แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
โดยไม่ทันล้างหน้า ดูแมวหน้าของแมวสะอาดโดยไม่ต้องล้างหน้า นี่มีอะไร ต่อไปนี้มีเรื่องอะไร 0:01:12 ประวัติหรือแบล็คกราวน์ ที่สำคัญเรื่องนั้นๆ 0:01:38 ใจดีขึ้นมากนะ สินค้านี้ทำแจก ไม่ได้ทำขายเอาเงิน ลำบากบ้างก็ทน 0:02:06 มันก็เลื่อนชั้นตัวเองหน่ะสิ เลื่อนขั้นตัวเองขึ้นไปมันก็ทำได้ 0:02:28 ทั้งหมดนี้ช่วยกันแต่ง คำนำเป็นคำกลอน 0:02:35 เลื่อนชั้นตัวเอง ไก่ตัวนี้หากินในน้ำ 0:02:55 ลอยอยู่ในน้ำแย่งของปลากิน เลื่อนชั้นตัวเอง 0:03:13 (เหลืออีกแค่สองเช้า) เหลืออีกสองเช้าเองเหรอ (เช้านี้กับพรุ่งนี้)
อานาปามันก็ต้องพูดแบบ
อย่างนี้พอแล้วที่จะเป็นหัวใจของเรื่อง นอกนั้นก็เป็นเรื่องเบ็ดเตล็ด ทำให้รู้จักพระพุทธเจ้าดีขึ้นบ้าง แล้วช่วยกันเผยแพร่ให้ผู้อื่นรู้ต่อไป เราส่วนใหญ่ต้องปฏิบัติให้ได้ แล้วก็ใช้เป็นประโยชน์ให้ได้ ที่ว่าประวัติหรือแบล็คกราวน์ของมัน ก็หมายความว่าทีแรกมันก็ไม่ได้มีอะไรหนักหนา มีแต่เรื่องตามธรรมชาติ คนป่าสมัยนู้นที่ยังไม่เจริญ ก็ค่อยๆรู้จักวิธีใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ ในขั้นแรกก็ใช้เพื่อให้มีกำลังกายมีกำลังจิต ก็เป็นที่ประสงค์ของคนในยุคนั้น คนประเภทนั้นใช้ลมหายใจให้เกิดกำลังกายกำลังจิต แล้วก็ชนะการงาน ชนะมนุษย์ ชนะอุปสรรค มันค่อยๆมีเป็นวิธีปฏิบัติ เทคนิคอันละเอียดลออซับซ้อนขึ้นมา ตอนหลังๆเป็นความก้าวหน้าทางวัฒนธรรม ทางจิตใจ อย่างที่เรามาเรียนมาศึกษากัน เดี๋ยวนี้มันสมบูรณ์นะที่สุดในทางเทคนิคของมัน
บอกตัวเองหรือบอกผู้อื่นก็ตามว่า ไม่ต้องไปกลัวหรือไม่ต้องไปจริงจังอะไรกับมัน อย่างที่เกิดกับธรรมชาติมันเกินธรรมชาติ ว่าไปตามธรรมชาติสบายๆมันจะได้คนดี อย่าไปอุปาทานยึดมั่นและเครียดซะ แล้วมันจะยิ่งไม่รู้ว่าไปทางไหน บ้าเลยก็แล้วกัน เป็นบ้าเลยก็ได้ สมัยก่อนที่ทำกันอยู่ มีคนเป็นบ้ามากเหมือนกัน ที่เค้าเรียกกันว่าบ้าอานาปา เค้าเรียกสั้นๆว่าบ้าอานาปา คนนี้บ้าอานาปา บ้าเลอะเทอะ เสียคนเสียอะไรไปก็มีเหมือนกัน 0:08:00 ทำอะไรไม่ค่อยจะได้ มันไปหวังมากเกินไป 0:08:09 มันจัดให้สติเคร่งครัดอะไรมากเกินไป มันก็อยากจะเหาะได้ 0:08:23 เพื่อประโยชน์ด้วยการเหาะได้ แต่คนหนุ่มโง่ๆเหล่านั้นไม่รู้มันก็มาทำโดยหวังว่าจะเหาะได้ มันเป็นอย่างนี้ 0:08:42
มีเรื่องมาเล่าที่อาตมาได้ฟังจากคนแก่ๆเค้าเล่ามาไม่ได้ฟังเอง เค้าบอกชื่อด้วยแต่ไม่ได้จำ เค้าปฏิบัติอานาปา ไม่กี่วันก็ขึ้นปีนหน้าต่างกระโดดหน้าต่าง บอกว่าจะเหาะได้ แล้วมันก็ตกลงมาตาย มันจะเหาะก็กระโดดขึ้น แล้วก็ตกลงมาตาย อย่างนี้เรียกว่าเป็นบ้าอานาปา ให้รู้ไว้เถิดว่าอะไรก็ตามอย่าไปบ้า หรือไปเข้าใจผิด เข้าใจผิดอย่างนี้เค้าเรียกว่า "สีลัพพตปรามาส" เช่นอธิบายกันผิดๆในโรงเรียนในห้องเรียน หรือแม้แต่ตามศาลาวัดอธิบาย สีลัพพตปรามาส ผิดความหมาย เรื่องไปทำนอกศาสนา 0:10:04 จริงๆมันตั้งใจจะทำในเรื่องของพระศาสนาแต่มันเข้าใจผิด เช่นมันจะทำ อานาปาเพื่อเหาะได้ แล้วมันก็ได้ตาย นี่เค้าเรียกว่า สีลัพพตปรามาส สีลัพพรตผิดความจริง สีลัพพตมันคือข้อปฏิบัติเพื่อนิพพาน "สีลัพ" ศีลก็ดี วีตรก็ดี "พต" พรต เพื่อนิพพาน0:10:47 เราจะต้องประพฤติศีลและวัตรปฏิบัติ สมาธิ ภาวนา อะไรก็ตามให้มันถูกตามความหมาย ซึ่งจะต้องรู้จัก อานาปานสติไว้ถูกต้องโดยความมุ่งหมายก่อนอันอื่นทั้งหมด คือความมุ่งหมายที่ถูกต้องนั้นคืออย่างไร คนป่าเค้ารู้โดยธรรมชาติ โดยสัญชาตญาณ ให้มันมีกำลังกาย กำลังจิต เพื่อว่าจัดจิต จัดกาย จัดลมหายใจถูกวิธี มีกำลังกาย กำลังจิต แล้วก็เจริญก็ดีขึ้น รู้ตัวเอง บอกตัวเอง หรือบอกเพื่อนฝูงหรือบอกลูกศิษย์ลูกหาว่าอันนี้มันทำเพื่ออะไร อย่าได้ทำผิดความมุ่งหมายเป็นสีลัพพตปรามาสเลย
สีลัพพตปรามาสมันอยู่ในขั้นแรกขั้นต้นที่จะละจากปุถุชนไปเป็นพระโสดาบัน เรียกว่าขั้นปฐมเลยก็ว่าได้เกี่ยวกับการศึกษาคือละจากปุถุชนนี้ไปเป็นพระโสดาบันขั้นตอนที่สุด ละสักกายทิฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส ละ3อย่างนี้ได้แล้ว ก็ละจากปุถุชนเป็นพระโสดาบัน ละสีลัพพตปรามาส ก็รวมอยู่ข้อหนึ่งในสามข้อนั้น ดังนั้นขอให้ทำอานาปานสติให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์มุ่งหมายที่แท้จริง มันจะมีการปฏิบัติที่ถูกต้อง พวกฝรั่งเค้ามาเรียนกันทำไม เรียนธรรมะ เรียนทำไม แต่ส่วนใหญ่มาเรียนเพราะว่าแปลก เป็นของแปลก เป็นของที่เรายังไม่รู้ คนมาเรียนกันมาก ปฏิบัติ อานาปานสติ ถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่มันยังแกว่ง ไม่รู้จะเอาอย่างไรกันแน่ ยังกวัดแกว่งไปตามบุญ ตามกรรม ไม่ค่อยรู้ว่าเพื่อเพิ่มกำลังกาย เพิ่มกำลังจิต เพิ่มกำลังสติปัญญาให้มากกว่าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มันไม่พอ แต่มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ ให้มากขึ้นมากขึ้นก็พอ มีกำลังกายเพิ่มขึ้นอีกมาก มีกำลังจิตเพิ่มขึ้นอีกมาก มีสติปัญญาเพิ่มขึ้นอีกมาก ในการปฏิบัติ อานาปานสติ ทีนี้อานาปานสติมันมีหลายแบบ เพราะมันมีมาหลายยุคหลายยุคเป็นยุคๆมา อย่างที่พูดมาแล้ว มีมาหลายยุค มันสูงขึ้นๆ ยุคต้นๆมันคล้ายธรรมชาติเกินไป มันไม่พอ พวกโบราณ พวกคนป่า ยักษ์ก็รู้จักทำเหมือนกัน ให้มีกำลังใจ กำลังกาย ในการรบราฆ่าฟันต่อสู้กัน เท่านี้ก็ตรงกับความต้องการของคนธรรมดาของปุถุชน ถ้าต้องการเป็นพระอริยเจ้า มันก็ต้องเปลี่ยนรูปแบบ พระพุทธเจ้าท่าน0:15:15อานาปานสตินี้ จะต้องมีคำว่านี้ นี้คือแบบของพระพุทธเจ้า0:15:25 เดี๋ยวนี้เค้าก็อาจมีอานาปานสติแบบอื่นก็ได้ แบบตามที่เค้าชอบ ที่เค้าเรียกกันสอนสอน อาตมาก็เป็นแบบแบบนั้น ในบาลีก็มีเรื่องพระพุทธเจ้า ถามภิกษุองค์หนึ่งว่าทำอะไร ภิกษุตอบว่าทำอานาปานสติ ท่านก็ถามว่าทำอย่างไร แกก็บอก พระพุทธเจ้าบอกว่านี่มันไม่ใช่ นี่เป็นพระธรรมวินัยนี้ ของศาสนานี้ แล้วพระองค์ก็ตรัสในแบบที่เรารู้เอามาเรียนกันอยู่ อานาปานสติ 16 ขั้น 4 หมวด
บอกพวกฝรั่ง คุณคิดถึงบ้านของคุณ ครอบครัวของคุณที่อยู่ที่บ้าน อเมริกา ยุโรปอยู่ไหนก็ตาม อยู่ทุกหายใจออกเข้าก็เป็นอานาปานสติเหมือนกัน เราเอาอะไรก็ตามมาคิดทุกครั้งที่หายใจออกเข้าอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นอานาปานสติเหมือนกัน คิดไปในทางเลวทางชั่ว ทาง0:16:50ก็ได้เป็น อานาปานสติ 0:16:53 ลองเอาเรื่องเลวๆมาคิด 0:17:00 มันก็เลวจริงได้เหมือนกัน คิดให้รักเป็นบ้าไปเลยก็ได้ คิดให้กลัวเป็นบ้าไปเลยก็ได้ คิดให้เครียดให้วิตกกังวลเป็นบ้าไปเลยก็ได้ นั่นเป็นผลของอานาปานสติที่มันผิดๆ 0:17:20 เพื่อหลุดพ้น เพื่อนิพพาน จึงจะเป็นอานาปาสติที่ถูกต้อง
นี่คือประวัติหรือแบล็คกราวน์ของอนาปานสติมันเป็นอย่างนี้ คนธรรมดาไม่ใช่ว่าจะไม่รู้ประโยชน์ของลมหายใจ มันรู้ตามส่วนของมัน เมื่อธรรมชาติแท้ๆยังรู้จักใช้ พอมันอึดอัดหรือเครียดในใจขึ้นมา เมื่อถอดหายใจยาวเฮือกใหญ่ๆสองครั้ง ใจของปกติก็ทำไปได้ นี่หล่ะธรรมชาติมันสอนอยู่ตามธรรมชาติ เป็นอานาปานสติ หายใจยาว สังเกตดูบางทีสัตว์มันก็ทำเป็น แมวหมาก็ทำเป็นการถอนใจยาว มันก็สบายขึ้น รู้จักหายใจให้ถูกต้อง มีความยาวกว่าธรรมดา มันก็มีผลทางร่างกายขึ้นมา
หมวดร่างกายพูดถึงลมหายใจ ชื่อหมวดกายานุปัสสนา เริ่มจากการหายใจ ลมหายใจ แล้วเลื่อนไปการสัมพันธ์กับกาย ยกขึ้นมาทั้งลมหายใจและทั้งกาาย จนสมบูรณ์ที่สุดในส่วนกาย บทเรียนบทที่1คือกาย แม้จะใช้แก้ความเครียด อย่างที่พูดกันอย่างมาก ในหน้าหนังสือพิมพ์ก็ใช้ได้ หมอประเวศ วะสี เขียนเรื่องเครียดไว้มาก แต่ไม่เห็นพูดถึงอานาปานสติเลย ถ้าจะใช้ความเครียดโดยแท้จริงๆแล้วมันต้องใช้อานปาสติ มองเห็นเรื่องธรรมดาเรื่องธรรดาในบ้านในเรือน อานาปาน-สติมีประโยชน์นะ ข้อที่1 มันทำให้ร่างกายมีสมรรถภาพสมบูรณ์ที่สุด แล้วมันทำสติให้สมบูรณ์ที่สุด ทำจิตให้สมบูรณ์ที่สุด ทำปัญญาให้สมบูรณ์ที่สุด มันมีค่ามากกว่ากันมาก ในขั้นปฐมเพียงทำร่างกายให้สมบูรณ์ ดูความมันเนื่องกัน ดูแบล็คกราว์ของมัน
ข้อที่1 ทำร่างกายให้สมบูรณ์ สมรรถนะทางกายให้สมบูรณ์ ควบคุมร่างกายได้
ข้อที่2.ก็ทำเวทนา ปรับปรุงเวทนาให้อยู่ในลักษณะที่เป็นประโยชน์ที่สุด ควบคุมมันให้ได้ อย่าให้เวทนานี้ดึงไปสู่กิเลสตัณหา เป็นอุปทานและเป็นทุกข์ 0:21:08 ถ้าเราควบคุมเวทนาได้ก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดอุปทาน ไม่เกิดภพ ไม่เกิดชาติ ถ้าควบคุมเวทนาได้ ไม่เป็นทาสของเวทนา เพราะเวทนาเต็มไปหมดเลยในโลกนี้ พวกคนเราควรจะเข้าใจข้อนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานก่อนจะได้เข้าใจถูกต้อง มุ่งหมายใจถูกต้อง ไม่ใช่มาเพ้อๆ มาตามๆกันมาเห็นว่าเป็นของแปลก บอกให้เค้าเห็นชัด ทุกคนในโลกกำลังเป็นทาสของเวทนา น้อยบ้าง มากบ้าง มากที่สุด เกินปริมาณจนเป็นบ้า นี่เป็นทาสของเวทนา เมือเรารู้จักเวทนา ไม่เป็นทาสของเวทนา บางทีคนบ้าในโลกนี้มันจะหมดไป ไมต้องมีโรงพยาบาลบ้า ที่เป็นบ้าเพราะเริ่มตกเป็นทาสของความเป็นบวก ของความเป็นลบของเวทนาหนักเข้ามันก็หลงทาง หลงตัวเองจนเป็นบ้า หยุดเป็นทาสของเวทนา เลิกเป็นทาสของเวทนา มาทำอานาปานสติ ทีนี้รู้จักเวทนาอย่างถูกต้อง เมื่อรู้จักถูกต้องก็ควบคุมได้ เมื่อควบคุมได้มันก็มีแต่ประโยชน์ ไม่มีโทษ นี่เรื่องของเวทนา ที่ควบคุมยากคือเวทนาประเภทบวก มันไปในทางกามารมณ์ ทางความสุขควบคุมยาก ในขณะที่เป็นทุกข์มันก็ไมมีใครต้องการไปปด้วยแล้วมันก็ไม่ค่อยหลอกหลอนมากเหมือนไอ้สุข ถ้าเราควบคุมปีติและสุขได้ก็หมายความ่วา ควบคุมเวทนาชั้นยอดของเวทนา ไม่หลงบวก ไม่หลงสุข ซึ่งกำลังหลงกันทั้งโลกก็ขอให้เข้าใจในข้อนี้ มองเห็นข้อนี้ หลงเวทนาเป็นสุขแล้วมันจะเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวมันเกิดกิเลสทุกชนิด
ปัญหาทุกชนิดเกิดกิเลสทุกชนิดจะเป็นทุกข์มหาศาลขึ้นในโลกเต็มโลก เพราะความเห็นแก่ตัว ควบคุมเวทนาได้ก็ควบคุมความเห็นแก่ตัวได้เกือบหมด เข้าใจแม้แต่ความรู้สึกว่าอัตตาว่าตัวกู ซึ่งเป็นอุปทาน 0:24:06 เห็นแก่ตนมันก็มาจาก...เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปทาน เห็นชัดโต้งๆอย่างนี้ 0:24:17 ต้องมั่นคง ต้องแจ่มแจ้ง ต้องกระจ่างอยู่ในใจตลอดไป นี่แหละสอนธรรมะถูกต้อง ควบคุมเวทนาได้ก็ควบคุมตัณหาได้ ควบคุมอุปทานได้ ควบคุมอัตตาคือตัวตนและของตนได้ ควบคุมความเห็นแก่ตนได้ ในโลกนี้ก็หมดปัญหา ไม่เห็นแก่ตน แล้วก็มีแต่สันติภาพ เดี๋ยวนี้ไม่มีสันติภาพเพราะมันมีแต่คนเห็นแก่ตน คนจน คนมั่งมี 0:24:55
เรื่องควบคุมเวทนาได้ใช้คำว่า 0:25:08 ควบคุมเวทนาได้คือควบคุมโลกทั้งโลกได้ โลกทั้งโลกไม่เป็นปัญหา ไม่เป็นอันตรายแก่เรา ถ้าเราควบคุมเวทนาได้ ทั้งหมดที่โลกจะมีให้แก่เราก็คือเวทนา สูงสุดที่มันจะให้แก่เราได้คือสุขเวทนา เมื่อเราไม่หลงแก่สิ่งเหล่านี้แล้วเรียกว่า เวทนาไม่เป็นปัญหา ไม่เป็นข้าศึก ไม่เป็นศัตรู คนหลงเวทนาก็มีตัณหา มีอุปทาน มีตัวตน มีเห็นแก่ตน แล้วก็วินาศ เป็นบ้าเอง ที่มันเนื่องเป็นไปตามลำดับ เราจะควบคุมกาย ควบคุมเวทนาได้ ต้องมีจิตที่ควบคุมได้
หมวดที่3 เป็นจิตตานุปัสสนาขึ้นมา เป็นเรื่องจิตโดยเฉพาะ จิตเป็นต้นเหตุที่มันลึกเข้าไป กายมันอยู่ข้างนอกสุด เวทนามันยังลึกเข้าไปลึกเข้าไปถึงจิต 0:2:32 ที่ทำให้รู้จักจิต รู้จักธรรมชาติของจิตจนควบคุมได้ นี่เป็นข้อที่1 แล้วข้อที่2ก็ใช้ให้เป็นประโยชน์สูงสุดได้ เรื่องควบคุมจิต เรื่องเกี่ยวกับจิต ข้อที่1ควบคุมมันได้ ข้อที่2ให้เป็นประโยชน์สูงสุดได้ บทที่3มันมีความมุ่งหมายอย่าง อย่างบทแรกขั้นแรกเรียกว่า “จิตตานุปัสสนา” รู้จักจิตกันเสียให้ทุกชนิดก่อนเถิด ไม่ใช่เรียน จากหนังสือ เรียนจากความรู้สึกได้เองนี่จิตชนิดไหนเป็นอย่างไรจิตชนิดไหนเป็นอย่างไร จิตชนิดไหนเป็นอย่างไร ในบาลีก็ยกมาให้ดูพอเป็นตัวอย่าง8ชนิด มีราคะ มีโทสะ มีโมหะ มีฟุ้งซ่าน มีปล่อยวาง มีหลุดพ้น มีถึงที่สุด ไม่ถึงที่สุด ก็8ชนิด เอาคู่ตรงข้ามกันเข้ามาอีกก็เป็น16ชนิด เมื่อ พูดตรงกันข้ามเราอาจจะไม่รู้ แต่เค้าก็เอามาให้เรารู้ เพื่อจิตหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น ไอ้คนที่ไม่เคยหลุดพ้นจะรู้ได้อย่างไรให้รู้จักจิตหลุดพ้น เค้าก็ต้องดูจิตที่ไม่หลุดพ้น จิตที่ติดคุกติดตารางอยู่ที่นี่ ดูมันดูมันกำหนดหลุด ถ้ามันไม่เป็นอย่างนี้จะเป็นอยางไร นั่นจึงจะรู้จักจิตหลุดพ้นโดยการคำนวณ โดยอนุมาน รู้จักได้ทั้งจิตที่หลุดพ้นและไม่หลุดพ้น
รู้จักจิตหลุดพ้นโดยการดูจิตที่ไม่หลุดพ้น อนุมานโดยตรงกันข้าม ด้วยเหตุอย่างนี้เราจึงสามารถรู้จักจิตโดยประการทั้งปวงทุกชนิด ทั้งทีมนุษย์พูดกันอยู่หรือไม่ได้พูดกันอยู่ก็ตาม ที่ไม่ได้พูดกันอยู่เพราะมันไม่ได้มาเกี่ยวข้องกับปัญหาชีวิตประจำวัน จิตชนิดนั้นมันเกี่ยวข้องกับตัณหาประจำวัน ก็รู้ ถ้ารู้โดยนัยตรงกันข้ามอีกทีหนึ่งมันจะรู้หมด จิตที่เป็นทุกข์กับจิตที่ไม่เป็นทุกข์ มันจะรู้ได้โดยคำนวณจากจิตที่กำลังเป็นทุกข์อยู่อย่างนี้ ถ้าไม่เป็นทุกข์อยู่อย่างนี้มันก็หลุดพ้น มันก็พอใจปรารถนาจิตที่หลุดพ้นทั้งที่ไม่เคยหลุดพ้นมาก่อน ข้อที่1 รู้จักจิตประการทั้งปวงทุกชนิด แล้วก็บอกตัวเองก็ได้ บอกผู้ปฏิบัติผู้ศึกษาก็ได้ คำนวณดูคู่ตรงกันข้าม จิตมีโลภะเนี่ยรู้จักดี-ถ้าไม่มีโลภะจะเป็นอย่างไร จิตมีโทสะ-ถ้าไม่มีโทสะจะเป็นอย่างไร จิตมีโมหะ-ถ้าไม่มีโมหะจะเป็นอย่างไร จิตฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร-ถ้าไม่ฟุ้งซ่านเป็นอย่างไร จิตยึดมั่นเป็นอย่างไร-ถ้าไม่ยึดมั่นจะเป็นอย่างไร ไม่หลุดพ้นจะเป็นอย่างไร-ถ้าหลุดพ้นจะเป็นอย่างไร ข้อที่ยกลำบากหน่อย จิตอนุตะระ 0:30:34 คงจะรู้จักยาก 0:30:40 จิตที่ไม่สูงสุด คือกำลังทนทุกข์ 0:30:47 จิตมีธรรมะคือยิ่งกว่า หรือไม่มีธรรมะยิ่งกว่า คล้ายๆกับถามว่าจิตที่ดียิ่งกว่าจิตนี้มีหรือไม่ จิตที่ดีกว่าจิตที่กำลังมีอยู่นี่มีหรือไม่ มันต้องรู้จักจิตที่กำลังมีอยู่นี่ดีที่สุด 0:31:21 ถ้าจิตมันมีปัญหา จิตที่ดีกว่าที่มีอยู่ในเวลานี้ บทเรียนมันอยู่ที่ของจริงภายในไม่ใช่อยู่ที่หนังสือหรืออยู่ที่เรื่องที่จะต้องดูกันทางภายนอก ถ้าจะศึกษาธรรมะต้องศึกษาเรื่องภายใน ในตัว ในกาย ในหู ทำจิตให้บันเทิง 0:31:55 หมายความว่าเรื่องควบคุมจิตได้ ทำจิตให้ปราโมทย์ให้บันเทิงได้ ไม่ใช่เครียดทำให้มันหายเครียดได้ ก็อยู่ในข้อนี้ รู้จักทำจิตให้ปกติ ตั้งแต่หมวดที่1 คือหมวดกาย หมวดเวทนา เอาอันนี้แหละมา มาทำใหม่ซะในบทนี้ ทำจิตให้บันเทิง อย่างนั้นอย่างนี้ตามที่พอใจ ทำจิตให้บันเทิงได้ 0:32:35 ทำจิตให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิวิเศษไม่สอนแม้แต่ในโรงเรียนก็ไม่สอน เมื่อสอนผิดๆ สมาธิก็ไปนั่งหลับตัวแข็งเป็นท่อนไม้ ในโรงเรียนยังทำให้เด็กเข้าใจอย่างนั้น ความเป็นสมาธิตั้งมั่น 0:33:05 มั่นคง ไม่มี0:33:15ในหน้าที่การงาน จงบริสุทธิ์และมั่นคง ไวในหน้าที่0:33:23
จิตมั่นคง จิตว่องไวในหน้าที่มีประโยชน์ 0:33:51 มหาวิทยาลัยก็ยังไม่ได้เคยสอน 0:34:00ประโยชน์จากการศึกษาก็ไม่ได้สอน เอื้อประโยชน์ต่อชีวิตตลอดก็ไม่ได้สอน 0:34:10 สิ่งที่ดีที่สุดของพระพุทธเจ้า0:34:15 นิพพานคือไม่ตาย 0:34:34 ตายของพระอรหันต์ ตายสุดท้าย ตายไม่เกิดอีก 0:34:52 จิตตั้งมั่น "สัมมาอรหัง" 0:35:00 ทุกหายใจเข้า ทุกหายใจออก 0:35:06 ปลดปล่อยจิตให้พ้นจากความทุกข์ ความอึดอัด ปลดปล่อยจืตให้เป็นอิสระ " วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ" วิเศษเหนือวิเศษ เรื่องจิตจากอารมณ์ร้ายที่กำลังมีอยู่ แแม้แต่นักเรียนก็มีอารมณ์ร้าย ราคะ โทสะ โมหะ อารมณ์ร้ายกำลังครอบงำอยู่ เรียนหนังสือไม่ได้ โดยเฉพาะวัยรุ่นถ้ารู้จักปล่อยจิตให้พ้นจากอารมณ์ร้ายเหล่านี้ก็เรียนเก่ง ทำไมไม่สอนอานาปานสติตั้งแต่เด็กๆ คือข้อที่หนึ่งรู้จักจิตทุกชนิด ข้อที่สองรู้จักทำให้มันบันเทิง ข้อที่สามรู้จักให้มันตั้งมั่น ข้อที่สี่รู้จักปล่อย 4ขั้นของจิต จิตตานุปัสสนา หมวดที่สามของอานาปานสติ หมวดนี้หมวดเดียวก็พอกินพอใช้ ทีนี้ปัญหาเรื่องจิตหมดแล้ว
รู้จักจิตทุกชนิด ควบคุมจิตได้ ตั้งจิตได้ เป็นประโยชน์อย่างถึงที่สุด เรื่องจิตก็หมดไป หมวดที่สี่ ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน รู้จักธรรรมะ ปัญหาคือธรรมะหมายถึงทุกสิ่งไมยกเว้น มันเลยทำไม่ถูกว่ารู้ธรรมะ รู้แค่ไหน แต่ว่าธรรมะใที่นี้ในหมวดนี้หมายถึงสิ่งที่เป็นที่ยึดความยึดถือ ธรรมะในหมวดที่สี่ของอานาปานสติ คำนี้แปลว่า ทุกสิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือคืออุปทาน ว่าตัวตน ว่าของตน คือธรรมะ หมวดที่สี่มาจัดการกับสิ่งเหล่านี้โดยเฉพาะ สิ่งใดเป็นที่ตั้งความยึดถืออุปทานนั่นแหละเอามาศึกษากันในหมวดนี้ สิ่งทั้งปวงเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ทั้งนั้นไม่ว่าอะไร ไม่ว่าอะไรมายึดถือเป็นที่ตั้งได้หมด
ต้องพูดให้ฝรั่งฟังว่าตั้งแต่ขี้ฝุ่น ปรมาณู ไปจนถึงพระนิพพานมันจะมีกี่ร้อย กี่พัน กี่หมื่น กี่แสน กี่ล้านชนิดก็ตาม ทุกสิ่งอาจจะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือได้ทั้งนั้น แต่เอากันเท่าที่มันปรากฎจริงๆในชีวิตประจำวัน ก็เป็นเรื่องของอุปทานก็แล้วกัน "กามุปาทาน, ทิฎฐุปาทาน, สีลัพตุปาทาน, อัตตวาทุปาทาน" ในสี่อย่างนี้กามุปาทานเป็นเรื่องจำเป็นที่สุด สำคัญที่สุด มากที่สุดสำหรับมนุษย์ทั่วๆไปด้วยเรื่องกาม ดังนั้นเรื่องกามมาเป็นวัตถุศึกษาของธรรมะ หมวดที่สี่นี้คือที่เป็นที่ตั้งแหล่งความยืดถือมาอันแรกก็คือ กาม "กามุปาทาน"ไปจนถึงทิฐิ ความคิดความเห็น จึงถึง"สีสัพตุ"เข้าใจผิดต่อการปฏิบัติแล้วเอามายึดถือ ข้อที่ห้า ความรู้สึกที่ทำให้บอก ให้ปากพูดออกมาว่า อัตตา อัตตา 0:39:14.เอาเรื่องที่มีอยู่จริงเผชิญหน้าอยู่จริงในชีวิตประจำวัน เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจล้วนเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือว่าของกู รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ, ธรรมารมณ์ เป็นที่ตั้งของความยึดดถือว่าของกู กายก็ดี จิตก็ดี กายใจนามรูปก็ดี เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ
ถ้าแบ่งเป็นสองก็คือกายและใจ
ถ้าแจงเป็นห้าก็คือรูป,เวทนา, สัญญา, สังขาร, วิญญาณ
ถ้าแจงเป็นหกก็ หู, ตา จมูก, ลิ้น, กาย, ใจ
ถ้าแจงให้มากกว่านั้นออกไปก็เป็น ปิยรูป สาตรูป 60อย่าง 10หมวด หมวดดละ6อย่างก็เป็น 60 อย่างก็ได้ ล้วนแต่เป็นที่ตั้งความยึดถือ ปิยรูป สาตรูป 60อย่างเนี่ยรวมหมดไม่มีอะไรเหลือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ 6 รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ 6 วิญญาณ6 ผัสสะ6 เวทนา6 สัญญา6 เจตนา6 ตัณหา6 วิตก6 วิจาร6 มันก็10อยาง 10หมวด หมวดละ6 จิต60อย่างหมดแล้ว 0:40:52 แจงโดยรายละเอียดถี่ยิบเป็น 60 อย่างอย่างนี้
ถ้านับอย่างเร็วคือชีวิต นับอย่างเดียวก็คือชีวิต
นับสองอย่างก็คือกายและใจ
นับเป็นห้าอย่างก็คือขันธ์5
นับเป็นหกอย่างคืออายนะ
0:41:18 ทุกสิ่งที่เป็นที่ตั้งความยึดถือ โดยคำพูดคำเดียวในภาษาบาลีว่า "ธรรม" ธรรมชาติเป็นที่ตั้งความยึดถือ เอามารู้จักให้หมด ถึงจะทำลายความยืดถือในสิ่งเหล่านั้นได้ เช่น 0:41:43 เห็นอนิจจังของสิ่งเหล่านั้น 0:41:50..มีออนิจจังทั้งนั้น ยกเว้นพวกอสังขตะ พวกนิพพาน อันนู้นมันเป็นนิจจัง ไม่ตองมาพูด แต่บรรดาที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ในชีวิตประะจำวันมันเป็นธรรมะฝ่ายสังขตะ จะเป็นอนิจจัง มาดูให้เห็นในหมวดอนิจจัง ดูออย่างเก่ง ดูอย่างฉลาด ดูในภายในไม่ต้องดูภายนอก แล้วก็ไม่ต้องคำนวณอย่าาง 0:42:20 ภาษาบ้า วิชาบ้าเป็น0:42:30 ใช้เหตุผลโดยการคำนวณ เหตุผลของการคิด การคิดนึก การคำนวณ 0:42:40 ธรรมะมาใช้ให้พ้นจากประสบการณ์โดยตรงมันไม่มีคำนวณ 0:42:48 ไม่มีสมมุติฐาน.0:42:50 คำนวณอย่างนั้นอย่างนี้มันไม่มี ใช้วิธีของพุทธศาสนาก็ใช้เหมือนวิธีของวิทยาศาสตร์แต่ไม่ใช่เป็น 0:43:00 มาดูอนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง 0:43:06 รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มันเป็นอนิจจังเห็นอยู่ชัด ไม่ต้องคำนวณ
ในทางกาม กามทาสก็ไม่ต้องคำนวณ รูปทาสก็ไม่ต้องคำนวณ อรูปทาสก็ไม่ต้องคำนวณ เห็นชัดเป็นอนิจจังหมด ความมุ่งหมายเป็นอย่างนี้ เอาแต่เพียงว่าเท่าที่มันปรากฎอยู่ในขณะนี้ ขณะที่เจริญอานาปานสตินี่ก็เพียงพอแล้ว คือ 12อย่างข้างต้นหน่ะ หมวดที่1ถึงหมวดที่3ข้างต้น หมวดละ4 เป็น12อย่าง ลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น กายสังขาร ควบคุมกายสังขาร ทุกขเวทนา ปิติเวทนา จิตตสังขาร ระงับจิตตสังขาร จิตทุกชนิด จิตยึดมั่น จิตไม่ยึดมั่นทุกชนิด มาดูอนิจจตา อนิจจตา อนิจจตา ร่ายมาตั้งแต่ต้นอีก หมวดที่1แยกอย่างแยกอย่างมาดูให้เห็นว่าอนิจจัง อนิจจัง อนิจจัง ได้เพียงเท่านี้ก็พอ 0:44:25 ยึดถือ ที่เราหลงรักหลงยึดถือ เดี๋ยวนี้มาเห็นอนิจจังของมันเสีย ก็จะเริ่ม คลายความยึดถือ ธรรมะข้อต้นของหมวดที่4 "อนิจจานุปัสสี" ความเห็นอยู่ซึ่งความไม่เที่ยงของธรรมเหล่านั้น หายใจเข้าออกอยู่ เป็นไปตามธรรมชาติอีกนั่นแหละ ไม่ใช่ว่าใครไปบังคับหรือบัญญัติมัน เห็นอนิจจัง เห็นอนิจจัง เห็นอนิจจังอยู่เป็นเวลานานพอสมควร ชัดแจ้งพอสมควร ก็เกิดสิ่งใหม่คือวิราคะ คลายความยึดถือ ตอนนี้ก็ดูอาการที่มันคลาย อาการที่มันคลาย 0.45.17
พวกฝรั่งโง่ๆมันเกลียดคำว่าธรรม ทุกลมหายใจออกเข้า มันเห็นเป็นของบ้าบอหรือธรรมดาเกินไป ฝรั่งโง่ ถ้ามันเป็นฝรั่งฉลาดรู้ธรรมะในพระพุทธศาสนาแล้วมันจะรู้เข้าใจได้เองว่า ต้องทำอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า มันจึงจะสำเร็จประโยชน์ ดูอนิจจังอยู่ทุกครั้งที่หายใจออกเข้า เห็นความคลายออกจางออกอยู่ทุกครั้งหายใจเข้าออก มันจาง จาง จาง เดี๋ยวมันก็หมด0:46:00 เมื่อมันจาง จางราคะ เดี๋ยวมันก็หมด ไม่ว่าอะไรถ้ามันจางออก คลายออก เดี๋ยวก็หมด 0:46:15 "อนิจจานุปัสสี"ดับ แห่งความยึดมั่นถือมั่น หรือหมดแห่งความยึดมั่นถือมั่น ข้อที่1. เห็นอนิจจังของมัน ข้อที่2.มันก็คลายออก เห็นความคลายออกของมัน ข้อที่3.เห็นความหมด คลายออกจนหมด แถมพ่วงด้วยกันสุดท้าย 0.46.38 ได้ทำถึงที่สุดแล้ว ได้ปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว คือโยนทิ้งกลับไปหมดแล้ว สมมุติเปรียบเหมือนว่าเราไปยืมของธรรมชาติเอามาเป็นตัวกู ของกู โง่จะได้หายโง่ คืนเจ้าของหมดแล้ว คือการถือหลักว่าชีวิตอัตตภาพนี้เป็นของยืมมาจากธรรมชาตินี่ดีนะ มีประโยชน์ เข้าใจได้ง่ายปฏิบัติได้ง่าย ของธรรมชาติให้ยืมมา อย่าไปยึดถือว่าตัวกูกับของกูเป็นคน 0:47:18.ขึ้นมา สำเร็จได้ด้วยการทำ อานาปานสติ หมวดสุดท้าย ขั้นสุดท้าย คือขั้นที่16 ได้มองเห็นก็โยนคืนธรรมชาติ โยนคืนธรรมชาติ 0:47:37 มันแปลว้า สลัด โยนกลับทิ้ง....โยนคืนไปให้เจ้าของเดิมคือธรรมชาติ 0:47:45โครงสร้างหรือแผนภูมิอานาปานสติมันเป็นอย่างนี้ ถ้าว่าเรามองดูเห็นทั้งหมดนี้ได้ 0.48.00 แบล็คกราวน์ของทุกข้อ ทุกคำที่พูด เหมือนอยู่บนที่สูงสุดในอวกาศแล้วมองดูโลก เห็นทั้งโลกว่าโลกนี้เป็นอย่างไร มีอะไรรองรับเป็นฐานล่างอยู่ เราเห็นธรรมทั้งปวงเป็นอย่างไร มีอะไรเป็นสมุทัย เป็น 0:48:35 แบล็คกราวน์ของอานาปานสติ ซึ่งอาจารย์โง่ๆมันไม่สอน มันไมjตั้งต้นมาตั้งแต่แบล็คกราวน์ อานาปานสติ ไปศึกษาอภิธรรม 0:48:53ไม่สอนอย่างนี้ มันไม่เคยสอนถึงแบล็คกราวน์ของอานาปาน-สติ ถ้ามันเห็นแบล็คกราวน์แล้วมันง่าย จะทำอย่างไรต่อไปมันง่าย เพราะมันเห็นหมด พื้นฐานทั้งหมดมันก็สอนง่าย เราพูดให้เค้าเข้าใจอานาปานสติสักวันนึงจะดีกว่า ให้เค้าเข้าใจว่ามันคืออะไร ทำอย่างไร ยังไม่ปฏิบัติก็ได้ สอนให้รู้จักอานาปานสติ 0:49:25
ทีนี้ก็มาถึงเรื่องเทคนิคที่จะปฏิบัติต่อมัน รู้จักทั้งหมดดีแล้ว แบล็คกราวน์ดีแล้ว จุดหมายปลายทางสุดนู่นก็ดีแล้วรู้จักแล้ว ทีนี้ก็มาสอนไอ้ตัวเทคนิคการปฏิบัติแต่ละขั้นละขั้น 16ขั้นให้ มันชัด ให้มันปฏิบัติได้ ที่เรามาสอนมาบรรยายให้ฟัง มันค่อนข้างจะละเอียดไป เรียกว่ามันอาจจะละเอียดถึงที่สุด ความจริงที่อาตมาเทศน์พอสมควรแล้วไม่ต้องสอนถึงขนาดนี้ แต่ถ้าสอนถึงได้ขนาดนี้มันก็ดี ดีถึงที่สุด หมวดกายฝึกลมหายใจยาว ต้องรู้จักลมหายใจยาว รู้จักธรรมชาติแห่งลมหายใจยาว รู้จักลักษณะของมันว่าเป็นอย่างไร รู้จักอาการของมันเป็นอย่างไร 21อรรถลักษณะ มาใช้ได้ รู้จักลมหายใจยาวแล้วก็รู้จักลมหายใจสั้น พอรู้จักสองอย่างก็เปรียบเทียบกันได้ทันที ถ้า ลมหายใจยาวให้ผลอย่างไร ลมหายใจสั้นให้ผลอย่างไร ตรงกันข้ามอย่างไร อันไหนเป็นไปในทางดี อันไหนเป็นไปในทางร้าย คนอื่นมาสอนไม่ได้ มันต้องมาดูตัวเอง ดูตัวเอง มองตัวเอง เห็นด้วยตนเอง ลมหายใจยาวเป็นอย่างนี้ ลักษณะเป็นอย่างนี้ อาการเป็นอย่างนี้ มีอิทธิพลอย่างนี้ มีความสงบระงับกว่าลมหายใจสั้น ลมหายใจสั้นมันหยาบกว่า มันจึงสงบระงับน้อยกว่า ลมหายใจยาวมันทำให้สงบระงับกว่าโดยถึงที่สุด ลองดูทั้งสองอย่าง รู้จักทั้งสองอย่าง ยาวเป็นอยางไร สั้นเป็นอย่างไร ในที่สุดก็จะเห็นว่าลมหายใจยาวมันระงับปัญหาได้มาก หงุดหงิด รบกวนความเครียด ความอะไรมันก็ระงับได้ดีกว่าลมหายใจสั้น แต่ว่าลมหายใจสั้นมันก็มี ในเมื่อมันไม่มีความปกติถูกต้อง ในทางกายมันก็มีลมหหายใจสั้น ที่เราแก้มันเสียได้ด้วยลมหายใจยาว ก็เราสามารถดึงลมหายใจยาว ถ้าความไม่ถูกต้องมันเกิดขึ้นในร่างกายในชีวิต มันก็มีลมหายใจสั้น เราก็แก้มันได้ด้วยลมหายใจยาว ดังนั้นจึงมาคู่กัน
ขั้นที่1 จัดการกับลมหายใจยาว
ขั้นที่2จัดการกับลมหายใจสั้น
ขั้นที่3 ดูกายทั้งปวง ลมหายใจ เนื้อหนังมันสัมพันธ์กัน
นั่งดูๆ ความที่มันสัมพันธ์กันระหว่างลมหายใจกับเนื้อหนัง เราก็สามารถรู้จักกายทั้งปวงกายทุกชนิด บาลีเค้าใช้คำว่า สัพพะกายะปะฏิสังเวที สัพพะ มันแปลว่าทั้งปวง ถ้าเกวละ มันแปลว่าทั้งสิ้น มันตางกันมาก เกวละทั้งสิ้นคือ ทั้งหมดของสิ่งเดียว ถ้าสัพพะมันทั้งหมดของทุกๆสิ่ง ฝรั่งแปลบาลีข้อนี้ผิด มันแปลว่า wholeไม่แปลว่า All ต้องแปลว่า Allทุกชนิด มันแปลว่า whole ไปตรวจดูสิ ที่ฝรั่งแปลมันแปลผิดอย่างนี้ มันบอกว่า whole body ไม่แปลว่า All body กายทั้งปวงคือกายลมและกายเนื้อ เป็นพหูพจน์ กายเนื้อเป็นอย่างไร กายลมเป็นอย่างไร มันสัมพันธ์กันอย่างไรรู้จัก มันสัมพันธ์กันอยู่อย่างนี้ ขั้นที่3 ของหมวดที่1 สัพพะกายะปะฏิสังเวที รู้จักกกายทั้งปวง หายใจเข้าออก
ดูตรงนี้จะเห็นชัดว่า ผู้อุปถัมภ์กายเนื้อคือกายลม กายลมเป็นผู้หล่อเลี้ยงกายเนื้อ เห็นข้อนี้ชัดอยู่ ก็เลยเห็นชัดต่อไปว่า กายเนื้อมันแล้วแต่กายลม แล้วแต่กายลมเป็นอย่างไรกายเนื้อก็เป็นอย่างนั้น ทีนี้เราก็จัดการกับกายลมให้ดี แล้วมันก็ทำให้กายเนื้อดี ร่างกายมันก็ถูกต้อง ร่างกายมันก็เข้มแข็ง ร่างกายมันสดชื่น คนป่าไม่นุ่งผ้ามันก็รู้จักทำ หายใจดีๆ แล้วจะมีกำลังทางร่ายกายขึ้นมา จึงรู้จักทำกายสังขารให้ระงับ ทำกายลมให้ระงับกายเนื้อก็ระงับ แล้วมีชีวิต0:55:03 ระงับ ระงับ สงบเย็น เป็นสุขด้วย มีกำลังสามารถสมรรถนะเข้มแข็งด้วย เพียงเท่านี้มันก็ผลมหาศาล ปฏิบัติเพียงหมวดเดียว หมวดที่1 คือ กายานุปัสสนามันก็มีผลมหาศาลแก่ชีวิตแล้ว
ทีนี้ก็ปฏิบัติให้รู้จักหายใจยาว ศึกษาลมหายใจยาวรู้จักมันดี รู้จักลมหายใจสั้น ทีนี้ก็รู้จักว่าไอ้กายเนื้อกับกายลมมันสัมพันธ์กันอยู่ ทีนี้จะระงับอย่างไร ก็ทำกายลมให้ระงับ คือเทคนิคของการทำให้กายลมระงับทำอย่างไร กายลมระงบกายเนื้อมันก็ระะงับเองโดยอัตโนมัติ มีการฝึกทำให้กายลมระงับ ใครจะใช้วิธีใดก็ได้พูดอย่างนี้ดีกว่า แต่ถ้าจะเอาตามวิธีที่เค้าค้นขึ้นมาแล้ว ศึกษากันมาแล้ว วางไว้ดีแล้ว ไม่ต้องเสียเวลาคิดค้นใหม่ ตั้งต้นใหม่พิสูจน์ทดลองเลย ทำอย่างนั้นเลย ทำอย่างนี้เลย จะเห็นว่าสมบูรณ์ที่สุด ก็อย่างที่ได้เขียนไว้ว่า กำหนดที่ลมด้วยการเฝ้าดู มองดู เห็นอยู่ซึ่งลมนั้น วิ่งตามลมนั้น หายใจออกเข้าวิ่งตามวิ่งตาม แล้วทีนี้ไม่วิ่งตามแล้ว หยุดที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เป็นเสมือนประตู มันต้องผ่านประตูนี่ จะเข้าก็ผ่านประตู จะออกก็ผ่านประตู กำหนดอยู่ที่ผ่าน เรียกว่าเฝ้าดู วิ่งตามจนขี้เกียจวิ่งตามก็เฝ้าดู เฝ้าดู เฝ้าดู เพื่อให้มันละเอียดถึงทีสุด มันก็ทำมโภาพที่ตรงนั้นขึ้นมา ให้เป็นนิมิตรอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาสำหรับ กำหนดได้ง่าย แต่มันละเอียดลึกซึ้งกว่าทีแรก ให้เก่งกว่านั้นไปอีกก็บังคับมโนภาพเหล่านั้นได้ให้มันเปลี่ยนอย่างนั้นได้ เปลี่ยนอย่างนี้ได้ อุคคหนิมิต ก็กลายเป็น ปฏิภาคนิมิต เนี่ยถึงจุดสูงสุดของการที่ว่ามันสงบระงับ ถ้าบังคับได้ถึงขนาดนี้ ความสงบระงับมีถึงขนาดนี้ 0:57:44 โดยวิธีเทคนิค จะทำโดยธรรมมชาติมันไม่มีเทคนิคอะไรปรากฎชัด ถ้าทำได้ก็ได้เหมือนกัน บางทีคนป่ามันยังทำเลยวิธีธรรมชาติ เดี๋ยวนี้เรามาทำโดยวิธีเทคนิค 0:58:05ได้ค้นพบแล้ว พระพุทธเจ้าก็ได้ค้นพบแล้ว.0:58:07 มีเทคนิคเฉพาะ ทำกายลม ลมหายใจระงับ ระงับ ระะงับ กายเนื้อก็ระะงับไปตาม ระงับไปตาม ทำกายสังขารคือลมให้ระงับ เรียกว่า ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ. ทำกายสังขารคือลมหายใจให้สงบ ทำปัจจัยแห่งกายคือลม กายสังขาร 0:58:39 เครื่องปรุงแต่งกายระงับ ทำลมหายใจให้ระงับ แล้วกายมันก็ระงับ ระงับ มีความสุขด้วย มีสมรรถนะสุงสุดด้วย เพียงข้อเดียวก็วิเศษเหนือที่จะวิเศษสำหรับคนในโลกปัจจุบัน มีกายสงบเย็นด้วย มีสมรรถนะประกอบกิจการการงานอย่างยิ่ง
เรื่องหมวดกาย ผู้สอนก็ต้องฝึกมาแล้ว เรียนมาแล้ว ฝึกมาแล้วรู้จักดีแล้วจึงจะสอน เทคนิคอย่างอื่นก็อาจจะมีแต่ไม่เห็นว่าดีกว่าที่เอามาพูด กำหนดวิ่งตาม กำหนดก็คือตัวมัน แล้วก็วิ่งตาม วิ่งตาม แล้วก็ขี้เกยจวิ่งตาม เฝ้าดูอยู่จุด จุดหนึ่งก็พอ จิตตรงนั้นพอกำหนดมากเข้า มากเข้า ละจากความเป็นวัตถุมาสู่เป็นมโนภาพคือทางจิตใจ จึงเรียกว่านิมิต นิมิตสร้างขึ้นมาที่ตรงนั้น เป็นนิมิตอันใดอันหนึ่งขึ้นมา จะเป็นอะไรก็ไม่แน่ แต่ว่ามันเป็นนิมิตที่สร้างขึ้นมา เปลียนจากวัตถุมาเป็นนิมิต ในคัมภีร์เค้าเขียนว่าเป็นนิมิตสีซะส่วนมาก เป็นดวงขาว ดวงดำ ดวงแดง เป็นอย่างนี้โดยมาก แม้ไม่เป็นดวง แต่ก็เป็นสีหรือว่าเป็นสิ่งที่กระทบให้รู้จักได้ เป็นเหมือนกับดวงจันทร์ก็มี เป็นเหมือนกับแก้ว แหวน เพชรพลอย เป็นดวงเป็นสี เป็นเหมือนกับว่าแม้ที่สุดแต่อะไรมันสะท้อนแสงอยู่กลางแสงแดด เช่นใยแมงมุมสะท้อนแสงอยู่กลางแสงแดด น้ำค้างที่ใบไม้มันสะท้อนแสงอยู่กลางแสงแดด เรียกว่าเป็นดวงได้ทั้งนั้น เป็นสิ่งที่กำหนดได้ทั้งนั้น ถึงว่าแม้แต่ว่อะไรจะเกิดขึ้นมาดีกว่าในนิมิตนี้จะสร้างขึ้นมา มันเหมาะสมสำหรับคนนั้น บุคคลคคนนั้น คงจะเห็นนิมตที่สร้างขึ้นมาอย่างไรก็ตามนั้น รักษาไว้ได้ รักษาไว้ได้นิมิตนี้ ยังไม่เก่ง แสดงบทบาทที่เก่งกว่านั้น ก็เปลี่ยนมันนิมิตที่เป็นอุคคห นิมิตที่สร้างขึ้นมาได้อย่างนี้แล้ว เปปลี่ยนรูปเปลี่ยนรูปเรียกว่า ปฏิภาคนิมิต ถ้าดวงมันใหญ่ให้มันเป็นเล็ก เล็กให้มันเป็นใหญ่ ดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ ให้มันเปลี่ยนรูปอย่างใดก็ได้ ตรงกันข้ามก็ได้ เรียกว่ามันยอมแพ้เราแล้วตอนนี้ จิตมันอยู่ใต้อำนาจของเรา ไอ้ร่างกายก็สงบระงับมากเท่าที่มันเป็นสมาธิมากเท่าไหร่ สมาธิได้มากเท่าไหร่ คือชนะนิมิตทั้งหลายมากเท่าไหร่ ก็สงบระงับมากเท่านั้น นี่ประสบความสำเร็จสูงสุดในหมวดที่1 เรียกว่ากายานุปัสสนา เพียงเท่านี้ก็มีความสุขทางกาย มีสมรรถนะ สมรรถภาพทางกาย เกินกว่าที่ธรรมชาติให้มา เรามีร่างกายที่พัฒนาดีแล้ว มีความสุขได้สูงสุดแล้ว มีสมรรถนะ สมรรถภาพสูงสุดกว่าที่ธรรมชาติให้มา จึงจะทำอะไรได้ดีกว่า ถ้าคิดอย่างโลภๆจะเอาประโยชน์ ก็สามารถจะตักตวงเอาประโยชน์ได้มากกว่า กระทั่งว่าไปเอาเปรียบคนอื่น ไปเบียดเบียนคนอื่นก็ยังทำได้ดีกว่า อันนั้นไม่ใช่วัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์มีแต่สงบ สงบ สงบ แล้วก็มีความสุข มีความสามารถขึ้นในตัว เมื่อมันมีเทคนิคของมันอย่างนี้ เรารู้ แบล็คกราวน์ของมันมากเท่าไหร่ เราจะสามารถใช้เทคนิคได้ดีได้มากเท่านั้น จะมีผลดีหรือมากเท่านั้น นี่คือหมวดที่1 หรือหมวดกายา
คราวนี้ก็มาหมวดที่2 เรื่องกายเสร็จไปแล้วก็มาฝ่ายจิตฝ่ายจิตใจ อันแรกก็คือเวทนา เวทนาไม่ใช่ตัวจิต เวทนาเป็นเจตสิก คือสิ่งที่จะเกิดกับจิต บรรดาสิ่งที่จะเกิดกับจิตเรียกว่าเจตสิก คำว่าเจตสิกมันแปลว่า ไปกับด้วยจิต เป็นไปกับด้วยจิต เนื่องไปด้วยกับจิต เรียกว่าเจตสิก เวทนาคือความรู้สึก บวกหรือลบ สุขหรือทุกข์ มันเป็นเจตสิก แล้วมันจะเกิดขึ้นกับจิต จิตจะรู้สึกต่อเวทนานั้น หมวดที่2 นี้อย่าเพิ่งยุ่งกับจิต แต่เอาสิ่งที่เกิดกับจิตมาจัดการ คือเวทนา เวทนาแปลว่าความรู้สึก ที่รู้สึกจากจิต ใครจะไปนับไหวหล่ะเวทนา นับจำนวนนับชนิดไม่ไหว แต่ว่าสรุปแล้วมันก็คือว่า พอใจหรือไม่พอใจ น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ หรือว่ายังไม่น่าพอใจหรือไม่น่าพอใจ มี3เท่านั้นแหละ สุข-พอใจ, ทุกข์-ไม่พอใจ, อทุกขมสุข-พูดไม่ได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจ ยังพูดไม่ได้ บรรยัติไม่ได้ ไม่ได้เรียนจากหนังสือ ได้เรียนจากตัวเวทนา เวทนาทั้งสามมันเคยเกิดมาแล้ว ตั้งแต่รู้ความ เป็นเด็กคลอดมาจากท้องแม่ไม่เท่าไหร่มันก็รู้จักเวทนา มาศึกษารู้จักกันไว้ทั้งสามอย่างนี้ เวทนาสุขให้เกิดกิเลสประเภทราคะ โลภะ, เวทนาทุกข์ก็เกิดกิเลสประเภททำลาย โทสะหรือโกธะ, อทุกขมสุขไม่รู้ว่าอย่างไรแน่ก็เกิดกิเลสประเภทโง่คือโมหะ เวทนามันเป็นอย่างนี้ ทีนี้เวทนาที่มันเป็นปัญหาแก่ชีวิตจิตใจของมนุษย์มากที่สุดคือ เวทนาฝ่ายสุข เรียกว่าฝ่ายบวก ก็มันยั่วยวนมาก มีตัณหามาก มาทำอานาปานสติไม่ต้องขนมาทั้งหมดหรอก เอามาแต่เวทนาที่มันกล้าแข็ง อำนาจมันสูงสุดก็คือ ฝ่ายบวก อย่างหยาบอยู่เรียกว่าปีติ ละเอียดแล้วเรียกว่าสุข เราดึงออกมาเพียงสองชื่อ"ปีติปะฏิสังเวที"อันแรก "สุขะปะฏิสังเวที"อันถัดมา จริงๆแล้วก็เคย1:07:15 เราก็เสวยเวทนาอยู่ตลอดเวลา แต่เราไม่ศึกษามัน เราเสวยเวทนาด้วยความโง่ ไม่ว่าดีใจ เสียใจ ดีใจ เสียใจ สงสัย ดีใจ เสียใจ สงสัยอยู่.1:07:30เดี่ยวนี้ไม่เอาแล้ว มาศึกษา