แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ก่อนอื่นทั้งหมด ขอแสดงความยินดี ในการมาของท่านทั้งหลายสู่สถานที่นี้ คือเพื่อแสวงหาความรู้ทางธรรมะ เพื่อประกอบการดำเนินชีวิตของตน ๆ และขอทำความเข้าใจว่าเวลาอย่างนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมที่จะศึกษาธรรมะ คือจิตใจพร้อมที่จะรับ พอถึงเวลากลางวัน เราก็มีการกระทำ ที่เป็นการบรรจุ ๆๆ อะไรลงไปในจิตใจ มันก็เต็ม เหมือนกับน้ำชาเต็มถ้วยใส่ลงไม่ได้อีก เวลานี้เป็นเวลาที่เหมาะสม ขอให้ทำจิตใจพร้อมที่จะศึกษา เห็นได้ง่าย ๆ ว่า ดอกไม้ส่วนมาก จะเตรียมบานในเวลาอย่างนี้ พระพุทธเจ้าก็ตรัสรู้ในเวลาอย่างนี้ เวลาอย่างนี้จึงมีความหมายเป็นพิเศษ สำหรับจะใช้เป็นพิเศษ คือการศึกษาธรรมะ ที่เรียกว่ามีความลึกซึ้ง
หัวข้อที่จะพูดในวันนี้มีว่า การแสวงหาจุดเย็นที่สุดกลางเตาหลอมเหล็กที่กำลังลุกโพลง คนทั่วไป เขาก็ชักจะไม่เชื่อ แล้วก็จะหาว่าเป็นบ้าด้วยซ้ำไปที่จะไปหาจุดเย็น ที่กลางเตาหลอมเหล็ก ยิ่งกว่านั้น ยังจะบอกว่าร่างกายนี้ชีวิตนี้เป็นเตาหลอมเหล็ก ก็ยิ่งไม่เชื่อ ขอให้ท่านทั้งหลายพยายามทำความเข้าใจดี ๆ ด้วยความคิดที่ละเอียดลออว่า เราจะหาจุดเย็นกลางเตาหลอมเหล็ก แล้วร่างกายนี้ คือเตาหลอมเหล็ก
ในพุทธศาสนานี้มีการสอนโดยวิธีที่เรียกว่า อุปมา แล้วบางทีอุปมานั้นก็มีข้อความรุนแรงมาก อย่างที่กำลังพูดอยู่นี้ก็เป็นอุปมา และมีข้อความรุนแรง ถ้าท่านเข้าใจอุปมานี้โดยแท้จริงแล้วก็จะเข้าใจพุทธศาสนา ข้อที่ว่าชีวิตเป็นเตาหลอมเหล็กนี่ ก็มีบาลีที่อยากจะนำมากล่าวให้ท่านได้ฟังสักนิดหนึ่งว่า สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง สิ่งทั้งปวงลุกโพลง ๆ , กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง, กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อนนั่นคืออะไร คำว่า อาทิตตัง คือดวงอาทิตย์, อาทิตตัง คือดวงอาทิตย์ หมายถึงโพลง ๆๆ flam, flaming flaming ตลอดเวลา จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง ตาเป็นลุกโพลง ๆ , รูปา อาทิตตา รูปทั้งหลายลุกโพลง ๆ , จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง, จักขุวิญญาณ การเห็นทางตาลุกโพลง ๆ , จักขุ สัมผัสโส อาทิตโต การสัมผัสทางตาลุกโพลง ๆ , ยัมปิทัง จักขุ สัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง เวทนาใด ๆ ที่เกิดมาจากจักษุสัมผัส อาทิตตัง ลุกโพลง ๆ , เกนะ อาทิตตัง ร้อนด้วยอะไร, อาทิตตัง ราคัค คินา โทสัคคินา โมหัคคินา ลุกโพลง ๆ อยู่ด้วยไฟ คือราคะ ไฟ คือโทสะ ไฟ คือโมหะ
ข้อความยังมีอีกมากแต่ไม่จำเป็นที่จะต้องเอามา เพราะเท่านี้ก็ได้ความแล้วว่า อายตนะและสิ่งที่เข้ามากระทบอายตนะ และเวทนาที่เกิดขึ้น คืออายตนะ และสิ่งที่เข้ามากระทบอายตนะ และเวทนาที่เกิดขึ้น ๓ อย่างนี้ลุกโพลง ๆ แต่ก็ได้จำแนกออกครบทั้ง ๖ คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทั้ง ๖ นี้มีอาการอย่างเดียวกัน แล้วก็ลุกโพลง ๆ อยู่ เมื่อกล่าวถึงตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ และทุก ๆ อย่างที่มันเนื่องกันอยู่กับตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ รวมกันแล้วมันก็คือร่างกาย หรือชีวิตนี่เอง จึงสรุปความว่าร่างกาย หรือชีวิตนี้กำลังลุกโพลง ๆ
คำพูดสำคัญคำหนึ่งที่ท่านเข้าใจแล้วจะมีประโยชน์มากที่สุด คำนั้น คือคำว่า อายตนิกธรรม, อายตนิกธรรม คือสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะ และขอให้ท่านอดทน อดทนหน่อย พยายามทำความเข้าใจกับคำ ๆ นี้ว่าสิ่งที่เนื่องอยู่กับอายตนะ สิ่งที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะนั้น มีเป็นลำดับ ๆ ซึ่งจะว่าให้ฟัง
อายตนะที่เป็นภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อายตนะภายนอก คือสิ่งที่มันคู่กัน ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ วิญญาณที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะนั้น คือวิญญาณทางตา วิญญาณทางหู วิญญาณทางจมูก วิญญาณทางลิ้น วิญญาณทางกาย วิญญาณทางใจ ครบ ๖ วิญญาณ นี่คือเรียกว่าสิ่งที่เนื่องด้วยอายตนะ เมื่อมันมีวิญญาณ ๖ อย่างนี้แล้ว มันก็มีผัสสะ ๖ ตามจำนวนของวิญญาณ เมื่อมันมีผัสสะ ๖ มันก็มีเวทนา ๖ ก็คือเวทนาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ รวมเป็น ๖
ถ้านับเป็นหมวด ๆ มันก็ได้ ๕ หมวด คือ หมวดอายตนะภายใน อายตนะภายนอก หมวดวิญญาณ หมวดผัสสะ หมวดเวทนาเป็น ๕ หมวด ถ้านับเรียงอย่าง ๕ หมวด ๆ ละ ๖ อย่างมันก็เป็น ๓๐ อย่าง นี่เป็นหลักทั่วไป ทั้งพระไตรปิฎก พระองค์ทรงแสดงธรรมะให้เกี่ยวกับอายตนิกธรรมนี้ จะเรียกว่า ๕ หมวด หรือจะเรียกว่า ๓๐ อย่างก็ได้ ก็แล้วแต่ มันคงไม่ยาก คงจะไม่ยุ่งยากเกินไปสำหรับท่านทั้งหลาย ถ้าท่านทั้งหลายรู้จัก ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ๖ อย่างนี้แล้วก็ง่าย คือข้างนอกที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ๖ แล้วก็วิญญาณ ๖ ผัสสะ ๖ เวทนา ๖, ๕ หมวดก็ ๓๐ อย่าง ๓๐ อย่าง ไว้หลับตามองเห็น ๓๐ อย่างนั่นหละ คือตัวชีวิต ตัวชีวิต
บางทีท่านก็เรียกว่าโลก ๆ โลกไม่มีอะไรมากไปกว่าอายตนะ อายตนิกธรรม ๕ หมวดหรือ ๓๐ อย่างนี้ บางทีท่านก็เรียกว่าโลก แต่ในกรณีนี้เรียกสิ่งทั้งปวง ๆ สิ่งทั้งปวงในพุทธศาสนา หมายถึง อายตนิกธรรม ในภาษาชาวบ้านทั่วไปพูดว่า สิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวง ก็ไม่มากไปกว่า ไม่มากไปกว่าที่พระพุทธเจ้าท่านเรียกว่าสิ่งทั้งปวง คือ ๖ อย่าง ๕ หมวด ๆ ละ ๖ อย่าง ๓๐ อย่างนี้ แม้ตัวโลก ตัวแผ่นดินโลกนี้มันรวมอยู่ในคำว่ารูป มันรวมอยู่ในคำว่ารูป แล้วเสียง แล้วกลิ่น รส สัมผัส แล้วก็ธรรมารมณ์ มันไม่มีอะไรในโลกนี้ที่จะนอกไปจาก ๖ อย่างนี้ ขอให้ท่านพยายามทำความเข้าใจข้อนี้ ท่านก็จะเข้าใจธรรมะ หรือพุทธศาสนาง่ายที่สุด ว่าสิ่งทั้งปวง สิ่งทั้งปวงลุกโพลง ๆ ก็หมายว่าธรรมะ ๕ หมวดหรือ ๓๐ อย่างนี้ลุกโพลง ๆ อยู่
ได้ชื่อว่าร้อนอยู่ด้วยไฟ คือ ราคะ โทสะ โมหะ ๓ ไฟ มีอยู่ ๓ ไฟ, ไฟคือราคะ ก็คือปัญหาที่เกิดมาจากสิ่งที่เป็นบวก เป็น positive, ไฟโทสะ คือ ปัญหาที่เกิดมาจากไฟลบ หรือ negative, ไฟโมหะนั้นไม่แน่ว่า positive หรือ negative เป็นไฟแห่งความสงสัย ๆๆ ไล่ติดตามอยู่เรื่อยไป นี่ positive, negative แล้วก็สงสัย ที่สงสัย ไม่แน่ว่าจะเป็น positive หรือ negative ถ้าพูดแต่ใจความ ไฟ ๓ กอง ก็คืออย่างนี้ ซึ่งผ่านท่านทั้งหลายอยู่ตลอดเวลา แต่ท่านไม่เรียกชื่อมันอย่างนี้ แต่นี่มาแนะนำให้เรียกชื่อมันอย่างนี้ว่าไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ
เรารักหรือหวงแหน หรือหึงสิ่งที่เป็น positive อยู่ตลอดเวลา เราเกลียด และกลัวสิ่งที่เป็น negative อยู่ตลอดเวลา แล้วถ้าสงสัย ทำอะไรไม่ถูกเกี่ยวกับสิ่งที่เรายังไม่แน่ว่าเป็น positive หรือ negative อยู่ตลอดเวลา อาการอย่างนี้เป็นไปได้ทั้ง conscious, semi-conscious หรือ subconscious อาการทั้งสามอย่างนี้ ชีวิต ๆ ที่เรียกว่าสิ่งทั้งปวง ชีวิตของเรานี้ถูกรบกวนอยู่ด้วยสิ่งทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ อยู่ตลอดเวลา ๆ เต็ม conscious ก็มี ครึ่ง conscious ก็มี นี่คือความหมายของคำว่าสิ่งทั้งปวง หรือชีวิตนี้ลุกโพลง ๆ อยู่เป็นนิจ ลุกโพลง ๆ อยู่เป็นนิจ
ท่านจะสังเกตเห็นได้ว่าภาษาอุปมานั้นมันมีความหมายลึก ลึกกว่าธรรมดา จนกว่าว่าชีวิตนี้ลุกโพลง ๆ อยู่เสมอ แต่เราก็ไม่รู้สึก บางทีเราก็ชอบ เราชอบ positive เราชอบ positive หลงบูชา positive ทั้งที่ว่ามันมีความหมายแห่งไฟที่ลุกโพลง ๆ อยู่เสมอ ท่านจงพยายามศึกษาเรื่องนี้จากข้างในชีวิตของท่านเอง ไม่ใช่จากหนังสือ หรือจากคำพูดของผู้อื่น ถ้าท่านมองเห็นสิ่งเหล่านี้โดยแท้จริงในตัวของท่านเองนั่นแหละ หมายความว่าท่านเข้าใจธรรมะ เข้าใจธรรมะ สอนให้เรียนธรรมะจากชีวิตโดยตรง แล้วจะเข้าใจสิ่งเหล่านี้ได้โดยง่ายที่สุด
อุปมาต่อไปก็คือว่า ราคะ ราคะเป็นไฟที่เปียก โทสะเป็นไฟที่แห้ง โทสะเป็นไฟที่แห้ง แล้วก็โมหะเป็นไฟที่มืด มีไฟเปียก มีไฟแห้ง มีไฟมืด ถ้าท่านเข้าใจความหมายสามคำนี้แล้วจะเข้าใจชีวิตดี ถ้าท่านยังไม่มองเห็นสิ่งทั้งสามนี้โดยความเป็นไฟแล้วละก็ ยากมากที่จะศึกษาพุทธศาสนา ถ้าท่านไม่มองเห็นว่า positive ก็เป็นไฟ negative ก็เป็นไฟ ทั้งสองอย่าง ที่ยังไม่แน่ว่าเป็นอะไรแน่ก็เป็นไฟ ขอให้ศึกษาโดยตรงจากสิ่งทั้งสามนี้ มันง่ายที่จะเข้าใจธรรมะ
ไฟนี้ไม่ใช่ไหม้เฉพาะบุคคลแต่ละคน ๆ มันไหม้โลกเลย มันไหม้โลกทั้งโลกเลย เมื่อโลกลุกเป็นไฟก็คือไหม้โลกเลย ก็อย่างที่เรามีความหลงใน positive หลงใน positive หลงรักใน positive มันก็เกิดความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัว มันก็มีการจะทำชนิดที่เดือดร้อนกันทั้งโลก เช่น สงครามอย่างนี้ สงครามมันมาจากความเห็นแก่ตัว มันก็ร้อนกันทั้งโลก นี่ไม่ไหม้เฉพาะบุคคลแต่ละคน มันไหม้โลกเลย โลกเป็นของร้อนก็เหตุนี้
ไฟกลับถูกพอใจ โดยเฉพาะ คือไฟที่เป็น positive เราเกิดความรัก ก็เพราะไฟนี้ เราเกิดความเห็นแก่ตัว ก็เพราะไฟนี้ แม้แต่ความโกรธ มันก็มาจากไฟนี้ เพราะเราไม่ได้ตามที่เรารักมันก็เกิดความโกรธ ถ้าเราทั้งโลก และเพื่อนของเราทั้งโลกเขาบูชาความเป็น positive แล้วก็ไปรักไปพอใจ ไปยึดมั่นถือมั่นในความเป็น positive นั้นอย่างโง่เขลา เมื่อหลงรักอย่างโง่เขลา มันก็มีความเห็นแก่ตัวอย่างโง่เขลา นี่ปัญหาในโลกทั้งโลกแก้ไขไม่ได้ตลอดกาล ๆ ไม่เคยแก้ไขได้ตลอดเวลาที่เรายังมีความเห็นแก่ตัว เรียกว่าโทษของไฟที่เป็น positive ซึ่งเราบูชากันนัก หวังกันนัก ทั้งหมดทั้งสิ้น เราหวังเพียง positive แต่หารู้ไม่ว่ามันเป็นไฟ แล้วให้เกิดไฟต่อ ๆ กันไปอีกหลาย ๆ อย่างก็ได้
จะขอยกตัวอย่างไฟหรืออาการของไฟ ที่มีในชีวิตประจำวัน พอเป็นเครื่องสังเกตสัก ๑๐ อย่าง ขอให้ฟังให้ดี ตัวอย่างสัก ๑๐ อย่าง ขอให้ฟังให้ดี อย่างแรกคือความรัก ทุกคนชอบความรัก แต่ว่าความรักแผดเผา และกัดหัวใจเอาเท่าไร ๆ ก็ยังยิ่งรัก นี่เรียกว่าไฟคือความรัก ยากที่จะตัดออกไปได้ ทั้งที่มันแผดเผาหัวใจ ที่สองคือความโกรธ ขอให้ท่านนึกถึงความโกรธ เข้าใจความโกรธ แล้วก็รู้ได้เองว่าเป็นไฟอย่างไร ถัดไปก็ความเกลียด ๆ เกลียดอย่างไม่มีเหตุผล เป็นความเกลียด เกลียดก็กัดแต่ผู้เกลียด ไม่ได้กัดผู้ที่ถูกเกลียดหรอก เกลียดเมื่อไรมันกัดผู้เกลียดเมื่อนั้น ทันที ถัดไปก็ ความกลัว กลัว ๆ อย่างไม่มีเหตุผล และก็กลัวตลอดเวลาในใต้สำนึก นี่ความกลัวเป็นไฟเผา
ทีนี้ความตื่นเต้น ตื่นเต้น หาความสงบไม่ได้ แต่เราก็ชอบ เรากลับชอบ เราไปหาเหล้ามากิน ไปหาอะไรมาเล่นให้มันเกิดความตื่นเต้น ตื่นเต้น เราวิตกกังวลถึงสิ่งที่ยังมิได้มา ก็คิดมากเกินกว่าเหตุ เรื่องเล็ก ๆ ก็คิดเป็นเรื่องใหญ่ไปเลย วิตกกังวลสิ่งที่ยังไม่มาถึง คิดเอาเองอย่างโง่เขลา อาลัยอาวรณ์ ย้อนหลังไปทางอดีต ลืมไม่ได้ ลืมไม่ได้ แผดเผาหัวใจอยู่เสมอ แล้วความริษยา ๆ ใครดีกว่าเราไม่ได้ เราจะทนไม่ได้ ถ้ามีใครดีกว่าเรา นี่ความริษยา แล้วความตระหนี่ขี้เหนียว ความหวง ตระหนี่ขี้เหนียว แล้วก็ความหึง ความหวง ความหวงทางเพศรุนแรงมาก เรามีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ความหึง
ทบทวนอีกทีเผื่อเราจะลืม ความรัก ความเกลียด ความโกรธ ความกลัว ความตื่นเต้น วิตกไปข้างหน้า อาลัยไปข้างหลัง แล้วก็อิจฉาริษยา แล้วหวง แล้วก็หึงทางเพศ มันเป็นสิ่งที่มีตามธรรมดาแก่คนทุกคน แล้วก็เผา ๆๆๆ ในลักษณะที่เป็นไฟ แต่ใคร ๆ ก็ไม่รู้สึก กลับไปพอใจเสียอีก ไปพอใจเสียอีกในสิ่งที่มันเป็นไฟนี้ ดังนั้นขอให้รู้ ความที่เราหลงเอาไฟมาเป็นสิ่งที่น่ารักน่าพอใจ
เราเป็นทาส หรือถูกกระทำให้เป็นทาส เป็นทาสของความเป็นบวกเป็นลบอยู่ตลอดเวลา ความเป็นบวกทำให้เราเป็นทาสอย่างหนึ่ง ความเป็นลบก็ทำให้เราเป็นทาสอีกอย่างหนึ่ง คือเราต้องปฏิบัติต่อสองสิ่งนี้อย่างที่จะเฉยอยู่ไม่ได้ มันบังคับให้เราต้องมีปัญหา ต้องมีความเดือดร้อน อย่างนี้เรียกว่าเราอยู่ใต้อำนาจของความเป็นบวกเป็นลบ จนกว่าเมื่อไรเราจะขึ้นเป็นนายอยู่เหนืออำนาจความเป็นบวกเป็นลบ เราจึงจะหมดปัญหา
คัมภีร์ไบเบิลของยิว คัมภีร์ไบเบิลของพวกยิว บอกความจริงข้อนี้ไว้ชัดเจนที่สุด คือพระเจ้าสั่งผัวเมียคู่นั้น อดัมกับอีฟอย่ากินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้ fruit/good??? and evil(นาทีที่ 53.13) อย่าไปกินผลไม้ของต้นไม้ที่ทำให้รู้ความเป็นบวก หรือความเป็นลบ ถ้ากินต้องตาย แต่ในสุดเขาก็กิน แล้วก็มีปัญหาเรื่อง positive หรือ negative ตลอดเวลา นี่คือหมายถึงความตาย เพราะบาปครั้งแรกที่ไปทำให้เกิดเป็นบวก เป็นลบขึ้นมา นี่ทำให้กล่าวได้ว่า ถ้าท่านเป็นคริสเตียนที่ดี ท่านก็ไม่ถูกหลอกโดยบวกและลบ ฉะนั้น ถ้าท่านศึกษาข้อนี้ของยิว หรือของคริสเตียน ท่านก็เข้าใจพุทธศาสนา คือเราจะอยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวก และความเป็นลบ
ทางตะวันออกนี้ก็เหมือนกัน คำสอนเรื่องเต๋าของเล่าจื๊อก็สอนเรื่องไม่ให้ attach หยินและหยาง คือไม่ attach positive และ negative นั่นเอง มันตรงกัน คำสอนที่สูงสุด และต้องการให้อยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและเป็นลบทั้งนั้น เมื่อเป็นทาสบวก ก็ต้องรัก เมื่อเป็นทาสลบก็ต้องเกลียด ก็ต้องต่อสู้ ต้องฆ่าฟัน มันไม่ไหวทั้งบวก และทั้งลบ ดังนั้นคำสอนที่ลึกซึ้งของยิวก็ดี ของพุทธก็ดี ของฮินดูก็ดี ของเต๋าก็ดี อย่าไป attach บวกและลบ ไป attach บวกหรือลบ good or evil(นาทีที่ 58.52)เมื่อไรมันก็จะเกิดไฟขึ้นมา ชีวิตนี้ก็จะลุกเป็นไฟโพลง ๆ attach บวกหรือลบเมื่อไร ชีวิตนี้จะลุกเป็นไฟโพลง ๆ attach บวกและลบเมื่อไร ชีวิตนี้จะกลายเป็นเตาหลอมเหล็กขึ้นมาทันที เราให้พรเพื่อนของเราให้มีแต่บวก เราให้พรวันเวลาให้พรปีใหม่ อะไรก็ตาม ก็ขอให้มีแต่บวก ให้ความเป็นบวก เราหารู้ไม่ว่า เราให้ไฟแก่เขา เราให้ไฟแก่เพื่อนของเรา
ไฟอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งท่านก็จะพอมองเห็นได้ แต่ท่านไม่มอง ไฟนั้น คือเวลา ๆ หรือการวิ่งแข่งกับเวลา เมื่อท่าน attach บวกหรือลบมาก ท่านก็มีความอยาก ความอยากมาก เมื่อมีความอยากมากเวลาก็ยิ่งวิ่งเร็ว เวลาก็ยิ่งเร็ว ยิ่งอยากมากเวลายิ่งวิ่งเร็ว attach บวกลบมากเท่าไร ก็ยิ่งมีความอยากมาก ความอยากมากเท่าไรเวลาก็ยิ่งวิ่งเร็ว แล้วเราตามไม่ทัน แล้วก็มีปัญหา เป็นความทุกข์อันเกี่ยวกับเวลา
ขอให้ท่านเข้าใจความหมายของคำว่าเวลา เวลา ตามหลักของพระพุทธศาสนา เวลา ๆ ที่ท่านใช้เรียกกันอยู่นั่นมันอีกความหมายหนึ่ง เป็นเวลาที่ไม่ได้สำคัญอะไรนัก เวลาในทางพุทธศาสนาคือจุดระหว่างความที่เราอยาก จนกว่าจะได้รับสิ่งที่เราอยาก เราลงมืออยากแล้วเรายังไม่ได้สิ่งที่เราอยากนั่นคือตัวเวลา โดยที่เรายังไม่ได้สิ่งที่เราอยากนั่นคือตัวเวลา เรายิ่งอยากแรงเวลายิ่งวิ่งเร็ว แต่พอเราได้สิ่งที่เราอยาก เวลาก็หมด หมดความหมาย ฉะนั้น เราไม่อยาก เราเลิกอยากเราก็ไม่มีเวลาจะมาบังคับเรา เราฆ่าเวลาได้โดยฆ่าความอยาก ฆ่าความอยากใน positive negative เสีย ฆ่าความอยาก ความต้องการนั้นเสียได้ นั่นคือเราฆ่าเวลาเสีย เวลาไม่มีสำหรับเรา ไม่ทรมานใจเรา นี่เวลาในตามความหมายในทางธรรมะในพุทธศาสนา
จำง่าย ๆ อย่างนี้ว่า ถ้าเรามีความอยาก นั่นน่ะเวลากินเรา เราไม่มีความอยาก เรากินเวลา ถ้ามีความอยากเวลากินเรา positive ก็ดี negative ก็ดี ถ้าเรามีความอยาก เวลากินเรา ถ้าเราหมดความอยาก เรากินเวลา คือเราชนะเวลา นี่จำง่าย ๆ มีความอยาก เวลากินเรา หมดความอยาก เรากินเวลา กลับกัน ตามหลักธรรมะเป็นอย่างนี้ ตามหลักธรรมะเป็นอย่างนี้ แต่ผู้ที่จะกินเวลาได้จริงนั้นมีแต่ผู้ที่หมดความอยาก มันเลยมีแต่พระอรหันต์เท่านั้น พระอรหันต์เท่านั้น แต่เดี๋ยวนี้เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ แต่เราจะทำตามพระอรหันต์ เราจะกำจัดความอยาก แล้วเราก็จะมีอำนาจเหนือเวลา มันก็ไม่มีไฟเกิดขึ้นในชีวิต
สรุปความสั้น ๆ อีกอย่างหนึ่งว่า เราตกเป็นทาสของ positive และ negative เท่าไร ชีวิตนี้จะลุกโพลง ๆๆๆ เท่านั้น เราไม่เป็นทาสของ positive และ negative เท่าไร ชีวิตของเราก็จะหยุดลุกโพลง ๆ หยุดลุกโพลง ๆ คือไม่มีไฟลุกมากเท่านั้น จะต้องศึกษาข้อนี้ให้ดีเถิด เราจะหาพบจุดเย็นที่กลางเตาหลอมเหล็กได้เป็นแน่นอน
ทีนี้เราก็ดูกันต่อไปว่า เราจะดับไฟที่ไหน ข้อนี้มีคนมอง มองข้าม ไฟอยู่ที่ไหนต้องดับไฟที่นั่น ต้องดับไฟที่ไฟ ต้องดับไฟที่ไฟ ไฟอยู่ที่ไหนก็ต้องดับไฟที่นั่น จะไปดับที่อื่นไม่ได้ ฉะนั้น เราจะต้องหาความดับไฟที่ไฟ หาความไม่มีไฟที่การดับไฟ แล้วมันก็ต้องหาที่ไฟ นี่ใจความของคำว่า จุดเย็นกลางเตาหลอมเหล็ก มันอยู่ที่ว่าดับไฟที่ไฟ ฉะนั้น ดับไฟแล้วก็พบสิ่งตรงกันข้าม คือความเย็น เราจึงมุ่งหมายที่จะดับไฟ แล้วเราก็จะพบความเย็น
เมื่อไฟมันลุกอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ที่วิญญาณ ที่ผัสสะ ที่เวทนา มันลุกอยู่ที่นั่น แล้วเราจะไปดับไฟที่ไหน มันก็ต้องดับที่นั่น เหมือนกับว่าไฟมันลุกในเตาหลอมเหล็ก จะดับไฟก็ต้องดับในเตาหลอมเหล็ก ก็ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มันเป็นเตาหลอมเหล็ก เราก็ต้องดับที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ จะก็ต้องดับไฟที่ไฟ ดับไฟที่ไฟ ดับที่อื่นไม่มีทาง ไฟในเตาหลอมเหล็ก มันจะร้อนกี่พันเซลเซียสก็ตามใจมัน ถ้าเย็นลงได้มันก็ไม่มี มันก็เป็นลบ มันก็เป็นลบ มันไม่มีไฟเหลือ มันจึงอยู่ที่ว่าไฟมันลุกเท่าไร ขึ้นไปเท่าไร มันก็ลดลงมาได้เท่านั้นแหละ มันไม่แปลก เราทำให้มันลดลงมาแทนที่จะให้มันพุ่งขึ้นไป นี่เราจะมีการดับไฟด้วยการทำให้มันลดลงมา ๆๆ คือ เราไม่ attach บวกและลบให้มากเหมือนแต่ก่อน เราลดความ attachment บวกและลบลงมา ๆๆ แล้วไฟก็จะลดลงมา
มีคำพูดที่ไม่มีใครอาจจะค้านได้ว่า เราลดความโง่ลงไปได้เท่าไร เราก็มีความฉลาดเพิ่มขึ้นเท่านั้น เราลดความโง่ลงไปได้เท่าไร เราก็ฉลาดขึ้นไปได้เท่านั้น ดังนั้น ราก็ลดความร้อน คือความโง่ ไปหลงในบวกและลบ good and evil (นาทีที่ 1:17:41)นี่ลงได้เท่าไร ความเย็นในชีวิตนี้ก็จะลดลงเท่านั้น มันเป็นกฎธรรมชาติ เป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติแท้ ๆ ขอให้มองเห็นแล้วไม่มีปัญหาอะไร หลักของการกระทำมันก็มี ง่าย ๆ เราอย่าเติมฟืนให้ไฟสิ อย่าเติมฟืนให้ไฟ ไฟก็จะลดลงเอง เราไม่ให้ฟืนกับไฟ ไฟก็ลดลงเอง ถ้าท่านมองกันในแง่นี้ อย่าไปเติมฟืนความโง่ attach ในบวกและลบให้อีก ไฟมันก็ดับเอง ไฟมันก็ดับเอง อย่าเติมฟืนให้มัน
เมื่อความเป็นบวก หรือความเป็นลบเข้ามาหาเรา เราไม่ต้อนรับ เราทำให้มันเก้อ ๆ กลับไป เก้อกลับไป เก้อ/ Embarrass ๆมันมาเล่นงาน เราทำให้มันเก้อกลับไป ทำอะไรเราไม่ได้ นั้นคือการที่จะลด ลดไฟในสิ่งทั้งปวง อย่าต้อนรับอิทธิพลของความเป็นบวก และเป็นลบ เราจะอยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวกและเป็นลบเสมอ นี่เรียกว่าเราทำให้ความเป็นบวก และความเป็นลบเก้อ วิ่งกลับไป วิ่งกลับไป ทำอะไรเราไม่ได้
ถ้าพูดเป็นภาษาธรรมะ ก็พูดว่า อย่าเติมอวิชชาให้ผัสสะ อย่าเติมความโง่ให้แก่ผัสสะ ในขณะแห่งผัสสะนั้น ถ้าโง่แล้วก็ไปในทางเป็นทุกข์ คือเสียหายหมด อย่าไปเติมอวิชชาหรือความโง่ให้แก่ผัสสะ ยิ่งทำให้ผัสสะฉลาด ผัสสะฉลาด มีสติมาก ก็ลดอวิชชา เมื่อผัสสะฉลาด ความทุกข์ไม่อาจจะเกิดขึ้นได้ นี่อย่างนี้เรียกว่า อย่าเติมอวิชชาให้แก่ผัสสะ แต่ให้สิ่งตรงกันข้าม คือวิชชาแก่ผัสสะ ทุก ๆ ครั้งที่เรามีผัสสะ
อีกอย่างหนึ่งก็พูดว่า อย่าเติมตัณหาให้แก่เวทนา ตามธรรมดาพอเกิดเวทนาอย่างไร แล้วก็จะเกิดตัณหาตามเวทนา ตัณหาเดินตามหลังเวทนา ถ้าเวทนาน่ารัก ก็อยากจะเอา ถ้าเวทนาไม่น่ารัก ก็อยากจะฆ่าเสีย อย่างนี้เป็นต้น อย่าไปเติมตัณหาให้แก่เวทนา คือว่าเวทนาจะไม่ตามตัณหา จะอยู่นอกอำนาจของความต้องการ ตัณหานี้มีเท่าไรก็มีความทุกข์เท่านั้น ฉะนั้น อย่าเติม อย่าเติมกำลังของตัณหาให้แก่เวทนาที่มันเกิดขึ้น พูดง่าย ๆ ก็อย่าโง่ในเวทนา อย่าหลงในเวทนา อย่าเสริมกำลังของตัณหาในเวทนานั้น ๆ อย่าเติมตัณหาให้แก่เวทนา
เวทนามันเป็นไปตามความเป็นบวกหรือเป็นลบ คือเวทนานี้เป็นบวกก็ได้ เป็นลบก็ได้ เวทนาจึงให้เกิดตัณหาได้ทั้งสองทาง คือทางที่จะเอา หรือทางที่จะทำลาย ฉะนั้นเราจึงมีการกระทำชนิดที่เป็นการเอา แสวงหา รักษา สะสมก็มี และในทางที่จะทำลาย ฆ่าเสีย ทำลายเสียก็มี ในโลกมีแต่สองอย่างนี้ ก็เพราะว่าเขาไปหลงในเวทนา ซึ่งเป็นความหลอกลวง ๆ ของความเป็นบวก และความเป็นลบ ความเป็นบวกเป็นลบหลอกให้เวทนาโง่ เวทนาโง่ เวทนาโง่นั่นแหละจะสร้างปัญหา เป็นไฟลุกโพลง ๆ ขึ้นมา
ที่เลวร้ายไปกว่านั้น ก็คือว่า ความเป็นบวก หรือความเป็นลบมันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ๆๆ ทำให้โง่หลงในความเป็นบวก เป็นลบของเวทนาแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ๆ ก็ไม่เกิด เมื่อไม่เกิดตัวตนแล้ว ก็ไม่เกิดความเห็นแก่ตนแล้ว ปัญหามันก็ไม่มี ความทุกข์มันก็ไม่มี ดูกันในข้อที่ว่าความเป็นบวก และความเป็นลบนี้ มันทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ๆๆ ซึ่งเป็นความโง่ที่สุด เป็นทั้ง elusive และ delusive ไอ้ self ๆ นี่เลวร้ายที่สุด มาจากความโง่ในเวทนา
สิ่งที่เรียกว่าตัวตน ๆ นั้นไม่มีตัวจริง ไม่เป็นตัวจริง และไม่ได้เกิดอยู่ตลอดเวลา มันจะเกิดต่อเมื่อเราโง่ต่อ positive หรือ negative อย่างว่าพอเรากินอะไรอร่อย พอเรากินอะไรอร่อย เราจะเกิดความรู้สึกว่ากูอร่อย กูนี่เพิ่งมา กูนี้เพิ่งมาเมื่ออร่อย พอกินของไม่อร่อยก็กูไม่อร่อย กูนี่ไม่มีตัวจริง เป็นมายา เป็นสิ่งที่ไม่มีตัวจริงเป็นเพียง concept ที่เกิดไปตามอำนาจของความหลอกลวง ของ positive และ negative ฉะนั้น เราจงควบคุม positive และ negative ให้ได้ ปัญหาเรื่องตัวกู เรื่องของกู ไอ้ self นี่มันก็ไม่มี ในชีวิตนี้มันก็เย็น ชีวิตนี้มันก็เย็น
พุทธศาสนามองสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน ๆ ในลักษณะอย่างนี้ ในลัทธิอื่น ในศาสนาอื่น อาจจะมองอย่างอื่นก็ได้ตามใจเขา แต่ถ้ามีตัวตน มีตัวตนเมื่อไรก็จะเป็นที่ตั้งแห่งไฟ ที่เกิดแห่งไฟเมื่อนั้น เราจึงไม่ยอมรับสิ่งที่เรียกว่าตัวตนโดยประการทั้งปวง มีตัวตนเมื่อไรจะมีที่เกิด ที่ตั้ง ที่เจริญแห่งไฟเมื่อนั้น จะมีการเผาไหม้เมื่อนั้น ถ้าต้องการจะกำจัด concept ว่า self ว่าตัวตนนี้ออกไปเสียให้หมดสิ้น นี่จะไม่เติมฟืนให้ไฟ จะไม่ได้ให้ไฟลุกได้อีกต่อไป
ที่เราจะเข้าใจกันได้ง่าย ๆ เพราะว่ามันมีอยู่แก่เราทุก ๆ วัน เมื่อตาเห็นรูป ระบบประสาทที่ตามีความรู้สึก มันเป็นความรู้สึก เป็นความเห็นของระบบประสาทที่ตา แต่ความโง่ของเรา บอกว่ากูเห็น มีตัวกูที่เป็นผี ๆๆๆ ไม่มีตัวจริงมาเป็นตัวกูเป็นผู้เห็น ตาเห็นรูป ระบบประสาทรู้สึกมันก็ว่ากูเห็น กูได้ยินเสียง ระบบประสาทหูได้ยินเสียงว่ากูได้ยิน จมูกได้กลิ่น ระบบประสาทจมูกได้กลิ่นว่ากูได้กลิ่น เอาตัวกูเข้ามาแทรกแซงเสียเรื่อยไปนี้ ตัวกูที่เป็นผีหลอกมาชั่วขณะ ๆ นี้ อย่าให้เกิดตัวกูชนิดนี้เถิด มันก็จะไม่เกิดที่ตั้งแห่งไฟ ที่ไฟจะลุกขึ้นมาจะไม่มี
ในลัทธิอื่น พวกอื่น ศาสนาอื่น เขาสอนกันอีกอย่างหนึ่ง คือมีพวกที่สอนว่า มีตัวตน ตัวกู หรือ self หรืออัตตา ๆ เป็นตัวจริงอยู่ในกายนี้ เมื่อพุทธศาสนาสอนว่ามันมีแต่ร่างกายกับจิตใจ ร่างกายกับจิตใจ มีระบบประสาทอยู่ที่ร่างกาย มี ๒ อย่างเท่านั้น พวกอื่นเขาสอนมีสิ่งที่ ๓ มีสิ่งที่ ๓ คือ self หรืออัตตานี่มาคอยทำหน้าที่ วิ่งมาทำหน้าที่ที่ตาบ้าง ที่หูบ้าง ที่จมูกบ้าง คอยวิ่งมาวิ่งไป ๆ วิ่งไปวิ่งมา แล้วยังพูดอย่างหน้าหัวว่า เวลาเรานอนหลับนี้ อัตตาไปเที่ยว อัตตาไปเที่ยว อัตตากลับมาเราจึงจะตื่นได้ เขาสอนมีอัตตาตัวตนเป็นจริง เป็นสิ่งที่ ๓ ในอัตภาพนี้ ซึ่งเรามีเพียง ๒ คือกายกับจิต นี่เรียกว่าไม่ใช่พุทธศาสนา พุทธศาสนาพยายามจะสอนว่า ไอ้สิ่งที่รู้สึก ๆ เป็นตัวกูนั้นเป็นเพียงความโง่ชั่วคราว ความโง่ชั่วคราว ความโง่ชั่วคราวโง่ครั้งหนึ่งก็เกิดอัตตาครั้งหนึ่ง ต่างกันอย่างนี้ ขอให้ท่านเข้าใจ แล้วก็แยกเอาเองว่าพุทธศาสนาสอนอย่างไร
ยกตัวอย่างอีกเรื่องหนึ่ง เมื่อมีดบาดมือ มีดบาดนิ้ว มีดบาดนิ้ว ถ้าเรามีความโง่เรื่องอัตตาอยู่ เราก็จะเกิดความคิดว่ามีดบาดกู มีดบาดกู ที่จริงมีดบาดที่เนื้อนี่ ระบบประสาทที่เนื้อมันรู้สึก แล้วมันก็เจ็บ ไม่มีตัวกูที่ถูกบาดหรอก แต่ถ้ามีความโง่เกี่ยวกับตัวกู มันจะรู้สึกว่ามีดบาดกู หรือบาดนิ้วของกู นี่คือไม่ถูก เราไม่ต้องมีตัวกูสำหรับจะถูกบาด หรือเป็นเจ้าของนิ้วที่ถูกบาด อย่างนี้เรียกว่าเราฉลาดในเวลาที่มีผัสสะ ๆๆ อย่าโง่เมื่อผัสสะ อย่าโง่เมื่อผัสสะ แล้วจะไม่มีปัญหาอะไรเกิดขึ้น ชีวิตนี้ก็จะไม่ร้อนโพลง ๆ
เมื่อใดมี concept ว่าตนเกิดขึ้น เมื่อนั้นไฟลุก เมื่อนั้นมีผู้ถูกไฟเผา มีการก่อไฟ มีการลุกโพลง ๆ เมื่อใดมีตัวตนเกิดขึ้น เมื่อนั้นมีไฟลุกโพลง ๆ มีผู้ถูกเผา มีที่ตั้งแห่งไฟ มีเชื้อไฟ อย่าโง่ให้มีตัวตน แล้วอย่าไปหลง positive และ negative แล้วเราก็ไม่มีไฟ ไม่มีการเผา ไม่มีผู้ถูกเผาโดยประการทั้งปวง ขออย่ามีตัวตนเมื่อมีเวทนา แล้วชีวิตนี้จะไม่ลุกโพลง ๆ แล้วเราหาพบจุดเย็นกลางเตาหลอมเหล็กด้วยกันทุกคน ขอยุติการบรรยาย ขอบคุณ เป็นผู้ฟังที่ดี ขอบคุณๆ