แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เราจะพูดกันถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาท ในฐานะที่เป็นตัวพุทธศาสนาหรือเป็นหัวใจของพุทธศาสนาก็ได้ แล้วแต่จะมอง
เรื่องนี้มีค่ามากที่ควรจะจำชื่อหรือเรียกชื่อไว้ โดยภาษาบาลีว่าปฏิจจสมุปบาทหรือปฏิจจสมุปปาทะ ในเมืองไทยนิยมกันเรียกง่ายๆ ว่าปฏิจจสมุปบาท แทนที่จะต้องแปลเป็นภาษาอื่น ใช้คำภาษาบาลีเดิมว่าปฏิจจสมุปปาทะ ปฏิจจะ ปฏิจจะ แปลว่าอาศัยกัน อาศัยกัน Dependent อุปปาทะ อุปปาทะ คือเกิดขึ้น ปฏิจจสมุปปาทะจึงแปลว่ามันอาศัยกันแล้วจึงเกิดขึ้น อย่างนี้เรียกเป็นภาษาบาลี เช่นเดียวกับคำว่าธรรม ธรรมะ ธรรมะนี้ เราไม่นิยมแปลเป็นภาษาอื่นใด คงใช้ภาษาอินเดียเดิมหรือภาษาบาลีให้มันเป็นที่รู้จักกันในภาษาเดิม ดูจะสะดวกกว่า จะมีประโยชน์กว่าด้วย แต่ว่าคำนี้ในพระคัมภีร์ ในพระไตรปิฎก หรือพระพุทธภาษิตนั่นเรียกยาว ยาว ยาวกว่านี้มาก คือท่านจะเรียกว่าอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทะ อิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปปาทะ แต่เรามาเรียกกันสั้นๆ ว่าปฏิจจสมุปปาทะในความหมายที่เท่ากันสะดวกกว่า ก็เรียกกันสั้นๆ อย่างนี้ ทีนี้พวกเราเดี๋ยวนี้ขี้เกียจพูดยาวๆ เลยเรียกสั้นๆ ว่าปฏิจจะ ปฏิจจะ แค่นั้นก็พอ เป็นคำย่อ ปฏิจจะ ปฏิจจะ
ในครั้งที่แล้วมาการบรรยายของเราได้พูดถึงสิ่งที่เรียกว่า ธรรม หรือธรรมะ ก็ได้ความว่าทุกสิ่ง ธรรมะคือทุกสิ่ง ธรรมะเป็นคำพิเศษที่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ นี้ลำบาก เป็นคำประหลาดที่ว่าตอบปัญหาได้ทุกปัญหา นี่ความประหลาดของคำว่าธรรมะ หมายถึงทุกสิ่ง หมายถึงทุกสิ่ง แล้วก็แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ แล้วก็ตอบปัญหาได้ทุกปัญหาที่จะถามขึ้นมา ในวันนี้เราก็จะได้ศึกษากันถึงข้อที่ว่าสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ธรรมะนั้นเกี่ยวข้องกับสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปปาทะอย่างไร
พระพุทธเจ้าตรัสว่า เห็นธรรมะ คือเห็นปฏิจจสมุปปาทะ หรือว่าเห็นปฏิจจสมุปปาทะ นั่นแหละคือเห็นธรรมะ ก็เลยเป็นสิ่งเดียวกันในที่นี้ ปฏิจจสมุปปาทะกับธรรมะเป็นสิ่งเดียวกัน และยังตรัสต่อไปว่า ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นเรา ก็คือเห็นปฏิจจสมุปบาท สมุปปาทะนั่นแหละคือเห็นพระพุทธเจ้า เห็นปฏิจจสมุปปาทะนั่นแหละคือเห็นพระพุทธเจ้า ข้อนี้เราเข้าใจได้ง่ายๆ ก็คือว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงให้เราทราบว่า ธรรมะ เอ้ยว่า, ทุกขะ ทุกขะน่ะเกิดขึ้นอย่างไร ดับลงอย่างไร พระพุทธเจ้าเป็นผู้แสดงให้เราทราบว่าทุกข์ ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ดับไปอย่างไร และอาการที่เกิดขึ้นแห่งความทุกข์และดับลงแห่งความทุกข์นั่นแหละเรียกว่าปฏิจจสมุปปาทะ ปฏิจจสมุปปาทะก็คือสิ่งที่แสดงให้เรารู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงอย่างไร การเห็นพระพุทธเจ้าคือเห็นปฏิจจสมุปปาทะ เห็นปฏิจจสมุปปาทะคือเห็นพระพุทธเจ้า
ทีนี้เราจะต้องมองให้เห็นว่าทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ในจักรวาลนี้ มันแสดงหรือบอก แสดงให้เราเห็นปฏิจจสมุปปาทะ ทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ที่มีอยู่ในจักรวาล นี่เราก็จะมองทุกสิ่งที่มีอยู่ในจักรวาล หรือจะเรียกว่าสิ่งที่เราอาจจะมองเห็นได้ เข้าใจได้ รู้สึกได้ สัมผัสได้ สิ่งนั้นก็คือปฏิจจสมุปปาทะ มีอาการแห่งปฏิจจสมุปปาทะ ไอ้คำว่าปรากฏการณ์ในภาษาไทยนั้น เราให้คำแปลที่ตรงกับคำว่า Phenomena Phenomena สิ่งใดเป็น Phenomena สิ่งนั้นมีปฏิจจสมุปบาท มีอาการแห่งปฏิจจสมุปบาท Phenomena ทั้งหลายก็เป็นปฏิจจสมุปบาท ดูกันอย่างนี้ก็ได้นะง่ายดี
ทีนี้เราจะสมมุติ สมมุติ หรือคำนวณเอาว่ามีสิ่งซึ่งตรงกันข้าม ตรงกันข้ามคือมิได้เป็นไปตามกฏปฏิจจสมุปปาทะ มันตรงกันข้ามโดยประการทั้งปวง ถ้าสมมุติเรียกสิ่งนั้นว่า Noumenon Noumenon คุณเอาความหมายแต่เพียงว่ามันตรงกันข้ามจาก Phenomena ก็แล้วกัน มันก็ยังมีอยู่อีกสิ่งหนึ่งซึ่งจะกล่าวได้ว่ามันไม่ได้เป็นไปตามกฏของปฏิจจสมุปบาทก็ได้ มันสูงเกินไป มันลึกเกินไป มันไกลเกินไป จนเราต้องคำนวณกันให้ดี คำนวณว่ามีอยู่อีกสิ่งหนึ่งซึ่งตรงกันข้ามที่เรียกว่า Noumenon Noumenon เป็นเอกะวัจจนะ แต่เราควรจะทราบเสียด้วยว่าทั้ง Phenomena และ Noumenon ก็คือสิ่งที่เรียกคำเดียวว่า ธรรม หรือธรรมะ ธรรมะจึงมีทั้งที่เป็น Phenomena และ Noumenon แต่เรายังจะต้องเห็นให้ลึกไปกว่านั้น ก็คือว่าสิ้นสุดแห่งปฏิจจสมุปบาท ความสิ้นสุดแห่งปฏิจจสมุปบาท ความไม่อยู่ในอำนาจแห่งปฏิจจสมุปบาท นั่นแหละคือ Noumenon ดังนั้น Noumenon ก็ยังเกี่ยวข้องกันอยู่กับปฏิจจสมุปบาท คือที่สิ้นสุดของปฏิจจสมุปบาท มันไม่พ้นไปจากความเป็นปฏิจจสมุปบาทโดยนัยยะที่ว่ามันตรงกันข้าม ตรงกันข้าม บางทีเราก็เรียกด้วยคำอื่นซึ่งฟังง่ายกว่าว่า Conditioned Thing และ Non-Conditioned Thing Conducted Thing และ Un-Conducted Thing (นาทีที่ 22:38) ก็ได้ มีความหมายอย่างเดียวกัน ที่เรายังพูดด้วยภาษาคนถึงง่าย ง่ายลงไปอีกว่า Compounded Thing, Non-Compounded Thing จึงจะพอเข้าใจกันได้ ภาษาบาลีก็เรียกว่า สังขตะ อสังขตะ บางทีก็เรียกว่าสังขาระ หรือวิสังขาระ คือเป็นคู่ๆ ตรงกันกับคำสองคำนั้น ถ้าเรารู้จักสิ่งทั้งสองนี้คือเรารู้จักหมดไม่ยกเว้นอะไร ในบรรดาสิ่งที่เรียกว่าธรรม ธรรมะเฉยๆ ธรรมะแบ่งออกเป็น ๒ อย่างๆ นี้ Conditioned Thing เป็นเรื่องฝ่ายเกิด เกิด เกิด เกิดขึ้น เกิดขึ้น Non-Conditioned Thing เป็นเรื่องของฝ่ายที่ไม่เกิด ไม่เกิด ไม่เกิด สองเรื่องรวมกันเรียกว่า ธรรมะๆ หรือธรรมชาติ
นี้จิต จิตตามธรรมดา จิตตามธรรมดาของเรา รู้จักแต่เรื่องฝ่าย Conditioned Thing เดี๋ยวนี้เราจะมาศึกษาๆ ให้รู้จักเรื่องที่ ๒ คือเรื่องตรงกันข้ามด้วย คือ ก็คือ Unconditioned Thing ก็คือศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทจนกระทั่งรู้เรื่องที่ว่าอยู่ สิ้นสุด สุด นอกสุด ออกไปจากปฏิจจสมุปบาท ขอให้ท่านทั้งหลายเตรียมตัวสำหรับศึกษาเรื่องทั้ง ๒ เรื่อง เรื่องทั้ง ๒ เรื่องที่มีอยู่อย่างนี้ แล้วก็ยกเอาเรื่องที่ใหญ่ที่สุดเพียงเรื่องเดียว เรื่องเดียวเท่านั้นน่ะ คือเรื่อง Evolution หรือวิวัฒนาการ ถ้าไม่มีปฏิจจสมุปปาทะไม่มี Evolution Evolution มีก็เพราะมีปฏิจจสมุปปาทะ ดังนั้นมันเป็นสิ่งเดียวกัน ปฏิจจสมุปปาทะก็คือตัววิวัฒนาการ ปฏิจจสมุปปาทะเป็นทั้งกฎ กฎ Law แล้วก็เป็นทั้งกำลัง กำลัง พละกำลัง ปฏิจจสมุปปาทะเป็นทั้งกฎ เป็นทั้งกำลังของ Evolution ขอให้เข้าใจ เป็นสิ่งที่มองเห็นได้ไม่ยาก ถ้าไม่มีปฏิจจสมุปปาทะก็ไม่มี Evolution เพราะมีปฏิจจสมุปปาทะจึงมี Evolution Evolution เคยมีมาแล้วกี่ล้าน ล้าน ล้าน ล้านปีนี่ Evolution จะมีต่อไปอีกกี่ล้าน ล้าน ล้าน ล้านปี ทั้งหมดนั้นคือกระแสแห่งปฏิจจสมุปปาทะ เมื่อนักวิทยาศาสตร์เรียกมันว่า Evolution เราเรียกมันว่าปฏิจจสมุปปาทะ นี่ท่านทั้งหลายก็จะมองเห็นได้เองว่าปฏิจจสมุปปาทะหรือ Evolution มันมีทั้งขนาดใหญ่มาก ขนาดไม่ใหญ่ ขนาดเล็ก ขนาดที่เห็นได้ง่ายๆ และชนิดที่เห็นยาก เห็นไม่ได้ก็มี ก็มีอยู่นอกตัวเราก็มี อยู่ในตัวเราก็มี นี่ปฏิจจสมุปปาทะหรือ Evolution น่ะ มีหมด มีทั่วไป จึงเรียกว่าให้เหมือนกับธรรม ธรรมะ ธรรมะคือทุกสิ่ง ปฏิจจสมุปปาทะก็คือธรรมะ ก็คือทุกสิ่ง นี่เราก็เตรียมตัวรู้จักสิ่งทุกสิ่ง ในนามว่าปฏิจจสมุปปาทะ
ท่านทั้งหลายไม่ค่อยจะได้ยินหรือมีโอกาสที่จะได้ยินคำว่า การตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านั้นคือตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปปาทะ ท่านได้ยินแต่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้อริยสัจ ๔ อริยสัจ ๔ แต่ในคำพูดของพระพุทธเจ้าเองท่านตรัสว่า ท่านตรัสรู้ปฏิจจสมุปปาทะ คือเรื่องอริยสัจ ๔ ทั้งหมด ทั้งหมดนั่นเอง เรื่องทั้งหมด ทั้งจักรวาลหรือทั้งหมดมันไม่เป็นปัญหากับเรา เรื่องที่เป็นปัญหากับเรามันก็มีแต่เรื่องทุกข์ หรือความทุกข์นั้นน่ะ เพราะฉะนั้นเราจึงยกเอาแต่เรื่องความทุกข์มาพูด ในเมื่อเราพูดกันถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาท ก็พูดแต่ปฏิจจสมุปบาทของความทุกข์ ที่จริงมันเป็นของทั้งหมดของทุกเรื่อง ทั้งเรื่องที่เป็นสังขตะ และอสังขตะ เป็นทั้ง Phenomena และ Noumenon เป็นเรื่องของปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นเราจึงนิยมแบ่งกันเป็น ๒ ชื่อ เพื่อศึกษาง่ายๆ เข้าใจง่ายๆ ฟังง่ายๆ คือ ถ้ามันเป็นเรื่องเกี่ยวกับความทุกข์ของสิ่งที่มีชีวิตรู้จักทุกข์แล้วก็จะเรียกว่า ปฎิจจสมุปปาทะ แต่ถ้ามันเป็นเรื่องของทั้งหมดไม่ยกเว้นอะไร มีชีวิต หรือไม่มีชีวิตอะไรก็แล้วแต่ จะเรียกมันว่าอิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา ในความหมายกว้างทั้งหมดไม่ยกเว้นอะไร ถ้าจะเรียกว่าปฏิจจสมุปบาทก็จำกัดเข้ามาเพียงว่าเรื่องของสำหรับสิ่งที่รู้จักเป็นทุกข์คือมีชีวิต ดังนั้นเมื่อเราพูดหรือบอกว่า ปฏิจจสมุปบาทคือเรื่อง Evolution Evolution คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท ไอ้คนที่เขายึดถือหนังสือ ยึดถือคัมภีร์มากเกินไป เขาไม่เชื่อ เขาสั่นหัว เขาว่าไม่จริงหรือหลอก เป็นเรื่องหลอกไปแล้ว เพราะเขาไม่มองกว้างอย่างที่เรามอง ปฏิจจสมุปปาทะ ถ้าเราจะมองให้ชัด เราก็จะเห็นเป็นรูปว่า Stream Stream กระแส กระแสแห่งการปรุงแต่ง Stream of Conditioning นั่นน่ะคือตัว Evolution Evolution จะศึกษาอย่างไร เท่าไร เท่าไร Evolution ทั้งหลายก็ไม่พ้นไปจาก Stream of Conditioning เอาละเป็นอันว่าเดี๋ยวนี้นะท่านจะพอใจศึกษาปฏิจจสมุปบาทในฐานะเป็น Stream of Conditioning ของทุกสิ่งคือ Evolution ก็ได้ ก็ตาม หรือถ้าไม่อยาก ไม่เอา เอาแต่จะ Stream of Conditioning of Live of Live ชีวิตเรา ตัวเราเอง อัตภาพ ตัวเราเอง เท่านั้นก็พอ เท่านี้ก็ได้ แล้วก็จำเป็นด้วย เดี๋ยวนี้เราจะจำกัดขอบเขตของการศึกษาของเราจำกัดอยู่เพียงแค่สิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิต หรือ Live คำว่าชีวิต ชีวิตนี้ประกอบอยู่ด้วยกายและใจ ต้อง ๒ อย่าง แต่รวมกันเป็นอย่างเดียว จึงเรียก Body Mind Mind Body อย่าๆ ไปเรียกว่า Mind and The Body ขอให้เรียกว่า Body Mind Mind Body คือมันมีเพียงสิ่งเดียว อันนั้นเราจะเรียกมันว่าชีวิต เราจะจำกัดการศึกษาของเรามีขอบเขตอยู่แต่เพียงสิ่งที่เรียกว่าชีวิต เพราะมันกำลังเป็นปัญหาแก่เรา ดังนั้นเราจึงศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทของสิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิตนี้โดยเฉพาะ ในภาษาบาลีเราก็ใช้คำว่า นามะรูปะ นามะรูปะ แต่คำๆ นี้เป็นเอกวจนะ ไม่ใช่ นามะ และรูปะทั้งหลาย นามะรูปะ เป็นสิ่งเดียว นั่นน่ะคือสิ่งที่เป็นปัญหา เป็นตัวปัญหา ที่เราจะศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ปาทะนั่น แล้วควบคุมมันให้ได้
กระแสแห่ง Evolution ทั้งหมดของจักรวาลก็เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ทีนี้กระแสแห่ง นามะรูปะ นามะรูปะ Live พวกนี้มันก็เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทเท่ากัน ไม่มากไม่น้อยไปกว่านั้น ทีนี้เราก็มาตั้งต้นดูจากไอ้ Evolution ทั้งหมดกันดีกว่า เป็นเพียงกระแส กระแส กระแสแห่งปฏิจจสมุปปาทะ เป็นธรรมชาติ มีความหมายเป็นเพียงกระแสแห่งการปรุงแต่งกันแล้วสิ่งใหม่เกิดขึ้น ปรุงแต่งกันแล้วสิ่งใหม่เกิดขึ้น ปรุงแต่งกันแล้วสิ่งใหม่เกิดขึ้น นี่เรียกว่ากระแสแห่งวิวัฒนาการ ในกระแสแห่งวิวัฒนาการนั้นไม่มีความหมายที่จะเป็นบวกหรือเป็นลบ เป็นดีหรือเป็นชั่ว เป็นได้หรือเป็นเสีย สำหรับวิวัฒนาการ ในวิวัฒนาการนั้นไม่มีดี ไม่มีชั่ว ไม่มีได้ ไม่มีเสีย ไม่มีบวก ไม่มีลบ แต่ที่มันรู้สึกแก่เรา แก่คนเรานี่ มันไปแบ่งแยกว่า ถ้าเราชอบใจ ถูกใจเราก็เรียกว่าบวกหรือดี ถ้าไม่ชอบใจเราก็ลบหรือชั่ว แยกดีชั่ว บวกลบ ออกเสียจากกระแสแห่งวิวัฒนาการ และเราก็จะสามารถแยกดี ชั่ว บวก ลบได้จากกระแสแห่งชีวิต ชีวิตนี่ไม่ต้องเป็นดี เป็นชั่ว เป็นบวก เป็นลบ เช่นเดียวกัน
ในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท หรือตัวปฏิจจสมุปบาทนั้นมันไม่มีอย่างอื่น มีอย่างเดียวว่า มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งแล้วก็เกิดขึ้น มีเหตุปัจจัยปรุงแต่งแล้วก็เกิดขึ้น โดยสมควรแก่เหตุและปัจจัยนั้นๆ ไม่มีคำว่าดี ไม่มีคำว่าชั่ว ไม่มีคำว่าบวก ไม่มีคำว่าลบ ตัวปฏิจจสมุปบาทแท้ๆ ไม่มีคำว่าดี ว่าชั่ว ว่าบวก ว่าลบ หรือแม้แต่ว่าเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นหญิง เป็นชาย ไม่มี มันมีแต่ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น ปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น นั่นแหละคือปฏิจจสมุปบาท ถ้าเราเห็นปฏิจจสมุปบาทเราจะเห็นแต่สิ่งนี้ ที่เรียก ดี ชั่ว บุญ บาป สุข ทุกข์ ได้ เสียนั้น ความไม่รู้ของเรา อวิชชา Ignorance ของเราน่ะกำหนดขึ้นมา อย่างนี้ถูกใจก็เรียกว่าบวก อย่างนี้ไม่ถูกใจก็เรียกว่าลบ นี้บวก ลบ ดี ชั่ว นี้ของใหม่ๆ ที่อวิชชากำหนดขึ้นมา ฉะนั้นจะต้องรู้ให้ลึกลงไปกว่านั้น ก่อนแต่ที่อวิชชาจะกำหนดว่าดีหรือชั่ว ว่าบวกหรือลบ นี่คือเรื่องปฏิจจสมุปบาทที่เราจะต้องศึกษา
ดังนั้นการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็คือการศึกษาเรื่องความลับที่สุด ความลับที่สุด ความลับอย่างยิ่ง ความลับที่สุดของธรรมชาติ แล้วพร้อมกันนั้นก็ศึกษาความโง่ที่สุด ความโง่ที่สุดของเราเองด้วย ศึกษาปฏิจจสมุปบาทคือศึกษาเรื่องความลับที่สุดของธรรมชาติ และศึกษาเรื่องความโง่ที่สุดของเราเองด้วย ความโง่ที่สุดของเราก็คือไปเอาส่วนหนึ่ง หรือแบบหนึ่ง รูปหนึ่ง แห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นน่ะมาเป็นตัวเราก็มี เป็นของเราก็มี เป็นดีก็มี เป็นชั่วก็มี เป็นบวกก็มี เป็นลบก็มี เป็นสุขก็มี เป็นทุกข์ก็มี ที่แท้มันเป็นเพียงกระแสปรุงแต่งของปฏิจจสมุปบาท ตามเรื่องของปฏิจจสมุปบาท แต่ความโง่ของเรามาเอาส่วนนั้นเป็นดี ส่วนนี้เป็นชั่ว ส่วนนั้นเป็นสุข ส่วนนั้นเป็นทุกข์ นี่คือศึกษาความโง่ที่สุดของเราที่มีต่อกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท
ตัวอย่างที่เราจะเห็นได้ง่ายๆ เช่นว่าในจักรวาลนี้ ในโลกนี้ มันก็มีเพศผู้ เพศเมีย คือตัวผู้กับตัวเมีย เมื่อมันถึงกันเข้า มันก็ให้เกิดผลอันใหม่ออกมา คือเป็นลูก ที่เราเรียกกันว่าลูก สมมุติกันว่าลูก แล้วลูกนั้นก็เป็นไปตามกฏปฏิจจสมุปบาทต่อไปล่ะ เพศผู้เพศเมียก็เป็นตามกฏปฏิจจสมุปบาทมาถึงกันเข้าก็ตามกฏปฏิจจสมุปบาท มีลูกออกมาก็เป็นตามกฏปฏิจจสมุปบาท แล้วมันก็เป็นไปตามกฏปฏิจจสมุปบาท แล้วความโง่ของเราก็มาถือว่า นี่ลูกของเรา ลูกของเราดีอย่างนั้น ลูกของเราไม่ดีอย่างนั้น มีทรัพย์สมบัติของเราอย่างนี้ ว่าอย่างนี้นี่ก็ว่าความโง่ของเรา ไปถือเอากระแสปฏิจจสมุปบาทส่วนหนึ่ง ส่วนหนึ่งมาบัญญัติเอาเองตามความพอใจของเรา ว่าดีว่าชั่ว ว่าสุขว่าทุกข์ ว่าแพ้ว่าชนะ ว่าได้ว่าเสีย นี่คือความโง่ของเราต่อกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ขอให้เอาสิ่งนี้เป็นบทเรียน
ทีนี้เราก็มองดูปฏิจจสมุปบาทวงใหญ่ ใหญ่ที่สุด คือของสากลจักรวาล ปฏิจจสมุปบาทของ Evolution ปรุงแต่งขึ้น ปรุงแต่งขึ้น ปรุงแต่งขึ้น ปรุงแต่งขึ้น ฉะนั้นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทแล้วเราก็โง่เอาเอง โง่เอาเอง ว่าเอาเอง ว่านี่เป็นดวงอาทิตย์ นี่เป็นดวงจันทร์ นี่เป็นแผ่นดิน นี่เป็นอากาศ กระทั่งว่า โง่ว่านี้เป็นคน คนนี่ นี้เป็นสัตว์ Animal นี้เป็นต้นไม้ เป็นต้นไม้นี่ มีคน มีสัตว์ มีต้นไม้ แล้วก็มีอะไรทุกๆ อย่าง มีแผ่นดิน มีทุกอย่างที่ที่มันมีอยู่ในจักรวาลนี้ที่เรามาว่าเอาเองว่า ตั้งชื่อเอาเองว่าอะไร ว่าอะไร ว่าอะไร ว่าอะไร ที่จริงมันเป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ทั้งวงใหญ่ของสากลจักรวาล และทั้งวงเล็กในชั่วชีวิตของเรา คนแต่ละคน ละคน เป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทเท่านั้น ไอ้ที่มันเป็นปัญหามากที่สุดก็คือเราไม่รู้ความลับของธรรมชาติ และเราก็ไม่รู้จักความโง่ที่สุดของเรา ขอให้เน้นที่นี่ให้มาก แล้วจะรู้จักความลับที่สุดของธรรมชาติ แล้วก็รู้จักความโง่ที่สุดของเราด้วย พอเรารู้หมด รู้สิ่งเหล่านี้หมดแล้วมันก็หมดปัญหา ดังนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทมันจึงเป็นเรื่องที่ควรจะศึกษาอย่างยิ่ง ควรจะศึกษาอย่างยิ่ง ท่านมาที่นี่จะศึกษาธรรมะ เราก็จัดให้ท่านศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องแรก เพราะมันมีเหตุผล มันมีความสมควรถึงขนาดนี้ที่จะเลิกความโง่ที่สุดของเรา เมื่อเรารู้จักปฏิจจสมุปปาทะดีแล้วเราก็จะไม่หลง ไม่โง่ ไม่มี Ignorance ที่จะไปสมมุติหรือบัญญัติ ไป Suppose หรือ ไป Classify นั่นเป็นอย่างนั้น นั่นเป็นอย่างนี้ จนมาเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นคน แล้วก็เป็นหญิง แล้วก็เป็นชาย เป็นหญิง เป็นชาย แล้วก็เป็นมารดา เป็นบิดา เป็นบุตร แล้วก็มีการกระทำที่เรียกว่าดี ว่าชั่ว เรา Attach ด้วย Ignorance น่ะ มันจึงมีความทุกข์ ถ้าเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้ว Attachment by Mean of Ignorance มันไม่มี มันไม่มี เราก็หมดปัญหา เราก็ไม่มีความทุกข์ นี่คือความสำคัญของการศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท เพราะเราไม่มีความรู้ในเรื่องปฏิจจสมุปบาท เราก็สมมุติ บัญญัติสารพัดอย่างขึ้นมา นี่เป็นยักษ์ นี่เป็นเทวดา นี่ความโง่ จัดให้พวกนี้เป็นยักษ์ ให้พวกนี้เป็นเทวดา พวกนี้เป็นนรก พวกนี้เป็นสวรรค์ นี่เป็นความโง่ ความรู้สึกของเราบัญญัติเอาเอง ไม่ใช่ความจริงของปฏิจจสมุปบาท ปฏิจจสมุปบาทมีแต่ว่าปรุงแต่งอย่างนี้เกิดอย่างนี้ ปรุงแต่งอย่างนี้เกิดอย่างนี้ ไม่มีนรก ไม่มีสวรรค์ ไม่มีมนุษย์ ไม่มีเทวดา ปัญหามันก็ไม่มี เพราะฉะนั้นขอให้รู้ปฏิจจสมุปบาท ปัญหามันจะไม่มี ปัญหามันจะไม่มี ทั้ง Question ทั้ง Problem มันจะไม่มีแก่ผู้รู้ปฏิจจสมุปปาทะ
ขอให้มองให้เห็นว่าปัญหาทั้งหมด ทั้งหมดมันมารวมอยู่ที่ปัญหาเพียงข้อเดียว ผู้เดียวคือความเป็นบวกหรือความเป็นลบ ถ้าโง่ก็จะต้องรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ถ้าไม่โง่ไม่มีกระแสแห่งความเป็น ไม่มีความหมาย ความหมายแห่งความเป็นบวกหรือความเป็นลบในกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นถ้าเรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทเราจะไม่โง่โดยความเป็นบวกหรือความเป็นลบ แล้วเราก็ไม่อยู่ใต้อิทธิพลของความเป็นบวกหรือความเป็นลบอีกต่อไป นี่เรียกว่าความรอด ไปอยู่กับสิ่งสูงสุด ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ขอให้ท่านมองเห็นปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องมีคุณค่าอย่างนี้ คุณค่าอย่างนี้ แล้วพยายามศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทกันให้มากที่สุด
มนุษย์มีความรู้เรื่องนี้หลายพันปีมาแล้ว พูดอย่างนี้ดีกว่า หลายพันปีมาแล้ว ถ้าท่านเป็นคริสเตียน ท่านก็อ่านไบเบิ้ลถอยเข้าไปจน Old Testament จุดแรกของยิว คัมภีร์ของยิว ก่อนพระเยซูนี่ก็เข้าใจว่า เขาถือกันว่าเวลา ๘ พันปีมาแล้ว ในคัมภีร์ไบเบิ้ลก็มีข้อความที่เขียน พระเจ้าบอกมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาใหม่ๆ นั้น อย่าไปกินผลไม้ที่ทำให้เกิดรู้ดีรู้ชั่ว คือสามารถ Classify นี่เป็น Good and Evil อย่าไปกินผลไม้นี้ ถ้ากินจะตายนี่ นี้แสดงว่าตั้ง ๘ พันปีมาก่อนโน้นแล้วเขาก็มีความรู้เรื่องนี้ คือความที่จะไม่ต้องบวก ไม่ต้องลบ ไม่อยู่ใต้อำนาจอิทธิพลบวก ไม่อยู่ใต้อำนาจอิทธิพลลบ มันจึงจะมีความสุข ทีนี้ต่อมาพอมีความรู้เรื่องนี้เจริญมาตามลำดับ ต่อมาก็มีความรู้เรื่องนี้ คือไม่อยู่ใต้อิทธิพลบวกและลบเรื่อยๆ กันมา อย่างว่าพุทธศาสนาก็ดี Taoism ถึงพ้องสมัยกับพระพุทธศาสนาก็ดี ฮินดูก็ดี ในยุคนี้ก็ต้องการให้อยู่เหนืออิทธิพลของบวกและลบ เหลาจื้อเขาใช้คำว่า Yin Yang มีความหมายก็คือบวกและลบนั่นแหละ อย่าอยู่ใต้ความหมายของ Yin และYang เราก็ไม่มีปัญหา พุทธศาสนาก็ว่าอย่าอยู่ใต้อิทธิพลของกุศลและอกุศล เราก็หมดปัญหา ฮินดูก็ว่าอย่าอยู่ใต้อิทธิพลของ Punya and Papa อย่าอยู่ใต้อิทธิพลของ Punya and Papa เราก็หมดปัญหา แล้วก็สอนกันมาเรื่อยๆ ศาสนาทั้งหลายนี้ก็มาสอน สอนในลักษณะอย่างนี้ แต่ว่าคนก็ไม่เข้าใจ คนก็ไม่เข้าใจ คนก็ไม่สนใจกันมากขึ้น ในความรู้ที่ดีที่สุดมันก็เป็นมันไป อย่างนี้เรามาศึกษาดูเถอะ เรื่องปฏิจจสมุปบาทเรื่องเดียวเท่านั้นน่ะที่จะทำให้เราอยู่นอกอิทธิพลของบวกและลบของ Good, Evil ของกุศล อกุศล ของ Punya Papa และเราก็จะหมดปัญหา ประโยชน์สูงสุดของปฏิจจสมุปบาททำให้อยู่เหนืออิทธิพลของ Positive และ Negative นี่
ทีนี้เราก็มาดูความน่าขัน น่าประหลาด หรือน่าขันของกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทอันยืดยาวน่ะ Evolution อันยืดยาว หรือกระแสปฏิจจสมุปบาทอันยืดยาว มันมีความน่าขันอยู่อย่างหนึ่งคือมันเป็นการปรุงแต่งจากความว่าง แล้วก็ไปสู่ความว่าง ปรุงแต่งจากความว่างเป็นไม่ว่าง ไม่ว่าง ไม่ว่าง และก็ไปจบลงด้วยความว่าง จากความว่างไปสู่ความว่าง จากความว่างเป็นความไม่ว่าง ไม่ว่าง แล้วไปสู่ความว่าง ถ้าท่านมองเห็นความจริงข้อนี้แล้วก็จะเห็นปฏิจจสมุปบาท ว่ามันปรุงแต่งจากไอ้ความว่าง ออกไปเป็นไม่ว่าง แล้วก็ในที่สุดก็ไปจบลงด้วยความว่าง จากความว่างสู่ความว่างนั่นแหละกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท
ขอทำความเข้าใจให้ชัดว่า ทีแรกนี่หรือตามธรรมชาติ ตามธรรมดา มันมีแต่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท มีแต่กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่ว่าว่างจากตัวตน ว่างจาก ไม่ได้บัญญัติว่าเป็นสัตว์ เป็นคน เป็นต้นไม้ เป็นแผ่นดิน เป็นดี เป็นชั่ว เป็นบุญ เป็นบาปนี่ นี่ว่างจากตัวตน แล้วเราก็โง่ โง่ที่สุด เอาส่วนใดส่วนหนึ่งมาเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ มาเป็นดี เป็นชั่ว เป็นบุญ เป็นบาป เป็นสุข เป็นทุกข์ จนมีบวกและลบ มี Positiveness and Negativeness นี่เต็มไปหมด ยืดยาวทุกสิ่งทุกอย่าง นับไม่ถ้วนนี่ นี่ไม่ว่างแล้ว ไม่ว่างแล้ว ทีนี้เรามาศึกษาปฏิจจสมุปบาท มารู้ความจริง รู้ความจริง จนเราไม่หลง ไม่หลง ไม่หลง ไม่บัญญัติ ไม่ยึดมั่นอย่างนั้นอีกต่อไป นี่มันก็จะว่างอีก มันก็จะไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตนอีก ทีแรกมันก็เป็นของธรรมชาติ เรามาโง่ โง่ว่ามันเป็นอัตตา อัตตา อัตตนียา เป็นบวก เป็นลบ พอมารู้ความจริงเข้า โอ้, ก็ทิ้งหมด มันก็ไม่มีอัตตา ไม่มีบวก ไม่มีลบอีก น่าหัวไหม จากความว่างอยู่แท้ๆ นี่ มาทำให้มันวุ่น วุ่น วุ่น แล้วมันก็ไปจบลงที่ความว่าง เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่มันก็น่าหัวที่ว่าจากความว่าง แล้วก็ไปสู่ความว่างอีกนั่นเอง ถ้าเราไม่รู้เรื่องปฏิจจสมุปปาทะนี่ เราก็มีความโง่ หรือความไม่รู้นั่นน่ะคือความโง่ เมื่อเกิดความรู้ผิดว่ามีอัตตา มี Self, Identity of Self มี Self Self ขึ้นมา แล้วก็มี Selfish ไปตามความเป็นบวก ไปตามความเป็นลบ ปัญหามันก็ยุ่งไปหมด พอมีความรู้แจ่มแจ้งเรื่องปฏิจจสมุปบาท มันก็จะไม่มี ไม่มีความรู้สึกว่าอัตตา ว่า Self หรือว่า of Self ว่าตัวกูหรือว่าของกู เดี๋ยวนี้เรากำลังมีปัญหาเรื่องมีความเห็นแก่ตัว เพราะมีความโง่ว่ามีอัตตา ปฏิจจสมุปบาทจะแก้ปัญหาความเลวร้ายในโลกนี้ได้หมดสิ้น คือจะทำลายความเห็นแก่ตัว ทำลายความเห็นแก่ตัว แล้วโลกนี้ก็มีสันติภาพ โลกนี้ไม่มีสันติภาพเพราะมีความเห็นแก่ตัว ดังนั้นความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่สามารถช่วยโลก ช่วยโลก ทั้งจักรวาลนี้ได้ ไม่มีความเห็นแก่ตัว แล้วก็ไม่มีการเบียดเบียน เพราะเราไม่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เพราะไม่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มันจึงเกิด Concept ที่ว่าอัตตา อัตตา Self Self อัตตา คำว่าอัตตา อัตตานี้ก็คือความรู้สึกว่าฉันผู้มีอยู่ ฉันมีอยู่ ฉันผู้มีอยู่ นี่คือความหมายของคำว่าอัตตา อัตตา ถ้าเราไม่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท Concept ว่าอัตตามันก็เกิดขึ้น มันมีอัตตาโง่ๆ อยู่อย่างนี้ อะไรมันถูกใจอัตตา มันก็เกิดความเป็นบวกขึ้นมา อะไรมันไม่พอใจอัตตา มันก็เกิดความเป็นลบขึ้นมา มันจึงเกิดความเป็นบวกและความเป็นลบขึ้นมา ถ้าเกิดความเป็นบวกเป็นลบแล้ว มันก็เกิดกิเลส คำนี้สำคัญมาก ขอใช้คำบาลีตามเดิมว่า กิเลส กิเลส กิเลสนี้มันก็เกิดขึ้นมาเพราะไปหลงบวก หลงลบ เพราะถ้ามันเป็นบวก มันอยากจะได้ มันก็เกิดกิเลสบวก คือมันอยากจะเอา ถ้ามันไปหลงลบ มันก็เกิดกิเลสประเภทลบ คือมันอยากจะทำลาย อยากจะฆ่า หรือถ้ามันไม่แน่ว่าบวกหรือลบ มันโง่อยู่ มันสงสัยอยู่ มันก็เกิดกิเลสประเภทโมหะ โมหะ จะวิ่งตาม วิ่งตาม วิ่งตามอยู่ อันหนึ่งจะทำลาย อันหนึ่งจะฆ่า อันหนึ่งไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี ก็เที่ยววิ่งตาม แล้วก็มีกิเลสประเภทราคะหรือโลภะคือจะเอา โทสะหรือโกธะก็จะทำลาย โมหะนี่ก็จะติดพันมัวเมาอยู่ นี่คือกิเลส ๓ อย่างนี้เกิดขึ้นเพราะหลงความเป็นบวกหรือความเป็นลบ และท่านก็ดูเอาเองแหละว่าเป็นกิเลสอย่างนี้แล้วมันจะมีสันติภาพได้อย่างไร ต้องเลิกอัตตาเป็นจุดศูนย์กลางของความเป็นบวกเป็นลบเสีย ไม่มีความเป็นบวกเป็นลบแล้วมันก็ไม่มีกิเลส ไม่มีกิเลสก็คือสันติภาพเท่านั้นเอง
ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทเท่านั้นที่จะกำจัดกิเลส กิเลสะทุกชนิดออกไป กิเลสะทุกชนิดออกไป คือมันเห็นความที่ไม่มี ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน ยกตัวอย่างเรื่อง Sex ปัญหาเรื่อง Sex ของชายและหญิง ปัญหาเรื่อง Sex นี่ จะไปแก้ไขกันด้วยการไปดูของสกปรก ไปดูซากศพ ไปดูนั้น มันไม่มีผลดีเท่ากับเห็นปฏิจจสมุปบาท พอเห็นปฏิจจสมุปบาทมันไม่มีบุคคล มันก็ไม่มีความเป็นหญิง มันก็ไม่มีความเป็นชาย มันก็ขจัดความรู้สึกเรื่อง Sex ออกไปหมด เดี๋ยวนี้เรามามัวแต่ว่าไปดูของสกปฏิกูล ไปดูซากศพ แล้วจะกำจัดความรู้สึกเรื่อง Sex นิดเดียว มันนิดเดียว แต่ถ้าเห็นปฏิจจสมุปบาทมันไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน ไม่มีความเป็นหญิง ไม่มีความเป็นชาย ความรู้สึกเรื่อง Sex ทั้งหลายมันก็หมดไป ทั้งในแง่บวก และแง่ลบ ท่านจงดูเถอะให้เห็นว่าความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่มันแก้ปัญหาทั้งหมดได้จริงๆ แก้ปัญหาทั้งหมด ทุกกิเลส ทุกชนิดของกิเลส ทั้งกิเลสบวกและกิเลสลบ
ความเลวร้ายอย่างอื่นเช่น ความโกรธก็ดี ความเกลียดก็ดี ความกลัวก็ดี มากมาย ก็จะขจัดออกไปเสียได้โดยความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่ ดีที่สุด ง่ายที่สุด หมดปัญหาที่สุด กำจัดด้วยอย่างอื่นไม่หมดปัญหา ยุ่งยาก ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่จะกำจัดความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น ตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง ไอ้ความเลวร้ายเหล่านี้ มันกัดกัดชีวิต กัดชีวิต เอาออกไปเสียได้ด้วยความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ชีวิตนี้ก็ Free อิสระเสรี ทุกคนเป็นอย่างนี้ โลกก็มีเสรีภาพ สันติภาพ
เราก็มาถึงที่สุดแห่งความรู้ของปฏิจจสมุปบาท คือสรุปความได้ว่า ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ ทำให้เรามองเห็นความจริงที่ว่า อนัตตา ทุกอย่าง ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ Self และสุญญตา ทุกอย่างว่างจากความหมายแห่งความเป็นตัวตน เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท ช่วยให้เราเห็นชัด เห็นชัด ความจริงของอนัตตา และสุญญตา ครั้นเห็นความจริงเรื่องนี้นะ เรื่องสุญญตา และอนัตตาแล้ว มันก็ไม่อาจจะเกิดปฏิจจสมุปบาทอีกต่อไป น่าหัวหรือไม่น่าหัว ความเห็นสุญญตา อนัตตามันก็ช่วยให้ไม่เกิดปฏิจจสมุปบาทอีกต่อไป พูดสั้นๆ ว่าความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทมันจะทำให้ไม่เกิดปฏิจจสมุปบาท หรือปัญหาแก่เราอีกต่อไป นี่ที่สุดเป็นอย่างนี้ จึงเกิดคำพูด ประโยคที่น่าอัศจรรย์ว่า ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทจะกำจัดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทนั่นเองให้หมดไป
ในที่สุดนี้ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดกลั้น อดทน อดกลั้น อดทน มา ๒ ชั่วโมงแล้ว ขอบคุณในความอดทน อดกลั้นของท่านทั้งหลาย อาตมาจะขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายนะ เพราะท่านทั้งหลายมาช่วยทำให้สถานที่นี้มีประโยชน์ มาทำชีวิตของอาตมาให้มีประโยชน์ จึงขอบคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบคุณอาตมา ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบคุณอาตมา อาตมาขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายเป็นผู้ฟังที่ดี ทำให้ที่นี่ ที่นี่เป็นที่ที่มีประโยชน์ และขอขอบพระคุณ แต่ถ้าเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้ว มันก็ไม่มีทั้งผู้ที่ขอบคุณ และผู้ที่ต้องขอบคุณ ไม่มีผู้ต้องขอบคุณ และไม่มีผู้ที่ขอบคุณ เพราะเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท คือไม่มีอัตตา มีแต่สุญญตา เรื่องก็จบ ขอปิดประชุม แล้วท่านก็เดินกลับไปโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา เดินกลับไปโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา ขอปิดประชุม Doing without a doer