แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
การบรรยายครั้งนี้ก็จะได้พูดกันถึงเรื่อง ทุกขนิโรธ อริยสัจ เราควรจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับคำแต่ละคำนี่กันให้ชัดเจนและแน่นอน ก็จะได้เรื่องราวที่ชัดเจน และอย่างน้อยที่สุดเราก็ต้องนึกถึงคำสำคัญ ๔ คำที่เกี่ยวกับอริยสัจนั่นละ what is แล้วก็ from what, for what แล้วก็ by what เดี๋ยวนี้ก็มาถึงเรื่องที่ ๓ นั่นก็คือ for what เพื่อประโยชน์อะไร เรื่องอริยสัจนี่เพื่อประโยชน์อะไร
คำว่า นิโรธ นิโรธ นี่มันเป็นคำที่จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องเป็นพิเศษ นิโรธกลายเป็นสิ่งที่มีประโยชน์หรือต้องมี ฉะนั้นที่จะแปลนิโรธว่า Cessation , Extinction นี่ดูมันจะ ไม่ค่อยจะถูกเรื่องนัก เราจะได้วินิจฉัยกันเป็นพิเศษโดยเฉพาะ โดยตัวหนังสือแท้ๆคำว่านิโรธ ตัวหนังสือแท้ๆของภาษาบาลีแปลว่า ดับไม่เหลือ ดับไม่เหลือ ถ้ามันดับชั่วคราวแล้วมันดับมีอะไรเหลือนี่ก็มีปัญหาเหมือนกัน จะใช้คำว่าอะไรดี เช่นคำว่าดับชั่วคราว มันก็มีอีกคำหนึ่งว่า อัตถังคมะ อัตถังคมะ แปลว่ามิได้ตั้งอยู่ มิได้ตั้งอยู่ เอ่อ,คำนี้ก็มีความหมายของคำว่าดับ แต่เสร็จแล้วมันมีอะไรออกมาอีก ซ้ำออกมาอีก เช่นดวงอาทิตย์เช้าขึ้นมา เย็นดับในสายตาของคนเราเห็นว่าดับ แต่พรุ่งนี้ก็มาอีก ไอ้ดับๆ เกิดๆดับๆนี่มันไม่ใช่ ไม่ใช่นิโรธ นิโรธมันต้องดับไปสิ้นเชิง แต่แล้วก็มันยังมี มีผลอะไรเหลืออยู่ แม้ไม่ใช่สิ่งนั้นแต่มีผลอันอื่นยังเหลืออยู่ นี่เราจะพิจารณาคำว่านิโรธกันให้ดี
อัตถังคมะ นั่นแปลว่ามิได้ตั้งอยู่ ในปัจจุบันนี้มิได้ตั้งอยู่ เอ่อ,เพราะฉะนั้นจะเอามาใช้กับคำว่า ทุกข นิโรธนี่ไม่ได้หรอก เพราะว่ามันต้อง นิโรธคือดับ ดับไปโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าจะมีอะไรเหลืออยู่อีกก็มันไม่ใช่สิ่งนั้นกลับมาอีก มันเป็นสิ่งอื่นซึ่งเป็นผล ฉะนั้นเราจะใช้คำว่า Quenching ,quench(นาทีที่ 07:26) มันจะดีกว่ากระมังคิดว่า ก็คิดดูให้ดีเถอะ ท่านทั้งหลายที่เป็นเจ้าของภาษา มัน quench(นาทีที่ 07:23) ลงไปแห่งความทุกข์ แล้วมันก็เหลือผลดี ผลดีมีประโยชน์เหลืออยู่นี่ ลักษณะของทุกขนิโรธจะต้องเป็นอย่างนี้
และสิ่งที่จะเข้าใจได้ยากสำหรับท่านทั้งหลายอีกสิ่งหนึ่งก็คือ เอ่อ,สิ่งที่เรียกว่านิโรธ นิโรธนี่เป็นธาตุ element เป็นธาตุชนิดหนึ่ง นี่คงจะเข้าใจยาก เอ่อ,สิ่งที่เรียกว่าธาตุ ธาตุ element ทั้งหลายทั้งหมดในๆๆขอบเขตของธรรมะนี้ ก็แบ่งเป็น ๓ ธาตุ คือ รูปธาตุ ธาตุที่มีรูป และอรูปธาตุ ธาตุที่ไม่มีรูป แล้วก็นิโรธธาตุ ธาตุเป็นที่ดับแห่งรูปและอรูป เป็น element อันหนึ่งเป็นที่ดับแห่งรูปและอรูป ความทุกข์น่ะมันรวมอยู่ในคำว่ารูปและอรูปนั่นละ แล้วนี่ธาตุ element นี้เป็นที่ดับแห่งธาตุเหล่านั้น พอธาตุเหล่านั้นมาถูกนิโรธธาตุ ธาตุเหล่านั้นก็ดับ นิโรธเป็นธาตุชนิดหนึ่งตามธรรมชาติ ถ้ามันเป็นของใหม่สำหรับท่านทั้งหลายก็ขอให้สนใจดีๆสำหรับคำว่าธาตุ หรือ element ในภาษาธรรมะนี่มันเป็นธาตุ แม้แต่นิพพาน นิพพานนี่ก็เป็นธาตุ element น่ะนิพพาน มันรวมอยู่ในนิโรธธาตุน่ะ ธาตุเดียวกับนิโรธธาตุน่ะ แต่ความหมายมันจะไปอีกอย่างหนึ่ง มันเป็นธาตุแห่งผลของ เอ่อ,นิโรธ นิพพานแปลว่าเย็น แปลว่าเย็นคือไม่ร้อน ฉะนั้นนิพพานธาตุ ก็มันก็ธาตุแห่ง coolness หรือ cooling ในเมื่อนิโรธมันหมายถึงธาตุแห่งการ quenching, quench (นาทีที่ 13.32)ลงไปหลังจาก quenching (นาทีที่ 13.34)มันก็มี cool coolness cooling นี่คำว่าธาตุ ธาตุในภาษาธรรมะน่ะมันหมายความอย่างนี้ ที่จะเข้าใจยากก็คือว่ามันเป็นธาตุที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ตั้งอยู่ตามธรรมชาติ เพราะสิ่งใดมาถูกเข้ากับสิ่งนี้ก็ Quench (นาทีที่ 15.35)ลงไป แล้วพอสิ่งใดมาถูกเข้ากับสิ่งนี้ก็ cool ลงไป เพราะฉะนั้นคำว่าธาตุ ธาตุมันหมายความว่าอย่างนี้ มันคงไม่ใช่ความหมายเดียวกับไอ้คำว่า element ในทางฟิสิกส์ ทางเคมี ขอให้เข้าใจว่าอย่างนี้ กาลล่วงหน้าแล้วจะไม่ฟั่นเฝือ(นาทีที่ 15.50) เอ่อ,ตัวอย่างมันก็ ไฟ ไฟมีอยู่ใน เป็นธาตุตามธรรมชาติในโลกนี้ พออะไรมาถูก มาถูกเข้ากับไฟมันก็ไหม้ เพราะไฟมันมีคุณสมบัติเผาไหม้ สิ่งนั้นก็ไหม้ไป นิโรธธาตุนี่ก็เหมือนกัน สิ่งใดมาถูกเข้ากับนิโรธธาตุมันก็ดับลงไปแต่มันดับมีความเย็นเหลือ เอ่อ,เป็นนิพพานธาตุ นี่เราจะต้องมาศึกษากันในความหมายส่วนนี้กันเถอะ ซึ่งมันต้องเรียกว่า ไอ้ spiritual rather(นาทีที่ 17.41) เอ่อ,ของการศึกษา ขอให้รู้จักคำว่า นิโรธธาตุไว้ในลักษณะอย่างนี้
เอ่อ,ทีนี้ตัวความทุกข์ก็ดี ตัวเหตุของความทุกข์ก็ดี พอมาถึงถูกกันเข้ากับนิโรธธาตุมันก็ดับไป ความทุกข์พอมาถึงเข้าความทุกข์ก็ดับไป เหตุของมันเช่นอวิชชามาถึงเข้า อวิชชาก็ดับลงไป อุปาทานก็ดับลงไป ตัณหาก็ดับลงไป สังขารในทุกความหมายของสังขารมาถูกเข้ากับนิโรธธาตุ สังขารมันก็ดับลงไป ฉะนั้นมันก็เหลือไอ้นิพพานธาตุซึ่งเป็นผลเป็นเย็นเป็นความเย็น เป็นความไม่มีความทุกข์ไม่มีปัญหาไม่มีอะไร
ทีนี้มันมีผลเนื่องๆต่อไปอีกถึงอีกไอ้ธรรมะที่เป็น synonyms น่ะที่ๆแทนกันได้เรียกว่า เมื่อมัน quenching (นาทีที่ 21.28)แล้วมันก็มีอาการของไอ้ emancipation, emancipating, liberating, liberation (นาทีที่21:35) อันนั้นอีกที อันนี้มีคำเรียกว่า วิมุตติ วิมุตติ หลุดพ้นออกไปก็รวมอยู่ในคำว่า นิโรธธาตุ ดังนั้นเมื่อเราเรียนศึกษาเรื่องนิโรธอริยสัจนี่ เราหมายถึง quenching, cooling, liberating (นาทีที่ 22.40) นี่รวมเป็นเรื่องเดียวกันหมดเลย บางทีเราก็ชอบความหมายของคำว่า quenching (นาทีที่ 23.10) บางทีเราก็ชอบความหมายของ cooling (นาทีที่ 23.13) บางทีเราก็ชอบความหมายของคำว่า liberating (นาทีที่ 23.16) แล้วแต่ความรู้สึกของเรา ฉะนั้นขอให้เข้าใจไว้ให้ครบ ให้กว้างๆพอสำหรับคำว่านิโรธ
เดี๋ยวนี้การศึกษาที่เรามีอยู่ กำลังมีอยู่เวลานี้เราแปล นิโรธอริยสัจว่า extinction ดูมันจะเป็น extinction อย่างเดียวไม่มีอะไรเหลือ ขอให้หาคำแปลที่เหมาะหรือที่ถูกต้องที่มีประโยชน์สำหรับคำว่า ทุกข อริยสัจ และขอแนะว่า คำว่า quench quench นี่บางทีน่าจะเหมาะที่สุด ท่านจะไม่สังเกตรู้สึกบ้างหรืออย่างไร บางเวลาจิตใจของเราน่ะอยู่กับธาตุอันนี้ อยู่กับนิโรธธาตุนี่บางเวลา เวลาที่จิตใจของเรารู้สึกสบายที่สุด ว่างที่สุด จนมีคำพูด พูดยากละที่เราอยากจะพูดด้วยคำว่า beyond positive and negative อันนี่ละคือว่ามันไม่อยู่ มันอยู่กับนิโรธธาตุ ฉะนั้นท่านพยายามสังเกตว่าเมื่อไรจิตของเราอยู่กับนิโรธธาตุ
ควรจะใช้คำว่า experience มันดีกว่า คือเราจะเห็นได้ทันทีว่า เวลานั้นมันไม่ต้องการอะไร มันไม่มี craving (นาทีที่ 27.13)มันไม่ ไม่ต้องการอะไรนั่นน่ะ เพราะฉะนั้นคำว่านิโรธอริยสัจมันจึงถึงหมายถึงความดับแห่งความต้องการด้วยอวิชชา ดับให้ quenching (นาทีที่ 27.28)เราจะรู้สึกได้เองว่าเมื่อมันมี craving (นาทีที่ 27.34)ดับไปในจิตใจ อันนั้นละนิโรธธาตุ นั่นละนิโรธอริยสัจปรากฏแก่เรา แม้มันจะเป็นโดยบังเอิญ โดยบังเอิญ coincidence (นาทีที่ 28.48)โดยบังเอิญนิโรธธาตุ เอ่อ,เข้ามา เอ่อ,สัมผัสกับจิตใจของเรา แต่เราก็ไม่รู้ไม่ชี้ ไม่รู้สึก เรา ignore ไม่รู้ไม่ชี้กับมันเสียนี่ เราจึงไม่เข้าใจสิ่งนี้ ไม่รู้จักสิ่งนี้ ฉะนั้นขอให้สังเกตให้ดีๆว่าเมื่อไรไอ้ความระงับลงไปแห่งทุกข์แห่งกิเลสแห่งสังขาร นั่นละศึกษานิโรธอริยสัจที่ตรงนั้น เวลานั้น เมื่อนั้นละ ที่นั้นๆ
ทำไมเราต้องการจะไปพักผ่อนไปตากอากาศที่ทะเลที่ภูเขาที่ไอ้ที่ไปพักตากอากาศพักผ่อนนั่นละ เพราะที่นั่นเป็นโอกาสง่ายหรือเปิดโอกาสให้มากที่นิโรธธาตุจะเข้ามาสัมผัสกับจิตใจของเรา แต่เราอาจจะไม่รู้สึกก็ได้ บางทีเราไปหาความเพลิดเพลินอย่างอื่นก็ได้ แต่ว่าถ้ามองให้เห็น เอ่อ,ให้มันลึกซึ้งสักหน่อยก็ว่า สิ่งแวดล้อมเช่นนั้นมันเปิดโอกาสให้นิโรธธาตุ เอ่อ,สัมผัสจิตใจของเราได้ง่ายกว่า แต่เดี๋ยวนี้เป็นที่น่าเสียใจหรือโชคไม่ดีที่สถานที่พักตากอากาศที่มีอยู่เขาไม่จัดอย่างนี้ เขาไม่จัดเพื่อประโยชน์อันนี้ เขาไปจัดในทางที่ตรงกันข้าม เท่ากับไล่ๆหรือป้องกันไม่ให้นิโรธธาตุเข้ามา
ถ้าจะสังเกตดูให้ดีก็อาจจะมองเห็นว่าแม้แต่สัญชาตญาณ Instinct ของเรามันก็ต้องการนิโรธธาตุ มันคอยจะน้อมไปหาไอ้ความพักผ่อนโดยนิโรธธาตุ ลูกสุนัขตัวเล็กๆก็ยังต้องการไอ้ความพักผ่อนในแบบของนิโรธธาตุนั่นขอให้สังเกตดูให้ดี มันโดย instinct มันก็ต้องการอยู่แล้ว เอาละเป็นเอาว่าเราควรจะศึกษาควรจะเข้าใจควรจะให้โอกาส ควรจะทำโอกาสและส่งเสริมให้นิโรธธาตุเป็นที่รู้จักแก่เรา และก็มีแก่เรา เอาละไอ้ introduction สำหรับนิโรธนี่พอแล้ว เดี๋ยวนี้เราจะพูดถึงตัวไอ้นิโรธอริยสัจโดยตรงต่อไป
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสเรื่องอริยสัจ เมื่อพูดถึงนิโรธสัจก็มีบาลี ตัณหายะ อะเสสะวิราคะ นิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย (นาทีที่ 36:29) เท่านี้มีเท่านี้ ถึงจะจำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร อะเสสะวิราคะ นิโรโธ นิโรธแห่งราคะโดยไม่มีเหลือ นิโรธน่ะดับลงแห่งราคะ craving (นาทีที่ 37:35) นี่อันเดียวกัน ราคะหรือตัณหาอันไม่มีเหลือ หรือใช้คำว่า จาคะ จาคะคือให้ ให้ไป ให้ออกไปๆ จาคะนี่ give up ปะฏินิสสัคคะ ปะฏินิสสัคคะ มีความหมายว่าให้คืนกลับไปแก่เจ้าของเดิมคือธรรมชาติ ปะฏินิสสัคคะ ทีนี้คำว่ามุตติ มุตติคำนี้ พ้นๆ คำเดียวกับวิมุตติ มุตติ liberate emancipate คำสุดท้ายว่า อะนาละยะ อะนาละยะ ไม่มีอาลัยเหลือ คำว่าอาลัยนี่คือมัน คือว่าความคิดถึงหรือไอ้สิ่งที่ที่ไปแล้ว แต่ยังคิดถึงอีกซ้ำอีก ซ้ำอีกๆ สิ่งนี้เรียกว่าอาลัย ไม่มีอาลัยในวัตถุที่เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา ไม่มีอาลัยในตัณหา ไม่อาลัยกับตัณหาอีกต่อไป อาลัยคำนี้แปลให้ดีนะ อาลัย อาละยะ ที่จะเข้าใจได้ง่ายๆ ก็ตัวอย่างเช่นว่า ผัวกับเมียเขาหย่ากันแล้ว แต่อาลัยไม่ขาด ยากที่อาลัยจะขาด อาลัยๆนี่แปลให้ดีๆมันไม่ใช่ๆ long เพื่ออนาคต มัน long เพื่ออดีต คิดว่าเป็นอดีต คำพูดในภาษาไทยคำนี้ใช้เสมอ แต่ในภาษาอังกฤษไม่ทราบ เอ้า,ทีนี้ก็มาดูกันทีละอย่างนะ อะเสสะ วิราคะ นิโรธ ดับแห่งราคะไม่เหลือเศษ นี่หมายความว่าเราไปตัดมันที่ต้นเหตุ ที่ต้นเหตุแห่งความทุกข์ ราคะความหมายเดียวกับอุปาทาน กำหนัดยินดีมันก็ย้อมสี เหมือนกับย้อมสี ตัดออกให้สีย้อมมันหลุดออกไปไม่มีเหลือนี่ อะเสสะ วิราคะ นิโรธ ทีนี้ก็ ปะฏินิสสัคคะ ปะฏินิสสัคคะ (จาคะ) หืม,อ้อ,จาคะ ๆ จาคะอธิบายคราวเดียวกับมุตติ เอ่อ,ก็ต้องอาศัยสติทันเวลาทันควัน ทันเวลาที่มีผัสสะ มีผัสสะเข้ามาก็มีสติทันเวลาที่จะสลัดออกไป (อันนี้จาคะ) จาคะก็ได้ ปะฏินิสสัคคะก็ได้ มุตติก็ได้ ความหมายเดียวๆกัน (อ่อ,)ทีนี้ก็มาถึงไอ้สิ่งที่ลำบาก คือ อะนาละยะ อะนาละยะนี่คือตัดอาลัย ต้องมีกำลังของสมาธิพอ มีกำลังของปัญญาพอ ต้องมีปัญญามากปัญญาคม มันจึงจะตัดอาละยะ
เมื่อมีการกระทำอย่างนี้ไอ้สิ่งที่เรียกว่าตัณหา ตัณหา มันก็ดับไป แต่ว่าเราไม่ต้องตาย เข้าใจว่าเมื่อจะตัดตัณหาที่มีนิพพาน มีมุตติไม่ต้องตาย ไม่เกี่ยวกับการตาย มักจะสอนกันผิดๆว่ามันต้องตายมันจึงจะดับได้ นั้นมันสอนผิดๆ มันไม่ต้องตาย ถ้าต้องตายจะมีประโยชน์อะไร มันไม่ต้องตายแต่มันมีชีวิตที่เยือกเย็นนี่ ที่ว่าตัณหาดับก็คือดับไฟนั่นเอง
เมื่อวันก่อนเราพูดกันแล้วถึงข้อที่ว่า ความทุกข์มันมีเพราะว่ามีอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ ทีนี้ความดับทุกข์มีเพราะเอาอุปาทานออกมาเสียจากขันธ์ทั้ง ๕ เดี๋ยวนี้ที่ว่าดับในที่นี้ในความหมายที่สมบูรณ์ที่สุดก็คือว่า ดับอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ เสีย มันต้องดับมาตั้งแต่อวิชชา แล้วมันก็ดับตัณหา แล้วมันก็ดับอุปาทานะ นี่มันก็คือดับโดยสมบูรณ์ ที่บอกแล้วว่า Synonym ของไอ้นิโรธนี่ที่มีค่ามากหรือจำเป็นอย่างยิ่งก็คือ นิพพาน นิพพานคำนี้แปลว่าเย็น เย็น ก็มีหลายๆๆระดับ ถ้ามันเย็นถึงที่สุด ถึงที่สุดจริงๆก็จะเรียกว่า นิพพานได้ในความหมายนั้นล่ะ แต่ถ้ามันเย็นไม่ถึงที่สุด เย็นอย่างที่คนธรรมดาสามัญจะต้องมี แต่ที่จะมีได้ จะมีได้ ที่เราอาจจะมีได้นี่เรามีคำเรียกอีกคำหนึ่งว่า นิพพุติ นิพพุติ ชีวิตเย็น ชีวิตเย็น
ในภาษาไทยเราเรียกว่า ความเย็นอกเย็นใจ ความเย็นอกเย็นใจ ที่เราจะต้องการและจะมีได้เอ่อ,ในๆคนธรรมดาทั่วไป เย็นอกเย็นใจคือสบายใจชนิดที่ไม่เกี่ยวกับกิเลส บางทีมันจะคำเดียวกับคำว่า good time Having a good time ใช้good time นี่ไม่ ไม่เกี่ยวกับกิเลสนี่ นี่ก็จะเป็นไอ้นิพพุติคือความเย็นอกเย็นใจได้เหมือนกัน ทุกคนน่ะชอบนิพพุติ แต่ก็ไม่รู้จักชื่อ แต่จิตใจก็ชอบ เพราะว่าชอบๆ แต่ไม่รู้จักชื่อ ทีนี้อยากจะให้รู้จักคำว่า นิพพุติ นิพพุติกันไว้อย่างนี้ จะเป็นภาษาอังกฤษว่าอย่างไรก็ ก็ไม่ๆทราบ แต่มันมีความหมายเดียวกับนิพพาน แต่มันยังไม่ถึงระดับที่สุด แล้วก็มันก็ชั่วคราวนี่ เราอาจจะเรียกกันง่ายๆว่า ชีวิตเย็น ชีวิตเย็น นั่นแหละ เมื่อยังไม่เต็มขนาดเราก็เรียกว่านิพพุติ ถ้าเต็มขนาดเราก็เรียกว่านิพพาน นี่ละคือผลของนิโรธ นิโรธแห่งตัณหา
เรารู้จักนิพพาน coolness ถึงที่สุดกันเสียสักหน่อยก็ได้ พอกิเลสสิ้นไป กิเลสสิ้นไป เย็นๆๆแล้ว แต่ความรู้สึกเป็น positive หรือ negative ยังเหลืออยู่ ความรู้สึกที่เป็น positive negative นี้ไม่อาจจะทำให้เกิดกิเลสได้ กิเลสสิ้นไปหมดแล้ว อย่างนี้เป็นนิพพานที่หนึ่ง เอ่อ,นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ ที่กิเลสก็สิ้นไปด้วยที่นี้ความรู้สึกที่จะเป็น positive หรือ negative ก็หมดไปอีกด้วย นี้ก็เป็นนิพพานที่สองเรียกว่า นิพพานไม่มีเชื้อเหลือ อย่างแรกเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน นิพพานมีอุปาทิเหลือ อย่างที่หลังเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ นี่ ถึงที่สุดของไอ้ดับตัณหา เป็นนิพพานอยู่ 2 ชนิด เอ่อ,พูดให้สั้นที่สุดกว่านิพพานที่แรกนั้นน่ะ ยังมีความรู้สึกต่อ positive หรือ negative แต่ความรู้สึกอันนี้ไม่อาจจะปรุงแต่งให้เกิด sense sense น่ะอัตตาหรือตัวตนนั้นได้ แต่ยังรู้สึกว่า positive หรือ negative พอนิพพานที่สองไม่มีความรู้สึกว่า positive หรือ negative แต่ประการใด นั่นละเราจะเรียกชื่อมันว่าชีวิตใหม่ Beyond the world Beyond the world โลกุตร ชีวิตที่อยู่เหนือโลก
เอ้า,ทีนี้มาพูดถึงคำว่า นิโรธ นิโรธกันอีก เรามีได้แม้โดยบังเอิญของสิ่งแวดล้อม มันทำให้ตัณหาน่ะไม่เกิด นี้ก็ว่ามีนิโรธชนิดที่บังเอิญ อะไรไม่รู้จะเรียกบังเอิญ Coincidence หรืออะไรก็ตามนี่ มันมี มีได้เหมือนกัน สังเกตดูให้ดีๆ ที่นิโรธมีโดยที่เราบังคับเรากระทำมันลงไป ต้องคอยระวังต้องคอยบังคับต้องคอย เอ่อ,ควบคุมอยู่นี่ก็มีได้ ที่นี้ว่ามันมีโดยที่มันกิเลสมันหมดแล้วๆ ไม่ต้องคอยระวัง ไม่ต้องคอยควบคุม ไม่ต้องอะไร มันก็ไม่อาจจะเกิดความทุกข์ได้ นี่เป็นนิโรธ เอ่อ,ที่สมบูรณ์ เป็นนิโรธของพระอรหันต์ มีอยู่ ๓ ชนิดอย่างนี้
วิธีของอานาปานสติช่วยให้เกิดการดับปัญหาหรือดับทุกข์นี่ทั้ง ๓ ชนิดเลย ถ้าเราอยู่ในอานาปานสติแล้วก็จะง่ายชนิดที่จะเกิดโดยบังเอิญ แล้วก็จะทำได้ที่จะบังคับลงไป ก็จะง่ายที่จะเอากิเลสออกไปหมดแล้วโดยวิธีอานาปานสติ เรื่องอานาปานสติเป็นเรื่องละเอียดยืดยาว เราต้องไว้พูดกันคราวอื่น ถ้าจะพูดแทรกตรงนี้มันก็ไม่ ไม่ไหวละ ไม่มีเวลา ไว้พูดกันคราวอื่น ทีนี้ก็มาพูดกันถึงอุบาย อุบาย วิธีที่เราจะจัดการกับมันนี่ เรามีหลักเกณฑ์ว่าเราไม่ ไม่ทำการต่อสู้ซึ่งหน้า เราไม่ทำการต่อสู้ซึ่งหน้าแต่เรามีอุบายชนิดที่จะทำข้างหลัง เอ่อ,คือว่าไปตัดที่ต้นเหตุของความทุกข์ เราไม่เข้าไปต่อสู้กับความทุกข์โดยตรงนี่มันลำบากมันทุกข์ มันลำบากมันยุ่งยากไปหมด อยากจะให้ศึกษาภาษาไทย เอ่อ,สักคำหนึ่ง ภาษาไทยว่า เอ่อ,“อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้” นี่ ก็มันเป็นคำพูดค่อนข้างหยาบคายนะ อย่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ ไอ้คนโง่น่ะเขาเอาไม้สั้นๆไปตีอุจจาระให้อุจจาระหายไปให้หมด เขาเอาไม้สั้นๆไปรัน ไปตีอุจจาระ มันก็ได้ผลคือเลอะเทอะหมด เจ้าคนนั้นก็(นาทีที่ 1.05.41)เลอะเทอะกว่านั้นหมดก็เพราะว่าเอาไม้สั้นไปรันขี้ นี่เราไม่ทำอย่างนั้นไม่ต่อสู้ซึ่งหน้า แต่เรามีอุบายทำทีหลัง เอ่อ,คือเราทำไม่ให้มันขี้ ทำไม่ให้มันขี้ หรือว่าถ้าจะเราจะรันขี้ก็มาใช้ไม้ยาวๆสิ เราก็ไม่ต้องเลอะเทอะด้วยอุจจาระ
นี่ วิธีของนิโรธก็คือทำข้างหลังตัดที่ต้นเหตุ ไม่เผชิญหน้ากับความทุกข์แล้วมันจะโง่ อย่าเข้าไปเผชิญหน้า แต่ว่าตัดต้นเหตุ ตัดต้นเหตุอยู่ข้างหลัง ที่เก่งกว่านั้นก็คือเราทำไม่ให้มันขี้ ทำไม่ให้มันขี้ นี่ละวิธีดับทุกขนิโรธ ใช้วิธีตัดที่ต้นเหตุเป็นวิธีที่ใช้ได้แม้ในเรื่องอื่นๆในการแก้ปัญหาทุกปัญหานะ ถ้าเราใช้วิธีตัดที่ต้นเหตุอย่าเข้าไปเผชิญหน้ากับมันจะมีความลำบากโดยไม่จำเป็น
ทีนี้เราก็มาพูดกันถึงไอ้ไวพจน์ ภาษาไทยเรียกว่าไวพจน์ synonym ของคำว่าทุกขนิโรธ มันมีคำที่ช่วยให้เข้าใจได้ดียิ่งขึ้นอีกหลายคำ synonym อีกหลายคำอีกบางคำ ระงับการปรุงแต่ง ระงับการปรุงแต่ง หรือ concoction เสียโดยทุกความหมาย เรียกว่า สัพพะสังขาระสะมาโถ ระงับสังขารเสียในทุกๆความหมาย ระงับ concoction เสียในทุกความหมาย นี่ก็เป็น synonym ของทุกขนิโรธ โยนของหนัก ของหนักๆโยนทิ้งไปเสียให้หมด ของหนักๆก็คือเบญจขันธ์ที่มีอุปาทานนี่เรียกว่าของหนัก นี่เรียกว่า สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค โยนของหนักออกไปเสียให้หมด คือเบญจขันธ์ที่ประกอบอยู่ด้วยอุปาทาน ทีนี้มาอันที่สามว่า ตัณหักขะโย (นาทีที่ 1.13.24) ทำตัณหาให้สิ้น craving น่ะทำให้สิ้นทำตัณหาให้สิ้น ทีนี้อันที่สี่ วิราโค (นาทีที่ 1:13:46) ไม่มีของย้อม วิราคะในที่นี้หมายถึงของย้อมจิตเหมือนกับสีย้อมผ้า ทำให้สีละลายออกไปหมด ให้สีจางออกไปหมดไม่มีสีเหลือ อย่างนี้เรียกว่าวิราคะ ดับราคะที่เป็นเหมือนกับสีย้อมผ้านี้ให้หมดไป
ก็มาถึงคำว่า นิพพานัง นิพพานังก็คือว่าเย็น ดับหรือเย็นหรือไม่มีอะไรที่มาทำให้เจ็บปวด นิพพานัง สุดท้ายแล้ว quenching of ทุกขแห่งนิพพานัง ทำให้มันเย็น ทำให้มันเย็นทั้งทางกายทั้งทางจิตทั้งทางวิญญาณ มันเป็นคำที่ไพเราะที่สุดในความรู้สึกถ้ารู้สึกน่ะ จะอ่านให้ฟัง ถ้าจำไม่ได้ก็ไม่เป็นไร สัพพะสังขาระสะมาโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย วิราโค นิโรโธ นิพพานัง (นาทีที่ 1.15.48) กี่คำ หนึ่ง สอง สาม สี่ ห้า หกคำ ถ้าเราเอาไอ้ความจริงอันนี้มาทำสมาธิ มีชื่อเรียกแปลกออกไปว่า ธรรมสมาธิ แต่ไม่มีใครเคยใช้ไม่มีใครเคยทำ ในบาลีมีเรียกว่า ธรรมสมาธิ เอาธรรมะเหล่านี้ หกชื่อนี้มาทำอยู่ในใจ และกำหนดอยู่ในใจ เรียกชื่อใหม่ว่า ธรรมสมาธิ ไม่มีใครเคยทำไม่มีใครเคยพูดแต่ในบาลีมันมี นี่มันเป็น synonym ของนิโรธหรือทุกขนิโรธ ก็คือเอานิโรธน่ะทำเป็นสมาธิ วิธีแต่ละคนคิดเท่ากับเป็นธรรมสมาธิ แต่ว่าโดยพฤตินัยแล้ว อานาปานสติหมวดที่ ๔ อานาปานสติหมวดสุดท้ายคือหมวดที่๔นั่นละคือธรรมสมาธิ ท่านจะไปที่ไหน ที่อินเดีย ที่ศรีลังกา ที่พม่า ที่ไหนก็ตาม ท่านจะไม่ได้ยินคำว่า ธรรมสมาธิ คือปฏิบัติธรรมสมาธิ ก็แปลกที่ว่าเขาไม่เอาคำนี้มาใช้กัน แต่แล้วเรายืนยันว่าทำอานาปานสติหมวดสุดท้ายนั้นละคือการกระทำที่เรียกว่าธรรมสมาธิ คือเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์ของสมาธิ สมาธิที่ถูกต้อง ต้องมีพระนิพพานเป็นอารมณ์ Concentrate the mind ตรงไปที่ทุกขนิโรธหรือนิพพานแล้วแต่จะเรียก concentrate the mind , focus ตรงไปที่นั่นละ ก็เรียกว่าธรรมสมาธิ พูดสำหรับคนธรรมดาเดินถนนก็พูดว่ามุ่งไปที่ความสงบ เราจะมุ่งไปที่ความสงบ Peacefulness of the mind มุ่งไปที่นั่น คอยจ้องอยู่ที่นั่นตลอดเวลาทุกเวลา เราคอยระวังจิตควบคุมจิตดำรงจิตให้ชอบ ให้มุ่งอยู่ที่ความสงบ ความสงบ ปฏิบัติได้ทุกหนทุกแห่ง
เดี๋ยวนี้คนทั้งโลกก็พูดถึง Peacefulness หรือ Peaceful world แต่แล้วก็ไม่สำเร็จประโยชน์ เพราะเขาไม่รู้จักทำอะไรบางอย่างให้มันดับลงไป ดับไอ้กิเลสดับตัณหาดับอุปาทานในเบญจขันธ์ เดี๋ยวนี้เขาไม่รู้จักทำ มันก็พูดไม่มีประโยชน์ ถ้าจะต้องการไอ้ peaceful world ,peacefulness of the world นี่มันไม่มีประโยชน์ เพราะไม่รู้จักไอ้ทุกขนิโรธนี่ ไม่รู้จักทุกขนิโรธ
ทีนี้มีอยู่อีกสิ่งหนึ่งที่อยากจะพูดเป็นสิ่งสุดท้าย ก็เรียกว่า อุบาย อุบายในภาษาไทยเขาเรียกว่าเคล็ด เคล็ดน่ะคือทำให้มันง่ายเข้า ทำให้มันเร็วเข้า ทำให้มันสะดวกเข้า นี่อุบายอย่างนี้ ภาษาอังกฤษจะเรียกอย่างไรก็ไม่ทราบ เรามีเคล็ดหรือมีอุบายที่จะทำ ก็ทำอย่างที่เรียกว่า ภาษาอังกฤษจะว่าอย่างไร เกลือจิ้มเกลือน่ะ เกลือจิ้มเกลือ เอาความทุกข์นั่นแหละมันมาแก้ความทุกข์ ในที่นี้ก็จะเรียกว่าเอาตัณหานั้นแหละมาดับตัณหา เกลือจิ้มเกลือน่ะมันมีความหมายว่า เอาสิ่งนั้นแหละมาแก้ปัญหา มีคำอีกคำหนึ่งว่า ถ้าหนามมันยอกเราก็เอาหนามนั่นแหละบ่ง คือว่าหนามมันตำอยู่ที่ในเนื้อนี้เราก็ไปหาหนามใหม่มา เอ่อ, ๒ หนามนี่แล้วก็มาแทงเข้าท้อง ข้ามหนามอันที่ติดอยู่ในนี้เรียกว่า ซ่อมๆ (นาทีที่ที่ 1.25.35) เอาขึ้นมาอย่างนี้ แล้วหนามอันนี้มันก็หลุดออกมา ก็เรียกว่าเอาหนามนั่นแหละบ่งหนามหรือแก้หนาม นี่ มีวิธีเอาตัณหาแก้ตัณหา
แต่ท่านต้องดูให้ดีให้เห็นว่ามันคนละอันนะ ถ้าเกลือจิ้มเกลือ มันเกลืออีกอันมาแก้เกลืออันนี้ ถ้าว่าหนามมา เอ่อ,บ่งหนามมันก็ต้องหนามอีกอันหนึ่งไม่ใช่หนามอันเดียวกันนั้น ฉะนั้นเราจะต้องมีตัณหาในความหมายหนึ่งเพียงแต่ว่าชื่อ ชื่อมันเหมือนกันกับความต้องการ เอ่อ,หมายความว่าอันอีกอันหนึ่งนี่ชื่อเหมือนกัน เมื่อเราจะต้องมี เอ่อ,ของชื่อเดียวกันแต่ต่างกันอย่างนี้แล้ว เอ่อ,คำว่าตัณหา ตัณหานี่เราจะแปลแต่เพียงว่า want ก็แล้วกัน ต้องการ ไอ้ want อย่าง craving นั้นมัน มันเป็นปัญหา มันเป็นความทุกข์ เป็นความเลว เราก็เอา want อย่าง aspiration น่ะคือต้องการให้ดีกว่าเก่า ต้องการให้ดีกว่าเก่านะ aspiration ดูเหมือนจะมีคนบางคนเคยคิดจะแปลคำว่าตัณหานี้ เอ่อ,เป็น aspiration แต่มันเป็นตัณหาฝ่ายดี ตัณหาฝ่ายที่จะแก้ปัญหา แก้ตัณหา ถ้าตัณหามาแก้ตัณหา ดับตัณหาด้วยตัณหาแล้วก็ เอา aspiration น่ะก็มาดับ craving เสีย หนามแก้หนาม
ทีนี้เรามาดูถึงความทุกข์ ในความทุกข์นั้นมันมีความดับทุกข์ ไอ้ความทุกข์เกิดขึ้นเกิดอยู่ก็เป็นความทุกข์ แต่ว่าความดับแห่งความทุกข์ดับลงมันก็เป็นความดับทุกข์ ถ้าเราดูให้ดีเราจะรู้จักความดับทุกข์จากตัวความทุกข์นั่นแหละ ดูตัวความทุกข์ข้างใน ว่าในนั้นน่ะมีๆๆ มีความจริงมีความรู้เอ่อ,ที่จะให้เห็นว่ามันดับทุกข์โดย เอ่อ,โดยวิธีใด แต่ในไฟถ้าเราดูให้ดีเราจะพบว่าตรงกันข้ามคือความดับไฟ เราศึกษาความทุกข์ให้เข้าใจชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วเราจะมองเห็นว่าความดับทุกข์จะเป็นอย่างไร ฉะนั้นขอให้ทำให้ฉลาดให้ความทุกข์น่ะมันสอนเราให้รู้จักความดับทุกข์ มันจะได้ผลอย่างเดียวกันกับว่า เอาหนามบ่งหนาม แล้วถามตัวเองดูทีว่า เราจะเห็นความดับไฟที่ไหนล่ะถ้าไม่เห็นที่ไฟ จะเห็นความดับไฟที่ไหนๆ ไม่มี มันก็ที่ไฟนั่นแหละ ก็เราจะเห็นความดับทุกข์ที่ไหน เห็นที่ไหน ก็ต้องเห็นที่ตัวความทุกข์นั่นแหละ ฉะนั้นดูให้ดีในไฟก็ตามในความทุกข์ก็ตามมันมีสิ่งที่ตรงข้ามอยู่ในนั้น ฉะนั้นเราขอบใจความทุกข์มาสอนให้เราฉลาดและให้ดับความทุกข์นั้นแหละเอง ดับตัวมันเองนะ ดับไฟอยู่ที่ไฟ ดับทุกข์อยู่ที่ความทุกข์ คุณสันติกโร(นาทีที่ 1.37.50) จะพาคุณทั้งหลายไปดูสระนาฬิเกร์ ต้นมะพร้าวกลาง ท่านจะเข้าใจความหมายของคำว่า ดับไฟที่ไฟ ดับทุกข์ที่ทุกข์ ความดับทุกข์อยู่ที่ความทุกข์นั้นแหละ เราก็พยายามเข้าใจอันนี้ให้ดีเถอะ เราก็จะเปลี่ยนตัณหา sublimate กำลังของตัณหาให้มันเป็นกำลังที่ดับหรือฆ่าตัวตัณหาเอง sublimate กำลังของตัณหาจาก craving เป็น aspiration แล้วมันก็ฆ่าตัณหาเอง ในที่สุดเราก็พูดว่า ขอบใจความทุกข์ ขอบใจความทุกข์ ขอบใจความทุกข์ที่มันทำให้เราฉลาด ที่มันทำให้เกิดพระพุทธเจ้าผู้ดับ รู้ รู้ความดับทุกข์ขึ้นมาในโลก ขอบใจความทุกข์ ขอบใจความทุกข์ แม้มันจะเป็น optimistic มากไปหน่อยก็ไม่เป็นไรหรอก เรามองกันในแง่นี้ดีกว่า เมื่อความทุกข์เกิดขึ้นต้อนรับมันให้ดีๆเราจะพบความดับทุกข์ เรื่องทุกขนิโรธ อริยสัจจบแล้ว ขอยุติการบรรยายวันนี้