แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ต่อไปนี้ก็จะได้พูดต่อ เรื่องความทุกข์ที่ยังไม่จบ
ขอบอกกล่าวเป็นพิเศษว่าเรื่องพุทธศาสนาที่สำคัญหรือลึกซึ้งนั้น มันอยู่ที่เรื่อง อัตตา อนัตตา เรื่องตัวตน เรื่องหรือไม่ใช่ตัวตนนะ และท่านต้องเข้าใจคำว่า เบญจขันธ์ ที่ประกอบด้วยอุปาทาน เป็นทุกข์นี่ ที่เป็นใจความสำคัญ (น. 1:12) ศาสนาขอพยายามเข้าใจคำนี้ให้ ให้ดีที่สุดนะ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์
มันมีเรื่อง ๒ เรื่องรวมกันอยู่ คือว่าเบญจขันธ์ล้วนๆ เบญจขันธ์ล้วนๆ นะ ที่ไม่มีอุปาทานนะ ไม่ได้เป็นทุกข์ทรมานอย่างเจ็บปวด มันเพียงแต่ว่ามีลักษณะแห่งความทุกข์ในความหมายอีกความหมายหนึ่ง ทุกข์คำนี้แปลว่า มีลักษณะแห่งความทุกข์ ขันธ์ทั้ง ๕ มีลักษณะแห่งความทุกข์ คือไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลง นี่อย่างนี้เขาเรียกว่ามีลักษณะแห่งความทุกข์ นั่นไม่ ไม่ ไม่ ไม่ใช่ความหมายที่สำคัญอะไร แต่ถ้าว่าพอมีอุปาทานเข้าไปรวมอยู่ในเบญจขันธ์นั้น มันจะมีความทุกข์ที่ทำความเจ็บปวด เจ็บปวดให้แก่เจ้าของ แก่ผู้ที่เข้าไปมีอุปาทานนะ คนที่เข้าไปมีอุปาทานจะได้รับความทุกข์ในความหมายที่ว่า ทนทรมาน Tormenting จะมีขึ้นมา
ในหมวดแรกที่ว่า ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์นะ มันจะเป็นทุกข์ต่อเมื่อมันมีอุปาทานว่าความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายของเรา ถ้ามันเป็นความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตายของธรรมชาติ ไม่มาเป็นของเรา ไม่เกี่ยวกับเรา เราไม่ได้ยึดถือมาเป็นของเรา มันก็เพียงแต่มีลักษณะแห่งความทุกข์ แต่มันไม่ได้เป็นความทุกข์ทรมานแก่จิตใจของเรา คนเกิด แก่ เจ็บ ตาย จะเป็นทุกข์ต่อเมื่อเราไปโง่ ไปอุปาทาน ไปยึดถือว่าของเรา หรือว่าตัวเราเกิด แก่ เจ็บ ตาย หรือเกิด แก่ เจ็บ ตายของเรา นี้ก็มันมีความหมายอยู่ที่ว่าเบญจขันธ์มันมีอุปาทานเป็นตัวทุกข์นี่
นี่ความทุกข์ที่เป็นกิริยาอาการนะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส อาการเหล่านี้ ถ้ามันเป็นอาการหรือเป็นเพียงความรู้สึกของระบบประสาท ของจิตตามธรรมชาติ ไม่มีความรู้สึกว่าโศก โสกะ เทวะ ทุกขะของเรานี่ ไม่ได้ เราเป็นตัวโศก โสกะ เทวะ ทุกขะนี้มันก็เหมือนกันแหละ มันก็ไม่ได้เป็นความทุกข์ในความหมายนี้ มันเป็นความทุกข์ในความหมายก็มีลักษณะแห่งความทุกข์ แต่ไม่เจ็บปวดอะไรแก่ ให้แก่เรา โสกะ เทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาสเป็นความทุกข์ขึ้นมาก็ต่อเมื่อมีอุปาทานว่า เราเป็นผู้ทำอย่างนั้นหรือสิ่งนั้น มันก็เกิดแก่เรานะ มันเป็นทุกข์เพราะมีเราเข้าไปรวมอยู่ด้วย นี่อุปาทานเป็นเหตุให้มันทุกข์ ให้เป็นทุกข์
นี้ความรู้สึกทุกข์ที่มาจากตัณหานะ เราพบกันเข้ากับสิ่งที่ไม่รัก เราพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก แล้วเราต้องการอย่างไรแล้วเราก็ไม่ได้นั่นนะ มันมีความหมายอยู่ที่ตัวเรานะ ตัวเรา เรารู้สึกว่า เรา เราพบกับสิ่งที่ไม่รัก พรากจากสิ่งที่รัก ถ้ามันไม่มีความรู้สึกว่าเป็นตัวเรานะ มันจะพบกันอย่างไร มันจะจากกันอย่างไร มันก็ไม่มีความทุกข์ ทีนี้มันมีความรู้สึกว่าเราพบกับสิ่งนั้นที่เราไม่รัก หรือว่าพรากจากสิ่งที่เรารัก มันมีส่วนที่เป็นตัณหา ต้องการอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ ต้องการอย่างโน้น เราเป็นผู้ต้องการแล้วเราก็ไม่ได้นี่ มันมีความหมายแห่งอุปาทาน อุปาทานเข้าไปรวมอยู่ด้วยเสมอ มันจึงเป็นความทุกข์
ตัวอย่างเช่นว่า เราพบกับศัตรู คนที่เป็นศัตรูของเรานี่ มันมีความรู้สึกว่าเรา และนั่นศัตรูของเรา มันมีเราเข้ามาอย่างนี้มันจึงเป็นทุกข์ ถ้าคนที่เป็นศัตรูของเรา แต่เราลืมไปเสียว่า คนนี้เป็นศัตรูของเรา เราจะเห็นกันจะมัน จะมานั่งอยู่ด้วยกัน มันก็ไม่รู้สึกเป็นทุกข์ นี่ความหมายของตัวเราหรือของเรามันไม่มี คนที่เรารักก็เหมือนกัน เราลืมไป มันก็ไม่มีความรู้สึกว่าพลัดพรากจากของรัก ถ้าเราไม่ได้มีตัวเราเป็นผู้ต้องการมาเป็นของเรา มันก็ไม่มีความหมายอะไรที่ว่าจะได้หรือจะไม่ได้ จะได้ไม่ได้มันก็เท่ากันนะ มีความรู้สึกว่าตัวเราคืออุปาทานเข้าไปเกี่ยวข้อง มันจึงมีความรู้สึกว่าพบกับสิ่งที่ไม่รัก พลัดพรากจากสิ่งที่รัก หรือปรารถนาสิ่งใดก็ไม่ได้สิ่งนั้น มันมีอุปาทานว่าเรา ว่าของเรา เป็นตัวเหตุให้เกิดทุกข์
คนที่เป็นศัตรูของเรา เราไม่ชอบ เพียงแต่เราได้ ได้ยินชื่อของเขา ไม่ได้ ไม่ได้เผชิญหน้ากัน เพียงแต่ได้ยินชื่อของเขา มีใครออกชื่อเขาให้เราได้ยิน หรือเพียงแต่เราเห็นชื่อของเขาในหน้าหนังสือพิมพ์ เราก็มีความทุกข์ในความหมายที่เราเกลียด เราโกรธ เราเป็น เป็นความทุกข์ที่ทรมานใจเรา นี่มันมีความหมายแห่งตัวตนนั่นเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ไม่ใช่ว่าไอ้ตัวแท้ๆ มันจะเป็นทุกข์ ตัวแท้ๆ มีเพียงลักษณะแห่งความทุกข์ไม่ได้เกี่ยวกับเรา ถ้ามีไอ้ความหมายว่าเรา ว่าของเรา เข้าไปเกี่ยวข้องด้วย มันก็เป็นทุกข์แก่ตัวเรา ผู้มีความรู้สึกว่าเรา ว่าของเรา ศัตรูของเรา คนรักของเรา หรือสิ่งที่เราต้องการ
เรามาดูที่ขันธ์ทั้ง ๕ กันอีกครั้งหนึ่ง ที่ว่ารูปขันธ์นะ เรื่องของรูปทั้งทั้งหมด Bodily System ทั้งหมดที่เกี่ยวกับรูป กับร่างกายนี่ ก็มันเป็นร่างกายที่เราไม่ได้ยึดถือว่าร่างกายของเรา มันจะไม่มีความทุกข์ชนิดที่ทรมานให้เป็นทุกข์หรือเจ็บปวด มันก็มีลักษณะที่ว่าดูแล้วมันก็เป็นทุกข์ของร่างกาย และถ้ามีอะไรมาทำแก่ร่างกายนี่ เราไม่ได้รู้สึกว่ามัน มันเป็นเพียงแก่ร่างกายนี่ มันรู้สึกว่ามันทำแก่เรา เช่น มีดบาดนิ้วมือนี่ มันไม่ได้รู้สึกว่ามีดบาดนิ้วมือ แต่มันรู้สึกว่ามีดบาดกู มีดบาดกู ไม่ใช่มีดบาดนิ้วมือนี่ ไอ้ที่เป็นรูป มันก็มาเป็นรูปของเรา ร่างกายของเรา มันจึงเป็นทุกข์ ต่อเมื่อเรายึดถือว่า รูปของเรา
ในร่างกายนี้มันมี Nervous System ที่จะรู้สึกอะไรได้โดยระบบประสาท ระบบประสาทก็ได้รู้สึก ได้ทำความรู้สึก แต่เราไม่เคย เคยถือ หรือเคยคิด เคยรู้สึกว่า ระบบประสาทรู้สึกนะ ไม่ได้เคยคิดอย่างนั้นเลย แต่กูรู้สึกเสมอ เรื่องที่มันเกิดแก่ระบบประสาทนั่น มันก็มาเกิดแก่ตัวกู อุปาทานว่าตัวกู มันก็กลายเป็นเรื่องของตัวกู แล้วมันก็เป็นทุกข์
ถ้าความรู้สึกว่าตัวตนมันเข้มข้น เข้มข้นนี่ มันรู้สึกเกิน เกินธรรมชาติ เป็นความรู้สึกที่เกินธรรมชาติมาก ที่จะเรียกว่าอะไรก็ไม่ทราบเหมือนกัน Hysteria หรืออะไรก็ ก็ไม่ใช่ คล้ายๆ นั่น เด็กคนหนึ่งหนามเกี่ยว ไม่ได้ เลือดก็ไม่ได้ออก เพียงแต่หนามเกี่ยวนี่ มันเป็นลม มันเป็นลม และเมื่อเด็กคนหนึ่งไม่รู้สึกว่าอะไร เด็กคนหนึ่งมันมีความรู้สึกนี้มากเกินไป หนามเกี่ยวเท่านั้นนะ มันจะรู้สึกว่าจะตายและก็เป็นลม นี่เป็นเรื่องจริงที่เห็นมาด้วยตนเอง
เมื่อเล็กๆ เป็นเด็กเล็กๆ ด้วยกัน มีเพื่อนไปเล่นที่กองขยะ แล้วเขาไปทำให้น้ำหมึกแดงที่ติดอยู่ที่กระดาษนั่นมาติดเข้าที่นิ้วมือ มีสีแดงติดอยู่ที่นิ้วมือ เด็กคนนั้นวิ่งไปหาแม่ที่บ้านว่าเขาจะตายแล้ว เขาจะตายแล้ว สีแดงนี่เขาคิดว่าเป็นเลือด แล้วก็จะตายแล้ว นี่วัตถุแท้ๆ เลยถูกยึดถือมาเป็นความหมายแห่งตัวตนแล้วก็เป็นทุกข์ เพราะอุปาทาน เพราะอุปาทาน
นี่รูปขันธ์ล้วนๆ มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงไป มันก็เป็นเรื่องของรูปขันธ์ แต่พอรูปขันธ์ว่าเป็นตัวกู ตัวกูเป็นรูปขันธ์ ร่างกายนี้เป็นตัวกู ทำอะไรได้ มันก็มีความหมายลึกขึ้นไปเป็นอุปาทาน มันก็จะต้องมีความทุกข์ เพราะถือเอารูปขันธ์เป็นตัวเรา หรือว่าเป็นของเราก็ตามเถอะ ตัวเราก็ได้ ของเราก็ได้ เป็นอุปาทานเหมือน พอๆ กันแหละ แล้วมันก็เป็นทุกข์เพราะอุปาทานนั้น
ทีนี้ก็ดูที่เวทนา ที่รู้สึกเป็นสุข เป็น พอใจ ไม่พอใจนี่ มันเวทนา ถ้ามันเป็น ถ้าเราเห็น เราเห็น รู้สึกว่ามันเป็นเพียง Mechanism ของระบบประสาทนะ มันไม่ทำอะไร มันไม่ ไม่มีปัญหาอะไร มันก็เป็นผลแก่ระบบประสาท แต่เดี๋ยวนี้มันไม่คิดอย่างนั้น มันเป็นตัวกู เป็นตัวกูผู้รู้สึก มันรู้สึกแก่กู ไอ้เวทนาขันธ์ก็ถูกอุปาทานยึดมั่นถือมั่นเป็นเวทนาขันธ์ เป็นเวทนาของกู มันก็เลยมีปัญหา มีเรื่องยุ่งยากลำบาก เกิดเป็นทุกข์แก่ แก่ แก่ตัวกู ซึ่งที่แท้ก็ไม่ใช่มีตัวจริงนะ แต่มันรู้สึกได้ ในความรู้สึกมันก็เป็นทุกข์ เพราะเวทนาที่ถูกยึดถือว่าเป็นตัวกูหรือของกู
มันไม่เป็นของจริง มันเป็นความสำคัญผิด ความโง่ ความสำคัญผิดนี่ บางทีมันก็เวทนาขันธ์เป็นตัวกู เวทนาขันธ์เป็นผู้รู้สึก นี่เวทนาขันธ์เป็นตัวกู แต่บางทีมันโง่ไปว่า เวทนานั้นเป็นเวทนาของกู เวทนาขันธ์เป็นของกู ความรู้สึกว่าตัวกูก็เป็นอุปาทาน ความรู้สึกว่าของกูก็เป็นอุปา อุปาทานเท่ากันแหละ เมื่อใดอุปาทานเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็มีปัญ มีปัญหา มีความยุ่งยาก มีความทุกข์
นี้ขันธ์ต่อไป สัญญาขันธ์กับสังขารขันธ์ มันมีความรู้สึกเป็นตัวตนหรือเป็นของตนทำนองเดียวกันแหละ Perception หรือสัญญาขันธ์ มัน Regard นั่นนี่ เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ Regard ที่คิดว่าตัวผู้ Regard นี่คือเรา หรือว่าไอ้ผลของคำว่า Regard นั่นมันเป็นของเรานี่ สังขารขันธ์ Conceive มันตัวกู Conceive หรือผลแห่ง Conceive เป็นของกู นี่มันก็เป็นทุกข์เพราะเมื่อมีตัวกูเข้าไป Perceive หรือ Conceive และมันไม่เป็นไปตามที่ต้องการ และมันมีผลออกมาเป็นความหลอกลวง หลอกลวง ไม่จริง ความทุกข์ก็เกิดขึ้นด้วยการกระทำที่เป็น Perceive หรือเป็น Con Conceive ก็ตาม
ที่นี้ก็มาถึงขันธ์สุดท้ายคือ วิญญาณ ถ้ามันมีความรู้สึกเป็นวิญญาณ วิญญาณ เป็น Sense เป็น Soul เป็น Spirit เป็นอะไรที่เป็นตัวตนตามแบบฮินดู ทีนี้ละก็มันจะมีปัญหาขึ้นมาทันที มีวิญญาณที่เป็นตัวตน แต่ถ้ามันเป็นวิญญาณเพียงรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก เป็น Mechanism ตามธรรมชาติของอวัยวะเหล่านี้แล้ว มันก็จะไม่เป็นทุกข์ แต่ถ้ามันเป็นตัวกู เป็นตัวกู เป็นความรู้แจ้งของกู มันก็จะต้องเข้ามาสู่อุปาทานขันธ์นะ แล้วก็จะต้องเป็นทุกข์ มีปัญหาสารพัดอย่าง
อย่างที่ได้บอกท่านทั้งหลายแล้วว่า ลัทธิ Hinduism ของพราหมณ์นะมาถึงประเทศ ดินแดนประเทศไทยนี้ก่อน ก่อนพุทธศาสนาจะมาถึง มันมีการติดต่อกับอินเดียตั้งแต่ก่อนพุทธกาล หรือว่าก่อนที่พุทธศาสนาจะมาถึงก็ตั้งแต่เมื่อไหร่ก็สุดแท้ แต่มันมาก่อนก็มาสอนเรื่องวิญญาณ วิญญาณตัวตนนี้ให้แก่ประชาชนฝังแน่นอยู่แล้ว พุทธศาสนามาทีหลัง ก็สอนคำว่าวิญญาณนี้อีกความหมายหนึ่ง Hinduism เขาก็มี อัตตา หรืออาตมันนะ ที่เรียกว่าวิญญาณในที่นี้ ว่ามันมีอยู่ในคนเรา มันมีศูนย์กลางอยู่ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง หรือที่จิตใจก็ตาม พอมีเรื่องทางตา วิญญาณก็วิ่งมาทางตา รู้อารมณ์ทางตา มีเรื่องทางหู วิญญาณก็วิ่งมาทางหู มีเรื่องทางจมูก วิญญาณก็มาทำหน้าที่ วิ่งมาทำหน้าที่ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย นี่วิญญาณที่มีเป็นตัวตนอย่างนี้ เวลาเรานอนหลับมันออกไปเที่ยว ถ้าเราตื่นก็คือวิญญาณมันกลับเข้ามา ถ้าวิญญาณไม่มาเราก็ตื่นไม่ได้ หรือเวลา เวลาที่เราสลบไป วิญญาณก็ไปไหนก็ไม่รู้นี่ นี่เป็นตัวตนเอามากๆ อย่างนี้ ได้รับคำสั่งสอนเป็นพื้นฐานอย่างนี้ ในประเทศที่ได้รับวัฒนธรรมทางศาสนาจากอินเดียชนิดนี้ ในเมืองฝรั่งนั้นไม่ทราบจะรู้สึกเรื่อตัวตนกันอย่างไร มันอาจจะมีความรู้สึกหรือคำสั่งสอนที่คล้ายๆ กันก็ได้ เพราะมันมีคำว่า Spirit หรือมีคำว่า Soul หรือว่า Sense อะไรอยู่เหมือนกันนะ นี่ขอให้เข้าใจว่าวิญญาณที่เป็น Sense เป็น Soul นั้นมัน มันอวิชชา วิญญาณที่เป็นเพียง Mechanism ของ Organic ตา หู จมูก ลิ้น กาย นี้ คือวิญญาณที่ไม่ถูกหลอก วิญญาณที่รู้จักโดยแท้จริง ที่ไม่มีอุปาทาน
ถ้าคำว่าวิญญาณ วิญญาณ แปลว่า Soul หรือแปลว่า Sense หรือเป็น Egoistic Concept ใดๆ ก็ตามนะ ไม่ใช่วิญญาณในพุทธศาสนา ถ้ามันเป็นเพียง Momentary Consciousness นี่ๆ วิญญาณนี่ วิญญาณในพุทธศาสนาที่อธิบายอย่างถูกต้อง ฉะนั้นพุทธศาสนาจึงมีหลักรวมทั้งหมดว่า ถอนความรู้สึกว่าตัวตน หรือว่าของตนออกไปเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ ขอให้ท่านจำคำนี้ให้ดีที่สุด สำคัญที่สุด ว่าพุทธศาสนาแท้ จริงแท้ เดิมแท้ นั้นนะคือคำสอนเรื่อง ถอนความรู้สึกที่เป็นอุปาทานนะ เสียจากขันธ์ ๕ แล้วเป็นขันธ์ ๕ ที่ไม่มีอุปาทาน แล้วก็ไม่มีความทุกข์ นี่คือหัวใจของพุทธศาสนา
ขอถือโอกาสพูดเสียตรงนี้เลย ประหยัดเวลาทำให้เข้าใจง่ายนะ ท่านทั้งหลายถูกหลอกให้เที่ยวซื้อสินค้าที่ปิดฉลากต่างๆ ต่างๆ กัน เป็นของหลอกให้เข้าใจผิด เช่น ท่านจะต้องซื้อหนังสือว่า Buddhism in Thailand, Buddhism in Ceylon, Buddhism in Burma, Buddhism in Tibet, in China, in… ตรง หลายๆ Buddhism นี่คือมันติดป้ายหลอก พระพุทธศาสนาแท้จริงมีอย่างเดียว เอาอุปาทานออกไปเสียจากขันธ์ ๕ เถรวาทก็ดี มหายานก็ดี Zen Buddhism ก็ดี อะไรก็ดี ไม่มีเรื่องอื่น นอกจากเอาอุปาทานออกไปเสียจากขันธ์ ๕ นั่นนะ ท่านก็เที่ยวเสียเวลาศึกษาพุทธศาสนาในเมืองไทย ในลังกา ในทิเบตแหละ และท่านก็ยังไม่พบพุทธศาสนาที่แท้จริง คือพบเปลือกของมัน เรื่องวิญญาณอย่างนั้น เรื่องวิญญาณอย่างนี้ เรื่องพิธีรีตองต่างๆ นาๆ มันบวกเอาไอ้วัฒนธรรมบ้าๆ บอๆ ของประเทศนั้นเข้าไป ใส่เข้าไปให้เป็นพุทธศาสนา ถึงเนื้อแท้ Nucleus แท้จริง แท้ๆ คือ เอาอุปาทานออกเสียจากขันธ์ ๕ อาตมาได้พยายามตรวจดูสูตรใหญ่ๆ ยาวๆ สำคัญของมหายานนะ ตอนต้นๆ สูตรมันเริ่มบ้าๆ บอๆ ที่ไหนก็ไม่รู้ พอไปจบตอนสุดท้ายสูตรนั่นนะเอาอุปาทานออกไปเสียจากขันธ์ ๕ อย่างนี้ด้วยกันทุกสูตร แม้สูตรของมหายานที่อย่างยืดยาวนี่ ฉะนั้นอย่ามีพุทธศาสนาอย่างนั้น อย่างนี้ อย่างโน้น ประเทศนั้น ประเทศนี้แหละ มันมีพระพุทธศาสนาอย่างเดียวของพระพุทธเจ้า เอาอุปาทานออกไปเสียจากขันธ์ ๕
ท่านทั้งหลายบรรดาที่นั่งอยู่ที่นี่ ถ้าใครอยากจะไปศึกษาพุทธศาสนาที่ทิเบตแล้วก็ ขอให้เข้าเรื่องนี้ เข้าใจเรื่องนี้ดีๆ ไม่มีเถรวาท ไม่มีมหายาน ไม่มี Zen Buddhism ไม่มีวัชรยาน ไม่มีอะไร มีคำเดียวว่า ดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ ดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ นี่คือตัวแท้พุทธศาสนา นอกนั้นเป็นเรื่องเติมเข้ามา เติมเข้ามา เติมเข้ามา ให้มันดูแปลกประหลาดจนเป็นของลึกซึ้ง เข้าใจไม่ได้
เป็นที่เชื่อหรือยอมรับกันว่า ในทิเบตนะมีคัมภีร์ คัมภีร์ สูตรคัมภีร์ ที่แปลยากที่สุด เข้าใจยากที่สุด เหลืออยู่ที่นั่นมาก เพื่อนของเราคนหนึ่งฉลาดมาก อย่าออกชื่อเขาเลย เขากำลังหลงใหลที่จะแปลไอ้คัมภีร์สูตรทิเบต ที่แปลยาก ที่เข้าใจยากนี้ออกมาให้ได้ เขาจะไม่พบอะไรที่เป็นพุทธศาสนา มันพบแต่ความ คำอธิบายแปลกๆ ลึก ลึกซึ้งตามแบบของที่นั่นแต่โบรมโบราณมาแล้ว จะไม่พบหัวใจของพุทธศาสนา หัวใจพุทธศาสนามีแต่ดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่ท่านต้องศึกษาพุทธศาสนาใน ในชีวิต ในขันธ์ทั้ง ๕ ที่เป็นตัวชีวิต เอาขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวคัมภีร์สำหรับศึกษาให้เห็นว่าอุปาทานอย่างไร ขันธ์ ๕ อย่างไร ขันธ์ ๕ ล้วนๆ ล้วนๆ นะ ไม่มีอะไรปนนะอย่างไร แล้วขันธ์ ๕ ที่มีอุปาทานเข้าไปปนนะเป็นอย่างไร ศึกษาอย่างนี้แหละที่จะศึกษาพุทธศาสนาที่แท้จริง และไม่ต้องไปทิเบต ไม่ต้องไปจีน ไม่ต้องไปมองโกเลียที่มันยังมีอะไรลึกลับนะ มาศึกษาจากภายในตัวเอง รู้จักขันธ์ทั้ง ๕ รู้จักอุปาทานที่มีในขันธ์ทั้ง ๕ แล้วจะพบพุทธศาสนาที่เป็นของแท้ ของจริง หรือหัวใจที่จะดับทุกข์ได้
แต่ถึงอย่างไรก็ดี เราก็ยอมรับนะ ว่ามันมีความแตกต่างกันจริง ระหว่างพุทธศาสนาที่ทำขึ้นใหม่ๆ แปลกๆ กันนะ ถ้าเป็นเถรวาท มันพูดตรงไปตรงมาและในขอบเขตจำกัด ถ้าไม่มีปัญญาแล้วก็รู้ไม่ได้ ที่พวกมหายานเขาใจกว้าง เขาจะทำให้มันกว้างออกไป จนถึงคนโง่ๆ คนกลางถนน ยายแก่อะไรก็รู้ได้ เขาจึงบัญญัติทฤษฏีอย่างมหายาน จึงใช้คำว่า มหา มหาคือกว้างไกลออกไป แล้วเอาคนโง่ทั้งหมดไปด้วยได้นี่ เขาคิดอย่างนี้ ที่นี้ Zen มาถึงโอ้ ไม่เอา ไม่เอา ฉันจะเอาแต่คนที่ฉลาด ฉลาดที่สุดนี่ วิธีลัดสั้นที่สุดสำหรับคนฉลาดที่สุด มันก็มีแบบ Zen ขึ้นมา ที่นี้แบบวัชรยาน ก็ไอ้ยานอะไรยานๆ ก็มีพวกที่น่าสนใจ สวยสดงดงามน่าสนใจ Attractive ที่สุด แก่การศึกษาก็มีขึ้นมา มีความต่างอย่างนี้มีอยู่จริง แต่ว่าแล้วในที่สุด มันต้องเข้าไปสู่จุดเดียวที่ว่า เอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ นั่นนะเป็นความมุ่งหมาย
ในโลกปัจจุบันนะ โลกยุค Technology ยุคปรมาณู ยุคอวกาศ คือยุคปัจจุบันนี้ ไม่ต้องสนใจพุทธศาสนาในแง่อื่นใด สนใจแต่เพียงว่า ดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ อย่างไรเท่านั้นแหละ พอแล้ว ไม่ต้องไปที่ไหน ศึกษาจากภายในอย่างวิทยาศาสตร์ อุปาทานเกิดขึ้นอย่างไร ดึงอุปาทานออกไปเสียอย่างไรหรือห้ามอุปาทานไม่ให้เกิดอย่างไร นี่เป็นพุทธศาสนาแท้จริง แล้วเป็นในลักษณะของวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ Philosophy ไม่ใช่ Logic ไม่ใช่อะไรทำนองนั้น วิทยาศาสตร์ทางจิตใจโดยเฉพาะ ดึงอุปาทานออกมาเสียได้จากขันธ์ทั้ง ๕ นี่คือพุทธศาสนา
เราเสียเวลาพูดเรื่องข้างๆ เคียงหรือ Background มาก มากไปแล้ว แต่ว่าไม่เป็นไร มันช่วยให้เข้าใจพุทธศาสนาแท้จริงโดยเร็ว ให้สรุปความว่า ความทุกข์นั้นเกิดต่อเมื่อมีอุปาทาน เมื่อมีอุปาทานจึงจะเป็นตัวทุกข์ที่เป็นปัญหา ถ้าไม่ถึงนี้ยังไม่ใช่ตัวความทุกข์ที่แท้จริง นี่ขอให้เข้าใจว่า ความรู้สึกเจ็บปวดนี้ที่ยังไม่มีอุปาทานนี้ไม่มี ไม่ใช่ความทุกข์ที่แท้จริง เราถูกกระทำให้เจ็บปวด ถ้ามันเป็นเพียงแต่การกระทำที่นั่นตามธรรมชาติ ก็ก็เป็นเพียงความรู้สึกเจ็บปวดที่นั่น ต่อเมื่อไรอุปาทานมีกูเจ็บปวด เจ็บปวดของกู กูจะตาย นีไอ้ความทุกข์อันนี้ที่เล็กนิดเดียวจะขยายออกเป็นความทุกข์มหาศาล ทุกข์ที่รู้สึกตามธรรมชาติของระบบประสาทไม่มีปัญหาอะไร แต่พอเอามาเป็นตัวกู ของกู เป็นความทุกข์มหาศาล เป็นบ้าบ้าง ตายเพราะความกลัวบ้าง นี่ความทุกข์ที่แท้จริงมาจากอุปาทาน
พระพุทธเจ้าท่านต้องการให้เข้าใจเรื่องนี้ง่ายๆ โดยง่ายนะ ท่านก็ให้อุปมา อุปมานิยายที่เป็นอุปมาเป็น Simile ว่า มีลูกศร ลูกศรนะอยู่ ๒ ชนิด ลูกศรอันนึง ลูกศรเฉยๆ ลูกศรตามธรรมดา ลูกศรอันหนึ่งอาบยาพิษ ย้อมด้วยยาพิษ บุรุษคนหนึ่งเขาถูกลูกศรธรรมดาแทงเขาก็เจ็บปวดเพียงเท่านั้นแหละ เป็นความรู้สึกของ Nervous System เท่านั้นแหละ แต่เดี๋ยวมา ต่อๆ มาประเดี๋ยวหนึ่งลูกศรอีกดอกหนึ่งที่มียาพิษด้วยมาแทงเข้า เข้าอีกดอกหนึ่งเป็นดอกที่ ๒ นี่ เขาจะเจ็บปวดกี่มากน้อย ท่านคิดดูเอาเอง ลูกศรดอกที่ ๒ อาบยาพิษ เขาก็เจ็บปวดมากเหลือประมาณ ไอ้สิ่งที่เรียกว่ายาพิษ ยาพิษนั้นก็คือ อุปาทาน อุปาทานว่าตัวเรา ว่าของเรานี่มันเป็นยาพิษ ดอกศรลูกที่ ๒ ดอกที่ ๒ แทงมันเจ็บปวดมากกว่ากันมากมายมหาศาล แล้วเราก็มีปัญหาอย่างนี้อยู่เรื่อยไป ลูกศรตามธรรมดาแทงนี้เราก็ไม่สนใจ ไม่รู้สึก ไม่มีปัญหา แต่พอลูกศรที่มีอุปาทานเข้ามาแทงด้วยยาพิษ เราก็เจ็บปวดเหลือประมาณ ท่านจงระวังลูกศรดอกที่ ๒
เมื่อมีดบาดนิ้ว เราก็ถูกลูกศรดอกแรก ลูกศรล้วนๆ ไม่มีอะไร พอเรามีความรู้สึกว่ามีดบาดกู มีดบาดกูนี่ ลูกศรดอกที่ ๒ ที่อาบยาพิษด้วยอุปาทาน มีความทุกข์อย่างมหาศาลนะ มีดบาดนิ้วไม่มีปัญหาอะไร พอมีดบาดกูละนี่ มันลูกศรดอกที่ ๒ ที่เคลือบด้วยยาพิษอุปาทาน นั่นไปใคร่ครวญดูให้ดี ทุกเรื่อง ทุกเรื่อง จะเป็นอย่างนี้ ถ้าเป็นเพียง Mechanism ของธรรมชาตินี่ ดอกศรไม่มียาพิษ เพราะว่ามีตัวกู มีของกู มีเพื่อกู เป็นดอกศรลูกที่ ๒ ที่อาบยาพิษ เข้าใจเรื่องนี้ดีจะเข้าใจพุทธศาสนาดี
เดี๋ยวนี้การศึกษาของเรามันเฟ้อ มันไม่ต้องการจะศึกษาตรงๆ ลงไปที่ตัวพุทธศาสนา มันตั้งปัญหาว่า ทำไม อย่างไร เมื่อไร ที่ไหนมากเกินไป พระพุทธเจ้าก็เล่าวลีขึ้นมาอีกอันหนึ่งไว้ว่า บุรุษคนหนึ่งเขาถูกลูกศรอาบยาพิษแทงติดอยู่อย่างนี้ เพื่อนฝูง ญาติ มิตร สหาย หมอว่าจะเอาลูกศรออก รักษา เขาบอกว่าไม่ ไม่ ยังไม่ ฉันอยากจะรู้ก่อนว่าใครยิงฉันนะ ยิงด้วยลูกศรอะไร ลูกศรนั้นเป็นไม้อะไร ทำด้วยไม้อะไร ทำด้วยไม้ไผ่หรือไม้อะไร มันอาบยาพิษอะไร ทำไมมันจึงมายิงฉัน ทำไมมันจึงต้องทำกับฉันอย่างงี้ ต้องบอกให้ฉันรู้ทั้งหมดนี้ก่อน ฉันจึงให้ถอนลูกศร เขาไม่ยอมให้ถอนลูกศรออกเพื่อรักษาให้หาย เขาก็ตาย เขาก็ตาย เดี๋ยวนี้เรามันต้องการจะรู้มากเกินไป ไม่จัดการโดยเร็วกับไอ้ความทุกข์โดยตรง คือดึงอุปาทานออกมาจากขันธ์ ๕ ดึงอุปาทานออกมาจากขันธ์ ๕ เราไม่ต้องการอย่างนี้ เราต้องการรู้เรื่องอะไรมากเกินไป มากเกินไปจนไม่ได้มีการดับทุกข์ แล้วก็ตายเปล่า ตายด้วยความทุกข์นี่ระวังให้ดี การศึกษาพุทธศาสนาที่เฟ้อ เฟ้อก็มีเหมือนกัน เฟ้ออย่างยิ่ง
เพราะฉะนั้นท่านต้องระวังให้ดี ปัญหา คำถามที่จะเอามาถามอาจารย์นั้นนะ อย่าให้มันมาก อย่าให้มันเฟ้อ กลัวที่จะเสียเวลาถามปัญหาเฟ้อๆ มากมาย จนตอบไปก็ไม่มีประโยชน์อะไร จงามปัญหาแต่เพียงว่า จะดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ อย่างไร นี่เป็นจุดศูนย์กลางอันนี้ อย่าถามปัญหาเฟ้อมากมายเสียเวลาเปล่าๆ นี่เรื่องหัวใจมันอยู่ที่ดึงอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ อย่างไร อย่าตั้งปัญหาให้เฟ้อแล้วไม่มีจุดจบ
ในที่สุดเราสรุปความว่า พุทธศาสนานี้ก็มีแต่เรื่อง ถอนอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ ท่านจงศึกษาให้รู้เรื่องขันธ์ทั้ง ๕ อย่างที่เคยขอร้องแล้วว่า จงศึกษาเรื่องขันธ์ ๕ ให้ดีที่สุด แล้วท่านก็สังเกตศึกษาต่อไปว่า เมื่อไรเรามีเพียงขันธ์ ๕ ล้วนๆ นะ May a pure like ขันธ์ ๕ นี่ ขันธ์ ๕ ล้วนๆ ขันธ์ ๕ ล้วนๆ เมื่อไรเรามีขันธ์ ๕ ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน Attachment วิปัสสนาไม่ต้องไปศึกษาที่ไหน วิปัสสนาศึกษาที่ขันธ์ ๕ เวลานี้ล้วนๆ ไม่มีอุปาทาน หรือขันธ์ ๕ เวลานี้มีอุปาทาน รู้จักสิ่งที่เรียกว่าอุปาทานให้ดีๆ แล้วก็พยายามจับทำให้ขันธ์ ๕ นี้มันปราศจากอุปาทานอยู่เรื่อย แล้วความทุกข์ก็จะไม่มี ไม่มีโดยประการทั้งปวง มันมีแต่ Mechanism ทางระบบประสาท ทางร่างกายนั้นไม่เท่าไหร่หรอก เป็นเรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้ามันมีอุปาทานเข้ามาแล้วมันเป็นเรื่องทั้งหมดของความทุกข์
ผู้ประสบความสำเร็จสูงสุดในพุทธศาสนานะ เราเรียกว่าพระอรหันต์ พระอรหันต์ ท่านอย่าเข้าใจพระอรหันต์ให้ยุ่งยากลำบากมากมาย เข้าใจว่าพระอรหันต์ท่านมีแต่เพียงขันธ์ ๕ ล้วนๆ ไม่มีอุปาทาน ในระบบรูป ในระบบนาม My body มีแต่ขันธ์ ๕ ล้วนๆ ไม่มีอุปาทาน ส่วนเราปุถุชนทั้งหลายมันมีขันธ์ ๕ ที่มีอุปาทานมากบ้างน้อยบ้าง นี่ต่างกันอย่างนี้ เอาอุปาทานออกไปหมดสิ้นก็เป็นพระอรหันต์ ไม่มีความทุกข์เลย
คำแปลของคำว่า อรหันต์นี่ แปลยากที่สุด แปลยากที่สุด ที่เห็นแปลๆ เป็นภาษาฝรั่งต่างๆ นาๆ มันไม่ตรงกับความหมายนะ มันก็ฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่าน ขอให้แปลคำว่า อรหันต์ อรหันต์ว่ามันมีขันธ์ ๕ ที่บริสุทธิ์ ไม่มีอุปาทาน เมื่อนั้นไม่มีความทุกข์ หมดความทุกข์ อรหันต์แปลว่าสิ้นสุดแห่งความทุกข์นั่นแหละถูกต้องที่สุด เพราะฉะนั้นเราก็จะหมดปัญหาเมื่อมีความเป็นพระอรหันต์ คือดึงอุปาทานออกไปจากขันธ์ ๕ หรือจะใช้คำให้ถูกต้องที่สุด ป้องกันไม่ให้อุปาทานเกิดขึ้นในขันธ์ ๕ แต่คำพูดธรรมดาเรามักจะพูดว่าอุปทาน ดับอุปาทาน ดับอุปาทาน คำนี้ไม่ถูกตามความจริงนะ ตามความจริงไม่ให้เกิดอุปาทาน ให้ขันธ์ ๕ ยังบริสุทธิ์อยู่ ไม่มีอุปาทานนั่นนะ การปฏิบัติที่ถูกต้องนี่ ป้องกันไม่ให้เกิดอุปาทาน คำนี้ถูกต้อง ส่วนดับอุปาทานนี่มันยุ่งยากลำบาก มีความหมายที่เข้าใจยาก ป้องกันไม่ให้เกิดอุปาทาน ด้วยการรู้ธรรมะและก็มีความไม่ประมาท ไม่ประมาท หมายถึง ป้องกันไม่ให้เกิดอุปาทาน นั่นนะคือความไม่ประมาท ขอให้สนใจ
ที่พูดว่าไม่ประมาท ไม่ประมาทเป็นความหมายที่สำคัญ ไม่ประมาทนี่ก็หมายความว่า รีบทำเป็นการด่วน รีบทำเป็นการด่วน เอาอุปาทานออกไป รีบทำเป็นการด่วน เหมือนกับว่าไฟไหม้บ้าน ไฟไหม้บ้านเราเราต้องรีบดับ เราจะไม่มัวไปรอว่า ใครเป็นผู้จุดไฟ เขาจุดไฟด้วยเรื่องอะไร ไฟเขาใช้น้ำมันเบนซินของบริษัทไหน ใช้ไม้ขีดไฟของบริษัทไหน นี่มันเรื่องบ้า มันไม่ต้องไปรู้เรื่องเหล่านั้น แต่ว่ามันดับไฟอย่างไร ดับไฟอย่างไร ดับไฟอย่างไร รีบดับเถอะ นี่เขาให้รีบดับอุปาทาน รีบดับอุปาทานหรือดับทุกข์เป็นการรีบด่วนกว่าเรื่องใดๆ ทั้งหมด
อาตมากลัวว่าท่านทั้งหลายจะเสียเวลาด้วยเรื่องนี้มากเกินไป จะเสียเวลาด้วยเรื่องการศึกษาที่ไม่จำเป็น ตั้งคำถามที่ไม่จำเป็น เสียเวลามากเกินไป จึงพูดรวบรัดว่ามีสิ่งเดียว เอาอุปาทานออกจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่สรุปความเรื่องความทุกข์ มันเป็นทุกข์เพราะมีอุปาทาน จงรู้จักอุปาทาน จงรู้จักขันธ์ ๕ รู้จักวิธีเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ ขอให้เราสนใจกันแต่เรื่องนี้ ไอ้ที่เรียกว่า อานาปานสติ อานาปานสตินี่คือวิธีเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ ท่านทั้งหลายก็ตั้งใจดีอยู่แล้วที่จะศึกษาอานาปานสติ ก็เป็นวิธีที่เอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ ขอให้พยายามให้ดีที่สุดและโดยเร็วที่สุด
เรากำลังพูดกันถึงเรื่อง ทุกขอริยสัจ อริยสัจข้อที่ ๑ เกี่ยวกับความทุกข์ ถ้าพูดทางภาษาละมันก็ยุ่งยากลำบาก เพราะว่าคำว่าทุกข์ ทุกขะ ทุกขะนี่ คำเดียวนี่ ทุกขะนี่ แปลว่าตัวความทุกข์ที่ทำความทรมานเจ็บปวดให้แก่เราก็ได้ และคำว่าทุกข์ ทุกข์นี่แปลว่านำมาซึ่งความทุกข์ เป็นเหตุเป็นปัจจัยอะไรที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ก็ได้ และคำว่าทุกข์ ทุกขะนี่มันแปล มันมีลักษณะแห่งความทุกข์ มี Characteristic ของความทุกข์นี่มันยังไม่ใช่ตัวทุกข์อย่างนี่ก็ได้ อย่างนี้เป็นความลำบากของภาษา ภาษาที่ใช้ไม่ถูกใช้ไม่ถูกไม่พอนี่มันลำบากแก่การศึกษา เพราะฉะนั้นอย่าเอาความทุกข์แบบไหนเลย เอาความทุกข์แบบที่มันทรมานทางจิตใจนะ เป็นทาง Spiritual นี่ ดับเสียด้วยการถอนเสียซึ่งอุปาทาน เอาออกอุปาทานนี่ ดับทุกข์ที่เป็นความเจ็บปวดนะเสียด้วยการถอนอุปาทาน ศึกษาความทุกข์ในแง่ที่ว่ามันมาจากอุปาทานและถอนมันเสีย นี้เราก็จะรู้เรื่องอริยสัจในพระพุทธศาสนาข้อที่ ๑ ข้อแรก หรือทุกขอริยสัจโดยสมบูรณ์
เมื่อท่านเข้าใจ คือรู้จักสิ่งที่เรียกว่าความทุกข์ดีแล้ว ท่านจะรู้สึกได้ด้วยตนเองว่า ความทุกข์ ทุกข์ ทุกข์นี่ เป็นสิ่งที่น่าเกลียดที่สุด น่ากลัวที่สุด น่าเกลียดที่สุด น่ากลัวที่สุด ขอให้มองเห็นความจริงอันนี้ ถ้าท่านยังไม่มองเห็นความจริงอันนี้ ท่านจะไปรักความทุกข์ เพราะว่าสิ่งที่เรียกว่าอุปาทาน อุปาทานะนั้นนะมันมีความน่ารัก มี Attractiveness มากที่สุด แล้วก็ไปหลงรักอุปาทาน หลงรักตัวกู หลงรักของกู ท่านก็จะมีปัญหามาก ดูสิท่านต้องลำบากเรื่องการเป็นอยู่ เรื่องสวย เรื่องงาม เรื่องอะไรต่างๆ เหล่านี้ มันเป็นเรื่องการถูกหลอกของสิ่งที่เรียกว่าอุปาทานนั่นนะ กลายเป็นว่าเรารักความทุกข์ รักปัจจัยแห่งความทุกข์ นี่ปัญหาที่กำลังมีอยู่ เราก็ดับทุกข์ไม่ได้
ทำไมเราจะต้องแต่งตัวสวยๆ ทำไมเราจะต้องประกวดนางงามที่กำลังกึกก้องไปทั่วโลก ทำไมเราต้องกินอาหารแพงๆ แพงอย่างไม่มีความหมายนี่ เพราะเราเข้าใจผิด เราเอาความทุกข์เป็นสิ่งที่น่าปรารถนากันโดยไม่รู้สึกตัว
สรุปความว่า ขอให้รู้จักความทุกข์ใน ๓ ความหมายที่กล่าวมาแล้วทีแรกนะ มันทำความทรมานความเจ็บปวดให้แก่เรา มันเป็นสิ่งที่น่าเกลียด น่าเกลียดที่สุด แล้วมันก็เป็นสิ่งที่ไร้สาระอย่าเอากับมันเลย รู้จักความทุกข์ในลักษณะอย่างนี้แล้วก็ เรียกว่ารู้ทุกขอริยสัจพอสมควรแล้ว
พระอริยสัจไว้เท่านี้พอแล้ว พอแล้ว ขอยุติการบรรยายวันนี้.