แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ผมขอแสดงความยินดี ในการที่มาอยู่พร้อมหน้ากันอย่างนี้ แล้วก็จะถือโอกาส ทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ ตามที่จะทำได้ ตามเท่าที่จะทำได้ ขอให้ถือเอาประโยชน์นั้นให้ได้ให้ตามสมควร สิ่งแรกที่สุดมันก็คือการพูดจา ไอ้การพูดจามันก็ต้องมีประโยชน์ เพื่อมุ่งหมายจะให้เป็นประโยชน์ และก็ต้องให้ได้สำเร็จประโยชน์ของการพูดจา การพูดจานั้นมันเป็นลักษณะของการติดต่อ หรือการทำให้เนื่องกัน ถ้าไม่มีการพูดจามันก็ไม่ได้เนื่องอะไรกัน ถ้ามันมีการพูดจามันก็เกิดการเนื่องกันขึ้นมา แล้วการเนื่องกันขึ้นมานั้น มันจะ มันควรจะนะ เป็นประโยชน์ ถ้ามันไม่เป็นประโยชน์ มันก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไร มันก็ไม่มีความหมายอะไร ถ้ามันมีประโยชน์มันก็เรียกว่ามีความหมาย หรือมันมีคุณค่า มีคุณค่า ขอให้ได้รับประโยชน์หรือได้รับคุณค่า ในการที่ได้มาพบปะกัน แม้ช่วงเวลาอันสั้น หรือเล็กน้อยนี้ การพูดจามันก็มีลักษณะเป็นการถ่ายทอดอยู่ในตัว หรือถ่ายทอดสิ่งที่ยังไม่รู้ให้รู้ ใครยังไม่รู้ก็ถ่ายทอดให้รู้ ครั้นรู้แล้วมันก็ต้องมีประโยชน์ มีผลเป็นประโยชน์ ถ้ามีผลไม่เป็นประโยชน์ก็เรียกว่ามันไม่เป็นประโยชน์ แต่ถ้าทำให้ดี ฟังให้ดี ให้มันแยบคายหน่อย แล้วมันก็จะมีประโยชน์ด้วยกันทั้งนั้น แม้แต่เสียง ไก่ขันมันก็มีประโยชน์ ฟังดูให้ดี แม้แต่ไก่ขัน หรือร้องอยู่เจี๊ยบ เจี๊ยบ มันก็ยังมีประโยชน์ ถ้ารู้จักใช้ประโยชน์
ทีนี้คนมันไม่รู้ ไม่รู้จักใช้ประโยชน์ มันเอาแต่เรื่องตามใจตัวเอง ตามใจตัวเอง ตามใจตัวเอง ขอให้ได้ตามใจตัวเองมันก็พอเสียแล้ว มันก็ต้อง ก็ไม่ได้รับประโยชน์อะไรนอกจากการตามใจตัวเอง การหลงตัวเอง แล้วแต่บางทีก็เป็นการเสียหายไปด้วยเสร็จ ความมีประโยชน์มันอยู่ที่ว่ามีการติดต่อ และการติดต่อนั้นก็เป็นไปอย่างถูกต้อง ไม่ถูกต้องมันก็มีประโยชน์ชนิดอื่น คือประโยชน์ที่ไม่ใช่ประโยชน์ ประโยชน์ที่ไม่ใช่ความถูกต้อง ถ้ามันมีความถูกต้องมันก็มีประโยชน์ไปตามแบบของความถูกต้อง เราพูดได้เลยว่าความถูกต้องเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะว่าไอ้ความถูกต้องนั้นน่ะ มันอธิบายได้ด้วย คำเพียงคำเดียว ว่ามีความถูกต้องแล้วมันก็ขจัดปัญหา ถ้ายังไม่ขจัดปัญหา หรือขจัดปัญหาอะไรไม่ได้ มันก็ไม่ใช่ความถูกต้อง ถ้ามันมีความถูกต้องมันก็มีการขจัดปัญหา แล้วก็ได้รับประโยชน์จากการขจัดปัญหา หมดปัญหามันก็สบายดีนี่ นี้เรียกว่ามันมีความถูกต้อง มันมีความสุข สงบเย็น และมีความเป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ ถ้ามันเป็นประโยชน์ หมายความว่ามันกำจัดปัญหาได้อย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอนแล้ว นี้ขอให้เราถือเอาสิ่งที่เรียกว่าประโยชน์ ประโยชน์นั่นนะ ให้ถูกต้อง ว่ามันขจัดปัญหา
แต่ขอยกเว้นอีก หน่อยหนึ่ง ซึ่งมันก็เป็นทางเรื่องของภาษา สำหรับคำว่าประโยชน์ ประโยชน์นี่ มันแปลว่า การเกี่ยวข้องกัน หรือผูกพันกันให้ติดตัง นุงนัง รุงรัง ประ แปลว่า ทั่ว โยชนะ แปลว่า ประกอบหรือผูกพัน คำว่าประโยชน์ก็แปลว่า ประกอบหรือผูกพันกันให้ ให้มันยุ่งไป ฉะนั้นไอ้สิ่งที่เรียกว่าประโยชน์นั้นมัน ก็จะยุ่งอยู่ด้วยการผูกพันเสมอ ถ้า ถ้าให้มันมีความถูกต้อง ความถูกต้อง ความถูกต้อง เสียอย่างเดียวแล้วมันก็ เป็นการผูกพันที่มีประโยชน์ แล้วก็ทำให้เกิดประโยชน์ แล้วก็จะขจัดปัญหาไปด้วยในตัว ถ้ามีประโยชน์มัน จึงขจัดปัญหา ดั้งนั้นผมจึงขอพูดสรุปสั้น ๆ ว่าสิ่งที่เรียกว่าประโยชน์ นั้นคือสิ่งที่ขจัดปัญหาได้ ที่นี้มันมีปัญหา มันมีปัญหาเสียเรื่อย ปัญหา ก็ตัณหาเสียอีก ตัณหานั่นเป็นเหตุให้ ให้เกิดปัญหา ให้เกิดการผูกพัน เนื่องกันไปตัณหา ตัณหา เป็นความอยาก ฉะนั้นประโยชน์อย่างนี้ฆ่ามันเสียให้ตายดีกว่า คำว่าประโยชน์ ประโยชน์นั่น มันแปลว่าการผูกพันที่ทำให้เกิดปัญหา แต่ถ้าประโยชน์ที่แท้จริงในความหมายที่เป็นธรรมะ เป็นศีลธรรมนี่ ก็คือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นประโยชน์แก่ใคร ๆ เป็นประโยชน์แก่ทุกคน เป็นประโยชน์แก่ทุกคน มันก็ไม่มีโทษอะไร
ฉะนั้นขอให้รู้จักคำว่าประโยชน์นี้กันไว้ดี ดี เพราะ สิ่งที่เรียกว่าประโยชน์นั้นให้โทษมหาศาลก็ได้ ให้คุณค่ามหาศาลก็ได้ ถ้ามันเป็นไปอย่างไม่ถูกต้อง มันก็ให้ความเลวร้ายที่สุด อุปัทวะ แปลว่า อุบาทว์ อาทีนวะ แปลว่าทุกข์ว่าโทษ อุปัทวะ อาทีนวะ มันเกิดมาจาก ประโยชน์ ก็เห็นได้ว่าความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว มันเกิด อาทีนวะ คือความอุบาทว์ อาทีนวะ คือความเป็นโทษ เกิดสิ่งเลวร้ายขึ้นมาเพราะความไม่ถูกต้องในการกระทำประโยชน์ คือการทำให้เกิดการเกี่ยวข้องหรือว่าเกี่ยวเนื่องกันขึ้นมา ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลาย จงรู้จักทำ ให้มีประโยชน์ในความหมายที่ถูกต้อง คือ สิ่งที่เป็นคุณ เป็นประโยชน์ เพราะว่ามันมีความถูกต้อง สิ่งใดไม่ถูกต้อง สิ่งนั้นจะมีแต่โทษ สิ่งใดมีความถูกต้องมันก็จะมีแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ประโยชน์ใน ความหมายที่ว่า เกี่ยวข้องกันอย่างมีประโยชน์นะ ไม่ใช่ว่าเกี่ยวข้องกันอย่างให้นุงนัง นุงนัง นุงนัง ไป นี่จะต้องระมัดระวังไอ้ถ้อยคำกันให้ดี ๆ ไอ้ถ้อยคำ ถ้อยคำนั้นบางทีมันก็ให้ความหมายอย่างหนึ่ง ความหมาย อีกอย่างหนึ่งตรงกันข้ามก็มี เช่นคำว่าประโยชน์
ประโยชน์ ในความหมายธรรมดานี้ ตามตัวบาลี นี้มันแปลว่าผูกพัน ผูกพัน ผูกพัน มันก็ยุ่งตาย ผูกพัน ผูกพัน แต่ถ้าประโยชน์มันก็ผูกพัน กันอย่างดี ผูกพันกันอย่างไม่มีโทษ มันก็กลายเป็นสิ่งที่มีคุณค่าหรือความหมาย ถ้าว่าประโยชน์นั้นมันถูกต้อง ประโยชน์นั้นมันถูกต้อง จึงอยู่ที่ความถูกต้องนั่นเป็นหลัก ฉะนั้นขอให้ถือเอาคำพูดอีกคำหนึ่งเป็นหลักว่า ธรรมะ ธรรมะ เพราะว่ามันคำเดียวกันกับความถูกต้อง มันความหมายอย่างเดียวกัน แม้ไม่ใช่พยัญชนะเดียวกัน แต่ความหมายมันอย่างเดียวกัน ความถูกต้อง ความถูกต้อง เมื่อมีความถูกต้องมันก็มีความเป็นประโยชน์ สิ่งมีค่าสูงสุดก็คือความถูกต้อง ความถูกต้อง ให้พระเป็นเจ้า ผีสางเทวดามารวมกัน ตั้งล้าน ล้าน ทั้งหมดทั้งสิ้นของพระเป็นเจ้า ถ้าไม่ถูกต้องแล้วก็ไม่มีประโยชน์ ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้ามันถูกต้อง มันก็มีประโยชน์หละ ถ้าของพระพุทธเจ้านะ ไม่ต้องของพระเป็นเจ้านะ ฟังให้ดี ๆ นะ ผมพูดว่า อันแรกพูด ว่าของพระเป็นเจ้า นั้นก็คือว่า ยังไม่ใช่ความถูกต้อง แต่ถ้าของพระพุทธเจ้าแล้วจึงจะเป็นความถูกต้อง ฉะนั้นความ ถูกต้องตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ ท่านเรียกเป็นบาลีว่า สัมมัตตะ ช่วยฟังให้ดี ๆ ว่า สัมมัตตะ นี่เรียนนักธรรมมาจนหัวล้านแล้วมันก็ยังไม่รู้คำว่าความถูกต้อง ยังไม่รู้จักคำว่า สัมมัตตะ คือคำว่าถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้อง ล้านกี่ล้านคำก็ได้ รวมกันแล้วก็เรียกว่าความถูกต้อง เรียกเป็นคำสั้น ๆ คำเดียวว่า สัมมัตตะ ประกอบอยู่ด้วยคำว่า สัมมา สัมมา สัมมา สัมมา สัมมา กี่คำก็ไม่รู้ ไม่รู้จุดจบเลย คำว่า สัมมา สัมมา ที่ไม่ต้องมีจุดจบก็ได้ ถ้ามันถูกต้อง ถูกต้อง แล้วมันก็ไม่ให้โทษอะไร โดยย่อ เรียกว่าความถูกต้องสัก ๔ อย่างนะ โดยพิสดารเต็มที่หน่อยก็ ๑๐ อย่างนะ ความถูกต้องทางกาย ความถูกต้องทางจิต ความถูกต้องทางตัวตน ความถูกต้องทางความว่าง นี่เป็นความหมายที่รัดกุมที่สุด ถูกต้องที่สุด สมบูรณ์ที่สุด ประเสริฐที่สุด ถูกต้องทางกาย ถูกต้องทางจิต ถูกต้องทางตัวตน ถูกต้องทางความว่าง ทางร่างกายถูกต้อง ถูกต้องไปหมด ลมหายใจเข้าออกก็ถูกต้อง ร่างกายเนื้อหนังนี้ก็ถูกต้อง ตดมันก็ไม่เหม็นนะ มันจะใช้คำหยาบ ๆ ว่า ตดมันก็ไม่เหม็น ถ้ามันถูกต้องมันจะเหม็นได้อย่างไร ถ้าร่างกายมันถูกต้อง ลมมันก็ถูกต้อง กายมันก็ถูกต้อง ตดมันก็ไม่เหม็น มันก็คือไม่มีโรคอะไร ไม่มีโรคอะไรมันก็ไม่ตายเท่านั้นเอง มัน มันหายไปหมด มันหายโรคไปหมด มันก็ไม่ตาย
ฉะนั้นความถูกต้อง ก็หมายถึงไม่ตาย ความถูกต้องทางกาย ก็ความไม่ตายทางกาย ความถูกต้อง ทางจิตก็ไม่เกิด ปัญหาในทางจิต คือมีจิตคิดนึกถูกต้อง ทางกายกระทำถูกต้อง ทางจิตคิดนึกถูกต้อง นี่ทำตัวตน ประกอบตัวตน ดำรงตัวตน มีหลักเกณฑ์แห่งตัวตนอยู่ด้วยความถูกต้อง มีตัวตนที่ถูกต้อง จะมีปัญหาอะไร มันก็สบายดี และ ถูกต้องทางความว่าง ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตน คนโง่ไม่รู้จัก ไอ้ชาติโง่มัน ไม่รู้จักคำว่าความว่าง เพราะมันไม่ประกอบด้วยปัญหา ไม่มีปัญหา ไอ้ความว่างจากตัวตน ความว่างจากตัวตน นั้นมันไม่มีปัญหา ร่างกายก็ไม่มีปัญหา จิตใจก็ไม่มีปัญหา ตัวตนก็ไม่มีปัญหา ความว่างก็ไม่มีปัญหา มันไม่มีปัญหาที่จะทำให้เกิดปัญหายุ่งยาก ไม่เกิด อาทีนวะ ความเป็นโทษ ไม่เกิด อุปัทวะ คือ ความอุบาทว์ ไม่เกิด ความทุกข์ คือความที่ไม่ต้องพอ ไม่พอใจ นี่เรียกว่ามันถูกต้องทางความว่าง ถ้ามันว่างเสียแล้ว มันไม่มีตัวตน และมันจะเป็นอะไรไปล่ะคุณ คุณลองคิดดู มันก็ว่างจากตัวตนและเป็นความว่างนิรันดร ของธรรมชาติ ว่างอย่างนิรันดรของธรรมชาติ มันก็ว่างกันจริง ๆ นี่ มันได้เปรียบอย่างนี้ ถ้ามันเป็นเรื่องของความ ว่างและก็หมดปัญหาโดยประการทั้งปวง ฉะนั้นขอให้ถูกต้องโดยความว่าง
อันสุดท้ายคือความว่างของตัวตน ซึ่งเป็นของธรรมชาติ ดังนั้นเราจึงจำแนกไอ้ความถูกต้อง อย่างน้อยว่า ๔ ความหมาย ว่าถูกต้องทางร่างกาย ร่างกายถูกต้อง ถูกต้องทางจิตใจ จิตใจมันถูกต้อง ความคิดมันถูกต้อง และถูกต้องทางตัวตน ความมีตัวตน ประกอบร่างกาย ประกอบจิตใจ ประกอบเป็นการกระทำ ผลของการกระทำ อะไรขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนอย่างนี้ มันก็ถูกต้อง เรียกว่าถูกต้องทางความมีตัวตน พอถูกต้องความมีตัวตนแล้วมันไม่เกิดความเห็นแก่ตัว ไม่เกิดความคิดนึกว่ามีตัวตน มันว่างจากตัวตน ตอนนี้มันได้รับประโยชน์สูงสุด เป็นพระนิพพาน ซึ่งคนโง่เท่าไรไม่รู้จัก ยิ่งโง่เท่าไร มันยิ่งไม่รู้จักพระนิพพาน พระนิพพานว่างจากตัวตน มันอวดดีกันนัก มันอะไร ๆ มันก็เรียกว่ารู้จักพระนิพพาน มันดูถูกพระนิพพานว่าเป็นของเข้าใจง่าย พระพุทธเจ้าตรัสว่า นิพพานเป็นอายตนะอันหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่อะไรทั้งหมด ไม่ใช่อะไรทั้งหมด เพราะมันว่างจากความเป็น อะไรทั้งหมด นี่เรียกว่าความว่าง มันก็ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา เข้าใจคำว่าความว่างให้ถูกต้องเท่านั้นแหละ มันหมดปัญหาโดยประการทั้งปวง มันจะเข้าใจนิพพาน นิพพาน อนารัมมณัง นี่ยิ่งเข้าใจยาก พูดไปก็เข้าใจไม่ได้ เดี๋ยวมันพูดคำหยาบออกมาอีกแหละ คำสิ่งที่เรียกว่านิพพานนั้นเป็น อนารัมมณัง ไม่มีอารมณ์ มิใช่อารมณ์ ไม่มีอารมณ์ มิใช่อารมณ์ เรามีอารมณ์ เป็นแต่เพียง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มีเครื่องมือให้รู้ ให้มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ พอมันมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็มีอารมณ์ มีอารมณ์ มันก็มีอารมณ์ มันก็เป็นไปตามอารมณ์ มันก็เกิดปัญหาขึ้นมา ถ้ามันว่างจากอารมณ์ คนโง่ฟังไม่ถูก ยิ่งโง่แล้วยิ่งฟังไม่ถูก ว่างจากอารมณ์ ไม่เกิดรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ขึ้นมา นี่มันว่างจากอารมณ์ อนารัมมณัง พระบาลีนั้นว่า อัปปะติฎฐัง ไม่มีที่ตั้ง ที่อาศัย อันปะวัตตัง ก็ไม่เป็นไป ไม่มีเป็นไป อนารัมมณัง ไม่ใช่อารมณ์ คำว่าอารมณ์นั่นนะ ถ้าถึงเข้าแล้วมันไม่เป็นอารมณ์ แม้แต่พระนิพพานก็ไม่เป็นอารมณ์ แต่เราจะเรียกว่าเป็นอารมณ์ตามความต้องการของเรา มีอารมณ์คือพระนิพพาน พระนิพพานนั่นเป็นอารมณ์ไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า มันไม่ใช่อารมณ์ มันอยู่เหนือความเป็นอารมณ์ นี่ไปศึกษากันให้ละเอียด ให้ลึกซึ้ง ตอนที่ว่าพระนิพพานมิใช่อารมณ์
อายตนะ นั้นมีอยู่นะ อายตนะ นั้นมีอยู่ คำว่า อายตนะ นี่แปลยากที่สุด แปลยากที่สุดในบรรดาสิ่งที่ผม ศัพท์ที่ผมรู้จักมา แปลยากที่สุด อายตนะนั้นมีอยู่ มันมีความหมายเท่ากับว่าสิ่งนั้นมีอยู่ สิ่งนั้นมีอยู่ แต่มิใช่อารมณ์ มิใช่อารมณ์ สิ่งนั้นมีอยู่ ก็คือมิใช่ธาตุดิน มิใช่ธาตุน้ำ มิใช่ธาตุไฟ มิใช่ธาตุลม สี่ธาตุนี้ก็ไม่ใช่ แล้วก็ภพทั้งหลายก็ไม่ใช่ คือว่าจะเป็นอากาสานัญจายตนะ อากาศอันไม่มีที่สิ้นสุด ก็มิใช่ ไม่เป็น วิญญาณัญจายตยะเป็นวิญญาณอันไม่มีที่สิ้นสุดก็มิใช่ อากิญจัญญายตนะ เป็นความไม่มี อะไรอันไม่มีที่สิ้นสุดก็มิใช่ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มันเป็นความรู้สึกก็ไม่ใช่ ไม่ความ ไม่รู้สึกก็ไม่ใช่ ๔ อย่างนี้ นักธรรมโทมันมีแล้วแหละ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตยะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ นี้มันก็มิใช่ มันก็มิใช่ ไม่ใช่สิ่งที่เรียกว่านิพพาน ที่นี้ก็มาพิจารณากันดูต่อไปว่า นายัง โลโก โลกนี้ก็ไม่ใช่ นะ ปะโร โลโก โลกอื่นก็ไม่ใช่ นะ อุโภ จันทิมะ สุริยะ เอ่อ, สุริยา ระหว่างโลกทั้งสอง คือไม่ใช่ ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ดวงอาจันทร์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ หรือระหว่าง โลกทั้งสองก็มิใช่ แล้วมันจะเป็นอะไรล่ะ ค่อยลองคิดดูสิว่า โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ระหว่างโลก ทั้งสองก็มิใช่ มันก็ไม่มีอะไร มันก็ไม่เคยไม่มีอะไร มันมีแต่ความว่าง
นี่รู้จักพระนิพพาน มันต้องรู้จักว่าอย่างนี้นะ ว่ามันไม่ใช่ธาตุทั้ง ๔ ไม่ใช่ภพ ๔ ไม่ใช่โลกทั้ง ๓ แล้วท่านก็อธิบายไปตาม วิธีของท่านว่า นะ อาคะติง มิใช่การมา นะ คะติง มิใช่การไป นะ คิติง มิใช่การตั้งอยู่ นะ อุปะปัตติง มิใช่การเกิดขึ้น เห็นไหม มันยิ่งโง่ ยิ่งโง่ ยิ่งโง่ ยิ่งไม่รู้จักธรรมของพระพุทธเจ้า ไม่รู้จักความหมาย ของพระพุทธเจ้า มิใช่การมา อาคะติง มิใช่การไป คะติง มิใช่การ คิติง คือตั้งอยู่ มิใช่ อุปะปัตติง มิใช่การอุบัติบังเกิดขึ้น มันมิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ จนไม่รู้ว่ามันจะมิใช่อะไรหมด
แต่ท่านสรุปไว้เป็นคำว่า อัปปะติฎฐัง อะ อะ อะคือนะ อัปปะติฎฐัง มิได้ตั้งอยู่ อันปะวัตตัง มิใช่เป็นไป อะนารัมมาณัง อะนารัมมาณัง ความสำคัญที่สุด มันมิใช่อารมณ์ มันไม่เป็นอารมณ์ ๓ คำนี้ สูงสุด สูงสุด ซึ่งฝรั่งทั้งโลกมันก็ไม่รู้ มันไม่เคยเรียนรู้เรื่องของพระพุทธเจ้า มันก็ไม่รู้คำวิเศษ ๓ คำนี้ว่า อัปปะติฎฐัง อันปะวัตตัง อนารัมมณัง นี่เราเป็นพุทธบริษัททั้ง ๔ ก็ควรจะรู้ ไม่มีที่ตั้งที่อาศัย ไม่มีการเป็นไป แล้วก็มิใช่อารมณ์ ธรรมะนี้ลึกสูงสุด ผมเป็นคนโง่ไปแล้ว ที่เอาเรื่องที่ลึกมาพูดให้คนโง่ฟังอีก มันก็ฟังกันไม่ถูกหละ คงจะฟังกันไม่ถูกมาก ๆ หลายคนที่พูดเรื่องนี้ พูดเรื่องพระนิพพานนะ ฟังกันไม่ถูกเพราะ เหตุนี้ อัปปติฎฐัง อันปวัตตัง อะนารัมมาณัง มิใช่ตั้งอยู่ มิใช่เป็นไป มิใช่อารมณ์ นี่สูงสุด สูงสุด ของคำที่จะบรรยายได้ในเรื่องของคำว่าพระนิพพาน เรียกว่านิพพานนั้นเป็นอายตนะอันหนึ่ง อายตนะอะไร เป็น ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รูป เสียง กลิ่น รส มันบ้าเลย บ้าเลย มันไม่ใช่อายตนะนั้น มันอารมณ์นั้น มันมิใช่ มิใช่ มิใช่ มันอายตนะของคำว่ามิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ ดิน น้ำ ลม ไฟ มิใช่อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตยะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มิใช่โลกนี้ มิใช่โลกอื่น มิใช่ระหว่างแห่งโลกทั้งสอง มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การเป็นไป แล้วก็ อะนารัมมะณัง มิใช่อารมณ์ คือไม่มีอารมณ์ ไม่ใช่อารมณ์ ไม่เป็นอารมณ์ แล้วยังมีอะไรเป็นอารมณ์ก็ได้ แต่ว่าสิ่งนั้นนะไม่ถือว่าเป็นอารมณ์สำหรับ พระพุทธเจ้า แม้จะมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็ตามสมมุติไปอย่างนั้นแหละ แต่ว่านิพพานไม่ใช่อารมณ์ เพราะไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นธาตุทั้ง ๔ เป็นภพทั้ง ๔ เป็นอะไรทั้งหมด เรียกว่ามันไม่มีมิติดีกว่านะ พูดเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ บ้าบ้า บอบอ ตามแบบของผมหน่อย ผมก็พูดว่ามันไม่มีมิติ มันไม่ใช่การตั้งอยู่ มันไม่ใช่การเป็นไป มันมิใช่อารมณ์ นั่นละถูกต้องที่สุด แต่มันเป็นวิทยาศาสตร์มากไปสักหน่อย เดี๋ยวก็จะฟังกันไม่รู้กันอีก
นี่คือพระนิพพาน พระนิพพาน คุณไปฟังให้ดี ๆ มันก็พอจะรู้เรื่องบ้าง ฟังไม่ดีมันก็ไม่รู้ มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ แล้วก็มิใช่ การเกิดขึ้น มิใช่การดับลง มันมีแต่คำว่า มิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ เป็นมิติของ การมิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ นั่นแหละเป็นพระนิพพาน ดังนั้นมันจึงหาความทุกข์ไม่ได้ ไม่มีอุปัทวะใด ๆ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ ในเรื่องของพระนิพพาน มันก็จะดีมาก ถ้าจะรู้เรื่องอย่างนี้ไว้บ้าง เป็นวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ของชั้นอภิปรัชญา ในชั้นสูง ไม่ใช่ตั้งอยู่ มิใช่เป็นไป มิใช่อารมณ์ นี่เป็นเรื่องของพระนิพพานโดยสมบูรณ์ ฉะนั้นเราจงรู้จักความถูกต้อง ความถูกต้อง ความถูกต้อง ถ้ามันมีความถูกต้อง มันมิใช่อารมณ์ มันมิใช่การตั้งอยู่ มันมิใช่การเป็นไป พูดอย่างเด็ก ๆ พูด มิติอย่างเด็ก ๆ ก็มิใช่การไป มิใช่การมา มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การบังเกิด มิใช่การดับสูญ มิใช่อะไร อะไร ทั้งหมด แล้วก็เพราะว่ามันมิใช่อารมณ์ ผมยิ่งพูด ก็ผมก็ยิ่งโง่ เพราะยิ่งพูดให้คนไม่รู้เรื่อง เอาเรื่องไม่รู้เรื่องมาพูด ให้คนฟัง ผมยิ่งพูดเองก็ยิ่งโง่เอง ไอ้คำว่าไม่มีอารมณ์ ไม่ใช่อารมณ์นั่นแหละ มันเป็นสิ่งที่อธิบายยากที่สุด ว่ามันเป็นอย่างไร
อย่างนี้ขอแสดงความหวังว่าคงจะมีผู้ฟังถูกบ้าง ไม่เสียเปล่า ในเรื่องของพระนิพพาน ที่มีบทบัญญัติไว้เป็นคำบัญญัติว่า ตะทา ภิกขะเว ตะทา ยะตะนัง ตะทา ยะตะนัง ภิกขะเว อายตนะนั้นมีอยู่ อายตนะนั้นนะ มิใช่อะไร มิใช่อะไร มิใช่อะไร มิใช่อะไร มิใช่ตั้งอยู่ มิใช่เป็นไป มิใช่ดับสูญ มิใช่อารมณ์ นั่นแหละ อายตนะนั้นแหละ อายตนะนั้น แปลได้อย่างดีที่สุด ก็ว่าสิ่ง แค่นั้นแหละสิ่ง นั้นสิ่ง สิ่ง จะแปลว่าดิน ว่า ว่าธาตุดิน ว่าธาตุ ไม่ได้ทั้งนั้น ว่าสิ่ง สิ่งนั้น เป็นอายตนะ หรืออายตนะนั้นมีอยู่ คือเป็น พระนิพพาน มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การเป็นไป มิใช่การดับ มิใช่อารมณ์ เอาละ พอละ ผมจะโง่ ป่านนี้อีกก็หมดแรงแล้ว มันพูดเรื่องไม่มีอารมณ์ ในคำว่า ไม่มีอารมณ์ไว้ไป เป็นของขวัญแก่ท่านทั้งหลายใน วันนี้ว่าสูงสุดที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ นั่นคือท่านพูดว่า สิ่งนั้นมีอยู่ และก็ สิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ อายตนะเหล่านั้น อายตนะนั้นนะมีอยู่ แต่ว่าอายตนะนั้นมิใช่ มิใช่ มิใช่ มิใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ มิใช่อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตยะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มิใช่โลกนี้ มิใช่โลกอื่น มิใช่ระหว่างแห่งโลกทั้งสอง มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การดับสูญ สิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ สรุปคำเดียวว่า มิใช่อารมณ์ จะเรียกไม่มีอารมณ์ก็ได้ ถ้าไม่มีอารมณ์ มันก็มิใช่อารมณ์ เราจึงจะเอามา เป็นอารมณ์อย่างที่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่ได้ ไม่ได้ เพราะว่ามันมิใช่อารมณ์ เป็นอายตนะที่มิใช่อารมณ์ ต้องพูดด้วยคำว่า ไม่ ไม่ ไม่ ไม่ตั้งร้อยคำ พันคำ มิใช่ดิน น้ำ ลม ไฟ ไม่ใช่อากาศ ไม่ใช่วิญญาณ มิใช่อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การดับไป สิ่งนั้นมิใช่อารมณ์ ถ้าหาภพก็คือหาภพพระนิพพาน คือสิ่งสูงสุด ที่ไม่มีอะไรสูงสุดยิ่งไปกว่า ทำไมจึงไม่มีอารมณ์เพราะมันมีแต่ความถูกต้อง ความถูกต้อง ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีสังขาร ไม่มีอารมณ์ ไม่มีตลิ่งที่จะไหลไป เพราะมันเป็นความว่าง มันเป็นเรื่องของความว่าง มันจึงไม่มีตลิ่งที่จะไหลไป นี่มันจึงที่สุดแห่งความทุกข์
ท่านพูดอีกคำหนึ่งที่น่าอัศจรรย์แปลกที่สุด ก็ว่า เอโสวันโต ทุกขัสสะ นั่นเป็น ที่สุดแห่งความทุกข์ ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ มีความทุกข์อีกต่อไปไม่ได้ นั่นเป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ อายตนะนั้น สิ่งนั้นนะเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ ความไม่มีอารมณ์นั่นเป็นที่สุดแห่งความทุกข์ ไม่มี นิพพาน นิพพานนั้นเป็นที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ มันมีไวพจน์ใช้แทนกันได้ว่า ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ หรือว่ามิใช่อายตนะ หรืออายตนะนั่น หรือว่ามิใช่อารมณ์ ที่สิ้นสุดแห่งความทุกข์ เป็นอายตนะนั่น ซึ่งพูดเป็นอะไรไม่ได้ ต้องใช้คำว่าอายตนะนั่น อายตนะนั่น มันไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ มิใช่อะไร มิใช่อะไร มิใช่อะไร มิใช่อายตนะนั่น มิใช่อายตนะนั่น ละก็เป็นพระนิพพาน ท่านจึงตรัสได้แต่เพียง อายตนะนั้นมีอยู่ ก็เท่ากับว่าสิ่งนั้นมีอยู่ สิ่งนั้นมีอยู่ สิ่งนั้นไม่ใช่สิ่งทั้งปวงตามที่บรรยายมาแล้ว นี่ขอให้ท่านทั้งหลาย รู้จักสิ่งสูงสุด ไม่มีอะไรสูงสุดยิ่งไปกว่า คือพระนิพพาน หรืออายตนะนั่น คือที่สุดแห่งความทุกข์ หรือสิ่งที่มิใช่อารมณ์ อันนี้เป็นความถูกต้อง เป็นความถูกต้อง
อย่างที่ผมกล่าวมาแล้ว ซ้ำ ๆ ซาก ๆ ตั้งร้อย ตั้งพันครั้ง ตั้งล้านครั้ง ว่าสิ่งที่ ไม่มี สิ่งที่มิใช่ปัญหาเป็นสิ่งที่ถูกต้อง สิ่งที่เป็นความถูกต้องคือสิ่งที่ไม่มีปัญหา ไม่มีความทุกข์ ไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ ไม่มีเหตุให้เกิดทุกข์ มันก็ไม่มีความทุกข์ด้วยประการทั้งปวง มันว่างไป ว่างไป ว่างไป ว่างไป เป็น ปรมานุตตรสุญญตา เป็นคำแปลกที่สุดอีกคำแล้ว พูดไปอีก ก็มันบ้าอีก บ้าต่อไปอีก พูดเอาคำที่ไม่รู้เรื่องมาพูด ปรมานุตตรสุญญตา ปรมะ แปลว่าอย่างยิ่ง อนุตตระ แปลว่า ไม่มีอะไรยิ่งกว่า สุญญตา แปลว่า ความว่าง ความว่างซึ่งไม่มีอะไรยิ่งกว่า เรียกว่าความว่างอย่างยิ่ง ความว่างอย่างยิ่ง ยิ่งว่างเท่าไรยิ่งถูกต้องเท่านั้น ว่างที่สุด ก็ถูกต้องที่สุด ถูกต้องที่สุด เพราะว่ามันไม่มีปัญหา ถ้ามันมีปัญหาอยู่มันไม่ใช่ความว่าง มันไม่ใช่ความถูกต้อง ดังนั้นจึงถือว่าความไม่มีปัญหา ความไม่มีปัญหา เป็นความถูกต้อง มันเป็นไอ้คำพูดที่ไม่รู้จบ ความถูกต้อง ความถูกต้อง มันสูงสุด อย่างสูงสุดไม่มีอะไรเปรียบ แล้วมันก็ไม่มีจบ เพราะมันเป็นธรรมทั้งปวง เป็นธรรมทั้งหลาย เป็นธรรมทั้งปวง มันอยู่ที่ความถูกต้อง ไม่มีความถูกต้อง มันก็มีแต่ปัญหา นี่คนเขาประมาทกันนัก พระ เณรเค้าหัวหงอก หัวล้านแล้วมันก็ยังโง่ ไม่รู้จักคำว่าความถูกต้อง มันไม่รู้จักคำว่าความถูกต้อง คือ สัมมัตตะของพระพุทธเจ้า แปลว่าความถูกต้อง ความถูกต้อง ขอให้สนใจเป็นพิเศษ แล้วท่านจะรู้สึกว่ามันเป็นคำที่น่าอัศจรรย์ที่สุด มันมีเหตุผลที่สุด แล้วมันก็มีประโยชน์ ในทางที่ว่ามันไม่มีปัญหา มันน่าอัศจรรย์ที่สุด มันมีเหตุผลที่สุด มันมีปาฏิหาริย์ที่สุด คือสามารถที่จะทำให้ เกิดขึ้นได้ เป็นความถูกต้อง เป็นความถูกต้อง เป็นความถูกต้อง เป็นความถูกต้อง จะพูดกันอีกที่ล้าน ล้าน ล้าน ล้านคำมันก็คือความถูกต้อง ความถูกต้อง แล้วก็หมดปัญหา ถ้าโลกทั้งปวงมีความถูกต้อง มันก็หมดปัญหา มันก็ดับสนิทแห่งโลก เป็นความว่างจากความทุกข์ทั้งปวง เมื่อมันไม่มีตัวตน มันก็เป็นความว่าง มันก็หมดปัญหา
นี่พูดได้เพียงเท่านี้ว่า สิ่งสูงสุดกว่าสิ่งทั้งปวงคือความถูกต้อง เมื่อมีความถูกต้องแล้วมันก็ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหา มันก็จะอะไร มันประเสริฐที่สุด ถ้ามันไม่มีปัญหา เอาละ ๓๐ นาทีแล้ว รู้สึกเหนื่อยเสียแล้ว ก็ต้องขอยุติการบรรยายว่า คำพูดเป็นที่ระลึกในวันนี้ ก็คือ คำพูดเรื่องความหมายอันลึกซึ้ง ของสิ่งที่เรียกว่าพระนิพพาน หรืออายตนะนั่น หรือที่สุดแห่งความทุกข์ หรือว่าความไม่มีอารมณ์ ความมิใช่อารมณ์นั่นความหมายของคำว่านิพพาน สรุปรวมอยู่ตรงที่ว่า คำว่า ความถูกต้อง ความถูกต้อง ไม่มีปัญหา เป็นอายตนะนั่น เป็นที่สุดจบแห่งความทุกข์ทั้งปวง ไม่มีอะไรมาทำให้เป็นอารมณ์ได้ มันไม่มีมิติ ไม่มีมิติ dimension ไม่มีโดยประการทั้งปวง มันเรียกว่า มันเป็นความว่าง แล้วมันก็ว่างจากอารมณ์ ขอยุติด้วยความสมควรแก่เรี่ยวแรง ไม่มีเรี่ยวแรงจะพูดแล้ว ขอยุติฝากไว้ให้ท่านทั้งหลาย ว่าจงจำคำนี้ไปว่า ความถูกต้อง ความถูกต้อง ความถูกต้อง สิ่งที่จะเป็นปัญหา เอ่อ, ก็แก้ปัญหาได้ทั้งหมด เพราะมันเป็นเรื่องของ พระนิพพาน ขอยุติการบรรยายแก่ท่านทั้งหลาย และขอขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ตั้งใจฟังจนจบ ขอยุติคำบรรยายไว้แต่เพียงเท่านี้
ใครเข้าใจว่ารู้จักพระนิพพาน รู้เรื่องพระนิพพานแล้วไปนึก สำนึกเสียบ้าง ไปสำนึกตัวเองเสียบ้าง มันรู้จักแต่กามารมณ์กันทั้งนั้น อะไร ๆ ก็เป็น เซ็กซ์ไปเสียทั้งนั้นเลย เป็นกามารมณ์ไปเถอะ อย่า อย่าเพิ่งอวดว่ารู้จักพระนิพพาน รู้จักไอ้ ไอ้ความว่าง รู้จักความไม่มีอารมณ์ รู้จักอายตนะนั้น
บทบาลีสำหรับคำว่า พระนิพพานนั้น มีอยู่ว่า อัตถิ ภิกขะเว ตะทา ยะตะนัง อายตนะนั้นมีอยู่ เนวะปัฐวี นะอาโป นะเตโช นะวาโย อายตนะนั้น มิใช่ธาตุดิน มิใช่ธาตุน้ำ มิใช่ธาตุไฟ มิใช่ธาตุลม นะอากาสานัญจายตนะ นะวิญญาณัญจายตนะ นะอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะ อายตนะนั้นมิใช่อากาสานัญจายตนะ คือ อากาศอันหาที่สุดมิได้ มิใช่วิญญาณัญจายตยะ มิใช่วิญญาณ อันหาที่สุดมิได้ นะอากิญจัญญายตนะ มิใช่ความไม่มีอะไรอันหาที่สุดมิได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นความรู้สึกตัวอยู่ก็มิใช่ ไม่รู้สึกตัวอยู่ก็มิใช่ นะ ยังโลโก โลกนี้ก็มิใช่ นะ ปรโลโก โลกอื่นก็มิใช่ นะ อุโภ จันทิมะ สุริยา ไม่ใช่ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ อันเป็นระหว่างแห่งโลกทั้งสอง
อัปปติฎฐัง มิใช่การตั้งอยู่ อันปวัตตัง มิใช่การเป็นไปอยู่ อนารัมมณัง มิใช่อารมณ์ ถ้าจะพูดให้เป็นมิติ เหมือนอย่างวิทยาศาสตร์ก็พูดว่า นะ อาคติง นะ คติง นะฐิติง นะอุปปัตติง ว่าสิ่งนั้นมิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การอุบัติบังเกิด เอโสวันโต ทุกขัสสะ อายตนะนั้นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ ที่สุดแห่งความทุกข์ อนารัมมณัง มิใช่อารมณ์ หาอารมณ์มิได้ พอแล้ว
บทบาลีสำหรับคำว่า พระนิพพานนั้น มีอยู่ว่า อัตถิ ภิกขเว ตะทายะตะนัง อายตนะนั้นมีอยู่ เนวะปัฐวีนะ อาโป นะ เตโช นะ วาโย อายตนะนั้น มิใช่ธาตุดิน มิใช่ธาตุน้ำ มิใช่ธาตุไฟ มิใช่ธาตุลม นะอากาสานัญจายตนะ นะวิญญาณัญจายตนะ นะอากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ อายตนะนั้นมิใช่อากาสานัญจายตนะ คือ คือวิญญาณอันหาที่สุดมิได้ มิใช่วิญญาณัญจายตนะ มิใช่วิญญาณธาตุอันหาที่สุดมิได้ นะอากิญจัญญายตนะ มิใช่ความไม่มีอะไรอันหาที่สุดมิได้ เนวสัญญานาสัญญายตนะ มิใช่ความรู้สึกตัว มิใช่ความไม่รู้สึกตัว รู้สึกตัวอยู่ก็มิใช่ ไม่รู้สึกตัวอยู่ก็มิใช่ นายังโลโก นะ ปะโรโลโก นะอุโภ จันทิมะ สุริยา โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ระหว่างแห่งโลกทั้งสอง คือดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ก็มิใช่ สรุปความว่า อัปปะติฏฐัง อันปวัตตัง อนารัมมณัง อัปปติฏฐัง มิใช่ความตั้งอยู่ อันปวัตตัง มิใช่ความเป็นไปอยู่ อนารัมมณัง มิใช่อารมณ์ พูดอย่างเป็นมิติวิทยาศาสตร์ ก็ว่า นะ อาคะติง นะ คะติง นะ ฐิติง นะ อุปปัตติง มิใช่การมา มิใช่การไป มิใช่การตั้งอยู่ มิใช่การอุบัติบังเกิด อัปปะติฎฐัง อันปะวัตตัง อนารัมมณัง เอโสวันโต ทุกขัสสะ นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ นั่นแหละคือที่สุดแห่งความทุกข์ อนารัมมาณัง หาอารมณ์มิได้ มิใช่อารมณ์ เอาไป ชอบคำไหนก็เอาไปได้