แม้ "ข้อความถอดเสียงนี้" จะพยายามให้ตรงกับเสียงต้นฉบับมากที่สุด ผู้ศึกษาพึงตรวจสอบกับเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับ ก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง [รับข่าวสารทางอีเมล]
ในการบรรยายครั้งก่อน ครั้งที่ ๑ เราได้พูดกันแล้วว่า ตามหลักของพุทธศาสนานั้น ถือว่าความสุขหรือความทุกข์ก็ตาม ไม่ได้เกิดมาจากผลของกรรมเก่าก่อนๆหรือไม่ได้มาจากการบันดาลของพระเจ้า หากแต่ว่าเกิดมาจากการกระทำผิดหรือกระทำถูกต่อกฏปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นในวันนี้เราจะได้พูดกันถึงเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท อยากจะขอร้องให้จำคำบาลีนี้ไว้เป็นหลัก เพราะว่าเป็นคำที่มีความหมายสำคัญเฉพาะ แปลเป็นภาษาอื่นๆก็ลำบาก แต่มันก็จำเป็นที่ต้องใช้แปลเป็นภาษาอื่น ให้จำคำว่า ปฏิจจสมุปบาท ไว้คำหนึ่ง Dependent Origination นี่คำหนึ่ง แล้วก็กับคำว่า อิทัปปัจจยตา ไว้อีกคำหนึ่ง Specific Origination เป็นสองคำ แล้วก็จะมีประโยชน์มาก กฎเกณฑ์อันนี้เมื่อใช้กับทุกสิ่งทั่วไปไม่ว่าอะไร มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตใช้โดยทั่วไปทั้งทางวัตถุและทางจิตใจ เราเรียกมันว่า อิทัปปัจจยตา แต่ถ้าเอามาใช้เฉพาะกับสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึกได้นี่เราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท อิทัปปัจจยตาในความหมายที่กว้างทั้งหมด ปฏิจจสมุปบาท ความหมายเฉพาะสิ่งที่มีชีวิตรู้สึกเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ได้ เรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท คือสิ่งนี้
เมื่อกล่าวตามหลักพระพุทธศาสนา เราไม่มีคำว่า สร้าง หรือ create เราไม่มี เรามีแต่คำว่ามันทำให้เกิดแม้โดยไม่เจตนาทำให้เกิดขึ้นมา ถ้าถามว่าโลกนี้ใครสร้าง นี่ไม่ถูก ถ้าถามว่าโลกนี้มันเกิดมาได้อย่างไร นี่จะตอบได้ว่า เกิดมาโดยกฎอิทัปปัจจยตา เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้ก็มี ถ้าเราจะถือว่าโลกมาจากดวงอาทิตย์ ก็เพราะความมีดวงอาทิตย์ทำให้เกิดแตกแยกออกมาเป็นโลก หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่น หรือจะเรียกเป็น nebula หรือเป็นอะไรก็ตามใจ เพราะมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งอยู่หรือสิ่งอื่นที่เกิดออกมาจากสิ่งนั้น ในความหมายที่กว้างๆอย่างนี้ เราเรียกว่า อิทัปปัจจยตา โลกมีมาเพราะกฏอิทัปปัจจยตา ไม่ได้มีความหมายความหมายเป็นcreator แต่มันก็ได้ทำให้มีขึ้นมา นี่พอให้เข้าใจความหมายของ อิทัปปัจจยตา อย่างนี้ก่อน
เมื่อเราถือว่าโลกนี้ออกมาจากดวงอาทิตย์ ก็ถือว่ามาตามกฎอิทัปปัจจยตา ถ้าใครจะถามว่าดวงอาทิตย์มาจากอะไร ก็ต้องมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งตามกฏอิทัปปัจจยตาอยู่นั่นแหละ จะย้อนกลับไปย้อนกลับไปเท่าไร มันก็จากกฏอิทัปปัจจยตาอยู่นั่นแหละ มันโลกแล้วมันก็มี เป็นโลกนี้แล้วมันก็ค่อยๆมีอะไรในโลกตามกฏอิทัปปัจจยตา มีน้ำมีอะไรขึ้นมากระทั่งมีสิ่งที่มีชีวิต เป็นต้นไม้ เป็นสัตว์ เป็นคน มนุษย์ขึ้นมานี่ตามกฏอิทัปปัจจยตา ใช้ได้ไม่สิ้นสุด ไปข้างหลัง ไปข้างหน้าก็ไม่มีสิ้นสุด เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี อย่างนี้เรื่อยไป นี่คือสิ่งที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา สรุปความว่าเราถือว่าทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ทุกสิ่ง มันเกิดขึ้นโดยกฏอิทัปปัจจยตา by need of etappajjayata law ถ้าจะให้ในพุทธศาสนามีก็ god เราก็กล่าวว่ามีกฎอิทัปปัจจยตา เป็น god แต่มันไม่ใช่ personal god มันเป็น Impersonal god ที่จะต้องทำความเข้าใจกันให้ดีๆ คนโดยมากถือว่าพุทธศาสนา ไม่มี god เพราะเขาไม่รู้ว่ามันยังมี god อีกชนิดหนึ่ง คือ Impersonal god คือกฎอิทัปปัจจยตา etappajjayata law เป็น Impersonal god ในพุทธศาสนา แต่โดยทั่วไปเราไม่ถือว่ามี god อย่างนี้ แม้ในพุทธศาสนาเองก็ไม่ได้ถือว่ามี god อย่างนี้ ถือว่ามีแต่กฎอิทัปปัจจยตา
ทีนี้แคบเข้ามา แคบเข้ามาเฉพาะสิ่งที่มีชีวิตจิตใจ มีความรู้สึก เราก็เรียกว่า เกิดขึ้นหรือมาจาก อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท โอ้มันยาว อิทัปปัจจยตา ปฏิจจสมุปบาท โอ้มันยาว เราเรียกสั้นๆแต่เพียงว่า อิทัป ปฏิจจสมุปบาท กฎอิทัปปัจจยตา อันกว้างขวางนั้นเอง เราเอามาใช้เฉพาะสิ่งที่มีชีวิตจิตใจเราเรียกว่า ปฏิจจสมุปบาท ทีนี้ก็เป็นเรื่องทางจิตใจ คือว่าความทุกข์มันเกิดมาจากอะไร ก็มาจาก ปฏิจจสมุปบาท ก็ทุกสิ่งๆทั้งหมดเกิดมาจากอะไร มันเกิดมาจาก อิทัปปัจจยตา อิทัปปัจจยตากว้างทั้งหมด แต่ปฏิจจสมุปบาทนี้แคบแค่เฉพาะสิ่งที่มีจิตใจ มีความรู้สึกเป็นสุขเป็นทุกข์ได้ในขอบเขตที่ต่างกันของคำสองคำนี้ จะดูให้ชัดลงไปอีก ในเรา คนหนึ่งๆนี่แหละ ส่วนที่มันเป็นร่างกาย เป็น material เป็น Physical ส่วนที่เป็นร่างกาย มันมาจาก อิทัปปัจจยตา เกิดขึ้นโดยกฏอิทัปปัจจยตาแต่ความรู้สึกที่เป็นทุกข์ เป็นทุกข์ มันเกิดทางจิตใจนี่ มันเกิดมาจาก ปฏิจจสมุปบาท คนเราแบ่งเป็นทางวัตถุทางร่างกายทุกๆ particle ของมันนี่ มันออกมาจากกฏอิทัปปัจจยตา เกิดขึ้นมาจากกฎอิทัปปัจจยตา แต่ถ้าเป็นเรื่องสุขทุกข์ที่จิตใจนั้นมันมาจากกฎของปฏิจจสมุบาท เราเรียกเสียใหม่ว่ากฎปฏิจจสมุปบาท ตามที่เป็นอยู่จริง เราได้ใช้คำนี้สับสนปนๆกัน ขออภัยที่จะออกชื่อกล่าวว่า ในประเทศลังกา ในประเทศพม่าใช้สับสนระหว่างคำสองคำนี้ เช่น ว่าดวงอาทิตย์เกิดขึ้นโดยกฏปฏิจจสมุปบาท เขาก็พูดกัน มันไม่ถูก อย่างนั้นต้องมาจากกฏอิทัปปัจจยตา ถ้าเป็นเรื่องทางจิตใจจึงจะมาจากกฏปฏิจจสมุปบาท เมื่อเขายังไม่รู้เรื่องนี้เขาใช้สับสนปนแปกัน แม้ในเมืองไทย ประเทศไทยนี้ก็มี เพื่อความแน่นอนขอให้ท่านทั้งหลายยุติลงไปว่า ถ้ามันเป็นเรื่องทุกสิ่ง ทุกสิ่ง ไม่ยกเว้นอะไร แล้วมันก็มาจาก law อิทัปปัจจยตา ถ้ามันเป็นเฉพาะสิ่งที่มีความรู้สึกมันก็มาจากปฏิจจสมุปบาท ขอให้แน่นอนสองอย่างนี้ใช้ให้ถูกต้อง สองคำนี้ใช้ให้ถูกต้อง ร่างกายทั้งเขา ทั้งหมด ทั้งคนทั้งสัตว์ทั้งต้นไม้ ส่วนที่เป็นร่างกายเกิดขึ้นหรือเป็นไป เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา แต่ส่วนของความรู้สึก ความรู้สึก ในจิตใจของเขา ในความรู้สึกของเขา แม้แต่ต้นไม้ก็มีความรู้สึก รู้สึกสุข ทุกข์ หรือพอใจไม่พอใจ ความรู้สึกในจิตใจของเขาตามกฏปฏิจจสมุปบาท ขอให้จำไว้อย่างนี้ ฝ่ายจิตใจมันอย่างนี้ ฝ่ายวัตถุมาจากอิทัปปัจจยตา ฝ่ายจิตใจมาจากปฏิจจสมุปบาทอย่างนี้จะง่ายกว่า แล้วจะพูดให้เลยออกสักนิดหนึ่งว่า ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นมาว่า god มาจากอะไร เป็นไปตามอะไร เราก็จะพูดว่า personal god เกิดขึ้นหรือเป็นไปกฏอิทัปปัจจยตา เว้นไว้แต่ Impersonal god เท่านั้นที่จะไม่ได้เกิดขึ้นมาตาม กฏอิทัปปัจจยตา และไม่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตา มันต้องแยกกันให้ละเอียดขนาดนี้ ดังนั้นในพุทธศาสนาเรา เมื่อถามว่าสุขหรือทุกข์ในจิตใจเกิดมาจากอะไร ก็แปลว่าเกิดมาจาก Impersonal god หรือกฏอิทัปปัจจยตา แต่พวกอื่น พวกอื่นเขาอาจจะว่ามาจาก personal god ซึ่งไม่ทราบว่าจะเรียกว่าอะไร เรามีกฏอิทัปปัจจยตา ในฐานะที่เป็น god ทำให้สิ่งต่างๆเกิดขึ้น แต่ท่านต้องรู้จักแยกเป็น personal god กับ Impersonal god มิฉะนั้น จะปนกันยุ่ง สรุปความว่าในพุทธศาสนาไม่มี personal god มีแต่ Impersonal god คือกฏอิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาท ถ้าเข้าใจอย่างนี้แล้วก็จะพูดกันต่อไปได้ง่าย
อยากจะขอพูดเฉพาะในภาษาไทย มันเผอิญ มันบังเอิญ ในภาษาไทยโดยเฉพาะเรา เรามีคำว่า กฎ กฎ คำนี้ถ้าออกเสียงให้ยาวไปก็คือ god เราไม่มี god แต่เรามี กฎ ในฐานะที่เขาใช้กันทั่วไปก็เลยถือว่ากฎนั่นแหละคือ god ทีนี้เราก็มาถึงเรื่องความสุข หรือความทุกข์ก็ตาม มิได้มาจากกรรมเก่า หรือผลของกรรมเก่าในอดีตชาติ แล้วก็ไม่ได้จากการบันดาลของ personal god ซึ่งเรียกในภาษาบาลีว่า อิศวระ ในภาษาไทยเรียกว่า อิศวร อิศวระ คำนี้มีความหมายอย่างเดียวกับคำว่า personal god ไม่ได้มาจาก อิศวรา อิศวระ แล้วก็ว่า สุข ทุกข์นั้น ไม่ใช่ไม่มีเหตุมีปัจจัย มันก็มีเหตุมีปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นมา เหตุปัจจัยนั้นก็คือกฏปฏิจสมุปบาท หรือกฏอิทัปปัจจยตา แยกมาเฉพาะเรื่องของสิ่งที่มีชีวิตที่เรียกว่ากฏปฏิจจสมุปบาท เมื่อเราต้องเรียนเรื่องสุข หรือทุกข์เราต้องเรียนเรื่องกฏปฏิจจสมุปบาทแน่นอน ถ้ามีการถามว่าอิทัปปัจจยตาคืออะไร คืออะไร เราก็จะตอบว่าอิทัปปัจจยตา คือ กฎที่ทำให้สิ่งต่างๆทุกสิ่งเกิดขึ้นมา และเป็นไป และดับลง เกิดขึ้นมาก็โดยกฏอิทัปปัจจยตา เป็นไป เป็นไป เปลี่ยนแปลงไปก็โดยกฏอิทัปปัจจยตา ดับลงสิ้นสุดลงเป็นคราวๆนี่ก็ด้วยกฏอิทัปปัจจัยตา ใช้กับสิ่งทั่วไป ถ้าใช้กับความรู้สึกที่เป็นสุข เป็นทุกข์ เรียกว่ากฏปฏิจจสมุปบาท ก็ให้มันเกิดขึ้น เป็นไปแล้วดับลงเหมือนกัน สุข ทุกข์ นี่ก็เกิดขึ้นเป็นไปแล้วก็ดับลงเหมือนกัน แปลว่าเรื่องทางวัตถุก็ดีทางจิตใจก็ดี เกิดขึ้นเป็นไป เป็นไป แล้วก็ดับลงเหมือนกัน โดยกฏนี้ กฏอิทัปปัจจยตา แล้วแต่จะแยกเป็นทุกสิ่ง หรือเฉพาะสิ่งที่มีความรู้สึกอิทัปปัจจตาคือสิ่งนี้
เราต้องมองให้เห็นอาการที่ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง เป็นเพียงอาการที่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจตา เราจะเรียกมันว่า stream of becoming of becoming ทั้งหมดนี้ไม่มีความหมายคำว่า creating create creation ไม่มีความหมายของคำว่าสร้าง สร้าง สร้าง ไม่มีบุคคลที่เป็นผู้สร้าง แต่มันมีอาการที่เป็นไป เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับลง สามคำนี้เข้าใจให้ดีๆ เป็นลักษณะของอาการของสิ่งที่เรียกว่าอิทัปปัจจยตา เราควรจะพูดหรือเรามีสิทธิที่จะพูดว่าในประเทศอินเดีย ก่อนพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาไม่มีคำพูดว่า อิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาท เขาถือว่าเหตุปัจจัยของสิ่งต่างๆนั้นคือพระเจ้า ทีนี้อีกพวกหนึ่งก็ถือตรงกันข้ามว่าไม่มีเหตุไม่มีปัจจัยเสียเลย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัยเสียเลย มันตรงกันข้ามอย่างนี้ ดังนั้นทั้งสองพวกนี้ไม่มีคำว่า อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท เขาไม่รู้เรื่องนี้ เราไม่ได้ยินคำพูดอย่างนี้จนกว่าพระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมา ต่อมาเขามีความรู้หรือสังเกตเห็น action and reaction ที่เรียกว่ากรรม กรรม กฎแห่งกรรม กรรมหรือผลของกรรม เขาก็ยกไปให้พระเจ้าเสียอีก พระเจ้า พระเจ้าเป็นผู้ควบคุมกำกับกรรม หรือผลของกรรม ไม่ได้เป็นกฏอิทัปปัจจยตาในตัวมันเอง การที่ถือกรรมหรือผลกรรมในลักษณะอย่างนี้ก็ยังมิใช่ อิทัปปัจจยตา เว้นไว้จะถือว่ามันเป็นไปตามเหตุ ตามปัจจัยอย่างนี้ อย่างนี้ ในขณะนี้เรียกกรรม ในขณะนี้เรียกว่าผลกรรม เป็นปัจจัยแก่กันและกัน แก่กันและกัน แก่กันมาเรื่องอย่างนี้ กฎแห่งกรรมอย่างนี้ก็เป็นกฏอิทัปปัจจยตา เมื่อเราเสนอกฏอิทัปปัจจยตาขึ้นมาอย่างนี้ ฝ่ายที่เขาถือ personal god เอาเปรียบ เขาพูดอย่างเอาเปรียบ ไม่จริง คือเอาเปรียบ เขาก็พูดว่าพระเจ้าสร้างกฏอิทัปปัจจยตา เขาว่าอย่างนี้ ทีนี้เราว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ เราว่ากฏอิทัปปัจจยตาสร้างพระเจ้า เขาก็ว่าพระเจ้าสร้างกฏอิทัปปัจจยตา เขาพูดเอาเปรียบ เราก็จะตอบเขาว่ากฏอิทัปปัจจยตาสร้างพระเจ้า เราก็ทะเลาะกัน เราก็อาจจะฆ่ากันตายก็ได้เพราะเหตุนี้ ท่านก็เลือกกันเองว่า พระเจ้าสร้างกฏอิทัปปัจจยตา หรือกฏอิทัปปัจจยตาสร้างพระเจ้า ขอให้มองดูเอาเอง ถ้าท่านมองเห็นไปในแง่ที่ว่า god นี่มันก็เป็นเพียง conception conception อันหนึ่งของคนเรา ของคนเรา จนกระทั่งจะเกิด conception อันนี้ขึ้นมาในโลก สมัยตอนที่เป็นคนป่า คนแรกมีมนุษย์ เป็นคนป่า มันมี conception ขึ้นมา เรื่องว่ามีอะไรศักดิ์สิทธิ์สูงสุด แล้วให้ชื่อว่า god อย่างนี้ god ก็เป็นเพียง conception ของคน ท่านจะเห็นได้ทันทีว่า etappatjayata law นี่สร้าง god ขึ้นมา คนป่าสมัยโน้นความคิดค่อยๆสูงขึ้นๆ จนเกิดความคิดว่าในทุกสิ่ง ในทุกสิ่ง มีจิตหรือวิญญาณ ซึ่งเราเรียกกันว่า ลัทธิ animism มันได้เกิดขึ้นแล้วภายในใจของคนป่า แล้วก็ถือว่าจิตวิญญาณนี้ที่มีอำนาจมาก สำคัญมากที่จะทำให้สิ่งต่างๆเป็นไป concept ของคำว่า god มันก็ได้เกิดขึ้น ความคิดอันนี้ concept อันนี้มันก็มาจากกฏของอิทัปปัจจยตา ที่ได้ทำให้เกิดความคิดอันนี้ขึ้นมา ทางพุทธศาสนาถืออย่างนี้ จึงถือว่ากฏอิทัปปัจจยตาเหนือสิ่งอื่นใด ใช้คำว่ากฎ กฎอันนี้แหละสร้าง god จะจริงหรือไม่จริง ท่านมีเสรีภาพ มีอิสรภาพที่จะคิดนึกเอาเอง ว่าท่านจะเชื่ออย่างไร ถ้าเชื่ออย่างพุทธศาสนา กฏอิทัปปัจจยตา ทำให้เกิด concept ขึ้นมา ทำให้เกิดวัตถุขึ้นมา ทำให้เกิดอะไรขึ้นมา
ทีนี้ก็มามองดูถึงพวกเรา ฝ่ายเรา concept ที่ว่า sense ก็ดี soul ก็ดี มันเป็นผลิตผลที่เกิดขึ้นมาจากกฏอิทัปปัจจยตา กฏอิทัปปัจจยตาทำให้เกิด concept อันนี้ว่า sense หรือ soul อัตตาหรือตัวเรา ตัวกู มันสร้างขึ้นมาโดยกฏอิทัปปัจจยตา ดังนั้นความรู้สึก concept ว่า sense หรือว่า soul หรือ ego นี่ว่ามันอยู่กันไม่ได้กับอิทัปปัจจยตา มันเป็นสิ่งตรงกันข้าม ตรงกันข้าม มันอยู่กันไม่ได้ ถ้าเราเห็นคำว่าอิทัปปัจจยตา คำว่า sense คำว่า soul จะหายไป ถ้าเรายังยึดถือว่า sense หรือ soul อยู่ก็คือเราไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา เพราะฉะนั้นเราจึงมีคำพูดว่า not sense หรือ not soul หรือ อนัตตา สมัยก่อนมีสิ่งที่เป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตาทั้งนั้น ไม่มี sense หรือไม่มี soul ในตัวมันเอง ความไม่รู้เรื่องกฏอิทัปปัจจยตา เรามีชื่อเรียกในพุทธศาสนาโดยเฉพาะว่า อวิชชา อวิชชา ไม่รู้สิ่งที่ควรจะรู้ จงรู้จักสิ่งที่เรียกว่าอวิชชาไว้ด้วยมันเข้าไม่ได้กับกฏอิทัปปัจจยตา อวิชชาหรือความไม่รู้ อิทัปปัจจยตาเป็นที่เกิด เป็นฐานที่ตั้ง ที่รองรับ ของสิ่งที่เรียกว่าไสยศาสตร์ concept of superstition อะไรก็ตามที่มันไม่เป็นไปตามเหตุผล มันเป็นไปตามความรู้สึกของคนที่ไม่รู้จักอิทัปปัจจยตา เรารู้ไว้ด้วยว่าสิ่งที่เรารังเกียจ หรือน่ารังเกียจ superstition ทั้งหลายมันมาจากความไม่รู้อิทัปปัจจยตา คนป่าสมัยโน้นเมื่อเขามีความรู้สึก animism มีวิญญาณ วิญญาณศักดิ์สิทธิ์วิเศษที่สิงอยู่ในสิ่งทั้งปวง เขาก็เอาวิญญาณนั้นแหละเป็นต้นเหตุ หรือเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งสูงสุด แล้วก็จัดให้มีวิญญาณชนิดที่สูงสุด ถึงขนาดเป็นพระเจ้า ก็เกิดการบูชาพระเจ้า เคารพพระเจ้า เซ่นสรวงสิ่งนั้น อ้อนวอน ขอร้องให้สิ่งนั้นช่วย นี่เราเรียกว่า ไสยศาสตร์ superstition เพราะว่าคนป่าเหล่านั้นเขายังไม่รู้เรื่องอิทัปปัจจยตา ลัทธิ animism ก็ได้เกิดขึ้น เพราะเขาไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา ถ้าเขารู้อิทัปปัจจยตา เขาก็เลิกๆถืออย่างนี้ civilization ทางจิต ทางวิญญาณนั้นควรจะเป็นอย่างนี้ ควรจะมาจากการไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา แล้วมาสู่การรู้กฏอิทัปปัจจยตา เราก็จะเข้าใจสิ่งทั้งปวงอย่างถูกต้องว่าเป็นไปตามกฏอิทัปปัจจยตาอย่างไร
ทีนี้เรามาดูถึงสิ่งๆหนึ่ง ซึ่งเราเรียกกันในภาษาไทยว่าศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ศักดิ์สิทธิ์สูงสุด เมื่อเรายังไม่รู้จักกฏอิทัปปัจจยตา เราก็เอาความศักดิ์สิทธิ์สูงสุด ไปให้แก่สิ่งที่เข้าใจว่าสูงสุดหรือเป็นต้นเหตุ หรือเป็นผู้บันดาลสิ่งต่างๆ ถ้ายังโง่มากก็เอาไปให้สิ่งที่เข้าใจไม่ได้ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ สิ่งที่เราเข้าใจไม่ได้ว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ถ้าเรารู้อิทัปปัจจยตาแล้ว เราจะเห็นว่าสิ่งศักดิ์อื่นไม่มี มีแต่กฏอิทัปปัจจยตา ที่บังคับสิ่งต่างๆให้เป็นไป เราจะรู้จักสิ่งศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในสากลโลกว่า มันคือกฏอิทัปปัจจยตา ไม่ใช่ที่คนป่าสมัยโน้น สมัยนั้นว่าศักดิ์สิทธิ์ นี้ศักดิ์สิทธิ์ กระทั่งว่าภูเขาศักดิ์สิทธิ์ ต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่ลิงก็ถือว่าศักดิ์สิทธิ์อย่างนี้ นั่นแหละความไม่รู้อิทัปปัจจยตา โทษของความที่ไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ในประเทศอินเดียที่มีโรงพยาบาลใหญ่โตทันสมัย โรงพยาบาลทันสมัยก็ยังมีที่บูชา ใช้เล็กๆ ในนั้นมีรูปวัว มีรูปหนุมาน อยู่ที่แห่งหนึ่ง ถามว่าทำไมนี่ไว้ทำไม เขาบอกว่าสำหรับคนไข้ คนเจ็บ มาขอร้องบูชา ไหว้ ขอให้หายเร็วๆ นี่แม้ว่าได้รับอารยธรรมสมัยใหม่ โรงพยาบาลสมัยใหม่แล้ว สิ่งนี้ก็ยังมี ที่ท่าอาบน้ำ ที่ท่าอาบน้ำศักดิ์สิทธิ์ ก็มีรูปหนุมานให้คนได้ไหว้เวลาอาบน้ำ ลิง ลิง Monkey หนุมาน นี่มันยังมีอิทธิพลมากถึงอย่างนี้ superstition มันยังมีอิทธิพลแม้กระทั่งโลกสมัยที่เจริญแล้ว ขอให้ดูดีๆเพราะมันไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา superstition ทั้งหลายมาจากการไม่รู้กฏอิทัปปัจจยตา เพราะไม่รู้อิทัปปัจจยตา ท่านทั้งหลายอาจจะคิดว่า เลขสิบสาม สิบสาม เป็นเลขศักดิ์สิทธิ์ เลขมีอำนาจ เลขศักดิ์สิทธิ์ แต่ถ้าท่านรู้กฏอิทัปปัจจยตาแล้ว เลขสิบสามก็ไม่มีความหมาย เหตุที่ไม่รู้อิทัปปัจจยตา มันเลยมี superstition แม้ในกระทั่งบัดนี้ ในโลกที่เจริญทางวิทยาศาสตร์แล้ว มันก็ยังเหลืออยู่เป็นคู่แข่ง เห็นไหม ขอให้รู้จักกฏอิทัปปัจจยตาไว้ให้ดี ไสยศาสตร์หรือ superstition นี่มันจะมีอายุหลายหมื่นปีหรืออาจจะหลายแสนปีมาแล้วก็ได้ ตั้งแต่สมัยที่คนไม่รู้เรื่องอิทัปปัจจยตา เกิดความคิดประเภท animism superstition ทั้งหลายขึ้นมา ขึ้นมา ยังเหลืออยู่ในบัดนี้แม้ว่าหลายหมื่นหลายแสนปีมาแล้ว ในยุควิทยาศาสตร์ของโลกนี้มันก็ยังเหลืออยู่ ความกลัวของเรามันก็มาจากอวิชชาทำให้เราไปยึดจับ superstition ทำไมจะต้องทำลายขวดแชมเปญเมื่อเอาเรือลงน้ำ ทำไมจะต้องทำด้วยเหตุผลอะไร เพราะมันไม่รู้เรื่องอิทัปปัจจยตา แม้ในยุควิทยาศาสตร์ จึงขอร้องให้ศึกษาเรื่องอิทัปปัจจยตา และเลยไปถึงปฏิจจสมุปบาทจึงแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
ทีนี้เราก็จะมาดูมาศึกษากันที่ตัวอิทัปปัจจยตาหรือปฏิจจสมุปบาทให้ชัดเจน ให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไป formula ของอิทัปปัจจยตามีอยู่ว่า เพราะสิ่งนี้มีสิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้นสิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มีสิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับลงไปสิ่งนี้จึงดับลงไป formula ของอิทัปปัจจยตามีเท่านี้ ท่านจะสังเกตเห็นกฏที่มันเป็น eternalไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ ไม่ ไม่มีที่สิ้นสุด ใช้ได้กับทุกสิ่ง ทุกสิ่งเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปตามกฏอิทัปปัจจยตา ขอให้พิสูจน์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์พิสูจน์ดูเถอะกฎนี้ผิดไม่ได้ มันผิดไม่ได้
ทีนี้ก็มาถึงกฏของปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องของ sense beingโดยเฉพาะในทางฝ่ายจิตใจมันก็มีว่า เพราะมีอวิชชา ไม่รู้สิ่งที่ควรจะรู้ ปราศจากความรู้ที่ควรจะรู้ มันก็ทำให้เกิดสังขาร คือ อำนาจที่จะปรุงแต่งสิ่งต่างๆให้เกิดขึ้น condition ทั้งหลายจะมีอำนาจเกิดขึ้นมา เพราะอวิชชา อวิชชาทำให้เกิดสังขาร เพราะมีสังขารอำนาจของสังขารก็ทำให้เกิดวิญญาณ คือวิญญาณธาตุ element ตามธรรมชาติ ทางฝ่ายมัน วิญญาณธาตุถูกเอามากระทำให้เป็นวิญญาณสำหรับความรู้สึกทางอายตนะคือ consciousness ,element consciousness ถูกเอามากระทำให้เป็น consciousness สำหรับจะรู้ทางอายตนะ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ เพราะมี consciousness ขึ้นมาแล้ว เพราะมีวิญญาณขึ้นมาแล้ว ก็ให้เกิดมีนามรูป mind and body นี่เป็น สิ่งเดียวกันนะ สองคำนี้เป็นสิ่งเดียวกัน mind and body ถ้ามันมีแต่รูป มีแต่ body ไม่มี consciousness มันก็ไม่มี mind and body เพราะมันมี consciousness มันจึงสามารถที่จะมี mind and body ที่เรียกคนและสัตว์ mind and body วิญญาณทำให้เกิดนามรูป consciousness ให้เกิด mind and body เดี๋ยวนี้มันมี mind and body เป็น structure อันหนึ่งขึ้นมาแล้ว ใน mind and body มันก็เกิดอายตนะ สิ่งที่จะทำให้เรารู้จักสิ่งต่างๆทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ หกอย่างนี้ sense organ มันก็ได้เกิดขึ้นเรียกว่า อายตนะ เพราะมีนามรูปใน mind and body จึงมีอายตนะ six sense organ เพราะมีอายตนะจึงมีผัสสะ เพราะมี sense organ มันจึงมีผัสสะ ทีว่า ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นอายตะนะแล้วก็สามารถที่จะรู้จัก sense object คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ที่มีอยู่ข้างนอก การถึงกันของสองสิ่งนี้เรียกว่าผัสสะหรือ contact ทีนี้เพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา เพราะมี contact จึงมี feeling คือเวทนา ถ้าไม่มี contact ระหว่างอายตนะแล้ว ไม่อาจจะมีผัสสะ ไม่มีผัสสะคือไม่รู้จักอะไร ทุกๆสิ่ง เท่ากับโลกนี้ไม่มี ถ้ามีผัสสะสัมผัสสิ่งต่างๆในโลกโดยวิธีหกทาง เพราะมีผัสสะจึงมีเวทนา ทีนี้เพราะมีเวทนา เพราะมีตัณหา มีตัณหา เวทนาคือ feeling จะเป็น feeling ที่โง่เพราะมันตั้งต้นด้วยอวิชชา ignorance อวิชชาไม่รู้อะไร เพราะว่ายังอยู่ ทีนี้ feeling เวทนาทั้งหลายนี้ก็เต็มไปด้วยความโง่ เวทนาโง่ก่อให้เกิดตัณหา โง่ คือความอยากที่โง่ ความต้องการที่โง่ เฉพาะที่โง่ที่มีอวิชชา สิ่งที่เรียกว่าตัณหา ถ้าความต้องการที่ไม่ใช่โง่ ถ้าความต้องการที่ฉลาดไม่เรียกว่าตัณหา ตัณหาคือความต้องการที่โง่ เราจะใช้คำว่า desire ก็หมายความว่า ความต้องการที่โง่ ความต้องการที่ฉลาดไม่ใช่ desire เวทนาคือ feeling ที่โง่ให้เกิดความต้องการที่โง่ก็เรียกว่า ตัณหา เวทนาทำให้เกิดตัณหา
ทีนี้จะต้องดูให้ละเอียดลงไปอีกนิดหนึ่ง (เสียงขาดหายนาทีที่ 01:30:52-01:31:02) ทีนี้ถ้าว่า feeling feeling มันเป็นไปในแง่บวก craving ก็เป็นในทางบวก หาก feeling มันเป็นในแง่ลบ craving มันก็เป็นไปในแง่ลบ แต่ในแง่บวกหรือแง่ลบก็ตามถ้าทำด้วยอวิชชา อวิชชานั้นเรียกว่า craving ทั้งนั้นแหละ เรียกว่า ตัณหา ตัณหา ความต้องการด้วยความโง่ ทีนี้ตัณหาก่อให้เกิด อุปาทานะ อุปาทาน ความอยาก craving ทำให้เกิด attachment คำนี้สำคัญที่สุด ขอร้องให้ถือเป็นคำที่สุด อุปาทานะ ไม่มีอุปาทานะ สิ่งทั้งปวงก็เหมือนกับไม่มีดีเพราะมี อุปาทานะ อะไรๆก็เอามาเป็นของๆตน attachment อุปาทานะนี่มีสองอย่าง attachment ว่าตน ว่า sense soul ก็ได้แล้ว attachment ว่าของตน เกี่ยวกับตน เนื่องกับตน ตน หรือของตน นี้เรียกว่า อุปาทานะ attachment ขอให้สังเกตดูตอนนี้ว่า ความรู้สึกว่า sense หรือว่า soul เป็น concept เกิดตอนนี้ เกิดตอนนี้ ก่อนนี้ไม่มี ตามธรรมดาก็ไม่มี เวลาใดที่ไหนมันมี attachment เมื่อนั้น concept ว่า sense ว่า soul ว่า I จะเกิดขึ้น คล้ายว่าเหมือนกับว่าเราไม่ได้มีอยู่ ต่อว่า concept หรือว่า sense หรือว่า soul เกิดขึ้นว่าเรามีอยู่ แล้วมันก็เป็นเพียง concept เป็นเพียง concept ที่เรียกว่าอุปาทานะ attachment ตัณหาให้เกิดอุปาทานะ
attachment อุปาทานะ อุปาทานะ ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า ภาวะ คือ ภพ ภาษาไทยเรียกว่า ภพ ภาษาบาลี ภาวะ ภพ คำนี้แปลว่า existence เพราะมี attachment จึงมี existence concept ว่า existence be coming existence ก็เกิดขึ้นเพราะมีอุปาทาน ภพ หรือว่าจุดตั้งต้นของ existence หรือตัว existence มันได้เกิดขึ้นแล้วเพราะอุปาทานะ attachment สิ่งที่เรียกว่า ภาวะ ภาวะมีภาวะ เป็นเหตุให้เกิดชาติ ชาติ หรือ birth ก็คือ sense หรือ soul ที่เป็นอุปาทานก็เข้มข้นเข้า เข้มข้นเข้า จึงเกิดเป็นตัวฉัน ตัวกู ของกู เรียกว่าชาติ เข้าใจง่ายๆ แต่ว่าในขณะแห่งอุปาทานะ มันเหมือนกับตั้งครรภ์ ตั้งครรภ์ มันก็มีครรภ์ ครรภ์ก็แก่เป็นภาวะ ภาวะแก่ แก่มากแล้วก็เป็นชาติ คือคลอดออกมา ตั้งครรภ์ แล้วครรภ์ก็แก่ แก่แล้วก็คลอดออกมา อุปาทานะ ภาวะ ชาติ เนื่องกันอย่างนี้ เพราะมี อุปาทานะ มีภาวะก็มีชาติ คำว่าชาติ หรือ birth คำนี้เหมือนเป็น เกิดทางจิต ทางวิญญาณ mental หรือ spiritual ไม่ใช่เกิดทางวัตถุ เกิดมาจากท้องแม่ทีเดียวนั้นไม่ใช่ ชาติหรือ birth นี่เกิดทางจิต ทางวิญญาณ ทุกทีที่มีตัณหา ทุกที่ที่มี craving ก็จะมีการเกิด จะมีอุปาทาน มีภพ มีชาติอย่างนี้ทั้งนั้นชาติ หรือ birth เรามีได้วันหนึ่งหลายหนหลายสิบหน แล้วแต่มันจะมีตัณหากี่หน มีตัณหากี่หนก็มีชาติหรือ birth เท่านั้นหน จงรู้จักชาติคำนี้ไว้สำคัญอย่างยิ่ง แล้วเราก็ค่อยไม่สนใจ เราก็ไม่รู้ เราไม่เคยเรียน ชาติทางวิญญาณมีอย่างนี้แล้วเกิดได้มากหน คิดว่าต้องเลิก ขอให้เลิกได้ จำเป็นต้องเลิก