แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ครั้งนี้ จะได้บรรยายอานาปานสติหมวดที่สามคือ จิตตานุปัสสนา เราจะต้องรู้โดยหลักทั่วไปว่า มันต่างกันทุกหมวด แต่ละหมวด ๆ เดี๋ยวนี้ก็มาถึงหมวดที่ว่าด้วยจิต กำหนดจิต หมวดที่หนึ่ง เรียกว่า นั่งเป่านกหวีด หมวดที่สอง เรียกว่า นั่งอาบน้ำปีติ หรือสุข กำหนดเวทนา พอมาถึงหมวดนี้ จะเรียกว่า หันมาจัดการกับสิ่งที่เรียกว่า จิต ทั้ง ๆ ที่ว่า คนส่วนมากก็ไม่รู้ว่าจิตนั้นคืออะไร แล้วจะจัดการกับสิ่งที่เรียกว่าจิต แล้วทำให้อยู่ในอำนาจ ก็พูดบ้า ๆ บอ ๆ ว่า ของเรา อยู่ในอำนาจของเรา มันไม่มีเรานะ แต่จะให้มันอยู่ในอำนาจของอะไร อำนาจของจิตใช่ อำนาจของธรรมะ สำหรับสิ่งที่เรียกว่าจิต จิตนี่ มันมีปัญหา มันไม่รู้จักกัน แล้วมันเอามาดู เอามาดูไม่ด้ เอาตัวมาให้ดูไม่ได้ คนโบราณนู่น โบราณอย่างสมัยเป็นคนป่านู่น มันก็รู้จักสิ่งนี้ แต่ในนาม ที่ว่าไม่รู้ว่าเป็นอะไร แล้วก็เรียกว่าจิต ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ที่สิงอยู่ในที่ต่าง ๆ อย่างที่เรียกว่า เป็นตัวตน ๆ สิงอยู่ ในที่ทุกสิ่งที่เขาคิดว่าสิงอยู่ ในแผ่นดิน ในต้นไม้ ในแม่น้ำ ในภูเขา ในอะไรก็ตาม แม้กระทั่งในจอมปลวก คิดว่ามีสิ่งนั้น แล้วคนเดี๋ยวนี้ก็ยังโง่เท่าคนป่าเหล่านั้นนั่นแหละ ไม่ดีกว่าหรอก คือไม่รู้ว่าจิตคืออะไร คิดว่าสิงอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งนี้ บางทีก็เชิญมาได้ เขาเรียกว่าวิญญาณหรรือว่าตัวตน แต่ในพุทธศาสนาเราจะเรียกว่าจิต ไม่ใช่เป็นตัวตน ไม่ใช่เป็นวิญญาณชนิดนั้น มันชื่อเผอิญไปพ้องกันเข้า ภิกษุองค์หนึ่ง ชื่อเกวัตบุตร เขาจะศึกษามาก่อนอย่างไรไม่รู้ แต่ว่าเขาก็มาบวช แล้วเขาก็ถือหลัก แล้วก็เที่ยวบ่นเพ้อพร่ำกับผู้อื่นว่า อิเทวะ วิญญานัง จะวะตัง สังสะรีตัง (นาทีที่ 4:24) อะไรทำนองนี้ คือว่า จิตนี้เท่านั้น วิญญาณนี้เท่านั้น ๆ ที่มันเคลื่อน ที่มันท่องเที่ยวไปในวัฏฏะ เพื่อนเขาห้ามก็ไม่ฟัง พระพุทธเจ้าท่านตรัสให้เรียกตัวไปถาม ก็ยังตอบตาม ก็ยังยืนยันอย่างนั้น ก็บอกว่าแกอย่าคิดอย่างนั้น อย่าถืออย่างนั้น วิญญาณสักว่าวิญญาณแล้ว ก็จะสอนถึงเรื่องที่ว่า มันจะเกิดตามปัจจัย ไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัย เมื่อพวกอื่นเขาเชื่อกันอยู่อย่างนั้น สอนกันอยู่อย่างนั้นว่า มีสิ่งที่เรียกว่า วิญญาณ วิญญาณเจตภูติ จะใช้คำง่าย ๆ ว่าวิญญาณเจตภูต พระพุทธเจ้าท่านจะสอนให้รู้เสียให้ถูกว่า มันไม่ใช่วิญญาณเจตภูติ อะไรอย่างนั้น มันเป็นธาตุ ธา ตุ ธาตุตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มันทำหน้าที่หรืออาการอย่างนั้นได้ คือรู้สึกได้ คิดนึกได้ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นวิญญาณตัวตนหรือเจตภูติ ธาตุนี้มันรู้สึกได้ มันคิดนึกได้ เมื่อใดมันทำหน้าที่รู้อารมณ์ รับอารมณ์ทาง หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็เรียกว่าวิญญาณ วิญญาณเหมือนกันนั่น แต่เป็นวิญญาณทางอายตนะ เมื่อใดคิดนึก ก็เรียกว่าจิต เมื่อใดรู้สึกต่อสิ่งต่าง ๆ ก็เรียกว่ามโน มโน ๆ แปลว่ารู้ จิต แปลว่า คิด หรือก่อ วิญญาณ แปลว่า รู้แจ้ง มันทำหน้าที่รู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เรียกว่า วิญญาณ เมื่อมันทำหน้าที่คิดนึก ก็เรียกว่าจิต มันทำหน้าที่รู้ ๆ ๆ ๆ ก็เรียกว่า มโน มโน เราจะต้องเข้าใจว่าแม้แต่หญ้าบางชนิด เช่น หญ้าไมยราบ มันมีความรู้สึก ไปถูกเข้ามันก็หุบ ถ้าอย่างนั้นมันก็ต้องมีจิต มีวิญญาณ เจตภูติด้วยสิ ปะการังบางชนิดรู้สึก รู้สึกต่อการที่ใครมาใครไปสัมผัส ถูกต้อง มันรู้สึก ที่อยู่ใต้น้ำทะเล มันก็มีเจตภูติ มีวิญญาณด้วย นี่ขอให้มาศึกษาว่า พุทธศาสนาเรา ไม่ถือว่ามีวิญญาณ ลัทธิวิญญาณนั้นมีอยู่ก่อน แล้วถ่ายทอดกันมา เรียกว่า ถึงปัจจุบันนี้ ยังถืออยู่ว่ามีวิญญาณ เอาวิญญาณเข้าไปเที่ยวสิงที่นั่นที่นี่ ให้พระพุทธรูปก็มีวิญญาณอย่างนี้ ทำกับพระพุทธรูปอย่างกับทำกับคนอย่างนี้ มันยังเป็นลัทธิป่าเถื่อนครั้งกระโน้นเรียกว่าลัทธิวิญญาณ animism animism animism นั่่นละ ความที่ว่า ไม่มีเจตภูติ ไม่มีวิญญาณ ไม่มีจิตชนิดนั้น แต่จิตนี่เป็นธาตุตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีคุณสมบัติรู้สึกคิดนึกอะไรได้ ไม่ต้องมีตัวตน ไม่ต้องมีความเป็นตัวตน แต่มันมีอาการอย่างนั้น มนุษย์เข้าใจว่าเป็นตัวตน ๆ สอนกันมา พอมาถึงยุคพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าบอกว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ตัวตน มันก็สักว่าธาตุตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มันคิดนึกได้เอง ไม่ต้องมีอะไรมาเป็นตัวตนให้หรอก เช่น คนนี้มันมีความคิด ความคิดก็ทำให้เดินไป ๆ พอถึงบ่อ จะพลัดตกบ่อ มันก็ความคิดก็เกิดขึ้นมาใหม่ว่า อย่าเดินเข้าไป มันจะพลัดตกเข้าไปในบ่อ ก็คิดได้อย่างนี้โดยที่ไม่ต้องมีตัวตนอะไรที่ไหน เราได้รับคำสั่งสอนแล้วว่ามีตัวตน ๆ มาจากลัทธิเก่าแก่ของอินเดียที่มาสอนกันที่นี่ แถวนี้ แถบบ้านเรานี่ สุวรรณภูมินี่ ว่ามันมีสิ่งชนิดนี้ แล้วเราก็เชื่อว่ามีสิ่งชนิดนี้ แล้วบางทีว่า คนไทยเรา คนไทยแต่เดิม ก่อนอินเดียมาเป็นจีน เป็นคล้ายๆ จีนอะไรก็ตาม มันก็ต้องเชื่ออย่างนี้อยู่ก่อนแล้ว ไม่ใช่อินเดีย เชื่อว่ามีตัวตนมีวิญญาณ มีเจตภูติมีอะไรที่จะต้องเซ่นไหว้เซ่นสรวงตามแบบจีนที่ยังเหลืออยู่ แปลว่าสมบัติเดิมคนไทยเราก็มีความรู้อย่างนี้ อินเดียก็มาสอนให้อย่างนี้ มาสอนอย่างละเอียดวิจิตรพิสดาร เมื่อเด็กๆ อาตมาเคยเห็นหนังสือธรรมะเล่มหนึ่งของคุณตา พิมพ์ให้อย่างนี้ว่า สอนเรื่องไอ้นี่ เรียกว่าวิญญาณบ้าง มโนบ้าง เดี๋ยวออกมาทำหน้าที่ทางตา แล้วกลับไปทำหน้าที่ทางหู ออกมากลับไปออกมาทำหน้าที่ทางจมูกทางลิ้นทางกาย กระทั่งว่า หลับลงมันออกไปเที่ยว ไปเที่ยวเล่น พอกลับมาคนก็ตื่นขึ้นมา หนังสือธรรมะสมัยนั้นยังมีอย่างนี้ มันเป็นหนังสือที่ผิด ร้อยเปอร์เซ็นต์ ไม่ใช่พุทธศาสนา เป็นฮินดู รู้กันเอาไว้เสียบ้าง เอาละ เป็นอันว่า สิ่งที่เรียกว่า จิตนั่นนะ คือสิ่งที่มันคิดนึกอะไรได้ โดยตัวมันเอง โดยไม่ต้องมีตัวตน ไม่ต้องเป็นตัวตนผู้คิดผู้นึก มันรู้สึกได้โดยตัวมันเอง โดยระบบประสาทมันเป็นเช่นนั้น เช่นเดียวกับหญ้าระงับ หญ้าไมยราพ ไปถูกเข้ามันหุบเอง
ทีนี้ก็มาศึกษาให้รู้เรื่องจิต แล้วก็ จนบังคับจิต จิตบังคับจิตได้ อะไรศึกษาจิตก็คือจิต รู้เรื่องจิต แล้วก็ จนบังคับจิตได้ นั่นก็จิต ๆ ๆ ไม่มีตัวตน นี่เป็นเรื่องเบื้องต้น หรือเป็นเรื่องพื้นฐาน แล้วนี่ก็มาพูดกันถึงว่าจิต จะฝึกจิตอย่างไร จะบังคับจิตอย่างไร แล้วจะมีประโยชน์อะไร แก่จิตต่อไปตลอดกาล ความรู้อันนี้เรียกว่า จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ซึ่งเราจะพูดกันเป็นหมวดที่ ๓ ในวันนี้
ทีนี้ เรื่องการปฏิบัติ เป็นหลักตายตัวที่ได้พูดมาแล้วว่า จะปฏิบัติอานาปานสติขั้นไหนหมวดไหน ตอนกลางตอนปลายอะไรก็ตามเถอะ ต้องย้อนกลับไปตั้งต้นมาตั้งแต่หมวดต้น และขั้นที่หนึ่ง คือลมหายใจเข้าออก มันเป่านกหวีดมาก่อนแล้วกำหนดเวทนามา แล้วก็มาถึงเรื่องจิต กำหนดจิต รู้เรื่องจิต จะเรียนไปถึงตัวไหนแล้วก็ตาม ถ้าตั้งต้น ก็ต้อง ตัว ก อีกละมาตามลำดับ ให้มันติดต่อ สืบเนื่องกันอย่างนี้ นี่เป็นหลักทั่วไป พอลงมือปฏิบัติแล้ว ก็ตั้งต้นมาตั้งแต่จุดแรกที่สุด จนมาถึงจุดที่กำลังจะปฏิบัติ เดี๋ยวนี้มันก็เป็นหมวดจิต หมวดที่สามแล้ว นับเป็นขั้นของทั้งหมดที่มี ๑๖ ขั้น นั้น มันก็เป็นขั้นที่ ๙ ที่ ๑๐ ในหมวดนี้ ก็มี ๔ ขั้น นี่ขั้นที่หนึ่งของหมวดนี้เรียกว่า จิตตปฏิสังเวที เป็นผู้รู้พร้อม เฉพาะซึ่งจิต รู้พร้อมในเรื่องเกี่ยวกับจิตในปัจจุบันนี้ รู้พร้อมมาถึงเรื่องดึกดำบรรพ์ เรื่องคำว่าจิตอย่างที่พูดมาแล้วก็ได้ นั่นรู้ไว้เป็นพื้นฐานนะ รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต เดี๋ยวนี้ ก็จิตในปัจจุบัน เพื่อเราจะจัดการกับมัน จะต้องรู้จิตปัจจุบันว่ากำลังเป็นอย่างไร จิตรู้จักจิตเอง ไม่ต้องมีตัวกูไปรู้จิต จิตรู้จักตัวมันเองว่ากำลังเป็นอยู่อย่างไร ในบทที่ท่านวางไว้สำหรับพิจารณาก็ว่า เดี๋ยวนี้จิตกำลังมีราคะหรือไม่มี รู้ได้เอง ถ้ามันรู้จักสิ่งที่เรียกว่าราคะ จิตก็รู้ว่าเดี๋ยวนี้มีราคะหรือไม่มี เดี๋ยวนี้มีโทสะหรือไม่มี เดี๋ยวนี้มีโมหะหรือไม่มี เดี๋ยวนี้เป็นจิตมีคุณธรรมอันใหญ่หลวงหรือว่าไม่มี เดี๋ยวนี้ จิตยังมีจิตชนิดอื่นที่ยิ่งกว่าหรือไม่มี นี้โดยการคำนวณ หนแรกปฏิบัติมันก็ไม่รู้ว่าจิตที่ยิ่งกว่า จิตที่บรรลุมรรคผล มันก็ไม่รู้ แต่มันก็พอจะรู้ได้ว่า จิตนี่มันยังไม่ถึงที่สุด มันยังมีจิตอื่นยิ่งกว่า มีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือไม่มี เดี๋ยวนี้จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิหรือไม่ตั้งมั่นเป็นสมาธิ มันก็รู้ได้ เดี๋ยวนี้จิตหลุดพ้นหรือไม่หลุดพ้น มันก็รู้ได้โดยที่ว่ามันมีอะไรที่กำลังครอบงำ ผูกพัน เผารนจิต อยู่หรือไม่ ถ้ามันยังมีอยู่ มันก็ไม่หลุดพ้น แม้ว่าเรายังไม่เป็นพระอรหันต์ เราก็รู้ได้ว่าจิตของเรายังไม่หลุดพ้น แม้อย่างน้อย ก็มีนิวรณ์หรือไม่ มีกามฉันทะ พยาบาท ถีนะมิตธะ อุทจะกุกุจจะ หรือไม่ นี่ รู้ได้ง่าย เพราะมันคุ้นกันดี จิตกำลังเป็นอย่างไร รอบรู้ ชัดเจนเสียก่อน พอจะได้รู้ว่า มันเป็นอะไรได้กี่อย่าง กี่ชนิด มันก็จะรู้ได้ กำลังมีชนิดไหน หรือกำลังไม่มี เราควรจะมุ่งหมายจิตชนิดไหน จิตชนิดที่ไม่มีกิเลส ไม่มีนิวรณ์ ก็พอจะคำนวณได้จากจิตที่กำลังมีกิเลส จิตที่กำลังมีนิวรณ์ว่าแหม มันหล่นอย่างนี้ จิตชนิดไหน กำลังมีปัญหาอะไรอยู่ ที่นี่ เวลานี้ ก็ดูว่าอะไรเป็นปัจจัยแห่งปัญหา อะไรจะเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ ในการดับทุกข์ ขั้นแรกก็กำหนดจิตของตัวเองดูว่ากำลังอยู่ในสถานะ ภาวะ อาการ อย่างไร พอพบแล้วก็ดูเลยไปถึงว่า เอ้อ นี่มันมาจากเหตุปัจจัยอะไร นำมาซึ่งความทุกข์อย่างไร นำมาซึ่งความไม่ทุกข์อย่างไร ศึกษารอบด้านเกี่ยวกับจิต จิตของคนอื่น เราไปรู้เขาไม่ได้ ไม่มีทาง จิตของเราเดี๋ยวนี้ ศึกษามัน ๆ ให้รู้อย่างดีที่สุด
ทีนี้ก็จะได้จัดการ จัดการ ขั้นที่ ๙ นี่ รู้จักจิตชนิดที่เราจะรู้ได้เท่าไร แล้วก็รู้ว่าจะจัดการอย่างไร ต่อไป ขั้นที่ ๑๐ ก็มีสูตรว่า อภิโมทะยัง จิตตัง ทำจิตให้ปราโมทย์หรือบันเทิงอย่างยิ่งอยู่ เขาหมายถึงคำนี้ ทำให้จิตมีความรู้สึกปราโมทย์ บันเทิงยิ่งอยู่ ใครทำ พูดอย่างคนธรรมดาก็ว่าเราทำ ถ้าพูดอย่างภาษาธรรมะโดยสมมติ จิตทำ จิตคิดนึก รู้สึกอะไรได้ จิตนี่จะทำจิตให้ปราโมทย์ บันเทิงอยู่ ถ้าพูดว่าตัวเราทำก็ได้เหมือนกันถ้าจะพูดโดยภาษาธรรมดา ภาษาสมมุติ ไปยืนยันในความไม่มีเรา ก็จิตมันก็ทำจิต เช่นว่า มันเดินไป คิดเดินไปจะพลัดตกบ่อมันก็รู้สึก ไม่ตก ก็จิตเองไม่ต้องมีใครมาบอกมันให้ถอยกลับ หรือก็ไม่พลัด ไม่เดินต่อไปลงบ่อ ทีนี้ว่าถ้าจิตมันไม่ปราโมทย์บันเทิง จิตมันจะต้องทำอย่างไรให้ปราโมทย์บันเทิง จิตมันก็คิดนึกทำความรู้สึกไปในลักษณะที่ทำให้จิตนี้ปราโมทย์หรือบันเทิง อย่างน้อยที่สุดก็ทำความรู้สึกว่าโอ้ เราก็มีศรัทธาถูกต้องในพระพุทธศาสนา ก็บันเทิงได้ เรามีปัสสนา ( นาทีที่20.10) เลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ที่เป็นเครื่องดับทุกข์นี่ก็ได้ เรามีศีล ก็พอใจก็ได้ เรามีสมาธิ พอใจก็ได้ มีปัญญาเป็นที่พอใจก็ได้ มันก็บันเทิงแหละ มันก็บันเทิง มันก็เริ่มมีการบันเทิง แต่เดี๋ยวนี้เราเก่งกว่านั้นนะ ในหมวดที่สอง ในขั้นที่ ๕ ที่ ๖ เราเคยนั่งอาบน้ำปีติ อาบน้ำความสุขมาอย่างชำนาญแล้วนี่ ย้อนกลับไปที่นั่น อาบน้ำปีติ อาบน้ำความสุขกันหน่อย มันก็จะมีความบันเทิง จัดปรับปรุงให้ดี มีความบันเทิงที่เหมาะสมที่ถูกต้อง ย้อนกลับไปทำหมวดที่ ๕ ที่ ๖ ขั้นที่ ๕ ขั้นที่ ๖ เรามีสติระลึกถึงในคุณธรรม กุศลธรรม ความดีต่างๆ ที่มีอยู่ แล้วก็ปีติได้ แล้วก็ พอใจตัวเอง ๆ ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันในวงการศึกษาทางจิต Self contentment เนี่ย พอใจตัวเองๆ อะไรจะสบายเท่ากับพอใจตัวเอง ไปคิดดู นี่เราสามารถจะเปลี่ยนอารมณ์ร้าย ๆ ให้หมดไปเป็นอารมณ์พอใจเข้ามาได้ เพราะเราฝึกไว้ให้คล่องแคล่วมากในการที่จะอาบน้ำปีติ หรือน้ำแห่งความสุขเมื่อไรก็ได้ เมื่อไรก็ได้นะ เน้นอย่างนี้ว่า เมื่อไรก็ได้ ท่านชำนาญอย่างนี้แล้วก็สามารถจะมีความพอใจ ความบันเทิง พอใจตัวเอง ให้มีนิพพานในตัวเองชั่วขณะๆ ได้ตามที่ต้องการ ปราโมทย์บันเทิง ทำจิตให้ปราโมทย์ทำจิตให้บันเทิง นี่เป็นขั้นที่ ๑๐ จะไปอยู่ยังบ้านเรือน ครองเรือนอย่างไรก็ได้ แต่ว่ามีจิตปราโมทย์พอใจ ไม่มีจิตที่ทุกข์ทนหม่นไหม้ เหมือนที่เขาเป็นกันอยู่โดยมาก เป็นโรคประสาทจนล้นโรงพยาบาลแล้ว เพราะมันไม่รู้จักทำจิตใจปราโมทย์เอาเสียเลย ศึกษาไว้เถิด มันจะมีประโยชน์เหลือหลาย จะไม่เจ็บ ไม่ไข้ ได้โดยง่าย แล้วมันจะมีสวรรค์อยู่ที่นี่ เดี๋ยวนี้ คือพอใจในตัวเองไม่ต้องรอต่อตายแล้ว สวรรค์เพ้อ สวรรค์เพ้อเจ้อรอแต่ตายแล้ว สวรรค์ที่นี่น่ะไม่เอา มันถูกหลอกว่าในสวรรค์น่ะมีของทิพย์ รสอร่อยเหลือประมาณโน่น แต่ที่ทำให้ทิพย์ที่นี่ได้ ปราโมทย์บันเทิงที่นี่ได้ มันก็ไม่เอา เพราะมีอวิชชา มีอวิชชาเข้าครอบงำ ฝึกจนว่า เมื่อไรก็ได้ ๆ ฉันจะมีความรู้สึกปิติปราโมทย์บันเทิง เมื่อไรก็ได้ พอจะลงมือทำอะไร จะคิดนึกอะไร จะทำอะไรก็ตามทำปีติปราโมทย์บันเทิงเสียก่อนแล้วจึงค่อยทำ จะไปทำงานที่ออฟฟิศหรือไปทำงานที่บ้านเรือน จิตที่ปิติปราโมทย์บันเทิง นี่ก็เป็นคนที่มีบุคลิกภาพที่ดีอยู่เสมอ มันก็จะมีเสน่ห์ ความน่ารักอยู่ในตัวของสังขารกลุ่มที่มีปีติปราโมทย์บันเทิงนี้ ไม่ต้องแขวนปลัดขิก ไม่ต้องลงนะหน้าทอง ไม่ต้องทำอะไรหมดหรอก มันก็จะมีความน่ารักอยู่ในตัวของบุคคล คล้ายกับว่า สมมุติว่าบุคคลที่มันมีจิตปราโมทย์บันเทิง นี่ก็ฝึกเป็นขั้นที่ ๑๐ ของทั้งหมด หรือขั้นที่ ๒ ของหมวดจิต
ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่ ๑๑ มีสูตรว่า สมา ทหัง จิตตัง (นาทีที่ 24.56) แปลว่าทำจิตให้ตั้งมั่น ก็คือมีสมาธินั่นละ แต่ว่าสมาธิชนิดที่ประกอบไปด้วยธรรม เป็นสัมมาสมาธิ สมาธิทั่วๆ ไปหมาแมวมันก็มี อะไรมันก็มี ที่เป็นสมาธิตามธรรมชาติ ถ้าสมาธิอย่างนั้นมันไม่พอ หรือไม่น่าต้องการอะไร ต้องมีสมาธิชนิดที่ควรจะต้องการ สมาธิที่เป็น วิรา วิเวกขนิสสิตัง (นาทีที่ 25.35) จะเป็นไปเพื่อวิเวก อาศัยวิเวก วิราคนิสสิตัง (นาทีที่ 25.41) อาศัยวิราคะ นิโรธนิสสิตัง (นาทีที่ 25.43) อาศัยนิโรธ คือความดับทุกข์เป็นเบื้องหน้า โพสัคคะ ปะรินามิง (นาทีที่25.56) มันน้อมไปเพื่อจะสลัดไอ้สิ่งยึดมั่นถือมั่นทั้งปวงนะ ถ้าสมาธิอย่างนี้แล้วมันก็เป็นสมาธิที่เป็นไปเพื่อนิพพาน ความเป็นสมาธิที่เราจะกำหนดกันง่ายๆ ก็โดยหัวข้อ กำหนด 3 คำว่า ข้อที่หนึ่ง มันก็ปริสุทโธ มันว่างจากกิเลสและนิวรณ์ ไม่มีความเศร้าหมอง ไม่มีความสกปรกทางจิตใจ เรียกว่าปริสุทโธ ข้อที่สอง เรียกว่าสมาหิโต มันตั้งมั่นรวมกำลังเป็นจุดเดียวเป็นอันเดียว ข้อที่สาม เรียกว่า กรรมนีโย แปลว่าสมควรแก่การงาน สมควรแก่หน้าที่การงานของจิต ปราศจากกิเลสนิวรณ์รบกวนก็เรียกว่าปริสุทโธได้แล้ว มีจิตวิสุทธิ์แม้ชั่วขณะอย่างนี้ก็เรียกว่าบริสุทธิ์ มันก็โปร่งสิ มันก็โปร่ง มันก็เย็น มันก็อิสระ ต้องการจิตอย่างนี้ในการดำเนินชีวิตเป็นอยู่ หรือทำการงานใด ๆ สมาหิโต ตั้งมั่น ตั้งมั่นแน่วแน่ คือรวมกำลังจิต ซึ่งมีลักษณะซ่านออกไปรอบตัว มาเป็นจุดกลางจุดเดียว เป็นเอกัคคตา เหมือนแก้วนูน แก้วที่มันนูนตรงกลาง แว่นรวมแสง เอามารับแสง แดดที่มันพร่ามารวมจุดเป็นจุดเดียวเข้าจนมันลุกเป็นไฟ สว่างจ้าเรืองแสงอย่างนั้น คำว่าประภัสสร ดูที่แก้วรวมแสง รวมแสงแดด ขาวๆๆ จนลุกเป็นไฟ อาการอย่างนั้นภาษาบาลีเขาเรียกว่าประภัสสรด้วยเหมือนกัน มันเป็นสมาหิโต ทีนี้ ทำได้ดีอย่างนี้มันก็เป็นกรรมนีโย กรรมะ นียะอนียะ กรรมะอนียะ เป็นกรรมะนีโย สมควรแก่กรรมะ คือการกระทำ ซึ่งเป็นหน้าที่ จะทำหน้าที่ทางจิต ซึ่งจะออกมาถึงทางกาย พร้อมที่จะทำหน้าที่ ว่องไวที่จะทำหน้าที่ เหมาะสมที่จะทำหน้าที่ เขาเรียกกันเดี๋ยวนี้โดยภาษาทั่วๆ ไปว่า active มัน active มันไม่ clumsy มันไม่งุ่มง่าม ความเป็นอย่างนั้น เรียกว่ากรรมะนียะภาพ The Activeness ถ้ามันมีสมาธิจริง มันครบองค์ประกอบ ๓ อย่างนี้ คือ ปริสุทโธ สมาหิโต กรรมะนีโย ฝึกได้ แต่ว่าจิตนี่จะต้องฝึกเอง ไม่ใช่สุนัขหรือแมวที่คนจะต้องฝึกให้ ทำจิตให้ตั้งมั่น คือทำให้เป็นสมาธิ ที่ไหน เมื่อไร เท่าไร อย่างไร ทำได้ตามที่ต้องการ ที่ไหน เมื่อไร อย่างไร เท่าไร ได้ตามที่ต้องการ เดี๋ยวนี้มันจะไม่ได้สักขี้เล็บเลยกระมัง มันคอยแต่จะฟุ้งซ่าน ๆ ๆ นั่นนะ เป็นเหตุให้หยาบ ให้หวัด ให้ไม่แยบคาย ให้ไม่ลึกซึ้ง ซึ่งคนทั่วไปก็มีลักษณะอย่างนั้น ฟุ้งซ่าน แยบคาย แล้วมันอวดดีด้วย เพราะมันไม่มีความประณีต หรือกรรมนียะภาวะ (นาทีที่ 30.13) ของสิ่งที่เรียกว่าจิตนั่นเอง ขออย่าได้ประมาทเลย ปราโมทย์ ๆ นี่เป็นสิ่งที่สำคัญนะ อยู่เป็นสุขสบายน่ะ ยิ่งกว่านั้นแม้ในการบรรลุมรรคผลนิพพานก็ต้องการสิ่งที่เรียกว่าปราโมทย์มาก่อน ในสูตรทั้งหลายเป็นอันมาก ตอนที่จะกล่าวถึงการบรรลุมรรคผล แล้วก็ต้องมีปราโมชชะ (นาทีที่ 30.45) ปราโมทย์ แล้วจะมีปีตินะ มีปีติแล้วจะมีสุขนะ มีสุขแล้วจะมีปัสสัทธินะ มีปัสสัทธิแล้ว จะมีสมาธิที่ต้องการในการนั้นนะ แล้วก็จะมีอุเบกขา นี่เป็นกฏธรรมชาติตายตัว ไม่ใช่ใครตั้ง ไม่ใช่พระพุทธเจ้าท่านตั้ง แต่มันเป็นกฎตายตัวที่ต้องเป็นอย่างนั้น การที่จะบรรลุธรรมะสูงสุดทางจิตนั่นน่ะ พื้นฐานต้องมาแต่ปราโมทย์ ต้องมีอะไรปราโมทย์ พอใจในสิ่งนั้น เรียกว่าปราโมทย์ก่อน ปราโมทย์เกิดแล้วก็มีปีติ คือพอใจ ปีติเกิดแล้วก็มีความสุข พอมีความสุขแล้วสิ่งต่างๆ ก็จะระงับลง ไม่ฟุ้งซ่าน เรียกว่าปัสสัทธิ พอปัสสัทธิรวมได้ลง เข้ารูปเข้ารอยก็เป็นสมาธิ พอสมาธิแล้วก็มีอุเบกขาคือความควบคุมดูแลให้มันเป็นไปตามที่ต้องการ เรียกว่าอุเบกขา อุเบกขาไม่ใช่นั่งเฉย ๆ นั่งซึมกระทือนะ ให้มันคอยควบคุมดูแลให้เป็นไปตามที่ต้องการ อุปมาเรื่องนี้ก็เปรียบเหมือนกับว่าเมื่อรถได้ที่แล้ว คนขับสารถีก็เพียงแต่ถือบังเหียนเฉย ๆ ม้าได้ที่ รถได้ที่ ถนนได้ที่ ก็ถือบังเหียนเฉย ๆ มันก็ไปเองแหละ ถ้ารถยนต์มันดี มันได้ที่หมดแล้ว ถือแต่พวงมาลัยเฉยๆ รถมันก็ไปได้เองแหละ แต่มันมีการควบคุมนะ มันมีการควบคุมอยู่โดยอัตโนมัติ นั่นแหละคืออุเบกขาแหละ ไม่ใช่อุเบกขาเฉย ๆ ไม่รู้ไม่ชี้ นั่นนะ อุเบกขาเขาว่าเอาเองของคนโง่ มักจะถืออย่างนั้นกันเสียโดยมาก จะมีอุเบกขา คือว่าการปฏิบัติหรือพรมจรรย์ มันปฏิบัติไป ศีล สมาธิ ปัญญา โพชฌงค์ มรรค ถ้ามันเดินไป ๆ ตามลำพัง เพราะว่าการจัดทำเป็นปัสสัทธิถูกต้องเข้ารูปเข้ารอย แล้วก็ปล่อยมันเดินไปได้ มันก็ถึงเองละ นี่ รู้จักทำให้ปราโมทย์ไว้เถิด อย่างน้อยที่สุดก็ปราโมทย์ตัวเอง พอใจตัวเองว่าได้ทำไว้ถูกต้อง ปลอดภัย รักษาอันนั่นไว้ มันก็เดินไปเอง ๆ ๆ โดยกฎของธรรมชาติ เหมือนกับทำนาน่ะ พอไถคราด ดำ ปลูกต้นข้าวงอกงามแล้ว ชาวนาคนนั้นก็อุเบกขาได้ เฉย ๆ ดูแลอยู่เฉย ๆ รักษาความถูกต้องไว้เฉย ๆ ข้าวมันก็งอกออกรวงเองแหละ ไม่ต้องมานั่งภาวนาหรือไปบนบานผีสาง ข้าวจงออกมาๆ นั่นมันชาวนาบ้า ไม่ใช่ชาวนาดี ชาวนาดีปฏิบัติตามหลักอันนี้ ครบถ้วนตามไอ้กฏเกณฑ์อันนี้ข้าวมันก็ออกมาเอง ลักษณะนี้จะเรียกว่า โพชฌงค์ก็ได้ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปีติ ปัสสัทธิ สมาธิ อุเบกขา โพชฌงค์ ๗ นั่น ไปดูในนวโกวาท มันตอนสำคัญมันก็มี วิริยะ ปีติ หล่อเลี้ยงวิริยะ ปัสสัทธิ ให้มันหลังจากปีติ ปีติ ให้เกิดสุข เกิดปัสสัทธิ แล้วก็มีสมาธิเต็มที่แล้วก็มีอุเบกขา ตั้งต้นด้วยสติ มันลึก ๆ ๆ รอบคอบแล้วก็มีธัมมวิจยะ เฟ้นเอาสิ่งที่จะต้องทำออกมาได้ แล้วก็ทำ แล้วความสำเร็จที่กำลังจะสำเร็จจะเดินไปต้องมีปีติปราโมทย์เกิดขึ้นในการกระทำ ฉะนั้น เราจึงถือเอาธรรมะข้อนี้เป็นหลักสำคัญ ถ้าอยู่เฉย ๆ ก็สบาย ถ้าปราโมทย์ อยู่ด้วยปราโมทย์ แล้วปราโมทย์จะเป็นปัจจัยผลักไส ในทางโลกุตตระ มี ปีติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ อุเบกขา สรุปความว่า การบรรลุมรรคผล ตั้งต้นด้วยปีติ สำหรับความรู้สึกที่รู้สึกอยู่ในจิตใจที่จะเกิดขึ้นเป็นลำดับนั้น มันตั้งต้นด้วยปีติ มีปีติ น่าจะเป็นอย่างที่ว่า ไปตามลำดับ แล้วก็ยังสามารถที่จะน้อมจิตชนิดนี้ไปทำอะไรก็ทำได้ดี คำว่า นิ่มนวลอ่อนโยนควรแก่การงาน ควรแก่การน้อมไปนั่นน่ะ มันหมายถึงมีปีติปราโมทย์บันเทิงแล้ว มันจึงจะน้อมนึกไปคิดอะไรได้ดีที่สุด ได้อย่างใจที่สุด จะน้อมไปเพื่อรู้อะไร เพื่อญาณข้อไหน เพื่อญาณทัศนะอะไร มันก็รู้ได้ดี เพราะเหตุที่ว่ามีจิตมันเหมาะสม มันพอใจตัวเองอยู่เสมอ รู้ความสำคัญของคำว่า จิตตั้งมั่น อยู่อย่างบันเทิงนี่ บันเทิงทำมาจากขั้นที่ ๑๐ เดี๋ยวนี้ ก็ตั้งมั่นอยู่ด้วยความบันเทิง
ทีนี้ก็มาถึงขั้นที่ ๔ ของหมวดนี้หรือขั้นที่ ๑๒ ของทั้งหมด ของทั้งชุด ๑๖ ขั้น ขั้นที่ ๑๒ วิโมจยังจิตตัง (นาทีที่ 37.10) นี่เป็นสูตร ก็แปลว่า ทำจิตให้ปล่อย คำว่าปล่อย นี้ เป็นคำที่พวกคอมมิวนิสต์เขาเอามาใช้ แล้วใคร ๆ ก็ชอบการปลดปล่อย คือ มันไม่ถูกกัก ถูกจำกัด ถูกอะไร คำว่าปล่อย มันหมายถึง อิสระ ทำจิตให้ปล่อย ก็ทำจิตให้เป็นอิสระ ธรรมดามักจะพูดกันลุ่น ๆ สั้น ๆ ว่า ปล่อยอารมณ์ ปล่อยวัตถุ สละสิ่งนั้น สละสิ่งนี้ ก็คือปล่อยสิ่งนั้นสิ่งนี้ นี่คนธรรมดาพูด ไม่ใช่ผู้รู้ธรรมะพูด ถ้าผู้รู้ธรรมะพูดเขาก็ปลดปล่อย นันทิราคะ นันทิราคะ ความกำหนัดยินดีด้วยความเพลิดเพลินพอใจในสิ่งนั้นๆ ในลูก ในเมีย ในบุตร ภรรยา สามี ในข้าวของเงินทอง อำนาจ วาสนา บารมีอะไรก็ตาม ที่มันเป็นที่ตั้งแห่งนันทิราคะ สิ่งนี้มัน ผูกพัน ๆ เราจะต้องหลุดจากอำนาจของสิ่งนี้ ถ้าเราจะพ้นจากความผูกพันของทรัพย์สมบัติ ไม่ใช่ต้องเอาทรัพย์สมบัติไปเผาไฟ อาจารย์วิปัสสนาบางคนเขาชวนสาวก มาเอามาเผาๆ เอาธนบัตรมาเผา เอาน้ำมันมาเผา เอาอะไรมาเผาๆๆๆ เพื่อจะเป็นการปลดปล่อย นี่มันบ้า พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้สอนอย่างนั้น จะปลดปล่อยสิ่งใดออกไปจากความผูกพัน จงละนันทิราคะในสิ่งนั้น ความรัก ความกำหนัดยินดีด้วยความหลงใหลด้วยนันทิ ด้วยอุปาทานนั่นแหละ ละสิ่งนั้นแล้ว สิ่งนั้นมันก็ไม่อยู่ที่เราหรอก เพชรพลอยแขวนอยู่ที่คอที่เนื้อที่ตัวเนี่ย ถ้าไม่มีนันทิราคะในสิ่งนั้น ก็เหมือนกับไม่ได้มีสิ่งนั้นแหละ นี่เรียกว่ามันปล่อยด้วยจิตใจ ปล่อยข้างใน ไม่ใช่เอาวัตถุสิ่งของไปขว้างทิ้ง นี่สบายแหละ ถ้ามีสิ่งใด ก็มีอยู่ด้วยการปล่อย อย่ามีการมีด้วยการยึดมั่นไว้ด้วยนันทิราคะนะ มีเงินเยอะแยะ ชอบใจ อยากให้ปลอดภัยเอาไปฝากไว้ธนาคาร แต่แล้วมันก็มาสุมอยู่บนหัวของคนๆ นั้นที่มีนันทิราคะ ในเงินที่ฝากอยู่ในธนาคารนั่น แปลกหรือไม่แปลก มันอยู่ในตู้เซฟของธนาคาร แต่มันกลับมาอยู่บนหัวของเจ้าของนี่ เพราะมันไม่มีนันทิราคะแล้วมันทุกข์หนักสักเท่าไร มันจะเป็นอยู่อย่าง ประหลาดที่สุด ไม่เท่าไรมันก็เป็นโรคประสาท นี่ การปล่อยจิตจากอารมณ์หรือปล่อยอารมณ์จากจิต แล้วแต่จะพูดด้วยคำไหน ความหมายมันก็อันเดียวกัน อย่ามาผูกพันกันก็แล้ว คำพูดนี้ มันตะลบตะแลง มันใช้ logicอย่างไหนก็ได้ ใช้ logicว่า ปล่อยจิต ปล่อยอารมณ์ไปเสียจากจิต หรือพรากจิตมาเสียจากอารมณ์ มันเป็นออก หรือเป็นเข้าเท่านั้นเอง แต่ว่าผลของมัน ก็เป็นการปล่อย คนธรรมดาก็จะพูดว่า ปล่อยของออกไป แต่ในบาลี อานาปานสตินี้ ว่า เปลื้องจิตเสียจากอารมณ์ คำว่าปลดเปลื้องกับปลดปล่อยน่ะมันคล้ายๆ กัน อย่าให้มันเข้ามาพัวพันเขาเรียกเปลื้อง ปลดปล่อย ให้เราปลดปล่อยอารมณ์ ไม่ให้เข้ามาผูกพันจิต หรือเปลื้องจิตออกเสียจากอารมณ์ที่เข้ามาผูกพัน
เอาล่ะขั้นนี้ นั่งฝึกกันเป็นขั้นที่ ๔ ของหมวดนี้ จิตก็ไปเกาะกับอารมณ์อะไร นิวรณ์อะไร เอ้า ปล่อยมันอย่างไร ปล่อยอย่างไร ก็ฝึกกันที่นั่น ฝึกกันเดี๋ยวนั้น ปล่อยจากกามฉันทะ พอใจในกาม ออกไปได้อย่างไร พยาบาทอาฆาต ขุ่นเคืองขัดแค้น ปล่อยไปได้อย่างไร ถีนะมิทธะ ความมึนชาแห่งจิต ความหมดกำลังแห่งจิตปล่อยไปได้อย่างไร จะเปลื้องไปได้อย่างไร จะทำให้หายไปได้อย่างไร อุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งๆๆ ความมีกำลังมากเกินไปจนบ้า จะปลดปล่อยไปเสียได้อย่างไร ในที่สุด วิจิกิจฉา ความลังเล ลังเล ไม่เชื่อแน่ว่าถูกแล้ว ไม่เชื่อแน่ว่าปลอดภัยแล้วนี่ มันจะมีเป็นธรรมดา เพราะความรักตัวกลัวตาย กลัวเสียหายมันมากเกินไป มันก็หวาดระแวงอยู่เรื่อยๆ เอ้ยนี่มันยังไม่ถูก ยังไม่ปลอดภัย ลงประตูใส่กลอนอะไรเรียบร้อยแล้วไปนอน มันก็ยังคิดว่าไม่ปลอดภัยนี่ ความลังเลสงสัยอย่างนี้ มันลังเลสงสัยว่าเราไม่ได้อยู่ในความถูกต้องถึงที่สุด ปลอดภัยถึงที่สุด จนกระทั่งชินชาไป อยู่ไปใต้สำนึกนู่น ไร้สำนึกหรือว่าอยู่ภายใต้สำนึก เป็นความลังเลว่าไม่ปลอดภัย หรือสงสัยว่าไม่ปลอดภัย อย่างนี้เรียกว่า วิจิกิจฉา ดูให้ดี จะมีอยู่ทุกคน แต่ซ่อนอยู่อย่างลึกซึ้ง ซ่อนเร้นอยู่อย่างลึกซึ้ง ทุกคนยังไม่แน่ใจว่าได้สิ่งที่ดีที่สุดหรือปลอดภัยแล้ว เศรษฐกิจยังไม่ปลอดภัย ยังไม่รู้สึกว่าปลอดภัย ทั้งที่มีเงินเป็นล้านๆ สิบล้านร้อยล้านมันก็ยังระแวงอยู่นั่นแหละ สุขภาพอนามัยเนี่ยมันยังระแวง จะตายเมื่อไรก็ได้ไม่ทันรู้ เรื่องอะไรที่มันจะต้องผูกพันกันเรื่องสังคม เรื่องอะไรต่างๆ ก็ยังไม่ปลอดภัย ยังมีศัตรูคอยคิดร้ายอยู่ ยังไม่ปลอดภัยสิ้นเชิง ไม่แน่ใจในความปลอดภัยนี่เรียกว่าวิจิกิจฉา ซ่อนอยู่ลึกๆ พร้อมจะ ฝันออกมาเมื่อไรก็ได้ พร้อมจะมาคิดมานึกให้เป็นเรื่องยุ่งยากลำบากใจขึ้นมาก็ได้ ระแวงขึ้นมาก็แย่แล้ว เป็นทุกข์แล้ว หวาดผวานี่ก็หมดความสุขเลย ละวิจิกิจฉา นิวรณ์ตัวนี้ก็ได้ เปลื้องจิตจากนิวรณ์ก็ได้ เปลื้องนิวรณ์จากจิตก็ได้ คำพูดมันกำกวม แต่ในที่นี้ตัวบาลีแท้ ๆ ว่า วิโมจยังจิตตัง นี่ เปลื้องจิต เปลื้องจิตออกไปเสียจากสิ่งที่กลุ้มรุมจิต ผูกพันจิต เมื่อใดมีความรู้สึก ถูกต้อง ๆ ๆ ไปตามลำดับ มันจะเกิดความรู้สึกที่เรียกว่า อุเบกขา ๆ ถ้ายังไม่หมดความวิตกกังวลอะไรแล้วมันจะไม่อุเบกขา มันจะไม่อาจจะอุเบกขา โดยหลักใหญ่ ๆ หลักใหญ่ ๆ กว้าง ๆ สูงสุดในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะมาพูดให้ท่านทั้งหลายฟัง นี่จะบ้าหรือดีก็ไม่รู้ ผู้พูด แต่ก็ยังอยากจะเอามาพูด ว่าโดยหลักใหญ่ๆ มันจะมีอุเบกขาไป ตามลำดับ ๆ จนกว่าจะถึงอตัมมยตา จุดสูงสุดบรรลุมรรคผลนิพพาน จุดตั้งต้นที่สุดมันคือ กามธาตุๆ กามาวจร หรือกามธาตุ สัตว์ทั้งหลายมีจิตใจเป็นกามาวจร คอยที่จะพลัดตกลงไปในกามหรือกามธาตุ เหมือนปลา มันจะอยู่น้ำเท่านั้นละ มันไม่อยากขึ้นบกหรอก จับโยนขึ้นมาบนตลิ่ง มันดิ้นลงไปในน้ำ อันนี้เรียกว่ามันจะดิ้นลงไปในกามธาตุ สัตว์นี่ก็อยู่กับกามธาตุ ดิ้นรนอยู่เพื่อกามธาตุ ดิ้นรนในกามธาตุ เมื่อไรรู้จักกามธาตุตามที่เป็นจริง แล้วเฉยได้ อุเบกขาต่อกามธาตุ กามารมณ์ทั้งหลาย นี่เป็นอุเบกขา ชั้นนี้ ก็เป็นอตัมมยตาน้อยๆ เริ่มมีอตัมมยะตา กูไม่เอากับมึงแล้วนี่ ในกามธาตุก่อน ปลดปล่อยกามธาตุออกไปก่อน แล้วก็เลื่อนขึ้นมาถึงรูปธาตุ รูปธาตุ คือสิ่งที่มีแต่รูป แต่ไม่มีความหมายแห่งกาม ไม่มีค่านิยมในทางกาม แต่เป็นรูปล้วนๆ ให้พอใจได้เหมือนกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมายถึงสมาธิจิตในรูปฌาน มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ มีรูปธรรมต่าง ๆ เป็นอารมณ์ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อะไรก็ได้เป็นอารมณ์ มีอารมณ์ต่าง ๆ กัน ก็มาอยู่ในชั้นรูปนี้ เรียกว่า อุเบกขาที่มีอารมณ์ต่าง ๆ มันเฉยได้ต่อกามธาตุ แล้วก็มาอยู่ในรูปธาตุ ที่มีอารมณ์ต่างๆ นี่ก็ อตัมมยตามันเลื่อนชั้น เฉยได้ต่อกามธาตุ แล้วก็มาติดอยู่ในรูปธาตุ เข้าฌานนานนับเดือน ไม่เขยื้อนเคลื่อนกายา จำศีลกินวาตา เป็นผาสุกทุกคืนวัน มันอยู่ด้วยอุเบกขา ในรูป อยู่ด้วยความพอใจในรูป อุเบกขาจากกามมาแล้วมาอยู่ในรูป ทีนี้ จะต้องอุเบกขาต่อรูปอีกที เลื่อนขึ้นไปเป็นอรูป อรูป อุเบกขาต่อกาม นั่นเรียกว่านานัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:00) อุเบกขามีอารมณ์หลายอย่าง ทีนี้มาสู่เอกัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:06) อุเบกขามีอารมณ์อันเดียว คือความว่าง ๆ เป็นอรูปว่างจากรูป อารมณ์อันเดียวนี่เรียกว่าเอกัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:15)ละความพอใจในรูปนั้นเสีย พวกรูปฌาณกลายเป็นสิ่งไม่มีค่า มาอยู่ใน อรูปฌาน อรูปฌาน ดีกว่า ก็มาอยู่ในอรูปฌาน ซึ่งเป็นเอกัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:33) มีฤทธิ์มีเดช มีเรี่ยวแรงคมกล้า ละไอ้พวกรูปเสีย บาลีเรียกว่า ละ นานัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:43 )เสียด้วย เอกัตตะอุเบกขา (นาทีที่ 49:46) เอกัตตะอุเบกขา นี่ก็หลงพอใจในอรูป สูงไปถึงเนวะสัญญานาสัญญายตนะ ยังไม่หลุดพ้น ทีนี้ อตัมมยตาแท้จริงเข้ามา เห็นสูญตา เห็นตถาตา แล้วก็สลัดไอ้สูงสุดของฝ่ายโน้น คือเนวะสัญญา นาสัญญานยะตะนะเสีย ก็เป็นผู้หลุดพ้นโดยประการทั้งปวง ด้วยอตัมมยตา ลัทธิต่าง ๆ ก็สอนกันอยู่สูงสุดเพียงแค่ เนวะสัญญานาสัญญายตะนะ ในอินเดีย คือแค่ เอกัตตะอุเบกขา พระพุทธเจ้าท่านไม่อยู่ด้วยศาสดาเหล่านั้น ละมาเสียก็มาค้นของพระองค์เอง พบอันนี้ สลัดหรือปล่อยวางหมดนี้ ไม่ให้อะไรปรุงแต่งได้อีกต่อไป มันเป็นอุเบกขา สูงสุด เลยไปจนเป็นอตัมมยตา เราให้จิตปล่อยอย่างนี้ ถ้าเป็นพระอรหันต์แล้ว ก็นับดูการปล่อย ก็ปล่อยกามเสียด้วย รูปปล่อยรูปเสียด้วย อรูปปล่อยอรูปเสียด้วยอตัมมยตา การเปลื้องจิตในชั้นลึกซึ้ง สูงสุด มีลำดับอย่างนี้ ละความยินดีในกามธาตุเสีย มายินดีในรูปธาตุ ละความยินดีในรูปธาตุเสีย มายินดีในอรูปธาตุ ละความยินดีในอรูปธาตุสุดท้ายนี้เสีย ด้วย อตัมมยตา นั่นนะ ปล่อยจิตลึกซึ้งที่สุด เทคนิคมหาศาลสมบูรณ์ ปล่อยจากความเป็นปุถุชนมาสู่ความเป็นพระอริยะเจ้า พวกคุณจะนั่งทำจิตอย่างนี้ได้หรือไม่ไปคิดดูเอาเอง เพียงแต่ปล่อยจิตจากนิวรณ์ทั้ง ๕ ก็จะทำไม่ได้มั้ง เพราะจิตมันพอใจในกาม มันพัวพันหมกมุ่นอยู่ในกามเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เมื่อได้อย่างใจ ก็เป็นกามฉันทะ ไม่ได้อย่างใจก็เป็นพยาบาท บางทีความหดหู่แห่งจิตก็มาแทรกแซงเสีย บางทีความฟุ้งซ่านแห่งจิตก็เข้ามาแทรกแซงเสีย ตลอดเวลามีความไม่แน่ใจในความถูกต้องหรือความปลอดภัย เพียงแต่ปล่อยนิวรณ์ ๕ ได้นี่ ก็วิเศษแล้ว มันจะนำไปสู่ความบรรลุที่สูงๆ ขึ้นไป ระเบียบปฏิบัติของภิกษุผู้อยู่ป่าจึงมีว่า หลังจากเสร็จกิจประจำวันแล้ว ก็เข้าสู่ที่สงัด กำจัดนิวรณ์ไปจากจิต คือทำจิตให้ปล่อยนิวรณ์แล้วก็ค่อยๆ บรรลุรูปฌาน อรูปฌานไปตามลำดับนู่น ท่านวางไว้อย่างนั้น หรือแม้ว่าเราจะปล่อยจิตจากนิวรณ์แล้วเราจะน้อมไปเพื่อนิพพาน ข้ามกระโดดข้ามชั้น ไม่มาหลงใหลอยู่ในเรื่องรูปฌาน อรูปฌานอะไรก็ได้เหมือนกันแหละ โดยเอกัคคตาจิตนั้น มันเพ่งพระนิพพานเป็นอารมณ์ มุ่งหมายพระนิพพานเป็นอารมณ์ ก็จะสามารถปลดปล่อยได้ เหมือนกับว่า เรียกว่าอะไร ภาษาคอมมิวนิสต์เขาว่า กระโดดข้ามกระโดดไกล กระโดดข้ามกระโดดไกล หรือพวกเซนเขานิยมอย่างนี้ เขาจะใช้วิธีกระโดดไกล ก็ทำได้ ๆ ถ้าทำเป็นก็ทำได้ เปลื้องจิตจากนิวรณ์ ในสุตตันตะพูดนิวรณ์เพียง ๕ กามฉันทะ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจะกุกกุจ วิจิกิจฉา ในอภิธรรมมันเพิ่มเข้ามานิวรณ์อีกหนึ่ง เป็นนิวรณ์ ๖ คือเอาอวิชชาเข้ามาด้วย นี่ก็แยบคายดีเหมือนกันนะ นิวรณ์สูงสุดก็คืออวิชชา ที่จริงมันก็คือนิวรณ์ทั้ง ๕ มันปนของอวิชชา นิวรณ์ทั้ง ๕ นั่น นี่เป็นตัวอวิชชา เราไม่ต้องเพิ่มเข้ามาก็ได้ ถ้าจะพูดอย่างนักเลงอีกทีว่า อวิชชานิวรณ์ ละ ปลดปล่อยมันเสียด้วย ก็เป็นการปลดปล่อยนิวรณ์ทั้งหมดทั้งสิ้น มันก็ปลดปล่อยอย่างนี้ก็เป็นพระอรหันต์เลย ปลดปล่อยนิวรณ์อวิชชาได้ก็เป็นพระอรหันต์แล้ว ออกไปสู่โลกุตตระ ขั้นที่หนึ่งรู้จักจิตทุกชนิดโดยประการทั้งปวงของหมวดนี่นะ ขั้นที่สองบังคับให้ปราโมทย์บันเทิงได้ตามต้องการ ขั้นที่สามให้มันตั้งมั่นตามต้องการ ขั้นที่สี่ให้มันปล่อยจากสิ่งที่ควรปล่อย เป็นนิวรณ์เป็นสังโยชน์อะไรก็ตาม ปล่อย นี่เป็น ๔ ขั้นของหมวดนี้ เรียกว่าหมวดจิตตานุปัสสนา นี่เป็นเรื่องบอกให้รู้นะ ไม่ใช่บอกแล้วจะบรรลุกันที่นี่ ทันที เดี๋ยวนี้ ในชั่วโมงนี้ ในวันนี้ เอาไปพยายามทำ ๆ ๆ ๆ เป็นกันจริงจัง จะกี่วันกี่เดือนกี่ปีก็บอกไม่ได้ ถ้าทำถูกมันก็เร็ว ทำไม่ถูกมันก็ไม่เร็วหรือมันเป็นไปไม่ได้ แต่ทุกคนควรจะทำอยู่ที่บ้านที่เรือนนั่นแหละ พยายามปลดปล่อยจิตจากข้าศึกคือนิวรณ์อยู่เสมอเถิด ไม่มีอะไรก็เอาอตัมมยตาดื้อ ๆ เข้ามา กูไม่เอากับมึง ๆ นั่นก็ปล่อยจิต ความรู้สึกอันไหน อารมณ์อันไหนมันรบกวนจิตใจเลวร้าย กูไม่เอากับมึง ๆ เปลี่ยนไปทันที ก็ได้เหมือนกันละ ฝึกอย่างนี้ ฝึกอย่างนี้เท่านั้น ก็ยังดีกว่าไม่ฝึก