แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
จริง ๆ แล้วก็เคย เคย เคย เราก็เสวยเวทนาอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ศึกษามันนี่ เราเสวยเวทนาด้วยความโง่ มีแต่จะดีใจ เสียใจ ดีใจ เสียใจ หรือ สงสัย ดีใจ เสียใจ สงสัย อยู่กันไปอย่างนี้ เดี๋ยวนี้ไม่เอาละ ต้องมาศึกษา มีสิ่งที่เรียกว่าปีติ นั่นก็คือ พอใจ และก็ประสบความสำเร็จ แรก ๆ ประสบความสำเร็จ มันยังฟุ้งซ่านนั่นน่ะแรก ๆ ชื่อว่า ปีติ ปีติ แปลว่าซาบซ่าน ซาบซ่าน แต่ความซาบซ่านฟุ้งซ่านมันหยุดลง สงัดลง เรียกว่าสุขละ สุข สองขั้นตอนอย่างนี้ ภาวะทั้งสองขั้นตอนนี่ เด็ก ๆ พอทำอะไรสำเร็จ เช่น ทำงานเสร็จ ทำการบ้านเสร็จสรรพได้ มันก็พอใจละ มันก็มีปิติ จะไม่มีใครสอนมัน ไม่มีใครสอนเด็ก ๆ รู้จักปีติ เพราะปีตินั่นระงับลง ระงับลง ก็ไม่ฟุ้งซ่าน เพราะมันเป็นความสุขเย็น ฟุ้งซ่านนี่มันไม่ใช่สุขเย็น มันสุขฟุ้งซ่าน รู้จักเสียทั้งสองชั้นว่า เออความสำเร็จ เกิดความรู้สึกหยาบ นั่นก็คือ ติ เกิดความรู้สึกละเอียด เรียกว่า ความสุขในชีวิตประจำวัน เมื่ออยากกินก็ไปอร่อย อร่อย อ้าว ก็มีปีตินี่ ทีนี้พอ อร่อย อร่อย เซ็ทตัวลงไปเป็นความสงบมันก็เป็นความสุข ความอร่อยก็กลายเป็นความสุขนี่ แรกอร่อยก็เป็นปีติ อร่อยที่สุดแล้วก็เป็นความสุขได้ นี่มันละเอียดไปเสียทุกสิ่งทุกเรื่องในชีวิต ทั้งคน ทั้งกำลัง คล้าย ๆ กับว่ามันคลุกเคล้าอยู่ด้วยของสองสิ่งนี่ เดี๋ยวนี้ความสุขหยาบจนหายใจแทบไม่ทัน นั่นคือปีติ มันก็สงบ ละเอียด คล้าย ๆ ไม่รู้สึก นี่ก็เป็นความสุข ศึกษาได้ในชีวิตประจำวัน เอ้าเดี๋ยวนี้จะเอามาทำภาวนา ก็เอามาสิ ยืมมา จากที่เคยรู้จัก รู้สึก ในชีวิตประจำวัน เอาตัวปีติมาพิจารณาดูว่า เป็นอย่างไร เป็นอย่างไร สามารถทำให้เกิดปีติขึ้นมาเดี๋ยวนี้ได้ ก็ชิมมันดู ชิมมันดู ชิมมันดู ชิมรสแห่งปีติดูสักพักหนึ่ง ระยะหนึ่ง ข้อที่หนึ่งก็ ให้หมดเวทนะ ให้มันสงบ ระงับ สงบ ระงับ มันผิดกันกี่มากน้อย มันดีกว่ากัน กี่มากน้อย ไปชิมมันดูสักระยะหนึ่ง ระยะหนึ่ง เรียกว่า สุขเวทนา ตั้งต้นด้วยตัวสิ่งที่เป็นปัญหา และก็ตัวสิ่งที่เป็นปัญหา ต้องหยิบขึ้นมาสำหรับศึกษา ศึกษาปีติ แล้วก็ศึกษาจิต ถ้ารู้จักมันดี ว่าเป็นอย่างไรแล้ว เสร็จแล้วรู้จักว่าเป็นอย่างไรแล้ว ก็รู้สึกต่อไปว่า ไอ้นี่มันเป็นเหตุปัจจัยของอะไรที่มันทำให้เกิดอะไรขึ้นมาอีก ตอนนี้ก็จะเห็นว่า ไอ้สองอย่างนี่ มันให้เกิดความคิด ให้เกิดคิด ความคิด ความคิดที่เป็นจิต ไปเรียกชื่อมันใหม่ว่า จิตสังขาร ตอนนี้เรียกชื่อมันว่า เวทนา เวทนา เวทนา คือความรู้สึก เดี๋ยวนี้เปลี่ยนชื่อมันใหม่ว่า จิตสังขาร นั่นคือสิ่งปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งจิต เวทนานั่นแหละคือ จิตสังขาร เครื่องปรุงแต่งจิต เครื่องปรุงแต่งจิต มากำหนดรู้ อาการ อาการ หรือ ปรากฎการณ์ คือเวทนา ปรุงแต่งจิต เวทนา ปรุงแต่งจิต เวทนา ปรุงแต่งจิต เป็นอย่างไร เป็นอย่างไร กำหนดพิจารณาไปอีกระยะหนึ่งนะ นานเท่านานเท่าไหร่ก็ไม่รู้ แต่ว่าต้องกำหนดจนรู้จักดี ว่าไอ้เวทนานี้เป็นจิตสังขาร และก็ปรุงแต่งจิต นี่ก็ขั้นที่ สาม ของหมวดที่ สอง สี่หมวด หมวดละสี่ขั้น ขั้นที่สาม ของหมวดที่สอง รู้จักว่าเวทนา เป็นเครื่องปรุงแต่งจิต มองดูเฉพาะในแง่นี้ เฉพาะที่มันปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งจิต อย่าเพิ่งทำอะไร ให้มันฟุ้งซ่านไปกว่านี้ ดูว่า ปรุงแต่งจิต อย่างไร ปรุงแต่งจิตอย่างไร ปรุงแต่งจิตอย่างไร จนเสร็จขั้นที่สาม กับหมวดที่สอง ที่นี้เราก็เลื่อนเป็นขั้นที่สี่ ควบคุมมัน ควบคุมไม่ให้มันปรุง หรือมันปรุงแต่น้อย หรือมันปรุงไปในทางที่เราต้องการ นั่นเรียกว่า ควบคุมได้ หรือทำให้มันระงับไป ไม่ให้ควบคุม และไม่ให้ปรุงขึ้นเลยก็ได้ ให้ฟุ้งไป ไปแต่ในทางที่เราต้องการอย่างนี้ ก็ได้ คือมันหมดปัญหา ถ้าเราควบคุมเวทนาได้ เราก็ควบคุมความคิดของเราได้ ถ้าเราไม่หลงเวทนาบวก ไม่หลงเวทนาลบ แล้วก็คุมความคิดที่ไม่เป็นบวก หรือไม่เป็นลบได้ หรือเราควบคุมไม่ให้ความคิดเป็นบวก หรือเป็นลบได้ นี่เรียกว่าทำ จิตสังขาร ให้อยู่ในอำนาจของเรา เรียกว่าทางมันระงับ ทีนี้ก็อย่าให้มันจะฟุ้งไปทางที่มันจะเกิดความทุกข์ ปรุงให้มากเท่าไรก็เกิดความทุกข์มากเท่านั้น ให้มันหยุด ให้มันลด ให้มันระงับ ก็เรียกว่า ทำให้มันระงับ สามารถจะควบคุมเวทนา ให้ปรุงจิตแต่ในลักษณะที่ควร ควรมี ควรจะ ทำนองนี้ เรียกว่า หยุดไปเลย หยุดไปเลย เป็นสมาธิ หยุดไปเลยก็ทำได้ จะได้เป็นสมาธิประเภท อรูปฌาณ ที่สูงขึ้นไป สมาธิประเภทที่เป็น รูปฌาณก็อยู่ที่กาย ถ้าเป็น อรูปฌาณ ก็อยู่ที่เวทนา นี่คือหมวดที่สอง เกี่ยวกับ เวทนา เวทนา ถ้าทางธรรมะ ถือว่าไอ้สิ่งเลวร้าย ตัวร้ายเป็นศัตรูตัวร้ายที่สุด น่ากลัวที่สุดก็คือ เวทนา เพราะมันทำความวินาศฉิบหายได้ถึงที่สุด แต่ถ้าควบคุมมันได้มันก็มีประโยชน์ถึงที่สุดเหมือนกัน มันตรงกันข้ามกันอย่างนี้ ดังนั้น เราจึงต้องควบคุมมันให้ถูกต้อง เมื่อเราได้รับประโยชน์ ได้รับประโยชน์ ถ้าควบคุมไม่ได้ก็ได้รับโทษ อยู่ในโลกนี้ ถ้าควบคุมเวทนา ไม่ได้ มันคือตกนรกทั้งเป็น ดู ไปลองดู ควบคุม ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกกังวลไม่ได้ มันก็ตกนรกทั้งเป็น นั่นมันคือควบคุมเวทนาไม่ได้ ถ้าควบคุมได้มันก็มีสติ สงบ ระงับ เยือกเย็น และเป็นสุข แต่มันก็เป็นเรื่องส่วนตัว ยังไม่ถึงสังคม ถ้าว่าควบคุมตรงตัวได้แล้ว มันจึงจะสอนสังคมได้ หรือช่วยสังคมได้ เรียกว่าชนะตัวให้ได้ซะก่อน ถึงจะชนะผู้อื่นช่วยผู้อื่นได้ มันก็เป็นเรื่องใหญ่โตมโหฬารเท่ากับเรื่องตายเหมือนกันนะ เอ้าที่นี้เลื่อนไปที่สาม ละ ที่สาม ต้องกลายเป็นเรื่องที่ละเอียดและยากขึ้นไปอีก มันเป็นเรื่องจิต มันละเอียดไปซะอีก จิตน่ะ มันละเอียดกว่า กว่า เจตะสิก เวทนา เป็นเจตะสิก ที่ค่อนข้างจะหยาบ มันเกิดจิต เป็นที่ตั้งแห่งจิต เจตะสิกมันก็ละเอียด นี่แปลว่าเรามาเล่นกับสิ่งที่มันละเอียดและอิทธิเหนือประมาณ กลับกลอกเหลือประมาณ ว่องไวเหลือประมาณ และควบคุมยากเหลือประมาณ ยิ่งกว่าปลาไหล เรื่องที่ควบคุมยากก็คือ จิต กับความเร็ว ว่องไว และก็ไม่ ไม่รู้ว่าไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน เรียกว่าสิ่งที่คุม ควบคุมยาก ห้ามยาก 9.54 ฑีระฆัง รักษายาก ฑีมวาระยัง ห้ามยาก รักษายาก มันจะยากไปเสียหมด เพราะมันละเอียดที่สุด แต่ก็ไม่ยอมแพ้ นักศึกษาไม่ยอมแพ้ พวกโยคีไม่ยอมแพ้ อยากชนะมันให้ได้ เอาไปยกขึ้นมาเป็นเรื่องที่สาม ถ้าได้รู้มาแต่หมวดที่สองแล้วว่า ไอ้จิตนี่มันมาจากเวทนา ไอ้ความรู้ในหมวดที่สองเพียงพอเรื่องเวทนา มันก็สามารถที่จะใช้ประโยชน์ในการควบคุมจิต บังคับเวทนาให้ปรุงแต่งจิต แต่ในทางที่ถูกต้อง ควบคุมไม่ได้ มันก็มีราคะ บ้าง โทสะบ้าง โมหะ บ้าง เป็นราคะจิต โทสะจิต โมหะจิต และจิตอะไรอีกตั้งแปดคู่ แปดคู่ ตัวอย่างเท่านั้นนะ แปดคู่ ตัวอย่างเท่านั้น มีมากมายนับเหลือ ที่ต้องสำนึกอยู่เสมอ ก็ว่าอย่าไปเรียนจากหนังสือ หรือว่าอย่าไปเชื่อพระพุทธเจ้าเลยว่า จิตเป็นอย่างไร ไม่ต้องเชื่ออย่างที่พระพุทธเจ้าเชื่อ ดูที่จิตที่มันมีอยู่ ว่ามันแสดงตัวมันเองว่ามันเป็นอย่างไร วันก่อนพูดเรื่องนี้กันมากแล้วนะ พอแล้วนะ ว่าการามสูตร ไม่เชื่อพระพุทธเจ้า ไม่เชื่อพระไตรปิฎก ไม่เชื่อกรรมของคนอื่น ไม่เชื่อการคำณวนทางฟิลลอสซอฟฟี่ หรือโลจิค ไม่เชื่อ ไม่เชื่อ แต่มาเชื่อสิ่งที่เห็นเอง อยู่ที่นั่งมันเห็นอยู่ที่นั่ง การแสดงอยู่ที่นั่ง ว่าจิตนี่เป็นอย่างไร จิตอันหนึ่งเป็นอย่างไร จิตอีกอันหนึ่งเป็นอย่างไร ดูเอง ดูเอง ดูกันเอง ไม่ต้องพูดตามพระคัมภีร์ดอก นี่เรียกว่าไม่รู้จักจิต รู้จักจิต รู้จักอะไร กำพืด กำพืด นั่น ภาษาเด็กๆนั่น เขาเรียกว่า กำพืด ของจิตนั่น มาตั้งแต่รากฐานของมัน 12.03 จิตตะปฏิสังเวที ก็ให้เป็นขนาดนี้ นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะปฏิบัติได้ในสิบวัน ไม่ใช่เรียนรู้ให้แท้จริง มันก็ไม่ใช่เรียนรู้ได้ในสิบวันนะ ถ้าปฏิบัติด้วยมันก็เกินสิบวัน แต่ถ้าว่ามีการแนะนำดี ไอ้คนนั้นมันฉลาดพอที่จะรู้จักมองตัวเอง ดูตัวเอง ศึกษาตัวเอง มันจะกินเวลาน้อย ถ้าทำกับคนโง่ ทำจนตายก็ไม่สำเร็จ ไม่สำเร็จหรอก แต่ถ้าหากคนมันฉลาด โดยเฉพาะฉลาดในการที่จะศึกษาจากของจริง ด้วยตัวเองในภายใน เพราะฉะนั้นเราช่วยเขาให้ศึกษาด้วยตัวเอง ไม่ใช่บอกเขาให้จำ จำ จำ จำไม่ไหว เดี๋ยวก็ลืมหมดละ ศึกษาก็ไปดูเอาเอง เห็นเองไม่ต้องจำ การศึกษาเรื่องจิต ก็สอนให้รู้จักดูจิต ดูจิต ดูจิต ดูจิต รู้จักทุกชนิด ถ้ารู้จักก็ต้องรู้จักโดยรู้จักอาการทั้งสี่ ของอาริยะสัจ ว่ามันคืออะไร มันมาจากอะไร มันเพื่อประโยชน์อะไร และมันจะสำเร็จได้โดยวิธีใด เอากวางสี่ตัวฮั้วเดียวมาใช้ จะรู้จักอะไรก็ขอให้รู้จัก กวางสี่ตัวฮั้วเดียวกัน คืออะไร จากอะไร เพื่ออะไร โดยวิธีใด พอรู้หมดแล้วมันกลายเป็นเรื่องเดียว เรื่องเดียว คือฮั้วเดียว ขอให้รู้จัก กายก็ดี เวทนาก็ดี จิตก็ดี ในลักษณะกวางสี่ตัวฮั้วเดียวกัน จิตนี้คืออะไร เกิดขึ้นมาจากอะไร เพื่อใช้ประโยชน์อะไร และจะทำอันนั้นได้โดยวิธีใดนั่นน่ะ การที่จะจับ จะทำกับเรื่องที่ละเอียด ๆ สุขุม ที่สุดคือเรื่องจิต ต้องฉลาดกว่า เหนือกว่า อย่างนี้ ผู้นั้นก็เคยทำมาแล้ว เคยชนะมาแล้ว จึงสอนคนอื่นได้ ถ้าสอนกันไปพลาง สอนกันไปพลาง ทำกันไปพลาง ก็เป็นพรึด เป็นเพื่อนกันมากกว่าที่จะมาเป็นครู เป็นอาจารย์ เป็นเพื่อนเดินทาง ทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้เหมือนกัน ถ้าแม้เป็นอาจารย์ในภาษาธรรมะ ก็เรียกว่า เพื่อน เพื่อนที่ช่วยให้รู้ อาจารย์คือเพื่อนที่ช่วยให้รู้เหมือนกับที่อาจารย์รู้ แต่ว่า แนะให้เขาไปดูเอง แนะให้เขาไปดูเอง รู้จักจิต รู้จักจิต ยิ่งขึ้นไป ยิ่งขึ้นไปด้วยตนเอง เราจึงรู้จักทุกชนิด แล้วก็มาฝึกการควบคุมมัน สำเร็จประโยชน์ สำเร็จแล้วก็เรียกว่าชนะมัน ไปชนะจิต เป็นนายเหนือจิต ควบคุมจิต อย่างเดียวกับที่แล้วมาแต่หนหลัง ในหมวดกายก็ชนะกาย ควบคุมกาย ใช้ประโยชน์เป็นประโยชน์ เวทนาก็รู้จักเวทนา ควบคุมเวทนา ชนะเวทนา ใช้เวทนาให้เป็นประโยชน์ ถ้ามาเป็นขั้นนี้ก็ รู้จักจิต ควบคุมจิต บังคับจิตใช้จิตให้เป็นประโยชน์ ไอ้ที่ควบคุมหรือฝึกฝน มันก็อยู่ที่สาม สามขั้นต่อมา ทำให้บันเทิง ทำให้ตั้งมั่น ทำให้ปล่อยเนี่ย นี่เป็นตัวฝึกฝน หรือต่อสู้ หรือชนะจิต มันก็มีเทคนิคของมันโดยเฉพาะแหละ โดยเฉพาะเรื่องจิต ไปศึกษา ไปดู ไปสังเกตดู รู้ได้ง่าย ๆ โดยสัญชาตญาณ โดยกมลเส้นก็มีมาก จะรู้ได้จากการศึกษา อย่างวิปัสสนา ยังไงก็ ก็ยังมากกว่า ดีกว่า สูงกว่า ศึกษาเรื่องจิต มันต้องบังคับจิตได้คือเป็นสมาธิ เป็นสมาธิแล้ว ก็มีวิปัสสนาได้ง่ายได้รู้จักจิต ได้ดู ให้มันเป็นนายเหนือจิตให้กันเสียก่อน ให้มันบันเทิงก่อนได้ ให้มันตั้งมั่นก่อนได้ แล้วให้มันปล่อยเสียบ้าง ทีนี้ก็เป็นนายเหนือจิตพอตัวละ ก็ใช้จิตให้เป็นประโยชน์ ตามที่เราต้องการ ที่ถูกต้อง ที่ควร ที่ถูกต้อง อย่าไปใช้แสวงหาประโยชน์ไปในทางทุจริตเสีย ไปเอาเปรียบผู้อื่น ก็ด้วยการเห็นแก่ตัว ไปเอาเปรียบผู้อื่น ชาวโลกก็เป็นเสียอย่างนั้น เขาจะรู้เรื่องอะไร รู้เรื่องอะไร เขาก็เพื่อไปใช้ได้เปรียบผู้อื่น เอาประโยชน์ของผู้อื่นโดยผู้อื่นทัดทานไม่ได้ เขาเอามาได้ มันจิตวิทยา ที่มีอยู่ในการศึกษาในโลกปัจจุบัน มันจึงเลวร้ายที่สุด เพราะมันศึกษาแต่ การใช้จิต ให้ได้สร้างประโยชน์ เอาประโยชน์ แสวงหาประโยชน์ โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าถูกผิดอย่างไร ทว่าจิตวิทยาของพระพุทธเจ้า มันไม่ทำอย่างนั้น มันรู้เรื่องจิต ถ้าควบคุมจิตให้สงบเยือกเย็นเป็นนิพพานไปทางโน้น เดี๋ยวนี้จิตวิทยาในโลกนี้มันหลอกลวง แล้วโฆษณาโดยวิธีที่หลอกลวง ประพฤติกระทำโดยวิธีที่หลอกลวง ล้วงเอาประโยชน์ของผู้อื่นมาเป็นของตัว โดยไม่ให้รู้สึกตัว ให้เจ้าของเขาไม่ได้รู้สึกตัว มันก็รวยสิ มันก็รวย มันจิตวิทยาเพื่อประโยชน์ เพื่อความร่ำรวย โดยทำลายผู้อื่น โลกมันจึงไม่สงบ มีอำนาจขึ้นมา มันก็จะทำลาย โดยเอาประโยชน์จากที่มันด้อยกว่า ที่ต่ำกว่า เป็นธรรมชาติโง่ ๆ ตามธรรมชาติที่เขาพูดว่า ปลาใหญ่มันก็กินปลาเล็ก แต่ถ้าปลาเล็กมันฉลาดก็กินยากเหมือนกัน จริงอยู่ที่ว่า ต้องเจริญในทางจิตให้มันถูก หรือผิด ก็ไปฝึกจิต บันเทิง ต้องการเมื่อไหร่ ให้จิตตั้งมั่น รวมกำลังเข้มแข็ง แข็งแกร่งที่สุด แล้วก็ไปใช้ตัดความยึดมั่น โดยให้มันปล่อย ให้มันปล่อย เรียกว่าปล่อยสิ่งที่มันยึดมั่นอยู่ ไม่ว่าตัวกู ว่าของกู แม้ว่าถ้ามาทำมันให้สงบเสีย มันก็เท่ากับห้ามปล่อย และถ้าไม่สงบ แล้วมันก็ไปยึดมั่น ยึดมั่น ยึดมั่น แล้วเกิดกิเลส เกิดกิเลสนั่นน่ะ ถ้าควบคุมได้มันก็หยุด มันก็ไม่ ไม่ ไม่ยึดมั่น ไม่เกิดกิเลส เท่ากับจิตนั้นได้ปล่อยสิ่งที่ตนได้เคยยึดมั่นถือมั่นไปแล้ว ปราศจากการยึดมั่นถือมั่น ก็คือขั้นปล่อย 19.52 วิโมจะยัง จิตตัง หมายความว่าอย่างนี้ ทำจิตให้ปล่อย หายใจเข้าอยู่ หายใจออกอยู่ ดูๆ มันจะเป็นเรื่องใหญ่ลึกซึ้ง กว้างขวางมหาศาล มหาศาลอย่างเล่นทราย ในเรื่องเวทนาไปเสียเอง เรื่องสุดท้ายก็ พูดอย่างนั้น อย่างที่พูดมาแล้ว ทุกอย่างเป็นธรรมะ ตามธรรมชาติ ทุกอย่างเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ไม่ว่าบวก ไม่ว่าลบ ไม่ว่า กลาง ๆ ไม่บวก ไม่ลบ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ทุกอย่าง ๆ แม้ภายใน ก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ภายนอกก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ บวกกับน่ารัก ก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถืออีกแบบหนึ่ง เห็นหน้าเกลียดก็เป็นทุกข์ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถืออีกแบบหนึ่ง ยึดถือสำหรับเป็นทุกข์ ถ้าไม่ยึดถือวันทุกข์ มันก็ไม่มี ไม่มีปัญหา แม้มันจะเป็นลบ มันน่าเกลียด มันดุร้าย มันก็ไปยึดถือเอามาอีกอย่างหนึ่ง สำหรับเป็นทุกข์ เขาเรียกว่ายึดถือเหมือนกันนะ อย่าคิด ว่าถ้าไม่น่ารักแล้ว มันจะไม่ยึดถือ มันไม่ใช่อย่างนั้น ถ้าไม่น่ารัก มันยึดถือเอามาอีกรูปหนึ่ง สำหรับจะมาเป็นทุกข์นะ ถ้ามันน่ารัก ยึดถือมาแบบหนึ่ง สำหรับจะมาเป็นสุข แล้วมันก็ลองของมันอยู่ในตัว มีความสุข กับความทุกข์ มันเป็นเรื่องเล่นตลกอยู่ในตัว มอง มอง มอง ไปเถอะ จะพบว่าปัญหา ทั้งหลายแหล่มันสะดุดอยู่ที่ปัญหาเดียว ปัญหาเดียวคือความยึดถือ ถ้าไม่มีการยึดถือ มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น โลกมันไม่มีอะไรที่ยึดถือ มันก็ไม่มีปัญหา ถ้ามันเป็นที่ยึดถือไปเสียทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เป็นปัญหาไปหมด เดี๋ยวนี้การศึกษาในโลก มันไม่ได้เรียนเพื่อละการยึดถือ มันเรียนแต่แสวงหาที่น่ายึดถือมาให้มากกว่าเดิม การศึกษาในเรื่องโลกมันกำลังบ้า มหาวิทยาลัยทั้งโลกมันมีสอนแต่เรื่องที่ให้ดีกว่า ให้น่ารักกว่า มันน่ายึดถือกว่า ต้องให้ได้มากกว่า มันจะมีมหาวิทยาลัยอย่างนี้เต็มโลกโลกนี้ก็ไม่มีสันติภาพหรอก ถ้าไปพูดอย่างนี้ก็เหมือนไปด่าเขา แต่ความจริงเป็นอย่างนี้ ถ้าโลกมันมีการจัดการศึกษาถูกต้อง ก็จัดให้เรียนเรื่องไม่ยึดถือ เมื่อไม่ยึดถือมันก็ไม่เห็นแก่ตัว เมื่อไม่เห็นแก่ตัว มันก็ไม่มีเลวร้ายใด ๆ วิกฤตการณ์คือความเลวร้ายทั้งหลายทั้งปวงมันมาจากความยึดถือ ยึดถือในแง่ลบก็ตาม ยึดถือในแง่บวกก็ตาม หรือไม่แน่ว่าแง่ไหนก็ตาม มันเกิดปัญหาทั้งนั้น ซึ่งเป็นวิกฤตกาณ์ทั้งนั้นแหละ นั่นจึงเป็นสิ่งที่จริงเหมือนอย่างกับพระพุทธเจ้าตรัสนั่นแหละ โลกมันจะรอดอยู่ได้ด้วยธรรมมะนั่นแหละ ตถาคตเกิดขึ้นมาในโลก เพื่อให้โลกรู้ธรรมะ ใช้คำที่ไพเราะที่สุด ว่ารู้ธรรมะจนพูดได้เอง โดยไม่ต้องใช้คำพูดแห่งศาสดาตนนั่น หมายความว่าไม่ต้องพูดตามพระพุทธเจ้า ไม่ต้องยืมคำพระพุทธเจ้ามาพูด พูดได้ด้วยคำพูดของตนเอง เรียนรู้ธรรมะจนอธิบายธรรมะได้ โดยไม่ต้องพูดตามคำพูดของศาสดาของตน แล้วไม่ต้องยืมคำพระพุทธเจ้ามาพูด เรารู้เอง เห็นเอง ประจักษ์เอง เราก็พูดไปตามนั้นแหละ แล้วมันก็เหมือนกับที่พระพุทธเจ้าพูดนั่นแหละ นี่ส่วนพระพุทธเจ้าเองท่านตรัสอย่างนี้ ที่นี้เมื่อท่านจะปรินิพพานไป ท่านก็ตรัสไว้อีกข้อหนึ่งว่า เธอทั้งหลายจงช่วยให้สัตว์ทั้งปวง โลกทุกโลก รู้จักธรรมะโดยลักษณะอย่างนี้ เหมือนกัน เหมือนกัน เท่ากัน รู้จักธรรมะ จนอธิบายธรรมะ สามารถพูดธรรมะ อธิบายธรรมะ รู้ธรรมะได้ โดยไม่ต้อง ไม่ต้องพูดตามคำพูดแห่งศาสดาของตน ตัวเองตรัสรู้เอง พูดไปตามความตรัสรู้ของตัวเอง มันก็ตรงกันหมด เดี๋ยวนี้เราก็ได้ยื่นมือเข้ามาในลักษณะนี้แล้ว จะช่วยกันเผยแผ่ประกาศคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ ตามพระพุทธประสงค์ อย่าทำงานนี้เพื่อประโยชน์อย่างอื่นเลย ทำงานนี้เพื่อประโยชน์ให้ตรงตามพระพุทธประสงค์มอบกำลังกาย กำลังใจ ทั้งหมด ทำงานนี้ให้ตรงตามพระพุทธประสงค์ 25.30 นั่นน่ะคือปฏิปัตบูชา ปฏิปัตบูชา ตามพระพุทธประสงค์ บูชาพระพุทธองค์ด้วยปฏิบัตบูชา แล้วมันก็ไปตรงกับคำพูดที่ สำคัญที่สุดอีกคำหนึ่งว่า เธอทั้งหลายจงเป็นธรรมทายาทเถิด อย่าเป็นอามิตทายาทเลย ทายาทผู้รับมรดก สืบต่อมรดกของธรรมะเถิด อย่าเป็นทายาทโดยอามิตเลย โดยวัตถุ สิ่งของวัตถุ ถ้าเป็นวัตถุ ประโยชน์ทางวัตถุ นี่แหละอามิต เป็นกามารมณ์โดยเฉพาะนั่นแหละ เรียกอามิต ซึ่งเป็นธรรมะทายาท อย่าเป็นอามิตทายาท รู้แล้วละก็ ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ รู้แล้วก็สอนธรรมะ ประกาศธรรมะ เราก็เป็นธรรมะทายาท นี่เรียกว่าปฏิบัติตามพระพุทธประสงค์ เพื่อเป็นธรรมะทายาท มันก็เหนื่อยบ้าง มันก็เปลืองบ้าง แต่ว่าผลที่ได้รับมันเกินคาด อยากจะพูดสักหน่อย ว่ามันไม่มีคำว่ายากสำหรับเราหรอก 27.07 แต่มันยากนะถ้าไปทิ้งมันเสีย เพื่อปฏิบัติบูชาเพื่อธรรมะทายาท ไม่มีอะไรจะยากสำหรับเรา ในเมื่อถ้าเราสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไม่ใช่เราเสือกนะ ไม่ใช่เราเสือกมารับงานที่ยากน่ะ ที่เราทำตามตามที่เราควรจะทำ เกิดมาทีหนึ่งให้ได้สิ่งที่ดีที่สุด ที่มนุษย์ ควรจะได้ ศึกษาธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ มีธรรมะ ใช้ธรรมะ เผยแผ่ธรรมะ สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ทำ ต้องรู้ธรรมะก่อน แล้วปฏิบัติธรรมะ แล้วก็มีประโยชน์แล้วก็ปฏิบัติธรรมะ มีประโยชน์ มีธรรมะ ใช้ธรรมะ ใช้ธรรมะ ใช้ธรรมะ เสร็จแล้วก็สอนผู้อื่นให้รู้จักเป็นอย่างนั้น นี่คือเผยแผ่ธรรมะ การเรียนธรรมะ ศึกษาธรรมะ นี่น่ะกะเผื่อไว้บ้าง เพื่อเราจะช่วยผู้อื่นบ้าง อย่าเพื่อตัวเองโดยส่วนเดียว 28.45 ใช้โลกเวลา 5 น. เพิ่มขึ้นอีกถ้าเวลามันไม่พอ
เสียงการสอบถามหลวงพ่อ
เรื่องของการทำนิมิตในขั้นที่ สี่ นี่ นิมิตที่เกิดขึ้นเอง จากนิมิตที่เราทำให้เกิดขึ้น มันไม่มีประโยชน์ในการที่จะทำให้จิตสงบนั้น มีความเหมือนกันไหม นั่นอย่างหนึ่ง และก็อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า ผู้ที่กระทำนิมิตให้เกิดขึ้น เพื่อที่จะประโยชน์ในการทำจิตให้สงบ ระงับนั้น
ปัญหานี้ไม่ถูกกต้อง เป็นปัญหาที่ไม่ถูกต้อง เรื่องที่เกิดเองมันไม่มีนี่ มันก็มีแต่อันตั้งใจที่จะให้เกิด มันจึงจะเกิด เกิดเอง มันไม่มี
มิได้เจ้าค่ะ ที่เขาพูดกันว่า ทีทำปฏิบัติสมาธิไป ก็จะมีนิมิต เห็นแสง เห็นสี หรือได้ยินเสียง หรือเห็นภาพ หรือรูป นี่เป็นคำถามที่มาจาผู้ปฏิบัติ
เออ ถ้าอย่างนั้นก็เรียกว่า อุปสรรค อุปสรรคของสมาธิ ถ้าเราต้องตั้งใจสงบ มันก็ไปฟุ้งซ่านเสีย จะเรียกว่ามันเกิดเอง ก็เพราะว่า เราไม่รู้ว่ามันเกิดมาจากอะไร มันจะเกิดเอง โดยไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยไม่ได้ มันต้องมีเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด
แล้วทีนี้ก็มีคำถามต่อไปสำหรับผู้ที่เขามาฝึกว่า ถ้าสมมติว่าเรากำหนดนิมิตให้เกิดขึ้นอย่างนี้แล้ว จะทำให้เกิดความยึดถือในนิมิตนั้นขึ้นหรือไม่
ถ้าจะโง่ก็ไปยึดถือ นิมิตที่แปลกก็เกิดขึ้นใหม่ จะยึดถือเป็นของดี เป็นของได้ ไปยึดถือเสียตั้งแต่ต้นอย่างนี้ นิมิตนี้มันก็กลายเป็นอุปสรรคไป ไม่ใช่เป็นเครื่องประกอบที่จะให้สำเร็จ ก็สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดถืออยู่แล้ว
มิได้เจ้าค่ะ คือเพราะเหตุว่า เขาเป็นผู้ปฏิบัติใหม่ เขาจึงมีความสงสัยว่า ถ้าสมมติว่า เรามากำหนดนิมิตให้เกิดขึ้น จะเป็นนิมิตในรูปใดก็ตาม เมื่อกำหนดและก็จ้องอยู่ที่จุดนั้น ในขณะที่เรากำหนดเป็น 31.05 อุปหนิมิต แล้วเสร็จแล้วเราก็ทดลองทำ เพื่อให้เป็นปฏิภาคนิมิต ทีนี้เขาถามว่า เช่นนี้จะมีทางที่ทำให้เกิดความยึดถือในนิมิตนั้นขึ้นมาได้หรือไม่
ไม่ยึดถือด้วยประการทั้งปวง ในนิมิตก็ไม่ยึดถือ ในการปฏิบัติก็ใม่ยึดถือ ในคนที่ต้องการปฏิบัติ ก็ไม่ยึดถือ เรียกว่าเตรียมตัวพร้อม เพราะเราไม่ยึดถือในสิ่งทั้งปวง
คือสำหรับผู้ที่ฝึกปฏิบัติโดยใช้ระยะเวลานาน ไม่ใช่เพียงแค่ เจ็ดวัน สิบวัน คือใช้เวลานานจนกระทั่งเขามีความมั่นคง แล้วก็ช่ำชอง แม่นยำ ในทุกระดับของการปฏิบัติ ดิฉันเชื่อว่า ก็คงจะทำได้ แต่สำหรับในระยะเวลาที่มาอบรม เพียงชั่วเจ็ดวัน สิบวันนี่ ดิฉันคิดว่า คงทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นในการสอน ดิฉันมักจะข้ามในเรื่องของนิมิตในขั้นที่สี่ คือที่จะให้กำหนดนิมิตที่จะทำให้ลมหายใจสงบ ระงับ เจ้าค่ะ ดิฉันจะไม่พูดถึง ที่ไม่พูดถึง เพราะกลัวความสับสน ในระหว่างนิมิตที่เป็นความเชื่อของผู้ปฏิบัติโดยทั่วไปที่คิดว่าจะเกิดขึ้น
ไปใช้คำพูดผิด ไปใช้คำพูดผิด สำหรับการไม่ยึดถือ เราพอใจได้ พอใจในผลของการกระทำ ทำมาสำเร็จเท่าไร ก็พอใจโดยธรรมะ อย่าพอใจโดยกิเลส ถ้าพอใจโดยกิเลส มันก็กลายเป็นความยึดมั่นถือมั่น ถ้าพอใจด้วยสติปัญญา คือฉันธะ มันจะมีกำลัง สำหรับปฏิบัติต่อไป ฉันธะอย่างนี้ไม่ใช่ความยึดมั่น ถือมั่น และถ้ากิเลสหรืออวิชชามันแทรกเข้ามา มันกลายเป็นความยึดมั่น ถือมั่น ก็ได้ ครูดีแล้ว เดี๋ยวนี้ครูตรัสรู้ได้ อะไรได้ ก็ไปยึดมั่นถือมั่น เพราะฉะนั้นขอให้เขารู้จักว่าอย่างนี้ก็คือประสบความสำเร็จ นั่นก็พอใจสำหรับจะทำให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป ความยึดมั่น ถือมั่น เข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ ถ้ามาเกี่ยวข้องด้วยเมื่อใดก็เป็นผิดเมื่อนั้นน่ะ และก็เป็นอันตราย และเป็นอุปสรรค ของวิปัสสนาเมื่อนั้นแหละ เพราะฉะนั้นไอ้ความฟุ้งซ่านที่เกิดขึ้นเอง ก็มาแทรกแซงนั่นก็เรียกว่า ข้าศึก ข้าศึกของวิปัสสนา มันเกิดอยู่ตามธรรมชาติ เช่น ความไม่สงบ ธรรมชาติ จิตที่มักใฝ่หาอารมณ์ พอจะทำสมาธิ จิตก็ไปหาอารมณ์ ดังนั้นต้องถือว่ามันมีอยู่แล้วตามธรรมชาติล่ะ แต่ที่เราจะทำให้เกิดขึ้น ก็เพื่อจะขจัดสิ่งเหล่านั้นแหละ ขจัดสิ่งที่มีอยู่เองตามธรรมชาติ อย่าให้มารบกวน และก้าวหน้าไปตามทางที่เราจัดให้มันทำ ตามวิธิที่ถูกต้องอันใหม่ และก็ไปถึงจุดหมายปลายทางเสีย ก็ขอให้เขาถือเป็นหลักเด็ดขาดว่า ความยึดมั่น ถือมั่น เอาเข้ามาเกี่ยวข้องไม่ได้ แม้ว่าเราจะประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ ถ้าเราเกิดความยึดมั่น ถือมั่น ขึ้นในความสำเร็จ ประสบความสำเร็จ แล้วมันจะกลายเป็นความไม่สำเร็จ มันกลายรูปเป็นของใหม่ 34.16…….การฝึกใหม่ อุปสรรคใหม่ ไม่มีการยึดมั่น ถือมั่น เรื่อย ๆ ไป จนบรรลุมรรถผลนิพพาน ความยึดมั่น ถือมั่น จะเข้ามาเกี่ยวข้องในกรอบวงของ อาปาณสติไม่ได้ ถ้าเข้ามาก็เป็นอุปสรรค เป็นข้าศึก ได้แต่ความดีใจ หรือปีติ ปราโมทย์ ถ้าไปยึดมัน ก็กลายเป็นกิเลสไป เราควบคุมปีติ และสุข อย่าให้มันเป็นเรื่องของความยึดมั่นถือมั่น มันเป็นอิสระ มากขึ้นทุกที นี่มันเป็นข้อปลีกย่อย แต่มันก็ลึกซึ้งเหมือนกัน 34.35
มีนักศึกษาของ 34.38.....สตาร์ยูนิเวอร์ซิตี้ ยังมีคำถามอันนี้มาเลยค่ะ มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องของนิมิต ในขั้นที่สี่ ของหมวดหนึ่ง
นั่นแหละนี่มันตั้งใจมานี่ มาทำนี่เพื่อมาทำความยึดมั่น ถือมั่นล่วงหน้า
เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ ไม่ทราบว่าดิฉันจะเข้าใจถูกหรือไม่ว่า จะต้องระมัดระวังสำหรับผู้ฝึกปฏิบัติใหม่ ที่เพียงในระยะเวลาเพียงแค่ เจ็ดวัน สิบวัน
ไม่มีความยึดมั่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
เพราะเขายังเต็มไปด้วยความยึดมั่น
ถ้ามีความหวัง ขอให้หวังด้วยสติปัญญา และถ้ามีสติปัญญา มาเกี่ยวข้องในความหวัง และก็ไม่ใช่กิเลส 35.53 คำว่าโฮปนั่นน่ะ ระวังให้ดี ๆ ถ้าหากมันโฮปด้วยวิชชา ถ้ามันโฮปด้วยอวิชชา มันก็เป็นกิเลส ตัณหา ถ้ามันโฮปด้วยวิชชา สติปัญญา มันก็ไม่ใช่เป็นกิเลส ตัณหา มันเป็นสัมมาสังกัปปะ ที่เรียกว่า at fight activation หวังด้วยสติปัญญา หวังด้วยความถูกต้อง ถ้ามันหวังด้วยกิเลสตัณหา มันไปหาความทุกข์ พวกนี้จะต้องรู้จักหวังให้ถูกต้องเสียก่อน อย่าพูดแต่หวัง ๆ ๆ ๆ ให้หวังด้วยสติปัญญา อย่ามี desireอย่ามี saving มาศึกษา และ activation แล้วก็มาศึกษา มันก็จะปลอดภัยอยู่ในตัวมันเอง เห็นไหมว่าปัญหายุ่งยากลำบากมันมีอยู่มากที่คำพูด คำพูดทั้งสิ้น ความยากลำบาก เข้าใจไม่ได้ เพราะว่าคำพูดมันให้ความหมายคนละอย่าง คำพูดคำเดียวมันให้ความหมายคนละอย่าง มันเลยเข้าใจกันไม่ได้ ดีเมื่อศึกษาธรรมะ ก็ต้องศึกษาพวกคำพูด ให้ถูกต้อง เช่น คำว่า อนัตตา นั่นสำคัญ ๆ ที่สุด ถ้าสึ่อความหมายผิด มันก็เป็นเรื่อง เรื่องร้ายซะ อนัตตา ไม่ใช่ตน มันเข้าใจผิดเป็นไม่มีตน อย่างนี้มันขัดขวางไปหมด ตนของความโง่มันมีอยู่ตลอดเวลา มันจึงว่าไม่ใช่ตนที่แท้จริง อนัตตา ต้องใช้ ต้องมีระบบคำพูดสำหรับธรรมะ คำบัญญัตเฉพาะสำหรับธรรมะ เทคนิคบันเทิงสำหรับธรรมะมีเฉพาะ ใช้ให้มันถูกต้อง
แล้วมีอีกคำถามหนึ่ง ในหมวดที่สาม หมวดที่เกี่ยวกับจิตนี่นะคะ ในระหว่างขั้นที่สาม กับขั้นที่สี่ ที่บอกว่า ขั้นที่สาม ทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น และขั้นที่สี่ ทำให้จิตปล่อย ก็จะมี ถ้าหากว่าในขั้นที่สาม ที่บอกว่าทำให้จิตสงบ ตั้งมั่นนั้น จากความบันเทิงให้สงบนิ่งเฉยเฉย โดยไม่อธิบายว่ามันเป็นลักษณะของสมาธิที่เป็นจิตที่บริสุทธิ ตั้งมั่น พร้อมที่จะทำการงาน มีความว่องไวเฉียบแหลม ถ้าไม่พูดอย่างนั้น พอไปถึงขั้นที่สี่ ที่บอกว่าให้เป็นจิตปล่อย คือปล่อยจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงก็พอจะเข้าใจ คือผู้ฟังพอจะเข้าใจ แต่ถ้าพูดว่าในขั้นที่สามนั้นทำให้จิตสงบ เป็นสมาธิ และก็อธิบายถึงคุณสมบัตของความเป็นจิต เป็นสมาธิ พอไปถึงขั้นที่สี่ เขาจะไม่เข้าใจว่าจิตปล่อยนั้น มันต่างกันอย่างไร เพราะฉะนั้น อันนี้ก็อยากจะกราบเรียนถามท่านอาจารย์ว่า ในขั้นที่สามของหมวดที่สามนี้ ที่ว่าทำให้จิตสงบ ตั้งมั่น คือให้เพียงสงบนิ่งเฉย ๆ และก็พอเมื่อจิตปล่อย ก็คือปล่อยออกจากความยึดมั่นถือมั่นทั้งปวง ซึ่งจะเป็นจิตที่เป็นอิสระอยู่เหนือนั้น ถึงแม้ว่ามันจะยังมิใช่เป็นจิตที่สามารถจะทำได้จริง แต่อย่างน้อยก็ได้ลิ้มรสในขณะนั้น ว่าจิตปล่อยนั้นคือมีลักษณะอย่างไร
นี่มันคือมันไม่เข้าใจคำพูด แล้วก็ตั้งปัญหาปลีกย่อย เป็นออกนอกลู่นอกทาง ให้เป็นอุปสรรคในการอธิบาย หรือในการปฏิบัติ มันต้องสามารถทำจิตให้บันเทิง หมายความว่า ๆ บังคับจิตได้ ถ้าจิตห่อเหี่ยวอยู่ มันทำสมาธิไม่ได้นี่ เมื่อทำจิตให้บันเทิงได้แล้ว มันจึงสามารถทำจิตให้ตั้งมั่น แล้วก็ความตั้งมั่นเป็นสมาธิ เป็นฌาณ เป็นสมาธิ มันมีก็เป็นปีติองค์หนึ่ง เป็นแฟคเตอร์หนึ่งหล่อเลี้ยงอยู่ด้วย ฉะนั้นเรายังจะสามารถทำจิตให้บันเทิงเอง มีความสุขหรือมีปีตินี่ เป็นองค์ประกอบส่วนหนึ่งของความเป็นสมาธิ เมื่อจิตบันเทิง ร่าเริง และสามารถทำให้สงบ เป็นสมาธิได้ ไม่ได้ผลัดกันนะ และมันเป็นสมาธิแล้ว มันมีปัญญา แล้วมันก็ปล่อย ๆ เอง มันไม่มาหลงไม่บันเทิง หรือหลงไอ้ความสุข ไม่หลงความสุขในฌาณ ไม่หลงความสุขในสมาธิ มันจึงมีการปล่อย สิ่งใดเป็นความยึดมั่นถือมั่น มันก็เกิดทุกข์ แล้วมันก็ปล่อยหมด ถ้ามายึดมั่นถือมั่นในความบันเทิง หรือความสุขอีก มันก็กลับมาเป็นทุกข์อีก แม้ผลของสมาธิจะเป็นความสุขออกมาก็ต้องไม่ยึดมั่นถือมั่น ใช้เป็นเพื่อเป็นวิปัสสนา และเรื่องของสมาธิ แม้แต่ความสุขจากสมาธิก็อุดหนุนแต่วิปัสสนา จิตใจร่าเริง บันเทิง มันก็มีวิปัสสนาได้โดยง่าย แจ่มใสผ่องใส จึงเป็นวิปัสสนาที่ดี จึงไม่ยึดมั่นถือมัน ปัจจัยแห่งวิปัสสนาด้วย ไม่ยึดมั่นตัววิปัสสนาด้วย ไม่ยึดมั่นแล้วมันพ้นที่เกิดจากวิปัสสนาด้วย เรื่องมันก็จบ
คือปัญหาที่มันเกิดขึ้นเพราะว่า ผู้ปฏิบัติยังปฏิบัติในระยะสั้น ยังไม่มีความชำนาญ และก็ที่จะเข้าใจอันเป็นความแตกต่างที่ละเอียดที่จะเกิดจากการเห็นข้างใน ปัญหาจึงเกิดขึ้นนะคะ
ระบบ 42.08 รัดสั้นมันต้องถูกต้อง ผู้จะนำคนในระบบรัดสั้นมันต้องเก่งกว่า ระบบ นะ ระบบมันบูด เดินทางลัดมันยากกว่าเดินทางธรรมดา บอกชาวต่างประเทศว่ามาศึกษาพุทธศาสนานี้ เพื่อทำลายความยึดมั่นถือมั่น เพราะนั่นเป็นหัวใจพุทธศาสนา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงอันใดไม่ควรยึดมั่นถือมั่น นี่มันหมายมั่นจะมาเอาประโยชน์อะไรที่เหนือผู้อื่น ได้เปรียบผู้อื่น นี่มันผิดตั้งแต่ทีแรกแล้ว เดี๋ยวนี้มันก็เลยเป็นบ้า 42.47.......มหาวิทยาลัยพวกนี้ มันก็มุ่ง ๆ ประโยชน์ มุ่งประโยชน์อย่างคนธรรมดามุ่ง ไม่ได้มุ่งประโยชน์เหนือโลก เหนือปัญหา แต่นักเศรษฐกิจ อาจารย์ผู้สอนเศรษฐกิจ ที่มาคุยด้วย มันมุ่งเศรฐกิจที่จะกอบโกย ไม่ใช่มุ่งเศรษฐกิจเพื่อผลอันเลิศที่อยู่เหนือการกอบโกย เราแนะนำให้รู้จักพุทธศานาอย่างถูกต้อง เพื่อไม่ยึดมั่น ถือมั่น เพื่อไม่เอาเข้ามา เป็นการกอบโกย เพราะฉะนั้นจึงมีความสำคัญมากที่จะต้องเข้าใจ ไอ้คำ หรือประโยคอะไรก็ตามที่สั้น ๆๆ ๆ ที่มันเป็นหลักธรรมะที่แท้จริง ดังที่ได้พูดมาแล้ว วันแรกหลาย ๆ คำ คำเหล่านั้นแหละเป็นหลักที่สำคัญ ไม่ใช่เป็นคำพูดสั้น ๆ เพียงประโยคเดียว ครึ่งประโยค มันมีอยู่หลาย ๆ หลายคำพูดนั่นแหละ ต้องเข้าใจให้แตกฉานในคำพูดเหล่านั้น ไม่ยึดมั่น ไม่ต้องการแม้แต่ความสุขน่ะ ไม่ต้องการอะไรสักอย่างน่ะ ถ้าอยู่เหนือความสุข 44.33 ฉันไม่ต้องการ มันก็ทำกันไม่ได้ ต้องการอิสระเสรีภาพ เหนือสุขเหนือทุกข์ เหนือทุกๆอย่าง ถ้าเขาเข้าใจ ก็คงจะพอใจความต้องการ แต่ที่นี้ก็ต้องการความเอร็ดอร่อย อยากเป็นทาสของความเอร็ดอร่อย อย่างนี้จะพูดกันรู้เรื่องที่ไหน แม้แต่ความสุข ฉันก็ไม่เป็นทาสของมัน เพราะฉะนั้นนิพพาน จึงอยู่เหนือสุข ๆ ไม่ใช่เรื่อง แต่ถ้าพูดภาษาธรรมว่า คนเดินถนนก็ต้องพูดว่านิพพานเป็นสุข และถ้าพูดกับผู้มีปัญญา ก็ต้องพูดว่านิพพานนี่มันอยู่เหนือสุข นี่พวกฝรั่งเหล่านี้อยู่ในพวกไหน เป็นโปรเฟซเซอร์มาแล้ว แล้วยังอยู่ในพวกไหน มันแสวงหาความสุขทั่วไป เมามายในความสุข บันทึกไว้มาก ๆ บันทึกให้ครบหลักที่เป็นหัวข้อหลักของธรรมะนั่นล่ะ มันก็คือพุทธภาษิตสั้น ๆ สั้น ๆ สงสารคุณวิโรจน์ แกยึดมั่นมานานแล้ว ถือมานานแล้วว่า ดับทุกข์ทั้งปวงด้วยสัมมาทิฐิ อย่างนี้ ที่มาสองสามวันนี่ มาพูดว่า สัมมาทิฐิต้องมารับใช้สัมมาสมาธิ แกผิดหมดแล้ว ผิดหมดแล้ว สัมมาทิฐิต้องมารับใช้สัมมาสมาธิน่ะ ไม่ใช่เป็นแต่ประธาน เป็นใหญ่สูงสุด สัมมาสมาธิต้องเป็นประธาน เป็นแม่ทัพหลวง สัมมาทิฐิ เป็นผู้กองนำหน้า เป็นองค์ประกอบ ของเสนาธิการเท่านั้นนะ ไม่ใช่แม่ทัพหลวง เรียกว่าขัดละ คำสอนนี้ใช้ไม่ได้ละ คำพูดนี้ใช้ไม่ได้แล้ว ผิดแล้ว ต้องพูดว่าสัมมาทิฐิทำให้พ้นจากความทุกข์ทั้งปวงแล้วทำไมต้องมารับใช้สัมมาสมาธิ เพราะแกไม่เคยได้ยิน ไม่เคยได้ฟังคำนี้มาก่อนว่า ทั้งเจ็ดองค์ของมรรคต้องมารับใช้องค์สุดท้ายนี่ สัมมาสมาธิ นี่เพียงแต่คำพูดเท่านั้นนะ คำพูดสั้นๆ ที่เป็นหลักน่ะ แต่มันผิดเพราะมันผิด ถ้าเข้าใจผิดมันก็ผิด เข้าใจถูกต้องกันเสียให้หมด หัวข้อธรรมะ เขาเรียกว่าหัวข้อธรรมะ หรือหลักธรรมะ ต้องมีพอ ต้องถูกต้อง ในบางกรณีก็พูดยาก ในบางกรณีมันก็พูดอย่าง จนบางกรณีต้องพูดว่าปากอย่าง ใจอย่าง ปากพูดตามธรรมดา อยากยึดถือแต่ใจไม่ยึดถืออย่างนี้ มันก็ผิดหลัก ผิดหลักศีลธรรมเสียมากกว่า ถ้าปากกับใจตรงกัน คำพูด ใช้สำเร็จประโยชน์ที่สุด แต่คำพูดก็เป็นปัญหาที่สุด เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาที่สุด
คำพูด เวลาที่ฟังเขาจะเข้าใจ เข้าใจโดยสมอง โดยสติปัญญา ที่เรียกว่า 47.58................ แต่ว่าเมื่อถึงเวลาที่ปฏิบัติ เพราะเวลามันน้อย และการปฏิบัตินี้มันไม่ได้ไปทีละขั้นอย่างชัดเจน มันจึงจะขึ้นขั้นต่อไป มันจึงเกิดปัญหา ก็เลยกำลังนึกอยู่ว่า ในการสอนนี้จะต้องมีระดับหลายระดับ อย่างน้อย ๆ สามระดับในการสอน สำหรับคนคอสสั้น สิบวัน จะต้องในระดับหนึ่ง
มันมีแนวที่ถูกต้อง ให้แนวที่ถูกต้อง มันจึงจะใช้ได้ ไอ้วันนั้นมันไม่แน่ มันไม่แน่ บางคนตลอดชาติมันก็ทำไม่ได้ บางคนไม่กี่นาทีมันก็ทำได้ ไอ้วันนี่มันเป็นเรื่องกำหนดยาก เดี๋ยวนี้เอาแต่เพียงว่า สิบวัน รู้วิธีปฏิบัติสำหรับไปปฏิบัติด้วยตนเอง ต่อไปข้างหน้า มันก็ถมไปแล้ว สิบวันรู้เพียงวิธีปฏิบัติ ไม่ใช่ปฏิบัติสำเร็จ แต่ก็มีบางอย่างที่เราปฏิบัติสำเร็จ เล็ก ๆ น้อย ๆ สิบวันพอที่จะเรียนรู้ว่า จะปฏิบัติอย่างไร จะได้ลองปฏิบัติเพื่อเป็นตัวอย่างมาบ้างแล้วก็ได้ เช่น ปฏิบัติ อนาปาติ บางอย่าง เป็นตัวอย่างมาแล้วก็ได้ แล้วก็เอาไปปฏิบัติต่อไป ๆ ในอนาคตจนมันจบของมันเอง ใครจะไปบอกได้ว่ากี่วัน มีคนถามคำนี้มากว่า จะปฏิบัติกี่เดือน กี่ปี อาตมาบอกไม่รู้ ไม่รู้ แล้วแต่ว่าโง่ หรือฉลาด
คำถามนี้มีเสมอน่ะค่ะ แต่ดิฉันก็บอกว่า ต้องให้ความยุติธรรมแก่ธรรมะ ในเมื่อตลอดชีวิตของเขา เขาอยู่ภายใต้กิเลส และพอเข้ามาหาธรรมะไม่กี่วัน แล้วเขาจะหวังว่าให้ธรรมะบันดาลอะไรให้ ไม่ใช่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ต้องให้ความยุติธรรมกับธรรมะ คือให้เวลาในการปฏิบัติ
ที่เราพูดเป็นสิบวันขึ้นมาสำหรับที่นี่ เราประมาณว่า พอสำหรับจะรู้วิธีที่จะไปปฏิบัติ ไม่ได้พูดว่าสำเร็จในการปฏิบัติได้ในสิบวัน แต่มันก็แปลกดีที่ว่า ถ้ามันฉลาด มันมีอะไรมาก่อนมากพอแล้ว สิบนาทีก็อาจจะรู้ได้
ยังไม่เคยมีอันนี้ ตั้งกี่พันคนมาแล้ว ยังไม่เคยพบ เพียงแต่ว่า บางคนที่ทิฐิน้อย เขาก็ยอมรับ ยอมรับว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่เขาจะนำไปปฏิบัติต่อไปได้
ก็ต้องเห็นจริงเสียก่อน เขาจึงจะยอมรับ อย่าให้เขายอมรับทั้ง ๆ ที่ยังไม่เห็นจริง ยอมรับด้วยการโฆษณา ยอมรับโดยการชี้ชวน อย่างนี้มันก็ไม่ได้ ให้ศรัทธามาทีหลังปัญญา ซึ่งคำพูดสั้น ๆ ศรัทธามาทีหลังปัญญา โดยหัวข้อธรรมะที่คำถาม ก็ต้องระมัดระวังให้มันเป็นไปอย่างนั้น อย่าให้ศรัทธามาก่อนปัญญา มันจะยุ่ง แล้วศรัทธามันจะสูงสุดก็ต่อเมื่อดับทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง นี่เรียกว่าหลักธรรมะเฉพาะข้อ เฉพาะข้อ ศรัทธามาทีหลังปัญญา สูงสุดได้เมื่อปฏิบัติสำเร็จแล้วดับทุกข์จริง ๆ แล้วศรัทธาอย่างสูงสุด ถ้ามันมีหลักอย่างนี้ผิด มันก็ชวนผิดกันได้ ก็มากเหมือนกัน เช่น พวกหนึ่งสอนว่ากิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลา เราบอกกิเลสเกิดเป็นครั้งคราวเมื่อมีเหตุมีปัจจัย เลยทะเลาะกัน พวกหนึ่งพวกกิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลา จนตายแล้วพาไปด้วยแล้วไปเกิดตลอดเวลา ชาติหน้า อย่างนี้ก็มีสอนนี่ อย่าออกชื่อ เดี๋ยวมันผิด เดี๋ยวมันแย่อย่าไปออกชื่อเลย พวกไหน หรือคณะไหน หรือส่วนไหน แต่ถ้าตามพระพุทธศานาแท้จริง กิเลสเกิดเมื่อมีเหตุมีปัจจัยเท่านั้น ระหว่างที่ไม่มีเหตุมีปัจจัย มันหายไปไหนก็ไม่รู้ หรือว่ามันไม่มาเกิด จิตก็ว่าง ว่างชั่วคราว บริสุทธิชั่วคราว เขายืนยันกันว่าก็กิเลสเกิดอยู่ตลอดเวลา อวิชชามีอยู่ตลอดเวลา มันก็น่าฟัง เอาความโง่มีอยู่ตลอดเวลา มันก็น่าฟัง แต่ธรรมะแท้ อวิชชา เกิดเป็นคราว ๆ เมื่อมีเหตุปัจจัยที่ให้มันเกิด แล้วมันก็วิ่งเข้ามาเกิด ตามธรรมดามันเป็นทาสตามธรรมชาติอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ พอมีโอกาสจะเกิด 52.50 ในผัสสะมันก็มาเกิด ในเวทนามันก็มาเกิด เรียกว่ามันมา มันเกิดชั่วคราวเมื่อมีโอกาส หรือมีปัจจัย สำหรับจะเกิดอวิชชา แล้วก็มีอาจารย์ชั้นผู้ใหญ่ ชั้นครูสอน โมหะ หรืออวิชชานี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ไม่ขาดตอน ไม่ขาดตอน มันก็เป็นผิด เป็น 53.12 สัตย์ตรรกะไปเสียอีก ในสิ่งที่สัตย์ตรรกะเกิดขึ้นตลอดเวลา มันก็ผิด ผิดหลักใหญ่ไปเสียอีก ระวังเถิด ไปรวบรวมคำสอนที่เป็นหัวข้อ สั้น ๆ สั้น ๆ ไว้ให้ดี ๆ พระพุทธภาษิต ถ้าเอามาใช้จริง ๆ บางทีมันก็ค้านกันเอง ค้านกันเอง เราไม่เข้าใจให้ถูกต้อง มันจึงมาค้านกันเอง นี่ก็เรียกว่าพึ่งตน ก็พึ่ง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือบางทีก็จัดว่า พึ่งตน ๆ บางทีก็ว่า ตนไม่มีโว๊ย ถ้าฟังไม่ดีมันก็ค้านกัน ค้านกัน หกคะเมนไปกเรื่อย แล้วก็ว่าตนไม่มีโว๊ย ก็ต้องพึ่งตน ๆ มันจะจำกันไว้บ้าง คำเหล่านี้น่าจะจำไว้บ้าง แล้วก็เข้าใจถูกต้องไม่มีตน บางทีก็พูดว่าอย่างนี้ บางทีก็พูดว่า พึ่งตน ๆ นี่ก็เรียกว่าธรรมะเป็นของละเอียดลึกซึ้ง ก็ถูก อย่าทำเล่นกับมัน ถ้าเป็นเรื่องนิพพาน ก็ลึกซึ้งถึงที่สุดกว่าสิ่งใด ๆ ทีบางคนมาฟังพระพุทธเจ้าพูดไม่กี่นาที ไม่กี่คำ บรรลุพระอรหันต์ มันมีทุนเดิมมามาก มีทุนเดิมมามาก เกือบ ๆ จะนั่น ดอกไม้ที่เกือบจะบานอยู่แล้ว ได้แสงแดดนิดเดียวก็บานแล้ว แต่ถ้าเป็นดอกไม้ยังอ่อนอยู่ ยังอยู่ในขั้ว มันบานไม่ได้แล้ว แสงแดดจะส่องเท่าไรมันก็ไม่บาน
ท่านอาจารย์เจ้าคะ พอ ๆ ถ้าพูดถึงทุนเดิม อันนี้ ก็มักจะมีคำถามบ่อย ๆ ก็ย้อนกลับมาคำถามเก่า ที่พูดกันไม่รู้แล้ว นั่นก็คือว่า ไอ้ทุนเดิมนี้มาจากไหน
ทุนเดิมถูกต้องก็มี ทุนเดิมไม่ถูกต้องก็มี ทุนเดิมคือสิ่งแวดล้อมที่ได้แวดล้อมเรามาตั้งแต่เกิด มาจากท้องมารดาโตขึ้นทุกวัน ๆ ๆ จนโต สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อมที่ทำให้เกิดความรู้ ความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง นี่คือทุนเดิม หรือทุนเดิมอีกทีหนึ่งว่า คน ๆ นั้นก็ไปศึกษาในสำนักต่าง ๆ 55.45 หรือได้ราศีอื่น ๆ ต่าง ๆ มาแล้ว มันขจัดความผิดพลาดออกไปได้มากแล้ว ที่พอมาหาพระพุทธเจ้าไม่กี่นาที มันเป็น พระอรหันต์เหมือนกัน นี่ก็เรียกว่าทุนเดิม ทุนเดิม สำหรับจะเดินไปให้ถูกต้อง มันมีมากอยู่แล้ว อย่างปัญจวัคคี อย่างนี้น่ะก็คิดดูไม่ต้องพูดเรื่อง ขันธ์ 5 คืออะไร พระพุทธเจ้าไม่ต้องมาสอนขันธ์ 5 คืออะไร ไม่ต้องมาสอน บอกแต่ว่ามันเป็นอนัตตา แล้วที่มันเป็นอนัตตา เพราะมันรู้จักขันธ์ 5 ดีอยู่แล้ว นี่ถ้าพวกเราไม่รู้จัก ขันธ์ 5 สอนอย่างนั้นได้ที่ไหนล่ะ มันต้องมาสอน ขันธ์ 5 คืออะไร ขันธ์ 5 คืออะไร นี่เรียกว่ามันไม่มีทุนเดิม ไอ้เรื่องรูปฌาณ ปฐมฌาณ 56.35…….พวกที่เขารู้อยู่ตอนนี้ไม่ต้องสอนนี่ มันมีอยู่แล้ว มันมีอยู่แล้ว แต่ตอนต่อไปมันต้องใช้สมาธิเหล่านั้นเพื่อวิปัสสนา รู้ว่าวิมุต เป็นอะไร เรียกว่ามีทุนเดิมมากอยู่แล้ว ไปสอนพวกฤาษี มุนี ที่มีฌาณ มีสมาธิ มีสมาบัติมาแล้ว มันก็ง่ายกว่าเพราะมันมีทุนเดิม คือมันขึ้นไปหลายขั้นบันไดแล้ว มันเหลือขั้นสุดท้าย ไม่กี่ขั้นแล้ว อาตมาสอนคนไม่รู้อะไรมันก็ไม่ ๆ เป็นปุถุชนเต็มทีเรียนไปแล้วว่าโอ้ ธรรมะนั้นไม่สนุก ธรรมะนี้ไม่สนุกไปรำวงดีกว่า พระพุทธเจ้าท่านถูกด่า ว่าทำให้คนเป็นหม้าย ผู้หญิงก็ด่าพระพุทธเจ้านี่ดีแต่ทำคนให้เป็นหม้าย ทำให้คนออกไปจากโลก บางทีก็ใช้คำว่าออกไปจากโลกนั่นคือความวินาศฉิบหายหมด พระพุทธเจ้ากลายเป็นผู้ทำความวินาศ นี่คำด่าพระพุทธเจ้า มีอยู่ประมาณ เก้าคำ ถึงสิบคำ พระพุทธเจ้าว่าโอ้ ฉันไม่ได้ทำใครให้วินาศหรอก ฉันทำกิเลศให้วินาศ ฉันไม่ได้ทำใครให้วินาศหรอก แต่ทำกิเลสให้วินาศ ถ้าเรียนกันให้ดี ๆ มันก็สนุก เรียนธรรมะมันก็สนุก ถ้าเรียนกันไม่ถูกต้อง มันก็น่าเบื่อ น่าเบื่อเหลือประมาณ เรียนธรรมะ ที่ตัวสิ่งนั้น ๆ ไม่ว่าเรียนธรรมะจากพระไตรปิฏก หรือจากไหน พระไตรปิฏกมันก็บอกวิธีเรียนจากสิ่งนั้น ๆ นี่เราก็เรียนจากสิ่งนั้น ๆ อยากรู้ รู้ รู้ธรรมะ นั่นล่ะการามสูตร เรียนเรื่องกิเลศ ก็เรียนจากตัวกิเลศ ไม่ต้องเรียนจากพระไตรปิฏก ถ้าพระพุทธเจ้าตรัสว่ากิเลสเป็นเหตุให้ทุกข์ เราก็ไม่เชื่อ เราก็เห็นกิเลสเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เราก็เชื่อ ตาของเราที่เห็นว่ากิเลสเป็นเหตุให้ทุกข์ นี่เราก็จะเชื่อตัวเราเอง เราเห็นธรรมะที่ตัวสิ่งนั้น ๆ ข้าพเจ้าต้องการอย่างนี้ แต่ลูกศิษย์ไม่ปฏิบัติตาม การามสูตรจึงเป็นหมัน ไปช่วยกันทำความเข้าใจการามสูตรแก่คนทั้งปวงหน่อย แล้วมันจะดีขึ้น ปัญหาต่าง ๆ มันจะหายไป แต่มันจะมีคนดีมากขึ้น รู้จักธรรมะที่ตัวสิ่งนั้น ๆ นี่ถึงขนาดต้องใช้ไสยศาสตร์ ไปอ้อนวอนสิ่งศักด์สิทธ์ให้ช่วย นี่มันไกลจากพุทธศาสนา เห็นธรรมะที่ตัวธรรมะ คนธรรมดาบอกว่าฉันไม่อาจจะเห็นได้ ถ้างั้นคุณจะเห็นที่ไหนล่ะ คุณช่วยบอกให้ฟัง มันก็บอกให้ฟังได้แต่วิธีที่ไปเห็นธรรมะจากธรรมะเองน่ะ พระพุทธเจ้าก็สอนให้คนนั้นไปเห็นธรรมะที่ตัวธรรมะในภายใน ในภายในตัวเอง เพราะฉะนั้นเราจะไม่เห็นธรรมะได้ในมหาวิทยาลัย พระพุทธเจ้าไม่ตรัสรู้ในมหาวิทยาลัย 1:00:43 ในพุทธกาลมันก็มีเหมือนกันแหละ การเรียนการสอนในระดับชั้นที่เทียบได้ในมหาวิทยาลัย แต่พระพุทธเจ้าไปเห็นตัวธรรมะในตัวเองกลางป่าเงียบ ๆ คนเดียว การตรัสรู้จึงไม่มีในมหาวิทยาลัย ไม่เคยพบว่าพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์องค์ไหน บรรลุธรรมะที่มหาวิทยาลัย แต่บรรลุในใจตนเอง ตัวเอง คนเดียวๆ ในป่า ในที่ตรงไหนก็ได้ ทำตัวเองให้เป็นมหาวิทยาลัยนั่นแหละดีที่สุด ทำขันธ์5 นี่ให้เป็นมหาวิทยาลัยดีที่สุด เดี๋ยวนี้มันยึดถือคำว่ามหาวิทยาลัยมากเกินไป พระก็จะต้องไปเรียนที่มหาวิทยาลัยของฝรั่ง ตามก้นฝรั่ง แล้วจะรู้พระพุทธศานาได้อย่างไร อาตมาไม่กล้าถามเขา เดี๋ยวเขาหาว่าดูถูกเขา พวกที่ไปเรียนเปรียญเก้าประโยค มันไปเรียนเมืองนอกมหาวิทยาลัย จบมาอีกน่ะ มันรู้พุทธศานาได้อย่างไร รู้มากขึ้นไหม หรือไปเป็นทาสทางสติปัญญาของพวกฝรั่งอีก ธรรมะต้องเรียนจากธรรมชาติ เพราะธรรมะมันเป็นธรรมชาติ เป็นของจริง ของธรรมชาติ ต้องเริ่มจากธรรมชาติ และเป็นธรรมชาติภายในด้วย ธรรมชาติภายนอกช่วยไม่ได้ คำว่าสัณฐิติโก มันบอกได้ว่าเรียนจากภายใน รู้กันในภายใน สอบไล่ได้ในภายใน
รู้กันในภายใน สอบไล่ได้ในภายใน สัณฐิติโก อะกาลิโก ชีวิตนี้เป็นการเรียนด้วยเป็นตัวครูผู้สอน เป็นตัวผู้สอบไล่ด้วย เป็นตัวผู้ตัดสินการสอบไล่ด้วย 1:03:42 ตัวครูผู้สอน เป็นตัวผู้สอบไล่ด้วย เป็นตัวผู้ตัดสินการสอบไล่ด้วย โดยตัวชีวิตมันเอง นี่มันคือธรรมชาติ อย่างนั้นมันคือธรรมชาติ มันมีครบอยู่ในตัวมันเอง ธรรมะคือธรรมชาติ พระธรรมคือกฏธรรมชาติเอามาใช้เป็นคู่กัน คำว่า สัณฐิติโก มันแบบว่าเรียนจากภายใน รู้กันในภายใน 1:04:30 พุทธศานาไหน ลังกา พุทธศาสนาในพม่า พุทธศาสนาในจีน พุทธศาสนาในธิเบต พุทธศาสนาในประเทศไทยนั้น หนังสือชื่อเหล่านี้มีทั้งนั้นนะ แต่เดี๋ยวนี้ชักจะเงียบ ๆ ก่อนนี้มีขายมากเลยเต็มไปหมด พุทธศาสนาอินไทยแลนด์ จริง ๆ แล้ว มันก็เลยหลายพุทธศาสนา ก็เลยไม่รู้ว่าจะเอาอย่างไร พุทธศาสนาของธรรมชาติ ไม่ธรรมชาติ ในตัวธรรมชาติ ดังนั้นเป็นเปลือกหุ้ม เปลือกที่หุ้มเข้ามา พุทธศาสนาตกไปถึงประเทศไหน มันก็ถูกหุ้มโดยวัฒนธรรมของประเทศนั้น หรือโดยวิธีพูดคือคำสอนที่จะให้ช่วยเข้าใจได้ง่ายขึ้น ก็ผนวกเข้ามา มันจึงต่างกันในข้อนี้ พุทธศาสนาที่อธิบายในประเทศไทย มันก็ต่างจากที่อธิบายในประเทศลังกา ในประเทศลังกาก็ผนวกวัฒนธรรมลังกาเข้าไป ในธิเบตละยิ่งร้ายที่สุด ถ้าบวกวัฒนธรรมธิเบตก็มหาศาล มากกว่าตัวพุทธศาสนาเองเสียอีก เดี๋ยวนี้เมืองไทยกำลังจะนิยมพุทธศาสนาอย่างธิเบต คุณสุรัตน์เป็นตัวชี้ๆจูง ชักจูง เรียกว่าพุทธศาสนาอย่างธิเบตน่ะ พุทธศาสนาอย่างเดิมอย่างแท้ของพระพุทธเจ้า ไม่ใช่เถรวาท ไม่ใช่มหาญาณ ไม่พูดได้ว่า อย่างไทย หรืออย่างลังกา เป็นตัวจริงของโดยแท้ ธรรมะแท้ธรรมะจริง นี่บอกพวกไปว่าอย่างนี้ แล้วคุณมาเมืองไทยคุณต้องการพระพุทธศาสนาอย่างไทย เราไม่มีให้ มันมีพุทธศาสนาเดิมแท้อย่างเดียว แต่พวกฝรั่งมาดูโบราณวัตถุ โบราณสถานนั่นมากกว่า ไม่ได้มาดูพระพุทธศาสนา มาดูโบสถ์ ดูเจดีย์ เสียมากกว่า จะเกิดอะไรว่าเกิด ก็บอกเขาเป็นพุทธบริษัท แล้วมันจะขอพูดด้วย อาตมาถามเป็นพุทธบริษัทอย่างไร บอกผมเป็นเวจเจททาเรียน เป็นพุทธบริษัทก็ว่าเป็นเวเจททาเรียน ก็ไม่รู้จะพูดอย่างไร ไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร เลยบอกหยุด ๆ ๆ ไม่ต้องมาพูดแล้ว เพียงแต่ไม่กินเนื้อ กินปลา ก็เป็นพุทธบริษัท เขาเรียกว่ายังอีกมาก อีกไม่น้อย ที่ยังต้องทำความเข้าใจกันต่อไป ไม่ใช่เล็กน้อย ยังมีอีก แม้ว่าจะไม่มากที่สุด มากมาย ก็ยังมีอยู่อีกมาก สิบวันสอนกันได้เพียงวิธีที่จะไปเรียนเอง เรียนเองต่อไปก็ไม่มีจำกัด แต่ว่าถ้าคนมันมีทุนเดิมมากพอ ไม่ต้องสิบวันหรอก วันสองวันนี้ ไม่กี่นาที มันก็รู้พุทธศาสนาได้ แต่มันต้องอธิบายโดยพระพุทธเจ้า เอ้า แจก กรรณิการ์ สงบเย็น และเป็นประโยชน์ ความหมายของดอกกรรณิการ์ สงบเย็น และเป็นประโยชน์ เป็นมะลิอินเดีย ถ้าพูดกันง่าย ๆ มะลิ อย่างจัสมิน อย่างอินเดีย จัสมินอย่างเมืองไทย จัสมินอย่างฝรั่ง กระดูกไก่ที่ทั่ว ๆ ไปนั่นน่ะ จัสมินอย่างฝรั่ง แล้วก็เหมือนกับจัสมินที่ฝรั่งมันเรียก ดูในปทานุกรมแล้ว จัสมินก็คือกระดูกไก่นั่นเอง ไปดู ไปดมกระดูกไก่ดู จัสมิน กลิ่นจัสมินอย่างที่ฝรั่งมันขาย แล้วรูปที่มันเขียนในปทานุกรม ก็เหมือนกับต้นกระดูกไก่ ก็จัสมิน 1.09.24...ก็จัสมินเหมือนกันนั่นแหละ ตระกูลของมัน มันไม่รู้ว่าเรียกอะไร รู้ว่ามันเรียกจัสมิน เหมือนกันหมด เป็นดอกไม้ที่มีรูปร่างอย่างนี้ มีการผสมเกสรอย่างนี้ เป็นจัสมินหมด ดอก ดอกใหญ่ก้านเหลืองก็มี กรรณิการ์ นี่ชนิดดอกใหญ่กว่านี้ แล้วก้านมันเขียวเหลือง เหมือนกัน เขียวเหมือนดอกมะลิของเราก็มี เขาเรียกว่าเซฟผาลิกา10:09:52 ถ้ากรรณิการ์ ดอกเล็ก ก้านแดง เซฟผาลิกา ต้นใหญ่ ใบใหญ่ ดอกใหญ่ แต่ก้านดอกไม่แดง ก้านดอก ก้านเล็ก เหมือนกันเลย ที่สมาคมมหาโพธิปลูกไว้หลายต้น อยากขอมาทำพันธุ์แต่ต้นมันก็รุงรัง ก็เลยไม่ได้เอามา
ที่เอามาย้อมจีวรใช่ไหมคะ
จะย้อมจีวรได้ มันก็ต้องเป็นก้านเท่านั้น แต่วินัยห้ามไม่ให้ย้อมจีวรอยู่หรอก
เห็นเขาพูดกันว่าอย่างนั้น ทำข้าวเหนียวหน้ากุ้ง
เด็ก ๆ อินเดียเขาใช้ทาเล็บ ก้านของมันเอาไว้ใช้ทาเล็บ พระพุทธเจ้าห้ามไม่ให้ย้อมจีวรด้วยดอกไม้ เหตุด้วยอะไรที่มีกลิ่นหอม แม้แต่ขมิ้นก็อยู่ในพวกห้าม เพราะว่าสีมันสวย 1:11:04 ได้แต่แต่งไม้ฝาด เปลือกไม้ฝาด แต่มีเปลือกไม้ที่ฝาด เลยเอามาย้อม แต่จะเป็นสีอะไรก็ตามใจมันละ แต่ว่าจีวรนั้นจะทนทาน และเหมาะสม ไม่ว่าจะไปขลุกอยู่ในป่า ตามพื้นดิน จีวรนั้นสีอะไรก็ไม่ได้บอก แต่โดยทั่ว ๆ ไป มันก็สีนี้แหละ สีน้ำฝาด อย่างดีทีสุดที่พบในบาลี ก็ว่าจีวรเจ็ดสีเหมือนกับว่า สีแดงของพระอาทิตย์เมื่อเวลาจะดับลง สีนั้นแหละคือสีที่สวยที่สุดของจีวร มีคำกล่าวไม่ใช่พุทธภาษิต เป็นคำกล่าวที่แสดงให้เห็นว่าอย่างนั้นว่า จีวรที่มีสีสวยที่สุด ก็คือสีเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน เป็นสีแดง เหมือนแขนทองคำ มันพุ่งออกไปจากสีแดงของพระอาทิตย์ที่ตกดิน ภาพน่ะ ภาพพระพุทธเจ้าที่จากที่หนึ่ง ถ้าจีวรมันสีแดงอาทิตย์ตกดิน และแขนนี่มันก็ทองคำสีทองคำ นี่มันเป็นคำพูดทีหลัง ของจริงเป็นอย่างไรไม่รู้ แถมยังมาย้อมอีกของฝาก เปลือกไม้ก็ได้ แกะไม้ก็ได้ มาเป็นสีอะไรก็เอา ขออย่าให้สวยสด เป็นเรื่องผิดเข้าไปอีก เดี๋ยวนี้สีที่ฝรั่งทำมาขายมีทุกสี ถึงเลือกได้ตาม ไม่ว่าจะเป็นเหลืองอ่อน เหลืองคราม เหลืองเข้ม เหลืองเขียว เหลืองอมแดง เหลืองน้ำตาล แล้วแต่จะเลือก ไม่มีใครรู้จักว่าจีวรย้อมฝาด เรียกแต่ จีวรย้อมสีฝรั่ง
เมื่อวานนี้คำโลกธรรมเอาออกนะคะ แสดงว่า เอาตามแม่บท เอาคำว่าโลกธรรมออก เมื่อวานนี้
เอาคำอะไรใส่ไป
ปาฏิหารย์ ได้ไหมคะ
ก็ได้แล้วนี่ ไอ้โลกธรรม มันไปอยู่ใน คำว่า ธรรม มันก็พอแล้ว ธรรมสำหรับโลก โลกธรรม ธรรมในโลก ธรรมประจำโลก คือธรรมดาที่สุดแล้ว เรียกว่าโลกธรรม วันนี้วันเสาร์ใช่ไหม ถ้าอย่างนั้นก็ ตอนบ่ายมันต้องพูดธรรมดา ถ้าจะมา ก็ต้องมาตอนเย็น สี่โมง ห้าโมง สองโมง บรรยาย สามสี่โมงจบ แล้วก็มาพูดกันก็ได้ตอนเย็น
(ฆราวาสพูด ฟังไม่ได้ยินค่ะ เลยไม่ได้แปลประโยคนี้)
นักเลงน่ะ มันทัก มันร้องเพลง สองชั่วโมงครึ่ง วันนี้นั่งกันสองชั่วโมงครึ่ง
ยังเหลือหมวดสี่
หมวดสี่ อ้อหมวดสี่ มันพูดโดยสรุป ไม่ต้องแจงรายละเอียด ได้เหมือนกันถ้าพูดเรื่องหมวดสี่ โดยแจงรายละเอียด ว่าธรรมะ ธรรมะ คืออะไร สังกัดอธรรม สังกัดจธรรม หมวด
(ฆราวาสพูด ฟังไม่ได้ยินค่ะ เลยไม่ได้แปลประโยคนี้)
รู้จักธรรมะ ก็แล้วกัน รู้จักธรรมทั้งปวง ว่าไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
(ฆราวาสพูด ฟังไม่ได้ยินค่ะ เลยไม่ได้แปลประโยคนี้)
นั่นแหละคือคำพูดประโยคสั้น ๆ ที่ได้พูดมาแล้ว วันแรกนั่นแหละ เก้าคำสิบคำนั่นแหละ ยังมีอีก ยังมีอีก มันพูดประโยคสั้น ๆ ที่เป็นหัวข้อธรรมะ ส่วนมากก็เป็นพระพุทธภาษิต เอามา
(ฆราวาสพูด ฟังไม่ได้ยินค่ะ เลยไม่ได้แปลประโยคนี้)
พูดต่อ ๆ แต่แม้ที่มันไม่ได้เจ็บ ที่พระพุทธเจ้าตรัสมันก็พูดได้ ที่เรียกว่า ธรรมะคือวิทยาศาสตร์ มันก็พูดได้แต่ต้องเป็นวิทยาศาตร์อย่างธรรมะ ธรรมะไม่ใช่ฟิลลอสซอฟฟี่ ธรรมะไม่ใช่โลจิค ธรรมะไม่ใช่อะไร ๆ ที่เป็นเรื่องชาวบ้านเขาสมมติ เขาบัญญัติกัน ธรรมะจะต้องเป็นเรื่องของธรรมชาติ ตามวิถีทางวิทยาศาสตร์ แต่ว่าศาสนาอื่นไม่ทราบนะ นี่หมายถึงเป็นพุทธศาสนา ธรรมะในพุทธศาสนา เป็นเรื่องของธรรมชาติตามวิถีทางวิทยาศาสตร์ ยึดหลักอันนี้ไว้ให้มั่นแล้วไม่อธิบายผิดน่ะ