PAGODA

  • Create an account
  • Forgot your username?
  • Forgot your password?
or

Connection

Your e-mail is required to ensure the proper functioning of the Website and its services and we make a commitment not to reveal it to third parties

  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ
PAGODA
  • หน้าแรก
  • ฐานข้อมูล
  • เสียง
  • วีดิทัศน์
  • E-Books
  • กิจกรรม
  • บทความ

เข้าสู่ระบบ / สมัครสมาชิก

เข้าสู่ระบบ

  • สมัครสมาชิก
  • ลืมชื่อผู้ใช้?
  • ลืมรหัสผ่าน?

Search

  • หน้าแรก
  • เสียง
  • พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
  • ธรรมะบรรยายแก่คณะชาวต่างประเทศ 2532 ครั้ง ๔ ธรรมะ ๙ ตา ธัมมัฏชิตตตา ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ
ธรรมะบรรยายแก่คณะชาวต่างประเทศ 2532 ครั้ง ๔ ธรรมะ ๙ ตา ธัมมั ... รูปภาพ 1
  • Title
    ธรรมะบรรยายแก่คณะชาวต่างประเทศ 2532 ครั้ง ๔ ธรรมะ ๙ ตา ธัมมัฏชิตตตา ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ
  • เสียง
  • 2216 ธรรมะบรรยายแก่คณะชาวต่างประเทศ 2532 ครั้ง ๔ ธรรมะ ๙ ตา ธัมมัฏชิตตตา ชีวิตที่ไม่กัดเจ้าของ /buddhadasa/2532-22.html
    Click to subscribe
    • Share
    • Tweet
    • Email
    • Share
    • Share

ผู้ให้ธรรม
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ)
วันที่นำเข้าข้อมูล
วันเสาร์, 11 เมษายน 2563
ชุด
อบรมผู้ปฏิบัติจิตตภาวนาสำหรับชาวต่างประเทศ
  • แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [ลองพูดคุยกับ AI ทาง Line]

  • เราได้พูดมาแล้ว ๓ ตา นี้เป็นกลุ่มแรก คือกลุ่มที่ว่าด้วยลักษณะ Characteristic ของไอ้ธรรมชาติ มีกลุ่มนี้ว่า ไอ้ลักษณะที่พูดไปแล้ว

    ทีนี้ก็จะมาถึงกลุ่มที่ว่าด้วยธรรมชาติหรือธรรมดา ซึ่งหาคำพูดยากเหมือนกันนะ จะเป็น Naturality หรือ Normalcy หรือะไรก็แล้วแต่ แต่ในภาษาไทยเราเรียกว่ากลุ่มธรรมดา

    ตาที่ ๔ เรียกว่า ธัมมัฏฐิตตา ธัมมัฏฐิตตา แปลว่า ความเป็นอยู่ ตั้งอยู่ หรือเป็นไปก็ตาม ตามธรรมดา ตามธรรมดา ธรรมะ กับ ธรรมดา คือสักแต่ว่าตั้งอยู่ ความที่มันตั้งอยู่ตามธรรมดา คือมันตั้งอยู่โดยมีลักษณะ ๓ อย่างที่กล่าวมาแล้วนั่นเอง

    ใจความสำคัญจึงอยู่ที่เห็นไอ้ความเป็นธรรมดา เห็นอยู่ หรือว่าจะศึกษาอยู่ เห็นอยู่ รู้สึกอยู่ ซึ่งความจริงข้อนี้ ถ้าเราจะใช้คำพูดรวม ๆ กัน เราก็ใช้คำว่า สังขาร สังขาระ หรือ Compound the Thing ทั้งหมด ๆ ไม่ยกเว้นอะไรนะ มันตั้งอยู่ในลักษณะเช่นนั้น คือ ตามธรรมดาเช่นนั้น

    เมื่อเราดูที่เป็นภายในนี่ คือ นามรูป นามหรือรูป Body and Mind ดูที่ร่างกาย ดูที่จิตใจ และแยกเป็นรายละเอียด เป็นขันธ์ ทั้ง ๕ ก็ได้ แล้วเราก็จะเห็นไอ้ความเป็นของธรรมดา คือลักษณะ ๓ อย่าง อย่างที่กล่าวมาแล้ว

    ทีนี้ถ้าเราดูภายนอก ทรัพย์สมบัติ สิ่งของต่าง ๆ หรือว่าบุคคล เพื่อนของเรา บุตร ภรรยา สามี อะไรของเรา ทุกอย่างที่มันเป็นภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับเรา ที่เราใช้คำว่าของเรา มันก็เป็นอย่างนี้ มันก็เป็นของมีธรรมดา ๆ อย่างนี้

    รวมความว่า ไอ้ที่เราเรียกว่าเราก็ดี ที่เรียกว่าของเราก็ดี ล้วนแต่ตั้งอยู่โดยลักษณะอย่างนี้ เมื่อก่อนเราไม่รู้สึกอย่างนี้ เมื่อก่อนเราจะรู้สึกว่ามีอะไรแปลก แปลก แปลกอย่างบอกไม่ได้ แล้วเราต้องการให้มันดีกว่า แปลกว่า สวยงามกว่า เอร็ดอร่อยกว่า ซึ่งมันเป็นความโง่ เป็นอวิชชา แล้วก็มีตัณหาต่าง ๆ ต้องการอย่างนั้น ต้องการอย่างนี้ เพราะเราไม่ได้เห็นไอ้ความเป็นของธรรมดา หรือความตั้งอยู่ตามธรรมดา ความเป็นไปตามธรรมดา นั้นเป็น เป็นตา ตาที่ ๔ อยากจะขอเรียกมันว่าวิปัสสนา วิปัสสนา การเห็นอย่างแจ่มแจ้ง ตามที่เป็นจริงที่สุดนะ เรียกว่าวิปัสสนา แต่เราเอามาเรียกสั้น ๆ ว่าตา ตา ตา ตา นี่เป็นตาที่ ๔

    แล้วทีนี้เราก็มาถึงตาที่ ๕ เรียกว่า ธรรมนิยามตา ธรรมนิยามตา ธรรมนิยาม คำว่า นิยาม แปลว่า กฎ หรือ Law นิยาม ธรรมะก็คือธรรมชาติ หรือธรรมดา กฎของธรรมชาติ หรือกฎของธรรมดา มีอยู่อย่างนี้ เราก็เห็นไอ้ความเป็นทั้งหมดนั้นนะมันเป็นไปตามกฎของธรรมดา ของธรรมชาติ เราจะเห็นสิ่งทั้งปวงโดยรายละเอียดกี่สิบอย่าง กี่ร้อยอย่าง กี่พันอย่าง กี่หมื่นอย่าง มันล้วนแต่เป็นไปตามกฎนี้เสมอ เต็มไปหมดเลย

    สรุปความว่าเราเห็นชัดลงไปว่า มันมีกฎของธรรมชาติมาครอบงำเราอยู่ บังคับเราอยู่ อย่างที่เฉียบขาด เด็ดขาดที่สุดละ จนเรารู้สึกว่า มันจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎธรรมชาตินั้น อย่างที่เราจะฝืนมันไม่ได้

    แต่ถ้าว่าในพุทธศาสนานี้ เราอยากจะมี God มีพระเจ้ากับเขาบ้างละก็ ก็ถือเอา Law of Nature อันนี้แหละ มาเป็นพระเจ้า แต่ที่เราถือกัน ก็ถือกันว่าพุทธศาสนา ไม่มี ไม่มี God ... (นาทีที่ 15.23 ฟังไม่ชัด) แต่มันก็มีสิ่งสูงสุด สูงสุด ที่มันบังคับอยู่เหมือนกับ God ขอให้รู้จักว่า ธรรมนิยามตานะมันเป็นอย่างนี้

    ทีนี้เราก็มาถึงตาที่ ๖ คือตัวกฎ ตัวกฎนั้นละ โดยชัดเจน เรียกว่า อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา ดูก็จะห็นว่ามันเป็น Body of The Law มันเป็นกฎที่สรุปเป็นใจความสั้น ๆ ได้ว่า เพราะมีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น แต่ถ้าไม่มีสิ่งนี้เป็นปัจจัย สิ่งนี้ ๆ ก็ไม่เกิดขึ้น หมายความว่ามันมีสิ่งที่เป็นปัจจัยแก่กันและกัน แก่กันและกัน แก่กันและกันเรื่อยไป นี่เรียกว่ากฎ อิทัปปัจจยตา

    การเกิดขึ้นของสิ่งทั้งปวง มันก็เป็นโดยกฎ อิทัปปัจจยตา การดับลง การดับลง มันก็เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา ในระหว่างที่มันเกิดและมันดับ มันมีความเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย มันก็เป็นการเปลี่ยนแปลงตามกฎ อิทัปปัจจยตา

    พอมองดูเข้าไปข้างในเรา ให้นับตั้งแต่ว่าอะตอมหนึ่ง ๆ ที่มันประกอบกันขึ้นเป็นเซลล์ มันก็มีอยู่ เป็นอยู่ ตั้งอยู่ เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา มันเป็นเซลล์ขึ้นมาแล้ว แล้วมันก็ยังเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา เป็นกลุ่มของเซลล์ขึ้นมาแล้ว อิทัปปัจจยตา เป็นอวัยวะนั่นนี่ อวัยวะต่าง ๆ นี่ มันก็เป็นตามกฎ อิทัปปัจจยตา รวมกันทั้งหมดเป็นร่างกายอย่างนี้แล้ว มันก็เป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา

    ในบรรดาสิ่งที่มีชีวิตทั้งหลายเป็นเพื่อนของเรา บุตร ภรรยา สามีของเรา มันก็เป็นตามกฎ อิทัปปัจจยตา ในขณะที่ไม่มีชีวิต บรรดาสิ่งที่ไม่มีชีวิต มันก็ยังเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา แม้แต่ก้อนหินก้อนหนึ่ง ทุก ๆ อณูมันก็เปลี่ยนไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา จะเป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตก็ตาม มันเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา

    เราก็พูดเสียคำเดียวว่า ทุก ๆ ปรมาณู ทุก ๆ อะตอม มันเป็นไปตามกฎ อิทัปปัจจยตา แล้วก็ไม่ต้องพูดถึงสิ่งใดอีกแล้ว

logo

  • เกี่ยวกับเรา
  • ติดต่อเรา
  • จดหมายข่าว
  • Privacy Policy
  • Terms of Service