แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้ เราจะพูดกันถึงสิ่งธรรมดาสามัญอย่างหนึ่งซึ่งมีประโยชน์อย่างยิ่งแก่การที่จะรู้จักพระนิพพาน ที่เรียกในภาษาไทยว่า ความสงัด เรียกในภาษาบาลีว่า วิเวก ซึ่งในภาษาอังกฤษจะตรงกับคำว่า Solitude หรืออะไรก็แล้วแต่ มันมีความหมายของคำว่า Loneliness มากกว่า Singleness เพราะว่า Singleness นี่มันยังไม่แน่ลงไปว่ามันจะสงบสงัด ฉะนั้นขอให้ทำความเข้าใจให้ดีเถอะว่ามันหมายถึงอะไรกันแน่ ความสงัดนี่ ในระหว่าง Singleness กับ Loneliness
ประโยคนั้นน่ะใช้ได้ทั้งเรื่องโลกๆในบ้านเรือน และใช้ได้ทั้งในเรื่องสูงสุดของธรรมะ Solitude is the resting place of the suffering soul. ความหมายนี้จะใช้ได้ทั้งว่าอยู่ในโลกนี่ก็ได้ หรือจะเป็นเรื่องของพระนิพพานก็ได้ และมันมีรากฐานต่ำสุดลงไปถึงกับว่า แม้แต่สัตว์เดรัจฉานน่ะ สัตว์เดรัจฉานทั่วไป มันก็ยังต้องการไอ้สิ่งที่เรียกว่าไอ้ความสงัด มีเวลาที่มันต้องการจะอยู่ตัวเดียว แม้สัตว์เลี้ยงของเรานี่ก็ยังต้องการ ถ้าเป็นสัตว์ป่าแล้วมันต้องการเวลาที่จะอยู่ตัวเดียวนั้นมากกว่าไปเสียอีก ฉะนั้นความต้องการที่จะสงัดนี่มันเป็นสัญชาตญาณอันหนึ่งน่ะ เป็นพื้นฐานอันหนึ่งที่ว่าสิ่งที่มีชีวิตมันมีเวลาที่ต้องการความอยู่สงบสงัด ไม่มีอะไรมาเกี่ยวข้อง
แม้แต่คนเรานี่บางเวลาเราก็ต้องการจะอยู่คนเดียว ไม่ต้องการแม้แต่ว่าคนที่เรารัก เราก็ยังไม่ต้องการให้มายุ่งด้วย มันเป็นความต้องการอย่างหนึ่งของไอ้สัญชาตญาณด้วยเหมือนกัน เพราะว่าถ้ามันจะระคนกันอยู่เรื่อย ไม่มีเวลาสงบสงัดของการอยู่คนเดียวแล้วมันก็ขาดๆๆสิ่งที่จำเป็นหรือมีประโยชน์เอามากๆทีเดียวนี่ ขอให้มองเห็นคุณค่าหรือความหมายของคำว่าวิเวก วิเวกนี้กันให้ดีที่สุด
คำว่า วิเวก วิเวก ในภาษาบาลีนั่น ตามตัวหนังสือแท้ๆมันแปลว่าเดี่ยวหรือหนึ่ง หนึ่งอย่างยิ่งๆ At utmost ever single, singleness at utmost scale วิ At utmost scale เวก หนึ่งหรือเดี่ยว ไอ้คำว่า Solitude จะมีศัพท์เป็นความหมายมาอย่างไรก็ไม่ทราบ แต่คำว่าวิเวกนี้แปลว่าเดี่ยวหรือหนึ่งอย่างที่สุด
แต่ถึงอย่างไรก็ดี คำว่าวิเวกนี้ก็ยังแบ่งได้เป็น ๓ ระดับ ๓ ชั้นหรือ ๓ ระดับ
มันเลยมีอยู่เป็น ๓ ระดับสูงต่ำกว่ากันอย่างนี้ ความต่างกันมันก็มีอยู่ว่า เมื่อไม่มีวัตถุ หรือสิ่งของ บุคคลใดๆมารบกวนเรา เราก็ได้วิเวกในทางกาย เมื่อไม่มีนิวรณ์ ความรู้สึกเลวร้ายใดมารบกวนจิตเรา เราก็มีวิเวกทางจิต เมื่อไม่มีไอ้สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ ยึดมั่นถือมั่นมารบกวนสติปัญญาหรืออุปาทานของเรา เราก็มีวิเวกทางวิญญาณ
ในทางกาย เมื่อเราเป็นอยู่ให้ง่าย ให้ง่ายที่สุด ที่เรียกว่า Plain, Plain Living ให้มากๆนี่ ในบาลีก็เรียกว่ามีธุดงค์ ถ้าเราอยู่ด้วยการเป็นอยู่ที่ง่าย ถือธุดงค์นี่เราก็มีกายวิเวก วิเวกทางกายได้มาก ดังนั้นเราจึงมีศีล รักษาศีล รักษาธุดงค์ในเบื้องต้น เราก็ได้ความวิเวกทางกายเป็นพื้นฐาน ถ้าเราอยู่อย่าง Plain Living เราก็หากายวิเวกได้ง่าย ถ้าเราอยู่อย่าง Luxurious, Luxurious Living เราก็หากายวิเวกยาก
ทีนี้เราก็จะดูกันถึงวิเวกทางจิตที่สูงขึ้นมา ความคิดเลวๆความคิดต่ำๆที่เรียกว่า นิวรณ์ นิวรณ์
พวกความโง่เหล่านี้ มันรบกวนจิตไม่ให้มีวิเวก เอาออกไปเสียได้ทั้ง ๕ หรือว่ามันไม่เกิดก็ตามเราก็มีจิตวิเวก
ขอให้สังเกตให้ดีที่สุดว่า นิวรณ์ทั้ง ๕ นี้มันมีในชีวิตประจำวัน เป็นสมบัติในชีวิตประจำวัน แต่เราไม่ค่อยสังเกต เราก็ไม่ค่อยเห็น เมื่อใดจิตใจมันเป็นๆ มันเป็นไปในทาง Positive มันก็มีกามารมณ์ มีเรื่องทางเซ็กซ์ เมื่อไรมันเป็นไปในทาง Negative มันก็มีโทสะ โกธะ ไม่ชอบ จะฆ่าจะฟัน และเมื่อใดมันไปในทางโง่ ไม่รู้ว่าบวก ไม่รู้ว่าบวกหรือลบนี่มันก็เป็นไปทางโมหะ มันมีถีนมิทธะ กระทั่งวิจิกิจฉานั่น มันมีในชีวิตประจำวันมากมายหลือเกิน แต่ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการทำสมาธิซึ่งท่านกำลังฝึกอยู่น่ะ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการมีสมาธิ สิ่งทั้ง ๕ อย่างนี้ก็ออกไปหมดไม่มีเหลือ หรือว่ามันไม่อาจจะเกิดขึ้นมาได้เลย ถ้ามันเกิดขึ้นมาก็ต้องออกไปหมดไม่มีเหลือ นี้ประโยชน์ของสมาธิทำให้เราได้รับจิตวิเวก
ทีนี้ก็มาถึง อุปธิวิเวก หรือวิญญาณวิเวก ตามตัวหนังสือ อุปธิวิเวกก็แปลว่าวิเวก สงัดจากการถือของหนัก แบกของหนัก ถือของหนัก มีภาระหนักอยู่กับจิตนั่นเรียกว่าไม่วิเวก ถ้าภาระหนักแก่จิตออกไปหมดก็เรียกว่า อุปธิวิเวก หรือวิเวกทางวิญญาณ
การถือของหนักเรียกว่า อุปาทาน ในภาษาบาลี การถือเอาไว้ ถือเอาไว้นี่มันมีอยู่ ๒ ชนิด ฉะนั้นถ้าถือเอาไว้ด้วยความโง่หรืออวิชชาเรียกว่า อุปาทาน เหมือนกับถือของหนัก แต่ถ้าถือเอาด้วยสติปัญญาวิชาความรู้เรียกว่า สมาทาน ถืออย่างดีไม่มีหนัก อุปาทาน ถือไว้โดยความโง่นั่นมันหนัก สมาทาน ถือไว้โดยสติปัญญามันก็ไม่หนัก เราจงมีอะไรหรือถืออะไรไว้ด้วยสมาทาน อย่ามีอุปาทานแล้วมันก็ มันก็ๆไม่มีอะไรหนัก
ที่เรามีถือกันอยู่เป็นประจำวัน ประจำวันตลอดชีวิตนี่มีอยู่ ๔ อย่างน่ะ อุปาทานถือไว้โดยความโง่เขลา มีอยู่ ๔ อย่าง คือ
รวมแล้วมันจึงมีอยู่ ๔ อย่าง ถ้าท่านรู้จักสิ่งทั้ง ๔ อย่างเหล่านี้ดีแล้วจะมีประโยชน์มาก ท่านจะเอาออกไปได้โดยง่าย
ท่านจะต้องสังเกตให้เห็นในที่นี้ว่า สิ่งที่เป็น Positive มันก็ชวนให้ยึดถือไปตามแบบ Positive แม้สิ่งที่เป็น Negative มันก็ยังชวนให้ยึดถือไปตามแบบ Negative อย่าเข้าใจว่า Negative นี้จะไม่ชวนให้ยึดถือ มันก็ชวนให้ยึดถือโดยอุปาทานไปตามแบบของ Negative ทั้ง Positive ทั้ง Negative แหละยึดถือไม่ได้ ถ้ายึดถือเมื่อใดเมื่อนั้นชีวิตนี้จะกัดเจ้าของ
สิ่งที่เป็น Positive มันก็ทำให้เกิดตัวกู ตัวกู Self ตัวกูนี่แบบบวก ไอ้ที่เป็น Negative มันก็ทำให้เกิดตัวกูแบบลบ ทั้งแบบบวกและแบบลบเป็นความติดทั้งนั้น มีเข้าแล้วมันก็ให้เกิดความทุกข์ จึงขอให้เน้นว่า ชีวิตนี้มันจะกัดเจ้าของ ชีวิตนี้มันจะกัดเจ้าของทั้งในแง่บวกและในแง่ลบ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการปฏิบัติสูงขึ้นไปถึงวิปัสสนานั่น เมื่อตะกี้สำเร็จสมาธิ แล้วทีนี้ก็สูงขึ้นไปถึงวิปัสสนาของอานาปานสติ เมื่อนั้นทั้ง Positive และทั้ง Negative มันจะหลอกลวงท่านไม่ได้อีกต่อไป ท่านจะไม่ยึดถือสิ่งใดๆทั้งในแง่ของ Positive และ Negative
ตามธรรมดาคนจะรู้สึกว่า Positive กับ Negative นี้มันตรงกันข้าม มันตรงกันข้าม แต่โดยที่จริงแล้วมันไม่ได้ตรงกันข้ามในกรณีนี้ คือว่ามันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือนั่นเท่ากันเลย ไม่ได้ตรงกันข้าม เมื่อมายึดถือเข้าแล้วมันกัดเอาๆอย่างเสมอกันเลย ในกรณีนี้ Positive และ Negative ไม่ได้เป็นอย่างตรงกันข้าม คือมันเป็นที่ตั้งให้เกิดตัวกู เกิด Ego แล้วก็เกิดความทุกข์โดยเสมอกัน ฉะนั้นรู้จักมันไว้ให้ดีๆ ทั้ง Positive และทั้ง Negative
เราจะเห็นได้ว่า เดี๋ยวนี้เวลานี้แหละ เพื่อนมนุษย์ของเราในโลกนี้ยึดถือ Positive มากเกินไป มากเกินไป อาศัยความยึดถือใน Positive สร้างความเจริญทางวัตถุ ทางวัตถุจนเหลือประมาณ แต่อย่าลืมว่าเขายึดถือใน Positive เท่าใด เขาจะยึดถือใน Negative เท่านั้น เขายึดถือใน Positive มากเท่าใด เขาจะกลัว กลัวไอ้ Negative มากเท่านั้นแหละ เพราะฉะนั้นมันกำลังกัดเราอยู่ทั้ง Positive และทั้ง Negative ขอให้ดูให้ดี
มนุษย์เราในโลกนี้ยึดถือใน Positive มากขึ้นเท่าไร มากขึ้นเท่าไร ไอ้โลกนี้ก็จะวินาศฉิบหายเร็วขึ้นเท่านั้นแหละ เมื่อยึดถือใน Neg อ่า, ใน Positive มันก็เกลียดตัว Negative มันก็เป็นทุกข์เท่ากัน ฉะนั้นเราจะต้องไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของ Positive และ Negative โดยที่เราจะไม่ยึดถือมันเลย ทางรอดของเราก็คืออยู่เหนืออิทธิพลทั้งของ Positive และ Negative จงอยู่เหนืออิทธิพลของทั้ง Positive และ Negative นี้เรียกว่าเราอยู่เหนือโลก นั่นแหละเป็นทางรอดของเรา นั่นแหละคือวิเวก วิเวก วิเวกมากที่สุด สูงสุด เมื่อเราอยู่เหนืออิทธิพลทั้งของ Positive และ Negative
Positive มันทำให้เกิด Ego อย่างบวก Negative ทำให้เกิด Ego อย่างลบ ทั้ง Ego บวก ทั้ง Ego ลบมันกัดทั้งนั้นแหละ หาความว่างหรือวิเวก ความสงบไม่ได้ ขอให้จำคำสำคัญที่สุดไว้ว่า ที่ไหนเมื่อใดมี Ego เมื่อนั้นที่นั้นไม่มีที่สงัด ไม่มีวิเวก ถ้ามันมี Ego เกิดอยู่ในใจ แม้จะไปนั่งในที่สงัด ในป่าช้า ในภูเขา ในถ้ำอยู่คนเดียว มันก็ไม่สงัด มันก็ไม่มีความสงัดหรอก Ego นั่นแหละทำความรบกวน หรือเป็นสิ่งรบกวน ไม่มีความสงัด
ถ้าเราไม่มี Ego ในจิตใจไม่มี Ego ไปนั่งอยู่ที่กลางโรงละครก็ได้ กลางโรงงานที่เต็มไปด้วยเครื่องจักรอันอึกทึกครึกโครมก็ได้ ก็ยังเป็นที่สงัด กำจัด Ego ที่กำลังมีอยู่ในใจเสีย ที่นั้นจะเป็นที่สงัดทันที ไม่ต้องไปป่าช้า ไม่ต้องไปถ้ำในภูเขา ไม่ต้องไปอยู่คนเดียวในที่ไหนๆ ถ้ามี Ego จะไปอยู่ที่ไหนก็ไม่สงัด มันประ ก็ตามไปรบกวน ฉะนั้นที่สงัดที่สุดก็คือที่ๆจิตไม่มี Ego ถ้าท่านประสบความสำเร็จในการทำสมาธิวิปัสสนาของอานาปานสติที่ท่านกำลังฝึกอยู่ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในสมาธิและวิปัสสนานี้ ทั้งโลกเป็นที่สงัดแก่ท่าน
เราดูกันทีละอย่าง มีสมาธิ มีสมาธิ ตามที่กล่าวไว้ในบาลี ถ้ามีสมาธิ นั่งอยู่ที่นี่ เกวียน เกวียนแบบโบราณน่ะ แบบโบราณที่ลากด้วยวัวน่ะ ๕๐๐ เกวียนผ่านไปข้างๆเรานี่ก็มิได้ยิน ที่ยิ่งไปกว่านั้น นั่งสมาธิอยู่ที่นี่ ฟ้าผ่าลงมาที่นี่ วัวควายตายเป็นฝูงอันนี้ก็ไม่ได้ยิน นี่สมาธิมีอำนาจ สามารถที่จะให้เกิดวิเวกในทางจิตได้ถึงอย่างนี้
ทีนี้ก็มาถึง วิเวกโดยวิปัสสนา อย่างที่กล่าวแล้ว ถ้าเรามีวิปัสสนาถึงที่สุด สิ่งที่เป็น Positive หรือ Negative ทั้งสองอย่างก็ทำอะไรเราไม่ได้ จิตได้ลุถึงสิ่งสูงสุดอันหนึ่งที่เรียกเป็นบาลีว่า อตัมมยตา อตัมมยตา คำนี้แปลว่าอะไรๆกระทำแก่จิตไม่ได้ Positive ก็ทำแก่จิตไม่ได้ Negative ก็กระทำอะไรแก่จิตไม่ได้ Produce อะไรก็ไม่ได้ Made อะไรก็ไม่ได้แก่จิต นี่เรียกว่ามี อตัมมยตา นั่นน่ะคือวิเวกที่สุด วิเวกที่สุด วิเวกอย่างนี้เป็นชื่อของนิพพาน
พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงคำว่า อตัมมยตา อตัมมยตา อตัมมยตา นี้มากมายเหลือเกิน แต่แล้วมันๆก็ไม่มาอยู่ใน Vocabulary ทางคำพูดของคนเราในๆโลกนี้ เราไม่ได้ยินคำนี้ มันควรจะมาอยู่ในคำพูดของมนุษย์เรานี้ เช่นว่า Spiritual Equilibrium, Unconcoctability of the Mind, Unconditionability of the Mind ควรจะเป็นคำธรรมดา มาอยู่ในคำที่เราพูดจา พูดจากันอยู่ มาอยู่ใน Dictionary ของเรา นั่นแหละ ไอ้เมื่อนั้นแหละ ไอ้วิเวก วิเวกที่สุดมันจะมาอยู่กับเรา เป็นที่เข้าใจ เป็นที่รู้จักแจ่มแจ้งแก่เรา
ท่านก็เคยได้ยินคำว่า Equilibrium, Equanimity อะไรเหล่านี้ท่านเคยได้ยิน แต่มันไม่สูงถึงระดับที่เป็น Spiritual คืออยู่เหนืออิทธิพลของ Positive และ Negative ฉะนั้นขอให้ Equilibrium ของเรานี้มันมีอยู่บน สูงอยู่เหนืออิทธิพลของ Positive และ Negative นั่นแหละคือวิเวก วิเวก Solitude อันแท้จริง จะเป็น Resting Place of Suffering Soul จะไม่มีความทุกข์เหลืออยู่เลย
วิเวกก็ดี นิพพานก็ดี ไม่ได้แปลว่าตาย ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความตาย ไม่เกี่ยวข้องกับความตาย แต่ว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับความทุกข์โดยประการทั้งปวง เพราะมันอยู่เหนืออิทธิพลของ Positive และ Negative ดังนั้นมันจึงเย็นๆๆๆ เย็นในความหมายพิเศษ มัน Quench, Quench ถึงที่สุด ถึงที่สุดที่มันจะ Quench ได้ นั่นแหละคือวิเวก นั่นแหละคือนิพพาน
เมื่อประสบความสำเร็จในอานาปานสติ เราจะได้รับธรรมะที่มีประโยชน์ที่สุด หรือเครื่องมือที่มีประโยชน์ที่สุด ที่เรียกว่าธรรมะน่ะ ๔ อย่างนะ
๔ อย่างนี้จะเรียงลำดับอย่างไรก็ได้แล้วแต่เหตุการณ์ ถ้าเหตุการณ์อย่างนี้เราเรียงลำดับอย่างนี้ เหตุการณ์อย่างนี้เราเรียงๆลำดับอย่างนี้ คือไม่ๆแน่นอนว่าจะเรียงลำดับอย่างไร เพราะว่าเราต้องเอามาใช้ให้ตรงกับเหตุการณ์ ในกรณีทั่วไปเราก็มีสติระลึกได้ก่อน แล้วเราก็ไปเอาความรู้หรือปัญญามา ปัญญาก็มาทำหน้าที่เป็นสัมปชัญญะ แก้ไขสถานการณ์นั้น ถ้ากำลังไม่พอ ก็เอาสมาธิมา นี่สิ่งประเสริฐสูงสุดที่จะเป็นเพื่อน เพื่อน เพื่อนที่ดีที่สุดของเรานั้นคือ สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ ถ้าท่านประสบความสำเร็จในอานาปานสติ ท่านจะมี ๔ อย่างนี้เหลือเฟือ เหลือใช้และเหลือเฟือ แล้วท่านจะควบคุมชีวิตนี้ให้มีวิเวก วิเวกได้ ไม่มีความทุกข์ความร้อน ไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาอีกต่อไป
ท่านสังเกตให้ดีว่า ถ้าท่านกำหนดลมหายใจตามแบบของอานาปานสติทุกขั้นๆๆที่สอนในเรื่องอานาปานสติ ท่านก็จะมีสติ สติมากพอ แล้วคำว่า สติ สติ คำนี้มันแปลว่าความเร็วแห่งลูกศร มันเป็นภาษาโบราณในอินเดีย มันรู้จักเพียงแค่ลูกศร มันไม่รู้จักปืน มันไม่รู้จักไอ้ไฟฟ้าอะไร ถ้าเปรียบกับเดี๋ยวนี้ก็มีความเร็วเท่ากับกระแสไฟฟ้าที่มีความเร็วขนาดนั้นแหละ ความเร็วในการที่จะระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไร อะไรเป็นอะไรนี่ คือระลึกปัญญา สติไปเอาปัญญามาทันท่วงทีด้วยความเร็วเหมือนกับความเร็วแห่งลูกศร สติตามธรรมดาก็มี ตามสัญชาตญาณมันก็มี แต่มันไม่พอ มันเล็กมันน้อยเกินไป ตามสัญชาตญาณไม่พอใช้ ต้อง Develop, Develop, Develop อย่างนี้แหละเรื่อยไป จนท่านจะมีสติที่สมบูรณ์ที่สุด ไปเอาความรู้คือปัญญามาได้ทันเวลา ทันเวลาอย่างกับความเร็วของไฟฟ้าหรืออะไรทำนองนั้น
เมื่อท่านทำอานาปานสติได้สำเร็จ ท่านก็จะมีสิ่งที่เรียกว่า ปัญญา ปัญญา Intuitive Wisdom หรือ อ่า, ตามปฏิจจสมุปบาท ผู้สั่งสอนจะอธิบายปฏิจจสมุปบาทให้ท่านฟัง ถ้าท่านเข้าใจและท่านรู้ นั่นน่ะคือเรื่องของปัญญา รู้ว่าความทุกข์เกิดอย่างไร ความทุกข์จะดับลงไปอย่างไรนี้เรียกว่าเรื่องของปัญญา ถ้าปฏิบัติอานาปานสติได้ก็จะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทดี แล้วก็จะควบคุมกระแสของปฏิจจสมุปบาทได้ด้วยอำนาจของปัญญา พอเราปฏิบัติอานาปานสติสำเร็จ เราก็มีปัญญาครบทุกอย่าง ครบไว้ ครบทุกอย่าง ไว้ไปใช้เมื่อสถานการณ์อะไรเกิดขึ้นโดยเฉพาะก็เอาไปเฉพาะ เอาไปเฉพาะ โดยสติมันเอาไปนี่ สติขนส่ง ขนส่งปัญญา เอาไปเผชิญหน้าเหตุการณ์ที่มันเกิดขึ้น
ทีนี้เราก็จะดูต่อไปถึงสัมปชัญญะ ในตู้ยา ในตู้ยาของเรามียาทุกอย่าง มียาทุกอย่าง แต่พอเราจะกินยา เรากินอย่างเดียวเท่านั้น เราไม่อาจจะกินยาทุกอย่าง แล้วมันไม่มีประโยชน์อะไร เราเลือกเอามาเฉพาะอย่าง หรือว่าเรามีอาวุธมากมายหลายอย่าง มากอาวุธ ครบหลายอย่าง แต่ที่เราจะใช้ เราใช้เฉพาะอย่างเท่านั้นแหละ นี่ปัญญา ปัญญามากมายครบทุกอย่าง แล้วสติก็ไปเลือกเอามาเฉพาะที่จะมาใช้กับกรณีนี้ ที่จะแก้ไขกรณีนี้ ปัญญาเอามาเฉพาะเหมาะแก่กรณีนี้ นั่นแหละคือสัมปชัญญะ
ช่วยพูดเรื่องอาวุธเสียหน่อย
ทีนี้เราก็เห็นแล้วว่า สติไปเลือกเอาปัญญามาเฉพาะเรื่องมาเป็นสัมปชัญญะ แล้วก็เผชิญหน้ากับเหตุการณ์ ทีนี้มันก็เหลืออยู่แต่ว่ากำลังๆจะพอหรือไม่พอ สัมปชัญญะ ปัญญามาทำหน้าที่เฉพาะนี้ มันเหลืออยู่ว่ากำลังพอหรือไม่พอ ถ้ากำลังไม่พอต้องเพิ่มสมาธิ สมาธิน่ะ ควรจะรู้ว่าสมาธินั้นมันเหมือนกับน้ำหนัก เหมือนกับน้ำหนักนะ ปัญญานั่นเหมือนกับความคม ความคม แม้จะคมอย่างไรถ้าไม่มีน้ำหนัก มันไม่ตัดนะ ฉะนั้นน้ำหนักต้องเพียงพอด้วย เดี๋ยวนี้สัมปชัญญะหรือปัญญาน้ำหนักไม่พอมันยังไม่ตัด ต้องเอาสมาธิมาให้น้ำหนักมันมากพอแล้วมันก็จะตัด เราจึงจำเป็นจะต้องมีสมาธิ เมื่อฝึกอานาปานสติ ก็จะมีสมาธิมากพอ มีสติ มีสัมปชัญญะ มีปัญญา มีสมาธิมากพอ เป็นผลของอานาปานสติ เราก็รอดแหละ เราก็รอด เราเอาชนะความทุกข์ทุกอย่างได้
ต้องสังเกตให้เห็นความเนื่องกันของสิ่งทั้ง ๔ สิ่งทั้ง ๔ นี้ ถ้าเราไม่มีสติ ถ้าเราไม่มีสติ ไอ้ความรู้หรือปัญญาของเราก็เป็นหมัน เพราะไม่ได้เอามาใช้ เพราะไม่ได้เอามาใช้ปัญญาก็เป็นหมัน ถ้าเราไม่มีสมาธิ เราไม่มีกำลัง ปัญญาก็ไม่ตัด ไม่มีอำนาจที่จะตัด สัมปชัญญะก็ไม่มีอำนาจที่จะตัด มันก็เป็นหมันอีกเหมือนกัน สติไปเอามาให้ได้ทันเวลา แล้วสมาธิก็ให้กำลังพอ แล้วความคมมันก็ตัดๆๆ เราจึงต้องอาศัยทั้ง ๔ อย่างนี้ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้
ดังนั้นจึงขอร้องว่า ในการที่จะฝึกอานาปานสติที่เซ็นเตอร์ของเรานั้น ท่านจงพยายามให้ดีที่สุดที่จะเอามาให้ได้ เก็บขึ้นมาให้ได้ แล้วก็มีให้ได้ทั้ง ๔ อย่าง ๔ อย่าง ทั้ง ๔ อย่างนี้ ยกเว้นไม่ได้แต่อย่างเดียว สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ เอามาให้ได้จากการฝึกของเรา แล้ว ๔ อย่างนี้ก็จะเป็นเพื่อนที่ดีที่สุด เรียกว่าเป็นเพื่อนคู่ชีวิต เป็นเพื่อนคู่ชีวิตที่จะช่วยเราน่ะ คนรักของเราก็ช่วยเราอย่างนี้ไม่ได้ สามีของเราก็ช่วยไม่ได้ ภรรยาของเราก็ช่วยเราไม่ได้ ที่จะเป็นเพื่อนคู่ชีวิตอย่างกับว่าไอ้ธรรมะ ๔ อย่างนี้ ฉะนั้นขอให้เก็บเอามาให้ได้ทั้ง ๔ อย่าง แล้วก็เป็นเพื่อนคู่ชีวิตจนตลอดชีวิต ชีวิตนี้จะมีวิเวกหรือนิพพาน
ท่านจะเรียกมันว่าเพื่อนคู่ชีวิต เพื่อนคู่ชีวิต Life Mate หรืออะไรก็ตามเถอะ แต่ขอให้นึกถึงไอ้ความหมายอีกอย่างหนึ่งของสิ่งเหล่านี้ ที่เราเรียกกันในภาษาไทยว่า องครักษ์ บอดี้การ์ด บอดี้การ์ดนั่น ขอให้ ๔ ตัวนี้เป็นบอดี้การ์ด แล้วชีวิตนี้จะมีวิเวก ก็จะปลอดภัย จะปลอดภัยจากสิ่งรบกวน หรือความทุกข์ หรืออะไรทั้งหมด ให้มี ๔ อย่างนี้ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ ขอแสดงความหวังอย่างยิ่งว่าให้ท่านปฏิบัติอานาปานสตินะ แล้วก็ประสบความสำเร็จในการมี ๔ อย่างนี้เป็น Life Mate ก็ได้ ให้เป็นบอดี้การ์ดก็ได้ ขอให้สำเร็จ เมื่อมีธรรมะ ๔ อย่างนี้เป็นองครักษ์อย่างนี้แล้ว ไม่มีอะไรกัดท่านได้ Positive ก็กัดไม่ได้ Negative ก็กัดไม่ได้ อะไรๆก็กัดท่านไม่ได้ เรียกว่าชีวิตไม่กัดเจ้าของ นี่ประโยชน์สูงสุดของมันก็คืออย่างนี้
ท่านจะเห็นได้แล้วว่า ท่านจะเห็นได้เองแล้วว่า วิเวก วิเวกนั่นมันก็คือเสรีภาพ เสรีภาพหรืออิสรภาพนั่นเอง ไม่มีวิเวกก็ไม่มีเสรีภาพ ไม่มีอิสรภาพ ฉะนั้นขอให้พยายามมีวิเวก วิเวกนี้ให้จนได้ แล้วมันจะมีไอ้ หมดปัญหาแหละ จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แหละ Man-Perfected จะเป็นมนุษย์ยอดสุด มนุษย์สมบูรณ์ที่เรียกว่า พระอรหันต์หรืออะไรแล้วแต่จะเรียก เพราะว่าเรามี รอด รอดออกไปได้โดยวิเวก Emancipation จากปัญหาทุกอย่าง ความทุกข์ทุกอย่าง รอดออกไปได้เพราะสิ่งที่เรียกว่าวิเวก ดังนั้นวิเวกก็คือเสรีภาพหรืออิสรภาพ
ในการฝึกที่เซ็นเตอร์ของเรา ผู้สอนก็จะแนะเรื่องปฏิจจสมุปบาทก่อน นี่มันเป็นเรื่องฝ่ายทฤษฎี รู้ว่าความทุกข์เกิดอย่างไร ความทุกข์ดับอย่างไร รู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทดี แต่แล้วเราก็ยังบังคับมันไม่ได้ เราไปฝึกอานาปานสติ ฝึกอานาปานสติ กระทั่งเรามีสติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ แล้วเราจะบังคับกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ คือเราควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ ให้ไม่เกิดทุกข์แหละ หรือจะได้ ถ้าจะเกิดก็เกิดแต่ความไม่มีทุกข์ มันเรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งซึ่งคุณจะไม่เคยได้ยินว่า ปฏิจจนิโรธ น่ะ อันนี้ปฏิจจสมุปบาท มันเกิดขึ้น ปฏิจจนิโรธ มันดับลง มีสติ ปัญญา สมาสะ อ่า, วิ สัมมาสมาธิแล้วเราก็จะทำให้ปฏิจจสมุปบาทมันกลับกลายเป็นลง เป็นดับลง ความทุกข์มันดับลง นี่ปัญหามันก็หมด เราควบคุมความทุกข์ได้ทุกอย่างทุกประการ ชีวิตนี้ไม่มีปัญหาใดๆเหลืออยู่ นี่คือวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเป็นอย่างนี้
ทีนี้ปัญหาก็เหลืออยู่แต่ว่าเราจะต้องทำซ้ำๆๆ พระพุทธเจ้าท่านตรัสมากเรื่องนี้ว่า พหุลีกตา ภาวิตา คือทำซ้ำๆๆๆจนกว่าเราจะมีอำนาจเหนือมัน เดี๋ยวนี้เราเพียงแต่เรียนศึกษาครั้งแรก มันยังไม่ๆพอ ไม่สำเร็จ เราต้องซ้ำๆ เรียนปะ เรื่องปฏิจจสมุปบาทซ้ำๆๆ แล้วก็ปฏิบัติอานาปานสติซ้ำๆๆ เรียนก็เรียนปฏิจจสมุปบาทซ้ำๆๆ ปฏิบัติก็ปฏิบัติอานาปานสติซ้ำๆๆ แม้ท่านจะไปจากที่นี่แล้วก็ขอร้องให้ซ้ำๆๆๆ ทำความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วปฏิบัติอานาปานสติ จะมากลับมาใหม่อีกก็ได้ มาทำความเข้าใจซ้ำ ปฏิบัติซ้ำๆๆจนให้สำเร็จประโยชน์ ขอให้ท่านพยายามซ้ำๆ จะเป็น Repeat หรือ Emphasize อะไรก็ตามเถอะ ซ้ำๆๆให้มันสำเร็จประโยชน์ให้จนได้ ขอแสดงความหวังว่าท่านทั้งหลายทุกคนจะประสบความสำเร็จในเรื่องนี้
ท่านๆจะต้องทำกับมันอย่างวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่เพียงว่าเชื่อๆๆๆอย่างนี้ไม่ได้ เพราะว่า ปฏิจจสมุปบาทก็ดี อานาปานสติมันเป็นกฎของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติ ซึ่งใครๆบังคับไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ เราได้แต่ปฏิบัติตาม ฉะนั้นท่านต้องไม่ใช่เพียงแต่เชื่อ หรือท่านต้องปัด อ่า, ต้องทำมาแต่กับมันอย่างวิทยาศาสตร์ เข้าใจ แล้วปฏิบัติ แล้วควบคุมมันให้ได้ นี่จึงจะสำเร็จประโยชน์
ต่อไปนี้ท่านก็จะเป็นผู้ควบคุมชีวิต ไม่ใช่ชีวิตควบคุมท่าน ท่านต้องควบคุมชีวิต ต่อไปนี้ก็จะไม่มีปัญหาเรื่องชีวิต ชีวิตจะไม่กัดท่านอีกต่อไป ท่านจะสามารถควบคุมชีวิต นี่ขอให้สำเร็จประโยชน์ดั่งที่กล่าวมานี้ ขอขอบคุณเป็นอย่างมากในการที่ท่านทั้งหลายเป็นผู้ฟังที่ดี แล้วก็จะเป็นผู้ปฏิบัติที่ดีต่อไปด้วย ขอยุติการบรรยาย.