แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันแรกนี้เราจะพูดกันโดยหัวข้อว่า “พุทธศาสนาในฐานะที่เป็นศิลปะแห่งการครองชีวิต”
ท่านทั้งหลายคงจะได้เข้าใจคำว่า “ศิลป์” หรือ “อาร์ต (Art)” นั้นดีอยู่แล้ว หมายความว่า ได้ผลดี แล้วก็น่าดู คือ มันงดงาม แล้วมันก็ง่ายแล้วมันก็สะดวก นี่เราจะเรียกว่า Art พุทธศาสนาในฐานะที่เป็น Art นี่ก็มีความสำคัญอยู่แต่เขาไม่ค่อยมองกันในแง่นี้ เอา Buddhist Art ไปเป็นเรื่องทางวัตถุเป็นเรื่องวัตถุโบราณอะไรทำนองนั้น ขอให้ถือว่าตัวพระพุทธศาสนาแท้ๆ นี้เป็น Art
จะเอาพระพุทธรูปเป็น Art ก็ขออย่าได้เอาตัววัตถุให้เป็น Art แต่ให้เอาไอ้ความหมายที่แสดงอยู่ที่หน้า ที่หน้าของพระพุทธรูปแสดงว่ามีความสุข มีความฉลาด มีความเมตตากรุณา มีความอดกลั้นอดทนอย่างนี้ เป็นต้น ก็จะเรียกว่า Art ได้เหมือนกัน
เมื่อเราพูดถึง Life ก็ขอให้มีความหมายเป็นสูงสุด Supreme Life นี่คำๆ นี้ เป็น Art ที่ Life ที่สูงสุด เมื่อเรามุ่งหมายคุณสมบัติ ๒ อย่าง คือ สงบเย็นที่สุด เป็นประโยชน์ที่สุด
ความลับอีกอย่างหนึ่งที่เราจะต้องทราบว่า Life หรือ ชีวิตนี้ ธรรมชาติให้มาในฐานะเป็นสิ่งที่พัฒนาได้ แม้ท่านจะถือว่าพระเจ้าให้มาก็ได้เหมือนกัน พระเป็นเจ้าให้มาก็ในฐานะที่พัฒนาได้ตามที่เราต้องการให้มันเป็น Supreme Life ขึ้นมาให้จนได้ ขอให้มีความแน่ใจในข้อนี้
คำว่า “Supreme” มันก็บอกอยู่ในตัวแล้วว่ามันเหนือปัญหา ใช้คำๆ เดียวว่า เหนือปัญหา หมายถึง เหนือความทุกข์ เหนือความยากลำบาก เหนือสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา โดยทุกๆ ประการนี่มันจึงจะมีลักษณะว่า ประเสริฐที่สุดขึ้นมา ขอให้เพ่งว่ามันหมดปัญหา คือกิจการทุกอย่าง อะไรทุกอย่างล้วนเป็นปัญหาแล้วก็หมดปัญหาทุกๆ อย่าง จึงจะเรียกว่า Life Supreme หรือ Excellence หรือแล้วแต่คุณจะเรียกมัน
เมื่อกล่าวว่าตามหลักพระพุทธศาสนาอย่างนี้ มันก็ต้องรู้ว่าพุทธศาสนามีหลักอย่างไร พุทธศาสนามีใจความสำคัญอย่างไร นี่สิ่งที่จะต้องรู้กันอย่างละเอียดลออ ว่าพระพุทธศาสนามีหลักสำคัญอย่างไร
ในแง่หนึ่งที่เราจะเรียกว่า จะกล่าวว่า “ไม่มีตัวตน ไม่มีตัวตน” หรือที่ถูกว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ ไม่ใช่ตัวตน ทุกสิ่งทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน Not Self หรือ อนัตตา นี่ไม่ใช่ตัวตน มองทุกอย่างในลักษณะไม่ใช่ตัวตน เป็นเพียงปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เป็นธรรมชาติ เป็นกฎธรรมชาติ เป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เป็นไปตามธรรมชาติ นี่เรียกว่า ไม่ใช่ตัวตน
เมื่อมันไม่ใช่ Self ไม่ใช่ Self เป็นธรรมชาติ ของธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาตินั้นเอง มันก็ไม่เป็นไปเพื่อความยึดถือไม่เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น คือไม่มี Attachment ไม่มี Thinking ไม่มี Judging ในสิ่งใดๆ และมันเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือนี่ใจความสำคัญของพุทธศาสนา
เมื่อวัฒนธรรมในทางศาสนาในประเทศอินเดียเป็นไปถึงที่สุดของลัทธิฮินดูนั่น มันไปสิ้นสุดลงที่มีอัตตา มีอาตมันสูงสุด และก็เป็นนิรันดร แล้วไปสูงสุดกันที่มีอัตตามี Self มีนิรันดร นี้พุทธศาสนาเกิดขึ้นมา สอนว่าไอ้สิ่งที่ถือว่าเป็น Self นั้นน่ะไม่ใช่ Self ไม่เห็นเป็นธรรมชาติไม่ควรยึดถือว่า Self นี่คือสิ่งที่จะต้องเข้าใจว่าสอนเรื่อง ไม่มี Self ในที่สุดมันเป็นว่างนิรันดร ฮินดูลิสซึ่มเขามี Self นิรันดร พุทธศาสนามีว่าง ว่างจาก Self โดยนิรันดร
คำว่า “ตัวตน” หรือ “Self” มันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ถ้ามีความรู้สึกว่าเป็น Self แล้วมันจะยึดถือ ยึดถือโดยทางจิตใจ โดยทางจิตใจ เมื่อมีความยึดถือก็มีของหนัก Burden ของหนัก ยึดถือชีวิต ชีวิตนั้นเองก็เป็น Burden ขึ้นมา ยึดถืออะไร อันนั้นก็เป็น Burden ขึ้นมา เหมือนกับว่าทำมือไปยึดถืออะไรมันก็หนัก หนักทั้งนั้น ไม่ว่าจะยึดถืออะไร ยังมีหลักเกณฑ์ที่ว่า ไม่ยึดถืออะไร เมื่อไม่ยึดถืออะไรก็คือเห็นว่าทุกๆ สิ่ง มันไม่ใช่ Self ไม่ใช่ตัวตนที่จะยึดถือได้ ไม่อาจจะยึดถือได้ ยึดถือก็เป็นสิ่งที่โง่เท่านั้นเอง จึงสอนให้ไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดว่าเป็นตัวตน Magnify (นาทีที่ 16:52) ประกาศอะไรให้มันเป็นตัวเป็นตนขึ้นมา เป็น Voice จากตัวตนเป็นปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ
ดังนั้น ความเป็น Art ความเป็น Art มันอยู่ที่ตรงนี้ มันอยู่ตรงที่ไม่ยึดถืออะไร ไม่อาจจะยึดถืออะไร และสามารถที่จะไม่ยึดถืออะไร ในความเป็น Art มันอยู่ที่ตรงนี้ เมื่อลัทธิอื่น ศาสนาอื่น เขาให้ยึดถือสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยความเป็นของตน ตามความรู้สึกของ Instinct หรือไม่ เดี๋ยวนี้พุทธศาสนาจะไม่ยึดถืออะไร ทั้งโดย Instinct หรือว่าโดยที่จะแนะสอนกันทีหลังก็ตาม ความเป็น Art มันอยู่ที่ตรงไม่ยึดถืออะไร ไม่โง่ไม่หลงไปยึดถืออะไรว่าเป็นตัวตนหรือเป็นของตน
มันมีลักษณะเหมือนกับมาทีหลังเขาทั้งหมด มาทีหลังเขาทั้งหมด เมื่อลัทธิอื่นๆ ศาสนาอื่นๆ เขาสอนให้ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งๆ กระทั่งสูงสุดยึดมั่นในพระเป็นเจ้า ยึดมั่นในสิ่งสูงสุด พุทธศาสนามาทีหลังเขาหมด ไม่ยึดมั่นในสิ่งใดโดยประการทั้งปวง นี่เป็นความลับหรือเป็นความสำคัญ เป็นใจความสำคัญของสิ่งที่เรียกว่า พุทธศาสนา ที่มาบอกเป็นคนสุดท้ายเลยว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
เราพูดได้ว่าก่อนหน้านี้ไม่มีใครเคยสอนเรื่อง Not Self หรือ อนัตตา ไม่มีใครสอน แม้มันจะมีสอนก็สอนเตลิดไป จนถึงกับว่าไม่มีอะไร ไม่มีอะไร ไม่มีอะไรเอาเสียเลย ก็มีสอนเหมือนกัน แต่ที่สอนว่าไม่มีสิ่งใดที่ควรยึดถือนี่ยังไม่เคยสอน พวกหนึ่งสุดทางนี้ สุดทางฝ่ายนี้ มีอัตตา อัตตา อัตตา มี Self เต็มที่ และก็มีอัตตา พวกหนึ่งสุดทางฝ่ายนี้ ไม่มีอะไรเลย นิรัตตา นิรัตตา นิรัตตา ไม่มีอะไรเลย ที่พุทธศาสนาอยู่ตรงนี้ อยู่ตรงกลาง นี่บอกว่า มันมี Self ซึ่งมิใช่ Self มี Self ที่ไม่ใช่ Self มี Self ตาม Instinct Instinct มันก็มี Self ทุกคนก็มี Self อยู่ในความคิดนึก แต่ว่า Self เหล่านั้นไม่ใช่ Self จึงถือว่าพุทธศาสนาสอนว่ามี Self ซึ่งมิใช่ Self คุณอย่าเอาไปปนกันนี่ มันมี Self Self Self เต็มที่ นี้มันไม่มีๆ อะไรเลย พุทธศาสนาสอนว่ามี Self ซึ่งมิใช่ Self มีความลึกลับหรือว่ามีความพิเศษอยู่ตรงที่ว่ามันเป็น Self ซึ่งมิใช่ Self
ขอให้ศึกษาโดยละเอียดอีกสักนิดหนึ่งว่า ความรู้สึกว่า อัตตา อัตตา ว่าตัวตนนี่ มันเป็น Instinct ที่ต้องมีในสิ่งที่มีชีวิต ต้นไม้ก็ได้ สัตว์เดรัจฉานก็ได้ คนก็ได้ ถ้ามันมีชีวิตแล้วมันต้องมี Instinct ที่ว่าอัตตา อัตตา หรือมาเป็นภาษาธรรมดาว่า ตัวฉัน ตัวฉัน มันเป็น Instinct พื้นฐาน สำหรับว่าชีวิตมันจะได้มีสิ่งที่หล่อเลี้ยง ถ้ามันไม่มีความรู้สึกตัวตน ชีวิตมันก็ไม่มีที่ตั้ง มันเป็นธรรมชาติ ธรรมชาติมันจึงให้ Instinct ที่ว่ามีตัวตนมา สำหรับชีวิตจะได้ต่อสู้เพื่อการมีอยู่ แต่แล้ว Instinct อันนี้ มันงอกงามจนเกินขนาดจนมีปัญหา ถ้ามี Instinct เพียงว่ามีชีวิตอยู่ก็ไม่เท่าไร Instinct นี้มันเลยไปถึงว่าตัวตนแล้วก็ของตน แล้วก็เป็นที่เป็นบวก และเป็นลบ น่ารัก ไม่น่ารัก มีปัญหาเพิ่มขึ้นๆๆ จนเกิดความทุกข์ จนเกิดความทุกข์ และต้องควบคุม Instinct นี้ไว้ให้มันมีอยู่เพียงเท่านี้ ไม่ต้องให้กลายหรือไปเกิดเป็นความทุกข์ขึ้นมา ความรู้สึกตาม Instinct นั้นน่ะ มันก็เป็นสักว่าธรรมชาติตามธรรมชาติ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตน ทุกคนนะท่านทั้งหลาย ทุกคนนี่มีความรู้สึกตัวฉันของฉันมาตั้งแต่แรกเกิดมา และก็มากขึ้นๆๆ นั้นน่ะตัวตนมันเป็น Conception เท่านั้นเอง มาจากความโง่ มาจากความไม่รู้ เราจึงถือว่าไอ้สิ่งที่เรารู้สึกๆ อยู่ในใจว่าตัวตน ตัวตนนี้ มันไม่ใช่ตัวตน ดังนั้นเราซึ่งมิใช่เรา เข้าใจอันนี้ และก็จะสามารถปฏิบัติได้ จะมี Art of Life ตามวิธีของพุทธศาสนาได้
สิ่งที่เรียกว่า Conception ท่านคงจะรู้ดีอยู่แล้วว่ามันเป็นเพียงความรู้สึก ความคิดนึก ความสัมพันธ์มั่นหมาย มันไม่ใช่มีตัวจริง มันไม่ได้เป็นของจริง มันเป็นเพียง Concept แล้วมันก็มาจากความโง่ คือความไม่รู้เพราะว่าใน Instinct นี้มันไม่มีปัญญาที่แท้จริง มันยังมีความไม่รู้หรือความรู้ที่ไม่ถูกต้องอยู่ Instinct มันจึงให้ Concept ชนิดที่ผิด นี่เรียกว่ามันจะไปถือเอาตาม Instinct นั้น มันก็จะมีแต่ความทุกข์จะไปยึดถือเอาตัวตนของตน ตัวตนของตน เต็มไปทั้งหมด แล้วมันก็จะเป็นของหนักในชีวิตนี้ มันก็จะเป็นทุกข์เพราะว่าถือของหนัก ขอให้เข้าใจความจริงของธรรมชาติที่ลึกลับข้อนี้กันทุกคน
ทีนี้เราก็มาดูกันว่าเรานี่เป็นทาสของ Concept ตลอดเวลา แม้ว่าไอ้สิ่งที่เรียกว่า Concept มันไม่ได้มีจริงมันเป็น Illusive เป็น Illusive โดยแต่กำเนิดของมัน แต่มัน เราก็เป็นทาสของมัน มันก็เป็นนายของเรา มันบังคับเราให้ทำอย่างนั้นอย่างนี้ไปตามความรู้สึก หรือความต้องการของ Concept ที่ว่า Self อัตตา อัตตา เราเป็นทาสมันตลอดเวลา พูดอีกอย่างหนึ่งว่าเราติดคุกๆ ติดตารางของสิ่งที่เรียกว่า อัตตา อยู่ตลอดเวลา สูญเสียอิสรภาพที่ต้องไปเป็นทาสของอัตตา นี่การออกมาเสียได้มันจึงเป็น Art Artistic อย่างยิ่ง
เราเป็นตัวเรา ซึ่งมิใช่ตัวเรา Really? It is not real ...(นาทีที่ 39.08 มีคำไม่แน่ใจ) ท่านว่าบ้าๆๆ ได้ยินอย่างนี้ท่านว่า บ้าๆๆๆ ถ้าท่านไม่เข้าใจความหมายของประโยคนี้ก็ไม่มีทางที่จะรู้ พุทธศาสนา ถ้าท่านรู้พุทธศาสนาก็มองเห็นว่า เราเป็นเราซึ่งมิใช่เราอันแท้จริงที่จะต้องศึกษากันข้อนี้ แล้วเราก็จะหมด Concept ว่าตัวเราแล้วเราก็จะฟรี จะเป็นอิสระ มีความถูกต้อง สติปัญญาของธรรมชาติและจะไม่มีความทุกข์อีกต่อไป มันเป็น Art สูงสุดอยู่ที่ตรงนี้
เรามีความจำเป็นที่จะต้องรู้ความจริง ความจริงข้อนี้ของธรรมชาติ ถ้ามิฉะนั้นแล้วเราหรือจิต จิตใจที่เรียกว่าเรานี่ จะมีอาการแบกของหนักยิ่งกว่าของหนัก ยิ่งกว่าของหนัก ยิ่งกว่าของหนักอยู่ตลอดเวลานั่นแหละคือ ความทุกข์ ไอ้ Self Concept ว่า Self มันกลายเป็นของหนักและก็แบกไว้ตลอดเวลา มีทั้งเราและของเราทั้ง Self และ of Self มันเป็นของหนัก ชีวิตนี้หนัก ติดคุกของหนักอยู่ตลอดเวลา เราจึงจำเป็นจะต้องรู้ความจริงข้อนี้ แล้วเราก็จะ free เป็นอิสระแล้วเราก็จะไม่มีความทุกข์จะมีชีวิตที่สูงสุดได้
ทีนี้เราก็จะดูความเลวร้าย ความเลวร้ายของสิ่งที่เรียกว่า ตัวตน Self มีความเลวร้ายอย่างไร คือมันทำให้เราเป็นทุกข์หนัก เป็นทุกข์หนัก ตัวเองเป็นทุกข์หนักเป็นทุกข์หนัก มีลักษณะเหมือนกับว่ากัดเจ้าของไอ้ Self มันกัดเจ้าของ ชีวิตที่มันกัดเจ้าของ ชีวิตที่กัดเจ้าของ นี่ทำตัวเองให้เป็นทุกข์ และอีกทีหนึ่งมันออกไปถึงข้างนอกมันเป็น Selfishness ไปกัดผู้อื่น มันไปกัดผู้อื่น ไปกัดผู้อื่น ไอ้ Selfishness มันไปกัดผู้อื่น มันมาจากสิ่งๆ เดียวคือ Self มันกัดเจ้าของและมันก็กัดผู้อื่น โลกนี้กำลังเต็มไปด้วย Selfishness โลกนี้กำลังจะวินาศๆ เพราะ Selfishness
ขอให้ศึกษาอย่างอดทน อดทนอย่างยิ่งให้รู้ความจริงข้อนี้ ว่าโลกนี้กำลังจะวินาศ เพราะความเห็นแก่ตัว Selfishness ในส่วนบุคคล บุคคลๆ นี้มันก็เห็นแก่ตัว นายทุนก็เห็นแก่ตัว ชนทำมาชีพก็เห็นแก่ตัว ลูกจ้างก็เห็นแก่ตัว นายจ้างก็เห็นแก่ตัว ทุกคนต่างเห็นแก่ตัว ประชาชนก็เห็นแก่ตัว รัฐบาลก็เห็นแก่ตัว ต่างฝ่ายต่างเห็นแก่ตัว แล้วก็ทำลายซึ่งกันและกันไม่สามัคคีกัน นี่ความเห็นแก่ตัวกำลังจะทำลายโลก ยิ่งเจริญทางวัตถุ แล้วก็ยิ่งเห็นแก่ตัว ยิ่งเจริญทางวัตถุแล้วก็ยิ่งเห็นแก่ตัว อุตสาหกรรมทั้งหลายทำความเจริญทางวัตถุทั้งนั้น ยิ่งเห็นแก่ตัวยิ่งเห็นแก่ตัวมันก็ไม่มีความรักกันเลย มันจะเอาประโยชน์มันทำลายผู้อื่น นี่อันตราย หรือความเลวร้ายของความเห็นแก่ตัวที่มันมาจากตน มาจากอัตตา มาจากตัวตนมาเห็นแก่ตน แล้วมันก็จะทำลายโลกทั้งหมดเลย
ขอให้ดูเป็นพิเศษปัญหาเลวร้ายที่กำลังมีอยู่ในโลกเป็นปัญหาเลวร้ายนี่ เรามีการทำลายธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติกันมากเกินไป ทำลายสัตว์ ทำลายต้นไม้ ทำลายแผ่นดิน ทำลายธรรมชาติ และก็เห็นแก่ตัว มี Pollution Pollution โดยเสียมากเต็มไปหมดก็เพราะความเห็นแก่ตัว เรามีปัญหายาเสพติด ปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นปัญหาอย่างยิ่งทั้งโลกก็เพราะมันเห็นแก่ตัว เรามีโรคที่น่ารังเกียจ โรคเอดส์ โรคบ้าๆ บอๆ โรคเลวร้ายต่างๆ ก็เพราะเห็นแก่ตัว สิ่งไม่พึงปรารถนาทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าเราไม่เห็นแก่ตัวสิ่งเหล่านี้ไม่เกิด สิ่งเหล่านี้ไม่มีเกิด ไม่มีการทำลายธรรมชาติ ไม่มี Pollution ไม่มีปัญหายาเสพติด ไม่มีโรคเลวร้ายอย่างที่กำลังเป็นปัญหา ขอให้ดูกันข้อนี้ ซึ่งมันมีอยู่จริง กำลังมีอยู่จริง จะกำจัดมันเสียด้วยความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ตัว
ความเลวร้ายอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อมีความเห็นแก่ตัว แล้วเราพูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันไม่รู้เรื่องนี่ ทำความเข้าใจแก่กันและกันไม่ได้ ไม่มี Compromise ไม่มีอะไรทั้งหมด ทำความเข้าใจกันไม่ได้ เพราะมีความเห็นแก่ตัว ในองค์การสหประชาชาติพูดกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง เข้าใจกันไม่ได้ก็เพราะมีความเห็นแก่ตัว ถ้าเราไม่มีความเห็นแก่ตัว เราก็จะไม่มีปัญหาเหล่านี้ ฉะนั้นขอให้เราทำลายความเห็นแก่ตัว ซึ่งมาจากความรู้สึกว่า มีตัว มีตัว และก็เห็นแก่ตัว และก็มีปัญหาเหล่านี้ออกมา
เมื่อมีความเห็นแก่ตัวแล้ว แม้แต่ในระหว่างสามีกับภรรยา สามีกับภรรยาก็พูดกันไม่รู้เรื่อง พูดกันไม่รู้เรื่อง ต้องทะเลาะกันต้องหย่ากัน สามีภรรยากันแท้ๆ ยังพูดกันไม่รู้เรื่องถ้ามันมีความเห็นแก่ตัว ไม่มีความเห็นแก่ตัวแล้วมันง่ายดายด้วยซ้ำ รู้เรื่องกันทำความเข้าใจกันทั้งหมดทั้งบ้านทั้งหมู่บ้าน ทั้งโลกเลย มันจะทำความเข้าใจกันได้ เพราะว่าไม่เห็นแก่ตัว
ซึ่งเดี๋ยวนี้มันเลวร้ายมากขึ้นๆ จนว่าระหว่างพ่อแม่กับลูก บิดามารดากับบุตร มันจะพูดกันไม่รู้เรื่องเสียแล้ว จะพูดทำความเข้ากันไม่ได้ระหว่างพ่อแม่กับลูก ก็เพราะมันมีความเห็นแก่ตัว ระหว่างครูบาอาจารย์กับลูกศิษย์มันจะพูดกันไม่รู้เรื่องอยู่แล้ว เพราะมันมีความเห็นแก่ตัวเอาออกไปเสียเราก็จะมีความเข้าใจ ทำความเข้าใจแก่กันและกันได้ทุกๆ ปัญหา
เอ้า, ทีนี้จะมาดูวิธีที่จะไม่เห็นแก่ตัว ถ้าว่าเป็นพุทธบริษัท ศึกษาเรื่องนี้ เรื่องอนัตตา เรื่องอนัตตา จนเห็นว่าไม่มีตัว ไม่มีตัว มันก็ไม่เห็นแก่ตัว ก็เพราะว่ามันไม่มีตัวจะเห็นแก่ตัว ถ้าวิธีของพุทธบริษัท แต่ถ้าท่านมีพระเจ้ามีพระเป็นเจ้า ถือศาสนามีพระเป็นเจ้า ท่านก็เอาตัว ตัวของท่านไปให้พระเป็นเจ้าเสีย ถวายพระเป็นเจ้าเสีย อย่าเอามาเป็นของตัว อย่าเอามาเก็บไว้เป็นของตัว ให้ตัวเป็นของพระเป็นเจ้าเสีย พระเป็นเจ้าก็จะพาไปในทางที่ถูกต้อง คือไม่เห็นแก่ตัวๆ นี่ว่าจะมีอย่างมีพระเจ้าหรือไม่มีพระเจ้า มันก็ต้องทำลายความเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้นแหละ แต่เราพุทธศาสนา ชาวพุทธนี่เห็นความจริงของธรรมชาติว่ามันไม่ใช่ตัว มันไม่ใช่ของตัว มันก็ไม่รู้จะยึดถืออะไร มันก็ไม่ยึดถือเอง มันก็ไม่เห็นแก่ตัวได้เอง นี้เป็นปัญหาร่วมกันทั้งโลกๆ ที่จะต้องหยุดความเห็นแก่ตัว
เอ้า, มาขอมาดูกันอีกสักนิดในความจริง เด็ดขาด ความจริงสูงสุดที่ว่าเมื่อใดมีความเห็นแก่ตัว เมื่อนั้นชีวิตนั้นเองจะกัดเจ้าของ ชีวิตจะกัดเจ้าของ เมื่อเจ้าของมีความเห็นแก่ตัว คำสั้นๆ นี้ ชีวิตจะกัดเจ้าของ เมื่อมันมีความเห็นแก่ตัว มีความเห็นแก่ตัวเมื่อใด ชีวิตจะกัดเจ้าของเมื่อนั้น ก็จะพูดกันโดยละเอียดในข้อนี้
ใครๆ ก็มองเห็นสุนัข สุนัขไม่เคยกัดเจ้าของๆ แต่ว่าความเห็นแก่ตัว ความเห็นแก่ตัวนี้มันกัดเจ้าของ มันเลวกว่าสุนัขเสียอีก ขอให้มองกันในแง่นี้บ้าง
ขอเวลามาดูกันทีละอย่างละอย่างพอเป็นตัวอย่างสักจำนวนหนึ่งเท่านั้นน่ะไม่มากมาย ถ้ามันมีแล้วเมื่อไรมันกัดเจ้าของเมื่อนั้น ตัวอย่างที่จะเอามาพูดกัน ความรัก ความรัก Love มันมาจากความเห็นแก่ตัว ถ้ามันเป็นไอ้ Loving …(นาทีที่ 01:03:50 มีคำฟังไม่ชัด) แล้วมันก็ไม่ใช่มาจากความเห็นแก่ตัว นี่ถ้ามันเป็นความรัก ความรักมันจะกัดเจ้าของ ร้อนกันไปหมดทั้งคู่รักแหละ กัดทั้งตัวคู่รักและคู่รัก ความรักมันจะกัดเจ้าของเป็นข้อแรก ความรักน่ะมันกัดเจ้าของ
ทีนี้ก็ความโกรธ ความโกรธเกิดขึ้นเมื่อใด มันกัด กัดผู้โกรธนั้นก่อนที่จะไปกัดผู้ที่เราโกรธ คิดดู ความโกรธเกิดขึ้นแล้วมันจะกัดตัวผู้โกรธนี่ก่อนที่จะไปกัดตัวผู้ที่เราโกรธ บางทีเขาไม่รู้เรื่องไม่ได้เป็นทุกข์เป็นร้อนอะไร ความโกรธเกิดนั้นเมื่อใด มันก็กัดเจ้าของเมื่อนั้น
ทีนี้ก็ความเกลียด ความเกลียดเกิดขึ้นเมื่อไรมันก็กัดตัวผู้เกลียดนั้น สิ่งที่ถูกเกลียดยังไม่รู้สึกยังไม่ได้รู้สึกอะไรเลย แต่มันกัดไอ้ผู้เกลียดตัวผู้เกลียดนั้นน่ะก่อน ความเกลียดเมื่อกัดเจ้าของ บางทีก็ไม่ได้ไปกัดผู้ที่ถูกเกลียดด้วยซ้ำไปมันกัดเจ้าของ มีความเกลียดอะไรความเกลียดนั้นก็กัดเจ้าของ กัดเจ้าของ มันก็นั่งร้องไห้อยู่เอง ความเกลียดมันกัดเจ้าของ
ทีนี้ก็ความกลัว ความกลัวมีขึ้นเมื่อไรมันก็กัดเจ้าของเมื่อนั้น กลัว กูกลัวนี้เป็นความโง่ มันไม่ต้องกลัวๆ มันก็เกิดความโง่ทำให้มันกลัวมากเกินกว่าจำเป็น ความกลัวมันก็กัดเจ้าของ จนว่าโลกนี้มีปัญหาคือ ความกลัว ความกลัวกัดเจ้าของ อย่ามีความกลัวเลยไม่ต้องกลัว
ทีนี้ก็มาถึงความตื่นเต้น ความตื่นเต้น ท่านชอบความตื่นเต้นทั้งที่มันกัดท่าน ท่านต้องลงทุนซื้อหาอะไรมาทำให้เกิดความตื่นเต้น ตื่นเต้น เที่ยวไปทั่วโลกก็เพื่อให้เกิดความตื่นเต้น ไปดูมวยเพื่อเกิดความตื่นเต้น ไปดูกีฬาเพื่อให้เกิดความตื่นเต้น มีความโง่ที่ให้อะไรมากระตุ้นมา Inspire ให้มันตื่นเต้นๆๆ ไอ้ความตื่นเต้นนั้นแหละ คิดดูเถิดมันกัดเจ้าของ ลงทุนไปมาก ไปซื้อหาไอ้สิ่งที่ทำให้เกิดความตื่นเต้น และความตื่นเต้นมันทำลายความสงบ มันทำลายความสงบหมด ความตื่นเต้นทุกชนิดมันกัดเจ้าของ
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีมากในโลกเจริญ มากในโลกจนเป็นรายได้อันใหญ่ของประเทศบางประเทศ มันมาจากความตื่นเต้น มาจากความตื่นเต้น คืออยากจะตื่นเต้น อยากจะได้รับความตื่นเต้นของคนเหล่านั้น แล้วก็ไปเที่ยวดูทั่วโลกไปทั่วโลกเพื่อหาความตื่นเต้นมาหลอกตัวเอง หารู้ไม่ว่าไอ้ความตื่นเต้นน่ะมันกัดเจ้าของ ท่านทั้งหลายดูให้ดีๆ เถิด อย่าได้ให้เสียเวลา เสียเงิน เสียอะไรเพื่อซื้อหาสิ่งที่มากระตุ้นความตื่นเต้น
ความอยากเห็นของแปลก อยากมีของแปลกที่ไม่มีใครมีและก็พอใจๆ จะแสวงหาของแปลก เที่ยวซื้อของแปลก บางทีไม่ได้มีประโยชน์อะไรแต่ว่ามันแปลก พวกฝรั่งซื้อกรงนกที่ทำสวยๆ ลูกหนึ่งตั้งหมื่นบาทก็ไม่ได้เกิดปรากฏประโยชน์อะไร เพราะมันเป็นของแปลกเพื่อความตื่นเต้น และก็น่าหัวที่ว่า ข่าวหนังสือพิมพ์นี้เดี๋ยวนี้ฝรั่งชอบกินส้มตำ ชอบกินส้มตำซึ่งไม่เคยมีมาแต่ก่อน เพื่อรสแปลกๆ เพื่อความตื่นเต้น เพื่อความตื่นเต้น นี่ความตื่นเต้นมันกัดเจ้าของ ขอให้ดูให้ดี
ทีนี้ก็ความเห็นแก่ตัวมันทำให้วิตกกังวลล่วงหน้า วิตกกังวลล่วงหน้าในสิ่งที่ยังไม่มีมา ในสิ่งที่ยังไม่มีมา วิตกกังวลล่วงหน้า นี่มันก็กัดเจ้าของ หรือว่าอาลัยอาวรณ์สิ่งที่ล่วงไปแล้ว สิ่งที่ล่วงไปแล้วก็เก็บมาอาลัยอาวรณ์มันก็กัดเจ้าของ วิตกกังวลในอนาคตอาลัยอาวรณ์ในอดีตมาจากความเห็นแก่ตัว มาจากความเห็นแก่ตัว แล้วมันก็กัดเจ้าของ
ทีนี้ความเห็นแก่ตัวทำให้มีความอิจฉาริษยา ริษยาผู้ที่มีอำนาจมากกว่ามีความเจริญมากกว่า หรือแม้แต่สวยกว่าก็ริษยา มีความริษยา โลกนี้กำลังเต็มไปด้วยความริษยา ริษยา ระหว่างบุคคล ระหว่างสังคม ระหว่างประเทศ มันริษยา ริษยา มันจึงมีสงครามหรือมีอะไรไม่มีที่สิ้นสุด ก็เพราะว่ามีความริษยา อันมาจากความเห็นแก่ตัวนี่ มันกัดเจ้าของมันกัดทั้งโลกเลย
เห็นเขามีเงินมากกว่า มีบ้านเรือนสวยกว่า มีรถยนต์สวยกว่า แต่งตัวสวยกว่าก็อิจฉา อิจฉาริษยาแล้ว แล้วมันกัดเจ้าของ ความอิจฉาริษยานั้นกัดเจ้าของ กัดผู้ริษยา ผู้โน้นยังไม่รู้สึก นอนหลับไม่รู้หรอก ผู้ที่ถูกริษยาไม่รู้ยังไม่รู้เรื่อง แต่ความริษยามันกัดเจ้าของ กัดเจ้าของผู้ริษยา นี่ขอให้สังเกตดูไอ้ความริษยานี้เลวร้ายถึงขนาดนี้ แต่มันก็ยังเต็มไปทั้งโลก เต็มไปทั้งโลกยิ่งมีความริษยากันมากขึ้น ริษยากันมากขึ้น มีสงครามใต้ดิน บนดิน สงครามเปิดเผย สงครามไม่เปิดเผย นี่ก็เพราะความริษยาทั้งนั้น
สิ่งสุดท้ายอยากจะระบุไปยัง ความหวง ความหวง ความไม่ให้ปัน ความไม่เผื่อแผ่ ความไม่ช่วยเหลือ นี่เรียกว่า ความหวง ถ้าเป็นเรื่องทางเพศ ก็เรียกว่า ความหึง หึงผัว หึงเมีย หึงกับฆ่ากันตาย ความหวงและความหึงนี้มันกัดเจ้าของ กัดผู้หึงนั้นแหละก่อน ผู้หวงนั้นแหละก่อน กัดเจ้าของ ความหวงและความหึงทั้งหมดนี้มาจากความเห็นแก่ตัว ถ้าไม่เห็นแก่ตัว มันจะไม่หวงมันจะไม่หึง
ทั้งหมดนี้มาจากความเห็นแก่ตัว Selfishness ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว ความตื่นเต้น ความวิตกกังวล อาลัยอาวรณ์ อิจฉาริษยา หึงหวง (... ไม่แน่ใจ นาทีที่ 01:22:00) ยังมีอีกมากยังมีอีกเยอะท่านไปนึกได้เอง ท่านมองเห็นได้เอง ที่ยกตัวอย่างมาเท่านี้ก็เกินพอแล้ว ว่ามันมาจากความเห็นแก่ตัวแล้วมันกัดเจ้าของกัดเจ้าของ ก่อนที่ไปกัดผู้อื่น ความเห็นแก่ตัวมันกัดเจ้าของ กัดเจ้าของ มันบรรเทา ลดหรือทำลายเลิกล้างมันเสียเรื่องความเห็นแก่ตัว
ครั้นมันกัดเจ้าของ กัดเจ้าของ กัดเจ้าของ พอแล้ว มันจะกัดผู้อื่น กัดผู้อื่น ต่อไปก็กัดทั้งโลก ความเห็นแก่ตัว เห็นชัดมันมาจาก Concept ว่ามีตัว แล้วมามีของตัว และก็เห็นแก่ตัว นั้นเราจงขจัดออกไปว่าของจริง ความจริงไม่มีตัว ถ้าว่าจะมีตัวแล้วก็เอาไปถวายพระเป็นเจ้าเสีย เอาไปถวายพระเป็นเจ้า อย่าไปเอามาไว้กับตัวพระเป็นเจ้าจะควบคุมไอ้ตัวเหล่านั้นเอง นี่ถ้าเราถือศาสนาที่ไม่มีตัว อย่างพุทธศาสนาก็กำจัดโดยไม่เห็นไม่มีตัว ถ้าว่ามีตัวมีถือศาสนาพระเป็นเจ้า มีพระเป็นเจ้าก็เอาตัวๆ ไอ้ Selfishness นี่ เอาไปถวายพระเป็นเจ้าเสียมันก็ได้ผลเท่ากัน นี่วิธีที่เราจะกำจัดความเห็นแก่ตัว มีอย่างนี้
ทีนี้ที่เวลาเหลือนิดหน่อย นี้จะพูดถึงเรื่องมันกัด กัดตัวเอง กัดผู้มีความเห็นแก่ตัว กัดผู้มีความเห็นแก่ตัวอย่างไร ขอทำความเข้าใจกันอีกสักหน่อยหนึ่ง
เมื่อมีความเห็นแก่ตัวแล้ว มันมีสิ่งที่เกิดขึ้นมาด้วยกันน่ะคือ กิเลส กิเลส คำนี้อาจจะแปลกสำหรับบางคน แต่ก็ทำความเข้าใจได้ กิเลส กิเลส เป็นชื่อของความสกปรก เป็นชื่อของไฟเผาให้ร้อน ถ้าเราเห็นแก่ตัว เราจึงทำสิ่งที่ไม่ควรทำ เกิดกิเลสเป็นความรัก ความสุข ความเกลียด ความกลัว หรือว่า โลภะ โทสะ โมหะ นี่ความเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดกิเลส เกิดกิเลส แล้วเราจะทำผิด ทำชั่ว พูดผิด พูดชั่ว คิดผิด คิดชั่ว นี่เรียกว่าให้มันเกิดกิเลส ความเห็นแก่ตัวทำให้เกิดกิเลส ช่วยจำคำว่า “กิเลส” ไว้ให้ดีๆ มีกันเป็นธรรมดาแต่ไม่ค่อยจะสนใจไม่ค่อยจะรู้จัก และะรู้กันเสียทีว่า กิเลส กิเลสทั้งหลายมาจากความเห็นแก่ตัว
ครั้นเกิดกิเลสแล้ว มันก็เกิดสิ่งที่สองตามมา คือ ความเคยชิน เคยชินที่จะทำอย่างนั้นอีก เป็น Habit Habitual เวลาเคยชินจะทำอย่างนั้นอีก เคยชินจะทำอย่างนั้นอีก คุณลองไปโกรธเข้าสิมันก็ง่ายที่จะโกรธอีก ไปรักกันมันก็ง่ายที่จะรักกันอีก มันมีความเคยชินที่จะทำอย่างนั้นอีก นี่เรียกว่า อนุสัย อนุสัยคือความเคยชินที่จะทำอย่างนั้นอีก ลำบากที่สุด เราห้าม ห้ามจิตใจระวังจิตใจไม่ให้ทำชั่ว ทำเลวไม่ได้ เพราะมันมีสิ่งนี้ เพราะมันมีสิ่งนี้ คือ อนุสัย ความเคยชินที่จะทำอย่างนั้นอีก นี่มันกัดเจ้าของลึกลงไปอีก มีอนุสัย
มีคนถามปัญหา เขียนมาถามปัญหามากที่สุดว่า ไม่อยากจะโกรธ เสร็จแล้วมันก็โกรธบังคับไม่ได้ ไม่อยากจะโกรธเกลียดกลัวความโกรธ ไม่อยากจะโกรธ แต่แล้วมันก็ยังโกรธ มันบังคับไม่ได้ เพราะเหตุอะไร เขาไม่รู้หรอกว่ามันเพราะอันนี้ เพราะอนุสัย อนุสัย ความเคยชินที่เก็บไว้โดยไม่รู้สึกตัว โดยไม่รู้สึกตัว เก็บไว้ๆ สะสมไว้ๆ มากขึ้นๆ ในสันดาน ในสันดานของจิตใจ ซัฟตราตัน of the mind (นาทีที่ 01:31:42) เต็มไปด้วยสิ่งนี้ สิ่งนี้ๆ มันมากขึ้น อย่างนี้เรียกว่า อนุสัย ทุกคนมีอนุสัยเก็บความเคยชินที่จะทำกิเลส เกิดกิเลส นี่ปัญหาที่สองกัดเจ้าของเพราะอนุสัย
ทีนี้ก็มาถึงสิ่งที่สาม คือ อนุสัยที่เก็บไว้มากๆ มันต้องการจะไหลกลับออกมา ยิ่งเก็บไว้มากเท่าไรยิ่งมีความดันที่จะไหลกลับออกมามากเท่านั้นแหละ เหมือนอย่างว่าในที่ใส่น้ำโอ่งหรือตุ่มน้ำ ใส่น้ำลงไป ใส่น้ำลงไป ใส่น้ำลงไป มันเกิดความดันอยากกลับออกมามันก็มากขึ้น มากขึ้น ถ้ามันมีรูรั่วนิดหนึ่งมันก็ออกมาปริ่มเลย ดันกลับออกมา นี่คือกิเลสที่มีความดันกลับออกมา เป็นสิ่งที่ทนไม่ได้ เป็นสิ่งที่ต้องออกมา Lowing out (นาทีที่ 01:34:00) มันเป็นอาสวะ เรียกว่า อาสวะ แปลว่า ไหลกลับออกมา ไหลกลับออกมา นั้นเราจึงทำความไม่ดี ทำความชั่ว ซ้ำๆ กันอยู่เสมอไม่รู้จักเข็ดหลาบ เพราะมันมีสิ่งที่เรียกว่า อาสวะ การไหลกลับออกมาแห่งกิเลสที่เก็บไว้ เก็บไว้ จาก Collection ของมันออกมา
ผู้ที่เรียกกันว่า สูงสุด Holy man Holy man Supreme man อะไรก็แล้วแต่คือ ผู้ที่ไม่มีกิเลส ไม่มีอนุสัย ไม่มีอาสวะ ในพุทธศาสนาถือว่าไม่มีกิเลส ไม่มีอนุสัย ไม่มีอาสวะ นั่นเป็น Holy man แล้วเข้าใจว่าในศาสนาอื่นๆ ก็เหมือนกันแหละ ที่เป็นบุคคลสูงสุดแห่งศาสนานั้นๆ มันก็ไม่มีกิเลส ไม่มีอนุสัย ไม่มีอาสวะ ถ้าหมดความเห็นแก่ตัวมันก็ไม่เกิดกิเลส ไม่เกิดอนุสัย ไม่เกิดอาสวะ ท่านจงพยายามลดความเห็นแก่ตัว ลดความเห็นแก่ตัว ไม่เกิดกิเลส ไม่สะสมกิเลส ไม่มีกิเลสสำหรับจะไหลกลับออกมา นี่คือสิ่งสูงสุดของมนุษย์ ถ้าทำได้ก็เป็น Supreme Art of Life เลย
ความเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดกิเลส คำว่า “กิเลส” นี้แปลว่า ของสกปรก แต่พอทีมันแสดงบทบาทมันไม่ได้แสดงแต่เพียงว่าสกปรกหรอก มันเผาให้ร้อนเหมือนกับไฟก็มี มันกดทับให้หนัก ให้หนัก เหมือนแบกของหนักก็มี มันผูกมัดรัดรึง เหมือนกับมัดๆ ไว้ติดคุกติดตารางก็มี หรือว่ามีความไม่มีอิสรภาพ ไม่มีเสรีภาพในชีวิตเลย ดังนั้นขอให้ทำลายความเห็นแก่ตัว ไม่มีกิเลสแล้วเราก็จะมีชีวิตที่เรียกว่า หลุดพ้น หลุดพ้น อีเมนท์ซิเฟรสเตส (นาทีที่ 01:38:56) ไปจากปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างเพราะไม่มีความเห็นแก่ตัวเพียงอย่างเดียว ไม่มีความเห็นแก่ตัว เพราะไม่รู้สึกว่ามีตัว ไม่รู้สึกว่ามีตัว นี่ประโยชน์สูงสุดของธรรมะที่จะทำลายกิเลส ทำลายความเห็นแก่ตัว แล้วก็กำจัดสิ่งเลวร้ายทั้งหมดในโลกทั้งหมดออกไปเสียได้ เรามาทำให้ถูกต้องแล้วก็จะกำจัดสิ่งเหล่านี้ออกไป ท่านมาเพื่อศึกษาเพื่อจะศึกษา เพื่อจะรู้จักวิธีที่จะกำจัดสิ่งเหล่านี้เป็น Art of Life อันสูงสุดคือ การกำจัดความเห็นแก่ตัว กำจัดความเห็นแก่ตัว
Concept Concept ว่าตัวตนก็ดี Selfishness ที่มาจากตัวตนก็ดี มันคือ ความมืด ความมืดแห่งชีวิตเพราะมีความมืด เราทำอะไรไม่ถูก เราทำอะไรไม่ได้ หรือทำผิดหมด เราต้องหาแสงสว่าง หาแสงสว่าง คำว่า “พุทธะ” พุทธะ Buddhism นี้แปลว่า ตื่นจากหลับ คือแสงสว่าง มีแสงสว่าง พุทธะ คือ แสงสว่างที่ออกมาเสียจากความมืด ท่านทั้งหลายมีความตั้งใจถูกต้องแล้วที่มาแสวงหาธรรมะ ในพระพุทธศาสนานี่เพื่อแสวงหาแสงสว่าง แสงสว่างที่จะกำจัดเสียซึ่งความมืด ซึ่งความมืดขอให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในความมุ่งหมายอันนี้ แม้ว่าท่านจะมาเมืองไทยอย่าง Tourist ขอให้ท่านกลับไปอย่าง พินกวิน พิวกวิน (นาทีที่ 01:43:12) เต็มไปด้วย Art ที่จะกำจัดความมืด แล้วก็ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ด้วยกันทุกๆ คน เถิด
ขอขอบพระคุณ ขอบพระคุณ ในการที่เป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดทนร่วมสองชั่วโมงแล้ว ร่วมสองชั่วโมงแล้ว ขอบคุณในการเป็นผู้ฟังที่ดี ก็ขอปิดการบรรยายในวันนี้ พรุ่งนี้จึงจะได้พูดถึงหนทางหรือวิธีที่จะมี Art อันนี้กันต่อไป วันนี้ขอปิดประชุม