แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในวันนี้จะได้พูดต่อเรื่อง “หนทางใหม่ ชีวิตใหม่” ต่อไปจากที่พูดค้างไว้เมื่อวานซึ่งยังไม่จบ ครั้งที่แล้วมาพูดมากมายในเรื่องของชีวิตเก่าหรือหนทางเก่าที่เดินอยู่ แล้วก็มีชีวิตเก่า ซึ่งจะต้องรู้จักให้ถี่ถ้วนให้ละเอียดจริงจังเสียก่อนว่าชีวิตเก่าหนทางเก่านั้นเป็นอย่างไร แล้วก็จะง่ายในการที่จะ deduce deduct ออกไปหาสิ่งที่ตรงกันข้าม หาสิ่งที่ตรงกันข้ามมันก็เป็นหนทางใหม่ในชีวิตใหม่อยู่เอง หนทางเก่าหรือชีวิตเก่านั้นหมายความว่า เราอยู่ด้วยความเป็นบวกและเป็นลบซึ่งให้เกิดตัวตน ให้เกิด Ego แล้วก็เกิดกิเลส แล้วก็เกิดความทุกข์ที่ไม่ปรารถนาทุกอย่างทุกประการนี่หนทางเก่า ชีวิตเก่า อยู่ด้วยความเป็นบวกเป็นลบ อยู่ด้วยตัวตนแล้วเกิดกิเลสแล้วเกิดความทุกข์
ทีนี้หนทางใหม่ แม้จะเกิดบวกและลบ เกิดบวกและลบก็ไม่เกิดตัวตน มันไม่เกิดกิเลส มันไม่เกิดความทุกข์ และยิ่งไปกว่านั้นอีกคือจะไม่เกิดบวกหรือลบเสียเลย เปรียบเทียบหนทางเก่ากับหนทางใหม่อย่างนี้
เราควรจะรู้จักไอ้คำสุดท้ายคือ นิพพาน นิพานะ ภาษาไทยนิพพาน ภาษาบาลี นิพานะ ภาษาสันสกฤต นิวารนะ (นาทีที่ 5.32) ที่ไปอยู่ในภาษาอังกฤษก็ที่ไปจากสันสกฤตก็ นิโรวาร นิโรวานะ รู้เป็นเป้าหมายล่วงหน้า นิพพานที่หนึ่งแม้มันจะตัวกู เอ้อ..เกิดบวกและลบ เกิดบวกและลบขึ้นในจิต มีความรู้สึกเป็นบวกเป็นลบขึ้นในจิต รู้จักบวกลบ แต่ไม่เกิดตัวกูไม่เกิดความทุกข์ นิพพานที่สอง ดีกว่านั้นก็คือว่า ไม่เกิดบวกลบโดยประการทั้งปวง นิพพานมีอยู่สองชั้นอย่างนี้ ท่านเข้าใจเรื่องนี้แล้วก็จะช่วยให้เข้าใจเรื่องทั้งหลายได้ง่าย
ตัวหนทางนั้นมันป้องกันหรือกำจัดความเป็นบวกเป็นลบ ป้องกันไม่ให้เกิดบวกเกิดลบแล้วก็กำจัดความเป็นบวกเป็นลบที่เกิดขึ้น นี่ตัวหนทาง เกิดหนทางใหม่นี่ ทีนี้ชีวิตใหม่ก็ชีวิตที่อยู่โดยปราศจาก หรือเหนืออำนาจ เหนืออำนาจความเป็นบวกเป็นลบก็เท่ากับไม่มีบวกมีลบ แม้จะมีบวกมีลบเกิดมาก็ทำอะไรไม่ได้ อยู่เหนืออำนาจบวกลบก็เท่ากับไม่มีบวกมีลบ นี่ชีวิตใหม่สั้นๆ มีอย่างนี้
ชีวิตเก่ามันไม่มีความรู้เรื่องอตัมมยตา ไม่มีวิธีที่จะทำให้เกิดอตัมมยตา ชีวิตเก่ามันก็ถูกกระทำถูกย่ำยี to trample upon to trample on (นาทีที่ 11.26) เรื่อยไปนี่ชีวิตเก่า พอชีวิตใหม่มีความรู้เรื่องอตัมมยตา บวกและลบก็เลยทำอะไรไม่ได้ treat ไม่ได้ มันต่างกันอย่างยิ่งอย่างนี้สั้นๆ ง่ายๆ ให้ขอให้สังเกตไว้ให้แม่นยำ ชีวิตเก่าถูก to treat upon ? trample on? (นาทีที่ 11.57) โดยบวกลบอยู่เสมอ ชีวิตใหม่จะไม่ถูก treat upon trample on โดยบวกและลบ เพราะว่ามันมี หรือมันไม่มีอตัมมยตา ต่างกันอย่างนี้
การมี อตัมมยตา เราต้องมีธรรมะที่เป็นเครื่องมืออย่างน้อยหรือว่าอย่างสรุป สรุปเข้ามาให้เหลือน้อยก็มี ๓ อย่างคือ มีสติ มีปัญญา มีสมาธิ ๓ อย่าง ถ้าเรานับอย่างนี้ก็นับได้ ๓ นะ แต่ถ้าปัญญา ปัญญานี่แบ่งออกได้เป็น ๒ อย่าง คือปัญญาเป็นอันมากที่เราเก็บไว้ใน Stock ก็อย่างหนึ่ง และปัญญาที่เอามาใช้เฉพาะหน้าปัญญาเพียงอย่างเดียวเรื่องเดียวมาใช้เฉพาะหน้า นี่ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง มันมีอยู่ ๒ ปัญญา ปัญญาทีแรกเราเรียกว่าปัญญา ปัญญา ก็ได้ แต่ปัญญาที่เราเก็บมาใช้เฉพาะหน้าเพื่อต่อสู้เฉพาะ เฉพาะเหตุการณ์นี้ เรียกว่า สัมปชัญญะ สัมปชัญญะ ปัญญามี ๒ ถ้านับอย่างนี้ก็ได้เป็น ๔ สิ มีสติ มีปัญญา มีสมาธินี่ นับเป็น ๓ มีสติ มีปัญญา ๒ อย่างแล้วก็มีสมาธิ นับได้ก็เป็น ๔
จะเห็นง่ายๆ เปรียบเทียบง่ายๆ เช่นว่าในตู้ยา ในตู้ยาของเรามียาหลายๆ อย่างนับไม่ไหว แต่พอเราจะใช้จะกินแล้วกินอย่างเดียวเท่านั้นแหละ เรากินอย่างเดียวเท่านั้นแหละ หรือว่าเรามีอาวุธไว้ในบ้านหลายๆ อย่าง อาวุธบางอย่างพอที่จะใช้มันก็ใช้ทีละอย่างใช้อย่างเดียวเท่านั้นแหละ นี่ปัญญามันก็มีลักษณะอย่างนี้ จะนับเป็นอย่างเดียวก็ได้นับเป็น ๒ อย่างก็ได้
ทีนี้เราก็จะมาดูกันถึงการใช้ สิ่งทั้ง ๓ นี้นะ สิ่งแรกคือ “สติ” สติ หมายถึงความรู้สึกตัว รู้สึกตัวว่าอะไรเกิดขึ้น แล้วจะต้องทำอย่างไร นี่สติมันรู้สึกตัว แล้วสตินี่ก็ระลึก ระลึกหมายถึงระลึกถึงปัญญา ไปขนเอาปัญญามา ถ้าสติไม่ระลึกได้ก็ไม่มีการกระทำ นี่มันระลึกได้มีการกระทำไปขนเอาปัญญามา เอาปัญญามาจาก Stock ที่มากมายเอามาเพียงอย่างเดียวให้เฉพาะที่จะต่อสู้กับเหตุการณ์อันนี้ที่มันเกิดขึ้นเฉพาะหน้า
ทีนี้ถ้าว่ามันไม่มีแรง ปัญญาไม่มีแรง มีแรงน้อยหรือกำลังน้อยก็มีสมาธิช่วยให้ปัญญาที่มาต่อสู้เฉพาะหน้ากับเหตุการณ์นี้มีแรงมาก แล้วกำจัดเหตุการณ์ที่เลวร้ายนั่นออกไป นี่ Teamwork ของสิ่งทั้ง ๓ มันเป็นอย่างนี้ สติไปเอาอาวุธมาคือปัญญา การที่ปัญญาจะทำหน้าที่นั้นปัญญาเองก็มีแต่ความคม ความคม น้ำหนักไม่มีก็ไม่ตัด ต้องมีเอาสมาธิมา สมาธิเป็นน้ำหนัก ปัญญามีความคม สมาธิมีน้ำหนัก การตัดมีได้เพราะมีทั้งความคมและมีน้ำหนัก นี่ต้อง สมาธิต้องไปเอาปัญญามา ถ้าไม่เอาปัญญามาก็ไม่มีการกระทำ นั้นสติ สติไปเอาปัญญามาแล้วก็ใช้ มีการตัดโดยความคมและน้ำหนัก นั้นสติต้องมี ถ้าสติไม่มี มันก็ไม่ได้ไปเอาปัญญามาแล้วมันก็มีความเสียหายหมด มันก็มีความทุกข์ นั้นสติจึงมีประโยชน์ในเบื้องต้นที่ว่าจะไปเอาปัญญามาให้ทันแก่เวลา just in time อย่างเร็ว เร็วที่สุด ถ้าสติช้าสติงุ่มง่ามนี่ก็ใช้ไม่ได้ สติไม่มีก็ยิ่งใช้ไม่ได้ ถ้าไม่มีสติปัญญาก็เป็นหมัน เอาแหละ
พูดสั้นๆ จำง่ายๆ ก็พูดว่า “ สติคือความเร็วทันเหตุการณ์ ทันต่อเหตุการณ์ ความเร็ว ปัญญาความคม ความคมที่จะตัด สมาธิน้ำหนักสำหรับที่จะตัด” มีเท่านี้ ๓ อย่าง เราจะมีสิ่งทั้ง ๔ นี้ สติ ปัญญา สัมปชัญญะ สมาธิ นี่ จะเรียกว่า ๔ หรือ ๓ ก็แล้วแต่ เป็นเพื่อนหรือเป็นเกลอ ของชีวิตเป็นคู่ เป็นคู่ เป็นเกลอของชีวิต ถ้าเรามีอย่างนี้ได้แล้วก็ อตัมมยตา จะมีเสมอ จะมีเสมอไป
สิ่งแวดล้อมเข้ามาทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ถ้าไม่มีสติก็จะไม่รู้สึกต่อสิ่งเหล่านั้นว่ามันเป็นอะไร ว่ามันมาทำอะไรมันเป็นอันตรายอย่างไร ควรจะต้อนรับมันอย่างไร ตามปกติมันมาปรุงให้เป็นบวกและเป็นลบ ถ้าเป็นบวกเป็นลบแล้วไม่มีสติอีก สติไม่มีในขณะที่มันเป็นบวกเป็นลบ มันก็ปรุงเป็นตัวกูเป็นตัวตน มันก็เป็นกิเลสและความทุกข์ นี่สติต้องสมบูรณ์ สมบูรณ์ด้วยแล้วก็เร็วด้วย สติต้องมีทั้งครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ด้วยและเร็วด้วย ถ้าไม่มีสติเป็นเรื่องแรกเป็นเรื่องเบื้องต้นแล้วก็ไม่สามารถที่จะควบคุมสถานการณ์หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิต
เมื่อมีอารมณ์มากระทบจากภายนอกมากระทบ ต้องมีสติ เวลานั้นต้องมีสติ ถ้าเรามีสติพร้อมหรือเร็วครบ มีสติพอและเร็ว มันก็มีสติ มันก็เผชิญหน้ากับอารมณ์ได้ ทีนี้ถ้าไม่มีสติ ถ้าไม่มีสติ อวิชชาธาตุ Element Ignorance ก็ได้โอกาสเข้ามาเพราะไม่มีอะไรป้องกัน อวิชชาธาตุ Element of Ignorance ซึ่งมีอยู่พร้อมโดยทั่วไปในที่ทุกแห่งก็เข้ามาบัญชาเหตุการณ์ ก็ผิด ก็เป็นไปในทางผิด มันก็เกิดผัสสะผิดๆ เวทนาผิดๆ เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน เกิดความทุกข์ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายความทุกข์ ก็เกิดขึ้นแล้วก็เป็นไปจนตลอด จนถึงความทุกข์เพราะเราไม่มีสติ อวิชชาธาตุก็เข้ามาทำงานตามแบบของอวิชชา เกิดผิด ผิด ผิดหมด จนเกิดความทุกข์ นี่ความไม่มีสติ
ทีนี้ตรงกันข้าม ในกรณีที่ตรงกันข้ามเรามีสติ มีอะไรมากระทบ Sense object มากระทบ Sense organ มีสติเพราะเราฝึกฝนไว้ก็มีสติ สตินี่มันปิดโอกาสของอวิชชาธาตุ มันก็เปิดโอกาสแก่วิชาธาตุ Element of wisdom of Enlightenment มันก็มา พอไอ้ wisdom มามันก็เป็นความถูกต้อง ถูกต้อง contact ก็ถูกต้อง felling ก็ถูกต้อง เวทนาถูกต้อง ตัณหาถูกต้องไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดทุกข์ นี่เรียกว่า ถ้าว่ามีสติแล้วก็ไม่เกิดปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์ แต่เกิด ปฏิจจนิโรธะคือฝ่ายดับ การเกิดขึ้นแห่งทุกข์เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท การดับลงแห่งทุกข์เรียกว่าปฏิจจนิโรธะ ถ้าไม่มีสติก็เกิดปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์ ถ้ามีสติก็เกิดปฏิจจนิโรธะคือฝ่ายดับทุกข์ สติต้องใช้ทุกเหตุการณ์ ใช้ทุกเวลาด้วยกัน ก็คือใช้ทุกเหตุการณ์ อย่างเดียวกันแหละ แต่เรามองดูในแง่ของเหตุการณ์ในการที่เข้ามาของอวิชชาธาตุ มันก็เปิดโอกาสแก่วิชาธาตุ element of wisdom Enlightenment มันก็มา พอไอ้ wisdom มามันก็เป็นความถูกต้อง ถูกต้อง contact ก็ถูกต้อง felling ก็ถูกต้อง เวทนาถูกต้อง ตัณหาถูกต้องไม่เกิดอุปาทาน ไม่เกิดทุกข์ นี่เรียกว่า ถ้าว่ามีสติแล้ว ก็ไม่เกิดปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์ แต่เกิด ปฏิจจนิโรธะคือฝ่ายดับ การเกิดขึ้นแห่งทุกข์เรียกว่าปฏิจจสมุปบาท การดับลงแห่งทุกข์เรียกว่าปฏิจจนิโรธะ ถ้าไม่มีสติ ก็เกิด “ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายทุกข์” ถ้ามีสติ ก็เกิด “ปฏิจจนิโรธะคือฝ่ายดับทุกข์”
สรุปความว่า มันเกิดเป็นบวกเป็นลบขึ้นมาแล้ว รู้สึกเป็นบวกเป็นลบขึ้นมาแล้วก็มีสติป้องกันไม่ให้เกิดตัวกู เกิดตัวกูขึ้นมาแล้ว ก็มีสติป้องกันไม่ให้เป็นทุกข์ ควบคุมตัวกูไม่ให้ทำให้เกิดอาการที่เป็นทุกข์ แล้วต้องการตลอดเวลาก่อนแต่ที่จะเกิดหรือกำลังเกิดหรือเกิดแล้ว แม้ความทุกข์เกิดแล้วก็ยังต้องใช้สตินะ เพื่อจะกำจัดมันออกไป ก่อนแต่จะเกิด หรือเกิดอยู่ หรือเกิดแล้ว เราก็ต้องใช้สติ มีสติที่เพียงพอและเร็ว
สติต้องใช้ทุกเหตุการณ์ ใช้ทุกเวลา ก็คือใช้ทุกเหตุการณ์อย่างเดียวกันนั่นแหละ แต่เรามองดูในแง่เหตุการณ์ ในการที่จะป้องกันก็ใช้สติ ในการต่อสู้ก็ต้องใช้สติ ในการทำลายก็ต้องใช้สติ เรามีสติระลึกได้เมื่อป้องกัน เมื่อเราจะใช้ปัญญาหรือความคมก็ต้องมีสติให้ถูกต้อง จะใช้น้ำหนักคือสมาธิก็ต้องมีสติ สติยังต้องใช้ทุกเหตุการณ์ ป้องกัน ต่อสู้หรือทำลายล้างใช้สติ นี่ขอให้สรุปความว่าจำเป็นต้องใช้ทุกเวลาทุกเหตุการณ์
ทีนี้ก็มาพูดกันถึงปัญญา ปัญญา สติแล้วก็มีปัญญา คำว่า “ปัญญา” “ปัญ” แปลว่าครบถ้วน Complete “ญา” แปลว่ารู้ ปัญญาแปลว่ารู้อย่างครบถ้วน ครบถ้วนนี่ก็คือ ถูกต้องตามที่มันเป็นจริง ตามที่มันเป็นจริงอย่างไรอยู่ตามธรรมชาตินี่ต้องรู้อย่างครบถ้วนเรียกว่า ปัญญา ปัญญา แปลว่า รู้อย่างครบถ้วน
ทีนี้ปัญญามาจากวิปัสสนา ซึ่งเราใช้เป็นชื่อของระบบการทำทางจิต วิปัสสนา “วิ” ก็แปลว่าอย่างแจ่มแจ้ง แจ่มแจ้ง ชัดเจนแจ่มแจ้งไม่มีที่สงสัย “ปัสสนา” ปัสสนานี่แปลว่าเห็น เห็นโดยใจ เห็นทางใจ เห็นอย่างเหมือนกับเห็นด้วยตา เห็นด้วยตาอย่างแจ่มแจ้งอย่างไรก็เห็นด้วยใจอย่างแจ่มแจ้งอย่างนั้น เรียกปัสสนา วิปัสสนา เช่นเรามาทำวิปัสสนาที่นี่ คำนี้แปลว่า เห็นอย่างแจ่มแจ้ง ครั้นเราเห็นอย่างแจ่มแจ้งแล้ว เราก็มีปัญญา คือรู้อย่างครบถ้วน ที่เห็นแจ่มแจ้ง นี่เห็นทุกอย่าง เห็นทุกอย่างมันมากมาย มันเกินไปที่จะเอามาพูด พูดทั้งปีก็ไม่จบ แต่เราจะเอาที่มันเป็นใจความสำคัญเป็นหัวข้อ เป็นหัวข้อ
เห็นความจริงของสิ่งทั้งปวงตามที่เป็นจริงข้อแรกก็คือเห็น “อนิจจตา” ความเป็นของไม่เที่ยง ความเป็นของไม่เที่ยง เห็นอนิจจัง เห็นอนิจจตาความเป็นของไม่เที่ยง เมื่อเราเรียกว่าอนิจจัง มันเป็น Adjective พูดอนิจจตามันเป็น noun ลักษณะให้เห็นว่าเปลี่ยนแปลงนี่เรียกว่า อนิจจัง ความที่มันเป็น อนิจจัง เราเรียกว่า อนิจจตา เราต้องเห็นความที่มันเป็นอนิจจัง เห็น นี่เรียกว่าเห็นอนิจจัง การเห็นอนิจจังเรียกว่า อนิจจตา คำนี้สำคัญมาก สำคัญมาก เป็นจุดตั้งต้นของวิปัสสนาที่จะนำไปสู่อตัมมยตา
อนิจจตา ก็แปลว่า ไม่เที่ยง คือไม่คงที่ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงเสมอ คำนี้แปลว่า เปลี่ยนแปลงเสมอ คำพูดของปรัชญากรีซของ ฮีรัสฮีตัส เขาใช้คำว่า แพนทาเร…(นาทีที่ 57:43) ไหลเรื่อย ไหลเรื่อยๆ นี่คือ อาการของอนิจจตา อนิจจัง พวกคริสต์เขารู้เรื่องนี้ดีเขาสอน ฮีรัสฮีตัส ถูกหาว่าคนบ้า เขาก็สอนว่าทุกสิ่งไหลเรื่อย
ทีนี้เราก็ศึกษาความหมายของคำว่า อนิจจัง คือว่าเปลี่ยนเรื่อย ไหลเรื่อย เรามองดูว่าสิ่งที่เรียกว่าธาตุ Element มีมากนับไม่ไหว ไม่ใช่มีเพียงเท่าที่วิทยาศาสตร์ปัจจุบันรู้ ทุกอย่างมันเป็นธาตุหมดอย่างที่พูดแล้ววันก่อน ทุกอย่างมันเป็นธาตุหมด ทีนี้ไอ้สิ่งที่เรียกว่าธาตุนั้นมันไม่ได้อยู่นิ่ง มันมีการกระทบกัน มีการมากระทบกัน แล้วมันก็เกิดสิ่งใหม่ นี่กระทบกันแล้วเกิดสิ่งใหม่นี่คือการเปลี่ยน อย่างว่า ออกซิเจนอันหนึ่ง ไฮโดรเจนอันหนึ่งมาถึงกันเข้ามันก็เกิดการเปลี่ยนเป็นน้ำอย่างนี้ นี่ธาตุไม่รู้กี่ธาตุกี่ร้อยกี่พันธาตุมันถึงกันเมื่อใด มันก็เกิดสิ่งใหม่เกิดการเปลี่ยนอย่างนี้เรื่อยไป เพราะการถึงกันเข้ากับธาตุที่ต่างกัน มันก็เกิดเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งใหม่ขึ้นมา เพราะฉะนั้นธาตุนี่มันพบกันเรื่อย ธาตุทั้งหลายมากระทบกันเรื่อย มันก็เกิดสิ่งใหม่เรื่อย มันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเรื่อย
นอกจากว่าธาตุ ธาตุล้วนๆ จะพบกันแล้วเปลี่ยนแปลงแล้ว มันก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ กลุ่มแห่งธาตุที่เป็นกลุ่มๆ มากระทบกันเข้าก็เปลี่ยนแปลงอีก เช่นว่าพอน้ำนี่ พบกันเข้ากับแสงแดดมันก็เกิดการเปลี่ยนแปลงอีกเป็นไอน้ำ ไอน้ำไปรวมกันมากเข้าก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นเมฆ กระทบความหนาวอีกก็กลายเป็นฝนตกลงมาอย่างนี้ มันก็มีการเปลี่ยนแปลงระหว่างกลุ่มของธาตุ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงมันจึงมีมากเหลือเกิน
กระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงนี่มันติดต่อกันเรื่อย ติดต่อกันเรื่อยจนเกิดสิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ Evolution Evolution ของโลกของทั้งหมดของจักรวาล วิวัฒนาการของจักรวาล คือ กระแสแห่งอนิจจัง
การที่มาถึงกันเข้าระหว่างของสองสิ่งหรือหลายสิ่งแล้วเปลี่ยนแปลง แล้วเปลี่ยนแปลง นี่คือสิ่งที่เราเรียกว่า “ สังขาร ” สังขาร concoction สังขาร สังขารนี่รู้จักสิ่งนี้ไว้ให้ดีดี สังขาร สังขาร สิ่งที่ปรุงแต่ง สิ่งที่ถูกปรุงแต่งหรือการปรุงแต่งเรียกว่า สังขาร มันก็คือกระแสของการเปลี่ยนแปลง เราอาจจะพูดได้อย่างน่าขันว่าอนิจจังเป็นกระแส เป็น Stream ของสังขาร หรือว่าสังขารก็คือกระแสแห่งอนิจจัง จะมองดูทางนี้ไปหรือมองดูทางนี้กลับมาก็ได้ทั้งนั้น อนิจจังเป็นกระแสแห่งสังขาร สังขารเป็นกระแสแห่งอนิจจัง
ทีนี้เราก็มองดูเข้ามาข้างใน ในตัวเราในร่างกายมองดูข้างใน ก็จะเห็นกระแสแห่งอนิจจังหรือกระแสแห่งสังขารเต็มไปหมดทุกอย่างไม่ว่า Particle อันไหนมันก็มีกระแสแห่งอนิจจัง อนิจจัง แม้แต่ Particle สุดท้ายเป็นอะตอม เป็นอะไร มันก็มีกระแสแห่งอนิจจัง มีการปรุงกันในตัวมันเอง จะแยกหยาบๆ แยกอย่างละเอียดที่สุด ที่สุดมันก็มีแต่กระแสแห่งอนิจจัง กระแสแห่งสังขารภายในตัวเรา เราจะมองดูในแง่ของรูป properlity หรือจะมองในแง่ของนาม Mentality มันก็เป็นอนิจจังด้วยกันทั้งนั้น Physical อะไรก็เป็นอนิจจัง อนิจจัง นี่ขอให้มองไปถึงขนาดนี้ก็เรียกว่าเห็นอนิจจังในภายใน
ทีนี้เราก็มองดูข้างนอก มองดูข้างนอกทั่วไป จะเห็นทุกอย่าง ทุกอย่าง อย่างใหญ่อย่างเล็กอย่างอะไรก็ตามกระทั่งเห็นทุกๆ ธาตุ ข้างนอกมันก็อนิจจังคือ เปลี่ยนแปลงเรื่อยไป มาดูข้างในเราก็เห็นเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง พอเราดูข้างนอกเราก็เห็นเปลี่ยนแปลง เปลี่ยนแปลง ถ้าเราเห็นกันจริงๆ เราก็เวียนหัวตาย แต่ความโง่ของเราช่วยไว้ไม่ให้เห็นเราก็ไม่เวียนหัวตาย เดี๋ยวนี้เรามีวิปัสสนา มีปัญญา เรามีวิปัสสนาเราก็ดูข้างในข้างนอกเห็นว่า เปลี่ยนแปลงเรื่อย เปลี่ยนแปลงเรื่อย โดยวิปัสสนาโดยปัญญาเราไม่เวียนหัวตาย
เอ้า ทีนี้ เราเห็นแล้วเราเห็น อนิจจัง หรือเห็นอนิจจตา แล้วแต่จะเรียก ใช้คำว่า อนิจจตา นี่สมบูรณ์ที่สุด เราเห็นอนิจจตา เมื่อทุกอย่างมันเปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย เปลี่ยนเรื่อย เราจะไปเอากับมันเข้า เอามาเป็นของเรา มาเป็นตัวเรา มาอยู่กับเรานี่ เราไปเอามันเข้าอย่างนี้มันก็กัดเอา มันก็ตบหน้าเอา เราเข้าใจจะให้มันเที่ยงจะอยู่กับเรา มันไม่ยอม มันเปลี่ยนเรื่อย
เราไปเกี่ยวข้องกับอนิจจตา มันก็เกิดอาการที่เรียกว่า “ทุกขตา” ทุกขตา ความเป็นทุกข์ คืออนิจจตามันกัดเอา เพราะเราไปเกี่ยวข้องกับมันเข้าจะให้เป็นของเรา ทุกขตามันก็เกิดมาจากอนิจจตาเพราะว่ามันเปลี่ยนเรื่อย มันเปลี่ยนเรื่อย เราจะเอาอย่างที่เราต้องการมันก็กัดเอา มันก็กัดเอา เราก็เป็นทุกข์ เพราะเราไม่รู้จักอนิจจตา เราจะเอาเป็นอย่างของเราหรือเที่ยงมันก็กัดเอา นั้นเมื่อไม่เห็นอนิจจตาจะไปเอากับมันเข้ามันก็เป็นทุกข์แหละ นี่ “ความทุกข์คือ ทุกขตา”
เราอยากจะให้ทรัพย์สมบัติของเรา เกียรติยศชื่อเสียงของเรา บุตรภรรยาของเรา ความรักของเรา อะไรก็ตามอยู่กับเราอย่างเป็นของเที่ยง ทีนี้มันเป็นของไม่เที่ยงมันก็กัดเอา มันก็กัดเอานั้นแหละคือความทุกข์ แม้แต่ร่างกาย ร่างกายนี้ แม้แต่ชีวิตสิ่งที่เราเรียกว่าชีวิต ชีวิต ซึ่งประกอบขึ้นด้วยธาตุทั้งหลายนี่มันก็ไม่เที่ยง มันก็ไม่เที่ยง เราจะให้ร่างกายเที่ยง ให้ชีวิตเที่ยงมันก็กัดเอาแหละ มันก็ให้ความทุกข์แก่เรา นั้นให้มันไม่เที่ยง ให้มันไม่เที่ยงไปตามเรื่องของมัน เราก็จัดการใช้ประโยชน์ได้ตามที่มันไม่เที่ยง เพราะแม้แต่ประโยชน์ที่ได้มามันก็ยังไม่เที่ยง เราจะไปยึดมั่นอะไรกันนัก เราปล่อยให้มันเป็นไปอย่างไม่เที่ยงแล้วเราก็จัดการ จัดการตามที่เราต้องการได้ ตามที่มันไม่เที่ยง นี่จะไม่เกิดความทุกข์
ทีนี้มันน่าหัว น่าหัวอย่างยิ่ง ขบขันอย่างยิ่งคือว่า ถ้ามันเกิดเที่ยงขึ้นมา ไม่เปลี่ยนแปลงเลย เที่ยง ไม่เปลี่ยนแปลงเลย เราก็ไม่ชอบอีกนั่นแหละ เราก็ไม่ชอบอีกนั่นแหละ ให้เราทำอยู่อย่างเดียว กินของอย่างเดียว รสอย่างเดียว อะไรอย่างเดียว อยู่อย่างเดียว ไม่เปลี่ยนแปลง ไม่เปลี่ยนแปลง เราก็ไม่ชอบอีก นั้นการที่เปลี่ยนแปลงมันก็มีรสอร่อย ให้เรานั่งอยู่อย่างเดียวอย่างนี้ เราก็ทำไม่ได้ เราก็ไม่ชอบ ให้เรายืนอยู่อย่างเดียวเราก็ไม่ชอบ นอนอย่างเดียวเราก็ไม่ชอบ เราก็ชอบความเปลี่ยนแปลงอีก นี่เราโกหกตัวเอง มันเป็นมายาเป็นความหลอกลวงอยู่ในความเปลี่ยนแปลง แต่ถ้าเราไปหมายมั่นจะไม่ให้มันเปลี่ยนแปลง แล้วมันก็กัดเอา นั้นเรารู้จักอนิจจตาให้ถูกต้อง อย่าไปหมายมั่นให้มันเป็นนิจตาหรือเป็นของเที่ยง ให้มันเป็นอนิจจตาแล้วเราก็จัดการให้ถูกต้องตามสมควรแก่ความเป็นอนิจจตา ถ้าไปหมายมั่นเป็นนิจตา มันก็กัดเอา เราก็เป็นทุกข์ เรารู้จักอนิจจังให้ดีดี ปฏิบัติต่ออนิจจังให้ถูกต้องตามสมควรแก่กรณี นี่เรียกว่า รู้จักอนิจจัง แล้วก็รู้จักทุกขัง หรือ ทุกขตาอันที่ ๒
วิปัสสนาที่ ๑ เห็น “อนิจตา” วิปัสสนาที่ ๒ เห็น “ทุกขตา” วิปัสสนาที่ ๓ เห็น “อนัตตตา” เป็นเรื่องสำคัญมาก “อนัตตตา” คือว่า เมื่อมันเป็นอนิจจังมันไม่เที่ยง มันเปลี่ยนเรื่อยไปเอากับมันเข้าแล้วก็เป็นทุกข์ ทีนี้เราไม่ต้องการอย่างนั้น เราจะบังคับให้มาเป็นอย่างที่เราต้องการ เราก็บังคับมันไม่ได้ให้มาเป็นตามที่เราต้องการ ไอ้ความที่มันบังคับมันไม่ได้ บังคับมันไม่ได้นั่นคือ ความเป็นอนัตตา มันเป็นธาตุตามธรรมชาติ เป็นธาตุตามธรรมชาติ มันไปตามวิธีของมัน ไปตามวิธีของธาตุตามธรรมชาติ มันไม่มาตามความต้องการของเรา เราบังคับไม่ได้ อย่างที่มันเป็นอนิจจตาเป็นทุกขตา เราบังคับมันไม่ได้ว่ามาเป็นอย่างนี้ มาเป็นอย่างนี้ นี่คือความเป็นอนัตตา มันเป็นตัวของมันเองไปตามธรรมชาติ
ทีนี้วิปัสสนาที่ ๔ ก็เห็น “ธัมมัฏฐิตตา” ธัมมัฏฐิตตา คงแปลกหูสำหรับท่าน ฟังยาก ธัมมัฏฐิตตา “มันต้องเป็นเช่นนั้น” มันเป็นเช่นนั้นเป็นธรรมดา มันเป็นเช่นนั้นเป็นธรรมดา มันจะเกิดขึ้น หรือมันจะตั้งอยู่ หรือมันจะดับไป มันต้องเป็นเช่นนั้นตามธรรมดา เราไม่เห็น เราไม่เห็นความจริงข้อนี้ แล้วเราก็ไม่ยอมรับข้อนี้ เราอยากให้เป็นอย่างอื่นตามที่เราต้องการ ถ้าเราเห็นธัมมัฏฐิตตา มันต้องเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น ตามธรรมดาตามธรรมชาติ ตามธรรมดา แล้วก็เรียกว่าเห็น ธัมมัฏฐิตตา เป็นวิปัสสนาที่ ๔ เราไม่เห็นธัมมัฏฐิตตา ด้วยความโง่ของเรา เราก็เกิดความรู้สึกที่ตรงกันข้าม แล้วเราก็ต้องเป็นทุกข์ คือมันต้องเป็นอนิจจัง มันต้องเป็นทุกขัง มันต้องเป็นอนัตตา นั่นแหละคือความเป็นธัมมัฏฐิตตาเป็น naturality หรือหาคำดีดีคำเดียวเรียกให้มันฟังง่ายขึ้นไปสิ
ทีนี้ก็วิปัสสนาที่ ๕ ก็ “ธรรมนิยามตา” มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่ ธรรมะ แปลว่า ธรรมชาติ นิยามะ แปลว่ากฎหรือ law ความที่มีกฎของธรรมชาติบังคับอยู่เรียกว่า ธรรมนิยามตา กฎของธรรมชาติบังคับอยู่เหมือนกับพระเจ้า พวกอื่นมี God พวกเรามีธรรมนิยามตา บังคับสิ่งต่างๆ เป็นอยู่เป็นไป เราเห็นอันนี้เรียกว่าเห็น ธรรมนิยามตา เป็นวิปัสสนาที่ ๕ ใครบ้างอยู่นอกกฎของธรรมชาติ ใครบ้างสามารถท้าทาย challenge กับกฎของธรรมชาตินี่คิดดูเถิด เราเองหรือใครบ้างที่อยู่นอกกฎธรรมชาติ หรือสามารถที่จะท้าทายต่อต้านว่า กูไม่ไปตามกฎของธรรมชาติ
ทีนี้วิปัสสนาที่ ๖ ก็เห็น “อิทัปปัจจยตา” อิทัปปัจจยตา กฎของธรรมชาติบังคับให้ต้องเป็นไปตามกฎของธรรมชาติแล้วก็มีอาการที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ก็เป็นไปเรื่อยไป นี่มันเป็นกระแสแห่ง อิทัปปัจจยตา ชีวิตนี้เป็นกระแสแห่งอิทัปปัจจยตา กฎนี้ถ้าใช้กับทุกอย่างเรียกว่า อิทัปปัจจยตา ถ้าใช้กับสิ่งที่มีชีวิตเท่านั้นเรียกว่า “ปฏิจจสมุปบาท” หรือ “ปฏิจจนิโรธะ” ก็ได้ แต่เมื่อเรียกรวมทั้งหมดแล้วเรียกว่า อิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้เป็นเหตุสิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้เป็นเหตุสิ่งนี้ก็มีนี่คือ กระแสแห่งสังขารการปรุงแต่ง กระแสแห่ง concoction นี่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา ความรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทหรืออิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาทนี่จำเป็นมากที่จะรู้ ได้บรรยายไว้เป็นพิเศษชุดหนึ่งแล้วหาฟังดูจากเทปบันทึกเสียง
ทีนี้วิปัสสนาที่ ๗ มองเห็นความว่าง ความว่าง voidness ใช้คำว่า Void ดีกว่า Empty ใช้คำว่า void void ว่างจากตัวตน ว่างจากสิ่งที่ควรจะเรียกว่าตัวตน เพราะมีแต่อิทัปปัจจยตา เพราะมีแต่ อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตา เป็นไปตามธรรมนิยามตา ตามกฎของธรรมชาติเท่านั้นแหละ ตัวตนไม่อาจจะมี ไม่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นตัวตน นี่เรียกว่า Void จากตัวตน ความจริงนี้เรียกว่า “สุญญตา” ความว่าง ว่างจากตัวตน ว่างจากตัวตนมันก็แน่นอนไม่เป็นบวกไม่เป็นลบ ไม่เป็นบวกไม่เป็นลบมันก็ไม่มีกิเลส มันก็ว่างจากกิเลส มันก็ว่างจากความทุกข์ มันก็ว่างโดยประการทั้งปวงนั่นแหละ เรียกว่าความดับแห่งทุกข์ ว่างจากทุกอย่างมันก็ไม่มีสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป มันว่าง ว่าง แต่โดยใจความแล้ว “ว่างจากตัวตน” ก็แล้วกัน
เกี่ยวกับเรื่องว่างนี่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เป็นหลัก สั้นๆ เป็น..(นาทีที่ 01:43:39) ว่า สุญโญ โลโก อะเตนะวา อัตตะนิเยนะวา คงจะจำยาก จำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สุญโญ โลโก อะเตนะวา อัตตะนิเยนะวา Universe Void of self and any category of self and some every concerning to self อัตตาคือ self อัตตนียา concerning to self-Universe void จากอัตตา void จากอัตตนียา void จาก self หรือจากไอ้ที่มันเป็นของ self มันเห็นได้ง่ายๆ ว่าถ้ามันไม่มีอัตตาหรือ self แล้วมันก็ไม่มีอะไรเป็นของอัตตา เห็นกันได้ง่ายๆ อย่างนี้ ถ้ามันไม่มี self แล้วมันก็ไม่มีของ self เรามันโง่เรามันมี Ego Ego มี self มี soul มีอะไรมากแล้วแล้วมันก็ไปคว้าเอาทุกๆ อย่างมาเป็นของเรา ไม่มี I ไม่มี My สั้นดีนะ
ทีนี้เมื่อเราเห็นว่าเหลียวไปทางไหนเหลียวไปข้างนอกเหลียวมาข้างในมันก็ void ทั้งนั้น ก็เกิดมีวิปัสสนาที่สรุป สรุปความเป็นวิปัสสนาที่ ๘ “ตถาตา” ตถาตา โอ้ว เช่นนี้เอง เช่นนี้เอง ไม่เป็นอย่างอื่น ไม่ผิดไปจากความเป็นอย่างนี้ เป็นเช่นนี้เอง เป็นอย่างเช่นนี้เท่านั้น นี่เรียกว่า ตถาตา เห็นความเป็นเช่นนั้นเองของทั้งหมด ของธรรมชาติหรือของเหนือธรรมชาติ ธรรมชาติก็เช่นนั้นเอง เหนือธรรมชาติก็เช่นนั้นเอง ไม่มีอะไรที่ไม่เป็นเช่นนั้นเอง ถ้ามันเป็น ตถาตา voidness แล้ว มันจะมี Positive และ Negative ได้อย่างไร ดังนั้นมันก็ไม่มีบวกไม่มีลบ มันก็ไม่มีความหมายที่จะปรุงให้เกิดตัวตน เห็น ตถาตา นี่มีประโยชน์อย่างนี้ อย่างยิ่ง คือไม่ทำให้เกิดความรู้สึกเป็นบวกหรือเป็นลบ
ทุกคู่ Every pair of opposite Good and Evil Positive and Negative ทุกๆ คู่ ทุกๆ คู่ มันเป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง เป็นเช่นนั้นเอง โดยไม่แยกเป็นบวกหรือลบ มันก็นำมาสู่การถูกปรุงแต่งด้วยบวกหรือลบ จิตนี้จะไม่ถูกปรุงแต่งด้วยบวกหรือลบอีกต่อไป นี่เรียกว่าเห็น ตถาตา เราจะต้องรู้สึกความที่เราถูกหลอกลวง ถูกหลอกลวงด้วยความเป็นของคู่นั้น ความเป็นของคู่ dualism มันโกหกเรา มันหลอกลวงเราอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวนี้เรามีตถาตาวิปัสสนาอันที่ ๘ แล้วมันหลอกลวงเราไม่ได้ เมื่อเรามีวิปัสสนาสูงสุดถึงเห็น dustless(นาทีที่ 1.53.11) นี้
ต่อไปนี้ก็มีวิปัสสนาอันสุดท้ายคือ “อตัมมยตา” อะไร อะไร อะไรจะปรุงแต่งเราไม่ได้ มันไม่มีความหมายแห่งบวกลบ ไม่มีอิทธิพลแห่งบวกลบ ข้อนี้เรียกว่าวิปัสสนาอันที่ ๙ “อตัมมยตา” ความที่อะไร อะไรปรุงแต่งเราไม่ได้อีกต่อไป คำว่า “เรา” ก็หายไป คำว่าเราก็หายไป unconcoctability มา อตัมมยตาวิปัสสนาอันที่ ๙
เราได้พูดมาแล้วว่าสิ่งที่เรียกว่าปัญญามาจากวิปัสสนา วิปัสสนาทำให้เกิดปัญญา เดี๋ยวนี้เรามีปัญญาคืออาวุธ มีอาวุธทั้ง ๙ อย่าง ความรู้ทั่วเป็นปัญญา เป็นอาวุธทั้ง ๙ อย่าง อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา ธัมมัฏฐิตตา ธรรมนิยามตา อิทัปปัจจยตา สุญญตา ตถาตา อตัมมยตา สติจะต้องเอาอาวุธนี่อันใดอันหนึ่งมาใช้ทันเวลาทันท่วงทีในกรณีที่เกิดขึ้น นั่นสติจำเป็นอย่างนี้ เอาปัญญามาใช้อย่างนี้ แล้วเราก็มีสมาธิเพิ่มกำลังให้แก่อาวุธคือฟันให้หนักๆ แล้วก็มีสติ มีปัญญา มีสมาธิ ซึ่งเราจะหาได้จากอานาปานสติปฏิบัติ
เรื่องอตัมมยตายังไม่จบ ถ้าทนได้ก็พูดกันอีกครั้งหนึ่ง แต่วันนี้หมดเวลาแล้วขอยุติการบรรยาย ขอบคุณที่อดทนมาก