แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]
ธรรมบรรยายพิเศษในลักษณะเป็นการภายในแก่คณะสิกขกามินีอุบาสิกา ...(นาทีที่ 00.15) ครั้งที่ 5 วันที่ 20 มกราคม 2534 เวลา 5.00 น. ณ ลานม้าหินที่หน้ากุฏิ
...(นาทีที่ 00.31) ใจความเป็นอย่างนั้นแหละว่า ธรรมที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ เรื่องนี้ก็บอกให้รู้ว่าทุกอย่างก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ก็เท่ากับทุกๆ อย่าง ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ทั้งนั้น ทั้งดีทั้งชั่ว ทั้งบุญ ทั้งบาป ทั้งสุข ทั้งทุกข์ ทั้งเล็ก ทั้งใหญ่ ทั้งอดีต ทั้งอนาคต ทั้งปัจจุบัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ถ้ามันเป็นฝ่ายดีก็ไปยึดถือไปทางหนึ่ง เป็นฝ่ายชั่วหรือฝ่ายทุกข์ก็ไปยึดถืออีกทางหนึ่ง ไอ้ฝ่ายชั่วถ้ามันไม่ยึดถือมันก็ไม่เอามาโกรธมาเกลียดมาอิจฉาริษยา ไม่มาอะไรอยู่นี่ เพราะฉะนั้นจึงว่าทุกอย่างเอามาเป็นอารมณ์ทั้งหมด...(นาทีที่ 02.00) แล้วก็เริ่มเห็นในการที่จะทำลายความยึดถือก็เลยเป็นอนิจจังของสิ่งเหล่านั้นทั้งหมด เมื่อเห็นอนิจจังก็เหมือนเห็นทุกขังเห็นอนัตตากระทั่งเห็นทั้งเก้าตาเลยยิ่งดี ที่ว่าเห็นอนิจจังโดยเฉพาะ มันก็เริ่มคลาย คลายความยึดถือ ราคะ ถ้ามันคลายๆ อยู่เรื่อยเดี๋ยวก็หมดเป็นนิโรธะ พอหมดแล้วก็หมดๆ มันก็หมดแล้ว บอกตัวเองว่าหมด สลัดคืนออกไปหมดแล้วจากความยึดถือ ไม่มีความยึดถือเหลือ ใจความสำคัญของหมวดที่ 4 คืออย่างนี้ อย่าลืมว่าการยึดถือไม่ยึดถือทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร ยึดถือพระนิพพานก็ได้ ยึดถือสิ่งต่ำสุด ขี้ฝุ่นเม็ดเดียวก็ได้ ยึดถือโดยความเป็นบวกหรือเป็นลบก็ตามใจ มันจะเกิดผลเป็นความทุกข์ทั้งนั้น ถ้ามนุษย์เรามีสติปัญญาตามธรรมดาเพียงพอ ก็ไม่ต้องสอนไอ้ 3 หมวดข้างต้นน่ะ ไอ้ 3 หมวดที่แล้วข้างต้นน่ะ สอนหมวดที่ 4 เลย ถ้ามันสามารถจะเข้าใจความไม่เที่ยงได้ นี่มันไม่มีปัญญาถึงขนาดนั้น มาอบรมปัญญา อบรมตระเตรียมชั้นเตรียม ตั้งแต่เรื่องกาย เรื่องเวทนา เรื่องจิต นี่ก็พร้อมที่จะทำลายความยึดถือ...(นาทีที่ 04.05) ของหมวดที่ 4 อนิจจะ นิราคะ นิโรธะ ปริจาคะ เรื่องเก้าตานั่นแหละ ถ้าเห็นอนิจจังมันก็เห็นทุกขัง และเห็นอนัตตา ไอ้ 3 อย่างนี้มันจะเห็น...(นาทีที่ 04.34) ซึ่งแปลว่ามันตั้งอยู่อย่างนี้ตามธรรมชาติ ตามธรรมดาของมัน มันตั้งอยู่อย่างนี้ คือ 3 อย่างนั้นแหละ มันตั้งอยู่ตามลักษณะสามอย่างนี้ เมื่อเห็นชัดว่าทำไมมันตั้งอยู่ในลักษณะ 3 อย่างนี้ มันก็เห็นว่ามันมีกฎบังคับอยู่ คือธรรมนิยามตา ธรรมนิยามก็คือกฎของธรรมชาติ เห็นกฎของธรรมชาติบังคับอยู่มันจึงต้องเป็นอย่างนั้น ตั้งอยู่อย่างนั้น พอเห็นกฎธรรมนิยามตามันก็เห็นตลอดสายว่า อิทัปปจยตา อิทัปปจยตา ธรรมนิยาม กฎของธรรมชาติก็คือกฎอิทัปปจยตานั่นเอง จึงได้เห็นอิทัปปจยตาอย่างถึงที่สุดของมัน ถ้าเห็นอิทัปปจยตามันก็มองได้หลายแง่ แต่ว่าแง่ที่สำคัญที่สุดก็คือมันไม่มีตัวตน มันว่างจากตัวตน ที่เรียกว่าเห็นสุญญตาว่างจากตัวตน นี่พอเห็นสุญญตาโดยแท้จริงในทุกสิ่งทั้งปวงแล้วมันก็เห็นว่าสิ่งทั้งปวงเป็นเช่นนี้เอง เป็นเช่นนี้เอง จะไปหวังอะไรมันไม่ได้ จะหวังมาทางนี้ก็ไม่ได้ ทางโน้นก็ไม่ได้ คือเห็นตถาตา ตถาตา ที่นี้จะแยกทางไปไหนก็ตาม จะไปเป็นพระอรหันต์ก็ได้ จะเป็นผู้มีอตมตาคือเป็นอตมโยก็ได้ มันคำเดียวกัน อตมโยคือเป็นพระอรหันต์ เป็นตถาคตก็ได้ ก็ถือเป็นตถาตา ตถาตานั้นคำเดียวกับตถาถ้าเรียกเต็มที่ว่าตถตา เรียกโดยย่อว่าตถา นั้นคือคำเดียวกัน ตถาคตาก็ถึงซึ่งตถา คือตถาคต ก็พระอรหันต์อีกนั่นแหละ แต่คำพูดที่พูดอยู่โดยทั่วๆ ไป ตถาคตนั้นไว้เรียกพระพุทธเจ้า แต่อย่าลืมว่าพระพุทธเจ้านั้นก็เป็นพระอรหันต์ เพียงแต่เป็นจอมพระอรหันต์ เรียกว่าจอมตถาคต เป็นตถาคต คำว่าตถาคตโดยทั่วไปหมายถึงเป็นพระอรหันต์ มีความสำคัญว่าเห็นลึกซึ้งซึ่งตถา มันก็จบลงไปอย่างนี้ แต่เราจะเอาตถตามาใช้กับคนทั่วไป เป็นหลักสำหรับคนทั่วไป มันก็เรียกได้ว่า เพียงแต่มันจะไม่มีอุปาทานเกิดขึ้นมาได้ ถ้าเห็นตถตาหรือตถานั่นจะไม่มีอุปาทานใดๆ เกิดขึ้นมาได้ จะดูผลของมันก็คือไม่มีความทุกข์อีกต่อไป ถ้าจะดูลักษณะอาการอย่างนั้นก็มันเป็นอรหันต์ เป็นบุคคลสูงสุดของบุคคลทั้งหลาย นี่เรื่องมันจบ
ทีนี้เราอยากจะให้เอาอตมยตาอันสุดท้ายนั่นมันไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรอีกต่อไป ปัจจัยอะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป มย แปลว่ากำเนิดมาจาก ตัง ตะ คือนั้น ตังมยตา สำเร็จมาจากสิ่งนั้นคือปัจจัยของมันนั่นแหละ อะ-ไม่ ไม่สำเร็จมาจากสิ่งนั้น คือไม่สำเร็จมาจากปัจจัยสิ่งใดๆ มันก็เลยมีความคงที่ๆ คงที่ถึงที่สุด คงที่อยู่ในความถูกต้อง เรียกว่า ตาตี ตาตี ก็ได้ แปลว่าผู้คงที่ๆ ไม่หวั่นไหว คำนี้ไปใช้ในหลักจริยธรรมสากลก็ได้ ซึ่งไม่ใช่พุทธศาสนา มันก็ต้องการความคงที่ๆ Equilibrium Equilibrium คือความคงที่ เพราะว่าไอ้ความคงที่นั่นมันวิเศษ มันปกติ มันคิดดีจำดี คิดเก่ง ตัดสินใจเก่ง ถูกต้องไปหมด ก็ขอให้เรามีความคงที่ ไม่หวั่นไหวตามอารมณ์นั้นๆ อีกทั้งความสุขความสบายก็มีถึงที่สุด พูดถึงความสามารถ สามารถถึงที่สุดนะ ถ้าเป็นผู้คงที่ๆ ฉลาดเฉลียว อะไรได้หมด มันก็อยากจะลดมาใช้กับคนทั่วไป ธรรมะสำหรับความเป็นพระอรหันต์เอามาใช้กับคนทั่วไป ให้ทุกคนคงที่ สอนลูกเด็กๆ เล็กๆ ให้มันคงที่ๆ อย่าหวั่นไหวง่าย อย่าหัวเราะง่าย อย่าร้องไห้ง่าย อย่าให้ใครมันเชิดได้ง่ายๆ อย่าให้มันถูกเชิดได้ง่ายๆ ให้มันคงที่ๆ จะเรียนเก่งหรือจะทำอะไรเก่ง จะเล่นกีฬาเก่ง เพราะมีความคงที่เข้มแข็งบึกบึนทนทาน...(นาทีที่ 10.44) เอามาใช้อย่างชาวบ้าน บึกบึนเข้มแข็งทนทานมันก็ทำนา เป็นชาวนาก็ดี ชาวสวนก็ดี พ่อค้าก็ดี ข้าราชการก็ดี เป็นอะไรก็ดีทั้งนั้น เป็นศิลปินก็ดี เป็นนักสถาปัตย์ก็ดี แม้แต่จะเป็นผู้ร้ายตามวรรณคดี มันก็ดีทั้งนั้นแหละ ไอ้ความคงที่ๆ เป็นผู้อยู่ในความสงบก็ได้ ก็พูดได้ แต่ว่าคงที่อยู่ในความถูกต้องนั้นดีกว่า คงที่อยู่ในความถูกต้องความผิดพลาดมันไม่มี แล้วชีวิตนี้มันจะเป็นอย่างไร ก็รู้ได้เอง อนิจตามันนำไปถึงอตมยตาอย่างนี้ ถ้าไปถึงก่อนก็ได้ ไม่ถึงก็พอ ก็พออยู่ที่ว่าไม่เป็นอตมยตามันก็ทำให้คลายเหมือนกันแหละ เห็นอนิจตาอย่างเดียวก็ได้ พอสมควรแล้ว มันก็ทำให้คลายความยึดมั่นถือมั่นอยู่ในตัว พอมันรู้สึกว่าตัวเองไปยึดมั่นถือมั่นในสิ่งที่ไม่เที่ยงที่เปลี่ยนแปลงที่หลอกลวงอยู่เสมอ มันก็คลายความยึดมั่น แต่ถ้ามันเห็นต่อไปยังทุกขตา อนัจตา...(นาทีที่ 12.02) มันยิ่งดี มันยิ่งคลายๆๆ คลายอย่างรุนแรงรวดเร็ว...(นาทีที่ 12.30) เห็นแต่เพียงอนิจตาเท่านั้น แล้วก็วิราคาไปเลย แล้วก็นิโรธาไปเลย จบไปเลย นี่เราอธิบายเอาเอง อนิจตาน่ะอธิบายมันเป็นเก้าตาออกไป ผู้ที่ไม่เคยพบสิ่งเหล่านี้เขาก็ไม่ค่อยชอบ นี่ว่าเอาเองใช่ไหม นี่ว่าเอาเอง นี่หลอกคนอื่น หลอกหรือไม่หลอกคุณก็ดูเอาเอง ว่าถ้าเห็นอนิจตาแล้วมันเป็นอย่างนั้นได้หรือไม่ มันก็บอกอยู่ในตัวมันเอง เห็นอนิจตาก็เห็นทุกขตาอนัตตาก็ตามลำดับ การเรียนวิปัสสนาหรือสอนวิปัสสนาอย่างโบราณ เขาไม่อาจจะสอนกันละเอียดแยกแยะกันละเอียดอย่างนี้ เพราะมันไม่รู้ เพราะมันไม่มีพระไตรปิฎกด้วยซ้ำไป ก็ว่าไปตามที่ครูเคยสอนให้เท่าไรก็ทำ ก็คงจะไม่เคยได้ยินคำว่าเก้าตาไม่เคยได้ยิน เพียงแต่มันเล่นอนิจตาๆ กันมากๆๆ เห็นมาก อนิจจตามาก ก็คลายๆ วิราคาๆ ก็ได้เหมือนกัน ยิ่งแยกแยะออกไปมากมันก็ยิ่งเป็นอภิธรรม อภิธรรมเป็นธรรมะยิ่งขึ้น แยกแยะมากเกินควรมันก็เป็นอภิธรรมเก๊ๆ เสียเวลาเปล่าๆ ไม่รู้อธิบายอะไรให้แก่ผู้ศึกษาให้พอดีๆ ถ้าพอดีจริงมันก็เร็วๆ ชัดเจนรวดเร็ว ถูกต้อง ถ้าเก๊ก็ไม่ไหว ถ้าไม่ถึงขนาดมันก็ไม่ไหวเหมือนกัน คนโง่มันไม่อาจจะฉวยเอาได้ นี่เรื่องหมวดที่ 4 มันก็แล้วแต่เราจะอธิบายให้ละเอียดพิสดารเท่าไหร่ หรือว่าจะย่นย่อเสียสักเท่าไหร่ก็แล้วแต่ มาถึงบทที่ 4 นี้มันไม่ค่อยจะต้องปฏิบัติอะไรแล้ว มันเป็นการดูๆๆ คือ การปฏิบัติ ขั้นที่ 1 ดูอนิจตา ขั้นที่ 2 ดูวิราคตาๆ คลายออก ขั้นที่ 3 ก็ดูนิโรธตา คือดับลง ดับ ขั้นที่ 4 ก็คืนหมดแล้ว โยนคืนหมดแล้ว สอนนี่กันมาอย่างคนโบราณที่ไม่ได้เรียนอะไรมาก เขาสอนกันเป็นเหมือนกันแหละ ประโยคที่ว่าชีวิตนี้เป็นของยืม อาตมาเคยได้ยินคนแก่ๆ แบบเก่าๆ เขาก็พูดเหมือนกันว่าชีวิตนี้เป็นของยืม เขาก็พูดเป็น อย่าหมายมั่นให้เป็นตัวตน เป็นของตนโดยเด็ดขาด ให้ถือว่าเป็นของยืม อธิบายว่าเมื่อตายลงมันไม่ต้องเสียใจนี่ ก็ยืมเขามานี่ คืนเจ้าของเขา อย่าไปเสียใจอะไรกับความตาย นี่เรียกว่าแบบเก่าๆ มันก็มีเคล็ดหรือมีวิธีพูดจาที่มีประโยชน์ ไม่รู้ว่าจะอธิบายกันถึงไหนละบทที่ 4 นี่ เพราะมันมีแต่ดูๆๆๆ ไปตามลำดับ เห็นอนิจตาก็เห็นวิราคาก็เห็นนิโรธา ใน 3 หมวดข้างต้นเรื่องกายา เวทนา จิตตา นี่มันช่วยให้บทที่ 4 เป็นไปโดยง่าย เป็นไปโดยสะดวก รวดเร็ว นี่ถ้าทำให้บทที่1 2 3 ให้ดีเท่าใด บทที่ 4 มันก็ยิ่งง่ายเท่านั้น นี่ไปดูในตัวเองๆ ที่ต้องฝึกกันมากๆ มันก็จับสัตว์ป่ามาฝึกมัน ก็หมวดที่ 1 นั่นน่ะ หมวดกายา แล้วก็ลำบากอย่างละเอียดปราณีตขึ้นมาก็หมวดเวทนา หมวดจิตนี่สนุก โลดโผนมาก การฝึกสัตว์ในรูปฝึกจิตในหมวดที่ 3 ก็โลดโผนมาก หลายแง่หลายมุม ก็ตอนนี้มันฝึกให้ทำสามารถพิเศษ ฝึกให้ละความป่าเถื่อนดุร้าย มันฝึกหมดแล้วตั้งแต่หมวดที่ 1 หมวดที่ 2 พอมาถึงหมวดที่ 3 มันก็เป็นการฝึกให้ทำให้ดีให้วิเศษ หมดพยศร้ายแล้วก็ต้องฝึกให้รู้จักทำในสิ่งที่พิเศษ เหมือนกับที่เขาฝึกช้าง กว่าที่มันจะยอมตอนนั้นน่าอันตรายที่สุด พอมันยอมๆ แล้ว ทีนี้ก็ฝึกส่วนที่เป็นสัตว์ฉลาดน่ะ เท่านั้นเท่านี้ อาตมาไปดูที่เขาฝึกช้างที่เชียงใหม่ น่าอัศจรรย์ที่สุด ช้างฉลาด ช้างเชื่อฟัง ช้างทำอะไรได้ตามคำสั่ง ให้หยิบได้ ทำอะไรได้ ให้มันเล่นฟุตบอลกันก็ได้นะเดี๋ยวนี้ ฝึกให้หมดจากความเป็นป่า พอเป็นบ้านแล้วก็ฝึกให้ทำหลายๆ อย่าง สารพัดอย่าง มีราคา ฝึกจิตให้พ้นจากความเป็นป่าเถื่อน หมวดที่ 1 หมวดที่ 2 มันมีลักษณะเป็นอย่างนั้น หมวดที่ 3 มันเป็นสัตว์บ้านที่ฉลาดยิ่งๆ ขึ้นไป หมวดที่ 4 ก็สำเร็จประโยชน์ในการฝึกสุดท้าย ดูในทางนี้ก็เรียกว่ามันเป็นของจำเป็นสำหรับมนุษย์ จำเป็นสำหรับมนุษย์ที่จะต้องฝึกจิตจนได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ ถ้าดูแค่วิธีฝึกมันก็เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง ไม่มีไสยศาสตร์เจือสักนิดเดียว เป็นวิทยาศาสตร์อย่างยิ่ง อวดพวกนักวิทยาศาสตร์ได้ว่า การฝึกธรรมะฝึกจิตนี่ อวดนักวิทยาศาสตร์ได้ว่าเราก็มีหลักการและวิธีการอย่างวิทยาศาสตร์ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นมันจึงคุ้มค่าเวลาๆ แม้ว่าเราจะต้องเสียเวลาเป็นปีๆๆๆ ด้วยความยากลำบาก มันก็ยังคุ้มค่าอยู่นั่นเอง แต่เมื่อไม่มองเห็นประโยชน์ก็ไม่มีใครฝึก ไม่มีใครยอมอดกลั้นอดทนเพื่อจะฝึก ถ้าเราสามารถมีอำนาจจัดการศึกษาของโลก เราจะบรรจุเข้าไปในชั้นอนุบาล ชั้นประถมศึกษา การฝึกจิตนี่ นี่เขาไม่รู้ไม่ชี้ หมวดที่ 4 นี่ไปคิดเอาเอง ไปดูเอาเอง ฝึกได้เอง ไม่ต้องจุ๋มจิ๋มถี่ถ้วนเหมือนหมวด 1 หมวด 2 หมวด 3
... (นาทีที่ 21.34) จะให้อธิบายอีกมันก็ไม่รู้ว่าจะอธิบายอะไร มันก็ออกมาในตัวมันเอง จะให้อธิบายอะไร มันก็ออกมาในตัวมันเอง พยายามทำให้คนมีความรู้เรื่องเก้าตาๆ เหมือนกับเรื่องธรรมดาๆ มีแต่เรารู้เรื่องทำมาหากิน ศีล สมาธิ ปัญญา เข้ามาถึงปัญญานี่มันจะแจกเป็นเก้าตา เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทำให้เห็นความจริง จะไม่กลัวตาย มันไม่กลัวตาย มันไม่กลัวความทุกข์ มันไม่กลัวผี ไม่กลัวอะไร ไม่กลัวความเจ็บ มันจะไม่กลัวอะไรซักอย่าง มันไม่กลัวโรค มันไม่กลัวความตาย มันจะคุ้มค่า ทีนี้เห็นต่อๆ ไปเป็นยอดมนุษย์ เป็นพระอรหันต์ชนิดที่ชั้นดีชั้นเลิศ พระอรหันต์มีทั้งชั้นธรรมดาและชั้นดีเลิศ ชั้นธรรมดาท่านเพียงแต่หมดกิเลสและหมดความทุกข์ ชั้นเลิศท่านก็มีปฏิสัมภิทา มีคุณพิเศษนอกออกไปจากนั้น มันก็สามารถสั่งสอนได้ดีกว่าพระอรหันต์ธรรมดา พระอรหันต์ที่มีคุณวิเศษนอกไปจากธรรมดาแล้วสอนได้ดีกว่าธรรมดา ไม่รู้จะพูดยังไงละไอ้หมวดที่ 4 ถ้ารู้หมวดที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ดี หมวดที่ 4 มันก็บอกตัวเอง สรุปแล้วให้เห็นชัด หมวดที่ 1 มันรอบรู้แตกฉาน ก็เป็นนายเหนือร่างกาย ลมหายใจ หมวดที่ 2 ก็รู้แตกฉาน ก็เป็นนายๆๆ เหนือเวทนา หมวดที่ 3 มันรอบรู้แตกฉาน ก็เป็นนายๆ เหนือจิต หมวดที่ 4 มันรอบรู้แตกฉานแล้วก็เป็นนายเหนือสิ่งทั้งปวงที่เคยยึดมั่นถือมั่น เป็นนายเหนือสิ่งที่ทำให้ยึดมั่นถือมั่นทุกอย่าง ยึดมั่นถือมั่นได้ ในที่สุดแล้วก็จะพบแต่ความเป็นนายและก็ชัยชนะๆ เป็นข้อปฏิบัติ ชัยชนะคือชนะ มีคำพูดขึ้นมาคำหนึ่งเป็นลักษณะใช้เฉพาะกับพระพุทธศาสนา คือ คำว่า ชินะๆ แปลว่า ชนะ พระชินศรี พระชินราช พระชินอะไรเยอะแยะ พระชินเจ้าก็เรียกๆ ว่าพระพุทธเจ้าผู้ชนะ แต่คำนี้สงสัยว่าจะไปยืมของเก่ามา ความชนะ ผู้ชนะ ...(นาทีที่ 26.19) มีคำพูดอยู่ก่อนพระพุทธศาสนาก็ได้ พวกเดรถีย์นี่มันก็ใช้คำว่าชินะเหมือนกัน ซัยนะภาษาสันสกฤต บาลีว่าชินะ บางคนก็ว่าซัยนะ ฝรั่งโง่ๆ ออกเสียงผิด คนไทยก็โง่ตาม ไปเรียกมันว่าศาสนาเชน ไม่ได้เรียกคำนั้นอย่าไปเรียกศาสนาเชนนั่น Jain มันอ่านว่า ไช-นะ มันไม่ได้อ่านว่า เช-นะ ถ้าอ่านว่าไชนะก็คือผู้ชนะๆ ถ้าพูดว่าศาสนาเชน เชน...(นาทีที่ 27.06) ถ้าเป็นครูบาอาจารย์ก็อย่าออกเสียงว่าศาสนาเชนๆ ไปเรียกมันอย่างนั้นมันไม่ถูก เป็นศาสนาไชนะ คำเดียวกับชินะเป็นบาลี พุทธศาสนาก็เป็นชินะ พวกเดรถีนี่คนเขาเรียกว่าเป็นไชนะ เป็นคำที่ห่วยสำหรับมนุษย์ที่มนุษย์จะชอบที่สุดก็คือคำว่าชนะ ถ้าแพ้มันไม่ไหวๆ ถ้าชินะมันก็สบายใจ ชนะทุกสิ่งก็วิเศษเลย ชนะทุกสิ่งๆ พุทธประวัติตอนที่พบกับอุปกาชีวก ถามคำถามกันตอนนั้นก็ดูเหมือนพระพุทธเจ้าจะเรียกตัวเองว่าชนะๆ ชินะๆ ชิโนๆ แปลว่าชนะ แล้วก็จะไปเมืองพาราณสี จะไปตีกลองอมตะ ก็บอกอุปกาชีวกว่า เราเป็นผู้ชนะแล้ว จะไปเมืองพาราณสี จะไปตีกลองอมตะ อุปกาชีวกคนนั้นคือพยักหน้า พยักคอพยักศีรษะแล้วมันก็นิ่งแล้วมันก็ไป...(นาทีที่ 29.00) ที่สอนกันอยู่ในโรงเรียนนักธรรมโรงเรียนอะไรนี่ เขาอธิบายว่า อุปกาชีวกไม่เชื่อๆ สั่นหัวแล้วก็ไป คือไม่เชื่อ ไม่ยอมรับ แต่มาวันนั้นน่ะแปลผิดหรือเข้าใจผิด อย่างนั้นคือยอมรับ พวกแขกที่เขาทำอย่างนี้ก็คือยอมรับ ยอมรับว่ามี ว่าได้ ว่าเอานะ ไม่ใช่ปฏิเสธ แขกบางคนมันทำอย่างนี้ก็มี ตกลงๆ ถ้าเราดูก็เหมือนมันปฏิเสธ มันปิดตายเลย พวกแขกโคลงหน้านี่มันกลายเป็นว่าตกลงๆ ภาษาไทยเขาเรียกว่าสั่นหัว ...(นาทีที่ 29.56) ชิโน เป็นคำสำหรับโฆษณาในพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งความชนะ และทำให้คนอื่นสนใจได้ ศาสนาแห่งความรู้ก็ได้ ศาสนาแห่งสันติภาพก็ได้ ศาสนาแห่งชัยชนะก็ได้ บทนี้ที่เอามาสวดให้พร ชยันโต...(นาทีที่ 30.40) พระสวดชยันโตให้พร คำว่าชยันโตแปลว่าชนะอยู่ กำลังชนะอยู่ นี่วิธีชนะ ชนะกิเลส ชนะอุปสรรค ก็คือวิธีปฏิบัติ จะเรียกว่ายังไงก็แล้วแต่ เรียกว่าธรรมะก็ได้ เรียกว่าพรหมจรรย์ก็ได้ เรียกว่าพระธรรม พระศาสนาก็ได้ แต่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าพรหมจรรย์ ท่านเรียกศาสนาว่าพรพมจรรย์ เดี๋ยวนี้เรามาเรียกว่าศาสนาๆ ปฏิบัติศาสนาคือปฏิบัติพรหมจรรย์ ที่ท่านชักชวนมาก็เพื่อพรหมจรรย์ ท่านไม่ได้ชักชวนมาถือศาสนา ท่านไม่เคยบอก มีแต่มาประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อทำที่สุดแห่งความทุกข์ ตกลงกันหรือยังไอ้เรื่องรักษาๆ วิธีการแห่งการรักษาธรรมะที่บรรลุแล้ว รักษาไว้ให้คงมีอยู่ สำคัญหรือไม่สำคัญ ถ้าสำคัญกว่าเพื่อนก็ไป 1. อรรถลักษณะ เมื่อคุณ....(นาทีที่ 32.20) ถ้าคุณไม่รักษาก็ลองดูซิ แล้วก็หายหมด จะทำอะไรเป็น ขี่รถจักรยานเป็น ถ้าไม่รักษา มันหายหมด มันหนีหมด คำว่ารักษามันอีกความหมายหนึ่ง หลังจากที่ทำขึ้นมาได้สำเร็จแล้ว ยังต้องมีการรักษาให้อยู่ตลอดไป หาเงินได้ก็รักษาเงิน หาสัตว์มาได้ก็ต้องรักษาสัตว์ เลี้ยงสัตว์ รักษาสัตว์ให้มันอยู่รอดปลอดภัย บ้านเรือนถ้าไม่รักษาก็เสียหายหมด รถยนต์โดยเฉพาะต้องมีการรักษา ปฏิบัติต่อมันอย่างถูกต้องๆ มันจะมีในสมุดคู่มือ ประจำเครื่องจักรทุกๆ เครื่องจักรทุกๆ ชิ้น แม้แต่เครื่องวิทยุเล็กๆ ถ้าไม่รักษาถูกต้อง...(นาทีที่ 33.32) หมดเลย ...(นาทีที่ 33.35) เสียหมด เอาชีวิตกันดีกว่า ได้ชีวิตมาในชั้นดี ชั้นโลก ชั้นอะไรก็รักษา ถนอมรักษา survive รักษาให้รอด cherish รักษาให้ดียิ่งๆ ขึ้นไป มันมีคำอยู่แล้วในที่เป็นบาลี อารักขสัมปทา ประโยชน์ในโลกปัจจุบันเรียกว่าอุฏฐานสัมปทา คือถึงพร้อมด้วยความเพียร ในการหา ในการสร้าง ในการทำ ในการมี ในการได้ พอขั้นที่ 3 ก็เรียกอารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยอารักขาในสิ่งที่มีมา ได้มาแล้ว ต่อไปนั้นก็มีเรื่องอื่น กัลยาณมิตตตา สมานัตตตา ก็ตาม ซึ่งหมายความว่า ให้มีมิตรสหาย มิตรสหายอย่างดีๆ มันก็ยังต้องรักษามิตรภาพนั้นไว้ ไม่เช่นนั้นก็หมดมิตรภาพ จะใช้คำนี้ว่าอะไร เอามาดูอะไร 21 คำไว้เสียก่อนจะหาคำใหม่ให้มันกลมกลืนกับ 21 คำนี้ ไอ้คำตรงกันข้าม antonym เราจะให้มันรวมอยู่ในข้อเดียวกันก็ได้ คือโดยไวพจน์และปฏิพจน์ไม่ต้องแยกเป็น 2 ข้อก็ได้ ก็ไวพจน์และปฏิพจน์... ข้อ 3 นี่ ... โดยพยัญชนะ โดยอรรถ และไวพจน์และปฏิพจน์เติมไปอีก คำว่าไวพจน์และปฏิพจน์ ... เช่นว่ามันเป็นกุศล ก็เพิ่มคำว่า อกุศล เข้าไปต่อท้าย ...ก็หาข้ออื่นก็ได้ ...ถ้ามันมีประโยชน์ก็ได้ ถ้าเราต้องการให้มันได้ประโยชน์ๆ กว้างขวางออกไป ก็ไปช่วยกันคิดดูซิว่าจะเพิ่มอีกหัวข้ออรรถ ลักษณะ อะไรได้อีกบ้าง ... มันก็เปลืองเนื้อที่ออกไปอีก 1 ข้อ .... ก็ได้อยู่แล้ว ถ้ามันเกิดมีอะไรที่ดีกว่าขึ้นมา ไม่ได้เอามาใส่ มันหาเนื้อที่ให้ก็ด้วย เอาปฏิพจน์ให้รวมกับไวพจน์ ไปลองคิดดูสิ ...ในวิชาการทั้งหลาย ลักษณะอะไรที่เป็นลักษณะที่สำคัญที่สุดก็เอามาศึกษาและมาทำไว้ในแฟ้ม อาตมายังไม่ได้คิด คิดเอาเองละกัน เลข 21 มันเป็นเลขเกะกะ ไม่เรียบร้อย เลข 24 เรียบร้อยกว่า ไอ้เล่มหนึ่งที่เราพิมพ์ไปแล้ว ถ้ามีโอกาสพิมพ์ซ้ำครั้งที่ 2 เมื่อไรก็จะค่อยเติมให้มันเป็น 24 การแก้ไขปรับปรุงนี่ต้องมีไม่ว่าเรื่องอะไร ถ้าเรียกว่าดีถึงที่สุดไม่ค่อยมี แก้ไขปรับปรุงๆ ... อ้าว ก็มันพิมพ์ไปแล้วนี่... ถ้าพิมพ์ใหม่ก็แก้ไขซิ... ก็ถูกแล้วถ้าเราไม่ต้องเติมก็ได้... ก็ได้ถ้าอย่างนี้ก็หมายความว่า ให้นักศึกษาหรือผู้เรียนเรียนไปเท่านี้ก่อนอย่างนี้ก่อน ถ้าว่า 60 คำอีกชุดหนึ่งเราก็เอาเป็น 30 ไปเลย...(นาทีที่ 35.47 – 39.30) ชุดที่ 1 - 21 คำ ชุดที่ 2 - 24 คำ ชุดที่ 3 - 28 คำก็ได้ ที่จริงมันตั้งร้อย ตั้งเป็นร้อยๆ ก็ได้ แต่มันเกินๆ ลำบาก เอาแต่พอดีๆ ที่มันเกี่ยวข้องกันอยู่กับชีวิตจริง เอาเท่านั้นก็พอ วันก่อนก็ได้พูดไปแล้วหลายคำๆ ก็ไม่มีอะไรนะ คำว่าดับทุกข์ก็เคยพูดแล้ว...(นาทีที่ 40.47) จำได้หรือไม่ได้ ดับทุกข์คือทำให้ไม่ทุกข์ ทำให้ทุกข์ไม่เกิด คำว่าดับทุกข์แปลว่าทำให้ทุกข์ไม่อาจจะเกิด นั่นละคือดับทุกข์ ถ้าทุกข์เกิดแล้วจึงดับ นั่นแย่ มันแย่ ก่อนดับทุกข์ของเราก็คือทำให้มันไม่อาจจะเกิด ไม่มีโอกาสจะเกิด นั่นแหละคือดับทุกข์ เราดับไฟๆ ก็เหมือนกัน ทำให้ไฟไม่อาจจะเกิด ถ้าไฟเกิดแล้วค่อยดับมันยุ่งตาย นี่เรียกว่าตัวหนังสือหรือคำพูด ที่เราต้องเข้าใจให้มันถึงความจริงของมัน ไม่ใช่เพียงแต่ตัวหนังสือ ทุกขนิโรธ ดับทุกข์ ดับอย่างไร ดับด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ทุกข์มันก็ไม่เกิด ไม่ใช่ทุกข์เกิดแล้วจึงดับ อยู่ด้วยอริยมรรคมีองค์ 8 ทุกข์ไม่อาจจะเกิด การดับทุกข์คือทำให้ทุกข์ไม่มีโอกาสจะเกิด อย่างนี้เป็นต้น
นี่ก็เป็นเนื้อหาของธรรมะหรือว่าความลับของถ้อยคำที่ใช้กันอยู่ในเรื่องภาษาคนภาษาธรรม รู้จักใช้ภาษาคน รู้จักใช้ภาษาธรรม ภาษาคนเกิดจากท้องแม่ ไม่ฆ่า แม่อย่างนี้ไม่ฆ่า ภาษาธรรมเกิดจากตัณหา อุปาทาน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เป็นแม่ แม่อย่างนี้ต้องฆ่า พ่อแม่...(นาทีที่ 43.04) ต้องฆ่า นี่เรียกว่า ภาษาคนภาษาธรรม มองดูที่ตัววัตถุ หรือว่ามองดูที่จิตใจ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งนิรันดรๆ ไม่เกิด ไม่ตรัสรู้ ไม่สอน ไม่นิพพาน นิรันดร ใครถึงได้ก็รู้เอาเอง นี่พระพุทธเจ้าในภาษาธรรม ถ้าพระพุทธเจ้าในภาษาคนมันเกิดอย่างบุคคลที่นั่นที่นี่ ลูกคนนั้น หลานคนนี้ แล้วมันต้องออกบวช แล้วมันต้องตรัสรู้ แล้วมันต้องแสดงธรรมจักร แล้วมันต้องนิพพาน พระพุทธเจ้าภาษาคน มันคอยรู้ทุกเรื่อง รู้จักพูดอย่างภาษาคน อย่างภาษาธรรม ภาษาคนมันมุ่งไปที่วัตถุหรือบุคคล ภาษาธรรมมันมุ่งไปที่จิตใจๆ หรือภาวะแห่งจิตใจ ซึ่งไม่ใช่วัตถุ มันไปหัดพูดโดยภาษาคนหรือโดยภาษาธรรมนี่พูดเป็นมากขึ้นๆๆ ความสุขภาษาคน ความสุขภาษาธรรม ทรัพย์สมบัติภาษาคน ทรัพย์สมบัติภาษาธรรม ทุกๆ เรื่องมันพูดได้โดย 2 ภาษา ชั้นหัวใจเป็นภาษาธรรม ชั้นผิวนอกเป็นภาษาคน จึงเขียนสั้นๆ ลงไปว่า เรามีการพูดหรือการสอนโดยภาษาคน นี่แหละภาษาธรรม เรื่องไม่มีศาสนานี่ก็เหมือนกัน เป็นคำพูดที่พวกที่เขาฟังไม่ถูกก็ไม่รู้ เขาหามิจฉาทิฏฐิ ใครไปพูดว่าไม่มีศาสนาๆ แต่จะมาชี้ให้ดูว่า ศาสนานี่คือความจริงของธรรมชาติ น้ำอันใสสะอาด น้ำบริสุทธิ์ มีอยู่ในน้ำทั้งปวง เราจึงไม่มีน้ำส้ม น้ำปลา น้ำตาล น้ำเค็ม ไม่มี มีแต่น้ำบริสุทธิ์ นี่เรียกว่าไม่มีศาสนา เพราะว่าถ้ามีศาสนามันเป็นศาสนาพุทธ คริสต์ อิสลาม ฮินดู คริสต์ มากมาย ไม่มี มีแต่หัวใจของมันคือความจริงของธรรมชาติ แล้วแต่พระศาดาองค์ไหนจะควักออกมาได้มากน้อยเท่าไร พวกเราก็ถือว่า พระพุทธเจ้าเอาออกมาได้หมด คำแต่ละคำมันจะต้องนอกจากจะพูดโดยภาษาคนหรือโดยภาษาธรรมคู่นี้แล้ว มันจะต้องพูดอีกทีหนึ่งว่า อย่างในพุทธศาสนาและอย่างนอกพุทธศาสนา คำใดก็ตาม นิพพานก็ดี กรรมก็ดี อะไรก็ดี ต้องแยกว่าอย่างในพุทธศาสนา หรืออย่างนอกพุทธศาสนา ถ้าอย่างนี้มันก็หมดแล้ว จะเอาคำว่าอัตตาๆ มีในพุทธศาสนากัน พึ่งตนๆ อัตตานี้ก็ไม่เหมือนอัตตาในศาสนาอื่น เพราะมันเป็นอัตตาในพุทธศาสนา อัตตาซึ่งมิใช่อัตตา แต่ในศาสนาอื่นก็มีอัตตาที่แท้จริงๆ จริงๆๆ อย่างยิ่ง นี่ก็อัตตานอกพุทธศาสนา คู่นี้ก็ควรจำไว้ อย่างเดียวกับภาษาคนภาษาธรรม อย่างในพุทธศาสนา อย่างนอกพุทธศาสนา มันก็ไม่ต้องเถียงกัน ไม่ต้องทะเลาะกัน...(นาทีที่ 48.00) มันก็ไม่เกิด ในคำว่าหลุดพ้นๆ ในภาษาคนมันก็ไปอยู่ที่โลกอื่น ไปอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ นิพพานอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ถ้าภาษาธรรมะในพุทธศาสนามันก็อยู่ที่กลางโลกนี่ อยู่กันกลางโลกนี่ แต่โลกไม่ทำอะไรเราได้ ก็เลยเรียกว่าเหนือโลก ถ้าไม่เข้าใจเรื่องนี้มันก็ไปอยู่ที่อื่น ที่ไหนก็ไม่รู้ เหนือโลกๆๆ จนไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหนกัน ไม่มีประโยชน์อะไร อาจจะพ้นแก่ พ้นเจ็บ พ้นตาย มันก็ตาย มันแก่ เจ็บ ตายนี่ แต่มันไม่ทำอะไรเรา เมื่อความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันไม่ทำอะไรเรา ไม่ทำปัญหาให้เกิดแก่เรา เราก็พ้นเกิด พ้นแก่ พ้นเจ็บ พ้นตาย ด้วยจิตใจ เพราะความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ทำอะไรจิตใจไม่ได้ ดังนั้นจึงพ้นเกิด พ้นแก่ พ้นเจ็บ พ้นตาย อยู่ที่นี่ๆ เหมือนกับพระอรหันต์ ร่างกายของท่านก็แก่ ก็เจ็บ ก็ตาย พระพุทธเจ้าก็ปรินิพพาน แต่จิตใจของท่านอยู่เหนืออิทธิพลของสิ่งเหล่านั้น นี่เรียกว่าพ้นเกิด พ้นแก่ พ้นเจ็บ พ้นตาย อย่างนี้มันต้องพูดว่าเป็นเรื่องของภาษาเสียมากกว่า พูดให้เป็นๆ พูดให้ถูก ก็มีประโยชน์
ความรอด ความหลุดพ้น แบ่งเป็น 2 ชั้น ของโลกๆ สันติภาพหรือความหลุดพ้นของโลก มันต่ำกว่า สันติภาพหรือความหลุดพ้นของบุคคล เพราะของบุคคลมันไปได้ไกลๆ จนหมดเกิด แก่ เจ็บ ตาย หมดกิเลส หมดอะไร หมดสิ้น แต่ถ้าของโลกมันรวมคนโง่ คนต่ำคนโง่อยู่ด้วย ฉะนั้นมันไปถึงนั่นไม่ได้หรอก หลุดพ้นของโลกไม่ถึงพระอรหันต์ได้หรอก เพราะว่าคนโง่มันรวมอยู่ในโลกด้วย ทั้งโลกจะเป็นพระอรหันต์ไม่ได้ หลุดพ้นของโลกก็แค่สันติภาพอย่างธรรมดาในโลก ก็แค่หลุดพ้นของเอกชนแต่ละคนของบุคคลไปถึงพระอรหันต์ ฉะนั้นความหลุดพ้นของโลก ความหลุดพ้นของบุคคล ไม่ใช่ระดับเดียวกัน แต่เรามาพูดกันอยู่ทั่วไปสันติภาพของโลก หลุดพ้นของโลก มันก็อยู่แค่เหมาะสำหรับคนทุกคน ซึ่งรวมคนโง่คนอะไรอยู่ด้วย ถ้าหลุดพ้นของบุคคลมันก็ไปสุดเป็นพระอรหันต์เป็นอะไรไปเรื่อย ก็มีปัญหาว่าเดี๋ยวนี้เราจะช่วยโลก เราจะช่วยบุคคล ถ้าเราช่วยบุคคลก็ช่วยได้ไกลไปจนถึงพระอรหันต์ ช่วยโลกก็อยู่แค่สันติภาพอย่างโลกๆ กันอยู่ที่นี่ แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังดีๆ มันไม่รบราฆ่าฟันกันก็ดีแล้ว แม้มันไม่เป็นพระอรหันต์ การที่เราจะเผยแผ่หนังสือหนังหาธรรมะธรรโมสอนสมาธิวิปัสสนาก็ดูว่ามันระดับไหน ระดับช่วยโลกหรือระดับช่วยคน เราจะเอาระดับช่วยคนมาสอนในอย่างที่ว่า ...(นาทีที่ 52.30) ระดับช่วยคนจะช่วยให้เป็นพระอรหันต์ แต่คนเหล่านั้นมันไม่อยู่ในระดับนั้น มันอยู่ในระดับทางโลกธรรมดา ถ้าอย่างนี้ระวังให้ดี เรามันจะเป็นบ้าเอง มันช่วยผิดๆ ผิดขนาด ผิดภาวะ ส่วนมากถ้าเป็นเรื่องของส่วนมากมันก็ช่วยได้แค่ส่วนมาก ถ้าส่วนบุคคลมันก็ช่วยได้สูงสุดของบุคคล แต่ว่าพระพุทธศาสนาโดยแท้จริงต้องการจะช่วยคน ช่วยคนออกไปสุด เป็นพระอรหันต์ได้ แต่เวลาพูด เวลาตรัส พระพุทธเจ้าตรัสท่านก็ใช้คำว่าช่วยโลกๆๆ รวมทั้งคนโง่อยู่ด้วย คำว่าช่วยบุคคลๆ นี้ไม่เคยพบๆ พระพุทธภาษิต เราก็พูดเอาเองว่า เราจะช่วยโลกหรือจะช่วยคน เราสามารถช่วยโลกเราสามารถช่วยคน ถ้าคนทุกคนก็ต่ำลงมา รวมคนโง่ด้วย ช่วยให้บรรลุมรรคผลนิพพานไม่ได้
เรื่องกระจกเงาพูดแล้วใช่ไหม เรื่องกระจกเงา เรื่องอรหันต์ก็พูดแล้ว อรหันต์ที่คำเรียกที่น่าหันหน้า น่าสนใจหรือว่าน่าฟัง ไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นความลับ อรหันต์ ระ-หะ แปลว่า ลับ อะ แปลว่า ไม่ อะ แปลว่า ไม่มีอะไรเหลือยู่เป็นความลับของชีวิตอีกต่อไป พูดอย่างนี้บางทีฝรั่งสนใจมากกว่าจะพูดว่าไม่มีกิเลสหรือไม่มีทุกข์ ส่วนนักศึกษาจะชอบคำนี้กันมากกว่าว่าเดี๋ยวนี้รู้หมดจนไม่มีอะไรเหลืออยู่เป็นความลับ แต่เขาจำกัดว่าเฉพาะที่ต้องรู้นะๆ ไม่มีอะไรเหลืออยู่ที่ยังไม่ได้รู้ ไม่มี บรรดาที่ต้องรู้ก็รู้หมด ไม่มีอะไรเหลืออยู่ อรหันต์ พระอรหันต์น่าบูชา น่าเคารพ...(นาทีที่ 55.35) ในความหมายที่ว่าไม่มีความทุกข์ หรือหักสังสารวัฏ...(นาทีที่ 55.44) ที่น่าฟังๆ คือ ไม่มีอะไรเหลือยู่เป็นความลับ กอ ขอ กอ กา มันก็พูดได้ ตอนที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส โพฏทัพพะ ธัมมารมณ์ เรียนต่อไปๆๆ จนไม่มีทุกข์ ถ้าเชื่อตามพระพุทธเจ้าตรัสก็อัปปฏิจจสมุปบาท จุดตั้งต้นของการเรียนคืออาทิพรหมจรรย์ แต่เดี๋ยวนี้ในประเทศแต่ละประเทศ ไทย พม่า ลังกา เขาถือว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทไม่ใช่เรื่อง...(นาทีที่ 56.35) เป็นเรื่องลึก เป็นเรื่องยาก เป็นเรื่องเรียนทีหลัง เขาจึงจับตัวมาเรียนเรื่องพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ก่อน มาเรียนเรื่องศีล สมาธิ ปัญญากันก่อน แล้วบางทีตายเปล่าไม่ได้เรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาทเลย เราไม่ได้เรียนเรื่องโลกุตระ ...(นาทีที่ 57.00) ร้องไห้เมื่อจะตายอยู่แล้วจึงได้ฟังพูดเรื่องสุญญตา เรื่องอนัตตา โดยพระอานนท์ แล้วก็เสียใจร้องไห้ว่าทำไมเพิ่งมาพูดเดี๋ยวนี้ จะตายอยู่แล้วได้ประโยชน์อะไร เพราะว่าก่อนนี้พูดกันแต่เรื่องทำบุญให้ทาน ทำดีๆ พูดเรื่องหมดตัว...(นาทีที่ 57.25) เจ็บหนักจะตายอยู่แล้ว เขาก็เลยไม่ได้รับประโยชน์อะไรกี่มากน้อยเรื่องเกี่ยวกับสุญญตา อนัตตา
เรื่องนาฬิกาในร่างกายพูดหรือยัง เคยพิสูจน์ เคยพูด ...(นาทีที่ 58.05) ไม่ได้พูดกับคุณ มันเป็นเรื่องธรรมดาๆ ที่มันมีนาฬิกาอะไรก็ไม่รู้ มันเดินอยู่ในร่างกาย พอถึงเวลาทำให้เราหิว พอถึงเวลาทำให้เราง่วง พอถึงเวลาทำให้เราต้องอาบน้ำ ทนอยู่ไม่ได้ พอถึงเวลาทำให้เราต้องนอน พอถึงเวลาทำให้เราต้องตื่นโดยไม่มีใครปลุก นาฬิกาธรรมชาติโดยอัตโนมัติมีอยู่ในตัวชีวิต แม้ต้นไม้ต้นไร่มันก็มีอะไรก็ไม่รู้ที่มันเดินของมันอยู่ ต้นไม้ต้นไร่มันก็เจริญ ในโลกนี้ก็เหมือนกัน โลกมีวิวัฒนาการ ก็นาฬิกาอะไรก็ไม่รู้มันเดินอยู่เรื่อย สิ่งนั้นคืออนิจจังๆๆ นาฬิกาของชีวิตที่เดินอยู่เรื่อยๆ คืออนิจจัง แต่นั่นมันระยะยาวและปัญหาใหญ่ เราพูดกันแต่เรื่องแคบๆ เล็กๆ สั้นๆ แล้วก็ประจำวัน ทำไมเราจึงง่วง ทำไมเราจึงนอน ทำไมเราจึงตื่นเอง ทำไมเราจึงหิว ทำไมเราจึงกิน พอกินแล้วทำไมจึงอยากนอนอีก มันเป็นสิ่งที่ต้องควบคุมนาฬิกาที่ประจำอยู่ในชีวิตร่างกาย เป็นสิ่งที่ต้องควบคุม ร่างกายก็เดินไป จิตก็เดินไป อะไรๆ ที่มาเกี่ยวข้องด้วยมันก็เดินไปด้วยอนิจจังๆๆ เรามันช่วยได้มาก มันช่วยเรามาก ที่มันเป็นไปได้เอง ง่วงเอง หลับเอง ตื่นเอง หิวเอง กินเอง อิ่มเอง นี่เป็นนาฬิกาในร่างกายหรือในชีวิต รู้จักมันไว้ ในโลกมียุค เป็นยุคกำลังเสื่อมเรียกว่ากลียุค กำลังเจริญเรียกว่าอกลียุค เป็นที่อื่นเรียกเป็นภาษาสันสกฤต ไม่ใช่พุทธศาสนา พวกอินเดียโบราณเขาพูดกัน โลกกลียุค กำลังเสื่อม โลกกำลังเจริญนี่เรียกว่าอะไร พระพุทธศาสนาเกิดขึ้นในโลกเมื่อย่างเข้าสู่กลียุค ยุ่งยากเพราะกิเลสของมนุษย์ เพราะความทุกข์ของมนุษย์ พระพุทธศานาเกิดขึ้นในโลกกลียุคเพื่อจะแก้ปัญหาเหล่านี้ กลียุคๆ เขาอธิบายต่อไปว่ามันจะหนักขึ้นๆๆ คือสัตว์โลกมีกิเลสมากขึ้นๆ จนถึงฆ่ากันตายหมด เป็นมิคสัญญี ทีนี้ก็พูดว่า ไม่ได้ตายหมด เพราะบางคนมันไม่มาร่วมอยู่ในการฆ่า บางคนมันไปอยู่เสียในป่าหรือไปอยู่เสียที่ไหนก็ตามใจมัน มันไม่ถูกฆ่า มันเหลืออยู่บางคนจำนวนหนึ่ง มันก็เปลี่ยนความคิดจิตใจ ไม่ไหวๆ ตั้งต้นกันใหม่ คนเหล่านี้ก็ตั้งต้นศีลธรรมกันใหม่ เป็นยุคที่ดีขึ้นๆๆๆ แล้วมันจะเกิดพระพุทธเจ้าประเภทพระศรีอริยเมตไตรย์ พระพุทธเจ้าองค์ของเรานี่มันเกิดในกลียุค แต่พระศรีอริยเมตไตรย์จะเกิดขึ้นในยุคที่ไม่ใช่กลียุค คือยุคที่เจริญสูงสุด เราเกิดขึ้นในศาสนาของพระพุทธเจ้าที่มีสำหรับกลียุค คือแก้ปัญหาความเลวร้ายต่างๆ นานา นี่คนโดยมากได้รับคำสั่งสอนเรื่องนี้แล้วเขาก็ตั้งปรารถนาว่า ขอให้ข้าพเจ้าได้เกิดในโลกพระศรีอาริยเมตไตรย์ ในศาสนาพระศรีอาริยเมตไตรย์ จึงในโลกที่ไม่ใช่กลียุคก็ได้เปรียบ เมื่อเราต้องเกิดในโลกกลียุค แล้วต้องต่อสู้ๆ กันให้มันไม่กลี ให้มันมีสันติภาพ สันติสุข สิ่งทั้งหลายหรือธรรมทั้งหลาย มันจะมีกี่หมื่นกี่แสนกี่ล้านกี่โกฏล้านสิ่ง ทุกสิ่งเป็นธาตุตามธรรมชาติ ที่สุดแล้วไม่มีอะไรที่ไม่ใช่ธาตุตามธรรมชาติ มันจะมีกี่ล้านๆ สิ่ง ก็จัดว่าธาตุทางธรรมชาติ ที่เป็นรูปวัตถุก็ธาตุ ที่เป็นนามธรรมจิตใจก็ธาตุ ที่เป็นการปฏิบัติก็ธาตุ ผลของการปฏิบัติก็ธาตุ ความดีก็ธาตุ ความชั่วก็ธาตุ อะไรก็ธาตุหมด พระนิพพานก็ธาตุ สังขตะก็ธาตุ อสังขตะก็ธาตุ ใครลองหามาดูซิว่าอะไรบ้างที่ไม่ใช่ธาตุ โดยเราจะหาเองเราจะรู้สึกอย่างนั้น แต่เดี๋ยวนี้ข้อนี้พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ ถ้าเป็นธาตุมันก็เรียกว่าธาตุตามธรรมชาติ แล้วก็เรียกอีกชื่อว่าธรรมๆๆ คือสิ่งที่เกิดอยู่ตามธรรมชาติ คำว่าธรรมกับคำว่าธาตุนั้นรากศัพท์คำเดียวกัน แปลว่า สิ่งซึ่งทรงอยู่ ทรงตัวอยู่ จะเรียกว่าธรรมก็ได้ จะเรียกว่าธาตุก็ได้ ธรรมทั้งปวง ธาตุทั้งปวง อย่าไปยึดมั่นถือมั่นมาเป็นอัตตา ให้มันเป็นสักแต่ว่าธรรมว่าธาตุตามธรรมชาติของมันเถิด อย่าไปยึดเอามาเป็นอัตตาว่าตัวตนหรือของตน นี่หัวใจพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับคำว่าธาตุหรือธรรม ตามธรรมชาติธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น จะใช้คำว่าธาตุแทนก็ได้ ธาตุทั้งปวงเป็นอนัตตา ธาตุทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่น นี่เรียกว่าหลักหัวข้อ มันไม่ใช่เบ็ดเตล็ด เป็นหัวใจๆ หัวข้อสั้นๆ มันก็มีอยู่ไม่เท่าไร ไม่เกิน 500 ข้อ ที่เราจะมาพูดถึง ไม่เกิน 500 ข้อ
มีคำว่าติดๆ คำนี้ก็มีจำนวน 5 ก็หมายถึงขันธ์ 5 ติด เขาอุปมาพูดให้สังเกตได้ง่ายๆ ว่ามันมี 5 คือ ลิงตัวหนึ่งมันไปในที่ๆ นายพรานเขาดักไว้ ดักลิง ดักด้วยซัง ซังเหมือนกับซังดักนกแต่มันแข็ง มันเหนือกว่า มันมากกว่า มันแข็งกว่า ลิงตัวนั้นมันสงสัย เห็นซังแล้วมันสงสัยว่านี่อะไรๆ แต่มันจำเป็นที่มันจะต้องผ่านไปทางนั้น ถ้าเขาดักเขาเอากิ่งไม้หรือลำไม้ที่ว่าสัตว์จะต้องเดินไปทางนั้นแล้วติดซัง...(นาทีที่ 68.48) เหมือนกับว่าทางเดินไปไหน ทางเดินไปนิพพานก็ตามใจ มันมีซังให้ระวัง ลิงตัวนั้นมันสงสัยว่านี่มันอะไร มันเอามือไปจับดูลองดู มือมันก็ติด มือมันไม่หลุดเอาไม่ออก เอามืออีกมือเข้าไปช่วยปลด มันก็เลยติดทั้ง 2 มือ มันไม่ออกมันยิ่งยุ่งใหญ่ เอาเท้าข้างนึงไปช่วยปลอดมันก็ติดอีกๆ ในที่สุดมันเอาปากไปกัด มันก็เลยติดอีก หมดท่าเลย มันติดทั้ง 5 ติดทั้ง 5 จะเรียกว่าขันธ์ 5 ...(นาทีที่ 69.46) ไม่แน่ใจ เขาสร้างอุปมานี้ขึ้นมาก็เพราะ...(นาทีที่ 69.53) มันติดทั้ง 5 ติดในรูป ติดในเวทนา ในสัญญา สังขาร วิญญาณ ก็ติดทั้ง 5 หมดนั่นเลย นี่ก็หมายความว่า ในหนทางที่สัตว์มันจะเดินไปจะไปนิพพาน ก็เหมือนกับไปทำมาหากิน ไปหากิน ไปนิพพาน มันมีซังๆ มันเดินไปไม่ถึงพระนิพพานมันก็ไปติดซังซะก่อนๆ ติดอยู่ในกองทุกข์ นี่เรามันไม่ใช่ลิง เราไม่ใช่ลิง เราก็มีวิธีที่จะไม่ติดซังอะไร วิธีที่เราจะไม่ติดซัง คือ ธรรมะหรือวิปัสสนา หรืออะไร ญาณ ความรู้ มันไม่ติดซัง ไม่ต้องติดซัง บางทีอายตนะ 6 ก็จะอธิบายในรูป เสียง กลิ่น รส โพฏทัพพะ ถ้าเอาใจออกเสียมันก็เหลือ 5...(นาทีที่ 71.15) ก็แยกเป็นปัญจทวาร คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เอามโนทวารไปไว้ที่อื่นมันก็เหลือ 5 อายตนะ 5 ขั้นต้นนี่ต้องระวัง จะเป็นซังหรือจะไม่เป็นซังก็คอยดูให้ดีๆ พอมีอุปาทานก็เป็นซังขึ้นมา ถ้าไม่อยากติดซังก็อย่าไปมีอุปาทานในอายตนะทั้ง 5 หรือในขันธ์ทั้ง 5 ถ้ามีอุปาทานมันก็เป็นซังขึ้นมา ถ้ามีวิชชา มีปัญญา มีวิปัสนา มันก็ไม่เป็นซัง ก็เดินไปสู่พระนิพพานได้โดยไม่ต้องติดซังอยู่ที่นี่ นี่พูดถึงเรื่องของมนุษย์ที่จะออกเดินจากจุดตั้งต้นไปยังจุดหมายปลายทาง และระวังว่ามันจะติดซังๆ มันเป็นไปไม่ได้ เมื่อลิงติดทั้ง 5 แห่ง มันก็ตายๆ อานาปานสติก็ควรจะถูกจัดไว้ในสิ่งที่จะติดซังๆ หรือว่าไม่ติดซัง หรือจะหลุดไปจากซัง อานาปานสติช่วยได้ ถ้าปฏิบัติได้สำเร็จไม่มีวันติดซัง ถ้าติดซังอยู่ก่อนมันก็จะหลุดออกมาได้ เดี๋ยวนี้เรามันเตรียมตัวที่จะติดซัง ศึกษาเล่าเรียนหาเงินหาทองแล้วจะไปหากามารมณ์ พวกวัยรุ่นหนุ่มสาวทั้งหลายมันจะมุ่งหมายกามารมณ์ทั้งนั้น มันก็เท่ากับไปหาซังแล้วก็ไปติดซังกว่าจะหลุด ถ้ามีการสอนในโรงเรียนให้ลูกเด็กๆ รู้เรื่องนี้ อย่าให้ต้องไปติดซังก็จะดี เป็นหนุ่มเป็นสาวไม่รู้จักติดซังก็ไปไกล...(นาทีที่ 74.00) ถ้าว่าติดซังแล้วมันไม่แน่ว่าจะหลุดหรือไม่หลุด ส่วนมากมันตายๆ อยู่ในซัง มีคำศัพท์ว่านกไปติดบ่วงแล้วน้อยตัวนักที่จะหลุดบ่วงไปได้ แต่ถ้าได้รับการสั่งสอนให้รู้จักบ่วงเสียล่วงหน้าแต่ทีแรก ก็จะไม่มีนกตัวไหนติดบ่วง สติๆ จะช่วยให้ไม่ติดบ่วง เหล่านี้เรียกว่าหัวข้อธรรมะ ถ้าจำไม่ได้ก็เขียนไว้ในสมุดโน้ตเล็กๆ เล่มเล็กๆ แล้วมีโอกาสจะเขียนเพิ่มเติม สมุดเล่มเล็กๆ หน้าเล็กๆ หน้าหนึ่งเขียนข้อเดียวๆๆ พอรู้อะไรเพิ่มเติมก็เติมเข้าไปๆ ไม่เท่าไรมันจะเป็นสมุดคู่มือที่สมบูรณ์ที่สุดที่ช่วยได้ดีที่สุด (ท่านอาจารย์เจ้าคะ ที่ติด 5 อย่าง จะมีเพิ่มอีกซัก 2 อย่างเป็น 7 บ้างหรือเปล่าเจ้าคะ) แล้วแต่ แต่ว่าในบาลีพูดแค่นี้ (ถาม - คือดิฉันนึกถึงรูปปฏิจจสมุปบาทที่ทิเบตวาดเจ้าค่ะ แล้วเจ้าตัวยักษ์ตัวนั้นปากคาบ มือ 2 ข้างก็จับแน่น แล้วก็หัวเข่าก็หนีบ ทีนี้มันมีข้อเท้าอีก 2 ข้อเท้าที่มันหนีบ) ก็ดูลิงซิๆ ถ้าว่ามันติดแล้วมันจะทำเพียง 5 อย่างนี้เท่านั้น หัวเข่า...(นาทีที่ 76.12) แต่เขาหมายความว่า 5 อย่างนี้พอแล้ว 5 แห่งนี้พอแล้วที่จะทำให้ตาเห็น แต่ถ้าเป็นสัตว์อื่นมันก็ต้องอธิบายอย่างอื่น เดี๋ยวนี้มันก็เอาสัตว์ลิง ถ้าเป็นสัตว์ที่มันมีตีนมากๆ เช่น กิ้งกือ ตะขาบ นี่ก็ต้องติดเยอะ ลิงมันก็เท่ากับคน คนติดซังมันก็ติด 5 แห่ง รูป เสียง กลิ่น รส โพฏทัพพะ ก็พอ หรือว่าขันธ์ 5 ก็พอ หรือว่าจะปลีกย่อยอย่างนั้นก็ได้มันก็อธิบายได้ แต่หลักที่พูดกันง่ายๆ พูดมาแต่โบราณพูดถึง ที่น่าหัวเอาปากกัด กัดไม่หลุดมันกลับติดไปอีก...(นาทีที่ 77.30) แต่ที่เรามาเรียกกันเอาเอง 5 อย่างนี้ เรียกว่าดอกไม้แห่งมาร หรือเหยื่อล่อแห่งมาร กลับไม่ค่อยได้ยิน เหมือนคำพูดข้างหลัง ...(นาทีที่ 77.52) ในฐานะเป็นอุปาทานิยธรรม อุปาทานนิยธรรมคือสิ่งที่จะทำให้ยึดติดๆ ดอกไม้แห่งมาร ลูกศรแห่งมาร พวกฝรั่งเขาเรียกลูกศรแห่งมาร ภาษาชาวพุทธเรียกดอกไม้แห่งมาร รูป รส กลิ่น เสียง โพฏทัพพะ ดอกไม้ที่มารเอามาล่อ แล้วคนก็ไปติดอยู่ใน 5 อย่างนี้ๆ แต่อย่าลืมว่า บวกมันก็ติดอย่างบวก ลบมันก็ติดอย่างลบ อย่าเข้าใจว่ามันจะติดแต่เรื่องบวก เรื่องลบมันก็ติดอย่างลบ ไปยึดถือเป็นลบมันก็กัดๆ เอาอย่างเดียว ไม่ติดไม่มีอุปาทานด้วยประการทั้งปวงนั้นน่ะหัวใจ...(นาทีที่ 78.55) ไม่ยึดอะไรเป็นอัตตาหรืออัตนียาก็ไม่ติด ไม่ติดในอะไรเลย วิมุต ความหลุดพ้นหรือไม่ติดเป็นวัตถุประสงค์ คำพูดทางธรรมะหรือเป็นคำลึกๆ นั่นละธรรมะแท้ๆ ก็...(นาทีที่ 79.30) มันก็ไม่เกิน 500 คำ 500 คำ เอามาพูดทีละ 60 คำ พูดกี่ชุด 10 ชุดก็ 600 คำ ดังนั้นจึงขอให้เลือกเอาคำที่สำคัญเอามาใส่ไว้ในที่เราก็เหมือนกัน
พระพุทธเจ้า 3 พระองค์พูดหรือยัง พูดแล้วใช่ไหม ...(นาทีที่ 80.57) พระองค์ธรรม พระองค์คน พระองค์แทน 3 องค์ พระองค์ธรรมๆ เป็นตัวธรรม พระพุทธเจ้าองค์นี้ได้ตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม พระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม องค์นิรันดร ไม่เกิด ไม่ตาย ไม่ประสูติ ไม่ตรัสรู้ ไม่นิพพาน นี่พระองค์ธรรม ทีนี้พระองค์คนมันเป็นบุคคล คือ พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ ลูกคนนั้น หลานคนนี้ เป็นพระองค์คน พระพุทธเจ้าอย่างนี้ต้องไปเกิด ต้องตรัสรู้ ต้องสอน ต้องนิพพาน เรียกว่าพระองค์คน ต้องขอบใจพระองค์คนที่ทำให้รู้จักพระองค์ธรรม พระองค์คนมาแสดงคำสั่งสอนๆ จนเรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม ทีนี้มันก็เหลืออยู่แต่ไอ้เรื่องที่มัน...(นาทีที่ 82.20) พระพุทธเจ้าพระองค์คน นิพพานไปเสียแล้ว ล่วงลับไปเสียแล้ว พระองค์ธรรมก็ไม่ปรากฎ มันก็เหลือแต่พระองค์แทน พระองค์ธรรม พระองค์คน พระองค์แทน พระพุทธเจ้า 3 พระองค์นี่เคยพูดแล้วใช่ไหม (ตอบ - ไม่ได้พูดกับกลุ่มนี้) พูดกับกลุ่มอื่น ทีนี้พระองค์แทนมันหลายอย่าง พระกระดูก พระอัฐิธาตุ ก็พระองค์แทนทั้งนั้น แต่ว่าหายากเต็มที หลอกขายทั้งนั้น