แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 0.51–2.37) ทุกทีที่มีใครพูดถึงเรื่อง reincarnation หรือการที่เกือบจะตาย เรามีประสบการณ์แปลกๆ หรือสิ่งที่เรียกว่า …(นาทีที่ 2:47)…ซึ่งใกล้กับเรื่องเข้าทรง เมื่อมีใครพูดถึงเรื่องนี้ ผู้สอนในสวนโมกข์บอกว่าเขาไม่สนใจสิ่งเหล่านี้ หรือสิ่งเหล่านี้ไม่สำคัญเลย แต่ว่าธรรมะชวนให้เราศึกษาใคร่ครวญพิจารณาทุกสิ่งที่เป็นธรรมตามที่เป็นจริง อย่างนั้นถ้าเราไปเข้าใจคำว่าอนัตตา ในความหมายว่ามี …(นาทีที่ 3.25)…มีตัวตนอันสูง ซึ่งไม่แยกตัวออกจากสิ่งอื่นทั้งหลายแล้วเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ เราอาจจะลืมได้ประโยชน์จากการศึกษาสิ่งเหล่านั้น เช่น reincarnation เป็นต้น ฉันไม่ได้คิดว่ามีคำตอบ แต่คิดว่ามันสำคัญที่เราจะไม่ละเลยข้อความอันสำคัญเหล่านี้ เพื่อเราจะได้รู้สิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริง อาจารย์มีความเห็นในข้อนี้หรือไม่
เรื่องเกิดใหม่ reincarnation เกิดใหม่นี่ ต้องแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือชนิดภาษาคนพูด คนธรรมดาพูดกับตายเข้าโลงแล้วมาเกิดใหม่ ตายเข้าโลงมาเกิดใหม่ นั่นมันชนิดหนึ่ง ภาษาคนธรรมดาพูด ชนิดที่ ๒ คือภาษาธรรมะ ภาษาของผู้รู้พูด เกี่ยวกับจิตใจไม่ได้เอาร่างกายที่ตายแล้วเข้าโลงมาเกิดใหม่ ไม่เอาร่างกายนั้นเป็นประมาณ จิตใจเป็นประมาณคือเกิดโดยจิตใจ เกิดอัตตา เกิดตัวตนครั้งหนี่ง แล้วเกิดอีก แล้วเกิดอีกโดยไม่ต้องเข้าโลง อย่างนี้ก็มีแล้วมีมากที่สุดด้วย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 5.32–6.50)
ข้อนี้ต้องเข้าใจว่าเกิดจากทางกาย แล้วตายทางกายแล้วเกิดใหม่ มันมีปัญหาอย่างเดิม ปัญหาอย่างเดิม คือมีปัญหาที่ต้องดับทุกข์อย่างเดิม ก็ทำไปตามเดิม ไม่แปลกอะไร ทีนี้อย่างที่มันเกิดทางจิตวิญญาณว่าตัวตนครั้งหนึ่ง ตัวตนครั้งหนึ่ง ตัวตนครั้งหนึ่ง นี้มันต้องทำให้ถูกต้อง ยิ่งขึ้นยิ่งขึ้นยิ่งขึ้น ก่อนแต่ที่จะตาย นี่เป็นเรื่องเกิดทางจิตใจ ซึ่งเกิดวันหนึ่งหลายครั้ง หลายสิบครั้ง ร้อยครั้งก็ได้ reincarnation อย่างนี้มีแล้วก็จริงที่สุด ก็เป็นปัญหาสำคัญที่สุด ที่จะต้องจัดการให้มันหมดปัญหา จะต้องเรียนรู้เพิ่มใหม่ เพิ่มใหม่ ปฏิบัติใหม่ สูงขึ้นไปสูงขึ้นไปอยู่เสมอ อย่าได้พูดว่าไม่มี ถ้าพูดทางร่างกายมันก็พูดกันอยู่ก่อนพุทธศาสนา ก่อนพุทธศาสนาเกิดขึ้น มันยังไม่ใช่ปัญหา มันยังไม่เกี่ยวกับการดับทุกข์ มันต้องมาจัดการกับเกิดใหม่ทางจิตใจ เกิดใหม่ทางจิตใจ แต่ละวันมาครั้งนี้เป็นปัญหาต้องดับทุกข์ให้ได้ นี่ให้เห็นความต่างกันอย่างนี้ก่อน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 8.35- 11.24)
การเกิดทางร่างกาย เกิดใหม่ทางร่างกายทางวัตถุ ทางร่างกายนี้มีอยู่ก่อนพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าเป็นของชาวอินเดียแต่ก่อน หรืออาจจะก่อนชาวอินเดียเป็นของชาวอียิปต์ก็ได้ เกิดทางร่างกาย มาเกิดอีก มาเกิดอีก แล้วมันไม่ได้ให้ความรู้อะไรเพิ่มขึ้นในทางที่จะดับทุกข์หรอก มีประโยชน์อยู่ก็คือว่าช่วยทางศีลธรรม มันก็เชื่ออย่างนั้น ก็ตั้งใจจะปฏิบัติทางศีลธรรมให้ดี สำหรับจะไปเกิดใหม่ที่ดี หรือมันง่ายขึ้น แต่มันไม่ดับทุกข์ได้สิ้นเชิง จึงมามีปัญหาที่สำคัญกว่า คือเกิดทางใจ reincarnation ครั้งหนึ่ง ครั้งหนึ่งนี้ มีปัญหา เกิดทุกที เป็นทุกข์ทุกที เพราะเรามีความคิดแบบนี้แบบว่ามีตัวตนทุกที มันก็นับว่าเป็นการเกิดครั้งหนึ่ง เกิดครั้งหนึ่งเกิดครั้งหนึ่ง ถ้าไม่มีเกิดเช่นนี้ การเกิดไม่มีความหมาย เพียงแต่เด็กๆเกิดมาจากท้องแม่ยังไม่มีความหมาย จนกว่าเด็กๆมันจะรู้จักเกิดคิดทางจิตทางใจ ทาง reincarnation นี้เสียก่อน มันจึงจะเป็นการเกิดที่สมบูรณ์ นี่เกิดทางร่างกายเรื่องนิดเดียว ไม่เคยมีปัญหาอะไร เกิดทางจิตนี่มีปัญหาที่สุด เป็นความทุกข์ทุกครั้งที่เกิด นั้นเราจึงต้องสนใจที่การเกิดทางจิตใจ จึงเป็นการแก้ปัญหา เป็นการดับทุกข์จริงจังกันทีเดียว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 13.15-15.50)
แม้ว่าจะมีการค้นคว้าพิสูจน์ทดลอง บางแห่ง บางอย่างจนพอจะเชื่อได้ว่าคนเดียวมาเกิดใหม่ มันก็รู้เท่านั้นน่ะ มันเป็นการรู้เพียงว่าเกิดทางกายอยู่น่ะ มันไม่อาจจะดับทุกข์ ก็เหลือปัญหาอยู่ตามเดิม ถ้ารู้เพียงเท่านั้นมันก็ไม่ดับทุกข์ เพียงแต่รู้ว่าเอาละมาเกิดใหม่ ข้อนี้นะ ข้อความในพุทธศาสนาก็มีอยู่บ้างเหมือนกัน เข้าใจว่าเป็นของที่จะพลัดเข้ามาจากของฮินดู เมื่อมีการเกิดใหม่ เคยเป็นสามีภรรยากันในชาติก่อนมาถึงชาตินี้ก็รักกันได้ง่ายๆ อย่างนี้ก็มี ก็มีพูดถึง แต่นี่ไม่แก้ปัญหาอะไร ไม่ช่วยอะไร ไม่ช่วยในการดับทุกข์อะไร จะดับทุกข์สิ้นเชิง ต้องไม่มีการเกิด ด้วยอวิชชา ด้วยการเกิดเป็น ...(นาทีที่ 16:52).... จะดับทุกข์ได้ต้องไม่มีการเกิดอันนี้ หรือว่าควบคุมการเกิดอันนี้เสียได้ มนุษย์เราจึงจะหมดความทุกข์ ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความกลัวอีกต่อไป(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 17.09-19.30)
คนหลายคนเขาได้เห็นคัมภีร์พุทธศาสนา กล่าวถึงการที่คนเดียวกันนั้นมาเกิดใหม่ คนเดียวกันนั้นมาเกิดใหม่ ที่เป็นพระพุทธเจ้าตรัสก็มี ข้อนี้เราถือแต่เพียงว่าเป็นการกล่าวเพื่อส่งเสริมทางศีลธรรม ส่งเสริมทางศีลธรรม ให้มีการปฏิบัติทางศีลธรรมยิ่งๆขึ้นไป ไม่ใช่ปรมัตธรรม ไม่ใช่ความจริงอันเด็ดขาดและสูงสุด เพราะความจริงอันเด็ดขาดและสูงสุดนั้นพระพุทธเจ้าก็ตรัสอยู่ชัดๆแล้วว่า มันไม่มีอัตตาชนิดนั้น ไม่มีวิญญาณชนิดนั้น ไม่มีอัตตาชนิดนั้น มันก็คือไม่มีอะไรไปเกิด แต่ทำไมพูดถึงการเกิดทำนองนั้น ก็เพื่อประโยชน์ทางศีลธรรม แล้วพูดกันมาแต่ก่อนพุทธกาล นั้นอย่าเข้าใจว่าจะมีคัมภีร์ชาดก คัมภีร์ชาดกเกิดใหม่ของคนๆเดียวกัน มันไม่นะ นี่เป็นเรื่องประโยชน์ทางศีลธรรมที่จำเป็นเหมือนกันที่จะต้องมี เมื่อเขาไม่รู้ปรมัตธรรม เขาก็เชื่อการเกิดทางศีลธรรมนี่ไปก่อน มันช่วยให้เขาศึกษาปฏิบัติเพื่อให้มันมีผลดีต่อไปข้างหน้า ไม่ต้องกลัว ในคัมภีร์พุทธศาสนามีคำว่าพุทธเจ้าตรัสว่าคนนี้ไปเกิด คนนี้ไปเกิด นี่เป็นประโยชน์ทางศีลธรรม (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 21.09-23.15)
คัมภีร์ในชั้นอรรถกถา ...นาทีที่ 23:20… commentaries หรือ sub - commentaries จะพูดมากถึงเรื่องอย่างนี้ ลูกหมาตัวนี้ไปเกิดเป็นพราหมณ์คนนี้ หรือแม่ไก่ตัวนี้ไปเกิดเป็นนางยักษ์คนนี้ อย่างนี้จะมีมากที่สุดในอรรถกถา คัมภีร์ที่ ...นาทีที่ 23:33…. ออกมามันมีประโยชน์ทางศีลธรรม เพราะว่าคนคนนั้น คนๆนั้น มันเชื่ออย่างนั้นอยู่แล้ว มันพูดกับคนที่เชื่ออย่างนั้นอยู่แล้ว ก็เขียนไปว่าพระพุทธเจ้าตรัสเลย ลูกหมาตัวนี้ไปเกิดเป็นพราหมณ์คนนี้ อย่างนี้เป็นต้น แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เพราะมันดับทุกข์ไมได้ มันต้องดับทุกข์ได้ ต้องไม่เกิดตัวตน ไม่เกิดตัวกู ไม่เกิดตัวตน แล้วมาเรียนเรื่องที่ดับทุกข์ได้โดยตรงโดยเฉพาะ ว่าไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตน ชั่วเวลาวันเดียวมันก็เกิดๆๆ อย่างไม่มีตัวตน ไม่ต้องมีตัวตนน่ะ เกิดอย่างทางอวิชชา ทางวิญญาณมากๆ ทุกที ทุกที เป็นทุกข์ทุกที อย่าให้มันเกิด หรืออย่าให้มันเกิดชนิดที่เป็นทุกข์ เกิดชนิดที่ไม่เป็นทุกข์ นี่คือคำสอนในทางพระพุทธศาสนา ต้องการจะดับทุกข์ ดับทุกข์ ดับทุกข์ คือไม่ให้เกิดเป็นอัตตา เป็นอุปาทานว่าตัวตน มีเลวกว่ามีประโยชน์กว่า ขอให้สนใจเรื่องการเกิดใหม่ทางจิตทางวิญญาณ เกิดทางร่างกายเก็บไว้ก่อนก็ได้ ยังไม่ต้องสนใจ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 24.53-27.42)
สรุปสั้นๆตัดบทหมดปัญหาว่า ความรู้เรื่องเกิดทางวัตถุ ทางกายนั้นมันดับความทุกข์ไม่ได้ ดับความทุกข์ที่นี่ไม่ได้ แต่ความรู้เรื่องการเกิดทางจิต ทางอวิชชา ทางอุปาทานน่ะมันดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ที่นี่ได้ ดับทุกข์เดี๋ยวนี้ได้ เกิดทางวัตถุมันดับทุกข์ไม่ได้ เกิดทางตัณหาอุปาทานดับทุกข์ได้ มันมีเท่านี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 28.12 – 29.00)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 29.00-29.11) ถามว่าวิธีการของพุทธศาสนา จะช่วยจัดการกับปัญหาทางสิ่งแวดล้อม กับปัญหาทางนิเวศน์วิทยา จะได้ช่วยกันอย่างไร
มันคนละเรื่องแล้วมาเรื่องทางวัตถุ ทางการเมือง ทางเรื่องโลก ขอตอบให้มีความหมายที่สุดว่าทางธรรมะทางพระพุทธศาสนา สอนไม่ให้เห็นแก่ตัว …นาทีที่ 30:00…non-self… คนที่ไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีความเห็นแก่ตัว ไม่สร้างปัญหาใดๆ ไม่สร้าง pollution ใดๆ ไม่ทำลายธรรมชาติใดๆ ถ้าเอาพุทธศาสนามาใช้ได้คือไม่เห็นแก่ตัวแล้ว ปัญหาทางนิเวศน์วิทยา ปัญหาทางอุบัติเหตุทั้งหลาย ปัญหาเสพติดทั้งหลายจะไม่มี เอาหัวใจพุทธศาสนามาเถิดคือไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีตัวและไม่เห็นแก่ตัวจะแก้ปัญหาทุกชนิดที่มีอยู่ในโลก (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 30.34-32.15)
ไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว แก้ปัญหาทางสังคม ปัญหาทางการเมือง ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาสงครามทุกปัญหาในโลก ไม่มีเหลือ แก้ได้ด้วยความไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 32.30 – 32.55)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 33.14 -33.30) เดี๋ยวนี้มีปัญหาในโลกนี้เยอะแยะ ทั้งปัญหาสงคราม ทั้งความขาดอาหาร มีอะไรหลายอย่าง ในสายตาของท่านอาจารย์ โลกนี้มีทาง มีโอกาสที่จะรอดหรือไม่
มีโอกาสที่จะรอด แล้วก็รอดด้วยธรรมะข้อเดียว อย่างเดียว อย่างที่ว่ามาแล้ว คือไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว จะขจัดทุกปัญหาในโลกนี้อยู่ได้ ไม่สูญหายไป ไม่ละลายไป ความไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียวแก้ปัญหาเหล่านั้นได้หมด(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 34.12-34.45) ไม่เห็นแก่ตัวแล้ว ไม่มีการทำลายใดๆ การทำลายใดๆ รูปใดๆจะไม่มี เพราะไม่มีความเห็นแก่ตัว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 34.59-35.07)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 35.09-35.23) ท่านอาจารย์กรุณาอธิบายต่อไปเกี่ยวกับผลของการปฏิบัติธรรมะ ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับผู้อื่น
เราสรุปความว่าผลของการปฏิบัติธรรมะในที่สุด ก็มีเพียงสองอย่างคือ ตัวเองสงบเย็น สงบเย็น แล้วก็ข้อที่สอง ก็เป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น นี่เพราะว่าหมดความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวก็สงบเย็น สงบเย็น สงบเย็น หมดความเห็นแก่ตัว เพราะไม่เห็นแก่ตัว มันก็เห็นแก่ผู้อื่น มันก็ช่วยผู้อื่น ก็ช่วยผู้อื่น ผู้อื่นก็พลอยได้รับประโชน์ที่เดี๋ยวนี้ไม่ช่วยกัน ไม่ช่วยกัน แล้วทำลายกันเพราะมันเห็นแก่ตัว พอไม่เห็นแก่ตัว มันก็เห็นแก่ความถูกต้อง มันก็เห็นแก่ผู้อื่น ก็ช่วยผู้อื่น ความหมดความเห็นแก่ตัว มันจึงช่วยทั้งตัวเอง มันจึงช่วยทั้งผู้อื่น คือมันช่วยทั้งโลกเลย ก็ขอให้มองดูในแง่นี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 36.33 – 37.56)
เมื่อไม่เห็นแก่ตัวแล้ว มันจะช่วยผู้อื่นโดยอัตโนมัติ อัตโนมัติ automatically เพราะชีวิตนี้มันอยู่นิ่งไม่ได้ ชีวิตนี้มันอยู่นิ่งไม่ได้ เมื่อเรื่องของตัวหมดแล้ว มันนิ่งอยู่ไม่ได้ มันต้องช่วยผู้อื่น นี่แน่นอนอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 38.18-38.46)
คำถาม : พระอาจารย์จะอธิบายว่าจะช่วยเขาอย่างไร
ท่านพุทธทาส : ช่วยเขาอย่างไร เขาถามว่าอะไร
คำถาม : ถ้าจะช่วยผู้อื่น จะช่วยอย่างไร
ท่านพุทธทาส : ช่วยผู้อื่นก็คือช่วย เหมือนกับตัวเองมาแล้ว ช่วยตัวเองมาแล้วอย่างไรก็ช่วยผู้อื่นอย่างนั้น คือช่วยให้หมดปัญหา ให้หมดความทุกข์ ให้มีแต่ความสงบเย็น ก็ช่วยเหมือนกับที่ช่วยตัวเองมาแล้ว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 39.24-39.52)
ทุกคนทุกชีวิตต้องการความรอด เมื่อเราสามารถจะช่วยตัวเองให้รอด เราก็สามารถจะช่วยผู้อื่นให้รอดในความหมายไหน ศาสนาไหนก็ได้ เราใช้คำว่ารอด ความรอดใช้ร่วมกันได้ คือไม่มีความทุกข์ และไม่มีปัญหา ช่วยตัวเองรอดแล้ว ก็ช่วยผู้อื่นให้รอด นี่เป็นความมุ่งหมายของทุกๆศาสนา ทุกๆศาสนา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 40.22 – 41.00)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 41.02-42.10) หากพวกเรา ถ้าเราตายเสียก่อนที่จะบรรลุถึงความไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างยิ่ง และเต็มที่ ที่แท้จริง เราจะบรรลุนิพพานได้อย่างไร เราจะเข้าถึงนิพพานได้อย่างไร
นั่นก็ตายเสียก่อน เราก็ไม่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ควรจะได้รับ เราก็เป็นหมัน ไม่มีประโยชน์อะไร ชีวิตนี้เป็นหมันไม่มีประโยชน์อะไร ....นาทีที่ 42:47 .....สูงสุดๆ ระดับสูงสุด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 42.52 -43.21) ตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน แต่เรายึดถือว่าเป็นตัวตนมันก็ไม่ได้อะไรเลย เป็นตัวตนที่ไม่ได้อะไรเลย เป็นชีวิตที่ไม่ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 43.41 -44.12) เราจะถือว่านี่คือธรรมดาที่สุด ของธรรมดาที่สุด ที่เกี่ยวกับมนุษย์ในโลกนี้นี่คือธรรมดาที่สุด ไม่ได้อะไรนี่คือธรรมดาที่สุด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 44.29- 44.50)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 44.55-45.31) ถามว่าผู้คนสามารถที่จะปฏิบัติธรรมะได้เมื่อกำลังทำสิ่งเหล่านี้
๑.กำลังสนุกสนานในเรื่องกามารมณ์ ๒.กำลังครื้นในเรื่องอาหาร กำลัง enjoy ในเรื่องอาหารแล้ว ๓. กำลังพยายาม มีความพากเพียรที่จะประกอบชีวิตที่สมศักดิ์ศรี ใน ๓ กรณีอย่างนี้สามารถปฏิบัติธรรมได้หรือไม่
ถ้าว่าเขาเป็นคนฉลาด มีสติปัญญา เป็นคนฉลาด เขาก็สามารถที่จะใช้ความสุข สนุกสนาน enjoyment ในกามารมณ์ก็ดี ในการกินอาหารก็ดี ในการมีอำนาจวาสนาเป็นสุขสมบูรณ์ก็ดี ใช้สิ่งเหล่านี้ให้เป็นบทเรียน เป็นบทเรียนสอนเขาเองได้ดีว่า ถ้าเขาไปยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้แล้วมันก็เป็นทุกข์ คือมันกัดเอา ถ้าเขาไม่ยึดมั่นในสิ่งเหล่านี้ มันก็ไม่ ไม่ถูกกัด แล้วมันก็ยังได้รับประโยชน์ ถือว่าเป็นบทเรียนสำหรับศึกษาว่าอย่าไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ ลองไปยึดมั่นถือมั่นสิ่งเหล่านี้ดู มันก็กัดเอา ก็ไม่ได้ห้ามนะ ไม่ได้ห้ามว่าอย่าเกี่ยวข้องกับกามารมณ์ อย่าเกี่ยวข้องกับความเอร็ดอร่อยสวยงามอะไร ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องชนิดที่ไม่ถูกกัด คือไม่ไม่เป็นทุกข์ก็แล้วกัน ไม่มีปัญหาอะไร สามารถเกี่ยวข้องได้โดยไม่ต้องถูกกัด โดยไม่ต้องเป็นทุกข์ ก็ใช้ได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 47.27 – 49.10)
เขาจะต้องดูให้เห็นลึกๆลงไปอีกหน่อยหนึ่งว่า enjoyment มันๆต้องใช้ๆพลังงาน มันเหน็ดเหนื่อย นั้นอย่ามี อย่ามี enjoyment ก็ยังเป็นการพักผ่อนกว่าคือไม่เหน็ดเหนื่อย อย่าไปเสียเวลา enjoyment กับสิ่งนั้นสิ่งนี้เลย อยู่เหนือเสียดีกว่า (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 49.34-50.12) อย่างที่กล่าวมาแล้ววันก่อนๆ ว่าอยู่เหนือ good and evil อยู่เหนือ positive and negative น่ะดีที่สุด เหนือๆ ไอ้คู่ๆนั่นน่ะ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 50.24 -50.54)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 50.55-51.20) ถามว่าอุดมคติและความเชื่อถือ Ideal and believes มีบทบาทในการปฏิบัติธรรมหรือไม่ เช่นตัวอย่างอุดมคติเกี่ยวกับเราต้องการจะเป็นบุคคลชนิดไหน หรือความเชื่อว่ามนุษย์มันดี ความเชื่อในธรรมะหรืออุดมคติที่ผลักดันให้พวกเรามาศึกษาที่นี่ สิ่งเหล่านี้มีบทบาทในการจะปฏิบัติธรรมะไหมครับ
มันเนื่องกัน ความเชื่อมันเนื่องด้วยอุดมคติ แต่อุดมคตินี่มันยังผิดได้นี่ ต้องเป็นอุดมคติที่ผิดไม่ได้ อุดมคติที่ถูกต้อง ผิดไม่ได้ ซึ่งในพุทธศาสนาเราจะเรียกว่าสัมมาทิฐิ สัมมาทิฐินั่นคืออุดมคติที่ผิดไม่ได้ เพราะความเชื่อมันก็อาศัยอุดมคติชนิดนี้ มันก็มีการกระทำที่ไม่มีผิด ไม่มีผิด มันก็ไม่มีความทุกข์ มันก็ไม่มีปัญหา เราหาอุดมคติที่ถูกต้อง ที่ไว้ใจได้ที่อาศัยได้ แล้วมีความเชื่อในสิ่งนั้นแล้วก็ปฏิบัติไปตามแนวนั้นเราก็ได้บุญ ได้สิ่งที่ดีที่สุด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 50.50-53.41) ความเชื่อมันตามหลังอุดมคติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 53.48-53.55)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 54.02-54.36) ถามว่าปัจจุบันนี้ก็มีหลายศาสนาอยู่ มีทางที่จะปฏิบัติในทางวิญญาณเยอะแยะ แม้แต่ในพุทธศาสนาก็มีหลายนิกาย หลายลัทธิ เพราะฉะนั้นท่านอาจารย์จะแนะนำอย่างไรว่าเราจะเลือกในหนทางทั้งหลาย เราจะเลือกอย่างไร
ปัญหานี้ดี ปัญหานี้ดี คือเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง ปัญหาที่มีมันมีอยู่กับคนเราจริงๆ ข้อแรกจะต้องรู้ว่า ทุกๆศาสนา ทุกๆศาสนาเขาต้องการจะแก้ปัญหาของมนุษย์ แต่ทีนี้มนุษย์มันไม่ได้มีพร้อมกัน มันอยู่ต่างยุคต่างสมัยกัน แล้วมันที่ตรงโน้นบ้างที่ตรงนี้บ้าง อินเดีย เอเชีย ยุโรป ขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ เมื่อจะพูดเพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ที่นั่น ที่นั่น ที่นั่น มันก็ต้องพูดให้เหมาะๆกับปัญหาของบุคคลที่นั่นที่นั่น อันนี้เป็นเหตุให้เกิดมีหลายๆศาสนาแต่หัวใจเหมือนกันแหละ ก็ต้องการจะดับความทุกข์ของคนที่นั่นที่นั่น เราเอาหัวใจของเขามาเป็นหลักเถอะ มันก็จะพบว่ามุ่งหมายจะดับทุกข์ด้วยกัน แต่ว่าที่นี่คนมันโง่มาก ที่นี่มันโง่น้อย ที่นี่มันคนฉลาด ก็พูดเหมือนกันไม่ได้ พูดเหมือนกันไม่ได้ ต้องพูดไปตามว่ามันโง่มาก โง่น้อย หรือฉลาดมากฉลาดน้อย แต่ต้องการจะดับทุกข์ด้วยกัน นั้นเราอยู่ในระดับไหน คำสอนไหนมันจะช่วยเราได้เราก็จะมองเห็น เพราะในคำสอนแต่ละอัน แต่ละอัน แต่ละ passage นี่มันจะมีเหตุผล เหตุผลแสดงอยู่ที่นั่น พอที่จะให้เราเลือกได้ ถ้าจากทั้งหมด จากทั้งหมดทุกยุคทุกสมัย ทุกศาสนา เราอาจจะเลือกได้ว่าคำสอนไหนมันเหมาะแก่เรา นั้นไม่ต้องมีปัญหาว่าหลายๆศาสนา เราจะเลือกเอาแต่เฉพาะที่เห็นว่ามันจะช่วยเราดับทุกข์ที่เรากำลังมีอยู่ที่นี่ เวลานี้ ดับทุกข์ได้จริง เรียกเป็นศาสนาเดียวกันทั้งธรรมชาติ ทั้งหมด ทั้งสากลจักรวาล ก็จะดับทุกข์ก็แล้วกัน แล้วก็แยกกันตามที่เรามีปัญหาของเราอย่างไร เราก็เลือกเอามาเฉพาะที่จะดับทุกข์ของเรา ไม่ๆต้องถือว่าเป็นพุทธ เป็นคริสต์ เป็นอิสลาม เป็นฮินดู ไม่ต้องถือหรอก เรา ความทุกข์จริงๆของเราเป็นหลัก แล้วก็เลือกเอามาที่จะดับทุกข์คราวนี้ได้ ไม่มีปัญหาอะไรเหลือ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 57.37-61.30)
พุทธศาสนามีหลักอย่างเดียว อย่างเดียว หลักความยึดถือเอาตัวตน แต่พอจะไปสอนที่เมืองจีน ที่ธิเบต ที่เมืองจีน ที่ญี่ปุ่น ที่เกาหลี มันก็ต้องใช้คำอธิบายที่เหมาะ เหมาะสมกับคนที่นั่น นั้นจึงไม่เหมือนกันในวิธีอธิบายหรือคำอธิบาย แต่ใจความสำคัญมันยังคงเป็นอันเดียวอยู่นั่นเอง แต่มันก็อธิบายด้วยคำอธิบายที่ต่างกันมาก หรือบางทีต้องไปอธิบายให้เข้ากับไอ้ความเชื่อบางอย่างที่ธิเบตเชื่ออยู่แล้ว จีนเชื่ออยู่แล้ว ฉลาดมากฉลาดน้อยไม่เท่ากันก็ต้องอธิบายต่างกัน ที่สำคัญกว่านั้นก็คือว่าถ้าเราต้องการจะพาคนปัจเจกชน individual style ก็อธิบายอย่าง ถ้าจะพาไปหมดทั้งโลกพาไปหมดทั้งโลกก็ต้องอธิบายอีกอย่าง พุทธศาสนานี่ต้องอธิบายว่าถ้าจะพาคนแต่ละคนไปก็อย่างหนึ่ง ถ้าจะพาทั้งหมด อย่างมหายานน่ะ มหายานเขาต้องการจะพาไปทั้งหมด เขาก็ต้องอธิบายอีกอย่างหนึ่ง แต่ด้วยเจตนาดีเหมือนกันแหละ คือจะช่วยให้เขาดับทุกข์ดับทุกข์ เราเอาแต่หัวใจ หัวใจ ไอ้ nuclease ของเรื่องว่าดับทุกข์อย่างไร ดับทุกข์อย่างไร ที่เหมาะแก่เราที่สมควรแก่เรา ไม่ต้องเหมือนกันทุกคน แต่มันเหมือนกันที่ว่าดับทุกข์ได้ ดับทุกข์ได้ วิธีปฏิบัติ ศึกษาไม่ใคร่เหมือนกัน เอาเฉพาะปัญหาของเรา ปัญหาของเรา มันแก้ปัญหาของเราได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 63.18- 65.51)
เมื่อสี่ห้าสิบปีมาแล้วได้สังเกตเห็นว่าหนังสือพิมพ์ออกมามาก ให้ชื่อว่า Buddhism in Thailand, Buddhism in Sri Lanka, Buddhism in China ,Buddhism in Tibet มากเหลือเกิน มันกลายเป็นพุทธศาสนามาก เขาไม่รู้ว่าพุทธศาสนาแท้ๆ มันไปปนกับวัฒนธรรม เป็น Culture บ้าง เป็นไสยศาสตร์ เป็น ..(นาทีที่)...ปนเข้าไปในพุทธศาสนา และก็เรียกว่าพุทธศาสนาของทิเบต ของจีน ของศรีลังกาอย่างนี้ ศึกษากันมากหนังสืออย่างนั้น พิมพ์ออกมามาก เดี๋ยวนี้มันรู้แล้ว หายโง่แล้ว มันก็ไม่ต้องมี พุทธศาสนาในลังกา ในพม่า ในอินเดีย พุทธศาสนาแท้ๆเป็นอย่างนี้ แล้วมันถูกๆพอกเข้าไปด้วยอะไรก็เอาออกเสีย เอาออกเสีย ก็เหลือแต่พุทธศาสนาแท้ๆ นี่หายโง่แล้ว ไม่ต้องมี พุทธศาสนาใน Thailand ในลังกา ในพม่าอีกแล้ว ขอให้เข้าใจเรื่องนี้ไว้ด้วย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 67.02-68.38)
อย่างเดียว ทำลายความโง่ว่าตัวตน ทำลายความโง่ว่าตัวตน ความโง่ว่าตัวตน ทำลายเสีย ทำลายเสีย มีอย่างเดียวเท่านั้นเอง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 68.48 - 69.02 เสียงขัดข้อง)
ในประเทศไทยการปฏิบัติพุทธศาสนามักจะลึก ปรากฏว่ามันมีหลายอย่างที่ควรจะต้อง คงจะต้องถือว่าเป็นไสยศาสตร์ เช่น การปล่อยนก เพื่อจะโชคดี แล้วการทำบุญหรือการจุดธูปเทียนอะไรเป็นต้น เพื่อความเจริญในทางโลก สิ่งเหล่านี้จะได้ …(นาทีที่ 69.40)....จากวิธีปฏิบัติที่สอนกันในสวนโมกข์ ได้ไหมหรืออย่างไร สองอย่างมันจะเข้ากันได้ไหม
ก็บอกตะกี้หยกๆ ว่าพุทธศาสนามีอย่างเดียว ทำลายความโง่ว่าตัวตนเสีย นี่มันมีเท่านี้ ที่นี้ว่าคนไทยน่ะ คนไทยมันมีตั้งหลายร้อยปี หรือพันปีแล้ว คนไทยได้รับหลายลัทธิ ได้รับหลายศาสนา คนไทยเดิมก็มีศาสนาฮินดูเข้ามาสอน อะไรเข้ามาสอน ฮินดูก็มีหลายแบบก็มาสอน มันรับเอาไว้ทั้งหมด มันไม่ใช่ มันไม่ใช่พุทธศาสนาอย่างเดียว ไม่ใช่พุทธศาสนาที่ถูกต้องอย่างเดียว แต่ว่ามีอะไรมาปน ปน ปน เข้าไป ที่มันพอใจ เป็นที่พอใจ แล้วมันก็ปนได้ เป็นที่พอใจ ก็ปน มันก็ blend ให้มันมีถูกใจถูกใจ ถูกใจนั่นไม่ใช่พุทธศาสนาหรอก อันที่ยกตัวอย่างมาไม่ใช่ของพุทธศาสนา เป็นของไทยแต่เดิมบ้าง ของฮินดูหลายๆชนิด หลายๆแขนงบ้าง ไม่ใช่พุทธศาสนา นั่นแหละเมื่อตะกี้พูดแล้วว่าพุทธศาสนาในเมืองไทยครั้งหนึ่งมันถูกเข้าใจผิด เอาเป็นพุทธศาสนาในเมืองไทย เดี๋ยวนี้รู้แล้วว่าพุทธศาสนาแท้ๆ ไม่ใช่ของไทย ไม่ใช่ของไทยที่ไหน แต่ว่าที่ถือกันอยู่ในเมืองไทยมันถือพร้อมๆกันหลายศาสนา เข้าใจข้อนี้เสียก็หมดปํญหา จะไม่ถามข้อนี้ ถ้ามันเป็นออโธดอกซ์ ถูกต้องแท้จริงมันก็ทำลายตัวตน ทำลายตัวตนอย่างเดียวกันนั่นแหละ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 71.25-73.30) แยกออกมาเสียให้เป็น tradition tradition หรือ traditional commitment แยกออกมาเสียจากไอ้ตัวศาสนา แล้วเราก็จะพบไอ้ตัวศาสนา แล้วขอให้มองเห็นและเข้าใจว่าปัญหานี้ ปัญหานี้ มีด้วยกัน ทุกศาสนาทุกศาสนามีปัญหาอย่างเดียวกันนี้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 73.55 -74.50)
โดยแท้จริงมีศาสนาเดียวคือศาสนาของธรรมชาติ ธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ มีอย่างเดียว ทำอย่างนี้ เกิดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เกิดอย่างนี้ ทำอย่างนี้ เกิดอย่างนี้ แล้วก็เป็นเรื่องทำอย่างนี้แล้วดับทุกข์ได้ ทำอย่างนี้แล้วดับทุกข์ได้ คือศาสนาของธรรมชาติอย่างนี้ แน่นอนกว่า ถูกต้องกว่าปลอดภัยกว่า มีศาสนาเดียว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 75.14-75.58)เรื่องปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตา ที่เราเรียนและเราปฏิบัติกันอยู่ที่นี่ มันของธรรมชาติ มันของธรรมชาติ ไม่ใช่ของพุทธศาสนา แต่ด้วยเหตุที่พระพุทธเจ้าไปค้นพบมาบอก คนก็เข้าใจว่าของพระพุทธเจ้าไป คือมันก็ของธรรมชาติ พระพุทธเจ้าค้นพบ รู้เห็น เอามาบอก เอามาบอก ก็เลยได้ชื่อว่าเป็นของพระพุทธเจ้า (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 76.29-77.03)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 77.12-78.40) คนนี้เป็นคนที่ถามคำถามเรื่องแรกที่อาจารย์ไปพูดยืดยาวเกี่ยวกับเรื่อง reincarnation แต่เขาหวังว่าเขาไม่ได้ใช้คำ reincarnation นั้น เพราะว่าทำให้อาจารย์ตอบคนละแนวที่เขาสอนกัน สิ่งที่เขาต้องการทราบก็คือ มีบางสิ่งบางอย่างที่เกิดในชีวิตของคนซึ่งอธิบายยาก จะเป็นเรื่องระลึกชาติก็ดี จะเป็นเรื่องเขายกตัวอย่างเรื่องที่บางคนเมื่อญาติหรือคนที่ใกล้ชิดตายโดยอยู่คนละเมือง เราก็รู้โดยไม่มีใครบอก ไม่มีจดหมาย ไม่มีโทรศัพท์อะไรมาบอก แต่ก็รู้ว่าคนนั้นตายไปแล้ว เรื่องนี้ฝรั่งกำลังสนใจ แล้วกำลังมีจิตแพทย์บางคนก็ค้นคว้าเรื่องนี้ เขาก็อยากจะทราบว่าสิ่งเหล่านี้เราจะอธิบายอย่างไรโดยเราไม่ต้องไปพูดถึงว่ามีตัวตน นี่ก็อย่างหนึ่ง และสองก็แล้วเรื่องที่ที่อื่นเขาก็ชอบพูดกันถึง higher self ตัวตนที่สูงกว่า จะเป็นตัวตนที่สูงสุดหรืออะไรก็สุดแท้ แต่พูดถึงตัวตนสูงขึ้นไป ตัวตนสูงสุดนี้ มันขัดกับรากของพุทธศาสนาที่ว่าด้วยอนัตตา อาจารย์จะตอบได้ไหมครับ
ได้คือว่า เรายอมรับ เอ้า,จะยอมรับว่า reincarnation มีจริง แต่เราก็ขอร้องให้ทำลายตัวบุคคลที่ reincarnate นั้นไปเสีย อะไร reincarnate ทำลายสิ่งนั้นเสียก็หมดปัญหา ก็ไม่มีตัวทุกข์ แม้ว่าบุคคลผู้มี reincarnation มีจริง ก็ทำลายบุคคลนั้นเสีย มันก็จะไม่มีทุกข์ วิธีอื่นไม่มี (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 81.02-81.30)
ขอโทษอาจารย์ อาจารย์ตอบไม่ตรงคำถาม
ก็ยอมรับว่าเขาว่ามี เราก็ว่ามีแต่ขอให้ทำลายตัวบุคคลที่ทำ reincarnateนั้นเสีย
ครับ อันนี้ไม่ได้เป็นคำถามของเขาครับ
อ้าว ก็ๆไปตัดบทที่ไม่ต้องถามยังไง
คือเขาถามว่าสิ่งที่อธิบายยากเหล่านั้นจะอธิบายอย่างไร
เอ้า,ถ้าจะอธิบายก็ในทางพุทธศาสนาจะไม่เรียกว่าตัวตนจะเรียกว่าจิตหรือกระแสจิต
ครับ ขอโทษครับ เขาไม่ต้องการไปเน้นเรื่องเกิดใหม่ เกิดใหม่ ตัดเรื่องเกิดใหม่ออกก็ได้
อ้าว ก็ไม่มีตัวผู้เกิดใหม่ก็พอแล้ว
ครับเขาพูดถึงเรื่อง เขาพูดถึงเรื่องเช่นญาติที่เขารักมากๆตายไปแล้วเรารู้โดยไม่มีใครบอก สิ่งเหล่านี้จะอธิบายอย่างไร
อธิบายว่ากระแสจิต โดยไม่ต้องเป็นตัวตน ไม่ใช่ตัวตนเป็นเพียงกระแสจิตก็มีทางที่จะรู้ได้ ที่ติดต่อกันได้นั่นเป็นกระแสจิต ไม่ใช่ตัวตน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 82.33-83.00)
กระแสจิตมีได้โดยไม่ต้องเป็นตัวตน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 83.07-83.17-)
ที่เราพึงมีแต่กายกับจิต มีแต่กายกับจิตไม่ต้องมีตัวตน นั้นถ้ามันจะรู้ได้ไกลๆ รู้ได้ระหว่างไกลๆนี้ก็คือกระแสจิต โดยกระแสจิต ไม่ใช่ตัวตน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 83.31-83.50)
เรื่องของจิต บางอย่างแปลกจนอธิบายไม่ได้ แปลกจนอธิบายไม่ได้ เรื่องของจิตบางอย่างแปลกแปลกจนอธิบายไม่ได้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 84.00-84.16)
ความทุกข์ ความทุกข์ลำบากที่สุดของบุคคลคนนี้ไปปรากฏแก่จิตของเพื่อนที่อยู่ที่ประเทศอื่น หรือที่ตำบลอื่นได้ แต่ว่าในความหมายที่อย่างเดียวกันว่าบุคคลนี้เป็นทุกข์ แต่ว่ารูปแบบของความทุกข์ไม่จำเป็นจะต้องเหมือนกัน แต่พอให้รู้ได้ว่าคนนี้กำลังเป็นทุกข์ อย่างนี้เป็นของธรรมดาที่สุด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 84.43-85.10)
แต่รวมความแล้วว่าคนนี้กำลังเป็นทุกข์รู้แล้ว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 85.16-85.27)
นี่เป็นของธรรมดาที่สุด ขอให้ท่านคอยสังเกตดูให้ดีๆ จะเห็นว่าเป็นเรื่องธรรมดา ธรรมดาอยู่มาก เรื่องที่รู้ได้ว่าเพื่อนเป็นทุกข์นี่เป็นของธรรมดา(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 85.40-85.50)
ผมเองก็เคยผ่านมาแล้ว สองสามเรื่องคือเพื่อนเป็นทุกข์ แล้วก็รู้ว่าเพื่อนเป็นทุกข์ โดยไม่ต้องมีใครบอก มันมีภาพอะไรที่แสดงให้เห็นคล้ายๆกับภาพฝันหรือไม่ใช่ความฝัน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 86.06-86.20)
แต่รูปแบบของความทุกข์นั้นไม่ต้องเหมือนกัน แต่มันสรุปได้ว่าเขากำลังเป็นทุกข์(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 86.29-86.39)
แต่ว่าเรื่องนี้รู้ได้โดยกระแสจิต ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ ไม่ใช่..soul...อัตตา ไม่ใช่วิญญาณชนิดอัตตา(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 86.49-87.05)
อาจารย์ครับ แล้วที่เขาถามว่าการที่หลายคนอย่างเดี๋ยวนี้ในประเทศตะวันตกชอบพูดถึงคำว่า higher self พูดถึงตัวตนที่สูงขึ้นไปหรือสูงสุด ไม่ได้ใช้สูงสุด ใช้คำว่าสูงกว่า สูงขึ้นไป ตัวตนอย่างนี้ที่เขาพูดกันคืออาจจะเป็นตัวตนที่ดีกว่า มีความรักดีกว่า อะไรทำนองนั้น บางทีมันกำกวม แต่คำว่า higher self นี่ขัดกับหลักอนัตตาหรือไม่
เราจะไม่เรียกว่าตัวตน เราเรียกว่ามันเป็นเรื่องของจิต ที่มันพัฒนา มันพัฒนาสูงขึ้นไป อย่าไปเรียกว่าตัวตนเลย แม้คำพูดมันพูดไปในลักษณะทำให้เข้าใจว่าเป็นตัวตนน่ะ ... supreme self นาทีที่ 88.00... อย่าๆอย่าเป็นตัวตนดีกว่า เป็นเพียงจิตที่พัฒนาโดยวิธีใดก็ตามให้มันสูงกว่าธรรมดา มันสูงกว่าธรรมดา ขอให้จิตของเราสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ก็จะพ้นจากปัญหาทั้งหลายที่มี เอาเพียงแค่นี้ก็พอ ถ้ามีตัวตนจะมีความหนักขึ้นมาทันที ไม่ว่าตัวตนชนิดไหน จะมี burden เกิดจากตัวตนนั้นขึ้นมาทันที อย่าเอาเลยตัวตน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 88.32-89.58)
ปัญหานี้มีมาก มีมากในอินเดียเพราะว่าชาวอินเดียนั้นเขารับคำสั่งสอนทั้งอย่างที่เป็นฮินดูและเป็นพุทธ ถ้าเป็นฮินดูก็มี supreme self supreme self มีในฮินดู แต่ในพุทธศาสนาไม่มี ไม่มี แต่คำพูดมันใช้ปนกัน ประชาชนใช้คำพูดปนกัน เพราะฉะนั้นความลำบากมีมากในอินเดียที่ใช้ภาษาร่วมกันของสองศาสนา หรือสองลัทธิที่มีคำสอนต่างกัน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 90.33-91.04)
ประชาชนพูดว่า supreme self supreme self ก็ต้องการ ต้องการ แต่ถ้าพระพุทธเจ้าจะต้องพูดกับคนคนนี้ ท่านก็ใช้คำนี้ได้ ท่านต้องการ supreme self แล้วท่านก็ปฏิบัติธรรมะ ก็ยังมี ในบาลียังมีคำอย่างนี้ ต้องการมหาอัตตา มหาตตมะ มหาตมภิตังกตา เมื่อท่านต้องการ มหาตมา ท่านจงเคารพธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ อย่างนี้ก็มีในบาลี(ภาษาอังกฤษ นาทีที่91.39-92.36) นี้ถ้าเราเอาคำพูดเหล่านี้ออกไปเสีย ปัญหาเหล่านี้ออกไปเสีย เหลืออยู่แต่ว่าเราต้องการจะดับทุกข์ ดับทุกข์ ดับทุกข์ให้หมด เราก็ไม่ต้องสนใจคำพูดเหล่านี้ก็ได้ เราดับอัตตาเสีย ดับอัตตาเสีย เราก็ดับทุกข์หมดเหมือนกัน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 92.52-93.27)
คำว่า supreme self หรือว่า higher self นี้มันมีพูดได้ด้วยกัน ทุกแห่ง เพราะมนุษย์ต้องการที่ดีกว่าๆๆ มันเกิดคำพูดขึ้นในหมู่มนุษย์ทุกแห่ง ทุกหนทุกแห่ง ต้องการให้ตัวฉันที่ดีกว่า ตัวฉันนี้รู้สึกอยู่แล้ว ต้องการตัวฉันที่ดีกว่าๆ ก็พูดกันไปตามนั้น ตามแบบนั้น เรามีตัวฉันที่ดีกว่าตัวฉันที่ดีกว่าตัวฉันที่ดีกว่าด้วยกัน ทุกๆๆทุกแห่ง ทุกศาสนาก็พูดได้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 94.07-94.43) ถ้าเราจะไปเสียเวลาว่าสิ่งนี้มีจริงหรือไม่จริงมันก็เสียเวลามาก เราจึงลัดว่าดับทุกข์อย่างไร ดับทุกข์อย่างไร คำเดียวพอ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 94.57-95.21)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 95.29-95.42) ในการบรรยายครั้งแรก ท่านได้กล่าวว่าความรักก็คือทุกข์ มันกัดเจ้าของ ความรักกัดเจ้าของ อย่างนี้เป็นจริงเสมอไปหรือ
นี่อันนี้พูดไม่หมด จะความรักหรือความไม่รัก หรืออะไรก็ตามที่ยึดถือ ที่ยึดถือว่าของฉัน ต้องยึดถือว่าของฉันถึงจะกัดเจ้าของ ความรักนั้นต้องถูกยึดถือว่าของฉันถึงจะกัดเจ้าของ แม้ความไม่รัก ทุกๆอย่าง ถ้าไปยึดถือว่าของฉัน ก็จะกัดเจ้าของทั้งนั้น มันขาดแค่ว่ายึดถือ สิ่งที่ยึดถือทุกสิ่งจะกัดเจ้าของ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 96.25-96.49) ขอให้ใช้คำว่าทุกสิ่งๆ ยึดถือแล้วกัดเจ้าของ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 96.55-97.16) ทีนี้มันมีต่อไปว่าเรามีสิ่งนั้นได้ เราเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้นได้ เราใช้สิ่งนั้นได้ เรากินสิ่งนั้นได้ โดยไม่ต้องยึดถือ มันก็ไม่มีความทุกข์(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 97.26-97.43)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 97.52-98.14) เมื่อข้าพเจ้าเปรียบเทียบคริสต์ศาสนากับพุทธศาสนาก็เห็นหลายอย่างที่มันตรงกัน เดี๋ยวนี้ถ้าคนใดคนหนึ่งปฏิบัติศาสนาคริสต์อย่างถูกต้องจริงจังเต็มที่ เป็นสาวกของพระเยซูสมชื่อท่านจะคิดว่าอย่างไร ท่านอาจารย์จะคิดว่าอย่างไร เขาจะสามารถดับทุกข์แล้วเข้าถึงความเย็นได้ไหม
เขาก็จะเป็นชาวพุทธที่ดีด้วย เป็นคริสเตียนที่ดีด้วยพร้อมกัน ถ้าเขาสละอัตตาออกไป สละอัตตาออกไป reduced สละอัตตาออกไป แล้วความทุกข์ก็จะหมด(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 99.05-99.39) เราไม่ต้องฆ่าตัวตาย ไม่ต้องฆ่าตัวตาย แต่เราสละ ...นาทีที่ 99.45...อัตตาออกไป ก็เป็นการสละเป็น reduction ให้แก่ตัวเอง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 99.51-100.05) ไม่ต้องฆ่าตัวตาย ไม่ต้องฆ่าตัวตาย ถ้าใครแสดงมากเกินไปจนถึงกับยอมเสียชีวิตให้คนโง่ๆมันมองเห็น(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 100.21-100.36)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 100.41-101.38) คือเขาเข้าใจหลักว่าปฏิบัติอานาปานสติเพื่อไม่ปรุงแต่ง เพื่อดับทุกข์ แต่กำลังเข้าใจในทาง intellectual เกินไป แต่เขายังถูกปรุงแต่งอยู่เหมือนกัน เขาไม่รู้ว่ามันจะใช้เวลามากจนกว่าจะเป็นพระอรหันต์ที่เหนือดีเหนือชั่ว เพราะฉะนั้นเขายังทำไม่ได้ เขาก็เลยอาจจะต้องใช้เวลานานจนกว่าจะสำเร็จ ก็เลยขอคำแนะนำจากท่านอาจารย์ว่า ในชีวิตประจำวันนอกจากปฏิบัติอานาปานสติอยู่แล้ว เราจะปฏิบัติอย่างไรเมื่อมีความรู้สึกยินดียินร้าย มีความรู้สึกรัก เกลียด เกิดขึ้นเราจะปฏิบัติต่อมันอย่างไร
ข้อแรกเราจะต้องเห็นชัดว่ามันเป็นธรรมดา ที่บางคนจะทำได้เร็ว บางคนจะทำได้ช้า และบางคนจะทำได้ช้ามาก และบางคนจะทำไม่ได้เลย ที่ต้องเห็นเป็นของธรรมดา เร็วบ้าง ช้าบ้าง ช้ามาก หรือกระทั่งว่าไม่ได้เลย นี่เป็นของธรรมดา ก็สรุปความว่าถ้าปฏิบัติถูกวิธีก็เร็ว ไม่ถูกวิธีก็ช้า (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 103.06-103.39)
วิธีปฏิบัติก็อย่างที่ได้กล่าวมาแล้ววันก่อนๆว่าเป็นการกระทำ หรือรู้สึกของระบบประสาทเท่านั้น ไม่ใช่ของอัตตา อะไรเกิดขึ้น อะไรเกิดขึ้น มีสติรู้เร็วทันทีว่าโอ้,ระบบประสาทเท่านั้น ไม่ใช่อัตตา ทำอย่างนี้ได้ไปทุกๆๆเรื่องนี่เป็นวิธีที่ลัดที่สุด ช่วยให้เร็วที่สุด ทางตาทางหูทางจมูกทางลิ้นทางกายทางใจ มันจะรู้สึกอะไรขึ้นมาก็ระบบประสาทเท่านั้นไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่การกระทำของอัตตา นี่ผลของอานาปานสตินำมาสู่ความสามารถอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่104.21-105.09)
ถ้าเรื่องยากที่สุด เช่นเรื่องความรักเป็นต้น อย่าเป็นของอัตตาเลย เป็นของความรู้สึกปรุงแต่งทางระบบประสาทเท่านั้น ไม่ใช่อัตตารัก อัตตาถูกรัก ไม่ได้เกี่ยวกับอัตตา เป็นความรู้สึกทางระบบประสาทที่ปรุงขึ้นมา ปรุงขึ้นมา เป็นความคิดหลายๆชั้น จนมีปัญหาเป็นความทุกข์อย่างยิ่ง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 105.43-106.08) เดิน ไม่ต้องมีผู้เดิน นะเป็นตัวอย่างของบทเรียนที่ดี(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 106.13-106.19)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 106.25-106.38) มีความแตกต่างอย่างไรระหว่างกระบวนการแห่งการเข้าใจทาง
ระดับ intellectual ทางการคิด และกระบวนการแห่งการบรรลุทางพุทธวิธีทางวิปัสสนา ต่างกันอย่างไรครับ
นี่เป็นเรื่องของภาษา เป็นเรื่องของภาษาที่ใช้พูด ถ้าเป็นภาษาอังกฤษชาวอังกฤษต้องรู้ดีกว่าผม แต่เท่าที่ผมทราบเท่าที่ผมทราบว่า พวก intellect ทั้งหลายมันยังเนื่องด้วยเหตุผล ถ้ามันเป็น (นาทีที่ 107.24) ....wisdom มันเหนือเหตุผล มันถึงต่างกันมาก intellect ยังผิดได้ ยังเปลี่ยนได้ มันไปตามอำนาจแห่งเหตุผล ความรู้ความฉลาดที่ไปตามอำนาจแห่งเหตุผล ถ้าเป็น (นาทีที่ 107.34)... wisdom หมายความว่าไม่ต้องใช้เหตุผลแล้ว เหนืออำนาจแห่งเหตุผลแล้ว เห็นชัดว่าเป็นอย่างนี้อย่างนี้ อย่างนี้ก็เป็น wisdom ไม่ใช่ intellect (ภาษาอังกฤษ นาทีที่107.46-109.07)
conclusion ที่มาจาก intellect นี่ยังผิดได้ ถ้ามันมาจาก (นาทีที่ 109.15)... wisdom นี่มันผิดไม่ได้ ถ้ามันยังผิดได้ อย่างนั้นไม่ใช่ ..... wisdom ถ้ามันยังผิดได้ conclusion ด้วยการ ถ้ามาจาก intellect มาจาก reasoning มันยังผิดได้ ต้องมาจากความจริงที่ประจักษ์โดยแท้จริง (นาทีที่ 109.29) ....wisdom ใช้ได้ แต่ถ้ามันยังผิดอีก ก็ไม่ใช่…..wisdom (ภาษาอังกฤษ นาทีที่109.35-110.14) การทำอานาปานสติมุ่งหมายเพื่อจะให้มี …..wisdom
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 110.40-110.50) ท่านอาจารย์ขอกรุณาช่วยอธิบายละเอียดออกไปว่าวิทยาศาสตร์และมรรคเนื่องกันอย่างไร ในการสอนของท่านอาจารย์ คือ.......ทั้งที่จะปฏิบัติ กับวิทยาศาสตร์นี่เนื่องกันอย่างไร
ที่เรียกว่ามรรคในทางพระพุทธศาสนานั้นมันเป็นวิทยาศาสตร์ คือมันไม่ต้องอาศัยความเชื่อ เช่นเดียวกับวิทยาศาสตร์ทั้งหลายไม่ต้องอาศัยความเชื่อมาเป็นสิ่งที่จะเป็นๆเครื่องตัดสิน มันอาศัยความถูกต้องแห่งเหตุผลที่มีอยู่จริงเป็นเครื่องตัดสิน ถ้ามันๆๆมีเหตุผลอยู่ในตัวมันเอง ที่พิสูจน์พิสูจน์พิสูจน์ได้มันก็เป็นวิทยาศาสตร์ ถ้ามันยังต้องอาศัยความเชื่อ ความเชื่อความเชื่อมันก็ไม่ใช่วิทยาศาสตร์ พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้าจะให้มีความเชื่อก็ต้องเชื่อหลังจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คือความรู้ทาง ..... wisdom ออกมาแล้วจึงค่อยเชื่อ ถ้าอย่างนี้ความเชื่อนั้นใช้ได้ ถ้าเชื่อตาม tradition เชื่ออะไรตามนี้ใช้ไม่ได้ มันไม่ใช่พุทธศาสนา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 112.20-113.35)
๓ คำที่วิทยาศาสตร์ใช้กันอยู่นี่ดีมาก ค้นคว้า พิสูจน์ ทดลอง experiment research แล้วก็ prove อันนี้ดีมากขอให้ใช้ไอ้คำ ๓ คำนี้จะเป็นวิทยาศาสตร์อย่างเดียวกับที่พุทธศาสนามี(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 113.59-114.20)
อาจารย์จะสนใจเรื่องอะไรเกี่ยวกับสงคราม เรื่องความรัก เรื่องอะไรดี
เวลามันหมดแล้ว เวลามันหมด
พูดเรื่องสงครามก็ดีเหมือนกัน สงครามปัจจุบันนี้มาจากความเห็นแก่ตัวของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่าย ไม่มีความเห็นแก่ตัวแล้วไม่มีสงครามในโลกนี้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 114.57-115.18) หรือเพียงฝ่ายเดียวก็ได้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 115.21-115.26)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่115.27-116.10) ที่นี่เราก็พูดถึงสันติภาพและการไม่เบียดเบียนชีวิตอื่นแม้แต่ชีวิตเล็กน้อย แต่อย่างไรก็ตามโลกข้างนอกมันก็ไม่สงบเท่ากับสวนโมกข์ ท่านอาจารย์คิดอย่างไร ว่าเราสามารถประยุกต์ข้อปฏิบัติที่กำลังพูดกันในที่นี้ เพื่อใช้กับพวกผู้นำประเทศที่ ที่ยอมหรือชอบที่จะไปก่อการร้ายกับคนเป็นล้านๆคน เราจะประยุกต์ใช้กับพวกนี้ได้ไหม เราจะใช้อำนาจของสันติวิธีหรือจะใช้เมตตา ความหวังดีกับมันได้ไหม
ก็อย่างที่พูดแล้ว อย่างเดียวเท่านั้น ต้องไม่เห็นแก่ตัว ต้องไม่เห็นแก่ตัว ไอ้เมตตามันก็ไม่เห็นแก่ตัว ที่ว่าเรียกเมตตา เมตตา มันก็ไม่เห็นแก่ตัว ก็เห็นแก่ผู้อื่น เราช่วยกันประกาศ ประกาศให้เขารู้ว่าไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัวนั้นจะแก้ปัญหาได้ เพราะในโลกนี้ไม่มีไม่มีเห็นแก่ตัวมันก็ไม่มีปัญหา เอ้า,ถ้าโลกนี้ไม่เห็นแก่ตัวเราไม่ต้องมีเรือนจำ ไม่มีคุกตาราง เราไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีศาล ศาลยุติธรรม เราไม่ต้องมีโรงพยาบาลบ้า ไม่ต้องมีวัดวาอาราม เราไม่ต้องมีศาสนาเอาไหม ถ้าเราไม่มี ถ้าไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว ไม่ต้องมีสิ่งเหล่านี้ ไม่มีคุกตารางไม่มีตำรวจไม่มีศาล ไม่มีโรงพยาบาลบ้า ไม่มีวัดวาอาราม ไม่ต้องมีสิ่งที่เรากำลังลำบากอยู่นี่ ขอให้เราไม่เห็นแก่ตัวไม่เห็นแก่ตัวอย่างเดียว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 118.10-119.07)
พูดตัดบทเสียเลยว่า ถ้าไม่เห็นแก่ตัวก็ไม่ต้องมีศาสนา ศาสนาเป็นหมันไม่มีงานทำ ถ้าคนมันไม่เห็นแก่ตัว ท่านทั้งหลายก็ไม่ต้องมาสวนโมกข์ ศาสนาก็ไม่ต้องมี ถ้าไม่มีความเห็นแก่ตัว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 119.19-119.31)
แต่ที่เขาถาม เราจะใช้วิธีนี้แก้ปัญหาที่พวกนักการเมืองบางคนยอมใช้ความรุนแรง ระดับยิ่งใหญ่ เบียดเบียนคนเป็นล้านๆคน
คนนี้มันโง่ มันไม่รู้จักความเห็นแก่ตัว ไม่รู้จักความไม่เห็นแก่ตัว มันยังโง่อยู่ มันถึงแก้ปัญหาด้วยวิธีรุนแรง ด้วยการฆ่ากัน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 119.59-120.33) แล้วเราจะทำอย่างไรกับคนเหล่านี้ตัวเราเอง
เราไม่มีอำนาจ เราไม่มีอะไรจะไปสอนเขานี่ เราไม่มีอำนาจจะไปสอนเขา ถ้าว่าองค์การที่มันมีอำนาจ เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น มีอำนาจ ช่วยกันสอนเรื่องนี้ ปฏิบัติเรื่องนี้ สอนกันแต่เรื่องนี้ก็คงจะดีขึ้น เดี๋ยวนี้ไม่ได้สอนเรื่องนี้ สอนแต่วิธีเอาเปรียบ วิธีเอาเปรียบ เอาเปรียบคนอื่นได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 121.04-122.07)
มันน่าหัว น่าหัวเหลือเกินที่เราจะพูดว่าพระเจ้าพระเจ้าแท้ๆก็ต้องการไม่ให้มนุษย์นี่เห็นแก่ตัว พระเจ้าต้องการไม่ให้มนุษย์เห็นแก่ตัว แต่พระเจ้าก็ยังทำไม่ได้ มนุษย์ก็ยังเห็นแก่ตัวอยู่ พระเจ้ายังทำไม่ได้เลย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่122.27 - 122.49)
ถ้าพระเจ้าขี้เกียจ พระเจ้าขี้เกียจ ก็ว่าพระเจ้าก็เห็นแก่ตัว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่122.55 – 123.01)
ช่วยกันสิ ช่วยกันบอก ช่วยกันบอกว่าถ้าไม่เห็นแก่ตัวแล้ว เราไม่ต้องมีศาสนา ไม่ต้องมีวัดวาอาราม ไม่ต้องมีโรงพยาบาลบ้า ไม่ต้องมีศาล ไม่ต้องมีตำรวจ ไม่ต้องมีเรือนจำ มีคุกตะราง ไม่ต้องมีสิ่งเหล่านี้ ช่วยกันบอก ช่วยกันบอก นาทีที่ 123.23 ....ไม่เห็นแก่ตัว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 123.25-123.56)
เดี๋ยวนี้เราเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว จนเราสร้างสิ่งเหล่านี้ไม่ทัน สร้างเรือนจำไม่ทัน สร้างตำรวจไม่ทัน ไม่พอ สร้างศาลไม่ทัน สร้างโรงพยาบาลบ้าไม่ทัน สร้างศาสนาไม่พอไม่ทัน เพราะมันเห็นแก่ตัวเร็วเกินไป(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 124.13-124.40)
ความเจริญทางวัตถุ เจริญทางวัตถุ ยิ่งเจริญมนุษย์ยิ่งเห็นแก่ตัว ยิ่งเจริญทางวัตถุมนุษย์ยิ่งเห็นแก่ตัว เราเห็นชัดอยู่แล้ว ความเจริญทางวัตถุมันมาก เร็วเกินไป สร้างแต่อุตสาหกรรม แต่พอจะสอนความไม่เห็นแก่ตัว ไม่มีใครทำ ไม่มีใครทำอะไรได้ หนังสือพิมพ์สักฉบับก็ยังหายาก ความเจริญทางวัตถุที่เรากำลังบูชากันนักมันเพิ่ม เพิ่มความเห็นแก่ตัว ผลักดันความเห็นแก่ตัว โลกจึงเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 125.21- 126.25)
เอาละ เอาละ สรุปความเสียที จบเรื่องเสียทีว่าถ้าคนอื่นเขาไม่เอา เราคนเดียวเอา เอา สร้าง ลด ลดความเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว คนเดียวเราทำ เราจะขอทำ เราไม่กลัว เราไม่กลัวว่าคนอื่นเขาจะไม่ทำ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 126.43-127.11)
เราไม่เห็นแก่ตัว แล้วใครฆ่าเราไม่ได้ ไม่มีตัวให้ฆ่า(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 127.16-127.23)
(คำถามภาษาอังกฤษ นาทีที่ 127.40-129.06) ในจิตวิทยาทางตะวันตก เขาก็มีศัพท์บัญญัติของเขาหลายๆคำ ซึ่งกำกวมบ้างชัดเจนบ้าง ในจิตวิทยาตะวันตกก็ใช้คำว่า self อยู่เหมือนกัน ใช้กันบ่อยๆโดยแต่ละลัทธิจะอธิบายตามความเข้าใจของเขา โดยทั่วไปคำว่า self นั้นก็มีอะไรที่จะมองว่าเป็นลบบ้างคือมันทำเสียหาย แล้วก็มีที่เป็นบวกด้วย คือสิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิต เช่น การที่จะประคองชีวิต การที่จะบริหารชีวิต ทำนองนี้ ก็เลยสรุปว่าในเรื่อง self นั้นก็มีทั้งลบและทั้งบวก ถ้าเราไปตัดเรื่อง self นี้แล้วเสีย ข้าพเจ้าก็ยินดีในส่วนที่เป็นลบที่ไปทำการเสียหาย ก็ยินดีที่จะขจัดสิ่งเหล่านั้นออกไป แต่สำหรับส่วนที่ดี ที่จำเป็นสำหรับชีวิต ถ้าไม่มี self อะไรจะจัดการกับเรื่องนี้
เราจะมี self ชนิดที่ไม่เห็นแก่ตัว อย่ามี self ชนิดที่เห็นแก่ตัว ถ้ามันเป็น self เฉยๆ อย่าง instinct นี่มันไม่เห็นแก่ตัว self โดย instinct นี่ไม่เห็นแก่ตัว แล้วมันก็ฉลาดๆ เป็น wisdom แล้วก็เลิกเห็นแก่ตัวกัน นั้นถ้าจะมี self ก็อย่ามี self ชนิดที่ให้เห็นว่าตัว จงมี self ชนิดที่เห็นว่ามิใช่ตัว อนัตตา not self / not real self คือไม่ยึดถือ ไม่ยึดถือว่าตัว อย่างนี้ใช้ได้ เรามีจิตวิทยาที่ถูกต้องเพื่อทำลายความเห็นแก่ตัว อย่ามีจิตวิทยาที่เพิ่มความเห็นแก่ตัว ถ้าจะเอากำไรมากๆ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 131.13-132.49)
แม้ว่ามันจะมิใช่ self ไม่ใช่ self แต่มันก็มีปัญญาพอที่จะแก้ปัญหาของตัวมันเอง ตัวมันเองที่ไม่ใช่ self มันจะมีปัญญาพอจะที่แก้ปัญหาของตัวมันเอง ทั้งที่ไม่ใช่ self มันก็ไม่มีปัญหาอะไร เราก็ไม่มีความทุกข์อะไร ไม่ต้องมี self แล้วก็ทำทุกอย่างโดยไม่ต้องมีความทุกข์ ก็เรียกว่าแม้จะไม่ใช่ self ก็มีปัญญาพอที่จะแก้ปัญหา ป้องกันไม่ให้เกิดความทุกข์(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 133.46-134.15) หมด หมดเวลาแล้ว(ภาษาอังกฤษ นาทีที่134.19 -134.25)
วันนี้สองชั่วโมงครึ่ง ขอบคุณ ขอบคุณ ทนมาสองชั่วโมงครึ่ง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่134.37-134.45)
เวลาไม่ค่อยพอด้วยต้องขออภัย......(ภาษาอังกฤษ 134.54-136.10)