แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่องชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นใจความสำคัญของพุทธศาสนา และก็เป็นที่ต้องการของนักศึกษาปัญญาชนในโลกปัจจุบัน และจะต้องมองให้เห็นชัดว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ไอ้คำว่า “เกิด” นั่นน่ะมีสองความหมาย คือเกิดในทางวัตถุทางร่างกาย จากท้องมารดานี่ก็เกิดหนึ่ง และก็เกิดอีกหนึ่งเป็นการเกิดทางจิตใจ โดยไม่ต้องเกิดจากท้องมารดา แต่ก็เกิดจากครรภ์ของพระธรรม นี้คำเรียกในฝ่ายมหายาน ว่า “พุทธครรภ์ พุทธครรภ์” คัพพะ (นาทีที่ 2.24) ในภาษาบาลีเรามันก็มีสองคำน่ะ ขอให้สังเกตุให้ดีๆ ไอ้ “ชาติ” ก็แปลว่าเกิด “อุปัตติ” (นาทีที่ 2.38) ก็แปลว่าเกิด “ชาโต” ก็เกิดแล้ว “อุปันโน” ก็เกิดแล้ว (นาทีที่ 2.41) งั้นจึงต้องรู้ความหมายที่ถูกต้องของคำทั้งสองนี่ แล้วมันก็จะมีการเกิดใหม่ ได้ชีวิตใหม่ มันต้องเกิดอย่างอุปปัตติ หรืออุปปันนะ (นาทีที่ 3.07) พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลก พระสิตทัตถะ (นาทีที่ 3.10) เกิดขึ้นแล้วในโลกมันคนละคำ คนละความหมายว่าเด็กชายสิตทัตถะ(นาทีที่ 3.18) เกิดมาโดย ชาติ ชา-ติ ความหมายที่หนึ่งทางวัตถุทางร่างกาย แต่พระพุทธเจ้าได้เกิดขึ้นที่หนึ่งในความหมายที่สอง เกิดทางจิต ทางวิญญาณ ถ้าจะพูดถึงชีวิตใหม่กันแล้ว มันก็ต้องเป็นเรื่อง ทางจิตทางวิญญาณ และมันเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าเกิดทางร่างกาย ทางครรภ์มารดามันก็เท่านั้นเองแหล่ะ ก็เท่านั้นเอง อย่าเอามาปนกัน พระพุทธเจ้าเกิดเมื่อ พ.ศ ก่อน พ.ศ เท่านั้น เท่านี้ มันไม่ใช่พระพุทธเจ้าเกิด มันคือพระสิตทัตถะ (นาทีที่ 4.29) เกิด การตรัสรู้ของพระสิตทัตถะ เป็นการเกิดของพระพุทธเจ้า แล้วเราจึงเอาเรื่องนี้เป็นเรื่องเดียวกันแหล่ะ การประสูติ การตรัสรู้ การนิพพานเนี่ย เอาทางความหมายทางจิต ทางวิญญาณก็เป็นเรื่องเดียวกัน เป็นสิ่งเดียวกัน ในเวลาเดียวกันนึกถึงการเกิดอย่างนี้ไปบ้างมันก็จะง่ายที่จะเข้าถึงหัวใจของคำว่า เกิดอย่างชีวิตที่ไม่รู้จักตาย อาจจะเกิดได้กับทุกๆ คนก็ได้ เกิดเป็นพระอรหันต์นั่นน่ะ มันเป็นเรื่องของคนที่อยู่ในวิสัยที่จะเกิดได้ทีนึง เนี่ยคำว่าเกิดในลักษณะชีวิตใหม่ และมันก็ยังมีเกิดปลีกย่อยคำนึง ช่วยจำไว้ด้วย เกิด นะเกิดมันหมายเพียง “ทำหน้าที่” เมื่อใดทำหน้าที่เมื่อนั้นก็เรียกว่าเกิด เมื่อตา ทำหน้าที่ ตาเกิด เมื่อหูทำหน้าที่ หูเกิด เมื่อจมูกทำหน้าที่จมูกเกิด ทั้งหกอย่างแหล่ะ เราไม่ได้ถือว่า ตาเกิดอยู่ตลอดเวลา อันนี้ถือตามหลักธรรมะ ตาไม่ได้เกิดอยู่ตลอดเวลา เมื่อตาทำหน้าที่ตาเกิด เมื่อตาไม่ทำหน้าที่ ตาดับ เมื่อหูทำหน้าที่ หูเกิด เมื่อหูไม่ทำหน้าที่ หูดับ คำว่าเกิดอย่างนี้จำเป็นมากเพราะในพระบาลีมีพูดถึงอย่างนี้ มีพูดถึงอย่างนี้ มาก มากเหลือเกินและก้พูดเกิดดับ เกิดดับให้ตาหูจมูกลิ้นกายใจ เกิดดับ เกิดดับ เวทนาเกิดดับ สุขทุกข์เกิดดับ เมื่อปรากฎในหน้าที่ ในการทำหน้าที่ก็เรียกว่า “เกิด” รู้จักการเกิดทางวิญญาณ และก็จะพบชีวิตใหม่ ทีนี้ก็เกิดว่าใหม่หรือเก่าขึ้นมาอีกซึ่งมีปัญหา ไอ้เก่าใหม่นี่ กำลังมีปัญหา ธรรมะเป็นของไม่เก่า ไม่ใหม่ ถ้าพูดว่าเก่า ก็เก่าเสียยิ่งกว่าเก่า คือมีตั้งแต่ธรรมชาติ มีธรรมชาติ มีสิ่งเหล่านั้น เรียกว่าเก่า เก่าตั้งแต่ดึกดำบรรพ์ เก่าตลอดกาล แต่มันเพิ่งมาพบกับเรา กับจิตนี่เลยกลายเป็นของใหม่ เพราะมันไม่มี ไม่เคยพบมาก่อน งั้นธรรมะ ธรมมะ เป็นของเก่าที่สุดแต่เรากลับมาพูดว่าธรรมะไม่รู้จักเก่า ไม่รู้จักเก่า ชีวิตใหม่จะเป็นชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดก่อนพุทธกาลก่อน แต่เดี๋ยวนี้ใหม่เพราะว่าเราเพิ่งรู้จักกันเดี๋ยวนี้ อย่าให้ถูกหลอกด้วยคำว่าใหม่ ด้วยคำว่าเก่า เพราะว่ามันไม่เคยมี ไม่ปรากฎกันเองแก่เรา แต่พอมาปรากฎก็ดูมันเป็นของใหม่ แต่มันเป็นของเก่าเหลือเก่า เนี่ยธรรมะอยู่ในลักษณะอย่างนี้ ใช้คำพูดให้ถูกต้องว่าใหม่ในกรณีอย่างไร และเก่าที่สุดในกรณีอย่างไร นี่เราพูดว่าชีวิตใหม่ ชีวิตใหม่ มันก็คือชีวิตชนิดที่เก่าเหลือที่จะเก่าแต่เพิ่งมาพบกับเรา และเดี๋ยวนี้เราก็เรียกว่า ชีวิตใหม่ ผมสังเกตุเห็นว่าพวกฝรั่งน่ะ พวกปัญญาชนเนี่ย สนใจคำนี้มาก สนใจคำว่า “New Way of Life” เนี่ย ถ้าเป็น New Way มันก็ New Life แหล่ะ New Way มันก็คู่กับ New Life ล่ะ มันก็สนใจที่จะรู้จัก New Way of Life และก็ New Life Life ชนิดที่ไม่รู้จักตายเนี่ย ไอ้ New Way of Life เนี่ยมันก็คือตัวพุทธศาสนา ก็คือตังอถังทิคคมรรค อริยะอถังทิคมรรค (นาทีที่ 10.33) อริยมรรค และมันก็เป็นเรื่องอริยสัจ อริยสัจ สัจจะ ที่แท้จริงในพระพุทธศาสนา ถ้าเรารู้เรื่องอริยวัจ อริยมรรค มันก็เป็นเรื่องใหม่ทันที เป็นเรื่องอริยสัจ รู้ความจริงชนิดที่เป็นอริยะ อริยมรรค รู้จักมรรคาที่เป็นอริยะ รู้จักความหมายของคำว่าอริยะให้ดีๆ เมื่อผมเรียนนักธรรมทีแรก ชั้นแรก ชั้นตรีนี่ ครูอธิบายจนไม่รู้ว่าอะไร คำว่าอริยะเนี่ย แปลได้หลายอย่างคล้ายๆ กับมันตรงกันข้ามจาก เลวหรือว่าจากภาระ มีพรานเบ็ดชื่ออริยะอย่างนี้เป็นต้น มันควรจะยุติเสียทีคำว่าอริยะเนี่ย ตามพยัญชนะที่ว่าไปแล้วจากข้าศึกนั่นแหล่ะ จะดีที่สุด “อริ” คือข้าศึก “ยะ” ไป ไปแล้วจากข้าศึก ใช้คำให้ชัดหน่อยคือปราศจากข้าศึก อริยสัจก็เป็นเรื่องคือความจริงที่ปราศจากข้าศึก อริยมรรค อริยมรรค ก็เป็นหนทางที่จะไปสู่ความปราศจากข้าศึก อริยสัจควรจะแปลอย่างนี้ อริยมรรคควรจะแปลอย่างนี้ จึงจะพบชีวิตใหม่ คำว่า สัจ สัจจะ ความจริงนี่ก็เหมือนกัน มันกำกวมอยู่มาก เพราะมันไม่มีอะไรหรอกที่ไม่ใช่สัจจะ ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นสัจจะ มันเป็นสัจจะไปแล้วทั้งนั้น แม้แต่ความโกหกอสัจจะ มันก็มีสัจจะของความโกหก อันไหนของปลอมมันก็มีความจริงที่มันเป็นของปลอม ในความไม่จริงมันก็มีความจริงอยู่ในความไม่จริงเสมอ อะไรอะไรมันก็มีสัจจะของมันทั้งนั้นแหล่ะ กุศลก็มีสัจจะของกุศล อกุศลก็มีสัจจะของอกุศล อัพยาติก็มีสัจจะของอัพยาติ (นาทีที่ 13.48) นั่นในความไม่จริงมันก็มีสัจจะของความไม่จริง มันมีความจริงของความเป็นของไม่จริงเนี่ยสัจจะ ดังนั้นจึงเกิดสัจจะที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ขึ้นมา ความจริงที่มีประโยชน์ ความจริงที่ไม่มีประโยชน์ ความจริงที่ไพเราะน่าผัง ความจริงที่ไม่ไพเราะไม่น่าฟัง มันคอยเป็นความจริงที่ควรจะรู้ หรือไม่ควรจะรู้ เดี๋ยวนี้เรารู้ความจริงไปในทางที่ไม่จำเป็นที่ควรต้องรู้ มากมากเกินไป รู้ความจริงทางวัตถุธรรม วัตถุธรรม ไปโลกพระจันทร์ได้ ไปอย่างนี้ก็ได้ มันรู้ความจริงมากมายเกี่ยวกับโลกพระจันทร์ ต่อไปมันก็คงจะไปเที่ยวเล่นได้ ไปเที่ยวเล่นที่ดาวดวงนั้น ไปเที่ยวเล่นที่ดาวดวงนี้ และเราไปเที่ยวเล่น เดินเล่น ก็เป็นการรู้ความจริงชนิดนั้นอย่างมหาศาล แต่แล้วไม่ดับทุกข์ คือไม่ไปจากข้าศึก มันก็คือไม่อริยะ ไม่อริยะน่ะ ให้ความหมายของอริยะให้มันชัดลงไปซิว่าปราศจากข้าศึก ความจริงที่ทำให้เราปราศจากข้าศึกนี่ ใช้ได้ เป็นความจริงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้และนำมาสอน อ้าวพอถึงคำว่าข้าศึกก็มีปัญหาอีก จะข้าศึกชนิดไหนก็เถอะ ข้าศึกที่เป็นคนคนที่จะฆ่าเรานั่นก็ข้าศึก แต่ว่าไอ้ที่เป็นข้าศึกอย่างยิ่งนั่นมันคือกิเลส กิเลสและความทุกข์ กิเลสและความทุกข์คือข้าศึกอย่างยิ่ง ปราศจากข้าศึกอย่างนี้ซิมันจึงจะเป็นอริยะ อริยะ สอนกันให้ชัดเจนในโรงเรียนในมหาวิทยาลัย อริยะมันอยู่ที่ปราศจากข้าศึก เมื่อมันปราศจากข้าศึกมันจึงประเสริฐ ผมบอกพวกฝรั่งว่า ที่แปลว่า Noble Noble นั้นมันไม่ค่อยมีประโยชน์อะไร ไม่ว่าจะเป็น Noble Truth Noble Way (นาทีที่ 16.38) คุณหมายถึงอะไรในภาษาฝรั่งของคุณ ถ้ามันไม่ปราศจากข้าศึกมันก็ไม่ใช่ Noble ในพุทธศาสนา อริยะ อริยะในพระพุทธศาสนาต้องหมดปัญหา ใช้คำว่าอย่างนั้นดีกว่า ไอ้ความทุกข์ก็เป็นปัญหา อะไรๆ ที่ไม่พึงปรารถนา ถึงแม้หลอกลวง มันไม่เป็นความสุขมันก็ยังเป็นปัญหา ความทุกข์ก็เป็นปัญหา ความสุขก็เป็นปัญหา มันยุ่ง มันยุ่ง ยุ่งพอๆกัน ความสุขมันก็ยุ่งพอๆกับความทุกข์ ต้องเหนือสุขเหนือทุกข์ มาไอ้คำนี้ต้องมา เหนือสุขเหนือทุกข์จึงจะเป็นอริยะ เราจึงจำกัดความหมายของคำว่าชีวิตใหม่นี้ จะต้องเหนือบวก เหนือลบพูดวิทยาศาสตร์หน่อยนี่ จะพูดทางธรรมะก็เหนอสุขเหนือทุกข์ จึงจะเป็นอริยะคือมันหมดปัญหา ไอ้เรื่องความสุขเนี่ยมันไม่ใช่เรื่องความสงบน่ะ เราสอนนักธรรมเราเรียนนักธรรมมันจึงกำกวมไปซะหมดน่ะ ความสุขมิใช่ความสงบ ต่อเมื่อมันว่างจากความสุข ความทุกข์จึงจะเป็นความสงบ ที่เรียกว่านิพพาน มันเป็นเรื่องว่างจากความสุขและความทุกข์ มันจึงจะเป็นนิพพานขึ้นมา นั่นเหนือสุขเหนือทุกข์จึงจะเป็นของที่ไม่มีปัญหา มันก็ต้องเหนือดี เหนือชั่วน่ะ ไอ้เรื่องดีดีนั้น มันไม่ใช่เรื่องความสงบ ไปมองดูเองเหอะ ยิ่งดียิ่งยุ่ง และก็บ้าดี เมาดีและก็วินาศเลยแหล่ะ ไอ้คำว่าดีดี มันมีความหมายที่พิเศษ คำว่าบรมธรรมบรมธรรมคือพระนิพพาน มันไม่ใช่ดี แต่เราก็จำเป็นต้องพูดภาษาชาวบ้านว่าดี ว่าดี การที่พูดว่าพระนิพพานเป็นของดี ก็ต้องบอกว่าพระนิพพานเป็นบรมสุขที่พระพุทธเจ้าก็เคยตรัสน่ะ ถ้าเราไม่แยกภาษาคนกับภาษาธรรมนั่นมันก็ยุ่งตายหล่ะ ยุ่งหมด เพราะนิพพานแท้จริงเหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือชั่ว เหนือดี เหนือบุญ เหนือบาป เหนือกุศล เหนืออกุศล นี่มาพูดว่าพระนิพพานนี่ดีที่สุด พวกฝรั่งเนี่ยชอบพูดว่าพระนิพพานเป็น Sumbumbonum ในพระพุทธศาสนา ไอ้ Sumbumbonum แปลว่าดีที่สุด (นาทีที่ 19.50) ดีสูงสุดแห่งความดี เอานิพพานเป็นดีที่สุด ก็เป็นเหตุให้ฝรั่งเองน่ะเข้าใจผิด และก็เนี่ย นิพพานเป็นบรมสุข มันก็อุปทานกันใหญ่ มันก็อุปทานในบรมสุข ก็ไม่มีนิพพาน นี่เรื่องชีวิตใหม่ ชีวิตเก่ามันต้องมองกันในลักษณะอย่างนี้ มันเหนือบวก เหนือลบนั่นแหล่ะมันจึงจะเหนือดี อหนือชั่ว แล้วมันก็จะเหนือสุข เหนือทุกข์คือเหนืออะไรไปหมดจึงต้องใช้คำใหม่ว่าเหนือโลก พอพูดว่าเหนือโลกเหนือโลก คุณยายก็คิดว่ามันเป็นโลกอื่น และบางคนที่เทศน์อยู่บนธรรมาศก็คิดว่าโลกอื่น ที่อื่นเป็นเหนือโลก ประชาชนก็เข้าใจคำว่าเหนือโลก หรือโลกุตตระไม่ถูกต้อง มันจะต้องอธิบายคำว่าเหนือโลกนั่นแหล่ะ ให้มันถูกต้องอีกทีหนึ่ง มันอยู่ในโลกอย่างเหนือโลก บ้าแล้ว มันจะพูดกัน พอเราพูดอย่างนี้เขาก็จะคิดว่าเราบ้าแล้ว อยู่ในโลกอย่างเหนือโลก จมอยู่ในน้ำอย่างเหนือน้ำคือไม่ตาย มันมีคำที่จะสำนึก คือเหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือโลก ไม่เกิด ไม่แก่ ไม่เจ็บ ไม่ตาย เนี่ยมันมีความหมายว่าอย่างไร ถ้าเหนือโลกก็คือเหนือปัญหาทั้งหมดในโลก เหนืออิทธิพลของโลก อ้โลกมาครอบงำเข้าแล้วมันเกิดยินดี ยินร้ายปรุงแต่ง ยินดียินร้าย มันเป็นค่าของโลกให้เกิดบวก ให้เกิดลบ ให้เกิดยินด ให้เกิดยินร้าย ให้เกิดสิ่งสมมุติที่เรียกว่าสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ให้อยู่เหนือความหมายของคำเหล่านั้น เหนืออิทธิพลต่างๆ ของคำเหล่านั้น ของสิ่งที่เรียกอย่างงั้น มันถึงจะเรียกว่าเหนือโลก เหนือเกิด เหนือแก่ เหนือตาย เหนือสุข เหนือทุกข์ และก็อยู่ในโลกนี้อย่างที่โลกนืทำอะไรเราไม่ได้ มันก็เลยวิเศษและจำเป็นสำหรับทุกคน อย่าจัดไว้ว่าพิเศษสำหรับบางคนเท่านั้น เนี่ยมันจะผิดอย่างยิ่ง ไอ้ธรรมะสูงสุดนี่ต้องมุ่งหมายที่จะใช้กับทุกคนที่มีความทุกข์ ก็คนแหล่ะ ใครก็ตามที่มันอยู่ด้วยความทุกข์ มีปัญหาเกี่ยวกับความทุกข์ ธรรมะนี้จำเป็นแก่คนเหล่านั้นทุกคน งั้นเรื่องอยู่เหนือโลกจำเป็นแก่คนที่อยู่ในโลก ถ้าอยู่ในโลกอย่างที่โลกมันย่ำยีทั่วไปท่วมทับหล่ะก็ มันก็ตาย มันก็บ้าตาย เดี๋ยวก็ตายแล้ว ต้องอยู่ในโลกอย่างเหนืออิทธิพลของโลก ไม่ต้องตายไปจึงไปอยู่ที่อื่นเหนือโลก ไม่ใช่ อยู่เดี๋ยวนี้ เหมือนมันนอนแช่อยู่ในโลกเนี่ย แต่ว่าอิทธิพลใดๆ ในโลกมันครอบงำไม่ได้ เราจึงบัญญัติความหมายขอให้เข้าใจได้ว่า อยู่เหนืออิทธิพลของโลก คือความเป็นบวกและความเป็นลบ ในโลกนี้ไม่มีอะไรหรอกนอกจากความเป็นบวกและความเป็นลบ และเวทนา เวทนาที่เกิดมาจากความเป็นบวกหรือเป็นลบ New Life.. Life beyonds the influence are positive and negative พูดมันเป็นภาษาวิทยาศาสตร์ ภาษาฝรั่งหน่อยก็ว่า อย่าไปถือมันเลย เพราะว่าเขาพูดกันอยู่แล้ว ฟังง่ายดีแล้ว เหนือ influence ของ positive and negativeness นั่นแหละชีวิตใหม่ ผมถือว่าในมหาวิทยาลัยต้องสอนกันอย่างนี้ ต้องสอนให้รู้จักความอยู่เหนืออิทธิพลในโลกด้วยอิทธิพลแห่งความเป็นบวกและความเป็นลบ อันนี้มันมีความหมายลึกน่ะ ไอ้ความเป็นบวกและความเป็นลบมันมี มีได้ในทุกสิ่ง มีได้ในทุกสิ่ง แม้แต่เงินทอง ข้าวของ อำนาจวาสนา เกียรติยศ ชื่อเสียง อะไรก็ตามเถอะมันมีความเป็นบวกและความเป็นลบ แม้แต่บุญกุศล็มีความเป็นบวกและความเป็นลบแล้วแต่ว่าเข้าไปเกี่ยวข้องกันอย่างไร ความเป็นบวก ความเป็นลบนี่รู้สึกได้โดยสัญชาติญาณ พอถูกใจมันก็เป็นบวก พอไม่ถูกใจมันก็เป็นลบ เด็กทารกเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ ไม่รู้เรื่องบวกเรื่องลบ พอมาแล้ว พอเกิดออกมาแล้ว อวัยวะต่างๆ ของเขาก็เริ่มทำงาน ตาหูจมูกลิ้นกายใจของเขาก็เริ่มทำงานประสบเป็นอารมณ์เป็นปฎิกิริยาออกมาในรูปที่ถูกใจก็เป็นบวก ไม่ถูกใจก็เป็นลบ เด็กทารกนั้นก็บ้าเลยคือหลงบวก หลงลบ หลงบวกหลงลบ อารมณ์บวกเข้ามาก็เกิดตัวกูบวก อารมณ์ลบเข้ามาก็เกิดตัวกูลบ ตัวกูที่เป็นมายาหลอกลวงมันก็เกิดขึ้น มันก็มีตัวตนขึ้นมา อันนี้เป็นความลับ เรียกว่าเป็นความลับก็ได้ ความลับอย่างหนึ่งของความที่มันไม่มีตัวตน แต่พอมีอารมณ์บวกอารมณ์ลบเข้ามากระทบจิตความเป็นตัวตนจะเกิด เกิดความถูกใจ ความรัก ความพอใจขึ้นมาในความรู้สึกตาม ธรรมชาติ ตามกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ความรู้สึกพอใจเกิดขึ้น แล้วมันจึงค่อยเกิดตัวกู ผู้พอใจ เมื่ออารมณ์ไม่ชอบใจเกิดขึ้นามธรรมชาติ ตามการปรุงแต่งของธรรมชาติ อารมณ์รู้สึกความไม่พอใจนั่นแหล่ะ มันก็ทำให้เกิดตัวกูผู้ไม่พอใจ Emotion ความรู้สึกตามธรรมดาเกิดขึ้น แล้วมันก็ทำให้เกิด Conception ความรู้สึก ยึดถือ หมายมั่นขึ้นมา Emotion เป็นความรู้สึกตามธรรมดาองความรู้สึกที่ชอบ ชอบเกิดขึ้นมา เมื่อเกิด Conception ตัวกูผู้ชอบ กู กูนั่นแหล่ะ เพิ่งเกิดเดี๋ยวนั้นแหล่ะ พอเกิดแล้วเสร็จแล้วเดี๋ยวมันก็ดับไปเองนั่นแหล่ะ เนี่ยตัวกูมันเกิดทีหลัง ลมๆ แล้งๆ ไม่ใช่ตัวตนอะไรมันเกิดมาจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ดังนั้นไอ้ตัวกูจึงเป็นของเหลวคว้างไม่ใช่ตัวตน รู้สึกรักก็เกิดตัวกูผู้รัก รู้สึกเกลียดก็เกิดตัวกูผู้เกลียด เมื่อเป็นอย่างนี้เขาจะถามว่าเนี่ยมันไม่ถูกแล้ว ทำไมมันเกิดได้โดยไม่ต้องมีตัวผู้ ทำไมความรักจึงเกิดด่อนตัวผู้รัก นั่นแหล่ะคือความจริง ไอ้ตัวผู้รักเป็นมายามันไม่ใช่อะไรเลย เป็นปฎิกิริยาออกมาจากความรู้สึกรัก ดูเถอะ ทุกอย่างๆ เกิดมาจากความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อนแล้วจะเกิดตัวผู้ ผู้รู้สึกอย่างนั้นขึ้นมา นี่เรียกว่าตัวกู มันเกิดมาจากความเข้าใจผิดของอวิชชา เกิดมาจากความรู้สึกปรุงแต่ง ถ้าเขาว่าผิด Logic ก็ผิด Logic ของคุณนะ (นาทีที่ 29.43) ไม่ผิด Logic ของพระพุทธศาสนา ผู้กระทำมาเกิดทีหลังของการกระทำ เด็กๆ เขาไม่เชื่อน่ะนั่นน่ะ ผู้กระทำเกิดทีหลังของการกระทำ มันมีการกระทำ มันมีความรู้สึกอย่างใดอย่างหนึ่งก่อน แล้วจึงเกิดตัวกู ตัวกู กูกระทำ อย่างนี้ขึ้นมา เพราะมันไม่ใช่ของจริงมันเป็นของหลอก ถ้าเป็นของจริง โง่ๆ ง่ายๆ มันต้องเกิดผู้กระทำก่อนแล้วมันจึงเกิดการกระทำ ฉะนั้นมันต้องละเอียดลงไปถึงว่า ตามันเห็นรูปเกิดการเห็นตามธรรมชาติ ระบบประสาทก่อน แล้วมันจึงค่อยเกิดตัวกู ตัวกูผู้เห็น ไม่ใช่มีตัวกูอยู่ก่อนแล้วทำหน้าที่เห็น เนี่ยความเป็นอนัตตามันลึกซึ้งอย่างนี้ เมื่อใดมีความรู้สึกรักก็เกิดตัวตน ตัวกู ผู้รัก เมื่อใดมีความรู้สึกไม่ชอบ หรือเกลียดมันก็เกิดตัวตนผู้เกลียด มีความเป็นบวกเกิดขึ้นมา ก็เกิดตัวตนบวก มีความเป็นลบเกิดอยู่ในใจก็เกิดตัวตนลบ ทั้งบวกทั้งลบมันก็เกิดตัวตน มันก็มีปัญหา บวกก็มีปัญหาอย่างบวก ลบก็มีปัญหาอย่างลบ ดีใจก็มีปัญหาอย่างดีใจ เสียใจก็มีปัญหาอย่างเสียใจ ไอ้ความสุขก็มีปัญหาอย่างสุข ทุกข์ก็มีปัญหาอย่างทุกข์ ยากจนก็มีปัญหาอย่างยากจน มั่งมีก็มีปัญหาอย่างมั่งมี อย่างคนมั่งมี เป็นเทวดาก็มีปัญหาอย่างเทวดา เป็นมนุษย์ก็มีปัญหาอย่างมนุษย์ เป็นสัตว์นรกมันก็มีปัญหาอย่างสัตว์นรก ถ้ามันยังเป็นคู่ๆ กันอยู่อย่างนี้ คือเป็นทั้งบวกและทั้งลบ นั้นคำว่าชีวิตใหม่ของเรา เราจึงบัญญัติความหมายชัดลงไปว่า อยู่เหนือิทธิพลของความเป็นบวกและความเป็นลบ ถ้าในโลกวิทยาศาสตร์ก็บอกว่ามันไม่มีทั้ง Positive และ Negative และว่าถ้ามันมีความรู้สึกอย่างนั้น มันก็ไม่รู้ ไม่รู้ความจริง มันเป็นปัญหาเท่ากันแหล่ะ เป็น Positive ก็รัก ก็หลงก็บ้าบอไปตามเรื่อง เป็น Negative มันก็เกลียด มันก็กลัว มันก็หวั่นไหว มันก็สะดุ้งไปตามแบบ Negative แต่ว่าคนเราก็ชอบ Positive อะไรๆ ก็ให้พร อ้อนวอน ขอร้องกันให้มันเป็นไปตามทาง Positive เรื่อยไป นี่เรียกว่าคนธรรมดามันไม่รู้ ถ้าพระอริยะเจ้าก็รู้ว่าไม่เอาไม่เอา ทั้ง Positive และ Negative ทั้งบวก ทั้งลบ งั้นขอให้เราเผยแผ่หัวใจของพระพุทธศาสนาออกไปในลักษณะที่ว่าเราจะอยู่เหนืออิทธิพลของความเป็นบวก และความเป็นลบ พอเราได้สิ่งนี้มาเราเรียกว่า “ชีวิตใหม่” ชีวิตใหม่ ไม่มีปัญหาเรื่องดี เรื่องชั่ว เรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องบุญ เรื่องบาป เรื่องได้ เรื่องเสีย เรื่องแพ้ เรื่องชนะ ไม่มี เนี่ยแหล่ะ ชีวิตใหม่ เสร็จแล้วมันก็เก่าแสนที่จะเก่า กฎเกณฑ์อันนี้มันเก่าแสนที่จะเก่า ไม่รู้ว่ามาแต่ครั้งไหน กฎเกณฑ์ของธรรมชาติอันนี้ มันเกิดมาตั้งแต่ครั้งไหนไม่มีใครรู้ แต่เดี๋ยวนี้มันเพิ่งรู้จัก มันก็เลยเป็นของใหม่ นี่เป็นเรื่องหลอกลวงของคำว่าเก่า ของคำว่าใหม่ เอาละเป็นอันว่าเราจะรู้ให้มันแจ่มแจ้งกันถึงชีวิตใหม่ ที่เหนือบวกเหนือลบเป็นความสงบอย่างยิ่ง พูดอย่างภาษาคนก็เป็นสุขอย่างยิ่ง พูดอย่างภาษาธรรมะก็ว่างอย่างยิ่ง ว่างอย่างยิ่ง ถ้าพูดว่าพระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่งก็เรียกว่ามันพูดกันอย่างภาษาคนน่ะ ถ้าพูดว่าพระนิพพานว่างอย่างยิ่งก็เรียกว่าพูดอย่างภาษาธรรม ในที่มา ในพระบาลีเราพบว่า พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง เป็นพุทธภาษิต แต่นิพพานว่างอย่างยิ่งเราได้ยินในคำสวด คำอะไรแต่ไม่เคยพบที่เป็นพุทธภาษิตน่ะ แต่ในคัมภีร์ปริสัมพิธามรรค (นาที่ที่ 34.48) ได้อธิบายคำลึกๆ ถึงคำๆนี้ว่า “ว่าง” นิพพานน่ะมันว่างอย่างยิ่ง แต่ก็ไม่ได้สรุปความว่า นิพพานัง ปรมัง สูญญัง (นาที่ที่ 35.02) งั้นคำพูดใหม่ นิพพานัง ปรมัง สูญญัง (นาที่ที่ 35.05) แกถูกที่สุดเหมือนกันแหล่ะ ให้ถือเอาเสียว่าพระพุทธเจ้าท่านก็พูดเอาทั้งสองภาษานั่นแหล่ะ เมื่อพระพุทธเจ้าจะตรัสกับปุถุชนคนธรรมดา ท่านก็ต้องพูดภาษาปุถุชน เมื่อจะตรัสกับผู้รู้ ผู้ที่จะหลุดพ้น ท่านก็ตรัสภาษาธรรมะ (นาทีที่ 35.07) จะต้องอธิบายกันให้ชัดเจน ให้ถูกต้องว่า อันไหนเป็นภาษาคน อันไหนเป็นภาษาธรรม ในกรณีไหนเราพูดอย่างภาษาคน ในกรณีไหนอย่างภาษาธรรม ถ้าไม่อย่างนั้นมันจะตีกันยุ่งจนผู้ฟังฟังไม่ถูก ผู้ฟังฟังไม่ถูกหรอก สอนพระพุทธศาสนาชนิดที่ผู้ฟังฟังไม่ถูก มันเป็นการอะไรหล่ะ ขัดหรือ คัดค้านกันอยู่ในตัว เดี๋ยวสอนให้หาความสุข เดี๋ยวสอนให้อยู่เหนือความสุข เดี๋ยวสอนให้พอใจ ให้ยินดี เดี๋ยวสอนให้ไม่เอา ไม่เอา ไม่พอใจ ไม่ยินดี ไอ้สิ่งที่เรียกว่าโลกธรรมเก้านั้นน่ะ เอ้ย โลกธรรมแปดนั่นน่ะ สี่คู่ แปดอันน่ะ ได้ลาภ เสื่อมลาภได้ยศเสื่อมยศ ได้นินทา ได้สรรเสริญ ได้สุข ได้ทุกข์นั่นแหล่ะ คู่บวกคู่ลบก็ชัดอยู่แล้ว คือมันมีอยู่ในโลกจนต้องเรียกว่า โลกธรรมโลกธรรม ไม่มีอะไร มีแต่เรื่องบ้าๆ บอๆ มีลาภเสื่อมลาภ มียศเสื่อมยศ มีสุข มีทุกข์ มีนินทา มีสรรเสริญ เนี่ยเรียกว่าอิทธิพลของความเป็นบวก เป็นลบ อยู่เหนือนั่นน่ะก็เป็นชีวิตใหม่ เป็นโลกุตตระ สรุปว่าโลกุตตระหรือนิพพานนั่นแหล่ะเป็นชีวิตใหม่ ที่ควรจะรู้จักสำหรับทุกคนแต่ผมก็เคยถูกด่าเพราะพูดอย่างนี้เป็นเกวียนๆ ว่าเอาเรื่องเหนือโลกมาสอนคนในโลก เอาเรื่องของพระอรหันต์มาสอนชาวบ้าน เพราะมันเข้าใจผิดกันในข้อนี้ ถ้าไม่สอนเรื่องดับทุกข์แก่คนมีความทุกข์แล้วจะไปสอนกับใครหล่ะ มันต้องสอนในเรื่องที่หมดปัญหาแก่คนที่มีปัญหา เมื่อชาวโลกและปุถุชนมันเต็มไปด้วยความทุกข์และปัญหา มันก็ต้องเอาเรื่องเหนือโลก หรือโลกุตตระน่ะมาสอน งั้นอย่าแบ่งแยกไปตามอุปาทานที่มีอยู่ตามศาลาวัด (นาทีที่ 37.45) เรื่องนี้โลกียะสอนคนโง่ๆ ต่ำๆ เรื่องนี้โลกุคคระ อย่าเอามาสอน อย่าเอามาสอนจึงเกิดธรรมเนียม หรืออะไรที่เรียกว่า ไม่สอนเรื่องอนัตตา เรื่องสุญญตาแก่คนเหล่านี้ แก่ประชาชนเหล่านี้ และคนบางคนก็มาเหนือเมฆเลยว่าถ้าเอาเรื่องอนัตตา สุญญตามาสอนน่ะ ฉิบหายหมดเลย ฉิบหายหมดเลย คนไม่ทำอะไร คนไม่ต่อสู้ดิ้นรนอะไร มันก็ไม่มีพัฒนา เดี๋ยวนี้ก็มีคนเป็นอันมาก อย่าให้บอกชื่อน่ะ ที่ว่าอย่าเอาเรื่องนิพพานมาสอนแก่ประชาชน มันจะไม่พัฒนา มันจะไม่พัฒนา ถ้าถือตามนั้นเราก็บ้า เราก็เป็นคนบ้า เอาเรืองนิพพาน เอาเรื่องเหนือปัญหามาสอนเนี่ย กับทุกคน แต่เรากลับบอกว่า โอ้ยเรื่องนีพพานนี้มันสำหรับทุกคน ผมเคยพิมพ์เป็นแผ่นพับออกไป นิพพานสำหรับทุกคนน่ะ ทุกคนจะต้องรู้จัก หยุด หยุด หยุดความเป็นบวก เป็นลบ ยินดี ยินร้าย มีสุขพักผ่อน (นาทีที่ 39.04) ถ้ามันมียินดี ยินร้ายมันก็มีกิเลสอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวก็ตายแหล่ะ ตายหมดนั่นแหล่ะมันต้องมีเวลาที่ว่างจากกิเลสกันตามสมควรแหล่ะ ที่ศาลาวัด พวกอภิธรรมเขามักจะสอนว่า กิเลสน่ะมีได้ตลอดเวลา กิเลสมีตลอดเวลา ปรากฎหรือไม่ปรากฎไม่รู้ และบางคนหนักไปกว่านั้นอีกก็สอนว่ากิเลสติดมาแต่ชาติก่อนนู่น มาจุติมาปฏิสนธิ วิญญาณมันหอบเอากิเลสมาติดมาเสร็จ เกิดด้วยกิเลสและก็มีกิเลสอยู่ตลอดเวลา คำพูดเหล่านี้มันต้องปรับปรุงกันเสียใหม่แล้ว ให้กิเลสน่ะเป็นสมุทยธรรมัง นิโรธะสัททธมมัง (นาทีที่ 40.00) จึงสิ่งนั้นมีความเกิดเป็นธรรมดา สิ่งนั้นมีการดับเป็นธรรมดา กิเลสมันเพิ่งเกิดเมื่อโง่เนี่ย เมื่อรับอารมณ์เนี่ย เมื่อมันเพิ่งเกิดมันก็ต้องดับได้ มันก็ต้องดับ กิเลสเกิดดับอยู่เสมอ บางทีก็ดับเองด้วยเพราะหมดปัจจัยตามธรรมชาติ สิ่งใดมีความเกิดเป็นธรรมดาก็ดับเป็นธรรมดา โดยที่เราไม่ทำอะไร มันก็ดับเป็นธรรมดา เช่นความโกรธเดี๋ยวมันบ้าพักนึง เดี๋ยวมันก็ดับเองได้ เพราะมันหมดปัจจัย แต่ถ้าดีกว่านั้นเราต้องทำให้มันดับ ต้องทำให้มันดับ ความโลภ ความโกรธ ความหลงถ้าจะปล่อยให้มันดับเองมันก็จะแย่ เราต้องทำให้มันดับ แต่ถึงอย่างไรมันก็รู้จักดับของมันเองเพราะมันยังมีเวลาที่นอนหลับเสียบ้าง อะไรเสียบ้าง กิเลสมันก็หมดเหตุ หมดปัจจัย มันก็ดับไปเองก็มี นิพพานคือความว่างจากกิเลส ต้องมีให้แก่สิ่งที่มีชีวิต บรรดาสิ่งที่มีชีวิตต้องมีเวลาที่ว่างจากกิเลส ถ้ากิเลสเกิดทั้ง 24 ชั่วโมง ทุกวินาที มันตาย มันบ้าหรือตาย พระนิพพานคือความว่างจากกิเลส มันเข้ามาช่วยบำรุงชีวิตหล่อเลี้ยงชีวิตให้เรามีเวลาที่ว่างจากกิเลส กิเลสที่เป็นเหตุให้ดีใจก็ไม่มี กิเลสที่เป็นเหตุให้เสียใจก็ไม่มี หมายความว่ากิเลสบวกก็ไม่มี กิเลสลบก็ไม่มี เราก็อยู่ ชีวิตก็อยู่ได้จากการว่างจากกิเลส จึงถือว่านิพพานน่ะจำเป็นสำหรับชีวิต หล่อเลี้ยงสำหรับชีวิต และก็จำเป็นสำหรับทุกคน ถ้ากิเลสเกิดตลอดเวลาไม่เท่าไหร่ก็ต้องส่งโรงพยาบาลบ้า รู้สึกว่าคนมันบ้า มันเป็นบ้าเพราะกิเสส โมหะอยู่ มันเกิดมากเกินไป แม้แต่เวลาหลับก็ฝันร้าย สะดุ้ง ชีวิตใหม่ต้องปราศขากอิทธิพล ทั้งกิเลสบวก และทั้งกิเลสลบ ทีนี้ก็อยากจะพูดชนิดที่ว่า จะต้องถูกด่า และก็เคยถูกด่ามาแล้วว่า เราต้องทำความเข้าใจระหว่างศาสนา ยกให้ศาสนาทุกศาสนามันมีความมุ่งหมายที่จะกำจัดสิ่งนี้ แต่เขาจำเป็นที่จะต้องพูดอย่างอื่น พูดสำหรับคนโง่ พูดสำหรับคนโง่ พูดให้ต่ำลงมาจนมีพระเจ้า หรือมีสิ่งอะไรพิเศษอย่างนั้น มาช่วยดับทุกข์ แต่ความจริงเขาก็รู้กันว่าไอ้ดับทุกข์เนี่ยต้องเหนือบวก เหนือลบ ตอนนี้พูดอย่างชาตินิยม ความรู้อันสูงสุดอันประเสริฐมันเกิดขึ้นทางซีกโลกตะวันออกตามสมมุติน่ะตะวันออกเนี่ยเอเชียนี่ไง รู้จักเรื่องเหนือบวก เหนือลบมานานแล้ว แม้แต่ลัทธิของศาสนาเซเมติกทั้งหลายที่มีพระเจ้า เป็นยิว เป็นคริสเตียน เป็นอะไรก็ตาม มันมีคำสอนเรื่องนึง เหนือบวกเหนือลบแต่ถ้าคนมันโง่ คนมันไม่เข้าใจมันก็ต้องพูดให้ต่ำลงมาอีกให้ติดบวกติดอะไรไปด่อนแหล่ะ คัมภีร์เก่าของคริสเตียนมันไม่ใช่คัมภีร์เก่าที่พระเยซูสอนน่ะ มันก่อนพระเยซูก่อนไปกี่ศาสดาก็ไม่รู้ตั้งแต่แรกสร้างโลกนั่นแหล่ะ กว่าจะถึงพระเยซูก็มีมากมาย งั้นไอ้คัมภีร์เก่าแท้ๆ ก่อนพระเยซูก็มีคำพูด เริ่มต้นเลยก็ว่าพระเจ้าสั่งมนุษย์คู่แรก อดัมกับอีฟขึ้นมาแล้วก็สั่งกำชับว่าแกอย่ากินผลไม้ของต้นไม้ต้นนี้ ที่ทำให้รู้จัก Good and Evil (นาทีที่ 45.01) อย่าไปกินเข้าน่ะถ้าแกกินแกต้องตายน่ะ คำสอนที่อยู่เหนือบวก เหนือลบมีแล้ว เสร็จแล้วมันก็ไม่สำเร็จประโยคหรอก มันก็ ประชาชนมันก็เข้าใจไม่ได้ มันพูดสอนก็เลยต้องพูดเป็นเรื่องธรรมดาสามัญชนิดที่เอาบวกไว้ก่อน เอาบวกไว้ก่อน เอาพระเจ้าไว้ก่อนพระเจ้าช่วยเหลือ มีของดีให้ (นาทีที่ 45.32) สิ่งที่จะได้จากพระเจ้าคือสิ่งที่ดีที่สุด ติดดีกันไว้ก่อน พระเยซูก็ไม่สอนเรื่องเหนือบวกเหนือลบ เหนือดีเหนือชั่ว สอนแต่เรื่องรักผู้อื่น รักผู้อื่น เนี่ยมันมี มันมีเหตุผลที่ทำให้เชื่อว่า ซีกโลกตะวันออกมันรู้จักเรื่องเหนือบวกเหนือลบก่อนคริตศักราชหลายพันปีเหมือนกัน ทีนี้อินเดีย พระพุทธเจ้าเหิดขึ้นก็รู้เรื่องเหนือบวกเหนือลบ เหนือดีเหนือชั่ว เหนือบุญเหนือบาป เหนือสุขเหนือทุกข์ ทีนี้มาสุดตะวันออก จีน ประเทศจีน เหลาจื้อก็สอนเรื่องนี้ สอนเรื่องเต๋าที่อยู่เหนืออิทธิพลของบวกของลบ ถ้าหยินมันเป็นบวกถ้าหยางมันเป็นลบ เหนือหยินเหนือหยาง เหนืออินเหนือเอี๋ยง ไม่ดำไม่ขาวเนี่ย นั้นแหล่ะมันก็เป็นเต๋า มันก็เหนือบวกเหนือลบ ความรู้เรื่องเหนือบวกเหนือลบเป็นสิ่งที่ปรากฎกับมนุษย์ในซีกตะวันออกอย่างยิ่ง ซีกตะวันตกฝ่ายยุโรปเราไม่เคยพบเรื่องเหล่านี้ หรือแม้แต่อเมริกาโลกนู้นยิ่งไปไกลกันใหญ่ไม่เคยมีวัฒนธรรมทางจิตใจสูงขนาดที่จะเหนือบวกเหนือลบ นี่โลกตะวันออกมีอะไรดี สูงสุดมาตั้งแต่เป็นพันๆ ปี เนี่ยแหล่ะเรียกว่าชีวิตใหม่หรือชีวิตเก่า มันเก่าเกินที่จะเก่า แต่มันเพิ่งพบกันเดี๋ยวนี้มันก็เลยกลายเป็นชีวิตใหม่ งั้นถ้าเราพูดว่าชีวิตใหม่ เราก็พูดตามความลับอันเก่าแก่ที่สุดของมนุษย์เรา เรื่องอริยสัตย์ของพระพุทธเจ้านั้นมันเป็นเรื่องชีวิตใหม่ เหนือบวกเหนือลบ คือไม่ตามทิขันตานุโยค (นาทีที่ 47.43) ถ้าเป็นกานุโยค (นาทีที่ 47.50) มันก็บ้าบวก มันก็บ้าลบ มัจฌิมาปฎิปทาอยู่เหนือ สิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้เอง ไม่ได้ฟังจากใครมา มันเรื่องมัจชิมาปฏิปทา คุณไปเปิดดูธัมมจักกัปปวัตตนสูตรดูใหม่สิ อนุสุตตัง อุปเพอานุสสุตตัง (นาทีที่ 48.18) ท่านตรัสเรื่องมัชฌิมาปฏิปทาและตรัสเรื่องอริยสัจทีหลัง มัชฌิมาปฏิปทาเนี่ยตรัสรู้เอง ไม่ได้ศึกษามาจากใคร พุทธะกาดาบส (นาทีที่ 48.34) ก็ไม่ได้สอนเรื่องนี้ ติดดีติดบวกถึงขั้นเนวะสัญญานาสัญญา มันบ้าดีอย่างละเอียด อย่างละเอียดสูงสุด นี่ท่านออกมาเสียจากอิทธิพลอันนี้ นี่ก็เลยมีมัชฌิมาปฏิปทา นีจึงเกิดเรื่องอริยสัจ เพื่ออธิบายเรื่องนี้ให้ชัดขึ้นมา ว่าความทุกข์เกิดจากอะไร ดับแห่งความทุกข์คืออะไร เรียกว่าเรื่องอริยสัจ ความจริงที่มีประโยชน์ออกไปเสียจากข้าศึก อริยสัจยาวเฟื้อยก็คือปฏิจจสมุปบาท ไปศึกษาเนื้อความของปฏิจจสมุปบาทดู จะพบว่าทุกข์ก็ดับทุกข์ อริยสัจ ฝ่ายทุกข์ก็ว่าอย่างยืดยาวเป็นสมุทัย ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายสมุทัย ดับทุกข์ก็คือปฏิจจสมุปบาทฝ่ายนิโรท อวิชชานิโรท สังขารนิโรท วิญญาณนิโรท นี่ฝ่ายนิโรท เป็นยืดยาวแหล่ะปฏิจจสมุปบาทเนี่ย เป็นอิทัปปัจจยตา เรียกว่าอริยสัจใหญ่ อริยสัจยาว และก็สอนอย่างพอสั้นๆ 4 อย่าง ทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค และมีอริยสัจสั้นจู๋ สั้นที่สุดแหล่ะ เดี๋ยวนี้ก็ดี แต่ก่อนก็ดี แต่ก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี ฉันพูดแต่เรื่องทุกข์ และก็ดับทุกข์นั่นแหล่ะ บุพเพจาหัง ภิคเว อิตาเรหิจะ สุคะ ปัจสัจจะนิโรทัง (นาทีที่ 50.17) พูดแต่ทุกข์ กับดับทุกข์สองคำเท่านั้นแหล่ะ เนี่ยหล่ะอริยสัจสั้นจู๋ ศัพท์ธรรมดาก็มีสี่คำ ทุกข์ สมุทัย นิโรท มรรค อริยสัจยืดยาวก็ปฏิจจสมุปบาทมีรู้กี่คำต่อกี่คำ ฝ่ายหนึ่ง 11 คำ ฝ่ายหนึ่ง 11 คำ ก็เป็น 22 แล้ว นั่นอริยสัจยาว สัจจะที่ทำให้อยู่เหนือข้าศึกคือกิเลสมันมีอย่างนี้ ขอให้รู้จักความหมายของอริยสัจมันเป็นอย่างนี้ นี่แล้วก็อริยมรรค เขาก็คืออย่างนี้ อริยะ อริยะ อริยะ ปราศจากข้าศึก ชีวิตใหม่คือชีวิตที่ปราศจากข้าศึก ข้าศึกคือกิเลส และก็ให้เกิดไอ้ความไม่พึงปรารถนาต่างๆ เรียกว่าปัญหาของชีวิต ปราศจากปัญหาด้วยประการทั้งปวงก็เรียกว่าชีวิตใหม่ แต่เช่นนี้มนุษย์มันบ้า มันชอบฝ่ายบวก มันชอบฝ่ายสุข ต้องการเข้ามาแล้วปัญหามันก็เพิ่ม ความสุขนั้นเนี่ยมันเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวมันก็ริษยาผู้อื่น ทำร้ายผู้อื่น และมันทำร้ายตัวเองให้นอนไม่หลับกระสับกระส่ายอยู่เพราะความเห็นแก่ตัว ในที่สุดมันก็เป็นบ้านั่นแหล่ะ คนบ้าทุกคนในโรงพยาบาลบ้ามันมาจากความเห็นแก่ตัว มันหลงทาง ถ้าหลงทางหนักขึ้นไปอีก มันไม่ใช่เพียงแต่บ้า มันฆ่าตัวตายเลยแหล่ะ ไปใคร่ครวญดูให้ดีบรรดาคนฆ่าตัวตายไม่ว่ารายไหน กรณีไหนก็ตามมันมาจากความเห็นแก่ตัว คือมันหลงทาง ดังนั้นความเห็นแก่ตัวมันเลวร้ายที่สุดกว่าสิ่งใด ปัญหาทั้งหมดรวมที่ความเห็นแก่ตัว พระธรรมก็เพื่อกำจัดความเห็นแก่ตัว หมดความเห็นแก่ตัวเป็นสุขอย่างยิ่ง พูดเป็นบวกอีกแล้ว วนกันอยู่อย่างนี้ …ปรมังสุขัง (นาทีที่ 52.38) เป็นปรมัตที่สุดแล้วกลายเป็นพูดภาษาคน ภาษามีบวกน่ะ นี่ก็จะพูดว่าอัสสมิมานัสสะ…ปรมังสูญญัง (นาทีที่ 52.49) น่าจะถูกที่สุดน่ะ แต่พระพุทธเจ้าท่านก็ไม่พูดภาษาคนว่าสุขที่สุด ช่วยบอกกันให้ดีๆ คุณย่า คุณยายที่เข้าใจเรื่องนี้ไม่ค่อยจะถูกน่ะ สุขที่สุดน่ะ อฐิษฐานว่าสุขที่สุด หมดปัญหาไม่สุขไม่ทุกข์ ให้สังเกตุว่าเวลาเราสบายใจที่สุดนั่นน่ะ ไม่ใช่เวลาที่เราได้สุขน่ะ ได้สุขมันยุ่งหัว ไม่มีความหมายแห่งสุขและทุกข์เวลานั้นน่ะ ว่างสบายใจที่สุด แต่ก็ไม่เอาอ่ะ ต้องสุขที่สุด อร่อยที่สุด สนุกที่สุด มันก็เป็นเสียอย่างงี้ โลกมันก็เจริญๆ พัฒนา ประดิษฐ์กันขึ้นมาแต่ว่าปัจจัยแห่งความสุขมาเป็นเหยื่อแห่งความสุข จนเต็มไปด้วยของที่ไม่พึงปรารถนา หนังสือพิมพ์ที่มันขายดีมีแต่โฆษณา ไปดูเถอะ ของที่เอาโฆษณาน่ะ มัน มันไม่จำเป็นหรอก ไม่มีก็ไม่ตายหรอก กี่อย่างกี่อย่างในหน้าหนังสือพิมพ์ที่มาโฆษณาขายน่ะ ผมก็ไม่สนเพราะมันไม่มีสักอย่างเดียวที่ว่าถ้าขาดแล้วจะต้องตาย มีแต่เรื่องเกินจำเป็นแหล่ะที่ยุ่ง และเนี่ยคำว่า “ชีวิตใหม่ ชีวิตใหม่” ต้องเหนือความถูกหลอกลวงด้วยความเป็นบวกและความเป็นลบ บวกก็ลวง ลบก็ลวง สุขก็ลวง ทุกข์ก็ลวง กุศลก็ลวง อกุศลก็ลวงเพราะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น ยึดมั่นอันนึงมันก็เกิดกิเลสประเภท ราคะ โทสะ ยึดมั่นประเภทหนึ่ง ไม่เอามันอยากจะทำลายเสีย ก็เป็นกิเลสประเภทโทสะ โกรธะไปตามเรื่อง ที่มันยังไม่แน่ว่าบวก หรือลบมันก็ยึดมั่นไม่ถูกมันก็ได้แต่เป็นโมหะ วนไปวนมาอยู่อย่างนี้ ถ้าจะกำจัดกิเลสทั้งปวงมันก็ต้องเหนือบวก เหนือลบ เราต้องมีความรู้เหนือบวกเหนือลบเดี๋ยวนี้เรานิยมคอมพิวเตอร์กันนักหนา บูชาคอมพิวเตอร์กันนักหนา ไปดูสิมันช่วยทำให้มีความรู้เรื่องนี้ได้หรือไม่ ถ้าคอมพิวเตอร์ชนิดไหนที่ทำให้เกิดความรู้เรื่องนี้ได้ล่ะ ไอ้เหนือบวกเหนือลบล่ะก็ขอบูชาล่ะ แต่กลัวว่ามันจะเน้นหนักให้ยึดถือหนักกันขึ้นไปอีก สัมมะปัญญา (นาทีที่ 55.42) จะเกิดด้วยผลของคอมพิวเตอร์ได้หรือไม่ก็ช่วยไปคิดดู บางทีมันจะช่วยยึดมั่นหนักกันหนักเข้าไปอีก ไอ้ผลจากคอมพิวเตอร์ระวังให้ดีเถอะ ตามความรู้สึกของผม เดี๋ยวนี้ผมไม่ชอบเลย เพราะมันไม่อาจจะเกิดยถาภูตะสมะปัญญา (นาทีที่ 56.06) รู้แจ้งตามที่เป็นจริง มันมีแต่ควร ควร ทำเข้าไป เอาเข้าไป มันมีแต่อย่างนี้ เมื่อไหร่ที่สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ให้เกิด ยถาภูตะสมะปัญญา (นาทีที่ 56.18) ได้จะซื้อ จะซื้อ แพงเท่าไหร่ก็จะซื้อ แต่เดี๋ยวนี้ยังไม่เอาหรอก มันก็ต้องเน้นหนักเข้าไปอีก เน้นหนักเข้าไปอีก ให้มันหมายมั่นนั่น เราจะหวังพึ่งวิชาการก้าวหน้าทางโลกเป็นที่พึ่งมันจะเป็น มันเป็นไปไม่ได้หรอก มันยิ่งเน้นหนักให้ยึดมั่นบวก ยึดมั่นลบ รักบวกและเกลียดลบหนักขึ้นไปอีก ไม่ไหวหรอก ไม่ไหว ไม่ใช่ชีวิตใหม่ ขอพูดเรื่องชีวิตใหม่ว่า เรื่องอริยสัจ อริยมรรคนั่นแหล่ะเรื่องชีวิตใหม่ อย่าเห็นเป็นเรื่องคนละเรื่องหรือเห็นเป็นไม่ทันสมัยไปเสีย มันทันสมัยยิ่งกว่าทันสมัย คำว่า “อริยสัจ อริยมรรค” เนี่ยทันสมัย จนเกินไปเสียอีก จนว่าตลอดกาลเลย มีประโยชน์ตลอดกาล ไม่ต้องมีสมัยเก่า ไม่มีสมัยใหม่ เรื่องนี้เป็นสนันตนะ (นาทีที่ 57.24) ไม่จำกัดกาล ไม่จำกัดเวลา ถูกต้องอยู่ตลอดเวลา พบแล้วก็จะได้ชีวิตใหม่ ในมหาวิทยาลัยทั้งหลายในโลกควรจะเปิดสอนเรื่องนี้ สอนวิชาความรู้เรื่องชีวิตใหม่ อยู่เหนือ Positive และ Negative อย่าบูชา Positive เกลียด Negative มันก็ยุ่งตาย ให้ทั้งบวกและลบเป็นของเล่นๆ เป็นของเด็กเล่นเสมอกันไป ไม่หลงกันไป โดยอตัมมยัตตา (นาทีที่ 57.57) กูไม่เอากะมึงแล้ว ทั้ง Positive ทั้ง Negative กูไม่เอากะมึง นี่จะช่วยโลกให้มีสันติภาพ ถ้าจะเรียกว่าชีวิตใหม่ต้องมีสันติภาพ และต้องแท้จริงด้วย
ทีนี้ก็จะพูดด้วยคำสำคัญ ที่เรียกว่าสำคัญคือว่า “สัมมา สัมมา” เดี๋ยวนี้ยังไม่รู้จัก เป็นคำพูดเล่นๆ อะไรก็ได้ ก็ไม่สนใจ สัมมา สัมมา เนี่ยเป็นคุณศัพท์ เรียกว่าสัมมาเนี่ยเป็นนามธรรม ศัพท์ก็เรียกว่าสัมมัตตะ (นาทีที่ 58.59) ซึ่งถูกต้อง ภาวะแห่งความถูกต้อง นี้เรียกว่า สัมมา สัมมา สัมมาทิฐฐิ และก็มิจฉาทิฐฐิ ไอ้สัมมา สัมมาเนี่ย มันมีน่ากลัว เดี่ยวนี้มันมีสัมมาที่จะเป็นทุกข์ มันไม่ได้สัมมาที่จะดับทุกข์ สัมมามันแปลว่า ชอบมันแปลว่าอะไรก็ไม่ทราบแหล่ะเพราะว่าผม ผมก็อยากจะเอาเป็นว่าถูกต้อง สัมมาแปลว่า “ถูกต้อง” ภาษาฝรั่งแปลกันไว้ดีหล่ะ ดี เขาแปลกันดี แปลว่า “Right Right” แปลว่าความถูกต้อง ถ้าสัมมามันต้อง Right ที่มันถูกต้อง และมันก็มีปัญหาต่อไปว่า ถูกต้องกับอะไร ถูกต้องแก่อะไร Right ก็ต้องมี Preposition ว่า “To” Right to. To what? มันถูกต้องที่จะเป็นทุกข์สุขอย่างที่จะดับทุกข์ มันต้องถูกต้องอย่างที่จะดับทุกข์ จึงจะเป็นสัมมา สัมมา สัมมาทิฐฐิ สัมมาสังกัปโป 8 ประการเนี่ยเป็นพวกสร้าง หรือเหตุ สัมมาอีก 2 ประการ สัมมาญาณะ สัมมาวิมุติ รวมถึงเป็น 10 นั่นน่ะ สัมมัตตะนั่นแหล่ะถูกต้องโยสมบูรณ์ ถูกต้องทั้งส่วนที่เป็นเหตุ 8 ประการ ถูกต้องในส่วนที่เป็นผลอีก 2 ประการ รวมกันเป็น 10 ประการเรียกว่าความถูกต้อง มนต้องถูกต้องต่ออะไร เคยพูด เคยสอนว่าถูกต้องต่ออะไร มันก็ต้องถูกต้องต่อนิพพาน ถูกต้องต่อความดับทุกข์ ที่นี่พูดอย่างสมัยใหม่เดี๋ยวนี้ก็ต้องถูกต้องต่อชีวิตใหม่แหล่ะ อริยะแปลว่าหมดข้าศึกน่ะ มันก็ต้องถูกต้องต่อความหมดข้าศึก ถูกต้องต่ออริยะภาวะ หมดข้าศึกนี่เรียกว่า สัมมา สัมมา เดี๋ยวนี้มันไม่สัมมานี่ แล้วนี่ มันไม่ถูกต้องต่อการดับทุกข์นี่ ให้ทานกูจะเอาสวรรค์วิมานแลกอกำไรเกินควรนี่ แล้วให้ทานนี้มันจะถูกต้องได้อย่างไร ถ้าจะใช้ให้มันถูกต้องก็ต้องมีสัมมาทานะ ให้ทานอย่างถูกต้องต่ออริยะภาวะคือหมดกิเลส หมดทุกข์ และนี่เขาให้ทานเพื่อจะแลกกับสวรรค์กันทั้งนั้น
แหล่ะโดยมาก อย่างน้อยก็เอาเกียรติยศ ชื่อเสียง ความดี ความมีหน้ามีตาที่นี่ หรือความเจริญที่นี่ ความเจริญในทางยุ่ง ศีลก็เหมือนกันแหล่ะ มันก็ไม่สัมมา ถ้ามันรักษาศีลเพียงว่าได้อวดคน ได้เคร่งอะไรอย่างนี้ สมาธิก็เป็นมิจฉาได้ ถ้ามันจะเอาสมาธิเพื่อหาประโยชน์ มันจะเหาะหินเดินอากาศ มันจะได้เปรียบคนอื่นเพราะมันมีปาฎิหารย์ ทีนี้วิปัสสนา วิปัสสนา มันก็เป็นผิดได้ ถ้ามันเป็นวิปัสสนาที่จะหาประโยชน์ จะเห็นคนตายแล้วไปที่ไหน จะเห็นเลขลอตเตอรี่จะออกเลขอะไรเนี่ย วิปัสสนาอย่างเนี่ยมันก็ไม่ใช่สัมมา ถ้าสัมมา สัมมาถูกต้องต่อการดับกิเลส ถูกต้องต่ออริยะภาวะคือ หมดข้าศึก หมดปัญหาเนี่ย ทิฐฐิมันก็ไม่สัมมาก็ได้คือมันไม่เพื่อเห็นต่อนิพพาน สังกัปปะก็เหมือนกันแหล่ะ ปรารถนา ปรารถนานี่ก็ มันก็ไม่ถูกต้องก็ได้ ไอ้สังกัปปะแปลว่าดำริชอบเนี่ย ผมก็ไม่ค่อยเห็นด้วย สังกัปปะ มันแปลว่าความปรารถนา ไอ้เรื่องความอยากและความปรารถนาเนี่ยมันก็มีปัญหามาก มันปรารถนาด้วยวิชชา หรือมันปรารถนาด้วยอวิชชา ถ้าปรารถนาด้วยอวิชชา ก็เป็นตัณหา ถ้าปรารถนาด้วยวิชชา มันเป็นสังกัปปะ สังกัปปะ กัปปะแปลว่า “ดำริ” สังกัปปะแปลว่า “การดำริ” ที่มันครบถ้วน ถ้ามันอยากด้วย วิชชา ด้วยปัญญา มันก็เป็นสังกัปปะ ดังนั้นความอยากต้องอยากด้วยอวิชชา จึงจะเป็นกิเลสตัณหาเป็นโลภะ เป็นอะไร แต่ถ้ามันอยากด้วยวิชชามันไม่ใช่หรอก มันไม่ใช่ตัณหา มันไม่ใช่โลภะอะไร ตามศาลาวัดท่านจะสอนตัดบทว่าถ้าอยากเป็นโลภะหมดเลย เราไม่อยากจะทะเลาะกับเขา ไอ้อยากชนิดที่ไม่เป็นโลภะมันก็มี แต่ไม่ใช้คำว่าอยาก มันเลวเกินไป ใช้คำว่า “ปรารถนา” หรือ “ต้องการ” คำว่าอยากเนี่ยมันมีอยู่ที่จะต้องพูดกับเขาให้ถูกต้อง ถ้าอยากด้วยกิเลสตัณหา ไอ้อยากด้วยความโง่นั่นน่ะ มันก็เป็นด้วยกิเลสตัณหา มันใช้คำว่า ตัณหาในภาษาบาลี หรือใช้คำว่า “Craving Craving” ในภาษาอังกฤษถูกต้องที่สุด อย่าใช้คำว่า “Desire Desire” มันกลางเกินไป มันต้องเป็นอยากอย่างโง่น่ะเป็น “Craving” ถ้ามันอยากอย่างไม่โง่ มันต้องการจะดับทุกข์จะนิพพาน อันนี้ไม่เป็น Craving ไม่เป็นตัณหาในความหมายนี้ นั้นมีอยู่อีกคำนึงที่ใครๆ เคยใช้ทีแปลว่า “Aspiration Aspiration Aspire Aspire” นั่นแหล่ะ คำนี้มันเป็นภาษาที่พิเศษ โดยรากศัพท์ของลาตินนั้นแปลว่า Aspire นั้นมันสูงขึ้นไป และก็ต้องการให้มันสูงขึ้นไป Aspiration มันคืออยากด้วยวิชชา มันมีประโยชน์น่ะ แต่ถ้ามันทุกข์ในทางอริยะสัจมันต้อง Craving Craving ถ้ามันเป็น Aspiration นั้นมันอยากด้วยปัญญา ด้วยความถูกต้องมันจะนำไปสู่ไอ้ความสูงขึ้นไปเนี่ย ถ้าเราจะยึดถือคำแปลกๆเนี่ย เป็นหลักที่ว่า ละตัณหาด้วยตัณหาน่ะ ภาษาของภิกษุณีอะไรน่ะ พระอานนท์หรืออะไรที่สอนภิกษุนีน่ะ ที่ว่าละตัณหาด้วยตัณหา มันก็คือการละ Craving ด้วย Aspiration ละความทุกข์ด้วยความอยากจะดับทุกข์ ความอยากจะดับทุกข์ไม่ใช่ตัณหา แต่ต้องจำเป็นที่จะเรียกด้วยภาษาว่าตัณหาเหมือนกัน คือมันอยากเหมือนกันน่ะ ละมานะด้วยมานะ ละตัณหาด้วยตัณหา มันหมายความว่ามันมาจากวิชชาหรืออวิชชานั่นแหล่ะ สัมมาสัมมาให้ถูกต้อง สังกัปปะก็แปลว่าปราถนาหรือความต้องการที่จะให้มันดียิ่งๆ ขึ้นไป ส่วนสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโวนี้ชัดอยู่แล้ว ถ้าทำด้วยวิชชา ด้วยสัมมาฐิถิก็เป็นสัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว ถ้ามันไม่มีวิชชาปัญญาเข้ามา มันก็เป็นมิจฉา เพราะนี่พอมาถึงสัมมาวายาโม ความพยายามชอบ พยายามธรรมดายังไม่เป็นสัมมา ต้องพยายามที่ชอบ พยายามที่ถูกต้อง ในทางที่ถูกต้อง จะเป็นสัมมาวายามะ สัมมาสติก็เหมือนกัน สติตามธรรมดาคือมันไม่มุ่งต่อนิพพานที่ดับทุกข์น่ะ นั้นไม่ใช่สัมมาสติ สัมมาสมาธิก็เหมือนกัน สมาธิตามธรรมดายักษ์มาร (นาทีที่ 01:08:10) มันก็มีได้ มันไม่ใช่สัมมา สัมมา สัมมา มัมมาทั้ง 8 สัมมาเนี่ย มันต้องกระทำด้วยวิชชา ด้วยปัญญา ด้วยความถูกต้อง ผมสำรวจในบาลีพระพุทธเจ้าตรัสไว้ชัดแต่เราไม่ค่อยจะสนใจน่ะอย่างไรเรียกว่าสัมมา อย่างไรเรียกว่าไม่สัมมา ธรรมะทั้งหลายทั้งหมดน่ะมันมีคำว่าสัมมานำก็มี ไม่มีคำว่าสัมมานำก็มี ศีล สมาธิ ปัญญาสัมมาก็ได้ ไม่สัมมาก็ได้ ถ้าสัมมามันต้องถึงขนาดที่ดับทุกข์ได้ หรือไปสู่นิพพานได้ คำที่ตรัสไว้เป็นหลักที่สุดคือวิราคะนุสติตัง… (นาทีที่ 01:09:07) ถ้าไอ้สี่คำนี้มาละก็สัมมาทั้งนั้นแหล่ะ รักษาศีลเพื่อวิเวก เพื่อวิราคะ เพื่อนิโรธะ เพื่อสละไอ้สิ่งที่ควรสละนั่นแหล่ะสัมมา แต่ถ้าไม่รักษาศีลแบบนี้ ศีลนั้นก็ไม่สัมมา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว มันไม่สัมมาหรอก ถ้ามันไม่ 4 อันเนี่ย ต่อเมื่อมี 4 อย่างนี้เข้ามามันก็เป็นสัมมาเข้ามาทันที เรามีสติปัญญาที่ไม่เป็นสัมมาก็มีอยู่โดยมาเพราะมันไม่ได้ประกอบด้วยธรรมะสี่ประการนี้ อิเวคะนิสิตัง คือต้องการนิพพานน่ะ ไม่มีอะไรที่จะวิเวกเท่ากับนิพพานน่ะ “วิ” แปลว่าอย่างยิ่ง อย่างวิเศษ “เอกะ” ก็แปลว่า หนึ่งๆ อย่างเดียว อย่างวิเศษอย่างที่สุด วิเวกะนั่นแหล่ะคือนิพพาน วิราคะ วิราคะ คือการจางออก คลายออก ไม่หมายมั่นยึดมั่นเข้าไปน่ะ วิราคะคือจางออก คลายออก ต้องรักษาศีลเพื่อจางออก คลายออกเพื่อวิราคะ เหมือนกับนิโรคะนิสิตัง ก็เพื่อนิรธ ก็เพื่อดับลงแห่งอุปาทาน ในขัณฑ์ทั้ง 5 ก็คือดับลงในอุปาทาน และมุ่งหมายอย่างนี้ ศีลก็ดี สมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี …ปริมินนามิง (นาทีที่ 01:10:42) น้อมไปเพื่อสลัด น้อมไปเพื่อทิ้งออกไป ไม่ใช่น้อมไปเพื่อเอาเข้ามา โพทะคะปริมิงนามิง (นาทีที่ 01:10:48) ทุกแห่งจะมีคำอย่างนี้ เมื่อตรัสถึงสัมมา บางแห่งก็มีคำบางคำเติมเข้าไปอีกมากกว่า 4 คำ แต่ก็ไม่เป็นไรหรอก มันไม่มากไปกว่า 4 อันนี้หรอก เพราะอย่างนั้นผมถึงถือตาม 4 อันนี้เป็นหลัก …วิราคะนิสิตัง (นาทีที่ 01:11:10) ว่านั่นแหล่ะคือ สัมมา สัมมา จะให้ทานก็ดี จะมีศีลก็ดี จะมีสมาธิก็ดี ปัญญาก็ดี ขอให้มันเป็นไปเพื่อ4 อย่างนี้ เดี๋ยวนี้เรามาทำวิปัสสนาทำอะไรกัน มันไม่ได้มี ไม่ได้นึกถึง4 อย่างนี้มันก็ไม่สัมมา วิปัสสนาก็หาลาภ วิปัสสนาไปตามเรื่อง มันก็ไม่สัมมา ไม่สัมมา น่าสงสารน่ะ วิปัสสนาของปัจจุบันนี้มันไม่เป็นไปเพื่อสัมมา สัมมา สัมมา 8 ประการนี้แล้วก็มีผลเกิดเป็นสัมมาญาณะ รู้ถูกต้อง สัมมาญาณะแล้วก็มีสัมมาวิมุตติอีกน่ะ พ้นหลุดพ้นถูกต้อง สัมมาสัมมาไปสิ้นสุดที่สัมมาญาณะ สัมมาวิมุตติ ก็จะเป็นสัมมาสัมมัตตะ สัมมาที่สมบูรณ์ เราพูดกันแค่สัมมา 8 สัมมาอถังทิกกามัค (นาทีที่ 01:12:17) ก็พูดกันแต่ส่วนเหตุ ส่วนที่จะให้ได้ผลไป วิมุติ ต้องแนะให้ญาติโยมของเราเข้าใจคำว่า “สัมมา สัมมา” ด้วยอาการ 4 อย่างนี้ มันมีคำประหลาดน่าหัวที่ว่า “เป็นบันไดแห่งนิพพาน” เพราะถ้ามีเทศน์สังขยานา เทศน์อะไรทำนองนี้ มันก็จะว่าไอ้ทาน ไอ้ศีล แบบนี้เป็นบันไดแห่งนิพพานตรงตามที่พระพุทธเจ้าตรัสนั่นแหล่ะ อนุคุคถามีทาน มีศีล มีสวรรค์ มี เอ่อ เนกขัมมะ (นาทีที่ 01:13:04) มีอาทินนาวะ มีเนกขัมมะ เป็นบันไดแห่งสวรรค์ โยมฟังผิดหมดนั่นแหล่ะ ไปเป็นนางฟ้า มีบริวาร เพิ่มกิเลสตัณหาทั้งนั้นแหล่ะ บันไดแห่งสวรรค์ ไม่สัมมาหรอก มันไม่สัมมาหรอกถ้าอย่างนั้น ถ้าต้องการไปเกิดในวิมาน ในสวรรค์ มีอะไรๆ ทิพย์ มีอะไรอร่อยๆ นั้นมันไม่สัมมา บันไดแห่งสวรรค์นั้นน่ะผิดซะแล้ว มันต้องมีสัมมาเข้าไปควบคุมทาน ควบคุมศีล กระทั่งสมาธิวิปัสสนา มันต้องควบคุมด้วยสัมมา สัมมัตตะ ไม่สัมมา ไม่สัมมามันก็ไม่ถูกต้อง มันก็ไม่ได้ชีวิตใหม่หรอก ชีวิตใหม่ที่เหนือบวก เหนือลบหรอก มันยังเป็นมิจฉาด้วย โดยที่ไม่รู้สึกตัว มันยังมีที่จำเป็น ที่จะต้องพูดอย่างที่แบ่งไว้ครึ่งหนึ่งน่ะ สำหรับคนธรรมดา คนธรรมดา แม้แต่สัมมาทิฐฐิ สัมมาทิฐฐิ ยังต้องแบ่งครึ่ง เป็นสัมมาทิฐฐิชนิดที่มีอาสวะ กับเป็นสัมมาทิฐฐิที่เป็นสัมมาสวะ สัมมาทิฐฐิที่เป็นสาสวะเกี่ยวข้องเรื่องนี้เรื่องดี ดี ดี ดี เนี่ย เรื่องศีล เรื่องทาน เรื่องทำดีเนี่ย ไอ้สัมมาทิฐฐืที่พูดกันอยู่บ่อยๆ โลกหน้ามีสวรรค์มี อะไรมีเนี่ย สัมมาทิฐฐินี้ยังมีอาสวะ เอาเหอะแต่มันก็เป็นไปในทางดี ถ้าอาสวะสัมมาทิฐฐิต้องไม่มีอัตตา ต้องไม่มตัวตน ต้องเหนือดี เหนือชั่ว เหนือหมด สูงเกินไปยังไม่พูด นี่เรามักจะพูดกันแต่สัมมาทิฐฐิที่มีอยู่ อาสวะเรียกว่าว่าสาสวะ สัมมาทิฐฐิอย่างเพื่ออยู่ในโลกอย่างดี ยังไม่ใช่สัมมาทิฐฐิที่จะอยู่เหนือโลก พ้นโลก ก็เป็นเรื่องศีลธรรมหล่ะ มันสัมมาสำหรับศีลธรรม มันก็สัมมาสำหรับปรมัตธรรม ถ้าสอนเรื่องดี ดี ดี ก็ระวังตัวให้ดี พูดให้ดีๆ ถูกต้องในขอบเขต ในขอบเขต อย่าบ้าดี อย่าเมาดี อย่าหลงดี คำนี้สำคัญที่สุด จะเรียกว่าเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาก็ได้ คือความถูกต้อง ความถูกต้อง เรียกว่าสัมมา หรือสัมมัตตะ ต้องสอนกันให้ดีๆ ถ้าไม่มีถูกต้องเรื่องนี้ก็ไม่มีชีวิตใหม่หรอก มันก็จมอยู่ในดี ในชั่ว ในบุญ ในบาป ในไอ้ของที่มันไม่สิ้นสุดแห่งความทุกข์นั่นแหล่ะ ก็ไม่อริยะ ถ้าสัมมาทิฐฐิในอถังทิคมรรค (นาทีที่ 01:16:32) ต้องอธิบายอย่างนี้ มันเหนือดี เหนือชั่ว ไม่มีตัว ไม่มีตน ถ้าสัมมาทิฐฐิอย่างสอนชาวบ้านให้ทำดี ให้มีโลกหน้า โลกนี้เนี่ย มันไม่ใช่สัมมาทิฐฐิในอริยสัจ ไม่ใช่อถังทิคมรรคของอริยสัจ (นาทีที่ 01:16:48) มันเป็นธรรมะชั้นพิเศษน่ะ เกินชั้นนักธรรมเอกที่เราจะต้องเรียนกันต่อไป โดยเฉพาะในมหาวิทยาลัย ที่เรียนมาแล้วให้ละเอียด ให้ปรานีต ให้แยบคายถูกต้อง แล้วก็อีกทีหนึ่ง ใช่ที่สอนกันเนี่ยอย่างนักธรรมเอกในโรงเรียนสอนนักธรรมน่ะ มันไม่พอ มันปนกันยุ่งแล้วก็บางทีมันก็ผิดเสียด้วย มันก็น่า น่าเห็นใจอยู่หรอก เพราะแม้ว่าพระไตรภิฎกเองเนี่ยก็มีไขว้เขว มีไขว้เขวทีที่ทำให้เกิดแบบนี้ ตัวอย่างคำว่า “ชาติ” เป็นตัวทุกข์ก็ได้ เป็นเหตุแห่งทุกข์ก็ได้ โดยเฉพาะเรื่องนิพพาน เรื่องนิพพาน สอนเป็นเรื่องตายแล้ว ตายแล้วจึงจะได้ด้วยกันทั้งนั้น ครูนักธรรมมักจะสอนอย่างนี้น่ะ นิพพานที่นี่โดยไม่ต้องตายแล้วก็ได้ก่อนตายเนี่ยไม่เคยสอนกันหรอก แล้วมันก็สอนกันเรื่องนิพพานสอง นิพพานสองน่ะ ผิดผิดอย่างยิ่ง มันผิดต่อของเดิมและก็น่าเห็นใจ อิติพุทากะสูตรนี้ (นาทีที่ 01:18:08) ตอนต้นๆ ที่เป็นคำร้อยแก้ว มันสอนอย่างนี้ แต่พอคำต่อท้ายเป็นคาถาบ้าบออะไรไม่รู้มัน กลายเป็นเรื่องตายกับเป็นเรื่องตายแล้ว งั้นก็จะพึ่งพระไตรภิฎกตามตัวหนังสือก็คงจะลำบากเหมือนกัน ต้องอาศัยหลักกาลามสูตร หลักมหาปเทศน์4 (นาทีที่ 01:18:36) ในปรินิพพานสูตร สุตันตะมหาปเทศน์น่ะ (นาทีที่ 01:18:41) มาช่วยหล่ะก็ได้ มหาปเทศน์มีสองชนิดน่ะ อย่างวินัยก็มี อย่างสุตันตระก็มีน่ะ ไปดูในมหาปรินิพพานสูตรจะพบมหาปเทศน์อีกแบบหนึ่ง ใช้เป็นเครื่องกลั่นกรองได้ดีที่สุด นิพพานสองไม่ตาย ไม่เกี่ยวกับตายน่ะ นิพพานสะอุปานิเสสะ (นาทีที่ 01:19:11) ยังมีความรู้สึกเหลืออยู่เป็นบวกเป็นลบ แต่ไม่ปรุงอะไรว่า กัสสมาจะกาพิกะเวสะอุปานิเสสานิพานะธาตุ (นาทีที่ 01:19:24) นิพพานที่เป็นอุปทานิเสกเป็นอย่างไร (นาทีที่ 01:19:29) นี่ถ้าเป็นอุปเวภิกขุ อรหังสีนาขโว พุทสิตวา กัตตกริโย โอหิตตะปาโร อนุปัตตะสัตทัตโธ บริขีนสัพพปัญโย ธัมมะธันยาวิมุตโต… (นาทีที่ 01:19:55) เป็นพระอรหันต์แล้วก็ทำกิจเสร็จแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว ลงของหนักลงได้แล้ว มีประโยชน์ตนอันได้บรรลุแล้ว มีอาสวะ ปริขีนะ ปวะชโยชันโน (นาทีที่ 01:20:13) มีสังโยชในภพสิ้นสุดแล้ว ธรรมสัญญาวิมุตโต (นาทีที่ 01:20:19) หลุดพ้นแล้วด้วยปัญญา มีสัมมาอันแล้วโดยชอบ จิตถันเตวะภิขเว ตัสสะติกขันเตนะภิกขะเว (นาทีที่ 1:20:37) แปลว่ายังตั้งอยู่ ยังเหลืออยู่ ปัจจินทาริยานิ อินทรีย์ 5 (นาทีที่ 01:20:44) ยันติถันเตนะภิกขะเว เขาจึงมานาปามานาปัง ปัจจานุโพติ ยังรู้สึก มานาปะ มานาปะ สุขะทุกขัง ปันนิสสังเวเทเตติ (นาทีที่ 01:21:25) รู้สึกสุขและทุกข์อยู่ ทีนี้ก็ ถีนาหล่ะ ราภัคคะโย โทสะคะโย โมหะคะโย ของภิกษุนั้นมีอยู่นั้นหล่ะคือสัตอุปปาทาภิเษก… (นาทีที่ 01:21:36) อินทรีย์ไม่ถูกกำจัด เอถันเต… (นาทีที่ 01:21:44) มันไม่ถูกจำกัด กำจัด อินทรีย์มันยังอยู่มันก็รู้สึกพอใจ ไม่พอใจ มานาปามานาปังสุขะทุกขัง ยังรู้สึกเป็นบวกเป็นลบอยู่ แต่ว่าไม่ปรุงให้เป็นตัวตนหรืออะไรได้ อุปปานิเสสะ กัตตมาจะภิกขเว อานิภิกขเว อนุปานิเสสา นิพพานะธาตุ (นาทีที่ 01:22:29) เป็นอย่างไร อิถถังภิกขเวภิกขุ อรหันถีนาสโวอีกแหล่ะ (นาทีที่ 01:22:15) มันควนจะท่องจำให้แม่น อรหังขีนาสโว อูสิตวา กัตตะการะนีโย โอหิตะภาโร อนุปัตตะสัตทัตโธ ปริขีนะ ภวะสัญโญชโน สัมมะธัญญาชโน (นาทีที่ 01:22:37) มัน 8 คำที่สำคัญ ที่ควรจะจำให้แม่น ให้แม่นยำ มาสวด มาท่องกันให้ดีๆ น่ะ เป็นอย่างนี้แล้ว ตัสสะอิทเทวะภิกขเว อิทเทวะ อิทเทวะ (นาทีที่ 01:22:58) ในชีพ ในชีวิตนี้ หรือในปัจจุบันนี้สัพพะเวชยัตตานิ (นาทีที่ 01:23:03) เวทนาทั้งหลายของเขา อันนัพพินันทิตานิ (นาทีที่ 01:23:12) อันภิกษุนั้นไม่เพลิดเพลินเฉพาะแล้ว สีติภวิสันติ จะดับเย็นเป็นแน่นอน ดับเย็นเป็นแน่นอน อยังนุสติภิกขเว อนุปานิเสสา อนุปานธาตุ อิเทวะ ที่นี่ (นาทีที่ 01:23:21) ไม่มีทางแปลอย่างอื่น ปัสสะอิทเทนภิกขเว ของภิกษุนั้นในที่นี้ ในปัจจุบันนี้ ในวันนี้ ในชีวิตนี้ เสตทนาสักกาเย็นสนิท นี่เพราะว่าเขาไม่หมายมั่น อนัตทินันทิตานี่คือไม่หมายมั่น ไม่เพลิดเพลิน ไม่หมายมั่น อย่างบวกหรืออย่างลบ ก็แปลว่าไม่เกิดเวทนาบวก ไม่เกิดเวทนาลบ และที่นี่ในชีวิตนี้ อิเทนะภิกขเว ให้ไปค้นเถอะมันจะแปลว่าอิทถะอย่างนี้ว่าอย่างไร อย่างอื่นมันไม่มีทางหรอกนอกจากแปลว่า ในชีวิตนี้หล่ะ เนี่ยนิพพานที่หนึ่งสอุปปาทิเศษ ยังรู้สึกถึงความเป็นบวกและความเป็นลบ แต่ไม่มีอิทธิพลปรุงแต่งอัตตา ส่วนนิพพานอนุปานิเทศะที่สองคือไม่เป็นบวก ไม่เป็นลบ ไม่อาจจะมีความรู้สึกว่าเป็นบวก เป็นลบ เนี่ยไม่ต้องตายแล้ว ไม่ต้องต่อตายแล้ว ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ในอัตภาพนี้ อิตเถวะนี้ ขอให้สนใจพิเศษถือเอาความหมายให้ถูกต้อง แต่พอคาถาตอนท้ายแต่งเป็นคาถาต่อท้ายนี้ นี่มันก็กลายเป็นเรื่องตายแล้ว ก่อนตายไปซะแล้ว เจตนาของปลอม ของใหม่ ของเพิ่มเข้าไปทีหลัง นี่จะประนามอย่างนี้แหล่ะ ในสูตรเดียวกัน คำร้อยแก้วข้างบนตามพระพุทธภาษิต คำร้อยกรองข้างล่าวน่ะเป็นใครแต่งร้อยกรองเติมเข้าไปก็ไม่รู้ แต่หนังสือวิสุทธิมรรคก็เอาตามคาถาข้างล่าง เอามาสอน ในโรงเรียนนักธรรมก็เอาตามในวิสุทธิมรรค มันก็ยุ่งกันละสิ เป็นเหตุให้เข้าใจว่าต้องตายแล้วจึงจะได้นิพพาน มันผิดกันเท่าไร เนี่ยขอให้เป็นผู้มาความคิดอิสระ ตามกาลามสูตรว่า มปิตตกะสัมมาเทเนนะ (นาทีที่ 01:25:31) กาลามสูตรน่ะ อย่าเชื่อถือว่ามันมีที่อ้างอยู่ในพระไตรภิฎก เช่นอย่างนี้เป็นต้น ถ้าเอาตามพระไตรภิฎกก็เอาที่มันถูกต้องสิ ตอนบนสิ ตอนล่าง คาถาตอนล่างนั่นมันไม่ถูกนี่ ถ้าถือเอาตามนี้มันก็ได้แหล่ะ การถือเอาตามพระไตรภิฎกก็ต้องระวังอย่างนี้แหล่ะ ผมประสบปัญหาอย่างนี้มามากมายเหลือเกิน มันเวียนหัว มันกล่าวขัดกันเองอยู่อย่างนี้ และในที่สุดต้องสัมมา สัมมาให้มันถูกต้อง อย่างไหนมันถูกต้อง มันทนต่อการพิสูจน์ มันเป็นไปเพื่อดับทุกข์ เรื่องกาลามสูตรขอให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ มันจะป้องกันไม่ให้หลงในสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา พุทธศาสนาเดิมแท้เป็นอย่างไร ต่อมาอีกหลายร้อยปีพันปีก็เพิ่มเติมอะไรเข้าไป และบัดนี้ปัจจุบันนี้ยังมีอธิบายแปลกออกไป ต่างออกไปถ้ามันไม่ถูกต้องต่อการดับทุกข์ ปราศจากข้าศึกแล้วมันไม่ใช่หรอก มันไม่ใช่หรอก ไม่ใช่พระพุทธภาษิต ไม่ใช่อริยสัจ ไม่ใช่อริยมรรค ขอให้มันถูกต้อง ถูกต้อง นี่เรื่องเกี่ยวกับคำว่า สัมมา สัมมา
ทีนี้ก็อยากจะพูดถึงเรื่อง กิเลส ตัณหา อวิชชา มันสร้างความไม่ถูกต้องขึ้นมา โดยไม่รู้สึกตัว มันอยากดีอยากเด่นอยากอะไรเกินไป มันก็เพิ่มเติมในส่วนนั้น ทำให้มันยุ่งไปหมด แล้วมันก็ใช้ไอ้เครื่องมือที่มันมีอยู่ไมถูกต้อง เพราะว่ามันถูกใช้โดยกิเลส ตัณหา โดยอวิชชาเนี่ย เครื่องมือในที่นี้ โดยกลางๆ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ถ้าใช้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจอย่างสัมมา ไม่เกิดเรื่อง ไม่เกิดปัญหา เดี๋ยวนี้มันไปใช้ด้วยกิเลส ด้วยอวิชชา ด้วยตัณหาไปเสีย มันก็ใช้ผิดน่ะ มันจะเป็นคำโสกกระโดกหยาบคายแต่ก็อยากจะพูดว่า เช่นว่าจมูก จมูกเนี่ย มันไว้หายใจ มันไว้สูดออกซิเจนที่จำเป็นอย่างยิ่ง ถ้าจมูกไม่หายใจ ไม่สูดออกซิเจน มันก็คือตาย เดี๋ยวนี้คนที่มีอวิชชามันใช้จมูกเป็นเครื่องดูดฝุ่น ไปดูดฝุ่นตามหน้าคนนั้น และเผลอก็ไปดูดตามซอกสกปรกนั่น มันถูกใช้มันไม่สัมมา มันไม่สัมมาเนี่ย จมูกกลายเป็นเครื่องดูดฝุ่น มันเหลือประมาณแล้ว ไอ้ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจก็เหมือนกันแหล่ะ ใช้ให้มันสัมา สัมมาเถอะ และมันก็พิสูจน์อยู่ในตัวเองแหล่ะ เพราะถ้ามันเกิดปัญหา ไม่ไหวแล้ว ไม่อริยะ ไม่อริยะ ถ้ามันเป็นเรื่องของกิเลส ตัณหา มันก็ไม่มีที่สิ้นสุดหรอก แม้แต่เรื่องของปัญญา ปัญญา เดี๋ยวนี้มีปัญหามากที่ว่า มีคำว่า ปรัชญายุ่งเหยิง ฝรั่งเขามีคำว่า Philosophy ในประเทศไทยไม่รู้จะแปลว่าอะไร เอาไปแปลว่าปรัชญาเข้า นี่ไม่ได้จะพูดดูถูก ดูหมิ่นผู้แปลน่ะ แต่ว่ามันสร้างปัญหาอย่างยิ่ง ขอให้รู้ไว้เถอะว่าปรัชญา ปรัชญาที่เราพูดอยู่ในภาษาไทยเนี่ย มันเกิดเป็นสองชนิดน่ะ ปรัชญา Philosophy หรือปรัชญาที่แท้จริงของความหมายตามภาษาบาลีนี้ Philosophy ไม่ใช่ความจริงอันเด็ดขาด เป็นการคำนวนหาความจริง เพราะฉะนั้น Philosophy ไม่ใช่ปรัชญาในภาษาบาลี หรือสันตสกฤต เพราะปรัชญาในภาษาบาลีหรือสันสกฤตแปลว่าปัญญาที่เด็ดขาด ที่ถูกต้อง เป็นสัมมปัญญา ถึงที่สุด ถูกต้อง ตามที่เป็นจริง ด้วยการกล่าวผ่านทางจิตใจโดยจริง ส่วน Philosophy คือการคำนวน เป็นปัญญาอย่างคำนวน ปรัชญา Philosophy ใช้ไม่ได้หรอกที่จะดับทุกข์น่ะ มันยุ่ง มันมาก มันเกิน มันเฟ้อ ไม่มีจุดจบ ไม่มีทางที่จะมีพบกับความดับทุกข์ มันแข่งกันไปเรื่อย ความทุกข์กับวิธีที่จะดับทุกข์มันไม่มีวันจะพบกัน แต่ถ้าเป็นปรัชญาตามแบบของพระศาสนาเป็นปัญญาแล้วละก็มันดับทุกข์ และเมื่อใช้คำว่าปรัชญาพูดจาน่ะ ระวังให้ดีๆ น่ะ ปรัชญา Philosophy หรือ ปัญญาญานทัศนะ ในพระพุทธศาสนา กระผมเคยคุยกับสัตสวามีสัตตานันท์เมื่อแกยังไม่ตายน่ะ (นาทีที่ 01:31:37) ผมถามว่า Philosophy น่ะคุณแปลว่าอะไร สัตสวามีเขาบอกว่าในอินเดียเขาแปลคำ Philosophy ว่า ทัศนะ ทัศนะไม่มแปลว่าปรัชญาหรอก ถ้าแปลว่าปรัชญาเขาก็โกรธตายล่ะ เพราะมันไปลดค่าของคำว่าปรัชญา Philosophy ไม่ใช่ปรัชญา ในอินเดียบอก โกรธตายเลย ไปแปลอย่างนั้นน่ะ ปรัชญาแปลว่าสูงสุด เด็ดขาด ปารัชในที่นี้แปลว่าสูงสุด Philosophy ของฝรั่งในอินเดียแปลว่า ทัศนะ ทัศนะ หนึ่งๆๆๆๆ ของการเก็งความจริงการคำนวน ในภาษาไทยนี่ลำบากเหลือเกิน นี่ใช้คำว่า ปรัชญานี่เฟ้อกันหมดตามหน้าหนังสือพิมพ์ เป็น Philosophy และก็ไม่ใช่ปรัชญา นั้นขอให้ยึดหลักพุทธศาสนาหรือธรรมะอย่างอินเดีย ว่าปรัชญาแปลว่า ความรู้สูงสุด แก้ปัญหาได้ ดับทุกข์ได้ โดย Philosophy ไม่อาจจะพบกับชีวิตใหม่ โดยปรัชญาที่แท้จริงเราจะพบชีวิตใหม่ จะหยุดเหนือบวก เหนือลบ เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือทุกอย่างที่มันเป็นปัญหา บางทีต้องเขียนวงเล็บ ปรัชญา วงเล็บ Philosophy ปรัชญา ญาณทัศนะอันสูงสุด มันจะได้ไม่เกิดปัญหาขึ้นมา น่าสงสารนักศึกษารุ่นหนุ่ม รุ่นหลังเนี่ยเข้าใจคำว่าปรัชญาผิดไปตามที่ใช้กันอยู่ในภาษาธรรมดา เขาก็คงยุ่งหัว แล้วเขาก็ชอบคำว่า ปรัชญาในคำที่คนในโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งฝรั่งนั้นชอบคำว่า Philosophy บูชาเป็นความรู้สูงสุด เด็ดขาด แต่ถ้าอินเดียแปลว่าทัศนะหนึ่งๆ ผิดกันได้ ทัศนะ ทัศนะ คำนวนตามเหตุผล Reasoning ถ้าปรัชญาญาณทัศนะไม่คำนวนตามเหตุผล เอาตามความจริง ความจริง นั้นจึงไม่มีการคำนวน
นี่หล่ะวันนี้เราก็พูดเรื่องชีวิตใหม่ และก็เหนือบวก เหนือลบอาศัยความจริงอันเด็ดขาดของปัญญา ของญาณทัศนะ ยถาภูตสมมะปัญญา คำสุดท้ายของคุณบทของพระอรหันต์น่ะ ก็มีว่า สัมมธันยา วิมุตโต สัมมธันยาวิมุตโต (นาทีที่ 01:34:47) รู้โดยชอบ หลุดพ้นเพราะรู้โดยชอบ อย่างนี้ก็ใช้ได้แน่นอน เอาหล่ะ และเราก็มายุติในเรื่องของคำว่า อริยะ อริยะ น่ะขอให้มันออกจากข้าศึกหมด ออกจากข้าศึก พรานเบ็ดเป็นอริยะไม่ได้ และคำว่าชีวิตใหม่เนี่ย คือคำว่าอริยะอริยะ มันเป็นอริยะก็คือแปลว่ามีชีวิตใหม่ ถ้าชีวิตใหม่ก็ต้องเหนือบวก เหนือลบ ผมให้พวกฝรั่งเขาท่องคำนี้ไว้ว่า New Life Beyond influence of positivism and negativism ให้เขาท่องประโยคนี้ไว้เถอะ มันจะมี New Life และก็ปฏิบัติให้มันถูกต้อง มันเป็น New way of life คืออถังทิคมรรค และก็อย่าทำกับมันอย่าง Philosophy อย่าทำกับสิ่งเหล่านี้อย่าง Philosophy ให้ทำอย่างยถาภูตสมปัญญา หรือญาณทัศนะ ก็เป็นอันยุติว่าเราจะมี New way of life พบ New Life ซึ่งควรจะใช้เป็นหลักอธิบาย ธรรมะหรือพระพุทธศาสนาในยุคปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับมหาวิทยาลัยเนี่ย ใครเขาบอกหมดเวลาแล้ว ขอยุติการบรรยายวันนี้ไว้เพียงเท่านี้ เรื่องชีวิตใหม่ เรื่องชีวิตใหม่เป็นเรื่องที่สำคัญ มันเป็นปัจจัยที่ 5 ปัจจัยที่ 5 อย่าให้ขาด มันเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงวิญญาณ หล่อเลี้ยงจิตใจ มันจะได้มีชีวิตใหม่ เอาละก็ขอให้ไปพิจารณาโดยหลักกาลามสูตร ไม่ต้องเชื่อ ไม่ต้องเชื่อ ใครจะเชื่อก้ได้ ไม่ต้องเชื่อก็ได้ เอาไปปรับตามหลักกาลามสูตร เอาไปปรับทุกข์ได้ค่อยเชื่อ