีต่าง ๆชนิด แล้วก็สวยงาม นี่เพราะเราโง่ โง่ที่สุด โง่เรื่องอิทัปปัจจยตา ถ้าเห็นว่ามันมีการปรุงแต่งของอิทัปปัจจยตา มันก็ปรุงแต่งออกไป ปรุงแต่งออกไป ปรุงแต่งออกไป ปรุงแต่งออกไป ของใหม่มันก็เกิดขึ้น ถ้าไม่เคยเห็นก็เป็นของแปลก ถ้าเคยเห็นแล้วก็ไม่ใช่ของแปลก ทีนี้มันโง่ตรงที่ไม่เคยเห็น มันสะดุดเข้าเป็นครั้งแรก ก็เป็นของแปลก นี่ของสวยงาม เช่น ดอกไม้ในโลกนี้เป็นต้น ไม่มีความจริงแห่งความสวยงาม มีแต่ความเปลี่ยนแปลงแห่งอิทัปปัจจยตา ดนตรีอันไพเราะ ดนตรีอันไพเราะ ถือกันว่าไพเราะ ถือกันว่าเลิศ ถือกันว่าประเสริฐ แล้วก็แพงมาก นี่มันโง่ต่ออิทัปปัจจยตา มันจึงเกิดความรู้สึกว่าไพเราะครอบงำ ๆ แล้วก็เสียเวลากันมาก ยอมเสียสละกันมาก รักษาไว้ มีไว้ เพื่อหลอกให้รู้สึกว่าไพเราะ ๆ ๆ นี่ความโง่ต่ออิทัปปัจจยตา ถ้ามองเห็นอิทัปปัจจยตา แล้วก็จะไม่มีสิ่งที่เรียกว่าไพเราะ หรือไม่มีไพเราะ จะไม่มีทั้งไพเราะและไม่ไพเราะ จะมีแต่งเสียงที่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของมันเท่านั้น มันมีความลับที่ผมอยากจะพูดให้เป็นที่รู้จักกันไว้ มันมีความลับ คือเราต้องเป็นคนโง่ ยอมเป็นคนโง่ ยอมเป็นคนโง่ ตามที่เขาจัดไว้ให้เราโง่ คือเขาบัญญัติโน้ตของเสียงอย่างนั้น ๆ ว่าไพเราะ และประดิษฐ์อย่างนั้น อย่างนี้ว่าไพเราะ แล้วประดิษฐ์อย่างนั้น อย่างโน้นว่าไพเราะ ว่าไพเราะ เราต้องยอมโง่ตามนั้น เราต้องยอมโง่ตามที่นักดนตรีมันบัญญัติไว้ว่าอย่างนั้น ไพเราะอย่างนั้น ไพเราะอย่างนั้น ถ้าเราไม่ยอมโง่ตามนั้น ไม่มีความไพเราะ เราต้องยอมโง่ตามนั้นทุกอย่างแต่ต้นจนปลาย จึงจะมีความไพเราะแห่งดนตรี ภาพเขียน ภาพเขียนภาพหนึ่งราคาหลายสิบล้านบาท มีคนซื้อเพราะมีความงามลึกซึ้งตามที่นิยมกัน ตามที่บัญญัติ บอกว่ามัน มันงามที่สุด เราต้องยอมโง่ตามนั้น เราต้องยอมโง่ตามนั้น มันจึงจะงามที่สุด มันจึงจะรู้สึกว่างาม หรือแพงที่สุด แต่ถ้าเราไม่ยอมโง่ตามนั้น ให้เปล่า ๆ ก็ไม่เอา ไม่เอามาแขวนให้รก เราต้องยอมโง่ตามนั้น ภาพเขียนนั้นมันจึงจะมีความหมาย มีความสำคัญจนยอมซื้อ เป็นล้าน ๆ บาท นี่ความโง่ต่ออิทัปปัจจยตาที่ปรุงแต่งให้เกิดความรู้สึกไปได้ ตามที่มันหลอกให้โง่ นี่สิ่งที่มีอยู่จริง ขอให้รู้จักอิทัปปัจจยตาในลักษณะนี้ ความหอมของเครื่องหอม ความอร่อยของอาหาร หรืออะไร ๆ ก็ตามที่ถือกันว่ามีรสอร่อย สูง งาม สูง อะไรสูง นี่มันเพราะไม่รู้จักเรื่องของอิทัปปัจจยตา ที่ปรุงออกไปอย่างนั้น ก็ให้เกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้นไปอย่างนั้น ปรุงออกไปอย่างนั้น ก็มีปฏิกิริยาเพิ่มออกไปอย่างนั้น อันนี้เป็นเหตุให้คนเราหลงในเรื่องของรูปทางตา เสียงทางหู กลิ่นทางจมูก รสทางลิ้น สัมผัสผิวหนังทางผิวกาย เพราะโง่ต่อเรื่องของอิทัปปัจจยตา
ความเปลี่ยนแปลงตามกฎของอิทัปปัจจยตาเหล่านี้ ไม่มีผลต่อสุนัข ต่อสุนัข อย่างสุนัขตัวนี้ ไม่มีผล อิทธิพลของอิทัปปัจจยตาที่เปลี่ยนแปลงหลอกลวงนั้น จะครอบงำมันได้ มันก็เลยนอนสบาย ไม่มีปัญหาอย่างคน นี่ลองคิดดู เป็นคนกับเป็นหมา อันไหนจะดีกว่ากัน อันไหนเป็นบุญเป็นบาปมากกว่ากัน อันไหนจะถูกหลอกลวงโดยกฎอิทัปปัจจยตามากกว่ากัน ปัญหาต่าง ๆ ปัญหาต่าง ๆ ทั้ง question ทั้ง problem ปัญหาต่าง ๆ นี้นะ เกิดแก่คน นับไม่ไหว หมื่นแสนปวด ล้านปวด ปวด ๆ ๆ นับไม่ไหวปัญหาที่เกิดแก่คน แต่ไม่เกิดแก่สุนัขเลย เพราะมันไม่ถูกหลอกลวงด้วยความเปลี่ยนแปลงของอิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตาสายหนึ่งเป็นไปในทางบวก ไปในทางบวก ทาง positive ทำให้คนเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว จน จนรักกันไม่ได้ มนุษย์กับมนุษย์รักกันไม่ได้เพราะความเห็นแก่ตัว ปัญหาในโลกทั้งโลกนี่มีเรื่องเห็นแก่ตัว มีสงครามโดยตรงและโดยอ้อมไม่มีที่สิ้นสุด เพราะถูกหลอกโดยกฎอิทัปปัจจยตาฝ่ายบวกที่ทำให้เห็นแก่ตัว อิทัปปัจจยตาฝ่ายลบหรือ negative มันก็ทำผลตรงกันข้าม ทำให้ลำบาก ยุ่งยาก เดือดร้อน เป็นทุกข์ เพราะกิเลสประเภทที่ไม่ต้องการ ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้เกิดความเครียด ทำให้เกิด disorder จนเป็นบ้าไปเลย จนเป็นบ้ากันไปเลย เพราะฝ่ายที่มันเป็นลบ ไม่รู้เท่าทันของ อิทัปปัจจยตา มันก็มีผลเป็นความทุกข์ เป็นปัญหาทั้งฝ่ายบวกและฝ่ายลบ ถ้ารู้เท่าทันอิทัปปัจจยตา ปัญหาเหล่านี้ไม่มีเลย ความไม่รู้เท่าทันต่ออิทัปปัจจยตานี่ ทำให้ไม่รู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง แล้วก็หลงใหลในสิ่งที่แปลก ที่ใหม่ ที่เรียกว่าแปลก ๆ ข้อนี้ทำให้เกิดปัญหาที่เป็นส่วนเกิน เกิน เราจะกินเกินจำเป็น เราจะนุ่งห่มเกินจำเป็น เราจะมีอะไร ๆ เกินจำเป็น เกินไปหมด เกินทุกอย่าง เพราะว่ามันแปลก ไม่มีที่สิ้นสุด มันแปลกออกไปตามกฎอิทัปปัจจยตาไม่มีที่สิ้นสุด และความเกิน ๆ ๆ ก็เกิดขึ้น จนเป็นเอาว่ามนุษย์เราเดี๋ยวนี้อยู่ด้วยความเกิน และความเกินทุกอย่างเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา หรือวิกฤติการณ์ทั้งนั้น ไม่ใช่สันติภาพ นี่ความโง่ต่ออิทัปปัจจยตา ทำลายสันติภาพหมดไปจากโลก ถ้าเราไม่หลงต่อส่วนเกิน เราก็จะเป็นอยู่ มีอยู่ เป็นอยู่อย่างพอดี ๆ ตามหลักของธรรมะ เป็นอยู่อย่างถูกต้องพอดี เป็นมัชฌิมา เป็นมัชฌิมาปฏิปทา เป็นอริยมรรค มีองค์ ๘ พอดี ๆ ไม่มีส่วนเกิน ปัญหาก็ไม่เกิด นี่เพราะว่าโง่ต่ออิทัปปัจจยตา มันจึงเป็นไปในทางเกิน ทางเกิน positive ก็เกิน negative ก็เกิน เกินกันไปทั้งนั้น นี่คือปัญหา เกิดมาจากการที่ไม่รู้จักความจริงของอิทัปปัจจยตา ดังนั้นขอให้เราศึกษาและรู้จัก อิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็นกฎของธรรมชาติมาตั้งแต่แรกเริ่ม เท่าที่เราจะรู้จักได้ เท่าที่เราจะรู้จักได้ก็พอ ว่ามันมีอะไรที่ทำให้เกิดจักรวาลนี้ขึ้นมา เกิดดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ เกิดโลกนี้ขึ้นมาตามลำดับ ๆ ๆ นี่เห็นอิทัปปัจจยตาส่วนใหญ่ ส่วนกว้าง ส่วนมหาศาลกันเสียก่อน แล้วก็รู้ละเอียดลงไปถึงว่าเพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่ ก็มีอิทธิพลให้เกิดสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้น เช่น มีดวงอาทิตย์ มันก็มีความร้อนจากดวงอาทิตย์ส่องลงมายังโลก เพราะมันมีดวงอาทิตย์ มันจึงมีแสงอาทิตย์ส่องลงมายังโลก นี่ก็คือตัวอิทัปปัจจยตา เมื่อแสงแดดมีส่องลงมายังผิวโลก มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิวโลก ทำให้น้ำระเหย หรือทำให้น้ำชุ่มชื่น ชุ่มชื้นไปทั่วโลก ทำให้เกิดพืช เกิดอะไรขึ้นมา จนในโลกนี้เต็มไปด้วยสิ่งต่าง ๆ ที่มีชีวิตจิตใจขึ้นมาโดยอิทัปปัจจยตา คือมันทำให้เกิดธาตุ ธาตุ element ต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย ที่เรารู้จักกันเป็นส่วนใหญ่ก็ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ธาตุอากาศ ธาตุวิญญาณ มีธาตุอย่างน้อย ๖ อย่างนี้ มันยังมีอีกมากมาย เกิดมีธาตุต่างๆ ขึ้นในโลก และธาตุต่าง ๆ มีขึ้นมาแล้ว มันก็ไม่ได้มีอยู่เท่านั้น มันปรุงกัน มันตกแต่งกันเป็นสิ่งนั้น สิ่งนี้ เป็นของใหม่ขึ้นมา จนกระทั่งได้เกิดสิ่งต่าง ๆ เต็มไปทั้งโลกเพราะว่าการปรุงแต่งจากธาตุทั้งหลายที่มีอยู่ในโลก ท่านทั้งหลายก็พอจะเข้าใจได้ว่า เพราะมีธาตุต่าง ๆ อยู่ในจักรวาลนี้ มันจึงเกิดสิ่งต่าง ๆ ขึ้นในจักรวาลนี้ แต่ถ้ามันมีปัญหายุ่งยากลำบากมากก็คือสิ่งที่มีชีวิต มีชีวิต มีชีวิต เป็นต้นไม้ เป็นพืช แล้วก็เป็นสัตว์ แล้วก็เป็นคน เต็มไปหมด นี่เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้ว มันก็มีการปรุงแต่งต่อไปอีก เช่นว่า มีสัตว์ขึ้นมา มันก็ทำให้ผิวโลกเปลี่ยนแปลง มีคนขึ้นมาทำลายโลกให้เปลี่ยนแปลงอย่างที่กำลังทำลายโลกกันอยู่เดี๋ยวนี้ นี่ไม่มีที่สิ้นสุดของการปรุงแต่งเปลี่ยนแปลงตามกฎของอิทัปปัจจยตา ที่ ที่ธรรมชาติทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือแปลกออกไปก็มาก ที่ธรรมชาติทำเอง แล้วที่มนุษย์ช่วยทำ มนุษย์ช่วยทำยิ่งแปลก ๆ แปลกออกไปอีกมาก ความแปลกเหล่านี้ก็หลอกมนุษย์เอง หลอกมนุษย์เองให้หลง หลอกมนุษย์ให้หลงยิ่งขึ้น แล้วก็ยิ่งทำให้มันแปลก ๆ แปลกยิ่งขึ้น ไม่มีท่าทางว่าจะหยุด จะจบได้อย่างไร มนุษย์ก็สร้างสิ่งแปลกขึ้นหลอกตัวเองให้หลงใหล ๆ ๆ เป็นไปในทางกิเลส เห็นแก่ตัว ๆ เพราะหลงใหลในของแปลก เห็นแก่ตัวเพราะหลงใหลในของแปลก อย่างที่เรียกว่าไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือปัญหาที่เกิดจากการไม่เห็นอิทัปปัจจยตา เราลองเปรียบเทียบกันดูถึงปัญหาที่มากน้อยกว่ากัน ปัญหาในการเป็นอยู่ มีชีวิตอยู่ของสัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานทั่วไปมีปัญหาเท่าไร ที่ปัญหาของคนป่า แรกมีคนป่ายังไม่นุ่งผ้า แรกมี primitive กี่ล้านปีมาแล้ว มีปัญหาในการเป็นอยู่เท่าไร แล้วต่อมา ต่อมามีเท่าไร เพิ่มขึ้นเท่าไร จนบัดนี้ บัดนี้มีปัญหาในการเป็นอยู่เพิ่มขึ้นเท่าไร มันจะต่างกันจนเปรียบเทียบกันไม่ไหว จนไม่มีตัวเลขจะคำนวณ นี่ปัญหาเหล่านี้เกิดขึ้นมาจากการหลอกลวงของอิทัปปัจจยตา การไม่รู้เท่าอิทัปปัจจยตาก็ส่งเสริมให้เกิดปัญหายิ่ง ๆ ขึ้นไป นี่คือความจริงที่ต้องรู้กันข้อแรกว่า จักรวาลนี้เกิดจากอิทัปปัจจยตา แล้วเป็นไปตามอำนาจของอิทัปปัจจยตา แล้วเราก็เรียกความโง่ ความโง่ต่อกฎอิทัปปัจจยตาของเราว่าความเจริญ ความเจริญ หรือ progress ไอ้ progress คือความโง่ ไม่รู้เท่าทันอิทัปปัจจยตา นี่มันบ้าหรือดี มันเป็นความบ้าหรือเป็นความไม่บ้า ไม่รู้เท่าทันกฎของอิทัปปัจจยตา หลงใหล ๆ แล้วก็ผลิตไปตามความหลงใหล สร้างไปตามความหลงใหล ก่อไปตามความหลงใหล แล้วไม่มีที่สิ้นสุด ยังจะมีอีกมากกว่านี้ ในอนาคตยังจะมีอีกมากกว่านี้ นี่คือความไม่รู้จักอิทธิพลของกฎอิทัปปัจจยตา แล้วไปบูชา บูชาว่าความเจริญ เราหลงเอาความโง่ต่ออิทัปปัจจยตาว่าความเจริญ แล้วเราต้องไม่ลืมว่า พระพุทธเจ้าตรัสสอนไว้ว่า จงเห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงด้วยปัญญาอันชอบ เห็นสิ่งทั้งปวงคือหมดทุกสิ่ง และเห็นให้ถูกต้อง ถูกต้องตามที่เป็นจริง แล้วก็ด้วยปัญญาอันชอบ คือปัญญาที่ถูกต้อง ไม่ใช่ความโง่ นี่พระพุทธเจ้าตรัสให้เห็นสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริง ก็คือเห็น อิทัปปัจจยตา จนอิทัปปัจจยตานั้นหลอกเราไม่ได้ ทำอันตรายเราไม่ได้ นั่นจะเป็นไปเพื่อสันติภาพ เพื่อความสงบสุข ดังนั้นจึงขอให้เรารู้จักอิทัปปัจจยตาให้ดีที่สุด อย่าให้มันหลอกเราได้ อย่าให้หลงใหลในการปรุงแต่ง หลอกลวงของอิทัปปัจจยตา ถ้าเห็นอิทัปปัจจยตาจริง ๆ ถึงที่สุด ถูกต้องแล้ว เราจะพ้นจากการถูกหลอกลวงด้วยความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ pair of opposite สิ่งที่เป็นคู่ เช่น สวยไม่สวย หอมเหม็น สั้นยาว ดำขาว สูงต่ำ เป็นคู่ ๆ คู่ ๆ เหล่านี้ เราถูกหลอกลวงให้เห็นเป็นคู่ เพราะเราไม่เห็นอิทัปปัจจยตา ถ้าเราเห็นอิทัปปัจจยตา เราจะเห็นเป็นเพียงการปรุงแต่ง ปรุงแต่งที่เปลี่ยนไปเท่านั้น ไม่ถึงกับเป็น เป็นคู่ตรงกันข้าม ไม่มีคู่ตรงกันข้าม ไม่มี positive และไม่มี negative มันปรุงแต่งเท่านี้ มันก็ได้เท่านี้ ก็เรียกว่าสั้น พอปรุงแต่งออกไปอีก มันก็เลย มันก็เรียกว่ายาว คนโง่ก็เห็นเป็นสิ่งตรงกันข้ามระหว่างสั้นกับยาว ที่จริงคือกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาที่ปรุงแต่งออกไป ดังนั้นจึงไม่มีความสั้น ไม่มีความยาว มันไม่มีดำ ไม่มีขาว เมื่อมันไม่มีแสงที่จะกระท้อนมา มันก็ดำ มันก็คือไม่มีแสงกระท้อนมา มันก็คือมืดหรือดำ ถ้ามีแสงกระท้อนมา มันก็ขาว ถ้าคลื่นแสงมันต่างกัน มันก็มีเขียว มีเหลือง มีม่วง มีอะไรต่าง ๆ ไม่มีต่างกัน มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตาที่มันปรุงแต่งไม่เท่ากัน นี่ก็หลอกเราไม่ได้ มันไม่มีหอม ไม่มีเหม็น มันมีแต่งสิ่งที่เรียกว่าไอระเหย …. ( 0:58:15) ไอระเหย ถ้ามากระทบระบบประสาทเท่านั้น มันจะรู้สึกอย่างนั้น กระทบเท่านั้น มันจะรู้สึกอย่างนั้น กระทบ กระทบเพียงเท่านั้น มันจะรู้สึกเป็นหอม ถ้าเข้มข้นกว่านั้น มันจะรู้สึกเป็นเหม็น มันไม่มีตรงกันข้าม มีแต่ความมากน้อยปรุงแต่งของอิทัปปัจจยตา คือไอระเหยที่มากระทบระบบประสาท จมูก มันจางหรือมันเข้มข้นเท่านั้นเอง เราไม่มีหอม ไม่มีเหม็น ถ้าเรารู้เรื่องอิทัปปัจจยตา เรื่องความอร่อยหรือไม่อร่อยก็เหมือนกัน ถ้ามีอะไรมากระทบลิ้น มากระทบระบบประสาทของลิ้นในปริมาณเท่านี้ เช่น น้อยไป มันรู้สึกเป็นจืด ถ้ามากขึ้นไปกว่านั้นอีกหน่อย มันค่อยรู้สึกเป็นกร่อย เป็นเปรี้ยว เป็นหวาน ถ้ามากเข้มไปกว่าหวาน มันก็เค็มหรือขม นี่คือความมากน้อยของสิ่งที่มากระทบระบบประสาทที่ลิ้น มันไม่มีตรงกันข้ามหรอก มันมีแต่ความต่างกัน ปรุงแต่งที่ต่างกันของสิ่งที่เข้ามาปรุงแต่งตามกฎของอิทัปปัจจยตา แล้วเราก็หลง ๆ ๆ อร่อยไม่อร่อย อร่อยไม่อร่อย ยอมซื้อแพง แพงที่สุดที่มันหลอกให้เห็นว่าอร่อย บัดนี้โลกของเราเจริญด้วยศิลปะแห่งการปรุงแต่ง คือปรับปรุงให้เกิดของใหม่ขึ้นมา เรียกว่าศิลปะ เราก็ปรุงแต่งให้เกิดของใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด ที่จะหลอกลวงให้หลงใหลกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีที่สิ้นสุดหรอกศิลปะแห่งการปรับปรุง ปรุงแต่งให้หลอกลวงนี้ นี่ก็โดยอาศัยกฎของอิทัปปัจจยตาเป็นเครื่องมือให้ศิลปิน ปรุงแต่งของหลอกลวงให้มากขึ้นมาในโลก ในโลก จนเป็นบ้าอย่างไม่รู้สึกตัว นี่คือความจริงของมนุษย์ที่กำลังเป็นอยู่ในปัจจุบัน
ขอโอกาสเล่าเรื่องส่วนตัวสักนิดหนึ่ง อย่าเห็นว่าเป็นเรื่องส่วนตัว เมื่อก่อนนี้ เมื่อผมยังหนุ่ม ๆ อยู่นั้น อ่านหนังสือเรื่องแกรนด์แคนยอนที่อเมริกา อยากจะไปดูที่สุด อยากจะไปอย่างขาดใจ ว่าจะมีเงินเมื่อไร จะไปดูแกรนด์แคนยอนที่อเมริกา เดี๋ยวนี้ศึกษาเรื่องอิทัปปัจจยตา โอ๊ย, จ้างก็ไม่ไป ใครจะมาพาไปก็ไม่ไป จ้างก็ไม่ไป ไปดูแกรนด์แคนยอน เมื่อก่อนนี้อยากจะไปอย่างใจจะขาดอย่างนี้ เพราะความแปลก อ่านแล้วมันรู้สึกแปลก รู้สึกว่ามันลึกลับ หรือแปลก ระวังเถิดทุก ๆ ท่านจะ มันหลงในของแปลก แล้วก็บูชาของแปลก โดยการหลอกหลวงของสิ่งที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา พอเห็นอิทัปปัจจยตาแล้วก็จืดหมด ไม่อยากไปดูอะไรแปลก แล้วไม่มีอะไรแปลก จะไม่มีอะไรแปลกสำหรับผู้ที่เห็นอิทัปปัจจยตา เดี๋ยวนี้ไม่อยากจะไปไหน ไม่อยากจะไปอเมริกา ไปยุโรป ไปแอฟริกา ไปออสเตรเลีย ที่ไหน ๆ ก็ไม่อยากไป เพราะกลัวว่าจะไปเห็นแต่อิทัปปัจจยตา ถึงจะไป ไปก็ไปแต่เห็นอิทัปปัจจยตา เลยไม่ต้องการจะไป ไม่อยากจะไปแม้แต่สวรรค์ สวรรค์ก็ไม่อยากไป ไปถึงสวรรค์ก็จะเห็นแต่อิทัปปัจจยตา เลยไม่อยากไปไหน นี่รอดตัวเพราะมีความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา ไม่ต้องลำบาก นั่งดูที่นี่ก็พอแล้ว ลืมตาแล้วก็ดูไป ต้นไม้นี่ ส่วนประกอบของต้นไม้ ล้วนแต่อิทัปปัจจยตาที่ปรุงแต่งกันอยู่อย่างละเอียด ดูที่หมาก็อิทัปปัจจยตา ที่ไก่ก็อิทัปปัจจยตา แม้แต่ในของที่ไม่มีชีวิต เช่น ก้อนหิน มันก็มีความเปลี่ยนแปลงของปรมาณูใน อยู่ในนั้นก็เป็นอิทัปปัจจยตา ดูที่แผ่นดินนี้ก็เต็มไปด้วยอิทัปปัจจยตาที่ละเอียด ที่ต้องศึกษาจึงจะรู้ พอลืมตาไม่ว่าที่ไหนก็เห็นแต่อิทัปปัจจยตา ขอให้เห็นอิทัปปัจจยตานี้เถิด มันก็จะชนะความหลอกลวงของอิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตาจะหลอกให้มีของแปลก ของอยากได้ เกิดกิเลศ เกิดตัณหา เกิดอุปาทานมากมาย จงรู้เท่าทันอิทัปปัจจยตา แล้วก็จะป้องกันการเกิดแห่งกิเลศตัณหาได้โดยประการทั้งปวง แล้ววิธีที่ดีที่สุดก็คือทำตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอน คือมองดูเข้าไปข้างใน อย่าไปเสียเวลามองดูข้างนอก ได้ผลไม่เท่ามองดูเข้าไปข้างใน ที่ในร่างกายของเรา ดูที่ระบบกายมีกี่ระบบ ระบบโลหิต ระบบไอ้ ทุก ๆ ระบบที่มันประกอบกันขึ้นเป็นร่างกาย เป็นกระดูก เป็นเลือด เป็นเนื้อ เป็นระบบ ๆ ไปที่ร่างกาย ส่วนที่เป็นร่างกายก็เห็นอิทัปปัจจยตาของส่วนที่เป็นร่างกาย แล้วก็ไปดูที่ระบบที่สำคัญที่สุดคือระบบจิต คำเดียวนะ จิต สิ่งเดียวดวงเดียว เพราะว่าอะไร ๆ มัน มันสำเร็จอยู่ที่จิต จะเป็นทุกข์ก็อยู่ที่จิต จะไม่เป็นทุกข์ก็อยู่ที่จิต จะรู้ก็อยู่ที่จิต จะไม่รู้ก็อยู่ที่จิต จงดูที่ระบบจิตที่อิทัปปัจจยตาปรุงแต่งให้เปลี่ยนแปลง ให้โง่ ให้ฉลาด หรือให้เปลี่ยนแปลงได้ตามสารพันอย่าง ดูที่จิต จับอิทัปปัจจยตาที่เกี่ยวกับจิตให้ได้ แล้วเราก็จะควบคุมจิตได้ คือให้มีแต่ ให้มีแต่ส่วนที่ไม่ ไม่ต้องเป็นทุกข์ คือถูกต้องตามกฎของอิทัปปัจจยตา แล้วก็ไม่เป็นทุกข์ อย่าให้ผิดต่อกฎของอิทัปปัจจยตาซึ่งจะเป็นทุกข์ ฉะนั้นขอให้ชักชวนพวกเราทุกคนจงศึกษาตรงเข้าไปในภายใน รู้เรื่องกาย แล้วรู้เรื่องจิต แล้วรู้เรื่องอิทัปปัจจยตาของกายและจิต เราก็จะควบคุมกระแสแห่งอิทัปปัจจยตาได้ แล้วจะหมดปัญหา ได้พูดกันเมื่อวานแล้วว่า ขอให้ศึกษาพระพุทธศาสนาเพียง ๔ หัวข้อ ข้อ ๑ ว่าอิทัปปัจจยตาทำให้เกิดจักรวาลและเป็นไป อิทัปปัจจยตาทำให้เกิดแล้วก็เป็นไปแห่งจักรวาล ๒ ถ้าเราทำผิดต่อกฎอิทัปปัจจยตา ไอ้ความทุกข์จะออกมา ถ้าเราทำถูกต่อกฎอิทัปปัจจยตา ความทุกข์จะไม่ออกมา ถ้าเราควบคุมอิทัปปัจจยตาได้โดยสิ้นเชิงได้ เราก็จะนิพพาน นี่ขอให้สนใจแต่ ๔ หัวข้อนี้ หัวใจพระพุทธศาสนา หัวใจพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับอิทัปปัจจยตาทั้งนั้น
ทีนี้ก็จะได้แสดงให้เห็นว่าทำไมจึงเป็นอย่างนั้น ทีนี้ก็จะแสดงให้เห็นว่าทำไมจึงเป็นอย่างที่ว่า โดย ๔ หัวข้อนั้น ข้อแรกที่สุด เมื่อเราเห็นการปรุงแต่งของอิทัปปัจจยตา เราเห็นได้ทันทีว่าไม่มีอะไรเที่ยง ไม่มีอะไรเที่ยง หรือคงที่ มีเปลี่ยนเสมอ เปลี่ยนเสมอ ตามการปรุงแต่งของอิทัปปัจจยตาที่ไม่มีหยุด ไม่มีหยอน ไม่มีหยุด แล้วก็ไม่มีหย่อนด้วย นี้เรียกว่าเราเห็นความจริงสูงสุดของธรรมะ คือเห็นอนิจจตา ๆ ความเปลี่ยนแปลงเสมอไม่หยุด เป็นข้อแรกเห็นอนิจจตา ดูต่อไปก็เห็นว่า โอ้, ไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา สมมติว่าตัวเรา มันต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง ตัวเราจำเป็นจะต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง หรือเป็นผู้ไม่เที่ยงเสียเอง ดังนั้นมันก็เกิดอาการที่เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ขึ้นมา เพราะต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง นี้เรียกว่าเห็นทุกขตา ความเป็นทุกข์ ทีนี้เมื่อมันไม่เที่ยง เปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย และต้องอยู่กับสิ่งไม่เที่ยง แล้วเป็นทุกข์ เป็นทุกข์อยู่เรื่อย ก็เรียกว่ามันไม่มีส่วนที่จะเรียกว่าตัวตน ตัวตน ตัวตนที่เป็นยั่งยืน เข้มแข็งอะไร นี่เรียกว่าเห็นว่าอนัตตา อนัตตา not self ไม่มีอัตตา มิใช่อัตตา ไม่มีสิ่งที่ควรเรียกว่าอัตตา คือมิใช่อัตตา นี้ก็เรียกว่าเห็นอนัตตา เมื่อเราเห็น อนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ตลอดเวลาของไอ้ที่เรียกว่าตัวเรา เราก็เห็นว่ามันเป็นอยู่อย่างนั้นเอง เป็นธรรมดาของมันเช่นนั้นเอง นี้เรียกว่าเห็นธัมมัฏฐิตตา ๆ เป็นธรรมดา เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง เรียกว่าธัมมัฏฐิตตา เมื่อเห็นว่ามันเป็นธรรมดา เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง ก็จะเห็นได้ทันทีว่าเพราะมันมีกฎ มี law, natural law of อิทัปปัจจยตานี้ ควบคุมอยู่ เพราะมันถูกควบคุมอยู่ด้วยกฎของอิทัปปัจจยตา อย่างนี้เราเรียกว่า ธัมมนิยามตา ๆ เมื่อเห็นชัดเจนครบถ้วนอย่างนี้แล้ว เรียกว่าเห็นอิทัปปัจจยตานั้นแหละ เห็นอิทัปปัจจยตานั่น ก็คือเห็นมาตามลำดับว่าอนิจจตา ทุกขตา อนัตตา ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา นี่คือเรียกว่าเห็นอิทัปปัจจยตาโดยสมบูรณ์ เมื่อเห็นครบอย่างนี้แล้ว ก็จะเรียกได้อีกทีหนึ่งว่าเห็นสุญญตา ว่างจากตัวตน ไม่มีตัวตน ไม่มีความหมายแห่งตัวตน เห็นสุญญตา ซึ่งเป็นสิ่ง เป็นความหมายที่สำคัญที่สุดที่จะต้องเห็นว่าสุญญตา ว่างจากตัวตน มีแต่อิทัปปัจจยตา ไม่มีตัวตน มีแต่อิทัปปัจจยตา ไม่มีตัวตน นี่เรียกว่าเห็นว่างจากตัวตน ก็เรียกว่าเห็นสุญญตา สุญญตา จำไว้ให้ดี เป็นคำพิเศษมาก เมื่อเห็นสุญญตา ว่างจากตัวตนแล้ว มันก็เห็นสรุปโดยทั้งหมดทั้งสิ้นว่า โอ้, มันเช่นนี้เอง เช่นนี้เอง อย่างนี้เอง เป็นอย่างอื่นไม่ได้ จะมีเป็นอย่างอื่นไม่ได้ มีแต่เช่นนี้เอง เช่นนี้เอง คือเป็นไปตามกฎอิทัปปัจจยตา เช่นนี้เอง เห็นตถตา ตถตา ตถตาคำนี้มีความหมายมาก จำไว้ดี ๆ เห็นเช่นนี้เอง แล้วรอดตัว คำนี้เรียกว่า ตถาก็ได้ บาลีเรียกว่า ตถา ก็มี เรียกว่าตถตา ก็มี เรียกว่าตถาตาก็มี ยังมีคำอื่นอีก แต่รวมความแล้วก็คือ ตถตา เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนี้ นี่ก็เป็นหัวใจของอิทัปปัจจยตา เห็นอิทัปปัจจยตาโดยสมบูรณ์แล้ว จะเห็นหัวใจของอิทัปปัจจยตาว่า มันเป็นเช่นนี้เองโดยเด็ดขาด universal and absolute สูงสุดเลย
ผู้ใดเห็น หรือถึง real light หรือ enlighten ต่อตถตานี่ คือมีตถตา ผู้นั้นเรียกว่า ตถาคะตะ หรือตถาคต ตถาคะตะ ตถาคต เป็นชื่อของพระอรหันต์ พระอรหันต์ทั้งหลายทั้งปวงเป็นตถาคะตะ เป็นตถาคต เพราะเห็นหรือถึงตถตา พระพุทธเจ้าเป็นจอมพระอรหันต์เรียกว่าพระตถาคต แต่ว่าพระอรหันต์ทั้งหลายทั้งปวงก็เรียกว่าตถาคต ตามภาษาบาลีเรียกอย่างนั้น ผู้ถึงซึ่งตถา ผู้เห็นซึ่งตถา เรียกว่าตถาคต เมื่อถึงตถาตา ตถตา หรือตถาตา เป็นตถาคตแล้ว ก็อยู่เหนืออำนาจของอิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตาทำอะไรไม่ได้ ไม่เกี่ยวข้องอีกแล้ว ก็อยู่เหนืออำนาจของอิทัปปัจจยตา คือเป็นนิพพาน ได้ชื่อใหม่เรียกอาการนี้ว่าอตัมมยตา อตัมมยตา ขอความกรุณาช่วยจำไว้ให้ดี มีประโยชน์มาก เป็นความหมายมาก เป็นคำสุดท้ายของการบรรลุธรรม อตัมมยตา อตัมมยตา ตามตัวหนังสือแปลว่า ไม่ถูกปรุงแต่งโดยปัจจัยนั้น ๆ ปัจจัยนั้น ๆ ไม่อาจจะปรุงแต่งอีกต่อไป คืออิทัปปัจจยตาไม่อาจจะปรุงแต่งอีกต่อไป อยู่เหนืออำนาจของอิทัปปัจจยตา แล้วก็เป็นนิพพาน ศึกษาคำนี้ให้ชัดเจนหน่อยก็ได้ว่า อตัมมยตา “อะ” แปลว่าไม่ “อะ” ไม่ “ตัม” ว่านั้น “มัยยะ” แปลว่า made of, made of not we made of by mean of that (1:33:09) ปัจจยะ อะ ไม่ ตัม นั้น มัยยะ made of อตัมมยตา ตัวหนังสือแปลว่าอย่างนี้ คือว่าต่อไปนี้ปัจจัยอะไร ปัจจัยอะไรมาปรุงแต่งไม่ได้ โดยเฉพาะอิทัปปัจจยตาก็ปรุงแต่งไม่ได้ สิ้นสุดแล้วอยู่เหนืออำนาจอิทัปปัจจยตา แล้วก็เป็นนิพพาน เดี๋ยวนี้เรารู้จักอิทัปปัจจยตา รู้จักอิทัปปัจจยตา ควบคุมอิทัปปัจจยตา จนไม่มีอำนาจมาปรุงแต่งอะไร เรื่องมันก็จบ คือเป็นนิพพาน นี่คือหัวใจ ๆ แปลคำว่าหัวใจให้ดี ๆ หัวใจของพระพุทธศาสนา คือกระทำจนอิทัปปัจจยตาปรุงแต่งไม่ได้ แล้วก็เป็นนิพพาน ไม่มีความทุกข์อีกต่อไป นี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา