แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อาตมาขอแสดงความยินดีในการที่เราได้มาพบกันอีก ในลักษณะเช่นนี้ คือทำความเข้าใจอันเกี่ยวกับเรื่องสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ แต่ก็อยากจะทำความเข้าใจในเรื่องเบ็ดเตล็ดเล็กๆน้อยๆก่อนตามเคย คือเรื่องที่เราใช้ในโลกชีวิตเวลา ๕ น. อย่างนี้ให้เป็นประโยชน์ อีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องการเดินจากเซนเตอร์มาที่นี่ ในลักษณะที่เรียกว่าเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน การเดินมานี่โดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน
สำหรับการใช้โลกเวลา ๕ น. ให้เป็นประโยชน์นั่น อยากจะเรียกว่าเป็นความลับของธรรมชาติ คล้ายๆกับว่าธรรมชาติจัดเวลา ๕ น. ไว้ให้เราใช้เพื่อทำความก้าวหน้าในทางจิตใจ โลกเวลา ๕ น. เป็นโลกที่ว่าเบิกบานออกไปสู่ความเป็นอย่างอื่นที่เหนือไปกว่าที่แล้วมา มันเป็นเวลาที่มีความหมายตรงกับคำว่าพุทธะ ที่แปลว่าตื่น ตื่นจากหลับ ตื่นกิเลส คือตื่นจากการนอนอันใหญ่หลวง ตื่นออกมาจากความหลับ เวลา ๕ น. เป็นเวลาที่ธรรมชาติกำหนดไว้เป็นเวลาที่จะตื่นจากการหลับสู่ชีวิตอันใหม่แล้วแต่จะเรียก เวลาอย่างนี้เป็นเวลาที่ดอกไม้ทั่วๆไปมันเริ่มบานคือคลี่กลีบ สัตว์ทั้งหลายก็ตื่น ได้ยินไก่ขันเซ็งแซ่ไปหมด มันจะขึ้นเวลาใหม่ ซึ่งเป็นระยะเวลาหนึ่งซึ่งจะตื่นขึ้นมาจากความเก่าหรือวันเก่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในเวลาอย่างนี้เวลา ๕ น. ๖ น. เป็นเวลาที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ นี่เรียกว่าเป็นเรื่องของธรรมชาติหรือตามธรรมชาติอยู่มากทีเดียว ขอให้เราได้รู้จักใช้ให้เป็นประโยชน์เต็มที่ เมื่อเพื่อนของเรากำลังนอนหลับอยู่ เราต้องมาตื่นเพื่อทำในสิ่งที่เหมาะสมที่สุดกับเวลาที่จิตใจกำลังเบิกบานที่สุด จิตใจกำลังเบิกบานที่สุดเราใช้ทำเรื่องที่ลึกที่ยากที่เหมาะสมที่สุดนี้เรียกว่ามันสมกัน แต่มันฝืนนิสัยของคนที่ไม่เคยทำ แต่ถ้าทำไปๆมันก็จะไม่ฝืนนิสัย พอตื่นก็ฝึกจับปากกาเขียนบันทึกความคิดใหม่ๆวันนั้นเลย ทำได้กระทั่งว่าไม่ต้องไปห้อง Lect. ไม่ต้องไป Lect. Room ไม่ต้องไปห้อง Lect. ลืมตาขึ้นมาก็เขียนหนังสือกันแล้ว อย่างนี้ก็เป็นเรื่องที่ทำได้ ก็ขอให้ลองดู
มันเป็นเวลาที่เหมาะสมที่สุดที่จะรับของใหม่เข้ามา และเหมาะสมที่สุดที่จะขยายของเก่าคือความรู้เก่าๆออกไปให้กว้างขวางต่อไป ในการรับเข้ามาใหม่ก็ดี ขยายของเก่าออกไปก็ดี เหมาะสมที่สุดที่จะใช้เวลาอย่างนี้ ในการที่จะรับของใหม่เข้ามา มันเหมาะที่ว่าจิตใจกำลังพร้อม คือว่างอยู่ พร้อมที่จะรับของใหม่เข้ามา พวกเซนเขาชอบเรียกกันว่า เวลาที่น้ำชายังไม่ล้นถ้วย คือยังไม่ได้ใส่ลงไป มันยังมีที่ว่างที่จะใส่ได้ ถ้าเป็นเวลาเช้าเวลาสายเวลาบ่าย น้ำชามันเต็มถ้วย ยากที่จะใส่อะไรลงไป เป็นเวลาที่น้ำชายังไม่ล้นถ้วย เหมาะที่จะเติมอะไรลงไป สำหรับการที่จะขยายสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เบิกบานกว้างขวางต่อไปอีกนั้น มันก็เหมาะสมสำหรับจิตที่กำลังสดชื่นแจ่มใสเพราะได้พักผ่อนมาพอสมควร จะคิดอะไรได้ดีคิด ได้เร็ว คิดได้กว้างขวาง คิดจะจำอะไรก็จำได้ดีอย่างนี้เป็นต้น นี่จึงเห็นว่าแม้เราจะขยายความรู้ที่มีอยู่แล้วให้กว้างๆไกลออกไป มันก็เป็นเวลาที่เหมาะ จึงขอร้องว่าท่านทั้งหลายจงได้พยายามอย่างยิ่งที่จะใช้เวลาโลก เวลา ๕ น. นี้ให้เป็นประโยชน์ที่สุด ให้เต็มตามความหมายของมัน
เมื่อพูดถึงคำว่าตื่นหรือตื่นนอน ก็ขอให้มันเป็นได้ทั้งสองความหมาย คือทางร่างกาย ทาง Physical นี่ก็ขอให้เป็นไปอย่างหนึ่งถูกต้อง หรือดีที่สุด ส่วนที่เป็นในทางจิตใจ คือทางสติปัญญา ในทาง Spiritual นั้น ก็ให้มันเต็มที่ให้มันดีที่สุด มันเป็นการตื่นที่ดีที่สุด ที่สมบูรณ์เตรียมพร้อมที่สุด ทั้งทางร่างกายทั้งทางจิตใจ เรามีความประสงค์อย่างนี้ จึงได้มาพูดกันถึงข้อนี้เป็นพิเศษ เมื่อเราได้ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ หนึ่งชั่วโมงเพิ่มออกไปอย่างนี้ มันก็เท่ากับมีชีวิตยืนออกไป ยืดยาวออกไปวันละหนึ่งชั่วโมง ตลอดชีวิตมันกี่ชั่วโมงก็ลองคิดดู ขอให้เราได้รับประโยชน์หรือเรียกว่าได้กำไร มีชีวิตที่เพิ่มออกไปวันละหนึ่งชั่วโมง เป็นชั่วโมงพิเศษเป็นชั่วโมงลึกซึ้งสูงสุดถึงเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด ขอให้พยายามทำให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมายอันนี้ด้วยกันทุกท่าน ที่นี้ก็มาถึงการเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดินจากเซนเตอร์มาถึงที่นี่ อาตมาขอย้ำ ย้ำอย่างนี้ว่ามานี่เป็นการฝึกหัวใจของพระพุทธศาสนา หรือพระพุทธศาสนาในขั้นที่เป็นหัวใจ หัวใจเพียงอย่างเดียวของพระพุทธศาสนา คือการมีชีวิตโดยไม่ต้องมีตัวผู้มี ท่านคิดดูเดินมาโดยไม่ต้องมีผู้เดิน หมายความไปถึงอย่างอื่นด้วยว่าจะกินอาหารก็ไม่ต้องมีผู้กิน หรือจะทำอะไรก็ตามในลักษณะที่ไม่มีผู้ทำ นี่เรียกว่ามีชีวิตโดยไม่ต้องมีผู้มีชีวิต ไม่ต้องมีตัวกู ผู้มีชีวิต หรือตัวกูผู้เป็นเจ้าของชีวิต ขอให้ท่านจับเอาความหมายหรือใจความสำคัญของคำๆนี้ให้ได้ ให้เห็นหัวใจของพระพุทธศาสนา มันจะง่ายดายในการที่จะปฏิบัติต่อไปๆจนถึงจุดสุดท้าย การปฏิบัติอย่างนี้นำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาอย่างอื่นๆยิ่งๆขึ้นไป เช่น เห็น มีการเห็นโดยไม่ต้องมีตัวผู้เห็น ระบบประสาทตาเห็นรูปโดยไม่ต้องมีตัวกูเห็นรูป ระบบประสาทหูได้ยินเสียง ก็มีการได้ยินของระบบประสาทหูโดยไม่ต้องมีตัวกูเข้าไปแทรกแซง จมูกได้กลิ่นก็เหมือนกัน เป็นระบบประสาทของจมูกไม่ต้องมีตัวกูได้กลิ่น ลิ้นได้รสก็ไม่ต้องมีตัวกูเข้าไปได้รส สัมผัสทางผิวหนังทั่วๆไปก็เรียกว่าสัมผัสทางผิวหนังไม่ต้องมีตัวกู จะคิดนึกอะไรก็เป็นเรื่องของจิตเป็นการกระทำของจิต โดยไม่ต้องมีตัวกู ถ้าทำได้ทั้งหกอย่างนี้ คือทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจแล้ว มันก็เรียกว่า มีการกระทำที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และจะได้รับผลประโยชน์อานิสงค์อย่างสูงสุดจากการกระทำอันนี้
ท่านจงสังเกต ศึกษาหรือสังเกตให้ดีเป็นพิเศษ ถ้ามันต่างกันอย่างมากมายเพียงไรในการที่ว่า ตาเห็นรูปกับกูเห็นรูป เด็กๆก็เรียกว่าเหมือนกันแต่ว่าโดยแท้จริงแล้วมันต่างกันมาก ระบบประสาทตาเห็นรูปตามธรรมชาติ เป็น Mechanism ของธรรมชาติ แต่ถ้ากูๆเห็นรูปนี่ มันต่างกันมาก มันมีความหมาย ที่เกิดผลแก่จิตใจ ในทางเป็นบวกในทางเป็นลบ ในทางเกิดความต้องการในทางความยึดมั่นถือมั่น ไปไกลกันถึงอย่างนั้น และมันไกลกันมาก เพียงแต่ว่าตาเห็นรูปกับกูเห็นรูปนี่มันต่างกันลิบลับ
อย่างแรกคือตา ระบบประสาทตาเห็นรูป มันเป็นการทำหน้าที่ของสติ Mindfulness หรือปัญญา Wisdom ความรู้รอบคอบ Attentiveness อะไรก็ตาม มันเป็นการทำหน้าที่ของสิ่งเหล่านั้น แต่ถ้าว่ากูเห็นรูป มันกลายเป็นทำหน้าที่ของกิเลสทั้งกิเลส โดยเฉพาะอย่างยิ่งของอุปาทาน Attachment มันต่างกันมากถึงขนาดนี้ อันหนึ่งทำด้วยสติปัญญาตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีตัวกูเข้าไปเกี่ยวข้อง อันหลังนี้ทำด้วยความรู้สึกของตัวกูๆๆเข้าไปเกี่ยวข้อง มีผลให้เกิดเป็นบวก เป็นลบ เป็นยินดี เป็นยินร้าย กลายไปนู่น ปัญหามันก็มาก นี่เราดำเนินชีวิตชนิดที่ไม่ต้องมีตัวกู มีแต่ความถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติของสิ่งที่เกี่ยวข้อง มันก็รู้จักทำให้ปลอดภัยได้ด้วยอำนาจของสติปัญญา ถ้าเอาตัวกูๆเข้าไปเกี่ยวข้อง มันก็จะทำตามอำนาจของความเห็นแก่ตัวกู Selfishness มันจะบังคับ มันไม่ใช่สติปัญญาบังคับ ผลก็ต่างกันมาก อันหนึ่งก็นำไปสู่สติปัญญา อันหนึ่งก็นำไปสู่ความโง่เขลา คืออวิชชา ให้มันต่างกันมากยิ่งกว่าฟ้ากับดิน
ความลับมันมีอยู่นิดเดียวที่ตรงนี้ว่า ถ้าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ล้วนๆ รับอารมณ์เห็นอารมณ์ทำหน้าที่ไปตามเรื่องของธรรมชาติ นี่ชีวิตนี้ยังเป็นของเบา แต่พอมีตัวกูๆเข้ามาด้วยความโง่ เป็นกู เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่นลิ้มรส โผฏฐัพพะธรรมารมณ์แล้ว ชีวิตนี้จะเป็นของหนักๆ ชีวิตเบาชีวิตหนักมันต่างกันมาก มันหนักเพราะมีตัวกู เพราะมันต้องถือตัวกู แบกตัวกู ชูไว้ที่ตัวกู ของหนักมันอยู่ตรงที่ความมีตัวกู ถ้าอย่ามีตัวกูเข้ามามันก็ยังไม่มีของหนัก เราจะฝึกฝนในการที่จะมีชีวิตชนิดที่เป็นของเบา คือไม่เป็นของหนัก จึงได้ฝึกฝนในการกระทำโดยไม่ต้องมีตัวผู้กระทำทุกๆกรณี
อย่างแรกมันมีสติปัญญาสัมปชัญญะเหล่านี้เป็นผู้กระทำ อย่างหลังมันมีกิเลสตัณหาอุปาทานว่าตัวกูของกูเป็นผู้กระทำ มันต่างกันเหลือประมาณ ถ้าไม่ได้ศึกษาก็จะไม่รู้ เด็กๆจะไม่รู้ในข้อนี้ นี่ต้องศึกษาให้รู้ว่าถ้าทำไปด้วยสติปัญญากับกระทำไปด้วยกิเลสตัณหามันต่างกันมาก อย่างหนึ่งมันมีตัวกู อย่างหนึ่งมันไม่มีตัวกู มีตัวกูที่ไหนก็มีความหนัก มีความหนักที่นั่น มีปัญหาที่นั่น มีความทุกข์ที่นั่น ขอให้มองเห็นความแตกต่างอันนี้อย่างลึกซึ้ง ถูกต้องเพียงพอ ก็จะเป็นการง่ายในการที่ท่านจะเข้าใจถึงหัวใจแห่งพระพุทธศาสนา บางคนจะถามขึ้นมาว่าถ้าไม่มีตัวกูแล้วจะมีการกระทำได้อย่างไร ถ้าไม่มีตัวกูจะมีสติปัญญาของใคร นี่แสดงว่าเขาไม่เข้าใจความลับเรื่องนี้ของธรรมชาติ ตัวกูเป็นผีหลอกเพิ่งเกิดทีหลัง มันโง่ในสิ่งเหล่านั้น แล้วก็ตัวกูที่เป็นผีหลอกก็เกิดขึ้นมา ตัวกูไม่ใช่ของจริงไม่ใช่ตัวจริง มีแต่สิ่งที่มีอยู่จริง เป็นเพียงความนึกคิดรู้สึกอย่างโง่เขลา และมันเป็นเพียง Concept ของจิตที่โง่เขลา ไม่ใช่ตัวจริงอะไร นี่ธรรมชาติมันมีความลับของมันอย่างนี้ แล้วมันค่อยๆยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวกูของกูขึ้นมา ตั้งแต่คลอดจากท้องแม่แล้วมันก็มีตัวกูของกูขึ้นมา มันก็ทำอะไรไปด้วยความรู้สึกอย่างนั้น มันก็เป็นทุกข์ การที่ไม่โง่ต่อธรรมชาติ มารู้ความจริงไม่ให้เกิดตัวกูของกูนี้ มันจึงเป็นเรื่องที่สูงสุดของสติปัญญา หรือของคำว่าพุทธะๆ แปลว่าผู้รู้ผู้ตื่นจากหลับ และก็เป็นผู้เบิกบาน ขอให้รู้จักความลับของธรรมชาติว่ามีอยู่เป็นสองประการอย่างนี้ ท่านลองสังเกตดูง่ายๆอย่างนี้ว่า ระบบประสาทตามันเห็นรูปก่อนแล้ว เสร็จแล้ว มันถึงจะเกิดConcept หรือความรู้สึกว่ากูเห็นรูป กูเห็นรูปจะเกิดก่อนตาเห็นรูปไม่ได้ กูมันพลอยเป็นผีหลอก พลอยผสมโรงพลอยเกิด หลังจากการที่ว่าตาเห็นรูป จึงเกิดความโง่ว่ากูเห็นรูป ครั้นจากหูได้ยินเสียง มันก็เกิดความโง่ว่า กูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นเสร็จแล้ว มันจะเกิดรู้สึกว่า กูได้กลิ่น อย่างนี้ไปทั้งหกอย่างแหละ ฉะนั้นตัวกูก็เกิดทีหลัง และไม่ใช่ตัวจริง ไม่ใช่ของจริง เป็นความโง่ชนิดที่ผีหลอกมาพลอยเกิด ฉะนั้นให้ดูดีๆว่าพลอยเกิดเป็นตัวกู เป็นของกู มันไม่ใช่ของจริง ฉะนั้นแยกการรู้สึกโดยระบบประสาทออกมาเสียจากคำว่ากูๆๆเป็นผู้รู้สึก นี่บทเรียนขั้นแรกขั้นต้นที่สุด ก็ขอบอกตามที่สุด (นาทีที่ 39.25) ของการที่จะศึกษาและปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา
เราอาจจะบอกให้เด็กๆให้เข้าใจหรือมองเห็นได้ ว่าถ้ามันไม่มีการกระทำหรือรู้สึกในการกระทำทางตาทางหู ทางจมูก อย่างนี้แล้ว ตัวกูไม่มีมาเกิด ตัวกูไม่มีทางจะเกิด ไม่มีโอกาสจะเกิด มันต้องมีการกระทำหรือรู้สึกรู้รสของการกระทำทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ตัวกูมันจะมาพลอยเกิด ตัวกูจึงเป็นเพียงผีหลอก เป็นเพียงแต่ปฏิกิริยาของการกระทำทางอายตนะ ของอายตนะ มีการกระทำทางอายตนะ ตาเห็นรูป หูฟังเสียง จมูกได้กลิ่นเหล่านี้เป็นต้นแล้ว อวิชชามันครอบงำตอนนั้น ให้เข้าใจไปในทางว่ากูๆ กูเห็นรูป กูฟังเสียง กูดมกลิ่น กูลิ้มรส อวิชชาจึงเป็นเงื่อนต้นของการเกิดปัญหา เป็นสิ่งแรกของปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ถ้าอวิชชาไม่เข้ามาสวมรอยเอาเองอย่างนี้แล้ว ตัวกูไม่มี ตัวกูไม่มี ของกูก็ไม่มี จงรู้ว่าตัวกูนี้เป็นผีหลอก เป็นปฏิกิริยาเกิดมาจากการรู้สึกอารมณ์หรือเสวยอารมณ์ของสิ่งที่เรียกว่าอายตนะ
เมื่อเด็กๆเขาเดินไปโง่ๆหัวชนเสา หัวชนเก้าอี้ เขาเจ็บแล้ว เขาเจ็บซะก่อนแล้วเขาจึงจะเกิดความรู้สึกว่ากูเจ็บๆ ตอนนั้นไม่รู้ว่ากูอยู่ที่ไหน กูไม่ได้มีอยู่สำหรับทำความเจ็บ หรือรอความเจ็บ มันไม่ได้มีอยู่ กูๆมันจึงมิใช่มีตัวจริง มันเป็น Reaction ที่เกิดมาจากการกระทำ หน้าที่หรือรู้สึกอารมณ์ของพวกอายตนะทั้งหลาย เด็กๆก็จะเข้าใจได้ พอแกรู้จักว่ากูเจ็บก่อนหัวชนเสาหรือทีหลังหัวชนเสา เมื่อมันเจ็บแล้ว มันจึงรู้สึกว่ากูเจ็บ นี่เรียกว่ากูผีหลอก ถ้ามาศึกษาธรรม ปฏิบัติธรรมหรือวิปัสสนาเพื่อจะรู้จักความจริงข้อนี้ กำจัดสิ่งที่โง่ๆว่าตัวกูของกูออกไปเสียให้หมด ปัญหาก็หมด
ขอเน้นกลับมาอีกทีว่า ถ้าว่าไม่มีตาเห็นรูปก็ไม่มีกูเห็นรูป ถ้าไม่มีหูได้ยินเสียงก็ไม่มีกูได้ยินเสียง ถ้าไม่มีจมูกได้กลิ่นก็ไม่มีกูได้กลิ่น หรือว่าถ้าเราไม่มีอายตนะเหล่านี้ ในโลกนี้ก็ไม่มีอะไรอยู่ เดี๋ยวนี้มันมีตา หู จมูก ลิ้นกาย ใจ พอทำอะไรเข้าไปก็โง่ทุกทีว่ากูกระทำ ขอให้แยกเป็นสองตอนว่าการกระทำอย่างบริสุทธิ์ล้วนๆของระบบประสาทตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่อย่างหนึ่ง แล้วอันหนึ่งมันเป็นการกระทำของความรู้สึกว่าตัวกูของกู มันเป็นกิเลสตัณหา เป็นอุปาทานซึ่งมาจากอวิชชาอีกเป็นอีกอย่างหนึ่ง ท่านจงพยายามศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดความแตกต่างระหว่างสิ่งทั้งสองนี้ คือการกระทำทางอายตนะ ตามธรรมดาของธรรมชาติทำด้วยสติปัญญาสัมปชัญญะ อีกอันหนึ่งมันทำด้วยอวิชชาความโง่ว่าตัวกูว่าของกู มันต่างกันกี่มากน้อย
ในที่สุดท่านก็เห็นได้ว่าถ้าไม่มี Concept ว่าตัวกูเกิดขึ้นแล้ว มันก็ไม่มีเรื่องอะไรที่เป็นความทุกข์ มีอะไรเกิดขึ้นมา สติปัญญาสัมปชัญญะมันก็แก้ไขไปตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ไม่ต้องเกิดตัวกูของกู เพราะพอเกิดตัวกูของกู ผีหลอกเข้ามาเมื่อไร มันก็เกิดปัญหาต่อไป ปัญหาต่อไปมากมาย เกิดความรู้สึกเป็นบวก เป็นลบ แล้วก็ดีใจ ก็เสียใจ ก็เกิดความรู้สึกหลายๆขั้นตอน เกิดความรัก เกิดความโกรธ เกิดความเกลียด เกิดความกลัว เกิดความตื่นเต้น วิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หวงหึง มากมาย ถ้ามันมีตัวกู หยุด จะได้ไม่ให้มันเกิดตัวกู เราก็ไม่มีปัญหา ก็คือไม่มีความทุกข์ เป็นความฉลาดอย่างยิ่งที่ได้มาศึกษาเรื่องนี้ คือวิธีที่จะไม่ให้ตัวกูเกิดโดยประการทั้งปวง ขอให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องของเราหรือหัวใจของพระพุทธศาสนาก็ตาม ว่ามันจะต้องมาพบกันที่จุดนี้ก็คือไม่เกิดตัวกูในทุกๆกรณี
เพียงเท่านี้ท่านก็จะมองเห็นได้เองแล้วว่า เราจะมาเรียนหรือปฏิบัติพุทธศาสนากันไปถึงไหน มันจะไปมีจุดจบลงที่ตรงไหน มันก็ตอบได้สั้นๆว่ามันไปมีจุดจบลงที่ว่าหมดตัวกู ไม่อาจจะเกิดตัวกู นี่แหละจุดจบของการศึกษาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา เมื่อไม่เกิดตัวกูของกูอย่างนี้แล้ว มันไม่อาจจะเกิดกิเลสใดๆ ราคะ โทสะโมหะ มันก็ไม่อาจจะเกิด มันก็จบจบ จบมหาวิทยาลัยของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านสอนว่าอย่างนั้น ปริญญาของพุทธบริษัทคือ ราคกฺขโย โทสกฺขโย โมหกฺขโย นี่ปริญญาสาม เหมือนกับเรียนมหาวิทยาลัยเรียนจบปริญญาประกาศนียบัตรอะไรไปตามเรื่อง แต่ว่าถ้ามาเรียนพระพุทธศาสนา ปริญญาได้รับเมื่อจบบทเรียน คือสิ้นไปแห่งราคะ สิ้นไปแห่งโทสะ สิ้นไปแห่งโมหะ นั้นคือสิ้นไปแห่งตัวกู สิ้นสุดแห่งตัวกูคือจุดจบแห่งการศึกษาพระพุทธศาสนา นี่ขอให้ท่านมองเห็นชัดอย่างนี้ ชัดอย่างนี้ ท่านจะปฏิบัติจะทำวิปัสสนาเท่าไรๆ ในที่สุดก็มีจุดจบลงที่ว่าหมดตัวกู หมดตัวกู ไม่มีทางเกิดตัวกู ขอให้เห็นชัด ชัดเจนแต่ต้นจนปลายในลักษณะอย่างนี้
ท่านทั้งหลายมาศึกษาเรื่องอริยสัจ เรื่องปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา แล้วก็มาปฏิบัติอานาปานสติ ก็ควรจะรู้มันจะไปจบหรือสิ้นสุดลงที่ตรงไหนเป็นจุดหมายปลายทาง ถ้าท่านเห็นอย่างถูกต้อง เข้าใจอย่างถูกต้อง หรือผ่านมาแล้วอย่างถูกต้อง ท่านก็พบเลย โอ้มันไปจบจนหมดตัวกู ที่ไม่อาจจะเกิดตัวกู ภาวะที่ไม่อาจจะเกิดตัวกู สิ้นสุดแห่งตัวกู จุดจบของการศึกษาหรือการปฏิบัติหรือการได้รับผลของการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา ขอให้ท่านทั้งหลายมุ่งหมายจุดจบ ไป Goal ไปถึงตรงนั้น ตรงที่หมดตัวกู ถ้ามันมีตัวกู มี Self มันมีตัวกู แล้วมันก็ง่ายนิดเดียวที่จะมีความเห็นแก่ตัวคือ Selfishness Selfishness มีง่ายๆจากความรู้สึกว่ามันมีตัว Self มีตัวกู ถ้ามันไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวกูหรือเป็น Self Selfishness มันมีไม่ได้ มันมี Selfishness ปัญหาสารพัดอย่างมันเกิดขึ้น กิเลสทั้งหลายมันเกิดขึ้น การกระทำไม่ดีไม่งามเป็นอันตรายมันก็เกิดขึ้น หรือแม้แต่ว่าการทำความดีชนิดที่เป็นของหนัก ดีชนิดที่เป็นของหนัก มันก็เกิดขึ้นมาจากความเห็นแก่ตัวนี้เหมือนกัน ถ้าจะเหนือปัญหาเหนือชั่ว เหนือดี เหนือบุญ เหนือบาป เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือเหตุประการทั้งปวงนั้น มันต้องหมดตัวกู คือหมด Self หมดความรู้สึกว่า Self และไม่มีความรู้สึกที่เป็น Selfish หมด Selfish คือหมดกิเลส หมดกิเลสคือหมดปัญหา
ที่นี้เราก็มาดูกันต่อไปว่าถ้ามันไม่มีตัวกู ไม่มี Concept of Self มันก็ไม่มีการเห็นแก่ตัว ถ้ามันมีตัวกูหรือความเห็นแก่ตัว มันก็มีความเห็นแก่ตัว แล้วมันก็มีปัญหา ทั้งแก่ตัวผู้นั้นเองและทั้งแก่โลก โลกทั้งโลก โลกทั้งโลก ปัญหาของเราโดยเฉพาะมีความทุกข์ทรมานนี่ก็เพราะความเห็นแก่ตัว ปัญหาในโลกทั้งโลกมีรบราฆ่าฟันกันไม่มีที่สิ้นสุด มันก็มาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัว มันก็แก้ปัญหาได้ทั้งหมด ไม่มีปัญหาใดๆเหลืออยู่ โดยส่วนบุคคลก็ดี โดยส่วนสังคม หรือโดยส่วนโลกทั้งโลกก็ดี ความไม่มีความเห็นแก่ตัวนั้นมันมีประโยชน์สูงสุดอย่างนี้ คุ้มค่าที่เรามาสนใจเรามาปฏิบัติเพื่อจะกำจัดมันเสีย มีประโยชน์สูงสุดไม่มีอะไรเหมือน ปัญหาทั้งหลายที่อยู่ในรูปของ Question ก็ดี ที่อยู่ในรูปของ Problem ก็ดี ปัญหาทั้งหลายทั้งหมดทั้งสิ้นไม่ยกเว้นสิ่งใด มันมาจากความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวเมื่อไร มันจะไม่มีปัญหาในรูปใดๆ ไม่ต้องถามใครว่าทำอะไรเพราะมันไม่มีมีปัญหา มันไม่มียุ่งยากลำบากอะไรเพราะมันไม่มีคำพูด ปัญหาทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว ขอให้เรามีจุดหมาย มีเป้าหมาย เพ่งไปที่ความหมดสิ้นหรือไม่มีความเห็นแก่ตัว อันนี้เป็นสูงสุดเป็นสิ่งสูงสุดที่เรียกว่ามนุษย์ควรจะได้ จะเรียกว่า Great อย่างพวกคริสเตียนเรียกว่า Great ว่าสูงสุดคือหมดความเห็นแก่ตัว ชาวพุทธก็มุ่งที่นี่ หมดความเห็นแก่ตัวไม่เกิดกิเลสซึ่งราคะโทสะโมหะ เป็นผลสูงสุด ประโยชน์สูงสุดสุดท้ายที่สุดคือหมดความเห็นแก่ตัว นี่ขอให้เข้าใจเป็นใจความสำคัญ จะได้เดินไม่ผิดทาง จะได้เดินตรงทาง จะถึงจุดหมายปลายทางคือหมดสิ้นแห่งความเห็นแก่ตัว
เราทุกคนในโลกจงประกาศสงคราม เรียกว่ากับสิ่งนี้คือปีศาจแห่งความเห็นแก่ตัว กำจัดมันเสียให้สิ้นซาก ในความหมายว่า Get rid of ก็ตาม ในความหมายว่า Do Away With It ก็ตาม ซึ่งไม่ให้มีอะไรเหลือ ความเห็นแก่ตัวเป็นศัตรู เป็นข้าศึกอันเลวร้ายที่สุด จัดการอย่าให้มีเหลือ นั่นแหละคือจุดมุ่งหมายที่มาศึกษาและปฏิบัติพระพุทธศาสนา
เดี๋ยวนี้เรามามองกันให้ชัดเจนถึงปัญหาที่มีอยู่จริงคือว่า ในโลกนี้ ในโลกนี้ พวกเราจะพวกเราต้องมีระบบกฎหมาย รักษากฎหมาย ปฏิบัติตามกฎหมาย ลงโทษไปตามกฎหมายที่เราต้องมีระบบกฎหมายอย่างหนึ่ง และเรายังต้องมีระบบศาสนาประพฤติตามพระศาสนา ปฏิบัติตามศาสนา นี่ก็อีกตัวหนึ่ง เรามีทั้งสองอย่าง ปัญหาก็มีกฎหมายคุ้มครองในแง่กฎหมาย ต้องมีศาสนาคุ้มครองในแง่ศาสนา ปัญหาทั้งสองนี้มาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่ต้องมีกฎหมาย ไม่ต้องมีศาสนา เอากฎหมายระบบกฎหมายระบบศาสนาไปทิ้งกันเลยเสียก็ได้ ถ้ามนุษย์ไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว ถ้ามนุษย์ไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว เราไม่ต้อมีกฎหมายเราไม่ต้องมีศาสนา มันสบายเท่าไร มันหมดปัญหาเท่าไร ลองคิดดู ถ้ายังมีความเห็นแก่ตัวโลกนี้ยังต้องมีระบบกฎหมายระบบศาสนา เป็นปัญหาอยู่เพียงนั้น
ทีนี้เราก็มาดูอีกจุดหมายปลายทางที่ชัดเจนหรือว่าจำเป็นก็ได้ ก็คือเรื่องความทุกข์และความดับทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ฉันไม่พูดเรื่องใด พูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ ที่แล้วๆมาก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ฉันพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ เพราะมันมีสองเรื่องเท่านั้นที่จำเป็นที่สุดที่จะต้องรู้ และจัดการให้หมดให้สิ้นไปเสีย ให้หมดปัญหาไปเสีย มาพูดกันเรื่องทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ดีกว่า พูดกันในแง่บวกแง่ดับทุกข์ก่อนจะเข้าใจง่าย ขอให้ฟังให้ดีว่า เป็นสุข เป็นสุขคือไม่มีทุกข์ มีอยู่สามชั้น มีอยู่สามชั้น ชั้นที่หนึ่งคือความไม่เบียดเบียนกันไม่เบียดเบียนกันคือชั้นที่หนึ่ง ชั้นที่สองคือจิตใจไม่ไปฝังแน่น ยึดมั่นๆอยู่ในสิ่งใด บวกก็ดี ลบก็ดี จิตใจไม่ถูกจับไว้ ไปยึดมั่นถือมั่นในเรื่องบวกลบก็ดี ทีนี้อันที่สามความไม่มีแห่งความสำคัญมั่นหมายว่าตัวตน เป็นสามชั้น ไม่เบียดเบียนกันอย่างหนึ่ง จิตไม่ไปฝังติดอยู่กับอะไรอย่างหนึ่ง และหมดความหมายแห่งตัวตน ไม่มีความรู้สึกเป็นตัวตนอย่างหนึ่งเป็นสามอย่าง พูดให้ชัดอีกหน่อยก็ว่า ไม่เบียดเบียนกัน นี่เข้าใจง่ายหน่อย เป็นความสุขก็ไม่เบียดเบียนกัน ชั้นที่สอง จิตไม่ตกเป็นทาสคือไม่ Attach หรือไม่ Engage ในความเป็นบวกเป็นลบของสิ่งใด เรียกว่าไม่กำหนัดยึดผูกพันในสิ่งใด นี่เป็นชั้นที่สอง ไม่เป็นทาสของความเป็นบวกและเป็นลบ ชั้นที่สามไม่มีความรู้สึกเป็นตัวตนเป็นตัวตน ความรู้สึกว่าเป็นตัวตน เป็นตัวกู ไม่มีอยู่ในจิตใจต่อไป มันเป็นสามชั้น ลึกกว่ากันเป็นลำดับๆๆไป ขอให้สนใจ มันไม่มีเรื่องอื่น
มันอยู่กันเป็นชั้นๆๆๆขึ้นไป ดูไปตั้งแต่ชั้นแรก เราไม่เบียดเบียนกัน แต่ก็ยังมีปัญหา เรื่องตัวกูเรื่องของกูเป็นหลักอยู่ที่ว่า จิตมันไปผูกพันหรือไปเป็นทาสของสิ่งใดๆที่เป็นบวกหรือเป็นลบ ออกมาเสียได้จากความผูกพันหรือเป็นทาสของสิ่งที่เป็นบวก เป็นลบ มันก็มีตัวกูๆ เป็นอยู่ๆในลักษณะที่เป็นของหนัก มีตัวกูเท่าไรก็หนักทั้งนั้น ตัวกูใหญ่เล็กเท่าไร ชีวิตนี้ก็จะเป็นของหนักเท่านั้น อันสุดท้ายก็หมดตัวกู หมดของกู ท่านจงถือเอาใจความสั้นๆๆๆให้ได้กันทุกคน คือไม่เบียดเบียน จิตไม่ตกเป็นทาสของสิ่งใด สามไม่มีตัวกู หนึ่งไม่เบียดเบียน สองจิตไม่ตกเป็นทาสของสิ่งใด สามไม่มีตัวกู
ใจความที่ให้สังเกตได้ง่ายต่อข้อที่หนึ่งก็ว่า ไม่กระทบกระทั่งกัน อยู่อย่างเป็นเพื่อนเกิด เพื่อนแก่ เพื่อนเจ็บ เพื่อนตายด้วยกัน ความลับนี้ก็จำให้ดี เป็นใจความสำคัญทางพุทธศาสนา เราเป็นเพื่อนในการเกิด เพื่อนในการแก่ เพื่อนในการเจ็บ เพื่อนในการตายด้วยกัน ความเบียดเบียนกันจึงไม่มี เป็นความสุขข้อแรก ข้อที่สองจิตไม่ พูดตามภาษาบาลีแท้ๆ วิราคะ แปลว่าไม่ถูกย้อม เหมือนกับผ้าของคุณถูกย้อมเป็นสีแดงสีเขียว นี่ก็ว่ามันมีสีแล้วก็ไปย้อม เพราะมีการย้อมมันก็มีสี ทีนี้จิตวิราคะคือจิตไม่ถูกย้อมๆ อารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบก็ไม่มาย้อมจิตให้เป็นสีอะไรได้ อย่างนี้เรียกว่าวิราคะ จิตไม่ถูกย้อมคือไปติดกำหนัดอยู่ในสิ่งใด ตัวหนังสือแปลว่าไม่ถูกย้อม ย้อมก็คือไป Attach ไป Engage ไปอะไรอยู่ในอารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบ อย่าให้มันถูกย้อมด้วยอารมณ์บวกหรืออารมณ์ลบ นี่ก็สบายกว่า เป็นความสุขที่สูงขึ้นไป
ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่สามคือ ตัดต้นเหตุทั้งหมดทั้งสิ้นไม่มีเหลือ คือไม่มีตัวตนอันเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา ไม่มีตัวตนอันเป็นที่ตั้งแห่งปัญหา มันหมดๆปัญหา ไม่มี Conceptใดๆว่าเป็นตัวกูหรือเป็นของกู แล้วมันก็ไม่ยินดีไม่ยินร้าย ไม่เบียดเบียน ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด เรียกว่าไม่มีความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวกูว่าตัวตน เป็นคำสั้นๆอีกที ขอช่วยจำเป็นคำสั้นๆอีกทีว่า ไม่เบียดเบียน หนึ่งไม่มีการเบียดเบียน สองจิตไม่ถูกย้อม เรียงคำพูดเองว่าจิตไม่ถูกย้อม ข้อสามว่าไม่มีความรู้สึกเป็นตัวตนหรือตัวกู สามคำสั้นๆ จำง่ายๆ
คำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาบาลี ภาษาเก่าแก่ของอินเดีย ความสุขขั้นแรกไม่เบียดเบียนนั้นมีพระบาลีว่า ท่านคงจำไม่ได้หรอกไม่ต้องจำ แต่ฟังบ้างก็แล้วกัน อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเต สู สัญญะโม (นาทีที่ 93.34) มันเป็น word คำพูดนี่เป็น word อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม ความไม่เบียดเบียนกันคือความระวังสังวรณ์ด้วยดีในสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลาย นี่เป็นความสุข ข้อที่สองว่า สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกกะโม (นาทีที่ 93.56) จิตไม่ถูกย้อมอยู่ด้วยอารมณ์ใดๆ ไม่ถูกย้อมอยู่ด้วยอารมณ์ใดๆ นี่ก็เป็นสุข คืออยู่เหนืออำนาจอิทธิพลของสิ่งที่เรียกกว่ากาม สิ่งที่เรียกว่ากามคือความกำหนัดยินดีด้วยความโง่ ไม่ย้อมติดอยู่ด้วยความรู้สึกที่เป็นกาม อยู่เหนืออำนาจกาม บทที่สามว่า อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง (นาทีที่ 94.47) นำออกเสียได้ซึ่งความสำคัญมั่นหมายว่าตัวตน นี่เป็นความสุขสูงสุดอย่างยิ่งกว่าความสุขใดๆ ท่านคงจำไม่ได้ แต่ได้ยินไว้บ้างก็ไม่เป็นไร เพราะว่าอันที่หนึ่ง อัพยาปัชชัง สุขัง โลเก ปาณะภูเตสู สัญญะโม อันที่สองว่า สุขา วิราคะตา โลเก กามานัง สะมะติกกะโม อันที่สามว่า อัสมิมานัสสะ วินะโย เอตัง เว ปะระมัง สุขัง ข้อหนึ่งไม่เบียดเบียน ข้อสองจิตไม่ย้อมติดในสิ่งใด ข้อสามไม่มีความรู้สึกเป็นตัวกู เรามี Phrase สั้นๆว่า Void of self, Void of self ว่างจากตัวตน ความหมายที่สาม
ทีนี้มาดูกันต่อไป สำหรับเรื่องไม่เบียดเบียนนี้มันเป็นจริยธรรมทั่วไปในทุกศาสนาทุกระบบ แม้ว่าเราไม่เข้ามาสู่พุทธศาสนา มันก็ต้องถือระบบไม่เบียดเบียน จริยธรรมสากลเขาไม่เบียดเบียน ศาสนาไหนๆก็ไม่เบียดเบียน ทีนี้พอมาถึงขั้นที่สอง ขั้นที่สาม ที่ว่าจิตไม่ถูกย้อม ถ้าที่อื่นเขาอาจจะสอนไปในทางให้ถูกย้อม ให้ย้อมให้ดี ให้ย้อมให้สวย ย้อมในทาง Positive แต่ทางพุทธนี้ไม่เอาทั้ง Positive ทั้ง Negative คืออย่าให้ถูกย้อมในความหมายทั้งทางบวกและทั้งทางลบ นี่จิตไม่ถูกย้อม ที่ความหมายที่สามตัดบทเลยมันไม่มีสิ่งที่จะมีอยู่สำหรับเป็นปัญหา ไม่มีตัวตนที่จะยืนอยู่สำหรับเป็นปัญหา มันก็ไม่มีปัญหาที่ว่าเบียดเบียน หรือมีปัญหาว่าถูกย้อม มันก็ไม่มี สองอย่างข้างหลังนี่เรามาปฏิบัติที่เซนเตอร์ ปฏิบัติอานาปานสติ ทำจิตให้ไม่ถูกย้อม ทำจิตให้ว่างจากความหมายแห่งตัวตน ที่มาปฏิบัติที่เซนเตอร์ มีความหมายโดยเฉพาะอย่างนี้ จิตจะไม่ถูกย้อม จิตจะหมดความยึดถือว่าตัวตน
ในการปฏิบัติอานาปานสติที่ท่านกำลังฝึกอยู่นี้ ถ้าท่านประสบความสำเร็จเพียงขั้นสมาธิเท่านั้น เวลานั้นเวลานั้นเฉพาะนะ จิตไม่ถูกย้อม แต่มันไม่ได้รับประกันว่าไม่อาจจะถูกย้อม ต่อไปมันก็อาจจะถูกย้อมอีก แต่เมื่อมีสมาธิพอสมควร เวลานั้นจิตไม่ถูกย้อม จิตเกลี้ยง เป็นจิตธรรมชาติ ไม่ถูกย้อม นี่ก็เรียกว่าผลของสมาธิเกิดจากการทำอานาปานสติ ทีนี้ถ้าท่านทำอานาปานสติตลอดไปถึงหมวดที่สี่ ก็เห็นอนิจจัง เห็นมีราคะ เห็นนิโรธะ นี่เป็นจิตที่หมดจากภาวะที่อาจจะถูกย้อม ไม่อาจจะถูกย้อมอีกต่อไป สูงสุดที่นั่น หมวดที่หนึ่งเตรียมกายให้พร้อมสำหรับจะปฏิบัติ หมวดที่สองรู้เท่าทันเวทนา หมวดที่สามบังคับจิตได้ตามที่ต้องการ หมวดที่สี่มีอำนาจเหนือสิ่งที่จะเข้ามาปรุงแต่งให้ยึดมั่นถือมั่น อานาปานสติทั้งสี่จะทำให้ไม่ถูกย้อม และจะทำให้หมดตัวตนอันเป็นที่ตั้งแห่งปัญหาทั้งปวง ขอให้ท่านมุ่งหมายปลายทางผลแห่งการปฏิบัติอย่างนี้ ท่านจะเกิดกำลังใจ เกิดความพากเพียรเกิดความเชื่ออย่างที่สุดในการที่จะปฏิบัติ บอกกันก่อน แม้จะเป็นผลของการปฏิบัติ เอาเบาๆเพื่อให้เกิดความอยากปฏิบัติให้ยิ่งๆขึ้นไป
ท่านอย่าประหลาดใจ อย่าประหลาดใจว่าทำไมบางลัทธิบางศาสนาเขาสอนให้ทำดี ให้ยึดมั่นถือมั่นในดีความดี ดีดีดี แต่พุทธศาสนาสอนให้พ้นไปจากนั้นอยู่เหนือดี เพราะที่ว่าดีดีก็ยังมีปัญหา แม้จะเป็น Positive สูงสุดเท่าไรก็ยังมีปัญหา เป็นความหนักแห่งตัวกู เป็นความที่จิตถูกย้อมให้อยู่ด้วย Attractiveness ของความดีความดีนี่ เราจึงต้องการให้พ้นดีเหนือดี
ขอพูดเป็นพิเศษว่า ถ้าท่านเป็นคริสเตียนที่ดี เป็นคริสเตียนที่ดี ท่านจะต้องอยู่เหนืออิทธิพลของ Positiveness and Negativeness จึงจะเป็นคริสเตียนที่ดี คัมภีร์ไบเบิลโพเทสเทนเมนท์หน้าแรกๆ พระเจ้าได้สอนมนุษย์ที่สร้างขึ้นมาอดัมกับอีฟว่า อย่าไปกินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้รู้ดีรู้ชั่ว not to eat the fruit of the tree of knowledge of good and evil นี่ก็เพื่อไม่อยู่ใต้อิทธิพลของ Positive and Negative ถ้าท่านเป็นคริสเตียนที่ดี ท่านต้องไม่อยู่ใต้อิทธิพลของ Positive and Negative คำสอนในไบเบิลนั้นดีที่สุด อยู่ที่นั้นล่ะ หน้าแรกๆของคัมภีร์ไบเบิล อย่าไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของ Good and Evil คือ Positive and Negative นี่เป็นอันเดียวกันกับหลักคำสอนในพระพุทธศาสนา อยู่เหนือดีเหนือชั่ว เหนือทุกๆคู่ ทุกๆคู่ เหนือ Dualism ทุกๆคู่นี่เรียกว่าจิตไม่ยึดมั่นถือมั่น ไม่ถูกย้อมติดอยู่ในสิ่งใด ขอให้ท่านเข้าใจความข้อนี้ แล้วท่านก็จะได้รับสิ่งสูงสุดที่มีอยู่ในศาสนา ที่เป็นศาสนาสูงสุด ไม่บวกไม่ลบ เหนือบวกเหนือลบ
ในที่สุดนี้ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลาย ได้เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดกลั้นอดทนตั้งสองชั่วโมงแล้ว ขอบคุณในการเป็นผู้ฟังที่ดี อดทนมาสองชั่วโมงแล้ว ขอยุติการประชุม ขอปิดประชุม นั่นเขาเอามาให้ช่วยแจก Indian Jasmine, Indian Jasmine ต้นอยู่ที่นั่น Silver of Gentle Healing, Gentle Healing, Indian Jasmine กรรณิการะๆ ภาษาบาลี กรรณิการะ Meaning of Gentle Healing, Gentle Healing of the Dhamma of the Dhamma
ต้องวินิจฉัยกันโดยละเอียด ความรู้ครบถ้วน
เดินกลับไปเซนเตอร์ด้วยการเดินอย่างไม่ต้องมีตัวผู้เดินWalking without walker กลับไปที่เซนเตอร์ เป็นห้องเรียน ห้องเรียนของเรามีตลอดสองกิโลนี้ ห้องเรียนของเรา บทเรียนของเราคือเดินอย่างไม่ต้องมีตัวผู้เดิน Doing without the doer ตลอดเวลา เป็น Highest art, Highest art, Most highest art สำหรับจะอยู่เหนือความทุกข์ ก้านของมันนี่ๆ ก้านสีแดงนี่ ย้อมเล็บให้แดง เขารู้จักทำกันมาตั้งพันปีแล้ว เดี๋ยวนี้ต้องซื้อยาย้อมเล็บ โบราณไม่ต้องซื้อยาย้อมเล็บ ก้านอันนี้ย้อมเล็บ เด็กๆเขาย้อมเล็บด้วยสิ่งนี้ ทำสีใส่ขนมกินก็ได้ สีแดงนี่