แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
นี่คือขันธ์ที่ ๑ Aggregate ที่ ๑ เรียกว่า รูปขันธ์ แบ่งออกได้เป็น ข้างในและข้างนอก เมื่อรูปขันธ์ข้างใน หรือข้างนอก จับคู่กันเมื่อไร ตามคู่ของมัน จับคู่กันเมื่อไร มันก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Conciousness Conciousness ขึ้นมา จึงรู้จักมันว่า เป็นรูปอะไร เป็นเสียงอะไร เป็นกลิ่นอะไร เป็นรสอะไร เป็นสัมผัสอะไร นี่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์ แต่การเรียงลำดับเพื่อการศึกษานี่เราเอาไปไว้สุดท้าย ไว้สุดท้ายเพราะมันมี ความหมายมาก แต่ในการทำหน้าที่ในชีวิตประจำวัน มันมาเป็นอันดับที่ ๒ คือ เมื่อรูปขันธ์ภายใน กับรูปขันธ์ ภายนอก กระทบถึงกันเข้าแล้ว Depend กันแล้ว มันก็เกิด Conciousness คือวิญญาณขันธ์ ขอย้ำอีกทีว่า มันเกิด ในอันดับที่ ๒ อย่างนี้นะ แต่ว่า การจัดเพื่อเรียนเพื่อศึกษา เอาไปไว้เป็นอันที่ ๕ โน่น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อตาเห็นรูป มันก็รู้จักว่ารูปอะไร เมื่อหูได้ฟังเสียง มันก็รู้ว่าเสียงอะไร เมื่อจมูกได้กลิ่น มันก็รู้ว่า กลิ่นอะไร ลิ้นได้รส ก็รู้ว่ารสอะไร สัมผัสผิวหนังได้สัมผัส ก็รู้ว่าสัมผัสของอะไร ทั้งหมดนี้เป็นไปได้โดย Nerve เอ่อ, system ของ ไอ้, รูปขันธ์ เป็น Mechanism ตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ ที่จะทำให้รู้ได้ว่า รูปอะไร เสียงอะไร ไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา อัตตา เข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ ไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา อัตตา เข้ามาเกี่ยวข้อง Conciousness ก็มีได้ทั้ง ๕ ทาง ทั้ง ๕ ทาง นี่คือความรู้ที่รู้ว่า วิญญาณ หรือ Conciousness นั้น มิได้เป็นอัตตา แต่เป็นการ…เป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ตามกฏของธรรมชาติในส่วนนี้ ในส่วนที่ได้ อายตนะภายใน คือ รูปขันธ์ภายใน รู้จากรูปขันธ์ภายนอก นี่เป็นไปตามกฏของธรรมชาติ ได้โดยไม่ต้องมีอัตตา นี่เรียกว่า รู้ว่าวิญญาณเป็นอนัตตา ไม่ ไม่ต้องเป็นอัตตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ต่อไป เมื่อ Conciousness ทำหน้าที่ของมันแล้ว ก็มี Contact แล้ว มันก็เกิดผลเป็น Feeling Feeling มีความรู้สึกต่อสิ่งที่เข้ามากระทบนั่นน่ะ ว่าน่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ คือเป็น ไอ้, Positive หรือเป็น Negative Feeling นั้นมันถูกให้ความหมายโดย ไอ้, ความรู้สึกตามธรรมชาติ อ่า, ของสิ่งที่เรียกว่า Mind มันเป็น Positive หรือเป็น Negative สิ่งที่จะรู้สึกได้ว่าเป็น Positive หรือ Negative นั้น ก็เรียกว่า เวทนา ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่อัตตา มาทำหน้าที่ของเวทนา เวทนาเป็น ไอ้, สิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ตามธรรมชาติ ตามกฏของธรรมชาติ มันก็เกิดความรู้สึกเป็น Feeling ขึ้นมาเต็มที่ว่า เป็น Positive หรือเป็น Negative นี่เรียกว่า รู้จักว่า เวทนา The Feeler นั้นน่ะ ไม่ใช่อัตตา เป็นเพียงเรื่องของธรรมชาติ ปรุงแต่งกันตามกฏของธรรมชาติ เป็น Activity Mechanism ตามกฏของธรรมชาติ นี่รู้ว่า เวทนาขันธ์ หรือขันธ์ที่ ๓ นั้น มิใช่อัตตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี้ต่อไป เมื่อมันมี Feeling แล้ว มันก็มี Perception คือ The Mind อีกนั่นแหละ ไม่ต้องมีอัตตา มันทำ หน้าที่ Discriminate หรือว่า Classify ให้มีความหมายเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ขึ้นมา เช่นว่ามีค่า หรือไม่มีค่า หรือว่า มีคุณหรือว่ามีโทษ หรือว่าน่าพอใจ หรือ หรือว่าน่ามีไว้ ไม่น่ามีไว้ อะไรนี่ เป็นไอ้ เป็นการให้ความหมาย ให้คุณค่า ให้ความหมาย ต่อสิ่ง อ่า, ที่เป็นเวทนานั้น การตีค่า การให้ความหมาย ให้คุณค่าต่อเวทนานั้นน่ะ เราเรียกว่า สัญญา สัญญา นี้เป็นสิ่งที่ต้องมี เว… Feeling เป็นบวกหรือเป็นลบก็ตาม มันจะต้องมี Perceive ว่าจะ ใช้อะไรได้บ้าง จะทำอะไรได้บ้าง จะอะไรต่อไปนี่ ก็เรียกว่า ให้ความหมายแก่มัน หรือ Discriminate ชั้นที่ลึกขึ้น มาว่า สิ่งนี้มีค่าอย่างไร ความรู้สึกอันนี้มีได้ เรียกว่า สัญญาขันธ์ เป็นไปได้ตาม ธรรมชาติ ไม่ต้องมีตัวอัตตา เข้ามา เป็น Perceiver ถ้ามี Perceiver ก็มีการกระทำตามกฏของธรรมชาติ แล้วก็ มิใช่อัตตา ดังนั้น สัญญา สัญญา หรือขันธ์ที่ ๓ มันก็มิใช่ อะ…มิใช่อัตตา เอ้อ, ขันธ์ที่ ๔ นะ ขันธ์ที่ ๔ ก็มิใช่อัตตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อมี Perception ในสิ่งนั้นเสร็จแล้ว มันก็ก่อให้เกิดความคิด ว่าจะทำอะไรกับสิ่งนั้น จะจัดการอะไร กับสิ่งนั้น Perception จึงทำให้เกิด Conception ความคิด Conception ก็ทำให้เกิด การกระทำ เป็น Action เป็น Deed เป็น Commitment หรืออะไรก็ตาม เกิดเป็นการกระทำเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา อันนี้ อ่า, เรียกว่า Conception หรือสังขารขันธ์ สังขารขันธ์ สังขาร นี้แปลว่า ปรุงแต่ง ในความหมายว่า Condition ก็ได้ Concoction ก็ได้ คือปรุงแต่งให้เกิดสิ่งใหม่ Perception ทำให้เกิด Conception ว่าจะทำอย่างไร คือให้เกิดให้ ให้เกิดการกระทำ สิ่งที่เรียกว่า กรรม กรรม Action หรือ Deed นี่เป็นขันธ์ที่ ๕ ความคิดนี้เป็น Conception ไม่ต้องมีอัตตา มาเป็น Conceiver มันเป็นตามธรรมชาติ ตามกลไกของธรรมชาติ ดังนั้นจึงเห็นว่า แม้แต่ไอ้ Conception นั้นก็มิใช่อัตตา มิใช่อัตตา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็มาถึงปัญหา จะเรียกว่า เป็นความลับอะไรก็ได้อยู่นิดนึง คือว่าขันธ์ทั้ง ๕ มี ๕ อย่าง แต่ถ้าจะ เรียงลำดับ ตามที่มันเป็นจริง ทำหน้าที่จริง คือ Action จริงๆ ตามธรรมชาติ เราจะเรียงได้ว่า รูปขันธ์ แล้วก็ วิญญาณขันธ์ แล้วก็ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ คือเอาวิญญาณขันธ์มาไว้เป็นอันที่ ๒ แต่ถ้าพูดสำหรับ การศึกษาไม่ใช่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ เราเอาวิญญาณขันธ์ มาไว้เป็นอันที่ ๕ แล้วจึงได้เป็น รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ ไอ้วิญญาณขันธ์นี่ ที่เป็นอยู่จริงตามธรรมชาติ มันทำหน้าที่ เป็นอันดับที่ ๒ แต่ถ้าพูดสำหรับเรียน สำหรับศึกษามันกลายเป็นที่ ๕ นี้เป็นความลับอะไรอย่างหนึ่ง ซึ่งจะต้องอธิบาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอให้สังเกตให้ดีว่าถ้าพูดสำหรับการศึกษา วิญญาณฯ มันอยู่ท้ายสุด ถ้าพูดที่มันเป็นอยู่เองตามธรรมชาติ วิญญาณฯ เป็นอันที่ ๒ เป็นขันธ์ที่ ๒ นี้พยายามทำความเข้าใจ ข้อนี้เป็นเพราะว่า ไอ้สิ่งที่เรียกว่า วิญญาณขันธ์น่ะ มันทำหน้าที่หลายหน มันทำหน้าที่หลายครั้ง คือทำหน้าที่ต่อรูปขันธ์ก็ได้ ทำหน้าที่ลงบนเวทนาก็ได้ บนสัญญาก็ได้ วิญญาณขันธ์ทำหน้าที่หลายหน จึงเอาไปไว้สุดท้าย หรืออีกทางหนึ่งเพราะว่า มันเป็นสิ่งที่สำคัญ มันเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากที่สุด เป็นสิ่งพิเศษ หรือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด Special Important มันเลยไปไว้ เป็นขันธ์ที่ ๕ อ่า, ท่านจงเข้าใจข้อนี้ มิฉะนั้นจะสับสนหมดน่ะ เพราะที่มันเป็นจริงตามธรรมชาติ มันเรียงลำดับ ของมันอย่างนี้ แต่ถ้าเรามาศึกษามาสอนกัน เรียง เรียงลำดับใหม่เป็นอย่างอื่น ฉะนั้นขอให้เข้าใจ ว่าไอ้ขันธ์ทั้ง ๕ ถ้าเรียงลำดับอย่างนี้ ก็เรียงลำดับตามธรรมชาติที่เป็นอยู่จริง ถ้าเรียงลำดับอย่างที่ว่านี้ ก็สำหรับสอนในโรงเรียน ในห้องเรียน ก็ต้อง…ข้อนี้ก็ต้องเข้าใจด้วย มิฉะนั้นจะหลงไปว่า เอ๊ะ, ทำไมวิญญาณขันธ์ เดี๋ยวมาอยู่ตรงนี้ เดี๋ยวมาอยู่ตรงนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
สรุปความสั้นๆ ว่า Sequince หรือลำดับการเรียงลำดับนี้ มันอาจจะเรียงได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ ไฉนกรณีนี้เรียงตามธรรมชาติ วิญญาณขันธ์เป็นที่ ๒ เรียงสำหรับศึกษาในห้องเรียน วิญญาณขันธ์ เป็นอันดับที่ ๕ อย่างนี้เป็นต้น อย่าได้เข้าใจผิด ทำไมกลับไปกลับมาอย่างนี้ ต้องมีผิดสักอย่าง มันไม่ผิดหรอกมันถูก แต่มันมีเหตุผลที่ว่า เราจะเรียงลำดับมันด้วยวัตถุประสงค์อะไร ขอให้เข้าใจด้วย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
จะขอยกตัวอย่างให้เข้าใจได้ง่ายๆ เกี่ยวกับเรื่องเบญจขันธ์นี่ ขอให้ท่านพยายามทำความเข้าใจให้ดีๆ (บอกเขาเสียทีก่อน)
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เด็กคนหนึ่ง เข้าไปในป่า แล้วในป่านั้นก็มีนกที่สวยตัวหนึ่ง เด็กคนนั้นมีตา Inner Aggregate… Material Aggregate คือรูปขันธ์ภายใน คือตาของเด็กคนนั้น แล้วนกตัวที่สวยนั้นน่ะเป็น Outer Material Aggregate เป็นรูปขันธ์ภายนอก นี่รูปขันธ์ภายใน คือตาของเด็กคนนั้น แล้วก็ ไอ้, รูปขันธ์ภายนอก ก็คือนกตัวที่สวยนั่น นี่เป็น ๒.. ๒… ๒ สิ่งขึ้นมา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อรูปขันธ์ภายใน Inner Material Aggregate ถึงกันเข้ากับ ภายนอก Outer Material Aggregate คำนี้ เราไม่… เราใช้คำว่า ปฏิจจ แปลว่า Depend Depend อย่าใช้คำว่า Meet หรือ See หรืออะไรเฉยๆ ขอให้ใช้ ตามคำบาลีว่า Depend มันเข้ามาถึงกันเข้า ซึ่งจะทำให้เกิดอาการอันใหม่ เมื่อว่า เมื่อรูปขันธ์ภายใน Depend กันกับรูปขันธ์ภายนอก นี้มันก็เกิด Conciousness ขึ้นที่ตาของเด็กคนนั้น ตาของเขาเป็นรูปขันธ์ภายใน ไอ้นก เป็นรูปขันธ์ภายนอก แล้วก็เกิดการเห็นขึ้นมา ก็เป็น Conciousness คือวิญญาณขันธ์ของเด็กคนนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ที่ตาของเด็กนั้นเห็นนกสวยพอใจ พอใจ พอใจ น่ารัก สวย ก็เรียกว่าเขามีเวทนา Feeling หรือเวทนาขันธ์ ขึ้นแล้ว นี่เป็นเวทนาขันธ์ เด็กมีเวทนาขันธ์คือพอใจในความสวยของนกตัวนั้น มี Feeling Aggregate แล้ว นี่เป็นชั้นที่ อ่า, ๓ แล้ว ชั้นที่ ๓ แล้ว
(เสียงผู้บรรยายแปล) เป็นขันธ์ที่ ๓ ใช่ไหมคะ
หา…
(เสียงผู้บรรยายแปล) เป็นขันธ์ที่ ๓ …
เป็นอันดับที่ ๓ ซิ อย่าเพิ่งว่าขันธ์อะไร แต่เรียกก็ต้องเรียกว่าเวทนาขันธ์ เป็นระยะที่ ๓ ของเด็กคนนั้น รูปขันธ์เขาเกิด แล้วก็เกิดวิญญาณขันธ์ แล้วก็เกิดเวทนาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(แทรกขึ้นว่า) วิญญาณขันธ์ตอนนี้ เกิดวิญญาณขันธ์ตอนนี้ แล้วจึงเกิดเวทนาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็เกิดความรู้สึกที่เป็น Perceive เห็นว่านกนี้สวย มีสีสันอย่างนั้น น่ารักอย่างนี้ หายากอย่างนั้น อย่างนี้ แล้วก็ราคาคงจะขายได้ดี คงจะขายได้มาก อันนี้เป็น Perception เป็นสัญญาขันธ์ ของเด็กคนนั้น ในขณะนั้น นี่เป็นอันดับที่ ๔ คือ สัญญาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เมื่อเขามี Perceive Perception พอแล้ว มันก็เกิด Concept คือความคิด เขาจึงเกิดความคิด ที่จะจับนก ตัวนี้ ดักนกตัวนี้ หรือหาวิธีเอานกตัวนี้ไปขายให้ได้ นี่คือ Conception เป็น Sequence ที่ ๕ แต่ว่า ตามลำดับใน การห้อง…ในห้องเรียนไม่เรียง ไม่ ไม่อย่างนี้ อย่างที่บอกมาแล้ว เอาวิญญาณขันธ์มาเป็นอันดับที่ ๕ แต่ความ เป็นจริง ในการกระทำตามธรรมชาตินั้น ไอ้ Conception นั้นน่ะเป็น Sequence ที่ ๕ Perception ทำให้เกิด Conception เด็กรู้ค่าของนกแล้ว ก็มีความคิดที่จะจับไปขาย แล้วก็มีการกระทำคือการจับไปขาย
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอพูดซ้ำอีกที ซ้ำอีกที เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจน ว่าไอ้ตาของเด็ก The Boy นั่น กับนกที่เขาเห็นน่ะ นี้เป็นรูปขันธ์ข้างนอกและข้างใน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
พอรูปขันธ์ ๒ ฝ่าย Depend แก่กันและกันแล้ว ก็เกิด Conciousness ที่ตาของเด็กนั่นแหละ มี Conciousness นี่เรียกว่า วิญญาณขันธ์ วิญญาณขันธ์เกิดตรงนี้ แต่เรียงลำดับจะไปไว้ที่ ๕ ในการศึกษาไปไว้ที่ ๕ แต่โดยที่เป็นจริงตามธรรมชาติ มันเกิดตรงนี้ วิญญาณขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เด็กคนนั้นเขาพอใจในความสวยงาม อ่า, ของนกตัวนั้นเป็น Feeling ขึ้นมา นี่เรียกว่า เวทนาขันธ์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เด็กรู้สึกว่า ถ้าจับไปขายจะได้เงินมาก นี่เป็นสัญญาขันธ์ Perception
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แล้วเด็กก็มี Conceive พยายามจับไปขายจนได้ ความคิดนี้เรียกว่า Conception หรือสังขารขันธ์ สังขารขันธ์ อ่า, Conception
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นี่จะเกิดการสับสนขึ้นมา จะ Confuse ขึ้นมา เพราะว่าเกิดรูปขันธ์ แล้วจึงเกิดวิญญาณขันธ์เป็น Sequence ที่ ๒ แต่เขาเอาวิญญาณขันธ์ไปไว้ Sequence ที่ ๕ เป็นขันธ์ที่ ๕ นี้ระวังให้ดี พูดตามความจริงของ ธรรมชาติ วิญญาณขันธ์เป็นขันธ์ที่ ๒ แล้วจึงเกิดเวทนา Feeling เกิด Perception Conception ไอ้วิญญาณขันธ์ ซึ่งทำหน้าที่อันดับที่ ๒ นี่ เอามาไว้ที่ ๕ เพราะมันมีความหมายมาก มันมีความหมาย ว่ามัน… Concious อ่า, ใน ในรูปขันธ์ก็ได้ แล้วมันจะมี Concious ในเวทนาขันธ์ ในสัญญาขันธ์อีกก็ได้ แล้วมีความหมาย ว่าเป็นใหญ่ เป็นประธาน เป็น Perpetual อัตตา Perpetual self , Perpetual soul ก็ได้ ไอ้วิญญาณขันธ์ คำนี้ จึงถูกเอามาไว้ที่ ๕ ถ้าไม่เข้าใจความจริงข้อนี้ จะสับสนหมดว่าขันธ์ ๕ นี่ เรียงลำดับอย่างไร เรียงตามธรรมชาติก็ รูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ แต่ถ้าเรียง เรียงอย่างในห้องเรียน เรียนๆอย่างเรากำลังเรียนนี้ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ แล้วก็วิญญาณขันธ์มาอยู่ที่ ๕ นี่ช่วยจำให้ดีๆ ไอ้ Sequence นี้มันยุ่ง แล้วแต่ว่าเราจะเรียงตามธรรมชาติที่เป็นจริง หรือว่าที่เราจะเอามาเรียง อย่างการศึกษาเป็น Philosophy หรือเป็น อะไร มันเรียงอีกอย่างหนึ่งต่างหาก นี่การเรียงลำดับของเบญจขันธ์ นี่มันยุ่งอย่างงี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทีนี้ก็มาถึงตัวปัญหาจริงๆ คือว่า เมื่อมี Attachment Attachment ในขันธ์ใด ในขันธ์ใด ขันธ์นั้นจะเป็น ของหนัก เป็น Burden ขึ้นมาทันที ถ้า Attach ครบ ทั้ง ๕ ขันธ์ก็ยิ่งหนักใหญ่ หนัก ๕ เท่า นี่จงสังเกตดูให้พบ ความจริงข้อนี้ว่า Attach , Attach to , Cling to , Drag at (45.12) นี่ ในขันธ์ใด มันจะเป็นของหนักขึ้นมาทันที หนักแก่จิตใจ จิตใจก็กลายเป็นผู้ถือของหนัก นี่เป็นความทนทรมาน นี่เรียกว่า ความทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ แต่ละขันธ์ หนักเมื่อยึดถือ หนักเมื่อยึดถือ เป็นทุกข์เมื่อยึดถือ จะเป็นทุกข์ต่อเมื่อยึดถือ เพราะมันเป็นของหนัก เพราะยึดถือ มันหนัก เพราะหนักมันจึงเป็นทุกข์ คำพูดจึงมีสั้นๆ ว่า “จะเป็นทุกข์ก็ต่อเมื่อยึดถือ” สิ่งที่ถูกยึดถือ ก็คือขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ใดขันธ์หนึ่ง
/เสียงภาษาอังกฤษ/
แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าชีวิต ชีวิต นี่ถ้าจิตยึดถือชีวิตเป็นตัวฉัน เป็นของฉัน จิตก็แบกของหนัก และเป็นทุกข์ จิตจะเป็นทุกข์ เมื่อยึดถือชีวิตว่าเป็นของฉัน ถ้าจิตวางไว้กลางๆไม่ต้องเป็นของฉัน แล้วก็จัดการ ไปตามที่ควรจะ จัดการ มันก็ไม่เป็นทุกข์ ชีวิตก็ไม่เป็นทุกข์ ชีวิตจะกลายเป็นทุกข์ เป็นของหนักก็ต่อเมื่อยึดถือ ต่อเมื่อยึดถือ ต่อเมื่อ Attach to
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ใจความสำคัญ จึงมีว่า เราจะมีชีวิตชนิดที่ไม่มีความยึดถือ มีชีวิตชนิดที่ไม่มี Attachment ใจความสำคัญ อยู่ที่คำนี้ จะมีชีวิตเบา ชีวิตอิสระ เพราะไม่มีความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด ไม่ Engage ในสิ่งใด นั่นแหละ เรียกว่า ชีวิตที่ไม่ถูกยึดถือ
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ได้พูดเมื่อวานแล้วว่า ธรรมะเป็น Highest Art , Highest น่ะ Highest Art สามารถจะมีชีวิต ที่ไม่ยึดถือนี่ การที่เรามีชีวิตชนิดที่ไม่ยึดถือได้นี่เป็น Art เป็น Art ที่สูงสุด คือไม่ให้เกิดความทุกข์ใดๆ แต่ว่ามันเป็นทาง Spiritual Art นี่ขอให้เข้าใจไว้เถอะว่า ความยึดถือหรือไม่ยึดถือนี่ มันต่างกันมาก ในสิ่งๆเดียวกัน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ยึดถือในสิ่งใด มันก็มีวิตกกังวลในสิ่งนั้น จะเรียกว่า Anxiousness Anxiousness ในสิ่งใด มันก็เป็น ภาระหนักมาท่วมทับจิตใจ ฉะนั้นความยึดถือจึงเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เราจะมีชีวิตชนิดที่ว่าง Void Void จากความยึดถือ นี่ความมุ่งหมายของพระพุทธศาสนา หัวใจของธรรมะอยู่ที่ตรงนี้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ตัวอย่างเช่นเงิน เรามีเงิน เรามีเงิน เราไปฝากไว้ในธนาคาร อยู่ในธนาคาร แต่ถ้าเรายึดมั่นถือมั่นว่าของเรา หรือเงินของเรา มันจะไม่อยู่ที่ธนาคารน่ะ แต่มันมาอยู่บนศีรษะเรา มาอยู่บนศีรษะเรา เงินมาอยู่บนศีรษะเรา เมื่อเรายึดถือว่าเงินของเรา ทั้งที่เราไปฝากไว้ในธนาคาร นี่แยกดูให้เห็นชัดซิ แยกดูให้เห็นชัด ยึดถือกับไม่ยึดถือ น่ะ มันต่างกันอย่างไร Discriminate ข้อนี้ ให้เห็นว่ายึดถือกับไม่ยึดถือ นี่ต่างกันอย่างไร
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เรามีครอบครัว มีทรัพย์สมบัติ มีอะไรมากมายหลายอย่าง ทรัพย์สมบัติมากอย่างเหลือเกิน ถ้าเรายึดถือ หรือ Attach มันก็มาอยู่บนศีรษะเราทั้งนั้นเลย แต่ถ้าเราไม่ยึดถือ ไม่ Attach มันก็อยู่ตามที่ของมัน มันอยู่ตามที่ ของมัน มันไม่เป็น Burden แก่ชีวิตของเรา มันจะหนักหรือไม่หนัก จะทุกข์หรือไม่ทุกข์ มันก็อยู่ที่ว่า ยึดถือหรือ ไม่ยึดถือ ถ้าไม่ยึดถือ มันก็อยู่ตามที่ตามทางของมัน พอยึดถือมันมาอยู่บนศีรษะเรา บนหัวใจของเรา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าเรายึดถือโลก โลกทั้งหมดมาอยู่บนศีรษะเรา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
นั่นมันเป็นสิ่งภายนอก เราจะยึดถือหรือจะไม่ยึดถือก็ได้ มันเป็นสิ่งภายนอก แต่เดี๋ยวนี้ มันมีสิ่งภายใน ภายใน ที่เรายึดถืออยู่ตลอดเวลา คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้ง ๕ นี้ เรายึดถืออยู่ ตลอดเวลา เราก็ทนทุกข์อยู่โดยไม่รู้สึกตัว เราไม่รู้สึกตัว ยึดถือไม่รู้สึกตัว ทนทุกข์โดยไม่รู้สึกตัว ฉะนั้นมารู้สึกตัวเสีย วางสิ่งที่ยึดถืออยู่ตลอดเวลานี้เสีย ชีวิตนี้จะไม่มีความทุกข์
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เราไม่มีความรู้เรื่องนี้มาแต่ในท้องของมารดา เราจึงออกมาจากท้องของมารดาอย่างคนโง่ ออกมาอย่าง คนโง่ ก็ยึดถือนั่นนี่ ทุกสิ่งทุกอย่าง โดยความเป็นอัตตา จึงมีความทุกข์ เรามาศึกษาเรื่องนี้ให้เป็นผู้ฉลาด เป็นผู้มี ความรู้และไม่โง่ แล้วก็มีชีวิตชนิดที่ไม่ยึดถือว่าเป็นอัตตา มีชีวิตชนิดที่ไม่ต้องยึดถือว่าอัตตา ดำเนินชีวิตที่เบา ที่สบาย ที่เยือกเย็น ที่ Free ที่สุด Free ไม่ถือของหนักใดๆ นี่ เป็นความมุ่งหมายของธรรมะ ว่าธรรมะทำไมกัน ธรรมะเพื่อมีชีวิตชนิดที่ Free ไม่ยึดถือสิ่งใดๆ โดยความเป็นของตน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ท่านฟังถูกไหม ที่จะพูดว่า เราทุกคนติดคุก ติดคุก ติดตารางน่ะ ติดคุกแห่งตัวตนอยู่ตลอดเวลา โดยสมัครใจ เราไม่รู้สึกตัว เราก็สมัครใจที่จะติดคุก เพราะเรามีอวิชชา แล้วก็ยึดถือทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ยึดถือสิ่งใด สิ่งนั้นก็เป็นคุก เป็นตาราง เป็นทุกข์ทางจิตใจของเรา นี่เราอยู่ด้วยความทุกข์โดยไม่รู้สึกตัว โดยไม่รู้สึกตัว เรามาศึกษาธรรมะเพื่อออกจากคุกเหล่านี้ เพื่อหลุดจากคุกเหล่านี้ นี่ว่าธรรมะทำไมกัน ธรรมะเพื่อหลุดออก จากคุก ที่เราสมัครใจจะติดกันอยู่ตลอดเวลา
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ทั้งหมดนี้เป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ธรรมะทำไมกัน ธรรมะ ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ อ่า, ก็เพื่อรู้ กฏของธรรมชาติ รู้ตัวธรรมชาติ รู้ตัวกฏของธรรมชาติ แล้วเราสามารถดำเนินชีวิตชนิดที่ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ รู้กฏของธรรมชาติ ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฏของธรรมชาติ เราก็ไม่มีปัญหา เราก็ไม่มีความทุกข์ นี่เรื่องขันธ์ทั้ง ๕ เป็นเรื่องกฏของธรรมชาติ รู้แล้วจะสลัดออกไปได้ คือออกจากคุกได้
/เสียงภาษาอังกฤษ/
วันนี้เราได้พูดกันถึงเรื่อง ขันธ์ ๕ อ่า, โดยบริบูรณ์ สม...โดยครบถ้วนแล้ว วันหลังเราจะพูดถึงวิธีที่เราจะ อยู่เหนืออำนาจของขันธ์ ๕ ไม่ให้ขันธ์ ๕ มี เป็นความทุกข์แก่เราอีกต่อไป คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท รู้เรื่องขันธ์ ๕ ที่เป็นตัวปัญหา แล้วก็รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ซึ่งจะเป็นสิ่งที่แก้ปัญหา แล้วก็จะหมด หมดทั้งพระพุทธศาสนา เป็นแน่นอน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ถ้าท่านประสบความสำเร็จ ในการปฏิบัติอานาปานสติ ท่านจะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วท่านจะ ขจัดปัญหาทั้งหมด เกี่ยวกับขันธ์ทั้ง ๕ ได้ ขอให้ท่านสนใจพยายามในการปฏิบัติอานาปานสติ ให้เป็นอย่างยิ่งด้วยกันทุกคน
/เสียงภาษาอังกฤษ/
ขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ฟังด้วยความอดทน อดกลั้น อดทน เป็นผู้ฟังที่ดีมากว่า ๒ ชั่วโมงแล้ว สมควรแก่เวลาแล้ว ก็ขอยุติการบรรยายสำหรับวันนี้ แล้วก็ขอปิดประชุม
/เสียงภาษาอังกฤษ/
เอ้า ให้แจก ให้แจก ต้นไม้ต้นนั้นน่ะ ดอกมี ต้นไม้ ต้นนั้น
/เสียงภาษาอังกฤษ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) ท่านอาจารย์เรียกว่า มะลิอินเดียใช่ไหมเจ้าค่ะ
/หัวเราะ/ ต้องเรียกอย่างนั้นน่ะ Indian Jasmine
/เสียงภาษาอังกฤษ/
คือพุทธศาสนา
(เสียงผู้บรรยายแปล) ทำไมถึงเป็นพุทธศาสนา
Indian Jasmine น่ะคือพุทธศาสนา /หัวเราะ/
(เสียงผู้บรรยายแปล) ไม่เข้าใจที่เป็นพุทธศาสนาค่ะ Indian Jasmine
ดอกไม้หอมของอินเดีย คือพุทธศาสนา