แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันแรกเราได้พูดถึง Buddhist Art ในวันถัดมาเราก็พูดถึงวิธีที่จะเข้าสู่ Buddhist Art ในวันนี้เราก็จะได้พูดกันถึงการฝึกจิต ฝึกจิต ในการที่จะมีและใช้ Buddhist Art
นั้นมันเป็น art ทั้งในการที่จะฝึก จะฝึกให้สำเร็จและมันก็เป็น art อยู่ในตัว และการที่จะใช้มันให้เป็นประโยชน์ มันก็ยิ่งเป็น art มากขึ้นไปอีก หมายความว่ามันจะเป็น art ทั้งในการฝึก นี่เมื่อกำลังฝึก แล้วก็จะเป็น art ที่สุด ก็เมื่อเอาไปใช้ให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันของเรา
ถ้าเราจะเรียกสั้นๆ เราจะเรียกว่า art ในการใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ในทุกหน้าที่การงานแห่งชีวิตของเราตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ในหน้าที่การงานประจำวันในชีวิตของเรา
การทำอย่างนี้เรามองมันได้ทั้งในฐานะที่เป็นวิชาความรู้ หรือว่ามันเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์มาแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ยุคดึกดำบรรพ์
เพราะว่าถ้าเราศึกษาค้นคว้าประวัติของเรื่องการใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์นี้พบว่าเก่าแก่มาก ดึกดำบรรพ์มาก แต่มนุษย์มีความคิดก้าวหน้าขึ้นมาพอสมควร น่าจะยังมีความเป็นคนป่าอยู่บ้าง แล้วจะรู้จักใช้ลมหายใจให้เป็นประโยชน์ในขั้นต่ำที่สุด ขั้นต้นที่สุด ตามแบบของตน ของตน
มันเป็นความรู้ที่รู้ได้แม้ในขั้นสัญชาตญาณ ความรู้ตามสัญชาตญาณ มันก็คือฝึกหายใจให้เป็นประโยชน์ หายใจชนิดที่มีกำลังในการต่อสู้ ในการพยายามรวบรวมกำลัง พอรู้จักใช้การหายใจชนิดที่เป็นประโยชน์ ต่อมาพวกฤาษีมุนีที่มีความรู้สติปัญญาสามารถไปนั่งคิดค้นอยู่ในป่า ก็พบมากๆ มากขึ้นๆ จนกระทั่งมีความสมบูรณ์เป็นวิทยาการ และเป็นศาสตร์อันหนึ่งของมนุษย์เรา
ความรู้อันเก่าแก่นี้มันก็สูงขึ้นมา สูงขึ้นมาตามลำดับ จนกล่าวได้ว่ามันสูงสุดในอินเดีย ในยุคพุทธกาล ในยุคพุทธกาล แต่ไม่ได้หมายความว่าใช้กันอยู่แต่ในวงพุทธ พวกอื่นก็ใช้ เป็นวิชาพื้นฐานสำหรับการกระทำทางจิต หรือทางศาสนา หรือทางจิตด้วยกันทุกพวกแหละ หรือใช้คำพูดเป็นกลางๆ ว่าการบังคับจิต การบังคับจิต ปราณายามะ ปราณายามะ การบังคับจิต นี้เป็นความรู้พื้นฐานที่ใช้กันทุกๆ ลัทธิ ลัทธิศาสนา นิกาย ที่มีการสอนเรื่องเกี่ยวกับจิต นี้เรียกว่าแพร่หลายสูงสุดในครั้งพุทธกาล ใช้กันทั่วไปทุกลัทธิ นิกาย
แล้วก็มาสูงสุด สูงสุด ถึงที่สุด คือไม่มีสูงอีกต่อไป ในเมื่อมาเป็นวิธีปฏิบัติในพุทธศาสนาที่เราเรียกกันว่า อาณาปานสติภาวนา มันมาสูงสุดในลักษณะที่เป็นวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทางจิตใจ แล้วก็ดูสิ ไม่มีใครจะอธิบายเรื่องที่จะมาใช้ให้เป็นประโยชน์มากไปกว่าวิธีที่เราเรียกว่า อาณาปานสติภาวนา ๑๖ ขั้นที่ท่านทั้งหลายได้ศึกษาและปฏิบัติ... (นาทีที่ 11.53) มันสูงสุดในครั้งพุทธกาลจนกลายเป็นวิทยาศาสตร์ของโลกไป
เราใช้คำว่า “วิทยาศาสตร์” วิทยาศาสตร์กันแต่ในทางวัตถุ จนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องทางวัตถุไปเสียหมด เดี๋ยวนี้ขอให้เป็นเรื่องทางจิตใจ มันก็มีเรื่องของวัตถุรวมอยู่ด้วย เพราะมันต้องจัดการกับชีวิตร่างกายอะไรทุกๆ อย่าง แต่ว่าให้ดูในข้อที่ว่ามันมีวิธีการ วิธีปฏิบัติ วิธีใช้ อย่างเดียวกันกับวิทยาศาสตร์ ก็ขอให้ถือว่าอานาปานสตินี้เป็นวิชาวิทยาศาสตร์อย่างหนึ่งของพุทธศาสนา
เมื่อเราพูดว่าวิทยาศาสตร์ เรามุ่งหมายวัตถุ มุ่งหมายที่จะได้ประโยชน์ มุ่งหมายที่จะได้ประโยชน์ แต่พอเราพูดว่า art มันหมายถึงความงดงาม ความน่าจับใจ ความละเอียดสุขุม ความที่มีฝีมือ มีฝีมืออย่างสูงสุด มีความงามอยู่ตลอดเวลานี่ เราถือว่ามีความงาม นี่เป็นหัวใจของ art เช่นเดียวกับถือว่าประโยชน์เป็นหัวใจของวิทยาศาสตร์ ไอ้จำเป็นหรือว่าเราจะต้องสนใจในแง่ที่มันเป็น art เพราะมันมีอยู่จริง แล้วมันดีกว่า มันสูงกว่า มันละเอียดกว่า มันสุขุมกว่า ถ้าท่านทั้งหลายสนใจอานาปานสติในฐานะที่เป็น art ของการมีชีวิตอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นผลดีที่สุด
ก็ขอให้ท่านสังเกตดูให้ดีๆ เราอาจจะเอาทั้ง art และทั้งวิทยาศาสตร์มารวมกัน มารวมเข้าด้วยกัน ใช้ประโยชน์พร้อมกันไปในคราวเดียวกันได้ มีทั้ง art มีทั้งวิทยาศาสตร์ ครบอยู่ในตัวชีวิต นี่มันเป็นการพัฒนา พัฒนาอย่างสูงสุดในเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ ท่านจงพยายามใช้มันให้เป็นทั้งวิทยาศาสตร์และ art พร้อมกันไปในตัว
เราพยายามทำให้ชีวิตนี้เป็นอันเดียวกันกับอานาปานสติ ให้ชีวิตนี้มันกลายเป็นอานาปานสติ มันจะเป็นทั้ง art มันจะเป็นทั้งวิทยาศาสตร์ มันมีชีวิตซึ่งมีอานาปานสติ ควบคุมคุ้มครองอยู่ตลอดเวลา นี้เราต้องฝึกกันจนถึงขนาดนี้
ท่านทั้งหลายก็พอจะเห็นได้อยู่แล้วว่า ชีวิตนี้มันประกอบอยู่ด้วยการคิด การพูด และการกระทำ ๓ คำนี้เราใช้เป็นหลักสำหรับอธิบาย มีการคิดและก็มีการพูดและก็มีการกระทำ เราจะต้องจัดให้การคิด การพูด การกระทำของเรา เต็มไปด้วยอานาปานสติคือมันมีสติสมบูรณ์ มันมีสติสมบูรณ์ อยู่ในตัวการคิด การพูด และการกระทำ
ดังนั้นมันก็มีความจริงอยู่ในตัวมันเอง ที่เราจะมองเห็นได้ว่า มีชีวิตเป็นอันเดียวกับอานาปานสติ ก็คือการที่เรามีการคิด การพูด และการกระทำ ที่ประกอบอยู่ด้วยอานาปานสติตลอดเวลา หวังว่าท่านทั้งหลายจะฝึกฝนให้มัน well worth (นาทีที่ 23.10) คือว่าดีที่สุด คล่องแคล่วที่สุด ครบถ้วนที่สุดในการที่จะมีการคิด การพูด และการกระทำอันประกอบอยู่ด้วยอานาปานสติ
ถ้ายังไม่มีความ well worth (นาทีที่ 24.15) คล่องแคล่วน่ะในอานาปานสติ ก็ไม่สามารถจะมีชีวิตอยู่ด้วยอานาปานสติ ดังนั้นจึงมีการซักซ้อมมาก ซักซ้อมมาก ทำแล้วทำอีก ทำแล้วทำอีก เจริญให้มาก เจริญให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ท่านไม่อาจจะทำสำเร็จได้ในเวลา ๑๐ วัน ท่านจะต้องไปซักซ้อมยิ่งๆ ขึ้นไป ยิ่งๆ ขึ้นไป จนสามารถที่จะมีลักษณะแห่งอานาปานสติประจำชีวิตจิตใจเลยทีเดียว
ต่อไปนี้เราก็จะพูดกันถึงการฝึก หรือวิธีการฝึก จะพูดถึงเทคนิคของการฝึกอานาปานสติ จนสามารถเอาไปใช้อย่างเทคโนโลยีทางจิตทางวิญญาณ ทางฝ่ายจิต ทางฝ่ายวิญญาณ ขอใช้คำร่วมกันกับทางฝ่ายวัตถุว่าเรามีเทคนิคในเรื่องนี้ เข้าใจแตกฉานดี จนเอาไปใช้ไปปฏิบัติแก้ปัญหาได้อย่างเทคโนโลยีทั้งหลายแต่ว่าเป็นเรื่องทางฝ่ายจิตหรือฝ่ายวิญญาณ
ระบบทั้งหมดของอานาปานสติถูกแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน หรือ ๔ หมวด หรือ ๔ หมู่ ซึ่งมักจะเรียกกันว่า... (นาทีที่ 27.54) เป็นสี่เรื่อง หรือเกี่ยวกับลมหายใจเรื่องแรก และเกี่ยวกับเวทนา feeling นี้เป็นเรื่องที่ ๒ แล้วก็เรื่องเกี่ยวกับจิตโดยตรง เป็นเรื่องที่ ๓ แล้วก็เกี่ยวกับสิ่งที่มันแวดล้อมชีวิตเราอยู่เป็นเรื่องที่ ๔ เรียกว่า กาย เวทนา จิต ธรรม ขอให้เข้าใจความหมายของคำเหล่านี้ให้ดีๆ จนสามารถทำให้สำเร็จประโยชน์ตามความมุ่งหมายที่แท้จริงของมันได้
หมวดแรกฝึก หมวดที่ ๑ ฝึกเกี่ยวกับลมหายใจ และในที่สุดเราจะสามารถควบคุมกาย เรียกว่าเป็นนาย เป็นนาย เป็นนายเหนือกาย ฝึกลมหายใจ แต่มันมีผลเป็นนายเหนือร่างกาย แล้วจะมีร่างกายที่เข้มแข็ง คือมีกำลังมาก แล้วก็ active ที่สุดในทางกาย นี่สำเร็จมาได้ด้วยการฝึกอานาปานสติหมวดที่ ๑ คือ ฝึกลมหายใจ
หมวดที่ ๒ ก็มาฝึกเกี่ยวกับเวทนา คือความรู้สึก ความรู้สึกที่มันจะเกิดขึ้นจากการกระทำหรืออะไรก็ตาม เราจะควบคุมความรู้สึกได้ เราจะเป็นนาย เหนือความรู้สึกโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความรู้สึกตื่นเต้น ตื่นเต้น excitement ถ้ามันมีแล้วมันทำให้โง่ มี excitement เมื่อไรมันโง่เมื่อนั้น นั้นควบคุมไอ้ความตื่นเต้นซึ่งเป็นไอ้ปัญหาทางเวทนานี้ไม่ได้ นี้เราก็เป็นนายเหนือเวทนา ขอใช้คำว่า “เป็นนาย เป็นนายเหนือเวทนา” ควบคุมเวทนาได้
ท่านก็คงจะมองเห็นได้ด้วยตนเองว่า เมื่อมันมี excite เมื่อมันเป็น excitement เมื่อนั้นมันไม่มีสติ มันไม่มี mind fullness มันไม่มี mind fullness เพราะมัน excite เมื่อมันไม่มี mind fullness แล้วมันก็ตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของความเป็นบวกหรือความเป็นลบมากเกินไป แล้วมันก็เกิดกิเลส เกิดกิเลสคือความโง่ แล้วก็นำไปสู่ปัญหาต่างๆ นานา คือความเป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นการควบคุมเวทนาไว้ได้ ควบคุมเวทนาไว้ได้ มีประโยชน์ที่สุด มีความจำเป็นที่สุดที่จะอยู่ในโลกนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยเวทนา หรือให้เกิดเวทนามากมายมหาศาล ท่านจงเห็นความลับข้อนี้ ทว่าเราควบคุมเวทนาไม่ได้ เราจึงนำตัวเองเข้าไปสู่ปัญหาหรือความทุกข์อย่างมหาศาล จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง มีเหตุผลอย่างยิ่ง ถูกต้องอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมเวทนา เวทนาให้ได้
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ ๓ เป็นการบังคับจิตโดยตรง เป็นการกระทำต่อจิต ต่อสิ่งที่เรียกว่าจิตโดยตรงและเป็นการบังคับจิต เราบังคับจิตได้ มันก็หมดปัญหา เพราะว่าสิ่งต่างๆ มันเป็นไปตามอำนาจของจิต ถ้าจิตผิด มันก็ผิดหมด ถ้าจิตถูกต้องมันก็ถูกต้อง เราสามารถบังคับจิตไม่ให้ผิด ไม่ให้มันผิด ให้มันถูกต้องถูกต้อง ก็ได้รับประโยชน์อย่างยิ่ง นี่คือการบังคับจิตได้ ถูกต้องตามที่มันควรจะมี แล้วเราก็มีอาการที่เรียกว่า เป็นนายเหนือจิต เป็นนายเหนือจิต
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ ๔ กระทำต่อสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่ คำบาลีใช้คำว่า “ธรรม” ธรรมะหรือธรรม หมายความว่าสิ่งที่แวดล้อมตัวเราอยู่ และเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น คือพร้อมที่จะหลอกให้เราโง่ หลอกให้เราหลงไปยึดมั่นถือมั่น เพราะธรรมะ ธรรมะ ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงไอ้ความถูกต้อง หรือการปฏิบัติหน้าที่ แต่หมายถึงทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ทุกสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ ที่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ที่พร้อมจะหลอกเราไปสู่ความผิดพลาดแล้วก็มีสติปัญญา มีความสามารถเพียงพอที่จะควบคุมสิ่งเหล่านี้ คือสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรานั่นแหละ เรียกว่า อานาปานสติ หมวดที่ ๔ ศึกษาทุกสิ่งที่แวดล้อมตัวเรา คือพร้อมที่จะดึงเราไปหาความโง่ หรือความผิดพลาด ท่านคิดดูเองว่ามีความสำคัญกี่มากน้อย ที่จะอยู่ด้วยความชนะต่อสิ่งแวดล้อมทุกสิ่งทุกประการ
ในที่สุดทั้ง ๔ หมวดนี้ เราก็สรุปความได้ว่า จะให้เกิดความสำเร็จผลเป็นความเป็นนาย ความเป็นนาย เป็นนายเหนือ ไม่ถูก enslave โดยสิ่งใดๆ เรียกว่า เป็นนายเหนือหมวดที่ ๑ แล้วก็เป็นนายเหนือร่างกาย หมวดที่ ๒ เราก็เป็นนายเหนือเวทนา หมวดที่ ๓ เราก็เป็นนายเหนือจิต หมวดที่ ๔ เราก็เป็นนายเหนือสิ่งแวดล้อมทุกอย่างทุกประการที่มีอยู่ในโลกรอบตัวเรา เรามีความเป็นนายถึง ๔ อย่าง อย่างนี้แล้วไม่มีปัญหาอะไรเหลือ จะไม่มีปัญหาอะไรเหลือสำหรับจะเป็นทุกข์หรือเป็นความยุ่งยาก ขอให้ท่านประสบความสำเร็จในอานาปานสติทั้ง ๔ เถิด แล้วท่านก็จะเป็นนายเหนือทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ไม่มีอะไรมาทำให้ท่านเป็นทาสของมันได้ ตื่นมาแล้วเป็นนาย
ความเป็นนายมันหมายถึงความชนะ ชนะ พระพุทธเจ้ามีชื่อ มีนามอีกอย่างหนึ่งว่าชินะ ชินะ คำนี้แปลเป็นไทยว่าชนะ ชนะ ท่านชนะทุกสิ่งที่เป็นมาร ความเลวร้ายอุปสรรคศัตรูนี้เรียกว่ามาร ท่านชนะมารทุกสิ่งทุกชนิด จึงเรียกว่าผู้ชนะ เครื่องมือชนะคือ อานาปานสติ ชนะกาย ชนะเวทนา ชนะจิต ชนะธรรม เพื่อความเป็นผู้ชนะ
ท่านคงจะได้ยินคำที่พูดกันอยู่ทั่วๆ ไปในหมู่พุทธบริษัทว่า พุทธะ พุทธะ พุทธะ คำนี้ แปลว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน นี่เข้าใจได้ง่าย รู้ แล้วก็ตื่นนอน แล้วก็เบิกบาน เสร็จแล้วลองคิดดูสิว่า ถ้าไม่ชนะแล้ว จะเบิกบานได้อย่างไรเล่า มันจะเบิกบานอะไรได้ จะเอาอะไรมาเบิกบาน ถึงแม้แต่ว่าจะตื่น ตื่น ตื่นจากหลับ มันก็ต้องมีความชนะ ชนะความหลับ แล้วก็ชนะความโง่ ชนะอะไรทุกอย่าง มันจึงจะเบิกบาน เบิกบาน นี่คำว่า “ชนะ” ชนะนี้มีความหมายมาก เป็นหัวใจของคำว่า “พุทธะ” พุทธะ อย่างหนึ่งด้วยเหมือนกัน ขอให้เราหวังความชนะโดยมีเครื่องมือคืออานาปานสติ
ลองสังเกตตัวเอง ลองสังเกตตัวเอง ว่ารู้จักความพ่ายแพ้และความชนะ นี้อย่างถูกต้องหรือไม่ กลัวว่าจะไม่รู้จักความชนะ และก็พอใจในความพ่ายแพ้ พอใจไอ้ความพ่ายแพ้มันก็กลายเป็น favourite สิ่งน่ารัก น่าพอใจของคนนั้นไปเสีย มันพึงพอใจในเรื่องกามารมณ์ในเรื่องอะไรต่างๆ นานา สารพัดอย่าง โดยที่ไม่รู้ว่านี้เป็นความพ่ายแพ้ จะรู้จักสิ่งเหล่านี้ ไม่ปล่อยให้สิ่งเหล่านี้ทำปัญหา หรือทำความทุกข์ยากลำบากให้แก่เรา จึงจะเรียกว่าเป็นผู้ชนะ เดี๋ยวนี้เรากำลังพ่ายแพ้อย่างยิ่งต่ออิทธิพลของความเป็นบวกของความเป็นลบ เดี๋ยวร้องไห้ เดี๋ยวหัวเราะ เดี๋ยวดีใจ เดี๋ยวเสียใจ ขึ้นลงอยู่อย่างนี้เรียกว่าพ่ายแพ้แก่ความเป็นบวก และความเป็นลบ ของสิ่งที่เข้ามาแวดล้อมตัวเรา ก็ขอให้เราชนะสิ่งเหล่านี้และชีวิตนี้ก็จะหมดปัญหา
ในโลกปัจจุบันน่ะ โลกปัจจุบันนี้มันเต็มไปด้วยสิ่งที่จะทำให้เราพ่ายแพ้ พ่ายแพ้อย่างยิ่ง พ่ายแพ้อย่างลึกซึ้ง ระบบอุตสาหกรรมกำลังเจริญในโลก สร้างสิ่งที่หลอกเรา ให้หลงรัก ให้หลงพอใจ เกินจำเป็นในสิ่งที่ไม่จำเป็น มากขึ้นๆ มันเป็นที่ตั้งแห่งความพ่ายแพ้ เราจะไปหลงรักมัน หลงเกลียดมัน เราจึงมีไอ้สิ่งเหล่านี้มากๆๆๆ รักบ้าง โกรธบ้าง เกลียดบ้าง กลัวบ้าง ตื่นเต้นบ้างไปตามเรื่อง ดังนั้น เราไม่มีความเหมาะสมที่จะอยู่ในโลกชนิดนั้น แต่เมื่อเราจำเป็นที่จะต้องอยู่ในโลกชนิดนั้น เราก็ต้องมีเครื่องมือสำหรับที่จะไม่พ่ายแพ้ ความชนะก็มีลักษณะอย่างที่ว่ามานี้ ชนะ ๔ อย่างนี้ได้แล้วจะชนะหมดเลย ไม่มีอะไรเหลือ
เอ้า, แล้วทีนี้เราก็จะพูดกันต่อไปถึงวิธีการฝึกอานาปานสติ อานาปานสติอย่างน้อยในเบื้องต้น จะต้องมีความเหมาะสม เหมาะสมที่จะฝึก และมีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมที่จะฝึก เรามีอาหารที่เหมาะสมสำหรับฝึก มีการเป็นอยู่ แม้แต่การนุ่ง การห่ม การนั่ง การนอน การอาศัยให้มันเหมาะสม และทุกๆ อย่างมันเป็นไปเพื่อส่งเสริมให้มันฝึกง่าย และเราก็ไม่มีสิ่งเสพติด เราจะไม่เที่ยวตามสบายใจ เราจะไม่มีความสัมพันธ์ทางเพศ เป็นต้น เหล่านี้จะต้องตระเตรียมให้มีความเป็นอยู่ที่เหมาะสมสำหรับจะฝึก ท่านทั้งหลายก็ได้มาอยู่ในที่ที่เหมาะสม ที่ว่า center ที่เราจัดขึ้นนี้ ก็เพื่อความเหมาะสม ขอให้ท่านปฏิบัติตามกฎ ตามระเบียบของการที่จะอยู่ใน center ให้ถูกต้องแล้วมันจะเกิดความเหมาะสมขึ้นมาเอง ขอยืนยันในข้อนี้ นี้เราจะเตรียมให้มันเหมาะสม
ความมีระเบียบวินัยจำเป็น จำเป็นหรือว่ามีประโยชน์ ...(นาทีที่ 59.30 – many rules) มีความจำเป็นอยู่มาก ขอให้ท่านมีความถูกต้องในระเบียบการเป็นอยู่นี่แล้วมันก็จะช่วยให้ง่ายขึ้นได้มาก ทีนี้เราก็มาถึงไอ้เรื่องทำร่างกาย ทำร่างกายทางฟิสิกส์ให้มันมีความเหมาะสม ร่างกายเหมาะสม จมูกสำหรับหายใจเหมาะสม การหายใจเหมาะสม คือมีความถูกต้องทางร่างกายพร้อมที่จะทำอานาปานสติ
จมูกของเราพร้อมที่จะหายใจตามปกติ แล้วก็อยู่ในที่ที่ว่าไม่รบกวนมากเกินไป เพียงว่าไม่รบกวนมากเกินไปก็พอที่จะไม่รบกวนเลยมันหาไม่ได้หรอก มันไม่ต้องยึดถือกันถึงขนาดนั้น แล้วเราก็มาถึงท่านั่ง ท่านั่ง posture ท่านั่งนี้ที่เหมาะสมที่จะทำอานาปานสติ ถ้าท่านั่งไม่เหมาะสมมันก็ไม่สะดวก ไม่ง่าย ไม่สมบูรณ์ เรามีท่านั่งที่เหมาะสม หมายความว่ามันมั่นคง มัน firm มันมั่นคง มันล้มไม่ได้ แต่แล้วก็ดูให้ดีเถิด มันก็จะมีท่านั่งที่เครียด เคร่งครัดเกินไปก็ได้ หลวมเกินไปก็ได้ ก็ไม่เอา เราเอาไม่เครียดเกินไปไม่หลวมเกินไป ให้พอเหมาะพอดี ให้เป็น ท่านั่งที่สบาย ท่านลองเลือกดูเถิด ท่านั่งที่สบาย และตามระเบียบแบบแผนที่มีอยู่ก็ใช้ท่านั่งที่เรียกว่า สมาธิ นั่งขัดสมาธิที่รู้ๆ กันอยู่ สรุปว่าท่านมีท่านั่งที่สบายแก่การทำสมาธิ
พวกจีนก็มีปัญหาเหมือนพวกฝรั่ง ก็เคยชินแต่นั่งเก้าอี้ นั่งเก้าอี้ พอจับให้มานั่งขัดสมาธิอย่างนี้มันลำบาก มันลำบาก จึงคิดแก้ไขปรับปรุงไปในทางที่จะให้นั่งเก้าอี้ เพื่อทำสมาธิ แต่แล้วมันไม่ได้ผลดี มันก็ต้องพยายามเปลี่ยนมาหาท่านั่งที่เหมาะสม ที่พวกจีนเขาเรียกว่าท่านั่งของชาวอินเดีย ท่านั่งของชาวอินเดียที่นั่งขัดสมาธิอย่างนี้ ก็สะดวกและเหมาะสม นั่งขัดสมาธินี่ก็หมายความว่ามันแน่นหนา มันพร้อมที่จะดำรงอยู่โดยไม่ล้ม โดยไม่ล้มน่ะ คือมันนั่งแบบที่ล้มไม่ได้นี่เอาอันนี้มาวางบนนี้ จัดกันให้ดี จัดกันให้ดี มันจะขัดกันอยู่อย่างนี้ และมันยังทำอย่างนี้อีก มันจะล้มอย่างไรได้ มันจะล้มอย่างไรได้ ...(นาทีที่ 01.06.18) แม้เมื่อมันเป็น subconscious แต่ในสมาธิมันก็ล้มไม่ได้ มันปลอดภัย ...(นาทีที่ 01.06.25) นั้นเราถึงว่านั่นที่เหมาะสม ใช้คำว่าท่านั่งที่เหมาะสมที่ firm ที่จะไม่ล้มแม้ว่ามันจะเป็น subconscious
อยากจะวิจารณ์กันถึงท่านั่งที่เรียกว่าวัชรอาสน์ diamond posture อย่างที่ว่าอย่างนี้ แล้วเป็นอย่างนี้ เคยเห็นรูปภาพหินสลัก หินสลักอย่างสวยงามอย่างดี ในหนังสือ National Geographic นั่งอย่างนี้เลย แต่ว่าเป็นรูปหินสลักที่ ๔ ถึง ๕ พันปีมาแล้ว ก่อนพุทธกาลอีก ชาวอียิปต์รู้จักนั่ง diamond posture มันคงมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์เดี๋ยวนี้ที่ประเทศอียิปต์ ว่าเป็นท่านั่งของพวกพระกับพวกทนายความ ที่เข้าใจว่าอินเดียอาจจะยืมมาจากอียิปต์ก็ได้ diamond posture เขารู้จักนั่งกันมาตั้ง ๔ พันปี ก็ดี ยืมมาใช้ในอินเดียเป็นท่านั่งของพุทธบริษัท แล้วท่านจะรู้สึกว่ามันเครียด มันเครียด มันเครียด นั่งยากสำหรับชาวจีนหรือชาวอินเดีย นั่งได้ด้วยความยากลำบาก นี้ปล่อยตามสบายนั่งบนเก้าอี้ arms chair หรือมันก็ มันก็หลวมเกินไป มันก็อ่อนเกินไป นั้นเราจะต้องมีท่านั่งที่สบาย ที่ง่าย ดังนั้น ขอให้วิจารณ์หรือศึกษาท่านั่งที่จะขอเสนอแนะ ว่าท่านจงลองพิจารณาดู ดู ดู ดูอาตมา เราจะนั่ง นั่งในท่าที่มีความกว้างพอสมควรไม่ออกมามาก
ทีนี้ก็อยากจะเสนอแนะท่านั่งที่เป็นกลาง ที่เป็นกลาง ไม่เครียดและไม่หลวม เอ้า, ก็ดู ดู ดู ทุกคนดู อย่างนี้ นั่งอย่างนี้พอตามสบาย ไม่ต้อง diamond ขึ้นมาบนนี้ แล้วก็มือ ... (นาทีที่ 01.12.50) ที่คาง แล้วคุณกดลงไปบนที่กล้ามเนื้อ กล้ามเนื้อขา กล้ามเนื้อก้น กล้ามเนื้อ... (นาทีที่ 01.13.58) ไปลองทำดู ไปลองทำดูจะไม่เครียด แล้วก็จะไม่หลวม จะพอดีแล้วก็จะสบาย จะสบาย นี่อย่างนี้ นี่ก็เกิดจากจับอันนี้ไว้ จับไว้ที่คาง กดลงไปที่เหมาะสม ที่กล้ามเนื้อ แล้วคุณไปสังเกตเอาเอง มันยังสะดวกที่จะหายใจด้วย สะดวกที่จะกำหนดสัมผัสของลมหายใจด้วย แล้วมันก็จะพักผ่อนในตัวเองได้ด้วย แล้วมันก็ firm, stable ล้มไม่ได้ แม้เมื่อเป็น subconscious ไอ้ท่านั่งเพชร นั้นมันก็เหมือนกับปิรามิด ปิรามิดล้มไม่ได้ แต่นี่เราก็ล้มไม่ได้ เราก็ล้มไม่ได้ ล้มไม่ได้ล้มทางไหนก็ไม่ได้ จะหลับไปด้วยก็ได้ ถ้าเราอยากจะหลับในวิธีนี้ คือพักผ่อนที่สุดก็ได้ แต่ว่ามันนอก นอกคัมภีร์ นอกบาลี ไม่มี ...(นาทีที่ 01.14.25) รับรองได้ว่าคุณไปลองพยายามสังเกตดูเถิด ถ้าว่าสบาย สบายใจนี่ แล้วก็ลงมาอย่างนี้ ไปทำสักหน่อย adjust ให้มันหน่อย แล้วเดี๋ยวมันก็เข้ารูปแล้วมันก็จะสบาย เรากำหนดลมหายใจตามวิธีที่ต้องการจะกำหนด แต่ว่าบางคนจะหาว่านี่บ้านี่เป็น ...(นาทีที่ 01.14.57) คำสอนสำนักไหนเขาจะว่าอย่างไร แต่ขอเสนอแนะว่าไอ้ท่านี้ in the middle ไม่เครียด ไม่หลวม ไม่เครียด ไม่หลวม สบายตั้งแต่ต้นจนปลาย ไปลองฝึกลองทำดูก็จะรู้ได้ด้วยตนเอง แล้วจะชอบนั่งอย่าง diamond posture ก็ได้ ฉะนั้นอยากเสนอแนะอย่างนี้ก็ได้ แล้วก็ลงมือกำหนดลมหายใจก็แล้วกัน
มีความลับอยู่น้อยหนึ่งที่ไม่ได้พูดเมื่อสักครู่ ว่าต้องรักษาความตรงของกระดูกสันหลังไว้ได้ด้วย ฉะนั้นคุณจะต้องทำความตรงของกระดูกสันหลังอย่างนี้ให้สันหลังตรงแล้วก็ลงมาอย่างนี้ ลงมาทั้งที่กระดูกสันหลังยังตรง อย่าให้คู้งออย่างนี้ ที่ลงมาตรงๆ อย่างนี้ ก็รักษาไอ้ความตรงของกระดูกสันหลังไว้ได้มากตามสมควร กระดูกสันหลังยังตรงอยู่พอสมควรไม่ว่าจะลงมาอย่างนี้ ก็คือคุณลงไปอย่างนี้สิ คุณลงไปอย่างนี้ มันก็มีความเหมาะสมทุกส่วนแม้แต่กระดูกสันหลังก็ยังตรงอยู่พอสมควร ข้างในเรื่องปอดเรื่องอะไรก็ยังมีความสะดวกอยู่พอสมควร เราก็ได้ท่านั่งที่สบาย สบาย
เป็นอันว่าท่านมีสิทธิที่จะเลือก ท่านก็เลือกๆ ตามพอใจ ให้ได้ท่านั่งที่สะดวก ที่สบาย มีผลในทางไม่เครียดๆ เอ้า, ทีนี้เราก็จะกำหนดลมหายใจ
คำว่า “กำหนดลมหายใจ” กำหนดลมหายใจ คือมีจิตหรือสติ กำหนดที่ลมหายใจนั้นมันเป็นเพียงกิริยาอาการ แต่ความมุ่งหมายที่แท้จริงก็คือศึกษา ศึกษาลมหายใจ มีการศึกษาแต่ไปเรียกว่ากำหนดมันมีจิตคติ จิตคติมีการศึกษาๆ ที่ว่ากำหนด กำหนดลมหายใจก็เพื่อจะศึกษาลมหายใจว่ามันเป็นอย่างไร มันมีอะไรเป็นอย่างไร ให้ทุกๆ อย่างที่เกี่ยวกับลมหายใจเราจะต้องรู้จัก กำหนดลมหายใจคือศึกษาลมหายใจ
ศึกษาๆ จนรู้จักดีว่าลมหายใจยาว ลมหายใจสั้นเป็นอย่างไร ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียดเป็นอย่างไร ลมหายใจสงบระงับ ไม่สงบระงับเป็นอย่างไร ศึกษาโดย experience ไม่ใช่เดา ไม่ใช่คิดนึกเอา ให้รู้จักว่าสั้นยาวอย่างไร หยาบละเอียดอย่างไร สงบ ไม่สงบอย่างไร เรียกว่ารู้ธรรมชาติ nature ของลมหายใจ ให้ดีๆ นี่เป็นจุดตั้งต้นเพื่อว่าเราจะได้บังคับมัน กำหนดลมหายใจ ว่ามีธรรมชาติเป็นอย่างไร
ใจความสำคัญมันก็มีอยู่ว่า เมื่อลมหายใจยาวมันมีอิทธิพลต่อร่างกายอย่างไร เมื่อลมหายใจสั้นมันมีอิทธิพลต่อร่างกายอย่างไร เมื่อหายใจหยาบมีอิทธิพลอย่างไร เมื่อหายใจละเอียดมีอิทธิพลต่อร่างกายอย่างไร จนกระทั่งเรารู้ว่ามันเนื่องกัน มันเนื่องกัน แล้วแต่ลมหายใจเป็นอย่างไร ร่างกายจะหมุนไปตามนั้น นี่เรียกว่าเราสามารถบังคับร่างกายได้โดยทางลมหายใจ ศึกษาอิทธิพลของลมหายใจแต่ละชนิด แต่ละชนิด มีอิทธิพลต่อร่างกาย pressure อย่างไรๆ
ในที่สุดเราก็มีความรู้ว่ามันมีสองกาย สอง bodies, wet body ลมหายใจ fresh body เนื้อหนัง สองกายนี้มันเนื่องกันอยู่ มันเนื่องกันอยู่ เรามีสองกายอย่างนี้เรียกว่า สัพพะกายะปฏิสัมเวสี เรารู้จักกายทั้งหมด กายทั้งสองกาย
คำแปลภาษาอังกฤษ บางทีก็มีผู้แปลผิดๆ แปลว่า whole, whole ที่จริงมันแปลว่า all, all bodies เพราะมันมีถึงสอง bodies เราไม่สามารถจะ adjust fresh body โดยตรง ไม่สามารถจะปรับปรุงมันโดยตรง แต่เราสามารถ adjust wet body, wet body ถูกปรับปรุงให้ดีแล้วมันไปมีผลต่อ fresh body นั้นเราจึงสามารถบังคับไอ้ fresh body โดยการ wet body เราทำให้ wet body สงบระงับในร่างกายนี้ ก็สงบระงับ มันเหมือนกับ trick แต่ว่ามันเป็นเทคนิคของธรรมชาติ สามารถบังคับร่างกายเนื้อหนังโดยการบังคับกาย ลมหายใจ นี่คือความลับของหมวดที่ ๑
นี่เรียกว่าเราเป็นนายเหนือกาย เราจะมีร่างกายสดชื่น แจ่มใสแข็งแรงเหมาะสม active อะไรต่างๆ โดยการฝึกบังคับกายทางลมหายใจ นี่หมวดที่ ๑ หมวดที่ ๑ จบแล้ว
โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็มี active กัมมนียะ มี active body, active หมายความว่า กัมมนียะ พร้อมที่จะทำหน้าที่ ว่องไวที่จะทำหน้าที่ของกาย นี่ผลของการฝึกหมวดที่ ๑ มีกายตามความประสงค์
ทีนี้ก็มาหมวดที่ ๒ the feeling มันเป็นสิ่งที่ช่วยไม่ได้นะ ที่เราจะไม่มี feeling เราไม่ต้องมี feeling ก็ที่มันเป็นปัญหามากที่สุดก็คือ excite นั่นแหละ excite แต่มันเป็นไปในทางรูปของความพอใจ ความดีใจ ดีใจ เราจะถูกกระตุ้นอยู่ด้วยความพอใจพอใจอย่างหยาบ ก็เรียกว่า rapture, rapture ถึงกับสั่นสะเทือนไปหมดทั้งระบบประสาท ถ้าอย่างละเอียดประณีต มันก็มีความสงบระงับ มันจะเรียกว่า contentment คือมันพอใจอย่างสุภาพ พอใจอย่างอยู่ในระเบียบ เราจงรู้จักมันเสียทั้ง ๒ อย่าง อย่างไรเป็น rapture อย่างไรเป็น contentment นี่ข้อแรก เราเอาสิ่งที่ได้ผ่านมาแล้วแต่หนหลังมาศึกษา มาศึกษา ว่าอย่างไรมันเป็น excite ชนิด rapture อย่างไรมันเป็น excite ชนิด contentment
เมื่อมันเป็น rapture มันมี ...(นาทีที่ 01.38.12) สะเทือนมาก สั่นสะเทือนไปทั้งเนื้อทั้งตัวถึงกระโดดโลดเต้น อย่างนี้เราเรียกในภาษาอานาปานสติว่า ปีติ ปีติ เป็น rapture ที่เราทำให้มันสงบระงับ ไม่มี ...(นาทีที่ 01.38.28) ไม่มีอะไร เราจะเรียกมันว่าความสุขหรือ contentment อันนี้มันวุ่นวาย อันนี้มันสงบระงับ excitement มันมีอยู่ ๒ ชนิดอย่างนี้ เราจะรู้จักมันให้ดี รู้จักให้ดีเพื่อจะควบคุมมันให้ได้
คำว่า “ปีติ” กับ “สุขะ” ในที่นี้มีความหมายเฉพาะที่ใช้ในเรื่องอานาปานสติ มีความหมายเหมือนๆ ในกรณีอื่น ในกรณีอานาปานสติ เราจะมองทั้งปีติและทั้งสุขะนี้ เป็นเครื่องปรุงความคิด ปรุงความคิด ปรุงความคิด ในกรณีอื่นเราเห็นเป็นความสุข ความพอใจ สนุกสนาน น่าพอใจ ความหมายอย่างนั้นเอาไปไว้เป็นเรื่องฝ่ายนั้น ถ้าเรื่องอานาปานสติ เราจะมองว่า ปีติก็ดี สุขก็ดี จะ rapture ก็ดี contentment ก็ดี มันปรุงความคิด มันเป็นตัว condition ความคิด ความขบความคิดให้เกิดความคิด ปีติ เราสุขในอานาปานสติมีความหมายเฉพาะอย่างนี้
เราควบคุมปีติ ควบคุมไอ้ความสุขได้ ก็หมายความว่าเราควบคุมความคิดและจิตได้ ไม่ให้มันเกิดก็ได้ ให้มันเกิดแต่ในทางที่ถูกต้องที่มีประโยชน์ก็ได้ ท่านจงเห็นความสำคัญว่าจำเป็นที่เราจะมีความคิดแต่ในทางที่ถูกต้อง แล้วเราจะพักผ่อนไม่มีความคิดเลยก็ได้ ถ้าเราประสบความสำเร็จในอานาปานสติหมวดที่ ๒ นี้
สูตรของมันมีสั้นๆ ว่า เราบังคับจิตได้โดยทางการบังคับเวทนา บังคับจิตได้โดยการบังคับเวทนา
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ ๓ บังคับจิตโดยตรง เพื่อจัดการกับจิตโดยตรง เรียกว่าจิตตานุปัสสนา ในอันนี้มันก็ บทเรียนของเราก็เป็นเรื่องที่ยากมาก ยาก ยากมากที่เราจะบังคับจิต แบ่งเป็นว่าเรารู้จักจิตทุกชนิดเสียก่อน แล้วจึงบังคับให้เป็นอย่างนี้ บังคับให้เป็นอย่างนี้ บังคับให้เป็นอย่างนี้ ตามที่เราต้องการ นี่ใจความสำคัญของหมวดที่ ๓ คืออย่างนี้
เราตั้งต้นด้วยการรู้จักจิตทุกชนิดที่เราเคยผ่านมาแล้ว เราคนธรรมดานี่เคยมีจิตคิดอย่างไร คิดอย่างไร เป็นมาอย่างไร มันเป็น experience มาแล้ว แล้วก็ทางจิต ให้เรารู้จักจิตทุกชนิดที่เราอาจจะรู้สึกได้ก่อน จิตมีกิเลส จิตไม่มีกิเลส จิตมีราคะ มีโทสะ หรือไม่มีราคะ ไม่มีโทสะ แล้วเราก็สามารถจะหยั่ง หยั่งเทียบตรงกันข้ามว่า เมื่อมีราคะเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่มีราคะมันจะเป็นอย่างไร เมื่อมีโทสะมันเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่มีโทสะ มันจะเป็นอย่างไร ดังนั้น เราจึงอาจจะคำนวณรู้จักจิตของพระอรหันต์ก็ได้ ทั้งที่เรายังไม่เป็นพระอรหันต์ จิตต่างๆ ที่มันมีอยู่แก่ความรู้สึกของเรา เราคำนวณโดยทางตรงกันข้าม แล้วเราก็รู้จิต ทั้ง ๒ ฝ่าย ทั้งฝ่ายธรรมดาและทั้งฝ่ายที่พ้นพิเศษแล้ว นี่เราศึกษาว่าจิตเป็นได้อย่างไร มีลักษณะอย่างไร กี่อย่างกี่อย่างกันเสียก่อนทั้งหมดนี้ เพื่อรู้จักสิ่งที่เรียกว่าจิตอย่างดี อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ รู้จักจิตทุกชนิดก่อน
ตัวอย่าง ตัวอย่างในหลายๆ เรื่อง มีตัวอย่างเช่นว่า ความรัก ความรักเกิดขึ้นแล้วมันกัด กัดหัวใจอย่างไร ถ้าความรักสงบไป มันสบายอย่างไร ถ้าความรักไม่อาจจะเกิดอีกเลย ไม่อาจจะเกิดอีกเลย เราจะมีความสบายอย่างไร อย่างนี้ลองคำนวณดู ให้ทั่วหมดทุกๆ ชนิด รู้จักจิตทุกชนิดกันเสียก่อน
ในที่สุดเราก็สามารถจะดึงหรือบังคับจิตไว้ได้ตามที่เราต้องการ ต้องการให้มีความพอใจ พอใจในธรรมะ พอใจในธรรมะ มีความสุขด้วยความพอใจในธรรมะ หรือในสิ่งที่ควรจะพอใจ ในสิ่งที่ควรจะพอใจอย่างนี้ก็ได้ หรือว่าหยุดๆๆ ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ ไม่บวก ไม่ลบ อย่างนี้ก็ได้ แล้วในที่สุดว่า ให้ปล่อยในสิ่งที่ไม่ควรจะเอามายึดถือ คือสิ่งที่ attach ...(นาทีที่ 01.50.22) อยู่ นี่ออกไป ออกไป ออกไป นี่เป็นลักษณะของการที่ว่าบังคับจิตได้ ก็ไปคิดดูเองว่า จะมีประโยชน์สักเท่าไรมันเหลือที่จะกล่าว