แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จิตนี้ได้รับการฝึกดีแล้ว ฝึกดีแล้วก็เป็นจิตที่ฉลาดที่สุด ก็มองเห็นสิ่งทุกสิ่งๆว่าไม่ควรจะไปยึดถือ ไม่ควรจะ attach ไม่ควรจะ bring to ...(นาทีที่ 0.25)…...หรือ classified อย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่โง่ไปยึดถือว่าเป็น positive หรือ negative น่ารักน่าพอใจมันก็เป็นไปตามธรรมชาติ จิตก็เป็นอิสระ จิตเป็นอิสระ สิ่งทั้งปวงที่เคยยึดถือเป็นตัวเราเป็นของเราก็ถูกสลัดออกไปนี่เป็นขั้นที่ ๔ เรียกว่าฝึกให้ปล่อยวางในธรรมชาติที่ไม่ควรจะยึดถือ
นี่เป็น Bird’s eyes view เรื่องที่ ๓ คือฝึกสติ หรือว่าสติ อานาปานสติภาวนา เรื่องที่ ๑ เรารู้เรื่องที่เราเป็นทุกข์เพราะมีอวิชชาจับฉวยสิ่งต่างๆมาเป็นตัวตนจนมันกัดเจ้าของนี่เรื่องที่ ๑ เรื่องที่ ๒ เรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นต้องควบคุมให้ได้ ถ้ามันควบคุมไม่ได้ก็มาถึงเรื่องที่ ๓ คือฝึกให้ควบคุมได้เรื่องจิต Bird’s eyes view ของเราจึงมีเป็น ๓ เรื่องอย่างนี้ อาจารย์ที่ center จะช่วยให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นๆ จึงปฏิบัติได้เต็มตามความปรารถนา นี่เรื่องแรก Bird’s eyes view มีอยู่อย่างนี้ ขอให้ปฏิบัติไปได้ตามนั้นทุกๆคนเถิด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 2.22 – 4.00)
ในที่สุดนี้ขอขอบคุณ ขอบคุณท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ฟังที่ดีเป็นเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว ๒ ชั่วโมงแล้ว ขากลับไป center walking without the walker เป็นบทเรียนแรกให้เป็นผู้อยู่เหนืออุปาทานว่าตัวตน ตัวตนเป็นลำดับไป ขอปิดการประชุม (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 4.35-5.23) (นาทีที่ 5.23-5.53 พูดถึงดอกกรรณิการ์)
walking without the walker จำโดยส่วนรวมว่า doing without the doer (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 6.00-6.20) เมื่อมันไม่มี self แล้วไอ้ความทุกข์หรือปัญหามันก็ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่ตั้งมันก็ไม่มีความทุกข์นั่นเอง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 6.31-6.45) นี่คือ freedom สูงสุด freedom จาก the self (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 6.52-6.57 )ไม่ติดคุกไม่ติดตารางของ self อีกต่อไป(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 7.03-7.12 )
ขอแสดงความหวังว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ ถ้าภายใน ๑๐ วันไม่สำเร็จก็ปฏิบัติต่อไปๆๆ ต่อไปจนสำเร็จได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 7.22-7.43) อย่าขี่รถจักรยานครั้งเดียวล้ม ล้มแล้วก็ไม่พยายามอีกต่อไป (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 7.50-8.00) ท่านจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าๆ หรือเกินค่าในการที่มาศึกษา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 8.10-8.32) มีชีวิตเย็นและเป็นประโยชน์เหมือนดอกกรรณิการ์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 8.38-8.53) ชีวิตอย่างนี้ไม่กัดเจ้าของเลย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 8.57-9.05)
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ธรรมบรรยายแก่คณะชาวต่างประเทศ แทรค ๑ ครั้งที่ ๒ วันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๔ เวลา ๕.๐๐ น.
ณ ลานม้าหินที่หน้ากุฎิ
ในการบรรยายครั้งนี้ จะขอฝากพูดถึง ธรรมปริทัศน์หรือ Bird’s eyes view อีกครั้งหนึ่ง ของผลที่จะได้รับจากการปฎิบัติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 10.09-10.29) ในวงงานของพุทธบริษัทนี่เราก็ถือกันว่ามี Bird’s eyes view มี อยู่ ๓ ชุด หรือ ๓ วงด้วยกัน วงที่ ๑ ก็เรื่องที่เราจะต้องศึกษาเล่าเรียน วงที่ ๒ ก็คือเรื่องที่เราจะต้องปฎิบัติ วงที่ ๓ ก็คือเรื่องผลพึงจะได้รับจากการปฎิบัติโดยสมบูรณ์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 11.18-11.54)
ที่ท่านทั้งหลายได้ยินอยู่เป็นประจำ ก็คือคำ ๓ คำ ว่า ปริยัติ ปฎิบัติ ปฎิเวท นี่มันเรื่องความรู้ เรื่องการปฎิบัติ เรื่องของผลการปฎิบัติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 12.10-12.33) ช่วงเวลาอันเล็กน้อยจะเป็นการบรรยายครั้งสุดท้าย ที่เราจะมองดูในลักษณะ ลักษณะปริทัศน์ คือมองดูโดยทั่วๆไป ที่เกี่ยวกับผล ที่เราจะได้รับทั้งในเรื่องของการอยู่ในโลกนี้และการที่ออกไปจากโลกนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 13.13-13.55) เรื่องที่จะต้องรู้ล้วนมีมากมาย แต่ที่เป็นทั้งหัวใจ หรือสรุปรวมของหลักธรรมะที่สำคัญๆ แล้วก็เรียกกันสั้นๆ ระบุไปยังเรื่องอริยสัจ ๔ หรือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องสำคัญแต่ว่ากล่าวอย่างสั้นๆ ก็เรียกว่า อริยสัจ ละเอียดลออไปก็เรียกว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาท นี่เป็นเรื่องที่เราจะต้องรู้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 14.50-15.35)
สำหรับเรื่องที่จะต้องปฎิบัติก็มีมากมาย มีมากมาย แต่เรามาระบุ ปรึกษากันโดยเฉพาะ คือเรื่องอาณาปาณสติ ปฎิบัติอาณาปาณสติโดยสมบูรณ์ มันจะรวมทุกเรื่อง จำเอาไว้ทั้งหมด เป็นเรื่องไตรสิกขา ก็ดี เรื่องอริยมรรคมีองค์ ๘ ก็ดี อะไรๆ ก็ดี มันจะรวมอยู่ในคำว่า อาณาปาณสติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 16.13-17.05)
สำหรับผลของการปฎิบัตินั้น ต้องแยกออกเป็น ๒ ส่วนจึงจะสมบูรณ์ คือส่วนที่เป็นความสุข ความสงบเย็นที่จะได้รับนั้นส่วนหนึ่ง ส่วนที่เป็นประโยชน์ที่เขาจะทำประโยชน์ ประโยชน์ต่อไปกับผู้อื่น นั่นก็อีกส่วนหนึ่ง ทั้ง ๒ ส่วนนี้เรียกว่า ความสงบเย็น และความเป็นประโยชน์ นี่เป็นส่วนที่ ๓ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 17.48- 18.28)
สำหรับเกณฑ์ง่าย ๆ ที่เราจะมาพูดกันในเรื่อง ผลของการปฎิบัตินี่ ก็พอจะแบ่งได้เป็น ๔ ระดับ คือเรื่อง กาม เรื่อง รูป เรื่อง อรูป แล้วก็เรื่องนิโรธ ๔ คำนี้ จำไว้ให้ดีเถอะ จะช่วยได้มาก จะรู้ได้ครบถ้วน ทุกๆ ชั้น ทุกๆ ระดับ ทั้งในเรื่องปฎิบัติ และผลของการปฎิบัติ แยกเป็น ๔ เรื่อง คื่อ กาม รูป อรูป และ นิโรธ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 19.17-20.17)
๓ เรื่องแรก คือ กาม รูป อรูป นั่นเป็นเรื่องที่เป็นปัญหา คือทำให้เกิดตัญหา ทำให้เกิดความทุกข์ ทำให้เกิดหน้าที่ หน้าที่ที่เราจะต้องปฎิบัติ เพื่อกำจัดปัญหาเหล่านั้นเสีย นี่เรียกว่าฝ่ายที่จะต้องละหรือควมคุมมากกว่า ส่วน เรื่องนิโรธนั่นเป็นที่สิ้นสุดของปัญหา คือปัญหาเกี่ยวกับสิ่งทั้งสามนั้นมันหมดไป (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 21.00-21.45) เป็นการบัญญัติของผู้ที่มีสติปัญญา ที่บัญญัติกันมาตั้งแต่ก่อนพุทธกาลก็ได้ สำหรับ ๔ คำนี้ มนุษย์ที่มีสติปัญญาได้มองเห็นว่าในฝ่ายที่เเรื่องโลก โลกที่ยุ่งยากที่มีปัญหาก็มีเรื่อง ๓ เรื่องแรก ถ้าหมดปัญหาก็เป็นเรื่องเหนือโลก คือเรื่องสุดท้าย แต่ทั้ง ๔ เรื่อง นี่เป็นเรื่องตามธรรมชาติ เป็นเรื่องตามธรรมชาติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 22.29-23.16 )
ถ้าเราจะไม่พูดอย่างเรื่องของธรรมะ ไม่พูดเป็นเรื่องของธรรมะ พูดเป็นเรื่องของธรรมชาติล้วนๆ นั่นก็คือ ลำดับๆแห่งจิตใจของมนุษญ์ ขอให้ตั้งใจศึกษาเรื่องนี้ ว่ามันเป็นเรื่องลำดับแห่งชีวิตของมนุษย์ที่มันเลื่อนไปตามลำดับ เป็นเรื่องกาม เรื่องรูป เรื่องอรูป หรือเรื่องนิโรธ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 23.53-24.40)
เรื่องแรก คือเรื่อง กาม ที่เป็นเรื่องของธรรมชาติ เพื่อการสืบพันธุ์ เพื่อไม่สูญพันธุ์ ธรรมชาติก็ใส่เรื่อง ที่เรียกว่า กาม นี่มาเป็นเครื่องบังคับ หรือดึง หรือล่อ หรือหลอก ก็แล้วแต่ ในสิ่งที่มีชิวิต ทำการสืบพันธุ์ แต่การสืบพันธุ์มันไม่สนุก ลำบาก ยุ่งยาก เป็นทุกข์ การสืบพันธุ์นั่น แต่เรื่องกาม เป็นเรื่องสนุกเป็นเรื่องเอร็ดอร่อย สนุกสนาน ธรรมชาติก็ใช้เรื่องกามนี่มาเป็นเครื่องล่อให้มนุษย์ ทำการสืบพันธุ์ ในสิ่งที่มีชีวิตมันจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ และมีความรู้สึกในทางสืบพันธุ์ประจำมาด้วยเสร็จ นั่นเป็นเรื่องแรกที่เราจะต้องเผชิญ กันกับเรื่องการสืบพันธุ์ โดยการที่มีกาม หรือ กามารมณ์นี่ เป็นเครื่องหลอก เป็นเครื่องล่อ เป็นค่าจ้าง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 25.52 -27.54 )
แม้คนพวกหนึ่งจะเห็นว่ากามารมณ์เป็นเรื่องสูงสุดของมนุษย์ บูชากามารมณ์กันพักหนึ่งๆ และมีพวกที่มีความเห็นสูงขึ้นไปว่า ไม่ว่าจะเรื่องกามารมณ์ และเรื่องการสืบพันธุ์ แล้วจะมีอะไรเหลืออยู่ จึงมาถึงเรืองที่ ๒ คือเรื่องรูปธรรมหรือวัตถุธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ คือปัญหาของเรา ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ เกี่ยวกับวัตถุธรรมล้วนๆ ร่างกายล้วนๆ ข้าวของ สิ่งของล้วนๆ วัตถุล้วนๆ ซึ่งจะต้องมันๆเรียบร้อย ไม่ให้มีปัญหา แล้วก็พอใจในสิ่งเหล่านี้ ยิ่งกว่าที่เคยพอใจในกามารมณ์ เรื่องที่ ๒ มันจึงเป็นเรื่องรูปธรรมล้วนๆ ไม่เกี่ยวกับกามารมณ์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 29.00 -30.28 )
เรื่องต่อมาพวกหนึ่งเห็นว่า เรื่องรูป เรื่องรูปธรรมล้วนๆ นี่มันก็ยังต่ำไป ยังหยาบไป และเรื่องที่ไม่มีรูป ไม่มีรูป ไม่ได้ นี่มันจึงเลื่อนกลไกไปในสิ่งที่ไม่มีรูป เช่นที่คนเราสนใจเรื่องเงินทองข้าวของทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติวัตถุต่างๆ เสร็จแล้วต่อไปก็ยังเคลื่อนต่ำไป เข้าไปสนใจในเรื่องเกียรติยศชื่อเสียง สิ่งที่มันไม่มีรูป มันจึงไปอยู่ชั้นที่ ๓ ไม่มีรูป ไม่เกี่ยวกับรูป แต่ก็ให้ความสงบสุข พอใจได้เหมือนกัน โดยเหตุที่สูงไปกว่าประจักษ์เป็นเรื่องที่ ๓ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 31.26-32.52) อีกต่อมาพวกที่ ๔ เห็นว่าทั้ง ๓ เรื่องนี้ทั้ง ๓ เรื่องนี้ ยังเป็นเรื่องรบกวน รบกวน ไม่น้อย ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง มันรบกวน มันจึงเลื่อนไปหาสิ่งเหนือสิ่งทั้ง ๓ นี้ขึ้นโดยไม่มีการรบกวน เรียกว่าเป็นเรื่องสุดท้าย ไม่เป็นชีวิตที่ไม่มีการรบกวน เป็นชีวิตที่ไม่หิว ไม่ต้องการอะไรอีกต่อไป เป็นอันดับสุดท้าย (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 33.32-34.15)
principle หรือหลักเกณฑ์นี้จะถูกหรือผิดก็สุดแท้ ท่านทั้งหลายคิดดูเอาเอง จะเป็นเรื่องที่ว่าคนโบราณๆ ก็ได้มองเห็นแล้ว เขาก็ได้มองเห็นว่าเป็นเรื่องที่ของมนุษย์ เป็นเรื่องที่มนุษย์จะต้องจัด จะต้องทำให้มันสูงไปตามลำดับ สูงไปตามลำดับ จากเรื่องกามเป็นเรื่องตั้งต้น ไปถึงเรื่องรูป บริสุทธิ์ล้วนๆ แล้วก็ไปถึงรูป สิ่งที่ไม่มีรูป ไม่มีรูปเป็นอรูป แล้วก็เป็นเรื่องที่จบ จบสิ้นสุดๆ ของสิ่งทั้งสามนี้ ได้สอนกันมาอย่างนี้ แม้ว่าจะมันสูงต่ำกว่ากันบ้างเป็นลัทธิ หรือเป็นศาสนาแต่ละศาสนา แต่มันก็เกี่ยวกับเรื่องทั้งสี่นี้เท่านั้นแหละ ก็เรื่องทั้งสี่นี้ป็นพื้นฐานของชีวิต ของปัญหาของชีวิต ขอให้ท่านเข้าใจ ไอ้สิ่งทั้งสี่ หรือเรื่องทั้งสี่นี้ไว้ให้ดีเป็นพื้นฐาน สำหรับการศึกษา และการปฏิบัติ และการได้รับผลของการปฏิบัติ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 35.35-36.25)
ทุกคนจะเห็นได้ง่าย ๆ ว่าคนหนุ่มคนสาวตั้งต้นชีวิตด้วยเรื่องของกาม ศึกษาเล่าเรียน หาเงินหาทอง มาซื้อหาสิ่งที่เรียกว่า กาม ในเรื่องเกี่ยวกับกาม หรือ เพศ หมดลงไป ลดลงไป จนมาถึงเรื่องหลักทรัพย์สมบัติ ที่เป็นหลักทรัพย์ของชีวิต คือทรัพย์สมบัติ ต่อมายังเห็นว่า มันยังต่ำเหลือเกิน เกียรติยศชื่อเสียง เกียรติยศชือเสียง มันก็วุ่นวาย วุ่นวายด้วยเกียรติยศ ชื่อเสียง แล้วก็มาถึงสิ่งสุดท้าย ก็หยุด สงบจาก สิ่งเหล่านั้นเป็นอิสระ อิสระออกมาจากสิ่งเหลานั้น นี่เรียกว่า หลุดพ้นจากโลก หรือท่านจะใช้คำว่าไปอยู่กับพระเจ้าก็ได้ ไปอยู่กับพระเป็นเจ้า เหนือกาม เหนือรูป เหนืออรูป แล้วไปอยู่กับพระเจ้า อย่างนี้ เราจะใช้คำอย่างนั้นก็ได้ แต่ในทางธรรมะนี้เราเรียกว่า เหนือโลก ก็หมายถึงจุดที่อยู่เหนือกาม เหนือรูป เหนืออรูป ก็จะเรียกว่า เหนือโลก มันมีอยู่ ๔ อย่าง อย่างนี้ ท่านจะทำได้เท่าไร จะได้เพียงอย่างเดียว หรือ ๔ อย่าง ก็สุดแท้แต่ แต่เรื่องทั้งหมดเมื่อดูกัน โดยเรียกว่า Bird’s eyes view มันมีอยู่ ๔ขั้นตอนอย่างนี้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 37.57- 40.29)
ทีนี้เราก็มาดูกันถึง ความรู้สึก ผลที่จะได้รับ ความพอใจ ที่จะได้รับจากสิ่งเหล่านี้ เรื่องกาม กามนี่ก็ให้ความพอใจไปตามแบบของกาม ซึ่งจะไม่ต้องอธิบายกันนัก ก็พอจะรู้จักกันได้เอง เรื่องกามารมณ์ทั้งหลาย ให้ความยินดีอย่างไรๆ ในโลกนี้ แต่อย่าลืมว่า มันกัด ถ้าไปยิ่งรัก ยิ่งยึดถือยิ่งพอใจมาก มันก็กัด มันก็กัดคือให้ความทุกข์ กลับมาพร้อมกันด้วย นี่คือประโยชน์ที่ได้รับจากกาม หรือไม่กาม มีแต่รูปอันบริสุทธ์ มันก็ไม่กัดอย่างกาม ถ้าจะกัด มันก็กัดตามแบบของรูปบริสุทธิ์ แต่มันกัดน้อยกว่า ยังพอใจได้มากกว่า ถ้าสูงขึ้นไปถึงอรูป ก็ยิ่ง ยังกัด แต่ว่าน้อยกว่า ๆ จนกว่าจะไปถึงในนิโรธะ หรือ เหนือโลก โลกุตตระ มันจึงจะไม่กัด ไม่กัดเลย ที่ต่ำกว่านั้นมันกัดเจ้าของ ไม่มากก็น้อย ไปตามลำดับ ๆ มันคือชีวิตชนิดที่กัดเจ้าของไปตามลำดับ เรื่องกาม เรื่องรูป เรื่องอรูป ถ้าเหนือไปเสีย เป็นโลกุตตระแล้วก็ไม่มีกัด นี่ธรรมชาติ มันก็มีอยู่อย่างนี้ ซึ่งเราควรจะมองเห็นสถานะเป็นผลของการมีชิวิตในการปฎิบัติหน้าที่ ต่างๆ ในชิวิตนี้มันจะมีผลเป็นลำดับๆ อย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 42.17-44.42)
๓ อย่างขั้นต้นคือกาม คือรูป คืออรูป ๓ อย่างข้างต้นนี้ เป็นที่ตั้งแห่งความหิว แล้วก็จะต้องมีความหิว ในสิ่งทั้ง ๓ นี้ สิ่งทั้ง ๓ นี้เป็นที่ตั้งแห่งความหิว สิ่งที่ ๔ สุดท้าย คือ นิโรธะ นั้น เหนือความหิว ไม่เกี่ยวกับความหิว ถ้ารู้จักสิ่งทั้ง ๓ นี้ดี ก็มันไม่มีหิว หิวมันคืออยากจะได้ อยากจะมี อยากจะมีความหิว เพราะเราจีงเห็นได้ว่า ชีวิต ๓ ระดับ ที่ยังมีความหิว เป็นของโลกๆ ธรรมดา ไม่เหนือโลก สมมติว่ารู้จักทั้งหมดนี้ดี แล้ว ไม่หิว หยุดหิว ไม่มีหิว ก็จะว่าเหนือโลก ท่านจึงแบ่งชีวิตชนิดที่ยังหิวอยู่ หิวอยู่ ดิ้นรนไป ต่อสู้ไป กับชีวิตอีกระดับหนึ่ง ไม่หิว ไม่ต้องการอะไร ๆ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 45.57-47.24)
ท่านก็มองเห็นได้เองว่า ถ้าหิว มันก็ต้องหากิน และกิน ถ้าหิว ก็ต้องหามากิน และกิน เมื่อหิวอยู่ก็กิน ต้องหามากิน หิวอยู่ต้องหามากิน ถ้าไม่หิวๆ มันก็ไม่ต้องหามากิน และมันก็ไม่ต้องกิน ถ้ามันไม่หิว อันไหนจะดีกว่ากัน แต่บางคนอาจจะสงสัยว่า ไม่หิว และไม่กิน นั้น จะอยู่ได้อย่างไร นี่เราค่อยพูดกันอีกที แต่เดี๋ยวนี้มาเปรียบเทียบดูอีกทีว่า หิวหากินด้วยความหิวเรื่อยไป กับไม่หิวอะไรไม่หิวอะไร ไม่ต่อสู้ดิ้นรนอะไรด้วยความหิว สองอย่างนี้อันไหนจะดีกว่ากัน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 48.16-50.09)
คำถามที่แคบเข้ามา ก็จะถามแต่เพียงว่าเราจะมีชีวิตชนิดที่หิว หิว และจะต้องกินอยู่ตลอดเวลา กับชีวิตที่ไม่หิว ไม่รู้สึกหิว ไม่ต้องกินอยู่ตลอดเวลานี่ ๒ อย่างนี้ ไหนจะดีกว่ากัน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 50.28-50.49) ทีนี้คำตอบมันจะแสดงให้เห็นได้ว่า ถ้ามีชีวิตชนิดที่มีตัวตน มี self มีตัว มีตัวตน มี egotic / concept of ego มีตัวตน ชีวิตนี้จะยังหิว และต้องกิน ต้องหิวอยู่ตลอดเวลา ถ้าเรามีชิวิตที่พ้นแล้ว ที่เหนือแล้ว คือไม่มีความรู้สึกว่าตน ไม่มีความรู้สึกว่าอัตตา ว่าตัวตน นี้ มันจะไม่มีตัวตน ไม่มีตัวกูที่หิวหรือ .....(นาทีที่ 51:30)......กิน มีแต่ระบบความรู้สึกของร่างกายและจิตใจ ระบบประสาทของร่างกายและจิตใจ ทำงานไปตามหน้าที่ ไม่ต้องมีตัวตน อย่างที่เราขอร้องท่านทั้งหลายว่าจงเดินมาที่นี่โดยไม่ต้องมีผู้เดิน จงทำอะไรๆ ไปโดยไม่ต้องมีตัวผู้ทำ สรุปความว่าชีวิตที่ยังมีอัตตา ยังมีความรู้สึกว่าอัตตา อุปาทานว่าอัตตา ยังต้องหิว ต้องหากิน ต้องหิว กับชีวิตที่ไม่มีอัตตา ไม่มีความยึดมั่นว่าอัตตา ว่าตัวตน แล้วจะไม่รู้สึกหิวชนิดนี้ คือหิวโดยกิเลส หิวด้วยความไม่รู้ หิวด้วยอวิชานี้จะไม่มี มันรู้แต่ว่าหน้าที่อะไร ควรทำอย่างไรควรทำ หน้าที่อะไรก็ทำไป โดยไม่มีกูผู้ทำ ฉะนั้นจึงไม่มีกูผู้หิว ผู้กิน หรือผู้อะไรๆ เลย ก็เลยได้ชีวิตเป็น ๒ ชนิด ถ้ามีอัตตา ก็ต้องหิว กินไป ถ้าไม่มีอัตตา ก็ไม่ต้องหิว ก็ไม่ต้องกิน แล้วก็เป็นสุขที่สุด(ภาษาอังกฤษ นาทีที่52.44-55.07)
ถ้าชีวิตนี้ยังประกอบไปด้วยอวิชชา อวิชชา ความไม่รู้ มันก็ต้องมีความสำคัญมั่นหมายว่ามีตัวตน มีตัวกู มีตัวฉัน มันก็มีกิเลสต่างๆ รวมทั้งความหิวนี่ด้วย นั้นมันจึงมีชีวิตอยู่ด้วยความหิว มีชีวิตอยู่ด้วยความหิว หลีกไม่พ้น แต่ถ้ามันมีวิชชา มีความรู้อันถูกต้อง ไม่มีตัวตน มันมีการทำหน้าที่ไปตามธรรมชาติ ของระบบของหน้าที่นั้นๆ ก็ปฏิบัติไปในลักษณะที่เป็นหน้าที่ตามธรรมชาติ อย่าเอาตัวกูขึ้นมา อย่าเอาตัวกูขึ้นมาเป็นเจ้าของในชีวิต หรือเป็นตัวชีวิต มีความรู้ที่แท้จริง เป็นตัวดำเนินชีวิต ก็ไม่มีตัวเรา ไม่มีตัวกู ไม่มีตัวตน ไม่มีผู้หิว และไม่มีผู้สนองความหิว ก็เป็นชีวิตที่เรียกว่า เย็นๆ เป็นประโยชน์ เย็นเป็นประโยชน์ ถ้าท่านปฏิบัติธรรมะสำเร็จ ท่านก็จะมีชิวิตชนิดนี้ คือ เย็น ๆ ๆ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 56.30-57.44)
ถ้าท่านประสพความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมะ โดยเฉพาะคืออาณาปานสติ ความสำเร็จนั้นจะนำไปสู่ความรู้ ที่ทำให้เห็นได้ว่าไม่มีอัตตา นั้นมันก็จะหมดไปโดยอำนาจของความรู้ นั่นมันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในชีวิตในจิตใจ ไม่มีการยึดมั่น ถือมั่นว่า อัตตา อัตตา อีกต่อไป มันเป็นชีวิตที่อยู่เหนืออวิชชา ไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวผู้หิว ไม่มีตัวผู้ที่จะต้องสนองความหิว นี่ท่านคิดดูว่าจะไปอย่างไรบ้าง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 58.40-59.47)
บางคนมองไปในแง่ว่าถ้าไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตาแล้วมันก็เป็นความสูญเสียที่สูญเสียสูญสิ้น สิ้นเนื้อประดาตัว ....(นาทีที่ 60.07)......ก็เลยไม่ต้องการ ไม่ต้องการ ไม่ต้องการไอ้ชีวิตในชนิดที่ว่ามันไม่มีอัตตา ตามใจเขาสิ เขาอยากมีอัตตาก็มีไป ก็มีชิวิตที่หิว แล้วกัดเจ้าของอยู่เรื่อยไป หากต้องการมีชีวิตที่ไม่หิว คือไม่กัดเจ้าของ เราก็ต้องถอนไอ้ต้นเหตุของมันคืออัตตา เอาความยึดมั่นถือมั่น attachment ว่าอัตตาออกไปเสียได้ ก็ไม่มีตัวผู้หิว หรือความทุกข์ที่เกี่ยวกับความหิว แล้วมีอะไรเหลือ มีแต่การทำหน้าที่ๆๆๆๆ ไปด้วยสติปัญญาๆๆ ทำหน้าที่ไปด้วยสติปัญญาตลอดเวลา ไม่มีปัญหาใดๆในชีวิตชนิดนี้ นี่แหละเรียกชีวิตที่หลุดพ้น ชีวิตที่อยู่เหนือปัญหา ชีวิตที่ว่าเป็นผลเลิศของการปฏิบัติธรรมะ ขอให้มองเห็น (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 61.17-62.39)
ปัญหาลำบากยุ่งยากมันมีอยู่ที่ว่า ในสัญชาติญาณ instinct ของสิ่งที่มีชีวิต มันจะมีความรู้สึกว่ามีตัวตน มีตัวตนเป็นที่ตั้งของชีวิต instinct ความรู้สึกว่าตัวตนๆ พอเราเกิดมาจากท้องมารดาก็ยิ่งถูกส่งเสริมๆๆๆ ให้เข้าใจว่าเป็นตัวตน ยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งๆ ขึ้นไปนี่ มันจึงลำบากในการที่มีชีวิตชนิดที่ไม่มีตัวตน เราจึงมาศึกษาให้รู้และปฏิบัติกันเสียใหม่ เพื่อจะควบคุม instinct ให้หมดความยึดถือว่าตัวตน หรือถ้ามีตัวตนก็มีตัวตนแต่ที่จะไม่ยึดถือ ตัวตนที่ไม่ยึดถือ ก็เท่ากับไม่มีตัวตน instinct มันก็หมดความเป็นตัวตน กลายเป็นสติปัญญา สติปัญญาไปในทางที่ไม่มีตัวตน อย่างนี้เรียกว่าควบคุม instinct นั้นได้ กำจัดอำนาจของ instinct ซะได้ เราก็สามารถมีชีวิตชนิดที่ไม่ต้องมีตัวตน และก็ปัญหาต่างๆ มันก็ไม่มี เพราะว่ามันไม่มีตัวตนที่เป็นที่ตั้งแห่งปัญหา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 64.21-66.37)
บางท่านอาจจะรู้สึกว่านี่เป็นเรื่องใหม่ แล้วเราก็มีชีวิตใหม่ ชีวิตใหม่ที่ไม่มีอัตตา ถูกแล้วท่านต้องรู้สึกว่าเป็นของใหม่เพราะท่านไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้มี แต่โดยที่แท้แล้วมันไม่ใช่ของใหม่ เป็นของนิรันดรๆ ความจริงอันนี้ ความจริงที่ว่าชีวิตนี้ไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตานี่ เป็นของตลอดกาลนิรันดรเป็นความจริงของธรรมชาตินิรันดร ชีวิตนี้เป็นชีวิตนิรันดรไม่เก่าไม่ใหม่ จะไม่เก่าและไม่ใหม่ ถ้าท่านเพิ่งมารู้เรื่องนี้ เพิ่งจะศึกษาเรื่องนี้ก็จะเห็นว่าเป็นชีวิตใหม่ก็ได้เหมือนกัน เก่าที่ผ่านมาแล้วมันมีความทุกข์ ใหม่จะไม่มีความทุกข์ แต่ถ้าให้ถูกให้จริงให้ตรงแล้วเราจะไม่เรียกไม่เก่าและไม่ใหม่ มันไม่มีเก่าและใหม่สำหรับความจริงข้อนี้ คือชีวิตที่ไม่มีอัตตา ไม่มีความรู้สึกว่าอัตตา(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 67.53-69.01)
ทีนี้มันจะมากไปกว่านั้นอีกก็คือ มีการสงสัยว่า นี่มันชีวิตหรือไม่ใช่ชีวิต ควรจะเรียกมันว่าชีวิตหรือไม่ควรจะเรียกมันว่าชีวิตด้วยซ้ำไป มันไม่ใช่แค่เก่าหรือใหม่ มันก็ยังมีปัญหานี่ว่ามันไม่ใช่ชีวิตก็ได้ นี่มันไม่ใช่ชีวิตก็เลยกลายเป็นว่าอยู่เหนือความมีชีวิต อยู่เหนือ เหนือความมีชีวิตไปซะอีก นี่คนเขายิ่งไม่อยากจะเข้าใจ ไม่อยากจะสนใจ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 69.38-70.31)
ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายกว่านี้ก็ต้องพูดว่า ชีวิตที่ไม่มีอัตตา ไม่ใช่อัตตา ไม่เป็นอัตตานี่ มันเป็นที่น่ารักน่ารัก น่าพอใจของคนที่ฉลาด ของคนที่มีความรู้ธรรมะ รู้ธรรมมะ แล้วก็พอใจชีวิตที่ไม่มีอัตตา แต่คนที่ไม่มีความรู้ธรรมมะ จะเรียกว่าคนโง่ก็ได้ มันจะกลัว จะกลัว จะเกลียด จะกลัวอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาอย่างยิ่ง ไม่ปรารถนาชีวิตที่ไม่มีอัตตา แต่พอลงในสิ่งที่เรียกว่าอัตตา เอาตัวอัตตาเป็นชีวิต พอไม่มีอัตตา เขาก็จะเท่ากับไม่มีชีวิต เขาก็กลัว กลัว กลัวยิ่งกว่าสิ่งใด กลัวชีวิตที่เป็นอนัตตา แต่ธรรมะในพุทธศาสนาต้องการจะอยู่เหนือความทุกข์ มันจึงจำเป็นที่จะต้องมาสู่ภาวะที่ไม่ใช่อัตตา ไม่มีอัตตา แล้วก็ชีวิตที่ไม่มีอัตตาเขาไม่อยากเรียกว่าชีวิต ก็ไม่ใช่ชีวิตไปซะเลย ความว่างไปซะเลย แล้วเดี๋ยวนี้พูดกันภาษาธรรมดาว่ามีชีวิตกับไม่มีชีวิตชนิดที่ไม่มีอัตตา ชีวิตล้วนๆ ที่ไม่มีอัตตา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 71.51-73.30)
คนในโลกนี้ที่เขาหลงใหลใน positiveness / positiveness บรรดามีในโลกนี้ เขายิ่งหลงใหล ยิ่งรักยิ่งหลงใหลใน positveness มากเท่าไรก็ยิ่งเกลียดกลัวชีวิตอนัตตา ก็ยิ่งเกลียดกลัวอนัตตา เขาไม่อยากจะสูญเสียชีวิตที่เป็นอัตตานี่เขาหลงในสิ่งที่น่ารัก น่าพอใจในโลก หรือความสุขที่เขาพอใจ ความสุขที่เขาพอใจ เขายิ่งหลงใหลมากเท่าไร เขาก็ยิ่งเกลียดชีวิตที่เป็นอนัตตา ไม่อยากจะศึกษา ไม่อยากจะได้ยินว่าชีวิตนี้เป็นอนัตตา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 74.22-75.10)
เราเป็นคนที่ไม่มี positive หรือ positiveness เราก็ไม่มี negativeness โดยเท่ากัน ไอ้ negative มันมีมาจาก positive เพราะไม่ได้ตามที่ต้องการของ positive มันก็มี negative พอไม่มี positive เสีย negative ก็พลอยไม่มีไปด้วย เราจึงไม่มีปัญหาอะไรเหลือ เป็นชีวิตที่ไม่มีอัตตา เป็นชีวิตที่ไม่มีสิ่งที่มาหลอกให้หลงให้มีอัตตา นี่ผลสุดท้ายของการปฏิบัติธรรมะ นำมาสู่ความมีชีวิตชนิดนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 75.50-76.36)
ถ้าท่านยังรู้สึกกลัวหรือเกลียดชีวิตอนัตตา ก็ยิ่งต้องศึกษาธรรมะต่อไปเถอะนะ ที่ท่านยังไม่รู้อะไรที่เกี่ยวกับธรรมะ ท่านจึงเกลียดกลัวชีวิตชนิดอนัตตา ถ้าท่านรู้จักธรรมะของธรรมชาติโดยแท้จริงแล้วจะไม่มี ไม่มีความเกลียด หรือมีความรัก จนถึงไม่มีความเป็น positiveness หรือ negativeness (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 77.05-77.52)
ดังนั้นประโยชน์หรือคุณค่าอันสูงสุดของการศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ มันก็มาอยู่ที่ตรงนี้ คืออยู่เหนืออำนาจของ positive กับ negative นี่เป็นอิสระเสรีที่สุด เป็นชีวิตที่เป็นอิสระเสรีที่สุด หลุดพ้นจากความผูกมัดทั้งปวง ขอให้มองเห็นข้อนี้ มองเห็นข้อนี้ จะเห็นประโยชน์อันสูงสุดของผลที่จะได้รับจากการปฏิบัติธรรมะ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 78.29-79.05)
ผู้ที่พอใจหลงใหลในความสุขที่เกิดมาจากกามก็ดี จากรูปก็ดี จากอรูปก็ดี นี่ยังเป็นคนโง่ ที่หลงใหลอยู่ใน positive อยู่ใน positive อยู่ใต้อำนาจของ positive เขาจะต้องทนทุกข์ เขาจะต้องมีความทุกข์ เขาจะต้องมารู้ชัดเจนว่าเราจะไม่หลงความสุขอันเกิดมาจากกาม หรือจากรูป หรือจากอรูป เราก็จะหมดปัญหา นี่ผลดีที่สุดของการปฏิบัติธรรมะ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 79.47-80.42)
ท่านจะศึกษาๆ จนเห็นว่า ความสุข ความพอใจที่เกิดมาจากกามนี่ก็ไม่ไหวมันกัดเจ้าของ ที่เกิดมาจากทรัพย์สมบัติ หรือรูป รูปธรรมล้วนๆ ก็กัดเจ้าของ ที่เกิดมาจากเกียรติยศชื่อเสียง อรูปธรรมล้วนๆ ก็ยังกัดเจ้าของ ความสุขที่เกิดจากกาม จากรูป จากอรูป ยังกัดเจ้าของก็จึงเกิด ขอให้สนใจในความสุขที่เหนือนั่นขึ้นไป คือเกิดมาจากนิโรธะ นิโรธะ ไม่หลงใหลในกำหนัดยินดีในกาม ในรูป ในอรูป ภาษาธรรมมะพูดอย่างนี้ มีหลักเกณฑ์อย่างนี้ ถ้าท่านสนใจก็เอาไปคิดไปนึกดูเถิดว่ามันจะเป็นชีวิตชนิดไหน สูงสุดสักเท่าไร อยู่เหนือปัญหา เหนือความทุกข์สักเท่าไร จึงชื่อว่าได้เห็น เห็น เห็นประโยชน์อันสูงของการปฏิบัติธรรมะ ผลสำเร็จ หรือผลสำเร็จของการปฎิบัติธรรมมะ มันนำมาซึ่งสิ่งนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 81.59-83.57)
มีคำพูด มีคำพูดเพิ่ม ที่ฟังยาก เข้าใจยากที่สุด อยู่คำหนึ่งคือคำนี้ ถ้าเข้าใจได้ก็ดีมีประโยชน์ที่สุด ถ้าเข้าใจไม่ได้ก็จะเกลียดหรือจะไม่ชอบแล้วก็เลยไม่ได้รับประโยชน์อะไร คือคำพูดที่พูดว่า ชีวิตที่อยู่เหนือการปรุงแต่ง ชีวิตที่อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ คือชีวิตที่ไม่มีความหมายแห่งอัตตา ชีวิตที่ไม่ได้มีความหมายแห่งอัตตา เป็นชีวิตที่อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ positive / negative อะไรๆ ก็ปรุงแต่งมันไม่ได้ นี่เป็นชีวิตที่เป็นอิสระๆ คำนี้เข้าใจยาก ชีวิตที่อะไร ๆ ปรุงแต่งไม่ได้ ขอพยายามเข้าใจให้จงได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 84.58-87.44)
บาลี คำบาลี เรียกว่า สังคตะ สังคตะ แปลว่าปรุง คำแปลภาษาอังกฤษนี่คงจะลำบากบ้าง ขอให้ไปคิดดูเอง คือมันมีอะไร arrangement re-arrangement....(นาทีที่ 88.00).....เรื่อยไปๆ ไม่มีหยุดนี่ มันก็ลักษณะที่เรียกว่า สังคตะ สังคตะ คือปรุงๆๆ เดี๋ยว positive ปรุง เดี๋ยว negative ปรุง เดี๋ยว....(นาทีที่ 88.30).....ปรุง ปรุงทั้งนั้นเลย ชีวิตนี้ไม่ค่อยเป็นอิสระ คือถูกปรุง มันจึงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย เปลี่ยนแปลงในชนิดที่มันกัดเจ้าของอยู่เรื่อยไป (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 88.45-90.00)
เราไม่รู้จักเสรีภาพ เสรีภาพคือไม่ถูกอะไรคุม ถ้าใช้คำว่าเสรีภาพก็หมายความว่าไม่ถูกอะไรคุม แต่นี่เรารู้จักเสรีภาพแต่ทางการเมือง เสรีภาพทางวัตถุนี่มันยังไม่จริง มันยังเป็นการปรุงที่ไม่รู้สึกตัว ไม่อิสระจากการปรุง ขอให้รู้จักธรรมะสูงสุด รู้จักการไม่ถูกปรุงโดยอวิชชา อวิชชาโดยเฉพาะ นี่เราจะมีชีวิตอิสระ อิสระ พอพูดว่าอิสระอย่างนี้สูงสุดๆ คือมันหยุดไม่ต้องวิ่งไปวิ่งมา มันก็เย็น มันก็ไม่ร้อน มันก็ไม่ถูกกระทำ หรือไม่ถูกอะไรกระทำ และไม่กระทำอะไร ให้มันยุ่ง มันไม่เป็นทั้ง .....active และ ....passive.....(นาทีที่ 91.05) ไม่เป็นทั้ง negative ไม่เป็นทั้ง positive ชีวิตนี้สูงสุด ที่ธรรมะจะช่วยให้ได้ เมื่อปฏิบัติธรรมะสำเร็จ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 91.20-93.03)
จะได้พูดถึงคำว่า Bird’s eyes view ขอท่านอยู่สูงสุดแล้วก็มองดูเรื่องกามเป็นอย่างไร เรื่องรูปล้วนๆเป็นอย่างไร เรื่องอรูปล้วนๆ เป็นอย่างไร ที่ถ้าเป็นเรื่องนิโรธ ท่านยังไม่เห็น ท่านอาจจะยังไม่เห็นก็ได้ แต่อาจจะมองดูได้ว่าถ้ามันตรงกันข้ามจากกาม จากรูป จากอรูป ตรงข้ามจากกาม จากรูป จากอรูปมันจะเป็นอย่างไร ท่านคงจะพอใจเพราะว่า ออกไปฝั่งนู้นๆ ไม่มีกาม ไม่มีรูป ไม่มีอรูป ถ้าอยู่ที่ฝั่งนี้ๆ มันมีแต่กาม รูป อรูปออกไปสู่ฝั่งโน้น เรียกว่า ไม่มีกาม ไม่มีรูป ไม่มีอรูป ถ้าเราทำ Bird’s eyes view อย่างกว้างขวางที่สุด ความทุกข์ ความไม่ทุกข์ ความปรุงแต่ง ความไม่ปรุงแต่ง ทุกๆ อย่าง ดูมันให้หมดแล้ว ก็จะพบว่าวิธีออก วิธีที่จะออกไปสู่ความไม่ถูกปรุงมันจะมีอยู่อย่างไร (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 94.16-95.45)
มันมีสิ่งน่าขันหรือน่าหัวเราะ พอเรามีความทุกข์ เราก็รู้สึกเป็นทุกข์ เดือดร้อนและเป็นทุกข์ แต่พอเวลาที่ไม่มีความทุกข์ เราก็ไม่รู้สึกอะไรเลยๆ เวลาที่ไม่มีความทุกข์ เราจึงไม่รู้จัก เราจึงไม่รู้จักความไม่มีทุกข์ เพราะเราไม่ได้สนใจ เราสนใจแต่จะไปหาไอ้ความสุขทางกาม ทางรูป ทางอรูป แล้วมันก็กัดเอา แล้วมันก็กัดเอา แล้วมันก็กัดเอา เราก็รู้มันกัดเอา แล้วเป็นทุกข์ แต่เราก็ยังไม่สนใจว่า ถ้าไม่มีความทุกข์ก็ไม่ถูกอะไรกัดนี่จะเป็นอย่างไร นี่มันน่าหัว หรือน่าขันอยู่ที่ตรงนี้ที่เราไม่รู้จักความไม่มีทุกข์ หรือความดับทุกข์ เราจะรู้จักแต่เรื่องความทุกข์ แล้วก็รู้จักไม่จริง รู้จักผิดๆ รู้จักให้มันถูก มันหลอกให้หลงกับความสุข เราจึงไปหลงรักในความทุกข์ นี่คือสิ่งที่น่าขันๆ น่าแปลกประหลาด น่าขันที่สุด ที่ว่าสัตว์ทั้งหลายหลงใหลในความทุกข์(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 97.15-98.52)
นี่ขอให้สนใจทั้งคู่ ปรุงกับไม่ถูกปรุง ปรุงกับไม่ปรุง ถูกปรุงกับไม่ถูกปรุงนี่ ให้สนใจและเราก็จะรู้ว่าชีวิตคนธรรมดาๆ มีชีวิตที่ถูกปรุง ผู้รู้ธรรมะถึงที่สุดเป็นพระอรหันต์แล้วชีวิตไม่ถูกปรุง ต้องทำชีวิตที่ถูกปรุงกับชีวิตที่ไม่ถูกปรุง มีคำพูดอยู่ ๒ คำนี้ พยายามทำความเข้าใจให้ดีๆ ศึกษาธรรมะแล้วปฏิบัติแล้วจะรู้จักชีวิตทั้งสองชนิด ก็เลือกเอาชนิดที่ไม่ถูกปรุง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 99.36-100.47)
เวลาที่เหลืออยู่นิดหน่อยนี่ก็จะพูดถึงผลของการถูกปรุง หรือไม่ถูกปรุง ก็ต้องพูดถึงเรื่องนิพพานะ นิพพานะ ภาษาไทยเรียกง่าย ๆ ว่านิพพาน นิพพาน ภาษาบาลีเรียกว่านิพฺพานะ ถ้าเรียกเต็มที่ก็จะเป็น นิพฺพานธาตุ นิพพาน นิพพานะ นี่ เป็นจุดหมายปลายทางของการปฎิบัติ ขอทำความเข้าใจกันถึงเรื่อง นิพพานะ นิพพานะ ที่แปลว่าเย็น(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 101.29-102.28)
คนธรรมดา คนธรรมดาสามัญที่ไม่รู้สึก ว่านี้ สังขตะ นี่ อสังขตะ เขาไม่รู้ความหมายอันแท้จริงของคำว่า positive และ negative เขาก็หลงมัน positive ก็หลงรักมัน negative ก็หลงเกลียด หลงโกรธมัน เพราะว่าถูกปรุง ถูกปรุง ถูกปรุงอยู่ด้วย positive และ negative ตลอดเวลา นี่เรียกว่าคนธรรมดา คนธรรมดา หรือ ปุถุชน แล้วก็หนา มีสิ่งปิดตาหนามาก เรียกว่าปุถุชนคือคนธรรมดา ไม่เกี่ยวกับไม่มีนิพพาน ไม่มีนิพพาน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 103.12-104.35)
มาถึงนิพพาน นิพพาน ครั้งแรก นิพพานอันดับแรกของพระอรหันต์อันดับแรก รู้จักว่า สังขตะ ปรุงอย่างไร อสังขตะ คือไม่มีการปรุงอย่างไร พร้อมกันนั้นก็รู้วา positive positive มันปรุงอย่างไร negative มัน ปรุงอย่างไร พระอรหันต์ก็รู้ รู้สึก รู้จัก positive ดี รู้จัก negative ดี รู้จักมันดี รู้จักมันดี รู้จักว่ามันปรุงอย่างไร แต่ท่านสามารถที่จะไม่ให้ถูกมันปรุง เพราะว่าพอใจในการไม่ถูกปรุง มีความรู้ มีความรู้เรื่องการถูกปรุงดีมาก แล้วก็รู้การไม่ถูกปรุงยิ่งไปกว่านั้นอีก มีความรู้ที่จะก้าวตาม ก้าวตามมาก ส่วน positive negative ปรุงจิตใจของผู้ที่เป็นพระอรหันต์ไม่ได้ นี่เป็นนิพพานที่หนึ่งที่แรก คือรู้จักว่า positive และ negative แต่ปรุงไม่ได้ นิพพานที่หนึ่ง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 105.57- 107.53)
นิพฺพานธาตุ อันดับที่สอง ความรู้สูงสุด วิปัสสนาสูงสุด ความรู้สูงสุด จนเห็นว่ามันเช่นนั้นเอง ทั้ง positive และ negative เช่นนั้นเอง positive ก็เช่นนั้นเอง negative ก็เช่นนั้นเอง จนไม่มีความเป็น positive เป็น negative ไม่มีความรู้สึกว่าสิ่งใดเป็น positive หรือ negative ก็ไม่มีปัญหาอะไร ไม่มีความเป็น positive เป็น negative กับพระ นิพพานอันดับที่สอง หรือ พระอรหันต์อันดับที่สอง อันดับที่หนึ่ง มีpositive หรือ negative จะทำอะไรไม่ได้ อันดับที่สอง ไม่รู้สึกว่า positive หรือ negative จนเลยยิ่งทำอะไรไม่ได้ นี่คือเย็นถึงที่สุด เรียกว่าเย็นถึงที่สุด เพราะไม่ถูกปรุง ไม่ถูกปรุงจึงเย็นๆๆ ถึงที่สุด ถ้านิพพานมี ๒ ความหมายอย่างนี้ ความเย็นมี ๒ ความหมายอย่างนี้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 108.39-110.12)
ขอย้ำอีกทีหนึ่งโดยใจความสั้นๆ ว่า นิพพานอันดับที่หนึ่งนั้น อารมณ์เข้ามากระทบก็รู้สึกว่านี่เป็น positive นี่เป็น negative แต่ก็ปรุงไม่ได้ นิพพานที่สองไม่รู้สึกว่าเป็น positive หรือ negative เสียเลย มันก็ไม่มีการปรุงเลย อันนี้มันปรุงไม่ได้ เพราะรู้เท่าทันไม่ให้ปรุง อันนี้เพราะว่ามันไม่มีความหมายที่จะปรุง ไม่มีอำนาจที่จะปรุง นี่ดูๆๆเรา ดูพวกเราธรรมดานี่ มันปรุง มันปรุงตลอดเวลา ทั้ง positive และ negative มันต่างกันมากขนาดนี้ เราไม่มีความเย็น เราไม่มีความเย็น เรามีแต่ความร้อนเพราะถูกปรุง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 111.03-112.28)
Bird’s eyes view อีกทีหนึ่งดู ปุถุชนถูกปรุงอยู่เรื่อย ถูกปรุงอยู่เรื่อย เหมือนเอาใส่ครกแล้วก็ตำๆ อยู่เรื่อยไป ปุถุชนเป็นอย่างนี้ นี่พระอรหันต์ประเภทที่หนึ่ง สิ่งเหล่านั้น สิ่งที่จะปรุง positive negative มารออยู่ต่อหน้า มารอ อยู่ต่อหน้า ก็ปรุงไม่ได้ ก็ปรุงไม่ได้ ปรุงท่านไม่ได้ เพราะท่านรู้จักมันดีจนมันปรุงไม่ได้ นี่พระอรหันต์ประเภทที่สอง ไม่มีสิ่งใดที่จะเป็น positive หรือเป็น negative แก่ท่านได้ ท่านจึงอิสระรู้สึกเย็นถึงที่สุด นิพพาน คือไม่ถูกปรุง ธรรมดา คนธรรมดาก็คือถูกปรุง มันก็มี ๒ อย่างเท่านี้ เราก็ดูเอาเอง เราอยู่ในพวกไหน พรรคไหน มีกี่มากน้อยอยู่ไหนพวก ควรจะจัดเป็นพวกไหน กี่มากน้อย นี่ Bird’s eyes view ดูกันทีเดียวว่าปุถุชน เป็นอย่างนี้ พระอรหันต์เป็นอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 113.35-115.04)
สรุปอีกทีดีไหม ว่าพวกนี้ถูกปรุงอยู่เรื่อย ๆ โดย positive โดย negative ถูกปรุงอยู่เรื่อย ถูกปรุงอยู่เรื่อย พวกนี้ มี positive negative อยู่ตรงหน้าปรุงไม่ได้ ปรุงไม่ได้เป็นหมัน positive negative ปรุงเป็นหมัน พวกนี้ไม่มีความหมายแห่ง positive กับ negative แต่ประการใด ต่างกันอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 115.25-116.04)
Bird’s eyes view ของผลการปฏิบัติธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ และได้รับผลอย่างไร คือแบ่งออกเป็นอย่างนี้ ดูทั้ง ๓ อย่าง อย่างนี้ เป็น Bird’s eyes view ที่ดีที่สุด ที่ถูกต้องที่สุด ที่ควรจะได้เห็นที่สุด(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 116.26-116.52)
ขอขอบพระคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายเป็นผู้อดทน เป็นผู้ฟังที่ดี เป็นผู้ฟังที่ดี ๒ ชั่วโมงแล้ว ขอขอบคุณเป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยายและขอปิดประชุม (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 117.10-118.00) พูดถึงดอกไม้