แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
สิ่งที่เรียกว่าสติน่ะมีความหมายสำคัญอยู่ที่มีความเร็วสูงสุดแห่งปัญญา ปัญญามาเร็วทันเวลา ความที่เร็วทันเวลานั้นแหละเรียกว่า สติ สติ ถ้ามาไม่ทันเวลานั้นไม่เรียกว่าสติ
คำว่าสติ สติ นั้นมันเป็นคำเดียวกับว่าคำว่า สาระ สาระ Arrow ลูกศร Arrow มันคล้ายกับว่าคนโบราณรู้จักสิ่งที่มีความเร็วที่สุดเพียงลูกศร Arrow ก็เลยเอาคำนี้มาใช้ เอาความเร็วของสิ่งนี้มาใช้แล้วก็เรียกว่าสติ คำว่าสติ กับคำว่าสาระน่ะเป็นคำเดียวกัน ถ้าเดี๋ยวนี้เราก็คงจะเปรียบด้วยลูกปืน หรืออะไรที่มันเร็วกว่าลูกศร หรือว่าความเร็วแสง ความเร็วแสงคือเร็วมากนั้นแหละเอามาเรียกเป็นชื่อของสติ เอาเป็นว่าความเร็วที่ทันแก่เวลาที่หยุดเหตุการณ์เลวร้ายเสียได้ นั้นก็เรียกว่าสติ สติ
ท่านก็มองเห็นได้เอง ไม่ต้องเชื่อใคร เรามีความรู้มาก มีความรู้ ความรู้ ความรู้มาก แต่ถ้ามันไม่มาทันเวลาของเหตุการณ์นั้นมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร ความรู้นั้นก็เท่ากับไม่มี นั้นสติคือความเร็ว ทันเวลา นั้นแหละจึงมีประโยชน์มาก ความรู้มาทันเวลากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มันก็ตัดปัญหาให้หมดไป ประโยชน์ของสติทำให้ปัญญามีประโยชน์ ถ้าไม่มีสติไอ้ปัญญาก็พลอยไม่มีประโยชน์คือใช้ไม่ทันเวลา
เมื่อวานเราพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทวันนี้เราพูดเรื่องสิ่งที่จะหยุดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท คือสติ สติ
เอ้า, ทีนี้เราก็ตั้งต้นพูดเรื่องสติ โดยชื่อว่าอานาปานสติภาวนา Development of สติทุกครั้งที่มีการหายใจ
มันเป็นความรู้อีกแขนงหนึ่ง คือเป็นเรื่องฝ่ายจิตใจ และไม่ใช่ฝ่ายวัตถุ ถ้าพูดถึง สติ สติ ก็เป็นเรื่องฝ่ายจิตใจ มีความรู้ฝ่ายจิตใจก็สามารถที่จะควบคุมปัญหาต่างๆ ได้ ทั้งทางฝ่ายวัตถุ และทั้งทางฝ่ายจิตใจ ความรู้ทางจิตใจจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น จำเป็นโดยธรรมชาติ ธรรมชาติบังคับให้มีความจำเป็น นี่เรามนุษย์เราก็มีความรู้ทั้งทางฝ่ายวัตถุ และทั้งทางฝ่ายจิตใจ
เราอย่าเข้าใจว่าความรู้ทางจิตใจนี้เพิ่งมี เพิ่งมีเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อเราสนใจกันขึ้นขอให้รู้หรือเห็นว่ามันมีคู่กันมากับร่างกาย พอมนุษย์มีชีวิตขึ้นมามันก็มีความรู้สึกทางกายและทางจิตใจ มันก็ Develop พร้อมกันมาทั้งคู่ ทั้งสองอย่าง แต่ว่าทางฝ่ายจิตใจมันละเอียดมันมองไม่ค่อยเห็น เราจึงรู้สึกคล้ายๆ กับว่าเพิ่งมี หรือเพิ่งรู้จักกัน ขอให้ถือเสียว่าความรู้ทางจิตใจก็มีมาและวัฒนาการมาพร้อมๆ กับเรื่องทางร่างกาย
ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว ไอ้ความรู้ทางจิตใจมันก็มีคู่กันมา แม้ตั้งแต่ว่ามันเป็น Instinct สัญชาติญาณ เป็น Instinct มันก็มีสติ มีสติ ว่าพอที่จะให้เราเดิน เดินได้ทำอะไรได้ กินอาหารทางปากได้ หรือก็เรามีปัญญาพอที่จะขจัดไอ้เรื่องต่างๆ ที่เกิดขึ้นมาได้เช่น หนามมันตำเท้าเราก็เอาออกได้ แล้วเราก็มีสมาธิตามสัญชาติญาณนั้นแหละเพียงพอ เราจึงขว้างก้อนหินถูกต้องอะไรได้ นี้เรียกว่าสมาธิ สติ หรือปัญญา หรือสัมปชัญญะตามธรรมชาติมีแล้ว แม้ตั้งแต่ในระดับ Instinct แต่มันไม่พอ มันไม่พอที่จะแก้ปัญหาอันสูงสุดที่เรียกว่าความทุกข์ในกระแสปฏิจจสมุปบาทนั้น ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนา พัฒนา พัฒนา สติปัญญาสมาธิอะไรที่มีอยู่ตามสัญชาติญาณนั้นให้มากขึ้น มากขึ้น จนเพียงพอ มันจึงจะแก้ปัญหาได้ เพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
มนุษย์มันมีทั้งกาย และทั้งใจมันคู่กันมามันแยกกันไม่ได้ มันจึงเลยพัฒนา Develop คู่กันมาพร้อมทั้งกายและใจ คือมีความรู้เพิ่มขึ้นทั้งทางฝ่ายกายและฝ่ายใจ แม้ว่าจะเป็นโดยบังเอิญ เช่น เราเรียนประวัติศาสตร์ว่า มนุษย์ทีแรกกินเนื้อดิบๆ ต่อมาเผอิญทำตกลงไปในไฟ ไฟเผาแล้วมีรสเปลี่ยนไป อ้าว, ก็รู้จักปรุงด้วยไฟ นี้เผอิญไปชิมน้ำอะไรที่มันมีรสแปลกออกไปโดยบังเอิญน่ะ ก็เกิดการปรุงแต่งรส Seasoning ขึ้นมา รู้จักน้ำจิ้ม รู้จักปรุงรู้จักน่ะ นี่ทางวัตถุ มันก็เกิดได้มาตั้งแต่สมัยคนป่าที่ยังไม่นุ่งผ้า ทางจิตก็เหมือนกันแหละ มันก็สังเกตเห็นได้ว่า โอ้, หายใจอย่างนี้ดีกว่านี่ หายใจอย่างนี้มีประโยชน์กว่านี่ หายใจอย่างนี้มีกำลังกว่านี่ พัฒนาขึ้นมาในทางฝ่ายจิตใจ แม้ด้วยการหายใจที่ดีกว่า การหายใจที่แก้ปัญหาได้ เรียกว่าพัฒนาโดยบังเอิญขึ้นมาตามลำดับ ตามลำดับ ยังไม่พอ ยังไม่พอ ต้องพัฒนาอีก พัฒนาอีกจนพอ จนเค้ารู้จักวิธีการ หรือเทคนิคในการที่จะพัฒนามัน อานาปานสติภาวนาของเราก็รวมอยู่ในสิ่งเหล่านั้น
มนุษย์รู้จักใช้ลมหายใจซึ่งมีอิทธิพลทั้งแก่ทางร่างกายและทางจิตใจ รู้จักใช้ลมหายใจ บังคับลมหายใจ ก็ฝึกทุกอย่างที่จะให้เกิดผลตามที่ต้องการ เมื่อเขาต้องการจะกดหรือบังคับอำนาจจิต เขาก็มีวิธีกระทำอย่างหนึ่งซึ่งจะกดบังคับอำนาจจิต หรือเมื่อเขาต้องการจะยก จะยกขึ้นซึ่งอำนาจจิต เขาก็มีวิธีอย่างหนึ่ง ในเมื่อเขาต้องการจะให้จิตพลิกแพลงไปในลักษณะใด เขาก็มีวิธีอย่างนั้น อย่างเดี๋ยวนี้ทางวัตถุเมื่อคุณจะกดพลังจิตคุณก็ใช้ยาพวกกดพลังจิต เช่น เฮโรอีน มอร์ฟีน อะไรอย่างนี้กดมันลงไป ถ้าคุณจะต้องการจะยกพลังจิต คุณก็กินกันยาพวกกระตุ้น ที่เรียกยาม้า ยาม้า ยกกระตุ้นพลังจิต หรือเมื่อคุณต้องการจะให้จิตมันแปลก แปลกออกไป คุณก็กินยาประเภท SLD หลอนจิตใจเป็นอย่างนั้น หลอนจิตใจเป็นอย่างนี้ หรือว่าเมื่อคุณต้องการจะหล่อเลี้ยงขึ้นมาก็ใช้ยาประเภท Stabilizers (นาทีที่ 20 : 02) ยกจิตชูจิต แต่พวกฤๅษีมุนีในป่าไม่ต้องการใช้ยาอย่างนี้มันเป็นเรื่องวัตถุ และไม่มีใช้ด้วย เขาก็มีวิธีบังคับจิต กดลงไปก็ได้ ยกขึ้นมาก็ได้ให้มันเป็นไปต่างๆ อย่างที่เรียกว่าหลอนนี้ก็ได้ ให้...(นาทีที่ 20 : 27) ไปเลยวิธีของสมาธิของจิตนี้ก็ได้ ก็เป็นเรื่องเก่าก่อนซะอีกกระมัง ที่รู้จักใช้ยากินกันเดี๋ยวนี้เร็วๆ นี้ ก่อนนี้มนุษย์ได้มีสติปัญญา รู้จักใช้เรื่องจิตในการกดจิตลงไป ในการกดจิตขึ้นมา ในการดึงจิตให้พลิกแพลง ในการชูกำลัง หรือในการแก้ปัญหา แก้โรคอะไร นี้อย่าเข้าใจว่าไอ้เรื่องทางจิตนี้มันเพิ่งมี มันมีมาตั้งแต่โบราณ ต่อมาเรา เขาก็เลือกเอาเฉพาะที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง มันก็เหลืออยู่แต่เรื่องจิตที่เป็นไปเพื่อความสงบสุขอย่างหนึ่ง แล้วก็มีปัญญา ปัญญา นี้อีกอย่างหนึ่ง นี้สรุปความว่าเรื่องกาย กับเรื่องจิตนี้มันคู่กันมา เดี๋ยวนี้คนรู้จักแก้ปัญหาแต่เรื่องทางวัตถุ สมัยโน้นเขารู้จักแก้ปัญหาด้วยเรื่องทางจิต ขอสรุปความว่าเรื่องกายกับเรื่องจิตนี้มีเป็นคู่กัน เป็นคู่กันน่ะ ทำงานได้เหมือนกันอย่างนี้
ในที่สุดความรู้หรือเทคนิคเกี่ยวกับจิตนี้เหลืออยู่เพียงสองอย่าง ที่ไม่จำเป็นก็ทิ้งไป เหลืออยู่เพียงสองอย่างที่จำเป็น อย่างแรกก็เป็นไปเพื่อสงบจิตเป็น Concentration เป็น Trance ทำจิตให้สงบและมีความสุข ก็พอใจความสุขนั้น นี้ก็อย่างหนึ่ง นี้อีกทางหนึ่งก็เป็นไปทางสติปัญญารู้แจ้ง แจ้งให้ Realization เกิดขึ้นในสิ่งต่างๆ ก็มีคนเป็น Insight เรียกว่าทางสมาธิ สงบจิตมีความสุข ทางปัญญารู้แจ้ง รู้แจ้งที่จะขจัดปัญหาต่างๆ เป็นสองอย่างอย่างนี้ แล้วในที่สุดบัดนี้เราก็ได้เอามารวมกันให้มันเนื่องกัน เราทำจิตให้เป็นสมาธิก่อน แล้วก็ทำจิตให้เห็นแจ้ง Realize สิ่งต่างๆ ระบบอานาปานสติภาวนานี้มีทั้งสองอย่างรวมกัน เบื้องต้นฝึกเป็นสมาธิตอนปลายก็เป็นปัญญารู้แจ้งสิ่งทั้งปวง นี่สิ่งสุดท้ายที่เหลืออยู่ หรือจะเรียกอนุสาวรีย์ของความรู้ทางจิต ตั้งแต่คนป่าสมัยโบราณมา เดี๋ยวนี้มันเหลืออยู่เป็นระบบอาณาปานสติ ที่พระพุทธเจ้าท่านได้ปรับปรุง Systematize ให้มันดีที่สุดแล้ว เราก็เอามาศึกษามาปฏิบัติกันที่ Center
เอาละเป็นอันว่าท่านประสงค์จะฝึกอานาปานสติ ท่านก็เตรียมตัว เตรียมตัวเพื่อรู้จักสิ่งสี่อย่าง สี่อย่าง อย่างแรกคือร่างกาย ร่างกาย อย่างที่สองคือความรู้สึกที่เกิดขึ้นทางกายเรียกว่าเวทนา ความรู้สึกทางกายนี้จะปรุงแต่งให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าจิต นี้ก็เราก็รู้เรื่องจิตเป็นเรื่องที่สาม แล้วพอเรื่องที่สี่ก็รู้สิ่งที่จะหลอกให้จิตโง่และเป็นทุกข์คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ไอ้ที่จะหลอกให้มี ให้เกิดความโง่ไปยึดมั่นถือมั่นด้วยอุปาทานและเป็นทุกข์ทั้งนั้นไม่ว่าอะไร นี้ก็เรียกว่าธรรม กายานุปัสสนารู้เรื่องกายดีที่สุด เวทนานุปัสสนารู้เรื่องความรู้สึกของกายดีที่สุด จิตตานุปัสสนารู้เรื่องจิตดีที่สุด ธัมมานุปัสสนารู้เรื่องทุกสิ่งที่จะหลอกให้จิตโง่และเป็นทุกข์ และก็ไม่โง่และไม่เป็นทุกข์ สี่เรื่อง สี่เรื่อง สี่เรื่อง ทำความเข้าใจให้ชัดเจน ชัดเจน กาย เวทนา จิต ธรรม
สิ่งแรก หมวดแรกคือหมวดกาย เป็นเรื่องทางวัตถุ เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งเรื่องทางจิตใจ เรามารู้เรื่องกาย กาย กาย กันก่อน กายนี้ที่เป็นเนื้อหนังประกอบด้วยธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ในกายเนื้อหนัง แล้วก็มีกายนี้คือลมหายใจ บางทีก็เรียกว่าปราณ หรือชีวิต ปราณะ หรือชีวิตนี่มันรวมอยู่กับสิ่งที่เรียกว่ากาย เรามีร่างกายเนื้อหล่อเลี้ยงอยู่ด้วยร่างกายคือกายลม เรารู้จักมันให้ดีรู้จักกายลมหายใจหล่อเลี้ยงกายเนื้ออยู่ แล้วก็ทำให้มันถูกต้อง ถูกต้อง มันก็มีร่างกายที่เข้มแข็งที่สมบูรณ์ ที่จะใช้สำเร็จประโยชน์ได้ที่สุด นี่หมวดที่หนึ่ง
เมื่อกายลม กายลมหายใจปกติ กายเนื้อ เนื้อ เนื้อ Flesh นี่ก็ปกติ หรือกลับกันว่าเมื่อ Flesh กายเนื้อนี้ปกติ ก็กายลมหายใจก็จะปกติ มันเนื่องกันอยู่อย่างนี้ ถ้ามันผิดปกติทางกายลมมันก็ผิดปกติทางกายเนื้อ หรือว่าถ้ากายเนื้อผิดปกติแล้วกายลมมันก็ผิดปกติด้วย มันไม่สงบมันมียุ่ง Disturbed ยุ่ง ยุ่ง ขึ้นมาทันที เรามาฝึกกายเนื้อโดยผ่านทางกายลม เราฝึกกายลมโดยตรงไม่ได้ แต่เราฝึกกาย ฝึกกายเนื้อโดยตรงไม่ได้ เราต้องฝึกโดยอ้อมคือทางกายลม เราจึงฝึกลมหายใจให้ปกติ แล้วกายเนื้อก็ปกติ คืออย่างนี้ รู้จักสองกายเนื่องกันอยู่อย่างนี้ ฝึกกายลมไปมีผลแก่กายเนื้อ เราก็เตรียมร่างกายของเรานี้ให้ ให้แข็งแรง ให้สมบูรณ์ ให้เหมาะสมที่สุดได้ ด้วยการฝึกในหมวดที่หนึ่งนี้
ที่นี้ก็มาหมวดที่สอง กาย กายนี้ต้องมีความรู้สึก ไอ้กายนี้มันไม่ได้กายเปล่าๆ มันมีความรู้สึก มี Sense มี Sense … (นาทีที่43:02) มันมีความรู้สึก มันต้องมีความรู้สึก แล้วเราก็พอใจในความรู้สึกที่เป็นฝ่ายบวก เป็น Contentment พอใจ พอใจ นี่ความพอใจนี้ มัน มันมีอยู่เป็นสองระดับ ถ้าอย่างแรก แรกพอใจมันรุนแรง รุนแรง มันเป็นปิติ ปิติ คือความพอใจที่รุนแรง รุนแรง เป็น Rapture รุนแรงรบกวน Disturbed ด้วยซ้ำไป แต่แล้วความพอใจนั้นมัน ระงับ ระงับ ระงับ ระงับ ระงับลง อันนี้ก็เป็นความสุขเป็น Happiness รู้ว่าไอ้ความรู้สึกที่เป็นเวทนานั้นมีอยู่สองชั้น คืออย่างแรกมียังกำลังวุ่น กำลังวุ่น แล้วก็มาถึงขั้นที่ระงับ สงบ ระงับก็เรียกว่าความสุข มันทำให้เรายุ่งยากทุกอย่างมันขึ้นอยู่ที่เวทนาน่ะ เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปาทาน ให้เกิดทุกข์ ถ้าเราควบคุมเวทนาไม่ได้ เราก็ควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไม่ได้ มันก็จะควบคุมความทุกข์ไม่ได้ เราจะศึกษาเวทนาจนเราควบคุมมันได้ แล้วก็เราเห็นชัดต่อไป โอ้, ความรู้สึกของกายนี้มันปรุงแต่งความรู้สึกของจิต ไอ้ที่เรียกว่าจิต จิต ควบคุมไอ้ความรู้สึกของกาย ของเวทนานี้ได้แล้วก็จะควบคุมจิตได้ โดยรู้ว่าเวทนานี้เป็นเครื่องปรุงแต่งจิตและควบคุมมันให้ได้ นี้หมวดที่สอง เวทนาความรู้สึกของกายควบคุมให้ได้ก็จะควบคุมความรู้สึกของจิตได้
ถ้าเราควบคุมเวทนาได้นั่นแหละเป็นหนทางที่จะควบคุมจิตได้ เราจึงมารู้จักเวทนา รู้จักเวทนาในการปฏิบัติขั้นแรกๆ แล้วก็ฝึกควบคุมอำนาจ อำนาจ Influence ของเวทนา นี่บทเรียนหมวดที่สองเรื่องเวทนา
หมวดที่สามก็มาถึงเรื่องจิต จิต จิตเป็น เป็นสิ่งสำคัญที่สุดเพราะมันเป็นที่รวบรวมแห่งสิ่งทั้งปวง จะเป็นทั้งเหตุ เป็นทั้งผล เป็นทั้งการเป็นไปการกระทำ เรียกว่าจิต ที่จริงมันก็ถูกปรุงขึ้นมาโดยเวทนานั่นแหละ เวทนาทำให้จิตเกิดขึ้น คิดอย่างนั้น คิดอย่างนี้ คิดอย่างนู้น เรียกว่าจิต ถ้าควบคุมไม่ได้ มันก็ไปผิดทาง มันนอกทาง ผิดทางแล้วมันก็เป็นทุกข์ ถ้าควบคุมได้ มันเป็นไปถูกทาง ถูกทาง มันก็ไม่เป็นทุกข์ ดังนั้นเราจำเป็นที่จะต้องรู้เรื่องจิต ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ ของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต สนใจเป็นพิเศษเถอะ
เริ่มต้นบทเรียนหมวดนี้ด้วยการรู้จักจิตทุกชนิด ฟังดูให้ดี รู้จักจิตทุกชนิด คล้ายๆ กับว่ามันจะรู้ไม่ได้แต่มันรู้ได้นี่ จิตมีความทุกข์เป็นอย่างไร จิตกำลังไม่มีความทุกข์เป็นอย่างไร ก็รู้ได้ จิตมีกิเลส มีกิเลสอยู่เป็นอย่างไรก็รู้ บางเวลาไม่มีกิเลสเราก็รู้ เราคำนวณเอาว่าถ้ามันไม่มีกิเลสเลยมันจะเป็นอย่างไร ก็พอจะรู้ว่าจิตไม่มีกิเลสเป็นอย่างไร นี่เรียกว่าจิตมีกิเลส หรือไม่มีกิเลสหรือจิตถึงที่สุด ถึงที่สุดแห่งความดับทุกข์เดี๋ยวนี้เรายังรู้ไม่ได้ แต่เราก็คำนวณได้ว่าถ้าเอากิเลสหรือความทุกข์เหล่านี้ออกไปหมดนี้จิตจะเป็นอย่างไร เรารู้ได้โดยการสัมผัสโดยตรงนี้อย่างหนึ่ง เรารู้ได้โดยการคำนวณ คำนวณตรงกันข้ามลักษณะตรงกันข้ามนี้อย่างหนึ่ง เราก็รู้จิตทุกชนิดได้ ในชั้นแรกเรามาคำนวณ ใคร่ครวญสังเกตรู้จักจิตทุกชนิดที่เราจะรู้จักได้กันเสียก่อน
บทเรียนที่สองของหมวดนี้ก็คือบังคับจิตให้ปราโมทย์ ปราโมทย์ Joyful Joyful เราสำเร็จการปฏิบัติในส่วนเวทนา เวทนามาแล้ว เราก็สามารถใช้บทเรียนนั้นน่ะบังคับจิตให้หมดปราโมทย์ ปราโมทย์ คือ Joyful Delightful และตามที่เราต้องการฝึกให้อยู่ในอำนาจของเราต้องการปราโมทย์เมื่อไหร่ ได้เมื่อนั้นน่ะ นี้เป็นบทเรียนขั้นที่สองของหมวดนี้
เราไม่ต้องใช้ยา SLD หรือ …(นาทีที่56:16) อย่างไรหมดไม่ต้องใช้ เราสามารถทำจิตให้ปราโมทย์ได้
ที่บทเรียนขั้นที่สามของหมวดนี้ก็คือทำจิตให้เป็นสมาธิ สมาธิ Concentration ทำจิตให้เป็นสมาธิ
คำว่าสมาธิในที่นี้มีความหมายลึกหรือกว้างมากกว่าที่ท่านรู้ รู้กันอยู่ทั่วไป ขอให้ตั้งใจฟังให้ดีๆ ว่าเป็นสมาธินั้นเป็นอย่างไร
องค์ที่หนึ่ง องค์ประกอบ Factor ที่หนึ่งก็คือว่า มันสะอาดมันฟรี มันไม่มีอะไรรบกวน เราเรียกว่าจิตบริสุทธิ์หรือจิตสะอาดนี้เป็นFactor อันหนึ่งจิตสะอาด
Factor ที่สองก็ มันตั้งมั่นคือมันรวมกำลัง มันFocusไปที่สิ่งสิ่งเดียว กำหนดอารมณ์เดียว มีความเป็นอันเดียว แล้วก็เรียกว่ามันตั้งมั่น คือมันมี Equilibrium สูงสุดเลย
Factor ที่สาม มันเป็นมี Active Activeness มากที่สุด บาลีเรียก กัมมนียะ กัมมนียภาวะคือ Activeness มีมากที่สุด ว่องไวในหน้าที่ ว่องไวในหน้าที่ ว่องไวในหน้าที่ของมัน นั้นน่ะ Activeness มันเป็น Factor ที่สาม
มันมีสาม Factor คือความสะอาด ปริสุทโธ คือสะอาด และมันตั้ง สมาหิโต สมาหิโต มันตั้งมั่น แล้วก็มีกัมมนีโย ว่องไวในหน้าที่ ปริสุทโธ สะอาด สมาหิโต ตั้งมั่น กัมมนีโย ว่องไวในหน้าที่ ต่อเมื่อครบทั้งสามนี้จึงจะเรียกว่าสมาธิ สมาธิตามหลักของอานาปานสติภาวนา ถ้าไม่ครบสามนี้ยังไม่ใช่
ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่สี่แห่งหมวดนี้ คือทำจิตให้ปล่อย วิโมจจะยัง จิตตัง ทำจิตให้ปล่อย Let go the mind Let go the object of the mind ก็แล้วแต่จะเรียก ทำจิตให้ปล่อย เมื่อเราบังคับจิตมาตามลำดับอย่างนี้ได้แล้ว เราก็ให้จิตปล่อยอะไรที่มัน Attach อยู่ Cling อยู่ หรือ Grasping อยู่นี่ ให้ปล่อยให้ไม่ Attach ให้ไม่ Cling ให้ไม่ Grasping ให้เป็นบทเรียนขั้นที่สี่ของหมวดนี้เรียกว่าทำจิตให้ฟรี ทำจิตให้ปล่อย
การฝึกอานาปานสติหมวดที่สามคือจิตนี้เขามีเป็นสี่อย่าง คือหนึ่งรู้จักจิตทุกชนิดแล้วก็ทำจิตให้ปราโมทย์ บันเทิงแล้วก็ทำจิตให้เป็นสมาธิ แล้วก็ทำจิตให้ปล่อย เมื่อครบสี่อย่างนี้ก็เรียกว่าหมวดจิตตานุปัสสนาอานาปานสติ
อ้าว, ที่นี้ก็มาถึงหมวดสุดท้าย ธัมมานุปัสสนา คำว่าธรรมมะ ธรรมมะนี้เราเคยพูดกันมาแล้วหมายถึงทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ทุกสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความหลอกลวงให้เรา Attach มัน ทุกสิ่งน่ะ บวกก็ได้ ลบก็ได้ มันหลอกให้ Attach ขออภัยนะ ที่จะพูดว่าแม้แต่พระเจ้าน่ะก็เป็นที่ตั้งแห่ง Attachment ว่านิพพาน นิพพานะในพุทธศาสนานี้ก็เป็นที่ตั้งแห่ง Attachment มันทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร มันเป็นที่ตั้งแห่ง Attachment ทั้งสังขตะ และอสังขตะ เดี๋ยวนี้จะมารู้จักทุกสิ่งนี้สำหรับจะไม่มี Attachment
เอาอย่างนี้ก็แล้วกันว่า ตั้งแต่สิ่งที่เลวที่สุด ต่ำที่สุด ขึ้นไปจนถึงสิ่งสูงสุด Supreme ยิ่ง Supreme ยิ่ง ในความหมายที่ไหน อย่างไหนก็ตามเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่นทั้งนั้น นี้เราจะไม่ยึดมั่น ถือมั่นสิ่งใดๆ
ธรรมะสูงสุด ความจริงสูงสุดที่เราจะต้องเห็นนะแล้วไม่มี Attachment นั้นก็คือธรรมมะที่เรียกว่า ตถาตา ตถาตา Thusness Suchness (นาทีที่01:08:31) ตถาตามันเป็นเช่นนั้นเอง มันเป็นเช่นนั้นเอง ตามธรรมชาติเช่นนั้นเอง ถ้าเห็นสิ่งเหล่านี้แล้วจะไม่ Attach ในอะไรทั้ง Positive หรือ Negative
ตถา ตถา คำนี้แปลว่า เช่นนั้น เช่นนั้น ตาแปลว่าภาวะ State of Being ตถา ตถา เท่านี้พอเป็นเช่นนั้น เช่นนั้น ถ้าว่าถึงตถา เห็นตถา ก็เรียกว่า ตถาคโต คโต คโตแปลว่าถึง Reaches และก็ ตถาความเป็นเช่นนั้น คนถึงความเป็นเช่นนั้นเรียกว่า ตถาคโต ตถาคโต ตถาคโต นั้นแหละคือพระอรหันต์ พระพุทธเจ้าเป็นจอมพระอรหันต์ ก็เรียกว่าจอมตถาคโต หมดปัญหากันที่นั่น
อยู่เฉยๆ เราไม่อาจจะเห็นตถา ไม่เห็นตถา เราต้องเห็นมาตามลำดับ เห็นมาตามลำดับ จนกว่าจะถึงเห็น ตถาตา
คือเราจะต้องตั้งต้นมาจากการเห็นอนิจจังบทเรียนที่หนึ่งของหมวดที่สี่ อนิจจานุปัสสีเห็นอนิจจัง เห็นอนิจจตาก่อน
อนิจจตา คือความเปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย Perpetual Thus(นาทีที่ 01:13:24) เปลี่ยนแปลงเรื่อยเพราะว่ามันมีเหตุ เพราะว่ามันมีปัจจัย และมันก็ต้องเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัย นี้เรียกว่าเปลี่ยนแปลงเรื่อย คือเห็นอนิจจตา
พอเห็นอนิจจตา ความไม่เที่ยงอย่างนี้แล้ว ก็เรียกว่าเราได้เห็นตถาตา ตถาตา ระดับหนึ่งแล้ว ระดับตั้งต้น ระดับหนึ่งแล้ว เห็นตถาตาระดับหนึ่งแล้วเพราะการเห็นอนิจจตา
นี้เราก็เห็นต่อไปว่า การที่เราต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง การที่ต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยงหรือต้องเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยงนั้นน่ะ คือเป็นทุกขตา ทุกขตา ทนได้อยากเพราะต้องอยู่หรือต้องเป็นอยู่กับสิ่งที่ไม่เที่ยง นี้เห็นทุกขตา ก็เห็นตถาตา ขึ้นมาอีกระดับหนึ่งแล้ว
ที่นี้เราก็เห็น ว่าเมื่อมันไม่เที่ยง ไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลงเรื่อย แล้วเราเป็นทุกข์เพราะอยู่กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงเรื่อย จึงมีไอ้ Self อัตตา Real Self Real อัตตาที่ไหนได้ นี่คือความมิใช่อัตตา มิใช่สิ่งที่สามารถตั้งอยู่ได้โดยเป็นอิสระ เป็นตัวตน นี้เรียกว่าเห็นอนัตตตา ก็คือเห็น ตถาตายิ่งขึ้นไปอีก ยิ่งขึ้นไปอีกลำดับหนึ่ง เห็นอนัตตตา
ทีนี้ก็เห็นพร้อมกันหมดทั้งสามอย่าง ทั้งอนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ว่ามันเป็นเช่นนี้เอง เป็นอย่างนี้เอง อยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ เป็นอย่างนี้เอง นี้เรียกว่าเห็น ธัมมัฏฐิตตา ชื่อแปลกหน่อย ธัมมัฏฐิตตา เป็นอยู่เช่นนี้เองตามธรรมชาติ
ธัมมัฏฐิตตา ธัมมัฏฐิตตา ตั้งอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมดา
ทีนี้ก็ดูต่อไปอีกว่าทำไมเป็นอย่างนี้ ทำไมเป็นอย่างนี้ ก็เห็นว่า โอ้, มีกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ Natural Law เช่นกฎปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น กฎธรรมชาตินี้มันบังคับอยู่ มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่นี้เรียกว่าเห็น ธัมมนิยามตา ธัมมนิยามตา ความที่มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่
เมื่อเห็นมาตามลำดับนะ คือเห็น อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา อย่างนี้ก็คือเห็นปฎิจจสมุปบาทที่สุดเลยเรียกว่าเห็น อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา คือตัวปฏิจจสมุปบาทถึงที่สุด
เห็นอิทัปปัจจยตา ก็คือเห็นสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ พอเห็นชัดว่ามีแต่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท Stream Stream Flowing …(นาทีที่ 01:21:58) ก็เห็นได้ว่ามันไม่มีอัตตาโดยแท้จริง อย่างนี้เรียกว่าเห็นสุญญตา สุญญตา ความว่างจากตัวตน ความว่างจากตัวตนเป็นธรรมะสูงสุดที่จะต้องเห็นให้ได้
คำว่าสุญญตา ความว่างนี้เป็นคำที่เข้าใจยากที่สุด เข้าใจยากที่สุด ขอให้ท่านได้ใคร่ครวญศึกษาพยายามที่สุด ก็จะเข้าใจได้อย่าทำเล่นๆ กับคำว่าสุญญตา เป็นธรรมมะสำคัญที่สุดที่ต้องเห็นแล้วจึงจะได้รับผลสูงสุดในพระพุทธศาสนา จะเป็นเถรวาทก็ดี เป็นมหายานก็ดี มารวมอยู่ที่เห็นสุญญตาด้วยกันทั้งนั้นแหละ จึงจะถึงที่สุดแห่งพระพุทธศาสนา
มันไม่ใช่ Nothingness มันไม่ใช่ Nihilism เพราะมันมีทุกอย่าง มันมีทุกอย่าง มันมีหมด มีมากอย่าง มีทุกอย่าง แต่แล้วมันไม่มีสิ่งที่เป็นอัตตา นี่ Void Void Void จากอัตตา นี่คำว่าสุญญตา มีความหมายพิเศษอย่างนี้
ในโลก จักรวาลนี้มีทุกอย่าง มีทุกอย่าง มีทุกอย่าง แต่ทุกอย่าง Void of Self ในร่างกายนี้ ในร่างกาย ในชีวิตจิตใจของเรานี้มีทุกอย่าง มีทุกอย่าง แต่ทุกอย่าง Void of Self นี่เรียกว่าเห็นสุญญตา
ถ้าเห็นขึ้นมาตามลำดับจนเห็น Voidness of Whole Thing Voidness of Whole Thing นี้ก็นี่เรียกว่าเห็นตถาตา Suchness ถึงที่สุด เห็น Suchness ถึงที่สุด ตถาตา ถึงที่สุด เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง ก็เป็น สังขตะ เป็นอสังขตะ จะเป็นบวก จะเป็นลบ จะเป็นอะไรล้วนแต่ Voidness of Self
เห็นตถาตา Suchness Thusness แล้วมันจบ คือจิตนี้จะเฉย จะเฉย จะไม่อยู่ภายใต้อิทธิพลของความเป็นบวก หรือความเป็นลบ Phenomena or Noumenon ไม่มีความหมายแก่จิตนี้ จิตอย่างนี้เรียกว่ามีอตัมมยตา สิ่งสุดท้ายเรียกว่าอตัมมยตา จำเป็นภาษาบาลีดีกว่าอย่าไปแปลมันว่าอตัมมยตา แม้จะจำยากหน่อย ก็ขอร้องให้จำเพราะมีความสำคัญมากว่า อตัมมยตา หลังจากเห็นตถาตาแล้วก็จะเห็นอตัมมยตา
ตามตัวหนังสือ ตามตัวพยัญชนะของคำคำนี้แปลว่า Can’t be produce Can’t be effected by anything ไม่มีอะไรจะProduce คือไม่มีอะไรจะ Effect ต่อสิ่งนั้นได้ จิตลุถึงความเป็นอย่างนี้เราเรียกว่าสูงสุด จิตสูงสุด จิตหลุดพ้น จิตสูงสุด เอ้า, เพราะมีอตัมมยตา
แต่ถ้าท่านจะเห็นไปในทางที่ว่ามันไม่มีรส ไม่มีชาติอะไร Tasteless อย่างนี้เราก็ไม่รู้จะพูดว่าอย่างไร
เอาละเป็นอันว่าเดี๋ยวนี้อนิจจตาเห็นไม่เที่ยงนี้ มันก็เห็นทุกขตา อนัตตตา แล้วก็เห็นธัมมัฏฐิตตา ธัมมนิยามตา อิทัปปัจจยตา แล้วมันก็เห็นสุญญตา ตถาตา อตัมมยตา สามกลุ่ม กลุ่มละสามรวมเป็นเก้าตา จบ
ขอให้จำคำเก้าตา เก้าตา นี้ไว้ แล้ว Discuss กันในระหว่างเพื่อนฝูงอยู่เป็นประจำ เป็นวิธีลัดสั้นที่สุด ที่จะเข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนาหรือจุดสุดท้ายของพระพุทธศาสนา โดยรู้เรื่องเก้าตา
เราก็ดูต่อไป เราก็ดูต่อไป คือว่าเมื่อเห็น อนิจจตา ทุกขตา ตามลำดับแล้ว Attachment ที่เคยมีในสิ่งทั้งปวง Attachment ในสิ่งทั้งปวง มันก็เริ่มละลายวิราคะ Fading Away Dissolve Away Bit By Bit นี่เรียก วิราคะ วิราคะ อย่างนี้เราจะเห็นว่า Attachment ของเราเริ่มละลาย เริ่มละลาย เห็นวิราคะ นี่ขั้นที่สองของหมวดที่สี่
เมื่อขั้นที่สองคือวิราคะ วิราคะ Fading Away ก็มาถึงขั้นที่สาม Extinction Extinction ดับหมดสิ้นสุดเรียกว่านิโรธะ นิโรธะ หลังจากวิราคะ แล้วมันก็มีนิโรธะ
ในที่สุดก็มาถึงขั้นที่สี่ของหมวดที่สี่ คือหลุดพ้น หลุดพ้น วิมุตติ วิมุตติ หลุดพ้น Emancipation ถึงที่สุด แต่เรามาเรียกว่า Throwing Back Throwing Back Throwing Back ค่อนข้างจะขัน คือว่าที่เคย Attach ไว้ Attach ไว้ เดี๋ยวนี้ Throwing Back ขั้นสุดท้ายจึงเรียกว่า Throwing Back นี้เรียกว่าอะไร ปฏินิสสัคคะ ปฏินิสสัคคะ คำนี้แปลว่า Throwing Back ก่อนนี้มีแต่ Attach Attach Attach เดี๋ยวนี้มี Throwing Back จบ จบอานาปานสติ
ก่อนนี้เราโง่ เราโง่ โง่โง่ เราก็เอามา เอามา เอามาทั้ง Positive กับ Negative เดี๋ยวนี้เราไม่โง่ เราโยนทิ้งไป โยนทิ้งไปทั้ง Positive กับ Negative เราก็ฟรี ฟรี อยู่เหนือปัญหา เหนือ Question เหนือ Problem ใดๆ ทั้งหมด ทั้งสิ้น เรื่องมันก็จบ
ขอสรุปอีกทีเพื่อความเข้าใจง่ายที่สุด ขอให้ท่านฟังให้ดี จำให้ดี จะขอสรุปให้มันสั้น Systematize สักที
หมวดที่หนึ่ง Attach ที่หนึ่ง เรารู้เรื่องร่างกายดี ร่างกายดีจนเราควบคุมชนะ เป็นนายเหนือร่างกาย
หมวดที่สอง เรารู้เรื่องความรู้สึก ความรู้สึกของร่างกาย Feeling ของร่างกายดีจนควบคุมหรือเป็นนายในความรู้สึกของร่างกาย
หมวดที่สาม เรารู้เรื่องจิต จิตดี จนเราควบคุมจิตได้ เราจนเราเป็นนายเหนือจิต
หมวดที่สี่ เรารู้จักทุกสิ่ง ทุกสิ่งที่จะมาหลอกให้เรายึดมั่นถือมั่นทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ที่จะหลอกให้เรายึดมั่นถือมั่น เรารู้จักดีจนหลอกไม่ได้เราก็เป็นนายเหนือทุกสิ่ง เป็นนายเหนือทุกสิ่ง
ขออีกที หนึ่งเป็นนายเหนือกาย สองเป็นนายเหนือความรู้สึกทางกาย สามเป็นนายเหนือจิต สี่เป็นนายเหนือทุกสิ่งที่จะมาหลอกให้เราโง่
เราแบ่งเป็นสี่หมวด แต่ละหมวดมี Exercises สี่ข้อ มันจึงเป็นสิบหกข้อเรียกว่า อานาปานสติ สิบหกขั้นตอน
ขออภัย ขออภัย เป็นอย่างมากเกือบสามชั่วโมงแล้ว ท่านทั้งหลายต้องทนนั่งเกือบสามชั่วโมงแล้ว ขออภัย เป็นผู้ฟังที่ดีสามชั่วโมงแล้ว
ขอบพระคุณท่าน ขอบพระคุณท่าน ที่เป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยายในวันนี้
เดินโดยไม่ต้องมีผู้เดินกลับไป Center ร่างกายที่เข้มแข็งที่ในกายเนื้อ