แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วมา เราพูดกันเรื่องขันธ์ ๕ Five aggregates วันนี้เราจะพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท Dependent o8rigination ในฐานะเป็นเรื่องที่เนื่องกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หัวข้อใหญ่ของเรามีว่า “ธรรมะทำไมกัน” น่ะ เรามุ่งหมายธรรมะเพื่อรู้กฏของธรรมชาติ เพื่อรู้กฏของธรรมชาติ ที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับชีวิต ทั้ง ๒ เรื่อง คือ เรื่องขันธ์ ๕ ก็ดี เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ดี เป็นเรื่องกฏของธรรมชาติที่เกี่ยวของกันอยู่กับสิ่งที่เรียกว่าชีวิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรื่องขันธ์ ๕ เป็นเรื่องของ ของหนัก เป็นตัวของหนักแก่ชีวิต ของหนักแก่ชีวิต ส่วนเรื่อง ปฏิจจสมุปบาทนั้น เป็นเรื่องแสดงให้เห็นว่า มันหนักอย่างไร มันผูกพันอยู่อย่างไร ที่แท้มันก็เป็นเรื่องเดียวกันน่ะ เรื่องขันธ์ ๕ เป็นเรื่องของหนัก เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็คือบอกว่า ของหนักต้องผูกพันอยู่อย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เปรียบอุปมาให้เห็นง่ายๆ แล้วก็จะต้องพูดว่า ไอ้ตัวขันธ์ ๕ นี่ มันเหมือนกับตรวน ตรวนเหล็กที่ใส่ขา ส่วนปฏิจจสมุปบาทนั้น เปรียบเหมือนอาการ อาการที่มันผูกพันหรือสวมขาอยู่อย่างไร ขันธ์ ๕ เปรียบเหมือน ตรวน ปฏิจจสมุปบาท เหมือนอาการที่ตรวนผูกพันขาอยู่อย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
“ตรวน” ในที่นี่หมายถึง Iron chain ที่ใช้ใส่ขานักโทษ Iron chain วงกลมๆ ห่วงๆๆ แล้วก็ใส่ขานักโทษ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คำว่า ปฏิจจสมุปบาท อาศัยกันเกิดขึ้น อาศัยกันเกิดขึ้น เป็นลำดับ ลำดับ เหมือนกับตรวน เส้นหนึ่ง มันมีเป็นห่วง ห่วงๆๆๆ ต่อกันไป จนตลอดเส้น อาการที่มันต่อกันเป็นห่วงๆๆ นั้นน่ะ อาการของปฏิจจสมุปบาท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเกิดอาการที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ หมายถึง ตรวนได้เกิดขึ้นแล้ว และเป็นของหนัก ผูกขาอยู่แล้ว แล้วก็พูดถึง ปฏิจจสมุปบาท จะพูดถึงอาการที่มันเกิดขึ้นอย่างไร เกิดขึ้นเป็นห่วงๆๆๆ ต่อกันไปอย่างไร แล้วผูกขาอย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ในคืน วันที่ตรัสรู้ คืนนั้นทั้งคืน พระพุทธเจ้าพิจารณาเรื่องปฏิจจสมุปบาท ทั้งคืน เรียงไปตามลำดับ หรือทวนลำดับ จนทั้งคืน จนตรัสรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท นี่ เด็ดขาดลงไปถึงที่สุด เวลาหัวรุ่ง คือเวลาอย่างนี้ อย่างที่เรากำลังพูดอยู่นี่
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พิจารณาตามปกติก็คือพิจารณาจากผล ผลสุดท้ายคือความทุกข์ ย้อนกลับไปทีละข้อ ทีละข้อ ตามลำดับ ก็จะพบเหตุ เหตุตั้งต้นทีเดียว คือ อวิชชา The first cause , The last result to the first cause แล้วก็ Reverse เป็น From the first cause to the last result ทบไปทบมาอย่างนี้ ทบไปทบมาอย่างนี้ ทั้งคืน จึงจะรู้แน่ลงไป ชัดเจน ชัดเจนแจ่มแจ้งว่า เป็นอย่างนี้อย่างนี้ นี่คือเรื่องปฏิจจสมุปบาทได้เกิดขึ้นในโลก ลักษณะอย่างนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้น พระพุทธเจ้าตรัสในตอนหลังๆ นี้ว่า “ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นฉัน”
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้นการเห็นธรรมะ เห็นธรรมะน่ะ ก็คือเห็นพระพุทธเจ้า และเห็นปฏิจจสมุปบาท ๒ อย่างพร้อมกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
และเราควรจะนึกถึงเวลา เวลาที่ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท คือเวลาอย่างนี้ เราเรียกมันว่า โลกเวลา ๕ น. จึงขอร้องให้ท่านทั้งหลายทุกๆท่านนี่ใช้ โลกเวลา ๕ น. ใช้โลกเวลา ๕ น. ให้เป็นประโยชน์ที่สุด เราจึงมานั่งประชุมกันที่นี่ ในเวลาเดียวกันกับที่เวลาที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ต่อไปนี้เราก็จะพูดถึงเรื่องขันธ์ ๕ กับปฏิจจสมุปบาท ในลักษณะที่ว่ามันเป็นเรื่องเดียวกัน ดังที่กล่าวแล้ว
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ดังนั้น จึงต้องขอร้องให้ท่านทั้งหลาย ย้อนไปทำความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท หรือฟื้นความจำ เรื่องปฏิจจสมุปบาท เอ้ย, ย้อนความจำเรื่อง ขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ทั้ง ๕ ให้ชัดเจนอยู่ในใจ แล้วก็จะง่ายที่จะ เข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท
/เสียงภาษาอังกฤษ/
โดยหลักสั้นๆ ก็คือ รูปขันธ์ นั้นได้แก่ไอ้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งเป็น Sense Organs แล้วก็รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ ซึ่งเป็น Sense objects Sense organs มีหน้าที่ที่จะสัมผัสกับ Sense objects เรามีอยู่ตลอดเวลา เรามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา แล้วยังมีรู้เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธัมมารมณ์ มาสัมผัสกับมันได้ เมื่อไหร่ก็ได้ หรือเรียกว่าตลอดเวลา นี้เรียกว่าส่วนที่เป็นรูปขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
และต่อมาเมื่อมีการ Depend กันระหว่าง Sense objects กับ Sense organs มันก็เกิดเว.. เอ้อ, วิญญาณขันธ์ Consciousness
/เสียงภาษาอังกฤษ
หลังจากวิญญาณขันธ์ มันก็มี เวทนาขันธ์ คือ Feeling การที่มันสัมผัสได้ผลอย่างไร นี่เรียกว่าเวทนาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
หลังจากเวทนาขันธ์เกิดแล้ว มันก็มีอาการที่เรียกว่า Perception Perception ต่อสิ่งที่เรียกว่า เวทนาขันธ์ หรือ Feeling ที่เรียกว่า สัญญาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ต่อจากนั้น ก็มีอาการที่เรียกว่า Conceive ต่อสัญญาขันธ์ เราเรียกมันว่า Conception หรือสังขารขันธ์ สังขารขันธ์ รวมกันเป็น ๕ อย่างพอดี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้เราก็จะพูดถึงเรื่องนี้ ในลักษณะที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท คือมันค่อยๆ เกิดขึ้นเป็นห่วง เป็นห่วง เป็นห่วง เป็นห่วง จนเป็นสายโซ่เนี่ย ถูกล่ามไว้อย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้ท่านสังเกตให้ดี จนเห็นว่ามันเป็นเรื่องที่เกิดในชีวิตประจำวัน ทุกวัน ทุกวัน วันละหลายๆ รอบ หรือหลายสิบรอบ ก็แล้วแต่กรณี
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เรียกว่ามีอยู่เป็นประจำ เป็นประจำ สิ่งที่เรียกว่าร่างกายหรือชีวิต
/เสียงภาษาอังกฤษ/
รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ๕ อย่างนี้มีอยู่ทั่วไป มีอยู่รอบๆตัวเราทั่วไป และให้เกิดความรู้สึกอันที่ ๖ คือ Thought ได้เมื่อไรก็ได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตามธรรมดาเราไม่ได้รู้สึก เราลืมหรือไม่รู้ไม่ชี้ Ignore Ignore กลายเป็น Ignorance เราไม่รู้สึกแม้แต่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ เรามัน Ignore มันตลอดเวลานั้นน่ะ มูลเหตุของไอ้สิ่งที่เรียกว่า Ignorance ขอให้รู้จักว่า เรามันไม่ได้สนใจเรื่อง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะ Ignore หรือจะไม่ Ignore ก็ตาม มันก็หน้าที่ของมันอยู่ตลอดเวลา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามาดูกันทีละคู่ เพราะมันมีถึง ๖ คู่ ๖ คู่ เราหยิบขึ้นมาเป็น เอ่อ, ศึกษาเป็นตัวอย่าง ๑ คู่ คู่แรก ตากับรูป
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราศึกษาคู่แรกให้ดีๆ ให้เข้าใจดีๆ แล้วเข้าใจดีๆ แล้วก็จะใช้สำหรับทุกคู่ จนครบทั้ง ๖ คู่ เหมือนๆ กัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราจะใช้คำตามภาษาบาลีว่า เมื่อตา Depend Depend กันกับรูป ท่านไม่ได้ใช้คำว่า See ไม่ได้ใช้คำว่าเห็น ยังไม่มีการเห็นน่ะ เมื่อตา Depend เนื่องกันกับรูป มันก็เกิดการเห็นทางตา หรือ Eye consciousness
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่เราเห็นได้ทันทีว่ามันมี ๓ อย่าง ขึ้นมาแล้ว คือ ตา อย่างหนึ่ง รูป อย่างหนึ่ง Eye consciousness อย่างหนึ่ง รวมเป็น ๓ อย่าง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ การทำงานร่วมกัน หรือใช้คำว่า ถึงกันเข้า ระหว่างสิ่งทั้ง ๓ นี้ การถึงกันเข้าระหว่างสิ่งทั้ง ๓ นี้ ที่เรียกว่า ผัสสะ ผัสสะ หรือ Contact
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตอนนี้ยังพอเรียกได้ว่ามีการเห็น มี Seeing มีการเห็น แต่เรียกโดยภาษา หรือภาษาธรรมชาติก็เรียกว่า การทำงานร่วมกันระหว่าง ตา กับ รูป และ จักษุวิญญาณ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สิ่งที่เรียกว่า Contact หรือผัสสะ ของสิ่งทั้ง ๓ นี่ เป็นระยะเวลาที่สำคัญที่สุด สำคัญที่สุด ถ้าเราไม่มีความรู้ ไม่มีไอ้ความรู้อย่างที่เรียกว่า Wisdom ไม่ใช่ Interlace เป็นความรู้อย่าง Iniquity wisdom ถ้าเราไม่มีความรู้อย่าง Wisdom ไอ้ Contact นั้นจะเป็น Contact โง่ Ignorance contact