แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้จะได้พูดถึงอริยสัจข้อที่ ๒ ที่เรียกว่า สมุทยสัจ
เพื่อความง่ายก็อยากจะให้มองดูในลักษณะ Bird’s eye view ของเรื่องทั้งหมด ในภาษาที่ใช้กับเรื่อง Logic
อริยสัจที่ ๑ บอกว่าเป็นเรื่องอะไร What is it?
อริยสัจที่ ๒ มันบอกว่ามาจากอะไร From what?
อริยสัจที่ ๓ มันบอกว่าเพื่อประโยชน์อะไร For what?
อริยสัจที่ ๔ มันบอกว่าโดยวิธีใด By what?
ขอให้เข้า จำคำว่า คืออะไร จากอะไร เพื่ออะไร โดยวิธีใด พร้อมๆ กันนะ จะมองเห็นอริยสัจได้ชัดเจนทีเดียว ทั้ง ๔ อย่าง
ที่ถ้ำอจันตา ที่ประเทศอินเดีย มีหินสลักนะ The Culture เป็นรูปกวาง ๔ ตัว ท่าทางต่างๆ กัน แต่ว่าทั้ง ๔ ตัวนั่นนะมารวมหัว หัวเดียว ศีรษะเดียว เข้าใจว่ามัน ผู้ทำตั้งใจจะแสดงเรื่องอริยสัจเป็นแน่นอน ท่านอาจจะดูภาพกวาง ๔ ตัวหัวเดียวได้ที่ ที่โรงปั้นภาพของเรานี่ก็มี นึกถึงภาพอันนี้แล้วก็จะเข้าใจเค้าโครงทั้งหมดของอริยสัจได้โดยง่าย
กวางแต่ละตัวละตัวนะ ทำหน้าที่ทำกิริยาต่างๆ กัน แต่มารวมหัวเดียวกันได้
อริยสัจที่ ๑ บอกให้รู้ว่าความทุกข์นะมันคืออะไร
อริยสัจที่ ๒ บอกให้รู้ว่าความทุกข์มันมาจากอะไร
อริยสัจที่ ๓ บอกว่าความทุกข์นะมันเพื่อประโยชน์อะไร คือเพื่อให้เราดับ เพื่อดับเสีย
อริยสัจที่ ๔ บอกว่าจะดับมันโดยวิธีใด โดยวิธี Eightfold path นะ
นี่เรียกว่าโครง เค้าโครงของอริยสัจ
ทีนี้เราก็มาถึงอริยสัจข้อที่ ๒ เรียกโดยบาลีว่า สมุทยสัจ หรือ สมุทยอริยสัจ เราจะต้องเข้าใจคำว่า สมุทย นี่ให้ถูกต้อง ให้ครบ ให้ ให้ละเอียด ให้ ให้ถูกต้อง สิ่งนี้เป็นปัญหา ตัวคำพูดนี่สร้างปัญหา เพราะคำพูดมีหลายระดับแห่งความหมาย จะต้องศึกษาความหมายของคำเหล่านี้ให้ดีๆ โดยเฉพาะคำที่เรียกว่า สมุทย นะ
คำคำนี้ สมุทยนี่ มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า เหตุ เห-ตุ เห-ตุ และอีกคำหนึ่งว่า ปัจจย หรือปัจจัย พยายามหาความแตกต่างกันระหว่างคำว่า สมุทย กับคำว่า เห-ตุ และคำว่าปัจจย เข้าใจว่าจะตรงกับคำว่า originate สมุทย originate, เห-ตุ ตรงกับคำว่า cause, ปัจจย ตรงกับคำว่า condition หรือ concoction
ทั้ง ๓ คำมันมีใจความของคำว่า เหตุ หรือ cause ไอ้เหตุ หรือ cause มันมีอย่างที่ว่ามันเป็น primary, supplementary, direct กับ indirect ถ้ามันเนื่องอยู่ด้วยเหตุสิ่งเดียว ก็จะเรียกว่า เหตุ ถ้ามันเนื่องด้วยสิ่งหลายอย่างต้องเนื่องกันอยู่หลายอย่าง เราก็จะเรียกมันว่า ปัจจย ปัจจย
ยอมเสียเวลาสักนิด ศึกษาความหมายของคำทั้ง ๓ นี้ ก็จะมีประโยชน์ ในเรื่องการปั้นหม้อของช่างหม้อ ทำให้มีหม้อเกิดขึ้นมานี่ ไอ้ main cause ของมันก็คือ ความต้องการของคนผู้ทำหม้อเขาต้องการ ความอยาก ความต้องการของเขานะเป็นตัวเหตุ เป็น main cause แล้วก็ไอ้ supplementary ทั้งหลายเรียกว่า ปัจจัย ก็ เช่นเขาต้องเอาดินมา เอาน้ำมา เอาเครื่องหมุนมา อะไรมา นี่มันเป็นปัจจัย แล้วเขาก็มาทำรวมกันทุกอย่างนี่เข้านี่มันเป็น สมุทย originate ในเรื่องปั้นหม้ออย่างเดียวนะมันมีความหมายทั้งคำว่า สมุทย เห-ตุ และปัจจย นี่ท่านศึกษาอาการเหล่านี้ จะเข้าใจคำทั้ง ๓
ทีนี้เราจะสังเกตเห็นได้ว่า คำบาลีคำนี้ใช้คำว่า สมุทย ทุกขสมุทย แล้วเราก็มาแปลกันเสียง่ายๆว่า cause, cause of suffering มันควรจะมีคำแปลของคำว่า สมุทย นะ มาใช้แทนคำว่า cause แต่เดี๋ยวนี้เราก็ได้ใช้คำว่า cause กันทั่วๆ ไปแล้ว ก็บอกให้ทราบว่า ท่านจงรู้ความหมายของคำๆ นี้ให้สมบูรณ์ว่ามันต้องใช้ความหมายของคำว่า สมุทย
ทั้ง ดังนั้นในภาษาบาลี เราจะได้ยินแต่คำว่า ทุกขสมุทย เราจะไม่ได้ยินว่า ทุกขเห-ตุ หรือ ทุกขปัจจย จะมีบ้างก็น้อยที่สุดและไม่ค่อยจะได้ยินนะ ได้ยินแต่ว่าทุกขสมุทย เพราะความหมายมันกว้าง นี้ขอให้ใช้คำว่า อะไรก็ตาม กับคำว่าทุกขสมุทยกันเสียให้ถูกต้อง เราคนเดียวก็ได้ คนอื่นเขาจะใช้คำอย่างอื่นก็ไม่เป็นไร
ทีนี้ก็มาถึงคำว่า เห-ตุ กับ ปัจจย เรามีความหมายที่ชัดเจนลงไปว่า เห-ตุ นี่มันเป็น cause หรือเป็นเหตุโดยตรง แล้วก็จะในความหมายว่าสิ่งเดียว แต่ถ้ามันเป็นเรื่องโดยอ้อม โดยอ้อมและหลายๆ สิ่งทำรวมกันนี่ เราก็มักจะเรียกว่า ปัจจย เห-ตุ นี่โดยตรงและสิ่งเดียว เนื่องด้วยสิ่งๆ เดียว โดยเหตุสิ่งเดียว ถ้าปัจจย ละก็หลายๆ สิ่งมาช่วยกันรวมกันแล้วก็จะ ต้องเรียกว่าโดยอ้อม โดยอ้อม
แต่ถึงอย่างไรก็ดี ในภาษาบาลีนั้น บางทีก็ใช้คำว่า เห-ตุ กับ ปัจจย นะเป็นสิ่งเดียวกันเลย เป็น synonym โดยตรง เป็นคำเดียวกันก็มีอย่างนี้ นี่คือความลำบากที่จะศึกษาด้วยภาษาบาลี บางทีคำว่า เห-ตุ กับคำ ปัจจย นะ หมายถึงสิ่งเดียวกันเสียก็มีในที่บางแห่ง
ทีนี้ก็มาดูไอ้คำว่า สมุทย กันอีกสักนิดหนึ่ง สมุทย มาจากคำว่า สัง และก็ อุทย สัง แปลว่า พร้อม complete ดี ครบถ้วน ทุกอย่างครบถ้วน เรียกว่าสัง อุทย แปลว่า ขึ้นมา ขึ้นมา ขึ้นมา สังอุทย ขึ้นมาพร้อมๆ กันอย่างครบถ้วน อย่างถูกต้องแล้วก็เรียกว่า สมุทย สังอุทย
คำว่า ทุกขสมุทย มันจึงหมายถึง การเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กันหลายๆ อย่าง แล้วรวมกันนะ จึงจะสำเร็จเป็นความทุกข์ เป็นความทุกข์ เรียกว่าทุกขสมุทย
นั่นแหละพอ พอกันทีสำหรับคำ ถ้อยคำ มากนักก็กลายเป็นเรียนบาลีไม่ได้เรียนธรรมะ ฉะนั้นก็จะได้พูดถึงคำว่า สมุทย ต่อไปในความหมายของคำว่า cause เห-ตุ หรือ cause นี่ โดยหลักพระบาลีที่ว่า สิ่งทั้งปวงนี้มีเหตุ มี cause แล้วก็จะต้องเป็นไปตามอำนาจของเหตุ เป็นไปตามอำนาจของเหตุ นี่เรื่อง ทุกขสมุทย
เมื่อเราพูดว่าสิ่งทั้งปวงมาจากเหตุนี่ สิ่งทั้งปวงนี้กำ จำกัด จำกัดเฉพาะอยู่ในสิ่งที่มีมาแต่เหตุ ที่จะเรียกว่า phenomena หรืออะไรก็สุดแท้ แต่มันมิได้เลยไปถึงสิ่งที่ตรงกันข้าม noumenon นี้ มันไม่อยู่ในคำนี้ phenomena ทั้งหลายนะ ก็คือปรากฏการณ์ของเหตุนั่นเอง สิ่งทั้งปวง phenomena ทั้งปวงนี้มันมีเหตุ และมันต้องเป็นไปตามเหตุ นี่คือ อริยสัจข้อนี้
ทีนี้ก็ถือเป็นหลักของพระพุทธศาสนาได้เลย โดยคำพูดว่าสิ่งทั้งปวงมีเหตุและต้องเป็นไปตามเหตุ ถ้าไปเกิดถือว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีเหตุ นี่ก็ไม่ใช่พุทธศาสนา เพราะลัทธิอื่นๆ ในอินเดีย ในครั้งพุทธกาลเขาก็มีเหมือนกัน เขาไม่ถือว่าสิ่งทั้งปวงมีเหตุ นี่หลักสำคัญสั้นๆ ในหลักพุทธศาสนา แปลว่าไอ้สิ่งทั้งปวงนี้มันมีเหตุและมันก็ต้องเป็นไปตามเหตุ
การที่มีหลักว่าสิ่งทั้งปวงมีเหตุนี่มันเป็นลักษณะของพุทธศาสนาที่ว่า มีลักษณะแห่งวิทยาศาสตร์ เราอย่าถือพุทธศาสนาเป็น philosophy ซึ่งต้องคำนวน คำนวน เราอย่าถือเอาตามที่เห็นอยู่อย่างแท้จริง เป็นจริง ปรากฏอยู่ว่ามันมีเหตุและเป็นไปตามเหตุ นี่จะให้พุทธศาสนาเป็นวิทยาศาสตร์ได้โดย โดยไม่ต้องเป็น philosophy ซึ่งต้องใช้การคำนวน
ทีนี้ก็มาถึงคำว่า อะไรที่เป็น cause นะ เป็นเหตุ อะไร ถ้ามีคนพูดว่า cause หรือเหตุนั้นนะคือพระเจ้า อย่างนี้ท่านยอมรับไหมว่านี้เป็นวิทยาศาสตร์ ถึงพุทธศาสนาๆไม่ ไม่พูดว่าพระเจ้านะ แต่หมายถึงตัวเหตุโดยตรงโดยเฉพาะที่มันติดอยู่กับ phenomena อันนั้นแหละ นั้นเราเรียกว่า เหตุตามปฏิจจสมุปบาทนะ คือมัน cause หรือ condition ที่มันติดอยู่กับตัวคนนี่ เป็นเหตุ เป็นตัวเหตุ ดังนั้นเราจึงแยกไอ้ cause มาจากพระเจ้า จากเทวดา หรือจากอะไรอะไร ที่ไม่มองเห็นนี่ ไม่เอา ไม่เอา เอา cause ที่มองเห็นโดยประจักษ์ว่ามันติดอยู่นี่คืออะไร
ที่มีกล่าวอยู่ในพระคัมภีร์ถึงเรื่องราวในครั้งพุทธกาลนะ ประชาชนพวกอื่นที่ไม่ใช่พุทธศาสนา เขาถือกันว่า พวกหนึ่งถือว่าความสุขหรือความทุกข์นี่ สุขทุกข์นี่มันมาจากกรรม กรรมเก่า ผลของกรรมเก่าที่ทำกันในชาติก่อนๆ นั่น อันนี้เป็นเหตุแห่งสุขและทุกข์อย่างนี้ก็มี อีกพวกหนึ่งถือว่า สุขหรือทุกข์นี้มาจากพระเจ้า การดลบันดาลของพระเจ้า ซึ่งในภาษาบาลีใช้คำว่า อีสระ อีสระ สันสกฤตใช้ว่า อิศวระ คำนั้นนะ เมื่อเป็น common noun หมายถึงพระเจ้า พวกหนึ่งถือว่ามาจากพระเจ้า ทีนี้พวกหนึ่งพวกที่ ๓ ถือว่าไม่ ไม่ สุขและทุกข์ไม่ได้มีเหตุปัจจัยอะไร มันเกิดขึ้นมาลอยๆ เองๆ เองลอยๆ อย่างนี้ นี่เรื่องของ cause หรือของเหตุที่ให้เกิดสุข ทุกข์ ถือกันอยู่ ๓ อย่าง อย่างนี้ นี้ไม่ใช่พุทธศาสนา ทีนี้พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นท่านก็สอน cause ของมันโดยตรงว่า มันถูกหรือผิดตามกฎของปฏิจจสมุปบาท ถ้ามันผิดตามกฎของปฏิจจสมุปบาท มันก็เป็นทุกข์ ถ้ามันถูกต้องตามกฎของปฏิจจสมุปบาทมันก็ไม่ ไม่ต้องเป็นทุกข์ นี่คือเหตุ หลักเกี่ยวกับเหตุที่ถือกันอยู่อย่างมั่นคง เป็นลัทธิ ลัทธิไป
ทีนี้ก็มาถึงคำว่า ทุกขสมุทย ทุกขสมุทย คืออะไรนี่ พวกหนึ่งเขาบอกว่ามาจากกรรมเก่า กรรมเก่าเป็นทุกขสมุทย พระพุทธเจ้าไม่ใช่ พวกหนึ่งว่ามาจากพระเจ้าบันดาล ดลบันดาลหรือบังคับให้เป็นไป พุทธศาสนาหรือพระพุทธเจ้าไม่ใช่ ทีนี้พวกที่ ๓ ว่าเหตุปัจจัย สมุทยของทุกขนั้นไม่มี ไม่มี ทุกข ทุกขเกิดขึ้นได้เองตามลำพัง นี่ก็ไม่ใช่ ไอ้ทุกขสมุทย ๓ อย่างนั้นนะไม่ถูก มันอยู่ที่นี่ตามหลักของอริยสัจ นี่มันคือเหตุปัจจัยที่มันเนื่องอยู่กับความทุกข์นั่นเอง มันอยู่ที่นี่ กำลังมีอยู่ที่นี่ จึงระบุไปยังกิเลสทั้งหลาย เช่น อวิชชา เช่น ตัณหา เป็นต้น ที่เราพูดกันแล้วในเรื่องปฏิจจสมุปบาทวันก่อนนั้นนะ คือเหตุปัจจัยของความทุกข์โดยตรง
ทีนี้มันก็มีสิ่งที่ประหลาด ที่ประหลาดนะ ต้องใช้คำว่าประหลาด ในประเทศไทยนี้ก็ดี ในลัง ศรีลังกาก็ดี พม่าก็ดี พุทธบริษัทแท้ๆ เรียกว่าเป็นพุทธบริษัทนี่ ยังเชื่อ ยังถืออยู่ว่า ทุกข์หรือสุขนี้มาจากกรรมเก่า ตรงกันข้ามกับที่พระพุทธเจ้าตรัสไม่ได้มาจากกรรมเก่านี่ ก็ยังมีถืออยู่ว่ามันมาจากกรรมเก่า พอเขามีความทุกข์ขึ้นมา เขาก็ร้องไห้ เขาบอกว่ามันกรรมเก่า กรรมเก่า ในเมืองไทยก็ดี พม่าก็ดี ลังกาก็ดีนี่ยังมีอยู่อย่างนี้ พุทธศาสนาอย่างนี้มันไม่ใช่พุทธศาสนานะ ถ้าท่านไปเห็นอย่างนี้ ท่านก็จะถืออันนี้พุทธศาสนาในเมืองไทย พุทธศาสนาในพม่า นี้ไม่ ไม่ถูกหรอกมันไม่ใช่พุทธศาสน์ ไม่ใช่พุทธศาสนา ถ้าเป็นพุทธบริษัท เป็นพุทธศาสนาต้องถือมันมาจากเหตุของมันโดยตรง คือ อวิชชา ตัณหา กิเลสนี่ เป็นเหตุโดยตรงนี่ต้องรู้ไว้ด้วยเดี๋ยวจะเข้าใจผิด พุทธบริษัทไม่ได้ถือตามคำตรัสของพระพุทธเจ้าก็มี เกี่ยวกับเรื่องว่า เหตุหรือทุกขสมุทัยนี่เป็นอย่างไร
แต่อย่างไรก็ดี ความเชื่อว่าไอ้ทุกข์หรือสุขมาจากกรรมเก่านี้ มีประโยชน์ มีประโยชน์ที่สุดในทางศีลธรรม ในทางศีลธรรมไม่ใช่ในทางปรมัตถธรรม คนธรรมดาทั่วไปไม่อาจจะรู้ปรมัตถธรรม ถ้าจะเชื่ออย่างนี้มันก็มีประโยชน์มากในทางศีลธรรม มันจึงมีเหลืออยู่อย่างนี้ หรืออย่างว่าชาวคริสต์พอมีความทุกข์ก็ร้องไห้ว่า พระเจ้า พระเจ้าลงโทษให้ ข้อนี้จะจริงหรือไม่จริงก็ไม่ ไม่ต้องพิสูจน์หรอก แต่ว่ามีประโยชน์ทางศีลธรรมที่สุด ถ้าเราเชื่อมีพระเจ้าที่จะคอยลงโทษอย่างนี้ มีประโยชน์ทางศีลธรรม ประชาชนจะมีศีลธรรมอย่างยิ่งนี่ ฉะนั้นเราจึงเก็บไว้ส่วนหนึ่งเพื่อเป็นประโยชน์ทางศีลธรรม แต่มันไม่ใช่ปรมัตถธรรม ถ้าเราจะเรียนเรื่องอริยสัจ เราเรียนในแง่ของปรมัตถธรรม absolute truth ทางศีลธรรมมันเป็น relative truth มันมีประโยชน์กันที่สุด ถ้ามีประโยชน์กันจริงละก็เอา เอา เอา เอาไว้ก็ได้ นี่แยกออกจากกันเสีย ถ้าเราเรียนอริยสัจ เราต้องเรียนอย่างปรมัตถธรรม
เมื่อพูดถึงคำว่าอริยสัจจะ อริยสัจจะ มันหมายถึง absolute truth ไม่ได้หมายถึง relative truth เป็นเหตุของความทุกข์ เราจึงมองไปที่อื่นตามที่เป็นแห่งความจริง absolute truth ที่ปรากฏอยู่เดี๋ยวนี้ เราก็ใช้คำหลายคำนะ ในเรื่องของอริยสัจโดยตรง ระบุว่าเหตุของความทุกข์อยู่ที่ตัณหา อยู่ที่ตัณหา มันมีคำพูดชัดๆ ว่ามาจากตัณหา แต่ถ้าในเรื่องของปฏิจจสมุปบาทที่เราพูดกันมาแล้ววันก่อนนั้นนะ เหตุของความทุกข์อยู่ที่อวิชชา ทีนี้ถ้าพูดถึงไอ้หลักที่ใกล้ชิดที่สุด แม้ในเรื่องอริยสัจก็ดี เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็ดี เราก็ได้พูดกันแล้ววันก่อนว่า ทุกข์นี้มีมาจากอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ สรุปแล้วทุกข์มาจากอุปาทานในขันธ์ทั้ง ๕ นี้ก็พูดได้ว่า ทุกข์มาจากอุปาทาน ที่ เราอาจจะพูดได้อย่างอื่นอีกว่า ทุกข์นี่มาจากการปรุงแต่งของสังขาร สังขาระ มีความเป็นทุกข์อย่างยิ่งนี่ จะพูดว่าทุกข์นี้มาจากสังขาระก็ได้ แต่มันเป็นเรื่องเดียวกัน จะพูดว่าทุกข์มาจากอวิชชาก็ได้ มาจากตัณหาก็ได้ มาจากอุปาทานก็ได้ มาจากสังขารก็ได้ มันเป็นเรื่องเดียวกัน นี่ทุกข์มีเหตุโดยตรงมาจากไอ้สิ่งนี้ คือเหตุของมันโดยตรง แล้วแต่เราจะมองระดับไหน มองใกล้ มองไกล ยังไง มันก็เลยได้ใช้คำพูดต่างๆ กัน อย่าเข้าใจผิด อย่าเข้าใจว่าขัดแย้งกันแล้ว ไม่รู้ว่ามันมาจากเหตุของมันโดยตรง ถ้าเรื่องอริยสัจก็ว่ามาจากตัณหา
โดย โดย โดยตรงที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้นะ ความทุกข์มาจากตัณหา ตัณหาเป็น cause โดยตรง แต่ถ้าเกิดถามว่าตัณหามาจากอะไร ตัณหามันมาจากอวิชชา ถ้าไม่มีอวิชชามันมีตัณหาไม่ได้ ตัณหามาจากอวิชชา ฉะนั้นก็พูดได้ว่าความทุกข์ก็มาจากอวิชชา โดยผ่านทางตัณหา แล้วมันก็เกิดความทุกข์ ทีนี้ตัณหาจะทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างไร มันต้องทำให้เป็นอุปาทานเสียก่อน ทำเป็นเป็นอุปาทานะเสียก่อน ตัณหาทำให้เกิดอุปาทานะ อุปาทานะทำให้เกิดทุกข์โดยตรง โดยใกล้ชิดที่สุด นี่พูดว่าทุกข์เกิดจากอุปาทานนี้ชัดเจนใกล้ชิดที่สุด นี่การกระทำทั้งหมดนี้ของตัณหา ของอวิชชา ของอุปาทานก็ดี เราเรียกว่า สังขาระ การปรุงแต่ง ก็เลยพูดรวมเสียว่าความทุกข์มาจากสังขาระ completely concocting ก็แล้วแต่นี้มันถูกที่สุด มันก็ มันก็อาจจะพูดได้ว่า ความทุกข์มาจากอวิชชาก็ได้ ตัณหาก็ได้ อุปาทานก็ได้ สังขารก็ได้ เพราะมันเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ต้องสงสัย ไม่ต้อง confuse อะไรแล้ว นี่ความทุกข์มาจากอะไร
ทีนี้มัน มันมิได้มีแต่เพียง ๔ คำนี้ คำอื่นๆ มันก็ยังมี แต่ถ้าเป็นเหตุแห่งความทุกข์แล้วมันเอามารวมได้ที่ ๔ คำนี้ ถ้า ๔ คำนี้จะให้มันสรุปให้สั้นเข้าไปอีกเหลือสิ่งเดียวก็ เราใช้คำว่าตัณหา ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ ถ้าจะพูดให้แยก แยก แยกก็แยกได้อีกหลาย หลายคำ หลายคำ แต่มันจะต้องมารวมที่คำว่าตัณหา คือความต้องการด้วยอำนาจของอวิชชา ความต้องการที่โง่ นั่นนะเป็นต้นเหตุแห่งความทุกข์
ทีนี้เราก็จะมองเห็นได้กว้างออกไปว่าคำนี้ ตัณหานี่มีความหมายกว้างมาก ถ้าว่าเกี่ยวกับพระเจ้า เราก็มีตัณหาคือความอยากให้พระเจ้าช่วย ถ้าพระเจ้าไม่ช่วยหรือช่วยไม่ได้ เราก็ยังมีความอยากที่จะให้พระเจ้าช่วย ฉะนั้นคำว่าตัณหาก็ใช้ได้แม้ในกรณีที่พระเจ้าจะช่วยหรือไม่ช่วย
แม้การที่เราต้องการให้พระเจ้าช่วยนั้นนะ ก็เพราะเรามีตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่นะ ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ แล้วก็ต้องการให้พระเจ้าช่วยเพื่อจะได้สิ่งนั้น มันก็มา มาจากตัณหานั่นเอง ตัณหาที่ต้องการสิ่งนั้น ตัณหาที่ต้องการให้พระเจ้าช่วย มันก็อยู่ในคำว่า ตัณหา ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์นี่
ถ้าเราไม่มีความรู้สึกว่าตัวเรา ตัวเรา ตัวกูนี้ คือไม่มีอุปาทานว่าตัวเราอยู่แล้ว เราก็ไม่มีตัณหา เพราะมันมีตัวเรา ตัวกู เป็นผู้ต้องการนั้นนะคือ ตัณหา แล้วตัณหามันก็ทำให้ตัวเรา ตัวกูนั่นนะเป็นทุกข์ มาจากอวิชชา ถูกแล้วนี่จากนั้นนะ เพราะมันมีอุปาทานเป็น ตัวกู มันจึงมีตัณหาและนี่คืออวิชชา
ทีนี้เราก็มาดูลักษณะ ลักษณะ characteristic นะ ของสิ่งที่เรียกว่าตัณหา ตามที่พระพุทธเจ้าท่านได้ตรัสไว้ว่าอย่างไร
ในพระบาลีเกี่ยวกับทุกขอริยสัจ พระพุทธเจ้าแสดงลักษณะของตัณหาว่า ยายํตณฺหา โปโนพวิกา นนฺทิราคะสหคตา ตัตระตัตราภินันทินี ๓ ความหมาย
อันแรกเรียกว่า โปโนพวิกา แปลว่า ทำให้เกิดภพ ทำให้เกิดภพ ภวะ existence นะ อันใหม่ ทำให้เกิด existence อันใหม่ โปโนพวิกา คำว่า existence นี้ไม่ใช่หมายความว่า ทีนี้อยู่แล้วจนตายนี้ไม่ใช่ existence มีทุกๆ คราวที่มีตัณหา มีตัณหาอย่างไรจะมี existence อย่างนั้น นาทีนี้เรามีตัณหาอย่างนี้เราก็มี existence อย่างนี้ นาทีต่อมาหรือชั่วโมงต่อมาเรามีตัณหาอย่างอื่นเราก็มี existence อย่างอื่น existence อันใหม่เกิดขึ้นทุกทีที่เรามีตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
นาทีนี้ นาทีนี้ เราอยากจะเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐีมีเงินมาก นี้ก็มี existence เป็นเศรษฐี นาทีนี้เราอยากจะเป็นนักการเมืองมีอำนาจมาก นาทีนี้มันก็มี existence ที่จะเป็นนักการเมือง บางเวลาเราก็อยากจะเป็นนักธุรกิจ บางเวลาเราก็อยากจะบวชเป็นพระ แล้วแต่ตัณหามีอยู่อย่างไร existence จะมีอยู่อย่างนั้น และ existence จะเปลี่ยนใหม่เรื่อยตามอำนาจของตัณหา จึงตรัสว่า โปโนพวิกา ทำให้เกิด existence อันใหม่ นี่ลักษณะของตัณหา
ผู้หญิงบางคน เวลานี้ก็ต้องการอย่างที่ผู้หญิงต้องการ แต่บางเวลาก็ต้องการอย่างที่ผู้ชายต้องการ เขาก็เป็นผู้ชายโดย existence เปลี่ยนได้ถึงขนาดนี้ existence, existence มันเปลี่ยนได้ถึงอย่างนี้ ตัณหานั่นแหละเป็นเหตุ ทำให้เปลี่ยน existence มี existence อันใหม่ ภว ภว ใหม่ โปโนพ ภว ภว ใหม่ โปโนพวิกา ทำให้เกิด existence อันใหม่
เพียงชั่วชั่วโมงเดียวนะอาจจะมี existence มากมายตั้งหลายอย่างหรือหลายสิบอย่างก็ได้ ตลอดชีวิตนี่มันมี existence มากมายเหลือเกิน นี่โดยอำนาจของตัณหา
ทีนี้ลักษณะที่ ๒ นนฺทิราคะสหคตา นนฺทิราคะสหคตา ประกอบอยู่ด้วย ราคะ ด้วยอำนาจความพอ เพลิดเพลิน เพลิดเพลิน ราคะ lust นันทิ เพลิดเพลิน เพลิดเพลินพอใจ ประกอบอยู่ด้วย ราคะที่เป็นไปตามอำนาจของนันทิ กำหนัดอยู่ตามอำนาจของความเพลิดเพลินหรือความพอใจ ไอ้ตัณหา ตัณหานี่มันอยู่ด้วยความกำหนัด ยินดีในสิ่งที่มันเพลิดเพลินหรือพอใจ เมื่อใดเรามีความกำหนัด ยินดี เพลิดเพลิน พอใจในสิ่งใด เมื่อนั้นเรียกว่าเรามีตัณหา (น. 1.17.47 เสียงหาย)
ราคะ ราคะ lust นะ คำนี้ภาษาบาลีมีความหมายว่า มันติดแน่นเหมือนสีที่ย้อมผ้านะ สีที่ย้อมผ้าติดผ้านี้ก็มีคำว่า lust ผ้า สีมันราคะในผ้า สีย้อมผ้านี่ก็คืออาการของราคะแล้วก็ความพอใจ ความเพลิดเพลินพอใจ นี้มันก็ย้อมใจเป็นราคะอยู่ด้วยสิ่งที่มันพอใจนี่ นี่ลักษณะของตัณหา
เดี๋ยวนี้ใจของเราถูกย้อมอยู่ด้วยสี คือ ไอ้สิ่งที่มันพอใจ นี่ตัณหา
ลักษณะที่ ๓ ตัตระ ตัตรา ภินันทินี ตัตระ ตัตรา ภินันทินี ภินันทินีมันก็พอใจ พอใจ พอใจ ตตระ ตตรา ที่นั่นที่นี่ ที่นั่นที่นี่ ที่นั่นที่นี่ ไม่มีขีดจำกัด มันเที่ยวพอใจได้ ที่นั่นที่นี่ ที่นั่นที่นั่น ไม่มีขีดจำกัด นี่คือลักษณะของตัณหา
คำว่า ตตระ ตตระ นี่มันเป็นคำ objective ที่มีความหมายว่า ที่นั่นหรือที่นี่ สิ่งนั้นหรือสิ่งนี้ ว่าทุกๆ คู่ มันเป็นทุกๆ แห่ง ตัณหาเที่ยวพอใจเพลิดเพลินได้ที่นั่นที่นี่ ที่นั่นที่นี่ ไม่มีที่สิ้นสุด
phenomena ทั้งหลายเป็นอารมณ์ของตัณหาได้ทั้งที่เป็นบวกและทั้งที่เป็นลบ เป็นอารมณ์ของตัณหาได้ ตตระ ตตรา นะเป็นทั้งบวก และทั้งลบ
คำว่า ตตระ ตตระ แปลว่าที่นั่น ที่นั่น ที่นั่น คำเดียวกันแหละ ตตระ ตตระ อภินันทินี หยุดทุกสิ่งทุกสิ่ง พอใจอย่างยิ่งในนั้น นั้น นั้น นั้น นั้น นั้น
อ้าว, ก็คิดดูซี ข้อที่ ๑ สร้าง existence อันใหม่ ข้อที่ ๒ ประกอบอยู่ด้วยราคะในสิ่งที่มันพอใจ ข้อที่ ๓ มันเที่ยวชอบใจได้ทุกหนทุกแห่ง ๓ อย่างๆ นี้นะ ทีนี้ตัณหาก็แบ่งเป็น ๓ ประเภท ตัณหาด้วยกันนะ ตัณหาอย่างเดียวกันนะ แบ่งได้เป็น ๓ ประเภท นี้มันก็ต้องการในการได้ ในการได้ คือได้สิ่งที่มันชอบ กาม กาม กามตัณหา มันอยากได้สิ่งที่มันชอบ ภวตัณหา มันอยากจะเป็นอย่างที่มันต้องการจะเป็น วิภวตัณหา มันอยากที่จะไม่เป็น ไม่เป็น อยากจะไม่เป็น อยากจะไม่มี อยากจะไม่เป็น นี่วิภวตัณหา มันอยากได้ของที่มันรัก มันอยากจะเป็นตามที่มันต้องการจะเป็น แล้วมันอยากจะไม่เป็น ก็เช่นมันอยากจะตาย มันอยากจะตายนี่ ก็เป็นตัณหาด้วยกันทั้งนั้นแหละ
นี่จำง่ายๆ อยากได้ อยากเป็น และอยากไม่เป็น มันคงจะแปลกที่ว่า อยากที่จะไม่เป็นนะ มันก็เป็น existence เป็น ภว อันหนึ่งเหมือนกันแหละ มันอยากจะไม่เป็น อยากจะไม่มี ตามภาษาบาลีก็เรียกว่า เป็น คือเป็น existence อันหนึ่งเหมือนกัน อยากที่จะตาย อยากที่จะเป็นคนตายนี่ มันก็เป็น existence อันหนึ่งเหมือนกัน นี่ขอให้จำว่าอยากได้ อยากเป็น และก็อยากไม่เป็น ขอท้าทายว่าบรรดาความอยากของท่านทั้งหลายนะ มีความอยากชนิดไหนที่มันนอกไปจาก ๓ อย่างนี้ หาดูเถอะมันไม่มีหรอก มันมีแต่ ๓ อย่างนี้
เมื่อคนๆ หนึ่งนะเขาอยากจะฆ่าตัวตาย หรือเขาฆ่าตัวตาย คนๆ หนึ่งก็ฆ่าตัวตาย นั้นเขาก็มีตัณหาอย่างยิ่ง เป็นความอยากและต้องการอย่างยิ่ง ที่อยากจะเป็นผู้ตาย นี่ก็เรียกว่าตัณหา แล้วจะเป็นในรูป positive หรือ negative ก็ตาม เป็นตัณหาทั้งนั้นแหละ
คนดีๆ คนปกติก็มีตัณหา คนบ้าก็มีตัณหา คนนี่ก็มีตัณหา สัตว์เดรัจฉานก็มีตัณหา แม้แต่ต้นไม้ก็มีตัณหา แต่มันละเอียด มันน้อยจนแทบจะดูไม่เห็น เทวดาบนสวรรค์ก็มีตัณหา พวกพรหมดีกว่าเทวดาก็ยังมีตัณหาบางชนิด อีกบางชนิด ซึ่งชีวิตนี้มันอยู่ด้วยการหล่อเลี้ยงของตัณหา มันจึงมี existence อยู่ได้ด้วยอำนาจของตัณหา
ถ้าตัณหามัน มันมาก มัน confused มันมากที่สุดแล้วมันก็คือคนบ้า
นี่คำว่า existence, existence นี่มันมาจากตัณหาอย่างนี้ แล้วก็พอใจ พอใจในความเป็นอย่างนี้
ตัณหาที่ ๑ กามตัณหา กาม แปลว่าใคร่ แปลว่าใคร่ในความหมายของ ของ sex นี่ มันเป็นความใคร่ รวมอยู่ที่ความหมายของ sex คือธรรมดาสามัญที่สุด คนธรรมดาที่สุด สามัญที่สุด มันก็มีความต้องการอันนี้เป็นอันแรก เรียกว่ากามตัณหา
เดี๋ยวนี้เขาต้องการสิ่งที่พอใจ ที่เขาน่าพอใจที่สุดนะ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจเอง นี่เรียกว่า กามตัณหา
ทีนี้ก็มีความคิดว่าในทางเป็น เป็น becoming นะ ถ้าฉันเป็นอย่างนี้ ฉันจะได้อย่างนี้ ถ้าฉันเป็นอย่างนี้ ฉันจะได้อย่างนี้ ถ้าฉันเป็นอย่างนั้น ฉันจะได้อย่างนั้น ความคิดที่ว่าจะเป็น เป็นตามที่อยากจะเป็น มันก็มี มีความต้องการรุนแรง นี่ก็เรียกว่าตัณหาในการที่จะเป็น แล้วก็พอใจว่ามีชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่นี่ ก็เป็น ภวตัณหา
ทีนี้ต่อมามองเห็นว่า โอ้ ไอ้ที่เป็น เป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนี้ เป็นอย่างโน้นนะ มันเต็มไปด้วยตัณหา เต็มไปด้วยความยุ่งยาก เต็มไปด้วยความลำบาก ความเป็นนั้น เป็น lusting suffer อยู่ตลอดเวลา ฉันไม่อยากเป็นนะ ฉันไม่อยากเป็น ฉันอยากจะหยุดความเป็น มันมีข่าวว่าเมื่อไม่นานนี้ นิกายหนึ่งคงจะเป็นคริสตัง หรือเป็นอันว่านิกายเทมเปิ้ล เขาศึกษากันจนไม่อยากจะเป็นนะ แล้วก็เอายาพิษมากินยาพิษกันทั้งผู้หญิง ทั้งผู้ชาย ทั้งลูกเด็กๆ เล็กๆ กินยาพิษตายไปหลายร้อยคน นี่มันเป็น วิภวตัณหา
มันหลงทาง เราจะได้ยิน ได้ยินบางคนพูดบ่อยๆ ฉันอยากตาย กูอยากตาย เดี๋ยวนี้ฉันอยากจะตายแล้ว เขากลุ้มใจขึ้นมา ก็เป็นที่วิภวตัณหา ซึ่งจะมีอยู่ทั่วๆ ไปในโลกนี้ เขากลุ้มใจขึ้นมาเขาก็อยากตาย ที่วิภวตัณหาก็เต็มที่ และบางทีเขาก็ได้ฆ่าตัวตาย
เราจะสรุปความได้ว่า เมื่อสติปัญญามันหลงทางแล้วก็ตัณหาก็เกิดขึ้น ตัณหาทุกๆ ชนิดนี่ มันเกิดมาจากการที่สติปัญญา ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของเรามันหลงทาง แล้วก็เกิดตัณหาอย่างนั้น เกิดตัณหาอย่างนี้ ตัณหาอย่างโน้น ไม่ถูกหนทาง เป็นตัณหาขึ้นมาแล้วก็มีความทุกข์ สติปัญญาหลงทางนั่นแหละคือตัณหาละ
เราเห็นได้ทันทีว่าตัณ ตัณหานะมาจากอวิชชา อวิชชา คือ สติปัญญามันหลงทาง นี่เรียกว่า อวิชชา อวิชชาให้เกิดตัณหา มองให้ดีๆ มันมีอยู่ตลอดเวลา มีอยู่ตลอดเวลาไม่มากก็น้อย
เกิดตัณหาทุกทีเป็นทุกข์ทุกที เกิดตัณ ตัณหาทุกทีเป็นทุกข์ทุกที ไม่ว่าที่ไหน ไม่ว่าเวลาไหน ไม่ว่าในกรณีใด เกิดตัณหาทุกทีเป็นทุกข์ทุกที ทุกขา ชาติ ปุนนับ ปุนนัง เกิดตัณหาทุกทีเป็นทุกข์ทุกที แล้วก็เกิดบ่อยๆ ด้วย
ถ้าว่าความต้องการนั้นมิได้มาจากอวิชชา ความอยาก ความต้องการ ความปรารถนา ความประสงค์อะไรก็ดี ถ้ามิได้มาจากอวิชชา เราไม่เรียกว่าตัณหา
ก็อย่างเช่นว่าท่านทั้งหลายมาที่สวนโมกข์นี่ ถ้ามาด้วยสติปัญญา ความรู้ที่ถูกต้อง จะมาหาธรรมะ จะมาศึกษาสมาธิ และก็จะดับทุกข์ได้ ความต้องการอันนี้ไม่เรียกว่าตัณหา
แต่ทีนี้บางคนเขามาด้วยการต้องการ supersitutions power ก็เป็นตัณหา แล้วเขาจะเป็นบ้าด้วย
ดังนั้นก็ขอให้แบ่งความต้องการ ความต้องการให้ดีๆ ว่าต้องการด้วยอวิชชา หรือว่าต้องการด้วยวิชชา มันตรงกันข้าม ต้องการด้วยอวิชชาก็เป็นตัณหา ต้องการด้วยวิชชาก็มิใช่ตัณหา
คำพูดมีขึ้นมาว่า อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยตัณหา จงมีชีวิตอยู่ด้วยการปราศจากตัณหา จะเป็นได้ไหม จะทำได้ไหม ไม่ต้องมีตัณหามีแต่สติปัญญาที่ถูกต้องซึ่งมิใช่ตัณหา มีชีวิตอยู่ด้วยสติปัญญา อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยตัณหา
ในภาษาบาลีก็มีคำกลางๆ ความต้องการที่กลางๆ นั่นเขาเรียกว่า สังกัปปะ ต้องการอย่างนี้ยังมิใช่ตัณหา ยังเป็นคำกลางๆ แต่ถึงอย่างนั้นก็ดี มันก็มีคำประกอบว่า สัมมาสังกัปปะ ต้องการอย่างถูกต้อง มิจฉาสังกัปปะ ต้องการที่ไม่ถูกต้อง คำว่าต้องการ ต้องการนี้มันมีว่าถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง ถ้าไม่ถูกต้องก็เป็นตัณหา ถ้าถูกต้องก็เป็นสติปัญญา
ในภาษาอังกฤษก็ต้องมีคำๆ นี้ ที่ตรงกับคำว่า สังกัปปะนี่ ยังเป็นคำกลางๆ ก็ยังมิใช่ตัณหาหรือว่าไอ้ผิดๆ เป็นคำกลางๆ ไปคิดดูหาดูให้ดี ความต้องการมันจะเป็นคำกลางๆ ได้ไหม ถ้ามันต้องการด้วยอวิชชามันก็เป็นตัณหา ต้องการด้วยสติปัญญามันก็มิใช่ตัณหา ระวังไอ้คำว่า ความต้องการ ความต้องการให้ดีๆ
มีคำหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกันอย่างมาก คือคำว่า hope, hope นี้จะเป็นที่ยึดถือมากของ ของฝรั่ง คนไทยนี้ไม่ค่อยจะยึดถือในคำว่า hope แต่ว่าฝรั่งก็มาสอนให้คนไทยชอบคำว่า hope มาสอนเด็กๆ ให้มี hope, hope, hope, hope นั่นนะ ระวังให้ดีคำว่า hope มันก็เป็นตัณหาก็ได้ ถ้าเป็นสติปัญญาก็ได้ ถ้า hope, hope ด้วยตัณหา ด้วยอวิชชา มันก็บ้าแหละ มันก็เป็นบ้าแหละ เด็กๆ ของเราก็ตายหมดนะ เป็นบ้าหมดนะ ฉะนั้นคำว่า hope, hope เป็นสิ่งที่ต้องระวัง ว่ามันอยู่ภายใต้อำนาจของตัณหา หรือมันอยู่ภายใต้อำนาจของสติปัญญา
ในที่สุดเราก็สรุปความได้ว่า ความต้องการด้วยอำนาจของอวิชชานี้ เรียกว่าตัณหา แล้วก็เป็น ทุกขสมุทัย ทำให้เกิดความทุกข์ นี่ทุกขสมุทยอริยสัจ คือ ความต้องการด้วยอวิชชา ที่เรียกว่าตัณหา ตัณหา เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นี่เรื่องทุกขสมุทยอริยสัจ ก็มีอย่างนี้
เรื่องทุกขสมุทยอริยสัจจะ หมดเวลา จบลงด้วยหมดเวลา ขอยุติการบรรยาย