แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้จะพูดกันถึง ความเป็นไปได้ของการปฏิบัติอานาปานสติ บางคนอาจจะไม่มองเห็นว่าจะปฏิบัติได้อย่างไร เพียงแต่ว่าทำไปลองดู ทางที่ดีที่สุดควรจะเห็นว่ามันเป็นไปได้อย่างนั้นอย่างนั้น มันมีเหตุผลที่แสดงอยู่ในตัวว่ามันเป็นไปได้ เป็นเรื่องของธรรมชาติ เรารู้เรื่องธรรมชาติ รู้กฎของธรรมชาติ เราจึงรู้หน้าที่ว่าจะปฏิบัติอย่างไร เราก็จะได้รับผลนั้น โดยหลักใหญ่ก็อย่างที่กล่าวมาแล้ววันก่อนว่า มีปัญหาเรื่องความทุกข์มันเกิดขึ้นตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ เราจะกำจัดความทุกข์ให้ออกไป ด้วยกำลังของจิตที่ประพฤติกระทำถูกต้อง มีความรู้ ทำให้ความทุกข์ทางกาย ความกระวนกระวายอึดอัดขัดแค้นทางกายหายไป ทางจิตก็หายไป ทางสติปัญญาก็คือ ไม่โง่ ไม่อึดอัด ไม่ติดขัด ในข้อที่ว่าจะต้องรู้อะไรเราก็รู้ได้ โดยไม่ต้องติดขัด
(02:43) เมื่อฝึกให้ถึงที่สุดแล้ว มันก็ได้รับสิ่งซึ่งเราไม่เคยรู้จัก หรือความลับของธรรมชาติที่เราไม่เคยรู้ หายใจทีเดียว สงบเย็นไปทั้งตัว หายใจทีเดียว จิตใจมันเกลี้ยงเกลา ไปจากความรู้สึกที่ไม่พึงปรารถนา หายใจทีเดียวก็เปลี่ยนความคิดนึกจิตใจ เปลี่ยนจิตเปลี่ยนใจเปลี่ยนความคิดนึกกันได้ หายใจทีเดียวก็หมดอุปาทาน และความทุกข์ที่กำลังรบกวนอยู่ ฟังดูมันคล้ายคล้ายกับว่าเหลือวิสัย เหลือวิสัย บางคนก็จะคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ ฝึกการหายใจ พิเศษ วิเศษถึงอย่างนี้เป็นไปไม่ได้
(04:12) ทั้งควรจะทราบว่าการฝึกลมหายใจนี้เป็นความรู้ที่เก่าแก่ เก่าแก่ก่อนพุทธกาลหลายพันปีแล้วก็ได้ คือตั้งแต่มนุษย์มันเริ่มมีความรู้ในด้านนี้ เราก็เริ่มรู้จักจัดการให้เป็นประโยชน์ที่สุดเกี่ยวกับลมหายใจ เพราะมันเป็นเรื่องจริงของธรรมชาติ การหายใจมันขจัดไอ้ความหม่นหมอง ความอะไรออกไปจากจิตใจ เป็นไปตามธรรมชาติล้วนล้วนก็มี ลองคิดดูว่าเมื่อเด็กเด็ก พอถอนหายใจ สะอื้นก็ได้ สะอื้นก็ได้ หรือถอนหายใจยาวก็ได้ มันก็รู้สึกสบายขึ้นมาทันที เพราะฉะนั้นมันจึงมีการถอนหายใจยาวได้ตามธรรมชาติโดยไม่ต้องเจตนา ก็มีได้ พอเสร็จแล้วมันก็สบาย อย่างนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์เราได้สังเกตเห็นมาเป็นพันพันปี แล้วก็เลยรู้มากขึ้นมากขึ้น เกี่ยวกับลมหายใจนี่ว่าทำอย่างไร ทำอย่างไรจะมีกำลังมากขึ้น
(06:12) พูดอย่างวิทยาศาสตร์ เขาก็อธิบายได้การหายใจที่ดีที่ถูกต้องก็มีประโยชน์ ก็มีการแนะให้หายใจยาวยาว หายใจให้เป็นสมาธิ จิตก็สบาย บางทีสัตว์เดรัจฉานก็ทำเป็นในการถอนหายใจยาว ถอนสะอื้น แล้วจิตมันเกลี้ยงมันสบายไปพักหนึ่ง นี้เรียกว่าธรรมชาติแท้แท้ ธรรมชาติล้วนล้วนมันเป็นของมันแล้วอย่างนี้ ขอให้เรามองเห็น ชัดเสียจนแน่ใจว่ามันทำได้ มันทำได้ ไม่ใช่ละเมอละเมอมาโดยไม่รู้จะไปทางไหน ใครจูงไป มองเห็นประโยชน์ว่ามันมีสูงสุดและมันก็ทำได้ พวกยักษ์พวกมารก็ทำได้ มันไม่จำกัด เอาไปใช้ทางฤทธิ์เดชปาฏิหาริย์ของพวกยักษ์ พวกมาร เรื่องรามเกียรติ์ เด็กเด็กอ่านเรื่องนี้ เสร็จแล้วเป่าลูบขึ้นสามที เจ็บทั่วอินทรีย์ก็เสื่อมหาย ลุกขึ้นรบได้ต่อไป เมื่อถูกตีบอบช้ำก็สำรวมจิตแล้วเป่าลูบร่างกายไปสามที ลุกขึ้นมารบได้อีก ด้วยอำนาจของสิ่งสำคัญที่เรียกว่า ปราณ
(08:17) ที่เค้าเรียกกันว่าปราณก็มี ทั้งนี้เราก็เรียกว่าปราณเหมือนกันแหละ แต่ว่าเรียกเป็นภาษาบาลี เป็นปานะ อานะ อาปานะ บางทีก็หมายถึงตัวชีวิต ลมปราณน่ะสันสกฤต ปานะน่ะ บาลี ปราณ ปราณ พวกที่ไม่สนใจ ไม่ถึงธรรมะก็ใช้อย่างธรรมดา ทำร่างลมปราณเรียกลมปราณมา เข้มแข็ง ใช้ประโยชน์ได้ อย่าเข้าใจไปว่ามันเป็นเรื่องผิดธรรมชาติ ฝืนธรรมชาติ พิเศษ ใครบัญญัติ ใครแต่งตั้ง ไม่ ไม่ใช่ มันเป็นเรื่องที่ธรรมชาติมันมีอยู่อย่างนั้นแล้วเราค้นพบวิธีเอามา สอนใช้ให้เป็นประโยชน์ สืบสืบกันมา สืบสืบกันมา จนกระทั่งดีที่สุด ระบบอานาปานสติที่พระพุทธเจ้าท่านได้ปรับปรุงขึ้น จนดีที่สุด จนทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานเป็นพระพุทธเจ้าได้
(09:51) พุทธประวัติบอกแล้วที่เคยอ่าน ทุกคนก็เคยบอกแล้ว พระพุทธเจ้าเมื่อเป็นเด็กเด็ก อายุไม่กี่ขวบ ก็ทำอานาปานสติได้ เป็นแล้ว แรกนาขวัญ พาไปนั่งอยู่ที่หัวคันนา ทำอานาปานสติ หยุดเงาของต้นไม้ไม่ให้คล้อยไปตามแสงอาทิตย์ นี่ทำอานาปานสติ หยุดนิ่ง ทีนี้ควรจะเข้าใจว่ามันแพร่หลาย แพร่หลาย เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่าเค้าสอนกันในฐานะว่าเป็นเครื่องมือวิเศษสำหรับคนหนุ่มโดยเฉพาะคนหนุ่มหนุ่มที่ต้องการจะเจริญก้าวหน้าในชีวิตนี้ก็จะศึกษาเรื่องเกี่ยวกับอานาปานสติหรือกรรมฐานนี้ไปด้วยกันทั้งนั้น จนกลายเป็นที่รู้จักกันไปทั่วบ้านทั่วเมืองเป็นของธรรมดาไป ก็ฝึกกันได้ทุกคน คนหนุ่มไปฝึกสำนักวัดไหนอาจารย์ไหน เพื่อความเป็นคนสามารถเข้มแข็งต่อไปในการครองเรือนข้างหน้า เพื่อความสบายส่วนตัวก็ดี เพื่อต่อสู้ข้าศึกก็ดี เพื่ออะไรก็ดี เป็นเรื่องของความรู้ของมนุษย์นมนานแล้ว และก็ได้ถูกปรับปรุงให้ดีขึ้น ปรับปรุงให้ดีขึ้น ให้สูงขึ้น ให้ดีขึ้นดีขึ้น จนกว่าจะมาถึงระบบนี้ ระบบที่เรากำลังฝึกนี่ ตามอานิสงค์ที่กล่าวไว้ในสติปัฏฐานเพื่อความบริสุทธิ์แห่งสัตว์ทั้งหลาย สัตตานัง วิสุทธียะ…. (คำบาลี: นาทีที่ 12:12 ถึงนาทีที่ 12.18) เพื่อจะก้าวข้ามเสียซึ่งความโศก คำภาษาบาลี (นาทีที่ 12:23 ถึงนาทีที 12:28) ไปถึงความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งทุกข์และโทมนัส คำบาลี (นาที่ที่ 12.32 ถึงนาทีที่ 12.36) เพื่อถึงทัพซึ่งธรรมะเป็นเครื่องออกไป นิพพานัตตะ …คำบาลี (นาทีที่ 12.40 ถึงนาทีที่ 12.43 ) เป็นข้อสุดท้าย ทำนิพพานให้แจ้ง มากมายหรือมีค่าสูงสุดมากมาย ตรัสไว้ด้วยความประสงค์อย่างนี้ ตรัสเรื่องนี้ไว้ด้วยความประสงค์อย่างนี้ เราก็ศึกษามองเห็นและใช้ประโยชน์ให้ได้
(13:15) ดังที่กล่าวแล้วว่าเรามีปัญหาคือมีความทุกข์ ตามกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ในชีวิตประจำวัน สำหรับสัตว์ มนุษย์ ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องอะไร มันก็เป็นไปตามกระแสปฏิจจสมุปบาท ก็จบลงด้วยความทุกข์อย่างนั้นอย่างนี้ นั่นเป็นเรื่องที่เราจะต้องรู้ ว่านั่นแหละเป็นเรื่องความทุกข์ เป็นเรื่องความไม่บริสุทธิ์ เป็นเรื่องถูกครอบงำด้วย โศกะ….ทุกขะ โทมนัส (นาทีที่ 14.03 ถึงนาทีที่ 14.06) ไม่มีธรรมะเป็นเครื่องออก ไม่มีความเย็น คือนิพพาน
(14:22) ขอให้มองเห็นเท่าที่จะมองเห็นได้ว่า เราไม่มีความรู้อะไรเลยในเรื่องนี้ พออารมณ์ เช่นรูปเป็นต้น มากระทบตา เสียงมากระทบหู นี่เรียกว่ามีอารมณ์มากระทบ ได้รับอารมณ์ จะพูดให้ละเอียดลงไปก็ว่า พอตากับรูปถึงกันเข้า เกิดจักษุวิญญาณรู้จักอารมณ์คือตา นี่เรียกว่าสัมผัสทางตา เสียงมากระทบหู เกิดวิญญาณทางหู รู้ นี่เรียกสัมผัสทางหู กลิ่นมากระทบจมูก เกิดจากวิญญาณ รู้ (นาทีที่ 15.06 ถึงนาทีที่ 15.08 ) อย่างนี้เรื่อยไปทั้งหกอย่าง รสมากระทบลิ้น สัมผัสผิวหนังมากระทบผิวหนัง ความคิดนึกหรืออารมณ์ทางจิตกระทบจิต นี่มันมีกระทบอย่างนี้เสมอไป เรียกว่าผัสสะ ทีนี้สัตว์เกิดมาไม่มีความรู้มาแต่ในท้อง ไม่มีความรู้เรื่องวิมุติ จะหลุดพ้นทุกข์ได้อย่างไร ไม่มี ไม่มีมาแต่ในท้อง แล้วมันก็ถึงโง่ แต่เรียกว่าโง่ก็ปรับกันมากเกินไป เรียกว่ามันไม่รู้ก็แล้วกัน มันไม่รู้ธรรมชาติ พอเกิดเวทนาขึ้นทางผัสสะ เพราะผัสสะมันโง่ เพราะผัสสะมันไม่รู้ พอเกิดเวทนาขึ้นมามันก็เป็นเวทนาที่ไม่รู้ ถ้าเป็นสุขเวทนามันก็หลงรักพอใจ เกิดความรู้สึกไปอย่าง ถ้าว่าไม่ถูกใจมันก็เป็นทุกขเวทนา ถ้าไม่แน่ว่าสุขหรือทุกข์มันก็สงสัยวนเวียนอยู่ เวทนาอย่างใดมันก็ให้เกิดตัณหาไปตามแบบนั้นนั้น เช่น สุขเวทนามันก็อยากได้ อยากเอา อยากยึดครอง ถ้าเป็นทุกขเวทนามันก็อยากฆ่า อยากทำลาย อยากประหาร ยังไม่แน่ว่าอย่างไรแต่เชื่อว่ายังมีประโยชน์ เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ โยมก็สงสัยเนาะวนเวียนมัวเมาอยู่ที่นั่นแหละ นี่แหละคือกิเลส เรียกว่าตัณหาไปตามอำนาจของเวทนา พอมีตัณหามีความอยากไปตามแบบนั้นนั้นแล้ว ความรู้สึกโง่เขลาอันสุดท้ายมันก็เกิดขึ้นว่า ตัวกู ตัวกู เป็นผู้อยาก ตัวกูเป็นผู้อยากไปตามแบบนั้นนั้น ตัวกูนี้ก็เกิดขึ้นมาในใจ แล้วก็ออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา แสดงบทบาทออกไปเต็มที่เรียกว่าชาติ เรียกว่าภพ เรียกว่าชาติ มันอยู่ตรงนี้เอง ไม่ใช่ต่อตายแล้วจึงจะมีภพมีชาติ ยังเป็นเป็นอยู่นี้ วันหนึ่ง วันหนึ่งมันก็มีภพมีชาติในลักษณะอย่างนี้เหลือที่จะกล่าวได้
(17.49) ถ้าเชื่อหรือสนใจเฉยๆ ว่าตายแล้วจึงจะเป็นภพหนึ่งชาติหนึ่ง ตายแล้วไปภพหนึ่งชาติหนึ่งอย่างนั้นน่ะเรียกว่าแทบจะไม่รู้อะไรเลย เพราะภพชาตินี้มีอยู่ในแต่ละวันนับไม่ถ้วน ความคิดเป็นตัวกู อย่างไร ตัวกูอย่างไร ตัวกูทำอะไร เรื่องนี้เสร็จไปเรื่องอื่นเกิด เรื่องนี้เสร็จไปเรื่องอื่นเกิด เรื่องนี้เสร็จไปเรื่องอื่นเกิด นี่คือภพ คือชาติ มันได้เกิดขึ้นแล้ว เกิดขึ้นทุกทีก็เป็นทุกข์ทุกที เกิดตัวกูอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมาในความรู้สึกมันก็เป็นทุกข์ทั้งแบบนั้น ตัวกูรัก เป็นความรัก มันก็กัดเอาตามแบบความรัก ตัวกูโกรธ มันก็กัดเอาตามแบบความโกรธ ตัวกูกลัว มันก็กัดเอาตามแบบความกลัว ตัวกูเกลียด มันก็กัดเอาตามแบบความเกลียด เค้าให้เอาความรู้สึกในใจที่รู้สึกแล้วเป็นหลักไม่ต้องเชื่อ ทางกายที่ออกมาเป็นทุกข์ (นาทีที่ 18.56) ความรัก ความโกรธ ความเกลียด ความกลัว มันกัดเท่าไหร่มันรู้ได้เอง คนโง่มันไม่สนใจ แม้แต่ความตื่นเต้น ตื่นเต้น เนื้อเต้น ตื่นเต้นประหลาดใจจนเนื้อเต้น มันก็เป็นเรื่องลำบากในเรื่องความทุกข์ วิตกกังวลอาลัย อาวรณ์ อิจฉาริษยา หวง หึง ในที่สุดนี้เป็นเรื่องกัด
(19.27) ปฏิจจสมุปบาทจบลงด้วยความทุกข์อย่างนี้ เป็นกระแสมาตามลำดับตามลำดับอย่างนี้ ใครไปหยุดมันได้ ใครจะหยุดกระแสนี้ได้ ใครจะควบคุมกระแสนี้ได้ มันมีแต่ผู้มีความรู้เรื่องนี้ แล้วปฏิบัติจิตได้สำเร็จควบคุมจิตไว้อย่างนี้ ไม่ให้รู้สึกอย่างนั้น ไม่ให้โง่อย่างนั้น นั่นแหละ ผู้นั้นแหละจะควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทหรือความทุกข์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่าสติ สติ สติ ที่เรากำลังฝึกนี่ ฝึกสติแล้วก็มีสัมปชัญญะ แล้วก็มีปัญญา แล้วก็มีสมาธิ สี่อย่างนี้ครบถ้วนสมบูรณ์อยู่ในการฝึกอานาปานสตินี้ อย่างอื่นก็มีอีกไม่ใช่มีเพียงสี่อย่าง แต่ว่าที่สำคัญที่สุด ที่จำเป็นจะต้องใช้ในการสกัดกระแสแห่งความทุกข์ก็ดี ทำลายความทุกข์ก็ดีที่มันมีอยู่ ไอ้สี่ตัวนี้มีสติรู้ทันควันว่าผัสสะ มีสัมปชัญญะ คือฝึกความรู้ที่ถูกต้องขึ้นมาควบคุมมันอยู่ ปัญญานี้สะสมไว้เสมอไปมากมาย แล้วก็กำลังจิตเป็นสมาธิเข้มแข็ง
(21.06) สติ สัมปชัญญะ ปัญญา สมาธิ เรียกให้ตามลำดับว่า สติ ปัญญา สัมปชัญญะแล้วก็สมาธิ พอเกิดเรื่องขึ้นที่จุดใดจุดหนึ่ง ที่ตา ที่หู ที่จมูก อะไรก็ตาม ที่จุดจุดหนึ่ง ต้องมีสติทันควันว่ามันเกิดเหตุการณ์นี้แล้ว ถ้าสตินอนหลับ คือไม่มีมาก็ไม่รู้เรื่อง มีสติทันควัน ไปเอาปัญญามาเพราะฝึกปัญญาไว้จนรู้ว่าปัญญาอย่างนั้นปัญญาอย่างนี้ เรื่องนั้นเรื่องนี้ สติไปเอาปัญญามา เอามาเฉพาะเรื่อง ปัญญามีมากมายมหาศาล แต่ว่าเรื่องนี้จะต้องกำจัดด้วยปัญญาข้อไหนก็เอาข้อนั้นมา เหมือนกับว่าในตู้ยามียาครบทุกอย่าง แต่พอจะกินมันกินอย่างเดียวเท่านั้นแหละ มันเลือกเอามาอย่างเดียวมากิน ปัญญาก็เหมือนกันฝึกไปเถอะ ฝึกไปเถอะ ให้ครบทุกอย่าง ทุกอย่าง จากการอ่าน การฟังการคิด การนึก ปัญญามากมากใส่สำรองไว้ในตู้ พอเกิดเรื่องสติก็วิ่งไปเอาปัญญามา เฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรายนี้ รายนี้เป็นอย่างไร ปัญญานั้นก็มาอยู่ในลักษณะสัมปชัญญะ คือมาคุมอยู่ มาคุมเหตุการณ์อยู่ คือต่อสู้เหตุการณ์ ไม่ปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจปฏิจจสมุปบาท ที่จะเกิดทุกข์ แต่จะให้มันเป็นไปในทางตรงกันข้ามคือไม่เกิดทุกข์ ถ้ากำลังของสัมปชัญญะไม่พอก็มีสมาธิช่วย สมาธินี่มีน้ำหนักมีกำลังมาช่วย การทำงานของสติปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิก็สมบูรณ์ ก็หยุดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ โดยการรู้เท่าทันอย่างนี้
(23.35) ทั้งหมดฝึกอานาปานสติสำเร็จมันก็มีปัญญา รู้เรื่องอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตถตา สุญญตา ไว้บ้างมากพอ พอเกิดเหตุการณ์ก็สติวิ่งไปเอาไม้ เร็วเหมือนสายฟ้าแลบ มันก็ควบคุมสถานการณ์อย่างเป็นไปในทางที่จะเกิดกิเลส (นาทีที่ 24.00) ถ้าว่าปัญญามันอ่อนกำลัง ก็มีสมาธิที่ฝึกไว้พอช่วยให้เต็มกำลังเกิดกำลัง นี่คือความลับของการทำงานของธรรมมะตามธรรมชาติที่มีอยู่ตามธรรมชาติ คนโง่ไม่รู้ก็ไม่รู้ คนฉลาดมันรู้มันก็เอามาใช้ประโยชน์ได้ พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เรื่องนี้ และท่านก็สอนเราให้เอาใช้ให้เป็นประโยชน์ได้
(24.34) มันมีเหตุผลหรือความถูกต้องที่ว่าจะรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทพอสมควรก่อน การปฏิบัติอานาปานสติ จึงเริ่มขึ้นด้วยการอธิบายเรื่องปฏิจจสมุปบาทก่อน โดยรู้ว่าความทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างไร และก็ปฏิบัติเพื่อสกัดกั้นหรือเพื่อทำลายก็แล้วแต่ เพราะฉะนั้นท่านจงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทในชีวิตประจำวัน ตาหูจมูกลิ้นกายใจ มีอยู่ตลอดเวลาแต่ไม่เรียกว่าเกิดมันยังไม่เกิดเพราะมันยังไม่ทำหน้าที่ ตาหูจมูกลิ้นกายใจ มันนอนหลับอยู่ แต่พอมีอารมณ์มากระทบตา ตาเกิด เห็นแล้วก็เกิดปรุงแต่ง เสียงมากระทบหู หูเกิดขึ้นมา มีความรู้สึกไปตามขั้นตอน กลิ่นมากระทบจมูก จมูกเกิด รสมากระทบลิ้น ลิ้นเกิด สิ่งสัมผัสทางผิวหนังมากระทบผิวหนัง กายเกิด อารมณ์กระทบจิต จิตเกิด
(25.55) คำนี้ชาวบ้านฟังไม่ถูก ภาษาธรรมะที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าเกิดเกิด มันหมายความว่ามันทำหน้าที่ ด้วยความรู้สึก ถ้าตาไม่ทำหน้าที่เราก็เหมือนกับไม่มีตา คือตายังไม่ได้เกิด ทั้งที่เรามีลูกตา มีดวงตามีอะไรอยู่แล้ว หูก็เหมือนกัน ถ้าไม่มีอะไรมากระทบหู การกระทำทางหูไม่มีก็เรียกหูยังไม่ได้เกิด รู้จักคำว่า ตาหู จมูกลิ้น กายใจ เกิด เกิด เกิด เกิด เกิดที่นี่ เมื่อมีอะไรมากระทบทำหน้าที่ขึ้นมาก็เรียกว่าเกิด นี่คือสิ่งที่มีอยู่จริงในชีวิตประจำวัน
(26.44) ซึ่งเกิดขึ้นแล้วสัมผัสอย่างนี้แล้วมันโง่ บางคนมันโง่ก็ปล่อยให้ความโง่พาไป ที่น่ารักก็รัก ที่น่าโกรธก็โกรธ ที่น่าเกลียดก็เกลียด ที่น่ากลัวก็กลัว นำไปสู่ผลคือความทุกข์ ความสุข สุขเวทนา ทุกขเวทนา (นาทีที่ 27.06) เป็นสุขบ้างเป็นทุกข์บ้าง ไม่สุขไม่ทุกข์บ้าง แต่ก็เป็นเวทนา ซึ่งจะให้เกิดความอยาก อยากไปตามเวทนา อยากได้อยากมีอยากเอา อยากยึดครองเมื่อเวทนามันถูกใจ อยากทำลายอยากประหัตประหาร เมื่อเวทนามันไม่ถูกใจ ในเมื่อมันยังไม่รู้ว่าทำอะไร มันก็โง่ต่อไปวนเวียนอยู่ที่นี่ นี่ขอให้รู้จักสิ่งเหล่านี้ ถ้าไม่อย่างนั้นก็ไม่มีทางจะรู้อะไรหรอก ไม่วันหนึ่งวันหนึ่ง เกิดเวทนา หลงในเวทนาก็เกิดตัณหา ตัณหาคืออยากอย่างนั้น อยากอย่างนี้ พอตัณหาเกิดแล้วก็เกิดตัวกู ผู้อยาก ไอ้ตัวกูหรือตัวตนนั้นมันไม่ใช่ของจริง มันเพิ่งเกิดต่อเมื่อมีเวทนา มีตัณหา มีความรู้สึกรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วจึงเกิดตัวกู ผู้รู้สึกอย่างนั้น เช่นว่ามันจะต้องเกิดความเจ็บก่อน แล้วมันจึงจะเกิดรู้สึกว่ากูเจ็บ กูไม่ได้เกิดอยู่ก่อนหรอก เพราะการเจ็บเกิดขึ้น แล้วความรู้สึกว่ากูเจ็บมันจึงเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นไอ้สิ่งที่เรียกว่ากูหรือตัวตนนั้นไม่ใช่ของจริง มายา…ที่สุด (28.30 ถึงนาทีที่ 28.32 ) แต่มันก็ต้องเกิด เกิดในความรู้สึก
(28.36) ท่านจึงสอนชัดเจนว่าอย่ายึดถือเรื่องอัตตาเรื่องตัวตน มันเป็นผีชนิดหนึ่งเท่านั้นล่ะ มันไม่ได้มีอยู่จริง มันเกิดทีหลังความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อปรากฏในจิตแล้ว มันเกิดความเจ็บว่ากูเจ็บ เกิดความพอใจก็กูพอใจ เกิดความไม่พอใจก็กูไม่พอใจ ไอ้ตัวกู ซึ่งไม่ใช่ของจริงนี้คอยเกิดตามทุกครั้งที่มีอารมณ์รุนแรง มันเกิดความรู้สึกรักตามธรรมชาติก่อน มันเกิดกู ตัวกูผู้รักจึงจะเกิดขึ้น นี่ความหลอกลวงของกิเลสมันเป็นอย่างนี้ เราต้องอย่าโง่ อย่าเกิดตัวกูชนิดนั้น เราไม่มีปัญหาเมื่อไม่มีความทุกข์เกิด ความรักก็ทำอะไรไม่ได้ ความโกรธก็ทำอะไรไม่ได้ ความเกลียดก็ทำอะไรไม่ได้ ความกลัวก็ทำอะไรไม่ได้ อะไรก็ทำอะไรจิตใจไม่ได้ นี่แหละมันปลอด มันปลอดภัย นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาทพาให้เกิดทุกข์ ทุกข์มีอยู่ตลอดวัน ตลอด แต่ว่าคนโง่มันไม่รู้จักที่จะทำอย่างไร จึงต้องรู้จัก รู้จัก รู้จัก มันจึงต้องการกำจัดมันเสีย กำจัดมันเสีย แล้วก็ปฏิบัติอานาปานสตินี่ ปฏิบัติให้สำเร็จ ให้สำเร็จให้ได้ ตามที่ตรัสไว้อย่างไร นี่ก็สามารถ สามารถ หายใจทีเดียวไอบ้าบ้า บอบอ นั้นหลุดหายไปหมด หายใจ หายใจมหาอำนาจ ศักดิ์สิทธิ์(นาทีที่ 30.18) หายใจที่ถูกต้องตามวิธีของฝึกมาแล้วดี อานาปานสติ ก็หายใจได้ สิ่งเลวร้ายแห่งจิตใจที่กำลังเกิดอยู่สูญหายไปหมดด้วยการหายใจครั้งเดียว ด้วยการหายใจครั้งเดียว นี่เราจึงฝึกสมบูรณ์แบบ อย่างสมบูรณ์แบบคืออานาปานสติ
(30.46) เรียกว่าอานาปานสติมี 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้น เป็น 16 ขั้น นี่สมบูรณ์แบบที่สุดเป็น 16 ขั้นและเป็นขั้นตอนอย่างนี้อย่างนั้นเรียกว่าอานาปานสติ โดยมากที่เขาสอนกันอยู่ทั่วทั่วไปนั้นเขาเรียกสติปัฏฐาน สติปัฏฐาน คือมีสติสัมปชัญญะ สิ่งใดมากระทบก็เห็นว่าเป็นเพียงนามและรูปไม่มีตัวตน ก็เป็นวิธีลัดที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งเหมือนกัน ตามากระทบรูป ตาเป็นรูป ความรู้สึกทางกายเป็นนาม ทั้งรูปและทั้งนามไม่ใช่ตัวตน หูก็เหมือนกันแหละ เสียงเป็นรูป ความรู้สึกต่อเสียงเป็นนาม ทั้งรูปและนามไม่ใช่ตัวตน กลิ่น มากระทบจมูก กลิ่นเป็นรูป ความรู้สึกทางจมูกเป็นนาม แยกเป็นรูปเป็นนามเสียทุกอย่างแล้ว ไม่มีอะไรเป็นตัวตน นั่นปฏิบัติง่ายง่ายอย่างนั้นก็ได้เรียกว่าสติปัฎฐาน มีผลคือความไม่มีตัวตน ปฏิบัติกันทั่วไปทุกอิริยาบถ เดินยืนนั่งนอน รู้สึกอย่างนั้นก็ได้ เหมือนกัน
(32.04) ถ้าเรียกอานาปานสตินี่ พระพุทธเจ้าตรัสในลักษณะเป็นเทคนิคสมบูรณ์แบบ 4 หมวด หมวดละ 4 ขั้น 16 ขั้น มันกินความเหล่านั้นหมด จนท่านตรัสว่าเมื่ออานาปานสติสมบูรณ์แล้ว สติปัฏฐานทั้ง 4 ทั้งหมดก็สมบูรณ์ สติปัฏฐาน 4 สมบูรณ์แล้วก็โพชฌงค์ก็สมบูรณ์ โพชฌงค์สมบูรณ์วิชาวิมุตติก็สมบูรณ์ วิชาวิมุตติสมบูรณ์ก็หลุดพ้นจากความทุกข์ เดี๋ยวนี้เราจะเอากันอย่างเรียกว่ามีฝีไม้ลายมือเป็นแบบเทคนิคแล้วจึงจะปฏิบัติกันได้ แบบ 16 ขั้นของอานาปานสติ รู้จักตั้งแต่พื้นฐานที่สุดคือกาย ร่างกายเป็นพื้นฐานที่สุดเป็นที่ตั้งแห่งอะไรต่างต่าง ควบคุมมันได้โดยการหายใจเพราะว่าลมหายใจนี้มันปรุงแต่งกาย ควบคุมลมหายใจได้ ก็คือควบคุมร่างกายได้ นั่นจึงทำให้ร่างกายสงบรำงับสะอาดบริสุทธิ์ได้โดยทำการหายใจที่ถูกต้อง นี่ชนะกาย เหนือกาย มีร่างกายที่เป็นที่พอใจ คือสบายได้ตลอดเวลาว่าต้องการเมื่อไหร่ก็ได้เมื่อนั้นแหละ ทีนี้ก็รู้สึกต่อเวทนา เวทนาทั้งหลายควบคุมได้ เวทนาทั้งหลายปรุงแต่งจิตให้เป็นกิเลสตัณหาอะไรก็ได้ (นาทีที่ 33.57) หรือจะปรุงแต่งจิตไปในทางผิดหรือทางถูกก็ได้ ก็รู้จักควบคุมเวทนาทั้งหลายปรุงแต่งจิตแต่ในทางที่ถูกที่ควร หรือไม่ให้ปรุงเสียเลยก็ได้ นี่เรียกว่าชนะไอ้ความรู้สึกที่เป็นอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในใจ ขับไล่ที่ไม่ไปรารถนาออกไปเสียเอาไว้แต่เพียงน่าปรารถนา คือความสงบเย็น รวมความก็ว่า ไม่ดีใจ ไม่เสียใจให้มันยุ่ง ให้มันอยู่ในความสงบ ดีใจมันก็วุ่นวาย เสียใจมันก็วุ่นวาย ไม่เอาทั้งสองอย่างให้มันว่างให้มันสงบ แล้วทีนี้ก็บังคับจิตเอง จิตเองให้สงบ เป็นอย่างนี้ ไม่เป็นอย่างนั้น ให้จิตบันเทิงก็ได้ตามที่ต้องการให้จิตสงบเป็นสมาธิก็ได้ตามที่ต้องการ ให้จิตแคล่วคล่องว่องไวในการจะทำหน้าที่การงานมันก็ได้ ทีนี้มีอำนาจเหนือจิต มีอำนาจเหนือจิต จิตที่มันเคย เคยเป็นนายเรา ทีนี้เราจะเป็นนายจิต ก็ใช้จิตให้รู้ความจริงอันสูงสุดของธรรมชาติ คือความจริงเรื่องอนิจจัง ไม่เที่ยงทุกขังเป็นทุกข์ อนัตตาไม่ใช่ตัวตน เป็นอย่างนี้เอง ทำมั….(นาทีที่ 35.30 ถึงนาที่ 35.35) เป็นไปตามปัจจัยเช่นนี้ อิทัปปัจจยตา แม้จะไม่ได้เรียน ไม่ได้รู้โดยชื่อทั้งหมดก็ได้ไม่เป็นไร แต่ว่ารู้ว่าความจริงมันเป็นอย่างไร ที่มันหลอกให้เราหลงรักหลงพอใจก็เพราะไม่รู้ความจริงเรื่องนี้เดี๋ยวนี้ก็รู้ รู้ รู้ รู้ ก็รู้ โอ นี่มันเป็นทุกข์มาตลอดเวลาก็โง่ไปยึดถือสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ไปยึดถือสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข ไปยึดถือสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนว่าตัวตน เป็นต้น เลิก เลิก เลิก ไอ้ความยึดถือมันก็คลายออก จางออก คลายออกจางออก จนกว่ามันจะหมดสิ้นไป แล้วก็รู้ว่า โอ หมดสิ้นแล้ว หมวดที่สี่จึงมีอยู่สี่ขั้น จะเห็นได้ว่ามันเป็นเทคนิค เป็นวิธีที่ฉลาดที่สุดถึงสิบหกขั้นเรียกว่าอานาปานสติ เมื่อฝึกครบทั้งสิบหกขั้นนี้แล้วมันก็มีไอ้สิ่งที่พึงปรารถนามากมายมหาศาล มีสติสมบูรณ์ที่สุด รวดเร็วที่สุด มีปัญญาครบถ้วน ที่ว่าจะไม่เป็นทุกข์ ไม่ใช่ครบถ้วนทุกสิ่งทุกอย่างไม่ต้องการน่ะ แต่ว่าครบถ้วนทุกสิ่งที่จะไม่เป็นทุกข์ แล้วก็เอามาเป็นเครื่องต่อสู้กิเลส เป็นสัมปชัญญะนี่ได้ทุกอย่างทุกชนิด แล้วก็มีกำลังเพียงพอฝึกสมาธิกำลังมหาศาล
(37.21) ซึ่งมันก็จบน่ะ ถ้าเราควบคุมกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทได้ความทุกข์ก็ไม่เกิด อะไรเข้ามากระทบ ทางตาหูจมูกลิ้นกายใจก็รู้จักจัดรู้จักทำไปตามที่ควรจะจัดจะทำ ไม่เกิดความทุกข์ ไม่เกิดความทุกข์แต่เกิดสิ่งที่ควรจะได้ตามที่ต้องการ เรียกว่าอะไรเข้ามาสู่ชีวิต รู้จักจัดให้เป็นประโยชน์ไม่เกิดความทุกข์ ถ้าโง่มันก็มาเพื่อให้เกิดความทุกข์ ทุกอย่างไปเลย รูปเสียงกลิ่นรส….(นาทีที่ 38.03) มันก็มาให้เกิดความทุกข์ทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ไม่อาจจะให้เกิดความทุกข์ เราก็หมดปัญหาจากความทุกข์เรียกว่าหลุดพ้น หลุดพ้น หลุดพ้น หลุดพ้นจากอำนาจความย่ำยีของกิเลสหรือของความทุกข์ เกิดกิเลสมันต้องเกิดทุกข์แหละมันคู่กัน กิเลสที่มันร้ายกาจที่สุดมันก็คือว่า อุปาทาน ยึดมั่นถือมั่นเป็นตัวเป็นตน โลภะก็ยึดไปอย่าง โทสะก็ยึดไปอย่าง โมหะก็ยึดไปอย่าง ก็มีความยึดจึงเกิดโลภะโทสะโมหะ เดี๋ยวนี้ก็ไม่ยึด เขาเรียกว่าหลุด ไม่ยึดไม่ติด ไม่ผูกพันด้วยสิ่งใดก็เรียกว่าหลุด
(39.00) ขอให้ท่านเข้าใจเรื่องนี้อย่างที่อธิบายมานี้ ก็จะได้ผลขั้นหนึ่ง สูงสุดคือท่านจะเห็นชัดประจักษ์ชัดด้วยตนเองว่ามันเป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ ไอ้ความรู้สึกที่ว่าไม่ไหวปฏิบัติไม่ได้สูงเกินไปก็ทำไม่ได้ เลิก ไม่เอา ไม่เอานั่นมันจะหมดไป มันจะเกิดความรู้สึกอันใหม่ขึ้นมา โอ้ มันปฏิบัติได้นี่ มันเป็นเรื่องธรรมชาติ ธรรมดาในชีวิตประจำวัน เรารู้เรื่องของมันแล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎของธรรมดา มันก็ปฏิบัติได้ นี่มันให้ความรู้สึกกล้าหาญ มีฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา เพียงพอในการที่จะปฏิบัติได้ ขอให้ท่านทั้งหลายมองเห็นชัดว่าสิ่งเหล่านี้ เรื่องเหล่านี้พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างไม่เป็นหมันคือมันปฏิบัติได้ ถ้าตรัสไว้แล้วปฏิบัติไม่ได้มันก็เป็นหมัน เรื่องอย่างนี้ไม่มี ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า และไม่มีแก่คำสอนของพระพุทธเจ้า ขอให้ท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในการที่รู้สึกว่ามันปฏิบัติได้ มันปฏิบัติได้ แล้วก็จะปฏิบัติไปตามลำดับ ไปตามลำดับ
(40.46) วันนี้ก็ขอพูดอย่างนี้ คือพูดเพียงให้เกิดความรู้สึกว่าท่านแน่ใจว่ามันปฏิบัติได้ เพราะมันมีเหตุผลอยู่ในตัวมันเองจนเห็นชัดด้วยตัวเองว่าปฏิบัติอย่างนี้หยุด หยุดกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาท ปฏิบัติอย่างนี้ไม่เกิดผัสสะโง่ ไม่เกิดเวทนาโง่ ไม่เกิดตัณหาอุปาทาน ภพชาติ เห็นชัดด้วยตนเอง เห็นชัดด้วยตนเอง เหมือนที่ชาวนาเขาเห็นชัดด้วยตนเองว่าทำนา ทำนา แล้วมันได้ข้าวเปลือกแล้วมันก็เป็นผลเอาไปซื้อขายเป็นเงินเป็นทองได้ เห็นชัดอยู่อย่างนี้จึงทำนา นี่ท่านจะทำนาของพระพุทธเจ้าก็เห็นชัดอยู่ว่ามันทำได้ ทำได้อย่างนี้ ทำได้อย่างนี้ เพราะฉะนั้นขอให้มีความแจ่มแจ้งในข้อนี้แล้วมันพร้อมที่จะปฏิบัติตลอดเวลา ปฏิบัติเพื่อสำรวมระวังนี่ก็ต้องปฏิบัติตลอดเวลา ไม่ว่าเวลาไหน ไม่ว่าเวลาทำการทำงานหรือหยุดพักผ่อน หรือทำอะไรก็ตามทุกทุกระยะเวลานั้นจะต้องมีสติ สัมปชัญญะ มันก็มีความถูกต้อง ถูกต้อง ถูกต้องตลอดเวลา เยาะเย้ยความทุกข์ เยาะเย้ยความเกิดแก่เจ็บตาย เยาะเย้ยความทุกข์ทั้งหลาย เพราะว่าเราเป็นผู้เหนือ เป็นผู้ชนะแล้ว นี่ขอให้เห็นชัดอย่างนี้ว่าปฏิบัติได้ ปฏิบัติแล้วเป็นมนุษย์ที่อยู่เหนือความทุกข์ทั้งปวง อย่าได้เห็นเป็นเรื่องครึคระบ้าบอเหมือนคนหนุ่มคนสาวนักศึกษาสมัยนี้ ซึ่งมันบ้าแต่ความเจริญทางวัตถุ ตามก้นพวกฝรั่ง แล้วมันก็จะได้จมลงในกองทุกข์ มันจะวินาศกันทั้งโลกด้วยซ้ำไป เรามามองเห็นเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงของธรรมชาติ ตามที่พระพุทธเจ้าท่านสอนไว้ว่าความทุกข์มันเป็นอย่างนี้ แล้วความทุกข์นี้มันกำจัดได้ กำจัดได้ ละได้ กำจัดได้ด้วยวิธีการอย่างนี้ ขอให้ท่านทั้งหลายมีความคิดนึก ความรู้สึกเต็มที่ว่าปฏิบัติได้ ว่าปฏิบัติได้ ปฏิบัติแล้วมันก็ได้ผลอย่างนี้โดยแน่นอน ท่านก็จะปฏิบัติสนุกใช้ตำอย่างนี้ก็ได้ จะปฏิบัติสนุกมีความสุขตลอดเวลาที่ปฏิบัติ ปฏิบัติสำเร็จแล้วอยากได้สวรรค์ชั้นไหนก็ได้หมด สวรรค์ที่สะอาดไม่ใช่สวรรค์ที่สกปรกด้วยกามารมณ์ มีจิตใจเกลี้ยงเกลาจากามารมณ์ เป็นพรหมชนิดไหน เป็นพรหมชั้นไหนก็ได้เมื่อนั้นแหละ มันมีผลอย่างนั้น และเป็นอันว่าท่านทั้งหลายคงจะแน่ใจมีกำลังใจถึงที่สุดในการที่จะปฏิบัติอานาปานสติของท่าน ขอยุติการบรรยายด้วยความสมควรแก่เวลาและเรี่ยวแรง