แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านพุทธทาส : ว่าไปเรื่อยๆ ได้เท่าไหร่ก็เท่านั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ขอให้ท่านนึก นึกถึงเมื่อกำลังดูเด็กคลอดออกมา สมมุติว่าอาจารย์กำลังเห็นเด็กที่กำลังคลอด อาจารย์จะรู้สึกยังไง จะรู้สึกว่า ตื่นเต้น น่าอัศจรรย์ เป็น…ในการที่มนุษย์คนใหม่กำลังจะ จะเข้า อยู่ในโลก โดยไร้เดียงสา ใจบริสุทธิ์ไม่มีความยึดมั่นถือมั่น นอกจากความต้องการตามธรรมชาติ หรือว่า ท่านจะรู้สึกว่า เป็นเรื่องธรรมดาแห่งขบวนการชีวิต ซึ่งจะนำมาซึ่งความทุกข์
ท่านพุทธทาส : การที่เด็กคลอดออกมา เราถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ตามธรรมชาติ หรือจะเรียกว่า เช่นนั้นเอง เช่นนั้นเอง ไม่แปลกประหลาด ไม่แปลกประหลาดอะไรเลย แต่เนื่องจากเราไม่เคยเห็นมาก่อน เราจึงรู้สึกแปลกประหลาด ทีนี้ถ้าเราเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริง เราถือว่าเขายังไม่ได้เกิด มาโดยสมบูรณ์ เพียงแต่เด็กคลอดมาจากท้องแม่ เค้ายังไม่ได้เกิดมาโดยสมบูรณ์ จนกว่า เค้าจะได้มี อายตนิกธรรม ๖ คือใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วก็มีอายตนะภายนอก มีวิญญาณ มีผัสสะ มีเวทนา มีตัณหา ครบทั้ง ๖ ระยะ แล้วเราจึงจะถือว่า เขาเกิดมาแล้วโดยสมบูรณ์ และจะมีปัญหา ก่อนนั้นไม่ใช่ปัญหา ไม่มีปัญหา เพียงแต่คลอดมาจากท้องแม่ไม่มีปัญหา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ขอร้องเป็นพิเศษเดี๋ยวนี้หน่อยหนึ่งว่า ขอให้ช่วยจำลำดับทั้ง ๖ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา ๖ หมวดนี้ไว้ให้ดี ๆ มีเรื่องมาก มีเรื่องที่จะต้องศึกษา ต้องเกี่ยว ต้องปฏิบัติกับเรื่องทั้ง ๖ นี้ เป็นอันมาก ขอให้จำเรื่องทั้ง ๖ นี้ไว้ให้เข้าใจ อายตนะภายใน ภายนอก วิญญาณ ผัสสะ เวทนา ตัณหา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : อานาปานสติ เอิ่ม, รู้สึกว่า มันสนองการที่เราจะควบคุมและบังคับ อะไรต่างๆ อย่างบางครั้ง ได้ยินคำว่า บังคับจิต หรือบังคับความรู้สึก แต่สำหรับฉัน ก็รู้สึกว่าการที่อยากจะบังคับ อยากจะควบคุมสิ่งเหล่านั้น มันจะ โน้มเอียงไปในทางยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นวิธีปฏิบัติ อย่างอานาปานสติ มันจะเป็นปัจจัยที่ทำให้ลำบาก สำหรับ เรียนรู้ว่า จิตมันอนิจจัง และจะทำให้มันยากที่เราจะปล่อยวาง ซึ่งความต้องการที่จะบังคับสิ่งนี้สิ่งนั้นอยู่เสมอ
ท่านพุทธทาส : ข้อนี้ดูจะเกี่ยวกับคำพูด คำที่ใช้พูด เข้าใจไม่ตรงกัน เข้าใจผิด มันก็เป็นคำยากหรือทำยาก หรือทำให้ช้า ทำให้ช้า ถ้าเข้าใจถูก มันก็สะดวกและเร็ว ฉะนั้นขอให้ แน่ว่าเข้าใจคำพูดแต่ละคำ ละคำ ถูกต้องเสียก่อน แล้วก็จะไม่ยาก หรือไม่ยากจนเกินไป มันยากบ้างก็อย่างธรรมดาๆ แต่ว่าไม่ยากจน จนทำไม่ได้ ขอให้ศึกษา ให้เข้าใจ มันมีวิธีที่จะ อ่า, ทำให้ง่าย บางอย่างก็ใช้ Common sense ก็ได้ สติปัญญาที่มันเกิดเองตามธรรมชาติ มันก็ไม่ใช่น้อย เมื่อได้ยินได้ฟัง อย่างนี้แล้ว มันก็จะเข้าร่วมกันกับสติปัญญา ที่เรียน เล่าเรียนมา มันก็ไม่เป็นเรื่องยาก ไม่เป็นเรื่องเหลือวิสัย จะใช้คำว่าป้องกันก็ให้เข้าใจถูกต้อง จะใช้คำว่าบังคับ ควบคุม หรือทำลาย ละ เลิก นี่ก็ ขอให้ศึกษาใหม่ ศึกษาใหม่ให้เข้าใจถูกต้องตามความหมายของแต่ละคำ ความยากลำบาก หรือข้อขัดข้องอย่างที่ว่านี้ก็จะไม่มี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : เราต้องการที่จะมีเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมายทางสติปัญญาไหม ทาง Spiritual จำเป็นหรือไม่
ท่านพุทธทาส : เรามีปัญญา เราศึกษา เราวิจัย มีการใคร่ครวญจนรู้สิ่งเหล่านั้น แล้วก็มีความมุ่งหมาย ที่จะทำด้วยสติปัญญา มี มีจุดหมาย มีความมุ่งหมายที่จะทำด้วยสติปัญญา แล้วก็ไม่ได้ทำ ด้วยกิเลสตัณหา แม้จะเรียกว่า ความมุ่งหมาย หรือความพยายามก็ตามเถอะ แต่ว่ามันทำ ด้วยสติปัญญา ไม่ได้ทำด้วยกิเลสตัณหา มันต่างกันลิบ ขอให้เราจงมีความมุ่งหมาย และความพยายาม ด้วยสติปัญญา ก็พอ
ผู้บรรยายแปล : จะพยายามอะไร จะทำอะไร
ท่านพุทธทาส : ทุกอย่างที่จะต้องทำ ที่ปัญญามันบอกให้รู้ว่าควรทำ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ดังนั้นเราจะทำยังไง ที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ใน ในจุดหมายเหล่านี้
ท่านพุทธทาส : ถ้ามีความรู้หรือสติปัญญาถูกต้องแล้ว ถูกต้องแล้ว ความยึดมั่นถือมั่นก็เกิดไม่ได้ เพราะว่า คำว่าปัญญา ปัญญานี้ เป็นเครื่องทำลาย อ่า, ความเข้าใจผิด เห็นผิด ว่าตัวตน ว่าตัวตน เดี๋ยวนี้ทำลายไอ้ความยึดมั่นว่าตัวตนได้แล้ว จึงจะมีความต้องการ เรียกว่าปัญญาสะอาด ปัญญาที่ไม่สะอาด ก็มี คือปัญญาที่จะคดโกงมันก็มี แต่ที่จริงในภาษาบาลีไม่เรียกว่าปัญญาหรอก เรียกอย่างอื่น แต่ในภาษาไทยหรือในภาษาต่างประเทศก็อาจจะมีคำว่า ปัญญาชนิดที่คดโกง เช่น จิตวิทยาคดโกง อย่างนี้เป็นต้น ถ้าเป็นปัญญาแท้จริงในพระพุทธศาสนาแล้วบริสุทธิ์ ไม่มีคดโกงตัวเอง และคดโกงผู้อื่น เป็นที่ไว้ใจได้ว่า ปัญญา ปัญญา ที่บริสุทธิ์ แล้วก็ปลอดภัยจนตลอดเรื่อง ปลอดภัยตั้งแต่ต้นจนตลอดเรื่อง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : พุทธศาสนาเชื่อว่าเกิดมาโดยปราศจาก Self ปราศจาก Soul หรือไม่
ท่านพุทธทาส : ตามหลักพุทธศาสนาถือว่า ความรู้สึกว่า Self หรือ Soul นี่ เกิดมาจากสิ่งที่เรียกว่า ตัณหา เมื่อเด็กทารกมีตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งเสร็จแล้ว มีอุปาทาน นั่นจึงจะมี Self หรือมี Soul ไม่ได้ถือว่าเป็นการเกิดใหม่ของ Perpetual self , Perpetual soul อย่างฮินดู เขาแยกขาดจากกันว่า พุทธ ไม่มี Self ไม่มี Soul สำหรับท่องเที่ยว ท่องเที่ยว มันมีความโง่ เกิดขึ้นมา เมื่อมีตัณหา แล้วก็ว่า “ตัวกู” เป็นผู้ต้องการอย่างนั้น อย่างนี้ ไม่ได้เกิดมาจาก Self หรือ Soul ที่ไม่…เป็นนิรันดร หรือของชาติก่อน ข้อนี้มีพระบาลีชัด ที่ว่าเมื่อมีตัณหาแล้ว ก็มีอุปาทาน ว่าตัวตน ว่าตัวตนว่าของตน ฉะนั้นถือว่า ไอ้ความคิดว่าคน หรือตัวตนนี่ เกิดมาจากตัณหา เรียกว่าในชาตินี้ ในชาติที่เกิดมาจากท้องแม่แล้วนี่ จนกว่าจะเกิดมีตัณหา หรือว่าเกิดตัวตนครั้งหนึ่ง เกิดตัณหาอุปาทานครั้งหนึ่ง มีตัวตนครั้งหนึ่ง ดังนั้นจึงถือว่า เกิดเรื่อย ให้เกิดเรื่อย เกิดเป็นร้อยชาติ พันชาติ หมื่นชาติ ไม่ได้จากตัวตนก่อนโน้น แต่ว่าจากตัณหาอุปาทาน ที่นี่ และเดี๋ยวนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ถ้าเราเกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนขึ้นครั้งหนึ่ง เราเองเกิดความรู้สึกว่ามีตัวตนขึ้นครั้งหนึ่ง ขอให้เข้าใจว่า ไม่ใช่ Self ไม่ใช่ Soul คือเป็นอนัตตา เป็นเพียง Result หรือ Reaction ของตัณหา ของอุปาทาน จึงไม่มี ตัวอัตตาที่ถาวร เป็นเพียงผลชั่วขณะๆ คือเกิดปฏิจจสมุปบาทรอบหนึ่ง ก็มีตัวตน ตนหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่ตนน่ะ เป็นมายา ตน ตนนี่มันไม่ได้เป็นของจริง เป็นมายาเกิดมาจาก อวิชชา ตัณหา อุปาทาน คำว่า “ตน” ในพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้ คำว่า “ตน” ในศาสนาอื่น เขาเป็นอย่างอื่น ก็แล้วแต่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ถ้าอย่างนั้นถ้าเราเกิดมาโดยไม่มีตัวตน ไม่มี Self Soul อะไร เพราะอะไร เราจะแสวงหาสันติภาพ หรือความสงบ
ท่านพุทธทาส : เพราะว่าเกิดมาด้วยอวิชชา แล้วก็ไม่มีสันติภาพ ไม่มีความสงบ ดังนั้นจึงต้อง แสวงหาสันติภาพ หรือความสงบ โดยทำลายอวิชชานั่นเสีย จิตก็มีสันติภาพ หรือความสงบ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : เราจะเกิดมาจากอะไรก็ตามเถอะ มันมีหลายอย่าง แต่เมื่อเกิดมาแล้วเป็นทุกข์ เป็นทุกข์ เราก็ทนไม่ได้ เราก็ต้องหาทางกำจัดความทุกข์นั้นเสีย พุทธศาสนาถือว่าอวิชชา ที่ทำให้เกิดความยึดมั่นถือมั่น ว่าตัวตน นั่นแหละเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ จึงมุ่งหมายที่จะกำจัดอวิชชา หรืออุปาทานนั้นเสีย ในเมื่อไม่มีความทุกข์มันก็หมดปัญหา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : เมื่อผู้บรรยายพูดถึงตัวตน ส่วนมากก็รู้สึกว่าพูดถึงตัวตนที่เป็นทาง ทางกาย เป็นทางรูปธรรม ท่าน ท่านอาจารย์รู้สึก หรือเห็นว่า เรื่อง Self กับเรื่อง Soul เป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่
ท่านพุทธทาส : แล้วแต่ภาษาไหน ที่จะใช้พูด นะ บางภาษาอาจจะแยกกันแต่ในภาษาธรรมะ นี้ ถือว่าเป็นสิ่งเดียวกัน เรียกชื่อต่างกัน ทางวัตถุหรือทางกายก็เอามาเป็น Self หรือเป็น Soul ได้เช่นรูปขันธ์ ทางนามทางจิตใจก็เอามาเป็น Self หรือ Soul ได้คือเวทนา สัญญา สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เอามาเป็น Self หรือเป็น Soul ได้ทั้งรูปธรรมและทั้งนามธรรม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ระวัง ระวังอย่าให้จิตไปยึดเอา Self หรือ Soul เข้าที่รูป หรือเวทนา หรือสัญญา ทั้ง ๕ ขันธ์ ระวังอย่า ให้จิตหลงไปยึดเป็นตัวตน ขึ้นที่ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง ในขันธ์ทั้ง ๕
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : เป็นไปได้ไหมที่ธรรมชาติ และ Soul เป็นสิ่งอันเดียวกัน ธรรมชาติกับ Soul
ท่านพุทธทาส : พวก พวก อ่า, พวกที่เขาถือ ว่ามี Perpetual soul , Eternal soul นั่นก็เป็นเรื่องของเขา เราไม่ทราบ เราไม่พูด แต่ในฝ่ายพุทธศาสนานี้ ไม่มีอะไร ซึ่งมิใช่ธรรมชาติ ไอ้ Soul, Self ในที่นี้เป็นเพียงสังขาร คือการปรุงแต่ง การถูกปรุงแต่งขึ้นมา ตัวธาตุก็ตามธรรมชาติ ตัวการปรุงแต่งก็เป็นเรื่องของธรรมชาติ ผลที่เกิดขึ้นมา ก็ยังคงเป็นธรรมชาติ เพราะคำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติในภาษาธรรมะนี้กว้างขวาง ไม่ยกเว้นอะไร ก็เรียกได้ว่า ธรรมชาติ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ถ้าหากว่าไม่มี ไม่มี Self และตัวเราหรือฉัน ไม่ได้เป็นอะไรนอกเหนือแต่ขันธ์ทั้ง 5 ถ้าอย่างนั้นจะมี Free will อย่างไร อะไรที่เป็นตัวที่ ที่Will คำว่า Free will แปลยากจะเป็น…อาจารย์คงรู้
ท่านพุทธทาส : เราถือว่า Concept ว่า Self ว่า Soul นั้นน่ะ เป็นเพียงความโง่ชั่วคราว ความโง่ชั่วคราว ความโง่ชั่วคราว ครั้งหนึ่งๆ ของเรื่องหนึ่งๆ เมื่อเราไม่มีความโง่เหล่านี้ตลอดไปแล้ว มันก็เป็น ไอ้, จิตอิสระ เป็นจิตอิสระ ที่ไม่ตกอยู่ภายใต้ความทุกข์ นั้นน่ะพอแล้ว จิตเป็นอิสระไม่ตกอยู่ ภายใต้ความทุกข์อีกต่อไป ก็คือไม่โง่ชั่วคราว ไม่โง่ชั่วคราว วันหนึ่งหลาย ๆ หนว่า Self ว่า Soul
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ในสังคมผมจะแสดงความกตัญญูใน…โดยนานาวิธี เช่น ให้ของขวัญ หรือพูดคำว่าขอบคุณ ส่วน…บ่อยๆ ครั้ง สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่แสดงเพื่อให้คนอื่นรักเรา ในทางธรรมะ มีวิธีอย่างไรที่จะ แสดงความรู้สึกกตัญญู โดยเป็นไม่…ไม่ขาดสติ ไม่ผิดจากธรรมะ
ท่านพุทธทาส : เราจะต้องทราบ อ่า, ให้โดยทั่วไปเสียก่อนว่า ในโลกนี้ก็มีผู้ที่ ยังต้องมี อ่า, ความยึดถือว่าตัวตน คือ คนชาวโลกตามธรรมดา เขาจะต้องมีจารีตประเพณี มีศีลธรรม มีวัฒนธรรม สำหรับ คนเหล่านั้น สำหรับคนที่ยังไม่ ไม่ ไม่รู้จริง เขายังมีความรู้สึกว่า อัตตา ก็ต้องมีระเบียบปฏิบัติ อีกแบบหนึ่ง สำหรับผู้ที่มีอัตตานี่ กระทำเพื่อให้เกิดความสุขในหมู่คนที่ยังมีอัตตา ฉะนั้นเรา ก็ต้องปฏิบัติเมื่อมาเกี่ยวข้องกับหมู่คน ที่ยังมีอัตตา พระพุทธเจ้าเองก็ยังจะต้องตรัสว่ามีตัวฉัน มีของฉัน ต้องการนั่น ต้องการนี่ หรือว่าขอบใจ หรืออะไรก็เหมือนกัน แต่ท่านก็พูดแต่ปาก เท่านั้นแหละ ปากที่พูดว่ามี คล้ายๆ กับว่ามีตัวฉัน แต่ในจิตใจนั้นไม่มี เพราะว่าท่านอยู่ อีกฝ่ายหนึ่ง คือพวกที่ไม่มีตัวตน พิธี ขนบธรรมเนียม ประเพณี ที่พูดอย่างมีตัวตนนี้ ยังต้องมี อยู่ในโลกของผู้ที่มีตัวตน แล้วก็ทำไปได้ ทำไปได้ เพื่อให้มันสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป จนถึงว่าจิตหมด ตัวตน ปากพูดอย่างคนมีตัวตน แต่จิตเป็นอย่างผู้ไม่มีตัวตน ขอให้แยกออกเป็น ๒ อย่าง อย่างนี้ ว่าคนธรรมดากับพระอริยเจ้า คนธรรมดาพูดภาษาคน พระอริยเจ้าพูดภาษาธรรม มันไม่ขัดกัน น่ะ ถ้าเรายังใช้ระเบียบมีตัวตน พูดกับคนมีตัวตน ก็พูดไปอย่างมีตัวตน แต่ในใจไม่ต้องมีตัวตน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : แล้วอาจารย์มีตัวอย่าง วิธีที่จะแสดงกตัญญู หรือความขอบคุณที่ไม่ ไม่ผิดธรรมะ
ท่านพุทธทาส : นี่ก็ปฏิบัติตามระบบจริยธรรม ศีลธรรม ของประชาชนธรรมดา ที่ยังมีตัวตน มันเกิดผลดีแน่ๆ เกิดผลดีแน่ๆ ในหมู่ชนที่ยังมีตัวตน ก็พูดไปตามธรรมเนียม ตามโวหารพูด ภาษาพูด ของคนที่ยัง มีตัวตน นี่ เดี๋ยวนี้เรายังเป็นคนธรรมดา เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ ก็พูดตามธรรมดา ของคนธรรมดา เป็นพระอรหันต์แล้วจะพูดก็ได้ จะไม่พูดก็ได้ หรือจะพูดตามธรรมเนียม ให้คนเหล่านี้ มีความยินดี พอใจ จิตใจสูงขึ้นไป ก็ได้เหมือนกัน พูด ปากว่ามีตัว เอ่อ, เป็นตัวตน มีตัวตน แต่ในใจไม่มีตัวตน ก็ทำได้เหมือนกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : สรุปความอย่างนี้ก็ได้ว่า เรามันมีความรู้สึกว่าตัวตน เราก็พูด หรือคิด หรือทำ ให้มีตัวตนที่ดี ตัวตนที่ดี ที่ดี ดี ดี ยิ่งๆ ขึ้นไป จนกว่าจะหมดตัวตน ถ้ามันถึงขีด เอ่อ, ขีดสุดท้ายของ ตัวตนที่ดีแล้ว มันไม่รู้จะไปไหน แล้วมันก็หมดตัวตน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : การสอนให้ผู้คน ปล่อยวางซึ่งความอยาก ซึ่งตัญหา เพราะว่ามันจะนำมาซึ่งความทุกข์ อันนี้เป็นวิธีทางที่จะให้เหมือนขี้กลัว หรือเป็นการชักชวน คนที่จะไม่ดำเนินชีวิต ตามที่เขาต้องการ เป็นวิธีที่จะบังคับควบคุมมนุษย์ เพื่อให้มาอยู่ในอำนาจของ ของเรา หรือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระมัง เป็นอย่าง…
ท่านพุทธทาส : ต้องถือว่า เป็นวิธี วิธีที่เหมาะ ที่เหมาะสมแล้วที่จะทำมนุษย์ ให้เลื่อน เลื่อนชั้นแห่งจิตใจ เลื่อนขึ้นไป เลื่อนขึ้นไป จนหมดปัญหา การแสดงความทุกข์ เรื่องของความทุกข์ ก็เพื่อให้เขาฉลาด ไม่ใช่ให้เขากลัว กลัวเปล่าๆ กลัวโดยไม่ได้ทำอะไร เขาก็กลัวความทุกข์ แต่เมื่อเขาฉลาด ฉลาดขึ้นมา เขาก็ไม่ต้องกลัวก็ได้ ความกลัวกลายเป็นความฉลาด ไปเสีย ทีแรกความกลัวก็เป็นความโง่ จนเป็นความทุกข์ ต่อมาความกลัวก็พ้นจากความโง่ กลายเป็นความฉลาด รู้หน้าที่ที่จะต้องกระทำ แล้วเขาก็กระทำไปตามความฉลาด ปัญหามันก็หมด ไม่มีความทุกข์ที่จะต้องต่อสู้กันอีกต่อไป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ท่านอาจารย์ตรัสรู้ไหม ท่านเป็นพระพุทธเจ้าไหม ถ้าคำตอบคือไม่ใช่ หรือไม่…ใช่ก็ไม่ใช่ ไม่ใช่ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นเราจะต้องรอจนตายเพื่อคนอื่นจะ จะ Judge จะ จะกำหนดว่าเป็น ผู้ที่ตรัสรู้แล้วหรือไม่ ถ้าคนเรียกตัวเองว่าเป็นพระพุทธเจ้า นั่นจะแสดงว่าคนนั้นมีตัวกูสูง แล้วเป็นข้อพิสูจน์ว่า เขายังไม่ได้ตรัสรู้หรือไม่ คนธรรมดาซึ่งยังไม่เป็นพระอรหันต์ เขาจะทำอย่างไร จึงจะรู้ว่า คนอื่นตรัสรู้หรือไม่ มีทางไหม
ท่านพุทธทาส : ถ้าการถามว่าตรัสรู้หรือไม่ตรัสรู้นั้น มันเป็นเรื่องส่วนตัว อ่า, เป็นปัญหาส่วนตัว ขอสงวนไว้ ว่าไม่ต้องตอบปัญหาส่วนตัว พระวินัยก็นิยมไม่ให้ตอบปัญหาส่วนตัว โดยทำนองนี้ เพราะฉะนั้นก็ไม่ตอบ ว่าเป็นหรือไม่เป็น แต่จะขอบอกกลับไปว่า ท่านทุกคน มีสิทธิ ที่จะเป็นผู้รู้ เพราะว่ามีเมล็ดพืช เมล็ดพืช มี Germ สำหรับที่จะงอกงาม ออกมาเป็นผู้รู้ด้วยกันทุกคน ท่านทั้งหลายก็พยายามปลูกพืชแห่งความเป็นพระพุทธเจ้าในจิตใจนี้ ให้งอกงาม งอกงาม แล้วก็มีส่วนที่จะรู้ได้เอง ว่าใครเป็นพุทธหรือไม่ หรือใครไม่เป็น เป็นพุทธมีลักษณะอย่างไร ท่านไม่ต้องมัวถามคนอื่น ซึ่งเป็นเรื่องของคนอื่น ไม่มีประโยชน์ แต่พยายามรู้ว่าเราก็มีสิทธิ มีความเป็นไปได้ Possibility ที่ว่าจะเป็นพุทธ เพราะว่าเมล็ดพืชนั้นมีอยู่ ท่านรีบปลูก เมล็ดพืชนั้นให้มันเจริญงอกงาม งอกงาม ก็จะเป็นพุทธสูงขึ้นมาตามลำดับ ตามลำดับ ตามลำดับ กว่าจะถึงขั้นสุดท้าย ทำในใจอย่างนี้ดีกว่าที่จะไปคิดนึกว่า คนนั้นเป็นหรือว่าคนนี้ไม่เป็น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : คนนี้อ่านหนังสือ เอิ่ม, หลักธรรมสำหรับนักศึกษา ซึ่งอาจารย์เปรียบเทียบพระอริยเจ้า กับคน ธรรมดา ปุถุชนธรรมดา ซึ่งบอกว่าการเต้นรำเป็นอาการของคนบ้า การหัวเราะ ก็เป็นพฤติกรรม ของเด็กอมมือ ถ้าเราจะหัวเราะน้อยลงจะเป็นการดี ถ้าไม่หัวเราะเลยจะ จะยิ่งดี ที่ ที่พระอริยเจ้า มองเห็นว่าการฟ้อนรำ กับการหัวเราะ เป็นเรื่อง อะไร Pathetic เป็นเรื่องน่าสงสาร เป็นสิ่งที่ ไม่จำเป็น คนนี้ก็ถามว่า เป็นอย่างไรที่มนุษย์คนใดคนหนึ่งจะรู้สึกว่า หรือจะคิดว่า การหัวเราะ เป็นสิ่งที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่น่าสงสาร เมื่อเป็น…ในเมื่อการหัวเราะทำให้คน เอิ่ม, ดีขึ้น จากความ เศร้าโศก จากปัญหา ที่การหัวเราะทำให้มีความสุขในชีวิต ชีวิตนี้จะเหลืออะไร ที่ขาดสิ่งที่งาม ที่ดีอย่างนี้ ที่ทำให้มีพลังที่สดใสดีงาม มันจะ ชีวิตจะเป็นยังไง
ท่านพุทธทาส : เราควรจะมองให้เห็นว่า หัวเราะก็ดี เต้นรำก็ดี ร้องเพลงก็ดี น่ะ มันมาจาก ไอ้, Motive ที่โง่ หรือ Motive ที่มันฉลาด ถ้า Motive ที่มันฉลาด มันอาจจะไม่เต้นรำ ไม่หัวเราะ เพราะว่ามันเหนื่อย เหมือนกัน ให้เต้นรำตลอดเวลามันก็ไม่เอา ให้หัวเราะตลอดเวลามันก็ไม่เอา ถ้ามี Motive ที่มันฉลาด มันก็อาจจะแสดงบ้าง แสดงพอนิดๆ หน่อยๆ ไม่ ไม่ถึงกับจริงจังอะไร ถ้ามาจาก Motive ที่มันโง่ มันก็เต้นรำกันใหญ่ หัวเราะกันใหญ่ ร้องเพลงกันใหญ่ ซึ่งจะเพิ่มความโง่ ให้มากขึ้นไป มันจึงอยู่ที่ว่ามีวิชชา หรืออวิชชา ถ้าหัวเราะด้วยวิชชา เต้นรำด้วยวิชชา มันก็ทำ พอเป็นเครื่องแสดง ความรู้สึกในใจเท่านั้นแหละ ไม่มากมาย แต่ถ้ามันมาจากอวิชชาแล้ว มันก็ทำกันใหญ่ จนกลายเป็นกิเลส มันเครื่องส่งเสริมกิเลส แล้วสร้างปัญหาอีกมากมาย เพราะฉะนั้นแยกออกไปเสีย ที่ในบาลีมีกล่าวว่า หัวเราะ อ่า, เป็น ร้องเพลง หรือว่าเต้นรำ เป็นอาการของคนบ้านี่ ก็เพราะว่า ตามธรรมดา คนธรรมดาไม่เกี่ยวกับพระอริยเจ้า เขาทำสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดนี้ด้วยอวิชชา เขาไม่เป็นอิสระแก่ตัวเอง อวิชชาบังคับเขาให้กระทำ เพราะฉะนั้นจึงไม่เป็นประโยชน์ ไม่คุ้มค่า ไม่คุ้มค่าเหนื่อย ไม่คุ้มค่าเวลา ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องเต้นรำ ไม่ต้องร้องเพลง แต่เอามาทำการศึกษา ศึกษาให้รู้ยิ่งๆ ขึ้นไป ในที่สุด มันก็ไม่หัวเราะ ไม่ร้องไห้ ไม่ร้อง…ไม่ร้องเพลง ไม่เต้นรำ เป็นนี้ ข้อนี้เป็นข้อวัดว่า อวิชชายังมีเหลืออยู่เท่าไหร่ ยังมีเหลืออยู่เท่าไร ก็ทำไปเท่านั้น ไปตามนั้น เราไม่ต้องเสียเวลา ไม่ต้องเหนื่อย ในสิ่งที่ว่า ไม่ต้องทำก็ได้ ถ้าจะหัวเราะหรือจะเต้นรำ ก็เป็นชนิดที่ว่า ด้วยความฉลาด ไม่ต้องแสดงออกมา หัวเราะอยู่ในใจ เต้นรำอยู่ในใจยังจะดีกว่า
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ข้ามการถอดเสียง เพราะมีการตัดต่อเสียงซ้ำ และสลับ นาทีที่ 1.09.28 - 1.11.48
(ได้แก่ 1.09.28 -1.10.38 ซ้ำกับ 1:11:49 – 1:12:57 และ 1.10.38 – 1.10.45 เสียงขาดหาย และ
1.10.45 – 1.11.48 “…in order to express the feeling…” เป็นของคำตอบข้อก่อนหน้านี้ ที่ 1.08.30)
ท่านพุทธทาส : ไก่ของเรา ไก่ของเราบางเวลาก็เต้นรำ บางเวลาก็ร้องเพลง ท่านได้ยินเสียงไก่ของเราร้องเพลง บางเวลาไก่ก็ออกมาเต้น มาตีปีก มากระโดด มาวิ่งอย่างสบาย นี้มันก็เป็นเรื่องธรรมชาติ เป็น Stimulant ของธรรมชาติ เมื่อมันมีความรู้สึกไปในทางกระตุ้น แล้วมันก็แสดงออกมา เป็นเรื่องร้องเพลง หรือเต้นรำ หรือหัวเราะ ถ้ามันเป็นไปในทางที่ไม่กระตุ้น มันก็ต้องนั่งร้องไห้ มันก็ต้องนั่งร้องไห้ มันร้องเพลงไม่ได้ มันเต้นรำไม่ได้ มันก็นั่งซบเซาอยู่ ฉะนั้นเรื่องร้องเพลง หรือร้องไห้นี่มันก็เป็นเครื่องวัด ว่าเดี๋ยวนี้จิตใจมันถูก อ่า, กระตุ้น Stimulant อยู่ด้วยวิชชา หรือด้วยอวิชชา ขอให้ท่านทั้งหลาย จัดให้มันถูกกระตุ้นได้แต่โดยวิชชา อย่าให้ต้องโดยอวิชชา จะเสียเวลาเปล่า จะเหนื่อยเปล่า จะเปลืองเปล่า จึงได้เปรียบเทียบให้ดู ว่าดูให้ดี ไอ้เต้นรำอาการของคนบ้า ร้องเพลงคือร้องไห้ หัวเราะคือลูกเด็ก ๆ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ที่นี่ไม่ได้สอนหรือเชื่อในเรื่อง Reincarnation มีอะไรในคำสั่งสอนของพุทธศาสนา ที่ทำให้ ท่านอาจารย์คิด คิดว่าไม่มี Reincarnation แล้วการไม่เชื่อใน Reincarnation จะทำให้การปฏิบัติ ต่างกันจากพวกที่เชื่อในเรื่อง Reincarnation
ท่านพุทธทาส : ผมไม่ ไม่ๆ ไม่ได้ไม่เชื่อใน Reincarnation กลับจะเชื่อ เชื่อยิ่งกว่า Reincarnation เชื่อและเห็นว่ามี Reincarnation น่ะ ยิ่ง อย่างยิ่ง แต่ว่ามันเป็นทาง Spirituality Reincarnation ทางฟิสิกส์นี่ มัน เขารู้ เขาเชื่อกันมาก่อนพุทธกาล ก่อนพุทธกาล ชาวฮินดูเชื่ออย่างนี้ ชาวฮินดูนำศาสนาฮินดู มาที่นี่ก่อนพุทธศาสนา ก็มาทำให้ประชาขนที่นี่เชื่อ Reincarnation ทางฟิสิกส์ ทางร่างกายน่ะ เต็มไปหมดแล้ว พุทธศาสนามาทีหลังก็มาสอนให้ดีกว่านั้น ให้รู้จัก Reincarnation ทาง Spirituality แต่ก็ยาก ยากมาก เพราะว่าเขาเชื่ออย่างนั้นกันอยู่ก่อนแล้ว เลยต้องผสมกัน เอามาผสมกัน ขอบอกให้ทราบว่า คนไทยนี่ ถือพร้อมๆ กันมาทั้งฮินดูและทั้งพุทธน่ะ สมัยโบราณแท้ๆ มีโบสถ์ฮินดูอยู่หน้า อ่า, หน้าวัดพุทธเสมอ สำหรับเด็กๆ สำหรับคน ปัญญาอ่อน คนที่ปัญญาอ่อนหรือเด็ก ๆ เค้าก็เชื่ออย่างฮินดูอย่าง Reincarnation อย่าง ไอ้, ทางฟิสิกส์นี่ มาทางพุทธศาสนาก็เป็นทาง Spirituality ถ้าท่านถือ…ถ้าท่านศึกษา เรื่องปฏิจจสมุปบาท เข้าใจเรื่อง เข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วก็จะพบได้ว่าในวงหนึ่งน่ะ Circle หนึ่ง แห่งปฏิจจสมุปบาท มี Reincarnation ทุกอันไป วันหนึ่งมีปฏิจจสมุปบาทกี่รอบ กี่วงแล้วมันก็มี Reincarnation เท่านั้นแหละ คือมันเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนความรู้สึก เป็นอย่างอื่น เปลี่ยนอุปาทาน เป็นอย่างอื่นเสียแล้ว มันก็มี Reincarnation ใหม่ตามแบบนั้นๆ นี่เราเชื่อ Reincarnation อย่างนี้ และเชื่อจนถึงกับจะแก้ไขมัน จะควบคุมมัน ไม่ให้มี Reincarnation พุทธศาสนามี Reincarnation อย่าง Spirituality นอกนั้นเขาก็มีอย่าง Physical มีมาแต่เดิม มีมาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ ผมมีความเชื่อใน Reincarnation อย่างพุทธศาสนา กำลังจะปรับปรุง กำลังจะยกเลิก จะทำให้หมดสิ้นไป หมด Reincarnation เมื่อไรก็หมดปัญหา หมดความทุกข์ หมดปัญหา ทั้งในแง่ของ Question ทั้งในแง่ของ Problem ไม่มีปัญหาใดๆ เหลืออยู่ เข้าใจเสียใหม่เกี่ยวกับตัวผม หรือว่าพุทธบริษัท ให้ถูกต้อง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : Reincarnation ทางฟิสิกส์ ทางฟิสิกส์ ที่เขาเชื่อกันก่อนนั้น มีประโยชน์ ช่วยให้ทำดี ทำความดี ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป แต่ Reincarnation ทาง Spirituality นั้น ทำให้อยู่พ้นดี เหนือดี เหนือความดี เหนือความดีหมดปัญหา มันอยู่กันเป็นคนละชั้นอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : แล้วมี มีอะไรในคำสั่งสอนของพระพุทธศาสนา ที่ทำให้อาจารย์ไม่เชื่อในเรื่อง Reincarnation แบบทางกาย
ท่านพุทธทาส : เพราะได้เรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท มีเท่านั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : แล้วการปฏิบัติจะทำกันอย่างไร เมื่อไม่เชื่อในเรื่อง Physical reincarnation เช่นพวกอื่นเชื่อ
ท่านพุทธทาส : เก็บไว้ก่อน เก็บไว้ก่อน มาปฏิบัติในเรื่องที่ว่าจะไม่เกิด จะไม่มี Rebirth ในชีวิตประจำวัน แล้วเราก็ไม่มีความทุกข์เลย เรื่อง Physical rebirth นี่เก็บไว้ก่อน เก็บไว้ก่อน Ignore ไม่ต้องสนใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ถ้าธรรมะคือความจริง และความจริงนั้นคือกฎธรรมชาติ อย่างไร หรือมีอะไร ที่ทำให้เกิดโลก โลกนี้ อะไรทำให้มีโลกนี้
ท่านพุทธทาส : กฎของธรรมชาติ อ่า, ทำให้เกิดทุกสิ่ง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : คำพูดและวาจา ก่อปัญหาสำหรับเราส่วนมาก ท่านอาจารย์มีคำแนะนำอย่างไร ซึ่ง เราจะมี วิธีการควบคุมการพูด
ท่านพุทธทาส : นี่เป็นความจริงที่สุดว่า ความยากลำบากในการศึกษาธรรมะ ในศาสนาแต่ละศาสนา ลำบากอยู่ที่คำพูด คำพูด ที่เอามาใช้น่ะ มัน มันถือความหมายไม่ตรงกัน บางทีก็ใช้คำอย่างเดียวกัน แต่ความหมายมันไม่ตรงกัน นั่นนะมีความลำบาก นี่เราก็มาศึกษา เรื่องคำพูด ว่ากันเสียใหม่ เช่นวันนี้ศึกษาธรรมะ แต่มันเป็นการศึกษาเรื่องภาษา หรือคำพูด พร้อมกันไปในตัว ท่านจงรู้จักศึกษาทั้งภาษาคน และภาษาธรรม แตกฉานในภาษาคน และภาษาธรรม ก็สามารถจะตีความแห่งคำพูด ในศาสนานั้นๆ ๆ ๆ ที่มีหลายๆ ศาสนา จะสามารถเข้าใจถูกต้องตามความหมายอันแท้จริง และก็มาปรับกันในระหว่างศาสนา สามารถทำความเข้าใจกันได้ ร่วมมือกันได้ ก็พยายามศึกษาให้รู้ทั้งภาษาคน และภาษาธรรม คือภาษาตื้น และภาษาลึก ภาษาของคนโง่ และภาษาของคนฉลาด ภาษาของคนรู้ธรรมะ และภาษาของคนไม่รู้ธรรมะ ขอให้ศึกษาทั้ง ๒ ภาษา แล้วการศึกษาธรรมะก็จะง่ายๆ จะเข้าใจกันได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ยกตัวอย่างสักคำหนึ่ง เช่นคำว่า God น่ะ มันมีความหมายทั้งภาษาคนและภาษาธรรม ดังนั้น God จึงมีความหมายทั้งที่เป็น Personal และ Impersonal แต่ก็มีความมุ่งหมายถึง Supreme thing, Supreme thing (1.31.28) ทางเดียวเท่านั้นแหละ จะพูดอย่าง Personal หรือ Impersonal มันแล้วแต่ภาษาที่ใช้ ที่ไหนควรใช้ภาษาคน ก็พูดภาษาคน ที่ไหนควรใช้ภาษาธรรม ก็ใช้ภาษาธรรม ดินแดนอาหรับ ปาเลสไตน์ มันก็เหมาะอย่างหนึ่ง ดินแดนอินเดียมันก็อย่างหนึ่ง ดินแดนจีนก็อย่างหนึ่ง ดังนั้นจงรู้จักใช้คำพูดทั้งอย่างภาษาคน และภาษาธรรม เช่นคำว่า God นี่มีความหมายทั้ง ๒ ภาษา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ธรรมชาติทำให้เรามี จิตใจที่มีสมรรถภาพสูง เพื่อที่เราจะคิดได้ เดี๋ยวนี้เราต้องการที่จะให้จิตนี้ กลับมาสู่รากฐาน เพื่อมันจะเรียบง่าย อีกต่อไป อย่างนั้น มีความหมายว่าธรรมชาติไม่ต้องการ ที่จะให้เราฉลาด เหมือนที่เรากำลังฉลาด หรืออย่างไร
ท่านพุทธทาส : ข้อนี้ อ่า, มันขึ้นอยู่กับคำพูดที่ใช้ เมื่อเราพูดว่าเรียบง่าย เรียบง่าย นั่น มันไม่ได้หมายความว่า โง่ลง หรือต่ำลง หรือเป็นธรรมดาสามัญลง ไอ้เรียบง่ายนั่นมันหมายถึง ถูกต้อง ถูกต้องที่สุด ฉลาดที่สุด ถูกต้องที่สุด การที่เรามานิยมให้เรียบง่ายนี้ หมายความว่า เราฉลาดกว่าแต่ก่อน ซึ่งชอบไอ้ความ Luxurious อะไรต่างๆ อย่าเข้าใจอย่างนั้น เราต้องถือเอาคำว่าถูกต้องๆ มันไม่ได้อยู่ที่ว่าเรียบง่าย หรือว่าอยู่ที่ว่า ฟุ่มเฟือย อ่า, คำว่าถูกต้องๆ นี้หมายถึงมันไม่มีปัญหา มันไม่มีความทุกข์ ธรรมชาตินั้นมันมีให้ทุกอย่างแหละ ทั้งฝ่ายโง่ และทั้งฝ่ายฉลาด แล้วแต่จะถือเอา แล้วแต่จะถูกแวดล้อมให้เป็นอย่างไร ธรรมชาติไม่ได้ตายตัว ว่าเป็นอย่างไร มันมีให้ทุกอย่าง ทุกอย่าง เราจึงเลือกเอาชนิดที่ว่ามันถูกต้องๆ ๆ ถูกต้องสำหรับจะไม่เป็นทุกข์ ถูกต้องสำหรับที่จะสันติภาพ และสงบสุข ดังนั้นคำว่าเรียบง่ายเสียอีก กลับจะเป็นสิ่งสูงสุด รู้จักใช้ธรรมชาติมากที่สุด จึงจะพบความเรียบง่าย ความเรียบง่าย เป็นธรรมชาติในระดับสูง คือไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ขอให้ปรับปรุงคำพูดที่ใช้พูด หรือใช้ศึกษากันเสียใหม่ ปัญหาอย่างที่ถามนี้ ก็จะไม่เกิดขึ้นมา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : /แทรกขึ้นว่า/ ขอ อ่า… เอ้าๆ
ผู้บรรยายแปล : อันนั้นผมพูดเอง เดี๋ยวจะแปลของท่านอาจารย์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : เอากันอย่างนี้ง่ายๆ ก็แล้วกันว่า ความเรียบง่ายนั้น ไม่เป็น Positive ไม่เป็น Negative แต่มัน อยู่เหนือๆ ๆ Positive และ เหนือ Negative ดังนั้นมันจึงหมดปัญหา เรียบง่ายนั้นคือสูงสุด
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ก็เป็นอันว่าไม่มีทางที่จะ พิสูจน์ว่ามีตัวตน ถ้าอย่างนั้น…เพราะฉะนั้น อยากจะถามว่า มีอะไรบ้างที่จะทำให้อัตภาพนี้ ร่วมเป็นสิ่งที่สมมุติเรียกว่า Person หรือบุคคล ทำอย่างไรที่อัตภาพนี้ มันจะร่วมกันเป็น อยู่ในในร่างกายนี้ เป็นชีวิตหนึ่ง
ท่านพุทธทาส : นั้นก็เกี่ยวกับคำที่พูดอีกเหมือนกัน ภาษาอินเดีย น่ะ เรียกว่า อัตตา ตัวตน เรียกว่า ปุริสะ ก็คือ บุคคล สัตต ก็คือสัตว์ Synonym ของคำว่า อัตตา มีมากมายเหลือเกิน ล้วนแต่แสดงไปในทาง ที่ว่า มันมีตัวตน อย่างละเอียด หรืออย่างลึกซึ้ง หรืออย่างโง่เง่า มันมีตัวตน พุทธศาสนาเกิดขึ้น เพื่อจะบอกว่า ไอ้ความรู้สึกว่าตัวตนนั้น มันเป็นผลของอวิชชา คือไม่ ไม่ ไม่รู้จักสิ่งนั้น ตามที่เป็นจริง ทั้งฮินดู หรือทางพุทธศาสนาก็เหมือนกัน ยอมรับว่า ถ้ามันเป็นตัวตน มันต้องไม่มีเกิดไม่มีดับ ถ้ามันเป็นตัวตนมันต้องไม่มีเกิดไม่มีดับ เดี๋ยวนี้มันยังมีเกิดมีดับอยู่ มันจึงเป็นตัวตนไม่ได้ เหตุผลอย่างอื่นยังมีอีก เอาแต่เพียงว่า ต้องไม่มีเกิด ต้องไม่มีดับ สิ่งที่เรารู้จักกัน มันมีเกิดมีดับ ความดี ความชั่ว ความสุข ความทุกข์ อะไร มันมีเกิดมันมีดับ ซึ่งเรียกว่า ไม่ควรจะถือว่าเป็นตัวตน หรือจะไม่ได้ไปหลงรัก ไม่ไป Attach ไม่ไป ????? (1.42.45) ไม่เป็นอะไรเหล่านี้แหละ เป็นอุบาย เป็นอุบายมากกว่า เป็น อุบาย เป็น Art หรือจะเรียก ว่าเป็นอะไรก็แล้วแต่จะเรียก ที่จะทำให้ไม่เกิดความทุกข์ นี่ก็เป็น เทคนิคสูงสุด ที่จะทำไม่ให้ เกิดความทุกข์ ถ้าชอบ Art ก็ถือว่าเป็น Art ที่สูงสุด ที่จะทำให้ ไม่เกิดความทุกข์ คืออย่ามีความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวตน เมื่อไม่มีความทุกข์จนตาย มันก็พอแล้ว /หัวเราะ/ พอแล้วไม่มีความทุกข์ไปจนตายมันก็พอแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ง่ายๆ ที่สุด สำหรับจะสอนลูกเด็กๆ เราจะบอกเขาว่า อัตตา อัตตา ไอ้ Self นั่น มันเป็นเพียง Reaction หรือ by product ของสิ่งที่เกิดแล้วเป็นไปตามธรรมชาติ มันเกิดแล้วเป็นไป ตามธรรมชาติก่อน จึงเกิดไอ้ความรู้สึกเหมือว่า “ฉัน” ขึ้นมา เช่นมีการเห็น เห็นด้วยตา ตาเห็นแล้วจึงจะพูดว่า “ฉันเห็น” ได้ยินเสียงแล้ว จึงจะเรียกว่า “ฉันได้ยินเสียง” เมื่อมีการเดิน แล้วจึงจะพูดว่า “ฉันเดิน” นั่งแล้วจึงจะมีความรู้สึกว่า “ฉันนั่ง” เมื่อคิด คิดแล้ว จึงจะรู้สึกว่า “ฉันคิดแล้ว” เมื่อพูดแล้ว จึงจะรู้สึกว่า “ฉันพูดแล้ว” เมื่อกระทำ กระทำลงไปแล้ว จึงจะมีความคิดว่า “ฉันกระทำแล้ว” มันเป็นเพียง Reaction หรือ by product ของการกระทำ หรือการที่เป็นไปตามธรรมชาติ ดังนั้นอย่าไป Regard อย่าไปยึดมั่นถือมั่นว่ามันเป็นอัตตา ที่ถาวรที่แท้จริงเลย นี่สอนลูกเด็กๆ อย่างนี้ก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : ผม ผมจะถามอาจารย์…
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ผู้บรรยายแปล : เมื่อกี้นี้อาจารย์บอกว่าทั้งฮินดู ทั้งพุทธ ก็เห็นอย่างเดียวกันในเรื่องว่า ถ้าเป็นตัวตน ต้องไม่เกิดไม่ดับ แต่ในทางพุทธศาสนาก็มีสิ่งหนึ่งซึ่งไม่เกิดไม่ดับ ก็เรียก พระนิพพาน อย่างไร พระนิพพานไม่ใช่ตัวตน ในพุทธศาสนา
ท่านพุทธทาส : เพราะไม่ใครเคยรู้จักพระนิพพาน และก็ไม่เคยนิพพาน ถ้าเขารู้จักง่ายๆ เขาก็จะเอานิพพาน เป็นตัวตน เหมือนกับที่ว่า เราเดินแล้วเราก็รู้ว่าเราเดิน เรากินแล้วก็รู้ว่าเรากิน แต่เข้าไม่เคย สัมผัสพระนิพพาน ไม่เคยรู้จักพระนิพพาน ที่พระนิพพานนั้นมันอยู่เหนือ การพูดนะ ว่าเกิดหรือดับ เหนือความหมายของ Positive และ Negative ต้องเหนือการเกิด เหนือการดับ แล้วก็ไม่มีความหมายที่จะพูดว่าเกิดหรือดับ ก็เรียกว่า จะต้องหุบปากเสีย หุบปากเสีย เมื่อจะต้องพูดว่านิพพานคืออะไร ถ้าไปเอานิพพานมาเป็นตัวตนอีก ก็คือผลของอวิชชา ของอวิชชาอีก ก็มีปัญหาอย่างเดียวกันอีก ก็จะเกิด ไอ้, ความยึดมั่นถือมั่น ยึดมั่นถือมั่นขึ้นมา ในสิ่งนั้น ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ก็เป็นทุกข์ เพราะสิ่งนั้น ดังนั้นถือว่านิพพานอยู่เหนือ คำพูด ว่าจะพูดว่าอะไร ภาษาบาลีว่า อพฺยากตา คือพูดไม่ได้ว่าเป็นอะไร อย่างนี้ จึงจะเป็นพระนิพพาน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : ถ้าถือว่านิพพานเป็นตัวตน ก็เกิดอุปาทานอันใหม่ขึ้นมาทันที
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : แม้คำว่าพระเจ้า พระเจ้า ก็เหมือนกัน ต้องเป็นสิ่งที่ พูดไม่ได้ อธิบายไม่ได้ Describe ไม่ได้ ว่าเป็นอะไร จึงจะเป็นพระเจ้าที่แท้จริง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : เอาหล่ะพอแล้ว หมดเวลาแล้ว
ท่านพุทธทาส : ขอขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่ง ในการที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้ฟังที่ดี คือฟังด้วยความอดกลั้น อดทน ๒ ชั่วโมงแล้ว และวันนี้ขอแสดงความยินดีพอใจเป็นพิเศษ จากคำถามทั้งหมดนี้ ที่ถามนี้แสดงว่า ถามในเรื่องที่ควรจะถาม หรือที่เป็นหัวใจของ ไอ้, ธรรมะ ของศาสนาคือ เรื่องอัตตา เรื่องอนัตตา คำถามทั้งหมดเป็นเรื่องอัตตา เป็นเรื่องอนัตตา ปัญหาเกี่ยวกับอัตตา อนัตตา เป็นปัญหาที่ควรถาม แต่นี่ถามปัญหานี้กันทั้งหมด ขอความ…ขอแสดงความยินดี ความพอใจ ที่เราได้ประชุมกันอย่างนี้ จะได้เป็นสิ่งที่ก้าวหน้าๆ อ่า, ไปโดยง่าย ไปสู่ ไอ้, ความหมดปัญหา หมดปัญหา หมดปัญหาเมื่อไหร่ก็ถึงที่สุด เมื่อนั้น ถึงที่สุดแห่งปัญหา ถึงที่สุดแห่งความทุกข์ ขอแสดงความขอบคุณ ความพอใจ ความยินดี ที่เราได้ตอบ ถามตอบปัญหากันอย่างนี้ ก็ขอปิดประชุม ขอปิดประชุม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : /แทรกขึ้นว่า/ สัญลักษณ์ของธรรมะในภาษาคน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : เหลือเยอะไหม
ผู้บรรยายแปล : เยอะ แต่ๆ แต่ส่วนมาก ไม่ดีเท่า ผมเลือก /หัวเราะ/
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านพุทธทาส : Walking without walker /หัวเราะ/
/เสียงภาษาอังกฤษ/