แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้ เราจะได้พูดกันถึงเรื่องอาการที่ไฟลุก หรือดับอยู่ในชีวิตประจำวัน ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติต่อไป อาการที่กล่าวนั้นเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ดังที่ท่านทั้งหลายก็กำลังศึกษาอยู่แล้ว แต่อาตมาจะนำมากล่าวในฐานะเป็นเรื่องของไฟที่ลุก และไฟที่ดับอยู่ในชีวิตประจำวัน
เรื่องนี้มีความสำคัญในฐานะที่เป็นเรื่องหัวใจของพุทธศาสนา และกล่าวได้ว่าไม่มีคำสอนอย่างนี้ในลัทธิศาสนาอื่น แม้ว่าจะมีคำสอนที่ตรงกันอยู่เป็นอันมากหลาย ๆ อย่าง แต่ว่าเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ไม่มีกล่าวในลัทธิศาสนาอื่นใด ในโบราณนั้น ในเอเชียก็ดี ในทางตะวันตกโน้นก็ดี และเพราะมีคำสอนเรื่องนี้ ทำให้พุทธศาสนาได้ชื่อว่า เป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์ หรือศาสนาที่สามารถเผชิญกับความต้องการของโลกวิทยาศาสตร์ อย่างที่ไอน์สไตน์พูดว่า ถ้ามีศาสนาที่ Can Cope a Modern Scientific Needs แล้ว ศาสนานั้นก็คือพุทธศาสนา ทั้งนี้ก็เพราะพุทธศาสนามีเรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
ถ้าอธิบายอย่างย่อก็เรียกว่าอริยสัจสี่ ถ้าอธิบายอย่างพิสดารก็เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท หรืออิทัปปัจจยตา และเรื่องนี้มีเกียรติ หรือเครดิตสูงสุด จนพระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นเห็นฉัน ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายสนใจเป็นพิเศษ ในฐานะที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ในฐานะที่เป็นองค์แทนของพระพุทธเจ้า และในฐานะเป็นศาสนาที่สามารถเผชิญหน้ากับวิทยาศาสตร์ กฎเกณฑ์อันนี้ถ้าใช้กับทุกสิ่งไม่ยกเว้นอะไร คือจะมีชีวิต หรือไม่มีชีวิตก็เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ถ้ามาใช้กับสิ่งที่มีชีวิต เป็นรู้สึก เป็นสุขเป็นทุกข์ได้ ก็เรียกแคบเข้ามาว่า ปฏิจจสมุปบาท แต่ในบาลีมักกล่าวร่วมกันไป เรียกรวมกันไปเลยว่า อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท นี่เรียกชื่อโดยสมบูรณ์
ถ้าเราจะพูดให้พุทธศาสนามี God คือมีพระเจ้า เราก็ถือว่ากฎอิทัปปัจจยตานี่เป็น God ในพุทธศาสนา แม้ว่าจะเป็น Impersonal God นักศึกษาชาวตะวันตก จัดพุทธศาสนาเป็น Atheist คือไม่มี ๆ God แล้วก็พาลหาว่าพุทธศาสนาก็ไม่ใช่ Religion เพราะไม่มี God เรื่องนี้ขอให้ท่านทั้งหลายว่า ขอให้ท่านทั้งหลายได้ทราบว่าพุทธศาสนาก็มี God หากแต่เป็น Impersonal God และเป็น Religion ที่ตรงตามความหมายของคำว่า Religion ที่สุด กว่าลัทธิใดด้วยซ้ำไป
สำหรับคำว่า Religion นั้น ขอให้ถือเอาศัพท์คำ ๆ คำนั้นแหละ ซึ่งมีรากของศัพท์ว่า Lig Leg ก็ตาม คำหนึ่งแปลว่า Observation คำหนึ่งแปลว่า To Bind, Religion จะควรจะถือเอาความหมายว่า การปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์มีการผูกพันกันกับสิ่งสูงสุด คือความหมายของ Religion ถ้าเป็นอย่างนี้แล้วพุทธศาสนาเป็น Religion เต็มร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะมีการผูกพันมนุษย์ กับสิ่งสูงสุดคือนิพพาน ความดับทุกข์สิ้นเชิง
กฎเกณฑ์อันนี้เป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ดังนั้นจึงใช้ปฏิบัติได้ทุกคน ไม่ว่าท่านจะเป็นชนชาติไหน หรือท่านกำลังถือศาสนาอะไร ท่านสามารถจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของปฏิจจสมุปบาท เพื่อดับทุกข์ในชีวิตประจำวันของท่านโดยเท่ากันโดยเท่ากัน เพราะว่ามันเป็นกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ มันเป็นกฎเกณฑ์นิรันดร ๆ ซึ่งมันจะใช้ได้ตลอดไป ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด อย่างที่มันได้เกิดมาแล้วตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักกฎเกณฑ์นิรันดรอันนี้ มนุษย์ไม่รู้จักก็ไม่รู้จัก เมื่อมนุษย์รู้จักแล้วก็จะใช้ได้สำหรับมนุษย์ตลอดต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด เรียกว่าเป็นกฎเกณฑ์นิรันดร เป็นศาสนาของธรรมชาติอย่างนิรันดร นี่คือความสำคัญของเรื่องนี้
เมื่อเราจะพูดกันถึงไอ้ชีวิตลุกโพลง ๆ หรือความร้อน เราก็ควรจะรู้ถึงว่า รู้ล่วงหน้าถึงว่า ถ้าไม่ร้อนหรือดับเย็นนี่มันจะเป็นอย่างไร จึงขอพูดเรื่องความดับเย็น คือไม่ร้อนกันสักเล็กน้อย เพื่อเป็นเครื่องนำทางที่ให้ง่ายเข้า ในศาสนาที่มีพระเจ้า การดับเย็นก็ต้องหมายถึงการที่เข้าไปอันเดียวกับพระเจ้า United With God ที่ในพุทธศาสนาไม่มีพระเจ้าชนิดนั้น แต่มีสิ่งสูงสุดที่เรียกว่า นิพพานในภาษาไทย นิพฺพานในบาลี นิรฺวาณในสันสกฤต ความหมายเป็นเดียวกัน คำนี้แปลว่าเย็น ๆ คำว่านิพพาน นิรวาณ หรือนิพพานนี้แปลว่าเย็น ๆ ควรจะศึกษาความหมายของคำว่าเย็นนี้กันพอสมควร และท่านควรจะทราบความจริงที่สำคัญที่สุดสักอย่างหนึ่งว่า ไอ้คำที่บัญญัติใช้ทางศาสนานี่มันเกิดทีหลัง มันไปยืมคำพูดธรรมดา ๆ ที่มนุษย์พูดกันอยู่ก่อนนั่นมาใช้ ในทางเป็นคำของศาสนา แต่ให้ความหมายเสียใหม่
คำว่านิพพานนี่ ก่อนแต่ที่จะเอามาใช้เป็นคำในทางศาสนานี่ มันแปลว่าเย็น ในฐานที่เป็นความดับของไฟ หรือสิ่งที่ร้อน สิ่งที่ร้อนเย็นลง เช่น ถ่านไฟแดง ๆ ดับลงไป หรืออาหารร้อน กินไม่ได้เย็นลงไป หรือเอาน้ำรดของร้อนให้เย็นให้ดับลงไปนี่เรียกว่านิพพาน นิพพาน หรือว่าทำให้นิพพาน นี่ชาวบ้านเขาพูดกันอยู่ก่อน ใช้พูดกันอยู่ก่อนที่ถูกนำมาใช้ในทางศาสนา ต่อมาความหมายทางวัตถุเช่นนั้น เลื่อนขึ้นมาเป็นความหมายทางจิต ทางวิญญาณ จึงมีความเย็นที่สูงขึ้นมา แต่ก็ยังเป็นเรื่องธรรมดา คือว่ามันหมดความเป็นอันตราย เช่นว่าสิงโตเป็นสัตว์ร้ายอยู่ในป่า จับมาเลี้ยงจับมาฝึกกันจนมันเชื่องเหมือนกับแมวนี่ ก็เคยใช้คำว่านิพพาน สำหรับสัตว์ที่เชื่องถึงขนาดนี้ด้วยเหมือนกัน คือมันเย็น มันหมด ๆ ความร้อน หมดอันตราย นี่มันเลื่อนจากวัตถุขึ้นมาเป็นเรื่องทางจิตใจเล็กน้อยแล้ว
ต่อมามนุษย์มองสูงขึ้นมาถึงเรื่องทางจิตใจเต็มที่ เห็นว่าความทุกข์มันอยู่ที่จิตใจเป็นสำคัญ ก็แสวงหาความเย็นในทางจิตใจว่ามันคืออะไร มันเป็น Quenching of the Heat น่ะ คืออะไร จึงมาพบทีแรก พบอย่าง ๆ อย่างคนที่ยังไม่รู้อะไรนี่ยัง ก็ว่ากามารมณ์เป็นนิพพาน มีกามารมณ์แล้วก็มีความระงับลง เย็นลงตามที่เราต้องการ ยุคนั้นก็เอากามารมณ์เป็นนิพพาน ยุคสมัยนั้นไม่ไหว ๆ เลื่อนขึ้นมาเอาความสงบแห่งจิตคือสมาธิ สมาธิที่อยู่ในลักษณะที่เรียกว่าฌาน ๆ ต่าง ๆ ต่างระดับทุกระดับ ๆ มาเป็นนิพพาน หรือเป็นความเย็นกันอยู่ เป็น ๆ สองยุค เอากามารมณ์เป็นนิพพาน เอาสมาธิเป็นนิพพาน นี่ก็เรียกว่าเย็นตามแบบนั้น
ต่อมาพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ท่านตรัสรู้ คือค้นพบไอ้กฎของธรรมชาติถึงที่สุด บอกว่าไม่ไหว ๆ กามารมณ์ หรือสมาธิยังไม่ใช่นิพพาน นิพพานที่แท้จริง เย็นจริงนั้นต้องเป็นเรื่องดับไฟ ไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ ไม่มีไฟราคะโทสะโมหะนี่เป็นนิพพาน จึงมีนิพพานอันสุดท้าย นี่คือดับไฟแห่งไฟ และก็มีความเย็นแท้จริง เย็นสูงสุด เย็นเด็ดขาดเกิดขึ้นมา นี่เป็นไอ้ความเย็น ความเย็น เพราะปราศจากไฟโดยสิ้นเชิง โดยสิ้นเชิง ทั้งทางทางจิต ทางวิญญาณ ทาง Spiritualty นี่สูงสุดไม่มีร้อนอีกต่อไป
แต่ก็น่าหัว น่าขัน หรือน่าหัวที่ว่า แม้ในสมัยนี้ก็ยังมีคนบางพวก ต้องการจะเอากามารมณ์เป็นนิพพาน หรือเอาความเป็น Positiveness สูงสุดมาเป็นนิพพานอยู่นั่นเอง เดี๋ยวนี้ ปัจจุบันนี้ ถ้าอย่างนี้ก็แปลว่ายังผิดตรงกันข้ามแหละ กามารมณ์หรือ Positiveness ก็ยังไม่ใช่ความเย็น มันยังเป็นความร้อนที่เข้าใจยากชนิดหนึ่ง ดังนั้นขอให้ท่านเข้าใจเสียให้ถึงที่สุดว่า มันต้องเหนือจากนั้นไป เหนือ Positive เหนือ Negative เหนือไอ้สิ่งที่เป็นคู่ ๆ นี้โดยประการทั้งปวง ความเย็นแท้จริงจึงจะเกิดขึ้น
ลัทธิตันตริก ๆ ที่เป็นของฮินดู หรือที่ชาวพุทธบางพวกไปยืมมาจากฮินดู เป็นตันตริกอย่างพุทธ ก็ยังหวังที่จะเอานิพพานที่กามารมณ์ เอากามารมณ์เป็นนิพพาน หรืออย่างน้อยก็เป็นหนทาง เอากามารมณ์เป็นหนทางไปสู่นิพพานอยู่นั่นเอง น่าประหลาดที่ว่า แม้สมัยนี้ก็ยังมีความคิดอย่างนี้ เราว่าไม่ ๆ เข้าถึงความจริงอันสูงสุดในเรื่องของความเย็น หรือนิพพาน
ท่านทั้งหลายคงจะพอมองเห็นได้ไม่ยากนักว่ากามารมณ์นั้นเย็น เย็นไม่ได้ ยังเป็นไฟชนิดหนึ่งซึ่งเข้าใจยาก หรือถ้าเราอยากจะเรียกมันว่าไฟที่เปียกไฟที่เปียก ก็มีความร้อนไปแบบหนึ่ง ดังนั้นขอให้สังเกตดูให้ดี ๆ ว่าการที่เอากามารมณ์มาเป็นปัจจัยแห่งชีวิตว่างนั้นมันยาก มันต้องควบคุมได้ ไม่ไม่เอาเสียเลยจะดีกว่า ก็เอาไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ นี่เป็นความเย็น จงแสวงหาความเย็นจากความไม่มีกิเลสทั้งสามประการนี้เถิด
คำว่าเย็น ที่เป็นจุดหมายปลายทางนี่ มีความหมายพิเศษ มีความหมายเฉพาะ คือจิตที่เย็น ตามความหมายทางพุทธศาสนานั้น ประกอบด้วยคุณสมบัติสองอย่างคือเย็น สงบเย็นนี้อย่าง และเป็นประโยชน์ คือสงบเย็นที่เป็นประโยชน์ สงบเย็นและเป็นประโยชน์ ขอให้ท่านพยายามเข้าใจความหมายของ ของคำว่าเย็นในทางพุทธศาสนา คือดับไฟทั้งสามอย่างได้แล้วมันเย็นอย่างนี้ สงบเย็น แล้วก็เป็นประโยชน์
คำว่าเย็น สงบเย็นนี่มันมีความหมายที่มองได้หลายแง่ คือสงบ ๆ ๆ แล้วก็ว่าเข้มแข็ง ๆ Stable แล้วก็ว่าอิสระ ๆ เสรีและอิสระ แล้วก็ว่า Active ที่สุด มันสงบ แล้วมันเข้มแข็ง แล้วมันก็อิสระ แล้วมันก็ Active ที่สุด นี่คำว่าสงบเย็นที่เป็นชื่อของนิพพาน อย่างน้อยตั้งสี่ความหมาย สงบเย็น เข้มแข็ง อิสระ Active
เราได้ใช้คำว่าความสุข กับสิ่งที่เรียกว่านิพพาน แต่เป็นความสุขที่มีความหมายไม่เหมือนกับความสุขที่คนธรรมดาสามัญเขาใช้พูดกันอยู่ ความสุขธรรมดาของคนธรรมดาในโลกนี้ ก็หมายถึงไอ้ความเป็น Positive สูงสุดตามที่เขาต้องการ แต่ถ้าเป็นความสุขอย่างนิพพานนี้ นิพพานนั้นต้องเหนือ Positive ขึ้นไปอีก ทุกอย่าง Quench ไปหมดทุก ๆ อย่าง มัน Quench ไปหมด ข้อนี้มันเหนือความเป็น Positive นั้นแหละเรียกว่าความสุข เราจะใช้คำว่าความสุข ขอให้มีความหมายอย่างนี้ อย่าเป็นความสุขที่ชาวบ้านทั่วไปเขาใช้กันอยู่
ความหมายที่สอง เป็นประโยชน์ เป็นประโยชน์ ข้อนี้ก็สำคัญเหมือนกัน คือมีคนเป็นอันมากเข้าใจผิด ว่า ถ้าบรรลุนิพพาน ๆ นิพพานนี้แล้ว อยู่นิ่ง ๆ เป็นก้อนหินไปเลย อยู่นิ่งเป็นก้อนหินไปเลย ไม่เคลื่อนไหว ไม่ทำอะไร นี่เข้าใจผิด ถ้าว่ามีนิพพานอย่างแท้จริง มันกลับเคลื่อนไหว เพราะมัน Active ที่สุด มันเคลื่อนไหว และเคลื่อนไหวไปในทางที่เป็นประโยชน์ แล้วมันก็ง่าย ๆ ที่จะเคลื่อนไหว หรือว่ามันเอียงไปเอง เอียงไปหาการบำเพ็ญประโยชน์ คือการเคลื่อนไหวที่เป็นประโยชน์ ดังนั้นพระพุทธเจ้า หรือพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้บรรลุนิพพานแล้วนี่จึงทำประโยชน์เหลือประมาณ กล่าวไม่ไหว กล่าวไม่ไหวแหละ ทำประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ดังนั้นขอให้ท่านทั้งหลายมุ่งหมายความสงบเย็น และเป็นประโยชน์ นี่เป็นความหมายของไอ้การบรรลุผลสุดท้ายของการปฏิบัติปฏิจจสมุปบาท
เพื่อความเข้าใจง่ายยิ่งขึ้นไปอีก เราก็ลองเปรียบเทียบกัน ว่าเย็นกับไม่เย็น เมื่อไม่เย็น ก็หมายความว่าลุกโพลง ๆ โพลงเป็นไฟ แล้วมันก็เผา ๆ ๆ รอบ ๆ ตัว เผาไปหมด เผาไปหมดไม่ยกเว้นอะไร มันเผาคือทำให้ร้อนไปหมด ตัวเองก็ร้อน บุตรภรรยาก็ร้อน เพื่อนฝูงก็พลอยร้อน สังคมก็พลอยร้อน ทั้งโลกมันก็ร้อน เดี๋ยวนี้โลกกำลังลุกเป็นไฟ ลุกเป็นไฟ เพราะบูชา Positive มากเกินไป โลกกำลังลุกเป็นไฟ เพราะบูชา Positive มากเกินไป เรื่องนี้เป็นอย่างไร ท่านไปคิดดูเองก็รู้ได้ สงครามกำลังจะทำลายโลก เพราะไฟนี่ เพราะไฟนี่ ไฟราคะ โทสะ โมหะนี่
สรุปใจความสั้น ๆ สำหรับจำง่าย ๆ ก็ว่า มันจะเย็นแท้จริง เย็นชนิดที่แท้จริง ต่อเมื่อมันไม่เป็นบวกหรือเป็นลบ หรือต่อเมื่อมันไม่อยู่ใต้อำนาจของความเป็นบวก หรือความเป็นลบ มันขึ้นมาอยู่เหนือ ๆ ความเป็นบวก และความเป็นลบ นี่เป็นความเย็นที่แท้จริง ชีวิตนี้จะเย็นที่แท้จริง แม้ในประจำวันนี้ ต่อเมื่อมันไม่มีความเป็นบวก หรือความเป็นลบ หรือมันไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของความเป็นบวกและความเป็นลบ
ทีนี้ก็จะมาถึงเรื่องปฏิจจสมุปบาท ขอให้ท่านระลึกถึงสิ่งที่อาตมาขอร้อง ๆ ท่านทั้งหลาย ว่าขอให้เข้าใจและจดจำไว้ให้เป็นอย่างยิ่ง คือสิ่งที่เรียกว่าอายตนิกธรรม อายตนะหรือที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะ ขอร้องว่าช่วยจดจำช่วยเข้าใจให้เป็นอย่างดี อายตนะภายใน อายตนะภายนอก แล้วก็วิญญาณ แล้วก็ผัสสะ แล้วก็เวทนา ห้าหมวด หมวดละหก เป็นสามสิบอย่างนี่เรียกว่า อายตนิกธรรม ซึ่งมันทำงาน ๆ เคลื่อนไหว เป็นการทำงานอยู่ตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน
ขอร้องอีกที เดี๋ยวนี้ขอร้อง เดี๋ยวนี้ เข้าใจสิ่งนี้ ช่วยรู้จักสิ่งนี้ ควบคุมสิ่งนี้ อายตนิกธรรมห้าหมวด อายตนะภายใน อายตนะภายนอก วิญญาณ ผัสสะ เวทนา อย่างละหก ๆ นี่บทเรียน ๆ ๆ ตัวบทเรียน ตัววัตถุ บทเรียนที่จะต้องศึกษา ขอกล่าวซ้ำ และย้ำอีกทีหนึ่ง เพราะว่ามันมีความสำคัญมาก มันมีความสำคัญมาก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา แล้ว Consciousness ที่เกิดขึ้นทุกทีที่มันมีการกระทบระหว่างอายตนะภายในภายนอก แล้วมันก็มี Contact คือผัสสะต่อสิ่งที่มากระทบ แล้วมันก็จะมีเวทนา มีเวทนาเกิดขึ้น แต่ละอย่าง ๆ เป็นหกทั้งนั้นแหละ นี่ขอให้ ขอให้รู้จักเหมือนกับเรารู้จักทุกอย่างที่เรา มันมีในบ้านในเรือนของเรา
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่มันเหมือนกับที่ ๆ ที่จะเกิดไฟ เป็นที่ ๆ ที่ ๆ จะให้เกิด ๆ ไฟได้ แล้วรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์นี่เหมือนกับเชื้อเพลิงเหมือนกับฟืนมันมีแล้ว นี่ก็ Conscious มันมีระหว่างสองสิ่งนี้ และมี Contact มีผัสสะด้วยความโง่ ผัสสะด้วยความโง่นั่นแหละ คือการจุดไฟขึ้นมา การจุดไฟขึ้นมา แล้วก็มีเวทนาเป็นไฟเลย เวทนาก็กลายเป็นไฟไปเลย สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่มีในชีวิตประจำวัน ในชีวิตประจำวันตลอดวันก็ว่าได้ แต่เราไม่รู้สึก เราไม่รู้จัก หรือว่าเพราะมันยังไม่ ๆ ได้เคยหยิบขึ้นมาพิจารณา หรือเพราะมันเป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณมากเกินไป เราไม่รู้สึก เรารู้สึกแต่เรื่องทางวัตถุ
มันง่ายที่จะศึกษาหรือเข้าใจ ในเมื่อถือ เมื่อมองเห็นกฎเกณฑ์ที่ว่า ถ้าเราโง่เมื่อผัสสะไฟก็ลุก ถ้าเรามีสติหรือฉลาดเมื่อมีผัสสะไฟก็ไม่ลุก โง่เมื่อผัสสะไฟลุก ฉลาดเมื่อผัสสะไฟไม่ลุก ก็มีเท่านี้ ถ้าโง่เมื่อผัสสะ มันเกิดเวทนาโง่ คิดดู เกิดเวทนาโง่ขึ้นมา จะโง่เมื่อเวทนา เราโง่เมื่อมีเวทนา มันก็เกิดตัณหาหรือความอยากที่โง่ ที่เรียกว่า Desire or Craving โง่เมื่อเวทนา ก็เกิด Desire แต่ถ้าเราฉลาดไม่โง่เมื่อมีเวทนา ไม่เกิด Desire มันเกิดไอ้ Aspiration ที่มันจะทำให้ดีให้ถูกให้ต้องยิ่ง ๆ ขึ้นไป ขอให้ช่วยสังเกตให้ดี จำให้แม่นยำว่าโง่เมื่อเวทนาเกิดตัณหา ฉลาดเมื่อเวทนา มันเกิดสังกัปปะหรือ Aspiration ที่มันต้องการจะทำให้ถูกให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป มันต่างกันอย่างนี้
ความลับสำคัญมันอยู่ที่ตรงนี้ ตรงเมื่อมันมีตัณหา ๆ มีความอยาก มีความอยากที่เรียกว่าตัณหาเกิดขึ้นในใจแล้ว มันจะเกิดไอ้ความคิดหรือ Concept ที่โง่ ที่โง่ที่สุดขึ้นมาว่า มีตัวกูผู้อยาก ตัวกูผู้อยาก ตัวกูผู้อยาก ซึ่งไม่ใช่ตัวจริง ไม่มีจริง เป็นเหมือนผีหลอก เป็นทั้ง Illusive เป็นทั้ง Delusive ไอ้ตัวกู ๆ ก็เกิดขึ้นมานี่ ไอ้ Self ๆ มันเกิดมาจากความอยาก น่าหัวที่ว่า ต้องมีความอยากก่อน จึงเกิดตัวผู้อยาก มันเป็นของเท็จ เป็นของไม่จริง เกิดความอยากเสียก่อนจึงเกิดตัวผู้อยาก นี่สำคัญมาก ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำนี่ เพราะว่ามันไม่จริงนี่ เพราะมันเป็นของไม่จริง เป็นของหลอกลวง นี่ที่เราไม่เข้าใจธรรมะได้ ก็เพราะเราไม่เข้าใจข้อที่ว่า ตัวผู้อยากมันเกิดมาจากความอยาก ความอยากเกิดก่อนจึงเกิดตัวผู้อยาก ฟังดูแล้วมันเป็น Illogical แต่มันเป็นจริงที่สุด จริงที่สุด จริงสำหรับเรื่องที่มันไม่จริง เรื่องที่มันไม่จริง คือมันไม่มีตัวตน มันเห็นเป็นตัวตนไปเสีย
ขอให้ท่านทั้งหลาย Discuss กับเพื่อน พวกเพื่อน เอาเพื่อนมา Discuss จนกระทั่งท่านมองเห็นชัดว่า ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ แล้วนี่แหล่ะมีประโยชน์ที่สุด จะเข้าใจหัวใจพุทธศาสนา เรื่องอนัตตา ๆ นี่ มันไม่มีตัวจริงของผู้กระทำ มันเป็นผีหลอกที่เกิดมาจากความอยากหรือตัณหา มีความอยากจึงเกิดไอ้ความรู้สึกเป็นตน เป็น Self ขึ้นมา แล้วมันก็โง่ไปเอาทุกอย่างมาเป็นของตน มาเป็นของตน เกิดตัวตนแล้วมันก็จะต้องเกิดของตน
เมื่อมีตัณหา Having Desire เต็มที่ ๆ แล้ว มันก็เกิดไอ้ตัวผู้ ๆ อยาก ในภาษาไทยเราเรียกว่าผีหลอก คือไม่มีอยู่จริง เรียกว่าผีหลอก ภาษาอังกฤษจะเรียกอย่างไรก็ไม่รู้ ตัวตนซึ่งเป็นเพียงผีหลอก มันก็เกิดขึ้นมาเป็นตัวตน มันก็คว้าทุกอย่างเป็นของตน เมื่อมีทั้งตัวตน และทั้งของตนในความรู้สึก มันก็เกิดความเห็นแก่ตน Selfishness ๆ ที่มันจะทำลายโลก โลกของเรากำลังจะวินาศ เพราะไอ้ Selfishness ซึ่งมาจาก Concept ว่าตัวตน ว่าของตน นี่ปัญหาทั้งโลกมันมีอย่างนี้
เรื่องที่ว่าความเห็นแก่ตัวจะทำลายโลกได้อย่างไรนั้น อาตมาเชื่อว่าท่านทั้งหลายมองเห็นเองไม่ต้องอธิบายแล้ว ไม่อธิบายแล้วเรื่องนี้ว่า ความเห็นแก่ตัวจะทำลายโลกอย่างไร ก็มันกำลังทำลายโลก กำลังทำลายโลก เพิ่มสงคราม เพิ่มปัญหา เพิ่มต่าง ๆ มาจากความเห็นแก่ตัว นี่ขอให้ไปคิดเห็นเอาเองว่า ในความโง่ว่ามีตัวแล้วเห็นแก่ตัวนี่ มันจะทำลายโลกอย่างนี้
ช่วยทำความเข้าใจคำว่า ผีหลอก ๆ คือหลอกให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตน ผีหลอก หลอกให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตน ว่าของตน แล้วก็เห็นแก่ตน ยังไม่เต็มตามความหมายของคำว่าผีหลอกในภาษาไทย ขอไปทำความเข้าใจต่อไป ๆ ให้ทำความเข้าใจคำว่าผีหลอก เมื่อใดผีหลอก เมื่อนั้นเกิดไฟลุก เมื่อใดเกิดผีหลอก เมื่อนั้นเกิดไฟลุก ที่ไหนเกิดผีหลอกที่นั้นเกิดไฟลุก เมื่อไรและที่ไหนถูกผีหลอก เมื่อนั้นไฟจะลุก เมื่อไม่ถูกผีหลอก ไม่มีไฟลุก
ทีนี้มาดูกันง่าย ๆ ตามลำดับอีกที ๆ เมื่อใดมีการกระทบทางอายตนะนอกในกระทบทางอายตนะ เรียกว่าเมื่อนั้นมีเชื้อเพลิง มีเชื้อเพลิง เชื้อเพลิงพร้อมแล้ว เมื่อใดมีผัสสะโง่ มีเวทนาโง่ เมื่อนั้นมีการก่อไฟ คือติดไฟ ก่อไฟ ก่อ ๆ ให้เกิดไฟ ก่อไฟ เวทนาโง่ ผัสสะโง่ เมื่อใดมีตัณหาเมื่อนั้นไฟลุกแล้ว เมื่อใดมีตัณหาให้เกิดอุปาทาน เกิดภพ เกิดชาติไปตามลำดับแล้ว เมื่อนั้นไฟมันเผาแล้ว ไฟมันเผาแล้ว ตรงนี้ต้องขอแทรก อธิบายคำว่า Birth หรือชา-ติ เพราะมันมีความลับที่เข้าใจผิดได้ ชา-ติ ทำความเข้าใจเรื่องชา-ติกันหน่อย ชา-ติในทางฟิสิกส์ว่าเกิดจากท้องมารดา เกิดออกมาจากท้องมารดา ถ้าว่าในทาง Spiritual มันก็เกิดขึ้นแห่งความโง่ ว่าตัวกูเกิดขึ้นแห่งความโง่ ว่าตัวกู ๆ เกิดออกมาจากความโง่ นี่ก็เรียกว่าชา-ติเหมือนกัน แต่มันเป็นเรื่องฝ่ายจิตใจ หรือฝ่าย Spiritual มันสองชา-ติอยู่
ทีนี้ก็มาถึง Rebirth ๆ ไอ้พวกที่มีตัวตนอย่าง ๆ ฟิสิกส์นั้นมันก็ว่า ออกมาจากท้องแม่ แล้วก็ตายเข้าโลง เข้าโลงแล้ว มันก็ไปเข้าท้องแม่อีก แล้วก็ตายเข้าโลง คือทางร่างกายเกิดจากท้องแม่ เข้าโลง แล้วตาย แล้วไปเข้าโลงอีก อย่างนี้ที่เรียกว่า Rebirth แบบฟิสิกส์ที่เขาถือกันอยู่มาก พุทธศาสนาไม่มี Rebirth ชนิดนั้น Reincarnation ในพุทธศาสนาไม่มีอย่างนั้น แต่ว่า Rebirth ในพุทธศาสนามี คือมันเกิด Concept ว่า Self ทุกครั้งที่มีปฏิจจสมุปบาท ทุกครั้งที่มีปฏิจจสมุปบาท ถ้าวันหนึ่งเรามีปฏิจจสมุปบาทร้อยครั้ง มันก็ Re มี Rebirth ร้อยครั้งในวันหนึ่ง Rebirth ทางวิญญาณ นั่น Rebirth ในพุทธศาสนา นี่อธิบายปนเปกันอยู่ นักศึกษาตะวันตกอธิบาย Rebirth ของฮินดูเป็นของพุทธ ของพุทธเป็นของฮินดู ยุ่งไปหมด ขอให้ท่านทำความเข้าใจเสียใหม่ คือแยกว่าถ้ามันเป็นเรื่องทางวัตถุ แล้วก็เป็นของพวกอื่น ถ้าเป็นเรื่องทางจิตทางวิญญาณ แล้วก็เป็นเรื่องของพุทธศาสนา มีทั้ง Birth ทั้ง Rebirth เหมือนกัน แต่มันคนละความหมาย
ทีนี้เราก็มาดูเรื่องไฟเผา ๆ อีกต่อไป เมื่อใดมีตัวตน มีความโง่ว่าตัวตนเกิดขึ้นเป็นผีหลอก แล้วเมื่อนั้นก็จะถูกไฟเผา ไฟที่นี้คือความทุกข์ ๆ ความที่ต้องทนทรมานนี่เรียกว่าความทุกข์ มันก็เกิดเป็นปัญหา ความทุกข์ในที่นี้คือ ปัญหาที่เกิดขึ้นมาจากไอ้สิ่งหลาย ๆ สิ่ง ปัญหาที่เกิดมาจากความแก่ แก่ชรา ความเจ็บไข้ หรือความตาย นี่เรามีปัญหานี้อยู่ในใจกันทั้งนั้น ถ้าปัญหานี้รบกวนจิตใจนั่นน่ะคือเราถูกไฟเผา เราถูกไฟเผา มีโสกะ Grief แล้วก็ปริเทวะ Lamentation นี้ ไปดูเอาเองเถอะ แล้วก็มีความทุกข์ มีโทมนัส มีอุปายาส ชาติ ชรา มรณะ โสกะ เทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส นี่เป็นอาการที่ถูกไฟเผาทั้งนั้น คุณสันติกโรช่วยพูดเขาทีละคำ ๆ โสกะ โสกะอะไร Grief หรอ โสกะ แล้วปริเทวะ ร้องไห้อยู่ แล้วก็ทุกข์ Pain แล้วก็โทมนัส เจ็บเพราะจิตใจน่ะ แล้วก็มีอุปายาส Grief ตัวหนังสือว่า Dishearten ๆ แปลว่าอุปายาส เหล่านี้คืออาการที่ถูกไฟเผาอยู่ ไฟเผาอยู่ เผาอยู่อย่างไม่รู้สึกตัว เผาอยู่อย่างที่เราไม่รู้สึกตัว จะทำยังไงได้ เป็นความโง่ของเราเอง แล้วมาเรื่องผีหลอกอีกเหมือนกันที่ทำให้เราไม่รู้จักสิ่งเหล่านี้ ผีหลอกอีกเหมือนกัน
ทั้งหมดนั้นเราเรียงเรียก รวมเรียกในภาษาธรรมะเพียงคำเดียวว่าปัญหา ๆ ปัญหานี้ไม่ใช่ Question แต่เป็น Problem กี่อย่าง ๆๆ รวมเรียกว่าปัญหา ไอ้สิ่งที่มันเผาเรา เผาให้ร้อน เพราะมันคือปัญหาทุกปัญหา ปัญหาเกิดมาจากความโง่ทุกอย่าง ๆ ในเรื่องทางจิตใจเรียกว่าปัญหา ปัญหาคือไฟ ไฟคือปัญหา เอาปัญหาออกไปเสียได้ก็ไม่มีไฟ ที่ผีหลอก ๆ นั่น มันหลอกให้เราไม่รู้จักไฟ ผีหลอกจนเราไม่รู้จักไฟ แล้วมันหลอกให้รักไฟเสียอีก ไม่รู้จักไฟ ให้รักไฟเสียอีก นี่เราจึงหลงรักไอ้สิ่งที่เป็นไฟ อย่างไม่รู้สึกตัวนี้ด้วย เรียกเอาเองเถอะเป็นความโง่เท่าไร เรียกเอาเองเถอะ เราหลงรัก Positive Positiveness อย่างยิ่ง นี่เรียกว่าเราหลง ๆ รักไฟ ผีมันหลอกไม่ให้เรารู้จักไฟ แล้วมันหลอกให้เรารักไฟซะอีก นี่ผีหลอก
มันหลอกให้เราหลงรักความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวซึ่งเป็นอันตรายเลวร้ายที่สุดไปทุกอย่างแหล่ะ มันหลอกให้เรารัก หรือชอบความเห็นแก่ตัว นี่ผีมันหลอกอย่างนี้ ปัญหาของเราจึงมากมายจนเราแก้ไม่ไหว นี่เราก็ทนทุกข์อยู่โดยไม่ต้องรู้จักความทุกข์ ขอย้ำอีกทีว่าในวงของอายตนิกธรรม อายตนิกธรรมที่ขอร้อง ๆ ให้ท่านช่วยเข้าใจว่า มันมีเชื้อเพลิงเมื่อมีการกระทบทางอายตนะ มีการก่อไฟเมื่อผัสสะโง่ เวทนาโง่ แล้วไฟลุกโพลง ๆ โพลง ๆ เมื่อมีตัณหา มีตัณหาแล้วก็มีอุปาทาน มีภพ มีชาติ ทาง Spiritual Way อย่างที่กล่าวมาแล้ว แล้วไฟเผา ๆ เมื่อมีความทุกข์ทุก ๆชนิด คือปัญหาที่เกิดมาจากความโง่ของเรา เรียกว่าไฟมันเผาไฟมันเผา
นี่ขอให้ท่านรู้จักว่าสิ่งทั้งปวงมีไฟลุกโพลง ๆ ร่างกาย ๆ ของเรานี่ มันเป็นเตาอบ เตาไฟหลอมเหล็กเสียเอง ร่างกายนี้เป็นไฟ เป็นเตาไฟหลอมเหล็กเสียเอง นี่ทีนี้ก็มาถึงไอ้ความลับซึ่งเรามักจะเข้าไม่ถึง หรือมองไม่เห็นทั้งที่ว่ามันเกิดอยู่ตลอดเวลา ไฟหรือปัญหานี้มันเกิดอยู่ตลอดเวลา จะพูดกันเรื่องนี้ โดยมากเราก็มี Contact ๆ สัมผัสสิ่งทั้งปวงรอบตัวเรานี่ ถ้า Contact สมบูรณ์ ไฟจะเกิด ถ้า Contact ไม่สมบูรณ์ หรือไม่โง่ มันยังไม่เกิดไฟนี่ ดูที่สิ่งที่เรียกว่าผัสสะ ๆ ให้ดีที่สุด ให้เข้าใจเรื่องนี้ที่สุด ถ้าผัสสะสมบูรณ์ และสมบูรณ์ด้วยความโง่แล้วไฟลุก ถ้าว่าผัสสะยังไม่สมบูรณ์ หรือมันมีสติปัญญามาเสียไฟไม่ลุก
สัมผัสมีอยู่สองชั้น หรือสองความหมาย ความหมายแรกคือการกระทบสักว่ากระทบ เช่น ตากระถึงกับรูป มันสักว่ากระทบ Cognition เฉย ๆ เสร็จแล้วมันยังมีสัมผัสที่สอง คือจิตมาสัมผัสความหมายของสิ่งนั้น นี่เรียกว่า อธิวจนสัมผัส คำนี้เหมือนกับ Synonym ๆ ของความหมายอันแท้จริงของผัสสะ ตัวอย่างเช่น ตาเห็นรูป สัมผัสที่แรกก็เห็น ๆ ไอ้เห็นสี เห็นคลื่นแสง เห็นสี เห็นมิติของสี เห็นคลื่นแสง แต่ทีนี้มันมีการสัมผัสครั้งที่สอง สัมผัสความหมาย ๆ คุณค่าของสิ่งนั้น นี่สัมผัสเป็นสองชั้นอย่างนี้ ถ้าสัมผัสเป็นเพียงชั้นแรกมันก็เลิกกัน เช่น ตาเราเห็นเดี๋ยวก็เลิกกัน แต่ถ้าไปสัมผัสในความหมายของสิ่งที่เห็น ตอนนี้จะเกิดโง่ หรือเกิดฉลาด หรือจะเกิดปัญหา ที่ว่าเราตาเราก็ลืมอยู่เสมอ มีสัมผัสอยู่เสมอ แต่มันไม่เกิดปัญหา เพราะว่ามันไม่ได้สัมผัสในความหมายชั้นลึกของสิ่งที่เราเห็น ท่านระวังตอนที่สักว่าเห็นนี่ก็ไม่เป็นไร แต่ไปสัมผัสความหมายของมันเข้าแล้วมันจะเกิดบวกลบ แล้วมันก็จะมีปัญหา Contact สองชั้น
ผัสสะที่หนึ่ง มันไปสัมผัสที่มิติ หรือสีของสิ่งนั้น ทีนี้ผัสสะที่สองตามมา มันไปสัมผัสที่คุณค่า หรือความหมาย หรือประโยชน์อะไรของสิ่งนั้น มันเป็นสองชั้นอยู่ เพราะฉะนั้นระวังให้ดี ถ้ามาถึงชั้นที่สองแล้วไฟลุก สัมผัสที่หนึ่งสัมผัสที่เปลือก สัมผัสที่สองสัมผัสที่เนื้อใน ๆ มันเลยต่างกันมาก ขอให้ระวังให้ดี ๆ ไฟมันจะลุกที่สัมผัสที่สองนะ คือสัมผัสเนื้อใน หรือความหมาย หรือคุณค่า
เรื่องหูก็เหมือนกัน ผัสสะทีแรกมันสัมผัสเพียงคลื่น คลื่นเสียง ๆ แต่สัมผัสที่สองมันสัมผัสความหมายของคลื่นเสียง หรือเสียงนั้น ปัญหาคือไฟลุกเมื่อมันสัมผัสที่ความหมายของรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไฟลุก ๆ เราไม่มีผัสสะโง่ เราไม่โง่เมื่อผัสสะ Stream กระแส ๆ ความไหล ๆ ของปฏิจจสมุปบาทหยุดที่เราไม่โง่เมื่อผัสสะ ไฟไม่ลุก ๆ ถ้าเราโง่เมื่อผัสสะ กระแสของปฏิจจสมุปบาทจะไหลไปจนเป็นไฟลุก ๆ ๆ แล้วเผา ๆ ๆ ขอให้สัมผัสโลกทั้งโลก หรือสิ่งทั้งปวงด้วยสติปัญญา อย่าให้เกิดสัมผัสโง่ แล้วกระแสปฏิจจสมุปบาทจะหยุดชะงัก จะไม่เป็นไฟลุกขึ้นมาเผา มันมีเท่านี้
ดู ๆ ๆ ดูให้เห็นว่าเราเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส สัมผัสโผฏฐัพพะอยู่ตลอดเวลาทั้งวัน ๆ แถมทั้งคืนด้วย เราจงมีสติในการสัมผัส อย่าให้สัมผัสโง่ แล้วกระแสปฏิจจสมุปบาทก็จะหยุด จะไม่ไหลไปจนลุกเป็นไฟ เรื่องมันก็จบกัน คือชีวิตนี้จะเย็น ชีวิตนี้จะเย็น และจะเป็นประโยชน์ เพราะว่ากระแสปฏิจจสมุปบาทไม่อาจจะเกิดขึ้นลุกลามไป ชีวิตของเราจะไม่ลุกโพลงเป็นเตาหลอมเหล็ก ในเมื่อเรารู้สึก เรารู้จักและควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไว้ได้ ถ้าเราไม่รู้จักควบคุมไม่ได้ ชีวิตนี้จะลุกโพลงเป็นเตาหลอมเหล็ก มีเท่านี้
เรื่องนี้มันยืดยาว เวลามันก็หมดแล้ว วันหลังเราจะค่อยพูดกันถึงวิชาความรู้ ที่จะควบคุมกระแสปฏิจจสมุปบาทได้ วันนี้พอกันที ขอบพระคุณท่านทั้งหลาย เป็นผู้ฟังที่ดี ด้วยความอดกลั้นอดทน สองชั่วโมงแล้ว ขอยุติการบรรยาย และปิดประชุม ขอปิดประชุม