แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้มีความสนใจในธรรมทั้งหลาย การบรรยายในวันนี้อาตมา จะกล่าวโดยหัวข้อว่า อานาปานสติโดยประสงค์ อานาปานสติโดยประสงค์ มีความประสงค์ที่ใหญ่ก็คือให้สามารถปฏิจจสมุปบาทได้ตามที่เราได้ศึกษากันมาแล้ว อาตมาก็ประสงค์เช่นนั้นเลยขั้นปฏิบัติปฏิจจสมุปบาทได้ และท่านทั้งหลายก็ควรจะประสงค์เช่นนั้น คือปฏิบัติอานาปานสติได้ แล้วก็จะปฏิบัติปฏิจจสมุปบาท ได้ตามประสงค์ เนี่ย คำว่าอานาปานสติโดยประสงค์หมายความว่าอย่างนี้ อานาปานสติช่วยให้เกิดความเป็นไปได้ของการประยุกต์ปฏิจจสมุปบาท และยังให้มีสมรรถนภาพทางจิตในแขนงอื่นๆ อีกมากมาย ดังนั้นเราจึงฝึกอานาปานสติ เอ้าทีนี้ก็มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำแปลอ่าของคำๆ นี้ อานาปานสติ แปลว่า สติเป็นไปได้ในทุกครั้งที่หายใจ เข้า ออก สติเป็นไปในทุกครั้งที่หายใจเข้าและออก ทีนี้มันจะต้องรู้ว่า เป็นไปในอะไร เป็นไปในอะไร เป็นไปในอ่าธรรมหรือความรู้หรือสัจจะหรืออะไรก็ ก็แล้วแต่จะที่เอามาเป็นอารมณ์ มันเป็นไปได้ทุกครั้งที่หายใจ เข้า ออก พูดอย่างภาษาธรรมดาๆ ก็ว่า กำหนดพิจารณาสิ่งใดสิ่งหนึ่ง อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้าออก โดยแท้จริงก็คือ กำหนดธรรมะอันลึกซึ้งหรือสัจธรรม สัจธรรมอ่าของธรรมชาติข้อใดข้อหนึ่งอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้า ออก คำแปลมันเป็นอย่างนี้ ทีนี้อะไรที่เอามาทำการกำหนดอยู่ทุกครั้งที่หายใจเข้า ออก โดยหลักนี้ก็คือ สิ่งทั้งสี่ คือ กายอย่างหนึ่ง เวทนาอย่างหนึ่ง จิตอย่างหนึ่ง ธรรมะ สภาวะธรรมชาติอีกอย่างหนึ่ง รวมเป็นสี่ ฝึกฝนเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้จนสามารถควบคุมสิ่งเหล่านี้ ท่านทั้งหลายฟังดูให้ดี ปฏิบัติฝึกฝนนานาประการในสิ่งทั้งสี่นี้ จนกระทั่งสามารถควบคุมสิ่งทั้งสี่นี้ไม่ให้เกิดโทษ แต่ให้เกิดประโยชน์เต็มที่ตามความหมายที่เราประสงค์หรือต้องการ ปัญหาปลีกย่อยเบ็ดเตล็ดนิดหน่อยเกี่ยวกับคำพูดเอ่อ อานาปานะ อานะ อาปานะคำนี้ จะแปลกันว่า เข้าหรือออก ออกหรือเข้า คำอธิบายในอรรถกถา แย้งกันอยู่เป็น 2 อย่าง เป็น 2 พวก แต่ควรจะยึดถือเอาพวกที่ใช้คำว่า เข้าและออกเนี่ยเป็นหลัก คือมันเป็นธรรมชาติ อิงอาศัยหลักธรรมชาติ เมื่อมนุษย์เราเกิดมาจากท้องมารดา การหายใจครั้งแรก มันหายใจเข้าหรือหายใจออก พวกแพทย์เขายืนยันว่า อยู่ในท้องมารดา ปอดไม่มีลมเลย แน่นแป้กเลย ตันเลย พอออกมาจากท้องมารดาก็ต้องหายใจเข้า เข้าไป ให้ปอดมีลม เสร็จแล้วมันจึงหายใจออก ตั้งต้นด้วยการหายใจเข้าแล้วจึงหายใจออก มันควรจะถือเอาตามหลักของธรรมชาติว่า คำพูดนี้แปลว่าอะไร แปลว่าหายใจเข้าและออก หายใจเข้าแล้วออก อานะก็เป็นอันว่า เข้า อาปานะก็แปลว่า ออก แล้วทีนี้เราก็จะต้องรู้ว่า อานาปานสตินี้แบ่งเป็น 4 หมวด 4 หมวดดังที่กล่าวแล้ว หมวดที่ 1 เกี่ยวกับกาย หมวดที่ 2 เกี่ยวกับเวทนา คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่เข้ามากระทบ หมวดที่ 3 เกี่ยวกับธรรมชาติของจิตทุกชนิดทุกความหมายทุกลักษณะ หมวดที่ 4 เกี่ยวกับธรรมสภาวะที่เป็นปัญหา ที่ไม่เป็นปัญหา ที่เราจะต้องรู้ ที่เราจะต้องจัดการให้ถูกต้องอ่าโดยประการทั้งปวง เราจะต้องทำ กระทำเพื่อให้รู้จักสิ่งทั้งสี่นี้ชัดเจนแจ่มแจ้ง ละเอียด และใช้เป็นประโยชน์มากที่สุดให้ได้ สิ่งที่จะต้องตระเตรียมบ้าง ก็คือจมูกที่เหมาะสม ให้หายใจคล่องหรือไม่ขัด การเตรียมจมูกนี้ก็เป็นของธรรมดา ถ้ามันดีอยู่แล้วก็ไม่เป็นไร ถ้าไม่สะดวก ขัดข้องก็ ก็มีการปรับปรุงบ้าง หายใจเสียให้คล่องหรือสูดน้ำเข้า สูดน้ำออกให้มันหายใจคล่อง นี่เป็นอุปกรณ์สำคัญที่ว่าจะต้องมีจมูกเหมาะสม ทีนี้ก็จะต้องมีท่านั่งที่เหมาะสม เหมาะสมในที่นี้มีเหตุผลว่า มั่นคง ท่านั่งนั้นมั่นคง จะล้มไม่ได้ จะเอียนเอง เอนเอียงไม่ได้แม้ในขณะที่จิตเป็นกึ่งสำนึกหรือไร้สำนึก ไอ่ไอ่ไอ่ท่านี้มันแข็ง มันคงที่ มันล้มไม่ได้ จึงมีท่านั่งในลักษณะที่ว่า มีฐานกว้างพอ แล้วก็มีน้ำหนักของร่างกายดิ่งอยู่ตรงกลาง มันก็สมดุล มีลักษณะเหมือนปิรามิด ปิรามิดของพวกอียิปต์ มันทำอย่างนั้นน่ะ มันมันมันไม่มีทางที่จะล้มได้ จึงเกิดท่านั่งที่เรียกว่า ที่เราเรียกกันว่า ขัดตะหมาดน่ะ ขัดตะหมาด เพราะขาขัดกันเนี่ย ที่หลวมๆ ก็เรียกว่า บัว นั่งขัดตะหมาดบัวอย่างซ้อนกันเฉยๆ อย่างนี้ ใช้เข้มข้นขึ้นไป ก็เรียกว่า เพชร คือเอาขาข้างล่างเนี่ยมามาไว้ข้างบนนี้อีกทีหนึ่ง เป็นขัดตะหมาดเพชรอย่างนี้ ล้มไม่ได้ ล้มไม่ได้ มันแน่นอัดมันขัดกันอยู่ เหมือนกับลักษณะของปิรามิดต่อให้กลิ้งไปก็ไม่ล้ม มันก็ไม่ ก็ไม่คลายออกจากกัน ถ้านั่งอย่างเพชร อาตมาพบเห็นในรูป catalog ของพิธภัณฑ์ พิพิธภัณฑ์นะของประเทศอียิปต์ เป็นรูปหินก้อนหนึ่งเท่าคนน่ะสลักเป็นคนสวยงามทุกอย่าง แล้วก็นั่งในท่าที่เราเรียกกันในบ้านในเมืองไทยว่า ขัดตะหมาดเพชร ขาขัดเรียกขัดตะหมาดเพชร มือซ้อนกันอยู่อย่างนี้ นี่ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนาเลย ไม่เกี่ยวกับพุทธศาสนาเลย คำอธิบายระบุไว้ว่าไอ่หินก้อนนั้นน่ะหินสลักก้อนนั้น สี่หรือห้าพันปีมาแล้ว มันก่อนพุทธกาลเท่าตัว มันอธิบายว่าเป็นรูปของพระ เป็นท่านั่งของพระหรือท่านั่งของทนายความ เขาเขียนไว้อย่างนี้ นี้สะ..แสดงว่าแม้แต่พวกทนายความ พวกทนายความก็มีการนั่งในลักษณะของความเป็นสมาธิสูงสุด มนุษย์รู้จักนั่งขัดสมาธิ ขัดตะหมาดที่เรียกกันว่าแบบวัชรอาสน์ ขัดตะหมาดเพชรเนี่ยมาตั้งสี่ ห้าพันปีมาแล้ว พวกนี้อย่าอวดดี ไอ่พวกน้ำชาล้นถ้วยนี่อย่าอวดดีนักน่ะ มันไม่ใช่ของใหม่ ไม่ใช่ของแกคิดขึ้นเดี๋ยวนี้ ถึงแม้ ในอินเดียเองก็น่าจะรับมาจากพวกอียิปต์ สี่ ห้าพันปีมานี้ก็ได้ แล้วเป็นอันสรุปความว่า นั่งในลักษณะที่มัน ล้มไม่ได้ แม้จิตเป็นสมาธิ กึ่งสำนึก ไร้สำนึก มันก็ล้มไม่ได้ มันคงนั่งอยู่ได้เนี่ยเราจะนั่งด้วยวิธีนี้ ในที่ที่สงัด คำว่าสงัดนั้น อย่าไปยึดมั่นถือมั่นให้มันมากนักเลย อย่าไปยึดมั่นถือมั่นให้มันมากนัก จะต้องไปที่นั่น ต้องไปอย่างนั้น ไปนั่งในถ้ำในอะไร มันไม่มีอะไรรบกวน ถ้าเราไม่สนใจมันก็ไม่มีอะไรรบกวนหนิ เมื่ออาตมาไปเที่ยวอินเดียเห็นพวกที่ฝึกโยคะนั่นมันนั่ง นั่งกันอยู่ในที่ที่ทั่วไปในโบราณสถานที่มีคนมาเที่ยวกันเกลื่อนกล่น มันก็นั่งอย่างนี้ มันก็นั่งอยู่อย่างนี้ คนก็เดินผาด เดินผ่าน เฉียดไปเขกหัวเล่นก็ได้ ในในลักษณะอย่างนี้ มันไม่รู้ไม่ชี้ มันก็เป็นที่สงัดได้ทุกหนทุกแห่ง ไม่ต้องไปที่พิเศษอะไร คำว่าไปสู่ที่สงัด ที่ที่เอ่อโคนไม้ หรือที่ว่านั้นมันก็เพียงว่ามันสงัดกว่าที่ในกุฏิ ในที่อยู่ เรื่องอากาศมันก็ดี ความสงัดจะเกิดขึ้นสูงสุดในเมื่อเราลืมตัวกูเสีย ถ้าจิตมันมีความรู้สึกหมายมั่นเป็นตัวกูอย่างนั้น ตัวกูอย่างนี้ กูจะนั่งสมาธิ กูจะทำอย่างเนี่ย ไม่ไม่สงัดหรอก ลืมตัวกูเสียโดยประการทั้งปวงที่ไหน ก็จะกลายเป็นที่สงัดแท้จริงสูงสุดขึ้นที่นั่นเสมอไป เพราะนั้นหาไม่ยากหรอก คุณลืมตัวกูซิ นั่งกลางโรงละครก็ทำได้ เอ้ากล้าท้าเลย แต่คนมันไม่เชื่อ นั่งข้างเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมก็ได้ มันลืมตัวกู มันไม่ได้ยิน มันไม่สนใจ มันไม่สนใจอะไรหนิ เพราะนั้นคนที่มันแก้ตัวต่างๆ นานา ต้องอย่างนั้น ต้องอย่างนี้ เอาแหละยอมไปที่สงัดพอสมควรแล้วก็นั่งลง ไม่ทำในใจถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่งนอกจากลมหายใจที่จะหายใจกันต่อไป เกี่ยวกับลมหายใจ เพื่อความง่ายเพื่อความสะดวกในการฝึก ท่านก็ควรจะรู้ไว้ล่วงหน้าบ้างก็ได้ว่ามันมีลมหายใจที่ ที่หนัก หนักหน่วงอย่างยิ่ง แล้วก็ตามปกติ แล้วก็เบาที่สุด เบาที่สุดเนี่ย เป็น 3 ชนิด เป็น 3 ขนาดกันอยู่ ที่ว่าหนัก หนักที่สุดหรือยาวที่สุดเต็ม เต็ม เต็ม เต็มมาตรฐานที่สุดนั่นน่ะ มันก็มีลักษณะไปทางหนึ่ง ที่ปกติก็มีลักษณะไปทางหนึ่ง ที่ทำเป็นพิเศษให้เบาที่สุดก็มีลักษณะไปทางหนึ่ง ตามปกติ ตามปกตินี่ก็พูดกันหรือถือกันหรือเข้าใจกันว่า ถ้าเราหายใจเข้าไป ไอ่ท้องมันก็ป่องออก พอเราหายใจออก ท้องมันก็ยุบ อย่างนี้เด็กๆ ก็ฟังออก เด็กๆ ก็เข้าใจได้ เด็กๆ ก็ทำได้ คือหายใจปกติ แต่ถ้าหายใจหนักเป็นพิเศษโดยปกตินั้นมันกลับตรงกันข้าม ท่านทั้งหลายลอง อ่าลองไปทดลองดูเอง ไปนั่งแล้วก็ทดลองดูเอง หายใจที่ชนิดหนักเป็นพิเศษ ถ้าหายใจเข้าเต็มที่ หายใจเข้าเต็มที่เนี่ยมันพองในส่วนบนแล้วมันแฟบในส่วนล่าง ส่วนท้องมันแฟบน่ะ หายใจเข้าเต็มที่สุดเหวี่ยงแล้วมันจะแฟบในส่วนล่าง มันจะพองส่วนบน ส่วนอกอ่ะ พอหายใจออกห่ะตรงกันข้าม ส่วนบนนี่มันจะแฟบ ส่วนล่างมันจะพอง นี่เรียกว่าหายใจชนิดหนัก ผิดผิดธรรมดา แต่ถ้าหายใจ ถ้าหายใจเข้าออกตามธรรมดา หายใจ หายใจเข้ามันก็พอง หายใจออกมันก็ยุบ แต่ทีนี้ถ้ามันมีการหายใจที่พิเศษที่ละเอียดสุดเหวี่ยง ละเอียดสุดเหวี่ยง มันก็ไม่ค่อยจะพองไม่ค่อย จะยุบ ถ้าลมหายใจมันละเอียดถึงที่สุดอย่างในขณะแห่งจตุตถฌาณ เป็นต้น มันมันไม่มีการพอง มันไม่มีการยุบหรอก มันเหมือนกับไม่ได้หายใจอย่างงั้น มันเหมือนกับไม่หายใจ มันจะลองดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ หายใจหนักเต็มที่ หายใจเข้า มันก็พองข้างล่าง ยุบข้างบน หายใจออกมันก็ยุบ เอ่อยุบข้างล่างพองข้างบน หายใจปกติ ก็อย่างปกติ แต่หายใจละเอียดละเอียดจนไม่รู้สึกว่าเข้าหรือออกน่ะนั่นอีกอย่างหนึ่ง แล้วก็มักใช้คำเรียกว่า หยุดการหายใจ อาตมาเชื่อว่าที่ว่าหยุดการหายใจของจตุตถฌาณนั้นมันหายใจเบาจนไม่รู้สึกมีอา.. มีอาการเข้าหรืออาการออก ไม่ใช่มันไม่หายใจเสียเลย ถ้าไม่หายใจเสียเลย มันตายแน่แล้ว ถ้านั่งเป็นชั่วโมง ชั่วโมง ไม่ไม่หายใจเสียเลย มันตายแน่ แต่ว่ามันเบาจนไม่รู้สึกว่าเข้าหรือออก ทำดูเดี๋ยวนี้ก็ได้ ลองดูดิ หายใจให้เบา เบา เบา จนไม่มีความหมายว่าเข้าหรือออก ไปหัดทำเสียทั้งสาม สามชนิด ชนิดแรงหนักสุดเหวี่ยงอาการอย่างนั้น ชนิดปกติธรรมดาอาการอย่างนั้น ชนิดเบาละเอียดละเอียดเหลือประมาณอาการมันอย่างนั้น อย่างที่ว่ามาแล้ว ถ้ามันละเอียดละเอียดสุดเหวี่ยงแล้วมันจะไม่มีความรู้สึกพองยุบ เหมือนกับว่าไม่ได้มีการหายใจ แต่ทำไมมันไม่ตาย มันมีการหายใจอยู่อย่างละเอียด อย่างซ่อนอยู่ในนั้น นี่เรารู้จักการหายใจไว้ล่วงหน้าแล้วเราก็จะทำ อานาปานสติ ซึ่งมันจะผ่านการหายใจ 3 ชนิดนี้ไปตามลำดับ ในชั้นแรกก็เป็นการซักซ้อมซักซ้อมที่สุด พอหายใจสุดเหวี่ยงออกเป็นอย่างไร นะหายใจสุดเหวี่ยงเข้าหมดที่สุดเป็นอย่างไร หายใจออกหมดที่สุดเป็นอย่างไร ซักซ้อมเสียให้ปอด ให้อะไรต่างๆ มันคล่องตัวถึงที่สุด ไม่ไม่หลอกลวงอะไร ทีนี้ก็มาหายใจตามธรรมดาตามธรรมดาตามสบายตามปกติ แล้วก็มาหายใจละเอียดละเอียดจนไม่มีลักษณะอาการพองยุบ เข้าออก ทีนี้ก็ปล่อยไปตามที่มันจะเป็น ก็มันจะพร้อมที่จะเป็นอย่างไรได้ เลือก เลือกหรือไม่เลือก มันเลือกของมันเอง มันก็มาเริ่มการปฏิบัติหมวดที่ 1 คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ขั้นที่ 1 ของหมวดนี้ก็กำหนด ลมหายใจยาว ลมหายใจยาวเป็นลักษณะปกติของร่างกายที่ปกติ ลมหายใจสั้นเป็นลักษณะของร่างกายที่ ไม่ปกติ มีอะไรแทรกแซง เพราะนั้นก็ปล่อยให้ยาว ยาวตามสบาย ยาวตามธรรมชาติ ยาวตามที่เรารู้สึกพอใจ กำหนดอยู่ตลอดทางที่มันยาวเข้ายาวออก ยาวเข้ายาวออก แต่ไม่ใช่กำหนดเฉยๆ ในการกำหนดนั้นมันต้องให้รู้ว่า ลมหายใจยาวมีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร จิตใจรู้สึกอย่างไร ให้เกิดผลแก่จิตใจอย่างไร เกิดผลแก่ร่างกายอย่างไร นั่งหายใจยาว กำหนดลมหายใจยาวจนรู้จักอย่างนี้ดี เข้าใจเรื่องหายใจยาวทุกแง่ทุกมุม กี่อย่าง กี่สไตล์ นี่เรียกว่ารู้จักลมหายใจยาวถึงที่สุด ทีนี้ขั้นที่ 2 ลมหายใจสั้น เข้าหรือออกก็ตาม มันสั้น มันสั้นเพราะมีสิ่งเอ่อภายนอกมีอิทธิพลหรือว่าเราจะบังคับให้สั้น ถ้าอารมณ์ปกติมันยาวตามปกติ ถ้าอารมณ์ไม่ปกติมันก็สั้นไปตามเหตุการณ์ ทีนี้มันมาครอบงำเรา จึงกำหนดไว้ให้ดีว่า สั้น มันอย่างไร เพราะอะไร มีลักษณะอย่างไร มีอาการอย่างไร มีอิทธิพลแก่ร่างกายอย่างไร มีอิทธิพลแก่จิตใจอย่างไร รู้จักไอ่ความจริงตามธรรมชาติของมันให้หมดทุกอย่างทุกประการ ภาษาชาวบ้าน ตกกระโดก (ไม่มั่นใจ/23.13) หน่อยจะได้รู้จักกำพืด กำพืดของมันนั่นน่ะ กำพืดของมันก็คือรู้หมดเกี่ยวกับเรื่องนั้น เรื่องเรื่องเรื่องของมัน รู้จักกำพืดชัดเจนทบทวนละเอียด ทั้งที่เป็นลมหายใจยาว และทั้งที่เป็นลมหายใจสั้น ขั้นที่ 1 จัดการให้รู้จัก ลมหายใจยาว ขั้นที่ 2 จัดการให้รู้จักลมหายใจสั้น อ่าในทุกแง่ทุกมุมดังที่กล่าวแล้ว ก็ทำความคุ้นเคย ทำความคุ้นเคยจนรู้จักสิ่งเหล่านี้ดี ทีนี้พอมาถึงขั้นที่ 3 มากำหนดรู้ กาย 2 กาย กายที่บาลีว่า สัพพกายปฏิสังเวที เนี่ย สัพพะ มันแปลว่า ทั้งปวง มันทั้งปวงอย่างทุกชนิด ไม่ใช่ทั้งปวงอย่างในชนิดเดียว เต็มที่ในชนิดเดียวเนี่ย มันมันทั้งปวงคือทุกชนิด พวกที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ ที่ใช้เป็นตำราแปลผิดๆ มันแปลว่า whole whole ที่จริงคำนี้ต้องแปลว่า all all คือทุกชนิด ทุกชนิด ไม่ใช่ whole ทั้งหมดของไอ่สิ่งเดียว สัพพะ แปลว่า ทั้งปวงคือ ทุกชนิด ถ้าทั้งหมดของสิ่งเดียวเรียกว่า เกวะละ เกวะละ บาลีแท้ๆ มันเป็น สัพพกายะ ให้รู้จักกายทั้งปวงคือกายทุกชนิด แล้วแปลเอาเองตามภาษาบาลีของเราว่า กายทั้งปวง เฮ่อ กายทั้งปวงนี่มันมี 2 ชนิด คือ กาย ร่างกาย นี่เนื้อน่ะ กายเนื้อ แล้วก็กายลม กายลม คือลมหายใจก็เรียกว่า กาย ตามภาษาบาลี ตามภาษาสมาธิ นักสมาธิ กายลมก็เรียกว่า กาย กายเนื้อก็เรียกว่า กาย มันเลยมี 2 กาย เนี้ย 2 กายมันสัมพันธ์กันอย่างไร เรียกว่า ลมหายใจกับร่างกายมันสัมพันธ์กันอย่างไร เด็กๆ มันก็รู้ ถ้าไม่มีลมหายใจ มันก็คือตายนั่นแหละ เพราะนั้นลมหายใจหรือว่ากายลมมันต้องมีอยู่ กายเนื้ออะไรเนี่ย ชีวิตเนื้อมันจึงจะมีอยู่ มันเป็นคู่ด้วยกันแยกกันไม่ได้ ถ้าไม่มีกายลม กายเนื้อมันก็ไม่อยู่ เพราะนั้นมีกายลม ถนอม รักษา บำรุงให้กายเนื้อ ลมหายใจเนี่ยมันจึงช่วยบำรุงส่งเสริมกายเนื้อ กายเนื้อ แล้วมันยิ่งกว่านั้น ยิ่งกว่านั้น เอ่อคือมันไปด้วยกัน มันไปด้วยกันเลือดสุพรรณเอ๋ย มันไปด้วยกัน ถ้าลมหาย.. กายลมหยาบ กายเนื้อก็หยาบ ถ้ากายลมละเอียด กายเนื้อก็ละเอียด ถ้ากายลมสงบระงับ กายเนื้อมันก็สงบระงับ มันไปด้วยกันในลักษณะอย่างนี้ ร่วมไปด้วยกัน เอ้าไปลองหายใจดู ถ้าลมหายใจหยาบ หายใจหยาบหยาบ กายเนื้อก็จะรู้สึกไปในทางเต้น หรือสั่นระรัว หรือหยาบ ถ้าลมหายใจทำให้ละเอียดลงไป ละเอียดลงไป ละเอียดลงไป กายเนื้อมันก็สงบระงับ นี่เป็นความลับที่ว่ามันเนื่องกันอยู่ มันเนื่องกันอยู่ มันมันจะหยาบด้วยกัน ละเอียดด้วยกัน หรือว่ากำเริบด้วยกัน สงบระงับด้วยกัน มันเนื่องสัมพันธ์กันอย่างแน่นอนอย่างนี้ เรียกว่ามันสัมพันธ์กันอยู่ ทีนี้มันยิ่งไปกว่านั้น มันยิ่งไปกว่านั้น คือเราสามารถบังคับไอ่กายเนื้อนี้ได้โดยผ่านทางกายลม เราจะบังคับกายเนื้อนี่ให้หยาบ ให้ตื้นเต้น ให้กำเริบ ระงับโดยตรงไม่ได้หรอก มันทำไม่ได้หนิ ใครลองดูซิ แต่เราบังคับได้โดยอ้อม คือบังคับทางลม กายลม บังคับทางกายลม บังคับกายลมมันมีผลไปถึงกายเนื้อ ทำกายลมให้ละเอียด กายเนื้อก็ละเอียด ทำกายลมให้หยาบ กายเนื้อมันก็หยาบ นี่ใช้คำว่าสามารถบังคับกายเนื้อโดยผ่านไปทางกายลม เราจึงฝึกเป็นอย่างดีที่สุด บังคับกายลมได้วิเศษ ละเอียดที่สุด ผลอย่างไรก็บังคับกายเนื้อได้เท่านั้น ในข้อนี้ในการปฏิบัติขั้นที่ 3 นี้กำหนด อยู่ว่ามันมี 2 กาย คือ กายเนื้อกับกายลม ศึกษารู้อยู่ว่าทั้ง 2 อย่างนี้มันเนื่องกัน มันไปด้วยกัน มันไปด้วยกัน มันขึ้นด้วยกัน มันลงด้วยกัน มันหยาบด้วยกัน มันละเอียดด้วยกัน มันอะไรด้วยกัน เนี่ยข้อที่ 3 ว่าเราบังคับกายเนื้อได้โดยทาง อ่าผ่านทางกายลม เราไม่มีสามารถบังคับกายเนื้อตรงๆ ลงไป แต่เราบังคับมันได้โดยผ่านทางกายลม คล้ายๆ กะอุบาย อุบายอันละเอียดอันลึกซึ้ง มันจึงปรับปรุงกายลมให้ไปตามที่ต้องการและ กายเนื้อมันก็จะพลอยเป็นไปตามที่เราต้องการ จำให้ดีๆ เข้าใจดีๆ แล้วก็ไปลองทำดู เนี่ย ขั้นที่ 3 ของหมวด ที่ 1 คืออย่างนี้ รู้จักกายทั้งปวง กายทั้งปวง ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่ 4 ซึ่งเป็นขั้นที่เรียกว่า ประณีต ละเอียด หรือยากลำบากได้ ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ ปัสสะสิสสามีติ ทำกายสังขารให้ระงับอยู่ หายใจเข้า หายใจออก หายใจออก กายสังขารมันก็คือลมหายใจนั่นแหละ กายลมในที่นี้เรียกว่า กายสังขาร คือเครื่องปรุงแต่งกายเนื้อ กายลมเป็นเครื่องปรุงแต่งกายเนื้อ สังขารแปลว่าปรุงแต่ง กายลมเป็นสังขารแก่ กายเนื้อ จึงเรียกกายลมว่า กายสังขาร สังขารคือลมหายใจ ทีนี้ก็เริ่มทำกายลมหรือกายสังขารนี่ให้ระงับ ระงับ ระงับ ระงับ ระงับไปตามลำดับ กายเนื้อก็พลอยระงับไปตามลำดับ เนี่ยมันเป็นเรื่องของไอ่ขั้นที่ 4 ของหมวดที่ 1 โดยวิธีหรืออุบายหรือเคล็ดลับ แล้วแต่จะมี แล้วแต่จะใช้ ซึ่งก็ต้องมีหลายอย่างด้วยกันน่ะ เป็นการบังคับลมหายใจ ควบคุมลมหายใจ จัดการปรับปรุงเกี่ยวกับลมหายใจ มีคำโบราณเก่าแก่ก่อนพุทธกาลหรือว่าก่อนแต่ มัน..นู้นน่ะ ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสิ่งนี้มีคำพูดขึ้นมาคำหนึ่งว่า ควบคุมปราณ ปราณายามะ ปราณะอายามะ อาการควบคุมบังคับปราณ ปราณในที่นี้ก็คือลมหายใจ ถ้าเป็นภาษาสันสกฤต แต่บางทีก็เอาไปใช้ในความหมายของคำว่า ชีวิต ปราณแปลว่าชีวิตก็ได้ แปลว่าลมหายใจก็ได้ อายามะก็บังคับมัน ปราณายามะ เข้าใจว่าคนป่าตั้งแต่สมัยไม่นุ่งผ้านั่นน่ะมันรู้จักเรื่องนี้ มันรู้จักบังคับลมหายใจเป็นอย่างนั้นให้เป็นอย่างนี้ มีผลอย่างนั้นอย่างนี้ เนี่ยปราณายามะจะเก่าแก่ที่สุด แล้วก็ถูกปรับปรุงอย่างนั้นปรับปรุงอย่างนี้มาตามหมู่ตามคณะของครูบาอาจารย์ที่สูงขึ้นมา สูงขึ้นมา เดี๋ยวนี้ก็ยังมีอยู่ในอานาปานสตินั่นแหละ มันมีปราณายามะโบราณเก่าแก่ของคนสมัยนู้น เรียกว่า บังคับควบคุมลมหายใจ เราก็มีเคล็ดตามแบบของเรา ซึ่งมันจะเหมือน ไม่เหมือนกันทุกหมู่ทุกคณะหรอก แต่ถ้าใครมันบังคับลมหายใจได้ สงบ ระงับ ละเอียดลงไปได้ ใช้ได้ทั้งนั้น เพียงแต่มาเลือกสรรดูทั้งหมดแล้วเอามาเรียงลำดับดู ก็พอใจอย่างที่เขียนไว้ในหนังสือคู่มือนั่นแหละ ไปอ่านเอาเองในหนังสือคู่มือ สรุปสั้นๆ ว่า ในครั้งแรกนี่กำหนดด้วยการวิ่งตาม ลมหายใจเข้าและออกอยู่นั่นแหละ วิ่งตาม มันเป็นของเกาะติดไปกับลมหายใจเข้าก็เข้าไปด้วยกัน ออกก็ออกมาด้วยกันนี่ อย่างเนี่ย อย่างนี้เรียกว่า วิ่งตาม วิ่งตาม จุดสูงสุด เอ้ย จุดสุดชั้นนอกคือปลายจงอยจมูก จุดสุดข้างในก็คือความรู้สึกที่ท้อง ไม่ต้องเป็นความจริง เอาเป็นไอ่เครื่องกำหนดศึกษาก็แล้วกัน ข้างนอกมันสุดที่จงอยจมูก ข้างใน สุดที่ความรู้สึกของท้องที่เอ่อขึ้นหรือลง ถ้ามันเป็นคนประเภทพันธุ์นิโกรจมูกมันเชิดขึ้นข้างบน ลมจะมากระทบที่ริมฝีปากบนมากกว่าที่จะกระทบจงอยจมูกด้านในเนี่ย เดี๋ยวนี้เราไม่ใช่นิโกร เราเป็นคนไทย หายใจสุดข้างนอกมันก็จะกระทบที่ปลายจงอยจมูกด้านใน อันนี้ข้างนอก กระเทือนกระเทือนข้างสุดในก็คือท้อง วิ่งตามอยู่ระหว่าง สิ่งทั้งสองนี้ วิ่งตาม วิ่งตาม เพียงแต่เท่านี้มันก็ไม่ได้ทำง่ายสำหรับคนที่จิตไม่สมประกอบ จิตฟุ้งซ่าน จิตที่เคยตามใจตัวเองมา มันก็ทำไม่ได้ซะแล้ว เพียงแต่ขั้นวิ่งตาม วิ่งตามเข้าออก มันก็ทำไม่ได้ซะแล้ว เรานั้นเดี๋ยวนี้เป็นคนปกติ พยายามอยู่ พยายามอยู่ แล้วก็ทำได้ วิ่งตามเข้าออก วิ่งตามเข้าออก จนอยู่ในอำนาจแหละ จนอยู่ในอำนาจ เรามีอำนาจเอ่อเต็มที่สูงสุดที่บังคับให้วิ่งตาม เข้าออก เข้าออกโดยไม่ขาดสาย ก็เรียกว่าอ่าลำ..ลำดับหนึ่งเสร็จไป ทีนี้ก็มาถึงไอ่ลำดับเฝ้าดู ไม่วิ่งตามแล้ว ป่วยการ มันหยาบอยู่ แต่ว่าวิ่งตามนี้มันก็ละเอียดกว่าที่ว่าจะไม่วิ่งวิ่งตามนะ ปล่อยตามเรื่อง มันก็ จิตมันก็หยาบไปตามแบบของมัน แต่พอวิ่งตามได้มันก็ละ..ละเอียดลงมาหน่อยหนึ่งอ่ะ ระดับหนึ่งอ่ะ เพราะมันต้องเฝ้าดูเฝ้าดูให้มันละเอียดลงไปอีกอ่ะ ไม่ต้องวิ่งตามหรอก กำหนดอยู่ที่ตรงเหมาะสมตรงไหน เขาเรียกว่าที่มันกระทบนอก ด้านนอกคือ ปลายไอ่จงอยจมูก ด้านในตรงนั้นน่ะ จุดที่มันกระทบ เฝ้าดูที่ตรงนั้น อ่าเหมือนกับเฝ้าที่ประตู ไม่ต้องวิ่งตามเข้าไปข้างใน เฝ้าอยู่ที่ตรงนั้น ก็เป็นอันว่ารู้เหมือนกัน มันเข้าไปก็รู้ มันออกมามันก็รู้ มันก็เท่ากับรู้ทั้งหมดอ่าเหมือนกันด้วยอาการเพียงแต่เฝ้าดูที่จุดๆ หนึ่ง ไม่ต้องวิ่งตาม ทีนี้การกระทำมันก็ยากขึ้นไปอีกแหละ มันก็ยากขึ้นไปอีก แต่มันก็ละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีก ถ้าทำได้ จิตมันก็สงบ ระงับยิ่งขึ้นไปอีกแหละ ขอให้สังเกตดูเอาเอง ถ้าเราสามารถควบคุมจิต หรือสิ่งที่เรียกว่า สติ กำหนดหยุดได้ที่จุดนั้น ที่เราเรียกว่าเฝ้าดู มันก็เป็นการเลื่อนชั้นของความระงับ ระงับขึ้นมาได้อันหนึ่ง ทีนี้ก็มาถึงการอ่าลำดับที่ 3 ตรงที่กำหนดเป็นความรู้สึกอยู่ทางวัตถุเต็มสำนึก เป็น sub อ่าเป็น conscious (ไม่มั่นใจ/36.17) เต็มที่เนี่ย นะทำให้เป็น subconscious (ไม่มั่นใจ/36.21) กำหนดเป็นมโนภาพ เอ่อรู้..สร้างมโนภาพโดยโดยไม่เจตนา โดยไม่เจตนา หรือก็โดยเจตนา ถ้าทำให้ละเอียดประณีต มโนภาพนั้นจะปรากฏขึ้นที่จุดนั้นแหละ แทนที่จะเป็นจุดเนื้อหนังที่ปลายจมูก มันกลายเป็นนิมิตหรือมโนภาพ แล้วแต่มันจะเกิดอ่าซึ่งมันไม่เกิดเหมือนกันละ บางคนจะเกิดเป็นดวง บางคนจะเกิดเป็นรูปร่างอย่างอื่น ที่เขียนเป็นตัวอย่างไว้ในคัมภีร์มีมากเหลือเกิน เป็นจุดกลมเหมือนดวงดาวก็ได้ แล้วมันมีสีสันต่างกัน มีขนาดต่างกัน มีมีลักษณะเหมือนเพชรวาวแววอยู่ก็ได้ มีลักษณะเหมือนไยแมงมุมส่องแสงอยู่ กลางแดดก็ได้ แล้วแต่แต่ มันรูปร่างไม่ต่าง ไม่เหมือนกันนั่นน่ะ ต่างต่างต่างต่างกันไป เอามาได้สักอย่างก็พอใจแล้ว กำหนดอยู่ที่ตัวมโนภาพเหล่านั้น โดยเอ่อโดยโดยโดยตรง ไม่กำหนดที่เนื้อหนังแล้วทีนี้ เรียกว่าสร้างมโนภาพขึ้นมาสำเร็จ การสร้างขึ้นมาได้สำเร็จอย่างงี้จิตมันระงับ จิตมันละเอียด จิตมันเปลี่ยนไปในทางละเอียดกว่าเดิมเป็นอันดับที่ 3 นู้น ทีนี้เก่งไปกว่านั้นอีกก็บังคับมโนภาพน้อมจิตไปอย่างไร มโนภาพก็เปลี่ยนไปอย่างนั้น ให้มันเปลี่ยนโดยลักษณะ โดยขนาด โดยสีสัน โดยอาการที่มันเคลื่อนไหว เช่น มันสีเขียวเป็น..ให้มันเป็นสีแดงสีขาว ให้มัน..เล็กให้มันกลายเป็นใหญ่ ที่มันอยู่นิ่งให้กลายเป็นเลื่อน ลอยไปมา ทำได้ทุกอย่างทุกประการอย่างนี้แล้วก็เรียกว่า มีอำนาจเหนือจิต มีอำนาจเหนือจิต เป็นนายเหนือจิตในการบังคับจิตที่เกี่ยวกับลม ที่เกี่ยวกับลม เรามาถึงขั้นนี้ก็เรียกว่า มีอำนาจเหนือจิต เหนือการบังคับลม ถึงขนาดที่จะใช้เป็นมาตรฐานหรือบาทสถานของการปฏิบัติในขั้นต่อไป ถ้าใครมันสามารถหรือมันมีความพร้อมที่จะปฏิบัติสูงขึ้นไปจนถึงฌาน มีฌานประเภทรูปฌานก็ได้ แต่ถ้าใครไม่สามารถก็ไม่ต้องไปละ ไม่ต้องไปถึงรูปฌานหรอก เอาเพียงสมาธิชนิดเนี้ยที่เฉียดฌานอย่างเนี้ย บังคับได้อย่างนี้แล้ว จิตก็มีลักษณะพร้อมที่จะกำหนดอ่าธรรมะที่สูงขึ้นไปก็ได้ บังคับจิตได้พอสมควร มีสมาธิพอสมควร แล้วน้อมไปพิจารณาขั้นสุดท้ายของ อานาปานสติ คือขั้นที่ 13 เสียเลยก็ได้ มันตัดลัดไปโดยเร็ว แต่เดี๋ยวนี้พูดกันอย่างไม่ตัดลัด เลือกเอาภาพนิมิตที่บังคับได้ตามต้องการอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหมาะสม แล้วมาก็กำหนดอยู่ มากำหนดอยู่ กำหนดอยู่ กำหนดอยู่ ความสงบระงับก็มีมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น จนกล่าวได้ว่าในขณะนั้นไอ่ความเพ่งของจิตหรือฌาน ความเพ่งของจิตนั้นประกอบอยู่ด้วยความรู้สึก 5 ประการ อย่างที่ท่านทั้งหลายก็คงจะท่องได้ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา เมื่อความรู้สึกกำหนดอยู่ที่อารมณ์นี้เรียกว่า วิตก ความรู้จักแจ่มแจ้งในลักษณะของอารมณ์นี้เรียกว่า วิจาร ความรู้สึกพอใจในการกระทำได้เช่นนั้นเรียกว่า ปีติ แล้วก็มีความสุข สบาย สงบ เรียกว่า ความสุข แล้วก็เรียกว่ามีเอกัคคตา ในจิตมีอารมณ์เดียว มียอดสุดอยู่ที่อารมณ์เดียวเรียกว่า เอกัคคตา มันเลยเป็นห้า ห้าความรู้สึก คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ครบเต็มที่อย่างนี้ในความรู้สึกเรียกว่า ปฐมฌานแห่งรูปฌานทีแรก เอ้าทีนี้ถ้าอยากจะไปทางฌานให้มันไปถึงที่สุดนี่ก็ ทำเพื่อทุติยฌาน ตตุยฌาน จตุตถฌานต่อไป คือเห็นว่า ทั้ง 5 อย่างนี่หยาบ ยังหยาบ ยังยุ่งยาก ยังหยาบ ปลดทิ้งไปเสีย 2 อย่าง ความรู้สึกที่เป็นวิตก เป็นวิจาร ปลดทิ้งไปเสีย ไม่มี มันก็เหลือแต่ปีติ สุข และเอกัคคตา มันก็ระงับกว่า ประณีตกว่า ลึกซึ้งกว่า เรียกว่า ทุติยฌาน อ้าวไม่..นี่ก็ยังหยาบโว้ย มีตั้ง 3 อย่างนี้ ไม่เอา เอาไอ่ปีติบ้าๆ นั่นออกไปเสีย คือรู้ว่าปีตินั้นคือความสุขที่ฟุ้งซ่าน ความสุขที่ไม่ฟุ้งซ่านเรียกว่าความสุข ความสุขที่กำลังฟุ้งซ่านพอใจอย่างฟุ้งซ่านนั้นเรียกว่า ปีติ ไอ้นี่ หยาบคาย เอาออกไปเสีย ก็เหลือแต่สุขกับเอกัคคตาเนี่ย ที่เห็นว่าไอ้สุขนี่ก็ยังเป็นความรู้สึกที่ยังรบกวน ไม่เอากับมึงแล้ว ทำให้เป็นอุเบกขาเสีย เพ่งเพ่งเฉยๆ ไม่รู้สึกเป็นสุข มันก็เหลืออยู่แต่อุเบกขากับเอกัคคตาเนี่ย เป็นชั้นสุดท้ายคือชั้นที่ 4 ชั้นนี้การหายใจมันจะละเอียดจนท่านกล่าวกันว่าไม่หายใจ อาตมาไม่คัดค้าน ไม่..แต่ก็ไม่เชื่อว่ามันหายใจชนิดที่ไม่มีความรู้สึก มันหายใจชนิดที่ไม่มีความรู้สึกอย่างที่ว่ามันละเอียดกว่านี้จน ไม่รู้สึกว่าเข้าหรือออก เพราะมันขัดกับเหตุผล เพราะมันไม่หายใจมันก็ตาย แต่มันก็หายใจอยู่โดยไม่มีความรู้สึก ถ้าทำได้ถึงขั้นนี้มันก็เรียกว่า ถึงที่สุดแห่งการทำกายสังขารให้สงบ ระงับกันถึงที่สุดแล้ว อยากจะพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า นิวรณ์ มันมีการพูดกันผิดๆ เขลาๆ ว่า ทำสมาธิบังคับนิวรณ์ อ่าพูดเป็นลักษณะว่าพอทำสมาธิ นิวรณ์ก็เกิด เนี่ย คุณอย่าเข้าใจอย่างนั้น นิวรณ์ไม่ได้เกิดในขณะที่เราตั้งใจจะทำสมาธิ นิวรณ์เกิดอยู่ตามธรรมชาติ ตามธรรมดา ตามธรรมดาของนิวรณ์นั่นแหละ แต่ว่าพอทำสมาธิสำเร็จ นิวรณ์ไม่มีโอกาสที่จะเกิด มีเท่านั้นแหละ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ วิจิกิจฉา ไอ่ความรู้สึกเลวร้ายรบกวน 5 ประการเนี่ย ไปศึกษาดูเอาเอง มันเป็นของเกิดประจำวัน ประจำวัน ทุกวันตลอดชีวิต มากบ้าง น้อยบ้าง อันนั้นบ้าง อันนี้บ้าง นิวรณ์ ไม่ใช่มันเพิ่งจะมาเกิดต่อเมื่อเราตั้งใจจะทำสมาธิ มันอาจจะเป็นได้แต่เพียงว่าพอตั้งใจจะทำสมาธิ บางอย่างมารบกวนขัดขวาง มันก็ได้เหมือนกัน แต่ถ้าทำสมาธิได้สำเร็จ นิวรณ์ก็หมดโอกาสที่จะเกิด น่ะนั่น นิวรณ์ เรื่องนิวรณ์มันเป็นอย่างนี้ เดี๋ยวนี้เราประสบความสำเร็จในการทำจิตให้สงบ ระงับในขั้นที่เป็นฌาน ถ้าพูดให้ลึกซึ้งไปถึงเรื่องที่..ไม่ไม่ไม่ต้องพูดก็ได้ แต่ถ้ารู้ไว้ก็ดีว่า พระพุทธเจ้าได้ตรัสเรื่อง อะ..อตัมมยตา อตัมมยตาไว้หลายๆ ขนาด อตัมมยตาอันแรกก็เป็นเครื่องมือที่จะออกมาเสียจากกามธาตุมาสู่รูปธาตุ เนี่ยคือตรงนี้ ตรงนี้ เดี๋ยวนี้ออกมาเสียจากกามธาตุ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ มาสู่ รูปธาตุคือฌานในลักษณะในชั้นที่มีรูป อตัมมยตาออกมาเสียจากกามธาตุมาสู่รูปธาตุสำเร็จอย่างนี้แล้ว แล้วมันก็ยังมีเป็นลำดับลำดับว่า อตัมมยตาคือละปฐมฌานมาสู่ทุติยฌาน แล้วก็มีอตัมมยตาที่ละเสียจากทุติยฌานมาสู่จตุตถฌาน (45.25 / คำนี้ท่านน่าจะพูดผิด น่าจะเป็น ตติยฌาน มากว่า) แล้วก็มีอตัมมยตาที่ละเสียจาก ตติยฌานมาสู่จตุตถฌานเนี่ยก็จบของรูปฌาน เพราะนั้นก็มีอตัมมยตาที่จะละไอ้พวกรูปฌานทั้งหลายเหล่านี้เสียไปสู่อรูปฌาน อากาสานัญจา วิญญาณันจา อะไรเป็นต้น จนเนวสัญญานาสัญญายตนะ หมดพวกอรูปฌานโดยอตัมมยตาเป็นลำดับๆ แล้วก็มีอตัมมยตาอันสุดท้ายออกเสียจากอำนาจของเนวสัญญานาสัญญายตนะซึ่งเป็นอรูปธาตุ ออกไปจากอำนาจของอรูปธาตุเสีย แล้วก็ไปสู่นิโรธธาตุ คือควบคุมสังขารเป็นนิพพาน อตัมมยตาจะมีตลอดอาการตั้งแต่แรกเริ่มจนไปถึงสุดท้าย เดี๋ยวนี้เราก็ละจากกามธาตุมาสู่รูปธาตุที่เป็นพวกสมาธิในชั้นที่มีรูป รู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้ แต่ไอ่เรื่องมันมีอยู่อย่างนี้แหละว่ามันมีอตัมมยตามาเป็นลำดับอย่างนี้ๆ รู้ก็ได้ ไม่รู้ก็ได้ แต่ถ้าว่ารู้ดีกว่าก็ไปคิดเอาเอง เดี๋ยวนี้เราก็ประสบความสำเร็จในการปฏิบัติอานาปานสติหมวดที่ 1 อ่าซึ่งมันมีอยู่ 4 ขั้น 4 ขั้น สำเร็จ ถ้าใครไม่ประสงค์หรือไม่สามารถหรือไม่ประสงค์หรือไม่สามารถ ไม่อาจก็ได้ ก็ไม่ไม่ต้อง ไม่ต้อง เรื่องฌานนี้ไม่ต้องก็ได้ มันมีความเป็นสมาธิพอสมควรแล้วก็เลื่อนไปหมวด ที่ 2 ก็ได้ หรือกระโดดไปขั้น เอ่อหมวดที่ 4 ขั้น 13 เลยนู้นก็ได้ ตามธรรมดาที่สอนกันอยู่โดยปกติ ไม่ไม่ ไม่แจกอย่างนี้ ไม่ไม่มาแจกเป็นลำดับอานาปานสติอย่างนี้ เขาจะพูดสั้นๆ ที่สุด คุณฟังดู ทำจิตเป็นสมาธิพอสมควร เป็นสมาธิพอสมควรแล้วก็พิจารณา อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็หลุดพ้นเป็นพระอริยเจ้าไป พูด 3 คำจบ นี้บ้าบออะไรก็ไม่รู้มาพูดกัน 16 ขั้น 4 หมวดๆ ละสี่ เป็น 16 ขั้น ถ้าทำได้นั่นน่ะ สมบูรณ์แบบ สมบูรณ์แบบ เดี๋ยวนี้หมวดที่ 1 สี่ขั้นนั้นทำสำเร็จแล้ว สำเร็จตามที่ต้องการ ถ้ามาสำเร็จอย่างนี้พอสมควรแล้วก็จะเลื่อนขึ้นหมวดที่ 2 ที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนา ในการปฏิบัติหมวดที่ 1 เนี่ย มันก็ยืดยาว ก็กินเวลา ควรจะรู้เรื่องพิเศษไว้อีกบ้างสักเล็กน้อย เรากำหนดลมหายใจอยู่ตลอดเวลานี้เรียกว่า กำหนดลมหายใจ แต่ถ้ามันมีความจำเป็นที่มันจะต้องลุกขึ้น ยืน เดิน นั่ง นอน อะไร หรือจะไปเดิน ต้องเดิน ทนไม่ได้ ต้องเดินนี่ มันก็เปลี่ยนจากการกำหนดลมหายใจไปกำหนดที่อิริยาบท แต่มันก็ยังในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐานนั่นแหละ กำหนดลมหายใจก็อยู่ในหมวดกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน กำหนดอิริยาบทอื่นไปบางอย่างก็ยังอยู่ในหมวด กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ถ้ามันจะต้องเดิน เดิน มันก็กำหนดสติที่การเดินเพื่อไม่ให้สติมันหนีไปเสียที่อื่น อย่างละเอียดก็กำหนด ย่างหนอ ยกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอ สติอยู่ที่นั่น แต่ทางที่ดีที่สุดนั้นจะต้องรักษาความรู้สึกที่เป็นสมาธิหรืออิทธิพลของความเป็นสมาธิที่ทำได้แล้วโน้นน่ะ ยังคงอยู่ในจิตใจด้วยแม้กำลังเดินอยู่ นั่งอยู่ นอนอยู่ ในการเปลี่ยนอิริยาบทนั้น สามารถที่จะมีสมาธิได้แม้ในอิริยาบทได้เปลี่ยนแล้วเป็นการเดิน การนั่ง การยืน การนอน อ้าข้อนี้มีพระบาลีรับรองว่า มีสมาธิ มีความรู้สึกเป็นสมาธิ มีอิทธิพลของความเป็นสมาธิอยู่ในขณะที่เดิน เดิน เวลานั้นจะเรียกว่าเดินทิพย์ จงกรมทิพย์ จงกรมทิพย์ การเดินที่เป็นทิพย์ เพราะมันเดินด้วยความรู้สึกที่มีสะ.. อ่าสมาธิ ความเป็นสมาธิ หรืออิทธิพลแห่งฌานก็ได้ ไม่ใช่มาฌานโดยตรง แต่อิทธิพลของมันเหลืออยู่ในขณะที่เดิน มันก็เรียกว่าเดินทิพย์ ยืนอยู่ อิทธิพลนี้ก็ยังเหลืออยู่ รู้สึกอยู่ในใจ ก็เรียกว่า ยืนทิพย์ นั่งอยู่ก็ยังนั่งทิพย์ นอนอยู่เอนอยู่ก็เรียกว่า นอนทิพย์ มีที่เดินทิพย์ มีที่ยืนทิพย์ นั่งทิพย์ นอนทิพย์นี้หมายความว่า ในอิริยาบททั้งสี่เหล่านั้น อิทธิพลของสมาธิยังครอบงำอยู่ เหลืออิทธิพลของฌาน ไม่ใช่ฌานโดยตรง แต่อิทธิพลของฌานยังครอบงำอยู่ ก็แปลว่ามีสมาธิได้ทุกอิริยาบท เปลี่ยนไปเรียกว่า กำหนดโดยอิริยาบท คำสอนนั้นเรียกว่า อิริยาปถปัพพะ ถ้ากำหนดลมหายใจอยู่เรียกว่า อานาปานปัพพะ อานาปานปัพพะมันกำหนดลมหายใจโดยตรง ถ้ามากำหนดอิริยาบทเรียกว่า อิริยาปถปัพพะ แต่อย่าลืมว่าอิทธิพลของการกำหนดโดยลมหายใจเป็นสมาธิก็ไม่ได้สูญหายไปไหน มันอยู่ในความรู้สึกหรือใต้ความรู้สึก ความเป็นสมาธิยังคงมีอยู่ แม้ว่าจะอยู่ในอิริยาบท เดิน ยืน นั่ง นอน เนี่ยเป็นข้อรู้ ข้อที่ต้องรู้เป็นพิเศษว่า ถ้ามันมีความจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนอิริยาบท เอ้าทีนี้ก็ ก็เห็นอยู่ใช่ไม๊ เดี๋ยวจะต้องมากินข้าว เดี๋ยวจะต้องไปอาบน้ำ ถ้ามันเก่งจริงมันก็ไม่สูญเสียความเป็นสมาธิแม้ในเวลาที่กินข้าว แม้ในเวลาที่อาบน้ำ แม้ในเวลาที่นุ่งผ้าหรือเวลาสุดแท้แต่ มันไม่สูญเสียความเป็นสมาธิ มันรักษาไว้ได้ตามสมควร ไอ่นี้มันก็เรียกว่าเป็นอิริยาปถปัพพะที่จะต้องฝึกฝึกฝึกฝึก เลยไม่มีปัญหาอะไร ไม่ขัดข้องอะไร จะนั่งทำสมาธิอยู่ก็ได้หรือจะเปลี่ยนอิริยาบทใดก็ได้ ไม่สูญเสียไปไหน นี่เบื้องต้น เบื้องต้นในหมวดที่ 1 มันเป็นอย่างนี้ อ้าวหมวดที่ 1 รู้จักกาย ควบคุมกาย ใช้ประโยชน์แห่งกาย ทั้งกายเนื้อและกายลม สามารถจะเรียกร้องมาซึ่งความสงบระงับแห่งกาย เป็นสุขสบายพอใจได้ตามต้องการ แล้วอย่าลืมว่ามันเหลือสิ่งที่สำคัญพิเศษอยู่อย่างหนึ่ง คือ ปีติ ปีติ ปีติ พอใจ พอใจว่า ทำได้ ทำได้เนี่ยต้องเก็บมันไว้ เก็บมาทำเป็นอารมณ์ของไอ้หมวดที่ 2 ที่เรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เพราะหมวดนี้มันขึ้นมาด้วยคำว่า กำหนดปีติอยู่ทุกหายใจออก อ่าเข้าออก กำหนดสุขอยู่ทุกหายใจเข้าออก รู้จักจิตตสังขารข้อนี้อยู่ทุกหายใจเข้าออก ลดอำนาจของจิตตสังขารให้มันระงับลงไปอยู่ทุกหายใจเข้าออกเนี่ย หมวดที่ 3 อ้าหมวดที่ 2 คือเวทนา คำว่าเวทนา แปลว่า ความรู้สึกของจิตในแง่ที่เกี่ยวกับอารมณ์บังคับ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกข์กับอสุขเวทนา คนเราเป็นทาสของเวทนา เกลียดทุกขเวทนา รักสุขเวทนา หลงใหลวนเวียนอยู่ในอทุกข์กับอสุขเวทนาโดยไม่รู้จัก เวทนาเนี่ยมันทำให้วิ่งเต้นเที่ยวหางานทำตัวเป็นเกลียว แล้วก็หลงใหลในเวทนาทางกามารมณ์ทางอะไรต่างๆ เวทนาเนี่ยไสหัวคนให้ไปทำอะไรทุกอย่าง ทุกอย่างตามที่กิเลสตัณหามันต้องการ เนี่ยถ้าบังคับเวทนาไม่ได้มันก็เป็นทาสของเวทนา มันก็มีมีผลอย่างนั้นแหละ เอาล่ะทีนี้เราจะมาจัดการเล่นงานไอ่เวทนา ควบคุมมันให้ได้ จึงมีการกระทำหมวดที่ 2 นี้เกิดขึ้นเรียกว่า เวทนานุปัสสนา รู้จักเวทนาจนกระทั่งควบคุมมันได้ ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่ารู้จักเวทนาจนควบคุมมันได้ ต่อไปนี้มึงจะไสหัวกูไปนั่นนี่ไม่ได้อีกแล้ว รู้รู้จักเวทนาถึงขนาดนี้ เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐานก็แบ่งออกเป็น 4 ขั้น ขั้นที่ 1 ปีติ ขั้นที่ 2 สุข ขั้นที่ 3 จิตตสังขาร คือไอ่ 2 อย่างนั้นแหละมันเป็นจิตตสังขาร ขั้นที่ 4 ควบคุมมันให้ได้ เนี่ยอานาปานสติ หมวดที่ 2 ปีติกับสุขนั้นที่แท้ โดยเนื้อแท้มันก็ มันก็เรื่องเดียวกันแหละ สิ่งเดียวกัน ปีติแปลว่าความพอใจ พอใจพอใจ มันมีกำลังแรงมากจนทำให้เกิดความรู้สึกตื่นเต้น หวั่นไหว ความพอใจที่ทำให้รู้สึกตื่นเต้น หวั่นไหว ไม่สงบระงับนี้ เราเรียกว่า ปีติ เรียกชื่อต่างๆ กันไปดูเอาเอง ขี้เกียจพูด ปีติอย่างนั้น ปีติอย่างนี้ ปีติอย่างโน้น แต่มันเป็นปีติคือความพอใจที่กำลังตื่นเต้น เนี่ยปีติ เรียกว่าปีติ ที่เราจะเอามาเป็นอารมณ์ของการปฏิบัตินี้ก็เอามาจากผลของหมวดที่ 1 บังคับลมหายใจสำเร็จ กายสังขารสงบระงับ ได้ความพอใจเอามาใช้เป็นอารมณ์ของหมวดที่ 2 เรียกว่าปีติ ปีติ กำหนดอยู่ว่าปีตินี้เป็นอย่างไร ปีตินี้เป็นอย่างไร ชั้นแรกก็กำหนดไปในทางว่าพอใจปีติ เสวยปีติ ชิมรสปีติ เสวยปีติ เอากำไรล่วงหน้าไปก่อนอย่างนี้ก็ได้ แต่นี้ไม่ใช่วัตถุประสงค์หรอก วัตถุประสงค์จะควบคุมมันต่างหาก แต่นี้เอามาทำเป็นไอ่อารมณ์ของความสุข มีปีติ ปีติอย่างไรก็ได้ เมื่อไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ นี่กำไร กำไรล่วงหน้า กำไรพิเศษ ชิมรสของปีติอยู่ได้ตามที่เราต้องการ ก็เอามาเป็นอารมณ์ของไอ่ อ่าของของอานาปานสติ มาทำความรู้สึกในใจอยู่ว่า กำลังปีติ กำลังปีติเป็นอย่างไร มีลักษณะอย่างไร มีอิทธิพลอย่างไร มีคุณมีโทษอย่างไร รู้จักปีติเสีย เป็นขั้นที่ 1 ของหมวดที่ 2 ถ้านับทั้งหมดก็เป็นขั้นที่ 5 ของทั้งหมด แต่ถ้านับแยกหมวดก็เป็นขั้นที่ 1 ของหมวดที่ 2 ไอ้ปีตินี้ก็เอาให้มันสุภาพสักหน่อย ปีติที่โลดโผนตื่นเต้น เนื้อตัวตื่นเต้นอะไรอย่างนี้ ไม่ไม่ไม่ไม่ไม่เหมาะสมหรอก ภาษาอังกฤษมันก็มีอยู่เป็น 2 คำ ถ้าเป็น แรจเจอร์ แรจเจอร์ (58.20/ไม่มั่นใจ) มันปีติอย่างตื่นเต้น โลดโผน ลุกโพลง ถ้ามันเป็น contentment เป็นความพอใจที่เงียบสงบ เอาอย่างปีติที่มันมันมันค่อนข้างสงบเนี่ย อย่าไปเอาปีติที่กระโดดโลดเต้นเป็นยักษ์เป็นมาร ปีติ ปีติเนี่ยเอามาเป็นอารมณ์ สร้างความรู้สึกขึ้นมาได้เมื่อไรก็ได้ อยากจะอยู่ด้วยปีติก็ได้ แต่ไม่ใช่ไม่ใช่วัตถุประสงค์นะ จะบังคับปีติให้ได้ บังคับปีติให้ได้ ให้มันหยุดตื่นเต้นให้ได้ พอมันมันหมดความตื่นเต้นในความพอใจนั้นก็เปลี่ยนเป็นความสุขเรียกว่า ความสุข สุขปฏิสังเวที เป็นการปฏิบัติในขั้นที่ 2 ของหมวดที่ 2 หรือขั้นที่ 6 ของทั้งหมด เนี่ยก็จัดการกับปีติ จนรู้จักปีติ จนรู้จักวิธีที่จะควบคุมปีติ พอมาถึงระงับลงเป็นความสุขก็ปีติที่ ไปปีติที่ ที่ปีติที่ที่น่าพอใจ ที่มันสงบระงับ ที่มันไม่รบกวน ก็ดื่มความสุขนี้กันซักทีก็ได้ เอากำไรล่วงหน้าเหมือนกันปีติ เสวยสุขที่เป็นความสงบระงับของปีติเมื่อไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ เท่าไรก็ได้ ที่ไหนก็ได้ นี้ก็เรียกว่าได้กำไรเหมือนกัน ปีติที่มาจากเอ่อการปฏิบัติของหมวดที่ 1 ก็ได้หรือปีติที่เราจะระลึกขึ้นมา ระลึกขึ้นมาในเรื่องอื่นที่พอที่จะทำให้เกิดปีติรู้สึกขึ้นมาก็ได้เหมือนกัน ขอแต่ให้ได้ปีติมาเถอะ ทั้งจัดการกับปีติจนทำให้มันสงบระงับเป็นความสุขได้แล้ว มันก็ใช้ได้ เรารู้จักดีทั้งปีติ รู้จักดีทั้งสุข 2 ขั้นก็เสร็จไป ทีนี้ก็มาขั้นที่ 3 ขั้นที่ 3 มารู้จักความที่โอ้!ไอ่ 2 อย่างนี้ ไอ้หมอนี่ 2 อย่างนี้เป็น จิตตสังขาร จิตตสังขาร แปลว่า ผู้ปรุงแต่งจิต คือปรุงแต่งความคิด พูดให้สั้นที่สุดก็พูดว่า เวทนาเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิด มันมีเวทนาแล้วมันจะเกิดสัญญา มันจะเกิดตัณหา นั่นน่ะมันปรุงแต่งความคิด อย่างนั้นน่ะ เวทนามันปรุงแต่งจิต ปรุงแต่งความคิด โดยทำให้เกิดสัญญา ให้เกิดตัณหา มาทำความกำหนดอย่างละเอียดชัดแจ้ง โอ้! ไอ้หมอนี่เองปรุงแต่งจิตคือความคิดชนิดนั้นชนิดนี้ เป็นอย่างที่สมมุติเรียกกันว่า กุศล อกุศล อะไรอย่างนั้นอย่างนี้สารพัดอย่าง เวทนาปรุงแต่งจิต คืออย่างนี้ เรากำหนดรู้ กำหนดรู้ กำหนดอยู่ในความรู้ข้อนี้เรียกว่าปฏิบัติในขั้นที่ 3 จิตตสังขารปฏิสังเวที เป็นผู้รู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ในจิตตสังขาร เรียกว่ามีอำนาจเหนือ อำนาจเหนือไอ่เวทนา เหนือเหนือปีติและเหนือสุข ดูว่าตลอดเวลาเนี่ยมันมันตกอยู่ใต้อำนาจของเวทนา ปรุงแต่งจิตอย่างนั้นอย่างนี้ วิ่งว่อนไปทั่วโลก ทั่วจักรวาล จิตฺเตน นิยตี โลโก โลกนี้จิตย่อมนำไป โลกหมุนเพราะจิตนำไป จิตมันใต้อำนาจของเวทนา เอ้า จัดการกับจิตตสังขาร ไอ้สิ่งปรุงแต่งจิต ระงับอำนาจปรุงแต่งของจิตโดยวิธีต่างๆ ที่จะเอามาใช้ได้ ไอ้ที่วิธีธรรมดาสามัญที่สุดก็คือ เกลียดมัน เกลียดมัน มันปรุงแต่งให้ยุ่งยาก ปรุงแต่งให้ลำบาก ปรุงแต่งให้ไม่มีที่สิ้นสุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรุงแต่งให้เกิดปฏิจจสมุปบาทจนตลอดสายแล้วเป็นทุกข์ เป็นของที่น่ารังเกียจเกลียดชัง ถ้าความรู้สึกอย่างนี้เกิดขึ้นมันก็จะระงับหรือลดกำลังของจิตตสังขาร ลดกำลังของปีติและสุขที่จะปรุงแต่งจิต ถ้ามีความรู้เรื่องวิปัสสนาอะไรบ้างมากไปกว่านี้ก็เอามาลดได้เหมือนกัน แต่เพียงแต่ว่าเห็นความที่มันปรุงแต่ง อันตราย เป็นอันตราย ปรุงแต่งให้เกิดอันตราย ก็เกลียดเกลียดมันก็เกลียดมันมันมันก็ไม่มา แล้วมันก็ลดลงลดลงลดลง ลดอำนาจของเวทนาและความสุขซึ่งเป็นจิตตสังขาร การปรุงแต่งมันก็ลดลง อย่าลืมเสียว่าสังขาร สังขาร สังขารนี้มันแปลว่าปรุงแต่ง ไม่ได้แปลว่าร่างกาย เมื่อไปที่ป่าช้าได้ยินพระสวดว่า เตสัง วูปสโม สุโข ระงับเสียซึ่งสังขารเป็นความสุข เข้าใจว่าตาย เนี่ยเข้าใจผิดกันว่าตายนี่เป็นความสุข คำนั้นน่ะบอกความจริงสูงสุดของอ่า พระธรรมว่า หยุด อุปสมะ น่ะ หยุดการปรุงแต่งของสังขารเสีย อย่ามีการปรุงแต่งอีกต่อไป นั้นน่ะคือความสุข พระบอกกรอกหูพวกคุณมากี่สิบครั้งกี่ร้อยครั้งกี่พันครั้งแล้ว แล้วมันได้ผลอย่างไรบ้าง มันยังเข้าใจว่าตายเป็นสุขอยู่นั่นเอง หยุดการปรุงแต่งของสังขารเสียจึงจะเป็นสุข นี่ก็ได้แก่การปฏิบัติอานาปานสติขั้นที่ 4 ของหมวดที่ 2 นี้เอง ระงับเวทนาได้เท่าไหร่ก็ระงับอำนาจของจิตตสังขารได้เท่านั้น จิตสังขารลดอำนาจลงไปตามที่เราสามารถลดอำนาจของสิ่งที่เรียกว่าเวทนา ของสิ่งที่เรียกว่าเวทนา เมื่อทำได้ก็แสดงว่ามีอำนาจเหนือเวทนา ก็ลดอำนาจของเวทนา ก็คือลดอำนาจของจิตตสังขาร ไม่ให้ปรุง หรือให้ปรุงอย่างนี้ไม่ปรุงอย่างนั้น หรือให้ปรุงแต่น้อยไม่ให้ปรุงมาก ให้ปรุงไปแต่แต่ในทางที่ถูกที่ควร มันก็ดีมีประโยชน์ ก็ตามสมควร แต่ถ้าไม่ปรุงเสียเลยเนี่ยจะวิเศษ ไม่ปรุงเสียเลยเนี่ย มันมันวิเศษมันไม่มี ไม่มีเรื่องยุ่งยากลำบากหรือเป็นทุกข์ เดี๋ยวนี้เรามีอำนาจเหนืออำนาจการปรุงแต่งของเวทนา ก็มีอำนาจเหนือ มีอำนาจเหนือทุกสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับเรา มันมาในรูปของเวทนามาบังคับเรา เราจะมองกันดูในแง่ที่ละเอียด มีอำนาจเหนือเวทนาก็คือมีอำนาจเหนืออายตนะ ไม่เป็นทาส ไม่เป็นบ่าวของอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กูไม่เป็นทาสมึงอีกต่อไป อำนาจอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ ก็ไม่มีอำนาจเหนือจิตอีกต่อไป เหนือเวทนาทุกชนิด เมื่อมีเวทนาแล้วจะเกิดสัญญา หมายมั่นอย่างนั้น หมายมั่นอย่างนี้ ไสหัวไปให้ทำตามนั้น อ่าก็มีอำนาจเหนือสัญญา เหนือสัญญา วิเศษที่สุดก็เหนืออำนาจการปรุงแต่งของปฏิจจสมุปบาท เราได้ปรารถกันมาตั้งแต่ข้างต้นแล้วเพราะว่าต้องปฏิบัติอานาปานสตินี้ ก็เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติปฏิจจสมุปบาท ควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทไม่ให้เกิดความทุกข์ ทีนี้โดยหลักทั่วไปมันจะสำเร็จได้ด้วยการควบคุมเวทนาหรือจิตตสังขาร ควบคุมจิตตสังขารอย่างนี้ได้มันก็ไม่ไม่ กระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทมันไม่ไม่ไม่เป็นไป มันหยุดชะงักอยู่ได้เพียงแค่เวทนา หยุดชะงักอยู่ได้เพียงแค่ผัสสะ มันก็ไม่ไปถึงความทุกข์ กองทุกข์ทั้งปวง ทีนี้อยากจะพูดให้มัน อะไรล่ะที่เขาชอบพูดให้มันไม่ลืมอ่ะ ลืมยาก ตื่นเต้น ลืมยาก คือเดี๋ยวนี้เราควบคุมจักรวาลทั้งจักรวาลได้ ในจักรวาลอันมหาศาลนั่นน่ะมันมีอะไรก็ตามใจเถอะ เดี๋ยวนี้ฉันควบคุมได้ สิ่งทั้งปวงในจักรวาลไม่มาแตะต้องฉันให้เป็นทุกข์ได้ ควบคุมจักรวาลได้ ควบคุมโลกทุกโลกได้ ควบคุมอะไรทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกได้ ลดลงมากระทั่งควบคุมได้หมด ไม่ว่าอะไรที่มันจะทำให้ยุ่งยากลำบาก อิฏฐารมณ์ทั้งหลาย ทรัพย์สมบัติ เงินทอง ข้าวของ เกียรติยศ ชื่อเสียง บุตรภรรยาสามีอะไร ก็ไม่ไม่มีปัญหาอีกต่อไป มันควบคุมตั้งแต่จุดเล็กที่สุดไปถึงจุดใหญ่ที่สุด คือควบคุมจักรวาลได้ นับประสาอะไรจะไม่ควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่มันก็มาจากการควบคุมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจได้ ควบคุมเวทนาได้ มันจึงควบคุมจักรวาลได้ เดี๋ยวนี้เรามีอำนาจเหนือจักรวาล จักรวาลอยู่ใต้กำมือ ใต้ฝ่าเท้าของเราก็ดีกว่า ไม่ทำอะไรเราได้ เราจะอยู่เหนืออ่าเสมอไปเนี่ย มันเป็นเรื่องของการควบคุมจิตตสังขารได้ มันจะเกิดสิ่งที่พึงปรารถนาคือ มัชฌิมาปฏิปทา อริยะอัตถังธิกัมมะ (01.10.05/ไม่มั่นใจ) ที่มันจะดำเนินไปในทางของทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ ทุกขนิโรธ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ มันจะไปที่นั่น ควบคุมจิตตสังขารได้แล้ว มันก็มีแต่กระแสของการที่ดำเนินไปหา ทุกขนิโรธคือนิพพานนั่นแหละ คือพระนิพพาน มันจะไปในทางของพระนิพพาน เนี่ย หายใจ การหายใจพิเศษ การหายใจสูงสุด การหายใจมีอานุภาพสูงสุด อา..อานุภาพครอบคลุมจักรวาล หายใจทีเดียวครอบงำจักรวาล ชนะจักรวาล นับประสาอะไรกะเรื่องเด็กเล่น เรื่องนรกเรื่องสวรรค์เล่า เรื่องนรกเรื่องสวรรค์ไม่มีปัญหาหรอก มันเรื่องเด็กเล่นไป แม้แต่พรหมโลกก็ไม่มีความหมายอะไรของผู้ที่ควบคุมไอ่เวทนาได้ ที่จริงไอ่ ไอ่พรหมโลกก็เป็นเวทนาชนิดละเอียดประณีตอันอันหนึ่งเท่านั้นแหละ เรื่องกามมันก็มีเวทนากระทำแบบกาม รูป รูปธาตุมันก็มีเวทนาตามแบบรูปธาตุ อรูปธาตุ อรูปพรหมก็มีมีเวทนาตามแบบนั้น เดี๋ยวนี้ไม่ไม่ไม่ อยู่เหนือทั้งหมด หายใจทีเดียวอยู่เหนือ เหนือกามธาตุ เหนือรูปธาตุ เหนืออรูปธาตุ นรกก็ดี สวรรค์ก็ดี พรหมโลกก็ดีก็กลายเป็นของเด็กเล่น กูไม่เอากับมึง นี่ เป็นอิสระเสรีอยู่เหนือไอ่สิ่งยั่วยวนเหล่านี้ เนี่ยคือผลของการที่ควบคุมเวทนาหรือจิตตสังขารได้ ท่านทั้งหลายจงมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องนี้ จึงจะเกิดอ่าฉันทะ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสาในการปฏิบัติ ฉันทะคือความหิวของสติปัญญา มันต้องมีความหิวนะ คนเราจึงจะทำอะไรได้ ต้องมีความหิวนะจึงจะกินข้าวอร่อย แต่นั้นมันเรื่องของวัตถุ เดี๋ยวนี้เป็นความหิวของสติปัญญา appetite ใช้คำเนี้ยดี เป็นคำกลางๆ ว่า ความหิวที่จะทำ แต่ไม่ใช่หิวที่จะกินให้อร่อยหรือตะกละ appetite appetite มีในสิ่งใดมันจะชวนให้ทำในสิ่งนั้นสุดความสามารถ เรียกว่าฉันทะก็ได้ ฉันทะ ความพอใจในสิ่งนั้นที่ทำแล้วเกิดคุณค่าสูงมหาศาล ดับทุกข์โดยประการทั้งปวง แล้วมันจะเกิดวิริยะ ความพากเพียรเต็มที่ กล้าหาญเต็มที่ แล้วมันจะเกิดจิตตะ เอาใจใส่เต็มที่ แล้วมันจะเกิดวิมังสา สอดส่องวิจัยวิจารณ์กันเต็มที่ ทั้ง 4 อย่างนี้คือ อิทธิบาท มีได้ เพราะมองเห็นประโยชน์หรือคุณค่าของการที่เรามีอำนาจอยู่เหนือจิตตสังขาร คือเหนือเวทนาทั้งปวง เวทนาจะไม่ขบกัด จะไม่หลอกลวง จะไม่มาขบกัดได้อีกต่อไป เนี่ยคือการปฏิบัติใน อานาปานสติ ภาวนาหมวดที่ 2 ซึ่งก็มีอยู่ 4 ขั้น เวลาไม่พอสำหรับจะให้พูดทั้งทั้ง 4 หมวด ก็พูดกันได้เพียง 2 หมวด ก็หมวดกาย รู้จักลมหายใจยาว ลมหายใจสั้น รู้จักว่าลมหายใจนี้ปรุงแต่งกาย รู้จักบังคับอำนาจอิทธิพลของลมหายใจเสีย กายและกายสังขารก็สงบระงับ นี่หมวดที่ 1 ทีนี้ก็หมวดที่ 2 เอาเวทนา คือ ปีติ ที่ได้มาจากการบังคับกาย บังคับลมหายใจได้ก็ได้ เอามาจากทางอื่นก็ได้ เอามาพิจารณา เอามาใคร่ครวญ จนรู้จักปีติ ปีติ ความสุขที่โลดโผน ทำให้โลดโผนกลายเป็นความสุข คือปีติที่สงบระงับ แล้วรู้ว่าไอ้นี่ปรุงแต่งจิตความคิดนึกไม่รู้จักสิ้นจักจบ ต้องควบคุมมัน แล้วก็มีวิธีควบคุมมันไม่ให้ไอ่เวทนาหรือจิตตสังขารนี้ ทำหน้าที่บ้าๆ บอๆ ตามความชอบใจของมัน ให้มันอยู่ในอำนาจ ให้มันอยู่ในความถูกต้อง ให้มันไปในทางของพระนิพพาน เราก็มีอานาปานสติ หมวดที่ 2 เนี่ย ท่านทั้งหลายจะต้องมีความรู้มีความเข้าใจและปฏิบัติให้ได้ตามหลักเกณฑ์อันนี้ นี้พูดโดยทฤษฎี อธิบายหลักปฏิบัติตามสมควร เมื่อท่านกลับไปสู่ที่ฝึกข้างนอกโน้นน่ะ ท่านจงพยายามฝึก ทำความเข้าใจมากขึ้น ฝึกให้ได้มากขึ้น ครูบาอาจารย์ที่ช่วยสั่งสอนก็ช่วยสั่งสอนให้เข้าใจมากขึ้น ช่วยแนะนำให้ปฏิบัติได้มากขึ้น ท่านก็จะได้รับประโยชน์สูงสุดในการมา หรือสามารถที่จะปฏิบัติอานาปานสติได้ การบรรยายสมควรแก่เวลา ขอยุติการบรรยาย ขอบใจท่านทั้งหลายที่เป็นผู้ฟังที่ดี ขอแสดงความหวังให้มีการก้าวหน้าในการศึกษาและการปฏิบัติอยู่ทุกทิพาราตรีกาลเทอญ (เสียงผู้ฟังกล่าว สาธุ) ขอยุติการบรรยาย