แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การบรรยายครั้งนี้จะพูดถึงอริยสัจข้อที่ 4 เรียกยืดยาวว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา แต่เรียกสั้นที่สุดว่า มรรค คือ ทาง เฉยๆ เอ่อ,ขอให้ทบทวนอย่างติดต่อกันมาแต่ต้นอีกครั้งหนึ่ง ก็คือเราพูดถึงเรื่องปัญหาหรือความทุกข์ โดยมีหัวข้อว่ามันคืออะไร มันมาจากอะไร และมันเพื่อประโยชน์อะไร และมันโดยวิธีใด วันนี้เราจะพูดกันถึงข้อที่ว่า โดยวิธีใด
สิ่งแรก ความทุกข์หรือตัวปัญหาทั้งหลาย รวมหมดว่าบรรดาสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา Dissatisfaction ทุกชนิดทุกขนาดทั้งหมด เอ่อ,เป็นตัวความทุกข์หรือเป็นตัวปัญหา แล้วมันก็เกิดมาจากการที่เรามีอุปาทานน่ะ ในๆขันธ์ทั้ง ๕ แต่เราเรียกสั้นๆว่ามาจากตัณหา ตัณหานี่คืออุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ นี่เป็นที่มา หรือต้นเหตุแห่งความทุกข์ แล้วเราก็พบว่า หยุดตัณหา หรือหยุดอุปาทานนั้นเสีย คือเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ ๕ นั้นแหละจงดับทุกข์ ทีนี้โดยวิธีใด วิธีอย่าง ทำอย่างไรจึงจะเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่แหละเป็นข้อที่ ๔ ที่เรากำลังจะพูดกัน ในภาษาบาลีเรามีคำๆหนึ่งที่เรียกว่า ปฎิปทา ปฎิปฎา ปฎิปฎา ทุกขนิโรธคามินีปฎิปฏา (นาทีที่ 0๕.37) ปฎิปฎา คำนี้มีความหมายได้สองอย่าง ถ้าความหมายของชาวบ้านตามธรรมดาที่พูดอยู่ในท้องถนน คำๆ นี้แปลว่า การเดินทาง การเดินทางTraveling อะไรก็แล้วแต่ การเดินทาง แต่พอมาถึงให้พูดสำหรับธรรมะที่วัด ในจังหวัดนี้ (นาทีที่ 06.17) คำ ๆ นี้ก็แปลว่า การปฏิบัติ การปฏบัติ จะเป็น Practice หรือเป็น Commitment อะไรที่ใช้ในศาสนาอื่น มันแปลว่าการปฎิบัติ ดังนั้น การเดินทางกับ การปฏิบัติ ๒ คำนี้เป็นคำๆเดียวกัน คือ คำว่า ปฎิปทา
ที่นี้คำว่า คามินี คามินี แปลว่าเป็นเครื่องให้ถึง เป็น Instrument เป็นเครื่องให้ถึง คามินีปฏิปทา ก็แปลว่า การปฏิบัติที่เป็นเครื่องให้ถึง รวมกันทั้งหมดเรียกว่า อริยสัจ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี่ เป็นความจริง จริงข้อหนึ่ง และข้อที่ ๔ ของอริยสัจทั้ง ๔
มาถึงอริยสัจที่สุดท้ายนี้แล้ว เราก็จะรู้ความหมายของคำว่าความจริงๆๆซึ่งมันเป็น เอ่อ,คำที่มีความหมายพิเศษหรือดีมากนะไอ้คำว่าจริง จริง แม้ความทุกข์ที่เราไม่ปรารถนา เราไม่ต้องการมันก็มีความจริง ในเหตุที่มันเกิดทุกข์มันก็มีความจริง ในความดับทุกข์จะได้ก็มีความจริง ในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์จะได้มันก็มีความจริง มันมีความจริงของมันในทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะเป็น Positive หรือ Negative ก็ตาม มันก็มีความจริงของมัน รู้จักสิ่งที่เรียกว่าความจริง ในๆ Positive ก็มีความจริงที่เป็น Positive ใน Negative ก็ไม่มีความจริงที่เป็น Negative ในคำพูดที่โกหกมันก็มีความจริงของความโกหก ในคำพูดของ เอ่อ,ที่มันเป็น เอ่อ,การหลอกลวงหรืออะไร ก็มันก็เป็นความจริง มีความจริงของสิ่งนั้น ในตัวความจริง ความจริงของสิ่งเหล่านี้ ต้องรู้จัก ต้องเข้าให้ถึง เอ่อ,ตัวจริงหรือตัวความจริง โดยสิ่งที่เรียกว่า ปฎิปทา ปฎิปฎา คือ การปฏิบัติ
ให้เข้าใจ เอ่อ,ความหมายของคำว่าจริง จริงนี่ ให้ๆถูกต้องเถอะ ในความไม่จริงมันก็มีความจริงของความไม่จริง ในการคำโกหกของเทียม Failure (นาทีที่ 13.58) อะไรต่างๆ มันก็มีความจริงของมัน ดูไอ้ความจริงมันก็มีอยู่ในสิ่งนั้นๆ ตามแบบของมัน เดี๋ยวนี้เรามัน ความจริงเกี่ยวกับความทุกข์ที่เป็น Negative เราก็ดับทุกข์ที่เป็น Positive มันก็มีความจริง จริง ของมัน เอ่อ,เรามีความจริงชนิดที่มีประโยชน์ที่สุดอยู่ เรามีความจริงชนิดที่ไม่มีประโยชน์เลย แต่ตัวความจริงแท้ๆ นะมันไม่ๆไม่เป็นน่ะไม่ ไม่เป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์ ไม่ Positive หรือ Negative แต่นี่เรารู้สึกเอาเองว่าความจริงอย่างนี้มีประโยชน์ ความจริงอย่างนี้ไม่มีประโยชน์ ความจริงอริยสัจนี้มีประโยชน์มากเพราะทำให้เราอยู่โดย เอ่อ,ไม่มีข้าศึก ความจริงที่ทำให้สู่ความไม่มีข้าศึกนี้เป็นความจริงที่มีประโยชน์ ดังนั้นขอให้เราสนใจความจริงที่มีประโยชน์ ความจริงอีกมากมาย มากมายที่จริงเหมือนกันแต่ไม่มีประโยชน์ เราไปสนใจไอ้ความจริงอย่างนั้นกันเสียโดยมาก เพราะว่ามันสนุกดี ความจริงที่มีประโยชน์ดีกว่าไม่ไปสนุก หรือว่ามันยังมีลักษณะที่ต้องทราบไว้อย่างหนึ่งว่า น่าฟัง หรือไม่น่าฟัง มัน Attractive ต่อ แย่นี่(นาทีที่ 18.37) หรือ หรือไม่ หรือเปล่า นี่เรากำลังพูดเรื่องเอาอุปาทานออกมาจาก เสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่ มันจะไม่น่าฟังสำหรับคนเป็นอันมาก แต่ผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจ เห็นประโยชน์เท่านั้นแหละ มันจึงจะน่าฟัง ดังนั้น เราจะพูดไอ้ในสิ่งที่ดีที่มีประโยชน์แต่มันก็ไม่น่าฟังหรือฟังไม่ออกสำหรับ เอ่อ,คนโดยมาก คนโดยมาก คนปุถุชนเขาไม่ชอบฟัง นี่เรียกว่า แม้จะเป็นความจริง เอ่อ,ที่เป็นประโยชน์ด้วย แต่บางทีมันก็ไม่น่าฟังหรือไม่ ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเอ่อ,เป็นอันมาก ถ้าฟังไม่ถูก เขาก็จะรู้สึกว่าการเอาอุปาทานออกเสียจากขันธ์ ๕ นี่หรือพุทธศาสนานี่ มันเป็น Pessimistic แต่ถ้าเขาฟังถูกเห็นชัดอยู่อย่างนั้น มีประโยชน์อย่างนั้น มัน พุทธศาสนาหรือเอาอุปาทานออกมาเสียนี่เป็น Optimistic และอย่าให้สิ่งทั้ง ๒ นี้มันหลอกลวงท่านทั้งหลาย เมื่อเขาฟังไม่ถูก ฟังไม่ถูกไม่เข้าใจ เขาก็จะมีความคิดพิเศษออกไปว่า คนพูดน่ะพูดไม่มีประโยชน์ เอาอัตตาออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่มันไม่มีประโยชน์อะไร เป็นคนบ้า แต่ว่าคนพูดน่ะพูดความจริงที่สุดและคนฟังมันฟังไม่ถูกเอง ดังนั้น ขอให้คิดให้ดีว่าคนพูดเป็นคนโง่ หรือคนฟังเป็นคนโง่ มัน มันแล้วแต่ว่าฟังถูกหรือไม่ถูก ฟังเข้าใจหรือไม่เข้าใจ ถ้าฟังไม่เข้าใจคนพูด คนฟังก็หาว่าคนพูดเป็นคนโง่ ทั้งที่ไอ้คนฟังมันเป็นคนโง่ เราก็จะต้องเตรียมตัวให้ถูกต้อง ให้ฟังให้ถูก ให้ฟังให้ถูก แล้วก็ไม่เข้าใจว่าคนพูดเป็นคนโง่ ในการที่จะพูดเรื่องถอนอัตตา ถอนอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ ถ้าเขาฟังไม่ถูก ไม่ Realize แต่ในสิ่งที่พูดนั้น ดังนั้น เขาจะรู้สึกว่าการเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่มันเป็นการฆ่าตัวตาย เป็นการฆ่าตัวเองตาย เขาไม่ชอบ แล้วเขาจะคิดว่าผู้พูดเป็นคนโง่ที่สุด
นักศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย เรียกว่าระดับมหาวิทยาลัย มันก็ยังมาถามว่า เอ่อ,ถ้าไม่ให้มี Concept ว่า ตัวตนว่าของตน ว่าตัวกูว่าของกู อย่างนี้แล้วจะให้เขามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร จะให้เขามีชีวิตอยู่ได้อย่างไร เขามีคำถามอย่างนี้ ทีนี้ เขาจะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า เราอาจจะมีชีวิตอยู่โดยที่ไม่ต้องมีอุปาทานว่า ตัวกู ว่าของกู มันจะมีสิ่งกลางๆ อันหนึ่งว่า Individuality หรืออะไรทำนองนี้ที่มันเป็นกลางที่สุดน่ะ Individuality ที่มันมี Concept ว่าตัวกู Individuality ที่มันไม่มี Concept ว่าตัวกู เพราะฉะนั้นก็ต่างกันมาก เราอาจจะมีตัวๆ ไอ้ตัวที่ไม่มีตัว มีตัวที่มีตัว ถ้ายึดมั่นถือมั่นมันก็เป็นตัวขึ้นมา ถ้าไม่ ไม่ยึดมั่นถือมั่นหรืออุปาทานมันก็ไม่มีตัว ดังนั้นเรามีชีวิตที่ไม่มี Conception ว่ามีตัวนั้นน่ะมันอยู่ได้เหมือนกัน ไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นการฆ่าตัวตาย เราอาจจะมีชีวิต มีชีวิต ชนิดที่มีความรู้สึกว่ามีตัวก็ได้ เราจะมีชีวิตชนิดที่ไม่มีความรู้สึกว่ามีตัวก็ได้ เราไม่ต้องตาย มีชีวิตอย่างไหนดีกว่าไม่มีความทุกข์แล้ว นั่นแหละเราจะเอาอย่างนั้น
นี่คือ มัฌชิมาปฎิปทา หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา เราจะปฎิบัติ ปฎิบัติให้มีชีวิตชนิดที่ไม่มีตัว ไม่มี Concept ว่าตัวในใจ แต่ว่าเป็นธรรมดาที่ปากนี่กว่าที่จะพูดนี้มันต้องพูดว่ามีตัว เพราะว่าคนทั้งโลกเขาพูดอย่างมีตัว ภาษาอย่างมีตัว มันกลายเป็นเราว่ามีความ มีใจอย่างหนึ่งแล้วก็มีปากพูดน่ะอีกอย่างหนึ่ง ข้อนี้หลีกไม่พ้น เมื่อเรารู้ความจริงข้อนี้ เราก็จะไม่มีความทุกข์แหละ เพราะมันไม่มีตัวที่จะเป็นผู้ทุกข์ แต่แล้วก็จำเป็นที่ว่าปากนี่มันจะต้องพูดอย่างมีตัว ดังนั้นศาสนาที่สำคัญๆ ที่เขาจำเป็นจะต้องพูดอย่างมีตัว เขาก็มีตัวตลอดไปแหละ เช่น ลัทธิฮินดูลิสซึ่มอย่างเวดันตะ(นาทีที่ 33.25) อย่างนี้เขาจะต้องมีตัวตลอดไป ตัวๆๆๆ จน นิรันดร แต่ว่าพุทธศาสนาก็จะเน้นที่ว่ามันไม่มีตัวตลอดเวลา ถ้าเราไม่เข้าใจกันให้ดีๆ เราก็จะทะเลาะกัน เราจะต้องทำความเข้าใจกันในข้อนี้ว่า ถ้าเราจะถือว่ามีตัว เราก็ควรจะรู้ว่ามีตัวซึ่งมิใช่ตัว อย่า We, We is not we ท่านเข้าใจไหม ท่านจะฟังถูกไหม We, We is not we เรามีตัวชนิดที่ไม่ ไม่ใช่ตัว นี่มันเป็นจุดหมายของพุทธศาสนา ในเมื่อ เวดันตะฮินดูลิสซึ่ม (นาที 34.14) เขาจะมีตัวๆๆๆ จะมีกี่ตัวก็ตามใจเขา ถ้ามันไม่มีความทุกข์ได้แล้วก็ใช้ได้เหมือนกัน จิตน่ะรู้สึกอย่างหนึ่งแต่ปากเขาพูดอีกอย่างหนึ่ง จิตรู้สึกอย่างว่าไม่มีตัว แต่ปากพูดอีกอย่างว่ามีตัว ไม่ใช่คนโกหก
ถ้าจะให้เข้าใจง่ายๆ ขอแทรกตรงนี้ พูดตรงนี้อีกทีว่า ทิฎฐิ ทิฏฐิ View ความคิดของไอ้คนนี่ มันแบ่งออกเป็น ๓ อย่างน่ะ พวกนี้มีตัวๆ มีอัตตาๆๆ มีตัวเต็มที่ ที่พวกนี้สุดฝ่ายนี้ ไม่มีๆนิรัตตา นิรัตตา ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัว นี่ มันสุดโต่งอย่างนี้มันใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นอยู่ตรงกลางนี่คือ พุทธศาสนา พุทธศาสนาอยู่ตรงกลาง มีตัวชนิดที่มิใช่ตัว มีอัตตาชนิดที่มิใช่อัตตาแหละ เราเรียกว่า อนัตตา นี่คือ Middle way มันอยู่ตรงกลาง มัชฏิมาปฎิปทา มันอยู่ตรงกลาง นี่มีตัวเต็มที่ นี่ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าตัวอะไรเลย ตรงนี้มีตัวซึ่งมิใช่ตัว นี่คือเรื่องที่เรากำลังจะพูดกัน Middle way eightfold path(นาทีที่ 39.05)
จำง่ายๆ ก็ว่าฝ่ายนี้ Full of self ฝ่ายนี้ก็ Without self at all ตรงกลางนี่ Self which is not self ที่เรากำลังจะพูด เอ้า,ที่นี้ก็มาถึงปัญหาที่สำคัญที่สุด เราจะมีความรู้สึกอย่างนี้ได้อย่างไร โดยวิธีการ เอ่อ,ทางปรัชญาหรือ Philosophy โดยวิธีทาง Philosophy ได้ไหม หรือว่าจะต้องโดยวิธีปฏิบัติ ปฏิปทา ปฎิบัติทางจิตใจเป็น Realization ไอ้ Conclusion ของ Philosophy จะเรียกว่า Realization ได้ไหม นี่จะต้องดูให้ดีๆ Philosophy มันจะอาศัย Reasoning Reasoning แล้วก็ออกมาเป็น Conclusion อย่างนี้เป็น Realization ได้ไหม ทางพุทธศาสนานี้ไม่ยอมรับว่าอย่างนั้นเป็น Realization เพราะมันมาจาก Reasoning เมื่อมัน Realization ต้องมาจากการปฏิบัติทางจิต ทางใจ ตามวิธีที่เรียกว่าพุทธศาสนานี่ ปฎิปทา มัชฌิมาปฎิปทา Realization จึงจะเกิดขึ้น ที่จะเอาอัตตาออกไปเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ ได้จริง เราจะต้องเห็นให้ชัดและพูดโดยเด็ดขาดลงไปว่า วิปัสสนา วิปัสสนา หรือ จิตตภาวนา หรือ วิปัสสนา นี่ไม่มี Reasoning ไม่มี Reasoning แต่ว่าอยู่เหนือ Reasoning เป็น Realization by measure of (นาทีที่ 44.15)เอ่อ,วิปัสสนา
ที่เราเรียกว่า อานาปานสติภาวนา หรือวิปัสสนานั้นน่ะ ท่านต้องเข้าใจว่าเหนือ เหนือ Reasoning ถ้าเป็น Reasoning มันก็จะเป็น เอ่อ, Philosophy
เพื่อจะให้เข้าใจง่ายๆ และจะไม่ให้มันปนกันยุ่ง เราอยากจะแบ่งกันเป็น ๓ ชั้น ไอ้ Knowledge นี่ต้องแบ่งเป็น ๓ ชั้น ว่ามันๆมาจากการศึกษา การ Study books อันนี้เรียกว่าเป็น Knowledge เหมือนกัน เป็นชั้นต่ำมากขั้นพื้นฐานทั่วไป แล้วที่นี้ก็มาถึง Reasoning Reasoning Knowledge ที่ออกมาจาก Reasoning น่ะมันยังดูดีกว่านั้น อีกทั้ง (นาทีที่ 46.09)Reasoning นี่ยังผิดได้ เป็น Speculation ต้องมาอีกอันหนึ่งก็เป็น Realization จาก Experience Spiritual Experience โดยตรง จากจิตใจโดยตรง นี่มันจึงจะเป็น เอ่อ,ความรู้ที่ถูกต้องที่จะเรียกว่า เอ่อ,ธรรมะ Absolute Truth ซึ่งไม่ใช่ Philosophy แต่มันก็มีความจริงที่ว่า วิถีทางของวิปัสสนา Realization นี้เราเอามาพูดอย่าง Philosophy ก็ได้เหมือนกัน แล้วก็จะสนุกด้วย จะเอาความจริงอย่าง Realization ตามแบบวิปัสสนา หรือเอาพุทธศาสนาน่ะมาพูดอย่าง Philosophy ก็ได้เหมือนกัน แล้วจะสนุกด้วย แล้วก็มากมายไม่มีที่สิ้นสุดด้วย ถ้าจะเรียกว่า Buddhist Philosophy ก็รู้เถอะว่านั้นยังมิใช่ตัวแท้ของพุทธศาสนา
ดังนั้น เราจึงต้องเดินทางๆ ปฏิปทา เดินทาง ปฏิบัติๆเดินทางๆ ให้ไปถึงจุดสุดท้ายของทาง แล้วเราก็จะพบสิ่งนี้ คือให้ดับทุกข์สิ้นเชิง โดยเอาอุปาทานตัวตนออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕
คำว่า ทาง ทางนี้เป็นคำที่มีความหมายมาก หรือแปลกมาก มีความหมายมาก สิ่งที่มีชีวิตและก็มันเป็นการเดินทางอยู่เสมอ แต่มันโง่ มันก็เดินไม่ถูก ไอ้สิ่งที่เรียกว่าเป็นมีชีวิตนะ จะเป็นคน เป็นสัตว์ เป็นต้นไม้ แล้วมันมีชีวิต แล้วมันมี มีการเดินทาง มีวิวัฒนาการอยู่เสมอละ แต่ที่มันเดินไม่ถูก มันก็ไม่ไปสู่จุดที่ว่าดับทุกข์ได้ มันก็มีปัญหามากขึ้น ๆ
อาตมาไม่มีความรู้ที่แน่นอนว่า Path กับ Way นี่ต่างกันหรือเหมือนกัน แต่ยังเข้าใจเดี๋ยวนี้ว่าไอ้ Way นี่เป็นตัวทาง เอ่อ, Path น่ะเป็นตัวทาง ไอ้ Way เป็นวิธีเดินทาง The Path น่ะมันเป็นตัวหนทาง The Way เป็นวิธีเดินทาง นี่ คิดดูเถิดว่า อัฏฐัง คิกมรรค (นาทีที่ 53.55) ทุกขนิโรธคามินีปฎิปทา นี่ จะเรียกมันว่า Path หรือจะเรียกมันว่า Way ถ้าไม่มีการเดินทางแล้ว ไอ้ทางมันจะมีได้อย่างไร ถ้าไม่มีการเดินแล้วไอ้สิ่งที่เรียกว่าทางมันจะมีได้อย่างไร ถ้ามีอยู่เฉย ๆ มันไม่ๆๆเรียกว่าทาง เพราะไอ้การเดินนั่นน่ะเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มันเกิดมีคำว่าหนทางขึ้นมา
ถ้าเราจะนึกถึงวิวัฒนาการของโลก ของจักรวาล ตั้งแต่แรกที่สุดจนๆถึงอนาคต ไอ้วิวัฒนาการเหล่านี้ นั้นมันก็เป็นตัวทาง มันมีแนวมีทางที่มันจะวิวัฒนาการ จะ Involve Involve (นาทีที่ 56.03)จะต้องเห็น จะต้องมองเห็นว่าคำว่า ไอ้ทางหรือการเดินทางนี่ไม่ใช่สิ่งเล็กน้อย มันเป็นทั้งหมด เอ่อ,ในๆโลกในจักรวาลนี้ มันมีการเดินทางของมันอยู่โดยธรรมชาติ และสิ่งที่มีชีวิตก็จะยิ่งต้องเดินให้ถูกต้อง ไม่ฉะนั้นจะไม่ได้ ไม่ได้รับผลอะไรในการเดินทาง พอเราออก คลอดมาจากท้องมารดา เราก็มีการเดินทางทันที จะไม่ว่าผิดหรือถูก ผิดหรือถูก ถ้าผิดมันก็ต้องเต็มไปด้วยความทุกข์ ถ้าเดินถูกมันจะไม่มีความทุกข์เลย แต่นี่เราออกมาจากท้องมารดา เอ่อ, เราไม่ ไม่มีความรู้ ไม่มีความรู้ ฉะนั้นมันก็ต้องเดินทางผิดเป็นธรรมดา โดยสิ่งแวดล้อมน่ะมันยั่ว ให้เดินไปตามที่มันชอบ มันชอบ มันรัก มันก็เกิดตัณหา เกิดอุปาทาน มันก็เป็นการเดินผิดทางมาตั้งแต่คลอดออกมาจากท้องแม่
ถ้าเรารู้สึกว่ามีความทุกข์ และเราก็จะเชื่อว่าเราเดินทางถูกแล้ว แต่คำนี้สำคัญมาก แปลกมาก เพราะว่าเราไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์ เราดีใจ เราพอใจ เราก็ไม่รู้สึกว่าเราเป็นทุกข์ นี่มันถูกหลอก มันถูกหลอก ที่เรามา Attached (นาทีที่ 59.14) อยู่กับความสุขนี้มันก็คือความทุกข์ เพราะฉะนั้นระวังให้ดีว่าไม่มีความทุกข์โดยแท้จริงน่ะมันคืออะไร มันอยู่เหนือสุข เหนือทุกข์ เหนือ Good and Evil (นาทีที่ 59.24) นั่นน่ะมันจึงจะเรียกว่ามันเดินถูกทาง ระวังให้ดี ใน Gladness มันยิ่งมีอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ มากที่สุด อุปาทาน Attachment ในขันธ์ทั้ง ๕ มากที่สุด ในสิ่งที่เรียกว่า Gladness น่ะ มันต้อง Beyond gladness อีกทีมันจึงจะถูกต้อง ถูกต้องบางทีเราจะใช้คำว่า Good and Evil (นาทีที่ 1.1.37) ก็ได้ ก็ทุก ๆ คู่ ทุก ๆ คู่ เดินทางขึ้นไปเสียให้พ้นจากอิทธิพลของ Dualism ทุก ๆ คู่ ทุก ๆ คู่
นี่เรามีวิธีที่จะเดินทาง เดินทาง เดินทาง จนอยู่เหนือ Good and Evil เหนือ Positive, Negative เหนือ Sadness, Gladness เหนือนั้นน่ะ ขึ้นไปเหนือนั้นน่ะ คือว่าที่สุดทาง ถึงปลาย ถึงจุดหมายปลายทาง
ที่นี้ก็มารู้จักคำว่า ทาง เกี่ยวกับสิ่งสำคัญที่สุด พระพุทธเจ้าเป็นผู้ค้นพบทาง แล้วก็ชี้ทาง แนะทาง นี่พระพุทธเจ้า ทางนี่เป็นของธรรมชาติ เป็นนิรันดร แล้วบางทีก็ลืมไป บางทีก็รู้จักนี่พระพุทธเจ้า เกิดแต่..(นาทีที่ 01.03.34) พระพุทธเจ้าค้นพบทาง ทางที่มีอยู่เป็นนิรันดร แล้วก็ชี้ทาง ทีนี้พระธรรม พระธรรมน่ะคือตัวทางๆ ตัวทางหรือตัวการเดินทาง ทีนี้พระสงฆ์นี้คือผู้รับระบบคำสอนอันนี้ แล้วก็เดินทางๆๆ เดินทาง แล้วก็ประสบความสำเร็จในการเดินทาง พระพุทธก็ดี พระธรรมก็ดี พระสงฆ์ก็ดี เกี่ยวกับการเดินทาง เกี่ยวกับทางทั้งนั้นน่ะ เราจะเห็นได้ทันทีว่าการที่มาศึกษาพุทธศาสนาหรือศึกษาธรรมะนี่มันก็คือ เอ่อ,ศึกษาเรื่องทาง เรื่องการเดินทางให้เรามีความรู้เรื่องนี้อย่างถูกต้อง มิฉะนั้นมันก็จะเหมือนกับว่าหลับตาแล้วก็เดินทาง มันใช้ไม่ได้ ศึกษาธรรมะ ศึกษาพุทธศาสนา มาศึกษาอานาปานสติไป นี่หมายความว่าศึกษาเรื่องทาง แล้วก็เดินทางให้ถูกต้อง
คำสอนที่สำคัญ ๆ เช่น เต๋า เต๋าของเหลาจื้อ เต๋าๆ เต๋าคำนี้ก็แปลว่าทาง ถ้าเรารู้เต๋า รู้ทาง แล้วก็เดินทางออกไปเสียจากอิทธิพลของ Yin และ Yang คือ Positive and Negative เดินทางออกไปเสียจาก อิทธิพลของ Positive และ Negative นี่คือคำสอนในลัทธิเต๋า มีความสำคัญอยู่ที่คำว่าทาง คือคำว่าเต๋า นั่นเอง
นี่ คำว่า ทาง มีความหมายสำคัญอย่างยิ่งออกไปจากอิทธิพล เหนืออิทธิพลของ Positive and Negative ที่นี้เราจะมาดู In Christianity (นาทีที่ 1.8.29) ขอให้สนใจคำพูดของพระ Jesus Christ (นาทีที่ 01.08.33) เอ่อ,คำหนึ่งที่ว่า เราแหละคือทาง พระ Jesus Christ พูดว่า ตรัสว่า เราแหละคือทาง ทางอะไร ก็ทางไปสู่พระเจ้า พระ Jesus Christ นี่ ประพฤติกระทำอย่างไรอยู่ ในลักษณะที่ เอ่อ, หมดๆหมดตัวตน สละตัวตน ยอมทุกอย่างเพื่อจะหมดตัวตน คำสอนของคริสเตียนโดยแท้จริงก็คือว่าตัดตัวตน นี่เป็นหนทาง และทางนี่เดินไปแล้วก็ไปถึงพระเจ้าคือสิ่งสูงสุดที่มนุษย์ควรจะได้ นี่เราอยากจะทำความเข้าใจกันอย่างนี้ ในระหว่างศาสนา จนไม่มีขัดกันในศาสนาใดๆ ก็ตาม คือเดินทางให้มันถูกต้อง ขอให้คริสเตียน เอ่อ,ทุกคนน่ะ ถือความหมายอันนี้ว่า Symbol of cross (นาทีที่ 01.11.38) น่ะคืออย่างนี้ อันนี้คือ Self, self, the cutting of the self Symbol of cross (นาทีที่ 01.11.43) นั่นแหละคือ Way Way to พระเจ้า ตัดๆๆ Self เสียๆ นั่นคือบันได ไปสู่สิ่งสูงสุด นั่นคือพระเจ้า และคำสอน เอ่อ,ไม่ใช่คำสอน คำสั่งของพระเจ้า อย่าให้ Adam กับ Eve กินผลไม้ที่สามารถจะ Discriminate Good and Evil แล้ว Attach Good and Evil นี่ หัวใจคำสอนของ Christianity จงอยู่เหนือ Good and Evil อย่าไป Discriminate เป็น Good and Evil มันไม่มี Good and Evil มันก็อยู่เหนือ Good and Evil จึงจะเป็นอย่างเดียวกันกับพุทธศาสนา
ทีนี้ ขอพูดนอกเรื่องหน่อย ขอเวลาพูดนอกเรื่องนิดหน่อย ที่เราจะมี International Hermitage อยู่ที่ตรงโน้นน่ะ เรามีความตั้งใจอย่างยิ่งที่จะทำความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างศาสนา intend attending between all the relegion (นาทีที่ 1.14.25) ก็เพราะว่า ให้รู้ว่าทุกศาสนามันสอนเรื่องทางด้วยกัน อย่าทะเลาะกัน อย่าอันนี้ดีกว่าอันนั้น อันนั้นผิดอันนี้ถูก ไม่ ๆ ถ้ามันเป็นศาสนาที่แท้จริงแล้วมันจะสอนเรื่องทาง ทางที่ไปอยู่ beyond in front of positive itself and negative itself (นาทีที่ 1.14.46) ขอความร่วมมือท่านทั้งหลายทุกคนด้วยในการทำความเข้าใจระหว่างศาสนาให้ใช้ International Hermitage ที่ตรงโน้นให้สำเร็จประโยชน์ เมื่อคริสเตียนถือว่าพระ Jesus Christ นั่นแหละคือทาง Buddhist น่ะ พุทธบริษัททั้งหลายก็ถือว่าธรรมะ ธรรมะนั่นแหละคือทาง หรือเหลาจื้อก็จะเรียกว่า เต๋า เต๋านั่นแหละคือทาง เราสนใจคำว่าทาง ทุกศาสนามันต้องการจะสอนเรื่องทาง แล้วก็ไปสู่ เอ่อ,ที่ ๆ เรียกว่าปลายทาง หมดปัญหา หมดความทุกข์ อยู่เหนือปัญหา อยู่เหนือความทุกข์ เป็นสิ่งสูงสุด ไม่มีอะไรจะสูงสุดเท่า ซึ่งเราก็รวมกันได้ทุกศาสนา ทุกศาสนาสอนเรื่องทาง ทาง The Path หรือ The Way ก็แล้วแต่จะเรียก
Introduction เกี่ยวกับคำว่าทางน่ะ พอแล้ว ๆ ที่นี้ก็มาพูดถึงตัวทาง ในทางพุทธศาสนาโดยตรง
อัฏฐัง คิกมรรค (นาทีที่ 1.19.08) แปลว่า มรรคมีองค์ ๘ นี่ รายละเอียดอย่างไร เราไม่ต้องเสียเวลาพูดกันที่นี่นะ เพราะในหนังสือทั้งหลายที่ท่านอ่านน่ะมันมีอยู่แล้วโดยรายละเอียดน่ะ เอ่อ,สัมมาทิฎฐิ(Right View) สัมมาสังกัปปะ(Right Own) สัมมาวาจา (Right Speech) สัมมากัมมันตะ(Right Conduct) สัมมาอาชีวะ(Right Good) สัมมาวายามะ(Right effort) สัมมาสติ (Right my Goodness) สัมมาสมาธิ (Right Concentrate) (นาทีที่ 1.19.25) รายละเอียดอย่างนี้ หาอ่านได้จากหนังสือหรือเคยอ่านมาแล้ว ไม่ต้องพูดก็ได้ แต่จะพูดถึงไอ้ความสำคัญที่ว่ามันมีความหมายอย่างไร ตรงที่คำว่า Right Right ที่เป็นบาลีแปลว่าสัมมา สัมมา แปลว่า Right ในภาษาไทย เราใช้คำว่าชอบ ที่จริงคำนี้ Right มันหมายความว่า ถูกต้องๆๆ ตรงจุดๆ Right เราจะมาพูดถึงคำว่า Right กันต่อ ทีนี้ ถ้ามีคำว่า Right มันก็ต้องมีคำว่า to right ,to right, to right ,right to what ก็ต้องรู้ว่า What อะไรที่จะเป็น object สำหรับ Right นี่จะต้องเข้าใจให้ดี ๆ right to what, right to what
ถ้าว่าเป็นพุทธศาสนามันก็ Right to นิพพาน to นิพพาน beyond problem beyond or ..right (นาทีที่ 1.23.52) นิพพาน ถ้าเป็นคริสเตียน คริสเตียน ก็ Right to Gods Gods ก็คือ supreme thing(นาทีที่ 1.24.20) Right to Gods
เดี๋ยวนี้สำหรับพวกเราที่นี่ เราเอาแต่เพียงว่า Right to new life ก็พอแล้วๆๆ เพราะว่าเราพูดกันแล้วว่า New life life beyond good of positive and evil of positive and negative, new life (นาทีที่ 1.24.55) Right to the new life ก็พอแล้ว นี่ถ้า ถ้าเอาตามหลักธรรมะในพุทธศาสนา มันก็มีคำอธิบายไว้ชัดเหมือนกันน่ะ ที่ว่า Right สัมมา สัมมา Right มันต้องถูกต่อไอ้ผู้ที่ต้องการน่ะ จะเรียกว่านิพพานหรืออะไรก็แล้วแต่ เช่นว่าเราจะมีสัมมาทิฎฐิ มี View มี มันต้อง Right ต่อนิพพาน มีสังกัปปะ aim aspiration นี่ก็ต้อง Right ต่อนิพพาน วาจาก็ดี กัมมันตะก็ดี อาชีวะก็ดี วายามะก็ดี สติก็ดี สมาธิก็ดี ต้อง Right ต่อนิพพาน
และก็มีคำพูดอยู่เพียง ๔ คำเท่านั้นแหละ และก็สำคัญที่สุด ช่วยจำให้ดีนะ เอ่อ,คำแรกก็ วิเวก(นาทีที่ 1.27.20) เป็นไปเพื่อวิเวก วิเวกนิสสิตัง อาศัยวิเวก มุ่งหมายวิเวก วิเวก แปลว่าเดี่ยว เดี่ยวอย่างยิ่งๆ เป็นความหมายของเสรีภาพ ถ้ามีอะไรมากระทำได้ เราก็มันไม่มีเสรีภาพ ถ้ามันเดี่ยวอย่างยิ่ง ไม่มีอะไรมากระทำต่อได้ละก็ เสรีภาพอย่างยิ่ง คำนี้เรียกว่าวิเวก เอก แปลว่าหนึ่ง และ วิ แปลว่าอย่างยิ่ง เดี่ยวอย่างยิ่ง หนึ่งอย่างยิ่ง นี่วิเวก ถ้ามันเป็นไปเพื่อวิเวก แล้วก็คือ Right คือสัมมา
ทีนี้คำที่สองว่า วิราคะ วิราคะ วิราคะ เป็นไปเพื่อวิราคะ แปลว่าจางออก คลายออก ถ้าเป็นวัตถุก็เหมือนกับสีย้อมผ้า จางออก ๆ นี่วิราคะ ทีนี้ถ้าเป็นนามธรรมในจิตใจ ก็ Attachment จางออก ก็อุปาทานน่ะจางออก อุปาทาน จางออกๆ อุปาทานที่เคยมีในขันธ์ทั้ง ๕ น่ะ จางออกๆ ทีนี้ต้องเป็นไปเพื่อวิราคะ คือ จางออก ๆ แห่งอุปาทาน นี่ ความหมายที่สอง
ที่นี้คำที่สาม นิโรธ เราพูดกันมากแล้วคำนี้ นิโรธ Quenching down Quenching down Quenching down หรือว่าดับลงหรือเย็นลง ๆ ต้องเป็นไปเพื่อ Quenching down มันจึงจะเรียกว่า สัมมา สัมมา
ที่นี้อันที่สี่ ฟังยากหน่อย โวสสัคคปรินามี (นาทีที่ 1.31.34) เอ่อ,เป็นไปเพื่อการโยนทิ้งของหนัก ถ้ามันเป็นการโยนทิ้งของหนัก เป็นการโยนทิ้งของหนักอยู่เสมอ จึงจะเรียกว่าสัมมา สัมมา หรือ Right
เดี๋ยวนี้พวกเราในโลก น่ะมันไม่ได้น้อมไปเพื่อทิ้งไป น้อมเป็นเอาเข้ามา เอาเข้ามา รวบรวมมา รวบรวมมานี่ มันก็ตรงกันข้าม มันไม่มีโวสสัคคปรินามี จนเดี๋ยวนี้โลก โลกนี่เต็มไปด้วยอะไรรกรุงรังไปหมด แล้วส่วนมากก็ไม่จำเป็น นี่ มันไม่มีโวสสัคคปรินามี
อันนี้ ในสี่อย่างนั้น อย่างที่หนึ่ง วิเวก นี่หนึ่งอย่างยิ่ง มันก็แปลว่ามันเพื่ออิสรภาพหรือเสรีภาพ ข้อที่สอง มันเป็นวิราคะ วิราคะ จางออกแห่ง Attachment ก็เพื่อว่าเราจะไม่เพิ่ม ไม่เพิ่มความทุกข์ ไม่เพิ่มความทุกข์ แล้วก็นิโรธ มันก็เย็นๆๆ และโวสสัคค ทิ้งของหนักไป ๆ สี่อย่างนี้เป็นหลักของคำว่าสัมมา
เดี๋ยวนี้ในโลกนี้ มันมีการกระทำที่ตรงกันข้าม ทำความดี ทำบุญ ทำกุศลน่ะ เช่น คำว่าให้ทาน ให้ทานนี่ เราก็จะแลกเอาสวรรค์ เราจะค้ากำไรเกินควร การให้ทานอย่างนี้ไม่สัมมา ไม่ใช่สัมมา จะเป็นมิจฉาด้วยซ้ำ แต่ว่ายอมรับว่าเป็น ถูกอย่างโลก ๆ ถ้าสัมมา ก็สัมมาอย่างโลก ๆ ไม่ใช่สัมมาอย่างเหนือโลก รักษาศีล เราไม่ได้ต้องการเพื่อวิเวก เพื่อวิราคะนะ เรารักษาศีล เพื่อดี เพื่อเด่น เพื่อดัง เพื่อชื่อเสียง เพื่ออะไรไปเสีย เรียกว่าเราทำสมาธิ ทำสมาธิ ถ้าสมาธิของเราไม่เป็นไปเพื่อวิเวก วิราคะ นิโร น่ะไม่ถูกต้อง สมาธินั้นไม่ถูกต้อง ดังนั้นการกระทำความดีกับปฎิบัติศาสนาทุกอย่าง ถ้าไม่เป็นไปเพื่อสี่อย่างนี้ ไม่ถูกต้อง
บางคนทำวิปัสสนาเพื่อเห็น เห็นคนที่ตายแล้ว เห็นสวรรค์ เห็นอะไร กระทั่งว่าเห็นเลขล็อตเตอร์รี่ นั่งวิปัสสนาเพื่อให้เห็นเลขล็อตเตอรี่ วิปัสสนาอย่างนี้มันไม่มีวิเวก วิราคะ นิโรธ โวสสัคคปรินามี ขอให้เป็นไปเพื่อสี่อย่างนี้เถอะ ทุก ๆ อย่างที่เป็นการปฎิบัติธรรมะ จะเป็นไปเพื่อนิพพาน เราทำกุศล ทำความดีอะไรต่างๆ มันเป็นเพื่อประโยชน์ ที่ในโลกนี้ ในโลกนี้ มีความร่ำรวย มีอำนาจวาสนา มันก็ถูก แต่ว่าถูกสำหรับโลกนี้ ไม่ได้ถูกสำหรับเหนือโลก มันจึงไม่ใช่ความมุ่งหมายแท้จริงของพุทธศาสนา สัมมา สัมมา ในอริยมรรคมีองค์ ๘ นี่มันต้องถูกเพื่อไปสู่นิพพาน ดูให้ดีสิว่า ถูก ถูกสำหรับในโลกนี้ มันถูกสำหรับที่จะติด Stucked อยู่ที่นี่ Tapped อยู่ที่นี่ อย่างนี้ มันก็ถูกอย่างนี้ไม่ไหว ไม่ใช่ถูกในความหมายของคำว่าสัมมา ในอัฏฐัง คิกมรรค (นาทีที่ 1.43.58) มันต้องถูกสำหรับเหนือโลก เหนืออิทธิพลของโลก เหนืออิทธิพลของทุกสิ่ง เรียกว่าถูก ถูกโดยความหมายสี่คำนั้นแหละ
ที่นี้ก็มาถึงคำว่า อัฏฐัง คิก (นาทีที่ 1.45.00) ซึ่งแปลกันว่า Eight Fold (นาทีที่ 1.45.04) จะถูกหรือไม่ถูกก็ไม่ทราบ Fold (นาทีที่ 1.45.10) อะไรก็ไม่รู้ แต่ในที่นี้ก็มันหมายถึงไอ้ Factor Factor หรือ Ingredient Ingredient Ingredient หลาย ๆ อันมารวมกันเข้าเป็นอันเดียวน่ะ จึงจะเรียกว่า Eight เอ่อ,ว่า อัฏฐัง คิก หรือ Eight Eight Eight Fold รู้จัก Eight Fold นี่ให้ดี ๆ เพราะมันไม่ใช่ ๘ ทาง แต่มันทางเดียวและก็ประกอบอยู่ด้วย Factor นี่ ๘ อย่าง ที่นี้มันก็ อุปมาได้ เปรียบได้เหมือนกับว่าเชือกเส้นเดียว แต่มันมี ๘ เกลียว เล็ก ๆ ๘ เส้น รวมกันเป็นเส้นใหญ่เส้นเดียวนั่น อัฏฐัง คิก หมายความว่าอย่างนั้น แต่มันมีแปลกอยู่อีกหนึ่งว่าใน ๘ sector นั้นมันจะมี sector หนึ่งเป็นตัวนำ เป็น main เป็นตัวนำอยู่ เช่นว่ายา ยาขนานหนึ่ง มันประกอบด้วย Ingredient ตั้ง ๘ อย่าง แต่มันมี ingredient อันหนึ่งเป็น Main เป็นหัวหน้าเป็น ที่ในอัฏฐัง คิกมรรคมีองค์ ๘ นี้ มันก็มี Main ข้อนี้หมายถึงสัมมาสมาธิ
ข้อนี้อาจจะแปลกสำหรับความรู้สึกของท่านก็ได้ คือโดยมากอาจจะคิดว่าไอ้ที่มันสำคัญที่สุด มันควรจะเป็น เอ่อ,สัมมาสมาธิ (Right View) (Right understanding) (นาทีที่ 1.48.12) ที่นี้กลับมาเป็นบริวารของเอ่อ,สมาธิ สมาธิที่มีสัมมาทิฎฐิช่วยประกอบน่ะมันจึงจะเป็นสมาธิที่ทำหน้าที่ได้ จึงเกิดคำใหม่ขึ้นมาคำหนึ่ง เรียกว่า อริยสัมมาสมาธิ (Noble Right Concentration) (นาทีที่ 1.49.13) อริยสัมมาสมาธิ สมาธิถ้าอยู่เดี่ยวๆ ก็ไม่ๆๆไม่สามารถ ไม่ทำอะไรได้ตามต้องการ สมาธินี้ต้องมีผู้ช่วยอีก ๗ อย่าง เอาสมาธิเป็นหัวหน้า แล้วก็เอาไอ้ทั้งอีก ๗ อย่างนั้นมาเป็นบริวารเป็นช่วยประกอบ มีคำเรียกว่าอริยสัมมาสมาธิ นี่ที่จะตัดปัญหาทุกอย่าง จะตัดอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ หรืออะไรก็ตาม ที่เป็นการทำหน้าที่
ทีนี้มันแปลกที่ว่าปัญญา ปัญญา หรือสัมมาทิฎฐินี่กลับมาเป็นผู้ช่วยของสมาธิ แต่สมาธิคำนี้แปลกนะ มีอริย เติมเข้าไปข้างหน้านะ ไม่ใช่สัมมาสมาธิเฉย ๆ ต้องอริยสัมมาสมาธิ อริยสัมมาสมาธิ ที่มี เอ่อ,สัมมาทิฎฐิมาเป็นลูกน้อง ทุก ทั้ง ๗ อย่างมาเป็นลูกน้อง อย่างมาเป็นแม่ทัพ นั่นก็คือตัวสัมมาสมาธิ แล้วไอ้สัมมาทิฎฐิเป็นต้น ก็มาเป็นผู้ช่วย มีกอง ไอ้ความรู้แผนผังอะไรต่าง ๆ นั้นก็มาเป็นผู้ช่วย คือถ้าเราจะว่าปัญญาตัดกิเลส ก็ต้องเป็นปัญญาที่มาอยู่กับสมาธิ ปัญญาล้วน ๆ ยังไม่ตัด ปัญญาที่มาอยู่กับสมาธิได้ กำลังของสมาธิแล้ว ปัญญานี้จึงจะตัดกิเลส นี่พอฟังดูทีแรกก็ไม่ค่อยจะเห็นด้วย แต่มีพระบาลีอย่างนี้ สัมมาสมาธิที่มี ๗ ๗ ข้างต้นน่ะมาเป็นลูกน้อง มาเป็นบริวาร ที่มีลักษณะตรง อัฏฐังคิก เหมือนกับเชือก ๘ เกลียว ทั้ง ๘ อย่างมาทำงานกันรวมกันหมดน่ะ แล้วสมาธิเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะตัดอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ สัมมาสมาธินี้มีสัมมาทิฎฐิมาเป็นลูกน้องด้วยมันจึงจะตัดได้ อะไร ๆ มารวมอยู่ที่คำว่าสมาธิ และเป็นอริยะสัมมาสมาธิ
มันเหมือนกับความคมที่ไม่มีน้ำหนัก มันตัดไม่ได้ มันจะคม คม เท่าไร แต่ถ้ามันไม่มีน้ำหนัก แล้วมันก็ตัดไม่ได้ แต่ความคมน่ะคือปัญญาหรือสัมมาทิฎฐิแหละเป็นความคม แต่ถ้ามันไม่มีน้ำหนักหรือสัมมาสมาธิแล้วมันก็ตัดไม่ได้ คม คมเฉย ๆ มันตัดไม่ได้ มันต้องมีน้ำหนักที่จะให้ความคมมันตัดลงไป ดังนั้นท่านจึงเพ่งไปที่สัมมาสมาธิหรือสัมมาสมาธิแหละที่จะเป็นหัวหน้าในการตัดอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ นี่คือความหมายของคำว่า Eight Fold, Eight Factor รวมกันเป็นหนึ่งและก็ตัดได้ด้วยทั้งทุก ๆ อย่าง รวมกันทำหน้าที่ และต้องมีการเป็นอยู่อย่างถูกต้อง Likelihood มีการพูดจาอะไรอย่างถูกต้อง มีความมุ่งหมายถูกต้อง และมีความพากเพียรมากพอ มี Mindfulness มากพอ และสมาธิจึงจะตัด ตัด เอ่อ,อุปาทานได้
เราทั่ว ๆ ไปรู้สึกตามธรรมดา เราไปให้เกียรติแก่ความคม เราไม่ค่อยให้เกียรติแก่ความ แก่น้ำหนัก แต่ในพระบาลีหรือพุทธภาษิตนี่ ให้เกียรติแก่น้ำหนัก เพราะในน้ำหนักนั้นมันรวมความคมเข้ามาด้วย เอาความคมมาเป็นบริวารของน้ำหนัก ให้เข้าใจให้ดี ๆ ระหว่างคำว่าปัญญากับสมาธิ สมาธิน่ะเป็นตัวทำงานโดยมีปัญญาเข้าไปรวมอยู่ด้วย อย่างนี้เขามีชื่อเรียกไพเราะ ๆ ว่า อนันตริยสมาธิ สมาธิที่ติดแน่นอยู่กับปัญญา ไม่มีระหว่างนั้น อนันตริยสมาธินี่ สามารถตัดกิเลสได้
ตัวหนังสือแปลว่า Without gap or without clearance between เอ่อ,ปัญญา and สมาธิ ระหว่างนี้ไม่มีๆที่ว่างน่ะ อนันตริยะ without gap without clearance between สัมมาทิฏฐิ and สัมมาสมาธิ เป็นอันว่าน้ำหนักกับความคมมันต้องไม่แยกจากกันจึงจะเป็น Eight Fold Path ที่ทำให้สำเร็จ ส่วนศีลนั้นเป็นๆที่รองรับอยู่ข้างล่างเหมือนกับแผ่นดิน เรามีน้ำหนัก เรามีความคมก็จริง แต่เราต้องมีที่เหยียบ มีแผ่นดิน ยืนเหยียบ แล้วใช้น้ำหนักและความคมตัด เพราะฉะนั้นศีลก็จำเป็นเหมือนกัน เราจึงมีศีล มีสมาธิ มีปัญญา ดังนั้น ใน Eight Fold Path มันมีความถูกต้อง ทั้งศีลถูกต้อง ทั้งสมาธิถูกต้อง ทั้งปัญญา รวมกันเรียกว่า Eight Fold Path รายละเอียดของแต่ละสิ่งละสิ่งน่ะมันหาได้ในหนังสือ อ่านหนังสือเด็กนักเรียนก็มี เราก็ไม่ต้องมาพูด พูดแต่ว่าไอ้ความถูกต้องหมายถึงอย่างไร และมันต้องรวมกันอย่างไร แล้วก็ทำงาน ทำงานร่วมกันอย่างไร มันจึงจะเป็น Eight Fold Path ขึ้นมา
เป็นอันว่าอริยสัจที่สี่ ตอบคำถามของคำถามที่ถามว่าโดยวิธีใด โดยวิธีใด และก็ได้ผลอะไร คือเพื่ออะไร มันก็ตอบอยู่ด้วยอริยสัจที่สาม คือ นิโรธ นิโรธ อริยสัจที่สี่ โดยวิธีใด โดยตัดต้นเหตุของความทุกข์เสีย คืออริยสัจที่สอง มีๆๆตัณหามีอุปาทานเป็นต้นเหตุ ก็ตัดเสียโดยอริยสัจที่สี่ ก็ได้ผลเป็นอริยสัจที่สาม ตัวปัญหาคืออริยสัจที่หนึ่งคือความทุกข์ก็หมดไป เรื่องอริยสัจเป็นอย่างนี้
สรุปความว่า Noble Path เป็น Path of Life แต่แล้วก็ต้องเป็น New life beyond on problem นี่เรื่อง Eight fold path มีเท่านี้ ขอยุติการบรรยายเท่านี้ ปิดประชุม