แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในครั้งที่แล้วมา เราได้พูดกันถึงข้อความนำเรื่อง ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า อริยสัจ ในครั้งนี้ก็จะพูดถึงตัวเรื่องอริยสัจโดยตรง
มี มีข้อความสำคัญที่จะต้องพูดก่อนก็คือ ความหมายของคำว่าอริยสัจ ท่านทั้งหลายได้ยินแต่ว่า Noble truth ยังเป็นที่สงสัยอยู่ว่ามันจะตรงกับคำว่า อริยสัจหรือไม่นี้จะต้องพูดกัน
คำว่า Noble อาจจะมีความหมายตามธรรมดาว่า ประเสริฐ หรือว่าน่าเคารพนับถือเท่านั้นก็ได้ แต่คำว่าอริยะ อริยสัจ อริยะนี่มันแปลว่า ปราศจากข้าศึก ลองเทียบดูว่ามันต่างกันหรืออย่างไร
ดังนั้นขอให้ท่านทำความเข้าใจว่า เราจะพูดกันถึงความหมายของอริยสัจ ในฐานะที่ว่าปราศจากสิ่งที่เป็นข้าศึก ข้าศึกคือสิ่งที่ใครๆ ก็ไม่ชอบ ไม่ปรารถนา มีความหมายกว้างขวางทั้งทางวัตถุและทางจิต ขอให้เราได้พูดกันถึงเรื่องนี้โดยละเอียดก่อน
เรื่องอริยสัจนี่รวมเรื่องปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒ ชุดเข้าไว้ ปฏิจจสมุปบาทสำหรับเกิดความทุกข์ ก็คือ อริยสัจที่ ๑ กับที่ ๒ และปฏิจจสมุปบาทสำหรับความทุกข์ดับลงไปนี่คือ อริยสัจข้อที่ ๓ และข้อที่ ๔ เรื่องอริยสัจจึงรวมเรื่องปฏิจจสมุปบาทไว้ทั้ง ๒ ชุด
ปฏิจจสมุปบาททั้ง ๒ เรื่องนี่มันก็เกี่ยวกับสิ่งที่เรียกว่า ความทุกข์ ความทุกข์ สิ่งที่เรียกว่าความทุกข์นี่แหละคือข้าศึก เราจะต้องศึกษาความหมายของคำว่า ความทุกข์ กันให้ถึงที่สุด ก็จะรู้จักสิ่งที่เรียกว่าข้าศึก
เมื่อถือเอาตามความหมายของภาษาบาลี คือคำว่า ทุกขะ ทุกขะ แล้ว มันมีความหมายกว้างกว่าที่ท่านทั้งหลายรู้จักก็ได้ ทุกขะ ทุกขะ นี่หมายถึง เจ็บปวดหรือทนทรมานนี่ก็อย่างหนึ่ง ทุกขะ หมายถึง สิ่งที่น่าเกลียดที่สุดนี่ก็อย่างหนึ่ง ทุกขะ หมายถึงความว่างจากสารประโยชน์ใดๆ นี่อีกอย่างหนึ่ง ทั้ง ๓ อย่างนี่ล้วนแต่มีความหมายเป็นข้าศึกทั้งนั้น
สำหรับความเจ็บปวดทนทุกข์ทรมานนี่ เราเรียกมันว่า ข้าศึก ข้าศึก ก็เห็นได้โดยง่าย แต่สำหรับความน่าเกลียด น่าเกลียด นี้เป็นข้าศึกอย่างร้ายที่สุด มันมีความน่าเกลียดอยู่ใน ใน ในสิ่งทุกสิ่งก็ว่าได้ บรรดาที่เป็น สังขตธรรม ความร่ำรวย ความสุข ความสวยงาม เป็นต้นนี้ ก็มีความน่าเกลียดอยู่ในนั้น คือมันทำให้เกิดความลำบากยุ่งยากโดยประการอื่นนะ ในความร่ำรวย ในความสวยงาม ถ้าท่านรู้จักความน่าเกลียดในทุกสิ่ง แล้วก็จะพบความหมายของคำว่าทุกข์หรือข้าศึกโดยชัดเจน
ไอ้สิ่งที่เรารักที่สุด กำลังรัก กำลังพอใจที่สุด เช่น ความมั่งมี ความสวยงาม อำนาจวาสนา ในสิ่งที่เรากำลังรักที่สุด มันมีความน่าเกลียดอยู่ที่นั่น ที่มันทำให้เกิดปัญหาความยุ่งยากทุกข์ทรมานอยู่ในสิ่งที่สวยงามหรือน่ารัก ถ้าท่านสังเกตดูท่านจะพบว่ามันมีความน่าเกลียด เพราะว่าทุกสิ่งที่น่ารักหรือไม่น่ารักนั่น มันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลง มันหลอกลวง มันเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง แล้วก็ต้องมีความน่าเกลียด ทุกสิ่งที่มีความเปลี่ยนแปลงล้วนแต่มีความน่าเกลียด
ถ้าท่านมองเห็นว่าไอ้สิ่งที่เรารักที่สุดนั่น มันเป็นสิ่งที่ทรมานใจเราที่สุด เราจะเห็นได้ว่ามันเป็นข้าศึก สิ่งที่เรารักที่สุดก็มีความหมายของข้าศึกหรือทุกขะ
ทีนี้ความหมายที่ ๓ ว่าว่างจากสาระอันคือแก่นสาร เหมือนกับอากาศนะ คำนี้ใช้ ใช้ ใช้แทนคำว่าอากาศ ขะ หรือ ขัง คำนี้แปลว่าอากาศก็ได้ มันจึงว่างจากสิ่งที่เป็นสาระที่ควรจะยึดมั่นถือมั่นนะโดยประการทั้งปวง ว่างจากสาระที่ควรยึดมั่นโดยประการทั้งปวง นี่ก็เป็นความหมายของคำว่า ทุกขะ และเป็นข้าศึก
ลองคิดดูว่า เมื่อเราไปหลงรักในสิ่งที่ว่างจากสาระที่สุดนะ มันกัดเราเท่าไร มันทำความเจ็บปวดให้แก่เราเท่าไร ฉะนั้นความว่างจากสาระมันก็เป็นทุกข์ เพราะเหตุนี้
(น.16.35) รวมทั้ง ๓ ความหมายที่ว่าทรมานเรา คำว่าน่าเกลียดซ่อนอยู่ในภายใน และก็ว่างจากสาระที่ควรยึดถือ นี่คือความหมายของคำว่าทุกขะ ท่านจะแปลทุกข์ คำว่าทุกขะ เพียง Suffering เฉยๆ ล้วนๆ นี่มันไม่พอหรอก ขอให้เข้าใจว่ามันมากกว่า Suffering เป็นว่าคำว่า Suffering จะขยายความออกไปเป็น ๓ ความหมายอย่างนี้ ก็จะได้ความหมายคำว่า ทุกขะ โดยสมบูรณ์
(น. 18.10) รวมทั้ง ๓ ความหมายที่ว่าทรมานเรา คำว่าน่าเกลียดซ่อนอยู่ในภายใน นั่นว่างจากสาระที่ควรยึดถือ นี่คือความหมายของคำว่าทุกขะ ท่านจะแปลทุกข์ คำว่าทุกขะเพียง suffering เฉยๆ ล้วนๆ นี่มันไม่พอหรอก ขอให้เข้าใจว่ามันมากกว่า suffering เป็นว่าคำว่า suffering จะขยายความออกไปเป็น ๓ ความหมายอย่างนี้ ก็จะได้ความหมายคำว่าทุกขะโดยสมบูรณ์ (น. 18.41)
ในเมื่อทุกข์ ทุกข์ มีความหมายถึง ๓ อย่าง อย่างนี้ เราควรจะใช้คำรวมๆ กับมันว่า สิ่งไม่พึงปรารถนานั่นแหละจะถูกต้องที่สุด Undesirable โดยประการทั้งปวงนี่ ทุกข์ ทุกข์โดยประการทั้งปวง ไม่พึงปรารถนา นี่จะเกิดความหมายของคำว่าทุกขะ
สิ่งที่ไม่พึงปรารถนาโดยประการทั้งปวง เรารวมเรียกว่าข้าศึก ข้าศึกก็แล้วกัน อริยะ แปลว่าไปจากข้าศึก ปราศจากข้าศึก พ้นจากข้าศึกโดยประการทั้งปวงนี่ ฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่พึงปรารถนา เราจะเรียกสิ่งนี้ว่าชีวิตใหม่ คือชีวิตที่ปราศจากความทุกข์โดยประการทั้งปวง
ได้บอกท่านวันก่อนแล้วว่า ท่านทั้งหลายมาศึกษาพุทธศาสนา มีใจความสำคัญรวมอยู่ที่เรื่องอริยสัจ ทีนี้จะขอพูดถึงคำว่า สัจ สัจ อริยะและก็สัจ คำว่าสัจ นี้ก็คือความจริง ที่เรียกว่า Truth หรืออะไรก็สุดแท้ นั่นก็เป็นความจริงที่รู้แล้วทำให้ปราศจากข้าศึก อริยสัจคือความจริงที่รู้แล้วทำให้ปราศจากข้าศึก
โดยความหมายที่กล่าวแล้วนี้ เราจะเห็นได้เองว่า การพูดถึงความทุกข์นี่ ไม่ได้พูดถึงในลักษณะที่เป็น Pessimistic way เพราะเราบอกให้รู้พร้อมกันไปในตัวว่า เราจะชนะมันได้อย่างไร มันจะเป็น Optimistic way ซะด้วยซ้ำไป เพราะเราจะมีความพอใจ ความกล้าในการที่จะกำจัดความทุกข์นั้นให้ได้ นี่ทุกขะอริยสัจ เป็นความจริงที่ช่วยให้เราพ้นจากข้าศึกโดยประการทั้งปวง ไม่มีเรื่องน่าเศร้าน่ากลัวในลักษณะ Pessimistic แต่ประการใด
ทีนี้เราก็จะมาดูกันถึง อาการลักษณะให้สังเกต เรียกอะไร Characteristic อะไรก็ได้ ของสิ่งที่เรียกว่า ความทุกข์นะ ความทุกข์
ข้อแรก โดยธรรมชาติ ตามธรรมชาติ เราก็มีความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย ซึ่่งมันเป็นของธรรมชาติ มีตามธรรมชาติ เราสามารถที่จะอยู่เหนือปัญหาของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย บางคนนะมันพูดโง่ๆ ว่าจะไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย มันพูดอย่างนั้นมันไม่ถูกหรอก มันเพียงแต่อยู่เหนือปัญหาของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย คงมองเห็นความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ในฐานะที่เป็นปัญหาหรือเป็นข้าศึก แล้วเราก็จะอยู่เหนือปัญหาทุกอย่างของความเกิด แก่ เจ็บ ตาย จิตใจนี้ไม่มีความทุกข์เลยเกี่ยวกับความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ถ้าท่านได้ยินพุทธบริษัทที่ไหนก็ตาม มันบอกท่านว่า พุทธศาสนาจะทำให้ไม่ต้องเกิด ไม่ต้องแก่ ไม่ต้องเจ็บ ไม่ต้องตายนี่ จงรู้เถอะว่าเขาไม่รู้พุทธศาสนา เขาพูดตามคำบอกเล่า ที่แท้นะเขาต้องการจะพูดว่า มันไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย แต่เขาพูดไม่เป็น เขาพูดว่า ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตายอีกต่อไป นี่สิ่งที่ทำให้เข้าใจผิด ขอให้รู้ไว้ล่วงหน้า
ข้อนี้สรุปความว่า เราปราศจากข้าศึกที่เกิดตามธรรมชาติ ที่เกิดอยู่โดยธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย
ทีนี้เราก็จะมาดูกันถึงอาการ กิริยาอาการท่าทีที่ ที่เรียกว่าความทุกข์ เราพูดกันทีละอย่าง คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ ทางกาย และคำว่าโทมนัสสะ อุปายาสะ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงอาการ เพื่อให้สังเกตเท่านั้นนะ มันมีมากอย่างกว่านี้ แต่พระพุทธเจ้าท่านยกมาพอเป็นตัวอย่าง โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปายาส นี่เรารู้จักความทุกข์ในลักษณะที่เป็นอาการ หรือแสดงอาการ
ที่นี้ก็ความทุกข์ ในความหมายที่ว่ามันมาจากตัณหา ก็คือว่า พบกับสิ่งที่เราไม่รัก เราไม่อยากพบ เราอยากจะไม่พบ เราพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก นี่เราก็อยากจะอยู่กับความรัก แล้วเราต้องการอย่างไร มันก็ไม่ได้อย่างนั้น นี่มีอยู่เป็น ๓ อย่างว่า พบกับที่ไม่รัก พลัดพรากจากที่รัก แล้วต้องการอย่างไรก็ไม่ได้อย่างนั้น มันมีมูลมาจากสิ่งที่เรียกว่าตัณหาโดยเฉพาะ
ดังนั้น ท่านลองทำความรู้จัก รู้จัก กับความรู้สึก เมื่อเราพบกับสิ่งที่เราไม่รัก เมื่อเราต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เรารัก เราปรารถนาอย่างไรแล้วไม่ได้อย่างนั้นนะ มันเป็นข้าศึกกี่มากน้อย
ทีนี้คำสุดท้ายเป็นคำสรุปความ ตามที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้เองว่า โดยสรุปแล้ว อุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นในตัวชีวิต ตัวชีวิตซึ่งแบ่งออกเป็น ๕ ส่วน คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ๕ อย่างนี้รวมกันเป็นตัวชีวิต มีอุปาทานในตัวชีวิต นั่นนะเป็นที่สรุปรวมแห่งความทุกข์ทั้งปวง
ทีนี้ต้องขอร้องกันแล้วละ ขอร้องว่าท่านทั้งหลายจงพยายามอย่างยิ่ง ให้ดีที่สุด ที่ให้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า ขันธ์ทั้ง ๕ ขันธ์ทั้ง ๕ ซึ่งรวมกันแล้วเป็นสิ่งที่เราเรียกว่า ชีวิต ขอให้พยายามรู้จักสิ่งที่เรียกว่า ขันธ์ทั้ง ๕ ให้ดีที่สุด
สิ่งแรกที่เรียกว่า รูปขันธ์ รูปขันธ์ ส่วนที่เป็นรูป เป็นวัตถุ เป็นร่างกาย เป็น Corporeal หรืออะไร Corporeal ว่ามันมีร่างกาย มันมีระบบประสาท มันมีอวัยวะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี่กลุ่มนี้รวมเรียกกันว่า รูป รูปขันธ์ กลุ่มแรกจงรู้จักกันก่อน มันเป็นเหมือนกับว่าเปลือกก็จริงแต่มันมีความสำคัญ มันเป็นที่ตั้งแห่งชีวิตหรือทุกข์ หรืออะไรทุกๆ อย่าง เรียกว่า รูปขันธ์
คำว่ารูปะ รูปะ นั้นมีความหมายที่ประหลาดสำหรับเรา คำว่า รูปะ นั้นมันแปลว่า แตกง่ายและแตกเป็นธรรมดา ของที่แตกง่าย Fragile แตกง่าย แตกง่าย กรอบ แตก เปราะที่สุดนะ แตกง่ายที่สุดนี่ คำว่า รูปะ หมายความว่าอย่างนั้น
เมื่อเราจะไปเอารูปะที่แตกง่ายนี่มาเป็นตัวตน เป็นตัวเรา หรือเป็นของเรานี่ ดูเถอะว่ามันจะเป็นความโง่ ความหลง หรือความบ้าบอที่สุดสักเท่าไร แล้วมันก็ได้เป็นทุกข์ เพราะมันไม่เป็นไปตามที่เราต้องการได้
ทีนี้ก็มาถึงฝ่ายนามธรรม เมื่อ เมื่อเรามีรูปนะ คือมีร่างกาย มีระบบประสาท มีอวัยวะสำหรับรู้สึกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย แล้วทีนี้ก็มีผลในทางจิตใจ คือทางนามธรรม อันแรกที่สุดก็เรียกว่า เวทนา เวทนา เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาในความหมายที่ว่า พอใจ หรือเป็นสุขก็มี ไม่พอใจเป็นทุกข์ก็มี และบอกไม่ได้ว่าสุขหรือทุกข์ แต่ว่าก็เป็นความรู้สึกอันหนึ่งด้วยเหมือนกัน นี่เรียกว่าเวทนา มีอยู่ ๓ อย่าง อย่างนี้ นี่ก็เป็นที่ตั้งแห่งความยึดถือ มันเป็นของที่เกิดขึ้นมาจากการกระทบหรือการปรุงแต่ง จะเอามาเป็นตัวตนหรือเป็นของๆ ตน มันก็เป็นไปไม่ได้ แล้วมันก็เกิดปัญหาเป็นความทุกข์ขึ้นมา เพราะไปยึดเอาเวทนาว่าเป็นของตน ตัวตน
ขอให้รู้จักเวทนาไว้ในฐานะเป็นสิ่งที่หลอกลวงที่สุด หลอกลวงที่สุด เวทนาอย่างหนึ่งหลอกลวงให้รัก เวทนาอย่างหนึ่งหลอกลวงให้เกลียด ให้โกรธ เวทนาอีกอย่างหนึ่งคือที่ไม่สุขไม่ทุกข์นะ หลอกลวงให้ติดพันติดตามอยู่ด้วยความสงสัย เวทนาทั้ง ๓ ชนิดนี้ เป็นข้าศึก ขบกัดให้เกิดความทุกข์ สิ่งที่หลอกลวงที่สุดคือเวทนา
เวทนาพวกแรก คือความพอใจ เพราะให้เกิดกิเลสประเภทแรกคือ โลภะหรือราคะ โลภะ หรือ ราคะ กิเลสประเภทที่แรกก็เกิดขึ้นในลักษณะที่จะเอาเข้ามา นี่มันกัดเราเท่าไร มันเป็นข้าศึกเท่าไร ก็ขอให้คิดดู
เวทนาพวกที่ ๒ ไม่ชอบ ไม่พอใจ เกิดกิเลสประเภทที่ ๒ คือโทสะ หรือโกรธะ ต้องการจะผลักออกไป หรือจักทำลายเสีย
เวทนาที่ ๓ ไม่แน่ว่าพอใจหรือไม่พอใจ มันทำให้เกิดความสงสัย ติดตาม วิ่งอยู่รอบๆ วิ่ง
อยู่รอบๆ
อันแรกผลัก อันแรกเอาดูดเข้ามา อันที่สองผลักออกไป อันที่สามวิ่งอยู่รอบๆ นี่ผลของเวทนาดูมันกัดเราเท่าไร มันเป็นข้าศึกเท่าไร มันเป็นความทุกข์อยู่เท่าไร
เราจะมองเห็นได้ทันทีว่าปัญหาทั้งหมดที่มีอยู่ในโลก ในมนุษยชาตินี่ มันมีมูลมาจากไอ้เวทนาทั้ง ๓ อย่างนี้แหละ ทำให้เกิดความทุกข์ ความยาก ความลำบาก ทั้งที่โดยตรงและโดยอ้อม ทั้งที่หลอกลวงและทั้งที่เปิดเผย รู้จักเวทนาไว้ว่าเป็นความทุกข์ หรือเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ เป็นเรื่องที่ ๒ ของขันธ์ ๕
ขันธ์ที่ ๓ เรียกว่า สัญญา สัญญา ซึ่ง ซึ่งแปลกันว่า Perception มันก็มีมูลมาจากเวทนา มันรู้สึกด้วยความมั่นหมาย ความสำคัญ Regard นะ มั่นลงไปว่าเป็นอย่างไร แล้วก็ฝังแน่นอยู่เป็นความจำ จำ จำ นี่ ซึ่งเราจะจำได้ว่าอะไรเป็นอะไร นี่จำได้ในฐานะที่ว่ามันเป็นของสวยงาม ของไม่สวยงาม จำลงไป มั่นหมายนะ จำหรือมั่นหมายลงไปว่า เป็นผู้หญิงหรือเป็นผู้ชาย เป็นความได้ ความเสีย ความแพ้ ความชนะ พอ พอสิ่งนั้นมันปรากฏ หรือความรู้สึกอันนั้นมันปรากฏ สัญญาความจำที่มีอยู่แต่ แต่แรกเริ่มเดิมทีมา ก็มาทำให้เราเกิดความหมายมั่นในสิ่งนั้นๆ เป็นความหมายต่างๆ ต่างๆ กัน นี่เป็น Perception มากมายเหลือที่จะกล่าวได้ อันนี้ก็กัดเรา ทำให้เราเป็นทุกข์ เพราะว่าไอ้สัญญามั่นหมายนี้มันทำไปด้วยอวิชชา มันไม่ถูกตามที่เป็นจริง ไอ้ที่มันเป็นทุกข์มันก็สำคัญมั่นหมายเป็นความสุข ไอ้ที่มันไม่เที่ยงเปลี่ยนแปลง ก็ไปสำคัญว่ามันเที่ยง มันเปลี่ยนแปลง ที่มันไม่ใช่ตัวตน ก็สำคัญมั่นหมายว่าเป็นตัวตน นี่สัญญา สัญญา เลวร้ายที่สุด ปลดออกยากที่สุด เป็นความจำไว้ เหมือนกับปักแน่นลงไปอย่างที่ถอนยาก นี่ก็เป็นสัญญาขันธ์ที่ ๓ ที่เป็นตัวความทุกข์ หรือเป็นข้าศึก
ขอให้พยายามรู้จักสัญญา สัญญาไว้ ในความหมายของคำว่าอุปาทานนะ Attachment นะ มันมีความหมายคล้ายๆ กันแหละ มันสัญญาว่าสวยหรือไม่สวย น่ารักหรือไม่น่ารัก หรือไม่แน่ว่าน่ารักหรือไม่น่ารัก แล้วมันก็สัญญาว่าพอใจไม่พอใจ เป็นสุขเป็นทุกข์ สัญญาว่าผู้หญิง มันสัญญาว่าผู้ชายบ้าง สัญญาว่าสามีของเรา ภรรยาของเรา ลูกหลานของเรา ทรัพย์สมบัติของเรา เกียรติยศชื่อเสียงของเรา นี่ล้วนแต่เป็นสิ่งที่เรียกว่า สัญญา สัญญา แม้แต่สัญญาว่านี่แผ่นดิน นี่แผ่นฟ้า นี่อันนั้นอันนี้ ก็เป็นสัญญาที่มีมาตามลำดับ ลำดับ มันกว้างขวางมากสัญญาอันนี้ แล้วมันโง่ทั้งนั้นแหละ คือมันไม่ควรจะสัญญาว่า อย่างนี้ แล้วมันก็ไปสัญญาว่าอย่างนี้ แล้วมันก็เป็นข้าศึก คือไม่ได้ตามที่สัญญา เท่าที่มั่นหมาย แล้วมันก็กัดเอา กัดเอา นี้เป็นสัญญา ก็เป็นข้าศึกหรือเป็นความทุกข์ ในความหมายที่ ๓ ของขันธ์ทั้ง ๕
แต่แล้วมันก็มีความจำเป็น จำเป็นที่เราจะต้องมีสัญญา ที่เกี่ยวข้องกับสัญญา เช่น เราจะมีสัญญาว่า มิสเตอร์เอ มิสเตอร์บี นาย ก นาย ข นาย ง สัญญาว่าสวนโมกข์ สัญญาว่าอเมริกา ออสเตรเลีย ยุโรปอะไรก็ตาม มันต้องมีสิ่งที่เรียกว่าสัญญา สัญญานี่ ใช้ไปตามที่สมมติ สมมติใช้กันอยู่ แต่มันไม่ใช่ความจริง มันจะไม่เป็นไปตามที่เราสัญญาหรือมั่นหมาย ฉะนั้นสัญญามันก็หลอกลวง หรือมันก็ทำให้เกิดปัญหาหรือเกิดความทุกข์เหลือที่จะกล่าวแหละ ฉะนั้นให้รู้จักสัญญาไว้ว่าเป็นขันธ์ที่ ๓ ที่น่ากลัว ที่มันกัดเอา หรือว่าเป็นข้าศึก ทำหน้าที่อย่างข้าศึกที่สุดด้วยเหมือนกัน
สิ่งที่ง่ายๆ ที่สุด ที่เห็นได้ง่ายๆ ที่สุด ก็คือความจำ ความจำนี่เรารักษาไว้ไม่ได้ แล้วมันก็ลืม มันก็ลืม แล้วก็มีความลำบากที่จำไม่ได้และแล้วก็ลืมนี่เป็นอยู่ทุกคน นี่เรียกว่าเป็นปัญหาหรือเป็นความทุกข์ เราอยากจะให้จำได้มันก็จำไม่ได้ เราจะให้เป็นไปตามที่เราต้องการมันก็ไม่เป็นไปตามที่เราต้องการ เราก็มีปัญหาเกี่ยวกับความสำคัญมั่นหมาย คำนี้แปลว่า สำคัญมั่นหมาย แต่มักจะแปลกันว่า ความจำ ขอให้รู้ไว้เถิดว่าความจำนี้มันเป็นไปตามที่เราสำคัญมั่นหมาย สำคัญมั่นหมายไว้อย่างไรแล้วก็จำไว้ว่าอย่างนั้น อย่า อย่ามองกันแต่ว่าความจำนะ มันอยู่ที่ความสำคัญมั่นหมาย แล้วก็จำเอาไว้
อีกสัญญาตัวที่ใหญ่โตที่สุด สำคัญที่สุด แต่แล้วก็เลวร้ายที่สุด ก็คือ อัตตสัญญา สัญญาว่าตัวตน มัน มัน มัน มัน มันก่อขึ้นมาตั้งแต่เล็กๆ จนอาจตามชีวิต สัญญาว่าตัวตน เพราะมันมีความเห็นความเข้าใจ ว่าเรา ตัวเรา สัญญาว่าตัวเรา สัญญาว่าตัวเรา อย่างปรัชญาของ เดสการ์ตส์ Cogito ergo sum “เราคิด เรารู้สึก ดังนั้นเราจึงมีอยู่” การคิดอย่างนี้ไม่ใช่ของใหม่ของเดสการ์ตส์ มันคิดมาเป็นพันๆ ปีแล้ว ตั้งแต่เกิดอัตตสัญญาขึ้นในหมู่มนุษย์ เป็นมิจฉาทิฎฐิพูดกันอยู่ในครั้งพุทธกาล ว่าคิดได้รู้สึกได้ฉันจึงมีตัวตน คือมีอัตตา อัตตสัญญา อัตตสัญญา สัญญาว่าตัวตนนี่แหละเลวร้ายที่สุด เป็นที่ตั้งแห่งสัญญาทั้งหลาย ก็กำจัดออกไปเสียได้ อัตตสัญญาหมดแล้ว ก็จะไม่มีปัญหาอะไรเหลืออยู่
นามะ รูปะ กายกับใจตามธรรมชาตินี่ ถึงกันแล้วมันก็เกิดความคิดได้ ความรู้สึกได้ ไม่ต้องมีสิ่งที่เรียกว่า อัตตา เราอย่าเชื่อตามปรัชญาของเดสการ์ตส์ว่า มันไม่มีอัตตาหรอก แม้นาม รูปล้วนๆ นี่มันก็ทำหน้าที่ Function ของมัน มันก็เป็น เป็นการคิดได้ รู้สึกได้ แล้วมันก็หลอกให้ว่ามี Self หรือมีอัตตา นี่สัญญาคือว่าตัวตนมีแล้ว สัญญาว่าของตนนี่ I and My, I and My นี่ มันเป็นสัญญาที่เลวร้ายที่สุด ขบกัดที่สุด เป็นข้าศึกที่สุดเป็นอย่างที่ ๔ ของขันธ์ทั้ง ๕ อย่างที่ ๓ ของขันธ์ทั้ง ๕ นามะ รูป ท่านคิดได้
ขันธ์ที่ ๔ เรียกว่าสังขาร สังขาระ in บาลี สังขาระ in บาลี In Thai สังขาร สังขาร สังขารขันธ์ ได้แก่ความปรุงแต่ง การปรุงแต่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปรุงแต่งแห่งความคิด คำว่าสังขาร สังขาร ความหมายกว้างนะ คำๆ นี้ ผู้ทำหน้า เอ่อ, สิ่ง ผู้ที่ทำหน้าที่ปรุงแต่ง ผู้ปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร ผู้หรือสิ่งถูกปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร กิริยาการที่ปรุงแต่งก็เรียกว่าสังขาร มีถึง ๓ ความหมาย ผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่งและการปรุงแต่ง นี่มีอยู่ตลอดเวลาในความคิด ใน ในความรู้สึก เพราะฉะนั้น ขันธ์ที่ ๔ คือสังขาร จึงเพ็งเล็งเอาตัวความคิดปรุงแต่ง ความคิดปรุงแต่ง เป็น เป็นสิ่งสำคัญ ทั้งที่คำว่าสังขารมันกว้างถึงผู้ปรุงแต่ง ผู้ถูกปรุงแต่งและการปรุงแต่ง นี่เมื่อเรารู้สึกว่านี่คิด คิด คิด มันก็ยึดมั่นในตัวผู้คิด ยึดมั่นในความคิด แล้วก็ยึดมั่นในสังขาร เป็นสิ่งที่หลอกลวงที่สุด ว่ามีผู้คิด มีตัวผู้คิด แล้วยึดมั่นความคิดเป็นของจริง ที่จริงมันเป็นสิ่งที่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นแหละ ไม่ใช่ความผิดแปลกวิเศษวิโสอะไร แต่นั่นเราไปยึดมั่นกันอย่างยิ่งในตัวสังขาร
มันไม่ถูกต้อง มันเป็นที่น่าสงสาร ในประเทศไทยหรือในที่อื่นๆ นะ ให้ความหมายของคำว่าสังขารแต่เพียงว่า ร่างกาย ร่างกาย ชีวิต เอ่อ, สังขาร ร่างกาย ร่างกายหรือว่าสิ่งที่ปรากฏอยู่นี่ สังขาร สังขาร ซึ่งมันถูกนิดเดียว คำว่าสังขาร สังขาร มีความหมายกว้าง กว้างถึงขนาดนั้น และความหมายที่สำคัญที่สุด มันก็คือเป็นจุดตั้งต้นของไอ้ความเกิดขึ้นหรือความเป็นไป ฉะนั้นคำว่า Conceive นี้ จะหมายถึงการตั้งครรภ์ ซึ่งพูดกันอยู่หมายถึงการตั้งครรภ์ก็ได้ ฉะนั้นขอให้นึกถึงการตั้งครรภ์นะ การตั้งครรภ์นะ คือเป็นจุดตั้งต้นของการที่จะเกิดสิ่งต่างๆ มาตามลำดับ ฉะนั้นสังขารมีความหมายที่เลวร้าย คือเป็นจุดตั้งต้นของการเกิดปัญหา เกิดความ หน้าที่เกิดอะไรต่างๆ ยุ่งยากลำบากไปหมด น่าเกลียดน่ากลัว ในความหมายที่ว่ามันเป็นจุดตั้งต้นของปัญหา นั่นนะคือ สังขาร สังขาร
คำว่าสังขารในภาษาคนธรรมดาคนเดินถนน Pedestrian นี่ ดับสังขารหมายถึงตาย ดับสังขารหมายถึงตาย ไม่ถูกและก็ผิดอย่างยิ่ง ดับสังขารหมายถึงหยุดการปรุงแต่ง ไม่ต้องตาย ไม่ใช่การตาย ดับสังขารไม่ต้องตาย ไม่ต้องมีการตาย เพราะมันหยุดการปรุงแต่งโดยประการทั้งปวง นั่นนะคือดับสังขาร ดับสังขาร แล้วก็หยุดการปรุงแต่งก็ไม่มีความทุกข์ ตลอดเวลาที่มีการปรุงแต่ง ปรุงแต่งก็ต้องมีความทุกข์ นี่สังขาร สังขารเป็นข้าศึก หรือเป็นตัวสิ่งที่จะให้เกิดความทุกข์ในความหมายที่ ๔ ของขันธ์ทั้ง ๕
ตลอดเวลาที่มีสังขารแล้วไอ้ความสงบหรือ Peacefulness นั้น มีไม่ได้ มีไม่ได้ จึงมีคำตรัสไว้อย่างเด็ดขาดว่า ดับสังขาร หยุดสังขารนั่นนะเป็นความสุขอย่างยิ่ง เตสังวูปัสสะโม สุขโข ดับสังขาร หยุดสังขารจะเป็นความสุขอย่างยิ่ง หยุดการปรุงแต่งโดยประการทั้งปวง โดยอำนาจของอวิชชานี่ การปรุงแต่งในที่นี้ต้องเป็นผล เป็นการปรุงแต่งโดยอำนาจของอวิชชา คือมันไม่รู้ มันปราศจากความรู้ มันจึงจะมีการปรุงแต่ง ถ้ามันมีความรู้มันจะไม่ปรุงแต่ง ฉะนั้นคำว่าสังขารจึงเป็นการปรุงแต่งโดยอำนาจของอวิชชา มันต้องเป็นความทุกข์เพราะมันเป็นการปรุงแต่งของอวิชชา มันต้องเป็นความทุกข์ มันหลีกไม่พ้น สังขารไม่เป็นทุกข์ จึงมีคำกล่าวว่า สังขารา ปรมาทุกขา สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง เตสังวูปรโม สุขโข หยุดสังขารเสียมันก็เป็นความสุขอย่างยิ่ง
ทุกคราวที่มีพิธีงานศพ พิธีอะไรที่เกี่ยวกับงานศพ พระเขาก็จะบอกคำพูดคำนี้ทุกทีไปมากมายหลายสิบครั้งหลายร้อยครั้ง เตสังวูปัสสะโม สุขโข นี่ หยุดการปรุงแต่งเสียเป็นความสุขอย่างยิ่ง แล้วมันก็ไม่ได้ผลอะไร มันไม่มีผลอะไรเกิดขึ้น มันเหมือนกับเป่าปี่ให้แรดฟัง เป่าปี่ให้เต่าฟังอยู่ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้เป็นที่น่าสงสาร เป็นที่น่าเศร้าอย่างยิ่ง ที่มันไม่สำเร็จประโยชน์ ในการที่จะบอกให้หยุดการปรุงแต่งเสีย
ขอให้ท่านสนใจคำๆ นี้ว่าเป็นต้นเหตุแห่งปัญหา เป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์ แล้วก็จะได้ควบคุมให้มันหยุด ควบคุมให้มันหยุด หรือว่าอย่าให้มีการปรุงแต่งขึ้นมาได้ มีการปรุงแต่งเมื่อไรเป็นอวิชชาเมื่อนั้น ถ้ามีวิชชาเมื่อไรจะไม่มีการปรุงแต่งเลย ในความหมายนี้ นี่ข้าศึกก็คือการปรุงแต่ง ตัวกูนะกลายเป็นข้าศึกแก่ตัวกู เพราะมันมีการปรุงแต่งแห่งตัวกู มันก็เกิดความทุกข์แก่ตัวกู ตัวกูมันก็เป็นความทุกข์แก่ตัวกู เพราะอำนาจของการปรุงแต่ง
ทีนี้ก็มาถึงขันธ์ที่ ๕ ที่เรียกว่า วิญญาณะ ในบาลี เมืองไทยเราเรียกวิญญาณ วิญญาณ เฉยๆ นะ วิญญาณะ มันเป็น เป็นคำที่ทำให้เกิดปัญหา เพราะคำว่าวิญญาณ วิญญาณนั่นมันหลายความหมาย ความหมายนอกพุทธศาสนาออกไป ในฮินดู ในนี่ วิญญาณหมายถึง Soul, Soul ที่ว่าเวียนว่ายตายเกิดนั่นนะ วิญญาณนั้นไม่ใช่พุทธศาสนา วิญญาณในพุทธศาสนาคือ สิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึก ที่ทำให้เกิด Conscious, Consciousness นะ Function ที่ทำให้เกิด Conscious หรือ Consciousness นั่นนะ เรียกว่าวิญญาณ มันทำหน้าที่หลายหนหลายคราวหลาย หลาย หลาย หลายแห่ง หลายที่ใน ใน ใน ใน ใน ในชีวิตของเรานะ มันทำหน้าที่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนี่ แล้วมันก็ทำหน้าที่ทีแรกนี่ โดยวิญญาณทางตา ทางหู เป็นต้น ที่จะรับอารมณ์ทาง รูป เสียง กลิ่น รส แล้วก็วิญญาณทางมโน ไม่รู้ว่าอันนั้นคืออะไร แล้วมันยังจะมีความรู้สึกต่อสิ่งต่างๆ ที่จะมีในอนาคต มันจะรู้จักทุกสิ่งที่มีสำหรับรู้สึก นี่เรียกว่าวิญญาณ Function สำหรับ Conscious สิ่งต่างๆ นั้น เราเรียกว่า วิญญาณ
ในประเทศไทยวัฒนธรรมทางศาสนานั้น พวกฮินดูพวกพราหมณ์เขามาก่อน มาสอนเรื่องวิญญาณ วิญญาณนี่ตามมติของฮินดูของพราหมณ์นี่ก่อนเรื่อง Spirit เรื่องวิญญาณหรือ Incarnation เหล่านี้มาสอนไว้ก่อน จนฝังแน่นลงไปในคนไทยว่าวิญญาณคืออย่างนี้ พุทธศาสนามาสอนทีหลัง มาทีหลังว่าวิญญาณไม่ใช่อย่างนั้น วิญญาณคือความรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่เกิดเป็นครั้งคราวตามเหตุตามปัจจัย แต่ด้วยเหตุที่มันฝังแน่นในอย่างฮินดูมาก่อน มันสอนกันลำบากเหลือเกินเวลานี้ เมื่อพูดถึงวิญญาณ วิญญาณ นี่ต้องแยกกันเป็นวิญญาณในความหมายของฮินดูที่ก่อนพุทธหรือไปทั่วไปในโลกก็ได้ และวิญญาณตามหลักพุทธศาสนาที่จะมาสอนให้นั้น ไม่มี วิญญาณชนิดนั้น ไม่มี Soul ไม่มี Spirit ไม่มี Ghost ไม่มีอะไรแบบนั้น มันมีแต่ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น ทางตา หูจมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อได้มีการสัมผัสอารมณ์
ในบาลีพระไตรปิฎกเองก็มีสูตรกล่าวถึงเรื่องเกี่ยวกับวิญญาณ ภิกษุรูปหนึ่ง เขาเรียกชื่อกันว่า เกวตบุตรนะ ภิกษุองค์นี้ก็เที่ยวพูดอยู่ในหมู่ภิกษุด้วยกันว่า วิญญาณเท่านั้นนะ วิญญาณเท่านั้นนะ ที่มันคิด แล้วที่มันพูด ที่มันเคลื่อนจากโลกนี้ แล้วมันไปเกิดในโลกใหม่ เขาพูดอยู่แต่อย่างนี้ วิญญาณนี้คิด วิญญาณนี้พูด วิญญาณนี้ตาย วิญญาณนี้ไปเกิดในโลกใหม่ พระพุทธเจ้า ภิก ภิกษุทั้งหลายก็ไปทูลถาม ไปทูล ทูล ทูลพระพุทธเจ้าว่าภิกษุองค์นี้มันพูดอย่างนี้ ท่านก็เรียกไปต่อว่า ว่าวิญญาณไหนของแก วิญญาณในธรรมวินัยนี้ ในลัทธิพุทธศาสนานี้ มันเป็นแต่เพียงความรู้สึกทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เมื่อมีอารมณ์มากระทบ นี้คือวิญญาณซึ่งเกิดเดี๋ยวนี้นะ ไม่ใช่มีอยู่ตลอดเวลานะ เมื่อมีอารมณ์มากระทบทางตา ทางหู จมูก ลิ้น กาย ใจนะ เกิดความรู้สึกอะไรขึ้นมานี้ ก็เรียกว่าวิญญาณ นี้เป็นเรื่องที่อื้อฉาวและก็รุนแรงมากแม้ในครั้งพุทธกาล และแม้ในขอบเขตของภิกษุที่อยู่กับพระพุทธเจ้าเองนะ ก็มีเรื่องวิญญาณที่เข้าใจกันไม่ได้เป็นปัญหา
ในคัมภีร์ทางศาสนาอันเก่าแก่ของพวกฮิบรูก่อนคริสต์หรือว่าคริสต์เลยก็ตามนะ มันก็มีคำว่า Spirit หรือคำว่า Soul ใช้อยู่ แม้เดี๋ยวนี้คำพูดของท่านทั้งหลายก็มีคำว่า Spirit หรือ Soul ใช้อยู่ จะเอาคำนี้มาเป็นวิญญาณ วิญญาณในพุทธศาสนาไม่ได้ นี่ขอให้เข้าใจว่าไอ้วิญญาณ วิญญาณ คำนี้ทำให้เกิดปัญหามาก ในการศึกษาศาสนา หรือการทำความดับทุกข์ แล้วมันก็เป็นที่ตั้งของความยึดถือ มีวิญญาณเป็นตัวกู ยึดถือเอามากๆ นี่ จึงดับทุกข์ไม่ได้ แล้ววิญญาณนี้หลอก หลอกตลอดเวลาแหละ หลอกลวงตลอดเวลา กลายเป็น Spirit ที่เป็นผีที่หลอกนะ ไม่ใช่เป็น Soul ที่แท้จริงอะไร วิญญาณขันธ์จึงเป็นสิ่งที่จะต้องรู้ว่า ให้เกิดปัญหา ให้เกิดความทุกข์ ด้วยเหมือนกัน
ดังนั้น ก็เป็นอย่างที่อาตมาขอร้องท่านทั้งหลายอย่างยิ่งว่า จงพยายามให้ดีที่สุด ที่จะรู้จักสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ทั้ง ๕ ถ้าไม่รู้จักขันธ์ทั้ง ๕ แล้ว จะไม่มีทางที่จะศึกษาพุทธศาสนาอย่างถูกต้องหรือเข้าใจได้ เขาจะเอาขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวตนไปเสมอ เป็นตัวตนบ้าง เป็นของตนบ้าง แล้วแต่กรณีนะ บางทีเอารูปเป็นของตน หรือรูปเป็นตัวตน เวทนาเป็นตัวตน เวทนาเป็นของตน ทั้ง ๕ อย่างนี่เป็นตัวตนก็ได้ เป็นของตนก็ได้ ถ้าอย่างนี้ก็ไม่ใช่พุทธศาสนา คือไม่รู้จักขันธ์ ๕ ถ้ารู้จักขันธ์ ๕ แล้ว จะรู้จักว่ามันไม่ใช่ตน ไปยึดถือเอาเป็นตัวตน เป็นของตน ก็เกิดปัญหาหรือความทุกข์ เรียกว่ามันกัดเอา ไปยึดถือที่อะไรเป็นตัวตน เป็นของตน สิ่งนั้นมันจะกัดเอา ดังนั้นจึงมีคำสรุปความว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา กล่าวโดยสรุปสั้นที่สุด แล้ว ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ นี่ความทุกข์ทั้งหลาย กี่อย่าง กี่อย่างทั้งหมดทั้งสิ้นนี่ สรุปอยู่ที่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง ๕ ว่าเป็นตัวตน
คำว่าอุปาทาน อุปาทานนะ อุปาทาน ในพุทธศาสนาเข้าใจยาก อธิบายยากเข้าใจยาก แต่จะขอสรุปความสั้นๆ ให้เป็นการง่ายแก่ท่านทั้งหลาย ว่าอุปาทานนั่นนะ Attachment นั่นคือ Regard สิ่งทั้งปวงด้วยอำนาจของอวิชชา Regard, Regard สิ่งนั้น สิ่งนี้ ด้วยอำนาจของอวิชชาอย่างนี้ก็เรียกว่า Attachment อย่ามี Attachment ขึ้นในขันธ์ทั้ง ๕ ความทุกข์ก็ไม่มี ความทุกข์ทั้งหลายสรุปรวมอยู่ใน Attachment ในขันธ์ทั้ง ๕
เรื่องทุกขอริยสัจยังไม่จบ เวลาจบ ฉะนั้นขอยุติไว้พูดวันพรุ่งนี้ต่อไป.