แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ท่านสาธุชนผู้สนใจมาร่วมประชุมกันในการล้ออายุทั้งหลาย ในการบรรยายครั้งที่ 2 นี้ อาตมาจะพูดถึงเรื่องที่ติดต่อกันไปในเรื่องแรกเมื่อตอนเช้าได้พูดถึงว่า กายและใจก็ดีไม่ใช่ตัวตน นามรูป แจกเป็นขันธ์5ก็ดี ที่เรียกว่าชีวิตนั้นน่ะมันไม่ใช่ตัวตน และปัญหาคงจะเกิดขึ้นมาว่าแล้วเราจะมีชีวิตกันอย่างไร มีชีวิตชนิดไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เป็นตัวตนกันอย่างไร นี้ต้องขอเรียกว่าปัญหาของคนโง่มันหยาบคายแน่ มันต้องพูดด้วยคำหยาบคาย มันกระทัดรัด มันสั้นดี และมันก็ยังจะมีปัญหาว่า มีคนโง่นั่งอยู่ที่นี่กี่คน ไม่ต้องยกมือ ขอถามว่าปัญหาว่าคนโง่มีอยู่กี่คนที่นั่งอยู่ที่นี่ ไม่รู้ว่าจะดำเนินชีวิตชนิดที่ไม่มีตัวตนนั้นอย่างไร ไม่ต้องยกมือ เดี๋ยวยกมือแล้วผีจะหัวเราะป่าแตกเลย ไม่ต้องยกมือ ไม่ต้องยกมือ ไม่ต้องถาม สมมุติว่ามีคนที่ไม่เข้าใจว่าจะอยู่กันอย่างไร จะมีชีวิตกันอย่างไรในเมื่อมันไม่มีตัวตนจะมีชีวิตกันอย่างไร จะถามตัวเองว่ากูจะมีชีวิตที่ไม่มีตัวตนได้อย่างไร และกูจะมีกำลังอะไรมาผลักไสให้ขยันขันแข็งในการทำงาน กูจะมีชีวิตไปทำไม ถ้าไม่มีตัวกู ไม่มีตัวกูและอะไรล่ะจะมีอายุ จะล้ออายุของอะไร ไม่มีตัวกูแล้วจะปฏิบัติธรรมะไปทำไมกัน ใครเป็นผู้ปฏิบัติและปฏิบัติให้ใคร นี่เรียกว่าปัญหาของคนโง่ ใครจะสมัครเป็นกันบ้าง ทีนี้ก็มาดูถึงข้อที่ว่าพุทธบริษัท เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน และพุทธบริษัทจะเป็นคนโง่ได้อย่างไร ถ้าเขาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน มันก็ปัญหาก็เลยไปจนถึงว่า เดี๋ยวนี้มีพุทธบริษัทกันหรือไม่ บรรดาที่นั่งอยู่ที่นี่ ใครเป็นพุทธบริษัทบ้าง ไม่ต้องยกมือ ไม่ต้องยกมือ ขอให้สนใจ เรื่องที่เป็นหัวใจ หัวใจจริงๆ หัวใจแท้ๆ ของพระพุทธศาสนา อย่างที่กล่าวมาแล้วว่าไม่มีตัวกู ถ้าเกิดตัวกูก็จะเกิดทุกข์ ถ้ามีตัวกูก็จะมีทุกข์ เนี่ยคือเรื่องที่ลึก และก็จะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไรเนี่ย ถ้ามันไม่มีตัวกู เนี่ยคือมันไม่รู้เรื่องชีวิตนั่นเอง ไม่รู้เรื่องนาม เรื่องรูปว่าเป็นอะไร ไม่รู้เรื่องขันธ์ทั้ง 5 ว่าเป็นอะไร ปากก็ท่องไปว่าขันธ์ห้าไม่ใช่ตน เวทนา อนัตตาไม่ใช่ตน ปากก็ท่องไป แต่ใจมันก็ไม่รู้ว่ามันไม่มีตัวตนนั้นอย่างไร ปัญหาที่จะต้องพูด หรือเรื่องที่สอง ขอให้ฟังให้เข้าใจจนตอบปัญหาได้ว่ามันเป็นได้อย่างไรว่ามีชีวิตอยู่โดยว่าต้องเป็นตัวตน ขอบอกอะไรให้เล็กน้อย พิเศษต้องกระซิบบอกว่าเดี๋ยวนี้พวกฝรั่ง แม้แต่ที่เป็นแหม่มสาวๆ เขาฟังถูก เมื่อบอกเขาว่า “You are you which is not a you” เราเป็นเราซึ่งมิใช่เรา ท่านเป็นท่านซึ่งมิใช่ท่าน เขาฟังถูก มิใช่ฟังถูกทุกคนหรอก แต่มีคนฟังถูกที่พูดกับฝรั่งหลายๆครั้ง วันนี้ และพวกเราน่ะฟังถูกหรือยัง ว่าเราเป็นเราซึ่งมิใช่เรา หรือถ้าเราบอกผู้อื่นก็บอกว่า “ท่านเป็นตัวท่านชนิดที่ไม่ใช่ตัวท่าน” เนี่ยคือคำธรรมดา ภาษาธรรมดา มันก็คงจะยากมากทีเดียว ตัวเรามิใช่เราแล้วเราจะอยู่ได้อย่างไร เราต้องสนใจเรื่องกายใจ เรื่องขันธ์ห้ากันให้มากขึ้น เรื่องนี้รู้สึกว่าหน้าเศร้าที่สุดกว่าเรื่องใด ที่พวกเราพุทธบริษัทชาวพุทธเราไม่รู้จักขันธ์ห้า ไม่รู้จักขันธ์ห้า ฟังดูให้ดี ได้แต่ท่องแต่ปาก รูปังอนิจจัง เวทนาอนิจจัง ท่องแต่ปากน่ะขันธ์ห้า แล้วก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ที่เห็นได้ชัดๆ ว่ามีคนถือว่า หากขันธ์ห้ามีอยู่ตลอดเวลา ขันธ์ทั้งห้านะมีอยู่ตลอดเวลา แล้วมีในคราวเดียวกันทั้งห้าขันธ์เสียด้วย นี่ครูบาอาจารย์ที่สอนอย่างนี้ก็มีมาก แม้ในสถานศึกษาก็สอนอย่างนี้ก็มี ขันธ์ห้าเกิดคราวเดียวกันทั้งห้าอย่างนี้ แสดงว่ามันไม่รู้เรื่อง ขันธ์ห้ามิได้มีอยู่คราวเดียวครบทั้งห้า มันก็เกิดทีละขันธ์แล้วมันก็ไม่ได้มีอยู่เป็นการถาวร มันเกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ไอ้ร่างกายนี้มันประกอบอยู่ด้วยระบบประสาทซึ่งมันรู้สึกอะไรได้นี้เป็นส่วนรูป และมันก็ประกอบด้วยจิตใจที่คิดนึกรู้สึกได้ รับรู้ผลที่ระบบประสาทส่งให้ รู้และก็คิดนึกว่าจะทำอย่างไรต่อไป มันจะเข้าใจผิดหรือจะเข้าใจถูกต่อสิ่งเหล่านี้ ก็แล้วแต่ว่าจิตใจนั้นมันโง่ หรือมันฉลาด คือมันมีวิชชาหรืออวิชชา คือขอให้สนใจฟังในส่วนนี้สักนิดนึงเถิดว่าขันธ์ห้า อันนั้นคืออะไร
ขันธ์ห้าในส่วนที่เป็นรูปหรือเป็นส่วนร่างกายนั้น มีหนึ่งขันธ์เรียกว่ารูปขันธ์ ส่วนจิตใจนั้นมีอยู่สี่ขันธ์ คือเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ เมื่อตาซึ่งเป็นรูปขันธ์ภายในถึงกันเข้ากับรูปที่เป็นรูปขันธ์ภายนอก มันก็เกิดสิ่งหนึ่งขึ้นมาเรียกว่า จักษุวิญญาณ (ภาษาบาลี 11.01) นี้เป็นคำบาลีที่เป็นคำที่พระพุทธเจ้าตรัส เมื่อรูปข้างในคือตา และเมื่อรูปข้างนอกคือรูปที่อยู่ข้างนอกคือสิ่งที่ตาเห็นน่ะ มากระทบกันเข้าจึงเกิดจักษุวิญญาณ นี่มันเกิดขันธ์คือรูปขันธ์ขึ้นมาแล้ว นี่คือเกิดวิญญาณขันธ์ขึ้นมาด้วย จุดตั้งต้นของมันเป็นอย่างนี้ อย่าเข้าใจว่ามันเกิดอยู่ตลอดเวลา แม้แต่สิ่งที่เรียกว่ารูปขันธ์ ร่างกาย จิตใจ ระบบประสาทมีอยู่ตลอดเวลา แต่ยังไม่เรียกว่ารูปขันธ์หรอก จนกว่ามันจะทำหน้าที่ เมื่อใดรูปทำหน้าที่เรียกว่ารูปเกิด เมื่อใดที่ตาทำหน้าที่ก็เรียกว่ารูปขันธ์เกิดโดยรูปข้างนอกได้ร่วมกันทำหน้าที่ ก็เรียกว่ารูปขันธ์ข้างนอกมันเกิด ถึงกันสองอย่างนี้แล้วก็เกิดจักษุวิญญาณ หูก็เหมือนกันแหล่ะ เมื่อเสียงกระทบหูก็เกิดโสตวิญญาณ เมื่อกลิ่นกระทบจมูกก็เกิดฆานะวิญญาณ เมื่อลิ้นกระทบกับรสก็เรียกว่าเกิดชิวหาวิญญาณ ผิวกายกระทบในสิ่งที่มากระทบก็เรียกว่าโพธัพพะ มันก็เกิดกายวิญญาณ แล้วแต่กรณีว่ามันจะเกิดวิญญาณไหน นี้จึงเรียกว่าแม้สิ่งที่เรียกว่าวิญญาณก็ไม่ได้เกิดอยู่เป็นประจำ คนพวกหนึ่งเขาสอนว่าวิญญาณเป็นตัวตน เกิดอยู่เป็นประจำ สำหรับจะไปทำหน้าที่รู้สึกทางหู ทางตา ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย อย่างนี้มันไม่ใช่พุทธศาสนา ถ้าอย่างนี้เป็นลัทธิอื่น เป็นศาสนาอื่น เขาว่ามีตัวตน ตามชื่อของเขา จะเรียกว่า อาตมันก็ได้ เจตภูติก็ได้ ชีโวก็ได้ บุคคลก็ได้ บุรุษก็ได้ เพราะฉะนั้นมีเรียกชื่อ หมายถึงอาตมันหรือตัวตน มันมีอยู่ในภายใน ที่หัวใจที่ตรงไหนก็ไม่ได้บอกชัด แต่มันมีอยู่ในร่างกายนี้ พอมีเรื่องเกิดขึ้นทางตา มันก็วิ่งไปทำงานทางตา เห็นรูปทางตา เมื่อเรื่องเกิดขึ้นทางหู มันก็วิ่งไปทำงานทางหู เกิดเรื่องทางจมูกก็วิ่งไปทางที่จมูก และก็กลับมาที่เดิมอย่างนี้ ไม่ใช่พุทธศาสนา อาตมาเคยพบหนังสือเก่าๆ บางเล่มเขียนว่าอย่างนี้และก็อ้างว่าเป็นพุทธศาสนา เป็นหนังสือชนิดที่ไม่มีผู้เขียน ไม่มีใครรับรอง แต่ว่าถึงจะมีใครรับรอง มันก็ไม่ใช่พุทธศาสนานั่นแหล่ะ เนี่ยขอให้ดูตรงข้อที่ว่ารูปเนี่ย เป็นตา เป็นรูปเนี่ย ถ้ามันยังไม่ได้ทำหน้าที่ ยังไม่ได้ทำหน้าที่ก็ยังไม่เรียกว่าตา มันเป็นเพียงธาตุดินน้ำลมไปประกอบขึ้นเป็นก้อนอะไรที่เรียกว่าลูกตา รูปขันธ์ยังไม่เกิดหรอกรูปขันธ์ที่เป็นตา เป็นภายนอกก็เหมือนกัน ถ้ามันไม่ได้มีการกระทบ อายตนะภายในมันยังไม่ได้ทำงาน มันยังไม่ได้ทำหน้าที่ นี้เรียกว่ามันยังไม่เกิด และคนก็ไม่เชื่อ เรามีตาอยู่ตลอดเวลา ไม่ถูกหรอกที่จะพูดว่าเรามีตาอยู่ตลอดเวลา แต่คนเขาต้องรู้สึกอย่างนั้น ว่าเรามีตาที่จะทำหน้าที่ของตาอยู่ตลอดเวลา ไอ้ตาอย่างนั้นยังไม่ใช่ตา ต่อเมื่อเกิดการทำหน้าที่ขึ้นมาไอ้ดวงตาที่มีอยู่ตลอดเวลาจึงจะเรียกว่า ตาเกิด แม้แต่ตาก็เกิดดับเกิดดับไปตามเรื่องของตา เนี่ยรูปขันธ์ภายในก็เกิดเมื่อตาทำหน้าที่ รูปขันธ์ภายในก็เกิดเมื่อหูทำหน้าที่ เมื่อจมูกทำหน้าที่ เมื่อลิ้นทำหน้าที่ เมื่อผิวกายทำหน้าที่ และใจก็เกิด เมื่อใจทำหน้าที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มิได้เกิดอยู่ตลอดเวลา ในตัวอย่างน่ะ ในกรณีของตาน่ะ พูดได้ทีละเรื่องมันก็ได้หกเรื่องน่ะ พูดกันได้ทีละเรื่องน่ะมันก็ได้หกเรื่องน่ะ ตาเห็นรูปเกิดจักษุวิญญาณ เนี่ยวิญญาณเกิดแล้ว วิญญาณก็เพิ่งเกิด ไอ้ตาก็เพิ่งเกิด ไอ้รูปข้างนอกก็เพิ่งเกิด นี่เรียกว่าเกิดรูปขันธ์แล้ว เกิดวิญญาณขันธ์แล้วเนี่ย วิญญาณขันธ์เนี่ยตัวตลก เกิดได้ที หลายแห่ง ซ้ำๆ ซากๆ ไม่เหมือนไอ้สี่ขันธ์นั่นหรอก พอเกิดวิญญาณทางตาให้ ก็เรียกได้ว่าเกิดผัสสะตาข้างในกับรูปข้างนอก กับจักษุวิญญาณ สังคติกัน ที่ถึงกันอยู่ ธีนัง ธรรมนานัง สังคานัง สังคติผัสโส ธรรมะทั้งสามนี้ถึงกันอยู่ เรียกว่าผัสสะ ผัสสะ ผัสสะเกิดแล้ว มันก็รวมกันของสามอย่างนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะนี้ก็แยกได้บางส่วนก็มันประกอบอยู่ด้วยไอ้รูปขันธ์ วิญญาณขันธ์ ทีนี้มันก็เกิดเวทนามันก็มีผัสสะ อันเกิดเวทนา ที่ความรู้สึกที่เป็นบวก หรือความรู้สึกที่เป็นลบ รู้สึกสุขหรือรู้สึกทุกข์ นี่เวทนาขันธ์เกิดแล้ว เวทนาขันธ์เกิดแล้วมันก็จะเกิดสัญญาขันธ์ เกิดจิตส่วนที่รู้ความหมายของเวทนา มโนวิญญาณเนี่ยก็สัมผัสเวทนาทีหนึ่ง มันจึงจะเกิดสัญญา ในเวทนานั้น ในเวทนาที่ดีที่ชั่วที่สุด ที่ทุกข์ เวทนาที่น่ารัก น่าพอใจ สำคัญว่าเวทนานั้นเป็นอย่างไร ตามความรู้สึกของจิตนั้น นี่เรียกว่าสัญญาขันธ์เกิดแล้ว สัญญาขันธ์เกิดแล้วหรือว่าเป็นหญิงหรือว่าเป็นชาย หรือว่าเป็นอะไรทุกอย่างนั่นแหล่ะ สัญญาขันธ์เกิดแล้ว ก็เกิดสังขารขันธ์คือความคิดที่จะทำอย่างไรกับเวทนานั้น ตามอำนาจแห่งสัญญานั้นที่มันปรุงแต่งความคิด สัญญา เวทนา ปรุงแต่งความคิด เป็นสังขารขันธ์ มันก็มีความคิด และตอนนี้มันก็เป็นเรื่องของการกระทำ และเป็นการกระทำของจิตใจอย่างไร รู้สึกอย่างใด จะรู้สึกเป็นตัณหา เป็นอุปทาน เป็นทุกข์อะไรก็เรียกว่าเป็นสังขารขันธ์ ก็ลองคิดดูทีว่าขันธ์ทั้งห้าจะเกิดพร้อมกันได้อย่างไร ถ้ายังไม่มีรูปขันธ์ที่ทำงาน วิญญาณยังเกิดไม่ได้ ทีนี้วิญญาณกับรูปขันธ์ถึงกันอยู่จึงเกิดเวทนาเนี่ย เวทนาไม่ได้เกิดอยู่ก่อน เวทนาเนี่ยเพิ่งเกิดตอนนี้ เวทนาเกิดแล้วมีมโนวิญญาณสัมผัสในเวทนานั้น รู้ความหมาย รู้อะไรๆ ของเวทนานั้น มันก็เกิดสัญญาว่าเป็นอย่างไรเท่านั้น ว่าเป็นอย่างไร แม้แต่มั่นหมายว่าดี ว่าชั่ว ว่าสุข ว่าทุกข์เนี่ยก็เป็นพวกสัญญา แล้วแต่เวทนานั้นจะทำให้เกิดสัญญาอย่างไร สัญญาคำนี้เขาแปลกันว่าจำ ถูกนิดเดียวเขาแปลสัญญาว่าจำ สัญญาก็คือหมายมั่น หมายมั่น แต่ก็อาศัยความจำหมายมั่น เพราะมันเคยประสบอารมณ์อันนี้มาแล้ว เพราะมันจำได้อยู่ก่อนแล้ว เคยเรียกว่าอย่างไร เคยสมมุติเรียกกันว่าอย่างไร ส่วนนั้นมันก็เป็นความจำ แต่ตัวแท้มันเป็นความมั่นหมายที่มั่นหมายไปตามความจำ ฉะนั้นสัญญาอย่าแปลเพียงว่าความจำได้ ต้องแปลว่ามั่นหมาย มั่นหมายว่าเป็นอะไร มั่นหมายว่าอะไร ถ้าเป็นสิ่งใหม่ก็คิดเอาใหม่ ถ้าเป็นสิ่งเก่าก็เป็นความจำที่จำมาแล้ว เนี่ยคือตัวสัญญา สัญญา มากมายหลายร้อยสิบ หลายร้อยอย่างนี่แหล่ะสัญญา เมื่อมั่นหมายมันไม่หยุดแค่เพียงมั่นหมายหรอก มันคิดที่จะทำอะไรไปตามสิ่งนั้นๆ ไปตามความมั่นหมาย เรียกว่าความมั่นหมายก็ปรุงแต่งเกิดความคิด สัญญาปรุงแต่งให้เกิดสังขาร ไอ้การปรุงแต่งทางจิตใจเนี่ย เป็นความคิดนึก เป็นมโนกรรม และก็ทำให้เกิดการกระทำ ทางกาย ทางวาจาออกไป ออกไป ยุ่งกันไปไม่มีที่สิ้นสุด นี่คือขันธ์ห้า ไม่มีความหมายแห่งตัวตน เกิดดับ เกิดดับไปตามลำดับตามหน้าที่การงาน แบบวับไปวับกันอยู่อย่างนั้น ขันธ์ห้ามิใช่ตัวตน หรือวิธีหนึ่งก่อน และก็ขันธ์ห้ามิได้เกิดขึ้นทีเดียวพร้อมกันและอยู่กันพร้อมหน้ากันทั้งขันธ์ห้าได้ อันหนึ่งเกิดส่งเสริมให้เกิดอันหนึ่ง อันนั้นก็ดับไป อันหนึ่งส่งเสริมให้เกิดอันหนึ่ง อันนั้นก็ต่อไป ส่งเสริมให้เกิดกันต่อไป ปรุงแต่งกันต่อไปไม่สามารถจะอยู่คราวเดียวกัน พร้อมหน้ากันทั้งห้าขันธ์ นี้คือความไม่ใช่ตน ไม่มีตัวตน ไม่เป็นตนของสิ่งที่เรียกว่าขันธ์ห้า รูปขันธ์เรียกว่ารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่านาม ไอ้นามรูปก็คือขันธ์ห้านั่นแหล่ะ แต่ว่ามันมารวมกัน มาทำงานด้วยกันมันจึงจะมีเรื่อง ถ้านามกับรูปแยกกัน มันก็เกิดความรู้สึกใดๆ ไม่ได้ ไอ้ตัวรูปหรือร่างกายมันคล้ายกับโรงงาน หรืออ๊อฟฟิศที่ตั้งหรือเปลือกน่ะ หรืออย่างดีก็เหมือนไอ้ตัวไดนาโม เมื่อมีอะไรมาทำให้มันหมุนมันจึงเกิดกระแสไฟฟ้า ถ้ามีอะไรมาทำการปรุงแต่งแล้ว ก็ไอ้รูปขันธ์ที่มันเหมือนกับตัวไดนาโมนั้นก็ผลิตเป็นกระแสไฟมาเป็นสัญญา มาเป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ถ้ามองเห็นชัดมันก็โอ้ สักว่าธรรมชาติ มันประณีต มันเร้นลับ ไม่ได้มีตัวตน มีขันธ์เพียงห้าขันธ์ มิได้มีอีกขันธ์หนึ่ง เป็นขันธ์หก มคนบางพวกเขาเชื่อว่ามีขันธ์หก ซึ่งมิใช่ห้าขันธ์นั้นน่ะ เขาเรียกว่าเป็นพระนิพพาน หรือเป็นอะไรก็ไม่รู้ เป็นอีกขันธ์หนึ่งต่างหาก อย่างนี้เราไม่อาจจะยอมรับ เป็นความคิดเดาเป็นของบุคคลนั้น เอาแต่เพียงแต่ว่ามีขันธ์ห้าขันธ์ เป็นรูปหนึ่งขันธ์ เป็นนามสี่ขันธ์ สัมพันธ์กันอยู่ ปรุงแต่งกันอยู่อย่างนี้เรียกว่าไม่มีตัวตน และมันก็มีชีวิต แปลกประหลาดที่ว่ามันไม่ใช่ตัวตน มันมีชีวิต ที่เป็นรูปก็ทำหน้าที่ของรูป มันมีส่วนสำคัญคือระบบประสาท ระบบประสาททของรูปมันเป็นที่ตั้งแห่งจิตใจ ความคิดนึกที่เป็นส่วนจิตใจ ลำพังรูปขันธ์มันก็มีระบบประสาท และมันก็สามารถที่จะรู้สึกได้ในแง่ของรูป ของฝ่ายรูปขันธ์ มันไม่อาจจะรู้สึกแจ่มแจ้ง จะรู้สึกคิดได้เหมือนจิตใจ แต่มันก็รู้สึกได้ในทางรูป ในทางฝ่ายรูป ดูหญ้าระงับ หญ้ามัยราบนั่นน่ะ มันกางใบ พอใครไปถูกเข้ามันก็หุบได้ นั่นน่ะมันมีลักษณะอย่างนั้นแหล่ะ มันไม่ต้องมีตัวตนเป็นผู้สั่งงาน สั่งการอะไรให้ทำอย่างนั้น ระบบประสาทน่ะมันเป็นตัวหลอกให้เข้าใจว่ามีตัวตน มีตัวตน ยิ่งมีความคิด จิตใจไปเข้าใจผิดว่ามีตัวตน มีอวิชชาเข้าไปประกอบ มันก็ยิ่งเห็นตัวตนใหญ่โตเป็นทีเดียว เมื่อจิตใจ มันสนใจ ไปเห็นความประหลาดมหัศจรรย์ของอะไรก็เข้าใจสิ่งนั้นว่าเป็นตัวตน ฉะนั้นบางเวลาคนโง่ก็เอารูปขันธ์เป็นตัวตน เพราะเขาเพ่งจ้องไปที่รูปขันธ์ เพราะเขารู้สึกนึกได้ ร่างกายทำอะไรได้ ไม่ต้องรู้อะไรมากไปกว่านั้น เอาร่างกายที่เคลื่อนไหวได้ อะไรเนี่ยเป็นรูปขันธ์เป็นตัวตน และถ้าลึกไปกว่านั้น ละเอียดไปกว่านั้น ให้จิตที่รู้สึกเวทนาทุกข์ ไม่ทุกข์ ไม่สุขรู้สึกได้ ให้มันทำหน้าที่รู้สึกอย่างนั้นได้ เราจึงเอาสิ่งนี้เป็นตัวตน ที่บางเวลาเราก็ไปหมายมั่นเป็นสัญญาอย่างนั้น อย่างนี้ ทำไมมันจึงสัญญามั่นหมายเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ได้ ก็เอาสัญญาเป็นตัวตน แต่บางทีก็ไปสนใจตัวที่คิดได้ คิดได้นั่นน่ะ เป็นตัวตน ถ้าไม่เป็นตัวตนมันจะคิดได้อย่างไร ความโง่ข้อนี้ยังเหลืออยู่ เมื่อร้อยกว่าปี สองร้อยกว่าปีมานี้ นักปราชญ์ที่ชื่อเดสกา ฝรั่งเศสนั่นน่ะเขาบัญญัติให้คนเชื่อ (ภาษาต่างประเทศฟังไม่ออกค่ะ 28.19) “ฉันคิดได้ ดังนั้นฉันจึงมีอยู่” คนโง่ก็รับ เชื่อกันเป็นแถว เพราะมันคิดได้ตัวฉันคิดได้ ตัวฉันมีอยู่ เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าหรือผู้รู้สองสามพันปี เขาปฏิเสธกันแล้ว เขาปฏิเสธกันแล้ว เพราะมันคิดได้ เพราะมันเป็นสิ่งที่คิดได้ตามธรรมชาติของสิ่งที่คิดได้ จิตไม่ได้รับเหตุปัจจัยปรุงแต่งกันขึ้นเป็นสังขารขันธ์และมันก็คิดได้ มันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นการปรุงแต่ง เป็นการปรุงแต่งทางเคมี อย่างนั้นเอง หากแต่ว่าเป็นจิต ฝ่ายจิต เป็นเรื่องจิต มันก็ทำหน้าที่คิดนึกได้ก็เข้าใจว่าเป็นตัวตนผู้คิดเอาเป็นตัวตน และมักจะเอาส่วนนี้เป็นตัวตนนี้เป็นสำคัญคือ “ผู้คิด” ได้น่ะ เนี่ยขอให้รู้จักสิ่งที่เป็นมูลฐาน รากฐานที่สั้นที่สุดแห่งสิ่งใดคือขันธ์ 5 ถ้าไม่มีขันธ์ห้าก็เท่ากับไม่มีอะไรในจักรวาลนี้ หรือว่าถ้าไม่มีอะไรทำหน้าที่ให้รู้สึกทาง จมูก ลิ้น กาย ใจ หรือจะเรียกว่าถ้าไม่มีจมูก ลิ้น กาย ใจ มันก็ไม่รู้สึกถึงสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวง ขันธ์ห้านั้นก็ไม่ต้องมี ขันธ์ทั้งห้าก็ไม่ต้องมี ถ้ามันไม่มีจมูก ลิ้น กาย ใจ สัมผัสรู้สึกถึงสิ่งทั้งปวงแล้วมันก็ไม่มีแม้แต่ขันธ์ห้า แล้วมันก็จะไม่มีทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่มีโลก ไม่มีอะไรให้อย่างที่เรารู้สึกว่ามันไม่มีอยู่นี่ เนี่ยมันหลอกเท่าไร มันสัมพันธ์กันหลอกเท่าไร อย่างไรในเรื่องของขันธ์ห้า แต่แล้วมันก็ได้มีมาแล้วเป็นชีวิต จิตใจ โดยที่ยังไม่มีตัวตน มันประณีต ละเอียดลึกซึ้ง จนคนเห็นว่ามีตัวตน เหมือนกับเด็กๆ เปิดฝานาฬิกาพกดูด้านหลัง เห็นมันกระดิกได้ก็นึกว่ามันมีชีวิต มันไม่ต้องมีชีวิตแต่คนก็รู้สึกได้ว่ามันมีชีวิต มันเหมือนกับมันมีชีวิต หรือมันมีชีวิตขึ้นมาจริงๆ เนี่ยเพราะว่าขันธ์ทั้งห้ามันทำหน้าที่ได้อย่างนี้ หรือแม้แต่รูปขันธ์อย่างเดียว มันก็ทำหน้าที่ได้ตามระบบประสาท เนี่ยถูกเห็นเป็นตัวตน โง่มากหน่อยก็เห็นรูป รูปขันธ์ก็เป็นตัวตน ถ้ามันโง่น้อยหน่อย หรือเห็นให้ฉลาดหน่อย ไอ้เวทนา สัญญา สังขาน วิญญาณ เป็นตัวตน ถ้าเห็นว่ามิใช่ตัวตน ก็คือเห็นความจริง และอะไรน่ะเห็น ไม่มีตัวตนอะไรน่ะเห็น มันก็สิ่งสิ่งเดียวที่เรียกว่าจิตนั่นแหล่ะ มันรู้สึก ความรู้สึกนั่นแหล่ะเรียกว่าเห็น มันรู้สึกอย่างไรก็เรียกว่าเห็นอย่างนั้น นี่จิตนี่ไม่มีตัวตน มันเพิ่งเกิดไปอย่างที่ว่ามาแล้ว ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทำหน้าที่เกิดเป็นผัสสะ เกิดเป็น และก็เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ เป็นจิต ที่อยู่อย่างนี้ ทำหน้าที่ต่างๆ กัน ไอ้จิตที่ทำหน้าที่ต่างๆ กันได้ถูกหลงว่าเป็นตัวตน ได้ถูกยึดถือว่าเป็นตัวตน เป็นของๆ ตน เป็นตัวกู ของกู ดังนั้นไอ้ตัวกูก็เป็นของมายาที่สุดเพิ่งเกิด ทุกคราวที่โง่ ที่หลง เอาขันธ์ใด ขันธ์หนึ่งขึ้นมาว่าเป็นตัวตน ในขันธ์ทั้งห้านั้น นี่เรียกว่าตัวกู ตัวที่ยืนอยู่ เป็นตัวปัญหา คือผิดกับผลของจิตที่โง่ จึงทำให้เกิดขันธ์ ที่เรียกว่า สังขารขันธ์ คิดนึกเป็นอย่างนั้น อย่างนี้
เป็นตัวเป็นตนขึ้นมาเลย เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด สำหรับการศึกษาพระพุทธศาสนา คือเรื่องขันธ์ทั้งห้า ขันธ์ทั้งห้า ใครรู้จัก ใครรู้จักแล้ว ใครรู้จักถึงกับว่ามันไม่ใช่ตัวตน มันเป็นเพียงการปรุงแต่งของไอ้ธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ปรุงแต่งขึ้นมาเป็นส่วนรูป รูปภายใน คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ลิ้นกาย รูปภายนอกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏธัพพะ ถ้าไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีความรู้สึกเป็นอะไร เนี่ยการปรุงแต่งนี่แหล่ะเป็นความรู้สึกอย่างนั้น อย่างนี้ขึ้นมา ธาตุทั้งสี่กลายเป็นรูปขันธ์ขึ้นมา ก็เพราะการปรุงแต่ง ธาตุ วิญญาณธาตุกลายเป็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณขึ้นมาก็เพราะอำนาจการปรุงแต่งของสิ่งที่เรียกว่าสังขาร สังขารคืออำนาจการปรุงแต่งนี้ยังมีอยู่เพียงไร มันก็ปรุงแต่งเรื่อยไป ก็นั่นแหล่ะรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณมันก็เกิดเรื่อยไป ทีนี้ปัญหามีอยู่อย่างไร ในกลุ่มห้าส่วนนี้ ที่เรียกว่าชีวิตนี้ ถ้าไอ้ส่วนที่มันเป็นจิตใจ มันประกอบด้วยความโง่คืออวิชชา และมันก็ปรุงแต่งเป็นตัวกู ของกู ยึดมั่นเป็นตัวกู ของกู มันก็ต้องเป็นทุกข์ “ฉันติเทนะ ปะจุปาทานะขันธาทุกขา” ขันทั้งห้าที่ประกอบไปด้วยอุปาทานมันเป็นตัวทุกข์ก็ได้ เรียกเป็นตัวทุกข์ เรียกว่าเป็นที่ตั้งของตัวทุกข์ก็ได้ เป็นตัวเหตุให้เกิดทุกข์ก็ได้ เพราะในนั้นมันมีทั้งขันธทั้งห้า แล้วมันก็มีส่วนที่เป็นอุปาทาน เป็นการปรุงแต่ง นี่มันจึงรุงรังไปหมด เป็นความยึดมั่นถือมั่นที่เป็นตัวตน เกิดขึ้นมาในจิต และจิตมันไม่โง่เพียงเท่านั้น จิตมันมีแต่โง่ต่อไปว่าของตนนี่ การปรุงแต่งยังเลยไปเป็นของตน ปรุงแต่งเป็นตัวตน และปรุงแต่งเป็นของตน ปรุงแต่งเป็นตัวกู และของกู เพราะถ้ามีตัวกู ยืนโรงอยู่ว่าเป็นตัวกู มันก็กวาดต้อนเอาทุกอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวกูนั้นแหล่ะเป็นของกูขึ้นมา เมื่อเป็นบ้านของกู เรือนของกู เงินของกู บุตรภรรยาของกู อะไรก็ของกู โลกนี้มันจะเป็นของกูไปซะด้วยเนี่ย นี่คำว่าของกูของกูเนี่ย เกิดขึ้นแล้ว ขอใช้คำหยาบคายที่สุดหน่อยน่ะเพราะมันจำง่ายดี มันก็หนักกบาลแก่ตัวกูนั่นแหล่ะ ของกูเมื่อมันเกิดขึ้นแล้ว มันก็หนักกบาลแก่ตัวกู นั่นแหล่ะคือความทุกข์ เป็นของหนักนั่นแหล่ะคือตัวความทุกข์ มันจะมีตัวกูอยู่เฉยๆ ไม่ได้หรอก มันก็ต้องมีของกู อะไรเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยก็เป็นของกูไปซะหมด แม้แต่สิ่งที่เกิดขึ้นภายในก็เป็นสุขเป็นทุกข์ไปซะ เป็นของกูไปหมด มันจึงมีของสองอย่างคือตัวกู กับของกู “ตัวกู” เรียกว่า อัตตา “ของกู” เรียกว่า อัตตนียา อัตตนียาตามตัวหนังสือแปลว่า “เนื่องกันอยู่กับอัตตา” อัตตานี่คือตัวตน อัตนียาคือสิ่งที่เนื่องกันอยู่กับตัวตน จิตมันมีอุปาทาน สองอย่างนี้คือตัวตน และก็ของตน มันเลยไม่ว่าง มันเกิดเรื่อยๆ มันเกิดเรื่อยๆ จิตมันจึงไม่ว่างจากอัตตา ไม่ว่างจากอัตตานียา แต่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า “สุญโญ โลโก อัตเตนาวา อัตตานีเยตวา” “สุญโญโลกโก” โลกนี้ว่างจากอัตตา ว่างจากอัตตานียา แต่ใครก็ไม่เชื่อ ที่กำลังโง่ ไม่รู้เรื่องนี้และไม่เคยได้ยินพระพุทธเจ้าตรัสอย่างนี้ ไม่เคยได้ยินได้ฟังคำที่พระอริยเจ้าตรัสอย่างนี้ ที่บอกอย่างนี้ เมื่อโลกนี้มันว่างจากตัวตน มันว่างจากของตน จิตนี้ จิตโง่อย่างนี้มันก็ปรุงอุปาทาน สังขารมันก็ปรุงให้แก่จิตนี้ เป็นความรู้สึกว่าตัวกูของกูอยู่เรื่อยไป นี่มันกัดเจ้าของเอาเป็นตัวตนและก็เป็นภาระหนัก “ภาราหเวปัญจะขันธา” ขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักเน้อ ภาระหาโลจะปุคคะโล (นาทีที่ 38.49) ไอ้บุคคลๆๆ ที่เป็นมายาที่เกิดความรู้สึกว่าบุคคลว่าตัวตนนั่นน่ะมันเป็นผู้แบกของหนักพาไป “ภาราธานังทุกขังโลเก” การแบกถือของหนักเป็นความทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้ท่านได้ยินไว้ ไม่ใช่อาตมาว่า ว่าความทุกข์มันเกิดจากความหนัก ไอ้การถือของหนัก นี่เป็นธรรมที่ลึกมากลึกมากที่สุดเลย การยึดถือเอามาเป็นตัวตน ของตนนั่นแหล่ะเขาเรียกว่า แบกของหนักจะหนักเป็นทุกข์ทั้งนั้นแหล่ะ ความสุขก็หนัก ความทุกข์ก็หนัก ความได้ก็หนัก ความเสียก็หนัก ความแพ้ก็หนัก ความชนะก็หนัก มีเมียก็หนัก มีผัวก็หนัก พูดหยาบคายหน่อย นี่มัน แบกถือของหนักแล้วมันก็เป็นความทุกข์ “ภาระนิเทปัณณังสุขัง” โยนของหนักนี่ทิ้งลงไปเสีย เป็นความสุขคือไม่ทุกข์ “นิขิปิตะวาพารุงพารัง อันนาทิยะ” โยนของหนักทิ้งไปเสียแล้ว ไม่คว้าเอาอันอื่นขึ้นมาเป็นของหนักอีก นี่พระอริยเจ้าโยนของหนักเหล่านี้ทิ้งไปเสียแล้ว และไม่คว้าเอาอะไรมาเป็นของหนักอีก (ฟังไม่ชัดค่ะ นาทีที่ 40.23) ละตัณหาความอยากเนี่ย ที่ให้เกิดอุปทานได้จากมูลเหตุของมัน ดับ เย็น สนิท อยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ เมื่อใดโดยนของหนักทิ้งลงไปเสียได้ มันก็ดับเย็นสนิทอยู่ที่นี่และเดี๋ยวนี้ ถ้าไม่หมดกิเลสชั่วคราว มันก็เป็นนิพุติ นิพุติ ที่ควรจะต้องการกันทั่วไป ถ้ามันละได้หมดโดยประการทั้งปวงมันก็เป็น “นิพพาน” ถ้าเป็นอย่างชั่วคราวก็เป็น “นิพุติ” ถ้าเป็นอย่างถาวรก็เป็น “นิพพาน” นี่ นิพพานอยู่ที่ไหน? นิพพานอยู่ที่โยนตัวกู ของกูทิ้งออกไปเสียให้หมด แต่ถ้ายังไปจับเอามา ไปถืออันอื่นเอามาก็เป็นชั่วคราว ทิ้งเลยก็เป็นนิพพาน เนี่ย นิพพานคือการไม่ต้องมีตัวกู ไม่ต้องรู้สึกว่ามีตัวตนของตนอยู่ในจิตใจ และมันก็อยู่ที่ขันธ์ห้าแหล่ะ เอาขันธ์ห้ามาเป็นตัวตนเมื่อไหร่ก็เป็นทุกข์เมื่อนั้น เหมือนที่พูดแล้วตอนเช้ามันมีนิดเดียว ประโยคเดียว ถ้ามีตัวกูก็จะเกิดทุกข์ ถ้าไม่มีตัวกูก็ไม่เกิดทุกข์มันก็มีนิดเดียวเท่านี้ หัวใจแท้ๆ มีเท่านี้แหล่ะ จะมาดูธรรมชาติสามัญของสัตว์ทั้งหลาย สัตว์ที่เรียกว่าโดยสมมุติน่ะมันไม่มีหรอก มันก็มีกลุ่มแห่งนามรูป หรือกลุ่มแห่งนามทั้งห้า ทำอะไรกันอยู่ประกอบกันอยู่ก็เรียกว่าสัตว์ เรียกดีกว่านั้นก็เรียกว่า “ชีวิต” ในตัวสัตว์ในตัวชีวิตมันก็ไม่มีอะไรนอกไปจากขันธ์ห้า แล้วขันธ์ที่เป็นตัวโง่ เป็นตัวบรมโง่มันก็มีอยู่ และก็เอาสิ่งต่างๆ มาเป็นตัวตนก็ได้ ของตนเป็นของหนักอยู่ตลอดเวลา ชีวิตนี้จึงเป็นของหนัก หนักกันจนชิน จนไม่ค่อยจะรู้สึก แต่ทีนี้ต้องขอให้ดูแล้ว ถ้าให้ดูแล้วดูไม่เห็น ก็ต้องเป็นคนโง่แล้ว ถ้าเป็นคนโง่แล้วแล้วเราก็ต้องไม่รู้ว่าเรามีชีวิตอยู่อย่างไรที่ไม่มีตัวตน เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไรกับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน หรือไม่มีตัวตน เราจะมีชีวิตอยู่ได้อย่างไร กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คำว่า “เรา” ๆ ในที่นี้ก็ไม่มีหรอก แต่ที่มันต้องพูดว่า “เรา” ก็เพราะว่ามิฉะนั้นท่านทั้งหลายก็ฟังไม่ถูก ไอ้ “เรา”ๆ เนี่ยคือ “จิต” ที่ระลึกคิดนึกรู้สึกได้ เรารู้สึกว่าเป็นตัวเรานั่นแหล่ะ ชีวิตเป็นตัวเรา เอาการงานเป็นตัวเราก็ได้ นี้เราก็ไม่รู้จะมีชีวิตกันอย่างไรจึง จะไม่เป็นทุกข์ในเมื่อสิ่งทั้งปวงมันมิใช่ตัวตน พูดให้ดีกว่านั้นก็คือจิตนี้มันโง่มันไม่รู้จะวางไว้อย่างไร จะคิดนึกอย่างไร จึงจะไม่มีความทุกข์ เอาเป็นว่าตัวตนนั้นเป็นมายา เป็นผีที่อวิชชาปลุกขึ้นมาเป็นคราวๆ ตามกรณีแล้วแต่ผีจะมาเป็นชั่วคราว มันก็ถูกปลุกขึ้นมาเป็นคราวๆ จิตอย่างนั้น จิตอย่างนี้ จิตอย่างโน้น ไม่มีอะไรมากไปกว่านั้น ตัวจริงไม่มี จิตที่เป็นตัวจริงก็ไม่มี มีแต่การปรุงแต่งของขันธ์ทั้งห้า มาเป็นจิตอย่างนั้น มาเป็นจิตอย่างนี้เรื่อยไป จิตนั้นแหล่ะมันไม่มีความรู้ มีแต่ความโง่ มันก็ทำผิดๆ ไปยึดถือกับขันธ์ทั้งห้านั้นก็คือตัวกูของมันเอง แล้วแต่ว่ากำลังมีขันธ์ไหนปรากฏอยู่ นี้เรียกว่ามันแบกของหนัก ไม่อาจจะแบกทีเดียวทั้งห้าได้ แต่ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่าขันธ์ทั้งห้าเป็นของหนักก็เพราะว่ามันหนักทั้งห้าแหล่ะ ทั้งห้า อันไหนก็ได้พอมันไปยึดถือก็เป็นของหนัก นี่เรื่องขันธ์ห้าโดยสังเขป โดยย่อและโดยสังเขปมันเป็นอย่างนี้ โดยละเอียดก็พูดกันหลายชั่วโมงแหล่ะ ถ้าเพียงเท่านี้ก็พอสังเขปว่าขันธ์ห้าคืออย่างไร นี้ต้องรู้จักขันธ์ห้าว่าเป็นมารยาไม่มีตัวจริง เป็นเพียงความโง่ปรุงแต่งขึ้นมาในจิตใจ ว่ามันเป็นตัวตนเป็นตัวตน และถึงแม้ว่าจิตจะไม่โง่ ไม่เอามาเป็นตัวตนมันก็เกิดอยู่ตามธรรมชาติ นี้เรียกว่าตามธรรมชาติมันก็เกิดอยู่เป็นขันธ์ห้าล้วนๆ ตามวิธีที่กล่าวมาแล้วเป็นขันธ์ห้าล้วนๆ เป็นขันธ์ห้า แต่แล้วไอ้ขันธ์ห้านั้นน่ะก็ถูกจิตโง่ ยึดถือเอาเป็นตัวตน ขันธ์ห้าล้วนๆ ก็เปลี่ยนชื่อใหม่ เป็นอุปาทานขันธ์ห้า ขันธ์ห้าล้วนๆ น่ะไม่เป็นไร มันไม่กัดเจ้าของหรอก แต่อุปาทานขันธ์ห้าน่ะมันกัดเจ้าของ สังกิจเจน่ะ ปัญจุปาทานะขันธ์ คะทาทุกขา (นาทีที่ 46.32) โดยสรุปย่อแล้ว เบญจขันธ์ที่มีตัวอุปาทานนั่นแหล่ะเป็นตัวความทุกข์ เป็นที่ตั้งของความทุกข์ เป็นตัวความทุกข์ เป็นเหตุให้เกิดความรู้สึกทุกข์ได้ทั้งนั้น อันนี้คือเรื่องขันธ์ห้า อ้าวทีนี้มันไม่มีตัวเรา มันมีแต่ขันธ์ห้า มันมีแต่จิตที่คิดว่าตัวเรา มันก็เป็นปัญหาว่ามันไม่มีตัวเรา มีแต่จิตโง่ๆ หรือว่าฉลาดบ้างบางครั้ง แล้วมันจะทำอย่างไรที่จะให้เป็นจิตที่ฉลาดขึ้นมาได้อย่างไร จิตนี้เป็นของหนักที่สุดที่ว่าไอ้จิตที่โง่ บรมโง่น่ะมันต้องช่วยตัวเอง คิดดูว่ามันยากเท่าไหร่ ในจิตโง่ที่มีอุปาทานว่าตัวกู ว่าของกู ช่วยตัวเองให้ออกจากทุกข์นี่คือความยากลำบากของพรมจรรย์เนี่ยมันอยู่ตรงนี้ มันจะให้จิตโง่มาเป็นจิตฉลาดรู้จักสิ่งที่มันยึดถือว่าไม่ใช่ตัวตนแล้วปล่อยวางเสีย คำพูดที่ว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนั้นน่ะ มันมีความหมายลึกอย่างนี้ ตัวตนแท้จริงมิได้มี มีแต่ตัวตนของความโง่ และมันก็ยังมีหน้าที่เป็นที่พึ่งแก่ตัวตนอีก ทำหน้าที่เป็นที่พึ่งแก่ตัวตนอีก มันยากเหลือประมาณ ให้จิตโง่ที่มันมีตัวตนนั้นน่ะ ใช้ตัวตนโง่ทำที่พึ่งให้แก่ตน มันคล้ายกับเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ถ้าเป็นไปได้ก็ยากยิ่ง ยากเหลือประมาณ เนี่ยมันโง่เหมือนอย่างที่พูดเมื่อตอนเช้าว่า เมื่อเด็กทารกมันทิ้งพ่อแม่หนีตามโจรไปเป็นโจร ไปโง่ๆๆ ด้วยกิเลส ด้วยตัณหา ด้วยความทุกข์ทรมาน กว่ามันจะรู้จักเข็ดหลาบ รู้จักเจ็บปวด มันจึงเป็นหนี้โจร ทิ้งโจร มาหาพ่อแม่กันใหม่ ถ้าเก่งกว่านั้นมันก็ฆ่าโจรเสียด้วยก็ได้ เนี่ยจะให้ขันธ์ห้ามันช่วยตัวเองหรือจะให้จิตมันช่วยตัวเองเนี่ย จิตโง่ช่วยตัวเองเนี่ยมันลำบาก ขณะนี้ที่ว่าตนพึ่งตนนั้นน่ะ มันใช้จิตโง่ช่วยตัวเอง ไม่ได้มีความหมายเพียงตื้นๆ ว่าเราต้องช่วยตัวเอง จริงเหมือนกันน่ะต้องทำเอง คนอื่นมาช่วยไม่ได้ แต่มันยากขึ้นไปกว่านั้นที่จะให้จิตโง่มันช่วยตัวเอง ให้เปลื้องตัวเองออกมาซะจากความโง่ อะไรจะยากกว่านี้ จะมีอะไรที่มันยากลำบากกว่านี้ ที่จะให้จิตโง่ ปลดเปลื้องตัวเองออกมาจากความโง่ นั่นแหล่ะความยากลำบากของการบรรลุมรรคผลอยู่ที่นั่น บรรลุมรรคผลกันไม่ได้เพราะว่าจิตโง่มันไม่สามารถผลัดเปลี่ยนเป็นจิตฉลาด ต้องมีเหตุปัจจัยที่ถูกต้องเหลือหลายแวดล้อมปรุงแต่งจิตโง่ ให้ละจากความโง่ ละจากอวิชชามาเป็นจิตที่ฉลาด รู้จักตัวเอง แล้วเลิกยึดถือตัวกู ให้ยึดถือตัวกูว่าเป็นตัวกูว่าไม่มีตัวกู ว่าเป็นจิตสะอาด เป็นจิตหลุดพ้นจากความโง่ ซึ่งเป็นเหมือนกับโซ่ตรวนจองจำเอาไว้ จิตหลุดพ้นจากความโง่ของจิตเอง นั้นเรียกว่า วิมุติ ความหลุดพ้น มันอยู่ที่ตรงนี้ เมื่อใดจิตโง่มันหลุดพ้นแล้วจากความโง่ มันหลุดพ้น แล้วมันก็ไม่มีอะไรยึดติด มันรวมอยู่กับขันธ์ห้า จิตที่รวมอยู่ในสังขาระขันธ์ก็ไปรวมอยู่กับตัวเอง ขังคุกตัวเองอยู่ในนั้น แล้วมันจะทำให้ตัวเองหลุดพ้นได้อย่างไร มันว่างสักเท่าไหร นี่เรื่องขันธ์ห้า ขันธ์ห้าถูกยึดถือเป็นตัวตนเป็นจิตโง่ แล้วมันไม่ยอมวาง มันไม่ยอมปล่อย เพราะความโง่มันเหลือประมาณด้วยความโง่ของอวิชชามหาศาล ทำให้เกิดอุปาทานยึดไปหมด แล้วมันโง่ถึงขนาดว่ามันยึดทั้งหมดน่ะ ในแง่บวกมันก็ลบยึดเป็นตัวกูของกู ในแง่ลบมันก็ยึดเอาเป็นข้าศึกของกู นอนไม่หลับ เพราะกูมีข้าศึกศัตรู นี่หล่ะมันยึดทั้งสุขและทั้งทุกข์ ทางสุขมันก็ยึดว่าจะเอาจะมีจะยึดครอง ไอ้ทุกข์มันก็ยึดอยู่ว่าจะเอาเป็นศัตรูที่จะต้อง กลัวจะต้องระแวง จะต้องคิดฆ่า คิดทำลาย ชีวิตมันก็อยู่ในความกลัว เข้าอุปาทานของจิตโง่ และทีนี้มันจะเหลืออะไรหล่ะ ฝ่ายบวกก็ยึดถือเป็นศัตรู ฝ่ายลบก็ยึดถือเป็นศัตรู เนี่ยขอพูดให้มันน่าตกใจว่าฝ่ายกุศลมันก็ยึดเอาเป็นของหนัก ฝ่ายอกุศลมันก็ยึดเอาเป็นของหนัก ต้องเหนือกุศล ต้องเหนืออกุศลจึงจะไม่ทุกข์ ไม่หนัก แต่คนมันก็บ้าบุญเมาบุญ บ้ากุศลหลงกุศลทำอะไรมันก็จะเป็นกุศล ฝากตัวไว้กับกุศล มันก็ยิ่งยึดหนักเข้าไปอีก ต้องใช้คำว่า “สมน้ำหน้ามัน” อาตมาก็รู้สึกแล้วว่าเป็นคนพูดหยาบคายมากขึ้นทุกที แต่ว่าประโยชน์มันมี คือมันพูดได้ชัดและสั้นๆ เสียเวลาน้อย ขออภัยเถิดที่ต้องพูดคำหยาบ มันมีความจำเป็นมันบังคับอยู่อย่างนี้ เอาแหล่ะพูดเรื่องขันธ์ห้า มันมีอยู่อย่างนี้ คิดรวมอยู่ในนั้น จิตมันทำตัวรวมเป็นเจ้าของขันธ์ห้า เอาขันธ์ห้าเป็นของกู คือของจิตนั่นแหล่ะ และก็มันสร้างนรก สร้างโซ่ สร้วงตวนอะไร ใส่ตัวมันเอง ผูกมัดตัวมันเองและมันจะหลุดมาจากโซ่ตรวนของความโง่นี่ได้อย่างไร เนี่ยคือปัญหา ถ้าท่านตอบคำถามนี้ได้ ท่านก็จะตอบปัญหานี้ได้ว่าเราจะมีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งที่มิใช่ตัวตนได้อย่างไร เราจะมีชีวิตอยู่ด้วยสิ่งทั้งปวงที่ไม่ใช่ตัวตนได้อย่างไร ท่านจะตอบได้ทันทีถ้าท่านรู้เรื่องขันธ์ห้านี้ถูกต้องตามที่เป็นจริงอย่างนี้ โง่มาเท่าไร โง่มาจนบัดนี้ ไม่รู้เรื่องขันธ์ห้า ไม่รู้เรื่องจิตที่โง่ ไม่รู้เรื่องอิทธิพลที่จิตโง่มันสร้างขึ้นมา คือตัวกู และของกู ชีวิตนี้จึงเต็มไปด้วยความโง่ โดยที่จิตมันเป็นตัวการ เป็นเจ้าของเรื่องคือมันรวมอยู่ในนั้น ฉะนั้นชีวิตนี้ น่ารักไหม น่าเกลียดไหม น่าล้อไหม น่าเลิกไหม น่าเลิกกันซะดีมั้ย ให้มันเลิกยึดถือว่าเป็นตัวกู ของกู เนี่ยมันชวนให้ล้อชีวิตก็เพื่อว่าอย่าให้จิตมันหลอกได้ เรารู้เท่าทันเราก็ล้อมันหายหลังกลับไป นี้เรียกว่า “ล้อ” นี่อย่างไรเรียกว่าเลิก เลิกยุ่งเกี่ยว เลิกเกี่ยวข้อง เลิกยึดถือหมายมั่นว่าเป็นตัวกู ของกู เนี่ย เลิกอายุ ล้ออายุ เลิกอายุต่อไปนี้เป็นอย่างไร ก็อยู่เหนือความมีอายุ ไม่มีปัญหาอายุ ไม่มีอายุ ไม่มีปัญหา ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอายุแต่ประการใด เลิกอายุเสียได้ก็เป็นอย่างนี้ ไม่ใช่เลิกอายุแล้วก็จะตาย พอได้ยินว่าเลิกอายุ คนโง่ทั้งหลายก็คิดว่าตาย ก็ถ้าอย่างนั้นก็ฆ่าตัวตายให้มันเร็วๆ สิ จะได้เลิกอายุเร็ว นี่ก็มันบ้าหนักเข้าไปอีก เลิกอายุไม่ใช่ตาย เลิกอายุไม่ใช่การฆ่าตัวตาย เลิกอายุได้โดยการไม่ยึดถือว่าเป็นตัวตน หรือของตน ภาษาของคนโง่ก็ต้องพูดว่าไม่ใช่ตัวกูหรือของกู ถ้าว่าเป็นตัวตนเป็นของตนเนี่ย มันเป็นคำพูดเป็นกลางๆ สักหน่อย แต่ถ้าพูดว่าเป็นตัวกู ของกู มันก็ถึงที่สุดของความสุดเหวี่ยงของความโง่ พอเป็นตัวกู เอาเป็นของกู เมื่อท่านทั้งหลายได้ฟัง และฟังออกและเข้าใจและรู้ว่า ไอ้นามรูป หรือขันธ์ห้า หรือชีวิตนี้ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ตัวตนอย่างนี้แล้ว จะมีชีวิตอยู่ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนนั้นอย่างไร ถ้ามีความโง่เอาตัวเราเป็นเจ้าของเรื่องก็จะมีปัญหาว่าเราจะมีชีวิตอย่างนั้นได้อย่างไร ถ้าฉลาดหน่อยไม่ต้องมีตัวเรา มีแต่จิตว่าจะดำรงจิตอยู่ในลักษณะที่ไม่เกิดความทุกข์โดยประการทั้งปวงได้อย่างไร นี่คือตัวเรื่องที่จะพูดกันตอนที่สอง ครั้งแรกเมื่อเช้าบอกเรื่องไม่มีตัวตน มีตัวตนเมื่อใด มีความทุกข์เมื่อนั้น ทีนี้ก็จะพูดเรื่องเราจะมีชีวิตอย่างไร จึงจะไม่เกิดตัวตน ไม่ต้องเป็นทุกข์เพราะไม่มีตัวตน อะไรจะเป็นผู้ควบคุมการกระทำ มันก็จิตอีกนั่นแหล่ะ ถ้าจิตโง่มันจะควบคุมได้อย่างไร มันก็ต้องมีการกระทำชนิดที่ต้องเป็นจิตที่ฉลาด แล้วใครจะมาช่วยทำ ก็จิตอีกนั่นแหล่ะ ไม่มีใครอื่นมาช่วย ทำให้ได้หรอก ถ้าเป็นศาสนาที่ถือพระเป็นเจ้าเขาก็อ้อนวอนพระเป็นเจ้ามาช่วยทำที มาช่วยโปรดที มาช่วยล้างบาปที อย่างนั้นเขามีตัวตน มีพระเจ้าเป็นที่พึ่ง แต่พระพุทธศาสนาเราไม่เป็นอย่างนั้น มันมีแต่เรื่องกายกับใจ ถ้าใจมันยังโง่อยู่ มันก็ต้องเป็นทุกข์ ใครจะมาช่วยชำระจิตใจให้หายโง่ มันก็จิตอีกชนิดหนึ่งหล่ะ จิตที่ได้รับการอบรมแวดล้อมมาดีจนมีความรู้ มีความเข้าใจ มันก็เป็นพุทธิจิต พุทธะจิตที่เป็นพุทธะ จิตที่รู้ จิตที่ค่อยฉลาด จิตที่รู้ตามที่เป็นจริง สร้างขึ้นมาได้ด้วยสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง เพราะฉะนั้นการที่ได้เกิดมาในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐฐิ มีธรรมะ นั้นนับได้ว่ามีบุญ นับว่ามีบุญ มันมีส่วนง่ายที่จิตจะได้ค่อยรู้แจ้งของการเป็นพุทธจิตโดยเร็ว ถ้าเกิดในตระกูลมิจฉาทิฐิ เต็มไปด้วยความโง่ อวิชชา ตัณหา อุปาทานแล้วมันก็ยากแล้ว เพราะมันจะถูกแวดล้อมให้หนัก ให้เป็นไปในทางความโง่ ยึดถือหนักเข้าหนักเข้า ไอ้ความเป็นบุญที่จะเรียกว่าบุญเรียกกุศลบ้างก็คือความที่ได้เกิดมาในตระกูลที่เป็นสัมมาทิฐฐินี้นั่นล่ะ มันเป็นจุดตั้งต้น มันเป็นจุดตั้งต้นของความมีบุญ ซึ่งมันจะตั้งต้นในทางที่จะออกไปจากทุกข์
ขอย้อนพูดถึงสิ่งที่เรียกว่า “สัญชาตญาณ” หรือที่เรียกว่า “Instinct” อีกสักหน่อยว่าสัญชาตญาณนั้นมันเป็นจิตที่กลางๆ ถูกปรุงแต่งขึ้นมาด้วยภาควิญญาณ แล้วมันก็กลางๆ อยู่ รออยู่ว่ามีอะไรแวดล้อมเข้ามาปรุงแต่ง ถ้าสิ่งที่แวดล้อมเข้ามาปรุงแต่งเป็นฝ่ายจิต เป็นฝ่ายอวิชชา สัญชาตญาณจิตนั้นมันก็กลายเป็น จิตประเภทกิเลส เป็นสัญชาตญาณเป็นประเภทกิเลส มันเป็นจิตกิเลส ถ้าได้รับการปรุงแต่งแวดล้อมที่ถูกต้องที่มาจากทุกทิศทุกทาง มันก็เป็นสัญชาตญาณฝ่ายโพธิ สัญชาตญาณกลางๆ น่ะเป็นฝ่ายกิเลสก็ได้ จะเป็นฝ่ายโพธิก็ได้ ถ้ากลายเป็นฝ่ายกิเลสปัญหาก็หนักขึ้น มีความทุกข์หนักขึ้นยิ่งกว่าตกนรกซะอีกน่ะ สัญชาตญาณที่ได้กลายเป็นกิเลสถ้าได้กลายมาเป็นโพธิ โพธิมันก็ดี ดีขึ้นๆ มันก็พ้นปัญหาในการประการทั้งปวง สัญชาตญาณที่มันเกิดเอง “สัญชาตะ”แปลว่า เกิดเอง สัญชาตญาณเป็นความรู้สึกที่เกิดเอง มันเปลี่ยนไปได้อย่างนี้ มันเปลี่ยนไปได้ทางกิเลสก็ได้ เปลี่ยนไปได้ทางโพธิก็ได้ แล้วใครจะช่วยจัดให้มันเล่า มันก็เลยขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม ในบทที่ว่าสิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงเป็นไปตามปัจจัย ยถาปัจจะยัง ภวะตันติ มันเป็นไปตามจิตใจ ถ้าได้เกิดในตระกูลที่ดี บิดามารดาเป็นสัมมาทิฐฐิรู้ธรรมะ มันก็ทำให้ตัวเองมันก็ค่อยๆแวดล้อมเด็กให้เป็นไปในทางโพธิ ถ้าเกิดในตระกูลมิจฉาทิฐฐิ เป็นอันธพาลกันทั้งบ้าน ทั้งครอบครัวแล้วไม่มีหวังหรอก เพราะแวดล้อมไปในทางพี่จะเป็นอันธพาล อันธพาล ขอให้สนใจในสิ่งที่เรียกว่าสัญชาตญาณ บิดามารดาที่มีลูกมีหลาน ที่สนใจเรื่องนี้ให้มาก ขอให้มีความประพฤติกระทำที่ถูกต้อง ขอให้ลูกหลานที่คลอดออกมาตาดำๆ นั้นน่ะ มีจุดตั้งต้นที่ถูกต้อง สอนให้มันถูกต้องหรือมีเหตุผล อย่าบำรุงบำเรอปรนเปรอให้มันโง่ เผลอในความรัก มันจะเอาอย่างไร มันจะโง่อย่างไร มันจะอันธพาลอย่างไรก็ส่งเสริม ขอพูดประโยคนี้ทีว่าไม่มีบิดามารดาคนไหนพาลูกเล็กๆ ไปที่ร้านขายของเล่นที่สวยงามอร่อยแพงๆ แล้วบอกลูกว่า บอกลูกหลานทั้งหมดนี้เขามีไว้ให้เราโง่น่ะลูกเอ๋ย ทั้งหมดนี้ที่ขายแพงเนี่ย เขามีไว้สำหรับทำให้เราโง่ ไม่มีบิดามารดาคนไหนทำเช่นนั้น มีแต่ถามว่ามึงจะเอาอะไรกูจะซื้อให้ก็ได้ จะแพงเท่าไหร่ เงินกูมี กูพอใจที่จะซื้อให้ทั้งนั้นแหล่ะ ในร้านอาหารที่เอร็ดอร่อย มึงจะเอาอะไรกูจะซื้อให้ทั้งนั้นแหล่ะ ไม่ได้บอกว่านี่มันมีไว้สำหรับเราโง่น่ะ ไปที่ร้านขายเสื้อผ้า ที่ร้านแต่งตัวสวยงามก็บอกว่า มึงจะเอาอะไรกูจะซื้อให้ทั้งนั้นแหล่ะ ทีนี้ก็อยากจะแนะตรงข้อที่ว่าสิ่งแวดล้อมมันก็มีแต่ในทางที่จะให้เกิดความรู้สึกเป็นตัวกูของกู พอเด็กได้รับของอร่อย สบาย สะดวกสบายตามด้วยการขับกล่อมที่ดี มันก็เกิดขึ้นถือในฝ่ายบวกเป็นตัวกูที่ดี ต้องการมากขึ้น เนี่ยมันก็เลยสร้างกิเลสตัณหาอุปทานมากขึ้นในทางบวก ถ้าไม่เป็นไปในทางบวก เป็นไปในทางตรงกันข้ามเป็นฝ่ายลบ ก็สร้างกิเลสตัณหาที่จะทำลาย ที่จะเป็นคนดุร้าย มีโทสะ โกรธะ มากขึ้น นี่น่าสงสารลูกเด็กๆ ว่ามีสิ่งแวดล้อม มันมีแต่ช่วยสร้างตัวกู ช่วยสร้างของกู ทั้งนั้นแหล่ะ ฝ่ายบุญก็สร้างไปอย่าง ฝ่ายบาปก็สร้างไปอย่าง พูดอย่างนี้ บางคนไม่ชอบน่ะ มันบูชาบุญ บ้าบุญ เมาบุญ หารู้ว่าบุญก็ปรุงแต่งให้เกิดกิเลสประเภทบวก บาปก็ปรุงแต่งให้เกิดกิเลสประเภทลบ เราจะต้องเหนือบาป อย่าไปหลงบุญหลงบาป อย่าไปหลงบวก หลงลบ ลูกเด็กๆ ควรจะได้รับคำสั่งสอนว่า ไม่มีอะไรที่จะน่าหมายมั่นมาเป็นตัวกูของกู เอามาเป็นตัวกู ของกูเมื่อไหร่ มันก็กัดเอาเมื่อนั้น และเด็กๆ ก็ได้รับการแวดล้อมไปให้เกิดตัวกูของกู ส่งเสริมให้เกิดตัวกู เหมือนเรื่องที่ได้เล่าให้ฟังเมื่อตอนเช้าแล้วว่า เด็กๆ มันเดินไปชนเก้าอี้ และก็เตะเก้าอี้ เจ็บ ครั้นมีความรู้สึกว่าตัวกู ตัวกู ตัวกูต้องอยู่ชนะ ตัวกูต้องชนะ มึงเป็นศัตรู มาทำกูให้เจ็บ มันเกิดเป็นตัวกูที่สอง ไอ้เด็กมันปลุกผีตัวกูขึ้นมาเองแหล่ะ และเก้าอี้ก็มีตัวกู เป็นตัวกูมันเตะเก้าอี้แน่ะ ก็มันโง่เท่าไหร่มันเตะเก้าอี้น่ะ ใครเจ็บ ทั้งพี่เลี้ยงและคนเลี้ยงก็ช่วยเข้าไปตีเก้าอี้ ช่วยกันผสมโรง ช่วยตีตีเก้าอี้นั่นแหล่ะ เข้าใจว่าเคยเห็นเรื่องอย่างนี้มาแล้วทุกคน อาตมาก็เคยเห็นและจำได้ติดตา บางคนเลี้ยงเด็กก็ช่วยตีสิ่งที่ทำให้เจ็บ โกรธที่เจ้าของมันไปโดนเข้าอะไรเข้า พอเกิดมาก็เข้าโรงเรียนโง่ เข้าโรงเรียนที่สอนอบรมให้เป็นตัวกู ของกูนี่น่าสงสาร มันมีทางเลือกแต่ความเป็นบวก ความเป็นลบ ทุกคนก็ยึดมั่นในเรื่องบวก ส่งเสริมเด็กโดยไม่ทันรู้ ให้ยึดมั่นในทางบวก ทางดีๆๆ ให้มันยิ่งขึ้นไปถึงที่สุด เด็กก็บ้าดี เมาดี หลงดีขึ้นตามอายุที่มันเจริญงอกงาม เพราะฉะนั้นเรื่องมันจึงมีจิตโง่ จิตยึดมั่นเป็นตัวกู เป็นของกูมากขึ้น มากขึ้นตาม จะถูกแวดล้อม จิตที่มันเหไปทาง นี้เขาเรียกจิตว่าทิ้งพ่อแม่ หนีไปตามโจร ห่างไกลไปจากความถูกต้องไปหาความผิด ความไม่จริง หรือความเท็จ เรากำลังอยู่ในขั้นไหน กำลังทิ้งพ่อแม่ไปหนีไปอยู่กับโจร หรือไปเป็นโจรไปแล้ว หรือว่ากำลังรู้สึกคิดนึกได้ว่ากูจะฆ่าโจรไปเสียทีเดียว และกูจะกลับไปอยู่กับพ่อแม่ เนี่ยคือธรรมะที่ถูกต้อง เอาหล่ะเนี่ย คือเรื่องที่น่าล้ออย่างยิ่ง ล้ออายุในข้อที่ว่ากูกำลังเป็นเด็กชนิดไหน กำลังอยู่ในภาวะอย่างไร ฐานะอย่างไร ช่วยดูให้ดีๆ ก็จะรู้จักปัญหาต่างๆ ที่มันมีอยู่ ที่มันทำให้เกิดความยากลำบากในการที่จะปลดเปลี้องความทุกข์ออกไปซะจากจิตใจ มันไม่รู้จักมาตั้งแต่รากฐาน พื้นฐานที่สุดก็คือขันธ์ห้า เป็นที่ตั้งที่ปรากฎของรูปและนามคือจิต ส่วนที่เป็นจิตได้รับการพอกพูนแต่ทำให้โง่ ให้มีตัวกูแก่กล้า แก่กล้า นี้เรียกว่ามีตัวกู ทีนี้ข้อที่จะต้องมองว่าไอ้มีตัวกูอย่างนี้แล้ว มันมีอะไรเกิดขึ้นมา มันเกิด “ความเห็นแก่ตัว” ความเห็นแก่ตัวกู เพราะมีตัวกูโง่ๆ อย่างนี้มันจึงเกิดความเห็นแก่ตัว ถ้ามันมีจิตที่ไม่โง่ มันก็ไม่มีตัวกูหรอก มันก็มีจิตที่ไม่โง่ จิตที่ไม่โง่มันไม่มีความเห็นแก่ตัวหรอก ถ้าจิตที่โง่มันจนมีตัวกูเป็นเจ้าของเรื่อง มีตัวกูเป็นประธานตั้งเป็นตัวตั้งตัวตี มันก็เลยมีตัวกูเป็นจิตโง่ มันก็เห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวแล้วก็เกิดกิเลสทุกอย่าง ทุกชนิดกิเลสมีกี่ประเภท มีกี่อย่างๆ โดยรายละเอียด เกิดมาได้จากความเห็นแก่ตัว เห็นแก่ตัวในเรื่องบวก เกิดกิเลสประเภทบวก คือโลภะหรือราคะ เห็นแก่ตัวในเรื่องลบก็เกิดกิเลสประเภทลบคือโทสะ หรือโกรธะ นี้มันยังไม่รู้ว่าเกิดบวกหรือลบก็เกิดโมหะ โมหะ หลับตาอยู่นั่นแหล่ะกิเลส สามประเภทมันเกิดขึ้นมาอย่างนี้ มันแจกรูปหลายสิบ หลายร้อย หลายพันชนิด ให้เรียกชื่อเฉยๆ ก็เรียกว่ากิเลส แต่ถ้ามันบุกเข้าไปทำลายสภาวะถูกต้องตามปกติของจิตใจ มันก็เรียกว่า “อุปกิเลส” ในพระบาลี หรือพระตันทระสูตร (นาทีที่ 1.11.15) หรืออะไรก็จำไม่แม่นมีพระบาลีว่า “โลโภ กิเลโส” โลภะนั่นแหล่ะคืออุปกิเลส โยโส อุปกิเลโส โทสะ อุปกิเลส (นาทีที่ 1.11.27) โมโหอุปกิเลโส โมหะคืออุปกิเลส ไอ้ที่อย่างนี้มันหมายความว่าไอ้ที่โลภะมันบุกเข้าไปทำลายสภาพปกติของจิตใจเขาเรียกว่า อุปกิเลส ถ้าเรียกชื่อเฉยๆ ตามธรรมดา ไม่เล็งเห็นถึงหน้าที่อะไรเรียกมันว่า “กิเลส” แต่ถ้ามันทำหน้าที่บุกรุกเข้าไปในขอบเขตของจิตใจ ทำลายความประภัสสรของจิตเรียกมันว่า อุปกิเลส งั้นข้อที่ต้องระวังก็อย่าให้อุปกิเลสบุกเข้าไปทำลายสภาพปกติของจิตใจ มันยากสักเท่าไหร่ที่จะให้จิตที่เต็มไปด้วยกิเลสเนี่ยมันช่วยตัวมันเอง จิตที่มีความเคยชินเป็นอนุสัยแก่การที่จะเกิดกิเลส เกิดอหังการ มมังการมานานุสัย ความเคยชินที่จะเกิดมาว่าตัวกูของกูมันยากเท่าไหร่ที่จะให้จิตโง่เนี่ยมันช่วยตัวเอง นี่คือความยากลำบาก ขอร้องอย่างยิ่งขอให้จำคำว่า “ความเห็นแก่ตัว” นี้ไปในฐานะเป็นปัญหาทั้งหมดในโลกธาตุ ในสากลจักรวาล ถ้ามีความเห็นแก่ตัวเกิด กิเลสมันก็เกิด เกิดเป็นความเลวร้าย ไม่ว่าอย่างใดก็อย่างหนึ่งเข้า กิเลสเกิดมาจากความเห็นแก่ตัว กิเลสทุกชนิดระบาดไป เป็นแม่บทคือความโลภ ความโกรธ ความหลง แจกรูปออกไปเป็นหลายอย่าง หลายสิบ หลายร้อย หลายพันชนิด จุดศูนย์รวมมันอยู่ที่ความเห็นแก่ตัว โลกจึงเต็มไปด้วยสิ่งอันไม่พึงปรารถนาอันเกิดมาจากความเห็นแก่ตัว ช่วยกันตั้งใจที่จะกำจัดความเห็นแก่ตัวออกไปเพื่อส่วนรวมของโลกด้วย อย่าทำเพื่อตัวกูคนเดียวเลย เห็นแต่โลกทั้งหมดด้วย เกิดการรวมกำลัง กำลังทั้งหลายเพื่อมากำจัดทำลายความเห็นแก่ตัวที่มีอยู่ในจักรวาล ในโลกธาตุนี้
ขอพูดว่าศาสนาทุกศาสนาเกิดขึ้นมาในโลกก็เพื่อแก้ปัญหาอันนี้แหล่ะ เพราะคนมันเห็นแก่ตัว จึงเกิดพระศาสดาที่สอนให้ทำลายความเห็นแก่ตัว โดยให้เหมาะสมกับมนุษย์ที่มีอยู่ที่นั่นในยุคนั้น สมัยนั้น เป็นอย่างนั้นๆ พระศาสดาก็จะสอนให้เหมาะสมกับในยุคที่นั่นยุคนั้น ทีนี้มันมีหลายยุค หายสมัย หลายรูปแบบก็เกิดศาสนาหลายรูปแบบ หลายศาสนาแต่ว่าทุกรูปแบบต้องทำลายความเห็นแก่ตัว นี่เรายิยดีที่จะเป็นเพื่อน มาร่วมกันทำลายความเห็นแก่ตัว นั่นแหล่ะคือการทำบุญอันสูงสุดโดยที่จะเรียกว่าบุญกุศลจิตที่แท้จริง คือทำลายความเห็นแก่ตัวของตนเอง แล้วถ้าสามารถทำลายของผู้อื่นได้ก็ยิ่งวิเศษ ทำลายให้หมดทั้งโลก ทั้งจักรวาล ก็เกิดศาสนาพระศรีอาริยเมตรัยขึ้นมาในพริบตาเดียว ถ้าคนหมดความเห็นแก่ตัวศาสนาพระศรีอารยน์ก็เกิดขึ้นมาในพริบตาเดียว เป็นโลกพระศรีอาริยเมตตรัยไม่มีกิเลส มีแต่ความรักผู้อื่น รักผู้อื่น ช่วยเหลือผู้อื่น มีแต่ความเมตตาเบื้องหน้าจึงเรียกว่าศรีอาริยเมตตรัย มีแต่เมตตาเป็นเบื้องหน้า หาความเห็นแก่ตัวสักนิดมาทำยาหยอดตาก็ไม่มี ศาสนาพระศรีอาริยเมตตรัยไม่มีความเห็นแก่ตัว จะหามาทำยาหยอดตาสักนิดหนึ่งก็ไม่ได้ เดี๋ยวนี้เราต้องการไหม คนแก่ๆ เขาต้องกาให้เกิดในศาสนาพระศรีอาริยเมตตรัยทั้งนั้นแหล่ะ เขาสอนกันมาอย่างนั้น แต่หารู้ไม่ว่าเดี๋ยวนี้เรามีความเห็นแก่ตัว รุงรังไปด้วยความเห็นแก่ตัว ไม่อาจจะเข้าไปในโลกของพระศรีอาริยเมตตรัย ถ้าเราไม่มีความเห็นแก่ตัว เราก็ป้องกัน ก็สร้างโลกที่มีพระศรีอาริยเมตตรัยขึ้นมาได้ที่นี่และเดี๋ยวนี้ นี่ขอให้เข้าใจความหมายนี้เป็นรากฐานสำหรับที่ว่าเธอจะอยู่ด้วยจิตโง่ได้อย่างไร จะดำเนินชีวิตไปด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนบังคับไม่ได้นี้อย่างไร มันเกี่ยวข้องสัมพันธกันหมดอย่างนี้ เอาหล่ะพอกันทีสำหรับตัวปัญหา
ทีนีก็จะมาพูดกัน ถึงการที่จะแก้ปัญหา ให้เราจะอยู่ด้วยปัญญา จะมาเปลี่ยนเป็นว่าอยู่ด้วยความไม่โง่ ต้องอยู่ด้วยความไม่โง่ จึงจะสามารถอยู่ด้วยสิ่งทั้งปวงที่มิใช่ตัวตน ถ้าเรามีปัญญาเราก็ไม่ไปเอาสิ่งทั้งปวงมาเป็นตัวตน เพราะว่าเรามีปัญญา ไม่ได้หมายมั่นอะไรให้เป็นของตน จิตจึงบริสุทธิ์ จิตจึงเป็นจิตเกลี้ยงหลุดพ้น จิตที่ไม่มีการยึดมั่นถือมั่น เราจงอยู่ในโลกของความไม่ตัวตนในจิตที่มีปัญญาไม่ยึดถือ อะไรเกิดมาเป็นตัวตน นั่นเป็นเรื่องแก้ลำอย่างเกลือจิ้มเกลือ ถ้าจะต้องอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน เราก็อยู่โดยการยึดถืออะไรที่ไม่ใช่ตัวตน ใจความสั้นๆ ของคำตอบมันมีอยู่อย่างนี้ ถ้าจะมีชีวิตอยู่ในโลกของนามรูป ของเบญจขันธ์หรือของชีวิตที่ไม่ใช่ตัวตน ก็ต้องอยู่ด้วยความไม่ยึดมั่นตัวตน อย่าไปคว้าเอาอะไรมายึดไว้ว่าเป็นของตนเป็นตัวตน เนี่ยก็จะอยู่ในโลกของสิ่งที่เป็นของธรรมชาติ ไม่เป็นตัวตนของใคร ธรรมชาติให้ยืม ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุลม ธาตุไฟ ธาตุลมมาสร้างเป็นนี่ เป็นนั่น เป็นขันธ์ห้านี้เขาให้ยืม พอคนนั้นมันขบถ มันยักยอกมาเป็นของตน ก็ถูกลงโทษโดยธรรมชาติคือให้เป็นทุกข์ นี่เป็นคนโกหก ยักยอกเอาของที่เอามาเป็นของยืมมาเป็นของตน มีคำสอนที่สรุปมาไว้ง่ายๆ บางอย่าง บางข้อก็มีเหมือนกันว่าจงมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ ในลักษณะที่อยู่ในโลกของยืม ของให้ยืม ธรรมชาติมันให้ยืมมาใช้เป็นเรื่องเป็นราว เป็นกายเป็นใจ เป็นอะไรต่างๆ ให้มันได้ศึกษา ให้มันได้ฉลาด ให้มันได้ไอ้สิ่งสูงสุด ที่มันควรจะได้คือความไม่มีทุกข์ ควรจะขอบใจธรรมชาติ อย่าฉ้อฉลคดโกงเอามาเป็นของตน ธรรมชาติมันจะตบหน้าเอาน่ะ การทำวิปัสสนาทั้งหลายไม่ว่าวิปัสสนาแบบไหนก็คือการทำวิปัสสนาเพื่อให้รู้อนัตตา ว่าไม่ใช่ตัวตนไม่ใช่ของตน เป็นของธรรมดาเป็นของธรรมชาติ พอรู้อนัตตาอย่างนี้แล้ว มันก็หมดปัญหาไป เลิกคิดที่จะเอาของธรรมชาติมาเป็นของตน คนที่ไปขโมยน่ะเลวทรามที่สุด นี่เขาให้ของมายืมใช้ก็ริไปขโมยเอามาเป็นของตน วิปัสนาสติปัฐฐานเนี่ย เมื่อถึงขั้นธรรมาสติปัฐฐาน เมื่อเห็นทุกขัง อนิจจัง อนัตตา พวกตาตาทั้งหลายเนี่ย จนถึงอัตถาตา อตัมยตา ความคิดที่จะยึดอะไรเป็นตัวตนไปซะหมด หมดเกลี้ยงไปทันทีไม่มีเหลือ เนี่ยเลยไม่มีปัญหาอยู่ด้วยของที่เขาให้ยืมใช้ เสร็จเรื่องก็คืนเจ้าของ ความรู้อันสุดท้ายจึงเรียกว่า ปฏิคิดสัคคา (นาทีที่ 01.21.28) ปัญญาสุดท้ายเรียกว่า “เห็นความสลัดคืน สลัดกลับ สลัดจากความยึดถือว่าเป็นของกู คืนให้กลับธรรมชาติไป” จบอยู่ด้วยปฏิจนิคสักคานุปัสสี (นาทีที่ 01.21.36) สลัดคืนนั่นแหล่ะ คนซื่อสัตย์ไม่คดโกงธรรมชาติ ธรรมชาติให้ยืมมาใช้ชั่วคราว ก็ยืมๆๆ พอถึงที่สุด มันเป็นจิตใจชนิดหนึ่งที่หลุดพ้นแล้ว ก็คืนเจ้าของ นี่เรื่องที่มันยุ่งยากลำบากน่ะ มันก็มีอยู่ที่ตรงนี้ ที่จะให้โจรๆ คนนี้เลิกเป็นขโมย เลิกเป็นโจร ไม่ตู่เอาของธรรมชาติมาเป็นของๆ ตน ไม่ปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของๆ ตน ยึดถือไว้ซะอย่างว่าลืมใช้ชั่วคราว เนี่ยคือยอดของยา ของวิปัสสนา เห็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่ของตน เราจะต้องมีปัญญากันถึงขนาดนี้ไม่เอาอะไรมาเป็นของตน มาเป็นของๆ ตนล้วนแต่เป็นธรรมชาติให้ยืม แม้แต่เนื้อหนัง ร่างกายของเราก็มิใช่ตัวตนเป็นของที่ธรรมชาติให้ยืม แล้วผัวของเรา เมียของเราจะเป็นตัวตนแท้จริงของเราได้อย่างไร เขาว่าแม้แต่ตัวตนเองมันก็ไม่ใช่ของตน อย่างนี้แหล่ะมันก็มีปัญญาเพียงพอ รู้จักสิ่งทั้งหลายทั้งปวงตามที่เป็นจริงไม่ยึดถือเอามาเป็นตัวตนของตน เมื่อไม่ยึดถือมันก็ไม่เป็นของหนัก มันก็ไม่เป็นภาระ นั่นแหล่ะคือมันไม่กัดเจ้าของ นี่พอไปปล้นเอาของธรรมชาติมาเป็นของตน เป็นเจ้าของ มันก็คดโกงอย่างนี้ มันก็กัดเจ้าของ ชีวิตนี้มันจึงกัดเจ้าของเพราะความโง่ ไปยึดถือว่าเป็นตัวตนของตน และมันยังน่าสงสารน่ะมากไปกว่านั้นน่ะ ว่าไอ้การยึดถือว่าของตน ว่าเป็นของของตนคือการสมัครเป็นทาส เป็นขี้ข้า ของสิ่งใดๆ ที่มันยึดถือว่าเป็นของๆ ตน มันเป็นความหนัก มันเป็นความทุกข์เหลือประมาณ เป็นทาสของสิ่งที่เอามายึดถือว่าเป็นตัวตน มันก็กัด กัดเจ้าของอย่างยิ่ง กัดบุคคลที่หมายมั่นเป็นเจ้าของ โทษที่มันคดโกงธรรมชาติที่ให้ยืม และยึดเอามาเป็นของตนก็ป็นความหนัก มาทำเป็นความหนัก ของหนักมันก็กัดเจ้าของ แล้วมันก็ยังรับโทษในฐานะที่ยังเป็นทาสของสิ่งที่ยึดถือ ยึดถือสิ่งใดเป็นของตนก็เป็นทาสของสิ่งนั้นๆ ยึดถือของรักก็ตาม ยึดถือของไม่รักก็ตาม ยึดถือสิ่งใดโดยความเป็นตัวตนแล้ว จิตมันก็ตกเป็นทาสของสิ่งนั้น คิดดูสิเป็นทาส เป็นทาสน่ะมันสนุกมั้ย มีชีวิตชนิดที่ไม่กัดเจ้าของ ต้องมีชีวิตชนิดที่ไม่เป็นทาสของอะไร คือจิตชนิดที่ไม่เป็นทาสของอะไร นี่ก็จะเรียกว่าชีวิตที่ไม่เป็นทาสของอะไร เรามุ่งหมายที่จะเป็นอย่างนี้ มีสติปัญญาเพียงพอที่จะมุ่งหมายให้มันเป็นอย่างนี้คือเป็นชีวิตอิสระ คือเป็นชีวิตอิสระไม่ถูกครอบงำอยู่ด้วยอะไร ไม่ถูกปรุงแต่งอยู่ด้วยสิ่งใด มีอตัมยัตตา ความแน่นอนที่ว่าสิ่งใดจะปรุงแต่งไม่ได้ มันก็ไม่มีปัญหา ที่ไม่มีความทุกข์เพราะไม่มีความยึดถือว่าเป็นตัวตน ไม่มีอะไรมาปรุงแต่งให้ยึดถือว่าเป็นตัวตน นั่นอิสรภาพ เสรีภาพ จะต้องมีชีวิตชนิดนี้ จึงจะสามารถอยู่กับสิ่งที่มิใช่ตัวตน สิ่งที่เป็นมารยาไม่ใช่ตัวตน จิตนี้ไม่ใช่เราน่ะ ไอ้เรามันสมมุติมากเกินไป จิตมีความรู้ชนิดนี้ จิตนี้ก็สามารถที่จะดำรงชีวิต ดำรงระบบชีวิต ปนเปคลุกคลีกันอยู่ได้กับสิ่งที่มิใช่ตัวตน มันล้วนแต่เป็นสิ่งที่ธรรมชาติให้ชีวิตมา ถ้าเข้าใจข้อนี้ ท่านก็สามารถมีชีวิตอยู่กันได้กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน เมื่อจิตมันยังต้องเป็นจิต และมันถูกปรุงแต่งให้เป็นจิต มันก็ต้องแก้ปัญหาเอง จิตก็ต้องช่วยตัวเอง ทำให้เกิดความรู้ชนิดที่เรียกว่าไม่ตกไปอยู่ใต้อำนาจของอวิชชาของความโง่ จะเป็นอวิชชาก็เป็นเรื่องของจิต จะเป็นวิชชาก็เป็นเรื่องของจิต จะโง่ก็เป็นเรื่องของจิต จะไม่โง่ก็เป็นเรื่องของจิต นี่มันบังเอิญแท้ๆ มันบังเอิญแท้ๆ จิตมาได้ยินได้ฟังคำสั่งสอนของพระอริยเจ้า ตามพระบาลีท่านเรียกอย่างนั้น ได้นั่งใกล้พระอริยเจ้า ฟังธรรมของพระอริยเจ้า ได้ใคร่ครวญธรรมของพระอริยเจ้า ได้ใคร่ครวญธรรมของพระอริยเจ้า อย่างนี้เลยหมดปัญหา ไม่ต้องมีความทุกข์ แล้วใครจะช่วยจัดให้เราได้มาพบธรรมะของพระอริยเจ้ามั่งมันจะเรียกว่าเป็นความบังเอิญเสียมากกว่า บังเอิญที่ได้ยินได้ฟังธรรมะคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ที่ผู้มาสั่งสอนอยู่ เขาก็สั่งสอนไปตามหน้าที่ด้วยซ้ำไป ไม่ได้มุ่งหมายให้เรา แต่เรามีโอกาสดีที่พลอยได้ยินได้ฟัง ได้มาคิดมานึกมาศึกษาให้เข้าใจแล้วปฏิบัติ องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดที่ต้องมี ปะรัตโต โทโส มีการโฆษณาธรรมะโดยบุคคลอื่น ซึ่งวิธีที่เรา ประรัตโต โทโส ข้อนี้เป็นความประสงค์ของพระพุทธเจ้าอย่างยิ่ง พระพุทธองค์ทรง หวังว่าพุทธบริษัทน้ จะช่วยกันโฆษณาธรรมะ ให้ธรรมะปรากฏแจ่มแจ้งแก้สัตว์ทั้งหลาย ทั้งมวล ทั้งเทวดามนุษย์ทั้งหลาย และทั้งจักรวาล ให้ช่วยกันทำหน้าที่เป็นธรรมโฆษก ช่วยกันโฆษณาธรรมะ และปะรัตโต โทโส มันก็จะเกิดขึ้นมาในโลกก็ง่ายที่ว่า แต่ละคนๆ จะได้บังเอิญมาได้ยินได้ฟังธรรมะนั้น คบหาสมาคมกับผู้ที่สอนธรรมะนั้น
ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่สอง โยนิโสมนัสสิกาล ได้ยินได้ฟังธรรมะเหล่านั้นที่มีผู้คนพรรณาแล้วก็เอามาเป็น โยนิโสมนัสสิกาล ที่เรียกกันว่าพิจารณาโดยแยบคาย “โยนิ” เป็นชื่ออวัยวะของสตรีเพศก็ได้ “โยนิ” ที่แท้จริงแปลว่า เหตุ หรือมูลเหตุ “โส” แปลว่า โดย “โยนิโส” แปลว่า โดยมูลเหตุ “มนัสสิกาล” แปลว่าทำโดยจิตใจ โยนิโส แปลว่า โดยมูลเหตุ กระทำในจิตใจให้ถึง โยนิ คือมูลเหตุ นั่นแหล่ะจะรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ถ้าไม่มีโยนิโสมนัสสิกาลนี่ ก็ไม่มีทางที่จะเข้าใจถึงมูลเหตุ มันก็ไม่รู้จัก ถ้าไม่รู้จักถึงมูลเหตุมันก็ไม่ได้ชื่อว่ารู้จักสิ่งนั้นๆ ฉะนั้น โยนิโสมนัสสิกาล คือทำในใจให้ถึงมูลเหตุที่ว่าโดยแยบคาย โดยแยบคายเนี่ย ถ้าไม่รู้ว่าอะไรก็ให้รู้ว่าถึงมูลเหตุ ถึงมูลเหตุ ถ้าจะให้แจ่มแจ้งถึงต้นเหตุ ก็แทบจะชัดเจนว่าอ้าวนี่มันเป็นอย่างนี้ หมอนี่มีอยู่ความทุกข์มันก็เกิดเรื่อยไป จัดการกับต้นเหตุ จัดการกับต้นเหตุเสียได้ เพราะว่ามันรู้ถึงมูลเหตุ นี่ขอให้ช่วยจำคำสำคัญคำนี้ไว้ให้ดีว่า โยนิโสมนัสสิกาล คือกระทำในใจโดยมูลเหตุ ถึงมูลเหตุ เข้าใจมูลเหตุ เข้าใจต้นเหตุ มันจึงจะสามารถขจัดมูลเหตุ เมื่อขจัดมูลเหตุได้ ตัวตนมันก็ต้องตายไปด้วยแหล่ะ กำจัดที่มูลเหตุ ที่รากที่ฐานที่ตั้งเสียแล้วมันก็ทำลายตัวนั้นเสียได้ การได้ยินได้ฟังพระธรรมของพระพุทธเจ้าเนี่ยมันเป็นการบังเอิญน่ะ มันมองเห็นว่าเป็นการบังเอิญมากกว่า แล้งก็เป็นโชคดีที่มีคนตั้งหน้าตั้งตาที่จะทำงานอันนี้ จะทำให้คนได้ยินได้ฟังธรรมะของพระอริยเจ้า มีคนตั้งใจที่จะทำหน้าที่อันนี้อยู่ อย่างน้อยก็คือ สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง ถ้าจะเป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่แท้จริงต้องไม่ทำแต่เพื่อประโยชน์ตนเท่านั้น มีหน้าที่ที่จะทำให้เรื่องนี้แพร่หลายไปเป็นที่แจ่มแจ้งแก่เพื่อนมนุษย์ทั้งหลายด้วย เนี่ยสาวกของพระพุทธเจ้าจงรู้ว่าเรามีหน้าที่ ที่จะทำทั้งประโยชน์ตนเองและประโยชน์ผู้อื่น หรืออีกประโยชน์หนึ่งก็ได้คือประโยชน์ที่มันเนื่องกันอยู่ ในพระบาลีมีประโยชน์ที่แจกไว้เป็น 3 อย่าง อัตถะมัทโถ – ประโยชน์ตน ปะรัตโถ – ประโยชน์ผู้อื่น พยัตโถ – ประโยชน์ที่ทั้งสองฝ่ายควรเกี่ยวข้องกัน ประโยชน์บางอย่างเป็นเพื่อตนล้วนๆ ประโยชน์บางอย่างเพื่อผู้อื่นล้วนๆ ยังมีประโยชน์บางอย่างที่ต้องสัมพันธ์กัน ถ้าไม่มีความสัมพันธ์กัน มันก็ไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีประโยชน์ จงทำประโยชน์ทั้งสามเนี่ย ให้สมบูรณ์ด้วยความไม่ประมาท ด้วยความไม่ประมาทเนี่ย เราเอาบทนี้มาสวดเตือนใจกันอยู่เป็นประจำ สาวกทั้งหลายจงเห็นแก่ประโยชน์ตน เห็นแก่ประโยชน์ผู้อื่น และเห็นกับประโยชน์ที่เนื่องกันอยู่แยกกันไม่ได้ ฉะนั้นขอให้ช่วยกัน นึกถึงการให้ธรรมะ เผยแผ่เป็นแสงสว่างกระจายไปทั่วโลก เพื่อให้เพื่อนเกิดแก่เจ็บตายทั้งโลกได้รับแสงสว่างอันนี้ ถ้ามันยังมีอยู่เรียกว่าบุญเหลือเกิน บุญเหลือประมาณที่ว่ามันจะง่ายดาย ในการที่สัตว์ทั้งหลาย จะได้ยินได้ฟังธรรมะของพระอริยเจ้า และก็โยนโสมนัสสิกาลแล้วก็ปฏิบัติ แล้วก็ดับทุกข์ได้ นี่เป็นการช่วยกันให้มีการดับทุกข์ คือขจัดปัญหาในข้อที่ว่า เราจะมีชีวิตอยู่ร่วมกับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนนั้นได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน จะเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ ก็มิใช่ตัวตน จะเป็นขันธ์ เป็นธาตุ เป็นอะไรก็มิใช่ตัวตน จะเป็นของภายนอกภายในก็มิใช่ตัวตน เขาจะอยู่กับสิ่งเหล่านี้ได้อย่างไร สิ่งเหล่านี้จะต้องถูกศึกษาอย่างเข้าใจแจ่มแจ้งว่ายึดถือไม่ได้ หมายมั่นให้เป็นอัตตา อัตนียาไม่ได้ นี่เอาเป็นตัวกูของกูไม่ได้ นั่นแหล่ะมีความรู้อันนี้แล้ว จะสามารถอยู่กับสิ่งเหล่านี้ซึ่งมิใช่ตัวตน มันพร้อมที่จะกัดเอาคนที่ไปยึดมั่นถือมั่นตัวตน และมันทำบุคคลนั้นให้เป็นทาส เป็นขี้ข้าสุดเหวี่ยงสุดท้ายเนี่ย ของความเป็นทาส เป็นขี้ข้า แล้วมันจะรับใช้กิเลส จะรับใช้กิเลสถึงที่สุด เพราะมันไม่รู้เรื่องความไม่มีตัวตนหรือไม่ใช่ตัวตน มีแต่สิ่งที่มิใช่ตัวตน รวมความเรียกว่า เรื่องอนัตตา อนัตตา แปลว่ามิใช่ตัวตน อนัตตาไม่ได้หมายความว่าไม่มีอะไรเสียเลย มันมี มันมีสิ่งที่ว่าโดยทั่วไปเรียกว่าตัวตน เป็นตัวตนโดยสัญชาตญาณ แต่มันมิใช่ตัวตนที่แท้จริง เป็นตัวตนที่ละเมอๆ ยึดถือเอา เมื่อเราอยู่ด้วยความรู้สึกยึดมั่นสิ่งเหล่านี้ เดี๋ยวนี้ให้มันรู้เถิดว่ามันไม่ใช่ตัวตน ทั้งที่อยู่ในรูปที่เรารู้สึกอยู่ว่าเป็นตัวตน สัญญชาตญาณยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างโพธิ มันจะเห็นก็โง่ยึดถือว่าเป็นตัวตน ยึดถือว่าตัวตนและก็มีความเห็นว่ามันเห็นแก่ตน ก็เกิดเรื่องต่อไป เพียงแต่เห็นว่าเป็นตัวตนถือว่าหนักเหลือประมาณ มีความทุกข์เหลือประมาณแล้วพอไปเห็นแก่ตนเข้าอีกมันก็ขยายใหญ่ครอบจักรวาลไปเลย จงมีความรู้เรื่องอนัตตาให้ถูกต้องว่ามันมิใช่ตัวตน นี่เป็นสัมมาทิฐฐิ รู้ว่ามีตัวตนซึ่งไม่ช่ตัวตน จงรู้จักตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน ที่พูดมาตั้งแต่ต้นว่าพวกฝรั่งเขาเริ่มมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้วทั้งนั้น เขาเริ่มรู้จักตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตนแล้ว คนไทยอย่ามัวคลานต้วมเตี้ยมอยู่ข้างหลังเลย รู้จักเป็นกาลล่วงหน้าว่าเป็นตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน นี่เป็นนสัมมาทิฐฐิ ส่วนมิจฉาทิฐฐินั้นมันมีอยู่สองข้าง สัมมาทิฐฐิว่าอนัตตานั้นอยู่ตรงกลาง ถ้ามันสุดเหวี่ยงไปทางซ้ายมันก็มีตัวตน มีอัตตาๆๆๆ นี่ตัวตน สมบูรณ์เป็นสัตสัตตะทิฐฐิ (นาทีที่ 01.37.58) ถ้าเหวี่ยงไปทางด้านขวานี้มันเป็น นิรัตตา (นาทีที่ 01.38.03) มันไม่มีตัวตน เป็นคนไม่มีอะไรเลย เป็นนัฐฐิกะทิฐฐิ เป็นอุชเฉคะทิฐฐิ (นาทีที่ 01.38.08) ทางซ้ายเป็นสัตสัตตะทิฐฐิมีตัวตน มีอัตตา ข้างขวานี้มีอุชเฉคะทิฐฐิ นัตฐิกะทิฐฐิ เป็นนิรัตตาแปลว่าไม่มีอะไรเสียเลย ก็จะมีอัตตาโง่สุดเหวี่ยงเป็นอัตตา ส่วนทางนี้ก็โง่สุดเหวี่ยงว่าไม่มีอัตตาเสียเลย จะได้อยู่ตรงกลางนั่นคือโลกนี้มีอัตตาซึ่งมิใช่อัตตา คนโง่ฟังไม่รู้เรื่อง มีตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตนนั่นแหล่ะคืออนัตตา ตัวตนที่รู้สึกอยู่ในความรู้สึกคิดนึกของคนนั้นน่ะ เมื่อมันจะเรียกว่าอนัตตา แม้มันจะไม่ใช่ตัวตนแต่มันก็มีอยู่เป็นอัตตาซึ่งมิใช่ตัวตน มันจะต้องช่วยเหลือตัวมันเอง ไม่มีใครมาช่วยหรอก อัตตาหิอัตตาโนนาโถ มันก็ต้องมี แม้ว่ามันจะเป็นอัตตาซึ่งมิใช่อัตตา มันก็ต้องพยายามต้องช่วยตัวเองอยู่นั่นแหล่ะ ช่วยตัวเองอย่าให้มีความทุกข์ เป็นอัตตาซึ่งมิใช่อัตตา มันก็ยังทำหน้าที่ช่วยตัวเองได้ เนี่ยเรามันไม่รู้สึกอย่างนั้น บางครั้งมันก็มีอัตตา อัตตาสุดเหวี่ยงก็เลยเป็นสัสสะตะทิฐฐิ บางทีก็เป็น ไม่มีอะไรเสียเลยก็เป็นมิจฉาทิฐฐิ เป็นนิรัตตา นี่มันสุดเหวี่ยงสองข้างอยู่ตรงกลางดีกว่าเป็นอนัตตา มีตัวตนซึ่งมิใช่ตัวตน แม้ว่ามันจะไม่ใช่ตัวตนมันก็ทำอะไรได้มากมายเหลือเกิน มันไปตามแบบของสังขาร จึงเป็นทุกข์เหลือประมาณทั้งที่มันไม่ใช่ตัวตน แล้วมันจะช่วยตัวเองออกจากทุกข์ได้เหมือนกันนี่ อัตตาต้องเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ด้วยการทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องคือมีธรรมะ ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าจงมีตนเป็นที่พึ่ง มีตนเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเป็นสรณะเลย จงมีธรรมะเป็นที่พึ่งเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งเป็นสรณะเลย มีธรรมะเป็นสรณะ ธรรมะในที่นี้หมายถึงความรู้ที่ถูกต้องเป็นสัมมาทิฐฐิ เป็นสัมมาทิฐฐิ เป็นธรรมะที่แท้จริงหรือเป็นธรรมะฝ่ายที่จะดับทุกข์ นี่เรียกว่ามีธรรมะเป็นที่พึ่ง และก็สามารถเรียกได้ว่ามีตัวตนนั่นแหล่ะเป็นที่พึ่ง หมายความว่ามันต้องทำเอง มันต้องช่วยตัวเอง อย่าโง่มันจะเป็นทุกข์อย่างไร มันก็ต้องช่วยตัวเอง ขอให้เรามีความรู้เรื่องอนัตตา อนัตตา เรื่องตัวตนที่ไม่ใช่ตัวตน จงรู้ธรรมะให้สูงสุด รู้ว่ามิใช่ตัวตนเป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจสมุปบาท เรื่องปฏิจสมุปบาทเนี่ยมันเป็นเรื่องยืดยาว เป็นเรื่องที่เข้าใจยากแต่ก็ไม่เหลือวิสัย แต่สรุปความแล้วก็มิใช่ตัวตนเป็นเพียงกระแสแห่งปฏิจสมุปบาท เป็นความจริงของธรรมชาติ เป็นความจงใจกันอย่างนี้ ในลักษณะอย่างนี้ก็เรียกว่าปฏิจสมุปบาท การอาศัยกันแล้วเกิดทุกข์ ถ้าทำถูกวิธีไม่ปรุงแต่งอย่างนั้นแล้วก็เป็นปฏิจนิโรธ มันอาศัยกันอาศัยกันแล้วต่ำลง มันยังมีทั้งฝ่ายเกิดขึ้นและฝ่ายดับลง นี่คือปฏิจสมุปบาท มีพระบาลีตรัสว่าผู้ใดเห้นปฏิจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา เห็นปฏิจสมุปบาทคือเห็นการเกิดขึ้นแล้วดับลงนั่นเรียกว่าเห็นธรรม เห็นธรมอย่างนี้คือเห็นพระพุทธเจ้า เห็นพระองค์ ดังที่ตรัวไว้ว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรม เห็นตัวบุคคลที่เดินไปเดินมานั้นมันเปลือก เห็นได้ด้วยตา แต่ธรรมะที่เป็นไปตามปฏิจสมุปบาทอยู่ในนั้นน่ะ ไม่เห็นได้ด้วยตา ต้องเห็นได้ด้วยปัญญาจักษุ เห็นด้วยจิตใจที่ประกอบไปด้วยปัญญาจึงจะเห็นธรรมที่มีอยู่ในร่างกายที่เดินไปมาได้อยู่เมื่อสองพันกว่าปีมาแล้ว บันทึกในประวัติศาสตร์ว่าชื่อนั้น ชื่อนี้ ลูกคนนั้น หลานคนนี้ในแผ่นดินนั้น ในแผ่นดินนี้ตายแล้ว เผาแล้ว เหลือแต่พระธาตุและก็สร้างพระพุทธรูปขึ้นมาแทน ขอให้มองเห็นธรรมธรรมที่มีอยู่ในร่างกายนั้น เดี๋ยวนี้ร่างกายนั้นก็ไม่มีแล้วเหลือแต่พระธาตุ เหลือแต่พระพุทธรูป ก็ขอให้มองดูพระพุทธรูป มองดูให้ทะลุพระธาตุ ให้ทะลุเข้าไปเถอะ ถึงองค์จริงที่เคยมีอยู่ในร่างกายนั้น เอาพระพุทธรูปมาแขวนคอก็ให้รู้เรื่องนี้ ไม่ใช่เอามาถือเครื่องลางเป็นไสยศาสตร์อย่างที่ทำกันอยู่โดยมาก ด้วยความโง่ซื้อขายกันอยู่องค์หนึ่งเป็นแสนๆ ก้อนดินแท่งเล็กๆ อัดเป็นพระพุทธรูปน่ะ ขายได้เป็นแสนเป็นล้านนั่นน่ะ อาศัยความโง่ อาศัยความยึดถือในไสยศาสตร์ เอามาแขวนคอก็เพื่อกันลืมว่ามีบุคคลๆ หนึ่ง มีความรู้เรื่องปฏิจสมุปบาทดับทุกข์ได้ ผู้ใดเห็นปฏิจสมุปบาทผู้นั้นเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ท่านตรัสไว้อย่างนี้ อย่าให้พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า พระพุทธรูปน่ะถ้าทำไม่ถูกจะบังพระพุทธเจ้ามิดเลย จะไม่มีประโยชน์อะไรเลย พระพุทธเจ้าไม่เคยรู้เรื่องพระพุทธรูป สมัยพระพุทธเจ้าไม่มีพระพุทธรูป พระพุทธรูปเพิ่งเกิดหลัง 600 กว่าปี หลังตั้งแต่ปรินิพพาน ถ้ามันกลายเป็นวัตถุอย่างนั้นไปเสียแล้ว มันก็ไม่มีแสงสว่าง การมีวัตถุรูปเคารพอย่างนี้มีมาแล้วมาตั้งสองสามพันปี ก่อนพุทธกาล ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดสองสามพันปี ถือรูปเคารพกันเป็นการใหญ่ มีการขุดพบรูปที่ระลึกตามที่หนังสือพิมพ์ และวิทยุประกาศเร็วๆ นี้ ที่เมืองไหนก็ไม่รู้แหล่ะ แถวอาหรับนั่นน่ะ เขาก็ตีอายุประมาณสี่พันปี หมายความโง่เมื่อสี่พันปีมาแล้วมีรูปเคารพ และก็เลิกไปเลิกไป จนในสมัยพระพุทธเจ้าไม่มีรูปเคารพ ในอินเดียไม่มีรูปเคารพ ทุกๆ ศาสนาแหล่ะ ต่อมาจึงค่อยๆ มี ค่อยๆมีมากเกินไป ขืนมีอย่างนี้เรียกว่าพระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้า คอยแทงตลอดอกพระพุทธรูป คอยแทงเข้าไป เห็นธรรมปฏจสมุปบาทเพียงได้เห็นพระพุทธเจ้า อย่าให้พระพุทธรูปบังพระพุทธเจ้าเป็นอันขาดเลย ใครที่เอามาแขวนคออยู่เดี๋ยวนี้เนี่ยจงเข้าใจเสียให้ถูกต้องว่ามันเป็นอย่างนี้ เพื่อให้แทงทะลุเข้าไปเพื่อให้เห็นพระพุทธเจ้าพระองค์จริง และอย่าให้ลืมพระพุทธเจ้าพระองค์จริง คือผู้เปิดเผยความรู้เรื่องปฏิจสมุปบาทว่าอาศัยแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วดับลงแห่งความทุกข์ ปฏิจสมุปบาทอาศัยกันแล้วเกิดขึ้น อาศัยกันแล้วดับลงแห่งสิ่งที่เป็นทุกข์ เห็นอันนี้คือเห็นความจริง เห็นข้อนี้แล้วจะไม่ยึดถือ สิ่งใดโดยความเป็นของตน ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงสอนไว้ และก็มีความเหมาะสมที่จิตนี้จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้กับด้วยสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน ไม่มีความหมายแห่งตัวตน นี้เรียกว่าอยู่ในโลกที่ไม่ใช่ตัวตน อยู่ในโลกนี้กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนเนี่ยปัญหามันสุดไป หมดไปว่า เราจะอยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยอนัตตานี้ได้อย่างไร นี่คือปัญหาและเราก็แก้ให้มันได้ อยู่ในโลกที่เต็มไปด้วยอนัตตา ไม่มีตัวตน อยู่ได้กับสิ่งที่มิใช่ตัวเรา มิใช่ของเรา ถ้ามันโง่ว่ามีตัวเรา มันก็เป็นสิ่งที่เป็นของเรา มันก็กัดกันให้มีปัญหา คือความทุกข์นั่นแหล่ะ ยึดมั่นสิ่งใด สิ่งนั้นแหล่ะมันกัด มีอุปาทานในสิ่งใด สิ่งนั้นแหล่ะมันกัด อย่างที่พูดว่ามีตัวกูเกิดขึ้น ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ไม่ต้องมีตัวกู อยู่ด้วยจิตที่มีสติปัญญาว่าไม่มีตัวกู ไม่ต้องมีตัวกู มีแต่การกระทำที่ถูกต้องตามเหตุตามปัจจัยว่าจะไม่เกิดทุกข์ มันมีกฎเกณฑ์ตายตัวว่าทำอย่างนี้อย่างนี้ ปรุงแต่งอย่างนี้ก็เกิดทุกข์ นี่ปรุงแต่งอย่างนี้ไม่เกิดทุกข์ จิตก็มีความรู้มีความฉลาดชนิดที่จะอยู่ในสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน คือไม่ปรุงแต่ง คือไม่อาจจะปรุงแต่งให้เกิดความทุกข์ขึ้นมา เห็นมั้ยว่าจะอยู่กับสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตนในโลกนี้ได้อย่างไร ก็ต้องอยู่ด้วยความไม่ยึดมั่นถือมั่นสิ่งใดด้วยความเป็นตัวตน เห็นว่าตัวตนนี้เป็นมายาเพิ่งเกิดขึ้นมา เพิ่งเจริญขึ้นมาด้วยความโง่ หล่อเลี้ยงอยู่ด้วยความโง่ จึงตัดรากเสีย คือทำลายอวิชชาเสีย มันก็ไม่โง่ มันก็จัดการถูกต้องกับสิ่งทั้งปวงที่มิใช่ตัวตน และก็อยู่กันได้โดยที่ไม่ต้องเป็นทุกข์
อ้าว ทีนี้จะขอพูดสักเล็กน้อย ซึ่งจะขาดเสียไม่ได้เพราะมันเนื่องกันอยู่อย่างยิ่ง ก็คือความรู้หรือ “วิปัสสนาญาณ” ที่จะต้องทำให้มีขึ้นมา มันคู่กับ “สมถ” คือทำจิตให้พร้อม ที่จะรู้แจ้ง และก็รู้แจ้งถึงที่สุดต่อสิ่งทั้งปวง “วิปัสสน” แปลว่า ทางออกจากทุกข์ ส่วนมากพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า อถังภิคมรรค มีองค์แปด อริยมรรคมีองค์แปด นั่นเป็นทางออกจากทุกข์ แต่ก็มีมากหลายแห่งเหลือเกินในพระบาลี ในพุทธภาษิตนี่ พอถึงที่จะตรัสว่าอะไรเป็นหนทางแห่งการดับไม่เหลือแห่งทุกข์ สัมมะโถจวิปัสสนาจะ อย่างนี้ก็มีมาก เกียรติยศของสมถ และวิปัสสนาเนี่ยก็มีสูงสุดเท่ากันกับอริยมรรคมีองค์แปด ไม่เชื่อก็ไปค้นดูเองในพระไตรภิฏกในพระบาลีนั่น ตรัสสัมมโถจะวิปัสสนาจะ ตรัสไว้ในฐานะเป็นเครื่องออกจากทุกข์ สัมมะถะคือทำจิตใจให้พร้อม ทั้งพร้อมที่จะมีวิปัสสนา หมายความว่าถ้ามันฟุ้งซ่านก็รวมให้มันไม่ฟุ้งซ่าน ถ้ามันสกปรกก็ทำให้มันแจ่มใส เหมือนกับเช็ดแว่นตา ถ้าแว่นตาสกปรกมันมองไม่เห็น เช็ดแว่นตาใสแล้วมันมองเห็น นี่ถ้าไม่รวมกำลังมันพร่ามันมีอำนาจที่จะช่วยเจาะแทงทะลุได้ก็ให้มันรวมกำลัง การกระทำอย่างนี้มันเรียกว่าสมถะ สมถะ คือเป็นการเตรียมจิตใจให้พร้อมที่จะมีวิปัสสนา แต่คนเขาไม่ค่อยคิดอย่างนี้ เขาต้องการเข้าใจว่าทำสมาธิสบายยิ่งกว่านอนหลับ ไปเข้าสมาธิหาความสุข มันจะอย่างนี้ มันก็ไม่มีวิปัสสนา มีสมถทางหนึ่งน่ะ ไม่ใช่สมถที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ว่าเป็นทางออกจากทุกข์ สมถ กับ วิปัสสนา ต้องเกี่ยวพันกัน แยกกันไม่ได้ ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่มีชาญ คือสมาธินี่แหล่ะ ชาญก็ไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา มันต้องมีพร้อมกันทั้งชาญและปัญญา นั่นหมายความว่าต้องมีพร้อมทั้งสมถะและวิปัสสนา
ในวันล้ออายุเนี่ยเราควรเลิกอะไรทั้งหมดมาทำสมถะและวิปัสสนา ทำสมถะจริงๆ ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป สมถะที่จะเป็นบาทฐานของวิปัสสนา เราก็จะเห็นแจ้งโดยวิปัสสนาในความจริงอันสูงสุดที่ควรจะรู้แจ้ง ความจริงนี้มีมากมาย จำแนกก็คงจะไม่หวาดไหว แต่จะขอจำกัดไว้เพียงสัก 9 อย่าง เรียกว่า 9 ตา ที่หนึ่งเรียกว่า อนิจตา ที่สอง ทุกขตา ที่สาม อนัตตัตตา และก็มาถึง ธรรมถิตัตตา เห็นความตั้งอยู่ตามธรรมดาของสังขารทั้งปวง ธรรมณียนัตตา คือมีกฎของธรรมชาติ ส่วนตัวนี้ยาม คือมีกฎของธรมชาติบังคับอยู่ และก็อิทัปปัจยตา มันต้องเป็นไปตามกฎอิทัปปัจยตา สามตานี้คือบอกความที่บอกว่ามันเป็นของธรรมชาติ ของธรมดา เป็นไปตามกฎธรรมดา ทีนี้คืออีกสามตาคือเห็น สุญญตาว่างจากตัวตน เรียกว่า สุญญตา และก็จะเห็น ตถาตา โอ้มันเป็นเช่นนั้นเอง มันว่างจากตัวตนเช่นนั้นเอง หรือโดยลักษณะหลายๆ ตาดีกว่าก็แล้วกัน นี่เรียกว่าเห็น ตถาตา เห็นตถาตาถึงที่สุดแล้วเกิด อตัมมยะตา คงที่แข็งเป้ก อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป อะไรปรุงแต่งไม่ได้อีกต่อไป เรียกว่า อตัมมะยะตา เนี่ยก้าวตา หรือว่าแม่แก้วตา มีค่าสูงสุดเป็นแก้วตา อนิจตา ทุกขตา อนัตตัตตา อันนี้สามธรรมถิตัตตา ธรรมณียนัตตา อิทัปปัจยตา อันนี้อีกสาม และก็สุญญตา ตถาตา อัมมมยะตา นี่ก็สาม สามชุดชุดละสามก็เป็นเก้าตา เก้าตานั่นหล่ะ เป็นตัวแม้ของวิปัสสนา สูงสุดอยู่ที่อตัมมะยะตา ตั้งต้นด้วยอนิจตา พระบาลีอานาปนัสสติ ออกชื่อแต่ อนิจตา ข้อเดียวเท่านั้นแหล่ะ ฉะนั้นก็ขอฝากที่เหลืออีกแปดตาไว้ในคำอนิจตา รู้เอาเองโดยธรรมชาติถ้าเห็นอนิจตาแล้วต้องเห็นทุกขตา อนัตตัตตา ธรรมถิตัตตา ธรรมณียนัตตา อิทัปปัจยตา สุญญตา ตถาตา เป็นแน่นอน ฉะนั้นการเห็นอนิจจังสำคัญที่สุดเป็นจุดตั้งต้น เป็นเบื้องต้น เป็นของวิปัสสนาที่จะทำลายตัวกูของกูที่จะทำลายกิเลสทั้งปวงโดยสิ้นเชิง อตัมยตา ไม่ค่อยได้ยินได้ฟังเพราะไม่มีใครเอามาเปิดเผย จะเพราะอะไรก็ไม่ทราบ หรือว่าเพราะมันแทบจะยากเสียมากกว่า ในพระบาลีก็มี และก็ไม่ค่อยจะเข้าใจกัน ชำระพระไตรภิฎก อะไรก็ไม่รู้เหลืออยู่เป็นคำที่กำกวมว่า กรรมยตาก็มี อคัมมยะตาก็มี อตัมยตา ก็มี นี้เลยอยากจะพูดว่าชำระพระไตรภิฎกแบบตาบอด พวกตาบอดอาศัยแต่คอมพิวเตอร์นั่นแหล่ะ มันเป็นไปไม่หรอก เพราะว่าที่ถูกที่แท้มันมีแต่อตัมยตา ให้สำเร็จมาจากปัจจัยนั้นๆ คืออะไรปรุงแต่งไม่ได่ พอรู้อนิจตา ทุกขตา ตาตาตา มาจนถึง ตถาตา ก็สิ้นสุดลงที่อตัมมยัตตา สภาวะแห่งจิตที่อะไรๆ ปรุงแต่งไม่ได้ นี่คือสูงสุดของวิปัสสนาญาณ มันจะละสิ่งทั้งปวงมาตามลำดับ ถ้าอตัมยตาเป็นไปถึงที่สุดแล้ว ต้องเป็นอตัมโย คือเป็นพระอรหันต อตัมมยตาเป็นชื่อของธรรมะ อตัมโยเป็นชื่อของบุคคลที่มีอตัมยตา ขอได้สนใจสิ่งที่เรียกว่าวิปัสสนา คือให้แก้วตาทั้งเก้าเนี้ย คือไอ้ตาๆๆๆๆ ควรจะสนใจกันในเรื่องนี้ให้มาก เพราะจะเป็นเครื่องมือที่ตัดปัญหาว่าจะอยู่ในโลกนี้กับสิ่งที่ไม่มีตัวตนได้อย่างไร ถ้าพูดอย่างภาษาของเราเนี่ยจะเลิกเอาอายุ จะอยู่เหนืออายุได้อย่างไร เราก็ต้องอยู่ได้ด้วยอตัมยตา ถ้าเรามีอตัมยตา เราจะล้ออายุ เราจะเลิกอายุ เราจะอยู่เหนืออายุได้อย่างแน่นอน ขอให้สนใจศึกษาความจริงของธรรมชาติทั้งเก้าตานี้ให้ยิ่งๆ ขึ้นไป ว่าอย่างไรว่าวันล้ออายุที่เป็นแก่นสารนั่นน่ะ ควรจะฝึกปฏิบัติวิปัสสนาเก้าตานี้ให้เป็นอย่างยิ่ง เอาหล่ะปีนี้ทำไม่ทันเสียแล้ว เอาไว้เผื่อปีหลังๆ ปีข้างหน้า ว่าวันล้ออายุ วันเลิกอายุนั้น ต้องอาศัยอตัมมยตา อตัมยตาเนี่ยความที่อะไรปรุงแต่งไม่ได้ สังขารใดๆ ปรุงแต่งไม่ได้เรียกว่าอตัมมยตา พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้เป็นลำดับๆ ว่าอตัมยตาสำหรับปฐมฌานตามที่ได้กล่าวแล้ว อตัมยตาสำหรับทุติยฌานก็ได้กล่าวแล้ว ได้ตรัสแล้วดังนี้เรื่อยๆ ไปจนถึงเนวะสัญญาณาสัญญายตนะ ซึ่งเป็นความรู้สูงสุดของสมัยนั้น ในฝ่ายที่เป็ยฌาน เป็นสมถะเป็นสมาบัติ แล้วคนก็ติดอยู่ที่เนาวาสัญญาณาสัญญายตนะ ความรู้อันสูงสุดสมัยนั้นสุดเพียงเท่านั้น พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชาแล้วจึงแสวงหา จนทุกศาสดาก็ไปจบอยู่ที่ พุทกะดาบสรามาบุตรผู้สั่งสอน เรื่องเนวะสัญญาณาสัญญายัตตนะ ท่านอาจารย์บอกลูกศิษย์ว่าหมดแล้วมีเพียงเท่านี้ มาช่วยกันสอนเถิด พระสิทธถัตธะ พระโพธิสัตว์ที่จะเป็นพระพุทธเจ้าบอกว่าไม่เอา ไม่เอา บอกว่าไม่ๆๆ ไม่ถือว่าจบ ไม่ถือว่าสุด ดับทุกข์ไม่ได้ ไม่ใช่ที่สุดแห่งความทุกข์ พระองค์จึงหลีกไปเสีย ค้นพบเรื่อง อนัตตา เรื่องไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใดๆ เรื่องดับตัวตนเสีย เนี่ยเรื่องอตัมยตา เป็นเรื่องที่สูงสุดเหนือไปกว่าที่เขามีกันอย่างสูงสุดในยุคของพระพุทธกาล