แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อาตมาขอแสดงความยินดีในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้เพื่อแสวงหาสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ และขอทำความเข้าใจพิเศษเล็กๆ น้อยๆ สองเรื่อง คือการที่ใช้เวลา ๖ น. เอ้อ, เวลา ๕ น. อย่างนี้ (เวลา 02:15 ถึง 02:31 พูดก่อนแล้ว พูดซ้ำอีกครั้งเวลา 02:32 ถึง 02:41)และท่านต้องเดินจาก Center มาถึงที่นี่เป็นระยะทางร่วม ๒ กิโล เวลา ๕ น. อย่างนี้เป็นเวลาเหมาะสมที่จะศึกษาธรรมะให้รู้เรื่องที่มันลึกซึ้งเพราะเป็นเวลาที่จิตใจเริ่มเบิกบาน ดอกไม้ในป่าทั่วๆไปก็เริ่มบานเวลานี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้เวลาอย่างนี้ คือมีจิตใจเหมาะสมที่จะทำหน้าที่หรือทำงานที่ละเอียดที่ลึกซึ้ง กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็ว่าจิตนี่กำลังว่างเหมาะสมที่จะเติมอะไรลงไป เติมอะไรลงไปได้มากๆ ถ้าเป็นกลางวันสายเสียแล้วมันก็เต็มเสียแล้ว และจงรู้จักใช้โอกาสในขณะที่จิตมันยังว่างและเหมาะสมที่จะรับอะไร ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามใช้ชั่วโมงนี้ ๕ น. นี่ให้เป็นประโยชน์ให้มากที่สุดเป็นธรรมเนียม เป็นธรรมเนียมตายตัวว่าในหมู่พุทธบริษัท ภิกษุสามเณรในเมืองไทยนี้กำหนดเวลา ๕ น. เป็นเวลาที่ตื่นขึ้นศึกษาธรรมะเป็นพิเศษ คือเป็นธรรมเนียมทั่วไป ถ้าท่านได้พยายามกระทำจนเป็นนิสัยก็กล่าวได้ว่าได้กำไรเวลามาอีก ๑ ชั่วโมง เวลาพิเศษที่สุดอีก ๑ ชั่วโมง ให้แก่ชีวิตทุกวัน ทุกวัน สำหรับการที่ต้องเดินมาที่นี่ก็ให้ถือเอาประโยชน์พิเศษอีกอย่างหนึ่งคือไม่ใช่เพียงแต่ให้ Morning Walk อย่าง อย่างเดียว แต่ว่าเป็น Morning Walk พิเศษคือการฝึกการเดินโดยไม่ต้องมีผู้เดิน ฝึกการเดินโดยไม่ต้องมีผู้เดิน เป็นการฝึกบทเรียนที่สูงที่สุดอยู่บทหนึ่งคือจิตใจร่วมกันกับร่างกายกระทำอะไรลงไปโดยปราศจากความคิดว่าฉันทำ โดยปราศจากความคิดว่าฉันทำ ร่างกายจิตใจทำอะไรอย่างใดอย่างหนึ่งโดยปราศจากความรู้สึกว่าฉันทำ บทเรียนนี้จะขยายไกลออกไปถึงว่ามีการกระทำแต่ไม่มีผู้กระทำ มีการกระทำโดยไม่ต้องมีผู้กระทำทุกอย่างทั้งชีวิตเลยนั่น บทเรียนใหญ่คืออันนั้นเดี๋ยวนี้เป็นบทเรียนน้อยๆ เพียงแต่ว่าการเดินก็ฝึกเสียก่อนว่าเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน ขอให้ตั้งใจทำบทเรียนนี้ให้ดีๆ จะนำไปสู่บทเรียนสูงสุดที่ว่ามีการกระทำโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ มันจะไปไกลจนถึงกับพูดว่ามีชีวิตโดยไม่ต้องมีผู้มีชีวิต มันเป็นคำที่ประหลาด แต่ว่าอาจจะเข้าใจได้ในอนาคต มีชีวิตโดยไม่ต้องมีผู้มีชีวิตทั้งหมดนั้นเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา คือมีชีวิตโดยไม่ต้องมีความรู้สึกว่ามีตัวตนหรือของตน ทีนี้เราก็มาพูดกันถึงเรื่องการศึกษาธรรมะมีเรื่องที่จะบอกกล่าวให้เข้าใจถึงที่สุดอยู่ข้อหนึ่งว่า การศึกษาธรรมะนี้ลำบากเพราะภาษา มีความลำบากเกี่ยวกับภาษาที่เราใช้พูดกัน เราพูดกันคนละภาษานี่ก็ลำบากอยู่ชั้นหนึ่งแล้วพูดกันคนละภาษา แต่แม้พูดในภาษาเดียวกันน่ะมันก็ยังมีความหมายที่ต่างกันคำพูดคำเดียวกัน มีความหมายหลายๆชั้นหรือต่างกัน นี่มันก็ยิ่งยุ่งยากมากขึ้นไปอีก การศึกษาธรรมะลำบากเกี่ยวกับภาษาคืออย่างนี้ คนหนึ่งมีอายุมากเกิดมานานแล้ว คนหนึ่งเป็นเด็กเพิ่งเกิดมา เขารู้สึกต่อต่อโลกน่ะน้อยน้อยมาก คนที่มีอายุมากพูดด้วยคำที่มีความหมายลึกตามที่เขารู้สึกหรือรู้จักโลกมาก เด็กๆ ก็พูดด้วยคำที่มีความหมายน้อย เพราะว่าเขารู้จักโลกน่ะน้อยภาษามันเกิดต่างกันโดยไม่รู้สึกตัวอย่างนี้แหละ หรือว่าคนคนหนึ่งเขาจะมีสติปัญญาน้อยนี่ก็สุดแท้ เขามองเห็นแต่ แต่วัตถุหรือแต่ปรากฏการณ์ของวัตถุ เมื่อเขาพูดอะไรออกไปมันจะบรรยายแต่ในลักษณะของวัตถุเขาก็พูดได้แต่ภาษาธรรมดาหรือภาษาคน ส่วนอีกคนหนึ่งมีสติปัญญามากรู้ถึงความหมาย รู้ถึงคุณค่าลึกซึ้งความหมายที่ลึกซึ้งของวัตถุ เขาก็พูดลึกถึงความหมายของวัตถุ ก็เลยเรียกว่าเขาพูดอีกภาษาหนึ่งคือภาษาธรรม เราเลยเกิดมีภาษาคนหรือภาษาวัตถุ แล้วก็มีภาษาธรรมหรือภาษาความหมายขึ้นมาเป็นสองสองภาษานี่คือต้นเหตุของความลำบาก ความลำบากในการพูดจา ถ้าจะกล่าวให้หมดจดสิ้นเชิงก็ยังจะกล่าวว่า คนธรรมดา ธรรมดาสามัญนี่ยังมีจิตใจต่ำ คืออยู่ภายใต้อิทธิพลของความเป็นบวกหรือความเป็นลบของทุกๆ สิ่งในโลก จิตใจของเขาอยู่ภายใต้อิทธิพลของบวกลบ เขาพูดไปตามความรู้สึกนั้นก็เป็นภาษาเหมือนกัน ทีนี้มี มีบุคคลอีกพวกหนึ่งมีจิตใจอยู่สูงเหนือความเป็นบวกและความเป็นลบ ไม่มีความเป็นบวกและความเป็นลบคือพวกพระอริยเจ้าน่ะ พวกนี้ก็มีภาษาพูดอีกภาษาหนึ่งต่างกันมาก คือภาษาของคนที่ยังมีบวกลบ และภาษาของคนที่อยู่เหนือความเป็นบวกเหนือความเป็นลบ นี่เป็นจุดสูงสุดของภาษาคนและภาษาธรรม แล้วแต่ก็ยังเป็นที่น่าประหลาดอยู่ว่า เรายังต้องพูดทั้งสองภาษาในการพูดจาของคนเราตามธรรมดานี่ ต้องใช้ภาษาทั้งสองภาษาเมื่อพูดมุ่งหมายไปถึงวัตถุหรือปรากฏการณ์ว่าพูดภาษาคนธรรมดาภาษาคนเดินถนนพูดกัน แต่ที่จะพูดถึงเรื่องที่ลึกซึ้งหรือความหมายที่ลึกซึ้งก็ต้องพูดภาษาคน ดังนั้นมันจึงเกิดมีภาษาคนและภาษาธรรมขึ้นมา เมื่อพูดว่า God ในภาษาคนก็หมายถึงคน แต่พูดว่า God ในภาษาธรรมมันไม่ใช่คนมันเป็นอะไรก็ไม่รู้ จนไม่อาจจะพูดว่าเป็นอะไร ทุกๆ คำน่ะมีความหมายเป็นสองชั้นอย่างนี้ บัดนี้เราจะมาพูดกันถึงสิ่งที่เรียกว่าธรรม ธรรมะ มันจำเป็นที่จะต้องพูดด้วยภาษาธรรมนั่นแหละมันทำให้เข้าใจยาก สำหรับผู้ที่ไม่รู้ภาษาธรรม จึงต้องพยายามศึกษากันทั้งสองภาษาคือภาษาวัตถุ ภาษาวัตถุกับคน แล้วก็ภาษาเรื่องทางจิต ทางวิญญาณก็ภาษาธรรม ท่านก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมที่จะศึกษาภาษาสองภาษานี้ ทีนี้ก็มาถึงสิ่งที่เรียกว่าธรรมหรือธรรมะนี่ สิ่งที่เรียกว่าธรรมนั้นมันมีทั้งวัตถุและมีทั้งจิตใจ ภาษาธรรมก็จึงมีภาษาทั้งภาษาวัตถุและภาษาธรรม ถ้าเราศึกษาธรรม ธรรมะ เราก็ต้องศึกษาทั้งสองฝ่ายคือทั้งฝ่ายวัตถุและจิตใจ ดังนั้นเราจึงต้องศึกษากันทั้งภาษาคนและภาษาธรรม สำหรับสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ธรรมะ ที่ท่านทั้งหลายมาเพื่อจะศึกษา ต้องศึกษาทั้งภาษาคนและภาษาธรรม ในชั้นแรกท่านจะต้องทราบเสียก่อนว่า คำว่าธรรม ธรรม คำพูดคำนี้เป็นคำที่ประหลาด ประหลาดที่สุด ประหลาดที่สุด คือหมายถึงทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไรในบรรดาสิ่งที่มนุษย์รู้จักก็ดีไม่รู้จักก็ดี จะมีกี่ล้าน ล้าน ล้าน สิ่ง เรียกได้ว่าธรรมคำเดียวทั้งนั้นน่ะคำว่าธรรม หมายถึงทุกสิ่งอย่างนี้ ทั้งที่เป็นวัตถุทั้งที่เป็นจิตใจ หรือเป็นอย่างอื่นซึ่งมิใช่วัตถุมิใช่จิตใจ มันก็ยังเรียกว่าธรรม นี่ความประหลาดที่สุดของคำว่าธรรม เรา เรามีคำพูดกันแต่เพียงว่ารูปธรรมคือวัตถุ นามธรรมคือจิตใจ และมิใช่รูปธรรมมิใช่นามธรรมคือมิใช่วัตถุมิใช่จิตใจเป็นสิ่งพิเศษ เพียงสามคำนี่มันหมดแล้วไม่ยกเว้นอะไร แต่ว่าทั้งสามคำนั้นเรียกว่าธรรมทั้งคำเดียวอยู่นั่นแหล่ะ มีวิธีศึกษาหรือพูดจาอีกอย่างหนึ่งต่อว่า สิ่งที่เป็นความมี แล้วก็สิ่งที่เป็นความไม่มี แล้วก็เป็นสิ่งที่ไม่เป็นทั้งความมีและความไม่มี คือเป็นภาวะเป็นอภาวะ และไม่ใช่ทั้งภาวะและทั้งอภาวะ ถ้าเราพูดอย่างนี้มันหมายถึงหมดทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร ทั้งหมดนั้นก็คือคำพูดคำเดียวว่าธรรม ธรรม สิ่งที่มีความมีก็ได้ไม่มีความมีก็ได้ ไม่มีทั้งความมีและไม่มีทั้งความไม่มีก็ได้ ฉะนั้นขอให้เข้าใจไอ้ความหมายที่กว้างขวางขอบเขตที่กว้างขวางไม่ยกเว้นอะไร ของคำว่าธรรมในที่นี้ ทีนี้ความแปลกประหลาดอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งควรจะทราบนั้นว่าธรรม ธรรม คำเดียวคำพูดคำเดียวนี้ ใช้เป็นคำตอบของปัญหาหรือคำถามได้ทุกอย่างเลย เช่นถามว่าทำไมต้องเกิดมาก็ว่าเพราะธรรม ทำไมต้องตายไปก็เพราะธรรม ทำไมต้องเปลี่ยนแปลงก็เพราะธรรม โลกนี้จักรวาลนี้เกิดมาจากอะไรก็จากธรรม มันจะดับไปจะสูญหายไปก็เพราะธรรม ทุกอย่างหรือว่าทุกๆ ปรมาณูที่ประกอบกันเป็นจักรวาลนี้ก็มาจากธรรม จะดับไปเพราะธรรม เราเคลื่อนไหวอะไรไปมีผลอย่างไรขึ้นมาหรือไม่ได้ผลอย่างไรขึ้นมา ก็เพราะสิ่งที่เรียกว่าธรรม ดังนั้นคำว่าธรรมจึงเป็นคำตอบที่ใช้ตอบปัญหาได้ทุกคำ คำถามจะมีกี่ล้าน ล้าน ล้าน คำถาม คำตอบมีเพียงคำเดียวว่าธรรม ทั้งในแง่บวกแง่ลบทั้งในแง่ปฏิเสธหรือในแง่รับ นี่เป็นความประหลาดอย่างยิ่งของคำพูดคำเดียวว่าธรรม สามารถตอบปัญหาได้ทั้งหมด ทั้งในแง่ของ Question หรือในแง่ของ Problem มันตอบได้ด้วยคำว่าธรรมทั้งนั้น ที่ในทางพุทธศาสนานี่ก็จะ Systematize ที่จะจัดหมวดของธรรมนี่ให้มันเข้าใจง่าย ก็เลยจัดไอ้ธรรมะๆ นี่เป็นสี่ประเภทหรือสี่ความหมาย คือเป็นตัวธรรมชาตินี่ประเภทแรกและเป็นตัวกฎของธรรมชาติที่มีประจำอยู่ในธรรมชาตินั้นนี่เป็นความหมายที่สอง มันหน้าที่ๆ ที่สิ่งที่มีชีวิตจะต้องปฏิบัติตามกฎนั้นตัวหน้าที่นี้ก็เรียกว่าธรรมในความหมายที่สาม แล้วพ้นจากหน้าที่จะดีหรือชั่วอย่างไรก็ตาม พ้นจากหน้าที่นี้ก็เป็นความหมายประเภทที่สี่ เราจึงได้เป็นสี่ความหมายคือตัวธรรมชาติ ตัวกฎของธรรมชาติ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ แล้วผลที่เกิดจากหน้าที่ ทั้งสี่ประเภทนี้เรียกว่าธรรม ถ้าท่านลองคิดดูสิมันมีอะไรนอกไปจากนี้ มันมีอะไรนอกไปจากนี้ ธรรมจึงเป็นคำประหลาด จึงหมายถึงทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร ทีนี้ตัวปัญหาปัญหาแท้จริงนั้นน่ะ มันอยู่ที่เรามนุษย์มีชีวิตเป็นคนเป็น เป็น เป็นคนแต่ละคน ละคนนี่ ปัญหามันอยู่ที่นี่มันไม่ได้อยู่ที่ดวงดาวหรือแผ่นดินหรือที่อาทิตย์ พระจันทร์ที่ไหน มันอยู่ที่คน ฉะนั้นเรามาดูคนตัวร่างกายตัววัตถุที่เป็นประกอบกันเป็นร่างกายเป็น Structure นี่ก็เรียกว่าธรรมชาติ แล้วก็ในในธรรมชาติทุกทุกส่วนของร่างกายเรียกว่าทุกๆ ปรมาณูอะไรกันทุกๆ Cell มันก็มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ ร่างกายมันจึงเปลี่ยนไปตามกฎของธรรมชาติ และเมื่อร่างกายมีชีวิตนี้มันต้องทำหน้าที่ ทำหน้าที่ ที่มันทำตามธรรมชาติของมันโดยเราไม่รู้สึกว่าทำอยู่ ที่เรารู้สึกว่าต้องบังคับให้ทำก็มี เรามีหน้าที่ หน้าที่ตลอดเวลาน่ะ แล้วเราก็ได้รับผลจากหน้าที่ แล้วแต่ว่าเราทำผิดหรือทำถูกหรือเป็นสุขบ้างหรือเป็นทุกข์บ้าง เพราะฉะนั้นความหมายทั้งสี่ความหมายที่เฉียบขาดที่สุดนี่มันมีอยู่ในอัตตภาพนี้ อัตตภาพนี้ แม้เพียงคนเดียว ก็มีธรรมะทั้งสี่ความหมาย ดูความที่มีความคำคำนี้มีความหมายกว้างขวางที่สุดอีกทีหนึ่งว่า ทุกอย่างธรรมชาติทุกอย่างมันก็คือธรรม เพราะกฎของธรรมชาติที่สร้างธรรมชาติขึ้นมาหรือทำให้ธรรมชาติสิ้นสุดลง ธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไป กฎของธรรมชาตินี่มีความหมายหรือมีหน้าที่อย่างเดียวกับคำว่า God God นั่นแหละ ผู้สร้างขึ้นมา ผู้ควบคุมอยู่ผู้ทำลายล้าง ความหมายของคำว่า God มันรวมอยู่ในคำว่ากฎของธรรมชาติ ธรรมชาติคือสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมา พระเจ้าผู้สร้างก็คือกฎของธรรมชาติแล้วสิ่งมีชีวิตทั้งหมดก็ต้องทำตาม ต้องทำตามคือหน้าที่ แล้วเขาก็อยู่ด้วยผลของหน้าที่ อยู่ด้วยผลของหน้าที่ตลอดเวลา สี่ความหมาย สี่ความหมายนี้ ถ้าท่านเข้าใจ ถ้าท่านเข้าใจสี่ความหมายนี้ ท่านจะเข้าใจสิ่งที่เรียกว่าธรรมโดยสิ้นเชิง ทีนี้ท่านก็จะเห็นได้ด้วยตนเองต่อไปอีกว่า มีความประหลาด ประหลาดพิเศษอีกข้อหนึ่ง คือคำว่าธรรม ธรรม ธรรมะนี่แปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ มันเกิดขึ้นในภาษาอินเดียโบราณนั่นแหละ ที่มีผู้รู้ธรรมะแล้วก็เรียกคำนี้ขึ้นมา ในความหมายสี่ความหมายใช้คำว่าธรรมะ ธรรมะ นี่มันก็ตายตัวแปลเป็นภาษาอื่นไม่ได้ เคยได้ทราบว่าเมื่อความรู้ทางธรรมทางพุทธศาสนาเข้าไปในประเทศอังกฤษ นักภาษาศาสตร์ก็พยายามจะแปลคำนี้เป็นภาษาอังกฤษ ช่วยกัน ช่วยกันเป็นอันมาก ได้ข่าวว่าได้ยินว่าแปลได้ตั้ง ๓๘ คำและไม่หมด ไม่หมด ยังไม่หมด ยอมแพ้ เลยยอมแพ้ ก็ต้องใช้คำเดิม ในภาษาใดก็ตามภาษาไทยก็ใช้คำว่าธรรมะ ภาษาจีนภาษาอะไรทุกๆ ภาษาก็ต้องใช้คำเดิมของคำว่าธรรม ธรรม เรียกว่าธรรมกันก็แล้วกัน นี่ก็เป็นความประหลาดอย่างหนึ่งคือแปลเป็นภาษาอะไรไม่ได้ ทีนี้มันก็มีความจริง ความจริงต่อไปว่า ถ้าเราจะใช้พูดคำนี้แก่คนทุกคนเป็นที่เข้าใจเป็นส่วนรวมแม้แต่เด็ก เด็ก เด็กๆ จะมีธรรมะจะใช้ธรรมะในความหมายไหน ในที่สุดก็เป็นที่ยุติว่าใช้ความหมายที่สามนี่ Nature, Law of Nature, Duty in accordance to the Law of Nature Duty Duty Duty คำนี้ เอามาใช้เป็นความหมายที่สำคัญที่สุดของสิ่งที่มีชีวิต ดังนั้นปทานุกรมสำหรับลูกเด็ก เด็ก ในอินเดียเขาจึงแปลคำธรรมะนี้ว่า Duty Duty ก็ต้องรู้ธรรมะจะต้องปฏิบัติธรรมะจะต้องรักษาชีวิตไว้ด้วยธรรมะ เอาความหมายทั้งหมดนั้นมารวมอยู่ที่คำว่า Duty Duty นี่เป็นคำแปลที่จะ Practical หรือว่าเป็น (นาทีที่ 51:09)....แก่ทุกๆ ทุกๆ ชีวิต ท่านทั้งหลายจงเข้าใจคำว่าธรรมะที่เราจะต้องศึกษาเป็นพิเศษก็คือความหมายว่าหน้าที่หน้าที่ ที่จะช่วยให้รอด หน้าที่สำหรับสิ่งที่มีชีวิตจะช่วยตัวเองให้รอด นั่นน่ะคือความหมายที่เป็น Nucleus ที่สุดของคำว่าธรรม แล้วก็มาศึกษาคำสองคำนี้กันให้ดีเป็นพิเศษ ตามภาษาของตน ของตน คำว่าธรรมนี่ในภาษาอินเดียโบราณ Root ของศัพท์มันแปลว่าทรงไว้ ทรงไว้ คือยกขึ้นไว้ ยกขึ้นไว้ ไม่ให้พลัดลงไปทำลาย คือทรงไว้รักษาไว้ Cherish ไว้ นี่คำว่าธรรมแปลว่าทรงไว้ ที่คำว่าหน้าที่ หน้าที่ในภาษาไหนก็ตามกี่ภาษาในโลกนี้ คำว่าหน้าที่ หน้าที่ ก็คือสิ่งที่จะทรงชีวิตไว้ ทรงชีวิตไว้ พอไม่มีหน้าที่มันก็คือตาย คำว่าธรรมะกับคำว่าหน้าที่ในภาษาใดก็ตามมันตรงกันเผง ตรงกันเต็มที่ ตรงกันร้อยเปอร์เซ็นต์ จงรับเอาคำเอาความหมายของคำว่าธรรมะในฐานะเป็นหน้าที่ ไม่มีหน้าที่ก็คือตายหรือมีความทุกข์ ท่านทั้งหลายมาแสวงหาสิ่งนี้ มาแสวงหาสิ่งนี้ คือหน้าที่ที่จะรอดพวกที่หลงประชาธิปไตย คนที่เขาหลงประชาธิปไตย เขาจะรู้สึกว่าหน้าที่หรือธรรมะนี่ทำให้เราเสียสิทธิ เสียสิทธิมนุษยชน Human Right น่ะ นั่นเข้าใจผิด เราไม่ทำหน้าที่สิ ไม่ยอมเสีย ไม่ยอมทำหน้าที่ ไม่ยอมเสียสิทธิอันนี้เราก็จะไม่มีอยู่ก็คือจะตาย ถ้าเรายอมทำหน้าที่อันนี้ ยอมทำหน้าที่อันนี้ เราก็จะมีสิทธิที่จะเป็นมนุษย์ที่จะอยู่อย่างเป็นมนุษย์ขึ้นมา ฉะนั้นท่านอย่าได้มองเห็นว่าการที่ต้องปฏิบัติธรรมะนี้ มันเป็นการเสียสิทธิหรือเสียความเป็นธรรมหรือเสียเสรีภาพ อย่าได้คิดอย่างนั้น เราจึงยอมถึงที่สุดร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนที่ได้รับคำสั่งสอนให้ยอมต่อพระเป็นเจ้าต่อ God ยอมร้อยเปอร์เซ็นต์นั้น ไม่ได้เสียสิทธิหรอก เพราะมันเพื่อความรอดอยู่ได้น่ะยอมเสียสิทธินั้นเพื่อได้สิทธิที่จะอยู่รอด เสียสิทธิน้อยน้อยของคนเพื่อจะได้มีชีวิตอยู่อย่างเต็มที่ อย่ามองเห็นว่าเป็นเรื่องลำบากหรือไม่เป็นธรรมหรือว่ายุ่งยาก ยอมเสียสละยอมสุขทุกอย่างเพื่อปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่ให้สมบูรณ์แล้วก็มีความรอด มีความรอด แล้วเรื่องก็จบ
ถ้าจะพูดให้เข้าใจง่ายๆ ในแง่ของศีลธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมนี่ อย่างนี้แล้วเราก็สรุปพูดได้ว่าหน้าที่หรือ ธรรม ธรรมะหรือหน้าที่นี้คือความถูกต้องเพื่อความรอด ความถูกต้องเพื่อความรอด มีความถูกต้องเพื่อความรอด มีความรอดเพราะมีความถูกต้อง ความถูกต้องเพื่อความรอดนั่นแหละ คือสิ่งที่เรียกว่าธรรมหรือหน้าที่ในที่นี้ ทีนี้เราก็ดูถึงหน้าที่ หน้าที่ ที่เราจะต้องปฏิบัติต่อธรรม ต่อธรรมะน่ะ หน้าที่แรกเราจะต้องเรียนจะต้องศึกษาจะต้องเรียน จะต้องเรียน ให้รู้เรื่องธรรมชาติ เรื่องกฎธรรมชาติ หน้าที่กฎธรรมชาติ ต้องเรียน เรียน แล้วหน้าที่ที่สองก็คือปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎนั้น แล้วก็จะเกิดผลขึ้นมา เรามีหน้าที่จะใช้ผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่นั้นให้ถูกต้อง ทั้งเพื่อตัวเราเองและเพื่อเพื่อมนุษย์ทุกคน เพราะว่าเราอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้ ขอให้จำคำว่าเรียนเราต้องเรียนแล้วเราต้องปฏิบัติทำให้เกิดผลขึ้นมาแล้วเราใช้ผลของการปฏิบัตินี้ให้เป็นประโยชน์แก่เราและผู้อื่นหรือทั้งโลก หน้าที่ หน้าที่ มีความหมายอย่างนี้ ที่ Center ที่ Center ของเราน่ะ ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษา ศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ท่านทั้งหลายจะต้องปฏิบัติ ปฏิบัติเรื่องอานาปานสติ และก็จะต้องศึกษาใช้ให้เป็นประโยชน์คือใช้ผลของอานาปานสติให้เป็นประโยชน์จนตลอดชีวิต นี่คือหน้าที่ที่เราจำเป็นจะต้องทำต่อสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ ทีนี้เราระบุชัดลงไปว่าศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทคือความจริงของทุกสิ่ง แล้วก็ปฏิบัติอานาปานสติเพื่อใช้ความรู้นั้นให้ได้ เราก็ใช้ความรู้นั้นจนตลอดชีวิต ขอให้ตั้งใจไว้อย่างนี้เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าธรรมะธรรมะเพียงคำเดียว
สมมติว่าท่านเป็นคริสเตียน ท่านก็ไม่ต้องทิ้งคำว่า God หรือคำว่า To Pray to God เพราะว่า Law of Nature ธรรมะ At Law of Nature นี่คือ God หน้าที่ หน้าที่ตามกฎของธรรมชาตินั่นแหละคือ To Pray to God ตามความประสงค์ของ God คือหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติกฎของธรรมชาติคือ God ทำหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติคือการทำตามประสงค์ของ God แล้วก็รอดเหมือนกัน ที่เรียกว่า Buddhist หรือคริสเตียนไม่มีปัญหาเพราะว่าเรามีกฎของธรรมชาติ มีการปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติแล้วเราก็ได้รับผล ฉะนั้นท่านไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องจะเป็นคริสเตียนหรือเป็นมุสลิมหรือ ไม่ ไม่ต้องหรอกเพราะว่าเรามี God คือสิ่งสูงสุด กฎของธรรมชาติเราก็มีหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติคือการปฏิบัติเพียงแต่ให้ศึกษาสิ่งเหล่านี้ ศึกษาสิ่งเหล่านี้อย่างครบถ้วน แล้วปฏิบัติให้ถูกต้องตามนั้น แล้วปัญหาก็หมด หมดปัญหา นี่คือได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ
ขออภัยที่ต้องขอยืนยันว่าทุกศาสนา ทุกๆ ศาสนากระทั่งทุกวัฒนธรรมมี God นักศึกษาชาวยุโรปไปว่าเอาเอง ว่าเอาเองว่าศาสนานั้นมี God ศาสนานี้ไม่มี God พุทธศาสนาไม่มี God นี้มันผิดมันมันไม่รู้มันหลับตาพูด ทุกศาสนาทุกสาขาของศาสนาทุกวัฒนธรรมมี God คือสิ่งสูงสุดที่ต้องเชื่อฟัง สิ่งสูงสุดที่ต้องเชื่อฟัง แม้แต่ศาสนาของคนป่ามันก็มีสิ่งสูงสุดที่มันต้องเชื่อฟัง แม้แต่สัตว์เดรัจฉานสุนัขและแมวมันก็ต้องมีสิ่งสูงสุดที่มันต้องเชื่อฟัง มันก็มี God ทุกชีวิตต้องมี God คือสิ่งสูงสุดที่ต้องเชื่อฟัง แม้แต่สัตว์เดรัจฉาน สัตว์เดรัจฉานนี่เขาต้องมีสิ่งที่เขาต้องเชื่อฟัง มิฉะนั้นเขาก็จะต้องตาย แม้แต่เจ้าของผู้เลี้ยงก็อยู่ในฐานะที่เขาต้องเชื่อฟัง สิ่งมีชีวิตทุกชีวิตต้องมีสิ่งที่ต้องเชื่อฟังนั่นคือ God ดังนั้นขอให้เรามี God ในสองความหมาย คือสมมติเป็นอย่างบุคคลก็ได้และก็มิใช่บุคคลก็ได้ทั้ง Personal, Impersonal ถ้าต้องเชื่อฟังต้องปฏิบัติตามแล้วก็เรียกว่าพระเป็นเจ้าหรือ God ได้ชีวิตทุกชีวิตต้องมีสิ่งสูงสุดที่ต้องเชื่อฟัง เราไม่อาจจะพูดให้เด็กๆ หรือคนปัญญาอ่อนฟัง ถ้าเราไม่พูดอย่างเป็นบุคคลก็ต้องพูดภาษาคนเป็นบุคคล เพื่อเด็กๆ หรือคนปัญญาอ่อนฟังนี่ก็เป็นชนิดหนึ่งเป็น Personal แต่ถ้าพูดอย่างมีสติปัญญาเห็นลึกซึ้งก็พูดอย่าง Impersonal ก็ได้ เพราะฉะนั้นขอให้เรามีทั้ง Personal God, Impersonal God นั่นจะถูกต้องที่สุด ถูกต้องที่สุด
ถ้าท่านเป็นคริสเตียนก็เข้าใจได้ง่าย ถ้าพิจารณาดูข้อความประโยคหนึ่งใน Book of Jonah น่ะ (นาทีที่ 01:18:36 – 01:18:45) At to the beginning, the world the was, the world, the world, logos, At the beginning the world was World นั้นคืออะไร World นั้นคืออะไร World นั้นน่ะคือธรรมะในฐานะเป็นกฎของธรรมชาติมีอยู่ก่อนสิ่งใด มีอยู่ก่อนสิ่งใด กระทั่ง The World นั้นมันกลายเป็น The God นั้นมันก็ไม่ยกเว้นอะไร ทุกศาสนา ทุกชีวิต ทุกระบบวัฒนธรรม มีสิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งอื่นแล้วก็มีอำนาจสูงสุดที่ทุกคนต้องเชื่อฟัง ฉะนั้นขอให้เราเข้าถึง God ทั้งสองความหมาย ทั้งอย่างภาษาคนหรืออย่างภาษาธรรมที่ลึกซึ้งที่สุด นี่ก็คือศึกษาธรรมในพระพุทธศาสนาด้วยเหมือนกัน
ก่อนที่จะมีจักรวาลนี้ ก่อนแต่ที่จะมีมนุษย์ ก่อนแต่ที่จะมีศาสนาใดๆ The World was ถ้าเข้าใจอันนี้ก็เข้าใจหมดเลย The World นั่นน่ะคือธรรมะ แต่มาแปลว่า World World มันไม่มีความหมายอะไร แล้วก็ กฎ กฎ กฎคือคำที่มีอำนาจมีน้ำหนัก ก็คือกฎ กฎของธรรมชาตินั่นคือ The Word แล้วก็มีอยู่ก่อนสิ่งใดๆ สิ่งนี้คือธรรมะ ธรรมะที่เราจะต้องศึกษากันแม้ที่ Center นี้ก็ศึกษาธรรมะนี้
เราเลิกความขัดแย้งทางศาสนากันได้แล้ว ทุกๆ ศาสนาในโลกนี้เลิกการขัดแย้งกันได้แล้ว เพราะทุกๆ ศาสนามีGod หรือธรรมะที่เราต้องเชื่อฟังคือกฎของธรรมชาติ เรามาศึกษาสิ่งนี้ให้เข้าใจถึงที่สุดแล้วปฏิบัติให้ได้ผลถึงที่สุดแล้วก็จะหมด ปัญหานี่คือธรรมะ ธรรมะที่อธิบายยากที่เข้าใจยาก ทีนี้เราก็จะมาพูดกันถึงเรื่องสิ่งที่เรียกว่าจุดหมายปลายทางหรือ Final Goal จะพูดกันถึงสิ่งนี้ของมนุษย์ คริสเตียนทั้งคริสเตียนก็จะนิยมพูดว่าจุดหมายปลายทางของเราก็คือเข้าไป United with God นิรันดร ฮินดูเขาก็ว่า เขาจะต้องเข้าถึงความเป็นอยู่ เป็นอยู่นิรันดร มีความเป็นอยู่นิรันดรเป็นปรมาตมัน แล้วก็เป็นอยู่นิรันดร แต่ชาวพุทธนี่ชาวพุทธดูจะแปลกกว่าเขาหน่อยที่ว่าเราจะเข้าถึงความว่างนิรันดร
ท่านตั้งใจมาศึกษาพุทธศาสนา พออาตมาบอกว่าจุดหมายปลายทางคือความว่างนิรันดร แล้วท่านคงจะสงสัยจะกระสับกระส่าย จะสั่นหัวแล้วก็ได้ Voidness เป็นหัวใจความหมายที่เป็นชั้นลึกเป็นหัวใจของพุทธศาสนา จงเข้าใจ Void Void ให้ดีๆ Void นี่ไม่ใช่ Pessimistic ไม่ใช่ Negativism Void Void นี่คือว่าไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา ไม่มีการเวียนว่ายเกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีกิเลส ไม่มีความทุกข์ แล้วก็ Void ที่สุดก็คือ Void จาก Self Self ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนนั่นแหล่ะเรียกว่า Void เข้าใจคำว่าVoid ให้ดีๆ ถ้าเข้าใจไม่ดีจะเกลียดจะไม่ชอบแล้วก็จะไม่ศึกษาพุทธศาสนาด้วย
เมื่อตะกี้เราบอกว่าท่านทั้งหลายจงเดินจาก Center มาที่นี่ โดยไม่ต้องมีผู้เดิน เดินมาที่นี่โดยไม่ต้องมีผู้เดิน ตลอดชีวิตทำ ทำ กระทำทุกอย่างโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ นี่ความหมายของคำว่าVoid, Void of Self, of Self, Void of of Self ไม่มีสิ่งใดยึดมั่นถือมั่นไว้โดยความเป็นตัวตนหรือเป็น Self นี่เรียกว่า Void เมื่อจิตไม่ยึดถือสิ่งใดดังนี้จิตก็ Void จิตก็ถึงความว่างจิตก็ถึง Void จุดหมายปลายทางของพุทธศาสนาคือสิ้นสุดแห่งปัญหาแห่งความทุกข์แห่งทุกสิ่งทุกอย่างเราเรียกว่า Void ท่านจะชอบหรือไม่ชอบแล้วแต่ความรู้สึกของท่าน
ท่านอย่ามอง Voidness นี่เป็น Pessimistic หรือเป็น Negative มันเหนือ Optimist เหนือ Pessimist เหนือ Positive เหนือ Negative มันจึงจะ Void ได้ ถ้ายังเป็นอยู่ในวงนี้ Positive หรือ Negative มัน Void ไม่ได้ ฉะนั้นถ้า Void ให้ได้มันต้องเหนือทุกๆ คู่ ทุกๆ Pair of Opposite ที่มนุษย์จะรู้สึกได้ นี่เราเรียกว่า Void ของพุทธศาสนาเรียกว่า สุญญตา สุญญตา
ทีนี้เราจะ Reconcile ว่า กับว่าอยู่นิรันดร พระเจ้านิรันดรได้อย่างไร ว่าเป็นสิ่งเดียวกันอย่างไร
ถ้าว่ามันจะอยู่นิรันดร มันต้องไม่เปลี่ยนแปลง มันต้องไม่เปลี่ยนแปลง มันต้องไม่เกิดไม่ดับ มันไม่ต้องเป็นไปตามปัจจัย ถ้ามันไม่ Void มันต้องมีปัจจัย มันต้องเปลี่ยนไปตามปัจจัย มันต้องเกิดดับแล้วมันจะอยู่นิรันดรไม่ได้ จนกว่ามันจะ Void เสียก่อน
ทีนี้เราก็มาพูดกันถึง God God God นั้นเป็นอะไรไม่ได้ God นั้นเป็นอะไรไม่ได้ เราจะแสดงภาพของ God ไม่ได้จะบัญญัติ God ให้เป็นอะไรไม่ได้ ก็อยู่เหนือๆ ความเป็นอะไร ไม่มีภาพให้เห็นว่าเป็นอะไรเว้นไว้แต่จะสำหรับลูกเด็กๆ เราก็เขียนรูป God อย่างกับคนแต่โดยเนื้อแท้แล้ว God ก็เป็นสิ่งที่แสดงไม่ได้โดยภาพรูปภาพใดๆ คือถ้าว่ามันปราศจากความเป็นทุกๆ อย่าง ถ้ามันเป็นอะไรเสียแล้วมันก็ไม่เป็น God แต่มันไม่เป็นอะไรสักอย่างเดียวก็คือว่าเป็น God เพราะฉะนั้น God ก็คือว่างนิรันดรด้วยเหมือนกัน
ท่านคงจะเคยได้ยินคำพูดที่ว่า ถ้าใครเห็น God คนนั้นก็ตาย เรื่องราวเกี่ยวกับโมเสสน่ะ พูดกันชัดเจนอย่างนี้แหละ God เป็นสิ่งที่ใครเห็นไม่ได้ ถ้าใครเห็นก็ต้องตาย ก็หมายความว่าถ้าเห็น God ก็คือเห็นความว่างจากบุคคล ไม่มีบุคคล ใครเห็น God คนนั้นจะต้องตาย มีความลึกซึ้งถึงขนาดว่ามันไม่มีบุคคล ไม่มีความเป็นอย่างใด ไม่มี Existence, Non-Existence คือไม่มี ไม่มีอะไรน่ะจึงเรียกว่าว่าง ว่าง ว่าง ถึงที่สุดด้วยเหมือนกัน เพราะในความว่างนิรันดรหรือความอยู่นิรันดรหรือ God นิรันดร นั้นมันเป็นสิ่งเดียวกันเป็น Final Goal
ทีนี้เราก็จะพูดถึง Final Goal ที่มันเกี่ยวข้องกับเรา เกี่ยวข้องกับชีวิต ชีวิตที่มีอยู่เดี๋ยวนี้มันจะไปสู่ Final Goal
ชีวิตนี้ถ้ารู้ธรรมะ ถ้ามีธรรมะ ถ้าปฏิบัติธรรมะได้ครบถ้วนถูกต้อง มันก็เป็นชีวิตที่ต้องขอเรียกว่าเย็น เย็น ไม่กัดเจ้าของ ถ้ามันไม่เดินทางถูกต้อง มันยึดมั่นถือมั่นมันไม่ Void แล้ว มันก็เป็นชีวิตที่ร้อนแล้วก็กัดเจ้าของ กัดเจ้าของ ท่านจง Discriminate สองข้อนี้ให้ดีๆ ว่าชีวิตที่กัดเจ้าของกับชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ ชีวิตที่ไม่มีความรู้ทางธรรมะพอปฏิบัติหน้าที่ผิดหรือไม่มีหน้าที่ ตัวชีวิตเองจะกัดเจ้าของ ชีวิตนี้จะกัดเจ้าของอย่างที่เรากำลังมี กำลังเป็นกันอยู่ลำบากด้วยชีวิตมันกัดเจ้าของ แต่ถ้าเรารู้ธรรมะนี้ถึงที่สุดแล้ว ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ จะไม่มีสิ่งที่ทำให้กัดเจ้าของ เราจึงเกิดมีชิวิตสองชนิดว่า เย็นไม่กัดเจ้าของ ร้อนกัดเจ้าของ ท่านจงเข้าใจให้ดีๆ เพราะว่าไอ้การศึกษาธรรมะมันก็เพื่อประโยชน์อันนี้แหละ ศึกษาธรรมะเพื่อประโยชน์ จะมีชีวิตเย็นและไม่กัดเจ้าของนั่นเอง
เรากล่าวได้สั้นๆ ว่าชีวิตที่เต็มไปด้วย Concept of Self นี่ไม่ว่าง ชีวิตที่ไม่มี Concept of Self เป็นชีวิตบริสุทธิ์ นี่เป็นชีวิตว่าง มันก็เลยมีชีวิตว่างกับชีวิตไม่ว่าง เรามีชีวิตที่ว่างเราจะไม่มีปัญหาคือว่างจาก Self, Concept of Self ไม่มีอัตตา อัตตนียา ไม่มีตัวกูไม่มีของกู แล้วก็ชีวิตว่าง ว่าง จากอัตตา อันหนึ่งเต็มไปด้วยอัตตา อันนี้ว่างจากอัตตา มีอยู่สองอย่างเท่านี้ ท่านก็เลือกเอา
ความรู้สึกยึดถือว่ามี Self มี Self มีอัตตา นั่นมันก็นำไปสู่ความรู้สึกที่เป็น Selfishness Selfishness และSelfishness แหละมันกัดเจ้าของ Selfishness มันกัดเจ้าของ ชีวิตที่ไม่มี Selfishness ไม่มีกัดเจ้าของ
เรามาพิจารณาตัวอย่างของสิ่งที่เกิดมาจาก Selfishness สิ่งที่เกิดมาจาก Selfishness ดูเป็นตัวอย่างทีละอย่าง ทีละอย่าง
ความรักกัดเจ้าของโดยตรงบ้าง โดยอ้อมบ้าง ความโกรธกัดเจ้าของ ความเกลียดกัดเจ้าของผู้เกลียด ความกลัวก็กัดเจ้าของผู้กลัว ความตื่นเต้น ตื่นเต้นไปตามเหตุการณ์มันก็กัดเจ้าของ วิตกกังวลอนาคต วิตกกังวลอนาคตก็กัดเจ้าของ อาลัยอาวรณ์อดีตหนหลังก็กัดเจ้าของ อิจฉาริษยา อิจฉาริษยากัดเจ้าของยิ่งกว่าสิ่งใด ความหวง หวงทั่วไปกัดเจ้าของ ความหึงทางเพศกัดเจ้าของ
ตัวอย่างพอแล้ว ตัวอย่างพอแล้ว สิบอย่างนี่ก็เหลือประมาณแล้ว กัดเจ้าของ ถ้าไม่มีอัตตาไม่มีอัตตา สิ่งเหล่านี้ไม่มี ไม่มี Selfishness แล้ว ก็ไม่มีสิ่งเหล่านี้ เราจงมาศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาท เพื่อรู้จักสิ่งเหล่านี้อย่างถูกต้อง แล้วเราจงปฏิบัติอานาปานสติเพื่อกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไปให้หมดสิ้น
ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในการมาศึกษาและการปฏิบัติธรรมะที่ Center
ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่อดทนเป็นผู้ฟังที่ดี ด้วยความอดทนมาสองชั่วโมงแล้ว ขอขอบพระคุณ ขอให้ประสบความสำเร็จมีความรู้ มีการปฏิบัติ มีผลของการปฏิบัติ ใช้ผลของการปฏิบัติ ให้ชีวิตนี้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด จงทุกๆ ท่านเทอญ ขอขอบพระคุณ แล้วก็ปิดประชุมวันนี้