แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้จะได้พูดกันด้วยสิ่งที่เรียกว่า หัวใจของพุทธศาสนา เพราะว่าท่านมาศึกษาพุทธศาสนา ท่านก็ควรจะรู้จักพุทธศาสนาโดยหัวใจเป็นข้อแรก หัวใจพุทธศาสนาก็คือคำพูดสั้นๆว่า อนัตตา คำนี้มีคำแปลเฉพาะหรือจำกัดว่า ไม่ใช่อัตตา มิใช่อัตตา ไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเสียเลย มีได้ทุกอย่างแต่มิใช่อัตตา คือเราจะต้องมีชีวิตอยู่ด้วยความรู้สึกว่าไม่มีอะไรที่เป็นอัตตา Ego หรือ Self หรือๆเรียกว่าไม่มีอัตตาน่ะในความรู้สึก
ท่านได้ฟังแล้วก็จะเกิดความคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันเป็นไปไม่ได้ ข้อนี้จะต้องทำความเข้าใจกันให้ถูกต้องว่ามันต้องเป็นอย่างนี้ มันต้องเป็นอย่างนี้จึงจะไม่มีทุกข์ ไม่มีความทุกข์น่ะ และมันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้
เราถือว่าพุทธศาสนานี่เป็นผู้กล่าวคนสุดท้าย คือกล่าวทีหลังใครๆทั้งหมด เมื่อผู้อื่นพวกอื่นเขากล่าวว่ามีอัตตา อัตตาอย่างนั้นอย่างนี้ อัตตาอย่างนู้น พุทธศาสนากล่าวเป็นคนสุดท้ายว่าไม่มีสิ่งที่ควรเรียกว่าอัตตา หรือควรรู้สึกว่าอัตตา
ว่าที่จริงไอ้ลัทธิอื่นหรือศาสนาอื่นน่ะ บางลัทธิเขามีสอนเรื่องอนัตตาหรือคล้ายๆกับอนัตตา ใช้คำว่าอนัตตา แต่มันไม่ใช่อย่างเดียวกับพุทธศาสนาซึ่งมีความหมายเฉพาะ อนัตตาแปลว่ามิใช่อัตตา อนัตตาของพวกอื่นลัทธิอื่นจะแปลว่าไม่มีอัตตา ไม่มีอัตตาเอาเสียเลยโดยประการทั้งปวง พุทธศาสนาว่าอนัตตา อนัตตานั่น คือมันมีสิ่งที่เรียกว่าอัตตา เรามีโดยความรู้สึกว่าอัตตา แต่มันมิใช่อัตตา ฉะนั้นต้องแปลว่า Not ไม่ได้แปลว่า No
ธรรมดาเราก็รู้สึกอยู่เองแล้วทุกคนว่ามีอัตตา มีตัวเรา มีอัตตา แม้แต่สัตว์เดรัจฉานนี่ในความรู้สึกของมันก็มีความรู้สึกว่ามีอัตตา มีตัวเรา ฉะนั้นคำ ความรู้สึกว่าอัตตา ว่าตัวเรา ว่า Ego ว่า Self ว่า Soul นี้มันมีโดยสัญชาตญาณ สัญชาตญาณทำให้ใครๆมีความรู้สึกอันนี้มากขึ้นๆตั้งแต่เราออกมาจากท้องมารดา โดยสัญชาตญาณมันก็รู้สึกว่ามีอัตตาๆๆเรื่อยมาจนบัดนี้ นี่มันเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง
เมื่อยังอยู่ในท้องของมารดา เราอาจจะกล่าว หรือควรจะกล่าว หรือต้องกล่าวว่า ยังไม่มีความรู้สึกว่าอัตตา แต่พอออกมาจากท้องมารดาแล้วก็สัมผัสสิ่งต่างๆด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจนี่ มันก็เกิดความรู้สึกที่เป็นบวกเป็นลบ นั่นแหละทำให้เกิดความรู้สึกว่าเป็นอัตตา รู้สึกบวกก็ถูกใจ รู้สึกลบก็ไม่ถูกใจ ความรู้สึกว่าตัวกูๆมันก็ค่อยๆเกิดขึ้น แล้วมากขึ้นจนเต็มที่เหมือนที่เรามีกันอยู่ในบัดนี้
อย่างว่าทารกเกิดมาแล้ว มันกินนมของแม่ได้ แล้วเขาก็รู้สึกว่าอร่อยและพอใจนี่ เขารู้สึกว่าอร่อยๆและพอใจ เป็นบวก เป็น Positive นี่ก่อน ไอ้ความรู้สึกว่าอร่อยและพอใจนั้นน่ะค่อยสร้างความเข้าใจ Misconcept ขึ้นมาว่า ฉันอร่อย ฉันอร่อย นี่อัตตา หรือฉัน หรือ Ego นี้เพิ่งเกิดทีหลังความอร่อย นี่ความอร่อย ความเป็นบวกได้เกิดขึ้นแล้วก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่าฉันได้รับความเป็นอย่างนั้น นี่ข้อนี้มันน่า ไม่ จะไม่มีใครเชื่อว่าผู้กระทำน่ะมันเกิดทีหลังการกระทำ
คำว่า ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ ท่านก็เห็นได้แล้วว่ามันผิด Logic แม้เราจะไปบอกเด็กๆ เด็กๆนั่นเองว่าผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ มันก็ไม่เชื่อ แต่ความจริงมันเป็นอย่างนั้น มันต้องรู้สึกอร่อยก่อนแล้วจึงจะเกิดความรู้สึกว่าฉันอร่อย นี่ผู้ที่จะทำความรู้สึกว่าอร่อยกลับเกิดทีหลังความอร่อย ความอร่อยเกิดก่อน ทำให้เกิดความรู้สึกว่ามีผู้อร่อย นี่มันผิด Logic แต่มันเป็นความจริงที่สุด ถ้าเข้าใจความจริงข้อนี้ได้ ท่านจะเข้าใจเรื่องอนัตตา
แต่ว่าลัทธิอื่นหรือศาสนาอื่นน่ะเขาอาจจะสอนอย่างอื่น คือเขาสอนว่ามีอัตตา มี Ego มี Soul มี Self รออยู่ก่อนแล้ว หรือติดมาแล้วตั้งแต่ในท้อง หรือบางลัทธิจะสอนว่ามันเกี่ยวไปถึงไอ้ชาติอื่นๆ มันมาตั้งแต่ชาติก่อนๆนั้นมาติดอยู่แล้ว รออยู่ก่อนแล้วสำหรับที่จะรู้สึกว่าอร่อยหรือไม่อร่อย ฉะนั้นเขาก็สอนมีอัตตา อัตตาไปตามแบบของเขา พุทธศาสนาบอกว่าความรู้สึกว่าฉันหรือฉันผู้อร่อยนี่ มันๆ Produce ขึ้นมา by ไอ้ๆ โดยๆไอ้ความรู้สึกอร่อยนั้นเอง ขอให้พยายามเข้าใจคำว่า ผู้กระทำนี้มันเพิ่งเกิดโดยการกระทำ สร้างขึ้นมาเป็นไอ้ Misconcept ว่าฉัน ว่า Ego เป็นต้น
ในลัทธิอื่น ในศาสนาอื่นเขาก็จะบอกว่า แม้กระทั่งในต้นไม้ก็ยังมีอัตตานี้ติดมาแล้ว มีอยู่แล้ว บางทีก็ไปไกลกว่านั้น ถึงกับพูดว่าในก้อนหิน ในก้อนหินน่ะมันก็มีอัตตา มี Ego ที่ Dormant อยู่ ยังไม่ลุกขึ้นมา จะพูดกันถึงอย่างนี้ สอนกันถึงอย่างนี้ แต่พุทธศาสนาปฏิเสธโดยสิ้นเชิง
ทีนี้ในแง่ของ Negative ถ้าเด็กทารกได้กินของไม่อร่อย เขาก็รู้สึกไม่อร่อย เขาก็เกิดตัวกูที่เป็นลบ คือโกรธ เขาก็โกรธขึ้นมานี่ ตัวฉันตัวกูก็เพิ่งเกิด เกิดจากความไม่อร่อยหรือ Negative มันเกิดได้ตามธรรมชาติโดยอัตโนมัติ ว่าเด็กคนหนึ่ง เด็กคนหนึ่งเขาเดินไปชนเก้าอี้ เขาก็โกรธ เขาก็เตะเก้าอี้ โดยมีตัวฉันเจ็บ ว่าเก้าอี้กระทำแก่ฉันนี่ เขาสร้างตัวตนขึ้นมาใหม่จากความรู้สึกที่ว่าไม่ชอบ นี่ขอให้มองเห็นว่า ผู้กระทำนี่มันเกิดจากการกระทำนั้นเอง
ทีนี้เด็กอีกคนหนึ่งตรงกันข้าม แทนที่เขาจะโกรธและเตะเก้าอี้ เขากลับกลัวๆๆเก้าอี้ แล้วเขาก็นั่งลงร้องไห้นี่ นี่มันก็มีผลแล้ว ก็เกิดอัตตาอีกชนิดหนึ่ง นำมาซึ่งความกลัว นำมาซึ่งความเสียใจ นำมาซึ่งความทุกข์ ก็แล้วแต่ว่าจะมันจะเป็นอัตตาชนิดไหนแหละ มันเกิดมาจากการกระทำของสิ่งนั้นน่ะซึ่งมิใช่อัตตาหรอก มันมีการกระทำ แล้วมันก็มีผลของการกระทำ มันรู้สึกในผลของการกระทำเป็นบวกและเป็นลบ แล้วมันก็เกิดอัตตาบวก เกิดอัตตาลบขึ้นมาโดยสมบูรณ์
เมื่อความรู้สึกพอใจในฝ่าย Positive เกิดขึ้น มันก็เกิดความพอใจ กระทั่งมันเกิดความรัก ความรู้สึกเป็นความรัก มันทำให้เกิดความรู้สึกว่าผู้รักคือฉันผู้รัก ตัว ตัวผู้รักก็เกิดจากความรัก ดูให้ดีว่าความรักเกิดก่อน ตัวผู้รักนี่เกิดทีหลัง นี่คือความจริงของธรรมชาติ ขอให้สังเกตข้อนี้ตั้งต้น จะเข้าใจอนัตตา
ในกรณีที่ตรงกันข้าม คือมันไม่ชอบ มันเป็น Negative มันไม่ชอบ มันเกิดความรู้สึกไม่ชอบ ความรู้สึกโกรธ ความรู้สึกโกรธก็เกิดขึ้น แล้วก็เกิดตัว ตัวกู ตัว Ego ผู้โกรธนี่ ผู้โกรธเกิดมาจากความโกรธ
ในเรื่องของความเกลียดก็เหมือนกันน่ะ มันรู้สึกว่าไม่ชอบใจ แล้วมันเกลียดโดยความรู้สึก เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ แล้วมันก็ปรุงให้เกิดความเข้าใจผิดว่ากูผู้เกลียด ผู้เกลียดเกิดจากความรู้สึกเกลียด
มีความกลัว มันมีความกลัวแล้วมันจึงเกิดผู้กลัว เด็กคนนั้นไปเดินชนเก้าอี้เจ็บแล้วกลัว แล้วเกิดฉันกลัวนี่ ผู้กลัวมันก็เกิดที มาจากความกลัว นี่เรียกว่าผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ มันไม่น่าเชื่อ มันน่าหัวเราะ แต่มันเป็นความจริงที่สุด
จะยกตัวอย่างที่พอให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ผู้เชี่ยวชาญในการทดลองเกี่ยวกับปลานั่น ไอ้ปลาชนิดนี้มันเป็นปลาดุ แล้วมันก็กินปลาตัวเล็กๆชนิดนั้น ทีนี้ผู้ทดลองก็เอาปลาชนิดนั้นขังไว้ที่นี่ แล้วนี้มีกระจกขวาง กระจกขวางไว้ที่นี่ ทีนี้ไอ้ปลาที่เคยดุที่จะกินปลาตัวเล็กนั่น พอเห็นเข้ามันก็พุ่งเข้าไปจะกินปลาตัวเล็ก แต่มันถูกกระจก ถูกกระจก ถูกกระจกทุกที มันเกือบตาย แล้วทีหลังมันกลัว มันกลายเป็นกลัวปลาเล็กๆชนิดนั้น ไม่กล้าคิดจะกินอีก เห็นที่ไหนก็ไม่กล้ากินอีก เห็นที่ไหนวิ่งหนีเลย ความกลัวทำให้เกิดผู้กลัว คือความโง่หรืออวิชชามันทำให้เกิดผู้กลัว ในกรณีนี้มันบอกพร้อมกันเลยว่า ความกลัวก็ไม่ใช่ของจริง ผู้กลัวก็ไม่ใช่ของจริง แล้วมันก็เกิดมาจากอวิชชา อวิชชา
ความรู้สึกอีกอย่างหนึ่งที่ควรจะสนใจกันเป็นอย่างยิ่งก็คือ ความตื่นเต้น ตื่นเต้นน่ะ Excitement หรืออะไรก็แล้วแต่จะเรียก มันครอบงำเรามาก ถ้าความรู้สึกตื่นเต้นเกิดขึ้นในใจ แล้วก็ผู้ตื่นเต้น ตัวบุคคลผู้ตื่นเต้นมันก็เกิดขึ้นในความรู้สึก ฉะนั้นเราจึงมีความตื่นเต้นที่หลอกให้เราไปแสวงหา ไปดูกีฬา ไปดูมวย ไปดูกายกรรมไอ้ที่มันแปลกๆๆ บางทีท่านมาจากยุโรป จากอเมริกามาเมืองไทยก็เพราะความตื่นเต้นก็ได้ นี้ก็ได้ มีความตื่นเต้นแล้วมันก็เกิดผู้ตื่นเต้น
นี่เรายกตัวอย่างมา เป็นความรัก เป็นความโกรธ เป็นความเกลียด เป็นความกลัว เป็นความตื่นเต้น นี่ก็พอแล้ว มันมีอีกเยอะแยะ แต่ว่าใน ๕ อย่างนี้ก็พอจะให้เราเกิดความรู้สึกได้ว่า ความรู้สึกอย่างไรจะทำให้เกิดความรู้สึกว่าตัวตน ตัวตนซึ่งเป็นเช่นนั้น สรุปความว่า ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ
ทีนี้ก็มาถึงข้อที่ท่านจะต้องคิดดูเอง ที่พุทธศาสนาถือว่ามันไม่มีตัวตน และตัวตนมันก็เกิดใหม่ๆ เกิดชั่วขณะ เกิดชั่วคราวจากความรู้สึกอย่างไร ว่ามันเป็นตัวตนขึ้นมาอย่างนั้น ในพวกอื่นลัทธิอื่นเขาสอนว่ามันมีตัวตนอยู่เป็นประจำ คอยๆที่จะให้รู้สึกติดมาจากท้องแม่ มาคอยทำหน้าที่ที่จะรู้สึกอย่างนั้น นั่นก็พวกหนึ่ง มันตรงกันข้าม ทีนี้ก็ท่านคิดดูเองว่าอันไหนจะเป็น Scientific ที่ถูกต้อง อันไหนจะเป็นวิทยาศาสตร์กว่ากันท่านคิดเอาเองเถอะ แล้วท่านจะต้องคิดเลยไปถึงกับว่าอันไหนจะช่วยดับทุกข์ของเราได้ ความคิดชนิดไหนจะช่วยดับทุกข์ของเราได้ คือความคิดที่ว่า ผู้กระทำเกิดทีหลังการกระทำ กับที่ว่าผู้กระทำเกิดอยู่ตลอดเวลารอคอยอยู่นั่น อันไหนจะเป็นวิทยาศาสตร์กว่า และอันไหนจะช่วยดับทุกข์ของท่านทั้งหลายได้
สิ่งที่จะช่วยให้เราเข้าใจเรื่องนี้ได้โดยถูกต้องก็คือ ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท ที่ท่านได้รับการสั่งสอนในการฝึกที่เซ็นเตอร์ให้รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทก่อน แล้วจึงทำอานาปานสติ เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั่นแหละจะช่วยสอนให้ท่านเห็นชัดไปในลักษณะที่ว่า ผู้กระทำนั่นเกิดทีหลังการกระทำ
ใจความสำคัญของปฏิจจสมุปบาทก็มีอยู่ว่า เรามีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ คือ Sense Organ นี่ แล้วมันก็ได้กระทบกับข้างนอก คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ Sense Object พอมันกระทบกันมันก็เกิด Consciousness ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ในกรณีนี้ท่านๆต้องทราบว่าพุทธศาสนาถือเป็นหลักว่า ไอ้ Consciousness นั่นน่ะมันเป็น Reaction ของการกระทบกันเท่านั้นแหละ แต่ถ้าพวกอื่นลัทธิอื่นก็ต้องมีอัตตาๆๆรออยู่แล้วที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือข้างในใจ แล้วมาทำหน้าที่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เขาสอนให้มีอัตตาสำหรับความมี Conscious น่ะ แต่พุทธศาสนาถือว่ามันเป็น Reaction ของการกระทบระหว่าง Organ กับ Object
พวกลัทธิอื่น ลัทธิอื่นน่ะเขาก็ถือว่าไอ้ Consciousness นั่นมันเป็น Function ของอัตตา Ego ที่มีอยู่ตลอดเวลา แต่พุทธศาสนาถือว่าไอ้ Consciousness นั่นมันเป็น New Reaction ของอายตนะ ๒ อย่างกระทบกัน นี่คือเป็นอนัตตา นี้ก็เป็นขั้นแรกที่สุดที่ท่านจะต้องทราบหรือเห็นแจ้ง realize เลยว่า Consciousness นั้นเป็นอนัตตา
เอ้า, ทีนี้ก็มาถึงผัสสะ ผัสสะ เมื่อตา และก็เมื่อรูป เมื่อ Consciousness นี่ ๓ อย่างนี้ทำงานร่วมกันอยู่น่ะ สิ่งที่เรียกว่า Contact มันก็เกิดขึ้นมาเอง Contact เกิดจาก ๓ สิ่งทำงานร่วมกันอยู่เรียกว่า Contact หรือผัสสะ แต่ผู้อื่นเขา โอ้, อัตตา Contact อัตตาเป็นผู้กระทำ Contact นั่นแหละความต่างกันระหว่างพุทธศาสนากับลัทธิอื่น ดังนั้นเราจึงสรุปความว่า พุทธศาสนาถือว่า ผัสสะมีได้โดยการกระทบของของทั้ง ๓ นี้ มิใช่โดยมีอัตตา Ego อยู่เป็นประจำ พูดสั้นๆที่สุดก็พูดว่า พุทธศาสนาไม่มีผู้ Contact มันเป็นการกระทำ กระทบระหว่างสิ่งทั้ง ๓ เกิดสิ่งที่เรียกว่า Contact แล้วมันก็มีการโง่ว่าไอ้กูเป็นผู้ Contact ทีหลัง
ทีนี้ก็มาถึงเวทนา เมื่อมี Contact แล้วมันก็มี Reaction ออกมาเป็นเวทนา เวทนา มีความรู้สึกที่เป็นบวกบ้าง เป็นลบบ้าง เรียกว่า เวทนา ถ้าฝ่ายลัทธิอื่นเขาก็บอกว่าอัตตา Ego เป็นผู้รู้สึกเวทนานั้น เป็นผู้ทำหน้าที่รู้สึกเวทนานั้น ทำหน้าที่ Contact อ๊ะ, ทำหน้าที่เวทนา แต่พุทธศาสนาไม่ถืออย่างนั้นเพราะเวทนาเป็นเพียง Reaction ของ Contact ไม่มีผู้ Contact ไม่มีผู้เวทนา เวทนาจึงมิใช่ตน
ทีนี้เวทนาก่อให้เกิดความอยาก มันโง่มาตลอดทางแล้วก็ ก็เกิดความอยากที่โง่แหละ เพราะเวทนามันก็โง่เองอยู่แล้ว โง่มาตลอดเวลา ทำให้เกิดความอยากที่เป็นตามความโง่ อยากด้วยความโง่ ไม่ใช่อยากด้วยความรู้ นี่ตัณหาคือความอยาก ถ้าว่าอยากด้วยความฉลาด ด้วยความถูกต้องไม่เรียกว่าตัณหา ต้องเรียกอย่างอื่น อยากด้วยความโง่จะเรียกว่า Desire อยากด้วยความฉลาดจะเรียกว่า Aspiration อะไรก็ตามเรื่อง แต่เดี๋ยวนี้ตัวจริงมันมีตัณหา ตัณหา มันอยากด้วยความโง่ ในเมื่อเราไม่รู้เรื่องนี้ เราก็อยากด้วยความโง่ตลอดเวลา มีตัณหา ตัณหา
ทีนี้ก็มาถึงตอนที่สำคัญที่สุด คือว่ามีตัณหา มีผู้อยาก มันเป็นเพียงความอยาก มันเป็นเพียงความอยาก ความรู้สึกอยาก อยากด้วยความโง่ ความโง่ทำให้อยาก มันเป็นเพียงความอยาก แต่พอความอยากนี้เกิดขึ้นในใจแล้วมันกลับไปรู้สึกว่าผู้อยาก ฉันผู้อยาก กูผู้อยาก ไม่ใช่คิด ไม่ๆใช่รู้ว่ามันเป็นเพียงความอยาก เป็นเพียง Reaction น่ะของเวทนานั่น นี่ขอให้เข้าใจตอนนี้ตอนสำคัญที่สุด มันเกิดผู้อยากขึ้นมาก็เรียกว่า อุปาทาน Upadana, Upadana มันมาจากตัณหา มีตัณหาทีไรก็มี Upadana ว่าเป็นผู้อยากทุกทีไป กี่ร้อยครั้งก็ได้ต่อวันในวันหนึ่ง
คำว่าความอยาก ความอยากนั้นน่ะ มีได้ทั้งฝ่าย Positive และ Negative ท่านอย่าคิดว่าในฝ่าย Negative ไม่เกิดความอยาก มันเกิดความอยากในแง่ตามแบบของๆ Negative ไอ้ Positive นั้นง่าย มันจะเอาๆ แต่ว่าถ้าฝ่าย Negative มันจะฆ่า มันจะทำลาย มันๆเป็นความอยากเหมือนกันแหละ เป็นความอยากที่ตรงกันข้าม นี่มันจึงเกิดความพอใจหรือความไม่พอใจเป็นประจำวัน เรารักหรือเกลียด เรารักหรือเกลียดน่ะแต่ละวันๆนี่ เราโง่ในเรื่องนี้วันหนึ่งกี่ครั้ง กี่สิบครั้ง กี่ร้อยครั้ง กี่พันครั้ง ขอให้สังเกตให้เห็นตัวความอยากที่ทำให้เกิดผู้อยาก ดูเอาเองว่าวันหนึ่งเราโง่กี่ร้อยครั้ง
ขอให้มองเห็นให้ชัดว่าไอ้ตัณหา Desire นี่มันมีทั้งในแง่ Positive และทั้งในแง่ Negative โดยเสมอกัน แล้วมันก็กัดเจ้าของเท่ากันแหละ จะเป็นตัณหาในฝ่าย Positive หรือ Negative ก็ตามมันกัดเจ้าของน่ะ ทำชีวิตหรือเจ้าของชีวิตให้ร้อนให้เป็นทุกข์โดยเสมอกัน Optimism หรือ Pessimism มันก็เกิดขึ้นด้วยความโง่อันนี้ ฉะนั้นเราจงดูให้ดีว่า อย่าให้เราโง่ทุกครั้งที่มีสิ่งที่มากระทบตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจของเรา
เราๆๆต้องโง่ เรียกว่าโง่ คิดว่า Positive Positive นั้นน่ะไม่กัด ไม่กัดเจ้าของ เราจึงชอบพอใจในส่วน Positive เราต้องรู้ว่า Positive นั่นกัดเจ้าของลึก กัดอย่างมีความลับ กัดอย่างลึกซึ้ง กัดอย่างเข้าใจยากยิ่งกว่า Negative เสียอีก แต่เราก็ยังหลงๆใน Positive เราต้องไม่หลงทั้งใน Positive และทั้งใน Negative จึงจะไม่เกิดอาการที่เรียกว่าชีวิตนี้กัดเจ้าของ Positive ก็มิใช่อัตตา Negative ก็มิใช่อัตตา มิใช่ Ego ด้วยกันทั้งนั้น อย่าไปหลงกับมัน
เราทุกคนชอบ Positive เพื่อนมนุษย์ของเราทุกคนในโลกทั้งโลกมันก็ชอบ Positive ก็รักในแง่ของ Positive หารู้ไม่ว่าไอ้ Positive นี่มันก็กัดๆลึก เราสรุปได้ความว่า ถ้าเรารักสิ่งใดพอใจสิ่งใด เราก็เป็นทาสน่ะ เป็นทาส เป็น Slave แหละโดยสิ่งนั้น เรารักสิ่งใดเราเป็นทาสของสิ่งนั้น เราเป็นทาสของสิ่งนั้น แล้วการเป็นทาสนั้นมันสนุกหรือไม่สนุกคิดดูเอง
เรา เราทุกคนๆกำลังบ้า กำลังหลง กำลังรัก Positive มันน่าสงสารที่ว่า เราหลงรักฝ่าย Positive เราหลงรักเท่าไรเราก็เป็นทาส เป็นทาสของมันเท่านั้น เราต้องรับใช้มันเท่านั้น เราต้องแสวงหา เราต้องรักษา เราต้องต่อสู้ เราต้องทุกอย่างที่ว่าจะได้มาซึ่ง Positive และรักษาไว้ อันนี้เรียกว่าเราหลงรักสิ่งที่มันกัดเราโดยไม่รู้สึกตัว ถ้าเราอยู่เหนือสิ่งนี้เสียทีจะดีไหม
ทีนี้เราก็ดูฝ่าย Negative บ้าง ท่านอาจจะคิดว่าเราไม่ชอบ Negative แล้วเราก็ไม่เป็นทาส ไม่เป็นทาสของ Negative นี้ไม่ๆจริง ไม่จริง เราเป็นทาสของ Negative ก็ได้ ถ้าว่าเราต้องเกลียด ต้องโกรธ ต้องกลัว ต้องอิจฉาริษยา ต้องคิดต่อสู้ทำลายล้างซึ่งกันและกัน นี่ไอ้ความเป็นทาสของ Negative น่ะมันดุร้าย นี้มันมืดมนยิ่งกว่าฝ่าย Positive แต่เราก็เรียกว่ามันเป็นทาส เป็นทาสโดยเท่ากัน เราต้องรับใช้มันอย่างที่ทนทุกข์ทรมานเท่ากันน่ะ ถ้าเราไม่เป็นทาสของ Negative เสียทีจะดีไหม
เราจะต้องมองให้เห็นชัดเจนถูกต้องแท้จริงว่า Attach หรือ Detach นั่นโง่เท่ากัน บ้าเท่ากัน ทำให้เกิดความทุกข์เท่ากัน อย่าเอากับมันเลย Attachment หรือ Detachment น่ะ เราอยู่เหนือๆมัน เราจะต้องอยู่เหนือ Attach และ Detach ถ้าเราเห็นอนัตตาแล้วเราจะสามารถอยู่เหนือ Attach และ Detach แล้วเราก็ไม่มีปัญหา ชีวิตนี้ของเราจะเย็น ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ
แล้วก็ ๒ อย่างนี้ใช่ไหม ๒ อย่างนี้เท่านั้นใช่ไหมที่มันรบกวนชีวิตของเราให้เป็นทุกข์ ให้ร้อนเป็นไฟอยู่เป็นประจำวันตลอดชีวิต พุทธศาสนาต้องการจะเป็นอยู่เหนือ เป็นโลกุตตระ ก็คืออยู่เหนือ Attach และ Detach ถ้าเรายังมีอัตตา อัตตาอยู่เพียงไร เราจะต้องมี Attach และ Detach อยู่เพียงนั้น เพราะฉะนั้นเราต้องเอาอัต อัตตาออกไป อัตตาออกไป แล้วก็เป็นอนัตตา ไม่มีโอกาสที่จะ Attach หรือ Detach อีกต่อไป นี้ถ้าเรามีอัตตาเราจะต้องมีสิ่งที่รบกวนเราทั้งวันๆ มันรบกวนเราทั้งวันแหละ
คนธรรมดาเดินถนน คน หมายความว่าคนที่ยังเดินอยู่ในถนนน่ะ คนธรรมดาน่ะ เขาจะชอบ Positive จะรัก จะหลงรัก Positive แล้วเขาก็จะชอบ Attachment แล้วเขาก็จะชอบ Optimism Optimism นี่เป็นทาสของสิ่งนี้โดยไม่รู้สึกตัว แต่จริงๆเราไม่ควรทั้ง ๒ อย่าง ไม่ Attach ไม่ Detach ไม่ Positive ไม่ Negative ไม่ Optimism ไม่ Pessimism นั่นแหละ นั่นแหละคือความรอด คือประโยชน์สูงสุดที่เราจะได้รับ เราต้องเอาอัตตาออกไป เอาอัตตาออกไป แล้วจะไม่มี Positive-Negative ไม่มี Attach-Detach ไม่มี Optimism ไม่มี Pessimism
นัก นักศึกษา นักปรัชญาในยุโรปนั่นบางพวกจัดพุทธศาสนาเป็น Pessimism นี่ดูจะมีมาก Schopenhauer ของเยอรมันก็ดูจะคิดไปในทางนี้ แล้วบางพวกไอ้ Optimism Optimism ไปท่าเดียวอันนี้ไม่ถูก ไม่ถูกทั้ง ๒ อย่างแหละ พุทธศาสนาไม่ Optimism ไม่ Pessimism แต่ว่าจะอยู่เหนือ อยู่เหนือ Beyond หรือ Above ไม่ Pessimism ไม่ Optimism จะทำได้อย่างนั้น ก็ต่อเมื่ออัตตาออกไป อัตตาออกไป เป็นอนัตตา แล้วก็จะไม่เป็น Pessimism หรือ Pess อ่า, Optimism อนัตตา อนัตตาไม่อาจจะเป็น Optimism และ Pessimism อย่าเข้าใจผิด
พุทธศาสนามีวิธีที่จะให้อยู่เหนือ เหนือ Positive-Negative, Pessimism-Optimism, Attach and Detach นั่น นั่นแหละหัวใจของพุทธศาสนา จะมีได้ก็ต่อเมื่อเรามองเห็นอนัตตา อนัตตา ทุกอย่าง ทุกอย่างน่ะมันเป็นอนัตตาเพราะมันเป็นไปตามปัจจัย ตามกฎของอิทัปปัจจยตา จึงเรียกว่ามันเป็นอนัตตา อย่างนี้เราเป็นอิสระ เราเป็นเสรี เสรีชน ไม่เป็น ไม่เป็นทาสของ Positive และ Negative ขอให้มุ่งหมายประโยชน์อันนี้ แล้ว Appetite ในพุทธศาสนาก็จะเกิดขึ้น แล้วท่านก็จะศึกษาได้โดยง่าย จะต้องปฏิบัติได้โดยง่ายด้วย
ขอให้มองดูจริงๆใกล้ๆที่นี่ว่า ดีใจก็เหนื่อย เสียใจก็เหนื่อยใช่ไหม ดีใจก็เหนื่อยแบบดีใจ เสียใจก็เหนื่อยแบบเสียใจ ความรักก็เหนื่อยแบบความรัก ความโกรธก็ๆเหนื่อยแบบความโกรธ Positive มันก็เหนื่อยแบบ Positive Negative มันก็เหนื่อยแบบ Positive เราอย่าเอากับมันทุกคู่ ทั้งๆๆ ทุกๆคู่เราอย่าเอากับมันแล้วเราก็จะ Free เราก็จะอยู่เหนือปัญหา นี่จึงสอนให้รู้จักอนัตตา อนัตตา แล้วเราก็จะไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของไอ้ที่มันเป็นคู่น่ะ ไม่อยู่ใต้อำนาจของ Positive หรือ Negative หรือดีใจ-เสียใจ ทุกอย่าง
เดี๋ยวนี้เราก็สามารถที่จะยืนอยู่เหนืออิทธิพลของ Positive หรือ Negative เวลาที่เราสบายใจที่สุด ขอให้ทุกๆคนได้คิดดูสังเกตดูเถอะ ไอ้เวลาที่เราสบายใจที่สุดเวลานั้นจิตของเราไม่เป็น Positive ไม่เป็น Negative มันเหนือ Positive และ Negative เวลานั้นเราสบายใจที่สุด เราไม่หัวเราะ เราไม่ร้องไห้ เราไม่ดีใจ เราไม่เสียใจ เราไม่ Attach เราไม่ Detach เวลานั้นสบายที่สุด ที่เรียกว่า นิพพาน น่ะ นิพพานไม่ใช่ตาย แต่ว่านิพพานคือเย็น ปราศจากความทุกข์ ปราศจากปัญหา เพราะฉะนั้นขอให้เราพยายามเห็นอนัตตาเถิด เราจะอยู่เหนือ Positive และ Negative โดยประการทั้งปวง เราจะสอนลูกเด็กๆของเรา อย่าให้หลง Positive หรือ Negative มากนัก เราจะสอนลูกเด็กๆของเรานั้นน่ะ อย่าให้โง่เหมือนกับพ่อของมัน
นี่ประโยชน์ของเห็นแจ้งความจริงของธรรมชาติ คือ Natural Truth ว่าทุกอย่างมันเป็นอนัตตา Attach ไม่ได้ Detach ก็บ้า Attach ก็บ้า เราปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่มันเป็นอนัตตา ไม่ Attach ไม่ Detach แล้ว Positive หรือ Negative จะไม่ครอบงำเรา จะไม่ทำให้เกิดปัญหาแก่เรา
ในที่สุดเราจะเห็นได้ว่า ความจริงน่ะมีอยู่อย่างนี้ สิ่งที่เราจะต้องปฏิบัติมีอยู่อย่างนี้ๆ แต่เราก็ปฏิบัติไม่ได้ ดังนั้นเราจึงต้องไปฝึกอานาปานสติ ทำให้จิตของเราสามารถ เข้มแข็ง และจะคม แหลมอะไรทุกอย่างน่ะ เราจึงจะควบคุมปฏิจจสมุปบาทนี้ได้ นี่เรารู้เรื่องปฏิ ปะ ปฏิจจสมุปบาทแล้วเราปฏิบัติไม่ได้ เราต้องทำอานาปานสติ แล้วเราก็จะควบคุมปฏิจจสมุปบาทได้ ฉะนั้นขอให้ท่านทั้งหลายพอใจที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาทให้เข้าใจ แล้วก็ทำอานาปานสติเพื่อจะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทให้ได้ แล้วชีวิตของเราก็จะอยู่เหนือปัญหาทั้งปวง
เมื่อใดเราอยู่เหนืออิทธิพลของ Positive และ Negative เมื่อนั้นเรียกว่าเรามีพระพุทธศาสนา เรามีพระพุทธศาสนา เราอยู่กับนิพพาน ถ้าท่านเป็นคริสเตียนท่านก็พูดได้เลยว่าท่านอยู่กับพระเป็นเจ้า เหนือปัญหาทั้งปวง แต่เราเป็นพุทธเราเรียกว่าเราอยู่กับนิพพาน ในเมื่อเราอยู่เหนืออำนาจของ Positive-Negative โดยประการทั้งปวง
มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องขอร้องให้ท่านหย่าขาดจากสิ่งที่ท่านรักที่สุดคือ Positive จำเป็นต้องเป็นอย่างนี้ หนทางอื่นไม่มี ท่านต้องหย่าขาดกับ Positive และ Negative หนทางอื่นไม่มีที่จะอยู่เหนือความทุกข์ ขอบพระคุณ ท่านเป็นผู้ฟังที่ดีด้วยความอดทน ขอบคุณท่านเป็นผู้ฟังที่ดี ขอยุติการบรรยายในวันนี้.