แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ก่อนอื่นทั้งหมดอาตมาขอแสดงความยินดี ในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ ในลักษณะอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 0.51 – 1.06 ) เพื่อแสวงหาความรู้ที่เรียกว่าธรรมะไปใช้ในการดำเนินชีวิต หรือประกอบหน้าที่การงานของตนๆ ให้ได้รับผลดีที่สุด ดีที่สุดเท่าที่จะดีได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 1.30 -1.53) สิ่งที่กล่าวถึงนั้นเรียกสั้นๆพยางค์เดียวว่า ธรรมะ จำเป็นที่จะต้องใช้คำอินเดียว่าธรรมะ แต่ความหมายก็คือ สิ่งทุกสิ่งที่ควรจะรู้ ไม่ใช่ทั้งหมด แต่ว่าเท่าที่ควรจะรู้ เท่าที่ควรจะรู้ เท่าที่ควรจะปฏิบัติ เท่าที่ควรจะได้รับผลของการปฏิบัติ สามอย่างนี้ให้ครบถ้วน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 2.35 -3.21) ก็ขอให้จำความหมายของคำ ๓ คำที่สำคัญว่าต้องมีความถูกต้อง ถูกต้อง ในการเรียนรู้ เรียนรู้ให้รู้ตามที่เป็นจริงและก็ปฏิบัติ ปฏิบัติให้มันถูกต้องตามที่เป็นจริง และก็ได้รับผลเท่าที่ควรจะได้รับตามที่เป็นจริง ต้องเรียน ต้องรู้ ต้องปฏิบัติ แล้วก็อย่างถูกต้องตามที่เป็นจริง เกี่ยวกับเรื่องนี้(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 4.06 -4.55)
สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจกันอีกอย่างหนึ่งก็คือ ธรรมะนั้นเป็นเรื่องความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิตนี้ ความจริงของธรรมชาติเกี่ยวกับชีวิตนี้ แต่เรามาเรียกว่าธรรมะ ซึ่งท่านมักจะเคยได้ยินเรียกว่า Buddhism Buddhism แต่ที่แท้นี่เราควรจะเรียกว่า ธรรมะ ธรรมะคือเรื่องความจริงของธรรมชาติ ตามที่เกี่ยวข้องกันอยู่กับชีวิต ที่จะต้องรู้ และจะต้องปฏิบัติจนได้รับผลดังที่กล่าวแล้ว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 5.54 - 6.55) ขอให้เก็บคำว่า Buddhism ไปไว้ข้างๆก่อนโดยไม่ต้องสนใจ ขอให้สนใจคำว่าธรรมะ ธรรมะในฐานะเป็นเรื่องความจริงของธรรมชาติ แล้วเราก็จะศึกษาธรรมะในฐานะเป็นเรื่องของธรรมชาติ เพราะว่า -ism -ism นี้มันเป็นเรื่องคนทำขึ้นมาก็ได้ หรือผูกขาดหากผูกมัดมุ่งหมายไปทางใดทางหนึ่งตามความประสงค์ของตนก็ได้ เราไม่เอา -ism เราเอาความจริงแท้ตามกฎของธรรมชาติมาศึกษากัน เรียกว่าธรรมะ อย่าเรียกว่า Buddhism เลย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 7.45 -8.46)
เมื่อพูดว่า Buddhism มันเล็งถึง Buddha ซึ่งเป็นบุคคลมากเกินไป แต่ถึงกับเรียกว่า เมื่อพูดว่า ธรรมะ ธรรมะ มันเล็งถึงธรรมชาติ ธรรมชาติโดยตรงก็เรียกว่า มันคนละเรื่อง เราจะต้องเรียนเรื่องธรรมชาติโดยตรง แม้ว่าจะถูกค้นพบมาโดยบุคคล เขาก็จะต้องพูดไปตามธรรมชาติที่มันมีอยู่อย่างไร นี่ขอให้เข้าใจข้อไอ้สิ่งที่เราเรียกว่า Buddhism ก็คือมันเป็นเรื่องของธรรมชาติอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 9.32 -10.15) เดี๋ยวนี้บางท่านก็เป็น อาจจะเป็นคริสเตียน อาจจะเป็นยิว อาจจะเป็นอิสลาม หรือว่าเป็นฮินดูหรือมีสังกัดว่านับถือศาสนาอะไรๆบางศาสนาอยู่ แต่มีความจริงว่าท่านจะนับถือศาสนาอะไรอยู่ ชื่อศาสนาอะไรไม่สำคัญ ท่านอาจจะมาเรียนวิทยาศาสตร์ได้ มันไม่ขัดข้องกันเลย ท่านจะเรียกตัวเองว่านับถือศาสนาอะไรก็ตามใจ แต่ท่านอาจจะมาเรียนวิทยาศาสตร์ของธรรมชาติได้ โดยไม่มีข้อขัดข้องกันเลย นี่ก็เหมือนกันแม้ท่านว่าจะมีทะเบียนเป็นนับถือศาสนาชื่อใดชื่อหนึ่งอยู่ก็ไม่ขัดข้อง ในการที่จะมาศึกษาพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นวิทยาศาสตร์ของธรรมชาตินั่นเอง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 11.22 -12.20)
จะยกตัวอย่างสมมติว่าท่านเป็นคริสเตียน ท่านก็จะต้องไปโบสถ์ท่านจะต้องสวดอ้อนวอนพระเป็นเจ้า เดี๋ยวนี้เราก็กระทำได้ การอ้อนวอนพระเป็นเจ้าก็คือการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติก็คือองค์พระเจ้า ที่ไปสู่ตามกฎของพระเจ้าก็เท่ากับอ้อนวอนพระเจ้า ที่เราจะต้องไปโบสถ์ เราทำร่างกายนี้ของเราให้เป็นโบสถ์จะดีว่าให้พระเจ้ามาอยู่ในโบสถ์นี้ เราก็มาศึกษากันในโบสถ์นี้ อ้อนวอนกันในโบสถ์นี้ ทำร่างกายนี้ให้เป็นเหมือนกับโบสถ์ อย่างนี้ไม่มีทางที่จะขัดข้องอะไรกันเลย กลายเป็นการศึกษาวิทยาศาสตร์ของธรรมชาติไปได้ทันที (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 13.20 -14.36)
ดังนั้นขอสรุปสั้นๆว่า ท่านจงศึกษาธรรมะ ธรรมะนี้อย่างอิสระ ไม่ต้องมีข้อขัดข้องกีดขวางใดๆที่ผูกพันอยู่ มันเกี่ยวกับศาสนาที่เป็นตามระบบธรรมเนียมประเพณีของตนๆ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 15.02 -15.26) ทีนี้ก็มีเรื่องเบ็ดเตล็ดบางอย่าง ที่จะขอทำความเข้าใจกันก่อน คือเรื่องเรามาพบกันเวลา ๕.๐๐ น. (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 15.39-15.50) คือเราเลือกเอาเวลาที่เหมาะสมที่สุด ที่จะมาศึกษาเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุด คือเรื่องความจริงของธรรมชาติ เวลาอย่างนี้ ก่อนจะสว่างอย่างนี้เป็นเวลาที่เหมาะสม ที่ร่างกายได้พักผ่อนพอสมควรจิตใจมีความสดชื่นมากพอสมควรที่จะศึกษาเรื่องลึกๆโดยธรรมชาติมันเป็นอย่างนี้ นั้นขออย่าได้คิดว่าเป็นเรื่องทำให้รำคาญในการที่มาพูดกันเวลา ๕.๐๐ น.(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 16.24-17.05)
ดอกไม้ในป่าโดยทั่วไปนี่ก็พร้อมจะบานในเวลาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าผู้รู้ ผู้ตรัสรู้พุทธศาสนาก็ตรัสรู้เวลาอย่างนี้ คือเป็นเวลาที่พร้อมของธรรมชาติที่จะเข้าใจหรือรับในสิ่งที่ลึกซึ้งที่สุด จิตมันยังว่างยังไม่ได้เติมอะไรลงไปมันจึงเหมาะที่จะเติมอะไรลงไป เป็นกลางวันแล้วจิตมันวุ่น มันเต็มไปด้วยอะไร มันไม่เหมาะที่จะเติมอะไรลงไป นี่มันยังว่างอยู่เหมาะสำหรับจะเติมอะไรลงไป ขอให้ท่านทำในใจอย่างนี้ ทำการศึกษาธรรมะ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 17.53- 19.04)
ก่อนหน้านี้ท่านไม่เคยใช้เวลาอย่างนี้ในลักษณะอย่างนี้ อาตมาขอแนะนำหรือขอร้องให้ใช้เถอะ มันจะเป็นการเพิ่มเวลาที่มันมีค่ามากที่สุดให้แก่ชีวิตของเราเพิ่มขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งซึ่งสำคัญมาก ไม่ควรจะไปพักผ่อนหรือนอนหาเวลาความสุข หาความสุขในการนอนในเวลา ๕.๐๐ น. อย่างนี้ เอามาใช้เป็นประโยชน์ที่สุดจนกว่าจะเคยชินเป็นนิสัย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 19.39 -20.22)
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ การที่ท่านต้องเดินมาจาก center มาสู่ที่นี่ ขอให้ถือเป็นบทเรียน เป็นบทเรียนในขั้นเตรียม preparation เตรียม เตรียมให้เหมาะสำหรับจะศึกษาธรรมะ ซึ่งมีความลับอยู่ว่าท่านจะต้องมีการเดินชนิดที่ตรงตามความมุ่งหมายของหลักธรรมะ ในพุทธศาสนาที่เราจะต้องเรียนรู้และปฏิบัติ คือเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน ไม่ๆๆรู้สึกเป็นตัวผู้เดิน รู้สึกไม่มีตัวผู้เดิน มีแต่การเคลื่อนไหว เคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจ ของร่างกายโดยเฉพาะ ไปตามกฎของธรรมชาติ เรียกว่าเคลื่อนไหวมา เคลื่อนไหวมา ตามธรรมดาเรารู้สึกว่าเราเดิน กูเดินมันเป็นเรื่องคน คนนั้นมันเดินแต่นี้เราจะไม่เดินอย่างนั้นเราจะฝึกการเดินอย่างใหม่เรียกว่าเป็นการเดินโดยไม่ต้องมีตัวผู้เดิน นี้เพิ่งเข้ามาสู่บทเรียนอันแรกที่สุด เป็นการตระเตรียมเพื่อที่จะรู้บทเรียนสูงสุดต่อไป ทำอะไรๆๆโดยไม่ต้องมีผู้กระทำ เป็นการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจล้วนๆเท่านั้นแหละ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 21.49-23.39)
ใจความสำคัญก็คือต้องการจะให้เข้าถึงความจริงของธรรมชาติที่ว่า มันไม่มีตัวตน ไม่มี self ไม่มี identity of self ไม่มีตัวตนที่เรียกว่าอัตตาในภาษาบาลี เรียกว่าอาตมันในภาษาสันสกฤต ภาษาต่างๆ จะมีคำเรียกสำหรับสิ่งนี้ทั้งนั้น และกำลังจะศึกษาคือมันไม่ให้มีสิ่งนั้น มันมีแต่การเป็นไป การเคลื่อนไหวตามเหตุตามปัจจัย ของสิ่งเพียงสองสิ่งคือร่างกายกับจิตใจ อย่าต้องมีสิ่งที่สามคือตนหรือ self นั่นเลย ขอให้เตรียมทำความเข้าใจอย่างนี้เป็นเบื้องต้น การศึกษาจะเป็นไปโดยง่ายและสะดวกที่สุด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 24.32- 26.02)
ทีนี้เรื่องที่จะพูดกันในครั้งแรก ครั้งที่ ๑ นี้ก็คือเรื่อง Outline ทั่วๆไปของสิ่งที่เรียกว่าธรรมะ เราจะมองดูคราวเดียวหมด เหมือนกับมองดูมาจากข้างบนเป็น Bird’s eyes view ของธรรมะว่ามีอย่างไร และจะต้องปฏิบัติอย่างไรเราจะได้พูดกันในวันแรกนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 26.39-27.10) ได้บอกแล้วขั้นต้นว่าเราจะต้องมีความรู้อย่างถูกต้องในสิ่งที่ต้องรู้ ปฏิบัติให้ถูกต้องในสิ่งที่ต้องปฏิบัติ รับผลของการปฏิบัติให้ถูกต้องในส่วนที่ควรจะได้รับ นี่มันเป็นเรื่องของความรู้ ความรู้ที่ถูกต้องไปทั้ง ๓ ระยะกาล (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 27.41- 28.22 )
ถ้าไม่มีความรู้มันก็มีผลเท่ากับรู้ผิดๆเหมือนกัน ไม่มีความรู้ รู้ผิดๆนี่มันให้ผลคือปฏิบัติไม่ถูกต้อง นั้นเราก็ดำเนินชีวิตประจำวันไปด้วยความไม่รู้หรืออวิชชา สรุปความแล้วว่ามันเดินไปด้วยความไม่รู้ ดำเนินชีวิตไปด้วยความไม่รู้ มันก็เกิดความผิดพลาดขึ้นมาในลักษณะที่เรียกว่าไอ้ชีวิตนั่นแหละมันกัดเจ้าของ ชีวิตนั้นเองมันกัดเจ้าของ เพราะว่าเรา เพราะว่าจิตมันไม่รู้ มันเดินไปอย่างไม่รู้ มันเดินไปผิดๆชีวิตก็เลยกัดเจ้าของ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 29.15- 30.32)
ความยากลำบากอย่างยิ่งมันอยู่ที่ภาษาที่เราใช้พูด ภาษาทุกคนในโลกพูดจะพูดว่ามีตัวตน มีตัวฉันเสมอไป มันน่าจะพูดเรื่องไม่มีตัวฉัน มันก็ยังพูดว่าข้าพเจ้าคือตัวฉันเป็นผู้รู้เรื่องไม่มีตัวข้าพเจ้า เพราะนั้นถ้าจะพูดให้ตรงมันก็จะพูดว่าจิต เป็นผู้ที่จะรู้หรือไม่รู้ ไม่ใช่ตัวฉัน ในภาษาที่ถูกต้องจะพูดว่าจิตรู้และกระทำ แต่พูดตามธรรมดาจะว่าตัวฉันรู้แล้วฉันก็กระทำ ต่อไปนี้จะต้องเปลี่ยนคำว่าฉัน เป็นเรื่องของจิตล้วนๆซึ่งไม่ใช่ตัวฉัน(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 31.27-33.01) ความจริงอันสูงสุดที่เราจะต้องรู้ล่วงหน้า ก็สรุปได้นิดเดียวว่าไอ้สิ่งที่เราคิดหรือพูด หรือเข้าใจว่าฉันๆน่ะ มันไม่ใช่ตัวฉัน มันไม่ใช่ตัวฉัน เราจะต้องเตรียมตัวสำหรับที่จะรู้ว่า ไอ้สิ่งที่เราเรียกว่าตัวฉันนั้น มันไม่ใช่ตัวฉัน ที่เรามีตัวฉันขึ้นนั้นไม่ใช่มีตัวฉัน ไม่ได้มีตัวจริงของตัวฉัน นี่คือสิ่งที่จะต้องรู้ไว้เป็นการล่วงหน้าว่าจะศึกษาพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง ที่เราจะเรียนสิ่งที่ว่าตัวฉันซึ่งมิใช่ตัวฉันนั้นข้อที่หนึ่ง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 33.44-34.49)
เราจะตั้งต้นศึกษาจากสิ่งที่เรารู้ และเกี่ยวข้องกันอยู่เป็นประจำวัน เช่นว่าเราเห็นรูปไม่ใช่พูดว่าตาๆ หรือระบบตาเห็นรูปนี่อย่างหนึ่ง กับเรียกว่าฉันเห็นรูปนี่อย่างหนึ่ง นี่มันต่างกันไหม มันต่างกันไหม ถ้าท่านเห็นว่าไม่ต่างกัน นั้นก็ไม่มีทางที่จะเรียนรู้พุทธศาสนา ตาเห็นรูปกับฉันเห็นรูปนี่ต่างกันลิบ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 35.34-36.15 )
หูได้ยินเสียง กับฉันได้ยินเสียง นี่ต่างกันลิบเลยมันคนละเรื่อง จมูกได้กลิ่น กับฉันได้กลิ่น ก็ต่างกันคนละเรื่อง ลิ้นได้รส ลิ้นได้กินอาหารกับฉันกินอาหารนี่มันต่างกันมาก ถ้าว่าลิ้นได้รสมันก็ลิ้นได้รส แต่ถ้าฉันได้รสมันก็มีเป็นอร่อยหรือไม่อร่อย มันเกิดความรู้สึกต่อไปจนกลายเป็นเรื่องของสิ่งที่เรียกว่ากิเลส กิเลสคือสิ่งเลวร้ายที่สุด ที่จะสร้างปัญหาขึ้นมา ถ้าเพียงแต่ตาเห็นรูป หูฟังได้ยินเสียงไม่มีตัวฉันเข้าไปเกี่ยวข้องแล้วกิเลสมันไม่เกิด เพราะไอ้ตัวฉันเข้าไปเกี่ยวข้องในสิ่งใด กิเลสจะอาศัยความเข้าใจผิดนั้นเกิดขึ้นมา เราจึงเห็นรูปฟังเสียง ดมกลิ่นลิ้มรสนี่ โดยที่ไม่ต้องเกิดกิเลส คืออย่ามีตัวฉันเข้าไป เป็นผู้ทำหน้าที่ให้มันเป็นเรื่องของตา หู จมูก ลิ้น กาย (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 37.30-39.28 )
ตาเห็นรูป ตาเห็นรูป ลำพังตาเห็นรูป มันก็ไม่ได้มีความรู้สึกว่าสวยหรือไม่สวย ต่อเมื่อไอ้ตัวฉัน ตัว self เข้าไปเกี่ยวข้องมันจึงจะเกิดความรู้สึกว่าสวยหรือไม่สวย ตาเห็นรูปก็เพียงแต่เห็นรูปทางสีสันมิติ ยังไม่มีความหมายว่าสวยหรือไม่สวย พอไอ้ self เข้าไปเกี่ยวข้องเป็นผู้เห็น มันก็เกิดเป็นว่าสวยหรือไม่สวย ความรู้สึกที่เป็นบวกหรือเป็นลบ positive หรือ negative มันก็เกิดขึ้น นี่มันต่างกันมากขนาดนั้น หูก็เหมือนกัน เพียงแต่ว่าได้ยินแต่ว่ามันไม่รู้ว่าเพราะหรือไม่ไพเราะแต่พอ self เข้าไปเกี่ยวข้องมันก็มีความรู้สึกเป็นบวกเป็นลบ จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รสก็เหมือนกันแหละ ขอให้ท่านเข้าใจเรื่องนี้ให้ดีที่สุดก็จะง่ายในการศึกษาพุทธศาสนา คือถ้ามันรู้สึกกันตามธรรมดาของธรรมชาติธรรมดามันไม่รู้สึกเป็นบวกหรือลบ แต่พอไอ้สิ่งที่เรียกว่า self หรือ ego เข้ามาเกี่ยวข้องมันก็มีความรู้สึกเป็นบวกเป็นลบขึ้นมามันก็มีปัญหาใหญ่หลวงเลย (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 40.50- 42.15)
คล้ายๆว่า self organ ทั้ง ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย มันรู้ สัมผัสรู้ว่าเป็นอย่างไรและก็ควรทำอย่างไรก็ทำไปโดยไม่ต้องเกิดความรู้สึกเป็นบวกเป็นลบ มันก็ไม่มีปัญหา มันไม่มีเรื่องที่จะกัดเจ้าของ ถ้าเป็นบวกหรือเป็นลบขึ้นมาแล้วมันจะมีการกัดเจ้าของ ความรู้สึกเป็นบวกก็กัดตามแบบเป็นบวก ความรู้สึกเป็นลบมันก็ต้องกัดตามแบบของความเป็นลบ นั้นเราไม่ให้โอกาสในการที่จะให้มันเป็นบวกเป็นลบขึ้นมา เรากัดจิตใจ กัดชีวิตนั่นเอง นี่คือความลับที่เราจะต้องรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ ในการที่เรามีตา มีหู มีจมูก มีลิ้น มีกาย มีใจ เราจะต้องควบคุมมันให้อยู่ในความถูกต้อง ไม่ให้ไปมีตัวตน ตัวตนเป็นผู้เข้ามาแทนแล้วเกิดบวกเกิดลบขึ้นมา(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 43.22 – 45.30 )
เมื่อตาเห็นรูป หรือว่าหูได้ยินเสียงแล้วก็รู้ว่านี้เป็นอย่างไร ควรจะจัดการอย่างไร ก็จัดการไปเสียให้เสร็จโดยไม่ต้องมีความรู้สึกว่าเป็นบวกหรือเป็นลบ ถ้าเกิดความรู้สึกว่าเป็นบวกหรือเป็นลบแล้วมันก็เกิดอาการที่เรียกว่ากิเลส เป็นความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัวเป็นต้น เมื่อกิเลสนี่มันเกิดแล้วมันก็กัดเจ้าของ มันเกิดแล้วก็ให้รู้ว่าจัดการไปอย่างไรโดยไม่ต้องเกิดเป็นบวกเป็นลบ เมื่อตาเห็นรูปเป็นต้น มันก็ต้องจัดการอย่าให้เป็นบวกเป็นลบ มันจะกัดเจ้าของ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 46.36 -47.33 )
ตัวอย่างที่จะเข้าใจได้ง่ายก็เรื่องลิ้นดีกว่า ลิ้น เมื่อกินอาหารแล้ว ถ้าลิ้นรู้สึกอร่อยหรือไม่รู้สึกอร่อยตามแบบของลิ้นมันก็ยังไม่มีปัญหา ที่เป็นเพียงระบบประสาทมันรู้สึกไปตามเรื่องของมัน แต่ถ้าไอ้ self เข้าไปเกี่ยวข้องแล้วมัน กู มันเป็นตัวกู ตัวฉันอร่อยหรือไม่อร่อย มันก็เกิดความรู้สึกเป็นกิเลส เป็นความพอใจ เป็นความไม่พอใจ เป็นความวุ่นวายขึ้นมา แล้วจะลงโทษคนครัวทำไม่ดีบ้างอะไรบ้าง มันเป็นเรื่องต่อออกไปอีกมากมาย เพราะว่าตัวกูมันเป็นผู้อร่อยหรือไม่อร่อย ถ้าเป็นเพียงลิ้นอร่อยหรือไม่อร่อยมันไม่เกิดปัญหาเหล่านี้เป็นต้น นี่เป็นตัวอย่างที่จะต้องเข้าใจ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 48.39- 50.23)
เมื่อรับอารมณ์แล้วเกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบแล้วก็มีอาการกัดเจ้าของ ซึ่งจะขอพูดไปทีละอย่างเพื่อความเข้าใจ จะขอชี้อาการที่มันกัดเจ้าของทีละอย่างๆ เพื่อความเข้าใจง่ายๆ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 51.00 – 51.38 )
สิ่งแรกเมื่อเกิดความรู้สึกเป็น positive แล้วมันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่าความรัก เรื่องนี้แทบไม่ต้องอธิบายท่านทั้งหลายเคยผ่านความรัก รู้จักความรักมาดีว่าเกิดขึ้นแล้วมันกัดเจ้าของอย่างไร มันกัดเจ้าของอย่างไร หรือว่ามันทำให้เจ้าของลำบากอีกกี่มากน้อย เราก็ยังไม่รู้จักมันกลับไปหลงรักมันยิ่งขึ้นไปกว่าเดิมไปซะอีก นี่เพราะไม่รู้ว่าไอ้ความรักนั่นมันกัดเจ้าของที่เหมือนกับไฟชนิดหนึ่ง ซึ่งเผาอยู่อย่างลึกซึ้งนี่เรียกว่าความรักเกิดขึ้นแล้วก็กัดเจ้าของ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 52.53-53.12)
ถัดไปในแง่ของ negative คือความโกรธ ตรงกันข้ามกับความรัก ความโกรธเกิดขึ้นแล้ว ท่านก็รู้รู้ดีว่ามันเป็นอย่างไร เพราะเคยโกรธมาแล้ว ท่านก็ย้อนกลับไปศึกษาดูความโกรธใหม่ว่า ความโกรธเกิดขึ้นแล้วมันเหมือน กับไฟชนิดหนึ่งเผาด้วยเหมือนกัน นี่ล่ะความโกรธมันกัดเจ้าของ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 53.38-54.18)
negative ต่อไปก็คือความเกลียดและความกลัว ท่านเคยเกลียดอะไรมาแล้ว แล้วทั้งนั้นท่านเคยกลัว กลัวอะไรมาแล้วทั้งนั้นนะไปดูไอ้อิทธิพลของความเกลียดและความกลัวเกิดขึ้นแล้ว กัดชีวิตนี้อย่างไร ต้องสนใจจากเรื่องจริงอย่างนี้ จึงจะเข้าใจธรรมชาติ และเข้าใจธรรมะ รู้จักความเกลียดรู้จักความกลัว นี่ negative อีกชนิดหนึ่ง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 54.53-55.35)
ความรักเหมือนกับไฟที่เปียกๆ ความโกรธเหมือนกับไฟที่แห้งๆ ความเกลียดและความกลัวเหมือนกับไฟที่มันมืดๆๆ แม้ว่ามันจะต่างกันมันก็กัดตามแบบของมัน ไฟเปียกก็กัดไปอีกแบบ ไฟแห้งก็กัดไปอีกแบบหนึ่ง ไฟมืดมันก็กัดไปอีกแบบหนึ่ง นี่ศึกษาธรรมะต้องศึกษาที่ตัวสิ่งเหล่านี้จึงจะรู้ ไม่ใช่ศึกษาจากพระคัมภีร์หรือเสียงพูดอย่างเดียว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 56.15- 57.15)
ตัวถัดไปก็คือวิตกกังวลในสิ่งที่ยังไม่มา แล้วก็อาลัยอาวรณ์ อาลัยอาวรณ์ในสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เรียกว่าวิตกอนาคต อาลัยอดีต สองอย่างนี้กัดจิตใจเท่าไรท่านก็รู้ ถึงอาตมาจะบอกท่านก็ไม่รู้ดีเท่าที่ท่านเคยรู้อยู่แล้ว รู้ว่ามันเป็นสิ่งที่กัดเจ้าของ มีเมื่อไรมากัดเจ้าของเมื่อนั้น วิตกกังวลอาลัยอาวรณ์(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 57.50 – 58.36)
มีความตื่นเต้นๆ excite ไปตามอารมณ์ปัจจุบัน อารมณ์ปัจจุบันนี่เมื่อเกิดความตื่นเต้นอย่างนั้นอย่างนี้ ไปเสียเวลาตื่นเต้น ตื่นเต้น มันก็เป็นการกัดชีวิต ชีวิตกัดตัวเองชนิดหนึ่งเหมือนกัน ถ้าไม่มีการตื่นเต้นอะไรเราก็มีความผาสุกกว่าการตื่นเต้น ตื่นเต้น ในสิ่งที่มันยั่วให้ตื่นเต้นๆ มัน......(นาทีที่ 59:08)...... อะไรก็ตาม ให้มันตื่นเต้นๆ แล้วมันก็เป็นการกัดเจ้าของชนิดหนึ่ง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 59.16-59.48 )
ถัดไปก็คือความริษยา ริษยาไม่อยากให้ใครดีเท่าเรา หรือเหมือนเรา พยายามที่จะให้เขาสู้เราไม่ได้ เรียกว่าความริษยา ให้เขาอยู่ต่ำกว่าเราเสมอนี่ เรียกว่าความริษยา ถ้ามันเกิดขึ้นแล้วมันก็กัดๆผู้นั้นทันที ผู้ที่ถูกเราริษยายังไม่รู้สึกตัวด้วยซ้ำไป แต่ความริษยาจะกัดผู้ริษยาทันที นี่เรียกว่ามันกัดเจ้าของอย่างยิ่งกว่าสิ่งใด ถ้าโลกนี้จะวินาศนี่ก็เพราะความริษยา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 60.31 – 61.10)
ทีนี้ก็ความหวง ความหวง ความตระหนี่ ความไม่ยอมให้ ไม่ยอมให้ นี่เรียกว่าความหวง แต่ถ้าเข้มข้นเป็นเรื่องทางเพศระหว่างเพศ มันหวงรุนแรงถึงขีดสุดเรียกว่าความหึง ข้อนี้ฆ่ากันตายได้ง่ายๆเหมือนกับฆ่าสิ่งที่ไม่มีความหมาย ความหึง รวมเรียกกันว่าความหวง แต่ความหึง ความหึงมันรุนแรงมากเพราะเป็นเรื่องทางเพศ เกิดขึ้นแล้ว กัดเจ้าของๆๆ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 61.50-62.37 )
มันยังมีมากกว่านี้ แต่เอามาเป็นตัวอย่างเพียง ๑๐ อย่างเท่านี้ก็พอเกินพอแล้ว ท่านจะรู้จักไอ้ ๑๐ ดีแล้วมันจะกัดเจ้าของอย่างไร ถ้าได้ปล่อยให้ความรู้สึกมันเดินไปจน positive negative แล้วมันจะต้องกัดเจ้าของในลักษณะอย่างนี้เสมอไป จึงจะมาเรียนรู้ธรรมชาติตามที่เป็นจริงไม่ให้ความรู้สึกมันไปจนเรียกว่าเป็น positive หรือ negative ตาเห็นรูปก็ดี หูได้ยินเสียงก็ดี จมูกได้กลิ่นก็ดี ลิ้นได้รสก็ดี กายสัมผัสผิวหนังก็ดี รู้แต่ว่ามันเป็นอย่างไร ควรจะจัดการอย่างไรก็จัดไป แต่ถ้าปล่อยไปเป็น positive negative แล้วมันเกิดความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว อย่างที่ว่าแล้วมันกัดเจ้าของเหลือประมาณ ต่างกันอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 63.29- 64.09)
คนเราหลงรัก positive เกลียด negative โดยไม่รู้ว่าแม้ positive มันก็กัดเจ้าของ กัดเจ้าของตามแบบของ positive ในตัวอย่างที่ผ่านมาแล้ว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 64.22- 64.38)
นี่เรียกว่าเราไม่รู้ เราไม่มีความรู้เกี่ยวกับความจริงของธรรมชาติข้อนี้ ก็อย่าให้มันเกิดเป็นตัวตน ตัวตนขึ้นมา ให้มันเป็นเพียงอาการตามธรรมชาติ เป็นเรื่องของจิตใจและร่างกาย ไม่มีสิ่งที่ ๓ คืออัตตาหรือตัวตน ชีวิตนี้ก็จะเย็นๆไม่มีความร้อนมันดีอย่างนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 65.09-66.00 )
เป็นอันว่าความรู้ธรรมะ Bird’s eyes view เรื่องที่ ๑ ของเราก็ได้จบไปแล้ว คือว่าเราจะต้องมีความเจ็บปวด เพราะถูกความเป็น positive หรือ negative มันกัดเอา กัดเอา เพราะเราไม่สามารถจะควบคุมมัน มันขึ้นมาด้วยความเป็น positive negative แล้วมันก็กัดเอา นี่ข้อแรกเรื่องแรกที่จะมองให้เห็น (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 66.37-67.08)
Bird’s eyes view เรื่องที่ ๒ ก็คือเรื่องเราไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท เราไม่มีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท สิ่งต่างๆก็เป็นไปด้วยความโง่เขลาหรือผิดๆ ความทุกข์ก็เกิดขึ้นอย่างนี้ ดังนั้นเราจะต้องมีความรู้เรื่องที่ถูกต้องๆไม่ให้เกิดเป็น positive หรือ negative (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 67.38-68.20 )
เรื่องนี้ก็เหมือนกัน ท่านต้องเรียนจากสิ่งที่มีอยู่ในจิตใจของตนเอง ไม่อาจจะเรียนได้จากหนังสือ หรือจากคำสอนคำพูดอะไรที่ไหน ต้องเอาตัวชีวิตนั่นแหละเป็นบทเรียนสำหรับศึกษา จึงจะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท (ภาษา อังกฤษ นาทีที่ 68.49 – 69.26)
ABC ของมันก็คือในภายในเรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ในภายนอกก็มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ข้างในก็ ๖ ข้างนอกก็ ๖ ซึ่งมันพร้อมที่จะเข้ามาถึงและสัมผัสกัน (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 69.47-70.22 )ใน ๖ อย่างนั้น เราเอามาศึกษาเป็นตัวอย่างคู่แรก คือ ตากับรูป ตาอยู่ข้างใน รูปอยู่ข้างนอก พอมา depend น่ะ ภาษาบาลีเขาว่า ปฏิจจ ภาษาอังกฤษเรียก depend พอมัน depend กันเมื่อไรระหว่างตากับรูป มันก็เกิด eye consciousness คือจะเกิดวิญญาณ วิญญาณ consciousness ท่านจงรู้ว่าวิญญาณไม่ได้เกิดอยู่ก่อน วิญญาณ consciousness ไม่ได้เกิดอยู่ก่อน เพิ่งจะเกิดเมื่ออายตนะภายในคือตากับอายตนะภายนอก คือรูปถึงกันเข้ามาเป็นปฏิกิริยาออกมาเป็นจักษุวิญญาณ เป็นสิ่งที่ ๓ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 71.21-72.13) ได้ ๓ อย่างแล้วนะ ตาอยู่ข้างใน รูปอยู่ข้างนอกมาถึงกันเกิด consciousness ได้ ๓ อย่าง ต่อไปก็คือว่าเมื่อทั้ง ๓ อย่างนี้ ทำงานร่วมกันอยู่ในหน้าที่ของมันใน function ของมัน การกระทำนั้นเรียกว่าผัสสะคือการกระทบ ผัสสะ(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 72.40-73.01 )
นี่ตาทำผัสสะต่อรูป โดยเครื่องมือคือจักษุวิญญาณ ๓ ประการทำงานร่วมกันมันจึงเกิดผัสสะ ผัสสะ ไอ้ตัวนี้ตัวร้ายที่สุดนี่เข้าใจให้ดี (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 73.23-73.43) ถ้าว่าในขณะแห่งผัสสะนั้นเราไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง ไม่มีความรู้ที่ถูกต้องก็คือมีแต่อวิชชาความรู้ที่ไม่ถูกต้อง ผัสสะนั้นก็เป็นผัสสะโง่ ผัสสะที่โง่ คือไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง ผัสสะที่โง่ก็ให้เวทนาที่... (นาทีที่ 74.12)... จึงออกมาเป็นเวทนาโง่ สำหรับจะเป็น positive เป็น negative เมื่อเวทนามันโง่ ผัสสะมันโง่ มันจะคลอดเวทนาโง่ออกมา เป็น positive หรือเป็น negative(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 74.27-75.12)
คือในทางที่ตรงกันข้ามในขณะของผัสสะนั้นเรามีวิชชา มีความรู้ที่ถูกต้องเกิดขึ้นมาเป็น contact ที่ฉลาดที่รู้ มันก็ไม่เกิดเวทนาโง่ไม่มีความหมายแห่ง positive หรือ negative ในเวทนานั้นเป็นของธรรมดาตามธรรมดาว่าเป็นเช่นนั้นๆๆไม่มีความหมายเป็น positive หรือ negative ไม่ทำให้รักไม่ทำให้โกรธ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 75.46-76.32)
เมื่อ contact มันโง่ feeling มันก็โง่ feeling มันโง่เป็น positive เป็น negative มันก่อให้เกิดความต้องการคือโง่ ความอยากคือโง่ ที่เรียกว่าตัณหาเป็น desire บ้าง craving บ้างมิใช่เป็น aspiration ที่ถูกต้อง มันเป็นความต้องการด้วยความโง่ที่เรียกว่าตัณหา ตัณหา นี่จุดตั้งต้นของปัญหาจะอยู่ที่ตรงนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 77.06 - 77.39 )มีความต้องการที่โง่เกิดขึ้น เป็นความต้องการน่ะ ความต้องการนั้นรุนแรงมาก รุนแรงมาก ความต้องการนั้นทำให้เกิดความคิดว่ามีตัวกูผู้ต้องการ ต้องมีความต้องการเกิด จึงจะเกิดตัวกูผู้ต้องการ ตัวกูมิได้มีอยู่ มิได้มีอยู่ แต่พออยากๆๆรุนแรงมันจะเกิด ความรู้สึกว่าตัวกูผู้ต้องการ นี่เรียกว่าตัณหาให้เกิดอุปาทาน ความอยากทำให้เกิดตัวกู อยากปรุงขึ้นมา ไม่ใช่ของจริง ตัวกูอยากไม่ใช่ของจริง เป็นเพียงปฏิกิริยาของความอยาก ตรงนี้เป็นความลับที่จะต้องรู้ว่าความทุกข์มันตั้งต้นที่ตรงนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 78.33-79.30)
นี่เป็นหลักสำคัญที่จะต้องเข้าใจ เห็นชัดแจ่มแจ้งชัดเจนว่าไอ้ตัวกู ตัวกูนี้ไม่ได้มีตัวจริง เป็นของเกิดขึ้นในความคิดเท่านั้นแหละ เหมือนกับเป็นผี ไม่มีตัวจริง ต้องมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วมันจะเกิดตัวกูในความรู้สึก เช่นตาเห็นรูป เราก็ว่ากูเห็นรูป จมูกได้กลิ่นแล้วจึงเกิดกูได้กลิ่น ลิ้นได้รสแล้วจึงจะเกิดว่ากูได้ๆๆรส มันเพิ่งเกิดต่อเมื่อมีการกระทำแล้วมันเป็นปฏิกิริยาจากการกระทำ นั้นไม่ใช่ตัวจริง มันเป็นสิ่งที่เป็นมายา......(นาทีที่ 80.10) ……อย่างยิ่งนี่รู้จักตัวกูไว้ว่ามันเกิดมา ปฏิกิริยาที่ออกมาจากความอยากเป็นตัวผู้อยาก ผู้อยาก (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 80.22-81.57 )
นี่คือบทเรียนอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายจะต้องฝึกๆๆกระทำเมื่อตาเห็นรูป มันระบบประสาทเห็นรูปไม่ใช่กูเห็นรูป เมื่อหูได้ยินเสียงก็ระบบประสาทหูได้ยินเสียง ไม่ใช่กูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่นก็ว่าไม่ใช่กูได้กลิ่น ลิ้นได้รสก็ว่าลิ้นได้รสไม่ใช่กูได้รส อะไรมาสัมผัสผิวหนัง ก็ว่ามันเป็นเรื่องของผิวหนังไม่ใช่เรื่องของกู ความคิดที่เกิดขึ้นก็เป็นอย่างเดียวกัน เป็นปฏิกิริยาเกิดขึ้น หลอกให้มีตัวกูคิด กูคิด การที่ให้ท่านทั้งหลายฝึกบทเรียนเดินมาที่นี่ โดยไม่ต้องมีตัวกูเดิน เดินมาที่นี่ โดยไม่ต้องมีตัวกูเดิน ก็คือบทเรียนอันนี้ คือควบคุมอย่าให้เกิดความรู้สึกว่าตัวกูๆขึ้นมา มิฉะนั้นมันจะมีปัญหา มีความทุกข์ ความอยากเป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกเป็นตัวกูผู้อยาก เป็นของไม่ใช่ของจริง (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 83.00- 84.54)
พอความอยาก ความอยาก หลอกให้เกิดความรู้สึกว่าตัวกูๆผู้อยากขึ้นมาแล้ว เกิดความรู้สึกว่าตัวกูผู้อยากขึ้นมาในจิตใจแล้ว ตอนนี้เรียกว่ามีภาวะ ภาวะ อุปาทาน ให้เกิดภาวะ becoming existent existent ของจริงที่มิใช่มีตัวจริงเป็นเพียงความเข้าใจขึ้นมาประกอบกันขึ้นมา เป็นภาวะ คล้ายกับเป็นของจริง เป็น existent แต่ไม่ใช่ของจริง มันเป็นเพียง becoming ของการปรุงกันมาตามปฏิจจสมุปบาท อุปาทานให้เกิดภาวะ attachment ให้เกิด becoming existent ตัวกูผีหลอกเกิดขึ้นเต็มที่แล้ว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 85.49- 87.03)
เมื่อมีภาวะ becoming existent เต็มที่แล้ว เต็มที่แล้ว โตขึ้นเต็มที่แล้วเหมือนว่าตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ แก่แล้วมันจะต้องคลอดออกมานี่ เป็นชาติ ชาติ เป็นตัวกูเป็นตัวตนที่เต็มที่ เต็มที่ออกมาในความรู้สึกเรียกว่าชาติ หรือ birth นี่ตัวกูเต็มที่ ตัวกูเต็มที่อยู่ในความรู้สึกเกิดออกมาแล้ว มันต้องมีความทุกข์ทุกชนิดๆที่ว่ามัน มันมีตัวกู เพราะมันไปรับเอา positive และ negative ทุกชนิดมาเป็นเรื่องของกู มันก็มีความทุกข์ ทุกอย่างนะไม่ว่าเรื่องอะไรมันเอามาเป็นเรื่องของกูแล้วมันก็ต้องเป็นทุกข์ คือตัวอย่าง ๑๐ อย่างที่ยกมาแล้วที่มันกัดตัวเอง กัดตัวเองก็เพราะว่ามันมีตัวกู มีตัวกูแล้วมันก็กัดตัวเอง ถ้าไม่มีตัวกูมันก็ไม่รู้จะกัดใคร นี่ภาวะให้เกิดชาติแบบนี้ก็กัดตัวเอง กัดตัวเอง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 88.06 – 89.25)
นี่ขอให้จับใจความสำคัญให้ได้ ให้ถูกต้องว่าเมื่อในขณะแห่งผัสสะ ขณะแห่งผัสสะ เราไม่มีความรู้ที่ถูกต้อง เราก็มีผัสสะโง่ มีเวทนาโง่ เป็น positive เป็น negative ก็ปรุงเป็นตัณหา เป็นอุปาทานเป็นตัวกูเต็มที่ แล้วมันก็มีความทุกข์ด้วยการที่มันกัดตัวเอง มันกัดตัวเอง ทั้งหมดนี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท จุดสำคัญอยู่ที่ผัสสะ ถ้าผัสสะโง่แล้วก็ตลอดสายก็จะต้องโง่แล้วก็มีความทุกข์ ถ้าผัสสะฉลาดแล้วก็ไม่ไปในทางโง่ มันก็ไม่มีทุกข์ นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 90.17-91.44) ทั้งหมดนี้เราเรียกว่ากระแส กระแส stream of….( นาทีที่ 91.53) ของปฏิจจสมุปบาท เป็น Bird’s eyes view เรื่องที่ ๒ ซึ่งท่านจะต้องรู้และมองเห็น แล้วท่านก็จะควบคุมผัสสะได้ นี่ Bird’s eyes view เรื่องที่ ๒ คือปฏิจจสมุปบาท (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 92.14 -93.08)
ทีนี้ก็มาถึงปัญหาที่ ๓ Bird’s eyes view เรื่องที่ ๓ ว่าท่านไม่อาจจะฉลาดในขณะแห่งผัสสะ ในผัสสะ ในขณะแห่งผัสสะไม่มีปัญญาไม่มีวิชชา เป็นผัสสะโง่ เราจะทำอย่างไรจึงจะให้มีผัสสะฉลาด นี่เราจะต้องฝึกสิ่งที่สำคัญที่สุดสิ่งหนึ่งซึ่งเรียกว่าสติๆ เป็น Bird’s eyes view เรื่องที่ ๓ ว่ามีอย่างไรปฏิบัติอย่างไร เป็นเรื่องสติต่อไป (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 93.47-94.50)
เรื่องที่ ๓ การฝึกสติ มันก็มีความยุ่งยากตอนที่ว่ามันก็ฝึกยากหน่อย แต่ไม่ได้หมายความว่าเหลือวิสัย ไม่ใช่เหลือวิสัยแต่มันฝึกยากสักหน่อย เปรียบเหมือนว่าขี่จักรยาน ขี่จักรยานกว่าจะขี่ได้ บังคับรถจักรยานได้ดีเราต้องหกล้ม ล้มลงหลายๆครั้ง หลายๆครั้ง เราไม่ยอมแพ้ เราก็สู้ เราฝึกอีก ฝึกอีก จะล้มกี่ครั้ง ล้มกี่ครั้งเราไม่สนใจ แล้วในที่สุดเราก็ขี่จักรยานนั้นได้ บัดนี้ก็มาถึงตอนที่เราจะขี่รถจักรยานที่ยากไปกว่านั้น คือรถจักรยานจิต จิตที่เป็นรถจักรยาน กว่าเราจะบังคับจักรยานจิตได้นี่ เราควรจะต้องมีการฝึกที่ถูกต้องที่สุด เรียกว่าฝึกสติ ฝึกสติซึ่งเป็นเรื่อง ที่ ๓ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 96.00-97.48)
เมื่อคนเขาขี่รถจักรยานครั้งแรกๆ หัดขี่ ล้มๆเขาก็ไม่ยอมเลิก เขาก็ไม่เลิก ในที่สุดเขาก็ขี่รถจักรยานได้ แต่มีคนเป็นอันมากพอมาฝึกอานาปานสติแล้วทำไม่ได้ เพียงสองสามครั้งเขาก็เลิก เขาก็เลิก เขาก็ไม่ทำเขาก็เลิก ไม่พยายามต่อไปมันมีความจริงอยู่อย่างนี้ นี่เราจะต้องต่อสู้จะต้องต่อสู้แม้ว่ามันจะลำบากบ้าง เราจะต้องเอาชนะให้จงได้ ฝึกจิตหรือฝึกสติให้ชนะให้จนได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 98.28- 99.38)
บทเรียนเกี่ยวกับอานาปานสติเราแบ่งเป็น ๔ ขั้นตอน ตอนแรกเกี่ยวกับ กาย กาย ตอนที่ ๒ เกี่ยวกับเวทนาความรู้สึกของกาย ตอน ๓ ตัวจิต ตอนที่ ๔ คือธรรมชาติที่หลอกลวงให้เรายึดถือ ท่านต้องรู้จักกายนี้ควบคุมให้ได้ ให้มันเข้มแข็งให้มีประโยชน์ที่สุด แล้วก็ควบคุมเวทนาที่จะเกิดขึ้นทางกายนี้ให้ได้ อย่าให้มันหลอกโดย positive หรือ negative บังคับจิตให้ได้ตามที่ต้องการ แล้วก็รู้จักธรรมชาติโดยทั่วๆไป ที่หลอกให้เรายึดถือ ที่หลอกให้เรายึดถือเป็นว่าตัวตน ตัวตน เรารู้จักทุกสิ่งจนไม่หลอกเราได้ ครบ ๔ อย่างนี้แล้วก็สมบูรณ์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 100.32-102.50 )
หมวดแรกเรียกว่ากาย กายแปลว่าสิ่งที่รวมกันเป็นหมู่ มันหมายถึงร่างกายเนื้อหนังนี้ด้วย แล้วก็หมายถึงลมหายใจซึ่งมันเนื่องกันอยู่กับกาย ไม่มีลมหายใจ กายก็มีไม่ได้ ลมหายใจไม่แยกไปจากกาย เมื่อเราฝึกกายก็ฝึกร่างกายนี้ด้วยเรื่องลมหายใจนี้ด้วย จนเราควบคุมมันได้ตามที่เราต้องการ ต้องการให้มันเข้มแข็งสดชื่นเมื่อไรก็ได้ต้องการให้ได้ความสุข ความสงบความระงับเมื่อไรก็ได้ เอาชนะในเรื่องของร่างกายเป็นหมวดที่ ๑ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 103.22- 104.06) เราจะบังคับกายโดยตรง โดยตรงทำไม่ได้ แต่เราบังคับได้โดยทางลมหายใจ ถ้าเราบังคับให้ลมหายใจสงบระงับได้ กายนี่ก็สงบระงับได้ เราบังคับกายเนื้อกายหนังนี่ทางลมหายใจ เราเลยชนะทั้ง ๒ กาย รายละเอียดอย่างไรก็อาจารย์ที่ฝึกให้ที่ center จะอธิบายให้เข้าใจ แล้วก็จะฝึกได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 104.39-105.32)
หมวดที่ ๒ ก็เรียกว่า เวทนาคือ feeling เวทนา ท่านต้องมองให้เห็นชัดว่าบรรดามนุษย์สิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายมันต้องการผลสุดท้ายคือเวทนาที่พอใจ เวทนาที่น่าพอใจ เป็น positive แต่เขาไม่รู้ว่าทั้ง positive และทั้ง negative น่ะมันเป็นปัญหาถ้าควบคุมไม่ได้แล้วมันก็กัดเอา เราจะต้องควบคุมเวทนานี้ให้ได้ทั้งที่เป็น positive และเป็น negative อย่าให้มันกัดเอา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 106.10-106.58) เวทนาทั้งหมดที่สูงสุดอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจ ความพอใจทีแรกยังหยาบ ยังสั่น ยังไม่ระงับ ก็เรียกว่า ...(นาทีที่ 107.15).... ถ้ามันสงบระงับลงไปก็เรียกว่าความสุข happiness เราจะต้องควบคุมมันให้ได้ทั้ง ๒ เวทนาอย่าให้หลอกเราในฐานะ positive หรือ negative แล้วก็เกิดความกัดเจ้าของ กัดเจ้าของอย่างที่ว่ามาแล้ว ชนะเวทนาให้ได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 107.38-108.30)สรุปความว่าอย่าให้จิตนี่เป็นทาสของเวทนาหรือใช้คำว่าเราก็ได้ แต่เราหมายถึงจิต อย่าให้จิตเป็นทาสของเวทนา ให้เวทนาเป็นทาสของจิตคือควบคุมได้ ควบคุมเวทนาได้จนไม่เป็นทาสของเวทนา นี่ความหมายตามนี้ข้อนี้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 109.00- 109.41)
เรื่องที่ ๓ ก็คือตัวจิตนั่นเอง ตัวจิตนั่นเองเป็นตัวการที่จะเป็นผู้ทำ หรือผู้ทุกอย่างที่เป็นตัวการ เราต้องควบคุมจิตให้ได้ ถ้าพูดให้ว่าจิตนี่ควบคุมจิตให้ได้เพราะว่าเรา เรานี่มันไม่มีอะไรนอกไปจากจิต แต่นี่จิตนี่ฝึกตัวเองจนฉลาดและควบคุมตัวเองได้ จิตควบคุมตัวเองได้ ไม่มีความผิดพลาดอีกต่อไป นี่เรียกฝึกจิต (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 110.17-110.59) ให้จิตอยู่ในอำนาจไม่หลอกเราให้หลงใหลเป็น positive หรือ negative จิตอยู่ในอำนาจของจิตที่ฝึกดีแล้ว เรานี่หมายถึงจิตน่ะ ให้มันพอใจให้มันเกิดความรู้สึกพอใจก็ได้ ให้มันหยุด concentrate ก็ได้ นี่มันปล่อยๆๆให้สิ่งที่ไปยึดมาเป็นตัวตนของตนก็ได้ บังคับได้ให้มันพอใจ ให้มันคงที่ ให้มันปล่อย สิ่งที่ไปยึดเอามาเป็นความทุกข์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 111.34-112.29 )
จิตที่ฝึกดีแล้วก็มีลักษณะสะอาด สะอาดคือไม่มีกิเลสคือสะอาด มันรวมกำลังทั้งหมดเป็นกำลังสูงสุด เหลือที่จะกล่าวได้ และก็ active ที่สุด ว่องไวในหน้าที่การงานที่สุด active ที่สุด คือมันสะอาดที่สุดมันรวมกำลังทั้งหมดที่สุดแล้วมันก็ active ที่สุด นี่เรียกว่าจิตที่ฝึกดีแล้ว (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 112.59-113.55) ถือว่าจิตนี้ได้รับการฝึกดีแล้ว ฝึกดีแล้วก็เป็นจิตที่ฉลาดที่สุด ก็มองเห็นสิ่งทุกสิ่งๆว่าไม่ควรจะไปยึดถือ ไม่ควรจะ attach ไม่ควรจะ bring to (นาทีที่ 114.10)…หรือ classified อย่างนั้นอย่างนี้ มันไม่โง่ไปยึดถือว่าเป็น positive หรือ negative น่ารักน่าพอใจมันก็เป็นไปตามธรรมชาติ จิตก็เป็นอิสระ จิตเป็นอิสระ สิ่งทั้งปวงที่เคยยึดถือเป็นตัวเราเป็นของเราก็ถูกสลัดออกไปนี่เป็นขั้นที่ ๔ เรียกว่าฝึกให้ปล่อยวางในธรรมชาติที่ไม่ควรจะยึดถือ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 114.16- 115.37 )
นี่เป็น Bird’s eyes view เรื่องที่ ๓ คือฝึกสติ หรือว่าสติ อานาปานสติภาวนา เรื่องที่ ๑ เรารู้เรื่องที่เราเป็นทุกข์เพราะมีอวิชชาจับฉวยสิ่งต่างๆมาเป็นตัวตนจนมันกัดเจ้าของนี่เรื่องที่ ๑ เรื่องที่ ๒ เรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ว่าทำไมมันถึงเป็นอย่างนั้นต้องควบคุมให้ได้ ถ้ามันควบคุมไม่ได้ก็มาถึงเรื่องที่ ๓ คือฝึกให้ควบคุมได้เรื่องจิต Bird’s eyes view ของเราจึงมีเป็น ๓ เรื่องอย่างนี้ อาจารย์ที่ center จะช่วยให้ท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนี้ดีขึ้นๆ จึงปฏิบัติได้เต็มตามความปรารถนา นี่เรื่องแรก Bird’s eyes view มีอยู่อย่างนี้ ขอให้ปฏิบัติไปได้ตามนั้นทุกๆคนเถิด (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 118.39-120.20)
ในที่สุดนี้ขอขอบคุณ ขอบคุณท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ฟังที่ดีเป็นเวลา ๒ ชั่วโมงแล้ว ๒ ชั่วโมงแล้ว ขากลับไป center walking without the walker เป็นบทเรียนแรกให้เป็นผู้อยู่เหนืออุปาทานว่าตัวตน ตัวตนเป็นลำดับไป ขอปิดการประชุม (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 120.51- 121.35) (นาทีที่ 122.00-122.22 พูดถึงดอกกรรณิการ์)
walking without the walker จำโดยส่วนรวมว่า doing without the doer (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 122.31-122.50) เมื่อมันไม่มี self แล้วไอ้ความทุกข์หรือปัญหามันก็ไม่มีที่ตั้ง ไม่มีที่ตั้งมันก็ไม่มีความทุกข์นั่นเอง(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 123.02-123.15 ) นี่คือ freedom สูงสุด freedom จาก the self (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 123.23-123.28 )ไม่ติดคุกไม่ติดตารางของ self อีกต่อไป(ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 123.35 )
ขอแสดงความหวังว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติ ถ้าภายใน ๑๐ วันไม่สำเร็จก็ปฏิบัติต่อไปๆๆ ต่อไปจนสำเร็จได้ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 123.53-124.14) อย่าขี่รถจักรยานครั้งเดียวล้ม ล้มแล้วก็ไม่พยายามอีกต่อไป (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 124.22-124.32) ท่านจะได้รับประโยชน์คุ้มค่าๆ หรือเกินค่าในการที่มาศึกษา (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 124.43-125.05) มีชีวิตเย็นและเป็นประโยชน์เหมือนดอกกรรณิการ์ (ภาษาอังกฤษ นาทีที่ 125.10-125.23) ชีวิตอย่างนี้ไม่กัดเจ้าของเลย(ภาษาอังกฤษ นาทีที่125.25-125.36)