แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้ก่อนอื่นทั้งหมด ขอแสดงความยินดีในการที่ท่านทั้งหลายรู้จักใช้โลกเวลา ๕ น. ให้เป็นประโยชน์ได้มากขึ้นและมีการเดินสุญญตา เดิน ไม่ต้องมีผู้เดินมากขึ้นๆ ขอแสดงความยินดี ต่อไปนี้ก็จะได้บรรยายโดยหัวข้อว่า อานาปานสติ ตามที่ได้สัญญาไว้วันก่อน ให้ชื่อหัวข้อว่า อานาปานสติ ตามประสงค์ คือว่าแล้วแต่ที่จะประสงค์เอาไปใช้ทำอะไร จะเอาไปใช้ทำอะไร ไปใช้ได้ตามประสงค์ นี่เรียกว่า อานาปานสติโดยประสงค์
ชื่อนี้ ชื่อนี้ อานาปานสติ ชื่อนี้ มีความหมายที่ต้องทำความเข้าใจ โดยทั่วไปในเมืองไทย ในเมืองพม่า ในเมืองลังกา เขารู้จักกันแต่ในนามว่า สติปัฏฐาน สติปัฏฐานะ สติปัฏฐานะ หรือ มหาสติปัฏฐานะ แต่ในที่นี้เราจะไม่มุ่งหมายที่นั่น เราจะมุ่งหมายเอาหัวใจ หัวใจ Essence ของมัน และก็เรียกว่า อานาปานสติ ในฐานะเป็น Essence ของ สติปัฏฐาน ทั้งหมดมากมายมหาศาลมีหัวใจอยู่ที่อานาปานสติ
อานาปานสติ คำนี้ถูกใช้ผิดๆ ถือเอาความหมายผิดๆ ว่ากำหนดลมหายใจ กำหนดลมหายใจ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ถูกต้อง ความหมายที่ถูกต้อง คือกำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรกำหนด สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก ไม่ใช่กำหนดลมหายใจ แต่กำหนดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ควรกำหนด ควรกำหนดทุกครั้งที่หายใจเข้าออก อะไรเป็นสิ่งที่ควรกำหนด สิ่งที่ควรกำหนดก็คือ สิ่งที่เราอยากรู้ อยากใช้ประโยชน์ หรืออยากจะแก้ปัญหา หรือตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งนั้นๆ นั่นแหละสิ่งที่ควรกำหนด เอาสิ่งเหล่านั้นมาทำการกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก เขาเรียกว่า อานาปานสติ
Engineer คนหนึ่งเขาคิดถึงปัญหาเกี่ยวกับเครื่องจักรในหน้าที่การงานของเขาอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออกก็ดี นี่ก็เรียกว่าทำ อานาปานสติ ได้ในความหมายนั้น แม้ท่านอยู่ที่นี่ แต่ถ้าคิดถึงบ้านหรือครอบครัวที่อยู่ที่บ้านอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออกก็เรียกว่า อานาปานสติ ได้เหมือนกัน นี่คือความหมายของคำว่า อานาปานสติ ที่จะต้องเข้าใจกันให้ถูกต้องว่ากำหนดอยู่ที่สิ่งที่ควรกำหนด ที่ควรกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก
เราจึงสามารถนำระบบนี้ วิธีการอันนี้ไปใช้ได้กับสิ่งทุกสิ่งที่มันเป็นปัญหาแก่เรา จึงได้เรียกว่า อานาปานสติโดยประสงค์ คือแล้วแต่ว่าท่านจะประสงค์อะไร เอาไปใช้ได้ในทุกกรณี แล้วยังมีให้ทุกระดับ ทุกระดับ ตั้งแต่ต่ำๆ ที่สุดไปถึงสูงที่สุด แล้วทั้งในแง่ของโลก โลกๆ เป็นอยู่ในโลกและทั้งในแง่ของทางธรรมหรือทางศาสนา ทางจิต ทางวิญญาณ ทั้งอย่างต่ำและอย่างสูง ทั้งในแง่โลกๆ และทั้งในแง่ของธรรมะ และทีนี้ก็ใช้ควบคุมสิ่งเลวร้ายไม่พึงปรารถนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่เป็นไปในทางที่ให้เกิดทุกข์ ที่เราได้กล่าวถึงกันแล้วในวันก่อนว่ามีกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท เป็นไปในทางให้เกิดทุกข์ ถ้าเรามี สติ อานาปานสติ โดยเฉพาะนี่ควบคุมความเลวร้ายนั้นได้
สิ่งที่เราต้องการที่สุดในการพัฒนา มีอยู่สิ่งหนึ่งคือว่า ทำงานให้สนุก ทำงานให้สนุก แล้วก็เป็นสุข เป็นสุขตลอดเวลาที่ทำงาน ทำงานให้สนุกและเป็นสุขตลอดเวลาที่ทำงาน ถ้าเรามี อานาปานสติ ที่ฝึกไว้ดีแล้วจะทำได้ ทำได้ ทั้งตามที่ต้องการ สนุกด้วย เป็นสุขด้วยในเวลาที่ทำงาน ที่เรียกกันมากและที่ใช้พูดกันมากสำหรับประโยชน์ของ อานาปานสติ ก็คือ มีประโยชน์ในการป้องกันและคุ้มครอง ปิดกั้น ป้องกัน คุ้มครอง ปิดกั้น แล้วแต่จะเรียก สิ่งเลวร้ายไม่ให้เข้ามา ไม่ให้สิ่งเลวร้ายเข้ามา มีสติเป็นเครื่องปิดกั้น คุ้มครอง ป้องกัน นี่เป็นความมุ่งหมายส่วนใหญ่ที่สุดของคำว่า อานาปานสติ ทีนี้บางที่เราก็ใช้คำว่า รักษา รักษา มีหน้าที่คุ้มครอง ป้องกัน รักษา สิ่งใดๆ ให้ปลอดภัย เรียกว่าใช้สติรักษาชีวิต รักษาการงาน รักษาทรัพย์สมบัติ รักษาอะไรที่จะต้องรักษาแล้วก็สติเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการรักษา รักษา Prevent หรือว่ารักษาไว้ให้มันปลอดภัย มันเป็นแขกยามที่ดี
ทีนี้อีกคำหนึ่งก็คือ การต่อสู้ ชีวิตเต็มไปด้วยการต่อสู้ ต่อสู้ทางร่างกาย ต่อสู้ด้วยกำลัง ด้วยอาวุธ หรือต่อสู้อย่างนี้ก็ต่อสู้ คือว่าต่อสู้กันด้วยสติปัญญา สติปัญญา แม้ที่สุดจากการต่อสู้กันด้วยคดีในโรงในศาล ในศาลตามกฎหมายการต่อสู้นี้ การต่อสู้ทุกชนิดต้องการสติมากที่สุด ผู้มีสติแล้วก็จะต่อสู้ได้ดี นี่เรียกว่าเป็นประโยชน์ที่สุดในการต่อสู้ หรือถ้าจะพูดอย่างวิธีพูดของเราที่นี่ เราจะพูดสรุปรวมลงไปว่า ในกิจกรรมการงานทั้งทางกาย ทางกาย ร่างกายนี่แหละ และทางจิตโดยเฉพาะอย่างหนึ่ง และก็ทางสติปัญญาอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็น ๓ ทาง Physical mental spiritual นี่ทั้ง ๓ ทาง ก็เป็นว่าครบหมดบริบูรณ์ของมนุษย์เรา ถ้าสามารถชนะได้ทั้ง ๓ ทางนี้แล้วก็เรียกว่าสมบูรณ์ สติช่วยให้เป็นอย่างนั้น ช่วยให้สามารถทั้ง ๓ ทาง แล้วก็ขอแถมเป็นพิเศษ พิเศษอีกสักอย่างหนึ่ง ประโยชน์ของสติ อานาปานสติ นี่คือสามารถจะตายได้เหมือนกับการปิดสวิตช์ไฟ เราเปิดปิดสวิตช์ไฟได้ตามต้องการนี่ แล้วก็ตายได้เหมือนกับว่าเราปิดสวิตช์ไฟ นี่หมายความว่าเราควบคุม Mechanism ทั้งทางกาย ทั้งทางจิต ทั้งหมดได้ดีที่สุด เราจึงสามารถตายได้เหมือนกับการปิดสวิตซ์ไฟ
จะเล่าถึงตัวอย่างที่มีอยู่ในพระคัมภีร์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านอาจารย์คนนั้นนะ เป็นผู้คล่องแคล่ว Very worst (นาทีที่ 22.36น) ที่สุดในอานาปานสติ เมื่อถึงวันเวลาที่ท่านจะตายนี่ ท่านก็ชวนลูกศิษย์ทั้งหมดไปที่สนามหญ้า และก็ให้ลูกศิษย์อยู่สุดสนามหญ้าตรงโน้นพวก อยู่สุดสนามหญ้าทางนี้พวก อยู่ตรงกลางพวกหนึ่ง แล้วก็ท่านลงไปเดิน เดินไป เดินมา เดินไป เดินมา พอถึงวาระสุดท้าย ท่านก็มาหยุดยืนตาย ในมือ ในมือของลูกศิษย์ที่รออยู่ที่ตรงกลางสนามหญ้าที่ท่านเดินไปเดินมา สุดไปสุดมา แล้วก็มาตายนี่เหมือนกับปิดสวิตช์ไฟในมือของลูกศิษย์ที่รออยู่ที่ตรงกลางสนามหญ้านี่ นี่ตัวอย่างที่มีในพระคัมภีร์เป็นอย่างนี้ ตายเหมือนกับปิดสวิตช์ไฟ ซึ่งหมายความว่า เราสามารถจะกำหนดได้ว่าเราจะตายในการหายใจครั้งนี้ การหายใจครั้งนี้นะ เราจะตาย แม้ว่าเราจะถูกรถยนต์ทับกลางถนนนี่ เรากำหนดว่าเราจะตายในการหายใจครั้งไหนได้ ถ้ามันไม่ตายไปเสียก่อน แต่ว่าแม้แต่ว่าจะตายทันทีมันก็ยังมีสติรู้สึกหยุดหรือดับ มันมีเวลาเหลืออยู่พอที่จะรู้สึกกำหนดสติว่าจะหยุดหรือจะดับ จะตาย มีประโยชน์มากถึงอย่างนี้ นี่เรียกว่าเรากำหนดการตายได้เหมือนกับว่าเราปิดสวิตช์ไฟ ถ้าท่านทั้งหลายไม่เชื่อก็ไปลองดูก็แล้วกัน ทีนี่ ไม่มี ถ้าไม่เชื่อไปลองฝึกดูก็แล้วกัน
ทีนี้ก็มาถึงความหมายของการฝึก ความหมาย ใจความ หรือความหมายที่สำคัญของการฝึก ก็ กล่าวได้สั้นๆ ว่า เราจะฝึกด้วยการพัฒนา พัฒนา Develope สติที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตามสัญชาติญาณ ตาม Instinct นี่ สตินี้จะถูกฝึกให้สูงขึ้นไป สูงขึ้นไปจนเป็นสติที่สูงสุด ตามที่เราต้องการ เพราะว่าสติที่มีอยู่ตามธรรมชาตินั้นมันไม่พอ มันไม่พอใช้ มันอ่อน มันช้า มันอะไร ฝึกๆ ให้มันเข้มแข็ง ให้มันเร็ว ให้ทันเวลา เกินกว่าที่ธรรมชาติกำหนดมาให้ นี่คือความหมายแท้จริงของคำว่า ฝึกสติ พูดอย่างภาษาธรรมะก็คือว่า เราสามารถจะเปลี่ยนกิเลส กิเลสให้เป็นโพธิ ความโง่ ความสกปรก ความมืดมัว ความที่เป็นกิเลส สามารถเปลี่ยนให้เป็นโพธิ คือความแจ่มแจ้ง สว่างไสว รู้ถูกต้องตามที่เป็นจริง เราสามารถเปลี่ยนกิเลสให้เป็นโพธิด้วยอำนาจของสิ่งที่เรียกว่า สติ สตินี้ ทีนี้จะพูดว่าเราสามารถ Sublimate-Sublimate ที่เปลี่ยนกำลังของกิเลสให้กลายเป็นกำลังของโพธิโดยไม่ต้องสร้างกำลังใหม่ เอาเปรียบที่ว่านี่มันเป็นกำลังจะเกิดกิเลสเท่าไร จะเกิดกิเลสมากมายเท่าไร กำลังเหล่านั้นถูก Sublimate ให้เป็นกำลังของโพธิ โพธิไปด้วยอำนาจของสิ่งที่เรียกว่า สติ อ้าว, ทีนี้เรามาดูสติหลายๆ อย่าง หลายๆ ชนิดพร้อมกัน เพื่อการเปรียบเทียบ เพื่อการเปรียบเทียบ
อันแรกก็คือ สติตามธรรมชาติ โดยสัญชาติญาณก็มีสติ ไม่นั้นเราก็ไม่ คือเหมือนกับ เหมือนกับ เหมือนกับคนเมา เราจะเดินไม่ได้ เราจะหยิบอาหารใส่ปากไม่ได้ ไม่ถูก นี่สติตามธรรมชาติที่สามารถทำให้เราเป็นอยู่ได้ง่ายๆ ในชีวิตประจำวัน นี่ก็ด้วยสติตามธรรมชาติ แล้วก็อยู่ในลักษณะของ Instinct หรือ สัญชาติญาณ แต่ว่ามันไม่พอใช้ มันไม่พอใช้ มันยังน้อยเกินไป มันสามารถน้อยเกินไปสำหรับสติตามธรรมชาติ ดังนั้นเราจึงต้องพัฒนามัน Develope มัน สติตามธรรมชาตินั้นมันมาช้า มาช้าแล้วก็มาอย่างที่ไม่พอ มาน้อยเกินไป อย่างเช่น เราไปมีสติรู้สึก ระลึกได้ต่อเมื่อเราไปด่าเขาแล้ว เราไปด่าเขาเสียแล้วเราจึงรู้สึกว่าเราไปด่าเขาแล้ว แล้วเราก็เสียใจ นี่เรียกว่ามันมาไม่ทันเวลา ทีนี่มาไม่พอ เรารู้จะด่านี่ แต่เราก็สติมันมาน้อย มันไม่อาจจะห้ามไว้อย่าให้ด่า มันก็ด่าไปเองเหมือนกัน นี่เรียกว่ามันไม่พอ มันมีทั้งไม่ทันเวลาและทั้งไม่พอ สติตามธรรมชาติมันเป็นอย่างนั้น ฉะนั้นต้องฝึกให้มาเร็ว ทันเวลาแล้วก็ให้พอที่จะใช้งาน
อ้าว, ทีนี้ก็มาดู สติที่พัฒนาแล้ว พัฒนาแล้วดีกว่าตามธรรมชาติ สติที่พัฒนาแล้วนะมันมีเร็ว มาเร็ว มาทันเวลาเหมือนกับสายฟ้าแลบนะ แล้วก็มีมาก มีมากพอที่จะใช้สำเร็จประโยชน์ได้ แล้วมันก็เข้มแข็ง มันเข้มแข็ง มันสามารถหยุดๆ หยุดๆ หยุดความคิดเลวๆ ความคิดฟุ้งซ่าน หรือความคิดร้ายกาจ ให้หยุดได้เพราะมันมีความเข้มแข็ง เพราะว่าสติชนิดนี้มีปัญญาประกอบอยู่ด้วย มีปัญญาผสมอยู่ในนั้นด้วย ถ้าสติที่พัฒนาแล้วมันมีปัญญาผสมอยู่ด้วย แล้วมันก็มากด้วย มันก็เร็วด้วย มันก็เข้มแข็งด้วย
ทีนี้เราก็จะดู สติที่กำลังรับใช้ปัญญา สติไม่ได้อยู่เฉยๆ มารับใช้ปัญญา ในหน้าที่ขนเอามา เหมือนขนส่ง ปัญญาเราเก็บไว้มาก ศึกษา ศึกษา เก็บปัญญาไว้มาก แต่ถ้าไม่เอามาใช้ทันเวลาก็ไม่มี ประโยชน์อะไร มีสตินี่รับใช้ปัญญาในการเอามาทันเวลาเฉพาะหน้า เฉพาะเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อะไรก็ตาม คือมันมีเหตุการณ์เกิดขึ้น สติไปขนเอาปัญญามาสำหรับแก้ไขสถานการณ์นั้นให้ได้ดีที่สุด และให้ทันเวลาที่สุด ให้ใช้ปัญญาได้ดีที่สุดในทุกแง่ทุกมุม อย่างนี้เราเรียกว่า สติที่รับใช้ปัญญา ให้ปัญญาทำหน้าที่ได้ดีที่สุด สำเร็จประโยชน์มากที่สุด เราควรจะรู้จักไว้
ในภาษาไทยเรามีคำพูดว่า มีปัญญาท่วมหัวแล้วเอาตัวไม่รอด มีปัญญามากท่วมหัวแล้วก็เอาตัวไม่รอด คือช่วยอะไรไม่ได้เลย เพราะคนนั้นมันมีแต่ปัญญามากๆ ล้น เฟ้อไป แล้วไม่มีสติ แล้วไม่สามารถจะเอามาใช้ให้ทันเวลา ทันเหตุการณ์ที่ถูกต้องตามเหตุการณ์ได้ คนอย่างนี้เขาเรียกว่าคนมีปัญญาท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ซึ่งมีอยู่มากที่สุด มากที่สุด ระวังให้ดีจะกลายเป็นเราคนหนึ่งด้วยก็ได้ ระวังให้ดี ปัญญาท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด มันไม่ใช่มากเฉยๆ มันไม่ใช่ว่ามากๆ มากๆ เฉยๆ ล้น แต่ว่ามันท่วมหัว คือมันปิดทับ มันปิดทับนะ มันปิดทับให้โง่ ไปเสียอีกนะ มัน Confuse แล้วมันก็ปิดทับทำให้โง่ เราจะเรียกมันว่าไอ้ความมืดสีขาว ปัญญาที่ท่วมหัวจนไม่เห็นอะไรมันเป็นความมืดสีขาว เหมือนกับที่เรามองไปที่ดวงอาทิตย์เราจะไม่เห็นอะไร นี่ปัญญาท่วมหัวก็เป็นความมืดสีขาว
ทีนี้อันสุดท้ายที่จะขอเอ่ยถึงก็คือ สติในขณะที่ไปรับใช้สมาธิในขั้นสุดท้าย ในขั้นสุดท้ายที่จะตัดกิเลส อริยมรรคจะตัดกิเลสในขั้นสุดท้าย นี่สติต้องไปรับใช้สมาธิ ทุกองค์ องค์มรรคทุกองค์ สัมมาทิฐิก็ดี สัมมาสังกัปปะก็ดี สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ รวมทั้งสัมมาสติด้วย ต้องไปรับใช้สัมมาสมาธิ ตอนนี้สมาธิขึ้นถึงสูงสุดได้ชื่อว่า อริยสัมมาสมาธิ มีบริวาร ๗ มีลูกน้อง มีลูกน้องบริวารอีก ๗ คือ ๗ ข้างต้นมันไปรับใช้สมาธิอันสุดท้าย สติด้วยเหมือนกัน สติก็ไปรับใช้ อริยสัมมาสมาธิ ในขณะที่ อริยสัมมาสมาธิ จะตัดกิเลส จะบรรลุมรรคผลนิพพาน แต่ว่าเรื่องนี้มันละเอียดยืดยาวเกินไป ไม่อาจจะอธิบายได้ในวันนี้ แต่ให้รู้ไว้แต่ว่าในที่สุดสติจะไปรับใช้ สัมมาสมาธิ เกิดมี อริยสัมมาสมาธิ ขึ้นมาแล้วก็ตัดกิเลส ตัดกิเลส ตัดกิเลส แล้วก็บรรลุมรรคผล
ทีนี้เราก็จะมาดูกันถึงรากฐานที่ตั้ง ฐานที่ตั้งของการฝึกสติ รากฐานที่ตั้งของการฝึกสติก็คือ การควบคุมการหายใจหรือด้วยลมหายใจ คือควบคุมลมหายใจให้อยู่ในอำนาจของเราตามที่เราต้องการ นี่เป็นรากฐานที่ตั้งของการฝึกสติ คำนี้เป็นภาษาอินเดีย ออกเสียงว่า ปราณายามะ ปราณายามะ หรือ ปราณายาม เฉยๆ ก็ได้ ปราณายามะ แปลว่า ควบคุมลมหายใจ เป็นความรู้ดึกดำบรรพ์ มีอยู่ก่อนที่จะเกิดศาสนาทั้งหลายในอินเดียด้วยซ้ำไป ปราณายามะ รู้จักควบคุมลมหายใจ ก็ใช้ประโยชน์ได้จากการควบคุมสำเร็จ ปราณายามะ คำนี้ขอให้เข้าใจไว้ด้วย
เราจะพูดได้ว่าตั้งแต่คนป่า สมัยคนป่าไม่รู้จักนุ่งผ้า สมัยคนป่ามันก็จะรู้จักแต่ควบคุมลมหายใจ ใช้ประโยชน์จากลมหายใจ เพราะเหตุใด เพราะเหตุว่าแม้ตามธรรมชาติแท้ๆ ตามธรรมชาติแท้ๆ สัตว์เดรัจฉานมันก็ยังจะรู้จักควบคุมลมหายใจ เช่น มันรู้จักถอนหายใจยาว ถอนหายใจยาว เมื่อมันมีความคิดกลัดกลุ้มก็ถอนหายใจยาว ซึ่งเด็กๆ ก็ทำเป็น เด็กๆ ก็ทำเป็น นี่ไล่ไอ้ความกลัดกลุ้มวุ่นวายในใจ มันถอนหายใจยาว หรือมันร้องให้ มันสะอึกสะอื้น มันก็ลมหายใจ มันก็บรรเทาไอ้ความเจ็บปวด นี่ตามธรรมชาตินะมันก็มีเรื่องเกี่ยวข้องกับลมหายใจว่ามันจะมีอิทธิพลแก่ความรู้สึกใดๆ คนป่ามันก็เป็นมนุษย์แล้ว มันรู้จักหายใจ รู้จักหายใจให้มีประโยชน์ แล้วมีความเชื่ออย่างไสยศาสตร์ อย่างไสยศาสตร์ใช้ลมหายใจ ใช้อำนาจลมหายใจ ทำปัดเป่า ให้เด็กๆ มันหายกลัว หายร้องไห้ก็ทำได้ เรียกว่า อำนาจทางลมหายใจ ก็รู้จักใช้กันมาแล้วตั้งแต่ดึกดำบรรพ์โน้น สังเกตดูให้ดีๆ มันไม่มีใครสอน ไม่มีใครสอน เราทำเป็นเอง หายใจ หายใจยาวอย่างนี้แล้วก็สบาย สบายใจ เรียกถอนหายใจยาว อย่างนี้ทำได้ เป็นเอง เด็กๆ ก็ทำเป็น นี่ธรรมชาติมันจัดการของมันเอง ธรรมชาติมัน Adjust จัดการของมันเอง โดยการใช้ลมหายใจ ไล่ไอ้ๆ ไอ้สิ่งที่รบกวนความรู้สึกที่จิตใจออกไป นี่โดยธรรมชาติมันก็รู้จักใช้ลมหายใจขับไล่สิ่งที่ไม่พึงประสงค์ออกไปเสียจากจิตใจ ที่เราจะทำได้ดีกว่านั้น เราจะพัฒนา เราจะ Develope ให้มากไปกว่านั้นจนแก้ไขปัญหาที่มากๆ ใหญ่ๆ ได้ ขอให้แน่ใจ ขอให้แน่ใจว่ามันเป็นสิ่งที่ทำได้และมีประโยชน์ที่สุดนะ
เราจะดูว่าการควบคุมลมหายใจ นี่จะมีประโยชน์ไปในทางใดบ้าง อันแรกที่สุดมันก็เป็นประโยชน์ทาง Physic หรือ ทางกาย ทำให้ร่างกายสดชื่น แจ่มใส เข้มแข็ง มีประโยชน์ในทางกาย ก็มีสมรรถนะทางกาย การหายใจที่ดี มีประโยชน์แก่สมรรถนะทางร่างกาย แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องนิยาย เป็นเรื่องนิยายมันก็มีความหมายที่ควรจะสนใจว่า มันหายใจไปจนตายกลายเป็นมามีชีวิต นี่พวกคนป่า พวกเวทมนต์คาถา มันก็หายใจรดลงไป คนสลบหายกลับขึ้นมา มันก็กล้าพูดถึงว่าคนตาย ตายยังไม่ใช่ ไม่ ตายแท้นะ มันกลับมีชีวิตขึ้นมา นี่การควบคุมลมหายใจใช้อำนาจของลมหายใจ เรียกชีวิต ให้มากขึ้นมา ให้มีขึ้นมา นี่เป็นทางกาย
ทีนี้อันที่ ๒ มีประโยชน์ไปใน ทางจิต ทางสมาธิ ควบคุมลมหายใจได้อย่างถูกต้อง ถูกต้อง แล้วมันก็จะเกิดกำลังจิตหรือเกิดกำลังสมาธิ มันก็รับใช้ความเป็นสมาธิ ปราณายาม หมวดนี้ มันให้เกิดสมาธิ จะเอาไปใช้อะไรก็ได้
ทีนี้อย่างที่ ๓ มันเป็นไปใน ทางสติปัญญา ใครๆ ก็รู้ ถ้ามีสมาธิแล้วก็มีปัญญาได้ง่ายแล้วก็มีได้มาก ไอ้ ปราณายาม สุดท้ายนี้มันส่งเสริมสติปัญญา ร่างกายสบายดี เมื่อจิตเกิด สบายดีมันก็มีปัญญาได้โดยง่าย คิดนึกอะไรได้ดี นี่ ปราณายามะ ส่วนที่ ๓ นี้เป็นไปในทางปัญญา ส่งเสริมปัญญา รับใช้ปัญญา ก็ควรจะรู้จักไว้ รู้จักไว้
เมื่อคนป่าสมัยไม่นุ่งผ้า (นาทีที่ 1:04:30) มันยังรู้จักใช้ ปราณายาม ตามวิธีในขั้นต้นๆ ของเขา แล้วพวกเราเดี๋ยวนี้มนุษย์แห่งยุคปรมาณู ยุคอวกาศ พวกเราเดี๋ยวนี้ ใช้ไม่ได้ ทำไม่เป็น แล้วไม่ละอายมันบ้าง มันไม่ละอายคนป่าบ้าง ก็ขอให้นึกถึงข้อนี้แล้วก็จะดลใจในการฝึก ปราณายาม ใช้ให้เป็นสมาธิ ใช้ให้เป็นปัญญา ขอให้นึกกันอย่างนี้ดีกว่า หรือบางทีจะเป็นเพราะว่า เรารักคอมพิวเตอร์มากเกินไป เราเลยไม่คิดจะใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ จากธรรมชาติ อย่างเช่นจาก อานาปานสติ เป็นต้น เพราะเรารักคอมพิวเตอร์มากเกินไปก็ได้ ขอให้คิดๆ กันไว้ สังเกตกันไว้
อ้าว, ทีนี้ก็จะมาดูกันถึงองค์ประกอบที่สำคัญ ส่วนประกอบที่สำคัญในการที่จะ ฝึกสติ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า ฝึกสมาธิ มันก็อันเดียวกันนั่นแหละ องค์ประกอบที่สำคัญนั้นมันจะต้องมีสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์สำหรับจิตกำหนดลงไป ต้องมีสิ่งที่จะเป็นอารมณ์สำหรับจิตกำหนดลงไป นั่นเรียกว่า อารมณ์ อารมณ์ขาดไม่ได้ ถ้าไม่มีอารมณ์ไม่รู้ว่าจิตจะกำหนดที่อะไร มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่า อารมณ์ คือสิ่งที่จิตจะกำหนดลงไป นี่ข้อแรกว่าต้องมีอารมณ์สำหรับจิตกำหนด ไอ้ส่วนประกอบสำคัญที่จะต้องมีในการฝึกสมาธิ คือ อารมณ์ เหมือนท่านจะยิงปืน จะยิงปืนออกไปท่านก็ต้องมีอารมณ์ มี Object มี Target ที่มันจะยิงไปนั่นแหละเรียกว่า อารมณ์ แล้วไม่มีอารมณ์ ไม่มี Object ยิงปืนทำไม ก็บ้าเท่านั้น ก็เป็นคนบ้าเท่านั้นที่จะยิงปืนออกไป โดยไม่มีอารมณ์ที่ต้องการจะยิง
อ้าว, ทีนี้มีอารมณ์ มีอารมณ์ Object แล้วต้องเป็น Object ที่ปรับปรุงได้ ขยับขยายได้เรื่อยไป เปลี่ยนแปลง ปรับปรุงได้เรื่อยไป อารมณ์นั้นต้องสามารถ ขยับขยาย ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ได้เรื่อยไปตามลำดับ นี่ก็จำเป็น อารมณ์ที่ถูกต้องต้องเป็นอย่างนั้น ตอนนี้แหละมันสำคัญ มันมีความสำคัญคือ มันจะทำให้ท่านรู้สึกว่ามันมากเกินไป มันมากเกินไป อานาปานสติ อะไรตั้ง ๑๖ ขั้น ๑๖ ขั้น มากเกินไป มากเกินไป ไม่อยากจะทำก็เลิกกัน ถ้าเข้าใจผิดอย่างนี้ ท่านจะรู้สึกว่ามันมากเกินไป ที่จริงมันมีหนึ่งเดียวเท่านั้นแหละ มันมีสิ่งเดียว แต่เราจะมองมันโดยหลายมิติ เช่นว่า มองมัน ๔ มิติ สิ่งเดียวมอง ๔ มิติ ทางกว้าง ทางยาว ทางสูง ทางลึก ทางความหมายอะไรก็ มองมัน ๔ มิติก่อน แล้วใน ๑ มิติ ๑ มิติ เราจะมองมันอีก ๔ มิติอีก ให้มันชัดเจน ให้มันละเอียดยิ่งขึ้นไป ๔ มิติ ถูกมองโดยอีก ๔ มิติ มันก็เป็น ๑๖ แต่ที่แท้มันก็สิ่งเดียว สิ่งเดียว สิ่งเดียว ก็มีวิธีมองให้ละเอียดออกไป ละเอียดออกไป เพราะนั้นจงอย่าท้อใจ อย่าเข้าใจว่ามาก มากเหลือวิสัย ยุ่งๆ ลำบากเหลือวิสัย แล้วก็ไม่อยากจะทำ ที่จริงมันต้องสิ่งเดียว เป้าหมายเดียว อารมณ์เดียว ที่จะมองลงไปให้เห็น ให้ลึก มองโดยวิธี ๔ ประการ แล้วแต่ละประการมีวิธีมองโดยละเอียดลงไปอีกเป็น ๔ ประการ มันก็เลยได้ ๑๖ ประการ มันสิ่งเดียวเท่านั้นนะ
เหมือนอย่างว่าเราจะมองดูต้นไม้ต้นนี้ ต้นไม้ต้นนี้ ถ้าจะมองให้รู้จักครบถ้วน ถูกต้อง ละเอียดทุกอย่าง ท่านต้องมองจากข้างบน มองจากข้างล่าง มองจากข้างๆ ข้างซ้าย ข้างขวา ข้างหน้า ข้างหลัง ทุกทิศทุกทาง แล้วจึงจะเห็นต้นไม้เหล่านี้ครบ ครบทุกทิศทุกทาง ทีนี้เราจะมองให้ลึกเข้าไปอีก เราก็ต้องดูที่ใบ ที่ใบของมัน ที่เปลือกของมัน ที่ลำต้นของมัน ที่รากของมัน ใบทำหน้าที่อะไร ย่อยอาหาร แล้วก็เลี้ยงมาทางเปลือก เปลือกเลี้ยงต้น เลี้ยงต้น ที่ฟากลำต้นก็ดูดน้ำขึ้นไป ดูดอะไรขึ้นไป นี่มองดูลึกเข้าไป ลึกเข้าไปทุกๆ ส่วน เราก็รู้จักต้นไม้นี้ดีที่สุดว่าใบทำอะไร เปลือกทำอะไร ดอกทำอะไร ลูกทำอะไร ลำต้นทำอะไร ไส้กลางแกนกลางของลำต้นอะไร อย่างนั้นแหละคือจะฝึกจิต อารมณ์ของจิตจะต้องถูกมองในลักษณะอย่างนี้ มันไม่ได้มากไป มันเรื่องเดียวแต่ว่ามองให้มันครบถ้วนทุกทิศทาง
หรือว่าเราจะมองคน มองบุคคลสักคนหนึ่ง เราจะมองดูแต่ที่หน้าของเขาเท่านั้นเหรอ มันก็ไม่พอ แล้วมันก็ไม่ หลอกได้ด้วย มันตีสีหน้าหลอกก็ได้ เราต้องมองถึงจิตใจของเขา การกระทำของเขา ลักษณะของเขา ในคุณสมบัติของเขา การเป็นอยู่ของเขา มองดูเขาทั่วไปหมด ไม่ใช่มองแต่หน้า นี่เรียกว่ามันจะต้องศึกษาให้ครบละเอียดทุกอย่าง เพราะนั้นอารมณ์ของ อานาปานสติ มันมีอย่างเดียวแต่ว่าเราต้องมองครบทุกแง่ทุกมุมจึงจะรู้จักแล้วจะควบคุมได้ มันก็คงจะน่าหัว น่าหัว น่าขัน นึกแต่ว่าท่านจะรู้จักแก้วน้ำ แก้วดื่มน้ำของท่านแต่เฉพาะข้างบนที่จะดื่ม ท่านไม่รู้จักแก้วน้ำในด้านล่างคือ ก้นของแก้วน้ำ ท่านไม่ได้เคยมองแก้วน้ำในทางก้นไม่ได้พลิกขึ้นดู คิดแล้วก็น่าหัวที่รู้จักแก้วน้ำแต่ด้านบนที่จะใช้ดื่มน้ำ ก้นแก้วไม่เคยดู นี่ไม่เรียกว่ารู้จักแก้ว แก้วน้ำนั้นโดยสมบูรณ์ เพราะนั้นเดี๋ยวนี้เราจะมองอารมณ์ Object ของสตินี่ เรามามองกันในแง่ที่ว่ามันเป็นส่วนประกอบของทั้งหมดของชีวิต ของปัญหาของชีวิต ของความทุกข์ของชีวิต การจะแก้ปัญหาหรือดับทุกข์ของชีวิตในการเจริญสติจึงให้มองถึง ๔ ๔ อย่าง คือร่างกาย คือเวทนา คือจิต คือธรรมชาติทั้งปวง นี้เรามอง ๔ มิติ
อันแรกเรามองที่ร่างกาย ร่างกาย เพราะมันเป็นที่รองรับสิ่งทั้งปวง ในทาง สิ่งทั้งปวงมันอาศัยตั้งอยู่บนร่างกายเช่น จิตใจ เป็นต้น กายมันเนื่องอยู่กับอะไร มันเนื่องอยู่กับลมหายใจ Breath body Breath body นั่นแหละรวมกันแล้วก็เรียกว่า ร่างกาย มารู้จักร่างกายกันเสียก่อนเป็นข้อแรก เพราะมันเป็นที่ตั้ง ที่รองรับของปัญหาอื่นๆ นี่มองดูที่กายเรียกว่า กายานุปัสนา สติเป็นไปในทางกาย
ทีนี้ร่างกายมันเป็นที่เกิดของเวทนา ของเวทนา ถ้าร่างกายไม่มีเวทนาก็ตายแล้ว เป็นร่างกายที่ตายแล้ว ร่างกายที่เป็นๆ อยู่มันต้องมีเวทนา จึงต้องมองดูที่เวทนาที่มันตั้งอาศัยอยู่กับกาย เป็นความรู้สึกนาๆ ชนิดที่เรียกว่า เวทนา เวทนานี่ต้องรู้จักเป็นเรื่องที่ ๒ เรียกว่า เวทนา
ทีนี้อะไร อะไรที่มันรู้สึกต่อเวทนา หรือควบคุมกายนี้ ควบคุมเวทนานี้ สิ่งนั้นคือ จิต จิต จิต มันควบคุมกายนี้ มันให้เกิดเวทนานี้ มันรู้สึกเวทนานี้ เราต้องรู้เรื่องจิต อีกชื่อหนึ่งเรียกว่า จิตตานุปัสนา มองดูที่จิตก็รู้จักจิต
ทีนี้ในครั้งสุด ในตอนสุดท้าย ก็ดูว่าจิตมันไปโง่อยู่ที่อะไรจึงได้เป็นทุกข์ จิตไปโง่อยู่ที่อะไรมันจึงได้เป็นทุกข์ ก็คือจิตมันไปโง่อยู่ต่อสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงที่เป็นที่ตั้งแห่งความโง่ ความยึดมั่นถือมั่น หรือ อุปาทาน นี้ เพราะนั้นเราจึงต้องดูสิ่งทั่งปวง สิ่งทั้งปวงที่ทำให้จิตมันโง่นั้นอีกทีหนึ่ง นี่เรียกว่าดูสิ่งทั้งปวง เรียกว่า ธรรมานุปัสสนา ดูธรรมชาติทั้งปวงก็แล้วกัน เราจะต้องมองให้เห็นว่า ทุกสิ่ง ทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร สังขตะ สังขตะ คือ มีเหตุ มีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี อสังขตะ ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยปรุงแต่งก็ดี ก็เรียกว่าสิ่งทั้งปวง จะพูดว่าตั้งแต่ Full other particle เดี่ยว ฝุ่นเม็ดเดียวขึ้นไปถึงพระเป็นเจ้าเลย ยกหมดเลย หมดเลย มันคือสิ่งทั้งปวง ที่จะทำให้เรายึดมั่นถือมั่น คือไปรู้สึกเป็น แง่บวก แง่ลบ Positive Negative และเราก็มีความโง่เกิดขึ้นในใจ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น อิจฉา นี่ความโง่ทั้งหลายมันเกิดขึ้นมาเพราะไป Attach ต่อสิ่งทั้งปวง ในแง่ Positive หรือ Negative จึงต้องดูสิ่งทั้งปวงในลักษณะที่ถูกต้อง ถูกต้องจนไม่โง่ ไม่โง่ต่อสิ่งทั้งปวง นี่เรียกหมวดที่ ๔ ธรรมานุปัสสนา เข้าใจแจ่มแจ้งศึกษาในสิ่งทั้งปวง
มันเป็น ๔ มิติ ของสิ่งๆ เดียว ๔ มิติ แต่ว่าของสิ่งๆ เดียว ในส่วนที่เป็นร่างกาย เป็นที่ตั้งแห่งสิ่งทั้งปวง และเวทนามันรู้สึกได้โดยทางกายนี่ แล้วจิตเป็นผู้รู้สึกต่อเวทนา หรือควบคุมเวทนา ควบคุมกาย แล้วก็สิ่งทั้งปวงที่มันทำให้โง่ จนจิตไปหลงแล้วเกิดเวทนานาๆ ชนิด เวทนานาๆ ชนิดเพราะมันไปโง่ต่อสิ่งทั้งปวง นี่เรียกว่ามัน ๔ มิติ แล้วก็ของสิ่งๆ เดียว ท่านอย่าเข้าใจว่ามากๆ จนเรียนแล้ว จนแล้วที่ไม่อยากจะเรียน มันเรื่องเดียวเท่านั้นแหละ เรื่องสิ่งทั้งปวงก็ได้ นี่มองกัน ๔ มิติแล้วจะแก้ปัญหาได้ แม้โดยผลที่จะได้รับ ผลที่จะได้รับ ก็มีสิ่งเดียว สิ่งเดียวคือ ไม่มีความทุกข์ ไม่เกิดความทุกข์เพราะไปโง่ต่อสิ่งทั้งปวง มันก็มีผลสิ่งเดียว มันไม่มีความทุกข์ มันไม่เกิดความทุกข์ นี่ผลก็มีเพียงสิ่งเดียวเหมือนกัน แล้วมันก็ดี ดีมาก ดีวิเศษ อย่างวิเศษมากที่ว่าถ้าเราควบคุมสิ่งเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง เราจะไม่มีความทุกข์ จะไม่มีความทุกข์ เราจะต้องการความสุขเมื่อไรก็ได้ หากว่าที่น่าพอใจเรียกว่า ความสุข เราต้องการเมื่อไรก็ได้ แล้วความทุกข์ก็ไม่มีมาให้เห็น ประโยชน์ของการที่มีสติโดยสมบูรณ์
แล้วความลับที่จะต้องทราบอีกอย่างหนึ่งต่อไปก็คือว่า ระบบนี้ ความรู้อย่างนี้ การกระทำอย่างนี้ รับผลอย่างนี้ มันเป็นของธรรมชาติ เป็นของธรรมชาติ ใช้คำว่าธรรมชาติ ซึ่งมันใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย ทุกสถานที่ แล้วก็ทุกๆ ชนิดของมนุษย์ ไม่เนื่องด้วย Race เรื่องของมนุษย์ มนุษย์จะมี Race ชนิดไหนก็ตกอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ของสิ่งๆ นี้ เพราะฉะนั้นเราจึงมารวมกันหมด ศึกษาสิ่งเหล่านี้โดยที่ไม่ต้องคิดว่า เป็นคนยุโรป เป็นคนอเมริกัน เป็นคนออสเตรเลีย ไม่ต้องนึก เพราะมันใช้ได้มาตั้งแต่คนป่าที่ยังไม่นุ่งผ้าสมัยโน้นเรื่อยมา เรื่อยมาจนกระทั่งบัดนี้ นี่เรียกว่า ความจริง ข้อนี้ของธรรมชาติ ข้อนี้มันไม่ขึ้นอยู่กับเวลา ไม่ขึ้นกับอยู่สถานที่ ใช้ที่ไหนก็ได้ เมื่อไรก็ได้ แก่มนุษย์ชาติพันธุ์ไหนก็ได้ มันเดียวกัน ชาติพันธุ์นี้มันเดียวกัน มันมีกิเลสเหมือนกัน ความทุกข์อย่างเดียวกัน มันมีอะไรเหมือนกัน ธรรมะนี้จึงใช้ได้โดยไม่ต้องมีข้อยกเว้นว่าจะเป็นชาติพันธุ์อันไหน ขอให้ท่านเข้าใจอย่างนี้เถอะ อย่าเข้าใจว่าเป็นพุทธศาสนาของพุทธบริษัท มันไม่ใช่นั่นมันพูดแคบเกินไป มันเป็นความจริงของมนุษย์ทุกคน ของสิ่งมีชีวิตทุกสิ่ง
สมมติว่าโลกมันมีมาแล้วล้านปี ใช้กฎเกณฑ์เดียวนี้ อันเดียวนี้ ข้อเดียวนี้ล้านปี ถ้ามันจะอยู่ไปข้างหน้าอีกกี่ล้านปีก็ใช้กฎเกณฑ์อันนี้ นี่เรียกว่าไม่จำกัดเวลา ทีนี้ที่โลกนี้ ที่ไหน ที่ทุกหนทุกแห่ง ต่อให้เมืองสวรรค์ ถ้ามีสวรรค์อยู่ตรงโน้น มีนรกอยู่ข้างล่าง และทั้งที่นรก ทั้งที่มนุษย์ ทั้งที่สวรรค์ก็ใช้กฎเกณฑ์อันนี้ แล้วจะไปนับประสาอะไรกับเรื่องชาติพันธุ์ มันไม่จำกัดภายใน Space เลย เฉียบขาดที่สุด เฉียบขาดที่สุด แล้วก็แน่นอนที่สุด ขอให้สนใจในลักษณะอย่างนี้เถอะ
เวลาที่เหลืออยู่นี้ก็จะพูดถึงการกระทำแต่โดยย่อ จะพูดถึงการกระทำแต่โดยย่อ ทั้ง ๔ หมวด ทั้ง ๔ วิธี หมวดกาย จะควบคุมลมหายใจอย่างไรนี่ก็ อาจารย์ อาจารย์ที่ Center อธิบายสอนพวกคุณทุกอย่างแล้วว่าจะควบคุมลมหายใจอย่างไร ควบคุมไปตามนั้น เดี๋ยวนี้ก็อยากจะบอกแต่ว่ามันจะควบคุมกาย ๒ กาย กายลม กับ กายเนื้อ นี่มันทำงานร่วมกัน ให้มันทำงานร่วมกัน แล้วมันก็มีสมรรถนะมากที่สุดในทางกาย จะฝึกหายใจอย่างไร สอนกันแล้วที่ Center ที่นี้ไม่ต้องพูดแล้ว แต่เดี๋ยวนี้เราจะมารวมกายลมกับกายเนื้อหนังเข้าด้วยกันแล้วก็มีสมรรถนะสูง จะใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด รวมความว่าเราจะมีร่างกายที่ดี ที่ดีที่สุด แล้วก็ Active ที่สุด Active ที่สุด พวกจีนเขาเรียกว่ากำลังภายใน ฝึกกันอย่างนี้เรียกกำลังภายใน บ้าๆ บอๆ อะไรก็ไม่รู้ แต่ถ้าท่านอยากจะมีกำลังภายในแล้วก็ฝึก อานาปานสติ ในส่วนกายนี่ ก็จะมีกำลังภายในเหลือใช้ เอาไปใช้เพื่อชีวิตได้ทุกแง่ทุกมุม นี่ประโยชน์ของการฝึกในส่วนกาย
หมวดที่ ๒ คือ เวทนา จะกำหนดปีติอย่างไร จะกำหนดสุข ความสุขอย่างไร ก็เชื่อว่าอาจารย์ที่ Center อธิบายดีแล้ว สอนดีแล้วว่าจะควบคุมเวทนาอย่างไร นี่เราแล้วก็เคยได้อธิบายไว้ในคราวอื่นๆ มากมายเหมือนกันไปหาอ่านดูได้ นี่เราจะควบคุมเวทนาให้ได้ อย่าให้เวทนามันเป็นปัญหาอีกต่อไป ทุกคนในโลกรวมทั้งท่านทั้งหลายด้วยนี่เป็น เป็นทาสของเวทนา มุ่งหมายเวทนา พยายามจะได้เวทนา รับใช้เวทนา ถ้าเราควบคุมไม่ได้เราก็มีแต่ความทุกข์ ถ้าเราควบคุมเวทนาได้เราก็ไม่มีความทุกข์ หรือมันราวกับว่าเราควบคุมโลกทั้งโลกได้ เพราะโลกทั้งโลกมันมีค่าอยู่ที่แค่เวทนาเท่านั้นแหละ ควบคุมเวทนาได้ก็คือ ควบคุมโลกได้
ทีนี้หมวดที่ ๓ ศึกษาเรื่องจิต ควบคุมจิตให้ได้ เขาพูดกันว่าหรือพระพุทธภาษิตก็มีนะ ว่าไอ้ โลก โลก โลกทั้งหมดนี่มันเป็นไปตามกรรม เป็นไปตามกรรม แต่ว่ากรรมนั้นเป็นไปตามอำนาจของจิต กรรมมันเป็นไปตามอำนาจของจิต ดังนั้นจิตนั่นแหละเป็นสิ่งที่ควบคุมโลกหรือพาโลกไป ทุกอย่างอยู่ภายใต้อำนาจของสิ่งที่เรียกว่าจิต ทั้งโลก ทั้งโลกเป็นไปตามอำนาจของจิต ท่านก็จะต้องจัดการกับจิตให้มันถูกต้อง ให้มันถูกต้อง อย่าให้มันนำโลกไปผิดๆ นี่เรื่อง ของจิต เป็นอย่างนี้
เ ราสามารถรู้จักจิตทุกชนิด จิตทุกชนิด แม้จิตของพระอรหันต์ จิตใดที่มันมี Experience ที่อยู่ในจิตเราก็รู้จักว่ามันเป็นอย่างนี้ๆ แต่ถ้าจิตที่มันไม่มี เราควบคุมได้โดยอนุมานโดยว่าตรงกันข้ามจะเป็นอย่างไร เรารู้จักจิตที่มีกิเลส มีกิเลสเรารู้จัก จิตที่ไม่มีกิเลสในบางคราวเราก็รู้จัก แต่ว่าไม่มีกิเลสโดยประการทั้งปวงโดยสิ้นเชิง จิตพระอรหันต์นะ อยู่ตรงกันข้ามจากจิตที่เรามีอยู่นี้ เราจึงรู้จักจิตได้ทุกชนิด แล้วเราก็เลือก เมื่อเราฝึกบทเรียนเกี่ยวกับจิตได้แล้ว เราก็สามารถจะควบคุมจิต ควบคุมจิต บังคับจิต เราต้องการให้จิต ร่าเริง บันเทิง พอใจ เมื่อไรก็ได้ เราต้องการให้มัน หยุด สงบ นิ่ง เป็นสมาธิเมื่อไรก็ได้ เราจะทำสลัดปล่อยสิ่งที่เราไม่พอใจ ปล่อยไอ้สิ่งที่ไม่พอใจ สิ่งที่ยึดมั่นถือมั่นเมื่อไรก็ได้ ที่ท่านพูดว่าเราจะทำให้มันสบายใจเมื่อไรก็ได้ หรือให้มันหยุดตั้งมั่นก็ได้ หรือให้มันปล่อยสิ่งทั้งปวงอย่ามาผูกพันจิตใจเลยก็ได้ นั้นแหละผลของการฝึกจิต
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ ๔ คือ ทุกสิ่งทุกอย่าง ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่มันมีอยู่ในขอบเขตที่เราจะรู้จักนี่ ล้วนแต่เป็นที่ตั้งให้เราโง่ไปหลงรักมัน เรียกว่าเป็น Positive ไปหลงเกลียดมันเป็น Negative แล้วก็มีปัญหาแต่เรื่อง Positive Negative ไม่มีที่สิ้นสุด นี่เราจะต้องชนะความโง่อันนี้ เราจะชนะความโง่อันนี้ จะไม่ให้เกิดความรู้สึกที่เป็นทุกข์ ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น ใช้ได้ทุกชนิดที่เลวร้ายจะออกไปเสียได้ ในเมื่อเรามารู้จักไอ้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ (นาที่ที่ 1:52:33)
สิ่งแรกทีจะต้องมองให้เห็นก็คือ ความเป็นอนิจจัง อนิจจัง เปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย เพราะว่ามันมีเหตุมีปัจจัยปรุงแต่งขึ้นมา แล้วมันต้องเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยนั้น ดังนั้นมันคงที่อยู่ไม่ได้ คงที่อยู่ไม่ได้ มันจึงเปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย นี่เรียกว่า เห็นอนิจจัง เป็นจุดตั้งต้นที่จะต้องเห็นให้ดีที่สุด ให้ลึกซึ้งที่สุดไปตามลำดับจนถึงที่สุด เห็นอนิจจังให้ถึงที่สุด ไม่โง่เรื่องอนิจจังอีกต่อไป เราเห็นอนิจจังของสิ่งใด เราจะคลายความยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนั้น การคลายความยึดมั่นถือมั่นนี้เรียกว่า วิราคะ ที่จางออกคลายออกแห่งความยึดมั่น นี่เรียกว่า เห็นวิราคะ เป็นอันดับที่ ๒
เมื่อมันคลายออก จางออก จางออก จางออก มันจะไปไหน มันก็สิ้นสุด มันก็สิ้นสุดแห่งความยึดมั่นถือมั่น ก็สิ้นสุดแห่งความทุกข์ สิ้นสุดแห่งปัญหาของชีวิต นี่เรียกมันดับลงแห่งความทุกข์ ดับลงแห่งความร้อน มันเป็น Quenching ของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา อย่างนี้เรียกว่า นิโรธะ นิโรธะ Quenching ของสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา เรียกว่า นิโรธะ นิโรธะ เป็นอันดับที่ ๓
เมื่อมาขั้นที่ ๔ ก็จบ เรื่องมันก็จบ เมื่อหมดความยึดมั่นถือมั่น โยนกลับ โยนกลับ ก่อนเคยถือเอาไว้ ถือเอาไว้เป็นความยึดมั่นถือมั่น ทีนี้ก็โยนกลับ โยนกลับออกไปหมด นี่เรียกว่า เรื่องมันจบตรงที่โยนสิ่งทั้งปวงกลับคืนออกไป ไม่มีความยึดมั่นถือมั่นอีกต่อไปเรียกว่า ปฏินิสสัคคะ ปฏินิสสัคคะ คำนี้แปลว่า โยนกลับออกไป โยนกลับออกไป เรื่องก็จบที่ ปฏินิสสัคคะ
พูดอย่างอุปมาสักหน่อย อุปมาสักหน่อยว่ามันจำง่ายดี มันเข้าใจได้ง่ายโดยอุปมานี่ ว่าธรรมชาติให้ยืมชีวิต ไอ้สิ่งที่เรียกว่าชีวิต ทุกๆ สิ่งที่เป็นชีวิตนี่เป็นของธรรมชาติ ธรรมชาติให้เรายืมใช้ ให้ยืมใช้ไม่คิดดอกเบี้ย ไม่คิดค่าสึกหรอ ให้ยืมฟรี ให้มาพัฒนาเอาเอง พัฒนาเอาเอง พัฒนาเอาเองจนพอใจที่สุด แต่ยังเป็นของธรรมชาติ นี่เราเป็นคนโกง เป็นคนขี้โกง เป็นขโมย เอามาเป็นของกูเสีย ไม่ใช่ของธรรมชาติ นี่เรียกว่ายึดมั่นถือมั่น ทีนี้ธรรมชาติก็ตบหน้าเอามันลงโทษ ธรรมชาติมันตบหน้าเอา คือ ลงโทษ ลงโทษ จนทนไม่ไหวจึงยอมแพ้ ยอมแพ้ทีนี้ก็เห็นความจริง โอ้, ไม่เอา ไม่เอา ก็คืนให้ธรรมชาติ ปัญหาก็เรียกว่าสิ้นสุด เรื่องก็จบ ยืมของธรรมชาติมาพัฒนา ตามพอใจ พอใจ พอใจแล้วอย่าโกงธรรมชาติ อย่าเอาเป็นของตน คืนให้ธรรมชาติในที่สุดด้วยความตายหรืออะไรก็ตาม คืนให้ธรรมชาติเรื่องก็จบ เรื่องก็จบ นี่อุปมานี้เข้าใจได้ง่าย จำได้ง่าย
บัดนี้ชีวิตของเราสะอาด สะอาด ไม่มีสกปรก บัดนี้ชีวิตของเรา สว่าง สว่าง รู้ถูกต้อง ไม่โง่อีกต่อไป บัดนี้ชีวิตของเรา สงบเย็น สงบเย็น เป็น Peaceful สะอาด สว่าง สงบ ก็เกิดขึ้นแก่เรา เราก็หมดจากความทุกข์ หมดจากความทุกข์ หมดจากความทุกข์ สรุปว่าเราหลุดจากคุกแห่งความโง่ว่ามีตัวตน ความมีตัวตนเป็นคุกขังตาราง ขังเรา เราก็หลุดจากคุกแห่งตัวตน เรื่องจบด้วยการหลุดออกจากคุกแห่ง Ego-Ego หลุดจากคุกแห่ง Ego ของเราเอง เรื่องมันจบ
ในที่สุดนี้ท่านจะเรียกคำอธิบายทั้งหมดนี้ว่าเป็น Manifesto-Manifesto ของ อานาปานสติ ก็ได้ตามใจท่าน เรื่องมันก็จบ ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย เป็นผู้ฟังที่ดี เกิน ๒ ชั่วโมงไป ๑๕ นาทีแล้ว ต้องขอยุติการบรรยาย ขอยุติการบรรยาย
ขอยุติการประชุม ขอยุติการประชุม ขอเติมอีกนิดหนึ่งว่า ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบใจ ไม่ต้องขอบคุณอาตมา มันเป็นหน้าที่นะ อาตมาเสียอีก ขอบคุณท่านทั้งหลายที่มาทำให้เกิดโอกาส ที่อาตมาจะทำประโยชน์แก่คนทั้งหลายได้ มีโอกาสทำประโยชน์แก่คนทั้งหลายได้ ท่านมาทำให้เกิดโอกาสนี้ อาตมาขอบพระคุณท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่ต้องขอบพระคุณอาตมา