แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านผู้ฟังทั้งหลาย การบรรยายครั้งนี้เป็นการบรรยายต่อจากครั้งที่แล้วมา ในครั้งที่แล้วมาได้บรรยายเรื่องปฏิจจสมุปบาท ซึ่งเป็นคำสอนที่บอกให้รู้ว่าชีวิตนี้มิใช่ตัวตน เป็นเพียงกระแสปรุงแต่งของสิ่งต่างๆ ตามธรรมชาติ และให้รู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร และความทุกข์ดับลงไปอย่างไร นั้นคือเรื่องปฏิจจสมุปบาท ใจความสำคัญของเรื่องนั้น ก็คือไม่ให้เกิดความรู้สึกหรือ concept ว่าตัวตนหรือของตน เราจึงเห็นว่าถ้าความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้นมาเมื่อไหร่ ชีวิตนี้ก็จะเป็นของหนักหรือเป็นความทนทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งทุกครั้งที่มันเกิดขึ้น จึงไม่ต้องการให้ความรู้สึกว่าตัวตน อัตตาหรืออัตตนียาเกิดขึ้น นี้เป็นใจความสำคัญ
และความหมายนี้ลึกไปถึงว่า แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าชีวิตนี้ก็มิใช่ของตน เป็นเพียงของธรรมชาติปรุงแต่งขึ้นมา โดยลักษณะคล้ายๆ กับไปยืมของธรรมชาติมา เอาธาตุต่างๆ มาปรุงขึ้นเป็นชีวิต แล้วก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ถือเอาว่าเป็นตัวตนหรือของตน พุทธบริษัทมีวิธีปฏิบัติง่ายขึ้นไปอีก มันก็มีลักษณะเหมือนกับว่าอุปมา ยืมของธรรมชาติมา ธาตุต่าง ๆ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณ ทุกๆ ธาตุเหล่านี้ถูกยืมมาจากธรรมชาติ มาปรุงกันขึ้นเป็นชีวิต ก็เลยต้องขอยืมจากธรรมชาติ ไม่มีตัวตนของเรา ไม่มีตัวตนของเรา กายก็ดี ใจก็ดี สองอย่างนี้เป็นของยืมจากธรรมชาติ เอาธาตุต่างๆ มาปรุงกันขึ้นมา เป็นกายหรือเป็นใจหรือเป็นชีวิตนี้ จึงไม่ถือว่าชีวิตนี้เป็นตัวตนหรือเป็นของตน
ชีวิตนี้มิได้มีสิ่งที่เรียกว่าตัวตน egoistic concept ที่เกิดขึ้นว่าตัวตนนั้นเป็นของหลอก มีแต่ร่างกายกับจิตใจสองอย่างพอแล้ว ไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่าตัวตน แต่ว่าในส่วนที่เป็นร่างกายนั้นมีระบบประสาท ระบบประสาทรู้สึกอะไรได้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ฉะนั้นถ้ามันเป็นผลเกิดขึ้นจากความรู้สึกเหล่านี้แล้ว มันก็เป็นของระบบประสาทสิ อย่าเห็นเป็นตัวตนเป็นของตนสิ มันเกิดขึ้นจากระบบประสาท ไม่มีจิตใจคิดนึกกระทำไปตามที่ควรจะทำ นี่เรามีกายกับใจ และก็มีระบบประสาทสำหรับรู้สึก ไม่ต้องมีตัวตน จึงรู้สึกสิ่งต่าง ๆ ที่มากระทบได้ และเป็นบวกก็ได้ เป็นลบก็ได้ตามใจมัน มันก็อยู่แค่ระบบประสาท อย่าให้เกิดตัวตนขึ้นมา
ทีนี้ปัญหามันก็มีอยู่ว่า ในการที่กระทบกับอารมณ์นั้น ตา หู ก็กระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส แล้วมันเกิดผลเป็น feeling เป็นเวทนา เป็นบวกและเป็นลบ เป็น positive เป็น negative ส่วนที่เป็น positive นั้นมันน่ารัก มันน่าพอใจ มันให้ความพอใจ แล้วเราจะทิ้งไปเสีย เราจะไม่ให้มันมีอำนาจเหนือเรา ไม่ให้เราต้องมีความรัก ไม่ให้ต้องมีความพอใจ เราทิ้งมันไปเสียเลย ทีนี้บางคนก็เสียดาย เสียดายความเป็น positive ของสิ่งทั้งหลายที่เข้ามากระทบเรา เราทิ้งไปเสียเลย negative ไม่ต้องพูด ก็เป็นอันว่าทิ้ง เราจะอยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งที่เป็น positive และ negative นี้เรียกว่าความรอด รอดจากปัญหา รอดจากความทุกข์ บางคนเสียดายๆ ไม่อยากจะทิ้ง ถ้าอย่างนี้ก็ปฏิบัติธรรมะไม่ได้หรอก เพราะต้องการจะทิ้งไปเสียทั้งคู่ ทั้ง positive และ negative เป็นอิสระ-free เหนืออิทธิพลของสิ่งเหล่านี้ นี่มันมีปัญหาอยู่อย่างนี้ บางคนยังพอใจ ยังรัก positive ทั้งหลายอยู่ โลกปัจจุบันนี้ก็รัก positive ทั้งหลายอยู่ มันต้องเข้าใจเรื่องนี้จนไม่เป็นปัญหา จนไม่เป็นข้อขัดข้อง
ที่จริงก็ไม่ได้เอาไปทิ้งที่ไหนหรอก เรายังรู้สึกกับ positive และ negative แต่เราจะรู้สึกในลักษณะที่ไม่ให้มันมีอำนาจเหนือเรา ไม่ให้อิทธิพลของมันมาบังคับให้เราเกิดความรู้สึกดีใจหรือเสียใจ ถ้าเราไปหลง positive มันก็ทำให้เราเป็นทาสของมันรับใช้มัน ไปหลง negative เราก็เกลียดกลัวมัน มันหาความสงบสุขไม่ได้ นี่เพื่อให้ทั้งสองอย่างนี้ไม่มีอิทธิพลเหนือจิตใจของเราหรือทำความทุกข์ให้แก่เรา เราจึงควบคุมอิทธิพลของทั้งสองอย่างนั้นไม่ให้มีปัญหาให้เกิดขึ้นแก่เรา
ส่วนที่เป็น positive มันก็ทำให้เราดีใจๆ หัวเราะ ส่วนที่เป็น negative มันก็ทำให้เราเสียใจๆ ร้องไห้ ทั้งสองอย่างมันไม่ไหว ร้องไห้ๆ มันก็ไม่ไหว หัวเราะๆ มันก็ไม่ไหว ดีใจก็ไม่ใช่ความสงบ เสียใจก็ไม่ใช่ความสงบ ไม่ใช่ gleefulness ทั้งดีใจทั้งเสียใจ ต้องเหนือดีใจและเสียใจมันจึงจะเป็นความสงบ นี่เราจึงขจัดอิทธิพลออกไปเสียทั้ง positive และ negative ใจความมันมีอย่างนี้สั้นๆ ทั้งคู่นั้นมันทำให้เรารู้สึกว่า เรากำไรหรือเราขาดทุน เราโชคดีหรือเราโชคร้าย เราได้เปรียบหรือเราเสียเปรียบ เป็นคู่ๆ คู่ๆ ไปมากมาย ไม่มีความสงบ ไม่มีความสงบสุข มีแต่ขึ้น ขึ้น ขึ้น ลง ลง ลง ขึ้นลง ขึ้นลง ขึ้นลง เราต้องการจะกำจัดความรู้สึกเหล่านี้เสีย เพื่อความสงบ
เราเป็นผู้คงที่ ไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบ ไม่เป็น pessimistic or optimistic มันไม่มีบวกไม่มีลบ มันเป็นคู่ๆ อย่างนี้ เรามีความสงบ เมื่อมีความสงบนั้นทำอะไรได้ดีที่สุด ทำการงาน ปฏิบัติหน้าที่การงาน คิดนึกอะไรทำได้ดีที่สุด ฉะนั้นอย่าเสียใจว่า ไม่เอากับ positive แล้วจะทำอะไรไม่ได้ ยังคงทำอะไรได้ทุกอย่าง แล้วก็สงบที่สุด ทำได้ดีที่สุด นี่ประโยชน์มันอยู่ที่ตรงนี้ ไม่เป็นทาสของ positive หรือ negative แต่เรา free,free,free จากอิทธิพลของ positive และ negative แล้วเราก็ยังทำการศึกษาได้ ทำงานได้ หาเงินได้ มีเงินได้ ใช้เงินได้ มีทรัพย์สมบัติได้ มีอำนาจปฏิบัติงานต่างๆ ได้ ทำได้ทุกอย่าง แล้วก็ทำดีได้ดีที่สุดกว่าจิตใจที่มันตกเป็นทาสของ positive และ negative มีจิตใจอิสระเหนือสิ่งเหล่านี้ จะกลับมีชีวิตที่ดีที่สุด มีค่าที่สุด หรือสงบสุขที่สุด เราจึงไม่ให้อิทธิพลของ positive และ negative ครอบงำจิตใจเรา
ถ้าเราไปพอใจเป็นทาสของ positive เราก็ทำงานทั้งหลายอย่างกับคนที่เป็นทาส negative ก็เหมือนกัน ครอบงำเราแล้ว ก็ทำสิ่งต่างๆ ทำงานหรือมีชีวิตอย่างคนที่เป็นทาส ทีนี้พอเราไม่อยู่ใต้อำนาจของ positive และ negative เราก็เป็นไท เป็นอิสระ เราก็มีชีวิตอิสระ ทำงานอย่างเป็นอิสระ นี่ใจความสำคัญ ถ้าไปหลงคู่นั้นแล้ว ก็เป็นทาส ทำอะไรเป็นทาส ไม่หลงคู่นั้น มีอำนาจเหนือสิ่งที่เป็นคู่ทั้งคู่นั้น เราก็ทำงานอย่างที่เป็นอิสระ เป็นนายเหนือสิ่งทั้งปวง ท่านก็เลือกดูเอาเองว่าจะเป็นนายเหนือสิ่งทั้งปวงหรือว่าจะเป็นทาสของสิ่งทั้งปวง
เรากินอาหารที่อร่อยๆ ก็ได้ เราฟังเพลงที่ไพเราะก็ได้ รู้สึกอร่อยได้ รู้สึกไพเราะได้ แต่ไม่เป็นทาสของมัน ไม่มีอิทธิพลของ positive ครอบงำจิตใจเรา หรือในกรณีที่ไม่อร่อย ไม่ไพเราะ มันก็ไม่ทำอะไรให้เราเดือดร้อนอะไรเลย ฉะนั้นเราจึงเป็นผู้ที่ไม่เดือดร้อน อยู่ในโลกนี้ไม่มีความเดือดร้อน ไม่ว่าสิ่งที่เป็น positive จะมา หรือเป็น negative จะมา เราคงคงที่,คงที่,คงที่ เป็นปรกติ และทำอะไรได้ดี ต่อสู้ศัตรูก็ได้ พักผ่อนก็ได้ ด้วยfree จากอิทธิพลของ positive และ negative ต่อสู้กับศัตรูอย่างดีที่สุดก็ได้ ด้วยจิตชนิดนี้,ด้วยจิตชนิดนี้
ส่วนมาก ท่านก็เกิดในบิดามารดาที่เป็นคริสเตียน ก็ขอร้องให้พิจารณาดูคัมภีร์ไบเบิ้ลอันศักดิ์สิทธิ์ของท่านทั้งหลาย ภาคต้นๆ ของไบเบิ้ล The Old Testament นั้น พระเจ้าบอกอดัมกับอีฟ สามีภรรยาคู่นั้นว่า อย่าไปกินผลไม้ของต้นไม้ที่ให้ทำรู้ดีรู้ชั่ว ถ้ากินจะต้องตาย นั่นแหละหัวใจของคำสอนเรื่องนี้ในพุทธศาสนา อยู่ที่หน้าแรกๆ ของคัมภีร์ไบเบิ้ล ท่านไปพิจารณาดูให้ดีว่า ทำไม พระเจ้าจึงห้ามไม่ให้กินผลไม้ที่ทำให้รู้ good and evil นั่นก็คือไม่ให้ตกเป็นทาสของ positive และ negative นั่นเอง นี้เป็นความรู้อันสูงสุดที่มนุษย์ได้รู้จักหลายพันปีมาแล้ว เท่ากับความเก่าของคัมภีร์ไบเบิ้ล หลายพันปีมาแล้วมนุษย์รู้เรื่องว่า อย่าไปอยู่ใต้อิทธิพลของ positive และ negative อย่าไป determinate สิ่งใดว่าเป็น positive หรือ negative เราก็ free จากอิทธิพลของทั้งสองนี้ เราก็สบาย เราก็ไม่มีปัญหา นี่ขอให้เข้าใจไปถึงนี้ด้วย
ทีนี้ก็ปัญหาเล็กๆ น้อยๆ แต่มันก็ไม่ใช่เล็กๆ น้อยๆ คือบางคนที่เป็นคริสเตียนบอกว่ารับไม่ได้ รับหลักการอันนี้ไม่ได้ เพราะว่าอยากจะไปโบสถ์ อยากจะไปโบสถ์ พ่อแม่สอนตั้งแต่เล็กๆ ว่าไปโบสถ์ แล้วก็ไปอ้อนวอนขอร้องจากพระเจ้าให้ได้สิ่งที่เป็น positive,positive,positive ตลอดเวลา นี้ไม่ต้องกลัว,ไม่ต้องกลัว เรามีพระเจ้าอันสูงสุดคือพระเจ้าอิทัปปัจจยตาปฏิจจสมุปบาทนั้นอยู่กับเรา,อยู่กับเรา เราเห็นแล้วและอยู่กับเรา นี้เราอยู่กับพระเจ้า แล้วก็ทำร่างกายนี้ๆ ให้เป็นโบสถ์ๆ แล้วเราก็ไปโบสถ์อยู่แล้วโดยอัตโนมัติ หรืออยู่ในโบสถ์แล้วตลอดเวลา ไม่ต้องไปโบสถ์เป็นคราวๆ หรือไม่ต้องทิ้งจากพระเจ้าหรือไม่ได้มีการอ้อนวอนพระเจ้า ทีนี้ก็อ้อนวอนพระเจ้าโดยปฏิบัติให้ถูกตรงตามกฎอิทัปปัจจยตาคือพระเจ้า เราไปอยู่โบสถ์อยู่ตลอดเวลาถ้ามีความรู้เรื่องอิทัปปัจจยตา ร่างกายนี้มันกลายเป็นโบสถ์ไปเสีย ฉะนั้นอย่าคิดว่าไม่ได้ไปโบสถ์ ไม่ได้ไปอ้อนวอนพระเจ้า การมีปฏิจจสมุปบาทอยู่กับจิตใจนี้มันอยู่กับพระเจ้าและอยู่ในโบสถ์ตลอดเวลา โดย principle(หลักการ) อันนี้ ทำให้ร่างกายนี้กลายเป็นโบสถ์ เราก็อยู่ในโบสถ์ตลอดเวลา โดยประพฤติปฏิบัติอย่างถูกต้องต่อกฎอิทัปปัจจยตา เราก็อยู่กับพระเจ้าได้ตลอดเวลาโดยหลักอันนี้ โดย principle อันนี้
ถ้าเราตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ positive และ negative ชีวิตนี้มันก็จะเต็มไปด้วยความขึ้นลง บวกลบ ยินดียินร้าย บวกลบ ขึ้นลงนี้ หาความสงบนั้นไม่ได้ แล้วมันก็จะมีลักษณะเหมือนกับว่าชีวิตนี้เองมันกัดตัวเอง มันกัดเจ้าของ ชีวิตนี้มันกัดเจ้าของ เพราะไปหลง positive และ negative มันมีลักษณะเหมือนกับติดคุกติดตะรางทางวิญญาณอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ นี่ติดคุกทางวิญญาณอยู่ตลอดเวลา
ชีวิตตามธรรมดาที่อยู่ใต้อิทธิพลของ positive และ negative นั้นมันจะเกิดอาการที่เรียกว่าถูกกัด ถูกกัดให้เจ็บปวด เดี๋ยวความรักกัด เดี๋ยวความโกรธกัด เดี๋ยวความเกลียดกัด เดี๋ยวความกลัวกัด วิตกกังวลในอนาคตกัด อาลัยอาวรณ์ในอดีตกัด อิจฉาริษยากัด ความหวงกัด ความหึงกัด นี่ตัวอย่างเกินพอดีแล้ว เมื่อชีวิตเต็มไปด้วยความรู้สึกเหล่านี้รบกวนอยู่อย่างนี้ เราเรียกว่าชีวิตนี้มันกัดเจ้าของ มันเป็นการเสียหายสูงสุดเลย เมื่อชีวิตนี้เองมันกัดเจ้าของเสียเอง นี่ปัญหาที่เราจะต้องดูกัน
ทีนี้ถ้าเรามีความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เราควบคุมชีวิตนี้โดยความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ความรู้สึกเป็น positive หรือ negative มันไม่อาจจะเกิดขึ้น หรือแม้มันอาจจะเกิดขึ้นเราก็ควบคุมได้ไม่ให้มันกัดเรา ไม่ให้มันกัดเรา ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ดีจนถึงกับไม่ทำให้เกิดความหมายเป็น positive หรือ negative นี้อย่างหนึ่ง ถ้ามันเกิดความหมายเป็น positive หรือ negative ขึ้นมาแล้ว เราควบคุมได้ไม่ให้มันกัดเรา คือเราจัดให้มันเป็นเรื่องที่อยู่ใต้อำนาจของเรา เราควบคุม positive และ negative positive และ negative ไม่ควบคุมเรา
รายละเอียดของปฏิจจสมุปบาท เราก็ได้พูดกันแล้วในการบรรยายครั้งก่อน เดี๋ยวนี้เราจะพูดกันแต่หัวใจ ใจความของเรื่องว่า เมื่อมีอะไรเข้ามากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น consciousness,contact ขึ้นมาแล้วๆ มี contact แล้ว เราไม่โง่ต่อสิ่งที่มากระทบเหล่านั้น สิ่งเหล่านั้นไม่ให้เกิดความรู้สึก positive หรือ negative นี่เรามีชีวิตประจำวันกระทบกับสิ่งทั้งปวงอยู่ แต่มันไม่ให้เกิดอิทธิพลเป็น positive หรือ negative ในหัวใจเรา นี่ ก.ขอ ก.กา ของปฏิจจสมุปบาท
ทีนี้ก็มาถึงตอนที่สำคัญว่า เมื่อมีผัสสะแล้ว ก็มีเวทนา-feeling ขึ้นมา เราสามารถควบคุมอิทธิพลของเวทนานั้นไม่ให้เป็น positive หรือ negative ขึ้นมา แม้จะมันเป็น positive หรือ negative แล้ว เราก็รู้ว่ามันเป็น positive หรือ negative ชนิดที่มันจะทำอันตรายเราไม่ได้ มันจะบังคับเราไม่ได้ แต่เราจะบังคับมันได้ คือเราบังคับเวทนาได้ นี่ดีที่สุดประเสริฐที่สุดในการที่บังคับเวทนาได้ เราดูต่อไป ก็จะเห็นได้ไม่ยากเลยว่า เมื่อมัน feeling-เวทนาแล้ว มันก็มี perception มี conception กระทั่งมันเกิด delusive attachment เรียกว่าอุปาทานมัน attach โดยความโง่ เป็น delusive attachment ก็โง่ ก็โง่ โง่ถึงที่สุด ตกอยู่ใต้อิทธิพลของ positive หรือ negative ทุกอย่างทุกประการ มีความทุกข์มีปัญหาแห่งชีวิต มีอะไรเกิดขึ้นมา ไปจบอยู่ที่มีอุปาทานอย่างโง่เขลาในสิ่งที่เข้ามากระทบ ชีวิตก็กลายเป็นของหนักไปทันที
เมื่ออิทธิพลของ positive และ negative ไม่มี ไม่มีครอบงำเราแล้ว เราก็ free-อิสรเสรี แล้วชีวิตนี้ก็จะเย็น เย็น ถึงที่สุด จะเรียกว่า blissful หรือ peaceful ก็แล้วแต่ นี่เย็นถึงที่สุด นี้อย่างหนึ่ง แล้วมันก็สามารถทำหน้าที่ที่เป็นประโยชน์แก่ทุกคนแก่ทุกฝ่ายอย่างดีที่สุดเพราะมันเป็นอิสระอย่างนี้ เราก็มีชีวิตที่เยือกเย็นและเป็นประโยชน์,เป็นประโยชน์ ชีวิตเยือกเย็น เยือกเย็น เยือกเย็นและเป็นประโยชน์ นี่มันพอแล้ว สูงสุดแล้ว
เมื่อเราควบคุม positive และ negative ได้ถึงที่สุด ชีวิตนี้ก็จะเย็นอย่างที่กล่าวมาแล้ว เมื่อมีความเย็นถึงที่สุด ไม่มีความร้อนใดๆ เหลืออยู่ ชีวิตไม่กัดเจ้าของเลย ภาวะอันนี้ก็เรียกว่านิพพานโดยบาลี แต่ท่านทั้งหลายที่เป็นชาวต่างประเทศคงจะเคยได้ยินแต่รูปคำที่เป็นสันสกฤต คือนิรวาณ,นิรวาณะ,นิรวาณ นั้น คำนี้แพร่หลายไปทั่วโลก คำว่านิพพานะเป็นบาลี ความหมายเดียวกัน แต่ไม่ค่อยรู้จักกัน แล้วเราจะเรียกว่านิพพานสั้นๆ โดยภาษาไทย พ้นจากอิทธิพลของ positive และ negative แล้วเราก็มีสิ่งที่เรียกว่านิพพาน หรือนิรวาณที่คุ้นหูท่านทั้งหลาย
เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่านิพพาน กันให้มากพอสมควรในฐานะที่เป็นผลของการที่เราอยู่เหนืออำนาจของ positive และ negative เมื่อใดอยู่เหนือ positive และ negative เมื่อนั้นก็นิพพาน ทีนี้ก็ทำความรู้จักกับสิ่งที่เรียกว่านิพพานนั้นว่ามันมีความหมายอย่างไร มีลักษณะอย่างไร ตามสมควร ขอให้ท่านช่วยจำคำเหล่านี้ไว้ให้ดีๆ มีประโยชน์
คำแรกที่สุด ก็คือคำว่า อรหํ คือเป็นพระอรหันต์ คำนี้หมายความว่า ไม่มีความลับของชีวิตเหลืออยู่อีกต่อไป ความจริงเกี่ยวกับชีวิต รู้แจ้งหมด รู้แจ้งหมด ไม่มีเหลืออยู่เป็นความลับแม้อีกสักนิดหนึ่ง เรียกว่า อรหํ ไม่มีความลับ ไม่มีความลับของชีวิตที่เราไม่รู้นั้นเหลืออยู่อีกต่อไป นี่เรียกว่า อรหํ หรือว่า อรหันต์
คำที่ ๒ ขีณาสโว บาลีจำไม่ได้ ถ้าจำได้ก็ดี ขีณาสโว หมดสิ่งที่จะให้เกิดกิเลส สิ่งที่ให้เกิดกิเลสทุกๆ อย่างนี้หมด หมดเหตุที่จะให้เกิดกิเลส นี่เรียกว่า ขีณาสโว หมดเหตุที่จะให้เกิดกิเลส
คำที่ ๓ เรียกว่า วุสิตวา มันแปลกหู คงจะจำยาก ถ้าจำได้ก็ดี วุสิตวา แปลว่าจบหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติในทางศาสนา หรือว่าสิ่งที่เราจะต้องศึกษาหรือปฏิบัติในฝ่ายจิตวิญญาณฝ่าย spirituality นั้นหมด จบ,จบกิจที่จะต้องปฏิบัติในทางฝ่ายจิตฝ่ายวิญญาณหรือฝ่ายศาสนา
คำที่ ๔ ก็ กตกรณีโย จบหน้าที่ที่สิ่งที่มีชีวิตจะต้องทำ บรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายจะต้องทำหน้าที่อย่างไร หน้าที่อย่างไรเพื่อชีวิตของตัวแล้ว เดี๋ยวนี้ก็จบแล้วๆ ไม่มีหน้าที่ ไม่มีบทเรียน ไม่มีกิจที่จะต้องทำอีกต่อไปที่เกี่ยวกับการมีชีวิต นี่เรียกว่า กตกรณีโย
ทีนี้คำที่ ๕ โอหิตภาโร โยนของหนักทิ้งออกไปได้แล้ว บรรดาของหนักแก่ชีวิตที่ทรมานชีวิต ของหนักของชีวิต เดี๋ยวนี้โยนทิ้งไปหมดแล้ว เรียกว่า โอหิตภาโร
ทีนี้คำที่ ๖ มันยาวหน่อย อนุปฺปตฺตสทตฺโถ ประโยชน์ที่เราจะพึงได้รับมาตามลำดับๆ นั้น บัดนี้ได้รับแล้วตามลำดับๆ ประโยชน์ที่ควรจะได้รับตามลำดับนั้นบัดนี้เราได้รับแล้ว สมบูรณ์แล้วตามลำดับๆ อย่างนี้เรียกว่า ชีวิตนี้ได้รับสิ่งที่ชีวิตควรจะได้มารับแล้วตามลำดับๆ ถึงที่สุดแล้ว อนุปฺปตฺตสทตฺโถ
ทีนี้คำที่ ๗ ยาวหน่อย ปริกฺขีณภวสญฺโญชโน เครื่องผูกพันที่จะทำให้เวียนว่ายอยู่ในความทุกข์นั้น เดี๋ยวนี้สิ้นสุดแล้ว เครื่องผูกพัน ผูกพันให้มันติดอยู่กับความทุกข์นี้ เดี๋ยวนี้หมดแล้ว ไม่มีโซ่ที่จะล่ามชีวิตนี้ไว้กับความทุกข์อีกต่อไป
คำสุดท้าย สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต แปลว่า หลุดพ้นแล้ว-free,emancipate หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญาอันถูกต้อง ของตนเอง ด้วยปัญญาอันถูกต้องๆ และก็ของตนเอง เดี๋ยวนี้เราหลุด หลุดจากคุก จากตะราง จากความทุกข์ จากที่จะต้องหลุด free ด้วยสติปัญญาอันถูกต้องของตนเอง
ท่านลองคิดดูสิ น่าสนใจไหม ประโยชน์ที่จะได้รับจากการปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทสำเร็จนี้ แล้วก็ให้ได้บรรลุนิพพาน,นิพพานะ ซึ่งแปลว่าเย็น peacefulnees นั้น มันมีลักษณะว่า อรหํ ไม่มีความลับของชีวิตเหลืออยู่อีกต่อไป ขีณาสโว เหตุที่ให้เกิดกิเลสนั้นไม่มีเหลืออยู่อีกต่อไป วุสิตวา ประพฤติกิจทางศาสนาทางวิญญาณนี้จบแล้ว กตกรณีโย สิ่งที่ชีวิตจะต้องทำนี้ ก็ทำให้มันเสร็จแล้ว โอหิตภาโร โยนของหนักทิ้งลงไปได้แล้ว อนุปฺปตฺตสทตฺโถ สิ่งที่เราจะต้องได้รับตามลำดับๆ เราก็ได้รับตามลำดับๆ แล้ว ปริกฺขีณภวสญฺโญชโน สิ่งที่จะล่ามเราให้ติดอยู่กับความทุกข์ ก็ขาดแล้ว สมฺมทญฺญาวิมุตฺโต เราหลุดพ้นแล้วด้วยปัญญาอันถูกต้องของเราเอง