แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
วันนี้จะได้พูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทตอนสุดท้าย ในบาลีด้วยกันมีการกล่าวเป็น ๒ อย่าง ส่วนในคืนวันนั้น คืนวันสุดท้ายที่จะ ที่จะตรัสรู้ บาลีแห่งหนึ่งกล่าวว่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้วิชชา ๓ ตามลำดับของยาม ยามที่หนึ่งบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ของพระองค์เอง เป็นชาติๆๆ นะอย่างนี้ เป็นคนเดียวกัน จนมาถึงชาติสุดท้าย ระลึกจุตูปปาตญาณ สัตว์ต้องเป็นไปตามกรรม เป็นไปตามกรรมที่ทำไว้ ในยามที่สองนะ ในยามที่สามบรรลุอาสวักขยญาณ ทำอาสวะกิเลสให้สิ้น นี่ก็อย่างหนึ่ง มีบาลีแห่งอื่นก็มีว่า ได้ตรัสรู้ปฏิจจสมุปบาท พิจารณาปฏิจจสมุปบาทในยามที่หนึ่ง สี่ชั่วโมงที่หนึ่ง พิจารณาปฏิจจสมุปบาทส่วนที่ว่า เกิดขึ้นอย่างไรๆ ตามลำดับๆ ในยามที่สองพิจารณาทวนลำดับ คือพิจารณาจากความทุกข์ หรือชาติ ภพ อุปาทานขึ้นมา ข้างบนนี่เรียกว่าทวนลำดับในยามที่สอง พอในยามที่สาม ยามสุดท้าย ก็พิจารณาทั้งตามลำดับ ทวนลำดับ ก็พอดีตรัสรู้ สว่าง ในคืนสุดท้าย บาลีแห่งนี้กล่าวอย่างนี้
เมื่อมีการกล่าวเป็น ๒ อย่าง อย่างนี้ การกล่าวอย่างหลังน่ะเป็นสิ่งที่ควรจะถือเอา รับเอา เพราะเป็นเรื่องที่มีเหตุผล การกล่าวอย่างที่ว่า ญาณที่หนึ่งบรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ข้อความอย่างนั้นมันไม่ มันเป็นสัสสตทิฎฐิ มีข้อความอย่างเดียวกับอุปนิษัทที่มีอยู่ก่อน ก่อนพุทธ เป็นมีตัวตนๆ เกิดอีกๆคนเดียวกันอย่างนี้มันเป็นสัสสตทิฎฐิ ซึ่งพุทธศาสนาต้องการจะกำจัด และก็ไปพ้องกับอุปนิษัทอย่างหนึ่ง ในอย่างที่สองนี่ ญาณที่สองที่ว่าจุตูปปาตญาณ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายต้องเป็นไปตามกรรมๆ คำสอนอย่างนี้ไม่ใช่พุทธศาสนาโดยตรง พุทธศาสนาสอนแต่ หยุด เหนือกรรม จะอยู่เหนือกรรมๆ ไม่ต้องเป็นไปตามกรรม การเป็นไปตามกรรมนี่มันแย่ การอยู่เหนือกรรมถูกต้อง เราจึงเห็นว่ามันก็ไม่ถูก เพราะมันก็เป็นการแพ้แก่กรรม สองญาณอันนี้เราเห็นว่าไม่ใช่หลักของพุทธศาสนา แต่ขอแสดงความเห็นไว้หน่อยหนึ่งว่า บางทีผู้บันทึกนี่ ผู้กล่าวนี่ ผู้เขียน ผู้กล่าวพระไตรปิฎกตอนนี้ อาจจะยกเอาเรื่องสำหรับคนธรรมดาสามัญที่สุด เพื่อศีลธรรมที่มีประโยชน์แก่ศีลธรรม แก่คนชาวบ้านธรรมดานี่ มาใส่เพื่อประโยชน์แก่คนธรรมดา เป็นเรื่องการตรัสรู้ที่กล่าวสำหรับคนธรรมดาทางศีลธรรม
ทีนี้คำกล่าวอย่างที่สอง ที่ว่าพระองค์พิจารณาปฏิจจสมุปบาทนี่ทั้งคืนนี่ ยามที่หนึ่งพิจารณาทบทวนซ้ำๆไปเรื่อย ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายที่ว่าเกิดขึ้นอย่างไร อวิชชาให้เกิดสังขาร สังขารทำให้เกิดวิญญาณอย่างที่ได้พูดแล้ว ใช้เวลาทบทวนถึงสี่ชั่วโมง สี่ชั่วโมง แล้วก็พิจารณาในทางที่ว่า ขึ้นมาจากข้างล่าง ทวนกลับว่า พิจารณาจากทุกข์ไปหาอวิชชาอีกสี่ชั่วโมง พิจารณาทั้งสองอย่างๆขึ้นมาอีกสี่ชั่วโมง อย่างนี้ก็แสดงว่าเป็นเรื่องสำคัญ น่าจะพูดสั้นๆเพียง ๒-๓ คำ แต่ว่าทบทวน จะเรียน like ที่จะ expertise ใช้เวลาตั้งสี่ชั่วโมง แต่ละอย่างๆ ทั้งปฏิจจสมุปบาทแต่ละอย่าง ตามลำดับ แล้วก็ทวนลำดับ แล้วก็ทั้งทวนลำดับและตามลำดับอย่างละสี่ชั่วโมง ก็คิดดูสิว่ามันจะลึกซึ้งอย่างไร จะยากอย่างไร หรือสำคัญที่สุดอย่างไร ขอให้เราสนใจอย่างนี้
ทีนี้ เนื่องจากคำ ๒ คำนี้ คือ อนุโลม ปฏิโลม มีลักษณะ vice versa versa reverse นี่ มันเป็นคำที่ความหมายกว้างหรือกำกวม เราอาจจะตีความเสียใหม่ว่า อนุโลม คือ พิจารณาอย่างเกิดขึ้น เป็นปฏิจจสมุปบาท ทีนี้ปฏิโลมพิจารณาอย่าง อย่าง reverse ก็คือ กลับกัน กลายเป็นปฏิจจนิโรธะ ปฏิจจสมุปบาทเมื่อเกิดขึ้นอย่างไร ปฏิจจนิโรธะคือ ดับลงอย่างไร นี้พิจารณายามแรกก็เกิดขึ้นอย่างไร ทบทวนอยู่เกิดขึ้นอย่างไร ยามที่สองก็ดับลงอย่างไร ยามที่สามพิจารณาทั้งสองอย่างๆ อย่างนี้มีเหตุผลอย่างยิ่ง ยามสุดท้ายก็พิจารณาทั้งสองอย่าง ทีนี้เรามาคิดดูว่า เราเคยทำอย่างนั้นไหม เรานี่ศึกษาปฏิจจสมุปบาทเคยทำถึงอย่างนั้นไหม เราควรจะเอาอย่างพระพุทธเจ้า พิจารณากันจริงจังอย่างนี้เลย การรู้เรื่องปฏิจจสมุปบาทก็แจ่งแจ้งแก่เรา ขอฝากไว้ท่านทั้งหลายพยายามทำอย่างนี้นะ
ทีนี้ ก็จะขอแทรกพูดเสียตรงนี้ว่า เรื่องกรรม เมื่อตะกี้ที่ว่าอย่างแรก อธิบายอย่างแรก ในยามที่สอง พิจารณาเรื่องสัตว์เป็นไปตามกรรมๆ นี้ เราก็ถือว่าไม่ใช่กรรมตามหลักพุทธศาสนา การที่ต้องเป็นไปตามกรรมอย่างนั้นมีอยู่แล้วในคัมภีร์ที่เขาสอนกันอยู่ก่อนเป็นอย่างยิ่ง ในอินเดียเวลานั้นที่ในคัมภีร์ที่เรียกว่าอุปนิษัท ทีนี้ ก็มาดูว่ากรรมในพุทธศาสนาน่ะสอนอย่างไร กรรมในพุทธศาสนาสอนว่า ปฏิบัติชนิดที่ให้กรรมหมดความหมาย อยู่เหนืออิทธิพลของกรรมโดยประการทั้งปวง นี่เรื่องกรรมในพุทธศาสนา ถ้าสอนเพียงแต่ว่าดีทำดีดี ทำชั่วชั่ว แล้วเราก็เป็นไปตามกรรมนี้ สอนอยู่ก่อน พระพุทธเจ้าไม่ได้คัดค้านเพราะสอนอยู่ก่อน ก็เรียกว่าพวกกรรมวาที สอนเรื่องกรรมด้วยกัน ทีนี้จะบอกท่านอีกทีหนึ่งว่า ในหนังสือเรื่อง Buddhism ที่เขียนกันอยู่ทั่วๆ ไปเวลานี้ ที่เขียนเรื่อง rebirth ไม่ถูก แล้วเรื่องกรรมก็ไม่ถูก the shape turn of karma and rebirth กรรมก็ไม่ถูก สอนกรรมอย่างที่สอนกันอยู่ก่อน เป็นไปตามกรรม ถ้าจะสอนอย่างพุทธศาสนา ต้องเป็นกรรมที่สิ้นกรรม คือปฏิบัติในทางมรรคมีองค์ ๘ แล้วมันจะสิ้นกรรม ถ้าอ่านหนังสือเล่มนั้นในบทเรื่องกรรม เรื่อง rebirth แล้วก็เข้าใจเรื่องกรรมเสียใหม่ อย่างที่เข้าใจคำว่า rebirth เสียใหม่ จะได้ประโยชน์ จะถูกต้อง เกี่ยวกับหนังสือที่มีขายอยู่แล้วในเวลานี้ข้อนี้ควรจะทราบไว้เป็นหลักว่า คำสอนที่มีอยู่แต่ก่อน ก่อนพระพุทธเจ้า ก็มีอยู่ พวกหนึ่งเขาสอนกันอยู่ก่อน เรียกว่าสนาตนธรรม สนาตนธรรม สอนอยู่ก่อน ก่อนๆพระพุทธเจ้า จนบอกไม่ได้ว่าสอนแต่ครั้งไหน คำสอนอย่างนี้ก็มีอยู่ในอินเดีย พระพุทธเจ้าเกิดขึ้น ท่านไม่ได้ปฏิเสธคำสอนเหล่านี้โดยทั้งหมด อันไหนที่ยังถูกต้อง ยังใช้ได้ ก็รับเอามา ยอมรับว่าเป็นคำสอนที่ถูกต้อง แต่ท่านก็จะสอนต่อขึ้นไปให้ถึงที่สุด ให้ perfect ให้สมบูรณ์ เช่นเรื่องกรรม เป็นต้น ท่านสอนเรื่องสิ้นกรรมเลย การเป็นไปตามกรรมไว้สอนระดับต่ำทางศีลธรรมแก่คนธรรมดา ท่านสอนเรื่องสิ้นกรรมสอนแก่ชั้นสูงสุดที่จะหลุดพ้นได้เป็นโลกุตตระ เรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่อง เช่น เรื่องไม่จองเวร อย่าผูกเวร นี่ก็เป็นคำสอนเก่า เรื่องศีล ๕ เป็นคำสอนเก่า เรื่องสมาธิ ฌาน อรูปฌาน นี่ก็เป็นคำสอนเก่า ท่านก็ไม่ ไม่ยกเลิก แต่ว่าจะสอนต่อขึ้นไปจนให้ถึงที่สุด ขอให้รู้ว่าในพุทธศาสนาเราก็มีคำสอนของเก่าที่รับเอาเข้ามาใส่ไว้เป็นเรื่องหนึ่ง แล้วก็สอนต่อไปให้จบเป็นเรื่องที่สมบูรณ์ อย่างนี้ก็มีอยู่ทั่วๆ ไป
ถ้าเราต้องเป็นไปตามกรรม เป็นไปตามกรรม เป็นไปตามกรรมอย่างนี้อยู่เรื่อยไป มันก็ไม่มีวิมุตติ ไม่มี liberation เราก็ติดคุกๆ ของกรรมอยู่เรื่อย ก็ไม่ใช่พุทธศาสนาสิ ต้องออกจากการที่จะต้องเป็นไปตามกรรม เป็นวิมุตติ วิมุตติ เรื่องกรรมเป็นอย่างนี้ นี่แหละคือความหมายของการที่ว่าทำให้มัน perfect ทำให้มันสมบูรณ์ ของเก่าไม่สมบูรณ์ก็ทำให้สมบูรณ์ Lord Jesus Christ ก็พูดอย่างนี้เหมือนกัน เราไม่ได้มาเพื่อยกเลิกของเก่า แต่เราก็มาเพื่อจะทำให้เต็ม ให้สมบูรณ์ คือไม่ได้ยกเลิกศาสนายิว แต่ก่อน ไม่ยกเลิก แต่มันไม่สมบูรณ์ ก็ทำให้มันสมบูรณ์ Lord Jesus Christ ก็พูดอย่างนี้ คุณก็เห็นได้ในไบเบิ้ล ทำนองเดียวกันกับที่พระพุทธเจ้าท่านก็มาสอนให้คัมภีร์อุปนิษัท หรือคัมภีร์อะไรที่สอนอยู่ก่อนๆ นั้นมันสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเช่นเรื่องกรรมนี้เป็นต้น โดยท่านสอนเรื่องสิ้นกรรม ดังนั้น เราจะเห็นได้ชัดว่า คำสอนมีอยู่เป็น ๒ ชั้นนี่เพื่อศีลธรรม เพื่อผู้ที่ยังมีอัตตา มีตัวตน ยัง attach ในอัตตา ยังถอนไม่ได้ ก็สอนให้มัน อยู่ในโลกนี้ เป็นโลกียะที่ดีที่สุด พวกที่มันจะไปได้สูงก็สอนให้ละอัตตา ละไป นั่นเป็นเรื่องปรมัตถธรรม เป็นเรื่องหลุดพ้น เป็นเรื่องโลกุตตระ มันจึงมีคำสอนอย่างโลกียะและอย่างโลกุตตระ เข้าใจแล้วมันไม่ตีกัน มันไม่ขัดกัน มันอยู่ด้วยกันได้ เดี๋ยวนี้ท่านอยากจะเป็นคนเดินถนนอยู่ในโลกนี้ ไม่อยากจะขึ้นเหนือโลกนี้ก็เอาสิ ก็รับเอาระบบโลกียะ สอนอย่างศีลธรรม ศึกษาปฏิจจสมุปบาทอย่างคำอธิบายของพุทธโฆษา ถ้าอยากจะพ้นไป อยากจะเหนือโลก ก็ต้องศึกษาชนิดที่เหนือโลก ที่สิ้นกรรม คือไม่มีตัวตน แล้วก็มีปฏิจจสมุปบาทอย่างที่ว่า อธิบายให้เห็นเป็นปรมัตถธรรมอย่างนี้ แม้ปฏิจจสมุปบาทก็ยังมี ๒ แบบอย่างนี้
ทีนี้เราก็มาถึงเรื่อง formula ของปฏิจจสมุปบาทนี่ มีอยู่เป็น ๒ รูปแบบ รูปแบบแรกสมบูรณ์ก็สมบูรณ์หมด ตั้งแต่อวิชชา สังขาร วิญญาณ นาม รูป อายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา จนถึงทุกข์ มีตั้ง ๑๒ sequences นี่ก็แบบหนึ่ง ทีนี้อีกแบบหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสแต่เพียงผัสสะ ผัสสะ ขึ้นต้นด้วยผัสสะแล้วก้อไป ๆๆ จนถึงทุกข์ ไม่ถึง ๑๒ นะ แต่สัก ๙ หรือ ๘ เท่านั้น นี่แหละมีอยู่เป็น ๒ รูปแบบอย่างนี้ อย่างสมบูรณ์ที่สุดมีลักษณะเป็น theoretical มาก อย่างที่สองเอาตั้งแต่ผัสสะเป็นต้นไปนี่มันเป็น practical ที่สุด เรารู้ไว้ว่ามันมี ๒ อย่าง มีเรื่องที่น่าขัน น่าสนใจ พระพุทธเจ้าเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ยังมีสาธยาย presentation เรื่องปฏิจจสมุปบาท ท่านเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ท่านก็ยังสาธยายเรื่องปฏิจจสมุปบาท มันเหมือนกับว่าเรา คนธรรมดานี่ ชอบร้องเพลงเล่น มันก็ออกมาเองได้โดยไม่เจตนา เค้าเรียกว่าฮัมเพลงๆ ชอบที่จะร้องเพลงเล่นตามสบายใจ พระพุทธเจ้าเวลาท่านสบายใจ หรืออะไรก็แล้วแต่ แล้วแต่เรียก ท่านก็ recite ปฏิจจสมุปบาท คือขึ้นมาว่า ตา รูปถึงกัน เกิดจักษุวิญญาณ สามประการนี้เรียกว่าผัสสะ ผัสสะให้เกิดเวทนา เวทนาให้เกิดตัณหา ตัณหาให้เกิดอุปาทาน ให้เกิดภพ เกิดชาติ เกิดทุกข์ เป็นจังหวะอย่างนี้ จักขุงจะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา เวทนา ปัจจะยา ตัณหา ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานัง ปัจจะยา ภโว ภวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติ ปัจจะยา ชรามรณัม โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
คราวใดเรียกปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้ว่า ปฏิจจสมุปบาทฮัมเพลง เราเรียกเอาเองนะ ไม่ใช่บาลี เราอยากจะเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาทฮัมเพลงของพระพุทธเจ้า วันหนึ่งพระพุทธเจ้านั่งฮัมเพลงปฏิจจสมุปบาทนี้อยู่ โดยคิดด้วยความเข้าใจว่าอยู่คนเดียว อยู่องค์เดียว ท่านก็ฮัมเพลงอย่างนี้ไป ทีนี้ภิกษุองค์หนึ่งเค้าแอบมาเมื่อไรไม่รู้ ก็มาข้างหลัง พระพุทธเจ้าเหลียวไป ก็อ้าว แกอยู่นี่ จำไปๆๆๆ นี้เป็นอาทิพรหมจรรย์ อาทิพรหมจรรย์เป็นจุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ จุดตั้งต้นของพรหมจรรย์ ปฏิจจสมุปบาทเพียงเวลาสั้นๆ นี้ พระพุทธเจ้าเรียกว่าอาทิพรหมจรรย์ ขอให้รู้ว่ามีปฏิจจสมุปบาท ๒ formula อย่างนี้
เอาไหม เดี๋ยวนี้เราฮัมเพลงนี้ in chorus เอาไหม ว่าตามเราสิ จักขุงจะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา เวทนา ปัจจะยา ตัณหา ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานัง ปัจจะยา ภโว ภวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติ ปัจจะยา ชรามรณัม
จักขุงจะ ปฏิจะ รูเปจะ อุปัชชติ วิญญาณัง ติณณัง ธัมมานัง สังฆาฏิผัสโส ผัสสะ ปัจจะยา เวทนา เวทนา ปัจจะยา ตัณหา ตัณหา ปัจจะยา อุปาทานัง อุปาทานัง ปัจจะยา ภโว ภวะ ปัจจะยา ชาติ ชาติ ปัจจะยา ชรามรณัม โสกะ ปริเทวะ
เราจะคิดดูว่าเด็กๆ เด็กๆ นักเรียนเล็กๆ เขาต้องท่องสูตรคูณนะ เขาจำไม่ได้ เขายังจำไม่ได้ เขากลัวว่ามันจะลืม แต่พระพุทธเจ้านั้นไม่มีปัญหาว่ากลัวจะลืม ไม่มีลืมอีกต่อไปแล้วๆ เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ตรัสรู้แล้ว ไม่มีลืมนะ แต่ทำไมยังเอามา recite นะ นี่มันมีความสำคัญจนว่าออกมา unconscious ก็ร้องเพลงออกมาได้อย่างนี้ เอาล่ะ ขอให้เห็นว่ามีความสำคัญ เรามีปฏิจจสมุปบาท formula ร้อง แล้วก็มีสร้างกะทัดรัด สำหรับจะพิจารณา และอย่างยาวนั้นมันสำหรับ theoretical ถ้าจะปฏิบัติกันสั้นๆ อย่างนี้ ก็เอาอย่างสั้นนี้ เท่านั้นก็พอแล้ว
ทีนี้ เราก็มาถึงคำว่า อาทิพรหมจรรย์ อาทิ starting point พรหมจรรย์ คือ supreme practices อาทิพรหมจรรย์ คือ ปฏิจจสมุปบาท เป็นจุดตั้งต้นสำหรับการเรียน การศึกษา และเป็นจุดตั้งต้นสำหรับการปฏิบัติ เป็น starting point แต่เดี๋ยวนี้เราก็ไม่ค่อยเอามาสอน เราก็ว่ายากเกินไปจนไม่เอามาสอน แล้วเราก็มาสอนชนิดที่เข้าใจไม่ได้ มันก็ไม่เป็นอาทิพรหมจรรย์ได้เลย น่าเศร้าๆ น่าเสียใจ ที่ว่าอาทิพรหมจรรย์น่ะ กำลังเป็นหมันๆ จึงขอให้ท่านทั้งหลายรับเอาเป็น starting point ทั้งการเรียน และทั้งการปฏิบัติ ขอเน้นอีกทีหนึ่งว่า starting point ทั้งการศึกษาและทั้งการปฏิบัติ ข้อนี้ฟังดูแล้วก็แปลก ที่พระพุทธเจ้าท่านตรัสเองว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งที่สุดๆ แต่แล้วท่านก็มาตรัสที่นี่ว่าเป็น starting point ฉะนั้นเรื่องปฏิจจสมุปบาทก็เป็นทั้ง starting point แล้วก็ลึกๆๆๆ ลึกจนถึงที่สุดนะ คำว่า starting point กับคำว่าลึกที่สุดนี้ ไม่ได้ขัดกันนะๆ ท่านก็ start ด้วยการรู้จักตา แล้วก็รู้จักรูป แล้วก็รู้จักวิญญาณทางตา มันไม่เหลือวิสัยนี่ ท่านก็รู้ นี่ตา นี่รูป นี่วิญญาณทางตา พอมันทำงานร่วมกันสามอย่าง ก็คือผัสสะๆ ผัสสะมีอยู่ทุกวัน ผัสสะมีอยู่ทุกเวลา start ตรงนั้นแหละ แล้วมันก็ออกไป เป็นเรื่องของเวทนา แล้วก็เรื่อยๆ เรื่อยไป ลึกเข้าไปๆแล้วก็จะยาก ตอนที่เป็นอุปาทาน ตอนที่เป็นภวะ ก็จะเข้าใจยาก ก็จะลึกๆ ขอให้ปฏิบัติอย่างนี้
ทีนี้ เรื่องตาเป็นอย่างไร เรื่องหู เรื่องจมูก เรื่องลิ้น เรื่องกาย เรื่องใจ ก็อย่างเดียวกัน หู ก็มีเสียงก็มาถึงหู ก็มี consciousness ทางหู สามอย่างทำงานด้วยกัน ก็มีผัสสะทางหู แล้วก็มีเวทนา มีตัณหา เกี่ยวกับหูนี่ เกี่ยวกับจมูก เกี่ยวกับกาย เหมือนกันๆ โดยวิธีเดียวกัน เรามีระบบประสาท nervous system เราก็อาจที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาท ท่านทั้งหลายก็มี nervous system เราก็อาศัย nervous system เป็น basic ที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาท เราไม่ศึกษาปฏิจจสมุปบาทได้จากหนังสือ จาก book จากพิธีรีตอง เราตั้งต้นที่ nervous system จนเกิด spiritual experience เป็นลำดับๆ เป็นลำดับ เรามีเครื่องมือพร้อมที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาทแล้ว เราไม่ได้ใช้มัน ศึกษาและปฏิบัติ โดยใช้เครื่องมือของเรา คือระบบประสาทที่อาจจะรู้สึกอะไรได้ดีในชีวิตประจำวัน ขอบอกว่า spiritual experience ที่แล้วมาแต่หนหลังๆ อันมากมายของเรานั่นแหละมีประโยชน์มาก อย่าทิ้งเสีย เอามาใช้เป็นอุปกรณ์ ในการที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาททุกขั้นๆ ให้มันเข้าใจง่าย spiritual experience แต่หนหลัง ตั้งแต่ที่เราจำความได้ ตั้งแต่เกิดมานี่แหละ เอามาใช้ เป็นอุปกรณ์ เป็นเครื่องช่วย เราจะเข้าใจปฏิจจสมุปบาทได้ไม่ยาก เอามาใช้ อย่าให้มันเป็นหมัน
บัดนี้ ปฎิจจสมุปบาทโดยรายละเอียด detail พอแล้ว หมดแล้ว ทีนี้เราก็จะพูดสรุป สรุปความ ขอให้ท่านตั้งใจฟังให้ดี อิทัปปัจจยตา เป็นเรื่องใช้ทั่วไปแหละกับวัตถุ ปฏิจจสมุปบาทใช้กับเรื่องจิต หรือปัญหาเกี่ยวกับเรื่องจิต ปฏิจจสมุปบาทในแบบเดิม แบบบาลีของพระพุทธเจ้า เราใช้เป็นปรมัตถธรรม เพื่อ ultimate truth ปฏิจจสมุปบาทอธิบายทีหลัง แบบ commentary นี่ เราก็ใช้เพื่อศีลธรรม หรือ relative truth ปฏิจจสมุปบาทถูกต้องแท้จริงของพระพุทธเจ้านี่ ในชาติเดียวนี่มีได้หลายรอบ หลายสิบรอบ หลายพันรอบ แต่ถ้าปฏิจจสมุปบาทอธิบายใหม่นี่ ปฏิจจสมุปบาทรอบเดียวเท่านั้นกินเวลาคาบเกี่ยวกันหลายชาติ หลายชาติ อย่างที่ถูกชาติเดียวมีปัจจุบันหลายๆๆรอบ แต่ที่ไม่ถูกนี่ ปัจจุบันเดียวนี่ หลายชาติๆๆ ถ้าปฏิจจสมุปบาทรอบเดียวกินเวลาหลายชาติ เราจะควบคุมมันได้อย่างไร เราจะปฏิบัติได้อย่างไร รอบเดียวหลายชาตินะ ถ้าปฏิจจสมุปบาทแบบที่ถูกต้องนะ ชาติเดียวมันมีหลายรอบก็จริงน่ะ มันอยู่ในวิสัยที่เราจะควบคุมมันได้นะ เราปฏิบัติได้ อันหนึ่งปฏิบัติได้ อันหนึ่งไม่ปฏิบัติได้
ทีนี้ในปฏิจจสมุปบาทรอบเดียว one turn นี่ มีกิเลส คือ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน นี่เรียกว่ากิเลส ในปฏิจจสมุปบาทรอบเดียวนี่ และก็มีกรรม มีกรรม ที่คำว่าสังขาร ผัสสะ ภวะ นี่เป็นกรรม ทีนี้ก็มีวิบาก คือผลกรรม คือนามรูป คืออายตนะ คือเวทนา คือชาติ และทุกข์ทั้งปวง (ผู้แปลภาษาอังกฤษ: วิญญาณด้วยไหม) นามรูป (ผู้แปลภาษาอังกฤษ: วิญญาณไม่ได้พูดถึง) ไม่ได้พูดถึง ด้วยก็ได้ วิญญาณด้วยก็ได้ มีครบทั้งกิเลส ทั้งกรรม ทั้งวิบาก ทีนี้ลำดับ sequences ของปฏิจจสมุปบาทนั้นน่ะ เอาตามเดิม ตามพระบาลี ไม่ต้องจัดไปจัดมาให้มันยุ่ง เอาตามลำดับๆ ตามที่พระบาลีมีอยู่ ทั้งฝ่ายปฏิจจสมุปปาทะ และทั้งฝ่ายปฏิจจนิโรธะ ไม่ต้องมาจัดใหม่อย่างอธิบายในวิสุทธิมรรค ผิดลำดับ สับลำดับ จนเรียนไม่ไหว ทีนี้ปฏิจจสมุปบาท มีความมุ่งหมายจะกำจัดอัตตา ความยึดมั่นว่าอัตตาหรืออัตตวาทุปาทานเป็นสำคัญ คือสอนเรื่องอนัตตาอย่างละเอียดที่สุด
ปฏิจจสมุปบาททำให้เราพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง เราพบพระพุทธเจ้าพระองค์จริง อย่างที่พระพุทธเจ้าตรัส ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นเห็นธรรมะ ผู้ใดเห็นธรรมะ ผู้นั้นเห็น me เห็นเรา แล้วก็ปฏิจจสมุปบาทนี่ มันตัดม่านของอวิชชา ม่านนี้ออกไป เราพบพระพุทธเจ้านั่งอยู่ที่ตรงนี้ ปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องวิทยาศาสตร์ในทางวิญญาณ ไม่ใช่ทางวัตถุ แต่มีความหมายทางวิทยาศาสตร์อย่างเต็มที่ๆ จนทำให้เห็นว่าไม่มีการเกิดหรือการตายทาง physical มีเกิดมีตายแท้จริงก็ทาง spiritual นี่วิทยาศาสตร์อย่างยิ่งของปฏิจจสมุปบาท ทีนี้ ทีนี้ก็ว่าปฏิจจสมุปบาทไม่ใช่ philosophy เป็นวิทยาศาสตร์ แต่เราจะไปพูดอย่าง philosophy ก็พูดได้ เอาไปพูดอย่างว่าเป็น philosophy เราก็พูดได้ แล้วก็ไปชอบพูด แล้วเราก็ติดยาเสพติด philosophy เราไม่อาศัยตรรกะ ไม่อาศัย logic ไม่อาศัย philosophy ที่จะรู้ปฏิจจสมุปบาท ต้องอาศัยวิถีทางวิทยาศาสตร์อย่างเดียว ขอให้รู้ไว้ว่าปฏิจจสมุปบาทไม่ใช่ philosophy ตัวจริง
ทีนี้สรุปความว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นอริยสัจใหญ่ Four Noble Truths อริยสัจน่ะ อย่างใหญ่ ปฏิจจสมุปบาทพูดเรื่องทุกข์กับเหตุให้เกิดทุกข์ ปฏิจจนิโรธะก็พูดเรื่องความดับทุกข์และวิธีที่จะดับทุกข์ อย่างละเอียดพิสดารยืดยาว อย่างเป็นปฏิจจสมุปบาท เราก็เรียกว่าอริยสัจใหญ่ ทีนี้ก็มีอริยสัจเล็ก ที่เราพูดโดยสรุปย่อเป็น Four Noble Truths นี่เรียกว่าอริยสัจเล็ก ตัวเล็กๆ สั้นๆ แต่ถ้าพูดอย่างปฏิจจสมุปบาทแล้วมันเป็นอริยสัจใหญ่ เราจึงมีทั้งอริยสัจใหญ่ๆ อธิบายมากๆ และอริยสัจเล็ก อธิบายพอสมควร
ถ้าจะศึกษาปฏิจจสมุปบาทใหญ่ ก็ต้องยอมเสีย energy มาก คุณต้องยอมเสีย energy มากๆ ที่จะศึกษาปฏิจจสมุปบาทใหญ่ อริยสัจใหญ่ๆ ต้องยอมเสีย เสียเวลา ความอดทนมากกว่า จึงเรียกว่าอริยสัจใหญ่ อริยสัจเล็กก็น้อยหน่อย รู้จักไว้ว่ามีอริยสัจใหญ่ ที่จะกิน energy ในการศึกษาการปฏิบัติมาก และก็อริยสัจเล็กที่พอสมควร และเราก็จะได้พูดเรื่องอริยสัจเล็กต่อไป การบรรยายชุดนี้จะพูดเรื่อง Buddhism in all aspect นี่เราพูดเรื่องปฏิจจสมุปบาทแล้ว วันหลังเราก็จะพูดเรื่องอริยสัจโดยตรง และขอยุติการบรรยายในวันนี้