แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
แรกที่สุดเราพูดถึงเรื่อง introduction ของอริยสัจ วันต่อๆมาเราก็ได้พูดถึงตัวเรื่องอริยสัจ วันนี้เป็นวันสุดท้ายเราก็จะพูดสรุปเรื่องอริยสัจ หรือ เอ่อ,conclusion ของเรื่องอริยสัจ เราจะสรุปใจความสำคัญว่า สัจจะหรือ หนทาง truth หรือ way(นาทีที่ 1.32)นี่ ต้องเป็นไปเพื่อกำจัดข้าศึก ถ้ามันไม่เป็นไปเพื่อกำจัดข้าศึก หรือกำจัดไม่ได้ ก็เราไม่เรียกว่า อริยสัจ หรือว่า อริยมรรค ถ้ามันกำจัดข้าศึกหรือว่าแก้ปัญหา ปัญหานานาชนิดของชีวิตนี้ไม่ได้ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร มันจะเป็นสัจจะ สัจจะแต่มันไม่เป็นอริยะ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เหมือนนาฬิกาข้อมือที่มันไม่ตรงหรือมันโกหกน่ะ มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร เราก็ไม่เอามาแขวน เอามาแขวนก็เกะกะ เสียเวลาเปล่าๆ อริยสัจจะต้องเป็นไปเพื่อกำจัดข้าศึก อริยะ อริยะ ต้องเป็นไปเพื่อกำจัดข้าศึก นี่เราก็ได้พูดเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท กันมาคราวหนึ่งแล้วโดยสมบูรณ์ แล้วเราก็ได้พูดเรื่อง อริยสัจทั้ง ๔ นี่อีก อริยสัจ ๔ นี้ก็เรียกว่าโดยย่อ ปฏิจจสมุปบาท โดยสมบูรณ์ โดยรายละเอียด โดยสมบูรณ์ เป็นอริยสัจใหญ่ อริยสัจที่เล็กนี่พูดเพียงสี่ สี่ข้อ สี่ความหมาย ในเมื่ออริยสัจปฏิจจสมุปบาท เราพูดตั้ง ๑๒, ๑๓ ความหมายให้ครบ มัน ๒ ครั้งก็ตั้ง ๒๔ ความหมายกันอย่างนี้ แต่ก็ยังมีอริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ด้วยคำพูดเพียง ๒คำ เท่านั้นน่ะว่า ทุกข์กับความดับทุกข์ ตถาคตพูดแต่ ๒ อย่างนี้ ไม่พูดอย่างอื่น
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ที่แล้วๆมา แต่ก่อนก็ดี เดี๋ยวนี้ก็ดี หรือจะรวมทั้งต่อไปด้วยน่ะ ฉันพูด Establish น่ะ ตั้งขึ้นพูดนี่แต่เรื่องทุกข์กับความดับแห่งทุกข์เท่านั้นน่ะ ๒ คำเท่านั้น ที่นี้เราจะเห็นได้ทันทีว่าเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท นั้นมันเป็นเรื่องพิสดาร เรื่องยาวที่สุด เรื่องอริยสัจ ๔ ก็เป็นเรื่องขนาดกลาง และคำตรัสสรุปท้ายว่าพูดแต่ทุกข์กับดับทุกข์นี้เป็นอริยสัจที่สั้นที่สุดแล้ว เพราะฉะนั้นในการที่ท่านจะศึกษาเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท ก็ดี เรื่องอริยสัจทั้ง ๔ ก็ดี ก็หายเพราะความหมายคำว่าทุกข์และความดับทุกข์เท่านั้น ให้เหลือแต่ใจความ แก่นของเรื่องเพียงเท่านั้น
เดี๋ยวนี้เราศึกษาอริยสัจในส่วนที่แวดล้อมหรือประกอบ ประกอบเป็นเปลือกมากเกินไป จึงไม่ค่อยที่จะรู้ เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา บางที่เราต้องเสียเวลาเรียนภาษาบาลีกันมากด้วย เอ่อ,ชาวต่างประเทศก็จะเสียเวลาศึกษาเรื่องประเทศอินเดีย ประวัติศาสตร์ประเทศอินเดีย ประวัติศาสตร์ ปรัชญามากมาย เอ่อ,ของประเทศอินเดีย ในหนังสือเล่มหนึ่งๆ น่ะจะเสียเนื้อที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มาก และยังจะต้องไปเรียนพุทธประวัติ พุทธประวัติน่ะเป็นเรื่องประกอบอีกเหมือนกันอีกมากมาย หลาย chapter ของหนังสือได้สิ้นไปด้วยเรื่องที่ไม่ใช่หัวใจของพระพุทธศาสนา ฉะนั้นใครสนใจแต่เพียงว่าทุกข์กับดับทุกข์ และก็ศึกษาชนิดโดยตรงจากตัวทุกข์ ตัวความดับทุกข์คือจากจิตใจของเราเอง ถ้าศึกษาอย่างนี้ จะเป็นการศึกษาปฏิจจสมุปบาทที่ถูกต้อง หรือ อริยสัจที่ถูกต้อง หรือความทุกข์กับความดับทุกข์ที่ถูกต้อง
แม้เดี๋ยวนี้ท่านทั้งหลายก็ยังคิดแต่จะเสียเวลา ยอมเสียเวลาเป็นอันมากศึกษาพุทธศาสนาอย่างอินเดีย พุทธศาสนาอย่างประเทศไทย พุทธศาสนาอย่างศรีลังกา อย่างจีน อย่างทิเบต อย่างมากมาย แล้วก็ต้องยังจะเป็นอย่างเถรวาท อย่างมหายาน อย่างเซน อย่างวัชรญาณ(นาทีที่ 14.41) อย่างอะไรต่างๆอีกมากมาย ไม่ชัดไม่จี้ลงไปที่ตรงจุดว่าทุกข์กับความดับทุกข์ แล้วก็ศึกษาจากจิตใจที่ ที่มีความทุกข์ จิตใจที่มีความทุกข์นั่นแหละคือจุดตั้งต้น เอ่อ,ของการศึกษา เอ่อ,พุทธศาสนา นั่นคือตัวธรรมะ ตัวทุกข์กับดับทุกข์ เป็นตัวธรรมะให้สมกับที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้ใดเห็นธรรมะผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็นเราผู้นั้นเห็นธรรมะ ศึกษาที่นั่น
จึงขอให้ท่านทั้งหลาย อย่าได้ลืมคำตรัสที่เคยบอกให้ท่านทั้งหลายฟังแล้วว่า พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสว่า เรื่องความทุกข์ก็ดี เหตุให้เกิดความทุกข์ก็ดี ดับสนิทแห่งความทุกข์ก็ดี ทางให้ถึงความดับสนิทแห่งความทุกข์ก็ดี สารนั่น(นาทีที่ 17.48) พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ว่ามีอยู่ในร่างกายที่ยาวเพียงประมาณว่าหนึ่งเท่านั้น the only one fathom long (นาทีที่ 17.58)นี่ ในนี้ที่ยังมีชีวิตกันเป็นอยู่ พบอริยสัจทั้ง ๔ ในร่างกายที่ยาวเพียงวาเดียว ขออย่าลืมธรรมข้อนี้ ทีนี้ขอระบุเลย ระบุที่ไปยังระบบอานาปานสติภาวนา นั่นแหละเป็นวิธีศึกษาอริยสัจทั้ง ๔ ในร่างกายที่ยาวเพียงประมาณวาหนึ่งเท่านั้น ขอให้สนใจระบบอานาปานสติให้ถูกต้องให้ดีที่สุด และมันจะเป็นวิธีศึกษาอริยสัจทั้ง ๔ ในร่างกายที่ยาววาหนึ่งเท่านั้น ในวันข้างหน้าสักโอกาสหนึ่งเราจะพูดเรื่องอานาปานสติกันให้ชัดเจน ให้ละเอียด ให้ครบถ้วนเหมือนที่เราพูดเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท และเรื่องอริยสัจ
ที่นี้ก็มามองดูในแง่ที่ว่า อริยสัจ เป็นที่รวมหมดแห่งคำสอนที่จำเป็น ต้องขอใช้คำว่าที่จำเป็น เพราะว่าที่ไม่จำเป็นมันมีมาก เอาที่จำเป็น รีบด่วนกันแล้วก็คือเรื่องอริยสัจ แล้วก็ตรัสไว้ในลักษณะที่ว่า มันเป็นเรื่องที่รวมมาทั้งหมด เอ่อ,ดังที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า ความรู้ทั้งหมดที่ได้ตรัสรู้เท่ากับใบไม้หมดทั้งป่าเลย ที่เอามาสอนให้ท่านทั้งหลายนี้เท่ากับใบไม้กำมือเดียว ที่ท่านเรียกว่าใบไม้กำมือเดียวนั่นคือว่าเรื่อง อริยสัจ นั่นเอง ไม่ต้องสอนกันทั้งหมด นั่น นี่ โน่น นี่มันมากมาย เรียนเรื่องอริยสัจ ประมาณเท่ากับใบไม้กำมือเดียว เมื่อเทียบกับใบไม้หมดทั้งป่า เพราะฉะนั้นมันไม่ควรจะเหลือวิสัย มันไม่ควรจะล้มเหลว มันควรจะได้กันถูกต้องและรัดกุมด้วยกันทุกคน เป็นที่รวมของคำสอนทั้งหมด
การที่เราพูดว่าไม่ๆๆ ยังไม่ต้องศึกษา หรือยังไม่จำเป็นจะศึกษาพุทธประวัติ เราข้ามเสีย เราก็ไปศึกษาไอ้ ตัวทุกข์ ไอ้ตัวดับทุกข์โดยตรงจากจิตใจอย่างนี้ ฟังดูแล้วมันคล้ายกับไม่ให้ความสำคัญแก่พระพุทธเจ้า แต่ถ้าเรานึกถึงข้อที่ว่า ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา ผู้ใดเห็น ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นฉัน ผู้ใดเห็น
ถ้าท่านจะศึกษาพุทธประวัติกันบ้าง ก็ขอให้คอยจ้องเฉพาะที่จะเป็นเรื่องความทุกข์กับความดับทุกข์ที่มีอยู่ในพระพุทธประวัตินั้น ก็มีประโยชน์บ้างเหมือนกัน แต่เดี๋ยวนี้หนังสือพุทธประวัตินี้มันๆๆกว้างขวาง พุทธประวัติบางเล่มมันพูดอย่างพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ มันคล้ายกับศึกษาประวัติศาสตร์ไปเสีย บุคคลในประวัติศาสตร์คนหนึ่งนี้ก็มีเรื่องมายาวเหมือนกันนะ แล้วพุทธประวัติบางชนิดมันก็เป็นเรื่อง legend , legend diary (นาทีที่ 26.12) มากไป นี่มันก็ไม่ไหว ถ้าเอาหนังสือพุทธประวัติมาอ่าน แล้วก็เลือกเอาแต่ที่มันมีเรื่องราวของทุกข์และความดับทุกข์ปรากฎอยู่ในพุทธประวัตินั้น ก็มีประโยชน์
ที่นี้ก็มาดูเรื่องอริยสัจ เรื่องอริยสัจนี่ มันเป็นเรื่องจำเป็นสำหรับทุกคนที่มีความทุกข์ ถ้าใครมีความทุกข์ คนนั้นก็จำเป็นเรื่องอริยสัจ ที่จะต้องรู้ จะต้องเรียน จะต้องศึกษา ทีนี้มีบางคนเข้าใจผิด เป็นนักศึกษาด้วย เป็นนักศึกษา เป็นนักศาสตร์ก็มี เอ่อ,เขาเข้าใจไปว่าเรื่องอริยสัจนี่มันสำหรับคนที่จะไปบวชเป็นพระอรหันต์ เท่าโน้น อย่างโน้น เท่านั้น ไม่ใช่เรื่องสำหรับคนที่จะอยู่ในโลกนี้ จะอยู่ในโลกนี้ หลักเรื่องอริยสัจแลมรรคมีองค์ ๘ นี้เอามาใช้ไม่ได้ เอ่อ,กับคนที่อยู่ในโลกนี้เป็น business man (นาทีที่ 28.42)นี่ เขาจะไม่มีความเจริญนี่ มันเข้าใจผิดอย่างยิ่ง ฉะนั้นขอให้ถือเป็นหลักเด็ดขาดไว้ว่า ที่ใดมีความทุกข์ ที่นั้นต้องมีศึกษาอริยสัจ ผู้ใดมีความทุกข์ ผู้นั้นต้องศึกษาอริยสัจ
ถ้าชาวนารู้เรื่องอริยสัจ เอ่อ,เขาจะมีความทุกข์น้อย น้อยกว่าที่เขามีอยู่เวลานี้ ถ้ากรรมกรเขารู้เรื่องอริยสัจ เขาก็จะมีความทุกข์น้อย น้อยลงไปกว่าที่เขากำลังมีอยู่เดี๋ยวนี้ แม้เขาจะเป็น business man มีธุรกิจอันใหญ่โตกว้างขวาง ซึ่งเขามีความทุกข์มากเป็นเศรษฐีก็ได้ ถ้าเขารู้เรื่องอริยสัจ เขาจะมีความทุกข์น้อยลงไปอีก เขาจะไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ฆ่าตัวตาย ฆ่าตัวเองตาย suicide ไม่ต้องมี ไม่ต้องมี แล้วเขาก็จะได้ลด ลด craving แล้วเขาก็จะมี inspiration ที่ดีที่สูงไปตามลำดับ นี้ก็มีประโยชน์มาก แล้วก็ลดความทุกข์ได้มาก ไม่ว่าใครคนใด คือชีวิต ชีวิตไหนที่มีปัญหาแล้วก็ ชีวิตนั้นต้องการความรู้เรื่องอริยสัจ เอ่อ,ปัญหาชีวิตนี้ก็รู้จักกันพอ พอสมควร เป็น Burden of life (นาทีที่ 33.20) or เป็นอะไรยุ่งยากไปหมด เป็นชีวิตที่เต็มไปด้วย sucking(นาทีที่ 33.24) ใช่ไหม ไม่มีการพักผ่อน ไอ้ความรู้เรื่องอริยสัจจะทำให้เขามีการพักผ่อนและก็มีกำลังสติ ปัญญา เอ่อ,มีอะไรที่จะต่อสู้กับปัญหาแห่งชีวิต
อยากจะถามว่าเราจะวิ่งหนีเสือหรือสิงห์โตโดยที่ไม่ต้องกลัว ไม่ต้องกลัวจะได้ไหม ถ้าเรากลัว กลัวเสร็จแล้วเราจะวิ่งหนีอย่างดีได้ไหม เราจะวิ่งหนีอย่างเร็วเท่านั้นแหละ ฉะนั้นเราบางทีเราทำพลาด หนีไม่ได้ หนีไม่เป็น ถ้าเรามีความรู้เรื่องทุกข์เรื่องดับทุกข์โดยแจ่มแจ้ง เรื่อง craving เรื่องอะไรต่างๆ นี่ดีเราหยุดมันเสีย เราอาจจะวิ่งหนีเสือหรือวิ่งหนีสิงห์โตได้อย่างดี อย่างมีศิลปะ และเป็นการ(นาทีที่ 35.44) จะไม่มีความทุกข์ด้วย ในชีวิตนี้ มันเหมือนกับว่าเต็มไปด้วยอันตราย จะเป็นเสือ สิงห์ เป็นสิงห์โต เป็นสัตว์ร้าย เป็นอะไร เอ่อ,ต่างๆ แม้แต่กับโรคภัยไข้เจ็บ โรคภัยที่เขากลัวกันหนักหนา นั่นก็เรียกว่าอันตราย เราจะวิ่งหนีอันตราย หรือจะต่อสู้กับอันตรายโดยที่ไม่ต้องมีความกลัวได้หรือไม่ ความกลัวนี่มาจาก craving ไม่มี craving แล้วจะไม่มีความกลัว แล้วก็กล้าหาญ แล้วก็มีกำลัง แล้วก็ต่อสู้กับอันตรายเหล่านั้นได้ดี
โลกยิ่งเจริญทางวัตถุ ยิ่งเจริญด้วยวัตถุ ไม่เจริญด้วยธรรมะ มันยิ่งเต็มไปด้วยอันตรายเต็มไปด้วยสิ่งที่ทำให้เรากลัว และเต็มไปด้วยสิ่งที่ทรมานจิตใจของเรา เราจะอยู่ในโลกที่เจริญทางวัตถุนี้แล้ว เราจะต้องมีเอ่อ,ความรู้เรื่องอริยสัจนี้ให้มันเพิ่มขึ้นๆ อริยะ แปลว่า ไม่มีข้าศึก ปราศจากข้าศึก เอ่อ,ขอให้ท่านศึกษาอริยสัจด้วยความมุ่งหมายว่าจะอยู่ในโลก ในอนาคตที่เจริญด้วยวัตถุนี้อย่างไม่มีปัญหา อย่างที่ไม่มีปัญหา เพราะว่าในโลกที่เจริญด้วยวัตถุนี้อยู่ยาก อยู่ลำบาก อยู่ยากยิ่งขึ้นทุกที ยิ่งขึ้นทุกที ยิ่งเจริญทางวัตถุเท่าไรยิ่งอยู่ยาก อยู่ลำบาก เอ่อ,ยิ่งขึ้นทุกที ฉะนั้นขอให้ศึกษาอริยสัจ เตรียมตัวสำหรับพร้อมที่จะอยู่ในโลกที่ยุ่งยาก ลำบากยิ่งขึ้นทุกที
อย่างได้ อย่างที่ได้พูดให้ท่านทั้งหลายฟังแล้วว่า หลักอริยสัจนี้มันเป็นหลักวิทยาศาสตร์ ไม่ได้เป็นphilosophy ไม่เป็น logic ไม่ได้เป็นอะไรทำนอง(นาทีที่ 42.20) นั้น มันเป็นวิทยาศาสตร์แต่ว่าคนไม่ค่อยเห็น ไม่ค่อยสังเกต ไม่ค่อยเข้าใจ แต่เนื้อแท้มันเป็นวิทยาศาสตร์ ดังนั้น ในโลกอนาคตที่จะเจริญด้วยวิทยาศาสตร์นี่ มันไปทางวัตถุหนึ่งมันก็ไปสู่ปัญหา เอ่อ,มากขึ้นน่ะ เพราะวัตถุมันหล่อเลี้ยง craving มิใช่ว่าเรามีวิทยาศาสตร์ทางจิตใจ ทาง spiritual นี้ มันมากขึ้นนี่มันก็จะเหมาะสำหรับที่จะอยู่ในโลกที่เจริญด้วยวิทยาศาสตร์ทางฝ่ายวัตถุ
ท่านทั้งหลายก็คงจะได้เคยฟังหรือว่าเคยอ่านข้อความของไอน์สไตน์น่ะ เขาเขียนไว้ว่า ศาสนาที่จะเหลืออยู่ในโลกในอนาคตนี้ มันต้องเป็นศาสนาที่สามารถเผชิญกับความต้องการของวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะแก้ไขปัญหาเอ่อ,ของโลกตามวิถีทางวิทยาศาสตร์ นี่ นักวิทยาศาสตร์เขา เขามีความคิดอย่างนี้ จึงขอให้พยายามศึกษาอริยสัจในแง่ของวิทยาศาสตร์ไว้อย่างเพียงพอด้วย แล้วท่านก็จะเป็นผู้มีชัยชนะอยู่ในโลกที่แสนจะยุ่งยากลำบากได้เป็นแน่ ไม่เสียทีที่มาศึกษา
อยากจะยืนยันว่า เขาจะเป็นคนยากจน เป็นคนขอทาน เขาก็จะต้องควรจะมีความรู้เรื่องอริยสัจ แล้วความทุกข์จะน้อยลง เขาเป็นคนเจ็บไข้มีโรคภัยไข้เจ็บมาก เขาจะต้องรู้อริยสัจ แล้วเขาจะมีความทุกข์น้อยลงแล้วเขาจะหายจากโรคภัยไข้เจ็บ หรือแม้ถ้าเขาจะต้องตายเขาจะต้องตายอย่างดีที่สุด มันจะมีประโยชน์แม้แต่คนขอทานหรือคนเจ็บไข้ที่ ที่หมอบอกว่าไม่รอดแล้วมันจะต้องตายแล้ว มันก็ยังจะต้องอาศัยเรื่องนี้ เรื่องลดความยึดมั่นถือมั่น อวดตัวตนในขันธ์ทั้ง ๕เสีย ลด craving ในสิ่งทุกสิ่งเสียก็จะเป็นประโยชน์ แม้แต่คนขอทานและคนจะตาย
ทีนี้อีกทางหนึ่งตรงกันข้าม ฝ่ายตรงกันข้ามเขาเป็นมหาเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมาก เขาเป็นนักการเมือง เขามีอำนาจมาก เอ่อ,ขอให้เขารู้อริยสัจเถิด เอ่อ, ทรัพย์สมบัติมาก อำนาจมากนั้นจะไม่เป็นภาระหนัก ไม่เป็นburden of life (นาทีที่ 49.51) ไม่เป็นภาระหนัก ไม่เป็นความสุขที่ทรมานเขา แม้เขาจะเป็นมหาเศรษฐี หรือว่าเป็นนักการเมืองที่มีอำนาจมาก หรือว่าต่อให้เขาเป็นเทวดา เป็นเทวดาในเทวโลกตามที่ท่านทั้งหลายก็รู้เรื่องนี้ เขาก็ยังต้องอาศัยความรู้เรื่องอริยสัจ มิฉะนั้นเขาจะมีความทุกข์เป็นอันมาก the craving ด้วย อะไรต่างๆนี่ ทั้งที่เขาอยู่ในเมืองสวรรค์ ในโลก ในเทวโลก
เป็นอันว่า สรุปความว่า แม้ว่าเขาจะเป็น เป็นชนกรรมาชีพ หรือว่าเขาจะเป็นนายทุน เหมือนกันหมดเลย เหมือนกันเลย เขาจะต้องมีความรู้เรื่องอริยสัจที่จะลดไอ้ความทุกข์ ลดความทรมานใจ ลดปัญหาต่างๆได้ เขาจะไม่ต้องมีความทุกข์เพราะความยากจน ไม่ต้องมีปัญหาเพราะความมั่งมี นี่ ธรรมะนี้เป็นประโยชน์ตามคำตรัสของพระพุทธเจ้าและเป็นประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ มนุษย์กับเทวดา มันตรงกันข้ามเลย แต่ว่าเป็นประโยชน์ทั้งแก่เทวดาและมนุษย์ เหมือนอย่างที่เราจะพูดว่าเป็นประโยชน์ทั้งแก่ชนกรรมาชีพและแก่นายทุน
มีคำพูดตามแบบหลักธรรมะในพุทธศาสนาหรืออินเดียทั่วๆไป สรุปใจความได้ว่า มนุษย์ human being นี่ คือบุคคลที่ยังต้องเผชิญกับเหงื่อ รู้จักเหงื่อ ถ้าเป็นเทวดา seraph being (นาทีที่ 54.25) ไม่รู้จักเหงื่อ ไม่รู้จักความทุกข์ยากลำบากอันเกิดจากเหงื่อ เช่นเดียวกับชนกรรมาชีพนี่ต้องรู้จักเหงื่อ พวกนายทุนเขาก็ไม่ต้องรู้จักเหงื่อ นี่ พูดเป็นภาษาธรรมะ และก็มีคำพูดที่น่าหัว น่าหัวเราะต่อไปอีกว่า ถ้าเทวดาเกิดมีเหงื่อ รู้จักเหงื่อขึ้นมาเมื่อใด เขาก็จะตาย จะหมดความเป็นเทวดาทันที ความรู้เรื่องอริยมรรค อริยมรรค eightfold path(นาทีที่ 56.25) เป็นความรู้ที่ดีที่สุด ที่จะให้อยู่เหนือปัญหาเหล่านี้ จะช่วยหมดทั้งคนขอทาน คนยากจน คนเจ็บไข้ คนธรรมดาสามัญ เอ่อ,แล้วก็ถึงเทวดา จำเป็นที่จะต้องมีความรู้เรื่อง อริยมรรคมีองค์ ๘ เอ่อ,มันมีๆมีความหมายอย่างนี้ มีความกว้างขวางอย่างนี้สำหรับเรื่องอริยสัจ เป็นอันกล่าวได้ว่าเรื่องอริยสัจเป็นความรู้ที่จำเป็นสำหรับสิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่มีชีวิตจะรู้จักความทุกข์ จำเป็นทุกข์ระดับ ทุกข์ระดับไม่ยกเว้นระดับไหน เอ่อ,ต่ำสุดจนถึงสูงสุดน่ะ เพราะฉะนั้นไม่เสียทีที่เรามาเรียนเรื่องอริยสัจ
ที่นี้ก็มาเรื่องที่พึ่ง ที่พึ่ง ผู้ที่จะมีที่พึ่งเป็นพระพุทธ เป็นพระธรรม เป็นพระสงฆ์ เขาก็ต้องรู้อริยสัจ พระพุทธเจ้าตรัสไว้อย่างนี้ เรามีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง เขาก็ต้องรู้อริยสัจ เรื่องทุกข์ เรื่องเหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางความดับทุกข์ ความมีที่พึ่งจึงจะมี มีความเป็นที่พึ่งที่แท้จริง และก็จะพึ่งได้จริง แล้วก็อยากจะพูดเลยไปถึงว่า ใครจะมี god บนสวรรค์เป็นที่พึ่ง ก็ต้องรู้อริยสัจ รู้อริยสัจและ god นั้นจึงจะเป็นที่พึ่งให้ได้ เอ่อ,เช่นเดียวกับ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งได้ก็ต่อเมื่อเขารู้อริยสัจ หรือมีความรู้การปฏิบัติเรื่องอริยสัจ
ที่มันน่าหัวอีกเรื่องหนึ่ง ที่ว่าพระพุทธเจ้าตรัสบอกให้ทุกคนน่ะพึ่งตัวเอง พึ่งตัวเอง พึ่งตัวเองในที่นี้หมายถึงพึ่งธรรมะ คือตัวเองทำให้มีธรรมะ คือรู้อริยสัจนั่นแหละ อย่างนี้เราพึ่งตัวเองหรือพึ่งธรรมะ พระพุทธเจ้าบอกให้พึ่งตัวเอง แต่พวกสาวกนี่มันดื้อ ไม่พึ่งตัวเองจะไปพึ่งพระพุทธเจ้า ไปพึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และก็ไม่ได้รู้อริยสัจเลย เหลวหมด คำว่าพึ่งตัวเองกับพึ่งธรรมะน่ะ มันเป็น synonym แก่กันและกัน พึ่งตัวเองต้องรู้ธรรมะ คือรู้อริยสัจ แล้วความรู้เรื่องอริยสัจปฏิบัติให้เกิดมันทำให้พึ่งตัวเองได้ นี่ธรรมะ ธรรมะ คำนี้เคยพูดกันหลายครั้งหลายหนแล้วว่า นับตามหลักธรรมะในพุทธศาสนา ธรรมะก็มีค่าเท่ากับ god พึ่งธรรมะก็คือพึ่ง god ต้องรู้อริยสัจถึงจะพึ่งธรรมะ ถึงจะพึ่ง god ก็ต้องมีความรู้เรื่องอริยสัจ
เอ่อ, ปัญหานี้หรือ point อันนี้ที่จะ ที่จะต้องทำความเข้าใจ ธรรมะคือ god god คือธรรมะน่ะ จะต้องทำความเข้าใจกันให้ดีๆ ระหว่างศาสนาที่มี god กับ ไม่มี god เดี๋ยวก็จะทะเลาะกัน เอ่อ,จะมีประโยชน์ที่สุดคือทำความเข้าใจระหว่างศาสนา ในที่สุดจะมารวมจุดเดียวกันว่ามีความรู้เรื่องอริยสัจนี่ก็จะหมดปัญหา จะมีชีวิตใหม่ที่ว่าไม่มีปัญหา เอ่อ,เหนือๆๆ good เหนือ evil เลย ที่ว่าหมดปัญหากระทั่งเหนือ good เหนือ evil เลย การพูดว่าพึ่งตนเองหรือพึ่งธรรมะนี่เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และการจะพูดว่าพึ่งผู้อื่นจนพึ่ง god เป็นต้นนี่ มันเป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่เป็นวิทยาศาสตร์ นี่ พึ่งตนเองกับพึ่งผู้อื่นน่ะอันไหนเป็นวิทยาศาสตร์กว่า ฉะนั้นในโลกวิทยาศาสตร์นี้จะต้องรู้จักที่พึ่ง ที่พึ่ง ที่อาจจะเป็นที่พึ่งได้แท้จริง เรายืนยันเรื่องความรู้เรื่องอริยสัจนี่ก็เป็นที่พึ่ง ก็จบหลักวิทยาศาสตร์
พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ความรู้ รู้อริยสัจ ยังไม่ได้ปฏิบัติจึงจะรู้ realize ,realize อริยสัจแต่ยังไม่ทันปฏิบัติ เพียงแต่รู้อริยสัจในลักษณะอย่างนี้แล้ว เอ่อ,ปัญหาแห่งชีวิตหรือความทุกข์นี่จะหมดไปอย่างมากมาย มากมายอย่างยิ่ง เหลืออยู่นิดเดียว เปรียบเหมือนกับว่าขี้ฝุ่นติดปลายเล็บหยิบมือหนึ่งนี่ ไปเทียบกับภูเขาหิมาลัยหรือว่า เอ่อ, ทั้งๆๆโลกครึ่งโลกนั้นน่ะ อันไหนมันมากกว่ากัน นี่เขาว่าถ้ารู้อริยสัจเท่านั้นแหละ ปัญหาหรือความทุกข์จะเหลือเท่าขี้ฝุ่นติดปลายนิ้วเมื่อเทียบกับภูเขาหิมาลัยหรือว่าเทียบกับไอ้โลกทั้ง ทั้งโลก เดี๋ยวนี้เราทั้งรู้ด้วยและทั้งปฏิบัติด้วย ความทุกข์เลยไม่ ไม่เหลือเลย ไม่มีเหลือเลย นี่ คุณค่า คุณค่าของอริยัสจมีอย่างนี้ แม้แต่เพียงรู้ก็ความทุกข์ก็หมดไปเกือบหมด พอปฏิบัติก็เลยหมด ฉะนั้นขอให้ท่านศึกษาชนิดที่มีความรู้จริงๆ เอ่อ,อย่าๆเพียงแต่ว่าฟังหรือ listening น่ะ ไม่พอ มันต้องขึ้นไปถึง realize เห็นว่าเป็นอย่างนี้จริง ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดความทุกข์ หมดตัณหาก็เป็นเหตุให้ไม่มี ก็ไม่มีความทุกข์ อริยมรรคมีองค์ ๘ ช่วยให้หมดตัณหา
ทีนี้ท่านก็เปรียบคุณค่า เอ่อ,ของอริยสัจไว้อีกว่า แม้เราจะต้องลำบาก เจ็บปวดมากเท่าไร แต่ถ้าได้รู้อริยสัจแล้วเราก็ยอม เราก็จะทน จะยอมทน เปรียบไว้ว่าแม้ว่าเขาจะตีเราทั้งวัน เขาจะแทงด้วยของมีคมทั้งวันๆ เราก็จะยอม ถ้าจะ ถ้าเป็นเหตุให้ได้รู้อริยสัจ หรือว่าเราต้องเดินทางไกลไปลิบลับ แต่ถ้าจะรู้อริยสัจได้แล้วเราก็ยอม นี่ นี่ท่านเปรียบเทียบค่าของอริยสัจไว้ในลักษณะที่ว่า แม้จะต้องลงทุนมากถึงอย่างนี้เราก็ยอม ถ้ามันจะเป็นเหตุให้รู้อริยสัจ
เดี๋ยวนี้การรู้อริยสัจของเราไม่ต้องเจ็บปวดลำบากมากมายถึงขนาดนั้น เราพยายามลำบากปฏิบัติ อานาปานสติให้ดีที่สุด โดยที่ไม่ต้องเจ็บปวดมากถึงขนาดนั้นเราก็รู้อริยสัจได้ จะมาจากอเมริกา จากยุโรป จากออสเตรเลีย จากไหนก็ตาม มันก็ไม่ได้ลำบากมากถึงขนาดนั้น แล้วพยายามฝึกอานาปานสติให้สำเร็จแล้วเราก็จะรู้อริยสัจ นี่เป็นสิ่งที่ควรจะได้ ควรจะทำให้ได้และควรจะมี
ทีนี้ก็พูดต่อไปถึงเรื่องที่ว่ามีพระคุณ มีความดีต่อเรา ผู้ที่ยังมีพระคุณต่อเรามากที่สุด ก็คือผู้ที่ทำให้เรารู้อริยสัจ บิดามารดา เพื่อนฝูง มิตรสหาย ภรรยาสามี ที่ได้ไป (นาทีที่ 1.16.15) จะดีต่อเรา ดีต่อเรา มีประโยชน์แก่เรา มีคุณแก่เรานั้น ไม่เท่ากับบุคคลที่ทำให้เรารู้อริยสัจ เรียกว่าผู้ที่ทำให้เรารู้อริยสัจนั้นน่ะคือผู้ที่มีความดีต่อเรา มีบุญคุณต่อเราอย่างสูงสุด เอ่อ,จะเรียกว่าอะไรก็สุดแท้ผู้ที่มีความดีแก่เรา มีประโยชน์แก่เรา มีบุญคุณแก่เรา หรือผู้ที่ช่วยเรา ที่สูงสุดก็อยู่ที่ผู้ที่ทำให้เรารู้อริยสัจ ฉะนั้นขอให้ เอ่อ,สนใจผู้ที่จะช่วยทำให้เรารู้อริยสัจ เอ่อ, เขาค่อนข้าง(นาทีที่ 1.18.47) ตีราคาไว้มากกว่าบิดามารดา กว่ามิตรสหาย กว่าเพื่อนรัก กว่าอะไรทั้งหมดเลย มี ในที่สุดได้ตรัสว่าถ้าบุคคลผู้ใด มีฉันน่ะ มีฉันตถาคตน่ะ เป็นเพื่อน เป็นเพื่อนที่ดี เขามีตถาคตเป็นเพื่อนที่ดี แล้วเขาก็จะพ้นจาก ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย พ้นจากปัญหาที่เกิดมาจากความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย คือทุกข์ทั้งหลาย ทุกข์ทั้งปวง นี่ เราพ้นจากทุกข์ทั้งปวง เพราะมีพระพุทธเจ้าเป็นเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตร เพื่อนที่ดี เพราะทำให้รู้อริยสัจน่ะ
ความจริงมีอยู่ว่าตลอดเวลาที่เรายังไม่รู้อริยสัจ ไม่เห็นอริยสัจ เราก็จะเห็นกงจักรเป็นดอกบัวอยู่ตลอดไป คำนี้เป็น verb เอ่อ,เป็น proverb , thai proverb เห็นกงจักรเป็นดอกบัว อาจจะไม่มีใน proverb ของท่านทั้งหลาย ดอกบัวน่ะคือดอกบัวเมื่อบานแล้วมันก็มีวงกลม มันก็มี กลีบๆ pattern กลีบๆ (นาทีที่ 1.22.16) น่ะเอ่อ,กงจักรนั้นคือ ไอ้ disc(นาทีที่ 1.22.21) ที่มีคล้ายกับฟันเลื่อยก็เพราะว่ามันใช้ฆ่าคนน่ะ ทำให้เกิดอันตราย ถ้าเรายังไม่รู้อริยสัจ เราก็จะเห็นแค่ว่ากงจักรนี่เป็นดอกบัวที่สวยงามที่จะช่วยเรา จะเห็นสิ่งที่เป็นอันตรายว่าเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อยู่เสมอไป ไม่รู้อริยสัจอยู่เพียงใดจะเห็นกงจักรเป็นดอกบัวอยู่เพียงนั้น
เอ่อ,ขอ ขอพูดนอกเรื่องสักหน่อย คือว่าแถม แถมเป็นพิเศษว่า กงจักรนี่ ทีหนึ่งได้(นาทีที่ 1.24.11) เมื่อได้ค้นพบไอ้ Pali authentic stone (นาทีที่ 1.24.13) ทำด้วยหินน่ะเป็นวงกลมด้วยกระมัง(นาทีที่ 1.24.17) มีช่องสำหรับมือจับอย่างนี้ได้ ทีนี้เป็นฟันๆๆๆ การศึกษาทางประวัติศาสตร์ prehistoric ว่า นี่มันเป็นอาวุธที่คนป่าสมัยโน้นใช้ที่เรียกว่ากงจักร แล้วมีมาเรื่อยๆ จนทำด้วยโลหะ จนทำด้วยอะไร จะเห็นกงจักรเป็นดอกบัว กงจักรคืออาวุธที่โบรงโบราณเต็มที prehistoric
(....)(นาทีที่ 1.24.48) ไม่ทราบ แต่ว่าเหลือที่จะบัญญัติเวลา คือมีอันหนึ่งเอาไปไว้ที่พิพิทธภัณฑ์
(ที่อินเดีย) ที่ภาคใต้ ที่เมืองตรัง
เอ่อ,เราจะเห็นข้าศึกว่ามิใช่ข้าศึกอยู่ตลอดไป เมื่อใดเรามีความรู้เรื่องอริยสัจก็จะเห็นข้าศึกเป็นข้าศึก และเราจะทำให้หมดข้าศึกน่ะ ไม่เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ข้อนี้หมายความว่าเราจะชอบความทุกข์ เราจะละความทุกข์ เราก็จะตั้งตัวอยู่ในความทุกข์ นี่มันบ้าหรือดี หรือมันบ้าสักเท่าไร คนที่ไม่รู้อริยสัจนี่จะเป็นคนโง่สักเท่าไร เราจะกระทำอย่างที่เรียกว่าหาเหยื่อมาป้อนให้ตัณหา หาเหยื่อมาป้อนให้ตัณหา ไม่ใช่อาหารมาให้ชีวิตแต่หาเหยื่อมาป้อนให้ตัณหา เหยื่อนี่ ของหลอกลวง ของไอ้ ให้เกิดความทุกข์ อาหารนี่ เป็นของถูกต้อง เราจะมัวแต่หาเหยื่อมาป้อนให้ตัณหา ไม่ได้หาอาหารที่ถูกต้องมาให้แก่ชีวิต นี่ เห็นกงจักรเป็นดอกบัว ฉะนั้น อย่าเอาคำว่าเหยื่อกับคำว่าอาหารไปปนกัน ถ้าเราไม่รู้อริยสัจเราจะหาเหยื่ออยู่เรื่อยไปไม่มีที่สิ้นสุด เอ่อ,ถ้าว่าเราไม่รู้อริยสัจเราจะหาอาหารมาให้แก่ชีวิต ไม่หาเหยื่อให้แก่ตัณหา ความจริงที่มันมีอยู่ในโลกนี้จริงๆน่ะมันมีอยู่อย่างนี้ เรื่องอริยสัจก็จะเป็นประโยชน์แก่โลกเพื่อสันติสุข the peace , the peacefulness ของโลกได้
ดูให้ดีๆ civilization ของพวกเราสมัยนี้นั้น มันกลายเป็นหาเหยื่อให้ตัณหาเสียแล้ว ไม่ได้หาอาหารให้สันติภาพ ดูไอ้สิ่งที่มีอยู่มากมาย เพิ่มขึ้นมากมายนี่เป็นของไม่จำเป็นทั้งนั้นน่ะ โฆษณาหน้าหนังสือพิมพ์หรือไปในร้านขายของดู จะพบแต่สิ่งที่ไม่จำเป็นไม่ต้องมี ไม่มีก็ไม่ตายเท่านั้นแหละ นี่ มันเป็นเหยื่อของตัณหาทั้งนั้นน่ะ civilization ปัจจุบันนี้มีแต่เพิ่มเหยื่อให้ตัณหา ไม่มีสันติภาพแก่โลก เพราะความไม่รู้เรื่องอริยสัจและเห็นกงจักรเป็นดอกบัว เมื่อเราให้เหยื่อแก่ตัณหานี่ อย่างนี้ ก็มีอุปาทาน มีตัวต้น แล้วก็มี selfishness เพิ่มขึ้นๆในโลกนี้ แล้วเราก็มีแต่วิกฤติการณ์ a crisis , crisis ทั้งนั้นเลย ไม่มีสันติภาพน่ะ ให้รู้อริยสัจเถิดแล้วก็จะหยุดความเลวร้ายอันนี้เสีย
ในที่สุด สรุปความว่า ธรรมะ ธรรมะทั้งหลาย มากมายเท่าไร ก็มาสรุปอยู่ในอริยสัจ เช่นเดียวกับใบไม้ทั้งป่ามาสรุปอยู่ในใบไม้กำมือเดียว เรียนให้รู้อริยสัจเถิด ก็จะเท่ากับรู้พุทธศาสนาทั้งหมด หลักธรรมะทั้งหมดมารวมอยู่อริยสัจ นี่ เรื่องก็จบ รู้อริยสัจก็จะรู้ธรรมะทั้งหมดในพุทธศาสนาที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยดับทุกข์ได้จริง เอ่อ,ขอให้สนใจเถิด และท่านทั้งหลายก็สนใจอยู่แล้วก็ฟังด้วยดี แล้วก็สร้างเครื่องมือด้วยอานาปานสติให้สำเร็จ ก็จบเรื่องเกี่ยวกับอริยสัจในฐานะเป็น conclusion ขอยุติการบรรยาย
ความจริงที่ทำให้เราหมดข้าศึก พูดให้สั้นๆ ก็คือความจริงที่ทำให้เราหมดข้าศึก พูดให้สั้นที่สุด ให้น้อยคำที่สุด getting rid of all enemies ปิดประชุม