แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
อาตมาขอแสดงความยินดีในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ ในลักษณะอย่างนี้ คือมาแสวงหาธรรมะเพื่อไปใช้ในการดำรงชีวิต ประกอบกิจการงานในหน้าที่ให้สำเร็จประโยชน์ยิ่งๆ ขึ้นไป โดยที่ถือหลักของธรรมชาติอย่างถูกต้องชัดเจนแน่นอน เพราะชีวิตนี้เป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ แล้วก็ฉีกได้ ธรรมชาติให้มาสำหรับปรับปรุงเอาเอง ในการที่จะเติมสิ่งที่ต้องเติมลงไปก็มี ในการที่จะต้องเอาบางสิ่งบางอย่างออกไปเสียก็มี การที่จะปับปรุงหรือพัฒนาให้มันดียิ่งขึ้นไปก็มี เวลานี้เป็นสิ่งที่ท่านทั้งหลายจะลืมเสียไม่ได้ ก็บางอย่างต้องปรับปรุงให้มันดีขึ้นไป บางอย่างต้องเติมลงไป บางอย่างต้องเอาออกไปเสีย นี่เรียกว่าเป็นการปรับปรุงสิ่งที่เรียกว่าชีวิต ไอ่การที่มาพูดกันเวลาหัวรุ่งอย่างนี้ก็มีความหมาย เพราะว่ามันเป็นเวลาที่จะได้ผลดี หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สะดวกและง่ายดาย เวลาหัวรุ่งอย่างนี้มันเป็นเวลาพิเศษของธรรมชาติ มีความเหมาะสมตามธรรมชาติหลายๆ อย่าง เช่น มันพักผ่อนมาดีมันก็พร้อมที่จะทำอะไรได้ดี มันพร้อมที่จะตรัสรู้ มันขีดสุดที่จะตรัสรู้ หลังจากที่ได้พยายามตั้งแต่ตอตหัวค่ำ มันเป็นเวลาที่จิตเหมาะสม แม้ทางฝ่ายวัตถุมันก็เหมาะสม เนความสดชื่นของทุกสิ่ง ต้นไม้ต้นไร่มันจะ..โดยมากมันจะบานเวลาหัวรุ่ง จิตใจของเราก็ยังว่าง หรือเหมาะสมที่จะเติมอะไรลงไป ฉะนั้นอย่าเสียดายความสุขจากการนอน เวลาหัวรุ่งเอาเป็นเวลาเติมสิ่งที่ควรจะเติมลงไปในจิตใจ โดยเฉาพะธรรมะ อย่างที่กล่าวแล้ว แม้อัตมาเองก็มีเหตุผลส่วนตัว ว่าจะมีเรี่ยวแรงพูดจาอะไรบ้างก็เป็นเวลาหัวรุ่งอย่างนี้ เดี๋ยวนี้มันจะมีแต่ความอ่อนเพลีย คือไม่มีแรงยิ่งขึ้นๆ ทุกปี ก็เลยถือโอกาสที่จะมาพูดจากันเวลาอย่างนี้อีกทางหนึ่งที่ควรจะทราบไว้ว่า ทุกๆ เวลาเนี่ยมันเป็นการศึกษาได้ ทุกอิริยาบถ เช่น จะเดินจากที่ฝึกมาที่นี่ เราควรจะคิดว่าเป็นการเดินไปที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็เหมือนกับไปโรงเรียน ไปโรงเรียน ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น อย่าทำมันเป็นอย่างนั้น มันเป็นการเรียนเอง เป็นตัวการเรียนเอง แม้ในการเดินมา ชีวิตเป็นโรงเรียนตลอดเวลา การฝึกสมาธิก็ฝึกทุกอิริยาบถจะเป็น เดิน ยืน นั่ง นอน ทุกอิริยาบถ นี่เป็นการฝึก เราก็ถือโอกาสฝึก ฝึก บางทีกำลังฝึกอยู่ อาณาปาณสติ นี่ก็ฝึกอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อนัตตนา อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เวลาก็ยาวพอที่จะฝึกเดินครึ่งชั่วโมง ทุกก้าวท้าว ฝึกมีสติว่า ถ้ามันไม่ใช่ตัวตนที่มันเดิน โดยเฉพาะเดินด้วยวัตถุประสงค์ใดอย่างหนึ่ง ถ้าท่านคิดว่าเดินด้วยความประสงค์จะมาศึกษา มันมีความประสงค์ เพราะอย่างนี้แล้วมันก็ไม่ใช่ฝึกธรรมะ มันเป็นความประสงค์เป็นความต้องการทั้งนั้น ถ้าเป็นการฝึกธรรมะ เหมือนการฝึกให้รู้ว่า การเคลื่อนไหวตามธรรมชาติที่เรียกว่า เดิน เดิน เดิน นี่ไม่ใช่ของบุคคล ไม่ใช่ของตัวตน มันเป็นกิริยาที่เดิน หรือเรียน สมมติ สมมติเรียกกันว่าเดิน เดิน แล้วก็ให้เหลืออยู่กันแค่ว่า กิริยาบถเดิน เท่านั้นหนอ ไม่ต้องมีตัวกู ตัวเรา ผู้เดิน หัดเดิน อย่างไม่มีผู้เดิน เดินอย่างไม่มีตัวตน ผู้เดิน นี่เป็นสิ่งที่ใช้ฝึกอยู่ได้ตลอดเวลาไม่ใช่เฉพาะที่นี่หรือคราวนี้ แต่ควรจะฝึกตลอดไป โอกาสมีเมื่อไรก็ฝึกเดิน นี่อย่างนี้ไม่มีตัวผู้เดิน นี่เป็นสติที่สูงสุด ทำอะไรโดยอิริยาบถใดไม่ว่าโดยอิริยาบถไหน ฝึกกระทำโดยไม่มีผู้กระทำ มันมีจิตตัวจิตไม่ใช่ผู้กระทำ จิตควบคุมร่างกายให้เป็นไปอย่างนั้นๆ มีเพียง ๒ อย่างคือ กายกับจิต ส่วนตัวกูนั้นไม่ต้องมี จิตมันรู้อะไรได้ตามหน้าที่ของจิต ร่างกายนี้ก็รู้หน้าที่ของมันได้ตามร่างกาย มันมีหน้าที่ของมัน และมันรู้หน้าที่โดยไม่ต้องมีตัวกู หน้าที่โดยไม่ต้องมีตัวกู ตัวตน เจตภูษ ตัววิญญาณได้เข้ามาสั่ง หรือจิตบังคับอยู่ให้กินได้ นอนได้ อ่านได้ ถ่ายได้ มันรู้สึกทางอวัยวะได้ รู้ที่ทำงานโดยไม่ต้องรู้สึก ตับไตไส้พุงก็ทำงานโดยไม่ต้องรู้สึก อย่างนี้ก็มีให้เห็นว่ามันไม่ได้มีตัวตนอยู่ที่ไหน มันเป็นเพียงกายกับจิตทำไปตามธรรมชาติ ตามเหตุปัจจัย นั่นเข้ามาบังคับปรุงแต่งให้ทำ ให้ทำ ซึ่งนี่มันเป็นเรื่องสูงสุดของพุทธศาสนา คือ เรื่องไม่มีตัวตน ศาสนาอื่นๆ หรือว่าก่อนพุทธศาสนาต้องมีตัวตน ตัวตนอย่างนั้นอย่างนี้ อย่างนู้น และกระทั่งสุดท้ายก็มีตัวตนที่ถาวรนิรันดร์ พุทธศาสนาเกิดขึ้น เพื่อจะเลิกล้างไอ่ความคิดนั้นเสีย โดยไม่ต้องมีตัวตน มีแต่ธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติล้วนๆ ก็เป็นไปได้ โดยธรรมชาติ ตามกฎของธรรมชาติ ร่างกายก็เป็นไปได้ จิตก็เป็นไปได้ จึงไม่ต้องมีตัวตน ทำไมต้องเป็นอย่างนี้ ก็เพื่อจะไม่มีความทุกข์ ไม่มีตัวตนสำหรับยึดถือ หรือแบก ทูนเอาไว้ มันก็ไม่มีความหนักถ้ามีอะไรเป็นของตนก็หนัก เพราะฉะนั้นชีวิตมันก็กลายเป็นแบกของหนัก ชีวิตที่ไม่มีตัวตนมันก็ไม่ต้องแบกของหนัก นี่มันหมดเหตุหมดปัจจัย จบ ลบ สิ้นสุดลงด้วยความว่าง เรียกว่า ว่างนิรันดร์ เปรียบเทียบกันได้ง่ายๆ ว่า พวกที่มีตัวตนเค้าก็ไปมีตัวตนนิรันดร์ตามแบบของเขา ทางฝ่ายพุทธเรานี้มันก็มีนิรันดร์ ว่างนิรันดร ว่างจากตัวตนไม่ใช่ความตาย ต้องเรียกว่า ความว่าง จึงจะถูกต้อง เป็นนิรันดร์ เอาล่ะ นิรันดรดวยกันทั้งนั้น ก็พวกหนึ่งตัวตนนิรันดร พวกหนึ่งก็ว่างนิรันดร เพราะว่า หน้าที่มีชีวิตอยู่ที่นี่มันก็ว่าง ว่างจากตัวตน ไม่ต้องมีตัวตน มีแต่ร่างกายกับจิตใจที่มันเป็นไปตา ธรรมชาติ และจิตใจเป็นสิ่งที่อบรมได้ อบรมแล้ว อบรมอีก ฉลาดยิ่งขึ้นเสมอ จนสามารถคิดนึกถูกต้อง เป็นอยู่อย่างถูกต้อง เพราะฝึกควบคุมสิ่งที่เรียกว่าชีวิตถูกต้อง ไม่ต้องมีความทุกข์ นี่มันเป็นการพัฒนาชีวิตนั้นให้มันสูงขึ้นมา สูงขึ้นมาๆ จสอยู่ในสภาพที่ไม่ต้องเป็นทุกข์เลย ถึงจะรู้สึกได้รับรู้ ยอมรับว่า ไอ่บทเรียนเรื่องไม่มีตัวตนโดยประการทั้งปวงนั่นแหละ เป็นบทเรียนที่สูงสุด ที่จะอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ คือว่าเราอยู่ก็อยู่อย่างไม่มีความทุกข์ คือไม่มีของหนักกดทับจิตใจ จิตใจก็มีสติปัญญาที่คล่องแคล่วว่องไว มีอิสระเสรีอยู่เสมอ แม้ว่าจะชำนาญมันก็ชำนาญด้วยจิตใจอย่างนี้ คือว่างจากตัวตน
แม้ว่าจะศึกษาเล่าเรียน ไอ่ลูกเด็กๆ จะศึกษาเล่าเรียน วัยรุ่นจะศึกษาเล่าเรียน ก็ทำด้วยความรู้สึกที่ ไม่ยึดถือตัวตนอะไรให้หนักอกหนักใจอย่างนี้ทำได้ดีกว่า ทำได้เร็วกว่า ไม่ต้องมาทำงาน เรียนแล้วจะทำงาน ซึ่งจะเริ่มประสพปัญหาความยุ่งยากลำลาก ถ้ามีสต ปัญญาเรื่องไม่มีตัวตน เข้ามาช่วยเหลือกันแล้ว ไอ่งานนั้นก็จะไม่หนัก จะไม่ยากจะไม่ลำบาก แม้จะเฉลยผลงานก็ไม่โง่ ไม่ตระกะตระกามในการเสวยความสุข ในที่สุดก็จะพักผ่อนที่เรียกกันว่า พักผ่อน ถ้ามันมีตัวตนกัดกุมอยู่ในใจมันไม่เป็นการพักผ่อนหรอก ไม่ได้พักที่ทะเลที่ยอดภูเขาที่เรียกว่าอะไร ก็ไม่เป็นการพักผ่อน ถ้าว่าไอ่ตัวตนมันกลัดกลุ้มอยู่ในใจ เมื่อไม่มีตัวตนกลัดกลุ้มอยู่ในใจ มันก็เป็นการพักผ่อน ที่บ้านที่เรือนที่อึกทึกครึกโครมในโรงงาน ในโรงละคร ถ้าจิตใจออกไปเสียจากความรู้สึก เอ่อ ตัวตนออกไปจากจิตใจหรือจิตใจออกไปจากความรู้สึกว่าตัวตน มันเป็นการพักผ่อนทันที นี่ขอให้ดูเถอะ แม้แต่จะพักผ่อนชีวิตร่างกายจิตใจต้องมีการว่างจากตัวตนจึงจะมีการพักผ่อน ฉะนั้นเราจะต้องมีความรู้สึกที่คล่องแคล่วมากทีเดียวในการที่จะไม่มีตัวตน ขจัดความรู้สึกว่า มีตัวตนออกไปเสียได้ในพริบตาเดียว หรือจะพูดว่า ด้วยการหายใจครั้งเดียวตัวตนไม่มีเหลืออยู่ในความนึกคิดรู้สึก ก่อนนี้สำเร็จได้ด้วยการทำอาณาปาณสติ ทำอยู่เป็นประจำ แม้แต่จะเดินมาที่นี่ มันก็กลายเป็นเข้าโรงเรียน ไม่ใช่ว่าเดินไปโรงเรียนไม่ใช่ มันก็เข้าโรงเรียนอยู่ทุกๆ กิริยาปางเดิน ยืน นั่ง นอน ไอ่คนธรรมดาเค้าเดินตอนเช้า วิ่งตอนเช้า หาอนามัยนั้นมันอีกเรื่องหนึ่ง เราก็พลอยได้กับเค้า การเดินตอนเช้า แต่ว่าความประสงค์อันแท้จริงก็เพื่อจะทำบทเรียนที่เกี่ยวกับการเดิน ทำบทเรียนเกี่ยวกับการเดิน เพื่อเดิน ทำบทเรียนเกี่ยวกับการยืนเมื่อยืน นั่งเมื่อนั่ง นอนเมื่อนอน มีสติ มีสติที่จะควบคุมจิตใจ อย่าให้โง่ไปเอาอะไรมาปรุงแต่งให้เกิดเป็นตัวกู ตัวกู เป็นของกู ของกูขึ้นมา นั่นเรียกมันปรุงแต่งด้วยอวิชชา ด้วยความโง่ ความเขลา เป็นตัวตนขึ้นมา แล้วก็มีปัญหา แล้วก็มีเรื่องคือความหนัก ชีวิตนี้จะเป็นของหนักจะเป็นภาระอยู่ในตัวมันเอง อยู่ในตัวตนมันนั่นแหละ ของหนัก บทสวดมนต์ที่สวดกันอยู่ ขันธ์
ทั้ง ๕ เป็นของหนักเนื้อ มีตัวตนในสิ่งใด ทั้ง ๕ ขันธ์ ขึ้นมาละก็ว่ากันแบกของหนัก เป็นคนแบกของหนัก ทนทุกข์ ไม่สบาย ไม่มีอิสระ แล้วโยนทิ้งไปให้ว่าง อิสระมันก็สบาย
จิตเป็นอิสระก็ทำงานได้ดีทุกอย่าง ไม่ว่าจะร้อนจะเย็น จะคิดจะนึก จะจดจะจำจะตัดสินใจ จะอะไรตามหน้าที่ของจิต จิตนี้จะทำได้ดี นี่คือการฝึกอย่างยิ่ง พัฒนาอย่างยิ่ง ไอ่สิ่งที่มันยังใช้ไม่ได้ ให้มันใช้ได้ดีที่สุด ให้รวมอยู่บทที่เรียกว่า ชีวิตนี้พัฒนา คือเติมสิ่งที่ยังขาดอยู่ให้เต็มขึ้นมา ก็พัฒนาให้มันสูงยิ่งๆ ขึ้นไปโดยคุณภาพ โดยเฉพาะถ้าจะกล่าวเป็นคำที่สำคัญกว้างขวางที่ยิ่งใหญ่ก็คือ พัฒนาสัญชาตญาณ สัญชาตญาณ นี่ชาวนาอาจจะไม่รู้จัก คือ ความรู้สึก สติ ปัญญาที่มันเกิดอยู่ตามธรรมชาติ เกิดเองตามธรรมชาติ ไม่ได้มีการศึกษามันก็เกิดได้เอง นี่มันก็เป็นความรู้ เป็นควา รู้ชั้นต่ำ ขั้นตามธรรมชาติ ต้องพัฒนาให้สูงๆ ขึ้นไป ตามสัญชาตญาณมันจะลงไปหาตัวกู ตัวกู ไปหาตัวกูมีตัวกูมากขึ้น มันก็ทำให้เป็นความรู้ที่ถูกต้อง เรียกว่า
ภวิทญาณ
ความ รู้ที่พัฒนาดีแล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือว่าตัวตนจะพัฒนากันทุกอย่างทุกแง่ทุกมุม คือมีสติมากกว่าที่จะมีตามธรรมชาติ มีสัมปชัญญะ มีความพากเพียร มีความเข้าใจ มีควา อดกลั้นอดทนยังไงก็ตามเถิด ดีกว่ามีอยู่ตามธรรมชาติ นี่เป็นสิ่งที่ต้องพัฒนา นี่เรียกสั้นๆ ว่า พัฒนาสัญชาตญาณ นี้เป็น
ภาวิตญาณ ญาณที่พัฒนาแล้ว ทำให้เจริญดีแล้ว การเรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรม การพัฒนาสิ่งนี้โดยตรงๆ สมาธิตามธรรมชาติมันก็มีไม่ใช่ไม่มีมันก็ตายคนเรา สติตามธรรมชาติมันก็มีไม่ใช่ไม่มี แต่มันไม่พอ มันไม่พอที่จะแก้ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่าง ซึ่งต้องพัฒนา เด็กๆ เค้ายิงหนังสติ๊กหรือว่าเล่นทอยกองหยอดหลุมได้ ด้วยสมาธิตามธรรมชาติ ไม่ใช่ไม่มีมันก็มีอยู่ ยิงปืนยิงไม้ได้ตามธรรมชาติ มีสมาธิแต่เพียงเท่านั้นไม่พอต้องฝึกให้มากกว่านั้น มีสติระลึกอะไรได้ แต่มันยังไม่สูงสุด ยังไม่พอ มันจึงฝึกส าธิฝึกสติ และปัญญาที่สูง สูงขึ้นไปเป็นประจำ การฝึกอาณาปาณสติ ทีมพยายามฝึกกันอยู่นั่นแหละช่วยแก้ปัญหาในข้อนี้ทั้งหมดทั้งสิ้น คือจะฝึกสิ่งที่ควรได้รับการฝึกให้สูงสุดๆ ตามที่ธรรมชาติจะกำหนดให้ หรือว่าไกลไปถึงที่มนุษย์ทำไม่ได้ ก็ยังเป็นเรื่องธรรมชาติกำหนดให้ ไม่อาจจะเป็นเรื่องเหาะเหินเดินอากาศ เกินความคิดนึกของคนธรรมดา ก็ยังเป็นเรื่องของธรรมชาติอยู่นั่นแหละ ไม่เกินธรรมชาติ ธรรมชาติมันฝึกได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุดอย่างนี้ นี่พูดเสียยืดยาว แม้แต่เพียงเดินมาที่นี่ไม่ใช่ว่าเดินมาโรงเรียน แต่เป็นโรงเรียนตลอดทาง เดินกลับก็เหมือนกัน จึงไม่ต้องคุยกัน มันจะเดินคุยกัน มันก็เป็นอย่างอื่นไป หรือถ้าพวกทหารเดินไปไหนก็ร้องเพลงมาร์ชเราไม่ต้อง ถ้าจะมีเพลงมาร์ชละก็ ร้องอยู่ในจิตใจไม่ต้องออกเสียงคือเรื่อง อนัตตา มิใช่ตัวตน หรือว่าสุญญตา ว่างจากตัวตน มีแต่อิริยาบถที่เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกายที่มีจิตใจควบคุมแล้วก็เดินไปได้ เนี่ยก็...
ทราบหรือขอให้ฝึกให้คุ้มค่าของเวลาหรือการลงทุนอย่างอื่น
เอาทีนี้ก็จะดูกันต่อไปสิว่า มาแสวงหาธรรมะเพื่อประโยชน์แก่ชีวิตในธรรมะนี้ มีสักกี่มากน้อยมีสักเท่าไร ข้อนี้บางคนยังไม่เข้าใจเท่ากับคำว่า ธรรมะ ธรรมะซึ่งเป็นภาษาบาลี ภาษาบาลีภาษาอินเดียโบรใณ มีธรรมะมันมีเท่าที่ควรจะมี เท่าที่ควรจะมี แต่ว่าไอ่ธรรมะธรรมะมันมาก มากไม่ยกเว้นอะไร จำไว้สัก ๔ คำก็หมดละ ไอ่ตัวธรรมชาติปรากฎการณ์ทั้งหลายก็เป็นธรรมะ ธรรมชาติทั้งหลายมันเป็นธรรมะ กฎของธรรมชาติที่มันมีอยู่ในตัวธรรมชาตินั้นๆ ก็เป็นธรรมะ ฉะนั้นหน้าที่ หน้าที่ทั้งหลายที่สิ่งมีชีวิตจะต้องทำให้ถูกต้องตามหลักของธรรมชาติก็เป็นธรรมะ แล้วผลที่เกิดขึ้นก็ตอบแทนผู้ที่ทำหน้าที่ว่า ธรรมะ ๔ คำ ตัวธรร ชาติเองตัวกฎของธรรมชาติ ตัวหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ และตัวผลทั้งหลายที่เกิดจากหน้าที่ พอกล่าวอย่างนี้มันก็หมดไม่มีอะไรเหลือ ธรรมชาติทั้งจิตใจและไม่ใช่จิตใจ จักรวาลทั้งหมดก็เป็นธรรมชาติ ส่วนที่เป็นจิตใจทั้งหมด และไม่มีจิตใจก็มี ส่วนที่มีจิตใจนั้นยังแบ่งละเอียดออกไปเป็นถึงว่า
สังกัตตะ เป็น อสังกัตตะ
คือสิ่งที่เป็นไปได้ในตัวเอง ไม่ต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอสังกัตตา สิ่งที่ต้องมีปัจจัยในการปรุงแต่งนั้นก็เรียกว่า สังกัตตะ พวกนั้นไม่ต้องมีปัจจัยปรุงแต่ง พวกที่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ยังเป็นธรรมชาตินั่นแหละ พวกฝรั่งก็รู้เรื่องนี้นะไม่ใช่ไม่รู้ ถ้ามีคำว่า
ตัว สังกัตตะ มีเหตุปัจจัยปรุงแต่ง มี.... เป็นเอกัตจวัจนะ อย่างเดียวที่เป็น อสังกัตตะ
เรารู้ว่าไอ่สิ่งทั้งหมดมันแบ่งได้เป็น ๒ อย่าง ทั้ง ๒ อย่างนี้เป็นธรรมชาติ อยู่ในธรรมชาติมันมีกฎเกณฑ์ ตัวธรรมชาติมันเป็นธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาะุไฟ ธาตุลม มันก็มีกฎเกณฑ์อย่างนั้น อย่างนั้น มันมีตัวกฎอยู่มันก็ต้องรู้ ในเมื่อมันมีกฎแล้วมันก็ต้องทำถูกต้องตามกฎบ้าง ถ้าไม่ถูกตามกฎมันก็คือตาย ตายจริงๆ ตายทั้งร่างกาย ตายทั้งทางจิตใจ คอมีความทุกข์ชนะความสุขไม่ได้ ในเมื่อมีการทำหน้าที่ตามธรรมชาติ แล้วก็เกิดผลกันมาตามหน้าที่ ผิดก็เป็นทุกข์ ถูกก็ไม่เป็นทุกข์มีเท่านี้ มีธรรมชาติ
.............. ไม่ยกเว้นอะไร แล้วมันก็น่าประหลาดที่มันมีพร้อมอยู่ในตัวคน คนเดียว คนเดียว ยาวตั้งวา มันมีธรรมชาติมีตัวกฎธรรมชาติ มีหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ แล้วผลที่ได้รับอยู่ที่ตัวนั่นแหละ ที่คนเรียกว่า ตัวคนอย่างนี้ เป็นภาษาดูดของชาวบ้านที่พูดกันธรรดา ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง มันเป็นตัวตนโดยสมมติ ตัวตนเปลี่ยนแปลงเรื่อย เรารู้ธรรมะ ก็หมายถึงเรารู้สิ่งนี้ แต่ว่าใน ๔ สิ่งมันมากเกินไปที่จำเป็นที่สุดที่ต้องรู้ที่สุดก็คือ คำว่าหน้าที่ หน้าที่เป็นไทย ภาษาไทยเรียกว่า หน้าที่ เป็นภาษาบาลี เรียกว่า ธรรมะ ธรรมะ ธรร ะเป็นคำพูดที่เกิดขึ้นมาโดยบุคคล เป็นคำพูดเกิดที่สังเกตุเห็นว่ามันมีสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่ ฉะนั้นธรรมะก็คือหน้าที่ นี่พรดพุทธเจ้าท่านก็ตรัสรู้ของท่านเอง ว่าท่านพูดแต่เรื่องความทุกข์และการดับทุกข์ การดับทุกข์เป็นหน้าที่ ที่ส่วนความทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องรู้เพื่อดับทุกข์ เพื่อทำหน้าที่ ถ้าไม่มีความทุกข์ คนเราไม่มีหน้าที่นะคิดดูให้ดี ถ้ามันไม่มีความทุกข์อะไรแล้วมันก็ไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทำ ที่จะต้องแคำก้ปัญหา แต่นี่มันมีตัวความทุกข์จดต้องรู้จักก่อน แล้วก็รู้จักแก้ ให้ทำลายมันหมดทุกข์ เรียกว่าดับทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสข้อนี้ไว้ชัดมาก ตกทอดบัญญัติหรือพูดแต่เรื่องทุกข์กับดับทุกข์ เรื่องอื่นไม่ แต่เดี๋ยวนี้มัน เราได้รับคำสอนจากหลายทิศหลายทางมากเกินไปจนเอาเรื่องอื่นมาสนใจ แม้ไอ่เรื่องในพุทธศาสนาก็มีเรื่องที่ เพ้อ เพ้อ เพ้อมากเกินไปอยู่ในลักษณะที่ไม่ต้องสนใจก็มีเหมือนกัน
ไม่ต้องรู้ก็ได้ ก็สามารถจะดับทุกข์ได้ เช่น ไม่ต้องรู้ว่าอะไรทำให้เกิด อะไรทำให้ไม่เกิด อะไรมาเกิด เรื่องมาเกิดไปเกิดนั้นไม่ใช่เรื่องพุทธ เป็นเรื่องฝ่ายฮินดูกันนู่น เรารู้แต่ว่าเกิดมาแล้วอย่างนี้จะดับทุกข์กันอย่างไร นอกนั้นไม่ต้องรู้ก็ได้ ถ้ารู้มันก็ได้ แต่มันยากที่จะรู้ ถูกต้อง ยากที่จะรู้ ทบทวนให้รู้ผิดๆ แล้วมันก็เสียลงเปล่าๆ เกินไป คำว่า อภิธรรม อภิธรร นั้นแปลว่า เกินก็ได้ แปลว่าดีที่สุดก็ได้ คหว่า อภิ มันแปลก ยอดสัด ดีที่สุด แล้วก็เพ้อจนเกินไปก็ นึกถึกลูกอภิธรร ที่แท้ที่เกิด อนัตตา สุญญตา ไม่มีตัวตน ก็อย่างที่ชาวนารู้วิธีทำนาที่ถูกต้องก็ได้ก็พอ ไม่ต้องรู้ละเอียดมากไปถึงไอ่วิชาการ วิทยาศาสตร์ลึกลับเกี่ยวกับชาติ เกี่ยวกับโลก เกี่ยวกับไอ่ที่มันเกินหน้าที่ของชาวนา รู้วิธีปลูกข้าวให้ได้ผลดีเท่าที่จะจำเป็นมันก็พอ ส่วนวิชาการนอกนั้น ไว้ให้พวกนักวิทยาศาสตร์ช่วยตอบคำถามให้ชาวนมให้ค้นคว้าวิธีให้ชาวนา โดยที่ตัวชาวนาไม่ต้องรู้ ถ้าชาวนาไปศึกษาไปทำอย่างนั้น มันก็ไม่ต้องทำนาสักแห่ง คนจีนเค้าปลูกผักขายได้ผลดีกว่า คนไทยที่มัวแต่เรียนรู้เรื่องอะไร ก็ไม่รู้มันมากเกินไป นี่เรื่องชีวิตนี้ก็เหมือนกัน รู้แต่เรื่องดับทุกข์ให้ได้ก็พอ ปัญหามันมีทั้งที่เรื่องแห่งทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ นี่มีชื่อเรียกจำง่ายๆ ว่า การเรียนเรื่อง ปฏิจสมุทบาท อย่างที่สอนนั้นมันเรียนเรื่องดับ เรียนเรื่องดับทุกข์ แล้วเราก็ปฏิบัติ อาณาปาณสติ ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ ตอนแรกที่ว่าเรียน เรียนให้รู้ เรียนให้รู้แล้วก็ปฏิบัติ ปฏิบัติให้สำเร็จ มันแยกเป็น ๒ เรื่องก็ได้ แต่รวมเป็นเรื่องเดียวเสียด้วยกันก็ได้ คือดับทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรื่องดับทุกข์ เรียนให้รู้แล้วดับทุกข์ให้ได้ มันกลายเป็นเรื่องเดียวที่เราต้องเรียนกัน ปฏิบัติกัน กลายเป็นเรื่องเดียวคือเรื่องดับทุกข์ นี่ถ้าจะไปแยกมันมากเกินไป เป็นเรื่องนรก สววรค์ นิพพาน เป็นเรื่องเกิดใหม่ เป็นเรื่องอะไรๆ สารพัดอย่างจนไม่รู้จะเอายังไงกัน นี่เรื่องดับทุกข์ ไม่มีความทุกข์กันตลอดชีวิตนี้ นั่นมันก็พอแล้ว เรื่อง ปฏิจสมุทบาท มันเป็นเรื่องความจริงของสากลจักรวาล ทั้งฝ่ายจิตใจ ฝ่ายร่างกาย ทั้งฝ่ายสังฆัสสะ และฝ่ายอสังฆัสสะ เรียนรู้เรื่องนี้แล้วดับทุกข์ได้
ปฏิจสมุทบาท แปลว่า มันอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นมา คำนี้แปลอย่างนี้แหละ ปฏิจสมุทบาท อาศัยกันและกันอาพาธเกิดขึ้นมา ปฏิจสมุทบาท อาศัยกันและกันเกิดขึ้นมา ครบถ้วน เกิดขึ้นมาอย่างครบถ้วน โดยเฉพาะรู้เรื่องความทุกข์อาศัยการเกิดขึ้นมาอย่างครบถ้วนอย่างไร อาศัยการดับลงไปอย่างครบถ้วนโดยตรงกันข้ามอย่างไร รู้เรื่องนี้คือรู้เรื่องปฏิจสมุทบาท แล้วก็รู้แล้ว แล้วก็ปฏิบัติได้ด้วย คือดับทุกข์ได้ตามกฎของ ปฏิจสมุทบาท ในความรู้สึกทั้งหลายมันก็สำคัญอยู่เรื่องนี้
โลกนี้จะวินาศ โลกนี้ไม่มีสันติภาพ เพราะเราไม่รู้เรื่องนี้มันไม่ปฏิบัติเรื่องนี้ ถ้ามันรู้เรื่องนี้แล้วปฏิบัติเรื่องนี้ โลกนี้ก็มีสันติภาพ โลกนี้ก็หมดปัญหา เดี๋ยวนี้มีแต่เรื่องตรงกันข้าม ไม่รู้เรื่อง ปฏิจสมุทบาท ดับทุกข์ไม่ได้ แล้วก็ไปส่งเสริมให้เกิดไม่มีที่สิ้นสุดทุกข์ ไม่มีที่สิ้นสุด แล้วภายนอกก็ทำสงครามทำลายล้างซึ่งกันและกัน ปัญหาของมนุษย์เลยกลายเป็นอยู่ที่เรียกว่า ทำลายล้างกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ภายนอกในภายในก็เป็นทุกข์ เหลือประมาณแล้ว ภายนอกก็ทำลายล้างซึ่งกันและกันไม่มีที่สิ้นสุด ตั้งองค์กรระหว่างชาติมากี่องค์กร กี่องค์กร กี่องค์กรมันก็แก้ปัญหาไม่ได้ เห็นไหมมันออกจะเพิ่มโอกาสที่จะทะเลาะกันด้วยความเห็นแก่ตัว มันมากขึ้น มากขึ้น ถ้าเขารู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นมาอย่างไร ก็ควบคุมไม่ได้ มันก็ไม่มีความทุกข์ในภายใน แล้วก็ไม่ต้องทะเลาะวิวาทกันในภายนอก โลกนี้ก็มีแต่ความสงบสุข นี่เดี๋ยวนี้โลกมันบ้า ถ้าทำอย่างนี้มันหยาบคาย มันบ้ามากยิ่งขึ้นทุกที แล้วเราจะอยู่ร่วมโลกกับคนบ้าได้อย่างไร
ปัญหาหรือไม่ใช่ปัญหา ถ้าโลกนี้มันบ้ามากขึ้น บ้ารวยบ้าสวยบ้าดีบ้าเด่น บ้าอำนาจ บ้าจะครอบครองโลกกันเลย ทำสงครามกันไม่มีเวลาหยุด เวลาว่านั้นมันเป็นคนบ้า แล้วเราจะอยู่ร่วมโลกกับคนบ้าได้อย่างไรโดยที่ไม่ต้องเป็นบ้า ไอ่ที่ตายเพราะทนไม่ไหว สิ่งที่จะช่วยได้ก็คือเรื่องธรรมะ คือธรรมะนั่นแหละ มันเห็นอย่างนั้นมันก็เป็นเรื่องบ้า เราก็ไม่ต้องบ้ากับเค้า แล้วเราก็ไม่มีตัวตนสำหรับจะเป็นทุกข์ ถ้ารู้พุทธศาสนาถึงที่สุดแล้ว มันไม่มีตัวตนอย่างที่ว่า ไม่มีตัวตนแล้วมันก็ไม่มีปัญหา ไม่มีอะไรจะเป็นทุกข์ มันไม่มีใครอะไร ที่ไหนจะมาทำให้เป็นทุกข์ได้ ความบ้าของเขาก็ไม่มาถึงเรา เพราะว่าเราสามารถทำจิตใจในภายในของเรา โดยเฉพาะไม่ให้เป็นทุกข์ได้ ไม่ต้องเป็นทุกข์ แม้ว่าจะตายไป ตายโดยร่างกาย จิตใจก็ไม่เป็นทุกข์ ฉะนั้นเราไม่ต้องไปบ้ากับเขาก็ได้ เราก็สามารถทำจิตใจไม่ให้เป็นทุกข์ นี่คือประโยชน์ของธรรมะ เพราะทำให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า อนัตตา อนัตตา อนัตตามันแปลว่า มิใช่ตัวตน จำไว้ให้ดีๆ คำว่าอนัตตา อนัตตา หัวใจ พุทธศาสนาว่า อนัตตามิใช่ตัวตนคือมิใช่อัตตา มันทำอะไรได้ทุกอย่าง เหมือนกับอัตตา แต่มันก็มิใช่ตัวตนหรือว่าจิต จิตแท้ๆ คิดนึกอะไรได้ทุกอย่าง ร่างกายใช้ทำอะไรได้ทุกอย่าง รวมกันเข้าเป็นกายกับใจ จะทำอะไรได้ทุกอย่างไม่ต้องมัอัตตา ไม่ต้องมีเจตภูติ ไม่ต้องมีวิญญาณ คือ ไม่ต้องมีตัวกู ไม่ต้องมีตัวกู ตัวกูนี้มันเกิดขึ้นลมๆ แล้งๆ ความโง่ ตามสัญชาตญาณความโง่ มันเกิด เกิดตัวกู เช่น มีดบาดนิ้ว ถ้ามันรู้ความจริงมันก็มีดบาดนิ้ว แต่คนโง่มันก็พูดว่ามีดบาดกู เพราะมันโง่ตั้งแต่ออกจากท้องมารดา มันเริ่มมีตัวกูอย่างนั้นตัวกูอย่างนี้ อะไรก็เป็นเรื่องของตัวกูหมด จะได้จะเสียจะสุขจะทุกข์ จะแพ้จะชนะ จะเอร็ดอร่อย ก็กู กู กูไปเสียทั้งหมด อะไรมันก็เป็นตัวกูไปหมด มาที่นี่ก็เหมือนตัวกูมา เพื่อจะได้อะไรกลับไปเป็นของกู อย่างนี้ เป็นต้น มีความรุนแรงของตัวกูถึงขนาดนี้ แต่ทำไมต้องมีตัวกู ไม่มีตัวกูจะไม่มีปัญหา มันจะต้องสอนกันให้รู้จักไอ่ความไม่ใช่ตัวตนให้อย่างยิ่ง แม้แต่ลูกเด็กๆ ก็ควรจะสอนให้รู้ ไอ่เรื่องที่อนัตตา อนัตตาไม่ใช่ตัวตน แล้วเรื่องงบคำพูดที่ละเอียดขึ้นมาสูงขึ้นมาอีกคำก็คือ สุญญตา สุญญตา นี่เราว่างจากตัวตน อนัตตาแปลว่าไม่ใช่ตัวตน สุญญตาแปลว่าว่างจากตัวตน ไม่ต้องมีสิ่งที่เป็นตัวตน เป็นตัววิญญาณเจตภูติอะไร มีแต่กายกับใจ สองอย่างร่วมกัน ทำหน้าที่ให้ถูกต้อง แล้วก็พอแล้ว ไม่ต้องเป็นทุกข์ พอไม่มีตัวกูมันก็แก้ปัญหาได้มาก มันก็ไม่มีอะไรจะตาย ไม่มีอะไรจะเกิดมา หรือไม่มีอะไรจะตาย ไม่มีอะไรที่จะมาทำอันตรายได้ มันไม่มีตัวกู มันไม่ได้ มันไม่มีการได้ไม่มีการเสีย ไม่มีการแพ้ไม่มีการชนะ ไม่มีการได้เปรียบเสียเปรียบ แต่มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ โดยไม่ต้องเป็นทุกข์เลย ประโยชน์สูงสุดของการไม่มีตัวกู เรียกว่า ว่างจากตัวกู ว่างจากตัวกูว่างจากตัวตน เขาแปลกันผิดๆ สุญญตาแปลว่าสูญเปล่า สุญญตาไม่ได้แปลว่าสูญเปล่าหรอก ว่าง ว่างจากตัวตน ไม่ต้องเป็นตัวตน แต่ใช้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด ร่างกายกับจิตใจไม่ต้องเป็นตัวตน แต่ใช้เป็นประโยชน์ได้มากที่สุด เหลือประมาณ ไปนิพพานในที่สุดก็ได้ โดยไม่มีตัวตน ถ้ามีตัวตนไปนิพพานไม่ได้มันอยู่กับตัวตนมันอยู่กับโลกมันอยู่กับกิเลส มันอยู่กับเหยื่อล่อในโลก ไปนิพพานไม่ได้ถ้ามันมีตัวตน ฉะนั้นจิตต้องหลุดพ้นจากความโง่ ข้อนี้คือจิตไม่ยึดถือตัวจิตว่าเป็นตัวตน ไม่ยึดถือร่างกายว่าของตน เรียกว่าจิดว่างจากตัวตน ไม่ใช่สูญเปล่า มันมีอยู่แต่ไม่รู้จักใช้ให้มันเป็นประโยชน์ มันก็ไม่เป็นประโยชน์ ถ้ารู้จักใช้ให้มันเป็นประโยชน์มันก็ได้ประโยชน์ คือไม่เป็นทุกข์ ชีวิตเย็นๆๆ ชีวิตที่เย็นชีวิตที่ไม่มีปัญหา ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ ไม่ต้องร้องไห้ ไม่ต้องหัวเราะ ไม่ต้องหัวเราะเนี่ย ถ้าอย่างต้องร้องไห้ต้องหัวเราะอยู่ชีวิตที่กัดเจ้าของ ชีวิตนี้ก็เลวกว่าสุนัข เพราะว่าสุนัขมันยังไม่กัดเจ้าของ ฉะนั้นก็มีชีวิตให้ถูกต้องจนไม่กัดเจ้าของ จึงจะเร หรือควรจะมีชีวิต
ปฏิจสมุทบาท มันแสดงให้เห็ว่าเป็นอนัตตา อวิชชา เป็นความโง่ มันก็ไม่ใช่อัตตาปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณขึ้นมาตามธรรมชาติของธรรมชาติ เอาวิญญาณของธาตุตามธรรมชาติมาเป็นวิญญาณในตัวชีวิต วิญญาณทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจ วิญญาณนั้นก็ไม่ใช่อัตตา มีวิญญาณแล้วก็มีกายใจขึ้นมา มันรู้ๆ ก็ไม่ใช่อัตตา มีนามรูปแล้วก็มีอายตนะสำหรับรู้อารมณ์ หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่ใช่อัตตา เมื่อมีอายตนะอย่างนี้แล้วมันก็มีสัมผัส สัมผัสนั่นสัมผัสนี่ สัมผัสก็ไม่ใช่อัตตา รือโดยอัตตา หรือเพื่ออัตตา ก็มีเวทนาขึ้นมาเพราะการสัมผัส จากนั้นก็มีสัมผัสมา ซึ่งไม่ใช่อัตตาเป็นความรู้สึกตามธรรมชาติ มันมีความโง่ ก็เวทนามันมีความโง่ มันก็เกิดตัญหาคือความยากอยากอย่างโง่ๆ ความอยากมันก็เป็นธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวอัตตามันอยาก แต่คนโง่มันต้องคิดว่าตัวอัตตามันอยาก กูมันอยาก ถ้ามันไม่มีกูมาเลียตั้งแต่ต้นแล้วมันก็ไม่มีกู กูอยาก มีแต่ความโง่ของธรรมชาติเกิดขึ้นในจิตใจ เมื่อมีตัญหาคือความอยาก แล้วมันก็เกิดอุปาทาน ยึดมั่น ไอ่สิ่งที่มันอย่างนั้นแหละ เพื่อจะเป็นตัวตนของตนยิ่งขึ้นไป ให้เริ่มมีความหมายมั่น ยึดเป็นตัวตนก็เรียกว่า ภพ อุปาทานจะเกิดภพ ภพก็จัดว่าตามธรรมชาติไม่ใช่ตัวตน ถ้าเกิดสัญชาตเป็นตัวกูขึ้นมาในรู้สึก แสดงบทบาทอย่างนั้นอย่างนี้ หลายรูปแบบหลายสิบรูปแบบ ก็มิใช่ตัวตน ถ้ารู้อย่างนี้คือรู้หัวใจของพระพุทธศาสนาว่าทุกอย่างตลอดสายของ ปฏิจสมุทบาท นับเรียงอย่างได้ 1๒ อย่าง นับเป็นคู่ได้ 11 คู่ ล้วนๆ แต่ไม่ใช่ตัวตน เราเคยเรียนที่ไหนได้ยินได้ฟังที่ไหนเพราะเราไม่ได้รู้ เพราะเราไม่ได้เรียนว่า ไม่รู้ก็ไม่ได้เรียน ฉะนั้นควรจะรู้เพื่อจะได้ทำจิตใจให้ถูกต้อง ทำจิตใจอย่าให้มีตัวตนขึ้นมา ก็ง่ายเข้า บางทีก็ไม่แจกเป็น เป็น 11 1๒ แต่เป็น ๕ คือขัณฑ์ ๕ ร่างกายนี้เป็นรูปคือขัณฑ์ มันก็ไม่ใช่ตัวตนเป็นไปตามธรรมชาติ เวทนา รู้สึกสุขทุกข์ไม่ทุกข์ได้ก็เป็นความสุขที่ปรุงแต่งขึ้นมาตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีตัวตนไม่ต้องมีตัวกูเป็นเจ้าของหรือปรุงแต่ง สัญญา สำคัญมั่นหมาย เป็นอย่างนั้นอย่างนี้อย่างนู้น ตามความจำหมาย ก็เป็นเรื่องตามธรรมชาติของจิต จิตล้วนๆ นี่สัญญาได้โดยไม่ต้องมีตัวตน สังขารคิดนึกนั่นนี่ได้โดยไม่ต้องมีตัวตน วิญญาณ รู้แจ้งทาง หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ได้ทั้ง ๔0 ครั้ง ในแต่ละวันก็ไม่ใช่ตัวตน นี่ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตัวตัว นี่มาดูที่ตัว อาสนะ ดีกว่า ตา มันก็ตามธรรมชาติไม่ใช่ตัวตน ตามีระบบประสาทรู้สึกอารมณ์ต่างๆ ก็เห็นอยู่ได้โดยไม่ต้องเป็นตัวตน หู ก็ทำหน้าที่ได้ยินเสียง ได้ยินเสียงได้โดยไม่ต้องมีตัตน เพราะมันมีระบบประสาทที่หู จมูกมันรู้กลิ่นได้ตามธรรมชาติที่มันมีระบบประสาทตามธรรมชาติ ไม่ต้องมีตัวตนที่จมูก เป็นจมูก ลิ้นก็เหมือนกัน รู้รสได้โดยไม่ต้องเป็นตัวต้นที่ลิ้น โผสสัมภะ สัมผัสผิวหนังที่มากระทบผิวหนัง ตั้งแต่หยาบๆ จนละเอียดนุ่มนวล ในที่สุดมันก็ไม่ใช่ตัวตน แม้จิตอาศัยสิ่งเหล่านั้นแล้วมารู้สึกมาคิดนึกได้ต่างๆ รู้แจ้งสิ่งเหล่านั้นได้ ก็ไม่ใช่ตัวตน นี่ลูกเด็กๆ ของเรา ไม่ได้รับคำสั่งสอนเรื่องนี้ ปล่อยมันไปตามธรรมชาติ ลูกเด็กๆ มันก็เอาเป็นตัวตน ตาเห็นรูป มันก็มีตัวตนที่ตา หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายได้โผสัมภัส มันก็เป็นตัวตนหมด โดยธรรมชาติ มันเกิดความรู้สึกขึ้นมาเอง ว่าตัวตนหรือตัวกูคลอดมาจากท้องแม่ พอมันได้รับเวทนาหรือเป็นสุข หรือเป็นทุกข์ก็ตาม มันว่ากู กู กู มันกินนมแม่อร่อยมันก็กูอร่อย ถ้าเป็นของไม่อร่อย กูมันก็เพิ่มมากขึ้น เพิ่มมากขึ้น คนโง่เดินชนเก้าอี้ เตะเก้าอี้ มาทำกูเจ็บมึงเป็นทำกูเจ็บมันก็เตะเก้าอี้ ความโง่ของเด็กๆ เค้าก็จะต้องเป็นตัวกูมากขึ้นทุกที กระทั่งว่ามีดบาดนิ้ว มันก็มีดบาดกู หนามตำเท้าสักนิดมันก็ว่าตำกูไม่ใช่ตำเท้า รู้สึกที่เท้าเพียงนิดหน่อย เด็กๆ เค้าไม่มีความรู้เรื่องนี้เพราะไม่ได้รับการสั่งสอนเรื่องขันธ์ ๕ ก็ดี เรื่องปฏิจสมุทบาท ทั้งระบบก็ดี เค้าไม่รู้เค้าก็มีตัวตนเต็มไปหมด ถ้าเราจะช่วยเหลือลูกเด็กๆ เล็กๆ บ้าง ก็สอนเรื่องนี้ ตาเห็นรูปได้โดยไม่ต้องเป็นตัวกู หูได้ยินเสียงได้โดยไม่ต้องเป็นตัวกู จมูกได้กลิ่นได้โดยไม่ต้องมีตัวกู ลิ้นรู้รสได้โดยไม่ต้องมีตัวกู ผิวหนังทิ้งไปทิ้งตัวทุกหนทุกแห่ง รู้อารมณ์ได้ รู้สึกรสที่มาสัมผัสได้โดยไม่ต้องเป็นตัวกู จิตคิดนึกได้เองโดยไม่ต้องเป็นตัวกู ธรรมชาติของจิตมันคิดนึกได้เองอย่างนั้น เค้าก็เริ่มเข้าใจไอ่ความที่ไม่ใช่ตัวกู ไม่เป็นตัวกู ก็ไม่ยึดมั่นถือมั่นตัวกู มันจะไม่ยกหูชูหาง เป็นเรื่องสำคัญแล้วมันจะไม่เห็นแก่ตัวกู ไม่เห็นแก่ตัวนั่นแหละวิเศษไปเถอะ โลกนี้ไม่มีปัญหาหรอกถ้าว่าคนในโลกมันไม่มีความเห็นแก่ตัวแก่ตัว ขอให้สนใจเรื่องนี้ เรื่องปฏิจสมุทบาท ก็ดี เรื่องขันธ์ ๕ ก็ดี เรื่องอายตนะทั้ง ๖ ก็ดี ล้วนแต่เป็นเรื่องที่สอนให้เห็นว่ามันไม่ใช่ตัวมัน มันไม่ใช่ตัวตนมันเป็นอย่างนั้นเอง มันเป็นธรรมชาติอย่างนั้นเอง เรามีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ
ที่นี้เรื่องปฏิจสมุทบาท เป็นเรื่องสำคัญลึกไปกว่าที่คนธรรมดาเขารู้กัน คน คนธรรมดาก็รู้จักพระพุทธเจ้ากัน เพียงว่าเป็นลูกพระเจ้าสุทโธทนะ แม่ชื่ออย่างนั้น ญาติชื่ออย่างนั้น เกิดที่เมืองอินเดีย เมื่อปีนั้น นี่ก็เกิดจากรู้ แล้วนิพพานแล้วคือกระดูก นี่คนทั่วไปรู้จักพระพุทธเจ้าแต่ในเรื่องวัตถุ ฝ่ายวัตถุ ฝ้ายซ้าย พวกฝรั่งเหมือนกันเค้าอ่านหนังสือพุทธประวัติ ก็รู้จักแต่พระพุทธเจ้าทางฝ่ายซ้าย รู้จักพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคล แล้วก็ในประวัติศาสตร์ ทีนี้พระพุทธเจ้าเอง พระพุทธเจ้าองค์นี้ท่านก็บอกโอ..เห็นธรรมะจึงเห็นฉัน เห็นฉันก็คือเห็นธรรมะ เห็นปฏิจสมุทบาท นั่นแหละคือเห็นธรรมะ ท่านทั้งหลายช่วยฟังให้ดี ตั้งใจฟังให้ดี พระพุทธเจ้าตรัสเองใครว่า เห็นฉันต้องเห็นธรรม เห็นธรรมต้องเห็นฉัน นั่นเป็นสิ่งเดียวกัน ถ้าใครเห็นธรรมะ มันก็เห็นแต่ เห็นธรรมคือเห็นอะไร เห็นปฏิจสมุทบาท เห็นว่าทุกข์อาศัยกันเกิดขึ้นอย่างไร ทุกข์อาศัยการดับลงอย่างไร เห็นปฏิจสมุทบาท เพราะว่าเห็นอย่างนั้นมันดับทุกข์ได้ รู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นได้อย่างไร มันก็ป้องกันได้ ถ้าเห็นการดับทุกข์ คือ เห็นพระพุทธเจ้าสะกดปฏิจสมุทบาท คือ พระพุทธเจ้า ที่มิใช่ที่เป็นบุคคลต้องรู้จักแยกว่าเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ไหนเนี่ยมันเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม คือ ธรรมะ พระพุทธเจ้าพระองค์แรก พระพุทธเจ้าเป็นอย่างบุคคลมีชื่อ สิทธัตถะ ลูกพระเจ้าสุทโทธนะ มีประวัติอย่างนั้น อย่างนั้น ประสูตร แล้วก็ตรัสรู้ แล้วก็นิพพาน แล้วนิพพานนี่พระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคลแล้ว ประวัติศาสนาคือนิพพานแล้ว แต่พระพุทธเจ้าพระองค์ที่เป็นธรรมะ พระองค์ธรรมคือ สืบทอดปฏิจสมุทบาท ตอนนี้คือไม่มี ไม่ต้องพิสูจน์ จากท้องแม่ไม่ต้องตรัสรู้ ไม่ต้องนิพพาน ไม่มีประสูตรไม่ต้องมีตรัสรู้ไม่มีนิพพาน สำหรับพระพุทธเจ้านี้ ท่านทั้งหลายเคยรู้จักไหม เคยได้ยินได้ฟังไหม พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ เห็นฉันคือเห็นธรรมะ เห็นธรรมะก็เห็นฉัน เห็นฉันก็คือปฏิจสมุทบาท นี่เป็นพระพุทธเจ้าองค์ธรรมะ นิรันดร์ไม่ต้องประสูตร ไม่ต้องตรัสรู้ ไม่ต้องนิพพาน อยู่อย่างนิรันดร์ แสดงตัวอยู่ตลอดคนไม่เห็นเอง ไม่รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริงกันเสียบ้าง ซึ่งพระองค์ตรัสไว้ว่า เห็นสามเหลี่ยมเห็นธรรมะ เห็นธรรมะคือเห็นปฏิจสมุทบาท ก็จะเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงเห็นแล้วดับทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าองค์คน องค์บุคคลนี้ ทำให้เราเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรมะ คือองค์จริงที่ท่นสอน สอน สอนให้เราเห็นพระพุทธเจ้า องค์ธรรมะและดับทุกข์ได้ พระพุทธเจ้าเป็น ๒ องค์หรือ ๒ ชั้นอยู่ เรารู้จักแต่ชั้นนอกคือชั้นพระองค์คน แล้วก็ไปยึดมั่นถือมั่นก็เหลือประมาณ จะให้ช่วยอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ต้องช่วยตัวเอง ต้องช่วยตัวเองต้องรู้ปฏิจสมุทบาท ระงับทุกข์ให้ได้ เป็นการช่วยตัวเอง แล้วก็หวังว่า หวัง หวังให้พระพุทธเจ้ามาช่วย ให้พระธาตุมาช่วย ให้พระพุทธรูปมาช่วยไปตามแบบนั้น ไม่พบพระพุทธเจ้าพระองค์จริว ไม่ใช่พุทธบริษัทที่แท้จริง ถ้าเป็นพุทธบริษัทที่แท้จริงต้องมีพระพุทธเจ้าพระองค์ธรรม พระองค์ธรรมคือกฎศักดิ์สิทธิ์จาก ปฏิจสมุทบาท ตัวความทุกข์เกิดจริงอย่างไร ความทุกข์ดับลงอย่างไร แล้วก็ดับทุกข์ได้นั่นแหละ มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์ธรรม พระองค์นิรันดร์ นิรันดรก็ไม่รู้จักเกิดไม่รู้จักดับ เห็นปฏิจสมุทบาทที่ไหน ที่ไหนมีอาการเกิดและดับที่นั่นแหละปฏิจสมุทบาท เห็นที่ก้อนดินก้อนหินก้อนไหนก็ได้ ที่ไหนก็ได้ เห็นที่สัตว์ก็ได้ ที่บุคคลก็ได้ แต่ที่ประเสิรฐที่สุดก็เห็นที่ตัวเราเอง เห็นในตัวเราเอง เกิดดับแห่งสังขาร เกิดดับแห่งขันธ์ ๕ เกิดดับแห่งอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เกิดดับอยู่ทั่งๆ ไป เราไม่เห็น พระพุทธเจ้าพระองค์จริงมีอยู่ตลอดเวลา จะเรียกว่าท่านนั่งอยู่ที่หลังม่านแห่งความโง่ของคนทุกคน ถ้าท่านไปดูรูปภาพในตึกราม ภาพนั้นแหละท่านจะเห็นมีภาพ ภาพหนึ่ง เป็นภาพที่พระพุทธเจ้านั่งอยู่ที่หลังม่าน เขียนไว้ว่าพระพุทธเจ้าพระองค์จริง นนั่งอยู่ในหลังม่านของคนทุกคน คนทุกคนมีความโง่ แล้วความโง่นั้นก็เป็นม่านบัง บังพระพุทธเจ้าไม่ให้เห็น เห็นแต่คนโง่ ต้องเลิกม่านนั้นออกไป ฟันให้ขาดเสีย ไฟเผาม่านนั้นเสีย โลกพระพุทธเจ้าพระองค์จริงนั่งอยู่ตรงนี้ ไม่ต้องไปหาที่วัด ไม่ต้องไปหาที่อินเดีย ไม่ต้องไปหาที่ไหน ท่านอยู่ที่หลังม่านความโง่ ท่านทั้งหลายจงศึกษาปฏิจสมุทบาท ปฏิบัติอาณาปาณสติ ก็จะพบม่านแห่งความโง่ของตน ของตนแล้วก็ควรจะทำลายเสีย แล้วจะพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง จึงจะมีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง แล้วก็จะดับทุกข์ได้ เรื่องปฏิจสมุทบาท มันสูง หรือมันลึกหรือมันเป็นความลับเร้นลับถึงขนาดนี้ ผู้ใดเห็นปฏิจสมุทบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา คือพระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนั้น เราทุกคนจงเห็นธรรม คือ ปฏิจสมุทบาท แล้วก็จะได้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง คือเราจะเป็น...