แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ขอแสดงความยินดี แก่ท่านทั้งหลายที่มาฝึกอานาปานสติภาวนา และที่จะพูดให้ฟังนี้ก็เป็นเรื่องทำความเข้าใจให้ถูกต้อง จนเกิดความสนใจ ความต้องการหรือความพอใจที่จะทำ
ฝึกอย่างไรให้ชื่อว่าผู้ฝึกได้ฝึก(ให้แล้ว) 0.52นาที)ตามลำดับ
ใจความสำคัญนี้จะพูดในเรื่องว่า... ทำจิตใจให้ถูกต้องอย่างไร ทำให้เกิดกำลังใจได้อย่างไร
ชั้นต้นที่สุดก็ขอให้ทราบว่า ไม่ได้ทำเพื่อหูทิพย์ตาทิพย์.. เห็นนรกสวรรค์ กระทั่งเห็นเลขเบอร์เลขหวย ไม่ได้กระทำเพื่ออิทธิปาฏิหาริย์ เป็นต้น เพราะว่าสิ่งเหล่านั้นมันดับทุกข์ไม่ได้.. คือมันไม่ดับทุกข์ เราจะพูดกันแต่เรื่องที่มันดับทุกข์ได้ และเป็นประโยชน์แก่พุทธบริษัท อย่างน้อยขั้นแรกก็คือว่า..เรา...จะมีพระพุทธเจ้ามากขึ้นกว่าแต่ก่อน จะมีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงถูกต้องและยิ่งขึ้นมากขึ้นกว่าแต่ก่อน แล้วเราก็จะสามารถดำเนินชีวิตที่เป็นทุกข์น้อยลงกว่าแต่ก่อน นั้นก็เป็นการแผ้วถางหนทาง เพื่อการบรรลุนิพพานนั้น ให้มากขึ้น ให็เร็วขึ้น กระทั่งสามารถใช้ประโยชน์เล็กๆน้อยๆธรรมดาสามัญทั่วไปจากอานาปานสติภาวนา
ถ้าท่านมองเห็นอย่างนี้..ก็จะเกิดในสิ่งที่สำคัญที่จะต้องเกิดในเบื้องต้น คือความพอใจอย่างยิ่ง พอใจอย่างยิ่ง ที่จะปฏิบัติ ที่จะทำให้ลุล่วงไป..ที่จะเกิดธรรมะให้ปฏิบัติสำเร็จเช่นอิทธิบาท4เป็นต้น ได้ง่ายเข้า ขอให้ทำในใจให้ถูกต้อง
พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม... นี่ตอนหนึ่ง อีกตอนหนึ่งบอกว่าผุ้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม เห็นธรรมแล้วก็เห็นเรา คำว่าเห็นธรรมหรือเห็นปฏิจจสมุปบาทนั้นน่ะคืออย่างไร?.. ก็คือทำให้จิตใจได้รู้สึก ได้พบ ได้เห็น ได้เข้าใจแจ่มแจ้งกับสิ่งเหล่านั้น ข้อนี้บางคนทราบแล้วบางคนไม่ทราบว่า... พระพุทธเจ้าท่านปฏิเสธว่าไอ้ร่างกายพระองค์ท่านที่เดินไปเดินมาได้ในอินเดียนั้น.. ยังไม่ใช่เรา ยังไม่ใช่องค์พระพุทธเจ้า... แต่ว่า ธรรมะ ธรรมะที่มีอยู่ในเรานั้น เป็นเรา เป็นธรรมมะ เห็นเรา เห็นเราเห็นธรรมะ เห็นธรรมะอย่างไรก็คือเห็นปฏิจจสมุปบาท
โดยทั่วไปธรรมะก็คือ เอาความที่จิตใจสะอาดสว่างสงบเยือกเย็นเป็นอิสระ ถ้าควาามรู้สึกอย่างนั้นมีในใจก็ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า คือเห็นหัวใจพระพุทธเจ้า รู้ว่าพระพุทธเจ้าท่านมีหัวใจอย่างนั้น แล้วเราก็มีอย่างนั้น รู้สึกอย่างนั้น.... มันจะซึมซาบ ซึมซาบในความรู้สึกอย่างเดียวกับที่พระพุทธเจ้าท่านมี มีความรู้สึกสะอาดบริสุทธิ์ในใจสว่างไสวแจ่มแจ้ง และความสงบเย็น นี่เขาเรียกว่าธรรมะในความหมาย... เป็นความดับทุกข์ มีชีวิตเย็น มีชีวิตชนิดที่ไม่กัดเจ้าของ ไม่มีธรรมะแล้วชีวิตมันกัดเจ้าของ คือกิเลสมันเกิด แล้วมันก็กัดเจ้าของชีวิตนั้น... มันกัดเจ้าของ กัดตัวมันเอง ถ้าปฏิบัติถูกต้องแล้ว อาการอย่างนี้มันไม่มี
ทีนี้ก็มีว่า วิธีที่จะให้มีธรรมะอย่างนั้นน่ะ คืออย่างไร การที่มีจิตสะอาดสว่างสงบเย็นนั้นจะต้องทำอย่างไร ก็คือปฏิบัติอย่างปฏิจจสมุปบาท ตอนท้ายจึงมีว่าเห็นปฏิจจสมุปบาทคือเห็นธรรมะ.. คำว่าปฏิจจสมุปบาทบางคนยังไม่ทราบก็ได้ ก็ขอทราบโดยใจความคือว่า อาการที่ความทุกข์มันอาศัยปัจจัย อาศัยปัจจัยแล้วเกิดขึ้น นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท(เกิด 7.11)ขึ้น ความทุกข์อาศัยปัจจัย อาศัยปัจจัยแล้วก็ดับลง นี่เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท(??7.19)ดับลง เราจึงต้องรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท จะได้เห็นปฏิจจสมุปบาทนี้ในจิตใจ ได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง คือเห็นปฏิจจสมุปบาท คือเห็นธรรมะนั่นเอง
คิดดูสิ พระพุทธองค์ตรัสว่าเห็นพระองค์ที่เดินไปเดินมาอยู่ในอินเดีย จับจีวรไว้ไปไหนไปด้วยกัน ก็ยังไม่ชื่อว่าเห็นพระองค์ แต่เมื่อเห็นธรรมะในหัวใจของพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธรรมะในข้อที่ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรความทุกข์ดับไปอย่างไร นั้นน่ะเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง ผู้ใดเห็นชัดกว่านั้นเขาว่าสิ่งที่มันสอนให้เราเห็นความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรความทุกข์ดับไปอย่างไร สิ่งนั้นน่ะคือพระพุทธเจ้า จึงเห็นปฏิจจสมุปบาท(????? 8.27 (มีลมพัด)ปฏิจจสมุปบาท??)ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรความทุกข์ดับลงอย่างไร
การสอนที่สมบูรณ์จึงสอนเรื่องปฏิจจสมุปบาทนี้ก่อน ข้อนี้มันเกี่ยวข้องกันเพราะว่าเราต้องการจะดับทุกข์ เราต้องรู้เรื่องที่ความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ความทุกข์ดับลงอย่างไรนี้ให้ชัดเจนละเอียดถูกต้อง แลัวเราก็จะได้ปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ จึงจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้ชัดเจนให้ละเอียดจนมองเห็นว่า โอ้มันเป็นอย่างนั้นจริง... ปฏิบัติป้องกันการเกิดทุกข์ หรือให้ดับทุกข์ จะได้???(9.10) ท่านทั้งหลายต้องพยายามสนใจเข้าใจ
เข้าใจไม่ใช่ว่าเข้าใจมากมายทั้งพระไตรปิฎก ไม่ใช่ มันทำไม่ได้หรอก แค่มองเห็นว่าทุกข์มันเกิดขึ้นอย่างไร ให้สนใจฟังเรื่องปฏิจจสมุปบาทให้เข้าใจ ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร โดยสรุปคำสั้นก็คือว่า มันเกิดมาจากอุปาทาน ความถือว่าตัวตน ของตน อุปาทานนี้มันเกิดมาจาก ตัณหา ความอยาก ความกิเลส ตัณหาเกิดมาจากเวทนา โง่ มันโง่ต่อเวทนา ความรู้สึกที่มากระทบ รู้สึกว่าสุขบ้างทุกข์บ้าง ทุกข์บ้างสุขบ้างนี้เรียกว่าเวทนา ถ้าโง่ต่อเวทนาเหล่านี้ปุ๊บ ก็เกิดตัณหา เกิดความต้องการ คือโง่ เกิดความรู้สึกเป็นตัวตน ผู้ต้องการ ผู้อย่างนั้น ผู้อย่างนี้ เรียกว่าอุปาทาน ก็เกิดทุกข์ เวทนาจะไม่โง่ก็เพราะว่าเรามีสติสัมปะชัญญะ เมื่อผัสสะมากระทบรูหู กระทบเสียง จมูกกระทบกลิ่น ลิ้นกระทบรส เวทนากระทบนี่เราจะต้องมีผัสสะ มีสติ ขณะนั้นเรียกว่า(??10.37)ผัสสะ เราต้องมีสติ ดังนั้นเราจึงฝึกสติ ฝึกสติ ฝึกสติ ให้เต็มที่เลย ให้มีสติมากพอ ให้มีสติ เร็ว เร็ว เร็วพอมากพอกล้าแข็งพอ เมื่อเราฝึกอาณาปานสตินี้สำเร็จเราก็จะเป็นผู้สามารถมีสติได้เร็วพอทันทีที่มีอารมณ์มากระทบตาหูจมูกลิ้นจิตใจ มีสติแล้วก็ควบคุมผัสสะไว้ได้ไม่ให้เกิดโง่ขึ้นมาในขณะนั้น เราต้องไม่หลงเวทนา ไม่หลงเวทนาก็ไม่เกิดตัณหา ไม่เกิดตัณหาก็ไม่เกิดอุปาทานยึดมั่นเป็นตัวตนของตน ก็ไม่มีชาติมีภพแห่งตัวตนของตนตัวกูของกู ยกหูดูหางอย่างที่เป็นอยู่ เมื่อไม่มีอุปาทานอย่างนี้ความทุกข์ก็ไม่มี... ได้ซึมซาบในความทุกข์ที่ไม่มี... ตรงกันข้าม มีรสแห่งพระนิพพาน ให้เยือกเย็น ไม่มีความทุกข์ บริสุทธิ์สะอาดหมดจด สว่างไสวแจ่มแจ้ง ไม่มีอะไรผูกพันจิตใจแม้แต่นิดเดียว
ผลของปฏิจจสมุปบาทก็เป็นอย่างนี้ ดังนั้นท่านจึงตรัสว่าผู้ใดเห็นธรรมม ผู้นั้นเห็นเราผู้ใดเห็นเรา ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุหบาทผู้นั้นเห็นธรรม คือพระองค์จริง
เห็นพระองค์จริงที่ทั้งอินเดีย ทั้งกระโน้นมันก็ยังไม่ถึงพระองค์จริงหรอก พระองค์มีคนเป็นอันมากในอินเดียสมัยโน้นเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้าอยู่ตามถนนหนทาง ก็ไม่รู้ไม่ชี้ บางทีก็ด่าด้วยว่ามาเกะกะ พวกผู้หญิงเป็นอันมากเขาก็ด่าพระพุทธเจ้าว่าทำให้คนเป็นม่าย ไม่มีดีอะไร ดีแต่ทำให้คนเป็นม่ายคือผัวออกไปบวชหมด ภรรยาเป็นม่าย พวกผู้หญิงเค้าก้ด่าอย่างนี้ก็มี... ดูสิมันเดินสวนทางกับพระพุทธเจ้ายังไม่รู้จักพระพุทธเจ้า
ฉะนั้นการที่จะรู้เพียง พระธาตุ พระสารีริกธาตุก็ดี พระพุทธรูปก็ดี นี้ก็ดีหมด อย่างน้อยลงไปอีก (??ท่าน(13.18))ย้อนกลับมาเห็นมากขึ้นมาอีก คือรู้ธรรมะที่มีอยู่ในหัวใจของพระพุทธเจ้า ด้วยความสะอาดความสว่างและความสงบ เห็นปฏิจจสมุหบาทว่าทุกข์เกิดขึ้นอย่างไร ทุกข์ดับไปอย่างไร เห็นในสิ่งใดสิ่งนั้นแหละมันสอน สิ่งนั้นแหละเป็นพระพุทธเจ้า สอนเราขึ้นมา ให้เห็นในร่างกายนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในร่างกายเป็นๆนี้เกิดทุกข์อย่างไรทุกข์ดับไปอย่างไร สิ่งนั้นแหละมันสอน มันต้องเห็นที่หัวใจที่เปลี่ยนไป จากความทุกข์สู่ความดับทุกข์ นี่คือเห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์เนื้อพระองค์ใน พระองค์ที่เป็นที่พึ่งได้จริง เพราะว่าเราสามารถเอามาใส่ไว้ในหัวใจของเราได้จริง ถ้าจะเอาพระพุทธเจ้าอย่างบุคคลเดินไปเดินมาได้จะเอามาใส่ได้อย่างไรเล่า เพียงแต่ได้ศรัทธา ได้เดินตามต้องเข้าใจด้วย ไม่งั้นก็จะโกรธ ก็เป็นผู้แข่งขันเหมือนกับที่มีอยู่ในอินเดีย คือพระสารีริกธาตุ เราก็มาใส่ในหัวใจเราไม่ได้ พระพุทธรูปเราก็เอามาใส่ในหัวใจเราไม่ได้ อะไรที่เป็นตัวแทนพระพุทธเจ้าล้วนแต่เอามาใส่ในหัวใจไม่ได้ มันก็เหลือแต่พระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระองค์จริง คือธรรมะ ชนิดที่เป็นหัวใจพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือความทุกข์เกิดขึ้นและเจ็บปวดอย่างไร ความทุกข์ดับลงไปแล้วสงบเย็นอย่างไร ที่เรียกว่าปฏิจจสมุหบาทน่ะ ถ้าความรู้อันนี้ แสงสว่างอันนี้ ความจริงอันนี้เข้ามามีอยู่ในหัวใจ คือมีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาอยู่ในหัวใจของเรา
ท่านจงมีความตั้งใจมุ่งหวังประสงค์ว่าเราจะทำให้มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาอยู่ในหัวใจของเรา โดยวิธีที่ทำจิตใจนี้ให้สะอาดให้สว่างให้สงบให้แจ่มแจ้งในการดับทุกข์ มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงซึ่งไม่ใช่เนื้อหนัง
พระพุทธเจ้าพระองค์จริงนี้มันไม่ใช่เนื้อหนัง เป็นบุคคล มันเป็นคุณธรรม ธรรมชาติ คุณธรรมของธรรมชาติหรือเป็นธรรมชาติที่มีคุณธรรมดับทุกข์ได้ สามารถเอามาใส่ในหัวใจเราได้ นี่พระพุทธเจ้าพระองค์จริง พระพุทธเจ้าพระองค์จริงไม่มีประสูติ ไม่มีตรัสรู้ ไม่มีนิพพาน ไม่มีการเกิดที่นั่นเป็นลูกคนนั้นเป็นหลานคนนี้ พ่อชื่อนั้นแม่ชื่อนี้ไม่มี นี่แหละพระพุทธเจ้าพระองค์จริง (16.14)พระพุทธเจ้าพระองค์นอก พระองค์นอก เป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์จริง จึงมีการประสูติ เป็นลูกคนนั้นหลานคนนี้ และมีการตรัสรู้ มีการปรินิพพาน นี่เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นอกซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งพระพุทธเจ้าพระองค์ใน เราก็ไม่มีโอกาสเห็นพระพุทธเจ้าองค์นอก ปรินิพพานแล้วก็ดับแล้วเผาแล้ว เหลือแต่พระธาตุแล้ว พระธาตุก็ยังไม่ค่อยได้เห็นเห็นแต่พระพุทธรูปกันโดยมาก นี้ขอให้มองทะลุพระธาตุมองทะลุพระพุทธรูปเพื่อความสว่างไสวแจ่มแจ้งถึงที่สุด รู้ว่าความทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรความดับทุกข์ดับไปอย่างไร เมื่อทุกข์ดับไปแล้วจิตใจสะอาดสว่างสงบอย่างไร นั้นน่ะพระพุทธเจ้าพระองค์จริง
ถ้าท่านทั้งหลายประสบความสำเร็จในการเจริญอานาปานสติภาวนา พระพุทธเจ้าพระองค์จริงก็จะมาประทับหรือประดิษฐานอยู่ในหัวใจของท่าน คือหัวใจของท่านมีความสะอาด สว่าง สงบพอ หัวใจของท่านมีความรู้แจ่มแจ้งในการเห็นทุกข์เกิดขึ้นอย่างไรทุกข์ดับไปอย่างไร พระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาปรากฎในจิตใจของเรา นี่คือผล(??17.5) ผลมีค่ามหาศาลที่เราจะอุตส่าห์มาทำอานาปานสติ นี่แค่เบื้องต้น คือเรามีพระพุทธเจ้าพระองค์จริงมาแล้วอยู่ภายในใจ
ทีนี้เราก็จะปฏิบัติเพื่อดับทุกข์เหมือนพระพุทธเจ้าบ้าง พระพุทธเจ้าท่านดับทุกข์ได้อย่างไรเราก็จะปฏิบัติอย่างนั้น ปรากฏชัดในบาลีว่าพระพุทธเจ้าท่านตรัสว่าอานาปานสตินี้ดับทุกข์ และพระองค์ก็ได้อาศัยอานาปานสติเป็นเหตุให้ตรัสรู้ เราก็ถือเอาสิ่งเดียวกัน คือการปฏิบัติอานาปานสติ เรืยกชื่ออย่างอื่นก็ได้แต่ที่ในพระบาลีก็เรียกตรงๆว่าอานาปานสติ จะเรียกให้ยืดยาวพิศดารกว้างขวางเป็นสติปัฐฐาน มหาสติปัฐฐานก็ได้ แต่ไม่จำเป็น เอาหัวใจว่ามันคืออานาปานสติ ทำสติในธรรมะที่ควรกระทำอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
ธรรมะอะไรที่ควรมาทำในใจอยู่ทุกลมหายใจเข้าออกเรียกว่าธรรมะตามลำดับตามลำดับตามลำดับ สูงสูงขึ้นไปจนถึงขั้นสุดท้าย แต่ขั้นต้นที่สุดเบื้องต้นที่สุดก็คือทำสติในส่วนลมหายใจนั่นเอง แล้วจึงไปทำในสิ่งต่างๆที่เนื่องจากลมหายใจตามลำดับ
ทำอานาปานสติเนี่ย ไม่ใช่ทำให้เหาะได้ ตาทิพย์ หูทิพย์เหมือนที่เขาทำกันบางแห่งบางที่ ทำแล้วมันบ้า มันก็บ้าตั้งแต่ก่อนทำ ที่มันไปทำเพื่อเอาฤทธิ์เอาเดชเอาปาฏิหาริย์นั้นมันเป็นบ้าตั้งแต่ก่อนทำ ไปทำแล้วมันก็ได้บ้าจริงๆ แต่ถ้าเป็นอานาปานสติโดยแท้จริงแล้วมันไม่บ้า ไม่มีทางที่จะเป็นบ้า แต่มีทางที่ดียิ่งขึ้น ให้ปรกติยิ่งขึ้น ให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ให้สงบเย็นยิ่งขึ้น ให้ได้ก้าวถึงความจริงอันสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้เข้าถึงยิ่งขึ้น นี่คือทำอานาปานสติ
อย่าลืมว่ารู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทว่าทุกข์เกิดขึ้นอย่างนั้นทุกข์ดับลงอย่างนั้น ไม่ใช่ดับทุกข์จึงทำอานาปานสติเป็นเครื่องมือสำหรับดับทุกข์ การสอนที่ถูกต้องเสร็จสมบูรณ์ต้องสอนสองเรื่องพร้อมกันไป... รู้เรื่องปฏิจจสมุหบาทความทุกข์เกิดอย่างไรดับอย่างไร แต่มันทำไม่ได้เพราะจิตใจมันยังไม่เหมาะสม ก็เลยทำจิตใจให้เหมาะสมคืออานาปานสติ จิตใจที่เหมาะสมอย่างนี้จะทำการดับทุกข์ได้ตามหลักของปฏิจจสมุหบาท ถ้าท่านทั้งหลายเข้าใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทละเอียดลออแจ่มแจ้งชัดเจนเท่าไร การปฏิบัติอานาปานสติก็จะง่ายขึ้นเพียงนั้น จะได้ผลดีมากขึ้นเพียงนั้น ขอให้สนใจ โดยหลักทั่วไปก็ว่าอานาปานสติทำให้เกิดสติ ทำให้เกิดสมาธิ ทำให้เกิดปัญญา ทำให้เกิดสัมปชัญญะ นี่ธรรมะที่จำเป็นจำเป็นที่เป็นอานิสงค์นี่คือมีสติ มีสัมปะชัญญะ มีปัญญา มีสมาธิสมบูรณ์ จะจัดการกับปฏิจจสมุปบาทฝ่ายที่เกิดทุกข์ได้ไม่เกิดทุกข์ ระบบปฏิบัตินี้ได้รับภูมิ ได้ทำให้ดีที่สุดแล้ว อย่างที่พระพุทธเจ้าทรงนำมาสอนเป็นสี่หมวด หมาวดละสี่ขั้น ลงเป็นสิบหกขั้น นี้แปลว่าท่านได้จัด ปรับปรุงให้มันดีที่สุดแล้ว ก่อนนั้นเขาก็มีแต่มันไม่ดีอย่างนี้ก็เรียกอานาปานสติเหมือนกันแหละ ลวกๆหยาบๆไปก็มี ก็มีแต่คึกคำบรรพ์ด้วยซ้ำไป แต่ก่อนพระพุทธเจ้าเกิด ก็เรียกกันทั่วๆไปว่าอานาปานสติเหมือนกันแหละ แต่ว่าอานาปานสติในพุทธศาสนานี้ต้องเป็นอย่างที่กำลังฝึกนี้
ข้อที่หนึ่งเมื่อฝึก หมวดนะหมวดนะ กลุ่มที่หนึ่งฝึกเรื่องร่างกาย มีอยู่สี่ขั้น ข้อที่สองหมวดที่สองเรื่องเวทนามีอยู่สี่ขั้น หมวดที่สามเรื่องจิตมีอยู่สี่ขั้น หมวดที่สี่เรื่องธรรมะคือความจริงของธรรมชาติก็มีอยู่สี่ขั้น สี่หมดวมหมวดละสี่ขั้นก็เป็นสิบหกขั้น พยายามไปตามลำดับ
ถ้าประสบความสำเร็จในหมวดที่หนึ่งก็เรียกได้สั้นๆว่าเราบังคับร่างกายได้ตามที่เราต้องการ ให้มันสงบนั้นเอง เราบังคับได้ตามที่เราต้องการ คือให้มันสงบได้เมื่อไรตามที่เราต้องการ คือมันฟุ้งขึ้นมาระงับได้ ป้องกันไม่ให้มันฟุ้งขึ้นมา ระงับได้ตามที่เราต้องการ อยากจะมีร่างกายที่เหมาะสมสบายเยือกเย็นที่สุดเมื่อใดก็ทำได้เมื่อนั้น นี่แหละบังคับร่างกาย ถ้าหากจิตใจเป็นบ้าร่างกายกระวนกระวายขึ้นมานี้ก็บังคับให้ออกไปได้ด้วยการบังคับ หมวดที่หนึ่งนี้เรียกว่าบังคับร่างกาย บังคับทางลมหายใจ ทำลมหายใจให้ละเอียด ละเอียด ละเอียด ให้ระงับอารมณ์ได้ก็ระงับไป ลมหายใจนี้มันแต่งร่างกาย มันหล่อเลี้ยงร่างกาย ถ้าลมหายใจดีร่างกายก็ดี ลมหายใจระงับร่างกายก็ระงับ ก็จึงระงับเข้าไปในลมหายใจ ร่างกายก็จะพลอยระงับ มันก็มีความรู้สึกอยู่ ลมหายใจระงับลมหายใจระงับ ร่างกายเยือกเย็นร่างกายเยือกเย็น กำหนดอยู่อย่างนี้ในขั้นสุดท้ายของหมวดที่หนึ่งนี้ ขั้นที่หนึ่งรู้เรื่องลมหายใจยาวว่ามีลักษณะอย่างไรมีอิทธิพลอย่าง ขั้นที่สองรู้เรื่องลมหายใจสั้นว่ามันมีอิทธิพลอย่างไร ขั้นที่สามรู้ว่ากายนี้มันเนื่องอยู่กับลมหายใจเป็นคู่แฝดกัน เราบังคับกายโดยตรงไม่ได้เราก็บังคับลมหายใจได้ บังคับลมหายใจได้ก็คือบังคับกายได้ ดังนั้นเราจึงสามารถทำให้กายสงบ ระงับระงับระงับอย่างที่ไม่เคยมีมาแต่ก่อนนั้น เพียงเท่านี้ก็มีกุศลเหลือหลาย จะต้องการชีวิตสงบเย็นทางกายนี้ได้เมื่อไรก็ได้ที่ไหนก็ได้ตามที่เราต้องการ เพียงเท่านี้สุนัขไม่กัดเจ้าของ คือกิเลสตัวตนก็ไม่กัดเจ้าของ ชีวิตนี้จะไม่กัดเจ้าของ ถ้าเราบังคับควบคุมชีวิตนี้ไว้ได้ในทางกาย
ที่มาถึงหมวดที่สองนี้ก็บังคับเวทนา คือบังคับความรู้สึกของจิต ยังไม่ใช่ตัวจิตโดยแท้ แต่ว่าเป็นตัวความรู้สึกของจิต ไอ้ความรู้สึกของจิตนั้นแหละที่มันแสดงอะไรมากมาย รักโกรธเกลียดกลัวอิจฉาริษยาหึงหวง อะไรก็ตาม เป็นเรื่องความรู้สึกของจิต ทำให้มันวุ่นวายไปหมด เดี๋ยวนี้เราเอาเวทนาชั้นสูงสุดที่ได้มาจากการปฏิบัติหมวดที่หนึ่งทางกายสังขารให้ระงับไป ระงับอยู่เป็นปกติ เป็นความพอใจเรียกว่าปีติ ปีติ ถ้ายังโยกเยกอยู่บ้างก็เรียกว่าปีติ ถ้าสงบระงับแล้วมันก็เรียกว่า สุข เอาความปีติหรือความสุขบังคับ เพื่อว่าให้มันปรุงแต่งจิตใจแต่ในทางที่ถูกต้อง ปีติและสุขสองอย่างนี้มันปรุงแต่งจิตใจให้คิดให้นึกให้เย็นให้ร้อน ให้อะไรก็ได้แล้วแต่เรื่องของมัน แต่เดี๋ยวนี้เราบังคับได้ เวทนาสูงสุดคือปีติและสุข ที่สามารถบังคับจิตใจเย็น เราสามารถบังคับเวทนาก่อนจึงสามารถบังคับจิตใจเย็นผ่านทางเวทนา เวทนาเรียกว่าเป็นสิ่งปรุงแต่งจิต บังคับมันได้จิตมึงก็อยู่ในความถูกต้อง มันอยู่ในความถูกต้อง นี่เรียกว่าเราบังคับเวทนาได้ เราต้องการความรู้สึกทางจิตใจที่สบาย ที่เยือกเย็น ที่เป็นที่น่าพอใจเมื่อไรเราก็ทำได้เมื่อนั้น เราสามารถเรียกร้องมาได้ทันทีตามต้องการ ว่าเป็นปีติบ้างเป็นสุขบ้าง แล้วแต่ที่ต้องการ นี่มันจะแก้ปัญหาได้หมด ไม่ต้องปวดหัว ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องเป็นบ้า ไม่ต้องไปฆ่าตัวตาย เพราะเราบังคับเวทนาได้ ขอให้สนใจ
หมวดที่สามสูงขึ้นไปเป็นเรื่องจิต บังคับจิตโดยตรง บังคับจิตโดยตรง เราได้มีสติปัญญา สมาธิมาบ้างแล้วพอสมควรในการปฏิบัติหมวดที่หนึ่งหมวดที่สอง ทีนี้ก็มีเพียงพอที่จะจัดการกับจิต ในชั้นแรกก็รู้จักจิต มันเป็นอย่างไรได้กี่อย่าง ไอ้ที่มันเคยเกิดแล้วแก่เราเอามาพิจารณาดูทุกอย่าง จิตมีราคะเป็นอย่างไร จิตว่างจากราคะเป็นอย่างไร เพราะว่าเราก็เคยว่างจากราคะแม้ยังไม่เป็นพระอรหันต์ หรือมิฉะนั้นเราก็คำนวนเอาได้ ว่าเมื่อจิตมีราคะ โทสะโมหะเป็นอย่างนี้ ถ้าไม่มีราคะโทสะโมหะจะเป็นอย่างไร คำนาณเอาก็ได้ คำนวณไปได้ทุกอย่างแหละ จิตเป็นอย่างไร จิตเป็นอย่างไร มีวิธีคำนวณตั้งหลายๆอย่าง สุดแต่จะอธิบายให้ฟัง เดี๋ยวนี้รู้จักจิตดี รู้จักสิ่งที่เรียกว่าจิตดีที่สุด ทีนี้ก็บังคับจิตให้ปราโมทย์ให้บันเทิงให้ปีติได้ตามที่ต้องการ เมื่อต้องการ เราก็บังคับจิตให้เป็นสมาธิตั้งมั่นมั่นคง มั่นคงตามต้องการ บังคับจิตให้ปล่อยๆๆ ปล่อยสิ่งที่มาผูกพันจิต หรือว่าจิตไปผูกพันยึดมั่นกับสั่งใดก็สามารถปล่อยๆๆๆ ถึงขั้นนี้ก็ละเอียดลึกซึ้ง รู้ว่ามันมีลักษณะลึกซึ้ง ขั้นที่หนึ่งรู้จักจิตทุกชนิด ขั้นที่สองสามารถบังคับจิตให้บันเทิงรื่นเริงหรือเป็นสุข ขั้นที่สามบังคับให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิสมาธิ ขั้นที่สี่ก็ให้มันปล่อยๆๆ
ใจความสำคัญของเรื่องอยู่ที่ความเป็นสมาธิ เป็นสมาธิจิตเป็นสมาธินี้คือสะอาด กำลังไม่มีกิเลส กำลังไม่มีนิวรณ์ กิเลสนิวรณ์มันครอบงำอยู่ทุกวัน ตลอดเวลา รู้จักมันเสีย ออกไปได้จิตก็เป็นจิตสะอาด จิตสะอาดแล้วก็ตั้งมั่น ตั้งมั่นมั่นคงเข้มแข็งแข็งแรง รวมพลังจิตทั้งหมดได้ แล้วจิตมันก็เป็น(กรรมณียะ) เรียกตามภาษาบาลีว่า(กรรมณียะ) เข้มแข็งแคล่วคล่องว่องไวเฉลียวฉลาดในการงาน ที่พวกสมัยใหม่เขาเรียกว่าแอคตี๊ฟ ตามภาษาฝรั่ง แอคตี๊ฟถึงที่สุดเมื่อปฏิบัติได้อย่างนี้ หมายความว่าทำจิตให้ตั้งมั่นมันมีความหมายอย่างนี้
ทีนี้ก็มาถึงหมวดที่สี่ หมวดที่สี่หมวดสุดท้าย คือบังคับกับไอ้ความจริงของธรรมชาติ ความจริงของธรรมชาติพวกหนึ่งเป็นฝ่ายโง่ เป็นฝ่ายมืด เป็นฝ่ายบอด เป็นฝ่ายล้ม คือ อวิชชา ให้เกิดตัณหาอุปาทาน เกิดตัวกู เกิดของกู แล้วก็เกิดทุกข์ นี้ฝ่ายหนึ่ง อีกฝ่ายหนึ่งกำจัดมันเสีย ไม่มีอวิชชาตัณหาอุปาทาน ไม่เกิดทุกข์ นี่เป็นตอนยากที่ละเอียดประณีตและค่อนข้างจะยืดยาว หมวดที่หนึ่งจัดการกับร่างกายสำเร็จไปมีอำนาจเหนือกายบังคับได้ หมวดที่สองจัดการกับความรู้สึกของจิตคือ เวทนาจนสามารถบังคับได้ หมวดที่สามบังคับจิตเองจัดการกับจิตเองจนบังคับได้ พอมาหมวดที่สี่ซึ่งเป็นบทบาทที่สำคัญ ใช้จิตที่ฝึกฝนดีแล้ว บังคับดีแล้ว มารู้ความจริงของธรรมชาติที่ทำให้เราต้องเป็นทุกข์อยู่เพราะไม่รู้ ดังนั้นจึงมารู้เรื่องอนิจจัง อนิจจังความไม่เที่ยง ความไม่เที่ยง สิ่งทั้งปวงที่เป็นสังขารอันมีความปรุงแต่งแล้วไม่เที่ยงไม่เที่ยง ไหลมาเหมือนกับแม่น้ำไหล เอาความไม่เที่ยงนี้มาทำในใจ มาทำในใจจนไม่หลงไหลว่าเป็นเที่ยง ว่าเป็นอะไรต่างๆเหล่านั้น ถ้าเห็นความไม่เที่ยงมากเข้าก็จะเห็นความเป็นทุกข์ ความเป็นอนัตตา เป็นสุญญตา เป็นตถาตาจนมั่นคงมั่นคงหลุดพ้น ต่อขั้นที่สองเอาเพียงว่าคลายออก คลายออก คลายออก ขั้นที่หนึ่งก็เห็นความจริงทั้งหมดของสิ่งเหล่านี้ แล้วก็ขั้นที่สองอุปาทานความทุกข์ก็คลายออกๆๆๆ พอมาขั้นที่สามดับหมดไป ขั้นที่สี่ก็รู้อยู่ว่าโอ้หมดแล้ว หมดแล้ว อยู่ในความเป็นอิสระ หรือจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับชิมรสของพระนิพพานเป็นการล่วงหน้า ขั้นที่หนึ่งเห็นอนิจจังไปจนถึง อนัตตา ถึงสุญญตา อธรรมยัตตาก็ยิ่งดี ขั้นที่สองเห็นความที่กิเลสหรือความทุกข์อุปาทานนั้นคลาย จางออกๆๆ เอาสีละลายน้ำจนไม่มีสี ขั้นที่สามก็ดับหมดไม่มีเหลือ อุปาทานและความทุกข์ดับไม่มีเหลือ ขั้นที่สี่พอใจ สงบอยู่พอใจอยู่ อย่างนี้พ้นแล้ว ไม่ยึดมั่นถือมั่นอะไรด้วยความเป็นตัวตนแล้ว ภาษาบาลีก็เรียกค่อนข้างจะขบขัน คำนั้นว่า(??(ปฏินิสะคะโยนคืนโยนคืน)34.19) โยนคืนให้เจ้าของ ธรรมชาติเป็นเจ้าของ เราเป็นขโมยไปปล้นมาเป็นของเรา เป็นตัวตน ตัวกูของกู คืนเจ้าของหมดไม่มียึดมั่นอะไรไว้
ขั้นที่หนึ่งมันก็เห็นพวกธรรมะ ??(34.43)อนิจจังทุกขังอนัตตา คือผลของธรรมะ?? จนกระทั่งทำให้อุปานทานจางลงจางลง เรียกว่าวิราคะ ขั้นที่สามเห็นความดับหมดของอุปาทาน เรียกว่านิโรธะ พอขั้นที่สี่เรียกว่า(ปฏินิสะคะโยนคืน) 35.11?? คือการทำตนเองให้เป็นอิสระ เปลื้องตนออกมาได้จากความทุกข์ เป็นคนอิสระ อยู่กับนิพพาน มีชีวิตที่เยือกเย็นเยือกเย็น ถ้าทำได้ถึงที่สุด มันก็คือเป็นพระอรหันต์ ทำได้ไม่ถึงที่สุดก็เอาตามสมควร เอาตามสมควร ได้เท่าไรก็ดีทั้งนั้น อย่างน้อยที่สุดต่อไปนี้เราก็บังคับกายได้ ต้องการร่างกายสบายเมื่อไรก็ได้ บังคับเวทนาได้ ต้องการความรู้สึกที่พอใจเมื่อไหร่ก็ได้ บังคับจิตได้จิตต้องเป็นอย่างนี้อย่าเป็นอย่างนั้น บังคับได้เลย แม้กระทั่งรู้ความจริงของธรรมชาติ ไม่ไปยึดมั่นถือมั่นอะไรแล้ว ก็จบกัน เรื่องมันก็จบสี่หมวด หมวดละสี่ขั้น เป็นสิบหกขั้น
ปฏิบัติอานาปานสติได้สำเร็จแล้วก็คือชนะ ชนะกระแสแห่งปฏิจจสุหบาท สามารถจะทำทุกข์ ดับ ๆ ๆ ๆ ๆ จนไม่มีเหลือ นี่มันเป็นคู่แฝดกัน เราเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาท แล้วเราปฏิบัติเพื่อให้ได้ผลตามนั้นคือปฏิบัติอานาปานสติภาวนา เป็นธรรมะสูงสุดในพระพุทธศาสนาหรือเป็นทั้งหมดในพระพุทธศาสนา เราคงไม่สามารถทำได้ทั้งหมด แต่เราทำได้มาก มากมาก พอจะเป็นที่พอใจ มีชีวิตใหม่ที่มันเยือกเย็น ไม่ถูกกิเลสกัดเหมือนแต่ก่อน ถ้าไม่มีธรรมะเหล่านี้ กิเลส หรือตัวกู ตัวตน ตัวกูเป็นที่ตั้งแห่งกิเสลมันก็กัดเอากัดเอา เดี๋ยวความรักกัด เดี๋ยวความโกรธกัด เดี๋ยวความเกลียดกัด เดี๋ยวความกลัวกัด เดี๋ยวความตื่นเต้นกัด เดี๋ยวความวิตกกังวลกัด ความอาลัยอาวรณ์กัด ความอิจฉาริษยากัด ความหวงกัด ความหึงกัด ยกมาเพื่อเป็นตัวอย่าง ไอ้สัตว์ร้ายที่มันจะกัดเจ้าของ
ชีวิตมีกิเลสเป็นเครื่องกัดเจ้าของ ถ้าทำได้มันก็พ้นปัญหาเหล่านี้ ชีวิตนี้ก็เย็น ไม่มีอะไรที่จะกัดเจ้าของอีกต่อไป ทั้งหมดมันมีอยู่อย่างนี้ ท่านจะพอใจหรือไม่ก็สุดแท้ ท่านจะพอใจเพียงเท่าไรก็ได้ แต่ถ้าท่านไม่เกิดความพอใจแล้วมันทำไม่ได้หรอก มันปฏิบัติไม่ได้หรอก เพราะการปฏิบัติมันจะตั้งต้นเดินไปได้ด้วยความพอใจ อยากจะมีอยากจะได้อยากจะปฏิบัติได้ พูดนี้ก็พูดเพียงให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง และเกิดความพอใจ หวังว่าท่านทั้งหลายคงจะเข้าใจเรื่องที่กำลังมาศึกษาและปฏิบัติ ทีนี้ก็มีความกระหายที่จะปฏิบัติให้ลุ ให้สำเร็จ ให้ได้รับผลมาถึงเท่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้รับ ซึ่งมนุษย์ธรรมดาสามัญ บุคคลธรรมดาสามัญไม่อาจจะได้รับ มันเป็นคนหนาเกินไป ดิบเกินไป มืดเกินไป มันไม่ได้รับ แต่ถ้าว่าจะได้รับมาเป็นกัลยาณบุตร อริยชน ปฏิบัติอย่างนี้ เรียกว่าจัดการกับร่างกายให้ถูกต้อง จัดการกับความรู้สึกของจิตให้ถูกต้อง จัดการกับตัวจิตให้มันถูกต้อง จัดการกับธรรมะของธรรมชาติที่มันครอบคลุมชีวิตของเราอยู่นั้นน่ะ ให้ถูกต้อง ถูกต้องทางกาย ถูกต้องทางเวทนา ถูกต้องทางจิต ถูกต้องทางธรรม รวมทั้งสี่หมวด
ถ้าท่านเข้าใจท่านจะต้องพอใจ ในกล้าท้าเลย ถ้าท่านไม่เข้าใจก็คงจะไม่พอใจ ทำละเมอละเมอไปอย่างนั้น ถ้าท่านเข้าใจ เห็นว่ามันเป็นอย่างไรก็จะพอใจ จะมีฉันทะมาก จะมีวิริยะมาก จะมีจิตตะมาก จะมีวิมังสามาก ความสำเร็จก็จะเป็นของท่านทั้งหลาย
ในที่สุดนี้ก็ขอกล่าวอนุโมทนา การที่ท่านทั้งหลายมีความตั้งใจอย่างนี้ มีความประสงค์อย่างนี้ มาปฏิบัติอย่างนี้ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง เป็นสิ่งที่ควรทำ ได้สิ่งที่ดีที่สุดที่มนุษย์ควรจะได้ จึงขออนุโมทนา และขอให้ท่านมีความเข้าใจถูกต้อง ว่าเราจะเริ่มเรียนรู้เรื่องปฏิจจสมุหบาท คือความลับของธรรมชาติ ที่ว่าความทุกข์เกิดอย่างไรดับอย่างไร พอเรามองเห็นอย่างนั้นแล้วเรายังจัดการกับมันไม่ได้ เราจึงปฏิบัติอานาปานสติ เพื่อจะจัดการกับปฏิจจสมุหบาทอันนั้นให้ได้ ขอให้ท่านทั้งหลายทุกคนจงประสบความสำเร็จ ไปตามลำดับ ตามลำดับ ได้รับผลแห่งการฝึกฝนที่ทำให้มีพระพุทธเจ้าพระองค์จริง มาใส่ไว้ในใจ กำจัดความทุกข์ร้ายทั้งปวงให้หมดสิ้นไป มีความก้าวหน้าในการดำรงชีวิตในการดำรงชีวิตอยู่ตลอดทุกทิพพาราตรีกาล เทอญ