แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วมา ได้บรรยายในข้อที่ว่า ธาตุทั้ง ๖ เป็นอนัตตา และอายตนะทั้ง ๖ เป็นอนัตตา และก็อยากจะพูดซ้ำให้มันติดต่อกันดี เป็นที่เข้าใจง่ายอีกครั้งหนึ่ง
คำว่าธาตุ หรือ ธา-ตุ Element นี่ มันเป็นคำเก่าแก่มาก สังเกตเห็นได้ว่ามีใช้กันทุกชาติ ทุกภาษา หรือทุกวัฒนธรรม หรือทุกศาสนา จะมีคำว่าธาตุ หรือ ธา-ตุ นี่ใช้ เพราะมนุษย์รู้จักสิ่งเหล่านี้กันด้วยกันทุกพวก และก็รู้จักกันในลักษณะที่เรียกว่ามีประโยชน์ จึงเป็นสิ่งที่ใช้พูดจากันมาเกี่ยวกับเรื่องธาตุ มาจนกระทั่งบัดนี้ แม้กระทั่งทางวิทยาศาสตร์ก็มีคำว่าธาตุ
มันมีข้อพิเศษ แปลกที่สุด อีกข้อหนึ่งคือก็ว่า ในทางพุทธศาสนาโดยเฉพาะนี่ มีความหมายของคำว่าธาตุนี่เป็นพิเศษ เลยกล่าวอีกอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งว่า ทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร เป็นธาตุ เป็นธาตุ เป็นสิ่งที่เรียกว่าธาตุด้วยกันทั้งนั้นแหละ ไม่ใช่เฉพาะธาตุ ๖ นี่ธาตุ ๖ นี่เอามาเฉพาะให้รู้เรื่องนี้ แต่โดยหลักใหญ่ถือว่าทั้งหมด ทั้งหมด ตั้งแต่ต่ำที่สุด จนสูงสุด จนนิพพาน นี่ก็เรียกว่าธาตุ ธาตุ ธาตุ ธาตุทั้งนั้น นี่ก็ขอให้รับฟังไว้ก่อน แล้วท่านจะเข้าใจในภายหลังว่า ที่ว่าสิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตานั้น ก็พูดได้ว่า สิ่งทั้งปวงเป็นธาตุ ธาตุทั้งปวงก็เป็นอนัตตา หรือธรรมทั้งปวงก็เป็นอนัตตา นี่จึงจะเป็นเรื่องเดียวกันเสีย สิ่งทั้งปวงเป็นอนัตตา ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา ธาตุทั้งปวงเป็นอนัตตา นี่ความหมายที่กว้างขวางที่สุดของคำว่าธาตุในพุทธศาสนา ให้เราเอามาศึกษากันเป็นพิเศษ ๖ ธาตุก่อน
คำว่า Element นี่มัน มันควรจะถูกแยกความหมายออกเป็นสองอย่าง อย่างแรกก็คือว่ามันเป็นส่วนสุด สุดท้ายที่จะแบ่งแยกได้ คือแบ่งแยกอีกไม่ได้ นั่นเป็น เป็นความหมายหนึ่งของคำว่า Element ก็ใช้คำว่า ธา-ตุ แต่คำนี้มันยังมีความหมายในทางภาษาบาลีว่า มีอยู่ตามธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมชาติ มีอยู่ได้เองในตัวมันเอง โดยตัวมันเองตามธรรมชาติ นี่มันก็ยังเป็นความหมายของคำว่า Element อยู่อีกนั่นแหละ คำว่าธา-ตุ ธา-ตุ มันจึงหมายได้อีกสองอย่าง คือส่วนสุดท้ายที่จะแบ่งได้อีกต่อไปแล้ว แล้วก็มันมีอยู่ตามธรรมขาติ อย่างแรกนี่เราจะแบ่งธาตุเอามาเพียง ๖ อย่าง แต่ความหมายที่สองจะทุกอย่าง ทุกอย่าง ทุกอย่าง เป็นธาตุ เป็นธาตุ เป็น element
ทีนี้ก็พิจารณากันเฉพาะธาตุ ๖ ธาตุทั้ง ๖ ที่จะเป็นอนัตตาอย่างไร ธาตุที่หนึ่ง ที่เรียกว่าธาตุดินน่ะ มันไม่ใช่ดินน่ะ แต่ว่ามันเห็นได้ง่ายที่ดิน คือธาตุที่กินเนื้อที่ Taking the space เห็นได้ที่ธาตุดิน ธาตุที่สอง เราเรียกว่าธาตุน้ำ เพราะมันเห็นได้โดยง่ายที่ธาตุน้ำ คือมันเกาะกุม พยายามที่จะเกาะกุมเข้าเป็นหน่วยเดียว Cohesion เรียกทำนองนั้น แล้วธาตุที่สาม ไฟ มันเห็นได้ที่ไฟ คือ Combustion ทั้งหลาย มันเห็นได้ที่ไฟ ความหมายแท้จริงของมันก็คือสิ่งที่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง มี combustion ที่ไหน มันก็มีการเปลี่ยนแปลงที่นั่น มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แล้วก็ธาตุที่สี่ ลม เห็นได้ที่ลม ที่อากาศ นั้นก็ธาตุที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว คือ movement movement ในสี่ธาตุนี้ก็ให้เกิดอาการทั้งสี่ตามแบบของธาตุที่เป็นรูปธรรม คือมีรูป ทีนี้ที่มันไม่มีรูป ธาตุอากาศ ธาตุว่าง มันก็คือภาวะแห่งความว่าง ธาตุแห่งความว่าง ที่รองรับไอ้ธาตุทั้งหลายอีกทีหนึ่ง ธาตุสุดท้ายมันเรียกว่าวิญญาณธาตุ ที่ทำให้มันเกิด concious ขึ้นมา มี conciousness ขึ้นมา ในสิ่งต่างๆ มี sense มีอะไรขึ้นมา แต่ละธาตุๆ น่ะมันน่าอัศจรรย์ แต่ละธาตุๆ มันน่าอัศจรรย์ จนคนโบราณที่ไม่รู้น่ะมีความเข้าใจว่า มันเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นตัวตน เป็นอะไรในตัวมันเอง จึงเอาแต่ละธาตุๆ นั่นน่ะว่าเป็นตัวตน ว่าเป็นอัตตา
ชาวอินเดียหรือชาวกรีกก็ตาม เขามีความคิด เขามีความคิดเรื่องธาตุนั้นน่ะ เป็นสิ่งที่มีสิ่งสูงสุดประจำอยู่ในธาตุ จะเรียกอย่างเลวๆ ว่าผีชนิดหนึ่งก็ได้ จะเรียกสูงขึ้นไปว่าเป็นพระเจ้า เป็น God เป็น Godess อะไรก็แล้วแต่ จนกระทั่งเป็นสิ่งสูงสุดแล้วก็บูชา บูชา บูชาพระเจ้าดิน พระเจ้าน้ำ พระเจ้าไฟ พระเจ้าลม เดี๋ยวนี้เรามามองในสิ่งที่ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่อย่างนั้น มันเป็นส่วนประกอบของสิ่งอื่น แล้วมันก็น่าประหลาดที่ว่า มันมาประกอบอยู่ในเรา ในเรา คนเดียว เราคนเดียวยังมีได้ทั้ง ๖ ธาตุน่ะ ทั้ง ๖ ธาตุน่ะมีอยู่ในเราเพียงคนเดียว ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มีที่ว่าง มีที่ว่าง สำหรับให้สิ่งต่างๆ อาศัย ไอ้คำว่าว่างนี้ ขอให้คิดว่าแม้อย่างนี้ ในนี้ก็ยังมีที่ว่าง มีที่ว่าง มี Ether หรือมีอะไรที่เป็นธาตุว่างให้ทุกอย่างตั้งอยู่ แล้วก็มีความรู้สึกเป็น concious อยู่หลายๆ อย่าง ดังนั้นเราจึงไม่ถือว่าเป็นพระเจ้าหรือว่าเป็นผี หรือว่าเป็นอะไรศักดิ์สิทธิ์ที่ไหน เป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ มาเป็นส่วนประกอบแต่ละส่วนๆ แล้วก็มาประกอบกันขึ้นเป็น เป็นคนๆหนึ่ง นี่ขอให้เห็นอย่างนี้ แล้วก็จะเห็นว่าเป็นอนัตตา
ยิ่งถ้าเป็นคนป่า คนป่ามากๆ ป่าสมัยโน้นแล้ว เขาก็เคารพบูชา อ้อนวอนพระเจ้า พระเจ้าดิน พระเจ้าน้ำ พระเจ้าไฟ พระเจ้าลม พระเจ้าอากาศ พระเจ้าวิญญาณ ตามแบบของคนป่า นี่มันยิ่งกว่าอัตตา ยิ่งกว่าถือว่าเป็น self, self หรืออัตตา ว่าเป็นพระเจ้าสูงสุดเลย แล้วก็มีความหมายของคำว่า self อยู่ในนั้นแหละ มันเป็น self สูงสุด แล้วถ้าเราเลิกหมด เลิกหมด ไอ้ self ธรรมดา self สูงสุดอะไรไม่มีเหลืออยู่ในสิ่งที่เรียกว่าธาตุ นี่ขอให้เรารู้จักไอ้สิ่งที่เรียกว่าธาตุในลักษณะอย่างนี้กันก่อน
เป็นอันยุติว่าธาตุ ธาตุแต่ละธาตุเป็นอนัตตา เสร็จไปเรื่องหนึ่ง เรื่องธาตุ ทีนี้เราก็มาถึงเรื่องอายตนะ อายตนะ ไอ้ธาตุทั้งหก ไอ้ธาตุทั้งหกนี่เขามารวมกันได้ มารวมกันได้ ทำหน้าที่ของธาตุทั้งหกได้ มารวมกันได้ มันก็เกิดสิ่งใหม่ เกิดสิ่งใหม่ ที่เราจะเรียกในที่นี้ว่าอายตนะ คือสิ่งที่มันสามารถทำการติดต่อ ติดต่อ เป็นสื่อเป็นอะไรได้ คือทำให้รู้จักซึ่งกันและกันได้ เรียกว่าอายตนะ ถ้าสิ่งนั้นมันสามารถกินเนื้อที่ สิ่งนั้นสามารถมีรวมตัว มีเผาไหม้มีอะไรก็ตามเถอะ มันจึงเกิดไอ้วัตถุใหม่ขึ้นมา สำหรับที่จะเป็นตา เป็นหู เป็นจมูก เป็นลิ้น เป็นกาย เป็นจิตใจ หกอายตนะที่มีอยู่ในภายใน ซึ่งเป็นที่ตั้งให้เกิดความเข้าใจผิดๆ ว่า มันเป็น sense, sense หรือสิ่งที่รู้สึกได้ คือตารู้สึกได้ หูรู้สึกได้ จมูกรู้สึกได้ ลิ้นรู้สึกได้ ผิวหนังรู้สึกได้ ใจรู้สึกได้ มันก็มีความหมายเป็นอัตตาหรือเป็น self ขึ้นมา กว่าที่จะเคยยึดถือในธาตุ อัตตายึดถือในอายตนะนี่มันสูงกว่า มันแรงกว่าที่เคยยึดถือในธาตุ ตอนนี้เราก็มีอายตนะที่จะเป็นอัตตา
ฉะนั้นที่เป็นภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่ มันง่าย ง่ายมากน่ะที่จะเข้าใจว่าเป็น self เป็นสิ่งที่เป็น self มา เพราะว่าตาเห็นรูปได้ หูฟังเสียงได้ จมูกได้กลิ่นได้ แต่ที่จริงนั้นมันเป็นเพียงไอ้ระบบหนึ่ง เป็นระบบประสาทระบบหนึ่งที่ตาทำให้เห็นรูปได้ ระบบประสาทระบบหนึ่งที่หูทำให้ได้ยินเสียงได้ ที่จมูกก็ได้กลิ่นได้ ที่ลิ้นก็ได้รสได้ ทั้งหกอย่างนี่มันมีระบบที่ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นมาได้ เพราะฉะนั้นมันจึงเป็นง่าย ง่ายมากแหละที่เราจะเอาตาเป็นอัตตา หูเป็นอัตตา จมูกเป็นอัตตา ตามสัญชาติญาณ สัญชาติญาณที่ยังไม่รู้อะไร สัญชาติญาณที่ทำให้เกิดเข้าใจว่าเป็นตน เป็นตัวตนน่ะ พอตาเห็นรูป สัญชาติญาณให้เกิดความรู้สึกว่า “ฉันเห็นรูป” หูได้ยินเสียง สัญชาติญาณตัวตนนี่ทำให้เกิดความรู้สึกว่า “ฉัน ฉันต่างหากได้ยินเสียง” จมูกได้กลิ่นก็ว่า “ฉันได้กลิ่น” ลิ้นได้รสก็ว่า “ฉันได้รส” ผิวกายได้สัมผัสก็ว่า “ฉันได้สัมผัส” รู้สึกคิดนึกได้ก็ว่า “ ฉันน่ะฉัน” ใจรู้สึกคิดนึกก็เป็นฉัน ก็เอาใจเป็นฉัน ฉะนั้นง่ายมาก ง่ายที่สุดที่จะเอาอายตนะภายในทั้งหกอย่างว่าเป็นตัวฉัน ตัวฉัน ตัวฉัน ตัวฉัน แล้วมันก็เกิดปัญหาไปตามเรื่องของมัน
เราจะต้องศึกษากันโดยเฉพาะ เรื่องสัญชาติญาณ instinct ที่ต้องมี instinct ให้เกิดความรู้สึกว่า self จนกระทั่งเกิดความรู้สึกว่า my self มันเป็น instinct ตามธรรมชาติ ไอ้เรื่องธรรมชาตินี่มันลึกลับอยู่อีกส่วนหนึ่ง เรา เราก็ยังไม่ค่อยจะรู้ แต่เดี๋ยวนี้เรามองเห็นชัดว่าธรรมชาติต้องให้สิ่งนี้มา ให้ instinct หลอกๆ เช่นนี้มา เพื่อว่าไอ้สิ่งมีชีวิตทั้งหลายมันจะได้ จะได้ cheerish จะได้ survive กับไอ้ชีวิตนั่นเอง ถ้าไม่อย่างนั้น มันจะไม่มีอะไรที่มีกำลังที่จะถนอมชีวิตหรือทำให้เกิดชีวิต ก็ขอบใจ instinct แม้ว่ามันจะเป็นของหลอก ก็มันก็เป็นช่วยให้เกิดมีชีวิต และปัญหามันก็เกิดมากจากการมีชีวิตเป็น self เป็น self นั่นเอง ถ้าอย่ามีชีวิตเป็น self ขึ้นมาแล้วก็ปัญหามันก็ไม่มี นี่มันมีทั้งคุณและทั้งโทษอยู่อย่างนี้ แล้วเราก็รอดตัวกันมาเดี๋ยวนี้ก็เพราะ instinct อันนี้ นี่ต้องขอบใจมัน แต่แล้วมันก็ได้ทำให้เกิดเป็นปัญหา มีความทุกข์อย่างละเอียด อย่างละเอียด อย่างละเอียด ซึ่งเป็นปัญหาทางจิตใจ เราก็จะต้องควบคุม instinct อันนี้ไว้ให้ได้ ไม่ให้เกิดความหลงว่าเป็น self เป็น self หรือ sense อีกต่อไป
นี่เป็นการง่ายที่สุด ที่จะเอาอายตนะภายในทั้งหกอย่างว่าเป็นตัวตน ตัวตน นี่มันง่ายๆ แล้วเราก็ทำอยู่ แล้วทีนี้ก็มาถึงอายตนะภายนอก อายตนะภายนอก มันอยู่ข้างนอก เป็นรูป เป็นเสียง เป็นกลิ่น เป็นรส เป็นโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ไม่วาย ไม่เว้นที่จะถูกยึดถือเป็นตัวตน ด้วยความโง่ ด้วยความโง่ ด้วยความไม่รู้ ความรู้ที่ไม่รู้ หรือรู้ผิดๆ นั่นแหละ มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นตัวตน ถ้าเด็กเล็กๆ เขาได้ดอกกุหลาบที่ถูกใจมาสักดอกหนึ่ง เขาก็ทะนุถนอมราวกับว่าดอกกุหลาบนั้นมีชีวิต หรือว่าถ้าเขาได้ตุ๊กตาที่สวยขึ้นมาสักตัวหนึ่ง เขาก็ถนอมราวกับว่ามันมีชีวิต จนเกิดความรู้สึกว่าตุ๊กตาจะป่วย ตุ๊กตาจะตาย แต่ที่ง่ายกว่านั้นก็คือมันมีความรู้สึกชนิดที่ ที่ตรงกันข้ามน่ะ ความรู้สึกที่เป็นลบ ตรงกันข้าม เช่น เด็กๆ เขาเดินไปชนเก้าอี้อย่างนี้ เขาก็เตะเก้าอี้เลย เด็กๆ จะเตะเก้าอี้เลย ด้วยว่านั่นน่ะมันเป็นอัตตาฝ่ายตรงกันข้ามกันเรา เก้าอี้ไม่มีอัตตา ไม่มี self หรอก แต่ว่าเด็กโง่นั่นมันก็เห็นเป็น self แล้วมันก็เตะเก้าอี้ หรือว่าแม่ครัว ถ้าเขาโง่ขึ้นมา เขาทุบทำลายสิ่งของบางสิ่งบางอย่างที่เขาโกรธขึ้นมา ใช้ไม่ได้อย่างใจ เขาทุบ เขาทำลายมันเสีย ก็เพราะเข้าใจว่ามันเป็น self ชนิดหนึ่งที่ตรงกันข้าม ที่ไม่ ไม่คล้อยตามความประสงค์ของเรา เขาอาจจะหักมีด อาจจะทุบแก้ว หรือเขาอาจจะทำลายเครื่องใช้ไม้สอยได้อย่างใดอย่างหนึ่ง นี้มันเป็นความไม่รู้ เป็นความหลงที่เห็นอายตนะภายนอก ไม่มีชีวิต ไม่มีวิญญาณเลย เป็น self เป็นอัตตาขึ้นมาได้ ดังนั้นอายตนะภายนอก ก็ถูกหลงว่าเป็น self เป็น soul ขึ้นมาเหมือนกับอายตนะภายใน แล้วเราก็โง่และเป็นทุกข์และลำบาก
อายตนะภายใน เรียกว่าเป็นหมวดที่หนึ่ง อายตนะภายนอกเขาเรียกว่าเป็นหมวดที่สอง ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สามล่ะ คือวิญญาณ เมื่ออายตนะภายในกับอายตนะภายนอกมาถึงกันเข้า มันก็เกิดสิ่งที่เรียกว่าวิญญาณหรือ conciousness, conciousness ก็มีได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จะในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์ มันมีความรู้สึกเป็น concious ขึ้นมาอย่างนี้ มันก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็น self เป็น soul เป็นอะไรมากยิ่งขึ้นไปอีก ฉะนั้นสิ่งที่เรียกว่า conciousness นี่จึงถูกยึดถือว่าเป็นอัตตา เป็น self เป็น soul เป็นตัวเรา เป็นตัวฉันมากขึ้นมาอีก นี่พอมาถึงหมวดนี้ ยึดถือวิญญาณทั้งหก วิญญาณทั้งหกก็คืออายตนะหรือเนื่องกันอยู่กับอายตนะ เป็นสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับอายตนะ แล้วก็ยึดถือไอ้วิญญาณนี้ว่าเป็นอัตตา เดี๋ยวนี้เรามารู้สึกเสีย เข้าใจให้ดีให้ถูกต้องว่ามันก็ไม่ใช่อัตตา มันเป็นเพียง reaction ของอายตนะภายใน-ภายนอกมันถึงกันเข้า มันก็เกิดความรู้สึกอันนี้ขึ้นมา เพราะฉะนั้นมันก็มิใช่อัตตา หมวดที่สามคือวิญญาณมันก็ไม่ใช่อัตตา
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สี่ หมวดที่หนึ่งภายใน ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หมวดที่สอง รูป เสียง กลิ่น รส หมวดที่สามวิญญาณ ไอ้สามอย่างนี้มันทำหน้าที่ ทำหน้าที่อยู่ด้วยกัน คือ ตาเห็นรูปแล้วเกิดวิญญาณทางตา สัมผัสรูป สัมผัสรูป มันจึงมีสิ่งที่เรียกว่า contact หรือสัมผัส หรือผัสสะก็ได้นี่ มันก็มีสัมผัสทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ หกอย่าง อีกหกสัมผัส อีกหกสัมผัส ตอนนี้ก็จะมีความโง่ว่าไอ้สิ่งที่สัมผัสนั้นน่ะคือตัว self ตัว self มันสัมผัส ทางตาทางหู เป็น self ไปหมด มันมีการสัมผัสของ self ที่จริงมันเป็นเพียงไอ้สามสิ่งนี้ทำหน้าที่ร่วมกันอยู่ ทำ function ร่วมกันอยู่ สามอย่างคือ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และก็วิญญาณ ทำหน้าที่ร่วมกันอยู่ อันนี้เรียกว่าผัสสะ มันเป็นผัสสะของอายตนะ ไม่ใช่ผัสสะของกู ไม่ใช่ผัสสะของ self หมวดที่สี่ก็ให้รู้ว่าผัสสะทั้งหลายนั้นก็เป็นผัสสะของอายตนะ ไม่ใช่ผัสสะของ self แต่เราจะรู้สึกด้วยความโง่ของเราว่า ผัสสะของกู ผัสสะของฉัน เป็น self ขึ้นมา นี่หมวดที่สี่ก็เลิกเสีย อย่าไปโง่ไปหลงว่ามันเป็น self เป็นอัตตาอะไรเลย
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่ห้า เมื่อมันมี contact แล้วมันก็มี reaction เอง ออกมาเป็น feeling เวทนา เวทนา เวทนาที่พอใจบ้าง ที่ไม่น่าพอใจบ้าง คือเป็นบวกหรือเป็นลบน่ะ feeling นี่จะออกมาเป็นบวกหรือเป็นลบ มันเป็นเพียง reaction ของ contact แต่ความโง่นี่มันบอกว่าฉัน self ตัว self ต่างหากนี่มันรู้สึก มันทำหน้าที่ feeling feeling, feeling เป็นปฏิกิริยาของไอ้ sense มี sense ทำหน้าที่เป็น feeling ก็เอา feeling นี่มาเป็นตัวฉัน เป็นตัวของฉัน เป็นตัวผู้รู้สึก หรือสิ่งที่ถูกรู้สึกก็ตาม เอาเวทนามาเป็น self ขึ้นมา ตรงนี้สำคัญมาก ในโลกทั้งโลกนี้มันมีปัญหาตรงจุดนี้ เวทนานี้ที่จะทำให้เกิดปัญหารอบด้านน่ะ ที่จริงมันเป็นเพียงปฏิกิริยาที่ออกมาจาก contact ไม่ใช่ฉันเวทนา ไม่ใช่ฉันรู้เวทนา ไม่ใช่ฉันเป็นเจ้าของเวทนา แต่มันเป็นปฏิกิริยาของ contact ออกมาแล้วก็ทำให้เกิดว่าตัวฉัน ว่า self ว่าอะไรขึ้นมา นี่หมวดที่ห้านี่เรียกว่า feeling นี้ สำคัญมาก ศึกษามันให้ดีๆ เถอะ จะควบคุมทุกสิ่งได้ หมวดที่ห้าเอาเวทนาเป็นอัตตา อย่าเลย
ทีนี้หมวดที่หก ต่อไป นี้มันยังไม่จบนี่ มันมี feeling เวทนา มี feeling เป็น feeling แล้วจิต จิตไม่ใช่ self ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ self จิตนี่ เพียงคิดนึกได้มันก็มีการทำหน้าที่ percieve, percieve คือทำ perception ต่อไอ้เวทนา สำคัญมั่นหมาย regard, classify อะไรก็ตาม ต่อไอ้เวทนานั้นว่ามันเป็นอะไร มันก็เป็นสุขเวทนาขึ้นมาบ้าง เป็นทุกขเวทนาขึ้นมาบ้าง แล้วที่มันเลวร้ายที่สุดก็มันเป็นเวทนานี้มาจากผู้หญิง เวทนานี้มาจากผู้ชาย มาจากเพศตรงกันข้ามก็เป็นเวทนาที่มัน มันมีน้ำหนักมาก มีอิทธิพลมาก แล้วแต่ว่ามันจะ percieve ไปในทางไหน เวทนานั้นจะถูกมั่นหมายๆ อย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้นก็ได้ ตอนนี้ก็เรียกว่ามันเป็นเพียง perception มันเป็นเพียงปฏิกิริยา ที่ต้องเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ตามธรรมดา มาจากไอ้สิ่งที่เรียกว่าเวทนา แต่เราก็โง่เอา percieve, perception นี้ว่าอัตตา อัตตาเป็นผู้ percieve นี่อัตตาขึ้นมาที่ตรงนี้ก็ได้ มีในเวทนาก็ได้ แล้วมามีใน perception นี้ก็ได้ ขอให้หยุดเถอะ อย่ามีอัตตา มี self มี soul มีอะไรในขณะที่มันเป็นเพียง perception ของจิตที่มีต่อเวทนาเท่านั้นแหละ
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่เจ็ด เมื่อมัน percieve มี perception ลงไปถึงที่สุดแล้ว มันก็มีปฏิกิริยาออกมา เป็นเจตนา เจตนา ตั้งใจจะทำอะไรสักอย่างหนึ่งน่ะ มี volition มี volition ออกมาจาก perception นี่เรียกว่า สัญญเจตนา มีสัญญา สัญญา เสร็จแล้วมันก็จะมีสัญญเจตนา คือ volition ไปตามเรื่องของไอ้ perception นั้นแหละ ทีนี้มันมีเจตนาจะทำอย่างนั้น จะทำอย่างนี้ มีเจตนาก็แล้วกัน มีเจตนาว่าจะต้องเคลื่อนไหวสักอย่างหนึ่งน่ะ นี่ก็เอาความโง่เข้ามา นี่ โอ้ เจตนานี่ก็เป็นเจตนาของไอ้ self หรือของ soul ไม่ใช่เป็นเพียง reaction ของ perception volition เป็นเพียง reaction ของ perception แต่เราก็โง่ไปว่าเรา เรานี่เจตนา ฉันเจตนา กูเจตนา นี่ก็เอา volition มาเป็น self ขึ้นมา ขอให้เลิกเสียเถิด เลิกเสียเถิด อย่ามี self แม้ในขณะแห่งสัญญเจตนา หมวดที่เจ็ด
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่แปด มี volition แล้ว มันก็มีไอ้ความต้องการ ความต้องการ ความต้องการไปตามไอ้เจตนา ตาม volition ตอนนี้ก็เรียกว่าตัณหา ตัณหา เป็นความต้องการไปตามที่ไอ้ volition มันจะตกลงใจอย่างไร นี่ขอให้ศึกษาเป็นพิเศษสักหน่อยตรงนี้นะ คำว่าตัณหา ตัณหา ตามธรรมดา ในการศึกษาธรรมะทั่วไปนี่ ตัณหา ตัณหา นี่เขาจัดเป็นฝ่ายเลว ฝ่าย unhandsome เป็นฝ่ายกิเลส ตัณหาจะถูกจัดเป็นอย่างนั้นเสมอ แต่ว่าตัณหาตรงนี้ ตัณหาเฉพาะในกรณีนี้ยัง ยังไม่เป็นเลว ยังไม่เป็นดี ยังไม่เป็นกุศล ยังไม่เป็นอกุศล มันเป็นแต่เพียงต้องการเท่านั้นแหละ มีความรู้สึกต้องการเท่านั้นแหละ แต่ว่าในกรณีทั่วไป ตัณหามาจากอวิชชา จัดเป็นกิเลส จัดเป็นอกุศล เป็น unhandsome เดี๋ยวนี้ยังเป็นกลางๆ ตัณหาตัวนี้ ที่นี่ ในกรณีนี้ พิเศษที่ว่าเป็นกลางๆ ไม่เป็นชั่ว ไม่เป็น craving ไม่เป็น desire แล้วก็ไม่เป็นดี ไม่เป็น aspiration ในทางดี ยัง ยัง มันเป็นเพียง the want, want ตามธรรมดา นี่ the want คือตัณหากลางๆ นี่จะเกิดขึ้นมาอย่างนี้ แล้วจิตของเราก็โง่ว่าฉัน ฉันที่ต้องการ สิ่งที่ต้องการนั้นคือ sense หรือ self ของฉันมันต้องการ อัตตามันจึงเกิดลงไปที่ตัวตัณหาตัวนี้ก็ได้ นี่หมวดที่แปดน่ะ มันจะเกิดที่ความต้องการ อัตตาเกิดที่ตัวความต้องการ จะเข้าใจเสียให้ดีว่าถ้าต้องการนั้นก็ไปในเรื่อง reaction มาตามลำดับ จนเกิดความต้องการ อย่ามี self หรือมี soul ที่ไหนเลย นี่ก็ไม่ ไม่ยึดถืออัตตา ยังคงเป็นอนัตตา อนัตตา อยู่ได้อย่างถูกต้องอยู่
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่เก้า มีตัณหา the want แล้วมันก็มีความคิด ความคิด เรียกง่ายๆ ว่า thought, thought มันคิดน่ะ ในภาษาบาลีก็เรียกว่า วิตรรกะ วิตรรกะ มันคิด มันคิด มันคิด มันคิด มีวิตรรกะออกมาจากตัณหา the want, มัน want อย่างไร มันก็คิด คิดไปตามนั้นแหละ คิดไปตาม the want นี่ก็คิด คิด คิด คิด คิด คิด สักว่าคิดรวมๆ กันนี่เรียกว่าตรรกะ หรือวิตรรกะก็ได้ วิตรรกะก็ได้ ถ้าอันสุดท้ายหมวดที่สิบมันเป็นวิจาระ คือมันคิดอย่างวิพากษ์วิจารณ์ มันเป็น consideration thought เป็น thought เฉยๆ แล้วเรียกว่าวิตรรกะ ถ้ามันมี consideration ใน thought นั้น มันเป็นไอ้วิจาระ discursive thought คิดอย่างวิจารณ์ คิดอย่างละเอียดละออ เป็นอันสุดท้าย อันที่เก้า thought อันที่สิบ discursive thought, considering thought เรามีโอกาสที่จะเข้าใจผิดว่า thought นี่ก็อัตตา หรือ self มัน thought ที่มันคิดอย่างละเอียดๆ ก็อัตตาหรือ self มันคิด พอกันที เลิกกันที thought ก็ไม่ใช่อัตตา thought, considering thought ก็ไม่ใช่อัตตา thought เรียกว่าเราเลิกหมดทั้งเก้า เอ่อ ทั้งสิบหมวด ทั้งสิบหมวด เลิก ปิดโอกาส ปิดโอกาส ไม่ให้อัตตาหรือ self เกิดในโอกาสไหน
เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่าอายตนะ sense media นี่ มีเท่านี้ มีสิบหมวด สิบหมวด แล้วก็หมวดละหกๆ มันก็เป็น ๖๐ อย่าง อายตนะภายในหกอย่าง อายตนะภายนอกหกอย่าง วิญญาณหกอย่าง ผัสสะหกอย่าง เวทนาหกอย่าง สัญญาหกอย่าง สัญญเจตนาหกอย่าง ตัณหาหกอย่าง วิตกหกอย่าง วิจารณ์หกอย่าง รวมกันเป็นหกสิบอย่าง ในภายในจิตเรา ตัวเราหรือว่าจิตเราน่ะมี mechanism ได้ตั้ง ๖๐ อย่าง อย่างนี้ มันยุ่ง มันคล้ายกับคอมพิวเตอร์ แต่ไม่ใช่ ไม่เป็นไร ไม่เป็นไร ไม่ต้องกลัว เราสามารถจะควบคุมได้ด้วยสิ่งๆเดียว คือสติ สติ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการปฏิบัติอานาปานสติที่กำลังฝึกอยู่ ท่านก็จะมีสติ มีสติแล้วก็จะควบคุมไอ้ทั้ง ๖๐ อย่างนี้ได้ ได้ง่ายๆ ได้ง่ายๆ ไม่มีทางที่ว่า self จะโผล่ขึ้นมา ไม่เกิด self ไม่เกิดอัตตา ไม่เกิดอะไรหมด เรื่องก็ไม่มี ไม่มีอัตตา ไม่มี self ไม่มี self แล้วไม่มี selfishness ไม่มีอะไรเหล่านี้แล้วก็ไม่มีปัญหา ฉะนั้นขอให้สนใจเถิด แม้ว่ามันจะมากตั้ง ๖๐ อย่างก็ควบคุมได้ด้วยสติสิ่งเดียวเท่านั้น นี่หมวดอายตนะมีอยู่ ๖๐ อย่าง แต่ละอย่างๆ ไม่ใช่ self ไม่ใช่อัตตา รู้เรื่องอายตนะไม่ใช่อัตตากันเสียที
ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องอายตนะ เป็นอายตนะ เป็นเรื่องที่สอง เรื่องที่หนึ่งธาตุทั้งหก เรื่องที่สองอายตนะก็หก แต่ว่ากระจายออกไปได้เป็นหกสิบ ทีนี้ก็มาถึงเรื่องที่สาม คือเรื่องขันธ์ห้า Five aggregates นี่ ถ้าเราเข้าใจเรื่องอายตนะทั้ง ๖๐ อย่างนี้ดีแล้ว ง่ายนิดเดียว ง่ายนิดเดียวที่จะเข้าใจเรื่องขันธ์ห้า เพราะว่าเรื่องขันธ์ห้าน่ะมันรวมอยู่ในเรื่องทั้งหมดของอายตนะ นี่ขอให้เราศึกษาเรื่องขันธ์ทั้งห้าอีกต่อไป เพื่อว่าจะไม่มีอัตตา ไม่มี self เกิดขึ้นในขันธ์ทั้งห้า
สิ่งต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิต ชีวิต เรียกว่าชีวิตนี่ แบ่งออกได้เป็นสองอย่าง คือฝ่ายวัตถุ ฝ่ายร่างกายนี้ฝ่ายหนึ่ง แล้วก็ฝ่ายจิต ฝ่ายวิญญาณ ฝ่ายจิตใจนี่ฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ฝ่าย body ฝ่าย the mind นี่แบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างนี้ก่อน แล้วฝ่าย the mind ฝ่ายจิตใจนี้แบ่งออกเป็นสี่อย่าง สี่อย่าง เมื่อเอามารวมกันเข้ามันก็ได้เป็นห้าอย่าง เราจะศึกษาไอ้เรื่องห้าอย่างนี้ เรียกว่าศึกษาเรื่องขันธ์ทั้งห้า
สิ่งแรกก็คือฝ่ายที่เรียกว่ารูป รูป form หรือ body นี่เป็นฝ่าย เป็นพวกแรก มันก็คือไอ้ธาตุทั้งสี่ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม สี่ธาตุ มารวมกันทำหน้าที่ก็เรียกว่าเป็นพวกรูป หรือ form และรวมทั้งอย่างอื่นๆ ที่มันเนื่องกันอยู่กับรูป ที่มันเนื่องกันอยู่กับรูป รูปเองก็ดี ที่มันเนื่องกันอยู่กับรูปก็ดี ก็เรียกว่ารูป รูปขันธ์ เรียกว่ารูปขันธ์ นี่เป็นสิ่งแรก ขอให้ศึกษา
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม มารวมกันเป็นร่างกายนี่ นี่เราจะเห็นได้ว่าเรามีร่างกาย แล้วก็มีอะไรๆ ที่มันอาศัยอยู่ที่ร่างกาย เป็นภาวะหลายๆ อย่าง เช่น ภาวะ มันเป็นภาวะหญิง หรือเป็นภาวะชาย ไอ้รูปหญิง รูปชายนี่ก็เป็นรูปเหมือนกันที่อาศัยอยู่กับร่างกาย หรือว่าที่มันจะเคลื่อนไหวได้ เคลื่อนไหวไม่ได้ หรือแม้แต่ระบบประสาท ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้ก็รวมอยู่ในส่วนรูป อาศัยเป็นรูปที่อาศัยอยู่กับรูปใหญ่ คืออาศัยร่างกาย คำว่ารูป คำเดียวนี้ มันรวมไอ้สิ่งที่อาศัยรูป ก็อยู่ด้วยทุกอย่างเลย แล้วจะดูมันทุกอย่างๆๆ ก็โอ้ มาจากธาตุทั้งสี่ ไม่มีส่วนที่จะเป็น self หรือเป็นอัตตา หรือเป็นอะไร จะเห็นว่ารูปก็เป็นสักว่ารูป นี่เรารู้จักขันธ์ที่หนึ่ง ขันธ์ที่หนึ่งดีว่า ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ self ไม่ใช่ soul
ทีนี้เราก็เรียนมาแล้วเรื่องอายตนะ อายตนะที่เป็นส่วนวัตถุน่ะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ น่ะ เพียงห้า ห้าอย่างแรกนี้ อายตนะห้าอย่างแรกมาถึงกันเข้า มันก็เกิดวิญญาณ วิญญาณ แล้วก็เกิดผัสสะ เกิดผัสสะแล้วก็เกิดเวทนา เกิดเวทนา feeling นี้เราจัดเป็นขันธ์ที่สอง คืออันที่หนึ่งของนามน่ะ นามน่ะ จิตใจเป็นสี่ อันที่หนึ่งของนามก็คือเวทนา มันก็มาจากการกระทำของไอ้อายตนะ ส่วนที่เป็นรูปน่ะ จนเกิดวิญญาณ จนเกิดผัสสะ จนเกิดเวทนา แล้วเอาเวทนานี้มาเป็นขันธ์ที่สองของขันธ์ทั้งห้า คือรู้สึกบวกหรือลบ พอใจหรือไม่พอใจนี่ หรือไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบ ก็ไม่แน่ว่าพอใจหรือไม่พอใจ นี่เราประจำวันๆ เราจะมีความรู้สึกว่าเป็นเวทนา ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อะไรก็มีเวทนา เวทนา เวทนาเป็นส่วนหนึ่งแห่งชีวิตของเราน่ะ ขอให้ดูให้ดี ในวันหนึ่งๆ เรามีชีวิตเป็นเวทนา มีชีวิตในลักษณะที่เป็นเวทนากันหลายชั่วโมงทีเดียวน่ะ ส่วนนี้ก็แยกออกมาส่วนหนึ่ง ให้เรียกว่าส่วนเวทนา aggregate เป็นเวทนา
เดี๋ยวนี้เราเอาไอ้ contact หรือผัสสะ มารวมไว้ในเวทนา มารวมอยู่ในเวทนาขันธ์ วันหนึ่งๆ เรา contact เท่าไร feeling เท่าไร ท่านคิดดูเองเถอะ แต่ละวันๆ เรามี contact กี่ครั้ง มีเวทนากี่ครั้ง แล้วแต่ละครั้งๆ มันจะรู้สึกว่า “ฉัน” ทั้งนั้นแหละ ฉัน contact แล้วก็ ฉันก็ feeling นี่เรียกว่าชีวิตประจำวันอยู่ด้วยความหลอกลวง ว่าเป็นตัวตน เป็นฉัน ในขณะแห่ง contact ก็ดี เวทนาก็ดี เดี๋ยวนี้เราเอาเวทนามาเป็นหลักอันหนึ่ง เรียกว่าเวทนาขันธ์ จะมองเห็นชัดว่ามันไม่ใช่ ไม่ใช่อัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่การกระทำของอัตตา หรือตัวตน ก็ควบคุมไว้ได้ส่วนหนึ่งล่ะ คือส่วนที่สองที่เรียกว่าเวทนาขันธ์
ถ้าเรายังมีตา หู จมูก ลิ้น กาย มีใจด้วย ถ้าเรายังมีอายตนะหกอยู่ ช่วยไม่ได้ มันช่วยไม่ได้ มันต้องมี contact มันต้องมี contact ถ้าเรายังมีอายตนะอยู่ มันต้องมี contact โดยที่ช่วยไม่ได้ ทีนี้เมื่อมี contact แล้วมันก็ต้องมีเวทนา มีเวทนา มันก็ช่วยไม่ได้อีกเหมือนกัน นี่เราก็ต้องมีขันธ์ที่สองคือเวทนา แล้วทีนี้ถ้ามีเวทนาแล้วก็ช่วยไม่ได้อีกเหมือนกันที่จะไม่มีสัญญา มีเวทนาแล้วมันต้องสัญญาลงไปในเวทนา แล้วเราจึงมีขันธ์ที่สาม คือสัญญา สัญญา เห็นไอ้เวทนาเป็นตัวตนอย่างไรก็เห็นสัญญาเป็นตัวตนอย่างนั้น มันก็มีอัตตา มีตัวตนในสัญญาเข้าอีกทีหนึ่ง เรียกขันธ์ที่สาม ซึ่งไม่ใช่ตัวตนก็เห็นเป็นตัวตน นี่รู้จักขันธ์ที่สามกันอย่างนี้
เมื่อเรามีขันธ์ที่สามคือสัญญา หรือ perception ก็ช่วยไม่ได้อีกเหมือนกัน มันก็ต้องมีไอ้ conception สังขาร สังขารขันธ์ cenception คือคิด หรือ thought อย่างที่ว่ามาแล้วเมื่อตะกี้ ถ้ามันมีสัญญาแล้วมัน มันจะต้องมีสังขาระ คือความคิด ความคิดนี่ ไอ้ความคิดทั้งหลายน่ะ ชนิดละเอียด ชนิดไม่ละเอียดก็ตาม ก็เรียกว่าสังขารขันธ์ ก็เป็นขันธ์ที่สี่ขึ้นมา ขันธ์ที่สี่ขึ้นมา
ทีนี้ขันธ์สุดท้าย ขันธ์ที่ห้า เรียกว่าวิญญาณขันธ์ ก็คือที่เราเคยผ่านมาแล้ว พูดกันมาแล้ว ที่เรียกว่า conciousness น่ะ แต่ทีนี้เอามาเรียงไว้สุดท้าย ไม่เรียงตามลำดับ สับเอามาเรียงไว้สุดท้าย เป็นขันธ์ที่ห้าเรียกว่า conciousness ทำไมมาเรียงไว้ที่ตรงนี้ ไว้สุดท้าย เพราะว่ามันเกิดหลายคราว มันเกิดหลายคราว จะเรียงไว้แรกทีเดียวก็ไม่ถูก เพราะมันเกิดหลายคราว เอามาเรียงไว้สุดท้าย อย่างเช่นตาเห็นรูป มันก็เกิดวิญญาณ เกิดวิญญาณแล้วมันก็เกิดผัสสะ เกิดเวทนา มันก็มี conciousness ในเวทนา แล้วมีสัญญามันก็มี conciousness ในสัญญา ไอ้ conciousness นี่มันจะทำหน้าที่ได้ทุกขั้นตอนแหละ ฉะนั้นเอามาไว้ท้าย ไว้สุดท้าย ก็นี่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มี form มี feeling มี perception มี conception แล้วก็มี conciousness ลำดับนี่ ตรงนี้เป็นลำดับ แต่ตรงนี้มันไม่ใช่ เพราะไม่รู้จะบรรจุไว้ที่ไหน ไว้ท้ายดีกว่า ไอ้รูปขันธ์นี่ไว้เป็นประเดิมตั้งต้น เพราะมันเป็นที่เกิดที่ตั้งของไอ้ทุกสิ่ง นี่เราเรียกว่าขันธ์ทั้งห้า ขันธ์ทั้งห้า คือตัวชีวิต ตัวชีวิตในประจำวัน แบ่งออกได้เป็นห้าขันธ์อย่างนี้ ชีวิตประจำวันนี่แบ่งออกได้เป็นห้าขันธ์อย่างนี้
ชีวิตของเรานี้ ถ้าเราจะมองดูกันอย่างอายตนะ อายตนะเมื่อที่พูดมาแล้วน่ะ มันมีตั้งหกสิบ มันตั้ง ๖๐ article ในเมื่อดูกันอย่างอายตนะ มาดูกันอย่างขันธ์ดีกว่า จะเหลือเพียงห้า เพียงห้า article รู้จักรูป รู้จักเวทนา รู้จักสัญญา รู้จักสังขาร รู้จักวิญญาณ ให้ชัดนั้นน่ะคือรู้จักตัวเอง ท่านยังไม่รู้จักตัวเองก็ได้ ถ้าท่านยังไม่รู้จักเรื่องขันธ์ทั้งห้าอย่างชัดเจนนั้นคือท่านยังไม่รู้จักตัวเอง ขอให้ศึกษาให้รู้จักขันธ์ทั้งห้า แล้วท่านก็จะรู้จักตัวเอง ว่ามีรูปขันธ์อย่างไร มีเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เมื่อไรและอย่างไร เราจะสามารถควบคุมให้มันถูกต้อง ให้มันถูกต้อง ให้มันอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง มันจะไม่เกิดปัญหา แต่ถ้าเราหลงไปว่ามันเป็นตัวตน เป็นอัตตา เป็นตัวตน เป็น self เป็นอะไรแล้ว มันเดินผิดทาง มันเริ่มผิดทาง มันเริ่มผิด ไปหาความทุกข์ ไปหาปัญหายุ่งยาก ถ้าควบคุมไว้ในทางถูกต้อง ในทางถูกต้อง มันไม่ใช่ self มันไม่ใช่ soul มันไม่ใช่อัตตา มันเป็นเพียงธาตุตามธรรมชาติ เปลี่ยนไปตามเหตุตามปัจจัย เราก็ควบคุมไว้ได้ นี้เรียกว่าเราควบคุมชีวิต ควบคุมชีวิต ควบคุมชีวิตของเราไว้ได้ ชีวิตคือขันธ์ห้า เราควบคุมขันธ์ห้าไว้ได้ก็คือควบคุมชีวิตไว้ได้ ขอให้ท่านสนใจเป็นพิเศษ รู้จักตัวเอง ควบคุมตัวเอง แล้วปัญหาก็จะไม่มี
ถ้าเรายังมีอายตนะ อายตนะอย่างที่ว่ามาแล้ว มันก็ต้องมีขันธะ มีขันธะ ขันธะออกมาจากอายตนะ แจกอายตนะเป็นได้ตั้งหกสิบอย่าง เอามาย่อๆ ได้เพียงห้าอย่าง เรียกว่าขันธะ มันมีอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมชาติ โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาติ แต่ทีนี้เรามันเรียกว่าโง่ โง่ ignorance นี่ ไปเอามาเป็นของฉัน ไปเอามาเป็นตัวฉัน ไปเอาของธรรมชาติน่ะมาเป็นของฉัน เราก็เป็นขโมย เราเป็นขโมย เป็น robber เป็นขโมย เราก็ต้องถูกลงโทษ ลงโทษให้เป็นทุกข์ คือว่าพอไปเอาขันธ์ทั้งห้ามาเป็นของฉัน มันก็กลายเป็นของหนักขึ้นมาทันที burden burden ของหนัก of life มันก็เกิดขึ้นมาทันที นั่นแหละขโมยมันถูกลงโทษ มันถูกลงโทษให้แบกของหนัก แบกของหนัก มันก็ลำบาก เป็นทุกข์สารพัดอย่าง นานาประการ เพราะว่ามันไปขโมยเอาของธรรมชาติมาเป็นของฉัน ในรูปของอายตนะก็ดี ในรูปของขันธ์ทั้งห้าก็ดี ขอให้เป็นของธรรมชาติ อย่าไปปล้น อย่าไปจี้ อย่าไปแย่ง อย่าไปดึง อย่าไปขโมยเอามาเป็นของฉันเลย ถ้าไม่อยากจะมี burden of life เราก็อย่าไปเอาขันธ์ทั้งห้ามา classify ให้เป็นของฉัน เป็นตัวฉัน นี่ประโยชน์อย่างยิ่งของความรู้เรื่องอนัตตา อนัตตา มันอยู่ที่ตรงนี้ มันจะไม่มีความหนัก ภาระหนักหรือความทุกข์ในชีวิต ขอให้สนใจ
ชาวอินเดียก่อนพุทธกาลน่ะ ก่อนพระพุทธเจ้าน่ะ เขาก็รู้เรื่องขันธ์ห้านี้เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่รู้ แต่เขารู้ไปอีกทางหนึ่ง เขารู้ไปในทางว่าเป็นตัวตน ขันธ์ห้าเป็นตัวตน รูปเป็นตัวตน เวทนาเป็นตัวตน สัญญาเป็นตัวตน มันก็มีความเข้าใจผิด เป็นทุกข์ไปตามแบบนั้น พอพระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ท่านมาบอกกันใหม่ ว่าอย่า อย่า อย่า ไม่ใช่ตัวตน รูปไม่ใช่ตัวตน เวทนาไม่ใช่ตัวตน นี่ก็เรื่องขันธ์ห้าที่เข้าใจถูกต้อง เข้าใจถูกต้อง มันไม่ใช่ตัวตน ขันธ์ห้าเป็นตัวตนเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องนี้ เดี๋ยวนี้เรามาถึงวิทยาศาสตร์ สมัยวิทยาศาสตร์แล้วนะพวกเรา เราควรจะรู้เรื่องขันธ์ห้านี่ ไม่ใช่ตัวตน ขันธ์ห้าไม่ใช่ตัวตน ไอ้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ก็ช่วยได้ เราจะพูดกันสักวันหนึ่งก็ได้ แต่มัน มันเวลามากวิทยาศาสตร์จะช่วยสอนให้เรารู้ว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ตัวตน แล้วก็มีความรู้อย่างของพระพุทธเจ้าได้โดยวิถีทางวิทยาศาสตร์ ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายรู้จักขันธ์ห้า รู้จักขันธ์ห้าคือตัวชีวิตในแต่ละวันๆ ว่ามันไม่ใช่ตัวตนทั้งห้า ขันธ์ทั้งห้าขันธ์ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการเจริญอานาปานสติ แล้วท่านจะเข้าใจชัดในเรื่องนี้ ขันธ์ห้าจะไม่ใช่ตัวตน แล้วท่านก็จะไม่มีความทุกข์อีกต่อไป
ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องนี้ เข้าใจเรื่องนี้ดี ท่านจะเกิดความรู้สึกขึ้นมาเอง ขึ้นมาเอง ว่า We are we which is not real we. I am I which is not real I. ถ้าท่านเข้าใจข้อนี้ได้ ก็เป็นอันเข้าใจได้หมด จบเรื่องอนัตตาของขันธ์ทั้งห้า
ขอยุติการบรรยาย ขอขอบคุณที่เป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยาย สองชั่วโมงแล้ว
วันหลังเราจะพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาท เพื่อให้เข้าใจเรื่องนี้ดีกว่านั้น