แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
เรื่องที่จะบรรยายในวันนี้คือเรื่องอริยสัจ แต่อยากจะทำความเข้าใจอะไรบางอย่างก่อน แต่จะพูดเรื่องอริยสัจให้เป็นที่เข้าใจกันเสียก่อน ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นผลดีมากนั่นคือคำว่า Buddhism นั่นเอง
ถ้าคำ Ism มันหมายถึงความเห็นคิดเห็นอันหนึ่งที่เสนอเข้ามา มิได้เป็นการเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนตามเกณฑ์ตามธรรมชาติคือไม่เป็น Enlightenment Station มันก็ใช้ไม่ได้กับพุทธศาสนา นั่นคือพุทธศาสนาไม่ได้เป็น Ism อันหนึ่ง
ขออภัยที่กล่าวว่า คำว่า Buddhism เป็นคำที่ชาวฝรั่งตั้งกันขึ้นเอง นี้มันจะตรงหรือไม่ตรงก็ขอให้ลองคิดดู Ism มันจะหมายถึง Truth หรือสัจจะ ได้หรือไม่ เข้าใจว่าจะไม่ใช่ จะเป็นเพียง Opinion อันใดอันหนึ่งเสนอขึ้นมาให้เป็นที่รับรอง เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วขออย่าได้ถือเอาคำ เอาความหมายของคำว่า Ism ให้แก่พระพุทธศาสนาเลย
ทีนี้ก็มาถึงคำอีกคำหนึ่งซึ่งคนไทยตั้งขึ้นเอง เรียกว่าพุทธศาสนา นี้ก็ไม่ถูก เพราะคำว่าพุทธศาสนานี้มันเป็น เป็นในแง่ทางปริยัติ ปริยัติมากเกินไป ตัวพุทธศาสนาไม่ใช่ปริยัติ ฉะนั้นคำ คำไทยที่เรียกว่าพุทธศาสนานี้ก็ยังไม่เหมาะที่จะใช้กับสิ่งที่ ที่เรียกว่า Buddhism หรือตัวแท้ของพระพุทธศาสนา
ทีนี้ก็มีคำหนึ่งซึ่งเข้าใจว่าจะถูกต้องที่สุด และได้เคยใช้คำนี้ในการบรรยายเมื่อ ๔๕ ปีมาแล้วที่กรุงเทพฯ นะ คือคำว่าพุทธธรรม พุทธธรรม
คำว่าธรรม ธรรมในภาษาบาลีนี้มันกว้างมาก กว้างได้หลายทิศทาง คำว่า ธรรม แปลว่าหนทางก็ได้ เช่นเดียวกับคำว่าเต๋านะ คำนั้นก็แปลว่าทาง นั่นก็หมายถึงคำว่าธรรม ธรรม นั่นเอง ธรรม หมายถึงหน้าที่ Duty นี่ก็ได้ ธรรม ยังหมายถึง Truth คือสัจจะหรือ Truth ด้วยก็ได้ คำว่าพุทธธรรมจึงเหมาะที่สุดที่ใช้เป็นชื่อของพุทธศาสนา
จึงขอเสนอคำว่าธรรม พุทธธรรมนี่ เป็นคำที่เป็นหลักสำหรับจะศึกษา และยังจะขอแนะไปถึงคำเก่าที่ใช้อยู่ในครั้งพุทธกาลในอินเดียในสมัยพระพุทธเจ้าเอง หรือคำที่ออกมาจากปากพระพุทธเจ้าเอง มันกลายเป็นมีคำอื่น คือคำว่าพรหมจรรย์ ไม่ใช่ ไม่ใช่พุทธธรรม พุทธศาสนา พุทธอะไร พระพุทธเจ้าไม่เคยใช้คำนี้กับคำสอนของพระองค์ คือตัวศาสนาของพระองค์นะท่านจะใช้คำว่าพรหมจรรย์ คือการปฏิบัติที่ประเสริฐนะ การปฏิบัตินี่จะใช้คำอะไรก็ ก็คงจะลำบากบ้างเหมือนกันจะเป็น Commitment หรืออะไรทำนองนี้ แต่ว่าที่มันประเสริฐ พรหมมะ แปลว่าประเสริฐ จริยะ แปลว่าประพฤติหรือกระทำ พระพุทธเจ้าเองเคยใช้คำว่าพรหมจรรย์ คือการประพฤติกระทำที่ประเสริฐ ที่เป็นไปเพื่อการดับทุกข์โดยตรงนะ นี่คำที่พระพุทธเจ้าเคยใช้
ดังนั้นจึงอยากจะให้เป็นที่ยุติกันว่า เราจะ จะ จะเล็งถึง Buddhist way of life เราจะพูดถึงอริยสัจในฐานะเป็น Buddhist way of life ขอใช้คำนี้เป็น เป็นหลักหรือเป็นใจความสำคัญ
และคำนี้ก็เป็นชื่อของNoble Eightfold Path อยู่แล้ว คืออัฏฐังคิกมรรคอยู่แล้ว นั่นนะเป็นตัวแท้พุทธศาสนาที่เราจะทำความเข้าใจกัน
ทีนี้เนื่องจากเป็นของไม่เคยได้ฟังมาแต่ก่อน มันก็ต้องใช้คำว่า New เข้ามาใช่ไหม New way of life
เมื่อ Way เป็นของใหม่ ไอ้ Life ที่พบมันก็ต้องเป็น New life ไปด้วย ฉะนั้นเราจะเพ่งเล็งถึงคำว่า New life เป็นหลัก
ทีนี้คำว่า New นี้ ไม่ได้หมายแต่เพียงว่าแปลกหรือใหม่ ขอให้มีความหมายที่เรายังไม่เคยใช้ไม่เคยพบ คือ New, New ในที่นี้หมายถึง เหนืออิทธิพลของ Good and evil มันไม่ได้เก่า มันไม่ได้ใหม่หรอกเป็นของธรรมดาอย่างนั้น แต่มันเนื่องจากเราเพิ่งจะพบ เพิ่งจะได้ยิน ได้ฟัง ได้ปฏิบัติจึงจะใช้คำว่า New และ New คำนี้แปลว่า อยู่เหนืออิทธิพลของบวกหรือลบ หรือดีหรือชั่ว Good and evil
ถ้าพูดอย่างวิทยาศาสตร์ก็ว่าเหนือ Dualism นั่นแหละ เป็นความหมายที่สำคัญที่สุดที่จะต้องเข้าใจ พูดอย่างเต๋า เต๋า เต๋าก็เหนือหยินเหนือหยาง คือไม่บวกไม่ลบ ถ้าพูดอย่าง อะไรล่ะ ศาสนาคริสต์เก่านะ ตอนต้นๆ ที่สุดของ Old treatment ก็พูดถึงเหนือ Good and evil รู้จัก Good and evil แล้วก็อยู่เหนือ Good and evil นี่พุทธศาสนานี้ก็เหมือนกัน เหนือคู่บวกและลบทุกๆ คู่ ฉะนั้นการที่สามารถมีชีวิตอยู่เหนือความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆ นี้ เรียกว่าใหม่ ชีวิตใหม่สำหรับเรา
ท่านก็เห็นอยู่เองแล้วว่า New treatment นั้น ไม่มีการพูดถึง Beyond good and evil แต่ Old treatment คำแรกๆ นะ จะมี Beyond good and evil ฉะนั้นจึงขอแปลว่ามันเป็นหัวใจของอะไรล่ะ คริสต์เก่าหรือเก่าก่อนคริสต์ จะเรียกว่าศาสนาอะไรดี
ขอให้เราใช้คำว่า New way of life หรือ New life ที่อยู่เหนืออิทธิพลของ Positive and Negative เมื่อเป็นอย่างนี้ มันไม่กระทบกระเทือนถึงศาสนาของบิดามารดาของท่านทั้งหลายโดยเฉพาะเป็นคริสต์เตียน ไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนศาสนา คงถือไว้ตามเดิมได้ แต่มาศึกษา New way of life เพื่อให้อยู่เหนืออิทธิพลของบวกและลบ และก็เป็นหัวใจของไอ้คริสต์เตียน คริสต์เก่า เก่าก่อนคริสต์นั่นด้วย นี่เห็นว่าเป็นการดีที่สุดที่ไม่ต้อง ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา ใครๆ ก็ไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา ในเมื่อจะมาศึกษา New way of life หรือ New life นั่นเอง
ถ้าท่านเป็นคริสต์เตียนอยู่แล้ว ก็จะเป็นคริสต์เตียนมากขึ้นจนถึงที่สุดอย่างเต็มที่ คืออยู่เหนือ Good and evil ตามคำสอน คำสั่งของพระเจ้าที่บัง สอน บังคับสามีภรรยาคู่แรก อดัมและอีฟนะ อยากกินผลไม้ที่ทำให้รู้ Good and evil แล้วก็ Attach มัน ความเป็นคริสต์เตียนถึงที่สุดตามแบบ Old treatment อยู่ที่ตรงนั้น ในเมื่อท่านเป็นคริสต์เตียนอยู่แล้วท่านจะเป็นคริสต์เตียนหนักขึ้นอีกถึงที่สุด เพราะ New way of life
ถ้าท่านยังติดใจในคำว่า Religion, Religion ก็ขอทำความเข้าใจกันเกี่ยวกับคำนี้ด้วยเหมือนกัน ตามปกติรู้กันอยู่แล้วว่า Religion หมายถึง การปฏิบัติ Observation อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ทำให้มนุษย์ผูกพันกับสิ่งสูงสุดคือพระเป็นเจ้า แต่ถ้าเอาคำ Religion มาใช้กับพุทธศาสนา ไอ้สิ่งสูงสุดนั้นจะต้องเปลี่ยนจากพระเป็นเจ้ามากลายเป็นนิพพาน นิพานะ หรือนิรวาน นิพพาน การปฏิบัติที่ทำให้มนุษย์ผูกพันกันกับสิ่งสูงสุด สิ่งสูงสุดนั้นต้องเล็งถึงนิพ นิรวาน หรือนิพพาน นี้คำว่า Religion ก็ใช้กันได้กับพุทธศาสนา
ทั้งหมดนี้เป็นการทำให้ท่านทั้งหลายเข้าใจ รู้จักตัวจริง ตัวแท้ของพุทธศาสนา เราจะใช้คำอะไรดี แต่อาตมาเห็นว่า Buddhism นี่ คำนี้คงใช้ไม่ได้ แต่ไหนๆ ก็ได้ใช้กันแล้ว ก็ขอให้เอาความหมายของ Buddhism ให้ถูกต้อง มันเป็น Way of life ที่จะทำให้ผูกพันกันกับสิ่งสูงสุดคือนิพพาน ตามที่เรียกในพุทธศาสนา
เดี๋ยวนี้มันจำเป็นเสียแล้วที่เราต้องใช้คำว่า Buddhism, Buddhism แต่ขอร้องให้เข้าใจความหมายของ Buddhism นี้ให้ถูกต้อง พุทธศาสนานี้ไม่สงวนในสิ่งที่เรียกว่า Authority, Authority นี้ไม่มีในพุทธศาสนา ไม่ได้สงวนว่าอย่างนี่ของฉันต้องเป็นอย่างนี้ แต่ปล่อยให้เป็นเรื่องของธรรมชาติ เป็นความจริงของธรรมชาติ ที่ใครจะสงวนสิทธิ ลิขสิทธิ์ไม่ได้ นี่พุทธศาสนามุ่งหมายอย่างนี้ ไม่มี Authority
คำ คำกล่าวของพระพุทธเจ้าเองนี่ ท่านกล่าวว่า ฉันเป็นแต่ผู้ชี้ทาง ชี้ทาง ท่านเป็นผู้ที่ต้องเดินทางเอง ฉันเป็นแต่ผู้ชี้ทาง นี่คำว่าทาง ทางนี้ มันเป็นของธรรมชาติ ถ้าท่านเป็นคริสต์เตียน ท่านจะต้องนึกถึงคำๆ หนึ่ง ที่พระเยซูคริสต์ตรัสว่า ตัวฉันนี่แหละคือทาง แต่มักจะเข้าใจผิดในคำๆ นั้น ถ้าเข้าใจถูกว่าพระเยซูคริสต์ เป็นตัวทางอย่างไรแล้ว มันก็จะมาได้ความหมายอย่างเดียวกันกับที่ว่า พุทธศาสนานี้เป็นตัวทาง พระพุทธเจ้าเป็นผู้ชี้ทาง การเดินทางเป็นของท่านทั้งหลาย
ในบรรดาศาสนาทั้งหลายที่เป็นประเภท The Ism คือมีพระเจ้านะ ฉะนั้นก็ต้องมีสิ่งที่มาจากพระเจ้า พระเจ้ามอบมาเป็น Relations อะไรทำนองนั้น มาจากพระเจ้า แต่ในพระพุทธศาสนานี้ ไม่ ไม่มีสิ่งทำนองนั้น มาจากความจริงของธรรมชาติที่ค้นพบที่นี่ ความจริงของธรรมชาติที่ค้นพบแล้วมาบอก มันจึงต่างกันอยู่บ้างอย่างนี้เอง แต่ว่าข้อนี้ไม่เป็นไรหรอก เราดูแต่ว่าเขาพูดว่าอย่างไร มันจะดับทุกข์ได้อย่างไรก็แล้วกัน มันจะมาจากเบื้องบน บน บนโลกพระเจ้า หรือมันจะพบที่นี่ก็สุดแท้ ขอให้เอาความสำคัญมันจะดับทุกข์ได้อย่างไรก็พอแล้ว
เราอย่ามาเสียเวลาทะเลาะกันว่า ความจริงนี้มาจากพระเจ้า หรือความจริงนี้เราค้นพบจากธรรมชาติที่นี่ เราอย่ามาเถียง มาทะเลาะกัน หรือว่าเอาใครผิดใครถูกในตอนนี้ แต่จะเอาที่ว่าสอนว่าอย่างไร ความจริงนี้ว่าอย่างไร ความจริงนี้จะดับทุกข์ได้หรือไม่นี้ดีกว่า เราจะพบ New way of life ที่แท้จริง จะมาจากไหนก็ตามเถอะ จะเป็น New way of life ที่มันดับทุกข์ได้จริง
ที่นี้เรื่องมาจากพระเจ้า สิ่งที่มาจากพระเจ้านั้นเก็บไว้ก่อน จะพูดกันแต่ในฝ่ายพุทธศาสนา ที่ว่าเป็นธรรมชาติ ค้นพบธรรมชาติที่นี่ และก็บอกกันที่นี่ นี่จะพูดกันในส่วนพุทธศาสนาอย่างนี้ แล้วมันก็เกี่ยวกับคำว่าธรรม ธรรม ธรรมะ ธรรมะอีกนั่นเอง เพราะธรรมะแปลว่าธรรมชาติหรือ Nature
ทีนี้อยากจะให้ทราบความหมายของคำว่า ธรรม หรือธรรมะ นี่ให้สิ้นเชิงหมดจด มันมีความหมายอยู่ ๒ คำคือ ธรรมะ-ชา-ติ หรือธรรมชาตินี่คำหนึ่ง และอีกคำว่าธรรมตา ธรรมตา ธรรมดาในภาษาไทยอีก อีกคำหนึ่ง ธรรมชาติกับธรรมดานี้สิ่งเดียวกันแหละ แต่ว่าธรรมดานี่มันมีความหมายกว้าง กว้างมาถึงไอ้เรื่องธรรมดาสามัญเล็กๆ น้อยๆ Habit, Habitual, Attitude ต่ำๆ นี่ของใครก็ตาม ก็เรียกว่าธรรมตาหรือธรรมดา เช่น คนนี้ขี้โกรธเป็นธรรมดา คนนี้ขี้ ขี้เหนียวเป็นธรรมดา นี่เรียกธรรมดา ธรรมดา นี่ก็เรียกธรรม ธรรมนั่นเอง ธรรมชาติหรือธรรมดามีความหมายอย่างเดียวกัน คือที่เป็นอยู่เองตามธรรมชาติ จนกระทั่งเป็นนิสัยของคนแต่ละคนก็เรียกว่าธรรมดา ความหมายของคำว่าธรรมคำเดียวมันกว้างขวางอย่างนี้ มันจึงลำบากบ้างในการที่จะศึกษา แต่ขอให้เข้าใจคำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติไว้อย่างนี้
เข้าใจว่าคำว่า Normalcy, Normalcy ทุกระดับ ทุกขณะนั่น จะใช้ได้กับคำว่าธรรมดาหรือธรรมตา ทีนี้ต้องการจะให้รวมคำว่า ธรรมชาติกับคำว่าธรรมดานี่เข้าด้วยกัน จะได้ความหมายแท้จริงของคำว่า ธรรมะ ธรรมะเฉยๆ
เอาละเป็นอันว่าเราจะใช้คำว่าธรรมชาติ ธรรมชาติ ซึ่งรวมถึงคำว่าธรรมดาด้วยนี่ ให้เป็นความหมายของคำว่า ธรรมะ ธรรมะคือธรรมชาติ แล้วเราจะศึกษาความหมายของคำว่าธรรมชาตินี่ให้ชัดเจนกันต่อไป
แม้คำว่า Nature จะไม่ถูกตรงเผง ตามความหมายของคำว่าธรรมชาติก็ตาม แต่เราจำเป็นจะต้องใช้คำว่า Nature ฉะนั้นขอให้ถือเป็นหลักว่า ธรรมชาติหรือคำว่า Nature ในพุทธศาสนานี้มีอย่างเดียว ไม่มี Super Nature ไม่มี Super Natural ไม่มี ไม่มี Super Nature คือมัน Nature ไปหมด จะ Super หรือไม่ Super ก็เป็น Nature เป็นธรรมชาติไปหมดนะ คำว่าธรรมชาติมันหมายความอย่างนี้ Nature จะอาจจะไม่เท่ากับธรรมชาติก็ได้ แต่เดี๋ยวนี้มันจำเป็นเสียแล้วที่เราจะต้องใช้คำว่า Nature กับคำว่าธรรมชาติ
ที่นี้มาดูกันถึงคำว่าธรรมะในฐานะที่เป็น Nature ความหมายของคำว่าธรรมะในฐานะเป็น Nature นี่ ขอแบ่งออกเป็น ๔ ความหมาย หรือ ๔ Categories ว่า Nature นี่อันหนึ่ง แล้วก็ Law of nature อันหนึ่ง Duty in accordance with the law of nature นี่อันหนึ่ง Result from the duty นี่อีกอันหนึ่ง เป็น ๔ อย่างนี้ แต่แม้ทั้ง ๔ อย่างนี้ ก็ยังคงเรียกได้คำๆ เดียวว่า Nature, Nature
ขอให้สนใจคำ ๔ คำนี้ ให้เข้าใจดีที่สุด แล้วจะเป็นการง่าย ง่ายที่สุดที่จะเข้าใจคำว่า อริยสัจจะ อริยสัจจะ Nature ทุกๆ อย่างก็มีความเป็นอริยสัจจะ ความจริงอันยิ่งอันประเสริฐ Law of nature ก็เป็นอริยสัจจะ เป็นความจริง Duty in accordance with the law of nature ก็เป็นอริยสัจจะ เป็นความจริงที่ต้องมีที่ต้องทำ และก็ผล ผลที่ได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่มันก็ยังคงเป็น Nature เอาทั้ง ๔ ความหมายนี้มาเป็นสิ่งที่เราจะศึกษาจะเรียนรู้ให้ทั่วถึง และเราก็จะรู้อริยสัจอย่างทั่วถึง
ขอร้องอีกครั้งหนึ่งว่า ขอเน้น ๔ คำ คำ ๔ คำนี้อีกครั้งว่า Nature, Law of nature, Duty in accordance with the natural law, Result in accordance with the duty เราพูดสั้นๆ ๔ คำว่า Nature แล้วก็ The Law แล้วก็ Duty แล้วก็ Result ๔ คำสั้นๆ Nature, Law, Duty, Result ๔ คำนี้ เข้าใจให้ดีๆ แล้วก็จะเข้าใจทั้งหมดของอริยสัจ
ทีนี้ก็มี ก็มาถึงไอ้ ไอ้ใจความสำคัญที่ว่า ท่านทั้งหลายจะต้องศึกษาสิ่งทั้ง ๔ นี้ จากตัวเองจากชีวิตเอง ไม่ใช่จากหนังสือ ไม่ใช่จากโรงเรียน หรือจากปาฐกถา หรือแม้จากการคิดค้น Reasoning speculation ไม่ต้อง ไม่ต้อง ไม่ต้องมีไอ้อย่างนั้น จงดูให้เห็นว่า ตัวนี้ ตัวร่างกายนี้ก็เป็น Nature แล้วกฎที่ควบคุมร่างกายนี้อยู่ ก็เป็น Law of nature แล้วร่างกายนี้ต้องปฏิบัติอย่างนั้นอย่างนี้อยู่ตลอดเวลา ก็เป็น Duty ที่มีอยู่ที่ร่างกายนี้ แล้วผลที่ได้รับเป็นความสุขหรือเป็นความทุกข์ก็ตามใจ มันก็ปรากฏอยู่ที่ร่างกายนี้ ฉะนั้นจึงมีคำพูดที่สั้นๆ ว่า จงศึกษาพุทธศาสนาที่ร่างกายนี้ (น. 54.33 – 54.44) พระพุทธเจ้าทรงกำชับ กำชับว่า ศึกษาคือหาให้พบ ให้รู้จัก Truth ทั้งหมดนี้ จากร่างกายนี้ แต่ต้องเป็นร่างกายที่กำลังมีชีวิตอยู่ คือรู้สึกคิดนึกได้ ร่างกายนี้ที่ยังมีชีวิตอยู่รู้สึกคิดนึกได้ ที่ยาวเพียงประมาณวาเดียวนี่ ยาววาสำรองนี่ (น. 55.18) เท่านี้ ในนี้ เท่านี้ จะหาพบ Nature หรือทุกๆ ความหมายของ Nature ทั้ง ๔ ความหมายในร่างกายนี้ ขอให้สนใจที่ร่างกายนี้ที่ยังมีชีวิตเป็นๆ อยู่ ตายแล้วใช้ไม่ได้ (น. 55.50)
เรามาดูกันถึงความหมายแรกที่คำว่า Nature, Nature มันทั้งหมด ทั้งจักรวาลก็ตามใจ แต่ว่าที่สำคัญนะ ที่มันมีอยู่ในตัวเรานะ ในตัวเราที่เป็นร่างกายนี่มันเป็น จะเป็นอะตอม หรือเป็นกลุ่มของอะตอม หรือจะเป็นธาตุ Element อะไรก็ตามที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นร่างกายนี้ ทุกๆ Particle ของมันนั่นนะเป็น Nature ที่จะต้องหาให้พบในร่างกายนี้ ในร่างกายนี้ (น. 57.30) ท่านหมายถึงอย่างไรครับ ท่านพุทธทาส ตอบ “Nature ที่ต้องหาให้พบในร่างกายนี้ ที่มันอยู่ทั่วจักรวาลนั้น ไม่จำเป็น ไม่จำเป็น”
นอกจากจะรู้จักตัวมันเองแล้ว เรายังจะต้องรู้จักการกระทำของๆ มันนะ ร่างกายนี้มันยังมีการกระทำ การพูด การคิด การรู้สึกอะไรต่างๆ นี่ ก็รวมอยู่ในคำว่า Nature, Nature คำเดียวที่มีอยู่ในร่างกายนี้
เราชอบเรียกกันโดยคำสั้นๆ ๒ คำว่า นามะ and รูปะ Mind and Body ในเรื่องของ Mind นะไปแยกดูว่ามีกี่อย่างกี่อย่าง ในเรื่องของ Body กายนะ ไปแยกดูมีกี่อย่าง กี่อย่าง กี่อย่าง รวมกันแล้วนี่ก็เป็น Nature, Nature, Pure nature ในร่างกายนี้ Mind and Body
ที่นี้ก็มาถึงความหมายที่ ๒ คือ Law of nature ที่ไหนมี Nature ที่นั่นต้องมี Law of nature ติดอยู่ที่นั่นด้วย เช่น ในร่างกายเรานี้เป็น Nature มันก็มี Law of nature ควบคุมร่างกาย บังคับให้เป็นไป จิตใจ Mind นี่ก็เหมือนกัน มันก็มี Law of nature ควบคุมบังคับให้เป็นไป นั้นสิ่งเหล่านี้เป็นไปตาม Law of nature เช่นว่ามันจะต้องไม่เที่ยง เป็นทุกข์เป็นอนัตตาบ้าง หรือมันจะต้องเกิดขึ้นมาแล้วดับลงไปเพราะเหตุอย่างนี้ปัจจัยอย่างนี้ หรือมีกฎอันยืดยาวที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทควบคุมอยู่หมดทั้งหมดนี่เลย นี่เรียกว่า Law of nature ที่ควบคุมอยู่ที่ Nature ที่มีอยู่ในตัวเรา
ความหมายของ Law of nature นี้ มีอยู่เป็น ๒ ชั้น คือ The law of nature นั้นเองด้วย และความที่มันต้องเป็นไปตามกฎนั้น คือความที่ต้องเป็นไปตาม The law of nature นี้ด้วย ๒ อย่างนี้จะยังคงเรียกว่า Law of nature อยู่นั่นแหละ
เราจงดูให้รู้จัก Law of nature ที่มันควบคุมอยู่ แล้วอำนาจที่มันบังคับเราให้ต้องเป็นไปตามนั้น นั่นก็จะยิ่งๆ หนักขึ้นไปอีก มันมีกฎ มีการบังคับที่จะต้องเป็นไปตามกฎ นี่ Law of nature มันมีอำนาจถึงอย่างนี้ ดูให้ดีดีให้เห็นชัด ให้เห็นชัด จะรู้ธรรมะง่ายที่สุด
ทีนี้ก็มาถึง Nature ในความหมายที่ ๓ คือ Duty, Duty, Law of nature มันบังคับอยู่อย่างนี้ และชีวิตนี้ก็ต้องตอบสนอง ต้อง Response ต่อ The Law of nature นี่เรียกว่าหน้าที่ หน้าที่ในภาษาไทยนะ แต่ถ้าเรียกตามภาษาอินเดียโบรมโบราณก่อนนั้น ก็คือคำว่าธรรมะ ธรรมะ นั่นเอง คำว่าธรรมะแต่โบราณก่อนพุทธกาลโน่น ตั้งแต่มนุษย์เริ่มรู้จักสิ่งที่เรียกว่า Duty นี่ คำว่า ธรรมะ ได้เกิดขึ้นในอินเดียในสมัยโบราณนั้น ฉะนั้นคำว่า Duty กับคำว่าธรรมะนั้นนะ มันเป็นสิ่งเดียวกันนะ
เราบอกไม่ได้ว่าใครเป็นมนุษย์คนแรกที่ได้สังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่า Duty เราบอกไม่ได้หรอก แต่มันก็ได้มีแน่นอน มนุษย์คนแรกได้สังเกตเห็นสิ่งที่เรียกว่า Duty และรู้จักมันอย่างยิ่งว่ามันสำคัญ ถ้าไม่ทำ Duty มันต้องตาย ถ้าไม่มี Duty มันต้องตาย นี่มันสำคัญถึงอย่างนี้ มนุษย์คนแรกเรียกคำนี้ขึ้นมาด้วยความหมายอย่างนี้ แล้วก็บอก บอกต่อๆ กันมาว่า Duty, Duty ดีขึ้น ดีขึ้น มากขึ้น คำว่าธรรมะ ธรรมะ ก็เจริญมากขึ้น มากขึ้น มากขึ้น มาถึงยุคพระพุทธเจ้าก็รู้ความหมายสูงสุดของคำว่า ธรรมะ ธรรมะ จึงต้องมีธรรมะในความหมายว่า Duty ถ้าไม่มีต้องตาย
ถ้าถามว่าใครเป็นผู้บัญญัติหรือกำหนด Establish duty ขึ้นมา มันก็ตอบได้ตามที่เรามีกันอยู่ ถ้าเป็น Thee Ism ก็บอกว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนด Duty แต่ถ้าเป็น Buddhism ก็ตอบว่าธรรมชาติ ธรรมชาติ ธรรมชาติเป็นผู้กำหนด Duty
ดังนั้นเมื่อท่านจะศึกษาเรื่อง Duty ท่านต้องอย่าให้มีการขัดแย้งกัน ถ้าท่านยังจะเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนด Duty ก็ขอให้เอากฎของธรรมชาตินั่นแหละเป็นพระเจ้า และเราก็จะไม่มีการขัดแย้ง เพียงแต่ชื่อต่างกันนะ แต่ความจริงตัวเดียวกันนะ กฎของธรรมชาตินี่คือพระเจ้าผู้กำหนด Duty แต่พุทธศาสนาไม่มีพระเจ้า ดังนั้นจึงเอาตัวธรรมชาติ หรือตัวกฎของธรรมชาติเป็นผู้กำหนด Duty คือธรรมต้องมี ไม่มีจะต้องตาย
ถ้าไม่มี Duty ก็จะเห็นได้ทันทีว่ามันต้องตาย เป็นคน คนนี่ก็ต้องตาย สัตว์เดรัจฉานก็ต้องตาย ต้นไม้ต้นไร่นี้ก็ต้องตาย แม้พูดถึงเทวดา ถ้ามันมีเทวดา ไม่ทำ Duty มันก็ต้องตาย แม้ชีวิตจะเล็กที่สุดเซลล์ๆ เดียว ชีวิตของเซลล์ๆ เดียว เซลล์ตัวเดียวก็ยังต้องทำ Duty, Duty ของเซลล์ๆ เดียว ทั้งหมดมันต้องมี Duty ไม่มี Duty ก็คือตาย Duty คือธรรม ดังนั้นชีวิตทุกระดับต้องมี Duty ถ้าไม่มี เอ่อ, ต้องมีธรรมะ ถ้าไม่มีมันก็ต้องตาย
เราเห็นได้หรือยอมรับได้ว่า เซลล์หรือกลุ่มของเซลล์มันต้องทำหน้าที่อยู่ตลอดเวลา ตลอดเวลาไม่มีว่างเว้น นั่นแหละเป็นธรรมะของเซลล์ ธรรมะของเซลล์ กลุ่มของเซลล์ ธรรมะของกลุ่มของเซลล์ เมื่อมันประกอบกันเข้าเป็นเนื้อหนังเป็นโลหิตเป็นอะไรต่างๆ ทุกส่วนนั้นก็ต้องมี Duty กระทั่งมาเป็นมือ เป็นเท้า เป็นตา เป็นหู มันก็ต้องมี Duty ของมัน นั่นคือธรรมะของอวัยวะที่ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นชีวิต ธรรมะคือ Duty, Duty คือธรรมะ ทุกๆ เซลล์ ทุกๆ กลุ่มของเซลล์ ทุกๆ อวัยวะของร่างกายจะต้องมี Duty ถ้าไม่ทำก็คือตาย
ที่นี้เราก็มีการแบ่ง Duty นี่ ออกเป็น ๒ ฝ่าย คือฝ่าย Physical, Physical นี่ฝ่ายหนึ่ง และอีกฝ่ายหนึ่งเป็น Spiritual อีกฝ่ายหนึ่ง บางคนอาจจะคิดยังว่ามี Mental, Mental นี่ขอให้รู้ว่า Mental นี้มันเนื่องกับ Physical นะ Mental, Mental นี่ มันเนื่องอยู่กับ Physical เอาไปไว้อยู่ฝ่าย Physical ดีกว่า เป็นว่า Physical กับ Spiritual นี่ Duty นี้จะต้องทำให้ถูกต้อง ทั้งฝ่าย Physical และฝ่าย Spiritual นี่ธรรมะจะต้องศึกษาให้ถูกต้องทั้งฝ่ายรูปธรรมและนามธรรม
แล้วก็น่าประหลาดที่ว่า Duty ฝ่าย Physical นี่ไม่มีหยุด หยุดไม่ได้ เช่นว่าเซลล์ทุกๆ เซลล์หรือว่ากลุ่มของเซลล์นะ มี Duty ตลอดเวลาหยุดไม่ได้ แต่ฝ่าย Spiritual ของจิตนี่ บางเวลาเราก็หยุดได้ ไปพักผ่อนบ้าง ให้สบายบ้าง ขอให้รู้ว่ามันมี Duty เป็นอยู่ ๒ ชนิดอย่างนี้
สิ่งที่ท่านเคยได้ยินกันมาแล้วก่อนหน้านี้แล้วว่า Eightfold Path ๘ ประการนั้นนะมันเป็น Spiritual duty ซึ่งเราจะต้องศึกษาในเรื่องอริยสัจต่อไปข้างหน้า
มีคำอีกคำหนึ่งบาลีเรียกว่า สัมมัตตะ สัมมัตตะ แปลว่า ภาวะแห่งความถูกต้อง ความถูกต้อง ภาษาอังกฤษเป็นอย่างไร คุณสันติกโรพูดเองได้ ภาวะแห่งความถูกต้อง เราต้องมีหน้าที่ภาวะแห่งความถูกต้องทั้งหน้าที่ฝ่าย Physic และหน้าที่ฝ่าย Spiritual ภาวะแห่งความถูกต้องนั่นแหละ คือความหมายที่สำคัญที่สุดของ Duty, Duty มันต้องถูกต้อง มันต้องมีภาวะแห่งความถูกต้องทั้งฝ่ายร่างกายและฝ่ายจิตใจ
ที่นี้ความถูกต้องนะ มันถูกต้อง ถูกต้องนะ มันถูกต้องต่ออะไรนี่ Right to what ถูกต้องต่ออะไร ถ้าทาง Physic ทางรูปนี่ก็ถูกต้องต่อวัตถุที่เราควรจะได้ หรือถูกต้องต่อความไม่ตาย รอดชีวิต ถูกต้องต่อความรอดชีวิต แล้วก็ได้เงินได้ไอ้ที่ควรจะได้นี่ถูกต้องฝ่ายวัตถุหรือฝ่ายร่างกาย ถ้าถูกต้องฝ่าย Spiritual นั้นก็ถูกต้องต่อพระนิพพาน ต่อนิพพาน ถูกต้องต่อนิพพาน ให้ได้นิพพาน นั่นจึงจะเรียกว่าถูกต้อง ถูกต้อง จงรู้จักความถูกต้อง แล้วเราทำให้เรามีความถูกต้อง แล้วเราก็จะได้รับไอ้สิ่งที่ควรจะได้รับทั้งฝ่าย Physic และฝ่าย Spiritual
นักธุรกิจมีความถูกต้องเขาก็ได้เงิน นักการเมืองมีความถูกต้องเขาก็ได้อำนาจ แต่ว่าพุทธบริษัทมีความถูกต้องแล้วก็ได้นิพพาน นิรวาร
ให้ท่านทั้งหลายถามตัวเองว่าท่านต้องการอะไร
เดี๋ยวนี้ท่านมาศึกษาพุทธศาสนา ท่านมาศึกษาพุทธศาสนา ท่านจะต้องมีความถูกต้องสำหรับได้สิ่งที่พุทธศาสนามีให้ มันก็คือนิพพาน Quenching of the
คำทีอธิบายยากที่สุดก็คือคำว่า นิพพานนี่ ท่านอาจจะเคยได้ยินได้ฟังมาแล้วว่า นิพพานแปลว่าตายนี่ จะเอาไปทำอะไร จะมีประโยชน์อะไร นิพพานหมายถึงความตาย ขอให้เข้าใจคำว่านิพพาน นิพพานให้มันถูกต้อง มันคือ Quench, Quenching ของสิ่งไม่พึงปรารถนาทุกๆ สิ่งที่ไม่พึงปรารถนา ที่มัน Quench ออกไปได้นั่นคือนิพพาน
ตัวหนังสือแท้ๆ คำนี้ นิพพาน ตัวหนังสือนะ แท้ๆ แปลว่าเย็น เย็น Quenching of heat หมดความร้อน หมดไปนี่ ไอ้คำนี้ตามตัวหนังสือคือความหมายของคำว่า นิพพาน แต่มันเป็น Spiritual เย็น เย็นทาง Spiritual ท่านควรจะถือว่าท่านมาแสวงหาความเย็นทาง Spiritual จึงมาศึกษาพุทธศาสนา
ทีนี้เราก็มาถึงความหมายที่ ๔ ของคำว่า Nature, Result in accordance to the duty นี่ ผลที่ได้รับโดยสมควรแก่ Duty ที่เราได้กระทำ ผลที่เราได้รับโดยสมบูรณ์แท้จริงก็คือนิพพาน ความเย็นทาง Spiritual แต่ลดลงมาถึงไอ้ต่ำกว่านั้นก็ได้ ถึงเรื่องมีอนามัยดี มีความสุข มีเงิน มีอะไรก็ได้มันเป็น Duty อย่างโลกๆ อย่าง Mundane ถ้ามันเป็น Un-mundane มันก็คือนิพพาน Result ของ Duty ในที่นี้ก็แบ่งเอาเอง อย่างเป็นไปในโลกๆ ก็ได้ ก็เรียกว่า Result ได้ แต่ถ้ามันเป็นสูงสุดแล้ว มันต้องเป็นมรรคผลนิพพานทางจิตทาง Spiritual นี่เราหวังอันนั้น หวังความเย็นทาง Spiritual โดยแท้จริง ถ้าเป็นเรื่องหาเงินหาความสุขหาอนามัยนี้ก็มีสอนอยู่ทั่วไป ไม่ต้องพุทธศาสนา ไม่ต้องพุทธศาสนา และพุทธศาสนาก็คือสิ้นสุดแห่งปัญหาทางจิตใจ หมดภาระหนักทางจิตใจ นั่นแหละคือผลของ Duty ที่ถูกต้อง
เราไม่อาจจะใช้คำว่า Guess กับคำว่า Result of duty เพราะคำว่า Guess นั่นมาจากพระเจ้า ในพุทธศาสนามีแต่เรื่องของธรรมชาติ กฎของธรรมชาติหน้าที่ถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ และเราก็ได้ Result โดยตรงจากหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติ เราจึงไม่อาจจะใช้คำว่า Guess ในที่นี้ต้องขอให้พักพระเจ้าไว้ทีก่อนไม่ต้องมาพูดถึง Result อันนี้ เราต้องปฏิบัติถูกต้องตามกฎของธรรมชาติ แล้ว Result อันนี้ก็จะมีขึ้นมาตามกฎของธรรมชาติ นี่คือสิ่งที่ท่านทั้งหลายกำลังมาศึกษาและจะได้รับ
เป็นอันว่าเราได้รู้จักสิ่งที่เรียกว่า Nature หรือธรรมชาติเป็น ๔ ความหมายด้วยกัน คือ The Body of nature, The Law of nature, Duty accordance with the law, Result accordance with the duty ๔ อย่างนี้ ๔ อย่างนี้ เป็นเรื่อง Nature ขอใช้คำรวมๆ ว่า Ultimate truth, Absolute truth of nature
เราเสียเวลาพูดกันตั้งชั่วโมงกว่านี่ เป็นความจำเป็นที่จะต้องพูดเรื่องนี้ก่อน มันเป็น Introduction ที่ดีที่สุดที่จะเข้าไปสู่เรื่องของอริยสัจ จึงขอเวลารบกวนท่านให้ท่านทนมาตั้งชั่วโมงกว่า เพื่อจะฟังเรื่องที่เป็น Introduction ของเรื่องอริยสัจ นี่ขอให้เข้าทั้งหมดนี้ที่พูดนี้ ก็การรู้เรื่องอริยสัจ จะง่าย จะง่าย ง่ายเกินคาดนะ ถ้าไม่รู้ความจริงเหล่านี้แล้ว มันจะยาก มันจะยาก จนถึงกับยอมแพ้ก็ได้ เป็นอันว่าเรายุติการบรรยายวันนี้ Introduction สำหรับรู้อริยสัจ.
ขอบใจที่เป็นผู้ฟังอย่างดีด้วยความอดทน