แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย อาตมาขอแสดงความยินดีเป็นสิ่งแรก ในการมาของท่านทั้งหลาย มาสู่สถานที่นี้ในลักษณะอย่างนี้ เพราะว่าข้อนี้เป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือมีเหตุผลที่ควรจะทำเช่นนั้น ท่านทั้งหลายจะต้องสำนึกในข้อที่ว่า ธรรมชาติได้สร้างชีวิตนี้ให้มาในลักษณะที่พัฒนาปรับปรุงได้ เพื่อว่าให้เติมสิ่งที่ยังขาดอยู่ลงไปได้ เพื่อให้เอาสิ่งที่ไม่ควรจะมีออกไปเสีย เราพัฒนาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้น ให้มันสูงขึ้นไป สูงขึ้นไป สูงขึ้นไป ขอให้ท่านแน่ใจอย่างนี้จะง่ายในการที่จะปฏิบัติธรรมเมื่อชีวิตนี้เติมธรรมะลงไปได้ นี่เป็นสิ่งที่ควรเติมลงไป เอาสิ่งที่ควรจะเอาออกก็คือ ความโง่ ความไม่รู้ หรือกิเลสทั้งหลาย แล้วก็พัฒนาความรู้สึกธรรมดา ธรรมดา โดยสัญชาตญาณนั้นให้กลายเป็นความรู้จริง ให้เป็นภาวิตญาณ (นาทีที่ 2:36) ขึ้นมา ถ้ามองเห็นข้อนี้ก็จะทำได้โดยง่าย ถ้าไม่มองเห็นอย่างนี้ก็จะทำเพ้อเพ้อละเมอ คล้ายๆ กับหลับตาเดินไป ทำไมเราจึงเลือกเอาเวลาอย่างนี้มาพูดกัน ก็เวลาอย่างนี้เป็นเวลามีความหมายพิเศษอยู่ คือจิตใจพร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ พูดภาษาพวกเซนหน่อยก็ว่า น้ำชามันยังไม่ล้นถ้วย เติมน้ำชาล้นถ้วย มันใส่อะไรลงไปไม่ได้ เวลาเช่นเวลานี้ในถ้วยชามันยังพร่องอยู่ แล้วพอที่จะเติมอะไรลงไปได้ ท่านทั้งหลายก็ทราบดีแล้วว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้เวลาอย่างนี้ ทำไมท่านไม่ตรัสรู้เวลาอย่างอื่น ท่านตรัสรู้เวลาหัวรุ่งอย่างนี้ ถึงแม้ที่สุดแม้แต่ดอกไม้ในป่านี้ โดยมากที่สุดและเกือบทั้งหมดมันเริ่มบานในเวลาเช้า จึงมีความหมายสำคัญเป็นพิเศษอยู่สำหรับเวลาเช้า ทีนี้ก็อยากจะพูดต่อไปถึงว่าท่านเดินมาจากสวนโมกข์นอกมาสู่สถานที่นี้ และในลักษณะอย่างนี้บางคนจะคิดว่า โอ้ เดินไปโรงเรียน หรือกลับจากโรงเรียน อย่าให้คิดอย่างนั้นเลย ขณะที่กำลังเดินอยู่นั่นแหละเป็นเวลาที่เข้าโรงเรียน ท่านเดินย่ำเท้าจากสวนนอกมาสู่ที่นี่ เวลานั้นแหละก็เป็นเวลาเรียนด้วย ไม่ใช่เป็นเวลาไปโรงเรียน เพราะว่าท่านจะต้องรู้จักทำสติ ทำสติในเวลาเดิน สติที่สูงสุดก็คือ สติในเรื่องอนัตตา ว่าไม่มีตัวกู ไม่มีตัวบุคคลอะไรที่ไหน เป็นเพียงอิริยาบทตามธรรมชาติของร่างกายนี้หรือสังขารกลุ่มนี้ มันเป็นอิริยาบทเดินหรือที่เรียกว่าอิริยาบทเดินตามธรรมชาติ ไม่ใช่กูเดิน ไม่ใช่กูเดินมา แล้วมันก็จะไม่มีอะไรเหนื่อย ถ้าจะพูดว่าเดินหนอ เดินหนอ มันก็ต้องแปลความให้ถูก ไม่เช่นนั้นจะโง่ บางทีที่เรามี กูเดิน กูเดิน อย่างนี้มันโง่ มันมีแต่ศัพท์ว่า อิริยาบทที่ว่าการเดินของนามรูปตามธรรมชาติเท่านั้นหนอ แล้วก็หนอ เดินหนอ มีแต่ศัพท์ที่เรียกว่าอิริยาบทเดินตามธรรมชาติเคลื่อนไหวมาเท่านั้นหนอ อย่าให้มีกูเดิน ถ้ามันมีกูเดินมันก็จะโง่ ยิ่งถ้ามีสติในการที่จะทำความรู้สึกอย่างนี้ ก็เดินมาด้วยความรู้สึกเรื่องที่สำคัญที่สุดคือเรื่องอนัตตา อนัตตา ไม่มีกูเดินมา ไม่มีกูเดินกลับ ไม่มีกูทำอะไรอยู่ มีแต่ว่านามรูปคือชีวิต ร่างกาย จิตใจ กำลังเปลี่ยนแปลงไปตามเรื่องตามราวโดยไม่ต้องมีตัวกู มีชีวิตชนิดที่ไม่มีตัวกูเนี้ยเป็นคำสำคัญที่รวบความหมายไว้ทั้งหมด จงมีชีวิตชนิดที่ไม่มีตัวกู และต้องมีสติอันนี้อยู่ตลอดเวลาทุกหนทุกแห่งที่จะเป็นการปฏิบัติธรรมะที่สูงสุด และที่ลึกซึ้งที่เป็นประโยชน์ที่สุด คือการมีชีวิตที่ไม่มีตัวกู ถ้าเป็นพวกอื่น เช่นพวกทหาร เป็นต้น เขาก็จะเดินร้องเพลงมาร์ชหรือเพลงอะไรมาเอ็ดตะโรทีเดียวละ นี่มันบ้าสำหรับเรา ไม่ต้องร้องเพลงเดินมานี่ แต่ร้องเพลงอยู่ในใจในสติในส่วนลึก อิริยาบทตามธรรมชาติเคลื่อนไหวอย่างนี้เรียกว่าอิริยาบทเดิน ไม่มีตัวกูที่จะเดิน ไม่มีตัวกูที่จะไปไหน ไม่มีตัวกูที่จะมาที่ไหน เพียงแต่มันแสดงอิริยาบท งั้นถ้าจะร้องเพลงอยู่ในใจบ้าง เนี้ยร้องเพลงไม่มีกู เพลงไม่มีกู ไม่มีตัวกู มีแต่การเปลี่ยนแปลง อิริยาบทตามธรรมชาติเท่านั้นเอง ร้องเพลงอย่างนี้อยู่ในใจ เดินมาอย่างที่เรียกว่าเดินมา การเดินนั้นแหละจะเป็นการเข้าโรงเรียนหรือการอยู่ในโรงเรียน ไม่ใช่เดินมาโรงเรียนหรือเดินกลับบ้านนี้ไม่มี เป็นการเข้าโรงเรียนไปเสียทั้งหมดทุกวินาทีไม่ว่าจะทำอะไรอยู่ที่ไหน นี่คือใจความสำคัญของการเรียนหรือการศึกษาหรือการปฏิบัติธรรมะ งั้นจะต้องคำนึงถึงพระพุทธภาษิตที่ตรัสว่า แต่ก่อนโน้นก็ดี เดียวนี้ก็ดี ฉันพูดแต่เรื่องความทุกข์กับความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เท่านั้น นี่ก็สำคัญมากที่จะต้องรู้กันไว้ว่าพระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ตรัสเรื่องอื่น ตรัสแต่เรื่องดับทุกข์เท่านั้น เรื่องอะไรที่มันปลีกย่อยออกไปมากมายจนนับไม่ไหว เอาไปทิ้งสะเถอะ ไม่ต้องสนใจก็ได้ แม้แต่เรื่องนรกสวรรค์ไม่ต้องสนใจก็ได้ เรื่องเกิดใหม่ ไม่เกิดใหม่ เรื่องเกิดอะไรไม่ต้องสนใจก็ได้ สนใจแต่เพียงว่าเรื่องความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความดับทุกข์มีอย่างไร นั่นแหละคือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นคำที่ควรจะจำไว้ ให้เป็นคำคล่องปากที่สุด เป็นหัวใจของธรรมะ คำนี้แปลว่าอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วดับลง อาศัยกันแล้วดับลง ถ้าใช้กับทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไรก็เรียกว่า อิฏปัจยตา (นาทีที่ 10:52 ) ถ้าเอามาใช้กับสิ่งที่มีชีวิต จิตนึกได้รู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ได้ จิตบนมนุษย์ก็เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ใจความสำคัญเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เกิดดับไปตามเหตุตามปัจจัย ถ้าหมายถึงสิ่งไม่มีชีวิต เช่น แผ่นดิน ต้นไม้ ภูเขา ที่ไม่มีชีวิตก็เรียกว่า อิฏปัจยตา (นาทีที่ 11:24) จะมาใช้กับเราคนที่มีชีวิตจิตใจนี่เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ในบาลีท่านเรียกเต็มที่เต็มชื่อของมันว่า อิฏปัจยตาปฏิจจสมุปบาท (นาทีที่ 11:39) ชื่อมันเลยยาว อิฏปัจยตาปฏิจจสมุปบาท (นาทีที่ 11:44) อิฏปัจยตาในส่วนที่อาศัยกันแล้วเกิดทุกข์ขึ้นอย่างไร ดับทุกข์อย่างไร คำนี้ยังใช้ผิดๆ กันอยู่บ่อยๆ นำปฏิจจสมุปบาทไปใช้เป็นชื่อสิ่งที่ไม่มีชีวิตก็มี สังเกตดูแม้ในประเทศไทย ในประเทศเขมร ประเทศพม่า ก็ยังใช้คำนี้ผิดๆ ถ้าที่ถูกคู่ถูกฝาถูกตัวก็ต้องใช้คำว่า อิฏปัจยตากับสิ่งที่ไม่มีชีวิตรู้สึกอะไรได้ ไม่ใช้คำว่า ปฏิจจสมุปบาท กับชีวิตที่มันรู้สึกสุขรู้สึกเป็นทุกข์ได้ คำนึงในใจอยู่ถึงการที่สิ่งเหล่านี้เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เป็นอย่างนี้เรียกว่าเป็นทุกข์ เป็นอย่างนี้เรียกว่าดับทุกข์หรือไม่มีทุกข์ พูดว่าดับทุกข์จริงตัวหนังสือว่าดับทุกข์จริง แต่ตัวความจริงนั้นมันเป็นเพียงป้องกันไม่ให้ความทุกข์เกิด ปฎิบัติในลักษณะที่ป้องกันได้ไม่ให้ความทุกข์เกิด ตัวจริงของมันคือไม่ให้ความทุกข์เกิดขึ้นมาได้ แต่เราเรียกสะดวกๆ ว่าดับทุกข์ ดับทุกข์ ที่คอยเข้าใจกันไว้ดีๆ คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เป็นเรื่องดับทุกข์โดยตรง ต่อเมื่อท่านศึกษาเรื่องปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดเข้าใจดีแล้ว ก็จะเห็นได้เองว่ามันดับทุกข์อย่างไร คือมันรู้เรื่องที่อาศัยเหตุปัจจัยแล้วความทุกข์เกิดขึ้น หาสาเหตุปัจจัยแล้วความทุกข์ดับลง พอท่านรู้เรื่องนี้ท่านก็ดับทุกข์ได้ แล้วมันยังมีพิเศษอีกเรื่องหนึ่งซึ่งควรจะทราบกันไว้ด้วยเหมือนกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่รักพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า คนใดเห็นธรรมะผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเหตุธรรมะ ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็นปฏิจจสมุปบาท เห็นปฏิจจสมุปบาทนั้นคือเห็นธรรมะ เห็นธรรมะนั้นคือเห็นพระพุทธเจ้า ต้องเห็นปฏิจจสมุปบาทมันจึงจะเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระพุทธเจ้าพระองค์คน พระองค์ที่เป็นบุคคล คือที่เรารู้จักกัทั่วไปชื่อสิทธัตถะ ลูกพระเจ้าสุทโธทนะ เกิดที่เมืองกบิลพัสดุ์นั้นเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์คนที่เป็นบุคคล ท่านทรงปฏิเสธเสียด้วยพระองค์เองว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นฉัน ผู้ใดเห็นฉันผู้นั้นเห็นธรรมะ ไม่เห็นธรรมะไม่เชื่อว่าเห็นฉัน เห็นธรรมะคือเห็นปฏิจจสมุปบาท เมื่อเห็นปฏิจจสมุปบาทก็คือเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงคือพระองค์ธรรม พระพุทธเจ้าพระองค์คนเป็นลูกคนนั้นเป็นหลานคนนี้ เกิดที่นั้นที่นี่ ประสูติด้วย ตรัสรู้ด้วย นิพพานด้วย นี่พระพุทธเจ้าพระองค์คน แต่พระพุทธเจ้าพระองค์จริงไม่เคยพระสูตร ไม่เคยตรัสรู้ ไม่เคยนิพพาน ไม่อาจจะเป็นลูกคนนั้นเป็นหลานคนนี้ และไม่อาจจะมีอยู่ในประวัติศาสตร์ เป็นพระพุทธเจ้านอกประวัติศาสตร์ กฎของปฏิจจสมุปบาทคือสิ่งที่บอกให้รู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงอย่างไร สิ่งใดแสดงให้เรารู้ สิ่งนี้รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ทุกข์ดับอย่างไร ถึงได้เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท เห็นปฏิจจสมุปบาทหนะคือเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์นิรันดร์ พระองค์นิรันดร์ พวกมหาญาณเขาเรียกว่า อมิตายุ อมิตาพะ เพราะว่ามีอายุไม่คำนวณได้ มันเป็นนิรันดร์ อมิตาพะ มีแสงสว่างที่วัดไม่ได้มันเป็นอนันตะ มันเป็นอนันตะ นั้นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ไม่มีเกิดไม่มีดับ จึงไม่มีประสูตร ไม่มีตรัสรู้ ไม่มีนิพพาน สิ่งนั้นคือกฎของปฏิจจสมุปบาท ท่านเห็นปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ก็คือเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง และก็พระพุทธเจ้าพระองค์คนเนี้ย พระองค์คนเนี้ยช่วยให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริง เพราะท่านตรัสรู้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วเอามาสอนเรา จนเรารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท พระพุทธเจ้าพระองค์คนช่วยให้เรารู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ซึ่งเป็นนิรันดร ไม่มีเปลี่ยนแปลง ไม่มีเกิดดับ ไม่มีประสูตร ไม่มีตรัสรู้ ไม่มีปรินิพพาน นั้นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงได้เกิดกฎของปฏิจจสมุปบาท นั่นเราจงถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้นแหละจะเป็นสรณะเป็นที่พึ่งด้วยแท้จริงได้ ด้วยอาศัยพระพุทธเจ้าพระองค์คนสอนให้รู้แล้วเดินไปตามลำดับ ถ้าพูดเป็นธรรมชาติ ไม่พูดอย่างเป็นศาสนานะ นี่มันเป็นของธรรมชาติสำหรับชีวิตทั้งหมด มันมีสิ่งที่ทำให้เกิดกฎ สิ่งที่ทำให้เกิดกฎ คือธาตุทั้งหลายที่ประกอบกันเป็นจักรวาล เนี้ยมันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดกฎ สิ่งหนึ่ง แล้วมันก็มีตัวกฎ ตัวกฎเอง นั่นคือ ปฏิจจสมุปบาท กฎของธรรมชาตินี่เอง แล้วก็มีบุคคลพบแล้วสอนแล้วบอกแล้วสอนนั้นคือพระพุทธเจ้าพระองค์คน ทำให้เรารู้จักกฎของปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นตัวกฎ ทีแรกก็มีสิ่งที่ทำให้เกิดกฎ แล้วมันก็มีตัวกฎ แล้วก็มีผู้ค้นพบรู้กฎ แล้วนำมาบอกนำมากล่าวนำมาสอน ถ้าอย่างนี้มันก็กลายเป็นวิทยาศาสตร์ เป็นเรื่องทางวิทยาศาสตร์ไป ไม่ใช้เป็นเรื่องของศาสนา แต่ว่าพุทธศาสตร์เป็นวิทยาศาสตร์ ซึ่งท่านก็รู้เรื่องนี้ไว้ก็แล้วกัน มันมีสิ่งที่ทำให้เกิดกฎขึ้นมาและตัวกฎมันก็มีอยู่ ใครหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครไม่ปฏิบัติตาม มันก็คือตาย ตายทางกายก็ได้ ตายทางจิตก็ได้ ถ้ามันไม่ปฏิบัติตามกฎให้ถูกต้อง นี่ก็มีผู้ตรัสรู้ มีผู้ค้นพบกฎนี้แล้วก็สอน จึงพากันประพฤติปฏิบัติตาม แล้วก็รอดโดยไม่มีความทุกข์ โดยไม่มีความตาย นี่คือเรื่องสำคัญที่สุดที่เห็นแล้วคือเห็นธรรมะ เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ขอให้ท่านทั้งหลายกระทำในใจ ให้รู้จักพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์นิรันดร อยู่นอกประวัติศาสตร์ก็นิรันดร์ พวกฝรั่งไม่เคยรู้จักพระพุทธเจ้าองค์นี้เพราะเขาไม่สนใจ เขาอ่านแต่พระพุทธประวัติเรื่องพระพุทธเจ้าที่เป็นบุคคลอยู่ในประวัติศาสตร์ก็อ่าน แล้วไม่เคยสนใจถึงองค์พระพุทธ องค์ที่อยู่นอกประวัติศาสตร์องค์ที่เป็นนิรันดร พวกเราชาวพุทธควรจะเข้าใจ มิฉะนั้นแล้วฝรั่งก็จะรู้ รู้ธรรมะรู้พุทธศาสนามากซะจนกลับมาสอนคนไทย ถ้าสักวันหนึ่งก็ได้นะ ถ้าท่านเดินมาที่นี่ กำหนดกิริยาบทเดินเท่านั้นหนะ เดินเท่านั้นหนะ นั้นก็เป็นการรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เหตุปัจจัยที่ทำให้กิริยาบทนี่เคลื่อนไหวเดินมา แต่ว่าไม่ใช่ตัวกูเดิน แต่เป็นตัวกูก็เป็นเดินปฏิจจสมุปบาทฝ่ายโง่ก็คือนอกแบบ ถ้าไม่งั้นก็เกิดเป็นตัวกู ถ้ารู้สึกเป็นอนัตตา ขาที่เดินมาก็เป็นอนัตตา ทั้งเนื้อทั้งตัวก็เป็นอนัตตา กิริยาที่ก้าวย่างเดินมาก็เป็นอนัตตา อันนี้คือเห็นปฏิจจสมุปบาท ถ้ามันจะเกิดความรู้สึกเหนื่อย ก็มันรู้สึกเหนื่อยที่นามรูป ไม่ใช่เหนื่อยอยู่ที่ตัวกู อย่าเอาตัวกูมาเป็นผู้เดิน นี่ก็เป็นการศึกษาปฏิจจสมุปบาทเป็นแล้วตั้งแต่วันแรก ตั้งแต่วันเดินมาจากสวนนอกมาสู่ที่นี่ ตลอดเวลาที่เดินเป็นการเรียนในโรงเรียนในห้องเรียน ไม่ใช่เป็นการเดินไปโรงเรียน ขอให้เข้าใจอย่างนั้น มีสติกำหนดธรรมะนี้ที่ไหนเมื่อไหร่ก็เป็นการเล่าเรียนธรรมะชั้นสูง ท่านกำหนดปฏิจจสมุปบาทไม่มีตัวต้น มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนื่องนิจอย่างนี้ก็เรียกว่ากำหนดศึกษาสิ่งสูงสุด การเดินมาก็เป็นโรงเรียน เป็นตัวโรงเรียน ไม่ใช่เป็นตัวไปโรงเรียน ไม่ใช่ นี่เป็นเรื่องที่จะบอกกล่าว แล้วเรื่องที่เราจะเรียนจะรู้จะปฏิบัติกันก็มีเพียงสองเรื่องเท่านั้นหนะ ที่อัตมาอธิบายพวกฝรั่งฟังมาเป็นปี ปี ปี นี่มีสองเรื่องเท่านั้น สองเรื่องที่จะเป็นเรื่องเดียว คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องแรกเป็นเรื่องรู้ เรื่องเรียน เนี้ยเป็นเรื่องเรียนให้รู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงอย่างไร เรียน เรียน เรียน เรียนจนรู้กระจ่างแจ่มแจ้ง เรื่องที่สองก็ปฏิบัติอานาปานสติ ควบคุมจิตให้ถูกต้อง อย่าให้เกิดความทุกข์ขึ้นมาได้ ตามกฎของปฏิจจสมุปบาทนั้น นี่เป็นเรื่องปฏิบัติ ปฏิบัติ เรื่องแรกเป็นเรื่องเรียนให้รู้ จะเรียกว่าปฏิบัติก็ได้ แต่เป็นปฏิบัติในส่วนการเรียน เรียนให้รู้ว่าทุกข์เกิดอย่างไร ทุกข์ดับอย่างไร เห็นแจ้งประจักษ์อยู่ในจิตใจเรียกว่ารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท เสร็จแล้วก็มารู้วิธีปฏิบัติว่าจะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทนั้นอย่างไร จึงฝึกจิต ฝึกจิตให้มีสติ ให้มีปัญญา ให้มีสติสัมปชัญญะ มีสมาธิและพร้อมที่จะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ไม่ปรุงแต่งจนเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา มีสองเรื่องเท่านั้น ถ้าผู้สอนมักจะแยกเป็นเก้าเรื่องสิบเรื่องเป็นเรื่องนิวรณ์ เป็นเรื่องมรรค์ เป็นเรื่องอริยสัจ เป็นเรื่องอะไรมันจำไม่ไหว มันเป็นเรื่องเดียวกันหมด ถ้าพูดแต่เรื่องปฏิจจสมุปบาท เรื่องอริยสัจก็เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาท มีวิธีปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ มรรคองค์แปดรวมอยู่ในนั้น มันรวมเป็นเรื่องเดียวกันหมด เรื่องทุกข์พวกหนึ่ง เรื่องดับทุกข์อีกพวกหนึ่ง มีสองคำพูดตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่า ฉันพูดแต่เรื่องความทุกข์กับเรื่องดับทุกข์ นี่ถ้าพูดตามภาษาหลายเรื่องแยกเป็นเรื่องนั้นเรื่องนี้ เก้าเรื่องสิบเรื่อง ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องให้มันเป็นเรื่องเดียวกันให้ได้ ถ้าไม่เช่นนั้นจะงงเอง อะไรๆ ที่มันเป็นเรื่องให้รู้ว่าทุกข์เกิดอย่างไร ทุกข์ดับอย่างไร ก็เป็นเป็นเรื่องเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วปฏิบัติจิตฝึกจิตให้ควบคุมสติไว้ได้ ปฏิจจสมุปบาทไม่อาจจะเกิดลุกลามขึ้นมาเป็นความทุกข์ได้ ดูทีเป็นสองเรื่อง คือ เรื่องความทุกข์กับความดับทุกข์ ดูให้ดีมันเรื่องเดียวเท่านั้น มันเรื่องดับทุกข์ ดับทุกข์เรื่องเดียว จะดับทุกข์มันต้องรู้จักตัวทุกข์ รู้จักเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ รู้จักวิธีปฏิบัติให้ดับทุกข์ มันกลายเป็นสามสี่เรื่องขึ้นมา ถ้าจะพูดให้เป็นเรื่องเดียวพระพุทธศาสนา คือ เรื่องดับทุกข์ ถ้ารู้ปฏิจจสมุปบาท แล้วกำหนดสติสัมปชัญญะไว้อย่างถูกต้องจนปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อเกิดขึ้นไม่ได้มันก็เป็นดับทุกข์อยู่ในตัว ดับทุกข์อยู่ในตัวเรียกว่า ป้องกันไม่ให้ทุกข์เกิด ไม่ให้ทุกข์เกิดนั่นแหละคือดับทุกข์ นี่ขอให้สนใจในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ไว้ให้ดีๆ ไม่ช้าประโยชน์ก็ดับทุกข์ไปนิพพานได้ในที่สุด แต่ว่าใช้ในบ้านเรือนในโลกนี้ก็ได้ เพราะว่าสิ่งทั้งปวงในโลกนี้ก็ล้วนแต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย และมันก็เกิดผลตรงตามเหตุตามปัจจัยขึ้นมา คนโง่ก็ต้องหัวเราะบ้างร้องไห้บ้างสลับกันไปตาม เดียวมันตรงตามความต้องการ เดียวมันไม่ตรงตามความต้องการ มันก็หัวเราะบ้างร้องไห้บ้าง แต่ผู้รู้จะหัวเราะอีกชนิดนึงนะ ไม่ใช่หัวเราะอย่างนี้ โอ้ มันเช่นนี้เอง เช่นนี้เอง เพราะว่าท่านได้มองเห็นปฏิจจสมุปบาท แล้วไม่มีความหวั่นไหว ไม่มีความตื่นเต้นในอะไรๆ ไม่มีอะไรมาทำจิตใจหวั่นไหวตื่นเต้นได้ เพราะการรู้ปฏิจจสมุปบาท แล้วก็มีสติสัมปชัญญะดี ทำการงานดี ควบคุมผู้อื่นได้ดี ตัดสินใจได้ดี เป็นผู้จัดการบริษัทได้ดีว่าอย่างนี้ดีกว่า ถ้ารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทอย่างพอตัว
แล้วทีนี้ก็จะพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทกันพอให้ได้ความ ปฏิจจสมุปบาท ตัวหนังสือแปลว่าอาศัยกันและเกิดขึ้น นี่มันแสดงในตัว มันไม่มีตัวจริง มันไม่มีตัวตนจริง มันน่าจะต้องอาศัยสิ่งอื่นปรุงแต่งแล้วเกิดขึ้น แล้วสิ่งนั้นกลายเป็นผู้ปรุงแต่งแล้วเกิดสิ่งใหม่อีก แล้วสิ่งนั้นกลายเป็นผู้ปรุงแต่งแล้วเกิดสิ่งใหม่อีก เรื่อย เรื่อย เรื่อยไปอย่างนี้ ไม่มีตัวตนจริง อิสระเด็ดขาดที่ตรงไหน มีแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยเรื่อย เรื่อย ไป นี่คือใจความของปฏิจจสมุปบาท มันแสดงความไม่มีตัวตนเป็นข้อแรก ถ้าเห็นปฏิจจสมุปบาทก็จะเห็นว่าทุกอย่างไม่มีตัวตน เป็นแต่สิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย เปลี่ยนแปลงอยู่เนืองนิตย์เป็นปฏิจจสมุปบาท พอเห็นอย่างนี้ไม่เป็นอุปาทานยึดถือสิ่งใดว่าตัวตนว่าของตน กิเลสไม่เกิดความทุกข์ก็ไม่เกิด การเห็นปฏิจจสมุปบาทก็คือการเห็นสิ่งที่ทำให้ความทุกข์ไม่อาจจะเกิด ไม่อาจจะเกิด ถ้าเห็นตัวปฏิจจสมุปบาทเต็มที่อย่างที่ท่านท่องกันได้ว่า เห็นอวิชชา อวิชชาภาพไม่รู้ในโลกนี้ อวิชชาก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นธาตุโง่ เป็นอวิชชาธาตุ เป็นธาตุโง่มีอยู่ในโลกไม่ใช่ตัวตน วิชาธาตุเนี้ยทำให้เกิดอำนาจการปรุงแต่ง อำนาจนะ ใช้คำว่าอำนาจการปรุงแต่ง เรียกว่าสังขาร อวิชชาทำให้เกิดอำนาจการปรุงแต่งขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันหยุดอยู่ (นาทีที่ 29:08) อวิชชาบ้าบอนี่เกิดเมื่อไรก็มีการปรุงแต่งเมื่อนั้น มันก็ปรุงแต่งด้วยการไปเอาวิญญาณธาตุตามธรรมชาติ วิญญาณธาตุ ธาตุตามธรรมชาติมาเป็นวิญญาณธาตุตามอายตนะในตัวคน เป็นวิญญาณอายตนะ ชื่อมันต่างอยู่นะ วิญญาณธาตุ อันนี้วิญญาณอายตนะ มันก็มาปรุงแต่งขึ้น เป็นสังขารอำนาจการปรุงแต่งให้เกิดวิญญาณ วิญญาณทางอายตนะ พอมีวิญญาณในทางอายตนะภายในคนทางจิตใจกันมาก มันจึงได้เป็นของคู่กันมา ร่างกายกับจิตใจ ร่างกายกับจิตใจ ก่อนนี้มีแต่ร่างกายไม่มีจิตใจก็ไม่เรียกว่านามรูป พออวิชชาปรุงแต่งวิญญาณธาตุตามธรรมชาติเป็นวิญญาณตามธรรมดาขึ้นมา ในจิตใจคนก็เรียกว่ามีทั้งกายและใจ และก็มีนามรูป นี่ก็สังขารเองนั้นก็ไม่ได้มีตัวตนอยู่ในสังขาร เป็นนามรูปขึ้นมาก็ไม่มีตัวตน ไม่มีอัตตาตัวตนอยู่ในนามรูปนั้น เมื่อมีนามรูปแล้วก็มีอายตนะที่ทำหน้าที่ได้ ก่อนนี้อายตนะทำหน้าที่อะไรไม่ได้ เดี๋ยวนี้มีวิญญาณ มีจิตใจเข้ามา ก็ได้ปรุงแต่งเป็นนามรูปสมบูรณ์แล้ว อายตนะทั้งหมดก็ทำหน้าที่ได้ อายตนะทั้งหกก็ไม่ใช้ตัวตน เป็นสิ่งเป็นไปตามธรรมชาติ เปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ เมื่อมีอายตนะก็มีผัสสะ ผัสสะก็ไม่ใช้ตัวตน ผัสสะก็ปรุงแต่ง เวทนา เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตน มันเป็นสิ่งตามธรรมชาติมันรู้สึกได้อย่างนั้น มีเวทนาก็มีตัณหา ตัณหาก็ไม่ใช่ตัวตน ความอยากโง่เกิดมาโดยมีอวิชชาเป็นต้นเหตุ มีตัณหาแล้วก็มีอุปาทานยึดมั่นถือนั้นนั่นนี่เป็นตัวตน เป็นของตน ก็ไม่ใช่ตัวตน อุปาทานก็ไม่ใช่ตัวตน เป็นความโง่ จับยึดในสิ่งที่มันพอใจ จับยึดสำหรับรักก็มี จับยึดสำหรับโกรธสำหรับเกลียดก็มี เหมือนอุปาทานไม่ใช่ตัวตน อุปาทานนั้นไม่ใช่ตัวตนนะ มันเกิดภพ ภพก็ไม่ใช่ตัวตน ชาติคือความเกิดออกมาแห่งตัวกู ความโง่นั้นมันก็ยิ่งไม่ใช่ตัวตนสิ มันเป็นเพียงความเกิดแห่งความโง่ หรือตัวตนที่มาจากความโง่ เป็นตัวกู เป็นของกู อะไรขึ้นมาเต็มเปี่ยม แล้วมันก็โง่ไปคว้าเอาความทุกข์ ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย อะไรสารพัดอย่างมาเป็นของตน มันก็ไม่ใช่ตัวตน เห็นปฏิจจสมุปบาทตลอดสาย ในสิบสองธรรมะหรือสิบเอ็ดอาการนี้ก็ไม่ใช่ตัวตน มองดูอีกทางหนึ่งเรียกว่าขันธ์ห้า ไอ้ร่างกาย ส่วนที่เป็นร่างกาย เรียกว่ารูปพันนี่ก็ไม่ใช่ตัวตน อาศัยหาสาเหตุปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมาเป็นร่างกาย เรียกว่า รูปขันธ์ รูปขันธ์ก็ไม่ใช่ตัวตน ในรูปขันธ์นั้นมีอายตนะมีอะไรทำหน้าที่เวทนา เวทนาที่เกิดขึ้นมา เป็นเวทนาขันธ์ก็ไม่ใช่ตัวตน เกิดเวทนาขึ้นมาแล้ว สำคัญมั่นหมายอย่างนั้น สำคัญมั่นหมายอย่างนี้ในเวทนานั้นเรียกว่า สัญญาขันธ์ ไอ้สัญญาขันธ์นี้ก็ไม่ใช่ตัวตน สัญญาขันธ์สำคัญมั่นหมายอย่างใดอย่างหนึ่งลงไปแล้วก็เกิดความคิดนึกที่เป็นสังขารขันธ์มั่นหมายจะทำอย่างนั้น จะเอาอย่างนี้ ความคิดนะ สังขารขันธ์นั้นก็ไม่ใช่ตัวตน ที่วิญญาณขันธ์เอามาไว้สุดท้ายนี้ ทีจริงมันทำงานหลายๆ คราวในเรื่องหนึ่งๆ วิญญาณขันธ์ทำหน้าที่หลายๆ คราว คือรู้แจ้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางห้าอย่างนี้ก่อน เป็นวิญญาณทางลูกๆ ห้าก่อน แล้วจึงมโนมโนทางใจรวมเป็นหกวิญญาณ ทั้งหกวิญญาณนี้ก็ไม่ใช่ตัวตนหรอก ถึงได้คำว่ารูปก็ดี เวทนาก็ดี สัญญาณก็ดี สังขารก็ดี วิญญาณก็ดี แต่ละขันธ์ๆ ไม่ใช่ตัวตน ก็ได้ผลอย่างเดียวกับที่เห็นปฏิจจสมุปบาทถึงสิบสองอัตราหะ (นาทีที่ 33:54) คือ สิบเอ็ดอาการ
ทีนี้มาดูแคบเข้ามา ดูที่อายตนะมันเลย ตา มันก็ไม่ใช่ตัวตน แต่คนโง่มันเห็นว่าเป็นตัวตน พอตาเห็นรูปตามธรรมชาติของตา มันก็มา อู้ เห็นรูป เนี้ยคนโง่เอากับมัน ตามันมีระบบประสาทที่จะทำหน้าที่ของตา มันก็เห็นรูปได้ตามธรรมชาติของตา ต้องพูดว่าตาเห็นรูป แต่คนโง่มันจะพูดว่า กูเห็นรูป หูก็มีระบบประสาทหู รับเสียงได้ ก็คือหูเป็นตัวได้ฟังเสียง แต่คนโง่มันมักจะพูดว่า กูได้ยินเสียง กูได้ฟังเสียงออกมาเป็นตัวกูเสียอีก จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส มันก็กูได้รส ผิวหนังได้รับผดถัพพะ (นาทีที่ 34:56) ผิวหนัง เมื่อจิตรู้สึกคิดนึกอะไรได้ ตามธรรมชาติของจิตมันก็กูอีกแล้ว กู กู ที่นึกได้ ไอ้กู กู นั่นคืออัตตา อัตตาหรือจะเรียกว่าภาษาฝ่ายสันสกฤตเดิมเขาจะเรียกว่า อาตมัน (นาทีที่ 35:15) พวกชาวบ้านตามถนนหนทางนี่เรียกว่า เจตภูตบ้าง เรียกว่าวิญญาณบ้าง เรียกว่าบุรุษบุคคลบ้างอะไรตามภาษาชาวบ้าน ภาษาธรรมะชั้นสูงก็เรียกว่า อัตตาบ้าง อาตมันบ้าง นี่คอยรู้เทอดว่าตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็ไม่ใช้ตน มันเป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ ทำหน้าที่ตามธรรมชาติ เห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องผดถัพพะ (นาทีที่ 35:49) รู้ธรรมรมณ์ นี่ก็เป็นอันว่าจะดูในลักษณะปฏิจจสมุปบาท สิบสองข้อหรือสิบเอ็ดอาการ มันก็ไม่มีทุกข์ จะดูในรูปของขันธ์ห้า แต่ละขันธ์ๆ มันก็ไม่ใช่ตน จะดูในรูปของอายตนะหก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่ใช่ตน เมื่อมันไม่ใช่ตนแล้ว อะไรที่มันเกี่ยวข้องกับนั้น มันก็ไม่ใช่ของตน รูป เสียง กลิ่น รูป ผดถัพพะ (นาทีที่ 36:25) ธรรมมารมณ์ มันก็ไม่ใช่ของตนหรอก แต่คนโง่จะยึดว่าเป็นของตนเสมอ นี่ความผิดพลาดใหญ่หลวงมันมีอยู่ที่ตรงนี้ มันสร้างความรู้สึกว่าตนขึ้นมา แล้วก็รู้สึกว่าของตนขึ้นมา พูดภาษาธรรมดาๆ แปลว่า สร้างตัวกูขึ้นมา แล้วก็สร้างของกูขึ้นมา มันก็เลยเต็มไปด้วยตัวกู เต็มไปด้วยของกู เอาเป็นตัวกู เอามาเป็นของกู ถ้าเราเห็นความจริงอย่างที่ว่ามาแล้ว ว่ามันไม่มีอันไหนที่จะเป็นตัวตนได้ มองทางปฏิจจสมุปบาทก็ไม่ใช้ มองทางธรรมทั้งห้าก็ไม่ใช่ มองทางอายตนะมันก็ไม่ใช่ มันไม่ใช่ตัวตน นี่เห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นอย่างนี้ ถ้าครูบาอาจารย์เขาสอนให้ท่านฟัง ท่านต้องฟังให้ดีๆ จะเข้าใจว่ามันไม่มีอะไรที่จะเป็นตัวตน เพราะปฏิจจสมุปบาทแปลว่าอาศัยกันเกิดขึ้นโดยเหตุ โดยปัจจัยตามธรรมชาติของธรรมชาติไม่มีตัวตน ถ้าจะตั้งต้นสอนกันมาตั้งแต่เด็กๆ นะ อาตมาก็อยากจะแนะว่าสอนลูกเด็กๆ เด็กเล็กๆ เนี้ยให้รู้จักปฏิจจสมุปบาทซึ่งเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุดสูงสุดของพระพุทธศาสนา ก็มีทางที่จะทำได้ ที่จะสอนให้แก่ลูกเด็กๆ เช่นว่า บอกว่ามันมีดวงอาทิตย์ เพราะมันมีดวงอาทิตย์มันจึงมีแสงอาทิตย์ มันมีแสงอาทิตย์มันจึงมีการส่องลงมายังโลกนี้ เมื่อมีการส่องลงมายังโลกนี้ ไอ้น้ำในผิวโลกนี้มันก็ระเหยเป็นไอน้ำ พอมันระเหยเป็นไอน้ำไปมากๆ มันก็ไปเป็นเมฆในท้องฟ้า พอมีเมฆมากเข้าหนักเข้าได้รับความเย็นพอมันก็ตกลงมาเป็นฝน ฝนตกลงมาแล้วก็ทำให้ถนนมันลื่น พอถนนมันลื่น ไอ้แตมันก็เดินลื่นหกล้ม ไอ้แตมันโง่เดินสะเพล่ามันกลายเป็นหกล้ม พอแกหกล้มหัวแกก็แตก หัวแกแตก แกก็เจ็บ แกก็ทนไม่ได้ แกก็ไปหาหมอ หมอก็ต้องทำหน้าที่รักษาให้แกหายเจ็บแผลหัวแตกเพื่อดับทุกข์ ให้เห็นว่ามันไม่มีตัวตนอะไรที่เป็นตัวตนเอง ตัวตนเด็ดขาด มันอาศัยเนื่องกัน เนื่องกัน เนื่องกัน คือสอนให้เด็กเข้าใจปฏิจจสมุปบาทเป็นสุดตั้งตนด้วยการอธิบายอย่างนี้ ที่นี้ง่ายให้ต่ำลงไปกว่านั้นอีก ตามความรู้สึกของอาตมา จะเป็นเจตนาของคนโบราณหรือไม่ก็ไม่ทราบ แต่ว่านิทานเรื่องยายกับตา ปลูกถั่วปลูกงาให้ลูกหลานเฝ้า เข้าใจว่าคนแก่ๆ หลายๆ คนคงเคยได้ยินได้ฟังนิทานเรื่องนี้ แต่ว่าคนที่ไม่เคยได้ยินได้ฟังก็คงจะไม่รู้ จะขอเล่าว่าแม้เรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่อาจจะสอนเด็กๆ เด็กๆ ได้ เขาก็ไปเล่าไว้เป็นนิทานสอนเด็ก พูดกับเด็ก
ยายกับตาปลูกถั่วปลูกงาไปทำไร แล้วก็ใช้ให้เด็ก หลาน เด็กสองคนเฝ้า มันไม่เฝ้า มันหนีไปเที่ยวมันหนีไปเล่นเสีย แล้วก็กาก็มากินถั่วกินงาไปมาก ตายายกลับมาเห็นอย่างงั้นก็โกรธ แล้วก็ตี ตีหลาน แล้วหลานก็หาทางออก ออกไปหานายพรานให้มาช่วยยิงกาที นายพรานบอกว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใช่ของกู กูไม่ทำ
เด็กก็ไปหาหนูว่ามาช่วยกัดสายธนูของนายพรานสักที หนูก็บอกธุระไม่ใช่กูไม่ทำ
เด็กก็ไปหาแมว ว่ามาช่วยกัดหนูที แมวว่าธุระไม่ใช่กูก็ไม่ทำ
เด็กก็ไปหาสุนัขว่ามากัดแมวที สุนัขว่าไม่ใช่ธุระของกู กูก็ไม่ทำ
เด็กก็ไปหาไม้ค้อน ว่าให้ไปตีหัวสุนัขที ไม้ค้อนก็บอกว่าไม่ใช่ธุระของกู กูก็ไม่ตี
เด็กก็ไปหาไฟ ขอไฟช่วยไหม้ไม้ค้อนสักที ไฟก็บอกไม่ใช่ธุระของกู กูก็ไม่ยุ่ง กูก็ไม่ทำ
เด็กก็ไปหาน้ำ เพื่อดับไฟให้หมดสักที มันจองหองนัก น้ำก็บอกไม่ใช่ธุระของกู กูก็ไม่ทำ
เด็กก็ไปหาตลิ่งว่าช่วยพักทับน้ำให้มันหมดเสียที ตลิ่งก็บอกว่าไม่ใช่ธุระของกู กูก็ไม่ทำ
เด็กก็ไปหาช้างมา มาช่วยถีบตลิ่งให้ทลายพักหมดที ช้างก็บอกว่ากูไม่ทำ ไม่ใช่ธุระของกู
เด็กก็ไปหาแมลงวี่ มาช่วยจัดการที มาช่วยตอมตาช้างให้มันตายโหงสักที
แมลงวี่ก็มาตอมตาช้าง ช้างทนไม่ไหวยอมแพ้ ช้างก็มาเหยียบตลิ่ง ตลิ่งก็ว่าไม่ต้องเหยียบกู กูจะไปพักทับน้ำ น้ำก็ไม่ต้องทับน้ำกู กูไปดับไฟ ไฟก็ไม่ต้อง กูจะไปไหม้ไม้ค้อน ไม้ค้อนก็ไม่ต้อง กูจะไปตีหัวหมา หมาบอกกูจะไปกัดแมวแล้ว แมวก็บอกกูจะไปกัดสายธนูของนายพราน นายพรานก็บอกไม่ต้องกัดหรอก กูจะไปยิงกาที่มากินถั่วกินงา
มันจะมีทางสำหรับเด็กๆ ก็จริง แต่มันมีความหมายเป็นปฏิจจสมุปบาทสำหรับเด็ก คนแก่ไม่รู้แล้วก็ไม่ค่อยจะสนใจ ภาพนิทานเรื่องนี้ อาตมายังไม่เคยเห็นที่ไหน มันมีอยู่ที่บานประตูวัดหน้าต่างที่วัดพระเชตุพนที่กรุงเทพ ตอนล่างของบานหน้าต่างมีภาพเรื่องนี้ แต่ด้วยเหตุที่ไม่มีใครสนใจก็ส่วนที่เป็นทองมันลบหมด เป็นสีดำเป็นปื้นไปหมดเลย มองไม่เห็นเป็นรูปเป็นเรื่อง แต่คุณระบิน (นาทีที่ 44) เคยถ่ายรูปไว้ อาตมาเลยเอามาเขียนไว้ในตึกมหรสพทางวิญญาณเรื่องนิทานยายกับตาเพื่อให้เด็กๆ เข้าไปดูปฏิจจสมุปบาทสำหรับเด็กๆ นิทานเรื่องยายกับตา ถ้ามันทำโดยเจตนาก็ขอบูชาเคารพเจตนาของบรรพบุรุษคนแก่คนเฒ่าแต่กาลก่อนตั้งใจที่จะสอนปฏิจจสมุปบาทแก่พวกลูกเด็กๆ จึงเอามาเขียนเรียบเรียงขึ้นเป็นนิทานเรื่องยายกับตา ที่จริงมันก็เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาทสำหรับเด็กๆ เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมีเพื่อสิ่งนี้ สิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เป็นสายเรื่อยไปอย่างนั้นจนเกิดทุกข์ มีเพื่อสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับเพื่อสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึงดับเพื่อสิ่งนี้ดับสิ่งนี้จึกดับมาเรื่อยๆ เรื่อยๆ ดับทุกข์ ปฏิจจสมุปบาทจะมีสองคาถา อันหนึ่งให้เกิดทุกข์ อันหนึ่งให้ดับทุกข์ นี่เป็นเรื่องปฏิจจสมุปบาทสำหรับเด็กๆ รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทว่าเป็นกฎของธรรมชาติฝ่ายที่จะเกิดทุกข์และฝ่ายที่จะดับทุกข์อย่างไร ถ้าเราไม่รู้เรื่องนี้แล้วจะดับทุกข์อย่างไร แต่คนบางคนเขาก็คิดไปอีกทาง โอ้ เรื่องนี้สูงเกินไป ลึกเกินไป แม้แต่ท่านพระพุทธเจ้าท่านก็ตรัสว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี่ลึกที่สุด ลึกถึงที่สุด ทำอย่างไรเราลองมาสอนคนแรก สอนเด็กๆ ก็เพราะว่าเรื่องนี้มันจำเป็น มันเป็นเรื่องดับทุกข์ ถ้าไม่นำเรื่องดับทุกข์มาสอน แล้วจะเอาเรื่องอะไรมาสอน เพราะฉะนั้นจึงขอให้สนใจให้สมกับที่มันเป็นเรื่องลึกที่สุด พระอานนท์ทูนพระพุทธเจ้าว่า ข้าพระองค์มองเห็นว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทเนี้ยเป็นเรื่องลึกอย่างธรรมดาๆ เป็นยาวะคัมภีร์ยา (นาทีที่ 46:19) เป็นเรื่องลึกตามธรรมดา พระพุทธเจ้าว่า โอ้ อย่าพูดอย่างนั้นๆ อานนท์อย่าพูดอย่างนั้น ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด ไม่มีเรื่องอะไรอื่นจะลึกซึ้งเท่า เป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด เนี้ยเกียรติยศของปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องลึกซึ้งที่สุด แต่มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับดับทุกข์ ถ้าไม่เอามาเรียนมาสอน มันจะดับทุกข์ได้อย่างไร มันก็ต้องต่อสู้ ต้องแข็งข้อ ต้องตั้งใจจะเรียนเรื่องที่ลึกซื้งที่สุด จะดับทุกข์ให้ได้ ด้วยเรียนเรื่องปฏิจจสมุปบาท อย่างที่กล่าวมาแล้วนี่ว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทมันบอกว่าเป็นอนัตตา ถ้าเห็นอนัตตาก็ดับทุกข์แล้วก็ไม่ดับกิเลส แล้วปฏิจจสมุปบาทบอกว่าไม่เป็นตัวเอง ไม่เป็นตัวเองในตัวเอง แต่มันเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกัน อาศัยกัน อาศัยกัน อาศัยกัน มันเป็นเรื่องที่จะต้องรู้ ว่ามันไม่มีอะไรที่เป็นตัวเองเป็นตัวตนมันมีแต่ต้องอาศัยกัน ต้องอาศัยกัน เข้าใจปฏิจจสมุปบาทแล้วจะไม่เกิดความรู้สึกว่าอะไรเป็นตัวตน หรือเป็นของตน มันเป็นเพียงกระแสปรุงแต่งไปตามธรรมชาติ ท่านทั้งหลายจงตั้งใจให้ดี ตั้งใจฟังให้ดี ถ้าครูบาอาจารย์เขาสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ตั้งใจฟังให้ดี ให้เข้าใจจนได้ สำเร็จประโยชน์ให้จนได้ เรื่องปฏิจจสมุปบาทมีแต่การอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วเกิดขึ้น มันจะเป็นตัวตนของตัวตนได้ที่ไหน มันไม่มีอะไรที่เด็ดขาดแน่นอนเป็นตัวตนของตนได้ มันมีแต่เปลี่ยนไปๆ ในทางเป็นทุกข์ หรือเปลี่ยนไป ๆ ในทางไม่เกิดทุกข์ นี้คือเรื่องปฏิจจสมุปบาท ให้พยายามเข้าใจจนได้ แล้วต่อไปก็จะไม่ต้องโง่ในทางหัวเราะ ในสิ่งที่ชอบใจ ร้องไห้ในสิ่งที่ไม่ชอบใจ มันจะดับทุกข์ไปได้ตั้งแต่ต้นอย่างนี้ จนกระทั้งจะไม่เอาอะไรเป็นของตนแม้แต่ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย มันก็ไม่ใช่ของตน มันก็ดับทุกข์สิ้นเชิงอย่างนี้
ทีนี้เราก็รู้เรื่องว่าความทุกข์เกิดอย่างนี้ ความทุกข์ดับอย่างนี้ แล้วเราจะทำอย่างไรละ จะทำอย่างไรจึงจะดับมันได้หรือป้องกันไม่ให้มันเกิดได้ มันเป็นอีกตอนหนึ่ง เราต้องมีความรู้อีกตอนหนึ่ง คือเราจะต้องควบคุมจิตได้ บังคับจิตได้ มันจึงต้องสอนเรื่องที่สอง คือเรื่องอานาปานสติ มีสติอยู่ในความถูกต้องในธรรมะที่ถูกต้องหรือเรื่องในเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละ อยู่ทุกครั้งที่หายใจออก หายใจเข้า มีความรู้อย่างถูกต้อง สติระลึกอยู่อย่างถูกต้องทุกครั้งที่หายใจออก หายใจเข้า เราจึงมาฝึกปฏิบัติอานาปานสติซึ่งเป็นเรื่องที่จะต้องสอน เป็นเรื่องที่สอง แล้วก็ปฏิบัติด้วย ไม่ใช่เพียงแต่รู้เฉยๆ ปฏิบัติให้มีสติสมบูรณ์ขึ้นมา สติสมบูรณ์ขึ้นมา แล้วก็ใช้สตินั่นแหละให้ทำหน้าที่ ถ้าเราปฏิบัติอานาปานสติแล้วเราก็จะมีสติมาก แล้วก็เร็วที่สุด แล้วก็จะมีปัญญาความรู้ทุกอย่างที่เกี่ยวกับดับทุกข์ไว้ครบถ้วน แล้วเราก็จะมีสัมปชัญญะ รอบรู้ทั่วถึง ในเรื่องของความรู้ที่จะเอามาดับทุกข์เฉพาะเรื่อง แล้วเราก็จะมีสมาธิ มีกำลังจิตมากพอ ช่วยให้สัมปชัญญะสามารถทำหน้าที่ลุล่วงไป คือตัดความโง่ที่จะไปยึดถือในอารมณ์ว่าเป็นตัวกู ว่าเป็นของกูจนได้ สรุปแล้วสำคัญอยู่สี่หัวข้อ มันมีมากหัวข้อ แต่เอาสี่หัวข้อนี่เป็นหลัก เราจะมีสติ สติที่เร็ว คำว่าสติ สติคำนี้แปลว่าความเร็วของลูกศร สมัยโบราณเขาไม่มีปืน เขาไม่มีอะไรจะแสดงความเร็วมากไปกว่าลูกศรเอาคำว่าสติ คือความเร็วของลูกศรมาใช้ที่จะระลึกได้เร็วทันควันทันเวลา สติระลึกถึงความรู้ที่เราได้เล่าได้เรียนสะสมไว้ นี่เรียกว่าปัญญา ปัญญาทุกอย่าง ศึกษาไว้เรียนไว้ให้เป็นปัญญาครบทุกอย่างนี่เรียกว่า ปัญญา พอมันเกิดเหตุเกิดเรื่องเกิดราวขึ้นทางกาย ทางหู ทางจมูกหรือทางไหนก็ดีในแต่ละวัน สติต้องไปเอาปัญญามาจัดการกับกรณีนั้นๆ โดยเฉพาะ สติก็ไปเลือกเอาปัญญามาเฉพาะข้อหนึ่งทีเดียว ไม่ใช่ไปเอามาทั้งหมด ถ้ามันมากนักเอามาเฉพาะจะแก้ปัญหาเฉพาะนี่เท่านั้นแหละ เอามาทำหน้าที่ ปัญญานี่ก็เปลี่ยนชื่อเรียนว่า สัมปชัญญะ คือปัญญาในหน้าที่การงานเฉพาะกรณี เรียกว่า สัมปชัญญะ ปัญญาในรูปของสัมปชัญญานั้นก็จัดการกับอารมณ์ที่มากระทบ ที่มันจะเกิดเรื่องเป็นกิเลสหรือมันจะเกิดเป็นกิเลสไปแล้วก็ได้ สัมปชัญญะมันก็จัดการกับสิ่งนั้น นี่ถ้าว่าแรงมันไม่พอ สัมปชัญญะหรือปัญญาเนี้ยแรงมันไม่พอ มันต้องมีแรงหรือน้ำหนักมาเพิ่มให้ นี่เรียกว่าสมาธิ ถ้าสัมปชัญญะไม่มีแรง คือปัญญาไม่มีแรง สมาธิก็มาทำใมห้เกิดแรงเกิดกำลังขึ้นแก่ปัญญาก็สามารถตัดออกไป นี่เป็นการรู้ธรรมชาติว่าไอ้ความคม คมเท่าไหร่ก็ตามถ้าไม่มีกำลังน้ำหนักมันก็ไม่ตัด ถ้าคมเฉยๆ มันก็ไม่ตัด มันต้องมีความคมด้วยแล้วก็ต้องมีน้ำหนักที่จะให้ความคมมันตัดลงไป นี่เรียกว่าน้ำหนัก ถ้าความคมเฉยๆ ที่ไม่มีน้ำหนัก มันไม่ตัด มีปัญญาจึงต้องมีสมาธิมาช่วย สมาธิมาช่วยคือเป็นน้ำหนัก แล้วปัญญามันก็ตัด ไอ้เรื่องนั้นก็หมดปัญหาไป อารมณ์นั้นก็ไม่ทำให้เกิดกิเลส ไม่เกิดทุกข์ใดๆ นี่ก็จะมีธรรมะสี่ความหมาย เรียกว่าธรรมะสี่เกลอนี่ไว้ให้เพียงพอ การปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทนั้นจะช่วยให้มีธรรมะในการรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้วปฏิบัติอานาปานสติ อานาปานสติที่กำลังจะสอน จะได้มีธรรมะสี่เกลอนี่อย่างเพียงพอ ที่จะมีสมาธิเร็ว ถ้าไปเอาปัญญามา มันก็จะได้เลือกเฉพาะปัญญาที่จะจัดการกับกรณีนี้โดยเฉพาะ เรียกว่าสัมปชัญญะ ไม่เอาปัญญามาทั้งหมดเนี้ยช้าไม่ได้ ปัญญามีมากมายเท่าไหร่ เวลาจะใช้มันจะใช้อย่างเดียว เหมือนกับยาในตู้ยาของเรามีครบทุกอย่างแต่พอเราจะกินยา เรากินอย่างเดียวนะเนี้ยไม่ได้กินทั้งหมด หรือจะพูดอีกทีนึงคือเรามีอาวุธครบทุกอย่าง อาวุธสร้างไว้ครบทุกอย่าง พอเราจะใช้อาวุธปราบข้าศึกเราใช้ทีละอย่างให้มันเหมาะกัน นี่สัมปชัญญะคืออย่างนี้ คือปัญญาที่เหมาะสมกับกรณีที่จะต้องกระทำมีสัมปชัญญะ แล้วสมาธีเอากำลังแรงมาเพิ่มให้ ปัญญาในชื่อของสัมปชัญญะว่าตัดกิเลสมีหน้าที่ออกไปได้ นี่เราจะต้องมีธรรมะสี่ความหมายที่เป็นธรรมะสี่เกลอ มีสติเพียงพอ มีปัญญาเพียงพอ มีสัมปชัญญะเหมาะสม มีสมาธิน้ำหนักมากพอ ในขั้นต้นได้กล่าวแล้วว่าชีวิตนี้เป็นสิ่งที่เติมธรรมะลงไปได้ ชีวิตมันยังไม่มีธรรมะนี้ ก็จงพยายามให้จงเติมลงไปได้ คือธรรมะสี่เกลอ สติ ปัญญา สัมปชัญญะและสมาธิ ฝึกไว้มากเถอะมีแต่คุณ ทั้งนั้นไม่มีโทษเลย เติมลงไปในชีวิต ให้ชีวิตมันมีธรรมะนี้ มันจะดับทุกข์หรือป้องกันไม่ให้เกิดทุกข์ แต่แล้วเราก็ต้องพัฒนามันนะ มันจึงจะมี พัฒนาให้มีสติ ให้มีปัญญา ให้มีสัมปชัญญะ ให้มีสมาธิหรือบางอย่างบางสิ่งที่จะต้องพัฒนา แล้วก็มีธรรมะพอในชีวิตนี้ที่จะทำชีวิตนี้ให้ไม่มีความทุกข์ วิธีอื่นไม่ดีเท่าวิธีอานาปานสติ อาตมาไม่ได้พูดอย่างดูถูก ดูถูกวิธีอื่นหรืออะไร แต่เอาตามพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอานาปานสติเป็นหลักพรมจรรย์ที่เหมาะสม ที่ไม่น่ากลัว ที่ไม่เดือดร้อน ที่ไม่วุ่นวาย แต่สงบแล้วก็ดับทุกข์ได้ ตถาคตได้อาศัยอานาปานสติเป็นธรรมวิหารอยู่ด้วยอานาปานสติแล้วก็ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ถ้าไม่ได้เสนอแนะธรรมะหรือกรรมฐานหมวดอื่น หรือนอกจากหมวดอานาปานสติที่เราเอามาสอนเอามาใช้สอนเพื่อจะแก้ปัญหา ก็ขอให้สนใจเป็นพิเศษเรื่องอานาปานสติ ทำให้ได้ในเวลาอันสั้นก็คือศึกษาและปฏิบัติเรื่อยไปในเวลาอันยาวจะกี่เดือนกี่ปีก็ตามใจนะ ในที่สุดมันต้องได้ ข้อที่หนึ่งมันจัดการกับสิ่งที่เรียกว่ากาย กายานุปัสสนา จัดการกับสิ่งที่เรียกว่ากาย กายนี่มันเนื่องอยู่กับลมหายใจ ถ้าเราจัดการกับลมหายใจ ก็มันลงไปถึงกาย ถ้าทำให้ลมหายใจระงับละเอียดปราณีตลง ไอ้กายก็จะระงับสงบเย็นลง นี่เรื่องกายทำให้มันได้ ควบคุมลมหายใจแล้วก็ควบคุมร่างกายกายใจได้ เรื่องที่สองเวทนาที่มันเกิดเป็นความรู้สึกขึ้นมาเพื่อทำให้เกิดกิเลสใดๆ เกิดความคิดหนึ่งต่างๆ ถ้าเราควบคุมไม่ได้มันก็เกิดความคิดผิดๆ เป็นทุกข์เป็นโทษ ถ้าควบคุมเวทนาไว้ได้ มันก็คิดแต่ในทางที่ควรคิดและคิดแต่ในทางที่ดับทุกข์ เวทนาที่เป็นตัวร้าย ที่เขาเรียกว่าปิติ ปิติที่เกิดขึ้นก็เป็นความตื่นเต้น เป็นความสุขที่ยังตื่นเต้น เรียกว่าปิติถ้าสงบระงับเงียบลงก็เรียกว่าความสุข แต่เวทนาทั้งสองนี่ ที่มนุษย์บูชา มนุษย์ต้องการ แต่ต้องการด้วยความโง่ ทำไปด้วยความโง่ มันก็ยิ่งเกิดเรื่องต่อไปอีก กลายเป็นความทุกข์ให้เสีย มันต้องควบคุมมันให้ได้ เวทนา คือปิติก็ดี ความสุขก็ดี เราจะควบคุมมันไว้ให้อยู่แต่ในลักษณะที่ถูกต้อง ในจิตความคิดมันก็ถูกต้อง เพราะว่าเราควบคุมสิ่งปรุงแต่งของจิต เรียกว่า จิตตสังขารไว้อย่างถูกต้อง คือควบคุมปิติและสุขไว้อย่างถูกต้อง ไอ้สองอย่างนี้มันเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต ควบคุมสิ่งปรุงแต่งจิตไว้ถูกต้อง จิตก็อยู่ในภาวะที่ถูกต้องสำหรับจะทำหน้าที่ต่อไป นี่ก็ควบคุมไอ้ความคิดไม่ให้ไปในทางกิเลส เราก็ต้องควบคุมเวทนา ทีนี่หมวดที่สาม คือ ควบคุมจิตเอง ต้องรู้จักจิตทุกชนิดซะก่อน รู้โดยตรงๆ ที่มันมีอยู่ก็ได้ รู้โดยคำนวณว่าตรงกันข้ามอย่างไรก็ได้ เช่นว่าจิตมีกิเลส เรารู้วได้โดยตรงๆ ว่าเป็นอย่างนี้ๆ กับจิตไม่มีกิเลสเราไม่อาจจะรู้หรือคำนวณดู ถ้ามันไม่มีกิเลสอย่างที่เรามีอยู่ มันจะเป็นอย่างไร โดยมีวิธีการอย่างเนี้ยต้องโดยอนุมาน ต้องโดยอุปมาน เราจะได้จับจิตทุกชนิดได้ ทีนี้เราก็ควบคุมจิตทุกชนิดเราก็ควบคุมมันให้มันเป็นไปตามการควบคุมของเรา เช่น ถ้าวจิตปราโมท บันเทิง พอใจ ก็ทำได้ ให้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิก็ทำได้ ให้ปล่อย ปล่อย ปล่อย อย่าไปเอาอะไรมายึดถือมาเป็นตัวกูเป็นของกู ให้ปล่อย ปล่อย ปล่อย มันก็ปล่อยได้ หลักตามหลักการมันมีอย่างนี้ ให้ควบคุมจิตให้พอใจ ให้เป็นสุข บันเทิง ไม่เศร้าสร้อยก็ได้ ให้สมาธิตั้งมั่นก็ได้ ให้ปล่อย ปล่อย ปล่อย ให้จนได้ ให้สามอย่างอยู่ ถ้าปฏิบัติอานาปานสติครบถ้วน มันจะมีบทเรียนนี้อย่างที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นสมาธิวิเศษ มันเป็นความบริสุทธิ์ของจิต เป็นความตั้งมั่นของจิต เป็นความเคล่วคล่องว่องไวของจิตในการที่จะทำหน้าที่ สมาธิอย่างเนี้ยเอาไปใช้ที่ไหนก็ได้ ทำไร ทำนาก็ได้ ทำครัวก็ได้ มีจิตเป็นสมาธิ ใช้ไปนิพพานโดยตรงหรือไปใช้อย่างไรก็ได้ ที่จะอยู่ในทางที่มีประโยชน์ นี่เป็นว่าเราควบคุมจิตได้ตามที่เราต้องการไม่ให้เกิดความทุกข์ ควบคุมจิตได้ก็เท่ากับควบคุมโลกได้ หรือควบคุมเวทนาได้ ก็เท่ากับควบคุมโลกทั้งโลกได้ จนมันไม่ทำอันตรายเราได้ เหลืออันสุดท้ายที่สี่ คือ ธรรมะ ควบคุมอุปาทาน ธรรมดาเป็นธรรมดามีอวิชชา ความไม่รู้ มันก็มีอุปทานยึดมั่น ยึดนั่นยึดนี่โดยความเป็นตัวตนเป็นของตน นับตั้งแต่ยึดมั่นถือมั่นทรัพย์สมบัติ ข้าวของ เงินทอง วัว ควาย ไร่นา บุคคล ภรรยา สามี เกียรติยศ ชื่อเสียง ก็ยึดมั่นจนเกิดความทุกข์เพราะความยึดมั่น ก็มาทำสติก็เห็นว่า โอ้ ไอ้ที่เรายึดมั่นอยู่มันเรื่องบ้าทั้งนั้น สิ่งใดที่เรายึดมั่นถือมั่นอยู่มันเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง ทุกครั้งกัดเจ้าของ อนัตตา มันไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งที่ตัวเองกำลังยึดมั่นอยู่อย่างแท้จริงอันนี้แล้ว เรียกว่าเห็นอนิจจังแล้ว ก็เห็นเป็นราคะ คือคลายออกของความยึดมั่น จะเห็นว่าความยึดมั่นมันคลายออก เพราะเราเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งที่เรายึดมั่น สงสัยพยายามให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของสิ่งที่เรายึดมั่น มันจะเกิดความคลายออก คลายออก คลายออก ไม่มีราคะ ถ้ามันคลายออก คลายออก ไม่หยุดมันจะไปไหน มันก็ต้องหมด มันก็ต้องดับ เรียกว่านิโรธะ ดับแห่งความยึดมั่นถือมั่นไม่มีเหลือ นั่นแหละคือพระนิพพานอยู่ที่ตรงนั้น ไม่มีความยึดมั่นอะไรไม่มีความทุกข์อะไร ไม่มีกิเลสอะไร แต่ยังไม่พอยังรู้อีกทีว่า โอ้ เดี๋ยวนี้หมดแล้ว เดี๋ยวนี้เสร็จแล้ว ก็เรียกว่า ปฏินิสักขะ (นาทีที่ 1:03:57) โยนคืน โยนกลับ ที่เคยเอามายึดถือไว้ ที่เอามายึดถือไว้ โยนคืน โยนคืน โยนกลับ นี่เรียกว่า ปฏินิสักขะ งวดสุดท้าย ธรรมานุปัสสี (นาทีที่ 1:04:10) งั้นได้ครบอย่างนี้แล้ว ก็จบการปฏิบัติอานาปานสติ สามารถควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ เพราะว่ามีสติพอ ปัญญาพอ สัมปชัญญะพอ สมาธิพอ ควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไว้ได้ ไม่มีหนทางที่จะหมุนหาความทุกข์ ไม่มีโอกาสที่จะปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ ความทุกข์ก็ไม่เกิด เราก็มีชีวิตเย็นเป็นนิพพาน นิพพาน นิพพาน คำนี้ เข้าใจถูกต้องเสีย มันเข้าใจผิดกันมาดึกดำบรรพ์แล้ว มันก็เข้าใจว่าคือตาย ตายอย่างนิรันดร์ ตายอย่างไม่รู้จักผุดจากเกิด ตายอย่างนิรันดร์เป็นนิพพาน มันเคยสอนอย่างผิดๆ กันมาอย่างนี้ แล้วมีลัทธิอื่นนอกพระพุทธศาสนาก็มาสอนคนที่นี่ ที่เมืองไทยเนี้ยให้เข้าใจว่านิพพานเป็นตายนิรันดร์มาก่อน ต่อมาในอินเดียพระพุทธเจ้าท่านสอนว่านิพพานไม่ใช่ตายนิรันดร์ นิพพานคือไม่ตายนิรันดร์ คือไม่มีตัวกู ไม่มีตัวกู ไม่มีตัวกูแล้วอะไรมันจะตายละ มันก็คือไม่ตายนิรันดร์ ไม่เกิดกิเลส ก็ไม่เกิดทุกข์ ก็ไม่มีความร้อนสมตามความหมายของคำว่านิพพาน นิพพานคำนี้แปลว่าเย็น เย็นเพราะมันไม่มีไฟ ไม่มีไฟมันก็ไม่ร้อน เมื่อจิตไม่มีไฟ คือไม่มีกิเลส มันก็ไม่มีร้อน ไม่ทุกข์มันก็ไม่มีร้อน นั่นแหละนิพพาน จิตเป็นๆ ในชีวิตนี้ มีชีวิตอยู่ด้วยความเย็น เนี้ยคือเรียกว่านิพพาน ไม่ใช่ตาย ถ้าตายจะมีประโยชน์อะไร ถ้าตายนิรันดร์แล้วมันก็ไม่มีประโยชน์อะไร มันไม่ตาย ไม่ตายนิรันดร์ มีความเยือกเย็นเป็นความสงบสุข สมคำว่านิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง นี่ถ้าเราปฏิบัติอานาปานสติทั้งสี่หมวดสำเร็จ เราสามารถจะดำรงจิตของเราเอาไว้ในลักษณะที่มีนิพพานเป็นของประจำ ข้างต้นนั้นได้พูดกันมาหยกๆ นะว่าชีวิตนี้ธรรมชาติสร้างมาเพื่อให้เติมสิ่งที่ยังขาดอยู่ลงไป ก็คือทำให้มีธรรมะนี้ และถอนเอาสิ่งที่ไม่ควรจะอยู่ในชีวิตนี้ออกไปเสีย ก็คือถอนกิเลส ถอนความโง่ ถอนอวิชชาวาทาน (นาทีที่ 1:06:50) ออกไปเสีย แล้วพัฒนาสิ่งที่ไม่เพียงพอที่ยังเด็กยังเล็กให้มันสูงขึ้นไป ก็คือพัฒนาสติปัญญาสัมปชัญญะ สมาธิให้มากขึ้น ให้มากขึ้น จะเปลี่ยนสัญชาตญานให้เป็นภาวิตญาณ (นาทีที่ 1:07:09) คือทุกอย่างก็เรียกว่า พัฒนาสิ่งที่มีอยู่ให้ถึงที่สุด แล้วจำให้ดีๆ นะว่า เติมสิ่งที่มันขาดอยู่ลงไป เอาสิ่งที่ไม่ควรจะมีออกไปเสีย แล้วก็พัฒนาสิ่งที่ยังเล็กๆ อยู่ให้สูงขึ้นไป ให้ใหญ่ขึ้นไป ให้โตยิ่งๆ ขึ้นไป เนี้ยคือประโยชน์ของการมาประพฤติพรมจรรย์ ทำสมาธิ ทำวิปัสนาอย่างที่เราเรียกกันอยู่นี้ ให้สำเร็จประโยชน์อย่างนี้ ท่านก็จะได้รับผลเกินคาด แล้วผลเกินคาดหมายความว่า เกิดมาทีชีวิตนึ้นะไม่ใช้ตัวกู ไม่ต้องเป็นตัวกูก็ได้ เป็นชีวิตนี้ตามธรรมชาติก็ได้ให้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ แต่ถ้าพูดอย่างนี้ฟังไม่ถูก ลูกๆ เด็กฟังไม่ถูกก็ต้องพูดว่า ให้ตนนั้นแหละตัวตนโง่ๆ ตัวตนที่ไม่ใช่ตัวตนนั่นแหละ ตัวตนที่ไม่ใช่ตัวตนนั่นแหละ ให้มันเลิกความเป็นตัวตน ให้มันได้รับประโยชน์สูงสุดตามที่มนุษย์ควรจะได้รับ แปลว่าเกิดมาทีได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ เกิดการประพฤษพรมจรรย์ในอันดับสูงสุดแห่งพระพุทธศาสนา คือรู้ปฏิจจสมุปบาทแล้วปฏิบัติอานาปานสติควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไว้ได้ ไม่มีความทุกข์เกิดอีกต่อไป มีแต่ความเยือกเย็นเป็นนิพพานประจำอยู่ตลอดเวลา เรื่องมีเท่านี้ ใจความย่อๆ ของทั้งหมดมันมีเท่านี้ ทบทวนอีกทีว่า ท่านมาดีแล้วมาศึกษาหาธรรมะเพิ่มเติมให้แก่ชีวิต ท่านเดินมาเนี้ยขอให้เป็นโรงเรียนตลอดเวลาที่เดินอยู่เป็นโรงเรียน เป็นการอยู่ในโรงเรียน ไม่ใช้ไปโรงเรียนหรือมาโรงเรียน กำหนดอนัตตากำหนดสติว่าไม่ใช่ตัวตนอยู่ทุกก้าวย่างที่เดิน รู้สึกอะไรขึ้นมาก็เป็นไม่ใช่ตัวตน มาฟังคำบรรยายนี้เพื่อทำความเข้าใจในเบื้องต้น ว่าเราจะศึกษากันอย่างไรแล้วจะปฏิบัติกันอย่างไร และก็ปฏิบัติอย่างที่กล่าวกันมาแล้ว คือรู้จักปฏิจจสมุปบาทที่ครอบงำสิ่งทั้งหลายทั้งปวงอยู่ เป็นกฎของธรรมชาติ รู้แล้วก็เท่ากับเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงที่จะดับทุกข์ได้ ปฏิจจสมุปบาทเนี้ยจะเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริงที่จะช่วยให้เราดับทุกข์ได้ ขอให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในเจตนารมณ์อันนี้ และก็ดับทุกข์ได้จริงสมตามความประสงค์มุ่งหมาย ขอให้ท่านมีความก้าวหน้าในการปฏิบัติอานาปานสติก็รู้จักปฏิจจสมุปบาทดี สำเร็จประโยชน์ในการที่จะดับทุกข์ จะได้มีความสุขอยู่ทุกทิพาราตรีกาลตลอดไปเทอญ ขอยุติการบรรยาย